เรื่องเด่น ความโง่ของคนโง่ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 27 กรกฎาคม 2011.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    [​IMG]




    [FONT=&quot]ความโง่ของคนโง่[/FONT]

    [FONT=&quot]แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ[FONT=&quot].ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย[/FONT][/FONT]​

    [FONT=&quot]วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๓[/FONT]



    [FONT=&quot]ได้เทศน์เรื่องความฉลาดมานานแล้ว วันนี้ขอได้พากันฟังเทศน์เรื่อง ความโง่[/FONT]


    [FONT=&quot]ความโง นั้นไม่มีขอบเขต ไม่มีใครให้ประกาศนียบัตรชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ไม่มีเลย ทั้งๆ ที่คนก็มีโง่อยู่แล้วแต่ไม่ชอบให้คนอื่นพูดว่าตนโง่ แล้วคนที่พูดนั้นถ้าพูดด้วยความเหยียดหยามดูถูกคนอื่นก็ยิ่งโง่กว่าเขาเสียอีก[/FONT]


    [FONT=&quot]เราพากันโง่อยู่ตลอดเวลา ความโง่อันนี้แหละทำให้เราเป็นคนจน ทำให้เราไม่สามารถจะฟื้นฟูตัวเราให้ขึ้นมาได้[/FONT]


    [FONT=&quot]โง่มีหลาย โง่ในการทำมาหาเลี้ยงชีพ โง่ในความไหว โง่ในการที่จะนำตนให้รอดปลอดภัย ฯลฯ ความโง่ที่หมักหมมอยู่ในใจของเรานั้น เราเรียนเท่าไรก็เรียนไปเถิดไม่จบไม่สิ้นสักที[/FONT]


    [FONT=&quot]คนนิยมเรียนความฉลาดข้างนอก เช่นเรียนวิชาวิทยาศาสตร์แผนใหม่อะไรต่างๆ เรียนไปหมดทุกอย่าง แต่ตัวของเราเองในนั้นไม่รู้เรื่อง มันโง่อยู่ภายใน นั่นคือความผิดความถูกที่เกิดขึ้นในใจของตน คิดว่าตนดี คิดว่าตนวิเศษ อันนั้นแสนโง่ทีเดียว[/FONT]


    [FONT=&quot]ถ้าเข้าใจว่าตนดี ตนฉลาด ตนวิเศษ ตนเลอเลิศด้วยสติปัญญาอุบายต่างๆอันนั้นแหละเป็นการโง่ที่สุด ถ้าคนใดเข้าใจว่าตนโง่คนนั้นฉลาดขึ้นมา เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าคนใดเข้าใจว่าตนโง่คนนั้นฉลาดขึ้นมาบ้าง[/FONT]


    [FONT=&quot]วิชาทุกอย่างที่เราเรียน เป็นการเรียนออกไปภายนอกออกไปจากตัวของเรา ไม่ใช่เรียนเข้ามาในตัวของเรา เรียนส่งออกไปปรุงแต่งออกไปนอกจากกายนอกจากใจ คำว่า กาย มันจึงเพี้ยนเป็นกรายไปเสีย มันกรายออกไปจากกาย มันข้ามกายไปนั่นเองจึงไม่เห็นตนของตน เปรียบเหมือนกับตาไม่เห็นลูกตาหรือตาไม่เห็นก้ำด้น (ก้ำด้น คือ ท้ายทอยนั่นเอง) โบราณท่านว่า ตากับก้ำด้นอยู่ด้วยกันไม่ทราบว่ากี่ปีกี่ชาติแต่ไม่เคยเห็นกันเลย ก้ำด้นของตนแท้ๆ ไม่เคยเห็นสักที จึงว่ามันโง่ฝังอยู่นั่นแหละ ไม่เห็นตัวของเราเอง[/FONT]


    [FONT=&quot]การเรียนภายนอกนั้นปรุงแต่งออกไปไม่มีที่สิ้นสุด แต่เขาก็ว่าจบแล้วจะให้ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก อะไรต่างๆ ได้ปริญญาเขาก็ว่าจบแล้ว วิชานั้นมันจบที่ไหน อันของที่ไม่รู้ยังมีอีกเยอะแยะมากมายก่ายกอง ความรู้มันเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการไปเรื่อย มันไม่อยู่คงที่ จะว่าเรียนจบได้อย่างไร[/FONT]


    [FONT=&quot]หากเราพากันมาเรียนวิชาความโง่ เรียนสิ่งที่ไม่รู้ในกาย วาจา ใจ ของเราให้มันรู้ขึ้นมา จึงจะหมดความโง่ไป ถ้าไม่เห็นกายเห็นใจของตนมันก็ยังโง่อยู่นั่นเอง ถ้าเข้าใจว่าเห็นแล้ว มันเห็นจริงหรือไม่ มันเบื่อ มันหน่าย มันคลายไหม หรือว่ามันยังยึดถืออยู่ ความยึดความถือนั่นน่ะเรียกว่าไม่เห็นจริง[/FONT]


    [FONT=&quot]ตัวของเราเป็นอนัตตา สิ่งสารพัดวัตถุทั้งปวงทั้งหมดก็เป็นอนัตตา[/FONT]


    [FONT=&quot]อนัตตา คือว่ามันไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรา อนัตตาไม่ได้หมายว่าสิ่งนั้นๆไม่มี ของมีอยู่แต่มันไม่อยู่ในบังคับบัญชา เช่น กายของเรานี้จะไม่ให้แก่ มันก็แก่ ไม่ให้เจ็บมันก็เจ็บ ไม่ให้ตายมันก็ตาย ไม่ให้พลัดพรากจากกัน มันก็พลัดพรากจากไป ทำอย่างไรมันก็ไม่อยู่ในบังคับบัญชา นี่แหละท่านเรียกว่า อนัตตา การที่มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ อันนั้นแหละท่านเรียกว่า อนิจจัง ของไม่เที่ยง อนิจจังเป็นอนัตตา นี่แหละมันจึงได้เป็นทุกข์หรือ ทุกขัง ความจริง เรื่องกายและใจของเราเป็นอย่างนี้ เราเห็นเช่นนี้แล้วหรือยัง[/FONT]


    [FONT=&quot]ใครๆ ก็เห็นกายกันทุกคนละ แต่มันไม่เห็นจริง ไม่เห็นเป็นอนัตตา ไม่เห็นเป็นทุกขัง ไม่เห็นตามสภาพเป็นจริงทุกอย่าง จึงปล่อยวางไม่ได้ จึงได้ทุกข์ ที่เราเดือดร้อนกันอยู่ทุกวี่ทุกวันนี้ก็เพราะเหตุเห็นไม่จริงนั่นแหละ[/FONT]


