เส้นทางสายนิพพานและพุทธภูมิ คือ ทางสายเดียวกัน

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย nouk, 28 กันยายน 2011.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD><CENTER>เส้นทางสายนิพพานและพุทธภูมิ คือ ทางสายเดียวกัน

    </CENTER>


    พุทธศาสนานิกายเถรวาท มุ่งเน้นการปฏิบัติธรรมเพื่อนิพพาน ในขณะที่นิกายมหายาน มุ่งเน้นการปฏิบัติธรรมเพื่อยังไม่นิพพานในชาตินี้ แต่สะสมบารมีด้วยการฉุดช่วยสรรพสัตว์ไปก่อนตน หลายท่านจึงมักพบเห็นเสมอว่านิกายทั้งสองหลายครั้งที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ไม่ตรงกัน และขัดแย้งกัน แท้ที่จริงแล้ว พุทธศาสนาไม่ว่านิกายใด ล้วนมีความเหมือนกันทั้งหมดทั้งสิ้น คือ การทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และเมื่อละเว้นความชั่วได้มาก กรรมใหม่ก็ไม่เพิ่ม พร้อมทั้งปฏิบัติความดีมากๆ ผลบุญจะช่วยให้ได้ชดใช้กรรมเก่าลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุด กรรมเก่าก็ชดใช้ได้หมดด้วยกรรมดี และกรรมชั่วใหม่ๆ ก็ไม่มีต่อให้สืบชาติสืบภพอีก ดวงตาธรรมจึงไม่ถูกกรรมบดบังตาอีกต่อไป ดวงตาธรรมจึงเปิดขึ้น ละกิเลสและสังโยชน์ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ได้มากขึ้น ทำให้จิตบริสุทธิ์มากขึ้น และในช่วงที่เข้าสู่วิถีแห่งจิตที่บริสุทธิ์นี้เอง บุคคลผู้ปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ จะระลึกรู้ได้อย่างชัดเจนถูกต้องไม่ปรุงแต่งว่า ตนเองปรารถนาสิ้นชาติภพในชาตินี้แน่แท้ หรือปรารถนาสิ้นชาติภพหลังจากได้ตรัสรู้ในอนาคตก่อน ดังนั้น เส้นทางการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าสายมหายานหรือเถรวาท ก็ต้องใช้หลักทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ก่อน เหมือนกันทั้งสิ้น เมื่อบุคคลรู้ตนว่าสิ้นชาติภพนี้แน่ จะเข้าสู่ “อรหันตมรรค” แล้วปฏิบัติตรงทางมรรคเดิมต่อไปจนสุดปลายทางคือ “อรหันตผล” สำเร็จบรรลุธรรมในที่สุด ส่วนท่านที่ถอนสังโยชน์ได้บ้าง จนเริ่มบริสุทธิ์แล้ว และเริ่มระลึกได้ว่าตนเองมีความปรารถนาตรัสรู้ในอนาคตข้างหน้าก่อน ยังไม่สิ้นชาติภพในชาตินี้ เมื่อนั้น บุคคลอาจเข้าสู่ “โสดาปัตติมรรค” หรือ ก้าวหน้าถึง “อรหันตมรรค” แตกต่างกับไปตามกำลังบารมีที่บำเพ็ญมา นั่นหมายความว่า “โพธิจิต” หรือ จิตของผู้ที่ยอมสละนิพพานได้ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้สำเร็จก่อนตนนั้น ปรากฏชัดเจนแล้ว ในบางท่าน ไม่ได้ปรารถนามาในอดีตชาติ แต่โพธิจิตมาเกิดในชาติปัจจุบันก็มี ท่านเหล่านี้ก็จะเลือกที่จะบำเพ็ญ “พุทธภูมิ” ยังไม่นิพพานในชาตินี้ ส่วนท่านที่ไม่บรรลุแม้แต่อริยบุคคลขั้นต้น คือ พระโสดาบัน ส่วนใหญ่โพธิจิตไม่สามารถงอกงามได้จริง เพราะโพธิจิตจะงอกงามได้จากจิตที่บริสุทธิ์ หากจิตไม่บริสุทธิ์มีกิเลสอยู่ กิเลสอาจครอบงำ อวิชชาอาจทำให้หลงผิด คิดไปว่าพุทธภูมิและการบำเพ็ญเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งผิดออกไปอย่างสิ้นเชิง เช่นนี้ เรียกว่า “หลงทาง” ทั้งๆ ที่ปากประกาศออกไปว่าปรารถนาพุทธภูมิก็ตาม ในกลุ่มปุถุชนโพธิสัตว์ที่มีจิตช่วยเหลือผู้อื่นก่อนตนเอง แต่ไม่เข้าใจเรื่องของนิพพาน เช่น เป็นหมอที่อุทิศชีวิต ช่วยคนอื่นก่อนตนเอง จนโพธิจิตเกิดแล้ว แต่เพราะความไม่เข้าใจในสัจธรรม จึงไม่รู้ว่าการช่วยคนให้รอดจากโรคภัยนั้น ไม่อาจช่วยให้รอดได้จริง เพราะบุคคลย่อมมีความตายเป็นเบื้องหน้าแน่นอน ไม่อาจหนีได้ จะช่วยคนได้แท้จริง ต้องช่วยถึงนิพพานเท่านั้น ลักษณะนี้ เรียกว่า โพธิจิตเกิดแล้ว แต่ไม่ได้เกิดจากจิตที่บริสุทธิ์ ยังไม่เห็นธรรมเลย ยังยึดว่าจะต้องช่วยคนให้พ้นจากความตายอยู่เลย แบบนี้ จะไม่เรียกว่าโพธิสัตว์เต็มตัว เมื่อละสังขารจากโลก จะจุติที่สวรรค์ชั้นดุสิตได้ แต่ได้รับตำแหน่งขึ้นแท่น “เทพ” ประเภทต่างๆ เช่น เทพโอสถ, เทพนักรบ ฯลฯ ส่วนในกลุ่มที่ปฏิบัติจิตเป็นสำคัญ จนบรรลุธรรมระดับหนึ่งมีความสามารถช่วยคนได้ แต่โพธิจิตยังไม่เกิด หรือเกิดแล้วแต่ยังไม่ตั้งความปรารถนาที่จะฉุดช่วยสรรพสัตว์ให้ถึงนิพพานก่อนตน หรือตนเองก็ยังไม่นิพพานสิ้นชาติภพ เมื่อละสังขารจากโลก จุติที่ชั้นดุสิต ก็ได้รับตำแหน่งขึ้นแท่นเป็น “เซียน” คือ บรรลุธรรมระดับหนึ่ง, มีวิชชาช่วยคนได้ แต่ยังไม่ได้ช่วยคนไปสู่นิพพาน นั่นเอง เช่น เซียนบางองค์บรรลุธรรม มีวิชชาช่วยคนให้รอดตายได้ เป็นต้น หากบุคคลนั้น มีโพธิจิตเกิด จิตตรงต่อธรรม บรรลุธรรมเห็นแจ้ง ว่าต้องช่วยสรรพสัตว์ถึงนิพพานเท่านั้น จึงจะรอดอย่างแท้จริง บุคคลนั้นเมื่อเบื้องหน้า กายแตกดับ จุติที่ดุสิต จะได้รับตำแหน่งขึ้นแท่น “โพธิสัตว์” อย่างเต็มตัว นี่คือ ความแตกต่างของเทพ, เซียน และโพธิสัตว์ สรุปง่ายๆ คือ เทพ ช่วยคนมีโพธิจิตขั้นต้นแต่ไม่บรรลุธรรม, เซียน บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่ง ช่วยคนแต่ไม่ได้ช่วยไปสู่นิพพาน, โพธิสัตว์ บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่ง แล้วช่วยคนเพื่อไปสู่นิพพาน ส่วนอรหันต์ คือ ผู้ที่บรรลุธรรมสิ้นชาติภพ แล้วช่วยสรรพสัตว์ตามกำลังของตนจนกว่าจะหมดกิจจบชาติภพก็จากไป ไม่เกิดอีก เท่านั้นเอง




