กฎแห่งกรรม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 5 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    พระพุทธองค์ตรัสถึงกฎแห่งกรรมว่า
    อดีตชาติได้แต่ประกอบแต่กรรมดี
    จึงได้เกิดมามียศสูงศักดิ์และร่ำรวยในโภคทรัพย์ ผู้ใดบำเพ็ญธรรมมาตลอดจะได้บุญวาสนาไปทุกภพทุกชาติ มนุษย์จงฟังให้ดี
    ฟังตถาคตกล่าวผลกรรมของไตรภพผลกรรมของไตรภพเป็นเรื่องใหญ่
    จงอย่าดูหมิ่นพุทธพจน์ จงฟังผลกรรมดังต่อไปนี้

    <table border="2" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td colspan="3" style="" height="33">
    [SIZE=+2] กฎแห่งกรรม[/SIZE]
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="" height="29"> </td> <td style="" height="29" width="90%"> ปัจจุบันเป็นขุนนางเพราะเหตุใด ชาติก่อนนำทองคำสร้างพระพุทธรูป
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">มีรถนั่งมีเรื่อขี่เพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนสร้างถนนทำสะพาน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="" height="32"> </td> <td style="" height="32"> มีเสื้อผ้าแพรพรรณประดับกายเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนบริจาคเสื้อผ้าให้ผู้ยากจน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">มีอาหารอิ่มสมบูรณ์เพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนบริจาคข้าวปลาอาหารและน้ำดื่มให้ผู้ยากจน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="" height="30"> </td> <td style="" height="30">ที่ไม่มีจะกินจะใส่เพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนไม่เคยบริจาคทานเลยแม้แต่น้อย</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="" height="31"> </td> <td style="" height="31">มีตึกรามบ้านบ้านช่องเพราะเหตุใดเพราะชาติก่อนบริจาคข้าวสารช่วยผู้ยากไร้</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="" height="30"> </td> <td style="" height="30">มีบุญมีวาสนาเพราะเหตุใดเพราะชาติก่อนสร้างวัดสร้างศาลา</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style="" height="29"> </td> <td style="" height="29">มีหน้าตามีบุญหนักศักดิ์ใหญ่เพราะเหตุใดเพราะชาติก่อนบูชาพระพุทธรูปดอกไม้เครื่องหอม</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">มีปัญญา มีความปราดเปรื่องเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนสวดมนต์สรรเสริญพระนามพระพุทธเจ้า</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">มีภรรยาดีมีมรรยาทพร้อมเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนได้สร้างสมบุญกุศลมาร่วมกัน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">สามีภรรยามีอายุยืนยาวเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนได้แต่งริ้วธงประดับหน้าพระพุทธรูป</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">มีพ่อแม่อยู่ครบเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนเห็นอกเห็นใจผู้กำพร้า</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ไม่มีพ่อแม่เพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนชอบยิงนกตกปลา</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">เลี้ยงลูกไม่รู้จักโตเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนชอบเจ็บแค้นผู้อื่น</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้ไม่มีลูกเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนข่มเหงรังแกลูกชาวบ้าน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้อายุยืนเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนชอบซื้อสัตว์ปลดปล่อยชีวิต</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้อายุสั้นเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้ไม่มีภรรยาเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนชอบผิดประเวณี ข่มขื่นลูกเมียเขา</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้เป็นม่ายเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนชอบดูหมิ่นดูแคลนสามี</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้เป็นทาสเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนไม่รู้จักบุญคุณผู้อื่น</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้มีตาดีเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนซื้อน้ำมันเติมตะเกียงบูชาพระ</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้ตาบอดเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนชอบอ่านหนังสือลามก</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้ปากแหว่งเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนกล่าวร้ายใส่ความผู้อื่น</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้หูหนวกเป็นใบ้เพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนปากร้ายด่าว่าพ่อแม่</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้หลังค่อมเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนหัวเราะคนที่ไหว้พระ</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้มืองงอแขนคดเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนเคยตีพ่อแม่</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้ขาเป๋ตีนเป๋เพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนทำลายถนนและสะพาน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้เป็นวัวเป็นควายเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนเป็นหนีเขาแล้วไม่ใช้คืน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้เป็นหมูเป็นหมาเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนมีใจคิดหลอกลวงเขา</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้มีโรคมากเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนดีใจที่เห็นคนอื่นเคราะห์ร้าย</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้มีสุขภาพแข็งแรงเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนบริจาคยารักษาโรค</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้ติดคุกติดตะรางเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนเห็นคนตกทุกข์ได้ยากแล้วไม่ช่วยเหลือ</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้อดอาหารตายเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนหัวเราะขอทาน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้ต้องถูกเขาเบื่อยาตายเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนเบื่อปลาในคลอง</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี่โดดเดี่ยวทุกข์ทรมานเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนใจบาปคิดแต่จะทำร้ายผู้อื่น</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้แคระแกรนเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนชอบเหยียดหยาบดูแคลนคนรับใช้</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้อาเจียนเป็นโลหิตเพราะเหตุใดเพราะชาติก่อนปลุกปั้นยุแหย่คนอื่นให้แตกแยกกัน</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้ถูกฟ้าผ่าตายเพราะอะไร เพราะชาติก่อนพูดจาเสียดสีผู้ออกบวช</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้ถูกสัตว์ร้ายกัดตายเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนก่อศัตรูคู่อาฆาต</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">ชาตินี้ถูกสัตว์ร้ายกัดตายเพราะเหตุใด เพราะชาติก่อนก่อศัตรูคู่อาฆาต</td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">หากถามเรื่องชาติปางก่อน ก็ให้ดูผลที่ได้รับในปัจจุบัน หากจะถามเรื่องชาติหน้า ก็ให้ดูในสิ่งที่เราทำในปัจจุบัน

    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" style=""> </td> <td style="">หากใครพิมพ์หนังสือเรื่องกฎแห่งกรรมแจกชาติหน้าก็จะมีกายมงคลรุ่งโรจน์
    หากใครค่อยแนะนำเผยแพร่เรื่องกฎแห่งกรรม ก็จะเจริญยิ่งๆขึ้นชั่วลูกชั่วหลาน
    หากเชื่อถือยึดมั่นในกฎแห่งกรรมความเจริญมั่งมีศรีสุข ก็จะมาเยือนถึงบ้าน
    หากใครยึดมั่นในกฎแห่งกรรมฆาตเคราะห์ภัยพิบัติจะอยู่ห่างไกลตัว
    หากใครเที่ยวบรรยายเรื่องกฎแห่งกรรมทุกๆชาติจะเป็นผู้มีปัญญาเลิศ
    หากใครกล่าวร้ายเรื่องกฎแห่งกรรมชาติหน้าก็ไม่ได้เกิดเป็นคนอีก(เกิดอยู่ในอบายภูมิ)

    http://www.fortunename.com/kuum.php
    </td></tr></tbody></table>
     
  2. sksontisuk

    sksontisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +1,512
    คุณ rinnn ช่วยในข้อสงสัยของผมด้วย ในเรื่องของกฎแห่งกรรมนั้นผมปวดหลังมาหลายปีแล้วรักษายังไงก็ไม่หาย คุณ rinn พอจะทราบสาเหตุแห่งทุกข์ครั้งนี้หรือไม่ ผมจะได้ไปแก้กรรมได้ถูกต้องครับ

    ขอบคุณมาก
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    รินก้อไม่ทราบนะคะ..แต่ถ้าให้แนะนำ..ปฏิบัติกรรมฐานดูสิคะ..บางทีหายเลย
    และทราบสาเหตุด้วยค่ะว่าทำไม ถึงปวด..ลองดูๆนะคะ
     
  4. sksontisuk

    sksontisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +1,512
    ขอบคุณครับ

    ขอบคุณมากครับคุณ rinn ผมก็เคยจะพยายามลองนั่งน่ะครับ แต่พอนั่งได้ไม่นานอาการปวดมันก็มารบกวนทันที เลยไม่ได้นั่ง เพราะปกติผมจะนั่งบนพื้นนานๆ ไม่ได้อยู่แล้วครับ ส่วนการนั่งเพื่อให้ระลึกถึงว่าเมื่อก่อนเราทำกรรมอะไรมานั้น ผมคงจะปฏิบัติได้ไม่ถึงแน่นอนครับเพราะโรคกรรมมารบกวน เคยฝืนนั่งน่ะครับ แต่พอฝืนปั๊บต้องกินยาแก้ปวดหลังไปหลายวันเลย
    บางครั้งก็มานั่งทำใจน่ะครับว่าต้องยอมรับอาการปวดหลังนี่ให้อยู่กับเขาได้อย่างสันติ บางทีก็ต้องลืมๆ ไป พอจะปวดขึ้นมาก็ทำเป็นเฉยๆ ไม่อยากไปคิดว่าปวด เพราะเวลาคิดว่าปวดปั๊บมันก็จะปวดมากขึ้นมาทันทีเลยครับ

    ขอบคุณมากครับคุณ rinn
     
  5. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    เอาแบบที่รองนั่งน่ะค่ะ มานั่งก้อได้ค่ะจะได้นั่งบนพื้นได้นาน นั่งแบบนั่งพิงก้อได้แบบนี้น่ะค่ะ
    [​IMG]

    หรือ จะเดินจงกรมก้อได้ ได้ทั้งนั้น นอนภาวนาก้อได้ค่ะ...
    ส่วนการนั่งเพื่อให้ระลึกถึงว่าเมื่อก่อนเราทำกรรมอะไรมานั้น ผมคงจะปฏิบัติได้ไม่ถึงแน่นอนครับเพราะโรคกรรมมารบกวน

    การนั่งไม่ได้เพื่อให้ระลึกถึงกรรมอะไรที่ทำให้ปวดหลังหรอกค่ะ เพราะรินก้อยังไม่ได้ขนาดนั้นเลย (แต่มีผู้ทำได้นะคะ) เพียงแต่เรานั่ง แล้วแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวร เราไม่รู้หรอกว่าเราเกิดมากี่ภพกี่ชาติแล้ว
    เราเคยทำอะไรมาบ้างในอดีตชาติ..

    เวลานั่งแล้วปวดหลังก้อให้ระลึกว่า ปวดหนอ ปวดหนอ ปวดหนอ...แบบนี้ไปเรื่อยๆค่ะ ตามที่หลวงพ่อจรัญท่านสอน http://www.jarun.org/ ลองอ่านดูในเวปหลวงพ่อจรัญนะคะะ...เพราะจริงๆ หนูไม่เก่งหรอกค่ะ หนูก้อแค่สวดมนต์ นั่งสมาธิเจริญกรรมฐาน แล้วก้อแผ่เมตตา น่ะค่ะ

    ค่อยๆอ่านดูในกระทู้ต่างๆ ก้อได้ค่ะมีหลวงพ่อหลายท่านสอนไว้ ว่าควรทำอย่างไร แต่ทางที่ดี น่าจะฝืนนั่งต่อไปนะคะ..

    เพิ่มเติมค่ะ...หนูไปถามพี่ tamsak มาให้นะคะ พี่ตั้มบอกและหนูก้อเห็นด้วยนะคะ..