    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าทรงเห็นกายและใจตามสภาพที่เป็นจริง อริยสงฆ์สาวกท่านก็เห็นตามเป็นจริง เรียกว่า อริยสัจจ์ นั่นคือ รูปเป็นอนัตตา รูปเป็นอนิจจัง รูปจึงเป็นทุกข์ เมื่อยังไม่เห็นจริงด้วยใจ เห็นแต่ตามสัญญาก็เห็นเป็นเพียง สัจจะ เฉยๆ ถ้าเห็นจริงเห็นชัดลงไปด้วยใจแล้วเรียกว่า เห็นอริยสัจจ์อันนั้นเป็นการเห็นของจริงของแท้ของอริยเจ้า ดังนั้นพวกเราอย่าไปหาธรรมะที่อื่นไกลเลย หาเอาในตัวของเรานี่ ผสมกันขึ้นในที่นี้ ให้ปรากฏเห็นขึ้นมาในที่นี้แหละ ใจคนเห็นกาย จึงอุปมาเหมือนกับเรียนสระกับพยัญชนะผสมกัน ผสมกันได้แล้วก็เขียนข้อความไปได้หมดทุกอย่าง จะขีดเขียนเรื่องอะไรๆ เขียนได้หมด มันออกจากสระกับพยัญชนะเท่านั้น[/FONT]


    [FONT=&quot]ธรรมทั้งหลายก็ออกมาจากกายกับใจไม่นอกเหนือจากกายกับใจ ใจมาพิจารณาตามจริง ถ้าหากไม่มีกาย ก็ไม่มีเรื่องทุกข์ ไม่มีอนัตตา ไม่มีอนิจจัง ไม่มีทุกขัง เพราะมีกายจึงมีอนิจจัง มีทุกขัง มีอนัตตา จึงมีวิปัสสนา มีมรรคผล นิพพาน มีญาณสมาธิ มีธรรมทั้งหลาย[/FONT]


    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพญิญาณก็ตรัสรู้ที่กายกับใจนี่แหละ พระองค์ไม่ได้ไปตรัสรู้อย่างอื่นที่ไหนหรอก พระสงฆ์สาวกทั้งหลายสำเร็จมรรคผลนิพพาน ก็สำเร็จมรรคผลนิพพาน ก็สำเร็จที่กายกับที่ใจนี่แหละ พวกเทพทั้งหลายสำเร็จมีแต่ใจเป็นพวกอามิสกายไม่มีรูปปรากฏ พวกพรหมก็ไม่ปรากฏรูป พระพุทธเจ้าไม่ได้ไปตรัสรู้ไม่ได้ทรงสอนที่โน่นหรอก ทรงเทศนาสอนมนุษย์พวกเราที่มีกายหยาบๆ เห็นกันอยู่ด้วยตานี่เอง[/FONT]


    [FONT=&quot]การเห็นด้วยตาเรียกว่า ทรรศนะมันยังเห็นไม่จริงไม่แท้ต้องเข้าไปเห็นจึงจะเป็นการเห็นอย่างแท้จริง การเห็นด้วยใจจึงเรียกว่า ญาณทัสนะ คำว่า เห็นด้วยใจ คือ มันชัดด้วยใจนั่นเอง ถ้าไม่ชัดก็ไม่เรียกว่าเห็นด้วยใจ เมื่อเห็นชัดด้วยใจนั่นเอง ถ้าไม่ชัดก็ไม่เรียกว่าเห็นด้วยใจ เมื่อเห็นชัดแล้วกายมันเป็นอนัตตา เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง ดังที่อธิบายในเบื้องต้น มันก็ปล่อยวางได้[/FONT]


    [FONT=&quot]นั่นคือปล่อยวางไว้ตามสภาพเดิมของมัน เห็นมันเป็นอนัตตาแล้วไม่ยึดถืออีก ปล่อยไปตาม สภาพอนัตตา มันเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยไป เห็นมันเป็นอนิจจัง ก็ยึดไว้ปล่อยไปตามเรื่องของมันตาม สภาพอนิจจัง มันเป็นทุกขัง มันเกิดเป็นทุกข์เพราะเหตุที่มันแปรปรวนบังคับไม่ได้ ก็ปล่อยไปตาม เรื่องของทุกข์ จึงว่ามันเป็นจริงอย่างไรให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนั้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า[/FONT]


    [FONT=&quot]ยถาภูตํ สมมปปญญาย ทฏฐพพํ ควรให้เห็นของสิ่งนั้นๆตามเป็นจริง[/FONT]


    [FONT=&quot]นี่จึงจะได้ชื่อว่าเรียนความโง่ ไม่ใช่เรียนความฉลาด มันโง่ตรงนี้ โง่ที่ไม่เห็นกายของเรา ไม่เห็นใจของเราเอง[/FONT]


    [FONT=&quot]แต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ทุกๆ คนที่เกิดขึ้นมาได้ชื่อว่าโง่ด้วยกันทั้งนั้น ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนแนะนำตักเตือนอะไรต่างๆ เพื่อให้รู้ความโง่นั่นแหละ ไม่ใช่เรียนความฉลาดหรอกให้รู้ความโง่ทั้งนั้นแหละ อันของที่ไม่รู้จึงค่อยเรียน ความไม่รู้ความไม่เข้าใจนั่นแหละมันโง่ ผู้ที่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ทั้งปวงเขาไม่ถือว่าตนฉลาด ความโง่ของคนเรามันยังลึกซึ้งละเอียดมากเหลือมาก ยิ่งเรียนเท่าไรยิ่งเห็นความโง่ของตนมากขึ้นเท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเรียนความฉลาด[/FONT]


    [FONT=&quot]เมื่อรู้จักโง่ เห็นโง่แล้ว ความรู้นั้นแลเป็นความฉลาด การไม่เห็นความโง่ของตนแต่สำคัญว่าตนฉลาด นั่นยิ่งโง่เข้าทุกทีเหตุนั้นการปฏิบัติของพวกเรา จงปฏิบัติตรงที่กายกับใจ นี่แหละ อย่าส่งออกไปภายนอก ใครเรียนอะไรที่ไหนก็เรียนไปเถิดถ้าเพ่งเข้ามาภายในตัวนั้นเรียกว่าเรียน ความโง่ของตน อย่าส่งออกไปภายนอกก็แล้วกัน[/FONT]


