พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย มุ่งเต็มใจ, 8 พฤษภาคม 2011.

  1. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระพุทธชินราช หรือ หลวงพ่อใหญ่ ประดิษฐาน ณ พระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พระพุทธรูปสำริด ปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย มีความกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว ความสูง 7 ศอก

    สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งได้สร้างพระพุทธชินราช พร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ฐานชุกชีปั๊มเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เดิมไม่ได้ลงรักปิดทอง ได้มีการปิดทองครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ คราวเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธชินราช เมื่อปี พ.ศ. 2146 จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทยองค์หนึ่ง ถึงขั้นที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้ชลอมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่ทรงรับฟังคำทูลขอร้องของชาวพิษณุโลก ที่ว่าพระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง จึงทรงตัดสินพระทัยหล่อ พระพุทธชินราช(จำลอง) ขึ้นมาแทน ลักษณะขององค์พระเส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขโนงโก่ง พระเนตรประดุจตากวาง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน อยู่ในลักษณะปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวาขององค์พระ มียักษ์ 2 ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้วที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาลักษณะเป็นรูปตัวเหรา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมากอย่าหนึ่ง พระพุทธชินราชประดิษฐานในวิหารลักษณะเก้าห้อง ซึ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ทำให้องค์พระสวยงามบริบูรณ์อย่างในปัจจุบัน และในประวัติศาสตร์ยังพบว่ากษัตริย์ในทุกๆสมัยของไทยให้ความเคารพและศรัทธาต่อองค์พระพุทธชินราชมาอย่างต่อเนื่อง ทุกๆพระองค์

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธชินราช(พิษณุโลก)

    ที่มาครับ
    http://palungjit.org/posts/4681294

    ��оط��Թ�Ҫ ��оط��ٻ�����·���ش�ͧ�š
     
  2. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    เชิญร่วมสร้างพระพุทธชินราชหน้าตัก39นิ้ว พร้อมพระอัครสาวกพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ วัดป่าศรีวิไล หนองหาน อุดรธานี

    [​IMG]
    ที่มารูปภาพครับhttp://www.etcband.net/v3/webboard/show.php?id=4809

    หล่อเวลา 09.09น. ในวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2554 ณ โรงหล่อยงค์เจริญการช่าง ข้างวัดศรีษะทอง นครชัยศรี นครปฐม
    เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนากระทำรัตนตรัยบูชา เป็นประธานศาลาการเปรียญอเนกประสงค์ (วัดไม่มีอุโบสถ ศาลาจึงใช้เป็นที่บวชพระด้วย)

    หลวงปู่คำผิว สุภโน (พระครูภาวนา ปัญญาโสภณ) เป็นเจ้าอาวาส และเป็นประธานสงฆ์ ในการดำเนินการครั้งนี้

    พระสายมูลนิธิหลวงปู่มั่น 5 รูป เจริญพระพุทธมนตร์ และร่วมหล่อ

    1 ใน5 คือพระอาจารย์ไม อินทสิริ เจ้าอาวาสวัดหนองช้างคาว อุดรธานี เข้าร่วมอยู่ในพิธีหล่อด้วยครับ ท่านใดจะไปร่วมบุญกราบไหว้ครูบาอาจารย์ด้วยหล่อพระประธานด้วยขอเชิญนะครับ

    เชิญร่วมบุญได้ที่
    บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 864-0-11558-3
    ธนาคารกรุงไทย สาขาแม็คโคร จรัญสนิทวงศ์
    ชื่อ พระครูภาวนาปัญญาโสภณ

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

    หลวงปู่คำผิว สุภโน (พระครูภาวนา ปัญญาโสภณ) เจ้าอาวาส
    โทรศัพท์มือถือหมายเลข 0857485436

    นายกุศลมงคล สุวรรณกูฏ พนักงานบมจ.ทีโอที 0893006902,0893201413


    ที่มากระทู้ครับ
    http://palungjit.org/posts/4677345
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2011
  3. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    [​IMG]

    ‘พระพุทธชินราชจำลอง’
    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ

    พระพุทธชินราชจำลอง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ สมัยสุโขทัย
    จำลองแบบมาจากพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
    ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก วัสดุสัมฤทธิ์