    การบำเพ็ญทศบารมีคือทางร่วมกันของทุกนิกายสายธรรม

    อุปมาบุคคลเหมือนผู้วิ่งแข่งกันเข้าเส้นชัย สำหรับผู้ที่หลงทาง ไม่ได้รู้เลยว่าเส้นชัยที่แท้จริงคืออะไร สุดท้ายปลายทางของชีวิต ของการเวียนว่ายตายเกิดคืออะไร พวกเขาก็จะหลงทาง วิ่งออกนอกลู่นอกทางไป ไม่อาจถึงเส้นชัย ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นผู้มีชัยชนะ สำหรับผู้ที่ไม่หลงทาง หากวิ่งเข้าสู่เส้นชัยเป็นคนแรกก่อนผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเห็นเส้นชัยแล้ววิ่งตามมาได้ ก็คือ พระพุทธเจ้า ถ้าไม่สามารถนำทางให้ผู้อื่นวิ่งตามตนมาได้ ก็คือ พระปัจเจกพุทธเจ้า และถ้าวิ่งตามคนอื่นเข้าเส้นชัยไปได้ แม้ไม่ใช่คนแรก (ไมได้ตรัสรู้เอง) ก็คือ พระอรหันต์ ดังนั้น เส้นทางของพระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า, พระอรหันต์ ล้วนเป็นเส้นทางเดียวกันทั้งสิ้น ขึ้นอยู่แต่ว่า ใครจะเข้าเส้นชัยก่อนใครในยุคสมัยใด เช่น พระสาวกของพระพุทธเจ้าสมณโคดม ก็จะเข้าเส้นชัยนิพพานในพุทธกาลนี้ แต่ไม่ได้เข้าเป็นคนแรกในพุทธกาลนี้ ส่วนพระเมตตรัยโพธิสัตว์ ก็จะเข้าเส้นชัยนิพพานในพุทธกาลหน้าเป็นบุคคลแรก เป็นต้น ดังนั้น บุคคลไม่ว่าจะมีจิตอยู่ภูมิใดในสามภูมินี้ คือ พุทธภูมิ, ปัจเจกภูมิ และสาวกภูมิ ก็ดี ล้วนต้องมีการบำเพ็ญบารมีทั้งสิบเพื่อเข้าสู่เส้นชัยเดียวกันทั้งสิ้น หากนักวิ่งไม่ฟิตซ้อมร่างกายมาเลย ไม่บำเพ็ญบารมีมาก่อนเลย ไฉนเลยจะเข้าเส้นชัยได้ ดังนั้น จึงไม่มีผู้บรรลุอรหันต์ผู้ใด ไม่เคยบำเพ็ญบารมีมาก่อน และผู้ที่ไม่บำเพ็ญบารมีมาก่อนก็ไม่อาจบรรลุนิพพานได้ ดังนี้ ผู้ปรารถนานิพพาน จึงต้องบำเพ็ญทศบารมีด้วย สรุปได้ว่า การบำเพ็ญบารมีเป็นทางสายเดียวกันระหว่างผู้ปรารถนานิพพานและพุทธภูมิ (ปรารถนาบำเพ็ญบารมีเพื่อช่วยให้สรรพสัตว์นิพพานก่อนตน) ยกตัวอย่างเช่น หากไม่มีศีลบารมีมาเลย ก็ไม่อาจรับศีล ๒๒๗ ข้อได้ ไม่อาจมีกำลังปฏิบัติได้ ก็ไม่อาจบวชอยู่ในพระธรรมวินัยได้, หากไม่บำเพ็ญวิริยะบารมีมาเลย ไหนเลยจะมีความพากเพียรพอที่จะศึกษาปฏิบัติธรรมจนบรรลุได้, หากไม่มีอุเบกขาบารมีมาเลย จิตก็จะไหวเอนไปในเรื่องคู่ตรงข้าม อันเป็นของทางโลก จิตวางตรงกลางไม่ได้ ก็ไม่พ้นโลก ไม่เหนือโลก ย่อมไม่บรรลุ ฯลฯ ดังนั้น การบำเพ็ญบารมีนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ทุกคน เป็นกิจของมนุษย์ที่เกิดมาบนโลก จะต้องบำเพ็ญ เพื่อพุทธภูมิก็ตาม หรือเพื่อนิพพานในปัจจุบันชาติก็ตาม ถ้าไม่มีการซ้อมด้วยการบำเพ็ญบารมี ล้วนไม่อาจบรรลุได้ทั้งสิ้น ดังนั้น ไม่ว่านิกายเถรวาทหรือมหายานก็ล้วนต้องปฏิบัติเหมือนกัน