    [FONT=&quot]การเรียนกัมมัฏฐานแบบต่างๆหลายเรื่องหลายอย่าง หลายครูหลายอาจารย์ เช่น ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหัง อานาปานสติ พุทโธ ทั้งหมดนี้ก็เรียนโง่ด้วยกันทั้งนั้น คือ เรียนให้เห็นตัวโง่ ตั้งใจให้มีสติควบคุมจิตที่มันนึกคิดที่มันปรุงแต่งให้รู้เรื่องของจิต ให้เห็นจิตรู้จักจิตเสียก่อน ถ้าไม่เห็นจิตมันก็รักษาจิตไว้ไม่ได้ คุมจิตไม่ได้ ชำระจิตไม่ได้ เพราะไม่ทราบว่าจิตมันคิดมันนึกปรุงแต่งอะไรบ้าง มันส่งส่ายไปไหนก็ไม่ทราบ[/FONT]


    [FONT=&quot]ใครๆ ก็พูดถึงจิตถึงใจ จิตเป็นทุกข์ จิตเดือดร้อน จิตยุ่งวุ่นวาย จิตกระวนกระวาย จิตกระสับกระส่าย มันเรื่องของจิตทั้งนั้นแหละ แต่ยังไม่เคยเห็นจิตสักที จิตแท้เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เมื่อไม่เห็นจิตไม่เห็นใจ มันก็ไม่มีโอกาสที่จะชำระได้ต้องเห็นตัวมันเสียก่อน รู้จักตัวที่เราพูดถึงเสียก่อน พอเราเดือดร้อนเรายุ่งเหยิงหรือส่งส่ายเราก็แก้ตรงนั้นเอง[/FONT]


    [FONT=&quot]อาการของใจ เรียกว่า จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุงแต่งผู้ส่งส่ายไปมาหน้าหลังสารพัดทุกอย่างรอบด้านรอบข้าง ผู้นั้นเหละเรียกว่า จิต เราเอาสติไปคุมไว้ให้รู้จริงนั้นอยู่เสมอๆตลอดเวลาเห็นจิตของตนอยู่เสมอว่าจิตเป็นอย่างไร มันคิดดีคิดชั่ว คิดหยาบคิดละเอียด คิดปรุงแต่งอะไร ก็ให้รู้เห็นทุกขณะควบคุมมันอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ เมื่อเห็นจิตแล้ว ควบคุมจิตอยู่แล้วเวลาจะคิดก็ให้มันคิดได้ จะนึกก็ให้มันนึกได้ มีสติกำกับอยู่ว่าคิดว่านึก เวลาไม่ให้คิดไม่ให้นึกก็อยู่ได้ ไม่ให้ปรุงแต่งก็อยู่ได้ อย่างนี้จึงจะเรียกว่า บังคับจิตอยู่ อย่าให้จิตบังคับเรา[/FONT]


    [FONT=&quot]โดยทั่วไปจิตบังคับให้เรากระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เราอยู่ในอำนาจของจิต มันเป็นไปตามวิสัยอำนาจของจิต คนปุถุชนมันต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อเรากำหนดสติควบคุมจิตได้แล้ว เราจึงไม่อยู่ในอำนาจของจิต แต่จิตอยู่ในอำนาจของเรา มันชักชวนไปทางดีทางชั่วอีกก็ไม่ให้ไป นิ่งอยู่ได้ เช่น มันชักชวนไปในทางชั่วให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง ให้คิดประหัตประหารฆ่าตีเขาก็บอกมันว่าไม่ดีอย่าทำ คิดทางดีให้สร้างบุญสร้างกุศลก็ไม่ให้ไปอยู่คงที่ เมื่อหยุดส่ายอยู่คงที่มันก็เข้าถึง ใจ คือ ความเป็นกลาง[/FONT]


    [FONT=&quot]ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าจิตกับใจมันต่างกัน คนละอันกัน แต่แท้ที่จริงท่านพูดอันเดียวกันนั่นแหละ จิตอันใดใจอันนั้นใจอันใดจิตอันนั้น แต่ทำไมจึงเรียกว่าจิต ทำไมจึงเรียกว่าใจ ก็ลองคิดดูซิมันต้องมีแปลกกันอยู่ ใจมันต้องอยู่เฉยๆ คืออยู่กลางสิ่งใดเป็นกลางๆ จะเรียกสิ่งนั้นว่าใจ เช่น ใจมือ ใจเท้า ก็ชี้ลงตรงกลางมือกลางเท้า ใจคนก็ชี้ลงท่ามกลางใจหน้าอก ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนหรอก แต่ชี้ลงท่ามกลางอกเรียกว่า ใจ ที่เรียกว่าใจ คือมันอยู่ท่ามกลางสิ่งต่างๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ไม่คิดหยาบ ไม่คิดละเอียด ไม่ปรุง ไม่แต่งอะไรทั้งหมด แต่มีความรู้สึกอยู่เฉยๆ ตรงนั้นแหละเป็น ใจ[/FONT]


    [FONT=&quot]เมื่อเราตั้งสติกำหนดจิตที่มันกระสับกระส่ายดิ้นรน เดือดร้อนวุ่นวาย คอยควบคุมระวังตัวนั้นไว้จนหยุดดิ้นรน หยุดแส่ส่าย มีความรู้ สึกเฉยๆ รู้สึกเฉพาะตัวของมันเองไม่คิดไม่นึกอะไร อันนั้นแลเป็น ใจ ตัวเดิมแท้[/FONT]


    [FONT=&quot]ใจนี้มันจะดีอย่างไร ลองคิดดูซิ ถ้าเมื่อคุมจิตได้ เข้าถึงใจได้ก็ไม่มีอะไร มีความรู้สึกเฉยๆเฉพาะตัว ความวุ่นวายเดือดร้อนต่างๆ มันก็หายไปหมด มีแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบนั้น เอาความสุขแค่นั้นเสียก่อน สุขอันนั้นถ้าอยู่ได้นานเท่าไรยิ่งดี แต่คนเราไม่ชอบ ชอบให้จิตมันบังคับให้เราเดือดร้อนวุ่นวาย เดี๋ยวก็ร้องไห้ร้องห่ม เดี๋ยวก็หัวเราะเฮฮาเพลิดเพลินเดี๋ยวก็เอะอะโวยวายสารพัดทุกอย่าง เราร้องไห้ก็เพาะมันบังคับให้เราร้องทั้งที่เราไม่อยากร้องไห้ การร้องไห้น่าเกลียดจะตายน่าอับอายขายขี้หน้าคนอื่น แต่มันก็บังคับเอาจนร้องไห้ให้ได้ การหัวเราะก็เหมือนกันหัวเราะเพลิดเพลินสนุกสนานดี มันชอบใจ มันน่าที่จะหัวเราะเพลินเพลิดอยู่เสมอตลอดไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น จิตมันทำให้ร้องไห้ก็ได้ หัวเราะก็ได้ นั่นเพาะเราบังคับมันไม่ได้ ถ้าเราบังคับมันได้แล้วมันก็หยุด เอาสติเข้าไปตั้งเมื่อไรหยุดเมื่อนั้น สตินี้ดีมากเป็นเครื่องควบคุมจิตได้ทุกอย่าง [/FONT]