    ปัจจุบัน ประดิษฐานเป็น พระประธานในพระอุโบสถ
    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพฯ

    พระพุทธชินราชจำลอง มีขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๕ นิ้ว มีเศษ
    น้ำหนักทองที่ใช้หล่อ ๓,๙๔๐ ชั่ง

    ตามตำนานเล่าว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    สถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๒
    โปรดให้ออกแบบพระอุโบสถตกแต่งไว้ด้วยหินอ่อนงดงามวิจิตร
    จำเป็นต้องแสวงหาพระประธานที่มีความทัดเทียมกัน

    ทรงระลึกได้ว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๐๙ ทรงบรรพชาเป็นสามเณร
    ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
    ไปนมัสการพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปที่งดงามไม่มีที่เปรียบ
    แต่การจะอัญเชิญลงมา ย่อมไม่สมควร
    ด้วยเป็นสิริของชาวพิษณุโลก จึงมีดำริให้หล่อขึ้นใหม่
     
  4. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    [​IMG]
    ที่มาครับ ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - ‘พระพุทธชินราชจำลอง’ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระประสิทธิปฏิมา
    (ม.ร.ว.เหมาะ ดวงจักร เมื่อครั้งเป็นหลวงประสิทธิปฏิมา)
    จางวางช่างหล่อขวา ซึ่งเป็นช่างหล่อฝีมือดีที่สุด
    ขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบจากพระพุทธชินราชองค์เดิมที่
    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก แล้วเสด็จพระราชดำเนิน
    ทรงเททองหล่อเป็นส่วนๆ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔

    อัญเชิญล่องเรือมาคุมองค์และแต่งที่กรมทหารเรือ
    โดย พระยาชลยุทธโยธิน (Andre du Plessis de Richelieu)
    ชาวเดนมาร์ก เข้ามารับราชการเป็นทหารเรือ
    มียศเป็นพลเรือโท ตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
    เป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระ เสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑป
    แห่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร
    เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔

    การทั้งปวงตั้งแต่ปั้นหุ่น หล่อ ตกแต่ง และอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน
    ในพระอุโบสถสำเร็จเรียบร้อยดี ทรงปีติโสมนัสอย่างยิ่ง

    “จึงทรงเปลื้องสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นพรัตน์ราชวราภรณ์
    ซึ่งกำลังทรงอยู่นั้น ถวายพระพุทธชินราชเป็นพุทธบูชา”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2011
  5. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    [​IMG]

    เมื่อเชิญพระพุทธชินราชขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ
    เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับราชตระกูล
    ซึ่งทางวัดได้เก็บรักษาไว้อย่างดี
    และอัญเชิญมาคล้องถวายที่พระหัตถ์พระพุทธชินราชจำลอง
    ในวันปิยมหาราช ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี

    ต่อมาถึงปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้จ้าง มร.จุรุหระ (Mr. Tsuruhara)
    ครูช่างในโรงเรียนวิชาช่างกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
    เข้ามาทำการปิดทองจนแล้วเสร็จ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
    ให้จัดงานสมโภชในวันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓

    พระพุทธชินราชจำลอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ
    สมัยสุโขทัย มีเรือนแก้ว ประทับนั่งเหนือรัตนบัลลังก์หินอ่อน
    เรือนแก้วนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำถวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ แต่ช่างทำไม่งาม
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
    จึงโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขใหม่สวยงามตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก
    ชนิดราชวรวิหาร ที่มีความสวยงามเลื่องชื่อเป็นอันดับต้นของเมืองไทย
    จนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก

    ด้วยความงดงามของพระอุโบสถ พระระเบียงคด (พระวิหารคด)
    ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี
    รังสรรค์ให้วัดเบญจมบพิตร กลายเป็นอารามที่มีความวิจิตรงดงาม
    ด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย
     
  6. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    [​IMG]

    สำหรับการเดินทางไปเยี่ยมชมวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวหรือเหมารถตู้รวมกลุ่มกันไปเยอะๆ
    สามารถหาที่จอดรถได้ง่ายๆ บริเวณริมถนนติดคลองด้านหน้าของวัด

    อีกวิธีเป็นการเดินทางแบบประหยัดด้วยการนั่งรถประจำทาง
    สาย ๕, ๑๖, ๒๓ หรือรถปรับอากาศ สาย ๕๐๓, ๕๐๕, ๕๐๙ เป็นต้น
    หรือโบกรถแท็กซี่ให้ไปส่งได้