    อนึ่ง ที่เคยเชื่อกันว่า ปรารถนานิพพานต้องไม่บำเพ็ญบารมี หรือบำเพ็ญบารมีเพราะไม่ปรารถนานิพพาน จึงเป็นความเข้าใจผิดสิ้นเชิง นอกจากนี้ สำหรับท่านที่จะลาพุทธภูมิ เพื่อเข้าสู่นิพพาน ไม่คิดจะสะสมบารมีไปชาติภพต่อไปแล้ว อาจคิดว่าต้องปฏิบัติใหม่ จากเดิมที่เคยบำเพ็ญมาก็งดบำเพ็ญเสีย นั่นก็เป็นความเข้าใจผิดอีกเช่นกัน เพราะการลาพุทธภูมิที่ได้ผลแท้จริง คือ การได้บรรลุนิพพาน หากไม่บรรลุนิพพาน ยังต้องมีชาติภพต่อไป ก็ยังไม่สิ้นสุดอยู่ดี การทำพิธีรีตอง พิธีกรรม เช่น พิธีปรารถนาพุทธภูมิโดยกล่าวต่อหน้าพระพุทธรูปก็ดี, พิธีกรรมลาพุทธภูมิโดยกล่าวต่อหน้าพระพุทธรูปก็ดี ล้วนไม่ให้ผลเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้แท้จริง แท้จริงแล้ว มรรคของสรรพสัตว์ มีเพียงสองมรรค หรือสองทางเท่านั้น คือ ทางแห่งความหลง และทางแห่งความไม่หลง เท่านั้นเอง ทางแห่งความไม่หลง คือ ทางแห่งการบำเพ็ญบารมี จนบารมีแก่กล้ามากพอที่จะหาญต่อกรกับกิเลส ทำให้กิเลสสิ้นสูญ นิพพานไป จนจิตบริสุทธิ์ พอที่จะไม่หลง และรู้ได้ว่ากิจต่อไปมีอีกหรือไม่มี พรหมจรรย์จบสิ้นแล้วหรือยัง ชาติภพต่อไปยังมีอีกหรือไม่ ผู้ปฏิบัติถึงขั้นนี้จะล่วงรู้ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ไม่หลงตัวเอง ไม่ผิดเพี้ยนว่าตนเองปรารถนานิพพานหรือพุทธภูมิ ล้วนการรู้ด้วยการเห่อเอาตามๆ กัน ตามกระแสแฟชั่นในวงสังคมคนปฏิบัติธรรมนั้น ล้วนเป็นการคิดเอา ปรุงแต่งเอา ที่ขาดความรู้จากจิตที่บริสุทธิ์ ล้วนเป็นทางแห่งความหลงทั้งสิ้น ดังนั้น ทางตรงทางเดียว คือ การบำเพ็ญบารมี ไม่ว่าเพื่อความปรารถนานิพพานในชาตินี้ หรือตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้าก็ตามที บทความฉบับนี้ ขออธิบายแก้ไขความสับสนของชาวพุทธในเรื่องการบำเพ็ญบารมี ที่ยังมีปัญหาให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติในหลายสายปฏิบัติ ดังจะกล่าวต่อไปนี้




    ๑) ปัญญาของศีลที่แก้ไม่ตก

    สำหรับการบำเพ็ญแข่งขันกันเข้าเส้นชัยเป็นคนแรกนั้น จำเป็นต้องบำเพ็ญทั้งทศบารมี อย่างไม่บกพร่อง เต็มครบสมบูรณ์ คือ ถึงขั้น ๓๐ ทัศ ที่เรียกว่า “ปรมัตถบารมี” แต่สำหรับสาวกภูมิผู้ไม่ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ไม่จำเป็นต้องบำเพ็ญถึงขนาดนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงคัดเลือกบารมีที่จำเป็นและง่าย เหมาะสมต่อการปฏิบัติในยุคนั้นๆ เพียงบางตัวเพื่อให้ฝึกฝนปฏิบัติ คือ ทานบารมี, ศีลบารมี, ปัญญาบารมี เรียกใหม่ว่า ทาน, ศีล, ภาวนา นั่นเอง นี่เป็นแบบเรียนชุดที่หนึ่งให้เลือกได้ หากไม่ถนัดก็เลือกอีกแบบได้ คือ ศีล, สมาธิ, ปัญญา แบบนี้ก็ได้เช่นกัน ดังนั้น ชาวพุทธมักพูดกันเรื่องศีลอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าศีลเป็นตัวแรกของไตรสิกขานั่นเอง ทว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงให้ผู้ถือบวชรับศีลก่อน ท่านได้ให้โอวาทแล้วให้ผู้ขอบวช ยอมรับโอวาทนั้น ถือเป็น “สัจจะ” ไปปฏิบัติ นั่นหมายความว่า พระพุทธองค์ทรงเลือก “สัจจบารมี” ซึ่งง่าย, น้อย และยืดหยุ่นเข้ากับแต่ละบุคคลมากกว่า เป็นเบื้องต้นก่อน เช่น คราวที่พระมหากัสสป ขอบวช ท่านก็ให้โอวาท แล้วกำชับว่าให้ทำอย่างนี้ ห้ามทำอย่างนั้น เป็นต้น จนกระทั่ง เกิดเหตุวิกฤติขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง พระอานนท์ต้องตำข้าวแดงให้พระพุทธองค์ฉัน พระสารีบุตรวิตกว่าพระพุทธศาสนาจะรอดได้อย่างไร จึงทูลถาม พระพุทธองค์จึงทรงตรัสตอบว่า ศาสนาของพระพุทธเจ้าบางพระองค์มีอายุสั้น เพราะไม่มีธรรมวินัย สำหรับศาสนาของพระพุทธเจ้าที่มีอายุยาว ล้วนมีพระธรรมวินัย ท่านจึงทรงวินิจฉัยจะตราศีลขึ้น พระสารีบุตร จึงทูลขอให้ทรงรีบกระทำ พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ท่านเป็นผู้รู้กาลอันควรเอง จากนั้น ท่านก็รอให้พระสาวกมีจำนวนมากก่อน แล้วจึงค่อยๆ ตราศีลขึ้นทีละข้อๆ บางข้อก็เกิดจากพระสาวกปฏิวัติไม่งาม จนต้องตราเป็นศีลภายหลัง, บางข้อก็เกิดจากความสับสนกังวลของอุบาสกอุบาสีกา ที่ไม่เข้าใจการปฏิบัติที่ดีงาม ก็ทรงตราเป็นศีล ดังนั้น ศีล ๒๒๗ ข้อ จึงเกิดขึ้นในภายหลัง พระอรหันต์หลายรูปที่บรรลุธรรม ล้วนไม่ได้บรรลุด้วยอำนาจแห่งศีลบารมีเลย แต่ล้วนบรรลุจากบารมีอื่นเสียมากกว่า เนื่องเพราะศีลนั้น ขาดความยืดหยุ่นและตายตัวเกินไป ทำให้การปฏิบัติยากลำบาก นอกจากนี้ พระมหากัจจายนะ ยังเคยทรงทูลขอการละเว้นศีลบางข้อ ที่ไม่เอื้ออำนวยในการเผยแพร่พระศาสนาในบางท้องถิ่น เช่น การบวชพระต้องใช้พระสิบรูป ซึ่งมากเกินไป ทำให้บางแห่งที่ท่านเดินทางไปเผยแพร่ธรรม ไม่สามารถทำได้ เพราะขาดพระสงฆ์จำนวนมีไม่พอ พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานอนุญาตยกเว้นให้ทั้งหมดที่พระมหากัจจายนะขอ นี่คือ ตัวอย่างขอเรื่องศีล และบารมี ที่ไม่ได้มีไว้ให้ยึด