    คือปวดตรงไหนก้อแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรตรงบริเวณที่ปวดน่ะค่ะ
    แล้วขออโสิกรรมเขาด้วย แล้วอย่าลืมให้เขาขออโหสิกรรมให้เราด้วยนะคะ ไม่ต้องนั่งนานก้อได้ค่ะ นั่งแค่ 5-10 นาทีก็พอค่ะ เสร็จแล้วอุทิศให้ทันทีเลยค่ะ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจะค่อยๆหายไปเองแล้วก้อจะนั่งได้นานขึ้นค่ะ..ลองทำดูนะคะ


    ขอบพระคุณ พี่ตั้ม ด้วยค่ะ



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2007
  6. sksontisuk

    sksontisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +1,512
    โรคกรรม

    ขอบคุณคุณ rinn มากเลยครับ รวมทั้งพี่ตั๊มด้วย ผมเองก็อาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อน ก็ได้แต่ผ่านทางตัวอักษรนี่แหละครับ ผมถือว่าผมโชคดีที่ได้รับการแนะนำ และคุณ rinn ก็มีน้ำใจที่อุตส่าห์ช่วยไปถามพี่ๆ เพื่อเป็นธุระให้ การใด กุศลใด บุญใดที่ผมได้ทำ ผมขออนุโมทนาให้กับคุณ rinn และพี่ๆ ทุกๆ คนด้วยน่ะครับ ผมก็จะค่อยๆ ลองปฏิบัติดูน่ะครับ จะเอาช่วงที่สมองไม่ต้องคิดเรื่องงานเรื่องอะไร ให้สงบก่อนแล้วจะลองปฏิบัติดูครับ

    แต่ปัจจัยมันก็มีหลายเรื่อง อีกอย่างบางครั้งงานที่เราทำก็มีส่วนทำให้เรามีอาการได้เหมือนกันครับ แต่ก็อย่างที่บอกไปตอนแรกนั่นแหละครับว่า ผมยอมให้ความปวดเป็นเพื่อนผม ผมอยากให้เขาอนุโมทนาให้ผม แล้วเราก็อาจจะอยู่ด้วยกันได้ หรือเป็นมิตรกันได้ครับ เพราะตอนนี้ยาแผนปัจจุบันผมไม่กล้าทานมากเพราะทานมากแล้วกระเพาะเสียหายหมดเลยครับ

    ท้ายนี้ขอให้พรที่ดีๆ ทั้งหลาย จงประสบแด่คุณ rinn ด้วยน่ะครับ สงสัยคุณ rinn คงจะอยู่ที่แถวกรุงเทพแน่เลย ไม่เป็นไร จริงๆ แล้วผมก็เป็นคนกรุงเทพเทพครับ แต่มาอยู่ที่ปักษ์ใต้เกือบจะสิบกว่าปีแล้วครับ คิดว่าถึงแม้เราจะปฏิบัติได้ไม่ดี หรือยังไม่ได้ปฏิบัติ แต่เมื่อใดที่คุณ rinn ได้อ่านกระทู้นี้แล้วขอให้คุณ rinn ได้พรทุกๆ อย่างน่ะครับ

    ด้วยความปรารถนาดี

    หมูครับ
     
  7. sksontisuk

    sksontisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +1,512
    คุณ rinn ครับ รบกวนช่วยแนะนำวิธีการเดินจงกรมให้ด้วยได้หรือเปล่าครับ เพราะผมเริ่มต้นไม่ถูกว่าจะย่างอย่างไรไปทางไหนอย่างไร ถ้าพอมีเวลาแนะนำได้ผมรบกวนด้วยน่ะครับ
    ขอบคุณมากครับ

    หมู
     
  8. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    การเดินจงกรม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พระเทพสิงหบุราจารย์<o:p></o:p>
    P16008<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การที่เราเดินจงกรมเพื่อต้องการ อานิสงส์ ๕ ประการ คือ<o:p></o:p>
    ๑. ทำให้อดทนต่อการเดินทางไกล<o:p></o:p>
    ๒. ให้เราอดทนต่อการบำเพ็ญเพียร<o:p></o:p>
    ๓. ทำให้โรคภัยไข้เจ็บในตัวหาย อย่างน่าอัศจรรย์ มีโรคอะไรหายหมด เพราะอดทน<o:p></o:p>
    ๔. ทำให้อาหารที่รับประทานเข้าไปไม่เป็นพิษเป็นภัย<o:p></o:p>
    ๕. สมาธิในการเดินจงกรม ตั้งอยู่นานมากกว่า การนั่ง จึงต้องเดินก่อนเสมอ <o:p></o:p>
    การเดินจงกรม บางคนไปสอนเดินผิด สอนเดินก้าวแบบต่อเท้า ที่ถูกต้องใครเคยเดินอย่างไร ก็เดินไปอย่างนั้น บางคนเดินอย่างโขน มันผิด เดินกันอย่างธรรมดา เคยเดินอย่างไรก็เดินอย่างนั้น แล้วเอาสติยัดลงไป เท่านั้น เจริญสติปัฏฐานสี่ ให้มันครบ ๔ ข้อ บางคนบอก ทำกัมมัฏฐานแล้ว ทำไมยังปวดเมื่อย ซึ่งที่แล้วต้องเมื่อยปวดตลอดไป พอทำแล้วถึงที่สุด ทำถึงระยะ ๖ ไปนั่งใหม่ มันจะเปลี่ยนขึ้นมาเรื่อย ๆ เพราะเราเกิดมาหลายชาติ หลายกัป หลายกัลป์ มันก็ต้องเปลี่ยนไปตามชาติ ที่เราเกิดมา ไม่ใช่นั่งอย่างไรได้อย่างนั้น เป็นการเข้าใจผิด เราไปเข้าใจว่า นั่งได้โสฬสญาณ แล้วก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงได้เหรอ มันต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะว่าทุกวันมันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องเปลี่ยนไปตามสภาพของเวรกรรม ไปทำกรรมอะไรไว้ เราจะได้รู้ ไม่เช่นนั้นเราจะไม่รู้เรื่องเลย ไปถามหมอดู หมอดู ดูก็ไม่รู้เรื่อง จะดูจิตใจเรา จะดูกฎแห่งกรรมของเราได้เหรอ <o:p></o:p>
    พระราชนิพนธ์ ของรัชกาลที่ ๒ ท่านแต่งรามเกียรติ์ได้ดีมาก คือ พิเภก มารซื่อมีคนเดียว ทำไม ทศกัณฐ์จึงไล่ออกจากนครลงกา พูดจริงก็ไม่ดี พูดจริงก็เสียเหมือนกัน ทศกัณฐ์ ฝันว่า แร้งดำ แร้งขาว แร้งดำ คือ ทศกัณฐ์ จะต้องตายโหง แล้วพิเภก ก็ทำนาย ทายทัก บอกว่า พระเชษฐา เคราะห์ร้ายจะต้องตาย และตายโหงด้วย โปรดเมตตากรุณาคืน สีดา ให้แก่พระรามไปซะ ทศกัณฐ์ โกรธ ไล่พิเภกออกจากพระนครลงกา อยากจะประหารชีวิตซะเลย เห็นไหมบอกตรงๆ ก็ไม่ได้ นี่แหละ พูดจริงก็เป็นภัยเหมือนกัน เราไม่อยากพูดจริง กับคนที่มันไม่จริงกับเรา ถ้าคนจริง เราก็พูดจริงกับเขา บางอย่างไม่ควรพูดซะเลยดีกว่า <o:p></o:p>
    บางคนไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องเดินจงกรม เพราะคนเรานั้นมีอริยาบท ๔ ประการ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน เดินธรรมดา แต่ให้มันช้าลงไป ขวาย่าง…หนอ ซ้ายย่าง…หนอ เท่านั้นเอง บางคนดัดจริตไม่เข้าเรื่อง ครูสอนก็ดัดจริต สอนเดินจงกรม ก้าวที่ละคืบ แล้วเมื่อไรจะถึงละ ทำอะไรช้าจะมีสติ คิดรอบคอบ ถ้าทำอะไรเร็ว ด่วนได้ จะลืม เช่น ลืมกระเป๋า ลืมมือถือ ลืมอะไรต่อมิอะไร ลืมอะไรไว้ในห้องน้ำเยอะ เพราะทำอะไรเร็วไป ตรงนี้สำคัญมาก ต้องพูดให้เข้าใจ บางคนลืมบ่อยๆ ต่อไปจะลำบาก <o:p></o:p>
    การเดิน เดินให้มีสติ ต้องยืนก่อน แล้วถึงมาเดิน มานั่ง มานอน ทำไมต้องเอามือไพล่ห[FONT=&quot]ล[/FONT]ัง มันจำเป็นหรือ เอามือจับกันไว้ข้างหน้าก็ได้ไม่เป็นไร อาตมาไม่ให้โยมเอามือจับกันไว้ข้างหน้าเพราะอะไร เมื่อก่อนอาตมาก็เดินทำอย่างนี้ สอนมาอย่างนี้ แล้วยืนหนอ ๓ ครั้ง ไม่ถึง ๕ เพราะเราไม่รู้จริง เราไปรู้มาจากขอนแก่น ๕ ครั้ง ตะจะ ปัญจะกะ กัมมัฏฐาน ๕ ไม่ใช่ ๓ ทบทวนชีวิตได้ ๕ ครั้งเมื่อไร จะรู้เลยว่ากฎแห่งกรรมมีอะไร และจะเห็นหนอ ด้วยปัญญา อัตโนมัติไปเลย เห็นหนอ ๕ ครั้ง พอดู ศรีษะลงปลายเท้า ปลายเท้าถึงศรีษะ อัสสาสะ ปัสสาสะ มันจะย้อนมาบอกเรา ว่าคนนี้นิสัยไม่ดี อย่าคบ แต่การคบค้าสมาคม พระพุทธเจ้าสอน คบได้แต่อย่าช่วยเขา กินข้าวจานเดียวกันได้ คนขี้เมายังมีโอกาสอาศัยเขาได้ ขอแรงผูกโรงลิเก ขอแรงทำอย่างอื่นได้ คนที่ไม่ใช่ขี้เมาขอแรงยาก คนไทยชอบเลี้ยงเพราะคนไทยใจกว้าง ถึงได้กินเหล้ามาเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย คนติดเหล้าอย่าไปว่าเขา การกินเหล้าไม่ใช่คนชั่ว คนไปทำชั่ว มันถึงจะชั่วนะ กินเหล้าดีกว่าไปกินยาบ้า
    ขวาย่าง……หนอ แล้วโยกตัว ซ้าย ….หยุด ย่าง……หนอ หยุด ขวาย่าง…หนอ ให้จังหวะ หยุดหน่อย แล้วซ้ายโยกตัวย่างหนอ หยุด…หนอ ๓ ครั้ง เตือนสติให้หยุด กลับหนอ ยืนหนอ อีก ๕ ครั้ง ถ้าคนไม่เข้าใจให้หยุดที่สะดือ คนเข้าใจแล้วจะคล่องไปเอง ไม่ต้องดูลมหายใจ
    ขณะที่เดินจงกรมเกิดเวทนาในท่าไหน ให้หยุดที่ท่านั้นไม่ต้องชิดเท้า แล้วตั้งตัวตรงๆ แล้วกำหนด ว่า ปวดหนอ ปวดหนอ ตรงที่ปวด เมื่อได้สติดีแล้ว ก็เดินต่อไป ไม่ใช่เดินเสร็จแล้วไปกำหนดปวด ให้เอาปัจจุบันเลย<o:p></o:p>
    เมื่อก่อนเดินจงกรม โดยเอามือมาไว้ข้างหน้า มีคนเป็นโรคปอด อยู่ ๒ คน เดินขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอไป หนักเข้ารัดหน้าอก หายใจไม่ออก ปอดบวมทันที เลยกลายเป็นโรคปอด เราเลยไปถามหมอ หมอก็ถามอาตมาว่า “หลวงพ่อเวลาเขาเดินจงกรม เขาทำอย่างไร” อาตมาก็ทำให้หมอดู ถ้าเดิน ๓๐ นาที ไม่เป็นไร ถ้า ๑ ชั่วโมง มันจะรัด จะปวดหัวไหล่ หายใจไม่ออก เลยต้องเปลี่ยนมาเดินไพล่หลัง โดย เอามือซ้ายจับข้อมือขวาไว้ แล้วเอาไว้ตรงกระเบนเหน็บ คนที่เป็นโรคไต หายได้ และหลังจะไม่โก่ง มันจะโดนกระเบนเหน็บนี่ ถ้าเดินถึง ๒ ชั่วโมง จะรู้ได้ทันที ถ้าเดิน ๓๐ นาที จะไม่รู้ เดิน ๒ ชั่วโมง จะรู้เลย มันจะปวดตรงกระเบนเหน็บ แทบจะร้องไห้เลย พอกำหนดก็จะหาย พอหายแล้ว โรคตรงนี้หายได้ อัมพฤกษ์ อัมพาต จะไม่เป็น ผู้หญิงซ้าย ชายขวา ถ้าผู้หญิงเป็นทางซ้ายไม่หาย ผู้ชายเป็นทางขวาไม่หาย เดินเอามือไพล่หลังจะไม่เป็นโรคปอด ถ้าเป็นโรคหืด แต่เดินจงกรมเอามือมาไว้ข้างหน้า ไม่ถึงชั่วโมงจะหอบเลย แต่เอามือมาไพล่หลัง แล้วหายใจยาวๆ โรคหืดจะหายได้ ท่านพระครูสังฆรักษ์ ธเนศ มาจากเมืองจีน เป็นโรคหืด แต่มาหายที่วัดนี้ หายใจยาวๆ ช้าๆ เรื่อยๆ ไป แล้วจะมีปัญญา โรคหืด หอบ มันจะหายไป <o:p></o:p>
    บางคนไม่มีเหตุ คิดว่าแค่มานุ่งขาว ก็จะได้ไปสวรรค์ จะไปได้หรือ แค่มนุษย์สมบัติ ยังทำไม่ได้ ไปนิพพานง่ายนิดเดียว ตัดกิเลสได้หมดไหม ไม่ได้แล้วจะไปได้เหรอ แล้วไปเถียงกันในทีวี เรื่อง อัตตา อนัตตา แต่ตัดกิเลสได้หรือเปล่า ตัดกิเลสไม่ได้ แล้วยังไปเถียงกันอีก คนที่เถียงกันนี่ เป็นพระอรเห ไปเถียงกันในทีวี <o:p></o:p>
    การเดินจงกรม บางคนยังเดินสั้น ให้ก้าวเท่าที่เราก้าวยาวได้ ก้าวได้แค่ไหนเอาแค่นั้น อย่าไปก้าวสั้น และอย่าก้าวยาวเกินไป เคยก้าวแค่ไหนให้ก้าวแค่นั้น แต่ให้ช้าลงไป ช้าเพื่อไวเสียเพื่อได้ ถ้าสติมั่นคงแล้วก้าวช้าๆ จะไม่ล้ม ยืนขาเดียวได้ เวลาก้าวเท้าขวา ย่าง...ไป น้ำหนักจะอยู่ที่เท้าซ้ายจะถ่วงมากแล้วจะเซ แล้วถ้าก้าวเท้าซ้าย ย่าง... ขวาจะรับน้ำหนัก ถ้าเรารับไม่ได้ก็จะล้ม ถ้าเราเดินไปเรื่อยๆ มันจะถ่วงน้ำหนักก็จะไม่ล้ม ถ้าทำครั้งแรกก็จะมีเซบ้าง <o:p></o:p>
    เวลาเรามีประสพการณ์อะไรให้รีบกำหนด ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราไปโกรธกับใคร ก็ให้กำหนดโกรธ ไม่ใช่พอโมโหใครก็ทำร้ายเขาก่อนแล้วถึงมากำหนดโกรธทีหลัง มันไม่ถูกต้อง <o:p></o:p>
    และขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ก็ขอให้ดูที่เท้า อย่าไปหลับตา เดี๋ยวจะไม่รู้ว่า รูป นาม ขันธ์ ห้าเป็นอารมณ์ นั้นเป็นอย่างไร จิตนี้มันเกิดดับ เวลาเราขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ รู้หรือไม่ว่าขวาซ้ายเป็นอันเดียวกันหรือไม่ พอจิตที่ขวาย่างหนอดับลงไป จิตดวงใหม่คือ ซ้าย ก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่ ขวาย่างไป อันที่เราเห็นนี้เป็นรูปธรรม นามคือจิตที่เรารู้ มันย่างไปในปัจจุบันอย่างไร แล้วจะรู้ต่อไปถึงจิตเห็นหนอ รูปกับตา มันคนละอันกัน หูกับเสียงก็ไม่ได้อยู่ด้วยกัน หูเป็นสื่อรับมันเป็นรูป ตัวนามที่สื่อรับเข้าไป ชอบหรือไม่ชอบ ดีหรือไม่ดี มันเป็นตัวนามธรรม ทำให้เรารู้ในภายใน รูปนามขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ โลภะมูลจิต ๘ โทสะมูลจิต ๒ โมหะมูลจิต ๒ สังขาริกัง อสังขาริกัง บอกอย่างนี้ไว้ชัดเจน กุศล ๔ อกุศล ๔ คือโลภะมูลจิต ๘ อยากได้ของเขา เสียก็ไม่เอาด้วย โลภอยากได้ แต่โลภมีอย่างหนึ่ง คือ โลภอยากได้แต่ทำงานสุจริตเอา ได้มาด้วยความถูกต้อง แต่ไม่จัดเป็นโลภะที่เสียหายเพราะกิเลส มันจัดเป็นโลภะอยากได้ บางคนว่า อยากนั่งหนอ อยากนั่งหนอ มันก็เป็นกิเลส