    สามารถเดินทางมาตามเส้นทางถนนสายใหญ่
    คือ ถนนพระรามที่ ๕ ถนนศรีอยุธยา ถนนราชดำเนินนอก
    และถนนพิษณุโลก จะแลเห็นพระอุโบสถวัดตั้งโดดเด่นเป็นสง่า

    วัดเบญจมบพิตรฯ แห่งนี้ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเป็นเวลา
    ไม่ได้เปิดตลอดทั้งวัน ด้วยเกรงจะเป็นการรบกวนการปฏิบัติศาสนกิจ
    ของพระภิกษุ-สามเณร เวลาทำการ ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น.
    พระอุโบสถ ทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น.

    เสียค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม สำหรับชาวต่างชาติ จำนวน ๒๐ บาท
    ส่วนเราๆ ท่านๆ จะบริจาคปัจจัยบ้างเล็กๆ น้อยๆ เป็นค่าบำรุงดูแลศาสนสถาน

    ไปเยี่ยมชมความสวยงามของวัดและเข้าไปกราบพระพุทธชินราชจำลอง
    เสริมความเป็นมงคลให้กับชีวิตได้อย่างดี
     
  7. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
  8. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    [​IMG]

    พระระเบียงคด (พระวิหารคด) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม


    ทำบุญไหว้พระ ยลยอดศิลปะไทย ที่ “วัดเบญจมบพิตร”
    ::
     
  9. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    สาธุ น้อมยินดีด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ
     
  10. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    พระสมุห์วันชัย เกสรธมฺโม (มีมาก). (2550). การศึกษาศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธชินราชจังหวัดพิษณุโลก ในฐานะสื่อพุทธศิลป์. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (พุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อัดสำเนา.

    http://www.mcu.ac.th/thesis_file/255199.pdf
     
  11. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    คาถาบูชาพระพุทธชินราช

    คาถาบูชาพระพุทธชินราช
    กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา ชินะราชาพุทธรูปัง สิริธัมมะติปิ
    ตะกะราเชนะ กะตัง นะมามีหัง พุทธธังอาราชธนานัง ธัมมังอาราชธนานัง
    สังฆังอาราชธนานัง ชินะราชาพุทธธะรูปัง
    อาราชธนานัง พุทธธังลาภมานะชาลีติ ธัมมังลาภมานะชาลีติ สังฆังลาภมานะชาลีติ
    อุอะมะนะโมพุทธธายะ พามานะอุกะ สะนะถุประสิทธิเม



    ..........................................

    คาถาบูชาพระพุทธชินราช บทนี้เขียนใว้โบสถ์หลวงพ่อพระพุทธชินราช

    อิเมหิ นา นา สักกาเลหิ อภิปูชิเตหิ ทีกายุโกโหมิ
    อะโลโคสุคิโต สิทธิกัจจัง สิทธิกรรมมังปิยัง มะมะ
    ประสิทธิลาโภชะโยโหตุ สัพพัทธา พุทธะชินะราชา
    อภิปะเลตุมัง นะโมพุทธายะ


     
  12. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
  13. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

     
  14. gute Gedanke

    gute Gedanke Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +30
    :cool:สาธุ อนุโมทนามิ
    ไปกราบพระทุกครั้งที่กลับมาบ้าน ชอบไปสวดมนต์ที่วิหารพระพุทธชินสีห์ค่ะ
    บางครั้งสวดมนต์อยู่แดนไกลเหมือนมานั่งอยู่หน้าพระที่พิษณุโลก
    สาธุ
     
  15. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    สาธุๆๆ อนุโมทามิครับ เป็นข่าวบุญที่ดีมากครับ :cool:


    นอกจากร่วมบุญหล่อพระพุทธชินราช ที่คาดว่าจะไปถวายในงานกฐินนี้
    ผมเองเคยนำพาหมู่คณะหล่อพระพุทธชินสีห์ (เจ้าภาพใหญ่ไม่ได้มา) ประดิษฐานที่ชั้นล่างศาลาการเปรียญ วัดบางระกำ อ.บางระกำ พิษณุโลกครับ
    ตอนถวาย หลวงพ่อแขก ท่านติดกิจนิมนตร์ ผมเลยคิดว่าเป็นโอกาสดี ท่านไม่อยู่รับพระ มีพระสงฆ์ประมาณ9รูป เจริญพระพุทธมนตร์ฉลอง จะถือโอกาสบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่บริเวณพระเกศรัศมีเอง
    ไม่ทราบว่าท่านรู้วาระจิตอ่านใจผมได้หรือเปล่า ปรากฏว่า บริเวณพระเกศไม่สามารถเปิดออกบรรจุได้(ที่ปกติช่างจะสร้างไว้ให้เปิดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้) ราวกับเชื่อมเป็นเนื้อโลหะเดียวกัน จนเข้าใจว่าพระสงฆ์ท่านต้องรอให้หลวงพ่อแขกครูบาอาจารย์กลับมาเป็นผู้บรรจุเองครับ มีโอกาสขอเชิญลองไปถามหากราบไหว้บูชาได้ อีกแห่งหนึ่งนะครับ

    ผิดพลาดพลั้งไปขออภัยขมาด้วยครับ
     
  16. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +905
    อนุโมทนาสาธุ
    บุญนี้ ขอยกให้กับเจ้าของกระทู้ด้วยเทอญ...

    ttt2010 ศิษย์พระอาจารย์บุญยง อภิลาโส ภิกขุ
    _____________________________________________________
    แนะนำกระทู้
    มิจฉาชีพกับรถที่จอดบนทางด่วน ทางยกระดับ และทางกลับรถ
    เมื่อรู้ว่า...ดวงชะตาขาด
    คติธรรมนำทางชีวิต ตามแนวคิดของศิษย์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เปิดดวง พิธีกรรมแก้ดวงชะตา (สำนักสงฆ์พรหมรังศรี)
    16 ตุลาคม 2554 กฐินสามัคคีปฐมฤกษ์เบิกชัย ที่พักสงฆ์พรหมรังศรี
    ป้องกันภัยน้ำท่วมเมื่อถูกธรรมชาติลงโทษ ตัวอย่างนครอินทร์&ราชพฤกษ์
    แก๊งกลุ่มเด็กอุแว้ อุแว้...ซิ่ง...(แก้เครียดน้ำท่วม)
    ท่องเที่ยวนครนายก เมืองเจ้าพ่อขุนด่าน
    ท่องวัดและศาสนสถานที่สำนักสงฆ์พรหมรังศรี
    การเบิกโอนบุญ อนุโมทนาบุญ และวิธีปฏิบัติ
    แจกฟรี (ไฟล์ PDF) หนังสือหลวงตามหาบัว ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า ชาติสุดท้าย
    ขอเชิญร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดดอนพัฒนาราม พระนครศรีอยุธยา
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างศูนย์วิปัสสนาศิริธรรม(นายาง)ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    แรงศรัทธาพุทธศาสนาในบอร์ดพลังจิต
    วันอาสาฬหบูชา วันนี้เลือกเวียนเทียนที่พุทธมณฑลดีกว่า<!-- google_ad_section_end -->
     
  17. gute Gedanke

    gute Gedanke Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +30
    สาธุ โมทนาด้วยค่ะ
    หลวงปู่แขกที่คุณพูดถึง ท่านเมตตารับนิมนต์ไปฉันเพลที่บ้าน สวดมนต์เสียงก้องมาก เทียนที่ท่านจุดทำน้ำมนต์ หนึ่งกำท่านเตรียมมาพร้อม
    หากว่าคนอย่างเรากำเทียนจุดปล่อยให้หยดลงแบบท่าน คงต้องได้รับการบำบัดจากโรงพยาบาลทันที
    วัดบางระกำที่คุณบอกน่าจะเป็น วัดสุนทรประดิษฐ์ ส่วนวัดบางระกำ อยู่เลยไปอีกนิดนะคะ หลวงปู่แขกท่านอยู่ที่วัดสุนทรประดิษฐ์
    โมทนากับทุกกุศลค่ะ และขอบพระคุณที่บอกกล่าวนะคะ
     