    ๒) บารมีทุกตัวล้วนนำไปสู่นิพพาน

    ดังที่กล่าวไว้แล้วถ้าบารมีไม่มีเลย ไหนเลยจะนิพพานได้ ขอสรุปให้เห็นชัดเจนว่าบารมีทั้งสิบประการนั้น ช่วยในการบรรลุธรรมและตรัสรู้ธรรมได้อย่างไร ดังนี้




    ทานบารมี ช่วยกำจัดความตระหนี่ ฝึกการละกิเลส

    วิริยบารมี ช่วยให้มีความพากเพียร จนกว่าจะบรรลุธรรม

    ศีลบารมี ช่วยประคองตน ไม่ก่อกรรมใหม่ จนสิ้นกรรม สิ้นชาติภพ

    เนกขัมมบารมีช่วยให้หลีกเร้นออกจากครัวเรือน แสวงหาความวิเวกสันโดษ

    ขันติบารมี ช่วยให้ไม่ละออกจากการพิจารณาทุกข์ อดทนจนรู้ทุกขสัจ

    อุเบกขาบารมี ช่วยวางจิตตรงกลาง ไม่เอนซ้ายขวา พ้นจากคู่ตรงข้ามของโลก

    สัจจบารมี ช่วยให้จิตตรง เห็นสัจธรรม ต้องมีสัจจะ เป็นพื้นฐาน

    อธิษฐานบารมีช่วยให้จิตมีปณิธานแน่วแน่ ไม่คลอนแคลน จนกว่าจะบรรลุ

    เมตตาบารมี ช่วยให้มีจิตไม่ยึดตัวตนของตน เข้าสู่ภาวะสากลเป็นหนึ่งเดียวกัน

    ปัญญาบารมี ช่วยให้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรม มองเปลือกธรรมก็ถึงแก่ธรรม




    ดังนั้น การปฏิบัติเพื่อนิพพาน ไม่จำเป็นต้อง “ยึดศีล” หากศีลมีความยืดหยุ่นน้อยยากแก่การปฏิบัติ ก็สามารถเลือกใช้บารมีที่เราบำเพ็ญมา ที่เราถนัดก็ได้ ซึ่งได้มรรคผลง่ายกว่า ส่วนศีลนั้นใช้เสมือนระเบียบเพื่อให้เกิดความงดงามน่าศรัทธา, ความสงบเรียบร้อย ฯลฯ




    การปฏิบัติธรรมสมัยใหม่ หลังกึ่งพุทธกาล

    เราไม่อาจใช้แบบแผนของพระพุทธเจ้าได้กับมนุษย์ ยุคที่มีอายุขัยต่ำกว่า ๑๐๐ ปีได้มากนัก เพราะเป็นการผิดปกติ และไม่เข้ากันของยุคสมัยกับพระธรรม มนุษย์ที่มีอายุขัยต่ำกว่าร้อยปี มีกรรมมาก จึงมีจิตใจกระด้างโหดร้ายไม่อ่อนน้อมต่อธรรม ปกติแล้วพระพุทธเจ้าจะไม่ตรัสรู้ในยุคนี้ เราจึงต้องเข้าใจความไม่เข้ากันของยุคสมัยและความบริสุทธิ์ของพระธรรมในแง่มุมนี้ด้วย ดังนั้น การปฏิบัติธรรม จะยึดมั่นถือมั่นเอาตัวอย่างในสมัยพุทธกาลมาเป็นสำคัญไม่ได้ ไม่มีใครทำได้ด้วย เพราะกรรมของมนุษย์มีมากเกินไป การปฏิบัติธรรมสมัยใหม่ รูปแบบใหม่ หลังกึ่งพุทธกาล จึงต้องปรับใหม่ดังนี้




    ๑) การบำเพ็ญบารมีเพื่อชดใช้กรรมด้วยวิธีลัดตรง

    มนุษย์ในยุคอายุขัยต่ำกว่าร้อยปี มีกรรมมากที่ต้องชดใช้ต่อกัน หากชดใช้กรรมต่อกันไม่หมด ก็อย่าหวังเลยว่าเจ้ากรรมนายเวรจะปล่อยให้ผู้นั้นบรรลุธรรมโดยง่าย พวกเขาจะขัดขวาง และปิดบังดวงตาธรรมของผู้นั้นทุกวิถีทาง จำต้องชดใช้กรรมให้เจ้ากรรมนายเวรเหล่านั้นเสียก่อน พวกเขาจึงจะเปิดทางธรรมให้ การบรรลุธรรม จึงค่อยมีความเป็นไปได้ บุคคลใดปรารถนานิพพานในศาสนาของพระพุทธเจ้าสมณโคดม ในยุคหลังกึ่งพุทธกาลไปแล้วนั้น ย่อมรู้ตัวดีว่าตนไม่มีบุญทำร่วมกับพระพุทธเจ้าพระองค์นี้มา บุญไม่พอที่จะเป็นอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้าสมณโคดม จึงต้องทำบุญหนุนตนเอง กับพระอรหันต์สาวกก็ดี พระโพธิสัตว์ที่มาเกิดในยุคนี้ก็ดี แล้วอธิษฐานผลบุญ ขอนิพพานเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าสมณโคดม บรรลุอรหันต์ในพุทธกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ บุญกุศลใดๆ ที่ตนทำ ขอยกให้เจ้ากรรมนายเวร ขอให้เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรม ปลดปล่อยตนให้พ้นไปสู่ทางธรรม เพื่อความเจริญ และความสุขของตนเองและเจ้ากรรมนายเวรด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เช่นนี้ จึงจะพ้นกรรมได้ และมีโอกาส มีสิทธิ์ ที่จะได้เป็นอรหันตสาวกในศาสนกาลนี้ คือ บรรลุธรรมได้ขณะพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าสมณโคดมยังดำรงอยู่ได้ ไม่เช่นนั้น ก็ไม่มีทาง จะเอาตัวอย่างพระสาวกในสมัยพุทธกาลมาเทียบตนเองไม่ได้ เพราะตนเองไม่ได้ทำบุญมามากพอเหมือนพระสาวกเหล่านั้น จำต้องทำบุญในปัจจุบันชาติให้มากแทน