    http://www.jarun.org/v3/P16008.htm
     
  9. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    การอธิบายวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    ดังได้กล่าวแล้วว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คือ การเจริญสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งการกระทำที่เป็นปัจจัยให้เกิดการเห็นแจ้ง การเห็นพิเศษ และการเห็นโดยอาการต่าง ๆ มีความไม่เที่ยง* เป็นต้น ภูมิธรรมที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนามี 6 อย่างคือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจจ์ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12 ซึ่งทั้งหมดย่อลงเหลือรูปนาม


    <center> <table style="border-collapse: collapse;" id="AutoNumber1" border="1" bordercolor="#006600" cellpadding="0" cellspacing="0" width="61%"> <tbody><tr> <td width="100%">
    * รูปาทิอารมฺมเณสุ ปญฺญตฺติยา จ นิจฺจสุขอตฺตสุภสญญาย จ วิเสเสน นามรูป ภาเวน วา อนิจฺจาทีอากาเรน วา ปสฺสตีติ วิปสฺสนา, วิเสเสน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา, ปญฺจกฺขนฺเธสุ วิวิเธน อนิจฺจาทิอากาเรน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา
    (พระธรรมธีรราชมหามุนี, วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2, กรุงเทพ ฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2532 หน้า 314-315).

    </td> </tr> </tbody></table> </center> ​


    การกำหนดรู้ตามอาการนั้น ผู้ปฏิบัติใหม่จำเป็นต้องใช้คำภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสื่อให้เกิดความตั้งมั่น (ขณิกสมาธิ) คำภาวนาต่าง ๆ ไม่ควรจะยาวหรือสั้นเกินไป จำนวนพยางค์ที่เหมาะสมสำหรรับการกำหนด คือ การใช้อักษรเพียง 2 พยางค์ ซึ่งช่วงระยะของการกำหนดพอดีกับที่อาการสิ้นสุดลง พร้อมที่อาการใหม่จะปรากฏขึ้นให้กำหนดครั้งใหม่อีก

    จากอุบายนี้อาจารย์ ภัททัน อาสภเถระ เขียนไว้ในหนังสือวิปัสสนาทีปนีฎีกาถึงเหตุที่เลือกคำว่า หนอ ต่อท้าย ผสมเข้ามาในการกำหนดภาวนาขณะเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เช่น พองหนอ ยุบหนอ เพราะคำว่า “หนอ” จัดว่าเป็นคำสุภาพ ไม่หยาบคาย หรือไม่น่ารังเกียจ เหมือนคำอื่นบางคำ และนอกจากนี้สามารถใช้เป็นสื่อของการฝึกในใจให้ทันกับกิริยาอาการที่กำลังกระทำอยู่หรือกำลังรู้อยู่

    พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) เคยเทศน์อธิบายสรุปความคำว่า หนอ ที่นำมาประกอบคำภาวนานั้น หมายถึง “สักแต่ว่า” เช่น เห็นหนอ หมายถึง สักแต่ว่าเห็น เมื่อเห็นแล้วก็ไม่ได้มีจิตใจผูกพันเกาะเกี่ยว สิ่งที่เห็นเป็นเพียงรูป การรู้ในใจเป็นนาม แต่การกำหนดรูปนามนั้นยังช้าไป หากใช้คำว่า หนอ จะเกิดสติรู้ได้เท่าทันเร็วกว่า หรืออย่างคำว่า เจ็บหนอ ก็หมายถึง สักแต่ว่าเจ็บ

    ทั้งนี้ย่อมโยงไปถึงความเข้าใจที่ว่า ความเจ็บย่อมมีกับแต่ละบุคคลเป็นธรรมดา จะได้ไม่ถือมั่น ไม่ใส่ใจ ความเจ็บจิตมุ่งจะเข้าสู่สภาวธรรมที่เกิดขึ้น จึงเป็นวิถีทางที่จะทำให้มีความเจริญหน้าในการปฏิบัติขั้นสูงต่อไปได้ (วริยา ชินวรรโณ และคณะ 2537 : 252)

    พระครูประคุณสรกิจ (2537 : 46) กล่าวถึง ประโยชน์ 8 ประการ ของคำว่า หนอ ที่ต่อท้าย คือ

    1. ทำให้เกิดสังเวชได้ง่าย
    2. ทำให้เกิดสมาธิได้เร็ว
    3. เพิ่มกำลังของขณิกสมาธิ ได้แก่ กล้าได้ง่าย
    4. ให้รู้ปัจจุบันได้เร็ว
    5. สติที่เกิดสามารถกำหนดรูปนามได้ชัด
    6. คั่นรูปนามให้ขาดระยะ
    7. ทำให้แยกรูปนามออกจากกันได้ง่าย
    8. ทำให้ไตรลักษณ์ปรากฏชัด

    ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


    6.3.1 เรื่องพอง - ยุบ

    เป็นที่ทราบกันว่า การเจริญวิปัสสนาตามพระพุทธประสงค์ ก็คือ การกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ ถ้าผิดจากการกำหนดรูปนามเสียแล้ว ก็หาใช่วิปัสสนากรรมฐานไม่ การกำหนดรูปที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น ถ้ากำหนดรูปใหญ่ไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อย ก็ให้กำหนดรูปละเอียด รูปที่ละเอียด ได้แก่ รูปที่ลมหายใจกระทบ คือ ลมหายใจเข้า-ออกไปกระทบที่ใดก็ให้กำหนดที่นั้น

    ในที่นี้สถานที่ที่ลมหายใจถูกต้องอยู่เสมอมีอยู่ 2 แห่ง คือ ที่จมูกและที่บริเวณท้อง ในที่ 2 แห่งนั้น จมูกเป็นส่วนที่กำหนดได้ชัดเจนเฉพาะในระยะเริ่มแรกเท่านั้น ครั้นกำหนดนานเข้าจนลมละเอียดแล้ว การกระทบจะปรากฏไม่ชัดเจนและสังเกตยาก ส่วนที่บริเวณหน้าท้องซึ่งมีอาการพอง-ยุบนั้น สามารถกำหนดได้ชัดเจนสม่ำเสมอ ถึงจะนานเท่าใดหรือลมหายใจละเอียดเพียงใดก็กำหนดได้ และแสดงสภาวะได้ชัดเจนกว่าการกระทบที่บริเวณจมูก ฉะนั้นรูปที่ลมถูกต้องที่บริเวณหน้าท้อง คือ อาการพองขึ้นและยุบลง จึงเหมาะแก่การตั้งสติกำหนดเพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน (ธนิต อยู่โพธิ์ 2518 : 26)

    อาการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง ที่เกิดจากลมหายใจ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วาโยโผฏฐัพพะรูป (รูปที่ลมกระทบถูกต้อง) เป็นปรมัตถ์สภาวะ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยการเคลื่อนไหวเพราะมีวาโยธาตุ ในสังยุตตนิกาย กล่าวไว้ว่า
    “โผฏฐัพฺเพ อนิจฺจโต ชานโต ปสฺสโต อวิชฺชา ปหิยติ วิชฺชา อุปฺปชฺชาติ”

    “โยคีบุคคลที่โผฏฐัพพารมณ์ถูกต้องสัมผัสนั้น ตั้งสติกำหนดรู้เห็นอยู่ว่าไม่เที่ยง บุคคลนั้นอวิชชาหายไป วิชชาญาณปรากฏ”
    ท่านมหาสี สะยาดอ (พระโสภณ มหาเถระ) แสดงไว้ในวิสุทธิญาณกถา ว่า

    “อภ วา ปน นิสินฺนสฺส โยคิโน อุทเร อสฺสาสปสฺสาสปจฺจยา ปวตฺตํ วาโยโผฏฐัพฺพรูปํ อุนฺนมนโอนมนากาเรน นิรนฺตรํ ปากฏฺ โหติ ตมฺปิ อุปนิสฺสาย
    อุนฺนมํติ โอนมติ อุนฺนมติ โอนมตี-ติ อาทินา สลฺลกฺเขตพฺพํ”
    “โยคีบุคคลเมื่อนั่งลงแล้ว ในบริเวณท้องนั้น อัสสาสะปัสสาสะวาโยธาตุเป็นเหตุเป็นปัจจัย วาโยโผฏฐัพพรูปนี้ปรากฎชัดเจนอยู่เสมอ ในขณะนั้นพึงตั้งสติกำหนดเจริญวิปัสสนา ภาวนาว่า พองหนอ-ยุบหนอ พองหนอ-ยุบหนอ”
    จากการสัมภาษณ์ พระมหาภาณุวัฒน์ ปิยสีโล พรรษา 63 ปี เป็นอาจารย์สอนพระอภิธรรมอยู่ที่ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า
    “เคยปฏิบัติพองหนอ-ยุบหนอ กับพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) อาจารย์บอกเพียงให้สังเกตอาการที่ท้องพองขึ้น-ยุบลง ช่วงนั้นยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม พอมาเรียนอภิธรรมจึงรู้ว่า ขณะหายใจเข้า ลมที่เข้าไปจะดันให้ท้องพองขึ้น ขณะหายใจออกลมที่ออก มีผลให้ท้องยุบลง อาการพองออกและยุบลงเป็นรูปธรรม ลมที่ดันให้ท้องพองออกหรือยุบลงก็เป็นรูปธรรม แต่จิตที่เป็นตัวรู้อาการนั้นเป็นนามธรรม