  18. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    ผมเคยเห็นองค์ท่านจริงๆ..เป็นสีดำหรือเปล่าครับ..พอดีเป็นบ้านเกิดคุณพ่อผมเองครับ..
    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  19. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    เข้าใจว่าที่เห็นเป็นช่วงบูรณะองค์ท่านครับ โดยการลอกทองคำเก่า แล้วจัดเตรียมพื้นผิว ลงรักสีดำก่อนปิดทองคำเปลวแท้ รักสีดำจะทำให้ทองคำเป็นเงางามและติดทนนาน

    ผิดพลาดพลั้งไปขออภัยขมาด้วยครับ
     
  20. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    งานลงรักปิดทองของช่างรัก ซึ่งนับวันจะเหลือผู้มีฝีมือลดน้อยลงไปและได้รับการถ่ายทอดจากสถาบันการศึกษาสู่เยาวชนรุ่นหลัง

    ลวดลายไทยสีเหลืองทองอร่ามตัดกับสีดำมันวาว เป็นงานลงรักปิดทองศิลปลายรดน้ำ รังสรรค์ผลงานโดยช่างรัก งานลงรักปิดทองจัดเป็นงานปราณีตศิลปของไทย จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่แขนงช่างรัก มีวิวัฒนาการสืบทอดมาจากครั้งบรรพบุรุษแต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสมัยใด สัญนิฐานว่าพัฒนาจากงานช่างรักเมื่อครั้งสมัยสุโขทัย เป็นราชธานีมีการลงรักปิดทองพระพุทธรูป ต่อมานำมาตกแต่งประดับสิ่งของเครื่องใช้ สำหรับพระมหากษัตริย์ ชนชั้นสูงจนถึงชาวบ้านธรรมดา และเป็นเครื่องใช้ในพระศาสนา

    แต่ปัจจุบันด้วยจำนวนช่างที่ลดน้อยลงไป มีการแก้ปัญหา สิ่งของมาทดแทนและคุณภาพความคงทนจะลดลง

    วิธีการปิดทองที่นำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน

    อุปกรณ์
    1.พู่กันทาสีน้ำมันคละเบอร์ ตามเนื้อผิวงาน
    2.พู่กันขนกระต่ายให้ในการปัดฝุ่นหรือเก็บฝุ่นทอง
    3.สำลี
    4.สี น้ำมัน FLEX (สีแดงและสีเหลือง /เป็นสีแห้งช้า(กว่าสีน้ำมันทั่วไป)และมีความมันวาวไม่ต้องผสมอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่อย่าลืมคนสีให้ทั่วให้เนื้อสีกระจายตัวก่อน
    5.สีรองพื้นกันสนิม(สีเทา)ในกรณีที่องค์พระหรือพื้นผิวยังไม่ได้ทำอะไรเลย
    6.ทองคำเปลวแท้จะมีหลายขนาดและหลายเกรดนะครับ(ระวังทองต่อ หรือทองสองสีนะครับ)
    8.ทินเนอร์ ไว้ล้างสีล้างพูกัน/แปรงสีน้ำมัน
    9.ทดสอบเวลาที่สี flex แดงและ flex เหลือง แห้งสนิท(สำคัญ)