    ๒) การบำเพ็ญบารมีเพื่อสนับสนุนกำลังในการบรรลุธรรม

    มนุษย์ที่เกิดมาในกลียุค คือ นับตั้งแต่หลังกึ่งพุทธกาลนี้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีกรรมมาก มีบุญน้อยเหลือเกิน บารมีจึงไม่ต้องพูดถึง มีอยู่น้อยมากๆ การจะบรรลุธรรมได้ จำเป็นต้องสร้างกรรม สร้างบารมี ขึ้นในปัจจุบันนี้เอง ต้องบำเพ็ญบารมีทั้งสิบประการ จะบ้าทำบุญเพื่อหวังค้าขายเจริญ แบบชาวไทยเชื้อสายจีน หรือหวังได้ถูกหวย ร่ำรวย แบบคนไทยชนบทก็ไม่ได้มรรคผลทางธรรมกัน จำต้องปรับความคิดใหม่ มามุ่งหน้าสร้างบารมี ไม่ใช่สร้างแต่บุญ แล้วอาศัยบารมีที่สร้างดีแล้วนั้น นำพาตนถึงซึ่งนิพพานในปัจจุบันกาลนี้เลย หากไม่บำเพ็ญบารมีในปัจจุบันชาติ ก็ไม่อาจบรรลุได้ จะเอาตนเองไปเทียบกับพระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาล ที่อรหันต์ง่ายๆ ไม่ได้




    ๓) การบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุความปรารถนาในอนาคตกาลข้างหน้า
    บุคคลอีกประเภทหนึ่ง เกิดมา มีเรี่ยวแรงในการบำเพ็ญเพียรได้อีกไกลมาก จึงไม่มุ่งหวังนิพพานในชาตินี้ พวกนี้แบ่งเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มพุทธภูมิ, กลุ่มหัวหน้าสาวกภูมิ, และกลุ่มสาวกภูมิแท้ กล่าวคือ พระพุทธเจ้าจะมีเพียงองค์เดียวในพุทธกาลหนึ่งๆ พวกเขาเหล่านั้นจะต้องบำเพ็ญแข่งกันให้ได้ที่หนึ่งเท่านั้น ที่เหลือนับว่าตกหมด ต้องเป็นหัวหน้าสาวกภูมิไป เช่น พระสารีบุตร ที่มีบริวารมากมาย มานิพพานในศาสนาของพระพุทธเจ้าสมณโคดม ตนเองไม่ใช่พระพุทธเจ้า แต่เป็นหัวหน้าของสาวกได้เหมือนกัน ในอีกกรณี คือ กลุ่มคนที่เป็นสาวกอย่างเดียว เป็นผู้นำไม่ได้เลย พวกนี้ ต้องเกาะนายของตนดีๆ อย่างจงรักภักดี อย่างยิ่ง ก็จะเวียนว่ายตายเกิดไม่หลุดกัน หัวหน้าดูแลตนเองไปตลอดแต่ละชาติละภพที่เวียนว่ายตายเกิด ก็จะสบาย

    </TD></TR><TR><TD align=right>โดย physigmund_foid www.oknation.net</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. Aunyasit

    Aunyasit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +13,053
    ครูบาอาจารย์ของผมท่านสอนผมว่า

    การสั่งสมบารมีทั้งสิบเป็นเหตุ การบรรลุธรรมเป็นผล

    เมื่อสร้างเหตุครบถ้วนก็จะเกิดผลครบถ้วน

    ผมเห็นด้วยกับข้อความข้างบน โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับเรื่องของผู้บรรลุธรรมที่เป็นพระโพธิสัตว์ ครูบาอาจารย์ของผม ท่านจะเรียกท่านเหล่านั้นว่า "อริยโพธิสัตว์"

    ท่านบอกกับผมว่า จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องบรรลุธรรม 3 รอบคือ บารมีระดับต้น(พระสาวก) ระดับบารมีขั้นกลาง/อุปบารมี(พระปัจเจก) และบารมีระดับสูงสุด/ปรมัตถบารมี(พระพุทธเจ้า)
     
  3. moshininja

    moshininja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +103
    ขออนุโมทนากับบุญบารมีของพุทธภูมิและโพธิสัตว์ทุกท่านด้วยครับ
     
  4. Aunyasit

    Aunyasit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,312
    ค่าพลัง:
    +13,053
    พระโพธิสัตว์ที่มีบารมีสูงๆ ท่านจะศึกษาธรรมะจากพระโพธิสัตว์ที่มีบารมีสูงกว่า รวมทั้งศึกษาจากพระศรีอริยเมตรัย พระธรรม และพระพุทธองค์

    และพระโพธิสัตว์บารมีสูงๆนั้น ในแต่ละภพชาติ ท่านจะเน้นการบำเพ็ญบารมีเฉพาะทาง แม้จะสร้างทั้งสิบบารมีแต่อยู่ในดีกรีที่แตกต่างกัน
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เพื่อนๆ สมาชิกนักปฏิบัติทั้งหลาย กำลังค้นหาอะไรกันอยู่คะ

    เราเห็นกระทู้ต่างๆ ที่ตั้งกันขึ้นมา แล้วก็พากันวิพากษ์วิจารณ์อย่างนั้น อย่างนี้ที่เกี่ยวกับ
    พระโพธิสัตว์หรือสาวกภูมิ ไม่ได้ยังปัญญาให้เกิดขึ้นได้

    การปฏิบัติที่ยังติดสงสัยในการบำเพ็ญพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญสาวกภูมิ ต่างๆ เหล่านี้
    ถือว่ายังยึดมั่นในอัตตาหรือไม่? ว่าเขา ว่าเรา ปฏิบัติอย่างนั้น อย่างนี้ แล้วต้องเป็น
    อย่างนั้น อย่างนี้ ค้นหาทำไม? หากเป็นนักปฏิบัติจริงจะไม่โอ้อวดหรือสงสัยในหนทาง
    ที่กำลังปฏิบัติอยู่ ปณิธานแห่งตนย่อมรู้จักตนเองดี

    หันมาตั้งใจปฏิบัติดีกว่านะคะ ดีกว่ามาวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งใดยังไม่กระจ่าง ก็ทำให้
    กระจ่างแจ้งได้ด้วยปัญญา ยังปัญญาให้เกิดค่ะ อย่าพยายามสร้างวจีกรรมให้มาก
    เพราะนั่นคือเครื่องร้อยรัดให้ไม่ก้าวหน้าไปทางใดเลย
     
  6. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,500

    ขอ อนุโมทนา คุณ nouk นะครับ
    เป็นการเตือนสติด้วยเจตนาที่ดี ต่อนักปฏิบัติทั้งหลาย ที่เป็นผู้มีจิตใฝ่ในธรรม

    แต่โลกนี้มันก็เต็มไปด้วยความวุ่นวายน่ะครับ แม้แต่จิตใจเราเอง บางครั้งก็ยังฟุ้งซ่าน สับสนในความคิดตัวเองจริงไหม...

    ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ เหมาะสม หรือ ไม่เหมาะสม ก็อยู่ที่จริตเราเองว่า จะเลือกหาสาระประโยชน์ หรือ แค่เปลือกแก่นของเนื้อความ

    หากพิจารณาดี ๆ เราจะเห็นสัจธรรมนั้นประจักษ์ขึ้นได้ ทุกขณะ ทุกที่ ทุกกาล
    ทุกสิ่งอย่างนั้นล้วนตกอยู่ในกฏไตรลักษณ์ ไม่สามารถจะบังคับหรือให้เป็นไปตามที่เราหวังได้ แต่เราก็สามารถเลือกที่จะวางใจเป็นกลาง ไม่ยินดี ยินร้าย
    อยู่ท่ามกลางความวุ่นวายนี้ ด้วยความไม่ประมาทอย่างมีสติได้ครับ


    ใครทำอะไร ก็ย่อมได้เช่นนั้น เป็นไปตามกรรม วิบากของผู้นั้น
    แต่ยังไงก็เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เดียวกันมากับเรา ... เนอะครับ



     
  7. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    เคยมีบุคคลหนึ่งกราบทูลถามพระพุทธเจ้า เรื่องการปฏิบัติธรรมเพื่อการบรรลุนิพพาน

    กราบทูลถามว่า ศีล มีความสำคัญมากน้อยอย่างไร เหตุใดพระองค์จึงกำหนดให้พระสงฆ์สาวกถึงต้องรับและถือศีล227ข้อ และมีส่วนกับการเข้าถึงธรรมเพื่อการบรรลุนิพพานอย่างไร

    พระองค์ตรัสบอกว่า

    ดูก่อนมานพน้อย ศีลอันเป็นข้อวัตรที่ห้ามกระทำทั้งหลายที่เราได้กำหนดไว้นั้น เราขอกล่าวที่มาว่า เดิมนั้นในครั้งที่เราได้ตรัสรู้แล้วนั้น เราประกาศพระธรรมและเผยแผ่พระธรรมเพื่อให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้มีความรู้เข้าใจในพระธรรมอันมี อริยะสัจ4เป็นต้นนั้น
    การตรัสสอนพระธรรมของเรานั้น ก็มีเจตนาเพื่อสั่งสอนแนะนำบอกทาง เพื่อให้เข้าใจเข้าถึงพระธรรมมีดวงตาเห็นธรรม เมื่อเห็นแล้วย่อมนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจากกิเลสจากกองทุกข์ทั้งปวง
    และด้วยในสมัยนี้นั้น ผู้ที่เราได้มีโอกาสเข้ามารับฟังพระธรรมจากเรา เนื่องด้วยบุญกุศลเก่าของเขาเหล่านั้น และในพุทธกาลนี้ โดยมากผู้ที่มาจุติเกิดในช่วงเวลานี้นั้น ล้วนสั่งสมบุญเก่ามาดีแล้วพอประมาณ ครั้นเมื่อได้ฟังพระธรรมจากเรา จึงเข้าถึงและบรรลุพระธรรมได้โดยง่าย
    หรืออนึ่งก็อาจเกี่ยวเนื่องด้วยเรา จะพิจารณาดูก่อนว่าเขาเหล่านั้นยังขาดปัญญาอะไร เราควรจะบอกเขาอย่างไร เพื่อยังปัญญาให้เกิดแก่เขา ด้วยประกอบกัน
    ซึ่งในช่วงแรกที่เราประกาศพระธรรมเราเองก็ยังไม่ได้กำหนดในเรื่องศีล เพราะเหตุที่ว่า สาวกของเราทั้งหลายโดยเกือบทั้งหมด ประกอบกรรมมาดีมากพอประมาณแล้ว จิตเขาเหล่านั้นมีธรรมอันเป็นเครื่องกำกับอยู่กับเขามากพอควรแล้ว เรื่องศีลจึงไม่มีความจำเป็นมากนักสำหรับเขาเหล่านั้น เพราะจิตเขาดำรงไว้ซึ่งพระธรรมเป็นใหญ่แล้ว ศีลย่อมมีแก่เขาโดยเป็นธรรมดา ปกติวิสัย เสมือนว่าผู้ใดมีธรรมผู้นั้นย่อมมีศีลเป็นเบื้องต้นอยู่ภายในเป็นฉนี้เสมอ

    และในก่อนวาระสุดท้ายก่อนที่เราจะปรินิพพาน ด้วยสาวกของเรามีมากขึ้นโดยปริยายแลในอนาคตกาลก็จะยังเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เราได้พิจารณาเห็นว่า สาวกของเราเริ่มมีบุญวาสนาภูมิปัญญารู้แจ้งในธรรมเริ่มเสื่อมถอยลดน้อยลง และคงจะเป็นการยากยิ่งขึ้น

    ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้กำหนดให้มีเครื่องหรือสิ่งอันเป็นเครื่องช่วยให้เข้าถึงพระธรรมและเป็นกรอบปฏิบัติแห่งสาวกของเรา เราจึงได้กำหนดศีล หรือข้อห้ามทั้งปวงทั้ง227ข้อนี้ขึ้นมาด้วยเหตุนี้

    ฉนั้นสิ่งที่เจ้าถามเรามาก็มีเหตุด้วยประการดังนี้นี้ ฉนั้นแล้ว การรักษาศีลเพื่อ การควบคุมจิตให้ดำรงตั้งมั่นอยู่ในกุศลกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ และด้วยการักษาศีลย่อมทำให้เจ้าเป็น ผู้มีดวงตา เห็นพระธรรม และย่อมทำให้เจ้า สามารถประพฤติปฏิบัติธรรม เป็นผู้รักษพระธรรม เข้าถึงพระธรรมได้โดยง่าย