    พูดรวม ๆ ว่าจิตรู้ ขณะที่รู้อาการนั้นมีธรรมอยู่ 5 อย่าง คือ ปัญญา วิตก วิริยะ สติ สมาธิ ในสติปัฏฐานยกมากล่าว 3 อย่าง คือ สติ ปัญญา วิริยะ ที่เรากำหนดอยู่ได้ เพราะมีความเพียร (วิริยะ) เกิดขึ้น สติเป็นตัวรู้ว่าขณะนี้กำลังทำอะไร ส่วนปัญญาเป็นตัวตัดสิน สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ว่าเป็นรูปหรือนาม

    ส่วนธรรมอีก 2 อย่าง คือ วิตก และสมาธิ ไม่กล่าวถึงแต่ต้องร่วมด้วย เพราะปัญญาไม่สามารถพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยวิตกเป็นตัวเสนออารมณ์ให้ปัญญา คือ ทำงานพร้อมกัน แต่หน้าที่ต่างกัน พอง-ยุบ เป็นบัญญัติอารมณ์ แต่ลึกลงไป คือ รูปธรรมและนามธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถ์ คิดว่าปฏิบัติโดยใช้พองหนอ-ยุบหนอ กับการกำหนดรูป-นาม สามารถปรับเข้ากันได้
    6.3.2 การเดินจงกรม

    ตามปกติคนเราโดยทั่วไปจะเดินช้าหรือเร็วก็ตาม ย่อมก้าวเท้าเดินไปตามระยะหรือจังหวะ ไม่ปรากฏว่ามีใครเคยกำหนดว่าก้าวหนึ่ง ๆ มีกี่ระยะ หรือกี่จังหวะ และไม่เคยกำหนดซ้าย-ขวาในการก้าวย่าง นอกจากทางการทหาร ซึ่งมีความมุ่งหมายไปอีกทางหนึ่ง ต่างจากความมุ่งหมายในการปฏิบัติธรรม

    อิริยาบถเดินเป็นอาการเคลื่อนไหวทางกายอย่างหนึ่ง สามารถเป็นสื่อให้จิตเกิดความตั้งมั่นได้เช่นกัน แนวทางในการปฏิบัติเบื้องต้น คือ ความตั้งใจในการเดินไปและกลับในจังหวะต่าง ๆ ตามระยะทางที่กำหนดไว้ เรียกว่า เดินจงกรม

    วิปัสสนาจารย์บางท่านนำเอาระยะหรือจังหวะมาแบ่งเป็นขั้นตอน โดยกำหนดให้เดินเป็นระยะหรือเป็นจังหวะ รวมแล้วมี 6 ระยะ เข้าใจว่าคงอนุโลมตามการแบ่งการก้าวครั้งหนึ่งออกเป็น 6 ส่วน (ธนิต อยู่โพธิ์ ; 2518 : 22) เพื่อสะดวกในการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ ดังนี้
    จงกรม 1 ระยะ
    ซ้ายย่างหนอ - ขวาย่างหนอ
    จงกรม 2 ระยะ
    ยกหนอ - เหยียบหนอ
    จงกรม 3 ระยะ
    ยกหนอ - ย่างหนอ - เหยียบหนอ
    จงกรม 4 ระยะ
    ยกซ่นหนอ - ยกหนอ - ย่างหนอ - เหยียบหนอ
    จงกรม 5 ระยะ
    ยกซ่นหนอ - ยกหนอ - ย่างหนอ - ลงหนอ - ถูกหนอ
    จงกรม 6 ระยะ
    ยกซ่นหนอ - ยกหนอ - ย่างหนอ - ลงหนอ - ถูกหนอ - กดหนอ
    ในการฝึกนั้นให้ฝึกไปทีละขั้น มิใช่ว่าเดินทุกระยะตั้งแต่ 1 ถึง 6 ระยะในคราวเดียวกัน หากแต่เริ่มฝึกจาก 1 ระยะก่อน คือ เดินอย่างช้า ๆ เป็นขั้น ๆ ไปตามวิธีเดินจงกลม จะก้าวเท้าซ้ายหรือเท้าขวาก่อนก็ได้ ตั้งสติกำหนดในใจตามไปพร้อมกับก้าวเท้าให้เป็นปัจจุบัน เช่น ขณะยกเท้าซ้ายก้าวไปจนวางเท้าลงกับพื้น ก็ตั้งสติกำหนดแต่แรกเริ่มยกเท้าช้า ๆ ว่า ซ้าย-ย่าง-หนอ พอเท้าเหยียบกับพื้นก็ลงคำว่า หนอพอดี ขณะยกเท้าขวาก้าวไปจนวางเท้าลงกับพื้น ก็ตั้งสติกำหนดว่า ขวา-ย่าง-หนอ ทำให้ทันกันเช่นนี้ทุกครั้งที่ก้าวออก มิใช่ก้าวเท้าไปก่อนแล้วจึงกำหนดตาม หรือกำหนดไว้ก่อน แล้วจึงก้าวเท้า เป็นต้น

    เมื่อจงกรมจนสุดทางด้านหนึ่งแล้ว หยุดยืนให้กำหนดในใจว่า “ยืนหนอ” 3 ครั้ง เมื่อจะกลับตัวให้กำหนดว่า “อยากกลับหนอ” 3 ครั้ง แล้วค่อย ๆ หันตัวกลับช้า ๆ พร้อมกับกำหนดว่า “กลับหนอ” 3 ครั้ง จนหันตัวกลับเสร็จแล้วจึงเดินจงกลมพร้อมกับกำหนดต่อไป เพื่อให้จิตคงที่อยู่กับอิริยาบถ เมื่อกำหนดระยะที่ 1 จนชำนาญแล้ว วันต่อไปจึงเปลี่ยนเป็นระบบ 2-3-4-5-6 ตามลำดับ ทั้งนี้สติจะต้องเร็วขึ้นตามรายละเอียดของอาการปรากฎที่บริเวณส่วนต่าง ๆ ของฝ่าเท้า การเดินจงกรมและกำหนดรู้ตัวอยู่เสมอดังนี้ เป็นการฝึกหัดปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐานในหมวดอิริยาบถบรรพพะที่ว่า

    “คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ”
    “เมื่อเดินอยู่ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้าเดินอยู่”

    สติจะต้องตามกำหนดรู้ในทันพอดีกับอิริยาบถ อย่าให้ช้าหรือเร็วเกินไป ขณะที่เดินถ้ามีสิ่งใดมากระทบทวารต่าง ๆ หรือเกิดเวทนาคิดเกิดธรรมใด ๆ ขึ้นมาให้มีสติตามกำหนดรู้ให้ทันกำหนดครั้งเดียว แล้วจึงกำหนดเดินต่อไป ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจะต้องเริ่มจากเดินจงกลมทุกครั้ง ๆ ละประมาณ 15-30 นาที ก่อนที่จะนั่งสมาธิ



    6.3.3 การนั่งสมาธิ

    เมื่อเดินจงกรมไปจนครบเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เตรียมจัดอาสนะสำหรับนั่งไว้ เวลาจะนั่งให้ค่อย ๆ ย่อตัวลง พร้อมกับภาวนาว่า นั่งหนอ นั่งหนอ ... ภาวนาเรื่อยไปจนกว่าจะนั่งเสร็จเรียบร้อย ให้นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวให้ตรง อาจจะนั่งเก้าอี้หรือนั่งพับเพียบก็ได้ (พระธรรมธีรราชมหามุนี 2538 : 6-7)

    เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วให้หลับตา เอาสติมาจับอยู่ที่ท้อง เวลาหายใจเข้าท้องพองให้ภาวนาว่า พองหนอ ใจที่นึกกับท้องที่พองต้องให้ทันกันพอดี อย่าให้ก่อนหรือหลังกว่ากัน เวลาหายใจออกท้องยุบให้ภาวนาว่า ยุบหนอ ใจที่นึกกับท้องที่ยุบต้องให้ทันกันเช่นกัน สิ่งสำคัญคือ ให้สติจับอยู่ที่อาการพอง-ยุบเท่านั้น อย่าไปดูลมที่จมูกและอย่าตะเบ็งท้อง ให้นั่งภาวนาเช่นนี้ประมาณ 15-30 นาที เท่ากับเวลาเดินจงกรม การนั่งกำหนดพอง-ยุบ จะแบ่งเป็นระยะเช่นกัน รวมแล้ว 4 ระยะ คือ

    นั่งกำหนด 2 ระยะ
    พองหนอ - ยุบหนอ
    นั่งกำหนด 3 ระยะ
    พองหนอ - ยุบหนอ - นั่งหนอ
    นั่งกำหนด 4 ระยะ
    พองหนอ - ยุบหนอ - นั่งหนอ - ถูกหนอ
    คำ ถูกหนอ นี้ หมายถึง ให้ทำความรู้สึกไปที่บริเวณต่าง ๆ ของร่างกายที่สัมผัสกับพื้น รวม 6 แห่ง คือ
    1. พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกต้อง (ถูกก้นย้อยข้างขวา)
    2. พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกต้อง (ถูกก้นย้อยข้างซ้าย)
    3. พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกต้อง (ถูกเข่าข้างขวา)
    4. พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกต้อง (ถูกเข่าข้างซ้าย)
    5. พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกต้อง (ถูกตาตุ่มข้างขวา)
    6. พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกต้อง (ถูกตาตุ่มข้างซ้าย)

    ส่วนการนอนกำหนดก็มี 4 ระยะเช่นกัน คือ พองหนอ - ยุบหนอ - นอนหนอ - ถูกหนอ ในการกำหนดถูกหนอนั้น ให้กำหนดส่วนของร่างกายที่สัมผัสกับที่นอน เช่น ศีรษะ สะโพก ขา เป็นต้น
    ในขณะที่นั่งกำหนดอยู่นั้น ถ้าเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย คัน เป็นต้น ให้ปล่อยพอง-ยุบ แล้วเอาสติไปกำหนดบริเวณที่เจ็บ ปวด เมื่อย คัน พร้อมกับภาวนาว่า เจ็บหนอ ๆ หรือ ปวดหนอ ๆ สุดแต่เวทนาใดเกิดขึ้น เมื่อเวทนาหายแล้วให้กลับไปพิจารณาพองหนอ-ยุบหนอใหม่ จนกว่าจะครบกำหนดเวลา
    ถ้าจิตคิดถึงบ้าน คิดถึงรายได้ หรือคิดถึงกิจการงานที่ค้างอยู่ ให้กำหนดว่า คิดหนอ ๆ จนกว่าจะหยุดคิด เมื่อหยุดคิดแล้วให้กลับไปกำหนดพองหนอ-ยุบหนอต่อไป เช่น นึกถึงภูเขาทอง ก็ให้อยู่แค่นึกเท่านั้น อย่าเลยไปถึงภูเขาทอง พอรูปภูเขาทองผ่านเข้ามาทางความคิด (มโนทวาร) ให้กำหนด รู้หนอ ๆ เท่านั้น ไม่ให้วิจารณ์ต่อไป เพราะวิปัสสนาให้รู้แล้วทิ้ง มิใช่ว่ารู้แล้วจำไว้ แม้ดีใจ เสียใจ โกรธ ก็ให้กำหนดเช่นเดียวกัน คือ ดีใจหนอ ๆ เสียใจหนอ ๆ โกรธหนอ ๆ รู้หนอ ๆ จนกว่าความโกรธนั้นจะหายไป เป็นต้น ส่วนการกำหนดอารมณ์ทางทวารอื่น ๆ มีวิธีการดังนี้

    เวลาตาเห็นรูปให้กำหนดว่า เห็นหนอ ๆ ตั้งสติไว้ที่ตา
    เวลาหูได้ยินเสียงให้กำหนดว่า ได้ยินหนอ ๆ ตั้งสติไว้ที่หู
    เวลาจมูกได้กลิ่นให้กำหนดว่า กลิ่นหนอ ๆ ตั้งสติไว้ที่จมูก
    เวลาลิ้นรู้รสให้กำหนดว่า รสหนอ ๆ ตั้งสติไว้ที่ลิ้น

    เวลากายถูกความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ให้กำหนดว่า ถูกหนอ ๆ ตั้งสติไว้ตรงที่ถูก หลังจากกำหนดอารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบข้างต้นแล้ว ให้กลับไปกำหนดอารมณ์หลัก คือ พองหนอ - ยุบหนอ ต่อไป



