ติดตามกิจกรรมพระกรรมฐาน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย มุ่งเต็มใจ, 2 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]

    ที่มาครับ
    http://palungjit.org/threads/พระเสร...ับน้ำท่วม-หน้า139.280939/page-139#post5260518

    ขออนุญาตแบ่งปันครับ:cool:
     
  2. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    http://palungjit.org/threads/ภัย-๔-อย่างของผู้ภาวนา-โดย-หลวงปู่ชอบ-ฐานสโม.197269/


    ภัย ๔ อย่างของผู้ภาวนา โดย หลวงปู่ชอบ ฐานสโม »

    ภัย ๔ อย่างของผู้ภาวนา
    โดย หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    กลาง ดึกคืนหนึ่งขณะที่หลวงปู่กำลังจำวัดอยู่ ท่านได้สะดุ้งขึ้นอย่างแรง พระผู้ปฏิบัติอยู่ใกล้ๆ ต่างรีบจัดหมอนและผ้าห่มถวายท่าน องค์หนึ่งสงสัยจึงกราบเรียนถามท่านว่า ท่านสะดุ้งตื่นด้วยเหตุใด หลวงปู่เลยบอกศิษย์ว่า ดูเมื่อกี้นี้ ไม่เห็นพระมีแต่จระเข้อยู่เต็มกุฏิ

    ไปดูซิ นอนอยู่ใต้ถุนตัวหนึ่ง นอนอยู่บนเตียงตัวหนึ่ง ตัวใหญ่ๆ นอนอยู่ตรงกลาง ไปดูซิ...ใช่ไหม...

    พระเณรรีบไปดู ก็จริงดังท่านว่า...!

    กล่าว คือ แทนที่จะเห็นภาพพระเณร ศิษย์ของท่านกำลังนั่งภาวนาอย่างเอาเป็นเอาตาย ให้สมกับที่ปวารณาตัวถวายเป็นศิษย์พระกรรมฐาน แต่กลับมีพระเณรนอนอยู่ใต้ถุน...บนเตียง...องค์ใหญ่นั้นนอนตรงกลาง....

    ไม่ น่าประหลาดใจที่ทำไมบรรดาศิษย์จึงเกรงกลัวท่านกันนัก ท่านไม่ต้องลุกเดินไปตรวจตราดูใคร ท่านเป็นอัมพาต นอนอยู่กับที่ แต่ท่านก็ทราบได้ดีว่า ศิษย์คนไหนภาวนาหรือไม่

    ผู้ไม่ภาวนา ท่านเห็นเป็นภาพจระเข้นอนกลิ้งเกลือกกองกิเลสอยู่...!

    หลวง ปู่เตือนเสมอถึงภัย ๔ อย่างของพระกรรมฐาน ท่านสอนให้ศิษย์ของท่านควรระวัง...ระวังเหมือนถ้าเฮาจะลงไปในฮ้วงน้ำข้าม โอฆสงสารก็ต้องระวังภัย ๔ อย่างคือ คลื่น หนึ่ง จระเข้ หนึ่ง วังน้ำวน หนึ่ง....และปลาร้าย อีกหนึ่ง ท่านบอกศิษย์ให้ระวัง ทั้งคลื่น ทั้งจระเข้ ทั้งวังน้ำวน และปลาร้าย

    ความดื้อดึงไม่อดทนเชื่อฟังต่อโอวาทที่ครูบาอาจารย์พร่ำสอนแนะนำ

    เปรียบด้วยภัย คือ คลื่น

    ความเห็นแก่ปากแก่ท้อง เห็นแก่หลับแก่นอน ไม่บำเพ็ญเพียร

    เปรียบด้วยภัย คือ จระเข้

    กามคุณ ๕ อย่าง...รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

    เปรียบด้วยภัย คือ วังน้ำวน ใครหลงติดกามคุณทั้ง ๕ นี้ ก็จะ “ติด” เหมือนลิงติดตัง อยู่ในวังน้ำวน และมีแต่จะถูกกระแสน้ำดูดจมลงอย่างไม่ต้องสงสัย

    มาตุคาม

    ที่ พระพุทธเจ้าสอนพระอานนท์ไว้ก่อนจะเสด็จปรินิพพานว่า...ควรหลีกเลี่ยงไม่พบปะ ด้วย...หากจำเป็นต้องพบปะก็ไม่ควรพูดด้วย...หากจำเป็นต้องพูดด้วยก็ต้องพูด ด้วยความสำรวมมีสติ...ท่านเปรียบด้วยภัย คือ ปลาร้าย...!

    ผู้ จะผ่านพ้นโอฆสงสาร หรือห้วงน้ำใหญ่ ไปถึงพระนิพพานได้ จะต้องอาศัยหลักของความเชื่อ...ต้องเชื่อมั่นในหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อมั่นในปฏิปทาทางดำเนินของครูบาอาจารย์ จะต้องมีความเชื่อมั่นแน่นอนว่า มรรคผลนิพพานเป็นของมีอยู่จริง เมื่อเราเชื่อว่า มรรคผลนิพพานมีอยู่จริง เราก็ปฏิบัติมุ่งต่อมรรคผลนิพพานได้ เมื่อเราเชื่อว่ามนุษยสมบัติมี สวรรคสมบัติมี เราก็ทำทาน รักษาศีล ไหว้พระ เจริญเมตตาภาวนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    เมื่อ เราเชื่อว่าจิตของเราเป็นธรรมชาติที่ไม่ตาย รูปร่างกายเราต่างหากที่แตกดับ เมื่อเราเชื่อว่าโอวาทคำสอนของครูบาอาจารย์ เราก็ขวนขวายสร้างคุณงามความดี สร้างบุญกุศล เป็นอริยทรัพย์อริยบารมีฝังไว้สำหรับติดตัวเราไปทุกชาติทุกภพ จนกว่าจะถึงพระนิพพาน

    ถ้าเราไม่เชื่อโอวาท ไม่เชื่อกรรมดีกรรมชั่ว จิตใจก็หวั่นไหวเป็นลูกคลื่นมากระทบจิตใจ สู้คลื่นแรงที่ซัดโถมมาไม่ไหวก็อาจจะจมน้ำตาย

    ผ่าน คลื่นมาได้ หากมาติดการเห็นแก่ปากท้อง ไม่ปรารภความเพียรถูกจระเข้ร้ายฟาดฟันงับลงสู่ใต้ท้องน้ำ หรือกลายเป็นจระเข้ไปเสียเอง ดังนิมิตเกิดขึ้นฟ้องหลวงปู่ก็ได้

    ผ่าน คลื่น ผ่านจระเข้ ก็อาจมาติดวังน้ำวน มัวรัก มัวชอบ มัวหวง มัวห่วง มัวอาลัย ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เกิดความยึดถือมั่นหมายว่าเป็นของเรา เดี๋ยวเจ็บ เดี๋ยวป่วย กลัวเป็นหนัก กลัวล้มตาย กลัวแก่ กลัวตาย ไม่แต่ร่างกายของเรา แม้ที่อยู่ ที่อาศัยก็ห่วงก็หวง กลัวชำรุด ทรุดโทรม ร่างกายของคนอื่น ก็ห่วง ก็หวง ก็อาลัยไปด้วย จิตใจก็หวั่นไหว แหวกว่ายอยู่กลางวังน้ำวน หลงยึด หลงติด ก็ถูกกระแสน้ำดูดลงสู่วังน้ำวน เป็นวัฏฏวนตลอดไป