    สุดท้าย พระธรรมย่อมรักษาเจ้า ผู้ปฏิบัติธรรม และย่อมนำพาผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสหลุดพ้นจากทุกข์ เข้าสู่พระนิพพานได้เป็นที่สุด

    กระผมแค่อยากบอกว่าเรื่องศีลเป็นเรื่องสำคัญมากๆ แม้เราผู้ได้ซื่อว่าเป็นผู้มีธรรมะประจำใจก็ตามแต่เราก็ไม่ควรประมาทเรื่องศีล เพราะด้วยเหตุที่ว่าเรายังไม่สามารถควบคุมจิตให้ดำรงตั้งมั้นอยู่ในธรรมได้โดยตลอด หรือทำให้เรามีสติได้ทุกลมหายใจเข้าออกโดยตลอด ดังนั้นเราจึงควรไม่ประมาทในศีลหรือพระวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงได้บัญญัติไว้ดีแล้วครับ สาธุ

    [ขออภัยด้วยครับที่ไม่สามารถบอกได้ว่าชายผู้นี้ที่ถวายการกราบทูลถามพระพุทธองค์ เรื่องนี้ว่าเป็นใคร] แต่เนื้อหาสาระเป็นแบบนี้ด้วยความสัจจริงครับ
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ศีลเป็นบาทฐานของสมาธิ....สมาธิเป็นบาทฐานของปัญญา

    ดังนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา จึงเกื้อหนุนกัน และต้องเสมอกันค่ะ

    จึงจะเกิดประโยชน์ในทางธรรมอย่างแท้จริง
     
  9. มหาอธิษฐาน

    มหาอธิษฐาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +418
    ขอบคุณมากได้รู้สิ่งใหม่หลายอย่างและอยากทราบเพื่อให้กระจ่างอีกสักหน่อย

    1 ตามที่กล่าวมาหมายความว่า พระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าท่านบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์มาหลายอสงไขยแล้วอย่างนั้นหรือ
    2 อรหัตมรรค กับ อรหัตผลได้บรรลุคนละช่วงเวลาหรือถ้าอย่างนั้นห่างกันนานมากใหม

    ขอบคุณท่านผู้รู้มาล่วงหน้าด้วย ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 สิงหาคม 2012
  10. มหาอธิษฐาน

    มหาอธิษฐาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +418

    ขอบคุณมากได้ความรู้หลายอย่างและอยากทราบเพื่อให้กระจ่างอีกสักหน่อย

    1 ตามที่กล่าวมาหมายความว่า พระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าท่านบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์มาหลายอสงไขยแล้วอย่างนั้นหรือ
    2 อรหัตมรรค กับ อรหัตผลได้บรรลุคนละช่วงเวลาหรือถ้าอย่างนั้นห่างกันนานมากใหม

    ขอบคุณท่านผู้รู้ที่กรุณาตอบเพื่อความกระจ่างล่วงหน้าด้วย
    ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 สิงหาคม 2012
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เีราตอบไม่ได้หรอกนะ เพราะว่ายังไม่บรรลุอรหันตมรรค ลองอ่านทบทวนไปมาหลายๆ รอบ แล้วค่อยๆ ทำความเข้าใจ วางใจให้เป็นกลางไม่เอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เหมือนแก้วเปล่าๆ แล้วค่อยๆ รินน้ำ (ข้อมูล) ใส่ลงไปนะ พิจารณาไปเดี๋ยวจะเข้าใจเองจ้ะ พิจารณาจากธรรมชาติของตัวรู้นะ (อธิบายไ่ม่เก่งค่ะ)

    แต่เรื่องระยะเวลาของมรรคและผลนั้น แน่นอนต้องบรรลุมรรคก่อน แล้วจึงค่อยบรรลุผล ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่ักับบารมีที่สั่งสมมามากหรือน้อย ไม่ว่าจะเป็นอริยะในระดับไหน
    ธรรมะนี้มีระบบขั้นตอนในตัวของมันเอง มีอยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะมีขึ้น

    เมื่อบุคคลรู้ตนว่าสิ้นชาติภพนี้แน่ จะเข้าสู่
    “อรหันต มรรค” แล้วปฏิบัติตรงทางมรรคเดิมต่อไปจนสุดปลายทางคือ “อรหันตผล” สำเร็จบรรลุธรรมในที่สุด ส่วนท่านที่ถอนสังโยชน์ได้บ้าง จนเริ่มบริสุทธิ์แล้ว และเริ่มระลึกได้ว่าตนเองมีความปรารถนาตรัสรู้ในอนาคตข้างหน้าก่อน ยังไม่สิ้นชาติภพในชาตินี้ เมื่อนั้น บุคคลอาจเข้าสู่ “โสดาปัตติมรรค” หรือ ก้าวหน้าถึง “อรหันตมรรค”

    แตกต่างกับไปตามกำลังบารมีที่บำเพ็ญมา นั่นหมายความว่า “โพธิจิต” หรือ จิตของผู้ที่ยอมสละนิพพานได้ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้สำเร็จก่อนตนนั้น ปรากฏชัดเจนแล้ว ในบางท่าน ไม่ได้ปรารถนามาในอดีตชาติ แต่โพธิจิตมาเกิดในชาติปัจจุบันก็มี ท่านเหล่านี้ก็จะเลือกที่จะบำเพ็ญ “พุทธภูมิ” ยังไม่นิพพานในชาตินี้

    ส่วนท่านที่ไม่บรรลุแม้แต่อริยบุคคลขั้นต้น คือ พระโสดาบัน ส่วนใหญ่โพธิจิตไม่สามารถงอกงามได้จริง เพราะโพธิจิตจะงอกงามได้จากจิตที่บริสุทธิ์ หากจิตไม่บริสุทธิ์มีกิเลสอยู่ กิเลสอาจครอบงำ อวิชชาอาจทำให้หลงผิด คิดไปว่าพุทธภูมิและการบำเพ็ญเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งผิดออกไปอย่างสิ้นเชิง เช่นนี้ เรียกว่า “หลงทาง” ทั้งๆ ที่ปากประกาศออกไปว่าปรารถนาพุทธภูมิก็ตาม ในกลุ่มปุถุชนโพธิสัตว์ที่มีจิตช่วยเหลือผู้อื่นก่อนตนเอง แต่ไม่เข้าใจเรื่องของนิพพาน เช่น เป็นหมอที่อุทิศชีวิต ช่วยคนอื่นก่อนตนเอง จนโพธิจิตเกิดแล้ว