    [FONT=&quot]ได้พูดถึงเรื่องความโง่แล้ว เรามาเรียนความโง่กันเถิดเรียนอย่างวิธีที่อธิบายมานี่แหละ มันจึงจะค่อยหายโง่ ความโง่ไม่มีที่สิ้นสุดหรอก ยิ่งเรียนก็ยิ่งเห็นความโง่ของตน มันลึกจมอยู่ในก้นบึ้งโน่น ท่านว่า อนุสัย ตราบใดที่ยังไม่ถึง มรรคผล นิพพาน ตราบนั้นยังมีความโง่อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจงพากันเรียนความโง่กันเสียวันนี้[/FONT]


    [FONT=&quot]อธิบายมาก็สมควรแก่เวลา เอวํ ฯ[/FONT]


    นั่งกัมมัฏฐานหาความโง

    ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน



    เคยได้ยินบางคนพูดเป็นเชิงเหยียดหยามดูถูกกัมมัฏฐานว่า “นั่งหลับตาภาวนาโง่อย่างกัมมัฏฐาน” พวกเราจงพากันทำกัมมัฏฐานให้โง่อย่างเขาว่าดูซิมันจะโง่จริงหรือเปล่า


    ขั้นที่หนึ่ง นั่งหลับตาแล้วพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอา ๕ อย่างนี้เสียก่อน ให้เป็นอสุภะของไม่งาม เมื่อจะพิจารณาให้เลือกเอาอันเดียว ไม่ต้องเอามากอย่าง เช่น เลือกผมก็พิจารณาแต่ผมอย่างเดียว พิจารณาจนให้เห็นชัดว่า ผมเป็นของปฏิกูลจริงๆ เบื่อหน่าย คลายเสียจากความรักใคร่ว่าผมเป็นของสวยงามจนเป็นเหตุให้เกิดความใคร่ นี่หายจากความโง่ขั้นหนึ่งละ


    ขั้นที่สอง เห็นเป็นอสุภะทุกอวัยวะทั่วหมดทั้งตัวด้วยใจไม่ได้ลังเลแต่อย่างใด จะเห็นเปื่อยเน่าเฟะไปหมดไม่มีชิ้นดีแม้แต่นิดเดียว คราวนี้ไม่ใช่เพียง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่ทั้งหมดด้วยกันจะเป็นอสุภะทั้งนั้น แล้วอยากจะทอดทิ้งถ่ายเดียวถ้าสติคุมจิตไว้ไม่ได้ก็จะเสียคน ที่เรียกว่า วิปลาส (คำว่าวิปลาส นักปฏิบัติทั้งหลายกลัวนักกลัวหนา แต่หลงในกามไม่ยักกลัวเพราะคนส่วนมากรู้จักกันดี)


    ขั้นที่สาม เมื่อสติคุมจิตให้อยู่ในที่เดียวแล้ว ก็จะพิจารณาทวนทบไปๆ มาๆ ว่า ที่เราพิจารณาเห็นเป็นอสุภะนั้นแท้จริงแล้วกายนี้มันก็ยังปกติตามเดิมนั้น เอง ที่เราเห็นเป็นอสุภะนั้น เพราะจิตเราเป็นสมาธิต่างหาก เมื่อจิตถอนออกมาจากสมาธิแล้ว มันก็เป็นอยู่อย่างเดิม


    ใช่อันนี้หรือเปล่าที่เรียกว่า นั่งหลับตาภาวนาโง่อย่างกัมมัฏฐานนั้น แท้จริงกัมมัฏฐานคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีอยู่ด้วยกันทุกๆคนมิใช่หรือ ผู้มาเพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามเป็นจริง ทำไมจึงเรียกว่าโง่ ผู้ไม่ได้เพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามเป็นจริงนั้นหรือเป็นผู้ฉลาด แปลกจริงหนอ ความเห็นของคนเรานี้ ผู้เห็นตามสภาพความเป็นจริงแทนที่จะเรียกว่าผู้ฉลาดกลับเห็นว่าโง่ไปได้ ผิดวิสัยของคนทั่วไปเสียแล้ว ยิ่งกว่านั้นพระบางองค์(ขอโทษ) เป็นถึงอุปัชฌาย์อาจารย์สอนกัมมัฏฐาน ๕ แก่ลูกศิษย์ ลูกศิษย์ได้แล้วไปถามเข้า เลยหาว่าโง่เข้าไปโน่นอีกผู้เห็นเช่นนี้มิเป็นการเหยียดหยามดูถูกเราพร้อม ทั้งต้นตระกูลของเราที่เป็นพระสงฆ์ (คือพระพุทธเจ้า)เสียหรือ เมื่อเหยียดหยามดูถูกเช่นนั้นได้แล้ว ความเป็นพระจะมีอะไรเหลืออยู่อีกเล่า เราผู้เป็นสงฆ์ฆราวาสญาติโยมเขาเคารพนับถือ ควรที่จะระวังสังวรถึงแม้จะพูดเล่นก็ไม่เป็นการสมควรโดยแท้


    ความโง่มันซ่อนเร้นอยู่ตาม ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้แหละ ฉะนั้นจงค้นให้เห็นตัวมัน ถ้าค้นหาตัวความโง่เห็นแล้วจะอุทานว่า อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้เอง ท่านจึงสอนให้พิจารณา เราทอดทิ้งมาเป็นเวลานาน มีแต่เห็นว่า ผมมันสวยงาม มันหงอกก็หายามาย้อมไว้ให้คนหลงว่าดำอยู่ ขนก็เช่นเดียวกัน มันรกรุงรังก็โกนให้คนอื่นเห็นว่าเกลี้ยงเกลาไม่มีขน เล็บมันไม่แดงก็เอาสีมาทาไว้ให้คนเข้าใจว่าเล็บแดง ฟันก็เอาทองมาหุ้มไว้ให้เหลืองอร่ามไปหมด หนังมันย่นหดหู่ก็ลอกให้มันเป็นหนังใหม่ลอกแล้วไม่กี่วันมันก็ย่นยู่หดหู่ อีก จะหลอกคนภายนอกไปอย่างไรก็หรอกไปเถิด แต่ในใจของตนย่อมรู้ดีว่าหลอกลวงคนอื่น เหมือนกับนายพรานดักนกมุ่งแต่จะเอาเขาฝ่ายเดียว ผีไม่ตายหลอกเขาไม่มีใครกลัวหรอก นอกจากเขาจะไม่กลัวแล้ว ท่านผู้มีปัญญายังจะต้องยิ้มขบขันเสียอีก