    หลบ คลื่น หลบจระเข้ หลบวังน้ำวน เผลอๆ อาจจะถูก ‘ปลาร้าย’ จับกินเป็นภักษาหาร ศิษย์ของท่านเองก็ต้องสึกหาลาเพศออกไปนักต่อนักแล้ว ท่านจึงเตือนศิษย์เสมอถึงภัย ๔ อย่างของผู้ภาวนา

    คัดลอกมาจาก...หนังสือฐานสโมบูชา หน้า ๙๒-๙๔
    นำมาจากกระทู้ในบอร์ดเก่า โพสต์โดยคุณ mahapho

    ขอขอบคุณ
    http://www.dhammajak.net/forums/view...hp?f=7&t=20726
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2011
  3. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2011
  4. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
     
  5. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +905
    โมทนาสาธุกับข่าวความเคลื่อนไหวของพระสงฆ์สายวัดป่าครับ
     
  6. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    อนุโมทนาสาธุทุกส่วนบุญกุศลครับ

    การเจริญพระพุทธมนตร์เป็นการภาวนาอย่างหนึ่ง ช่วยสร้างพื้นฐานการภาวนาชั้นสูงอื่นๆก็ได้

    การเจริญพระพุทธมนตร์บ่อยๆเสมอๆ จนเป็นอาจิณกรรม (ชินๆ^_^) ทำให้จิตใจเกาะติดกุศลธรรมง่าย สามารถจัดเข้าในหมวด อนุสสติ10ได้
    โดยเฉพาะเนื้อหาในพระพุทธมนตร์บทนั้นอยู่ในหมวดไหน ก็นำไปสู่การเจริญอนุสสติบทนั้นได้ง่าย

    ดังนั้น หากพลิกแพลงให้วิจิตรยิ่งๆขึ้นไป พระพุทธมนตร์บทนั้นๆ กล่าวเนื้อหาในกรรมฐาน40กองใด ก็หมายถึงนำไปสู่ภาวนากรรมฐาน1ใน40นั้นได้ง่ายต่อไป

    เช่นกันย่อมรวมถึงพระพุทธมนตร์คำบาลีในพระไตรปิฎก ที่ผู้ทรงพระไตรปิฎกท่องบ่น
    ทรงจำเป็็นนิจ ก็เป็นการเจริญพระพุทธมนต์เช่นกัน

    แน่นอนที่ว่า บทสติปัฏฐาน4 ทั้งหลายหรือบทเจริญวิปัสสนาต่างๆ ก็สามารถนำมาเจริญพระพุทธมนตร์ กระทำ ศีล สมาธิ ปัญญา สิกขา(ศึกษา) จนเกิดเป็นการบำเพ็ญวิปัสสนาได้

    ดังนั้นการเจริญพระพุทธมนตร์ที่ดี ย่อมสามารถนำไปสู่การเจริญภาวนา สมถวิปัสสนา ได้ครับ

    ผู้ที่เรียกดนว่านักปฏิบัติภาวนา แต่รังเกียจการเจริญพระพุทธมนตร์ที่ถูกต้อง แล้วยังชักชวนให้ผู้อื่นรังเกียจตามนั้นไม่ควรเลย

    พุทโธ โพเธยยัง มุตโต โมเจยยัง ติณโณ ตาเรยยัึง

    ผิดพลาดพลั้งไปขออภัยขมาด้วยครับ

    http://palungjit.org/threads/การสวดมนต์ควรสวดตามกำลังวันหรือไม่.311227/
     
  7. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    อนุสสติ 10
    อนุสสติ แปลว่า “ตามระลึกถึง” กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึงนึกถึง มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงปฐมฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน 4 และฌาน 5 กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ อนุสสติทั้ง 10 อย่างนี้ ็เหมาะแก่อารมณ์ของนักปฎิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกันบางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต กองใดหมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริต อนุสสตินี้มีชื่อและอาการรวม 10 อย่างด้วยกัน จะนำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้เพื่อทราบ ดังต่อไปนี้


    พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    ธัมมานุสสติ ระลึกถึงพระธรรมเป็นมารมณ์
    สังฆนุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์
    จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
    เทวตานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
    (อนุสสติทั้ง 6 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต)
    มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในนิพพานเป็นอารมณ์
    (อนุสสติ 2 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต)
    กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
    อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและจริต
    อนุสสติทั้ง 10 นี้ เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฎิบัติแต่ละอย่างดังนี้


    กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10

    กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10 มีกำลังสมาธิแตกต่างกันอย่างนี้

    พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อนุสสติทั้ง 7 นี้ มีกำลังสูงสุดเพียงอุปจารสมาธิ

    ลีลานุสสติ มีกำลังสมาธิถึงอุปจารสมาธิ และอย่างสูงสุดเป็นพิเศษ ถึงปฐมฌานได้ ทั้งนี้ถ้าท่านนักปฎิบัติฉลาดในการควบคุมสมาธิจึงจะถึงปฐมฌานได้้ แต่ถ้าทำกันตามปกติธรรมดาแล้ว ก็ทรงได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น

    กายคตานุสสติกรรมฐานกองนี้ ถ้าพิจารณาตามปกติในกายคตาแล้ว จะทรงสมาธิได้เพียงปฐมฌานเท่านั้น แต่ถ้านักปฎิบัติฉลาดทำ หรือครูฉลาดสอน ยกเอา สีเขียว ขาว แดง ที่ปรากฎในอารมณ์แห่งกายคตานุสสตินั้นเอามาเป็นกสิณ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังนี้ กรรมฐานกองนี้ก็สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 4 ตามกำลังสมาธิในกสิณนั้น

    อานาปานุสสติ สำหรับอานาปานุสสตินี้ มีกำลังสมาธิถึงฌาน 4 สำหรับท่านที่มาวาสนาบารมีสาวกภูมิิ สำหรับท่านที่มีบารมี คือปรารถนาพุทธภูมิแล้วก็สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 5 ฌาน 4


    ͹
     
  8. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]
    (พระสมเด็จวัดระฆังเนื้อทองคำ)
    ที่มาครับ