    6.3.4 การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถและการกำหนดต้นจิต

    ในอิริยาบถอื่น ๆ ก็ให้มีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่ตลอดเวลา เช่น เวลารับประทานอาหารก็ควรรับประทานอย่างช้า ๆ กำหนดไปทุกระยะ เช่น ตักหนอ (ช้อนตักอาหาร) ยกหนอ (มือส่งอาหารเข้าปาก) เคี้ยวหนอ (ขณะเคี้ยว) รสหนอ (เมื่อรสปรากฏ) ฯลฯ หรือเวลาขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ อาบน้ำชำระร่างกาย เหลียวซ้าย แลขวา คู้เข้า เหยียดออก ก้ม เงย ก็ให้มีสติเสมอ มิให้ขาดระยะเช่นกัน เวลาพูดให้ระวังก่อนจะพูดให้กำหนดรู้ว่าจะพูด อย่าพูดติดต่อกันนาน พูดสัก 5-6 คำ หรือ 7-8 คำ ให้หยุดตั้งสติ แล้วพูดต่อไป ให้พูดช้า ๆ เป็นการดี

    การกำหนดต้นจิต

    ต้นจิต คือ ความอยากนั่นเอง เช่น อยากลุก อยากนั่ง อยากนอน เป็นการฝึกจิตให้อยู่กับอาการเคลื่อนไหวและอิริยาบถต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อฝึกหัดให้เป็นคนมีสติสัมปชัญญะมากขึ้น (ธนิต อยู่โพธิ 2518 : 57) เช่น ขณะนั่งอยู่ ก็กำหนดรู้ตัวว่านั่งอยู่ และถ้าจะลุกขึ้น ก่อนจะลุกขึ้นยืนให้กำหนดว่า อยากลุกหนอ ๆ ๆ (3 ครั้ง) ขณะลุกก็ควรเคลื่อนไหวช้า ๆ และกำหนดไปตามอาการและอิริยาบถ โดยกำหนดไปพร้อมกันว่า ลุกหนอ ๆ ๆ (3 ครั้ง) ขณะยืนกำหนดว่า ยืนหนอ ๆ ๆ จะงอแขนเข้ามาให้กำหนดว่า อยากคู้หนอ ๆ ๆ (3 ครั้ง) เมื่องอแขนแล้วกำหนดว่า คู้หนอ ๆ ๆ (3 ครั้ง) เป็นต้น ผู้ปฏิบัติใหม่ส่วนมากมักจะเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนอิริยาบถไปโดยมิได้กำหนดรู้ไว้ก่อน แต่นึกได้ภายหลังบ้าง บางครั้งกำหนดสับสนไปบ้าง ทั้งนี้หากไม่ท้อถอยและพากเพียรในการฝึกหัดต้นจิตนี้อย่างสม่ำเสมอ สติจะค่อย ๆ มั่นคงขึ้นเป็นพื้นฐานแก่การกำหนดขั้นสูงต่อไป

    จากการสอบถามถึงวิธีการสอนกรรมฐาน ดร.พระมหาพิธูร วิธุโร อธิบายว่า

    “ในการสอนกรรมฐาน นำมาจากมหาสติปัฏฐานทั้ง 4 หมวด เช่น หมวดกาย ให้พิจารณาความเคลื่อนไหวร่างกาย เดิน ยืน นั่ง นอน รวมทั้งความเจ็บปวด (เวทนา) ความคิด (จิต) ความง่วง (ธรรม) ซึ่งก็คือ สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง แต่ไม่ได้เรียกอย่างนั่น ถ้าถามว่าปฏิบัติแบบใด ก็ต้องบอกว่าแบบพองหนอ-ยุบหนอ หนอเป็นคำที่เสริมเข้ามา เพื่อเพิ่มสมาธิให้มากขึ้น คำพูดนั้นไม่สำคัญ ที่สำคัญคือ ให้มีสติกำหนดรู้ ส่วนจำนวนครั้งที่ให้กำหนด 3 ครั้งนั้น จริง ๆ แล้วก็ไม่จำเป็น แต่โดยทั่วไปแล้วเราชอบพูดอะไรให้เป็น 3 ครั้ง เพื่อเพิ่มความหนักแน่น เช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น”
    ดังได้กล่าวแล้วว่า อินทรีย์ 5 และพละ 5 เป็นธรรมที่มีอุปการะมากในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน การปรับอินทรีย์และพละให้เสมอกันเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ปฏิบัติจะได้รับคำสอนและการอบรมจากท่านวิปัสสนาจารย์เป็นระยะ ๆ ในที่นี้มีการสอนเกี่ยวกับอิริยาบถ 2 อย่าง คือ เดินจงกรม และการนั่งสมาธิ

    การเดินจงกรม เป็นการทำความเพียรอย่างหนึ่ง แม้จะมีสมาธิอยู่บ้าง แต่ก็หนักไปทางวิริยะ ส่วนการนั่งกำหนดกรรมฐาน เป็นการบำเพ็ญสมาธิอย่างหนึ่ง แม้จะมีความเพียรประกอบ แต่ก็หนักไปทางสมาธิ อินทรีย์ทั้งสอง (วิริยะกับสมาธิ) ต้องปฏิบัติให้เสมอกัน ถ้าเดินจงกรมตลอดเวลาเท่าใด เช่น 15 นาที 30 นาที 45 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ก็ควรนั่งกำหนดภาวนาตลอดเวลาเท่ากันกับการเดินจงกรม เมื่อมีวิริยะในการเดินจงกรมและมีสมาธิในการนั่งกำหนด ปัญญาที่เรียกว่า “ญาน” ก็จะเกิดขึ้นด้วยการรู้เห็นตามเป็นจริง มีพระพุทธพจน์กล่าวว่า

    “นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส, นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน”
    การกำหนดสภาวะไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่กำหนด

    เมื่อผู้ปฏิบัติพากเพียรกำหนด พองหนอ - ยุบหนอ - นั่งหนอ - ถูกหนอ หรือซ้ายย่างหนอ - ขวาย่างหนอ ด้วยใจสงบ มีขณิกสมาธิติดต่อกันอยู่ได้นาน ผู้ปฏิบัติจะจำแนกได้ว่า “พอง-ยุบ-นั่ง-ถูก” นั้น เป็นรูป คือ วาโยโผฏฐัพพรูป และการกำหนดรู้ เป็นนาม คือ รู้อาการ พอง-ยุบ นั่ง-ถูก
    เมื่อรวม ความรู้อาการ พอง-ยุบ-นั่ง-ถูก ซึ่งเป็นรูป กับ การกำหนด อาการซึ่งเป็นนาม เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ทั้งนี้คงเห็นแต่ฐิติขณะ คือ การตั้งอยู่ของนามและรูปเท่านั้น ไม่เห็นอุปปาททขณะ (ขณะเกิดขึ้น) และภังคขณะ (ขณะดับลง) เป็นญาณขั้นต้น ซึ่งเป็นความรู้โดยการเห็นประจักษ์ด้วยประสบการณ์จากการปฏิบัติของตนเอง หากปฏิบัติต่อไปจนญาณนี้แก่กล้าขึ้น จะรู้ว่าในขณะหายใจเข้ามีแต่อาการพองของท้องเท่านั้น ในเวลาหายใจออกก็จะมีแต่อาการยุบของท้องเท่านั้น
    อาการพอง กับ ใจที่รู้สึก เกิดพร้อมกัน แต่เป็นคนละส่วนกัน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า อัตตา เป็นผู้สั่งหรือบงการให้เป็นอย่างนั้น คงมีแต่รูปซึ่งเป็นอารมณ์ และนามซึ่งเป็นผู้รู้อารมณ์เท่านั้น การรู้อย่างนี้เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ จัดอยู่ใน ทิฏฐิวิสุทธิ์
    ในคัมภีร์วิสุทธิมัรรค กล่าวไว้ว่า “ความเห็นนามและรูปตามที่เป็นจริง อันครอบงำเสียซึ่งสัตตสัญญา (คือสำคัญว่ามีสัตว์มีบุคคล) ได้แล้ว ตั้งอยู่ในอสัมโมหภูมิ (คือภูมิของความไม่หลงงมงาย) ชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ และยังมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น นามรูปววัฏฐาน คือ การกำหนดนามรูปก็ได้ เรียกว่า สังขารปริจเฉท คือ การกำหนดสังขารก็ได้

    ถ้าผู้ปฏิบัติมีความพากเพียรต่อไป ด้วยการกำหนดนามและรูปโดยอาการ 2 ขณะ คือ ขณะเกิดขึ้น (อุปาทขณะ) เมื่ออาการพองขึ้นของท้องก็รู้ และขณะตั้งอยู่ (ฐิติขณะ) แห่งอาการพองขึ้นของท้องก็รู้ (แต่ไม่รู้ถึงภังคขณะ คือ อาการที่ท้องยุบลง) การรู้อย่างนี้เรียกว่าปัจจยปริคหญาณ คือ รู้เหตุและปัจจัยของนามและรูป เช่น อาการพองเกิดขึ้นก็กำหนดรู้ว่าพองเกิดขึ้น อาการพองเป็นรูป การกำหนดรู้เป็นนาม อาการพองเป็นเหตุ รู้อาการพองเป็นผล เมื่อจะคู้แขนหรือเหยียดออก การกำหนดใจ จะคู้หรือเหยียดเป็นนามและเป็นเหตุ อาการคู้หรือเหยียด เป็นรูปและเป็นผล

    การกำหนดรู้เหตุพร้อมทั้งผล หรือรู้ผลพร้อมทั้งเหตุนี้เรียกว่า สปัจจยปริคหญาณ (ธนิต อยู่โพธิ 2518 : 68-69)

    ทั้งนามรูปปริจเฉทญาณและปัจจยปริคหญาณนี้ ยังไม่นับเป็นวิปัสสนาญาณ แต่จะเป็นบาทเบื้องต้นที่จะให้เกิดสัมมสนญาณ อันเป็นเขตของวิปัสสนาญาณโดยแท้จริงต่อไป ผู้ปฏิบัติที่สามารถรู้ว่ารูปนามทั้งสองนั้นเป็นเหตุเป็นผล เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน คือ บางครั้งรูปเป็นเหตุ นามเป็นผล บางครั้งนามเป็นเหตุ รูปเป็นผล หาใช่ตัวตน สัตว์ บุคคลไม่ เช่นนี้ย่อมข้ามพ้นความสงสัยในนามรูปได้ เรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ แม้จะยังไม่เห็นไตรลักษณ์ในนามรูป แต่ความเห็นผิดว่ามีตัวตนจะเบาบางลงมาก ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ กล่าวถึงอานิสงส์ของญาณนี้ไว้ว่า


    “อิมานา ปน ญาเณน สมนฺนาคโต วิปสฺสโก พุทฺธสาสเน ลทฺธสฺสาโส
    ลทฺธปติฏโฐ นิจตคติโก จูลโสตาปนฺโน นามโหติ ฯ”
    “อันผู้เจริญวิปัสสนาประกอบแล้วด้วยญาณดังกล่าวนี้ เป็นผู้ได้ความเบาใจแล้ว ได้ที่พึ่งในพระพุทธศาสนาแล้ว ชื่อว่า จุลโสดาบัน เป็นผู้มีคติ คือ ภูมิที่ไปเที่ยงแท้แน่นอน”

    พระธรรมปาละเถระ ผู้แต่งคัมภีร์ปรมัตถมัญชุสามหาฎีกา อธิบายข้อความเพิ่มเติมว่า
    “ผู้ปฏิบัติที่บรรลุถึง (กังขาวิตรณวิสุทธิ) ญาณนี้แล้ว มีคติที่เที่ยงแท้ในชาติหน้าซึ่งต่อจากชาตินี้จะไปสู่สุคติ สามารถปิดอบายภพเสียได้ แต่ในชาติที่ 3 ต่อไปนั้นไม่แน่นอน จะปิดอบายภพได้อย่างแน่นอน คือ ชาติที่ 2 เท่านั้น ถ้าต้องการปิดแน่นอนต้องบำเพ็ญความเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป จนกระทั่งบรรลุอริยมรรค อริยผล ดังนี้”
    จากงานวิจัยส่วนภาคสนามเรื่องวิวัฒนาการการตีความคำสอนเรื่องสมาธิ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทไทย วริยา ชินวรรโณ และคณะ (2537 : 247) มีความเห็นและตั้งข้อสังเกตไว้ว่า การปฏิบัติสมาธิของสายวัดมหาธาตุ ฯ นี้ เป็นสายการปฏิบัติธรรมที่ผู้มาฝึกจะได้ความรู้ทางอภิธรรมปิฎกด้วย เพราะการอธิบายการปฏิบัติ ตลอดจนปรากฏการณ์จากการปฏิบัติ ส่วนใหญ่อธิบายในภาษาของอภิธรรม ซึ่งทำให้มีหลักเกณฑ์น่าเชื่อถือ แต่ก็ยากแก่การเข้าใจของผู้ที่ไม่ได้มีความรู้ในอภิธรรมมาก่อน ยกเว้นว่าพระอาจารย์ที่ทำการสอนจะมีลำดับขั้นตอน การอธิบายในเบื้องต้นไม่ให้เป็นภาษาอภิธรรมจนเกินไปแล้ว จะเป็นที่สนใจชวนให้ฝึกเป็นอย่างมาก