    [FONT=&quot]คัดลอกจาก http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/patum61.html[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2011
  2. สมบัติธรรม

    สมบัติธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +29
    ขอบพระคุณครับ

    ขออนุญาตนำไปเผยแพร่นะครับ

    กราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2011
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
  4. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผู้ใดเห็นความเป็นจริง ผู้นั้นมีดวงตาเห็นธรรม เห็นสภาวะที่เกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจ บุคคลเหล่านั้น เป็นผู้ฉลาดยิ่ง

    อนุโมทนาสาธุครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  5. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]






    [​IMG]
    กำหนดการรับสังฆทานบ้านวิริ<wbr>ยบารมี-ตารางรถตู้ คลิก
    ทริปกฐินสร้างพระอุโบสถวัดรัตนานุ<wbr>ภาพ (กฐินปลดหนี้ ๕๔) ๑๔-๑๗ ต.ค. คลิก

    ร่วมเป็นเจ้าภาพมหากุ<wbr>ศลงานเข้า-ออกนิโรธกรรมครูบาวิ<wbr>ฑูรย์ ชินวโร ๑๗-๒๕ ก.ย. คลิก
     
  6. Santajitto

    Santajitto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2010
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +455
    กราบอนุโมทนา สาธุ ครับ.

    ธรรมทั้งหลายก็ออกมาจากกายกับใจไม่นอกเหนือจากกายกับใจ ใจมาพิจารณาตามจริง ถ้าหากไม่มีกาย ก็ไม่มีเรื่องทุกข์ ไม่มีอนัตตา ไม่มีอนิจจัง ไม่มีทุกขัง เพราะมีกายจึงมีอนิจจัง มีทุกขัง มีอนัตตา จึงมีวิปัสสนา มีมรรคผล นิพพาน มีญาณสมาธิ มีธรรมทั้งหลาย
     
  7. COME&Z

    COME&Z เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +234
    ขออนุโมทนาในธรรมทานค่ะ
    สาธุ สาธุ สาธุ
    อ่านแล้ว ปิติหนอ ปิติหนอ:)
    ใจคือความเป็นกลางเหมือนใจผักกาด ใจกะหล่ำ
    จิตคืออาการของใจ...:)
     
  8. chana14

    chana14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2010
    โพสต์:
    743
    ค่าพลัง:
    +2,097
    อนุโมทนาบุญด้วยครับ
    ขอให้ท่านที่เผยแพร่ธรรมะ มีแต่ความสุข สมหวังครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 65088_481.jpg
      65088_481.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.3 KB
      เปิดดู:
      132
  9. ครูแดงน้อย

    ครูแดงน้อย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +2
    อนุโมทนา สาธุ เจ้าค่ะ หนูพอเข้าใจบ้าง ขอขอบพระคุณ เพราะรู้ว่าตัวเองก็โง่เช่นกัน
     
  10. sukh_anand

    sukh_anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +731
    สาธุพระคุณเจ้า ขออนุโมทนาในการเผยแพร่สู่ส่วนรวมครับ
     
  11. chatch-p

    chatch-p Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +45
    อนุโมทนา สาธุ โง่จริงๆเลยเรา เมื่อไหร่จะหายโง่นะเฮ้ออออออออออออออ
     
  12. paya_po@yahoo.com

    paya_po@yahoo.com เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +227
    ความโง่

    [​IMG]





    [FONT=&quot]ความโง่ของคนโง่[/FONT]

    [FONT=&quot]แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ[FONT=&quot].ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย[/FONT][/FONT]​

    [FONT=&quot]วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๓[/FONT]



    [FONT=&quot]ได้เทศน์เรื่องความฉลาดมานานแล้ว วันนี้ขอได้พากันฟังเทศน์เรื่อง ความโง่[/FONT]


    [FONT=&quot]ความโง นั้นไม่มีขอบเขต ไม่มีใครให้ประกาศนียบัตรชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ไม่มีเลย ทั้งๆ ที่คนก็มีโง่อยู่แล้วแต่ไม่ชอบให้คนอื่นพูดว่าตนโง่ แล้วคนที่พูดนั้นถ้าพูดด้วยความเหยียดหยามดูถูกคนอื่นก็ยิ่งโง่กว่าเขาเสียอีก[/FONT]


    [FONT=&quot]เราพากันโง่อยู่ตลอดเวลา ความโง่อันนี้แหละทำให้เราเป็นคนจน ทำให้เราไม่สามารถจะฟื้นฟูตัวเราให้ขึ้นมาได้[/FONT]


    [FONT=&quot]โง่มีหลาย โง่ในการทำมาหาเลี้ยงชีพ โง่ในความไหว โง่ในการที่จะนำตนให้รอดปลอดภัย ฯลฯ ความโง่ที่หมักหมมอยู่ในใจของเรานั้น เราเรียนเท่าไรก็เรียนไปเถิดไม่จบไม่สิ้นสักที[/FONT]


    [FONT=&quot]คนนิยมเรียนความฉลาดข้างนอก เช่นเรียนวิชาวิทยาศาสตร์แผนใหม่อะไรต่างๆ เรียนไปหมดทุกอย่าง แต่ตัวของเราเองในนั้นไม่รู้เรื่อง มันโง่อยู่ภายใน นั่นคือความผิดความถูกที่เกิดขึ้นในใจของตน คิดว่าตนดี คิดว่าตนวิเศษ อันนั้นแสนโง่ทีเดียว[/FONT]


    [FONT=&quot]ถ้าเข้าใจว่าตนดี ตนฉลาด ตนวิเศษ ตนเลอเลิศด้วยสติปัญญาอุบายต่างๆอันนั้นแหละเป็นการโง่ที่สุด ถ้าคนใดเข้าใจว่าตนโง่คนนั้นฉลาดขึ้นมา เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าคนใดเข้าใจว่าตนโง่คนนั้นฉลาดขึ้นมาบ้าง[/FONT]