    ยินดีครับ ขอบคุณที่ติดตามผลงานครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2011
  9. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    อย่าให้ท่านพ่อลีช่วยรักษาช่วยคุ้มครองเสียองค์เดียวแล้วเป็นพ้นภัย เพราะท่านพ่อลีก็ไม่ใช่มีแปดหูแปดตาเมื่อไร
    อย่านึกเป็นอื่น ให้นึกว่าเรามาช่วยศาสนา อันเป็นของหาได้ยาก การช่วยให้ช่วยด้วยความดี ช่วยโดยธรรมะ จะปลอดภัยและเป็นความยินดียิ่งกว่าช่วยเรื่องการอยู่การกินเสียอีก
    การช่วยด้วยความดีนี้ ดีทั้งตัวผู้ทำ และดีด้วยกันไปหมด
    ให้นึกเสมออย่างนี้ว่า.. “เชื่อใจคน จนใจตัว”
    ..เวลาเขามากราบไหว้ อย่าได้คิดว่า “เป็นดอกบัวมาเสมอไป” ให้นึกเสียว่า “เป็นขวานมาจามหัว” เสียอีกด้วยซ้ำ
    บางทีหน้ามันอย่างหนึ่ง พอหันกลับไปมันเป็นเสียอีกอย่างหนึ่งก็มี
    ฉะนั้น จึงอย่าประมาท ขอให้พวกเราเป็นผู้รอบคอบระมัดระวัง จะปลอดภัย
    การที่เราชอบไปตามสถานที่ต่าง ๆ ก็มิใช่หวังไปเที่ยวพาความเพลิดเพลินอย่างเดียว แต่มุ่งไปหาวิชาพร้อมกันไปด้วยการจะได้วิชามาก็ขึ้นอยู่กับหลัก ๓ ประการ กล่าวคือ เกิดจากการเห็น การฟัง และการคิด ทั้งนี้โดย การรู้จักใช้อินทรีย์ทั้งหกได้เป็นประโยชน์
    เมื่อเราไปพบลัทธิธรรมเนียมของเขานั้นต่ำกว่าเรา เราก็ให้ประโยชน์แก่เขาบ้างโดยการเทศนาอบรมให้เขาเดินทางถูกเสียใหม่
    แต่เมื่อไปพบคนใดสิ่งใด ที่เห็นด้วยตา ฟังด้วยหู และเชื่อด้วยใจแล้ว เห็นว่าของเขาหรือของเราดีจริง ก็จำเอาสิ่งที่ดี ๆ นั้นมาใช้ต่อไป
    การอันใดจะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนาและแก่ตัวแล้วให้ทำไปแต่อย่าประมาท ของดีบางทีก็เป็นภัย
    เรามีตาแล้วต้องรู้จักใช้ตา ลืมไม่หลับ หลับไม่ลืมก็แย่!
    ให้รู้จักการปิดเปิด
    การอันใดควรทำโง่ ควรทำฉลาด ให้รู้จักปรับปรุงให้เหมาะอย่าให้ผิดกาลเทศะ
    เมื่อใจมุ่งจะทำประโยชน์แก่พระศาสนาแล้ว เราก็ทำความดีมันเรื่อยไป ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ต่ำหรือสูงจะอยู่จะไปก็คิดนึกแต่ประโยชน์เสมอ แต่เรื่องมารยาท คือ การทำความดี ให้แก่คนต่ำคนสูงนั้น ต้องแล้วแต่เหตุการณ์ เราคิดว่าศาสนามิใช่เป็นของบ้าน ของวัด หรือของเมืองใดเมืองหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ศาสนาเป็นสิ่งที่ต่อประโยชน์ได้ทั่วกันไปหมด คือเป็นสมบัติของชาติ เป็นสมบัติของโลก


    http://palungjit.org/threads/เขาว่าท่านพ่อลีเป็นพระเจ้าอโศกมหาราชจริงหรือ.293080/

    เขาว่าท่านพ่อลีเป็นพระเจ้าอโศกมหาราชจริงหรือ ?
     
  10. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    พระควัมปติ, พระปิดตาทำไม?

    [​IMG]

    พระควัมปติ


    หมายถึงพระอรหันต์รูปใดในตำนานพุทธสาวกกล่าวว่า ท่านคือพระควัมปติเป็นพระสาวกรุ่นแรกๆ ของพระพุทธองค์ ก่อนอุปสมบทดำรงฐานะอยู่ในขั้นเศรษฐีมีทรัพย์ ระดับเดียวกันกับ ยสมานพ(อ่านยะสะ) เป็นเพื่อนเกลอรักใคร่ชอบพอกันมาก ครั้งเกิดธรรมาพิสมัย จึงพร้อมใจกันอุปสมบทในสำนักของพระบรมศาสดา ภายหลังต่อมาได้บรรลุอรหันต์ทั้งสองรูปท่านพระควัมปติทรงเป็นเอตะทัคคะ 1 ในพระอรหันต์ผู้ทรงเอตะทัคคะ 80รูปในด้านอินทรีย์สังวร ท่านบรรลุซึ่งเตวิชโชหรือวิชชาสาม เชี่ยวชาญในอิทธิวิธี เชียวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน เคยใช้ฤทธิ์ห้ามกระแสน้ำในลำน้ำสรภู ซึ่งไหลเชี่ยวให้หยุดไหลได้ อาการที่สำรวมทั้งภายนอกภายในโดยเคร่งครัดสม่ำเสมอนี้ ทำให้เทพยดาแลมนุษย์พากันเคารพสรรเสริญ ต่อมาได้พากันสร้างรูปของท่านเพื่อสักการบูชาลักษณะการยกพระหัตถ์ขึ้นปิดพระพักตร์จัดเป็นธรรมาธิษฐาน มิใช่บุคคลธิษฐาน เพราะการสำรวมอายะตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่จำเป็นต้องปิดหน้า"พระปิดตา" แต่เป็นการแสดงความหมายให้ทราบเท่านั้น
    อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า "พระปิดตา"ชนิดนี้คือพระมหากัจจายน์เถระเจ้า ปางอธิษฐานเนรมิตกาย ความเดิมมีว่าท่านพระมหากัจจายนะเถระเจ้าท่านนี้ เป็นเอตะทัคคะในการขยายความย่อให้พิสดาร และเป็นผู้วางหลักสูตรพระบาลีมูลกัจจายน์ คือการสอนพระบาลีไวยากรณ์ในสมัยก่อน เกิดในวรรณะพราหม์ในสกุลกาญจนโคตร ประกอบผิวพรรณวรรณะ อาการแห่งลีลารวมทั้งวรกายละม้ายคล้ายองค์พระบรมศาสดาเจ้า หากดำเนินมาแต่ไกล ผู้คนมักจะจำผิดพากันคิดว่าพระพุทธองค์เสด็จและแม้แต่เทพยดาก็พากันหลงผิด ลีลาสง่างามยิ่งนัก เป็นที่เสน่หานิยมชมชอบของเทพยดาแลมนุษย์ชายหญิงทั้งหลาย และพากันถวายฉายาว่า “ควัมปติ” แปลว่าผู้มีวรกายแลละม้ายคล้ายพระศาสดา (ได้ค้นศัพท์ในพจนานุกรมแล้วไม่มีปรากฏ)
    ในกาลครั้งหนึ่งโสไรยเศรษฐีบุตร พ่อค้าวานิช ได้คุมกองคาราวานไปค้ายังเมืองไกล บังเอิญประจวบเหมาะได้พบเจอกับท่านพระมหากัจจายนะเถระเจ้าก็คิดรำพึงอยู่ภายในไจว่า ภรรยาเรานะนับว่ามีความงามเป็นเลิศ ยังมิอาจเทียบเท่ากับสมณะท่านนี้ หากเราได้ภรรยาเช่นนี้จะปลื้มใจสักเพียงใด พอความนึกคิด สะดุดหยุดลง โสไรยเศรษฐีบุตรพลันกลับกายร่างเป็นเพศหญิงในทันทีทันใด บังเกิดความละอายยิ่งนัก หลบหน้าหลบตาไม่ยอมพบประผู้คน ทั้งไม่ยอมหลับไปยังสถานที่อยู่เดิม ทอดทิ้งบุตรภรรยาและบิดามารดาให้รอคอยด้วยความกระวนกระวายใจ สุดท้ายหมดเนื้อหมดตัว ไปได้สามีแลได้บุตร๒ คน รวมกับบุตรที่มีอยู่เดิม ๒ คน เป็น ๔ คน ยิ่งฟุ้งซ่านใหญ่กาลเวลาผ่านมาหลายปี จนกระทั้งอยู่มาวันหนึ่งนางก็ได้เห็นท่านพระมหากัจจายนะเถระเจ้า ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ นางจรึงจัดภัตตาหารพร้อมด้วยขันใส่ข้าวสุก ไปคอยดักใส่บาตร และกราบทูลความเป็นไปให้ทราบ อ้อนวอนให้ท่านพระมหากัจจายนะเจ้าจงโปรดช่วยเหลือ ท่านมหากัจจายนะเถระเจ้าจรึงนัดพบหลังจากเสร็จจากการบิณฑบาตและกระทำภัตตกิจเรียบร้อยแล้ว ท่านกล่าวว่านึกไม่ถึงและไม่มีเจตนาแต่ประการใดเพียงแต่มีข้อแม้ว่าหากท่านช่วยอธิษฐานกลับเพศให้ได้ดังเดิมแล้ว โสไรยเศรษฐีบุตร ต้องอุปสมบทเป้นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนาโสไรยเศรษฐีบุตรจึงตกลงรับคำ และกลับเพศให้สมปรารถนาท่านพระมหากัจจายนะเถระเจ้าทรงเป็นอุปัชฌาย์อุปสมบทให้โดยเรียบร้อย ภายหลังต่อมาพระโสไรย ได้บรรลุอรหัตตผล
    ท่านพระมหากัจจายนะเถระเจ้าจึงทรงรำพึงว่าอันความสวยความจนทำให้เทพยดาแลผู้คนพากันใหลหลงเป็นของมีโทษ เรียกว่ากามวิตกเป็นหนทางแห่งการมัวหมองเราควรจะแปรเปลี่ยนสรีระเสียใหม่ให้สิ้นซึ่งความสง่างามรำพรึงดังนั้นแล้วท่านก็ทรุดองค์ลงนั่งคู่บรรลังก์ยกหัตถ์ขึ้นปิดพระพักตร์อธิษฐานเนรมิตวรกายให้มีรูปร่างอ้วนเตี้ยม้อต้อมีอุทรอันพลุ้ยสิ้นซึ่งความสง่างามลักษณะเช่นนี้เรียกว่าบุคคลาอธิษฐาน มิใช่ธรรมาอธิฐาน ท่านผู้อ่านจะยึดในธรรมาธิษฐานหรือบุคคลธิษฐานหรือจะเชื่อเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งก็สุดแต่ใจเถิด ล้วนเป็นของประเสริฐทั้งสิ้นปรัศนีนี้มักนำปัญหาค้านแย้งมาให้ขบคิด ปัญญาจะได้แตกฉานพระอรหันต์ตามที่กล่าวนี้เป็นคนละองค์ ปรากฏในตำนานพุทธสาวก แลทรงเอตะทัคคะไปคนละแนวถ้าหากเป็นองค์เดียวกันปัญหาจะไม่ยุ่งยาก แต่อย่างไรก็ตาม ท่านพระควัมปติเป็นพระนามตรงและเรียกกันมาแต่โบราณกาลแล้ง สำหรับการแนะแนวถ้าเรานึกบุคคลาธิษฐานท่านก็คือ พระมหากัจจายนะเถระเจ้าถ้าเราคิดไปในแง่ธรรมาธิฐาน ท่านก็คือพระควัมปติคิดไปได้สองแง่สองมุม หรือสองนัยะอย่าไปคิดฟุ้งสร้านติดยึดในรูปนาม นามะรูปังทุกข์นามารูป์อนิจจ์ นามารูปังอนัตตา
     