    แต่เพราะความไม่เข้าใจในสัจธรรม จึงไม่รู้ว่าการช่วยคนให้รอดจากโรคภัยนั้น ไม่อาจช่วยให้รอดได้จริง เพราะบุคคลย่อมมีความตายเป็นเบื้องหน้าแน่นอน ไม่อาจหนีได้ จะช่วยคนได้แท้จริง ต้องช่วยถึงนิพพานเท่านั้น ลักษณะนี้ เรียกว่า โพธิจิตเกิดแล้ว แต่ไม่ได้เกิดจากจิตที่บริสุทธิ์ ยังไม่เห็นธรรมเลย ยังยึดว่าจะต้องช่วยคนให้พ้นจากความตายอยู่เลย แบบนี้ จะไม่เรียกว่าโพธิสัตว์เต็มตัว เมื่อละสังขารจากโลก จะจุติที่สวรรค์ชั้นดุสิตได้ แต่ได้รับตำแหน่งขึ้นแท่น “เทพ” ประเภทต่างๆ เช่น เทพโอสถ, เทพนักรบ ฯลฯ ส่วนในกลุ่มที่ปฏิบัติจิตเป็นสำคัญ จนบรรลุธรรมระดับหนึ่งมีความสามารถช่วยคนได้ แต่โพธิจิตยังไม่เกิด หรือเกิดแล้วแต่ยังไม่ตั้งความปรารถนาที่จะฉุดช่วยสรรพสัตว์ให้ถึงนิพพาน ก่อนตน หรือตนเองก็ยังไม่นิพพานสิ้นชาติภพ เมื่อละสังขารจากโลก จุติที่ชั้นดุสิต ก็ได้รับตำแหน่งขึ้นแท่นเป็น “เซียน” คือ บรรลุธรรมระดับหนึ่ง, มีวิชชาช่วยคนได้ แต่ยังไม่ได้ช่วยคนไปสู่นิพพาน นั่นเอง เช่น เซียนบางองค์บรรลุธรรม มีวิชชาช่วยคนให้รอดตายได้ เป็นต้น หากบุคคลนั้น มีโพธิจิตเกิด จิตตรงต่อธรรม บรรลุธรรมเห็นแจ้ง ว่าต้องช่วยสรรพสัตว์ถึงนิพพานเท่านั้น จึงจะรอดอย่างแท้จริง บุคคลนั้นเมื่อเบื้องหน้า กายแตกดับ จุติที่ดุสิต จะได้รับตำแหน่งขึ้นแท่น “โพธิสัตว์” อย่างเต็มตัว นี่คือ ความแตกต่างของเทพ, เซียน และโพธิสัตว์

    สรุปง่ายๆ คือ เทพ ช่วยคนมีโพธิจิตขั้นต้นแต่ไม่บรรลุธรรม, เซียน บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่ง ช่วยคนแต่ไม่ได้ช่วยไปสู่นิพพาน, โพธิสัตว์ บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่ง แล้วช่วยคนเพื่อไปสู่นิพพาน ส่วนอรหันต์ คือ ผู้ที่บรรลุธรรมสิ้นชาติภพ แล้วช่วยสรรพสัตว์ตามกำลังของตนจนกว่าจะหมดกิจจบชาติภพก็จากไป ไม่เกิดอีก เท่านั้นเอง
     
  12. มหาอธิษฐาน

    มหาอธิษฐาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +418
    [/quote]


    ขอบคุณมากได้ความรู้หลายอย่างและอยากทราบเพื่อให้กระจ่างอีกสักหน่อย

    1 ตามที่คุณ nouk กล่าวมาข้างต้นหมายความว่า พระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าท่านบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์มาหลายอสงไขยแล้วอย่างนั้นหรือ
    2 อรหัตมรรค กับ อรหัตผลได้บรรลุคนละช่วงเวลาหรือถ้าอย่างนั้นห่างกันนานมากใหม

    ขอบคุณมากแต่ต้องขอโทษที่ต้องถามอีกครั้งเพราะรู้สึกยังตอบไม่กระจ่างเท่าไรโดยเฉพาะข้อแรกเราเพียงต้องการทราบว่าไช่หรือไม่ แต่กระนั้นยังมีผู้รู้ท่านอื่นอีกหลายท่านเดี๋ยวให้กระจ่างกว่านี้ได้

    ขอบคุณท่านผู้รู้ที่กรุณาตอบเพื่อความกระจ่างล่วงหน้าด้วย
    ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 สิงหาคม 2012
  13. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ดังคำที่ว่า

    เหตุคือการเดินตามมรรคาตามลำดับชั้นดังนี้ครับ

    โสตาปัตติมรรคะ ธาตุสัมมาทิยามะ สัมปันโน อิติปิโสภควา
    สกิทาคามิปัตติมรรคะ ธาตุสัมมาทิยามะ สัมปันโน อิติปิโสภควา
    อนาคามิปัตติมรรคะ ธาตุสัมมาทิยามะ สัมปันโน อิติปิโสภควา
    อรหัตตะปัตติมรรคะ ธาตุสัมมาทิยามะ สัมปันโน อิติปิโสภควา

    ผลที่ได้รับและเกิดขึ้นของมันเองตามระยะเวลาอันสมควรเป็นดังนี้ตามลำดับชั้นคือ

    โสตา อรหัตตะปัตติผละ ธาตุสัมมาทิยามะ สัมปันโน อิติปิโสภควา
    สกิทาคามิ อรหัตตะปัตติผละ ธาตุสัมมาทิยามะ สัมปันโน อิติปิโสภควา
    อนาคามิ อรหัตตะปัตติผละ ธาตุสัมมาทิยามะ สัมปันโน อิติปิโสภควา
    อรหันตะ อรหัตตะปัตติผละ ธาตุสัมมาทิยามะ สัมปันโน อิติปิโสภควา

    แปรภาษาบาลีออกนะครับผมไม่เคยเรียนแต่ก็มั่นใจว่าเข้าใจได้ถูกต้องโดยธรรม

    อีกนิดครับ เรื่องก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้
    นี่ ผมเชื่อว่าท่านยังไม่ได้กระทำ อรหัตตะปัตติมรรคะ ให้บรรลุหรือ แจ้งครับ แต่พยายามทำข้ออื่นๆให้เต็มบารมีก่อน
    สุดท้ายแล้วจึงค่อย มากระทำ อรหัตตปัตติมรรคะให้แจ้งในชาติสุดท้ายที่ พระองค์ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...