    [FONT=&quot]วิชาทุกอย่างที่เราเรียน เป็นการเรียนออกไปภายนอกออกไปจากตัวของเรา ไม่ใช่เรียนเข้ามาในตัวของเรา เรียนส่งออกไปปรุงแต่งออกไปนอกจากกายนอกจากใจ คำว่า กาย มันจึงเพี้ยนเป็นกรายไปเสีย มันกรายออกไปจากกาย มันข้ามกายไปนั่นเองจึงไม่เห็นตนของตน เปรียบเหมือนกับตาไม่เห็นลูกตาหรือตาไม่เห็นก้ำด้น (ก้ำด้น คือ ท้ายทอยนั่นเอง) โบราณท่านว่า ตากับก้ำด้นอยู่ด้วยกันไม่ทราบว่ากี่ปีกี่ชาติแต่ไม่เคยเห็นกันเลย ก้ำด้นของตนแท้ๆ ไม่เคยเห็นสักที จึงว่ามันโง่ฝังอยู่นั่นแหละ ไม่เห็นตัวของเราเอง[/FONT]


    [FONT=&quot]การเรียนภายนอกนั้นปรุงแต่งออกไปไม่มีที่สิ้นสุด แต่เขาก็ว่าจบแล้วจะให้ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก อะไรต่างๆ ได้ปริญญาเขาก็ว่าจบแล้ว วิชานั้นมันจบที่ไหน อันของที่ไม่รู้ยังมีอีกเยอะแยะมากมายก่ายกอง ความรู้มันเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการไปเรื่อย มันไม่อยู่คงที่ จะว่าเรียนจบได้อย่างไร[/FONT]


    [FONT=&quot]หากเราพากันมาเรียนวิชาความโง่ เรียนสิ่งที่ไม่รู้ในกาย วาจา ใจ ของเราให้มันรู้ขึ้นมา จึงจะหมดความโง่ไป ถ้าไม่เห็นกายเห็นใจของตนมันก็ยังโง่อยู่นั่นเอง ถ้าเข้าใจว่าเห็นแล้ว มันเห็นจริงหรือไม่ มันเบื่อ มันหน่าย มันคลายไหม หรือว่ามันยังยึดถืออยู่ ความยึดความถือนั่นน่ะเรียกว่าไม่เห็นจริง[/FONT]


    [FONT=&quot]ตัวของเราเป็นอนัตตา สิ่งสารพัดวัตถุทั้งปวงทั้งหมดก็เป็นอนัตตา[/FONT]


    [FONT=&quot]อนัตตา คือว่ามันไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรา อนัตตาไม่ได้หมายว่าสิ่งนั้นๆไม่มี ของมีอยู่แต่มันไม่อยู่ในบังคับบัญชา เช่น กายของเรานี้จะไม่ให้แก่ มันก็แก่ ไม่ให้เจ็บมันก็เจ็บ ไม่ให้ตายมันก็ตาย ไม่ให้พลัดพรากจากกัน มันก็พลัดพรากจากไป ทำอย่างไรมันก็ไม่อยู่ในบังคับบัญชา นี่แหละท่านเรียกว่า อนัตตา การที่มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ อันนั้นแหละท่านเรียกว่า อนิจจัง ของไม่เที่ยง อนิจจังเป็นอนัตตา นี่แหละมันจึงได้เป็นทุกข์หรือ ทุกขัง ความจริง เรื่องกายและใจของเราเป็นอย่างนี้ เราเห็นเช่นนี้แล้วหรือยัง[/FONT]


    [FONT=&quot]ใครๆ ก็เห็นกายกันทุกคนละ แต่มันไม่เห็นจริง ไม่เห็นเป็นอนัตตา ไม่เห็นเป็นทุกขัง ไม่เห็นตามสภาพเป็นจริงทุกอย่าง จึงปล่อยวางไม่ได้ จึงได้ทุกข์ ที่เราเดือดร้อนกันอยู่ทุกวี่ทุกวันนี้ก็เพราะเหตุเห็นไม่จริงนั่นแหละ[/FONT]


    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าทรงเห็นกายและใจตามสภาพที่เป็นจริง อริยสงฆ์สาวกท่านก็เห็นตามเป็นจริง เรียกว่า อริยสัจจ์ นั่นคือ รูปเป็นอนัตตา รูปเป็นอนิจจัง รูปจึงเป็นทุกข์ เมื่อยังไม่เห็นจริงด้วยใจ เห็นแต่ตามสัญญาก็เห็นเป็นเพียง สัจจะ เฉยๆ ถ้าเห็นจริงเห็นชัดลงไปด้วยใจแล้วเรียกว่า เห็นอริยสัจจ์อันนั้นเป็นการเห็นของจริงของแท้ของอริยเจ้า ดังนั้นพวกเราอย่าไปหาธรรมะที่อื่นไกลเลย หาเอาในตัวของเรานี่ ผสมกันขึ้นในที่นี้ ให้ปรากฏเห็นขึ้นมาในที่นี้แหละ ใจคนเห็นกาย จึงอุปมาเหมือนกับเรียนสระกับพยัญชนะผสมกัน ผสมกันได้แล้วก็เขียนข้อความไปได้หมดทุกอย่าง จะขีดเขียนเรื่องอะไรๆ เขียนได้หมด มันออกจากสระกับพยัญชนะเท่านั้น[/FONT]


    [FONT=&quot]ธรรมทั้งหลายก็ออกมาจากกายกับใจไม่นอกเหนือจากกายกับใจ ใจมาพิจารณาตามจริง ถ้าหากไม่มีกาย ก็ไม่มีเรื่องทุกข์ ไม่มีอนัตตา ไม่มีอนิจจัง ไม่มีทุกขัง เพราะมีกายจึงมีอนิจจัง มีทุกขัง มีอนัตตา จึงมีวิปัสสนา มีมรรคผล นิพพาน มีญาณสมาธิ มีธรรมทั้งหลาย[/FONT]


    [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพญิญาณก็ตรัสรู้ที่กายกับใจนี่แหละ พระองค์ไม่ได้ไปตรัสรู้อย่างอื่นที่ไหนหรอก พระสงฆ์สาวกทั้งหลายสำเร็จมรรคผลนิพพาน ก็สำเร็จมรรคผลนิพพาน ก็สำเร็จที่กายกับที่ใจนี่แหละ พวกเทพทั้งหลายสำเร็จมีแต่ใจเป็นพวกอามิสกายไม่มีรูปปรากฏ พวกพรหมก็ไม่ปรากฏรูป พระพุทธเจ้าไม่ได้ไปตรัสรู้ไม่ได้ทรงสอนที่โน่นหรอก ทรงเทศนาสอนมนุษย์พวกเราที่มีกายหยาบๆ เห็นกันอยู่ด้วยตานี่เอง[/FONT]