  11. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ชนิดของพระปิดตา

    [​IMG]

    [​IMG]

    สรุปคำว่าพระปิดตา ชนิดของพระปิดตาแบ่งออกเป็น 3ลักษณะ


    1. พระปิดตามหาอุดโดยสมบูรณ์เรียกว่าพระปิดทวารทั้งเก้านั่งยองหรือพระเจ้าในครรภ์พระปิดตากุมารในครรภ์
    2. พระปิดตานั่งขัดสมาธิยกหัตถ์ปิดทวารทั้งเก้าความหมายเดิมคือพระเจ้าเข้านิโรธ ควรใช้ศัพท์เรียกว่า “ภควัม” ปิดตานั่งขัดสมาธิหรือพระเจ้าเข้านิโรธสมบัติ ผิดลักษณะจากทารกในครรภ์ ตามเหตุผลแล้วการเข้านิโรธไม่เป็นการปิดทวารอะไร
    3. พระปิดตานั่งขัดสมาธิ ยกหัตถ์ทั้งสองขึ้นปิดพระพักตร์เว้นส่วนอื่น เป็นพระเมตตามหานิยมและลาภผล เรียกว่า “พระควัมปติ”
    พระปิดตาถึงจะแบ่งตามลักษณะที่กล่าวมาแต่พุทธคุณในองค์พระ(พระปิดตา)อาจจะไม่เป็นแบบที่กล่าวมาเสมอไปอยู่ที่พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างจะบรรจุพุทธคุณอธิษฐานจิตให้พระปิดตามีพุทธคุณตามที่ท่านต้องการ


    "พระปิดตา"อายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย...ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าสร้างขึ้นในสมัยใด บางท่านเคยพบว่า พระปิดตางบน้ำอ้อยขนาดใหญ่เนื้อดินเผา อยู่ในกรุเมืองกำแพงเพชร แต่ว่ามีน้อยองค์และหายาก
    บางท่านว่าพระปิดตาพิชัย กรุคลองตะเคียน...กรุวัดประดู่ทรงธรรม...จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างด้วยเนื้อดินผสมผงใบลานเผา น่าจะมีอายุเก่าที่สุดเพราะสืบได้ว่าสร้างใน สมัยกรุงศรีอยุธยายุคปลาย และมีให้เล่นหากันพอสมควร
    หรือบางท่านว่าอาจจะเป็น พระปิดตาท้ายย่าน จากกรุวัดท้ายย่าน จังหวัดชัยนาท เป็นพระปิดตาที่สร้างมาจากเนื้อแร่ดินพลวงผสมชิน ผู้รู้ว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน

    พระพุทธประติมาหินจำหลัก
    ในตำรากล่าวว่าในสมัยพุทธศตวรรษที่7 ศาสนาพุทธ ได้แพร่หลายเข้าไปใน ประเทศกรีก นายช่างจำหลักหินผู้มีฝีมือชาวกรีก ซึ่งเคยจำหลักเทพเจ้าต่างๆ จึงได้จำหลักรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นครั้งแรกด้วยหินอ่อนสีขาว ซึ่งมีมากในประเทศกรีก...ต่อมานายช่างชาวอินเดียแห่งแคว้นคันธาระ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ได้ไปขอถ่ายทอดฝีมือ จำหลักรูปองคืพระศาสดา ด้วยหินชนวนสีเทา มีความงดงามไม่แพ้กัน จึงเป็นพระพุทธรูปสลักหินครั้งแรกของประเทศอินเดีย ซึ่งพุทธศตวรรษที่7 เช่นกันเรียกว่า ศิลปะคันธาระ และพระพุทธรูปยุคนี้ เมื่อเข้ามาถึงประเทศไทย เราเรียกว่า พระพุทธรูปสมัยทวารวดี

    พระพุทธรูปมีครั้งแรกในสมัยพุทธกาล
    ท่านผู้รู้กล่าวว่าความจริงแล้ว พระพุทธรูปได้สร้างขึ้น ครั้งแรกในสมัยพุทธกาล...สร้างด้วยไม้แก่นจันทน์ ครั้งนั้นพุทธองค์จะเสด็จไปยังสวรรค์ดาวดึงส์ เพื่อไปโปรดพุทธมารดา...
    พระมหากษัตริย์ที่ครองชมพูทวีป อยู่ในครั้งนั้นชื่อ พระเจ้าพิมพิสาร หรือพระองค์ใดไม่แน่ชัด ได้ทูลขออนุญาตสลักไม้แก่นจันทน์เป็นรูปพระพุทธองค์ไว้เพื่อสักการบูชา ในระหว่างที่พระพุทธองค์ไม่อยู่...พระองค์ทรงอนุญาต

    พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์แสดงปาฏิหาริย์
    ในตำรามีพระพุทธรูป อยู่ปางหนึ่ง คือปางห้ามแก่นจันทน์ หรือเรียกเต็มๆว่า ปางห้ามพระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ เมื่อสมเด็จพระพุทธองค์ เสด็จกลับจากดาวดึงส์ แล้ว ก็คงเสด็จไปยังที่พำนักของพระองค์ แต่เดิมซึ่งบัดนั้นมี พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ ประดิษฐานอยู่ พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ ได้แสดงปาฏิหาริย์ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้คล้ายจะหลีกทางให้ พระพุทธเจ้า
    พระพุทธองค์ จึงได้ยืนและยกพระหัตถ์ซ้าย ขึ้นหงายฝ่ามือแบไปเบื้องหน้าเสมอพระอุระ...เป็นกิริยาห้ามไว้ ต่อมาประชาชนผู้ศรัทธาได้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
    ส่วนพระมหากัจจายนะ หรือ พระสังกัจจายน์ นิยมสร้างไว้เคารพบูชาในยุคหลังๆ และเปลี่ยนมาเป็นพระปิดตา...พระมหาอุตม์

    พระปิดตาหินอ่อน

    มีพระปิดตาของพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม สร้างไว้แปลกกว่าพระเกจิอาจารย์องค์อื่นๆคือสร้างด้วยหินอ่อน หรือชาวบ้านเรียกกว่าหินสบู่ มีหลายขนาดและหลายพิมพ์ทรงนั่นก็คือ
    พระปิดตาหลวงปู่จ้อย วัดบางช้างเหนือ หลวงปู่จ้อยท่านอายุยืนยาวถึง 80ปี (พ.ศ.2360-2440) ท่านได้สร้างวัตถุมงคลที่เป็นเอกลักษณ์ของวัดบางช้างเหนือ ไว้มากมาย โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่ทำจาก ไม้ไผ่ ไม้รวก รากไม้ไผ่ รากไม้รวก หรือพระปิดตาที่แกะจากหินสบู่ หินอ่อน ท่านจะให้ศิษยืแกะเป็นองค์พระปิดตารูปลักษณะต่างๆ ทรงชะลูดบ้าง ต้อบ้าง หน้าเดียวบ้าง 2หน้าบ้าง มีมือ 2คู่ 3คู่ก็มี ขนาดพอดีแขวนคอ และพกติดตัว จากนั้นท่านก็นำมาจารยันต์มหาอุด แล้วจึงนำไปใส่ไว้ในบาตรรวมกัน ฤกษ์งามยามดี ท่านจะปลุกเสกให้มีอาการ 32 กระโดดออกจากบาตรมาเป็นใช้ได้



    พระปิดตาเป็นพระเครื่องอีกรูปแบบหนึ่ง ที่คนนิยมกันมากในระยะหลัง เนื่องด้วยรูปแบบและกรรมวิธีการสร้าง พระปิดตา ในสมัยก่อนแรกๆจะไม่ค่อยมีคนสนใจเนื่องจาก มีความเชื่อกันมาก่อน เช่น มีพระปิดตาในบ้านแล้วคลอดลูกยากบ้าง มี พระปิดตา แล้วค้าขายของยาก ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    พระเครื่องประเภทหนึ่งที่นิยมกันมาก ด้วยพุทธลักษณะขององค์พระที่แตกต่างทั้งกรรมวิธีการสร้าง รวมทั้งมีพุทธศิลปะ เป็นเอกลักษณ์แตกต่าง จากพระเครื่อง ประเภทอื่นๆ จนกลายเป็น ความโดดเด่น และได้รับความนิยม อย่างสูงยิ่ง ในหมู่พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะ วงการพระเครื่อง ซึ่งรู้จักกัน ในนาม "พระปิดตา"

    พุทธลักษณะของพระปิดตา เป็นรูปองค์พระ ที่ค่อนข้างอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ ขึ้นปิดพระพักตร์ บางสำนัก ก็จะทำเป็นรูปมือ เพิ่มอีก ๒ ข้าง เอื้อมไปปิดทวารด้านล่าง (วงการเรียก "โยงก้น") อีกด้วย

    ประวัติการสร้างพระปิดตาในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นในยุคอยุธยาตอนปลาย จากหลักฐานที่พบพระปิดตายุคแรกเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ พระปิดตากรุวัดท้ายย่าน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท

    ต่อมาจึงมีการสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและพระปิดตาอื่นๆ เช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี

    การสร้างพระปิดตา เริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมา มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักพากันจัดสร้างพระปิดตาขึ้นและได้รับความนิยมไปทั่ว เช่น พระปิดตาวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) พระปิดตาวัดหนัง พระปิดตาวัดทอง พระปิดตาหลวงปู่ศุข พระปิดตาแร่บางไผ่ และ พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม เป็นต้น

    จากข้อมูลดังกล่าวอาจได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า พระปิดตาทั้งหมดเป็นพระปิดตาคณาจารย์ ซึ่งหมายถึงพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณเป็นผู้จัดสร้าง ไม่ใช่เป็นพระกรุที่สร้างโดยเจ้าพระยามหากษัตริย์ แม้แต่กรณีพระปิดตาท้ายย่านก็น่าจะจัดอยู่ในลักษณะเดียวกัน และไม่มีการสร้างก่อนสมัยอยุธยาตอนปลาย

    ลักษณะเด่นของพระปิดตานั้นนับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง "นัย" หรือ "ปริศนาธรรม" แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้

    ความหมายเบื้องต้นแห่งการปิดตาก็คือ การปิด "ทวาร" หรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย

    ซึ่งเราชื่อกันว่าร่างกายของมนุษย์ (หรือสัตว์) มี "ทวาร" หมายถึง ประตูแห่งการเข้าออก ๙ ทาง ได้แก่ ตา ๒ จมูก ๒ หู ๒ ปาก ๑ รวมทั้ง ช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและ ด้านหลังอีก ๒ รวมเป็น ทวารทั้ง ๙



    การปิดกั้นทวารทั้ง ๙ เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณาจารย์ที่สร้างพระปิดตา (หรือปิดทวาร) ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น

    แต่การสร้างรูปจำลองในลักษณะนี้ ค่อนข้างยากต่อการออกแบบ ส่วนใหญ่จึงพบการแสดงความหมายให้เห็นเพียงการปิดพระพักตร์ ซึ่งรวมถึงการปิดปากเท่านั้น

    หากมองในแง่ความสำคัญทางการเมืองการปกครองจะพบว่า อำนาจของภิกษุสงฆ์ไม่ได้จำกัดอยู่ใน "พุทธจักร" อย่างเดียว หากแต่ยังก้าวไปถึง "อาณาจักร" อีกด้วย ตัวอย่างของบทบาทดังกล่าวจะเห็นได้ชัดในกรณี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ธนบุรี ที่สามารถเดินเข้าไปถาม เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ถึงข่าวลือเรื่องการยึดอำนาจกลับจาก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ และขอคำยืนยันว่าจะไม่เกิดเหตุดังกล่าว

    หรือแม้แต่การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จุดไต้ตอนกลางวันเข้าไปเตือนพระสติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ "พุทธจักร" ที่มีต่อ "อาณาจักร" อย่างเด่นชัด

    เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเกจิอาจารย์ที่สร้างพระปิดตาในระยะแรกๆ จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชสำนักไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) หลวงปู่ศุข หลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่ทับ เป็นต้น