    เท่าที่กล่าวมา ส่วนใหญ่เป็นการเน้นการปฏิบัติวิปัสสนาในเบื้องต้นเท่านั้น เพราะเห็นว่าถ้าเบื้องต้นทำได้ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว ผู้ปฏิบัติสามารถศึกษาและปฏิบัติในขั้นสูงขึ้นไปได้ไม่ยากนัก



    http://www.abhidhamonline.org/thesis/thesis6/thesis63.htm
     
  10. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    การเจริญสติ-เดินจงกรม-นั่งสมาธิ (ผู้ฝึกใหม่) วัดอินทรวิหาร

    การเจริญสติ


    คือ การกำหนดอิริยาบถให้ทันในปัจจุบัน และการรับรู้ความรู้สึกตามทวารต่างๆ อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาให้มากที่สุด ความรู้สึกของคนมีทางรู้อยู่ ๖ ทางคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้กำหนดรู้ไปตามจริงที่ใจรู้ พร้อมกับกิริยาเคลื่อนไหวอื่นๆ ทำอะไรก็ให้มีสติกำหนดรู้ให้ทันปัจจุบันให้มากที่สุด

    อิริยาบถใหญ่ คือ การยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถ ย่อย คือ การเคลื่อนไหวกายทุกกิริยาท เช่น การรับประทาน ดื่ม เคี้ยว กลืน เหลียว ก้ม เงย หยิบ ยก ตลอดจนการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ควรพยายามกำหนดให้ได้มากทุกคน ไม่มีใครกำหนดได้ทุกกิริยา ย่อมมีการพลั้งเผลอก็ให้กำหนดตามความเป็นจริง "เผลอหนอ"

    ในการเดินจงกรม นั่งสมาธิและเจริญสตินี้ การเจริญสติจัดว่ามีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง การเดิน จงกรมเป็นอันดับสอง และการนั่งสมาธิมีความสำคัญเป็นอันดับสาม ในอันที่จะทำให้เกิดปัญญา เมื่อเจริญสติกำหนดรู้ให้ต่อเนื่องกัน จิตจะสงบลงได้ ความฟุ้งซ่านจะน้อยลง จะเกิดความคิดถูก รู้ถูก พูดถูก ทำถูก ซึ่งเรียกว่า ปัญญา หรือ วิปัสสนาญาณ หรือความดำริชอบ ซึ่งเป็นวิชาแก้ปัญหาโลก - ปัญหาธรรม ได้อย่างถูกต้องและดียิ่ง ผลพลอยได้ที่ตามมาคือ การพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและความสันติสุข

    ลำดับความสำคัญของการปฏิบัติ

    ๑. การกำหนดสติทุกอิริยาบถ
    ๒. การเดินจงกรม
    ๓. การนั่งสมาธิ


    ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ทั่วกัน

    เดินจงกรม ๗ ระยะตามญาณที่เกิด

    ๑. ขวา....ย่าง....หนอ.....ซ้าย......ย่าง....หนอ

    ๒. ยก.....หนอ, เหยียบ.....หนอ

    ๓. ยก.....หนอ, ย่าง.....หนอ, เหยียบ.....หนอ

    ๔. ยกส้น....หนอ, ยก......หนอ, ย่าง.....หนอ, เหยียบ....หนอ

    ๕. ยกส้น....หนอ, ยก.....หนอ, ย่าง....หนอ, ลง.....หนอ, ลง.....หนอ, ถูก.....หนอ

    ๖. ยกส้น.....หนอ, ยก.....หนอ, ย่าง.....หนอ, ลง.....หนอ, ถูก.....หนอ, กด.....หนอ

    ๗. ยกส้น.....หนอ....ไม่คิดหนอ, ยก.....หนอ.....ไม่คิดหนอ, ย่าง.....หนอ.....ไม่คิดหนอ,.....ลง.....หนอ....ไม่คิดหนอ, ถูก....หนอ....ไม่คิดหนอ, กด......หนอ.....ไม่คิดหนอ, (ทวนระยะ ๖ เพิ่ม คิดและไม่คิด ตามขณะจิตนั้นเข้าไปด้วย )
     
  11. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    การเดินจงกรม


    การเดินจงกรม คือ การเดินเป็นเส้นตรงระยะไม่เกิน ๓ เมตร กลับไปกลับมา ขณะที่เดินนั้น จะต้องมีสติกำหนดอิริยาบถให้ทันปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา การกำหนดอิริยาบถให้ทันปัจจุบัน คือการพูดค่อยๆ หรือนึกในใจตามกิริยาอาการที่กำลังกระทำอยู่ โดยพูด หรือนึกพร้อมกับกิริยาอาการที่กระทำอยู่ (ไม่พูดก่อนหรือหลังการกระทำ) และกำหนดใจให้มั่นอยู่กับสิ่งที่กำลังกระทำตามสั่งนั้นเป็นช่วงๆ เรียกว่า ขณิกะสมาธิ


    ท่าเริ่มเดิน

    ๑. ยืนตัวตรง มือทั้งสองข้างปล่อยตามสบายแนบ ลำตัวเท้าชิดกัน

    ๒. ใบหน้าและลำคอตั้งตรงทอดสายตาลงที่พื้นห่างจากปลายเท้าประมาณ ๓ - ๔ เมตร ไม่ก้มมองปลายเท้าและไม่มองระดับสูงไกลออกไปเพราะจะทำให้จิตสงบช้า

    ๓. ยกมือซ้ายมาวางที่หน้าท้องเหนือสะดือ แล้วยกมือขวาตามมาวางทับมือซ้าย พร้อมกับเอาสติมาพิจารณากำหนดอิริยาบถการยกมือนั้น ใช้องค์ภาวนา "ยก.....หนอ, มา......หนอ, วาง.....หนอ"

    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกมือซ้ายขึ้นช้าๆ หักข้อศอกเพื่อให้แขนช่วงศอกถึงมือตั้งฉากกับลำตัว มืออยู่ในลักษณะตะแคงเรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "มา" พร้อมกับทำกิริยาเคลื่อนมือซ้ายเข้าหาหน้าท้องจนเกือบถึงหน้าท้อง จึงหยุดค้างไว้นิดหนึ่งแล้ว กล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "วาง" พร้อมกับทำกิริยา วางมือซ้ายแนบลงบนหน้าท้อง เรียบร้อยแล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    ต่อไปยกมือขวามาวางทับมือซ้าย พร้อมกับกำหนดอิริยาบถตาม เช่นเดียวกับการยกมือซ้าย

    ๔. กำหนดอิริยาบถยืน ใช้องค์กภาวนาว่า "ยืน....หนอ" (๓ ครั้ง) โดยตัวยืนอยู่เฉยๆ ใช้สติกำหนด รู้รูป ตั้งแต่ เส้นผมจรดปลายเท้า ลง - ขึ้น สลับกันไป

    ๕. กำหนดความรู้สึกอยากเดิน ใช้องค์ภาวนาว่า "อยาก.....เดิน.....หนอ" (๓ ครั้ง) โดยตัวยังคงยืนอยู่เฉย มีสติ กำหนดรู้อยู่ที่ใจ เป็นการเพิ่มวิริยะ คือความเพียร
     
  12. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    การเดินท่าที่ ๑
    องค์ภาวนา คือ ขวา.....ย่าง.....หนอ, ซ้าย.....ย่าง.....หนอ


    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ขวา" พร้อมกับทำกิริยายกเฉพาะส้นเท้าขวาขึ้นช้าๆ ประมาณ ๒ นิ้ว จากพื้น ปลายเท้ายังคงแตะพื้น

    พูดค่อยๆ กรือนึกในใจว่า "ย่าง" พร้อมกับทำกิริยายกปลายเท้าขึ้นช้า ๆ พร้อมกับทำกิริยายกปลายเท้าขึ้นช้าๆ พร้อมกับก้าวเท้าไปข้างหน้า ให้ส้นเท้าขวาเลยนิ้วเท้าซ้ายไปประมาณ ๒ นิ้ว หยุดนิดหนึ่ง จึงกล่าวว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "หนอ" พร้อมกับทำกิริยาจรดปลายเท้าขวาลงก่อน ตามด้วยส้นเท้าขวาลงแนบพื้น

    เมื่อจะก้าวเท้าซ้ายไป ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับเท้าขวา หลังจากเดินไปได้ประมาณ ๓ - ๔ เมตร จะต้องหยุด แล้วหันหลังกลับเพื่อเดินย้อนกลับทางเก่า โดยปฏิบัติตามวิธีการเดินก้าวสุดท้ายเมื่อสุดทาง ตลอดเวลามีสติมั่นอยู่กับเท้า ที่เคลื่อนเป็นจังหวะตามปากสั่ง

    ก้าวสุดท้ายเมื่อสุดทาง

    เมื่อเดินไปได้ประมาณ ๓ - ๔ เมตร เท้าจะอยู่ในท่าเท้าซ้ายอยู่หน้าเท้าขวา หรือเท้าขวาอยู่หน้าเท้าซ้าย ก็ตาม จะต้องเอาเท้าที่อยู่ข้างหลังไปเคียงกับเท้าที่อยู่ข้างหน้าองค์ภาวนา คือ "ซ้าย.....หยุด.....หนอ" หรือ "ขวา.....หยุด.....หนอ" สมมุติว่า ขณะนั้นเท้าขวาอยู่ข้างหน้าเท้าซ้าย จะต้องยกเท้าซ้ายไปเคียงกับเท้าขวาโดยใช้องค์ภาวนาว่า "ซ้าย.....หยุด.....หนอ"

    อธิบาย : พุดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ซ้าย" พร้อมกับทำกิริยายกเฉพาะส้นเท้าซ้ายขึ้นช้าๆ ประมาณ ๒ นิ้ว จากพื้น ปลายเท้า ยังคงแนบพื้นอยู่

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจ ว่า "หยุด" พร้อมกับทำกิริยาก้าวเท้าซ้ายไปเคียงเท้าขวา แต่ยังไม่ลงถูกพื้น หยุดนิดหนึ่ง

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "หนอ" พร้อมกับทำกิริยาจรดปลายเท้าเท้าซ้ายลงตามด้วยส้นเท้าแนบพื้น

    ท่ากลับตัว

    กำหนดความรู้สึก "อยาก.....กลับ.....หนอ" ( ๓ ครั้ง ) ที่ในใจค่อยๆ หมุนตัวกลับ โดยไปทางองค์ภาวนา คือ "กลับ....หนอ" (๘ ครั้ง)

    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "กลับ" พร้อมกับกิริยายกปลายเท้าขวาขึ้นส้นเท้ากดพื้นไว้ พร้อมกับหมุนปลายเท้าไปทางขวา ประมาณ ๑ นิ้ว หรื ๒๐ องศาเศษๆ

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "หนอ" พร้อมกับทำกิริยาวางปลายเท้าขวาลงแนบพื้น

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจ ว่า "กลับ"พร้อมกับทำกิริยายกเท้าซ้ายขึ้นทั้งเท้าพร้อมกับเคลื่อนเท้าซ้ายไปเคียงกับเท้าขวาให้สูงเลยตาตุ่มขวา เล็กน้อย แต่ยังไม่วางลงถูกพื้น

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "หนอ" พร้อมกับทำกิริยาวางเท้าซ้ายลงแนบพื้น

    การกระทำนี้นับเป็น ๑ ครั้ง ให้ผู้ปฏิบัติออกเสียงนับว่า "หนึ่ง" หลังคำว่า "หนอ" ในการกลับตัวสู่ทิศทางเดิมนั้นจะต้องทำการกลับตัวดังกล่าว รวม ๘ ครั้งช้าๆ เมื่อหน้าหันสู่ทิศทางเดิมแล้วให้กำหนดว่า "ยืน.....หนอ" ( ๓ ครั้ง) แล้วกำหนดว่า "อยาก.....เดิน.....หนอ" (๓ ครั้ง) แล้วจึงเดินต่อตามท่าเดินที่ต้องการ
     
  13. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    การเดินท่าที่ ๒
    องค์ภาวนา คือ "ยก.....หนอ, เหยียบ.....หนอ"


    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกเท้าขวาขึ้นทั้งเท้า พ้นพื้นประมาณ ๓ นิ้ว เรียบร้อยแล้วหยุดนิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ" เมื่อสิ้นเสียง "หนอ" ให้ก้าวเท้าขวานั้นต่อไปข้างหน้า เรียบร้อยแล้ว ค้างไว้นิดหนึ่ง