    [FONT=&quot]การเห็นด้วยตาเรียกว่า ทรรศนะมันยังเห็นไม่จริงไม่แท้ต้องเข้าไปเห็นจึงจะเป็นการเห็นอย่างแท้จริง การเห็นด้วยใจจึงเรียกว่า ญาณทัสนะ คำว่า เห็นด้วยใจ คือ มันชัดด้วยใจนั่นเอง ถ้าไม่ชัดก็ไม่เรียกว่าเห็นด้วยใจ เมื่อเห็นชัดด้วยใจนั่นเอง ถ้าไม่ชัดก็ไม่เรียกว่าเห็นด้วยใจ เมื่อเห็นชัดแล้วกายมันเป็นอนัตตา เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง ดังที่อธิบายในเบื้องต้น มันก็ปล่อยวางได้[/FONT]


    [FONT=&quot]นั่นคือปล่อยวางไว้ตามสภาพเดิมของมัน เห็นมันเป็นอนัตตาแล้วไม่ยึดถืออีก ปล่อยไปตาม สภาพอนัตตา มันเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยไป เห็นมันเป็นอนิจจัง ก็ยึดไว้ปล่อยไปตามเรื่องของมันตาม สภาพอนิจจัง มันเป็นทุกขัง มันเกิดเป็นทุกข์เพราะเหตุที่มันแปรปรวนบังคับไม่ได้ ก็ปล่อยไปตาม เรื่องของทุกข์ จึงว่ามันเป็นจริงอย่างไรให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนั้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า[/FONT]


    [FONT=&quot]ยถาภูตํ สมมปปญญาย ทฏฐพพํ ควรให้เห็นของสิ่งนั้นๆตามเป็นจริง[/FONT]


    [FONT=&quot]นี่จึงจะได้ชื่อว่าเรียนความโง่ ไม่ใช่เรียนความฉลาด มันโง่ตรงนี้ โง่ที่ไม่เห็นกายของเรา ไม่เห็นใจของเราเอง[/FONT]


    [FONT=&quot]แต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ทุกๆ คนที่เกิดขึ้นมาได้ชื่อว่าโง่ด้วยกันทั้งนั้น ครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนแนะนำตักเตือนอะไรต่างๆ เพื่อให้รู้ความโง่นั่นแหละ ไม่ใช่เรียนความฉลาดหรอกให้รู้ความโง่ทั้งนั้นแหละ อันของที่ไม่รู้จึงค่อยเรียน ความไม่รู้ความไม่เข้าใจนั่นแหละมันโง่ ผู้ที่เข้าใจเรื่องเหล่านี้ทั้งปวงเขาไม่ถือว่าตนฉลาด ความโง่ของคนเรามันยังลึกซึ้งละเอียดมากเหลือมาก ยิ่งเรียนเท่าไรยิ่งเห็นความโง่ของตนมากขึ้นเท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเรียนความฉลาด[/FONT]


    [FONT=&quot]เมื่อรู้จักโง่ เห็นโง่แล้ว ความรู้นั้นแลเป็นความฉลาด การไม่เห็นความโง่ของตนแต่สำคัญว่าตนฉลาด นั่นยิ่งโง่เข้าทุกทีเหตุนั้นการปฏิบัติของพวกเรา จงปฏิบัติตรงที่กายกับใจ นี่แหละ อย่าส่งออกไปภายนอก ใครเรียนอะไรที่ไหนก็เรียนไปเถิดถ้าเพ่งเข้ามาภายในตัวนั้นเรียกว่าเรียน ความโง่ของตน อย่าส่งออกไปภายนอกก็แล้วกัน[/FONT]


    [FONT=&quot]การเรียนกัมมัฏฐานแบบต่างๆหลายเรื่องหลายอย่าง หลายครูหลายอาจารย์ เช่น ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหัง อานาปานสติ พุทโธ ทั้งหมดนี้ก็เรียนโง่ด้วยกันทั้งนั้น คือ เรียนให้เห็นตัวโง่ ตั้งใจให้มีสติควบคุมจิตที่มันนึกคิดที่มันปรุงแต่งให้รู้เรื่องของจิต ให้เห็นจิตรู้จักจิตเสียก่อน ถ้าไม่เห็นจิตมันก็รักษาจิตไว้ไม่ได้ คุมจิตไม่ได้ ชำระจิตไม่ได้ เพราะไม่ทราบว่าจิตมันคิดมันนึกปรุงแต่งอะไรบ้าง มันส่งส่ายไปไหนก็ไม่ทราบ[/FONT]


    [FONT=&quot]ใครๆ ก็พูดถึงจิตถึงใจ จิตเป็นทุกข์ จิตเดือดร้อน จิตยุ่งวุ่นวาย จิตกระวนกระวาย จิตกระสับกระส่าย มันเรื่องของจิตทั้งนั้นแหละ แต่ยังไม่เคยเห็นจิตสักที จิตแท้เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เมื่อไม่เห็นจิตไม่เห็นใจ มันก็ไม่มีโอกาสที่จะชำระได้ต้องเห็นตัวมันเสียก่อน รู้จักตัวที่เราพูดถึงเสียก่อน พอเราเดือดร้อนเรายุ่งเหยิงหรือส่งส่ายเราก็แก้ตรงนั้นเอง[/FONT]


    [FONT=&quot]อาการของใจ เรียกว่า จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุงแต่งผู้ส่งส่ายไปมาหน้าหลังสารพัดทุกอย่างรอบด้านรอบข้าง ผู้นั้นเหละเรียกว่า จิต เราเอาสติไปคุมไว้ให้รู้จริงนั้นอยู่เสมอๆตลอดเวลาเห็นจิตของตนอยู่เสมอว่าจิตเป็นอย่างไร มันคิดดีคิดชั่ว คิดหยาบคิดละเอียด คิดปรุงแต่งอะไร ก็ให้รู้เห็นทุกขณะควบคุมมันอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ เมื่อเห็นจิตแล้ว ควบคุมจิตอยู่แล้วเวลาจะคิดก็ให้มันคิดได้ จะนึกก็ให้มันนึกได้ มีสติกำกับอยู่ว่าคิดว่านึก เวลาไม่ให้คิดไม่ให้นึกก็อยู่ได้ ไม่ให้ปรุงแต่งก็อยู่ได้ อย่างนี้จึงจะเรียกว่า บังคับจิตอยู่ อย่าให้จิตบังคับเรา[/FONT]