    ดังนั้น "พระปิดตา" อาจถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการประกาศตนไม่ยุ่งเกี่ยวกับ "อาณาจักร" เพื่อมิให้เกิดการถูกนำไปอ้างอิงหรือใช้เป็นเครื่อง "ชี้นำ" ในชะตาของบ้านเมือง

    ในระยะเวลาต่อมา คติการสร้างพระปิดตาหรือปิดทวารเกี่ยวเนื่องกันเรื่อยมา มีการจำลองเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ย ซึ่งได้ต้นเค้าจากเรื่องราวของ พระสังกัจจายนะ หรือ พระภควัมบดี อัครสาวกองค์สำคัญของพระพุทธองค์

    พระภควัมบดี หรือ พระมหาสังกัจจายน์ นั้น ไม่ใช่รูปสมมติแทนองค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า

    คำว่า "ภควัมบดี" หรือ "ภควัมปติ" แปลว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า" อันเป็นอีกนามหนึ่งของพระมหาสังกัจจายนะ หนึ่งในพระสาวกผู้ทรงเอกทัคคะ (เป็นเลิศ) ๘๐ รูป ของพระพุทธองค์

    พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ณ กรุงอุชเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่กำเนิด จึงได้นามว่า "กาญจน" และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้)

    พระมหาสังกัจจายนะท่านมีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง

    นอกจากนี้ท่านยังมีรูปร่างและผิวกายงดงามมาก จนได้ชื่อว่า "พระภควัมปติ" อันมีความหมายว่า "ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า"

    ความงดงามแห่งรูปกายนี้เองก่อให้เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้จากฝูงชนทั้งชายหญิงจนเกิดเรื่องพิพาทกันไม่รู้จักหมดจักสิ้น ทำให้พระมหาสังกัจจายนะเกิดสลดสังเวชในใจพิเคราะห์ดูว่าการมีรูปกายงดงาม ก่อให้เกิดทุกข์มากมาย ท่านจึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่างกลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน

    แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้ว ผลแห่งกุศลในอดีตชาติยังส่งให้พระสังกัจจายน์เป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญตลอดมามิมีขาด

    ด้วยความนิยมในพุทธสาวกองค์นี้ โบราณาจารย์จึงได้จำลองลักษณะแห่งพระภควัมบดีในรูปพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยแสดงความหมายที่สำคัญของพระภควัมปติ อันเป็นผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าในหลายลักษณะ อาทิ

    - พระสังกัจจายน์ อันเป็นที่รักใคร่นิยมยินดีเปี่ยมไปด้วยลาภสักการะสรรเสริญ

    - พระปิดตาทวารทั้ง ๙ อัน เป็นการปิดกั้นอาสวะกิเลสแห่งทวารเข้าออกทั้ง ๙ ของร่างกาย

    - พระปิดตามหาอุด อันเป็นการป้องกันสรรพภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง

    ในกระบวนพระปิดตาของคณาจารย์แต่โบราณนั้น มีที่ขึ้นชื่อลือเลื่องหลายสำนักด้วยกัน วัสดุมวลสารที่นำมาประกอบเป็นองค์พระมีทั้งเนื้อชินตะกั่ว เนื้อผงคลุกรัก เนื้อผงใบลาน เนื้อผงมวลสาร เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆพัด เนื้อเมฆสิทธิ์ เป็นต้น

    - พระปิดตามหาอุดหรือพระปิดทวารทั้ง 9 กันดูบ้าง ความเป็นจริงพระปิดตา ที่มีมือคู่เดียวยกขึ้นมาปิดที่ใบหน้า และพระปิดทวารทั้ง 9 นั้นก็หมายถึงพระภควัมปติหรือพระภควัมบดี เช่นเดียวกัน และพระมหาสังกัจจายน์ ก็คือพระอรหันต์องค์เดียวกันนั่นเองครับ

    ตามประวัติว่ากันว่าพระมหาสังกัจจายน์นั้นมีรูปร่างงดงาม และได้รับคำชมจากพระบรมศาสดาว่า พระมหาสังกัจจายน์นั้นเป็นเอตทัคคะ และฉลาดล้ำเลิศในการอธิบายความแห่งคำที่ย่อได้อย่างพิสดาร ด้วยความฉลาดล้ำเลิศของพระมหาสังกัจจายน์นั่นเอง

    พระมหาสังกัจจายน์ ท่านเป็นผู้ที่มีผิวพรรณวรรณะงดงาม ตามพระบาลีว่า สุวณฺโณจวณฺณํ คือมีผิวเหลืองดังทองคำ เป็นที่เสน่ห์นิยม มิว่าท่านจะไปในสถานที่แห่งใด เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายต่างก็พากันสรรเสริญว่า ท่านคือ พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้ว
    เพราะเหตุที่ท่านมีรูปโฉมละม้ายเหมือนพระศาสดานั่นเอง ท่านจึงได้รับสมญานามอีกชื่อหนึ่งว่า “พระภควัมปติ” ซึ่งมีความหมายทำนองว่า ผู้มีความงามละม้ายเหมือน พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง

    เมื่อเหตุการณ์เป็นไปดังนี้ ท่านจึงมาคิดว่า การที่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันสรรเสริญท่านดังนี้ เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง สุดท้ายท่านจึงกระทำด้วยอิทธิฤทธิ์ เนรมิตกายให้เตี้ยลงจึงดูท้องพลุ้ย ไม่เป็นที่น่าดู เทพยดาและมนุษย์จะได้ไม่เกิดความเข้าใจผิดอีกต่อไป

    ส่วนที่มีการทำ รูปเคารพเป็นรูปปิดทวารทั้ง 9 นั้น ก็คือมือคู่หนึ่งปิดหน้า คือปิดตา 2 ข้างปิดจมูก 2 ปิดปาก 1 และมีมืออีกคู่หนึ่งมาปิดที่หู 2 ข้าง ส่วนอีกมือคู่หนึ่งนั้นปิดที่ทวารทั้ง 2 รวมเป็นปิดทวารทั้งเก้า คือเป็นอุปเท่ห์หมายถึง ตอนที่พระภควัมปติท่านกำลังเข้านิโรธสมบัติ ทวารทั้งเก้าก็จะปิดสนิท ไม่ยินดียินร้ายกับกิเลสทั้งหลาย หมายถึงดับสนิท อาสวะกิเลสต่างๆ ไม่อาจที่จะเข้ามาแผ้วพานได้เลย

    จากมูลเหตุนี้เอง คณาจารย์ต่างๆ ท่านจึงสร้างรูปเคารพ เป็นรูปพระปิดตา (คือมีมือคู่เดียวมาปิดที่หน้า) บ้างเป็นรูปพระปิดทวารทั้งเก้าบ้าง และโดยส่วนใหญ่ถ้าเป็นพระปิดตาก็จะปลุกเสกให้เด่นไปทางเมตตามหานิยม โชคลาภโภคทรัพย์

    แต่ถ้าเป็นพระปิดทวารทั้ง 9 ก็จะปลุกเสกให้เด่นไปทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด พระปิดทวารทั้งเก้านั้นในสมัยโบราณ ถ้าบ้านไหนมีคนจะคลอดลูก ถึงกับต้องนำพระปิดทวารทั้งเก้าออกไปนอกบ้านเสียก่อน เชื่อกันว่าจะไม่สามารถคลอดลูกได้ก็มี ซึ่งเป็นความเชื่อกันในสมัยโบราณ