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "เหยียบ" พร้อมกับทำกิริยาจรดปลายเท้าขวาลงตาม ด้วยส้นเท้าลงแนบพื้น เรียบร้อยแล้วหยุดนิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    เมื่อจะก้าวเท้าซ้ายไปให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับเท้าขวา

    ก้าวสุดท้ายเมื่อสุดทาง องค์ภาวนา คือ "ยก.....หนอ, หยุด.....หนอ"

    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยา ยกเท้าที่อยู่ข้างหลังขึ้นทั้งเท้าเรียบร้อยแล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ" เมื่อสิ้นเสียง "หนอ" ให้ก้าวเท้านั้นไปเคียงกับเท้าที่อยู่ข้างหน้าเรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่ง

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "หยุด" พร้อมกับทำกิริยาจรดปลายเท้านั้นลง ตามด้วยส้นเท้าลงแนบพื้น เรียบร้อยแล้วหยุดนิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ"


    การเดินท่าที่ ๓
    องค์ภาวนา คือ "ยก.....หนอ, ย่าง.....หนอ, เหยียบ.....หนอ"


    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยา ยกเท้าขวาขึ้นทั้งเท้าพ้นพื้นประมาณ ๓ นิ้ว เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ย่าง" พร้อมกับทำกิริยา ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าพอสมควร เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ" (ในกรณีที่เป็นก้าวสุดท้ายให้ก้าวเท้าที่อยู่ข้างหลังไปเคียงกับเท้าที่อยู่ข้างหน้า)

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "เหยียบ"พร้อมกับทำกิริยาจรดปลายเท้าขวาลงตามด้วยส้นเท้าลงแนบพื้น เรียบร้อยแล้วหยุดนิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ" (ในกรณีที่เป็นก้าวสุดท้ายให้นึกในใจว่า "หยุด" แทนคำว่า "เหยียบ") เมื่อจะก้าวเท้าซ้ายไปให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับเท้าขวา

    ก้าวสุดท้ายเมื่อสุดทาง องค์ภาวนา คือ "ยก.....หนอ, ย่าง.....หนอ, หยุด.....หนอ"
     
  14. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    การเดินท่าที่ ๔
    องค์ภาวนา คือ "ยกส้น.....หนอ, ยก.....หนอ, ย่าง.....หนอ, เหยียบ.....หนอ"


    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า " ยกส้น" พร้อมกับทำกิริยายกเฉพาะส้นเท้าขวาขึ้น ปลายเท้ายังคงแตะพื้น เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยา ยกปลายเท้าขวาตามส้นเท้าขึ้นมาจากพื้นประมาณ ๔ นิ้ว เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่งจึงกล่าว คำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ย่าง" พร้อมกับทำกิริยาเหมือนกับการย่างในการเดินท่าที่ ๓ (ในกรณีที่เป็นก้าวสุดท้ายให้ก้าวเท้าที่อยู่ข้างหลังไปเคียงกับเท้าที่อยู่ข้างหน้า)

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "เหยียบ" พร้อมกับทำกิริยาเหมือนกับการเหยียบในการเดินท่าที่ ๓ (ในกรณีที่เป็นก้าวสุดท้าย ให้นึกในใจว่า "หยุด" แทนคำว่า "เหยียบ")

    เมื่อจะก้าวเท้าซ้ายไปให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับเท้าขวา

    ก้าวสุดท้ายเมื่อสุดทาง องค์ภาวนา คือ "ยกส้น.....หนอ, ยก.....หนอ, ย่าง.....หนอ, ลง.....หนอ, ถูก.....หนอ"


    การเดินท่าที่ ๕
    องค์ภาวนา คือ "ยกส้น.....หนอ, ยก.....หนอ, ย่าง.....หนอ, ลง.....หนอ, ถูก.....หนอ"


    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยกส้น" พร้อมกับทำกิริยา เหมือนกับการ "ยกส้น" ในการเดินท่าที่ ๔

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยา เหมือนกับการ "ยก" ในการเดินท่าที่ ๔

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ย่าง" พร้อมกับทำกิริยา เหมือนกับการ "ย่าง" ในการเดินท่าที่ ๔

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง" พร้อมกับทำกิริยา ลดเท้าขวาลงพร้อมกันทั้งเท้าประมาณ ๒ นิ้ว เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ถูก" พร้อมกับทำกิริยาจรดปลายเท้าขวาลง ตามด้วยส้นเท้าลงวางแนบพื้น เรียบร้อยแล้วหยุดนิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ" (ในการที่เป็นก้าวสุดท้ายให้นึกในใจว่า "ถูก.....หนอ" เช่นกัน)

    เมื่อจะก้าวเท้าซ้ายไปให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับเท้าขวา

    ก้าวสุดท้ายเมื่อสุดทาง องค์ภาวนา คือ "ยกส้น.....หนอ, ยก.....หนอ, ย่าง.....หนอ, ลง.....หนอ, ถูก.....หนอ"


    การเดินท่าที่ ๖
    องค์ภาวนา คือ "ยกส้น.....หนอ, ยก.....หนอ, ย่าง.....หนอ, ลง.....หนอ, ถูก.....หนอ, กด.....หนอ"


    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยกส้น" พร้อมกับทำกิริยาเหมือนกับการ "ยกส้น" ในการเดินท่าที่ ๕

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยาเหมือนกับการ "ยก" ในการเดินท่าที่ ๕

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ย่าง" พร้อมกับทำกิริยาเหมือนกับการ "ย่าง" ในการเดินท่าที่ ๕

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง" พร้อมกับการกิริยาเหมือนกับการ "ลง" ในการเดินท่าที่ ๕

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ถูก" พร้อมกับทำกิริยาจรดเฉพาะปลายเท้าลงพื้น เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่ง จึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "กด" พร้อมกับทำกิริยา กดส้นเท้าขวาลงแนบพื้นเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวคำว่า "หนอ" (ในกรณีที่เป็นก้าวสุดท้ายให้นึกในใจว่า "ถูก.....หนอ, กด.....หนอ" เช่นกัน) เมื่อจะก้าวเท้าซ้ายไปให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับเท้าขวา

    ก้าวสุดท้ายเมื่อสุดทาง องค์ภาวนา คือ "ยกส้น.....หนอ, ยก.....หนอ, ย่าง.....หนอ, ลง.....หนอ, ถูก.....หนอ, กด.....หนอ"


    การเดินท่าที่ ๗
    องค์ภาวนาและท่าการเดินเหมือนกับการเดินท่าที่ ๖ ทุกประการ


    แต่ให้ เติมคำว่า "คิดหนอ" หรือ "ไม่คิดหนอ" ลงข้างหลังคำว่า "หนอ" ทุกครั้ง โดยกำหนดรู้ด้วยตัวเองว่า ขณะนั้นตนกำลังคิดเรื่องอื่นหรือเปล่าหากคิดก็กำหนด "คิดหนอ" หากไม่ได้คิดก็กำหนดว่า "ไม่คิดหนอ" เช่น

    "ยกส้น.....หนอ" , "ไม่คิดหนอ" (ถ้าไม่คิด)
    "ยก.....หนอ" , "คิดหนอ" (ถ้าคิด)
    "ย่าง.....หนอ" , "ไม่คิดหนอ" (ถ้าไม่คิด)
    "ลง.....หนอ" , "ไม่คิดหนอ" (ถ้าไม่คิด)
    "ถูก.....หนอ" , "คิดหนอ" (ถ้าคิด)
    "กด.....หนอ" , "ไม่คิดหนอ" (ถ้าไม่คิด)

    ดังกล่าวแล้วว่า การเดินจงกรม คือการเดินเป็นเส้นตรงเที่ยวละไม่เกิน ๓ เมตร ไปกลับตามท่าต่างๆ โดยจะเลือกเดิน ท่าหนึ่งท่าใดก็ได้ เป็นเวลาประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง
     
  15. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    การนั่งสมาธิ


    การนั่งสมาธิ เมื่อเดินจงกลมพอกับความต้องการแล้ว และต้องการจะนั่งสมาธิต่อ ให้ปฏิบัติดังนี้ หลังจากยกเท้ามาวางเคียงกันเรียบร้อยแล้ว (ตามวิธีการเดินก้าวสุดท้ายเมื่อสุดทาง) มือทั้งสองยังคงวางซ้อนกันที่หน้าท้อง

    ๑. กำหนดความรู้สึกว่า "อยาก.....นั่ง.....หนอ" (๓ ครั้ง)

    ๒. ปล่อยแขนทีละข้างลงตามสบายแนบลำตัว ใช้องค์ภาวนาว่า "ยก.....หนอ, ลง.....หนอ, ปล่อย.....หนอ"

    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกมือขวาเคลื่อนออกจากหน้าท้องมาอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับลำตัว เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง" พร้อมกับทำกิริยาปล่อยแขนลงจนเกือบตรงข้างลำตัว เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่งจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ปล่อย" พร้อมกับทำกิริยาปล่อยแขนลงข้างลำตัว ทิ้งน้ำหนักแขนตามสบาย เรียบร้อยแล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    เมื่อจะปล่อยแขนซ้ายลง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปล่อยแขนขวา

    ๓. ย่อตัวลงเพื่อนั่งสมาธิโดยใช้องค์ภาวนากำหนดกิริยาตามความเป็นจริงขณะที่ขยับเคลื่อนไหวกายตน ได้ท่าที่ถนัด พอที่จะนั่งได้นานๆ ในท่านั้น

    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ถอย" พร้อมกับทำกิริยาถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง ๑ ก้าว แล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ย่อ" พร้อมกับทำกิริยาย่อตัว

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง ลง ลง" พร้อมกับทำกิริยาย่อตัวลง ๓ จังหวะ

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ถูก" พร้อมกับทำกิริยาเข่าซ้ายถูกพื้น แล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ขยับ" พร้อมกับทำกิริยา ขยับขาขวา ถอยไปข้างหลัง

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง" พร้อมกับทำกิริยาขยับเข่าขวา ลง ๒ จังหวะ

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ถูก" พร้อมกับทำกิริยาเข่าขวาถูกพื้น แล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พุดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "เท้า" พร้อมกับทำกิริยาใช้มือซ้ายเท้าพื้นแล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ขยับ" พร้อมกับทำกิริยาขยับเท้าขวา - ซ้ายไปทางขวา

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "นั่ง นั่ง" พร้อมกับทำกิริยาหย่อนกันลงนั่ง ๒ จังหวะ

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ถึง" พร้อมกับทำกิริยาให้สะโพกซ้ายถูกพื้น แล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกเข่าขวาขึ้น ในขณะเดียวกับให้ยกมือขวาขึ้นด้วย

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ไป" พร้อมกับทำกิริยายื่นมือขวาไปเตรียมจับข้อเท้าขวา

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "จับ" พร้อมกับทำกิริยามือขวาจับที่ข้อเท้าขวา

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกขาขวาขึ้นเล็กน้อย

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "มา" พร้อมกับทำกิริยาเลื่อนขาขวามาเหนือขาซ้าย

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "วาง" พร้อมกับทำกิริยาวางขาขวาลงบนขาซ้าย (เป็นท่านั่งสมาธิ)

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกมือขวาออกจากขาขวา

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ไป" พร้อมกับทำกิริยาเลื่อนมือขวาไปไว้เหนือเข่าขวา

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "วาง" พร้อมกับทำกิริยาวางมือขวาในลักษณะคว่ำมือลงบนเข่าขวา
    ต่อไปมือซ้าย กหนดอิริยาบถตาม เช่นเดียวกับการยกมือขวา

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ขยับ จับ ดึง ปล่อย" พร้อมกับทำกิริยาอาการขยับตัว จัดดึงเสื้อผ้าให้อยู่ในท่าที่สบายเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงกำหนดอิริยาบถวางมือขวา - ซ้ายไว้บนเข่าเหมือนเดิม

    ๔. ยกมือซ้ายและมือขวามาวางซ้อนกันบนตัก องค์ภาวนา คือ "ยก.....หนอ, มา.....หนอ, หงาย.....หนอ, ลง.....หนอ, วาง.....หนอ"

    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกมือซ้าย (คว่ำมือ) ขึ้นให้ตั้งฉากกับลำตัว เรียบร้อยแล้วค้างไว้นิดหนึ่ง จึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "มา" พร้อมกับทำกิริยาเคลื่อนมือซ้ายเข้าหาตัวก่อนถึงตัวให้หยุดแล้วกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "หงาย" พร้อมกับทำกิริยาหงายมือซ้ายขึ้นช้าๆ เรียบร้อย แล้วกล่าวคำว่า "หนอ"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง" พร้อมกับทำกิริยาลดมือลงจากระดับเดิมจนเกือบถึงตัก เรียบร้อยแล้วจึงกล่าวคำว่า "หนอ"