    ขั้นตอน
    1.ล้างคราบไขมันต่าง ๆบนองค์พระให้สะอาดด้วยน้ำสบู่หรืออื่น ๆ ที่ไม่ทำให้ผิวขององค์พระเสียหายแล้วปล่อยให้แห้ง
    2.พ่น สีรองพื้นเทากันสนิมให้ทั่ว (เขย่ากระป๋องให้เนื้อสีกระจายตัว อย่าพ่นให้เยิ้มพยายามพ่นสีให้กระจายทั่วได้น้ำหนักเท่า ๆ กันแล้วปล่อยทิ้งให้แห้ง 2-3 วัน)
    3.ลงสีรองพื้นก่อนลงสีปิดทอง
    3.1.ใช้สี flex แดง(อย่าลืมคนสีให้ทั่วให้เนื้อสีกระจายตัว)
    3.2.หา ช้อนหรือวัสดุอื่นที่ตักสีได้ ตักสีแบ่งจากกระป๋องใส่ภาชนะอื่นกะให้ได้ปริมาณที่ทาได้ทั่วอย่าลืมปิด กระป๋องสี flex ให้แน่น (เพราะอากาศจะเข้าทำให้สีแห้งเป็นเม็ดสีได้)
    3.3.ใช้ พู/แปรงจุ่มสีพอประมาณ(อย่าให้เยิ้ม)ทาสีให้ทั่วพิ้นผิวที่ต้องการทา เกลี่ยสีให้มีน้ำหนักเท่า ๆ กันบางๆไม่ต้องรีบร้อน โดยสังเกตว่าถ้าทาสีหนาจะทำให้รายละเอียดหายไป เช่น ลวดลายผ้า /พระเนตร/ พระโอษฐ์ เป็นต้น แล้วปล่อยให้สีแห้งทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 3-4 วัน
    4.ลงสี flex เหลืองเพื่อปิดทอง
    4.1.ใช้สี flex เหลือง(อย่าลืมคนสีให้ทั่วให้เนื้อสีกระจายตัว)
    4.2 .หา ช้อนหรือวัสดุอื่นที่ตักสีได้ ตักสีแบ่งจากกระป๋องใส่ภาชนะอื่นกะให้ได้ปริมาณที่ทาได้ทั่วอย่าลืมปิด กระป๋องสี flex ให้แน่น (เพราะอากาศจะเข้าทำให้สีแห้งเป็นเม็ดสีได้)
    4.3.ใช้ พู/แปรงจุ่มสีพอประมาณ(อย่าให้เยิ้ม)ทาสีจากด้านบน(เศียร)ลงมาด้านล่าง(ฐาน ล่าง)เกลี่ยสีให้มีน้ำหนักเท่า ๆ กันบางๆไม่ต้องรีบร้อน เสร็จแล้วทิ้งไว้อย่างต่ำ 4 ชม.
    5.ปิดทอง
    5.1.ตรวจ สอบพื้นผิวสี -ให้ใช้หลังนิ้วแตะทดสอบ สีจะต้องไม่ติดนิ้ว หรือเหนียวจนรู้สึกได้ว่านิ้วมือติด จนกระทั่งรู้สึกว่าแห้งแต่ยังมีความรู้สึกว่ามีความชื้นเวลาปิดทอง ทองคำเปลวจะไม่จมจะเกิดมีความมันวาวเป็นประกายของเนื้อทองคำ (ห้ามให้สีแห้งผาดจะทำให้แผ่นทองไม่ติด)
    5.2.ปิด แผ่นทองคำเปลว ที่ผิวองค์พระโดยเริ่มจากส่วนฐานขึ้นด้านบน ให้แผ่นทองเกยทับกันเล็กน้อย ในส่วนที่เป็นลวดลายให้ปิดทับลงไปอีก 1 แผ่น โดยปิดให้ทั่ว
    5.3.ใช่พู่กันไล่ผิวแผ่นทองบางๆจากด้านบนรอบด้านลงมาด้านล่าง (อาจจะเว้นช่วงเม็ดศกไว้ทำทีหลังก้อได้)
    5.4.พยายามไล่แผ่นทองที่ปิดพร้อมกับตรวจสอบผิวและปิดทองซ้ำ ณตำแหน่งที่ยังไม่ถูกปิดให้เรียบร้อย
    5.5. ส่วน เศษทองคำเปลวที่หล่นยังใช้ปิดได้ โดยใช้ พู่กัน (เบอร์เล็ก) แตะแล้วนำมาปิด ณ ที่ยังไม่ถูกปิดให้เรียบร้อยบริเวณที่ต้องการ หรือผงทองให้กวาดเก็บใส่ในตลับสามารถนำมาถมปิดในจุดตำแหน่งเล็กๆ
    5.6.เมื่อปิดทั่วบริเวณที่ต้องการและเก็บงานเรียบร้อยแล้วทิ้งไว้ 1 คืน
    5.7 .วันต่อมาต้องกรวดทอง โดยใช้สำลีปั้นเป็นก้อนกลมกดลูบเบาๆให้ทั่วให้เนื้อทองเนียนสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน

    หมายเหตุ หากใช้รักแท้ และมีความหนืดมากเกินไป ใช้นำ้มันตั๋งอิ้วเป็นตัวทำละลาย นำ้มันสนก้อดีแต่มีกลิ่นนิดๆ

    source: กมล สุวุฒโฑ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
    เว็บบอร์ด พลังจิต ดอทคอม


    งานลงรักปิดทอง สืบสานมรดกไทย | Thai AdvertisingEtc
     

แชร์หน้านี้

Loading...