    พระปิดทวารทั้งเก้านั้นมีคติการสร้างมาตั้งแต่ครั้งไหน ยังไม่มีการสืบค้นไปถึงได้ มีพระปิดทวารทั้งเก้าเก่าๆ ที่ยังไม่มีใครทราบว่าเป็นของพระอาจารย์ท่านใดสร้าง แต่มีเนื้อหาความเก่าและได้รับตกทอดกันมานานแล้ว ก็มักจะเรียกกันว่าพระปิดทวารฯ เขมร ส่วนมากที่พบมักจะเป็นเนื้อโลหะ ประเภทสัมฤทธิ์ หรือโลหะผสม ออกจะเป็นทองเหลืองบ้าง เนื้อกลับดำบ้าง


    พระปิดตาพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง

    จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีใครสามารถสืบค้นถึงที่มาได้ แม้แต่ในประเทศกัมพูชาเองก็ยังไม่แน่ว่าจะมีหรือสืบค้นเรื่องราวได้หรือ เปล่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าศึกษาค้นคว้าดู พระปิดทวารฯ เขมรตามที่เขาเรียกกันนั้นของแท้ๆ จะมีเนื้อหาความเก่าแก่อย่างชัดเจน ทั้งศิลปะก็เป็นแบบเก่า เท่าที่พบจะเป็นพระลักษณะปั้นหุ่นเทียนเป็นองค์ๆ จะไม่มีองค์ใดซ้ำกันเลย
    "พระปิดตาเนื้อโลหะ"ที่เก่าที่สุดและพอที่จะมี หลักฐานสืบค้นได้ก็คือพระปิดตาของกรุวัดท้ายย่าน ชัยนาท อายุราวสมัยกรุงศรีอยุธยา และพระปิดตาเนื้อดิน คือพระปิดตาพิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายทางใต้ก็มีพระปิดตานครศรีธรรมราชเป็นต้น ส่วนพระปิดทวารฯ เนื้อโลหะเท่าที่สืบค้นได้ว่าเป็นของพระอาจารย์ท่านใด

    ตำราการสร้างพระภควัมบดี







    สิทธิการิยะ... ตำรา"พระครูเทพ" แห่งกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเกจิอาจารย์ได้ศึกษาสืบต่อกันมานับว่าเป็นของ วิเศษ ที่จะหาอะไรมาเปรียบได้ ฆราวาสก็ดี สมณะก็ดี ถ้าได้ทำตามตำราดังกล่าวนี้ จะทำให้มียศฐาบรรดาศักดิ์ เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลาย


    ท่าน ที่เคยทำมาแล้วก็จะได้เป็นใหญ่เป็นโตโดยทั่วกัน ถ้าผู้ใดต้องการให้ชีวิตตน มีความสุขความเจริญก้าวหน้า บังเกิดสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่ตน ทั้งปกป้อง คุ้มครองภยันตรายต่างๆ แก่ครอบครัว ตลอดจนวงศาคณาญาติ ให้ได้รับความสงบสุข ในโลกนี้ และโลกหน้า ขอให้ปฏิบัติตามตำรานี้






    ท่านว่า...ให้ขุดเอารากรักซ้อนมาตากแดดให้แห้งแล้วจ้างช่างฝีมือแกะ เป็นรูป พระภควัมบดี(พระปิดตา) สูงประมาณนิ้วครึ่งหรือหนึ่งนิ้ว แล้วเจาะใต้ฐานพระให้กลวง เพื่อบรรจุสิ่งต่อไปนี้ คือ

    ๑.ยอดรัก๒. ยอดสวาสดิ์ ๓. ยอดกาหลง อย่างละ ๓ ยอด

    ทั้ง๓ อย่างนี้ เอามาผสมกัน บดให้ละเอียด แล้วเอากระดาษว่าว (กระดาษข่อย) ห่อ พระธาตุพระฉิมพลี และพระธาตุพระสารีบุตร บรรจุรวมกับผง ใส่บรรจุใต้ฐานพระ แล้วเอาชันโรง (ขี้สูด) ปิดฐานพระให้แน่น เพื่อมิให้สิ่งที่บรรจุเข้าไป หลุดออกมาได้

    เมื่อเวลาจะทำต้องหาฤกษ์ ถ้าได้วันเสาร์ ๕ ยิ่งดี เมื่อได้ฤกษ์แล้ว ให้ทำพิธียกครู มีดอกไม้รูปเทียน บายศรี เงินบูชาครู และเครื่องสักการบูชา และมีเครื่องสังเวยเทพยดาด้วย คือ

    ๑.หัวหมูพร้อมด้วยเท้าและหาง ๑ ตัว ๒.เป็ดตุ๋น หรือย่าง พร้อมด้วยเครื่องใน ๑ ตัว ๓.ไก่ต้ม หรือย่าง พร้อมด้วยเครื่องใน ๑ ตัว ๔.ปูทะเลต้ม ๑ จาน ๕.กุ้งทะเลต้ม ๑ จาน ๖.ปลาซ่อนแป๊ะซะ ๑ ตัว พร้อมน้ำจิ้ม ๑ ถ้วย

    นอกจากนี้มีผลไม้อีก๕ อย่าง คือ ๑.ส้ม ๒.มังคุด ๓.องุ่น ๔.เงาะ ๕.แอปเปิ้ล

    และ ขนมหวานอีก๕ อย่าง มีถั่วคั่ว งาคั่ว นม เนย ฯลฯ เครื่องกระยาบวช เอาแหวน เงิน แหวนทอง ใส่ยอดบายศรี มีเทียนเงิน เทียนทอง จุดบูชา ๓ วัน นำไปไว้บน หิ้งพระ หรือโต๊ะหมู่บูชา แล้วทำการบูชาทุกเช้าค่ำ

    หากผู้ใดทำได้อย่างนี้จะล้ำเลิศประเสริฐนัก ปราศจากอันตรายทั้งปวง จะมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป






    ถ้าเป็นทหารและไปในสนามรบ ให้เอาพระห่อผ้าใส่หัวไว้ จะแคล้วคลาดปลอดภัย แม้ ปืนจะยิงมาปานห่าฝน ก็มิถูกตัวเราเลย ถ้าหากมีศัตรู ให้เขียนชื่อศัตรูลง ในกระดาษ แล้วเอาพระนั้นทับไว้ ศัตรูนั้นจะทำอันตรายเรามิได้เลย

    ถ้าต้องโทษถึงตายหรือถูกยึดทรัพย์ ให้เอาพระมาสรง น้ำ แล้วเอาน้ำนั้นมากิน มาอาบ โทษร้ายจะหายสูญสิ้นแล ถ้าโทษถูกเฆี่ยนตี ให้ระลึกถึงพระแล้วจุดธูปเทียนถวายพระ

    บริกรรมภาวนา๓ คาบ จะไม่ถูกเฆี่ยนเลย ถ้าจำเป็นต้องถูกเฆี่ยน ให้กลั้นใจ หยิบเอาดินใส่กระหม่อม ถึงถูกตีก็ไม่เจ็บ

    ถ้า ต้องการป้องกันโจรผู้ร้ายให้จุดธูปเทียนถวายพระ แล้วอธิษฐานจิตให้ปลอดภัย ให้ทำเป็นประจำทุกวัน ภัย ๓ ประการ คือ โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย จะไม่เกิด ขึ้น

    หากผู้ใดได้ทำตามตำรานี้แล้วผู้นั้นจะมีชีวิตที่ ราบรื่น มีความสุขความเจริญ ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ถ้าผู้ใดไม่เชื่อ เสมือนเกิดมาไม่พบพระพุทธเจ้า ไม่พบพระพุทธศาสนา ผู้เป็นคนดีมีศีลธรรมจึง จะรักษาได้ คนพาลรักษาไม่ได้

