สุริยสูตร

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย phuang, 21 กุมภาพันธ์ 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    • <CENTER> พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 37 อังคุตตรนิกาย
      สัตตกนิบาต ตั้งแต่หน้า 214 สุริยสูตร
      ----------------------------------------------------------------------------------

      </CENTER>
    <CENTER>สุริยสูตร

    </CENTER> สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้พระนครเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสุเนรุ โดยยาว ๘๔,000 โยชน์ (๑ โยชน์เท่ากับ ๑๖ กิโลเมตร ) โดยกว้าง ๘๔,000 โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,000 โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,000 โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลาย
    ร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติ
    ( หญ้า ) ที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉาเหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรที่เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ เพราะพระ อาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรที่เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ เพราะพระ อาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรที่เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ เพราะพระ อาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรที่เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ เพราะพระ อาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรลึก ๑00 โยชน์ก็ดี ๒00 โยชน์ก็ดี ๓00 โยชน์ก็ดี ๔00 โยชน์ก็ดี ๕00 โยชน์ก็ดี ๖00 โยชน์ก็ดี ๗00 โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี ๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้นตาลก็มี ๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ ชั่วคน ๓ ชั่วคน ๒ ชั่วคน ชั่วคนเดียว ครึ่งชั่วคนเพียงเอว เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้า เพียงในรอยเท้าโค ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทร ยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อเมล็ดฝนใหญ่ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโคนั้นๆ
    ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วเดียวก็ไม่มี ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรที่เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควร
    หลุดพ้น


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ เพราะพระ อาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และเขาสิเนรุ ย่อมมีควันพลุ่งเปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมี กลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรที่เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ เพราะพระ อาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และขุนเขาสุเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อแผ่นดินใหญ่ และขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชน ลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหมโลก เมื่อขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย ถูกกอง เพลิงใหญ่ท่วมตลอดแล้ว ยอดเขาแม้ขนาด ๑00 โยชน์ ๒00 โยชน์ ๓00 โยชน์ ๔00 โยชน์ ๕00 โยชน์ ย่อมพังทะลาย เมื่อแผ่น ดินใหญ่และเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรที่เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้ ใครจะเชื่อว่า แผ่นดินนี้และขุนเขาสิเนรุจักถูกไฟไหม้พินาศไม่เหลืออยู่ นอกจากอริย สาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว ( โสดาบัน )

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อสุเนตตะเป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ศาสดาชื่อ สุเนตตะนั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก และเมื่อ
    สุเนตตศาสดาแสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก สาวกเหล่าใดรู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่า นั้น เมื่อตายไปก็เข้าถึงสุคติพรหมโลก ส่วนสาวกเหล่าใดที่ยังไม่รู้ทั่วถึงในคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสตี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต บางพวกเข้า ถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย
    แห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายพราหมณ์
    มหาศาล บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคฤหบดีมหาศาล


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดามีความคิดเห็นว่า การที่เราจะพึงเป็นผู้มีสติเสมอกับสาวกทั้งหลายใน
    สัมปรายภพไม่สมควรเลย ผิฉะนั้น เราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตาจิตตลอด
    ๗ ปี แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป เมื่อโลกวิบัติเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหม ที่ว่าง ในวิมานนั้น สุเนตตศาสดาเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหมเป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มี อำนาจมาก เกิดเป็นท้าวสักกะจอมเทวดา ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา มีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปานาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่นมั่นคง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง พระราชาพระโอรสของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัยย่ำยีศัตรูได้ พระเจ้าจักรพรรดิ์นั้นทรงปกครอง ปฐพีมณฑล อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้อาญา ไม่ต้องใช้ศาตรา ใช้ธรรมปกครอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุเนตต
    ศาสดานั้นแล มีอายุยืนนานดำรงมั่นอยู่อย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดธรรม ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุติ เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เราถอนตัณหาในภพใหม่ได้แล้ว ตัณหาอันเป็นเครื่อง นำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี


    พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยกรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

    ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติอันยิ่ง พระโคดมผู้ทรงพระยศตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็น ศาสดา ผู้มีพระจักษุ ทรงรู้ยิ่งด้วยประการดังนี้แล้ว ตรัสบอกธรรม ๔ ประการแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงกระทำที่สุด ทุกข์แล้วปรินิพพาน

    <CENTER>จบ สุริยสูตร


    </CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...