    เมื่อจะยกมือขวามาวางซ้อนมือซ้าย ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการยกมือซ้ายมาวาง

    ๕. ขยับตั้งตัวให้ตรง องค์ภาวนา คือ "ตั้ง.....หนอ"

    ๖. หลับตาลงเบาๆ องค์ภาวนา คือ "ปิด.....หนอ"

    ๗. ในกรณีที่สวมแว่น องค์ภาวนา คือ "ยก.....ไป.....จับ, ยก.....ลง.....วาง"

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยายกมือขวาขึ้น

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ไป" พร้อมกับทำกิริยา เลื่อนมือขวามือไปที่แว่น

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "จับ" พร้อมกับทำกิริยาใช้มือขวาจับแว่น

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ยก" พร้อมกับทำกิริยาใช้มือขวา ยกแว่น ออกจากตา

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "ลง" พร้อมกับทำกิริยาลดมือขวาลง

    พูดค่อยๆ หรือนึกในใจว่า "วาง" พร้อมกับทำกิริยาวางแว่นลง

    เมื่อเสร็จแล้ว กำหนดกิริยานำมือขวามาวางทับมือซ้ายเหมือนเดิม

    ๘. ต่อไปให้เอาใจ หรือสติมาพิจารณารู้ความรู้สึกพองยุบโป่งแฟบที่หน้าทอ้งเหนือสะดือ ขึ้นมา ๒ นิ้ว หายใจยาวๆ ๓ - ๔ ครั้ง แล้วหานใจตามปกติธรรมดา เฝ้าดูอาการโป่งแฟบนั้น เมื่อท้องโป่งให้กำหนดว่า "พอง.....หนอ" หรือ "พอง" เพียงคำเดียวก็ได้

    ทั้งนี้เพราะเมื่อเริ่มต้นนั่งสมาธิใหม่ๆ นั้น ลมหายใจยังคงหยาบอยู่ จึงยังไม่สามารถกำหนดคำ "ยุบ.....หนอ" หรือ "ยุบ" เพียงคำเดียวก็ได้เรื่อยๆ ไป ข้อสำคัญพึงระลึกไว้เสมอว่า

    การนั่งสมาธิกำหนด "พอง.....ยุบ" ซึ่งเกิดขึ้นที่ท้อง จึงต้องใช้สติและสมาธิจับจ้องดูการยุบการพองที่ เกิดขึ้นจากการหายใจปกติธรรมชาติ (หายใจเข้าท้องพองขึ้น หายใจออกท้องจะแฟบลง)
    มิใช่ การบอกตนเอง ให้ตะเบ็งท้องพองขึ้นยุบลง เป็นการฝืนธรรมชาติ หากนั่งไปแล้วยังไม่สงบ เผลอคิดนั่นคิดนี่ ซึ่งเป็นธรรมดา ธรรมชาติของจิตที่ยังไม่สงบ ก็ต้องคิดนั่น คิดนี่ ไปตามเหตุปัจจัย

    เมื่อรู้สึกตัวให้กำหนดว่า "คิด.....หนอ" แล้วกลับมาเฝ้าดูอาการ "พอง..... ยุบ" ที่ท้องต่อไป

    ถ้าขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั่น เกิดเห็นภาพใดให้กำหนดว่า "เห็นหนอ" เพียง ๑ คำ แล้วกลับมากำหนดรู้ที่การ "พอง.....ยุบ" ต่อไป ไม่ต้องสนใจในภาพนั้น

    เช่นเดียวกันเมื่อมีกลิ่นมากระทบ "จมูก" ให้กำหนดว่า "กลิ่นหนอ"

    มีเสียงมากระทบ "หู" ให้กำหนดว่า "เสียงหนอ"

    มี "รส" มากระทบ "ลิ้น"

    ให้กำหนดตามความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น "เย็นหนอ, ร้อน หนอ" ให้กำหนดตามความรู้สึกขณะนั้น ฯลฯ

    เมื่อนั่งไปแล้ว ถ้าเกิดความปวดเมื่อย ให้กำหนดรู้ในเวทนานั้นแล้ว นั่งต่อไปโดยกำหนดว่า "อดทนหนอ, พากเพียรหนอ"

    ถ้ายังมีความเจ็บปวดอยู่และทนไม่ไหว ต้องการเปลี่ยนขา ขยับท่านั่งก็ให้ทำได้

    โดยการกำหนด "พอง.....ยุบ" ที่ท้องมากำหนดที่เปลี่ยนท่าการขยับขา ตามความเป็นจริงให้ทันปัจจุบัน

    เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงกลับไปกำหนด "พอง.....ยุบ" ตามเดิม


    การออกจากสมาธิ

    เมื่อนั่งมาได้เวลาพอสมควรแล้ว ให้กำหนดออกจากสมาธิ อาจจะกำหนดอิริยาบถกายบริหาร เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และเป็นการรักษาโรคโดยวิธีการธรรมชาติ

    ๑. กำหนดความรู้สึกว่า "อยากพักหนอ" (๓ ครั้ง)

    ๒. ลืมตาขึ้น ใช้องค์ภาวนาว่า "เห็น.....หนอ, (สิ่งที่เห็นเป็นรูป ใจที่รู้เป็นนาม) กระพริบ.....หนอ, เหลียว.....หนอ, เงย.....หนอ, ก้ม.....หนอ, กด.....หนอ"

    อธิบาย : พูดค่อยๆ หรือนึกในใจ ว่า ตามที่อยู่ในเครื่องหมาย "....." ทุกครั้ง

    ลืมตาขึ้น "เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ"

    สติกำหนดรู้ที่ต้นคอ เหลียวไปทางซ้าย "เหลียว.....หนอ ( ๓ ครั้ง) เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ, เหลียวกลับ.....หนอ, กลับ.....หนอ (๓ ครั้ง), ตรง.....หนอ , เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ"

    สติรู้ที่ต้นคอ เหลียวไปทางขวา กำหนดเช่นเดียวกับที่เหลียวไปทางซ้าย,

    สติกำหนดรู้ที่ต้นคอ เงยหน้าขึ้น "เงย.....หนอ (๓ ครั้ง), เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ"

    สติกำหนดรู้ที่ต้นคอ ก้มหน้าลง "ก้ม.....หนอ (๓ ครั้ง), เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ, เงย.....หนอ (๓ ครั้ง), ตั้ง.....หนอ, ตรง.....หนอ, เห็น.....หนอ, กระพริบ.....หนอ"

    สติกำหนดรู้ที่มือซ้าย ยกมือขึ้น (มืออยู่ท่าไหนยกขึ้นท่านั้น) "ยก.....หนอ, ไป.....หนอ, วาง.....หนอ (วางมือหงายบนเข่าซ้าย)"

    สติกำหนดรู้ว่า กำมือ "กำ.....หนอ, เหยียด.....หนอ ( ๒ ครั้ง)"

    มีสติกำหนดให้ได้ว่านิ้วไหนเข้านิ้วไหนออก ก่อนและหลัง, "คว่ำ.....หนอ"

    สติกำหนดรู้ที่มือขวา กำหนดเช่นเดียวกับมือซ้าย,

    สติ - กำหนดรู้มือทั้ง ๒ ข้าง

    ** กดหัวเข่าทั้ง ๒ ข้าง "กด.....หนอ, ก้ม.....หนอ, ก้ม.....หนอ (๒ ครั้ง), ถึง.....หนอ (ถ้า ศรีษะถึงพื้น) หรือ ไม่ถึง.....หนอ (ถ้าศรีษะไม่ถึงพื้น ตามความเป็นจริง) ตึง.....หนอ (๒ ครั้ง), เงย.....หนอ (๒ ครั้ง), ตั้ง.....หนอ, ตรง.....หนอ"

    *** สติกำหนดรู้ที่ใจ "อยากเปลี่ยน.....หนอ"

    สติกำหนดรู้ที่มือซ้าย "ยกไปจับ" (จับที่ข้อเท้าซ้าย) "ยกขึ้นวาง" (ยกเท้าซ้ายวางซ้อนเท้าขวา)
    สติกำหนดรู้ที่มือขวา "ยกไปวาง" (วางที่หัวเข่าขวา)
    สติกำหนดรู้ที่มือซ้าย "ยกไปวาง" (วางที่หัวเข่าซ้าย)***
    สติกำหนดรู้ที่มือทั้ง ๒ ข้าง กำหนดเช่นเดียวกับที่อยู่ใน เครื่องหมาย***,
    สติกำหนดรู้ที่ใจ "อยากพักหนอ (๒ ครั้ง)"
     
  16. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="94%"><tbody><tr><td class="postbody" valign="top">-เดินจงกรมเป็นวิธีฝึกจิตอีกรูปแบบหนึ่ง โดยใช้ร่างกายเป็นที่ฝึก เพื่อให้จิตอยู่กับรูปที่เป็นปัจจุบัน อยู่กับอิริยาบถใหญ่/ย่อย.... แม้ในการใช้ชีวิตประจำวันก็ทำได้เจริญได้ โดยเอางานซึ่งกำลังทำนั้นเป็นอารมณ์ระลึกรู้สึกตัว

    เพื่อเจริญองค์ธรรมมีต่างๆ มี อินทรีย์ ๕ เช่น สติสัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา เป็นต้น ซึ่งเป็นคุณธรรมภายในให้เกิดขึ้น จุดประสงค์เป็นอย่างนี้

    เมื่อรู้จุดประสงค์แล้ว จึงไม่พึงยึดติดในรูปแบบ สร้างรายละเอียดปลีกย่อยเป็นกฏเกณฑ์ตายตัวขึ้นมาเป็นภาระว่า จะต้องกำหนดเท่านั้น...ครั้ง เท่านี้...หน ไม่จำเป็น ทำอย่างนั้นจะเป็นการท่องจำเอาโดยไม่รู้ความมุ่งหมายการเดินจงกรมที่แท้จริง

    จงกรม ที่สำคัญกำหนดรู้ (ปริญญา) ทันอาการก้าวไปแต่ละขณะๆ

    ส่วนอานิสงส์ก็มีพุทธพจน์ตรัสไว้แล้ว
    </td> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> <td class="postdetails" height="40" valign="bottom">
    </td></tr></tbody></table>
     
  17. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    จริงๆ รินไม่ได้เก่งเลย...เอาข้อมูล การเดินจงกลม มาให้น่ะค่ะ

    ถ้าคุณหมูอยากทราบอะไรอีก..ตั้งกระทู้ถามได้เลยค่ะ.
    แล้วผู้รู้จะเข้ามาตอบให้ค่ะ..
     
  18. sksontisuk

    sksontisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2006
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +1,512
    โรคกรรม

    ขอบคุณมากครับคุณริน ผมได้ข้อมูลมาเยอะมากเลยครับ ไม่รู้สิน่ะครับ ในใจลึกๆ นั้นมีความดีใจอย่างบอกไม่ถูกในความมีน้ำใจของเพื่อนสมาชิกในเว็บพลังจิตนี้ ข้อมูลที่ได้มานี้ผมถือว่าคุณรินได้สร้างทานบารมีอย่างสูงมากครับ ผมจะค่อยๆ ศึกษาน่ะครับ หากมีอะไรก็จะเข้ามาถามบ่อยๆ หวังว่าคุณรินและพี่ๆ ทั้งหลายที่เป็นกัลยาณมิตร คงจะไม่รำคาญน่ะครับ
    เห็นคุณริน และพวกพี่ๆ แล้วคงจะเป็นคนที่อิ่มบุญน่าดูเลยครับอิจฉาเล็กๆ เลยครับอิจฉามากเดี๋ยวบาปครับเสียดายน่ะครับที่ทางใต้นี่จะมีที่สอนการเจริญวิปัสสนานั้นน้อยมาก ใจจริงก็อยากกลับไปอยู่ทางกรุงเทพครับ แต่คิดไปคิดมา อยู่อย่างนี้ดีกว่า ไปอยู่กรุงเทพรถก็ติด ทุกอย่างมีแต่ความวุ่นวาย หาความสงบได้ยาก ก็เลยตัดสินใจไม่กลับดีกว่า
    ถ้าคุณรินมีข้อมูลอะไรที่ดีๆ ก็ช่วยแนะนำผมด้วยน่ะครับ หรือจะส่งเมล์มาก็ได้ครับ sksontisuk@hotmail.com ผมก็เป็นคนง่ายๆ เรียบๆ ครับ ปัจจุบันมาอยู่ต่างจังหวัดแล้วรู้สึกสบายใจดี อากาศก็ดี ครับ
    ขอให้คุณริน และพี่ๆ ทุกๆ คนมีความสุขมากๆ น่ะครับ ทั้งตัวเองและครอบครัวทุกๆ คน

    ด้วยความนับถือ

    หมู
     

แชร์หน้านี้

Loading...