    (ถ้าหากจะเพิ่มความเข้มขลังยิ่งขึ้น ให้นำองค์พระ ปิดตานี้เข้าพิธีพุทธาภิเษก หรือขอบารมีพระเกจิอาจารย์ปลุกเสกเดี่ยวให้ ก็จะเป็นการเพิ่มอานุภาพพุทธคุณขึ้นอีกทางหนึ่ง)
    ตำรานี้เกจิโบราณาจารย์ศึกษาสืบต่อกันมาจากวัดประดู่ทรงธรรม สมัยกรุงศรีอยุธยา...มาจนถึงทุกวันนี้
     
  12. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    พระควัมปติ พระผู้ทรงป้องกันภัยพิบัติ พระพุทธองค์ทรงให้ท่านไปห้ามกระแสน้ำด้วยฤทธิ์

    [​IMG]

    [​IMG]

    คราวหนึ่งภิกษุถูกน้ำท่วมยามดึก พระพุทธองค์ทรงให้ท่านไปห้ามกระแสน้ำด้วยฤทธิ์ น้ำนั้นก็หยุดไหลอยู่แต่ไกล และทรงประกาศคุณของท่าน ว่า"พระควัมบดีที่ห้ามแม่น้ำสรภูไว้ด้วยฤทธิ์ ย่อมเป็นผู้ไม่ติดอยู่ในกิเลตตัณหาสิ่งใด เป็นผู้ไม่หวั่นไหว เป็นผู้ล่วงเสียซึ่งเครื่องขัดข้องทั้งปวง เป็นนักปราชญ์ใหญ่ เป็นผู้ข้ามจากภพได้แล้ว เป็นที่นอบน้อมของเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย"
    ด้วยเหตุนี้ เขาจึงนิยมทำพระควัมปติเป็นพระเครื่อง เพราะถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมตตามหานิยม เป็นพระปิดตา และยังมีความหมายอีกอย่าง คือ ให้สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ซ่านไปตามอารมณ์ภายนอก


    พระคาถาที่มีนิยมใช้อาราธนาพระปิดตา

    นะโมพุทธัสสะ คะวัมปะติสสะ
    นะโมธัมมัสสะ คะวัมปะติสสะ
    นะโมสังฆัสสะ คะวัมปะติสสะ
    สุขา สุขะ วะรัง นะโมพุทธายะ
    มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา เจวะ เสกขา ธัมมา ยะธาพุทโมนะ ฯ
    " เป็นโภคทรัพย์ เจริญด้วยโชคภาลเมตตามหานิยม "
    .......................
    พระคาถาพิมพ์พระภควัมปติ "ปิดตา"
    ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม
    โลกุตตะโร จะ มหาเถโร อะหัง วันทามิตัง สะทา ควัมปติ จะ มหาเถโร มหาโภโค มหาลาโภ เชยยะสิทธิเม


    แสดงกระทู้ - พระปิดตาทำไม? • ลานธรรมจักร
     
  13. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]

    [​IMG]

    "พระควัมบดีที่ห้ามแม่น้ำสรภูไว้ด้วยฤทธิ์ ย่อมเป็นผู้ไม่ติดอยู่ในกิเลสตัณหาสิ่งใด เป็นผู้ไม่หวั่นไหว เป็นผู้ล่วงเสียซึ่งเครื่องขัดข้องทั้งปวง เป็นนักปราชญ์ใหญ่ เป็นผู้ข้ามจากภพได้แล้ว เป็นที่นอบน้อมของเทพยดามนุษย์ทั้งหลาย"
    ด้วยเหตุนี้ เขาจึงนิยมทำพระควัมปติเป็นพระเครื่อง เพราะถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมตตามหานิยม เป็นพระปิดตา และยังมีความหมายอีกอย่าง คือ ให้สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ซ่านไปตามอารมณ์ภายนอก

    เจริญบทนี้แล้วขนลุก หายใจโล่งขึ้นครับ

    ที่มาครับ
    http://palungjit.org/threads/ติดตามกิจกรรมพระกรรมฐาน.69773/page-22#post5281932
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2011
  14. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  15. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468


    ไปทอดกฐินวัดบึงพลารามเพื่อสร้างพระบรมสารีริกธาตุเจดีย์ และพระธาตุหลวงปู่ต้น พร้อมยกยอดเจดีย์ และฉัตร หล่อพระประธานเจดีย์ และระบบไฟฟ้า ฯลฯ หลวงปู่ท่อนท่านเป็นประธานสงฆ์ ตักบาตรพระกรรมฐาน ถวายหนังสือธรรมะที่ผมร่วมสร้างกับคณะขวัญ ในงานด้วย (ถวายหลวงปู่ท่อน ท่านบอกว่าหนังสือสำหรับชาวบ้าน ถวายชาววัดได้ไหม ผมเลยนำออกมาถวายพระหลวงปู่ครูบาอาจารย์ (ระดับ หลวงปู่ทองพูน หลวงปู่อุทัย วัดภูย่าอู่ หลวงปู่หนูหยาด ท่านเจ้าคณะอำเภอ (เมื่อถวาย เห็นเหล่าหลวงปู่ท่านพิจารณาหนังสือพลิกไปมา คล้ายหลวงปู่ท่อนท่านพิจารณา แล้วช่วงนั้นได้ยินหลวงปู่ท่อน ท่านกล่าวว่า ..ผลจากการสร้างพระพุทธรูปมามาก เป็นตัวอย่างที่ดี ๆ ๆ.... ) ครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆท่าน) พระเณรติดตามหลวงปู่ จนหมด (กันไว้10ฉบับที่ศาลา ไว้ถวายพระอันดับพร้อมเครื่องกฐิน) เอาบุญมาฝากครับ ตอนเย็นพลบค่ำ ผมโชคดีได้ปีนขึ้นไปบนยอดเจดีย์ประดับฉัตร ที่พึ่งติดตั้งและเจริญพระพุทธมนตร์ และเวียนเทียนข้างบนนั้นเลยครับ ช่างยังไม่ทันเก็บนั่งร้านครับครับ
     
  16. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    คุณพระแม่คงคาเข้าท่วมบ้านแล้วครับ
    ตอนแรกนึกว่าจะไม่ท่วมห้องคอมพิวเตอร์ กับสายอินเตอร์เน็ต จะได้เช็คข่าวได้
    สงสัยเข้าคอมไม่ได้ไปหลายวัน นอกจากทางร้านอินเตอร์เน็ต

    กราบนมัสการพระสงฆ์ทุกรูปครับ
    สุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลโดยดีงามทุกท่านครับ
     
  17. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ขอเชิญทุกท่านร่วมทำบุญ-ใส่บาตร, ฟังพระธรรมเทศนา พ่อแม่ครูอาจารย์สายกัมมัฏฐาน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และร่วมพิธีงานทอดกฐินสามัคคี ประจำปีพ.ศ.๒๕๕๔ ณ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จรัญสนิทวงศ์ ๓๗ กทม.วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔ ตั้งแต่เวลา ๐๖.๓๐ น.เป็นต้นไป พิธีทอดกฐินสามัคคีเริ่มประมาณ เวลา ๑๐.๐๙ น.

    [​IMG]


    http://www.baanruenthai.com/forum/viewthread.php?forum_id=6&thread_id=1014
     
  18. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  19. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]


    http://palungjit.org/posts/5243129
    :cool::cool::cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2011
  20. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    http://palungjit.org/threads/ร่วมบุ...งคำ-พิธีเสาร์ห้า-วัดท่าซุงปี53.236229/page-38
     

แชร์หน้านี้

Loading...