    [FONT=&quot]โดยทั่วไปจิตบังคับให้เรากระทำทุกสิ่งทุกอย่าง เราอยู่ในอำนาจของจิต มันเป็นไปตามวิสัยอำนาจของจิต คนปุถุชนมันต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อเรากำหนดสติควบคุมจิตได้แล้ว เราจึงไม่อยู่ในอำนาจของจิต แต่จิตอยู่ในอำนาจของเรา มันชักชวนไปทางดีทางชั่วอีกก็ไม่ให้ไป นิ่งอยู่ได้ เช่น มันชักชวนไปในทางชั่วให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง ให้คิดประหัตประหารฆ่าตีเขาก็บอกมันว่าไม่ดีอย่าทำ คิดทางดีให้สร้างบุญสร้างกุศลก็ไม่ให้ไปอยู่คงที่ เมื่อหยุดส่ายอยู่คงที่มันก็เข้าถึง ใจ คือ ความเป็นกลาง[/FONT]


    [FONT=&quot]ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าจิตกับใจมันต่างกัน คนละอันกัน แต่แท้ที่จริงท่านพูดอันเดียวกันนั่นแหละ จิตอันใดใจอันนั้นใจอันใดจิตอันนั้น แต่ทำไมจึงเรียกว่าจิต ทำไมจึงเรียกว่าใจ ก็ลองคิดดูซิมันต้องมีแปลกกันอยู่ ใจมันต้องอยู่เฉยๆ คืออยู่กลางสิ่งใดเป็นกลางๆ จะเรียกสิ่งนั้นว่าใจ เช่น ใจมือ ใจเท้า ก็ชี้ลงตรงกลางมือกลางเท้า ใจคนก็ชี้ลงท่ามกลางใจหน้าอก ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนหรอก แต่ชี้ลงท่ามกลางอกเรียกว่า ใจ ที่เรียกว่าใจ คือมันอยู่ท่ามกลางสิ่งต่างๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ไม่คิดหยาบ ไม่คิดละเอียด ไม่ปรุง ไม่แต่งอะไรทั้งหมด แต่มีความรู้สึกอยู่เฉยๆ ตรงนั้นแหละเป็น ใจ[/FONT]


    [FONT=&quot]เมื่อเราตั้งสติกำหนดจิตที่มันกระสับกระส่ายดิ้นรน เดือดร้อนวุ่นวาย คอยควบคุมระวังตัวนั้นไว้จนหยุดดิ้นรน หยุดแส่ส่าย มีความรู้ สึกเฉยๆ รู้สึกเฉพาะตัวของมันเองไม่คิดไม่นึกอะไร อันนั้นแลเป็น ใจ ตัวเดิมแท้[/FONT]


    [FONT=&quot]ใจนี้มันจะดีอย่างไร ลองคิดดูซิ ถ้าเมื่อคุมจิตได้ เข้าถึงใจได้ก็ไม่มีอะไร มีความรู้สึกเฉยๆเฉพาะตัว ความวุ่นวายเดือดร้อนต่างๆ มันก็หายไปหมด มีแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบนั้น เอาความสุขแค่นั้นเสียก่อน สุขอันนั้นถ้าอยู่ได้นานเท่าไรยิ่งดี แต่คนเราไม่ชอบ ชอบให้จิตมันบังคับให้เราเดือดร้อนวุ่นวาย เดี๋ยวก็ร้องไห้ร้องห่ม เดี๋ยวก็หัวเราะเฮฮาเพลิดเพลินเดี๋ยวก็เอะอะโวยวายสารพัดทุกอย่าง เราร้องไห้ก็เพาะมันบังคับให้เราร้องทั้งที่เราไม่อยากร้องไห้ การร้องไห้น่าเกลียดจะตายน่าอับอายขายขี้หน้าคนอื่น แต่มันก็บังคับเอาจนร้องไห้ให้ได้ การหัวเราะก็เหมือนกันหัวเราะเพลิดเพลินสนุกสนานดี มันชอบใจ มันน่าที่จะหัวเราะเพลินเพลิดอยู่เสมอตลอดไป แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น จิตมันทำให้ร้องไห้ก็ได้ หัวเราะก็ได้ นั่นเพาะเราบังคับมันไม่ได้ ถ้าเราบังคับมันได้แล้วมันก็หยุด เอาสติเข้าไปตั้งเมื่อไรหยุดเมื่อนั้น สตินี้ดีมากเป็นเครื่องควบคุมจิตได้ทุกอย่าง [/FONT]


    [FONT=&quot]ได้พูดถึงเรื่องความโง่แล้ว เรามาเรียนความโง่กันเถิดเรียนอย่างวิธีที่อธิบายมานี่แหละ มันจึงจะค่อยหายโง่ ความโง่ไม่มีที่สิ้นสุดหรอก ยิ่งเรียนก็ยิ่งเห็นความโง่ของตน มันลึกจมอยู่ในก้นบึ้งโน่น ท่านว่า อนุสัย ตราบใดที่ยังไม่ถึง มรรคผล นิพพาน ตราบนั้นยังมีความโง่อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจงพากันเรียนความโง่กันเสียวันนี้[/FONT]


    [FONT=&quot]อธิบายมาก็สมควรแก่เวลา เอวํ ฯ[/FONT]


    นั่งกัมมัฏฐานหาความโง


    ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน



    เคยได้ยินบางคนพูดเป็นเชิงเหยียดหยามดูถูกกัมมัฏฐานว่า “นั่งหลับตาภาวนาโง่อย่างกัมมัฏฐาน” พวกเราจงพากันทำกัมมัฏฐานให้โง่อย่างเขาว่าดูซิมันจะโง่จริงหรือเปล่า


    ขั้นที่หนึ่ง นั่งหลับตาแล้วพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เอา ๕ อย่างนี้เสียก่อน ให้เป็นอสุภะของไม่งาม เมื่อจะพิจารณาให้เลือกเอาอันเดียว ไม่ต้องเอามากอย่าง เช่น เลือกผมก็พิจารณาแต่ผมอย่างเดียว พิจารณาจนให้เห็นชัดว่า ผมเป็นของปฏิกูลจริงๆ เบื่อหน่าย คลายเสียจากความรักใคร่ว่าผมเป็นของสวยงามจนเป็นเหตุให้เกิดความใคร่ นี่หายจากความโง่ขั้นหนึ่งละ


    ขั้นที่สอง เห็นเป็นอสุภะทุกอวัยวะทั่วหมดทั้งตัวด้วยใจไม่ได้ลังเลแต่อย่างใด จะเห็นเปื่อยเน่าเฟะไปหมดไม่มีชิ้นดีแม้แต่นิดเดียว คราวนี้ไม่ใช่เพียง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่ทั้งหมดด้วยกันจะเป็นอสุภะทั้งนั้น แล้วอยากจะทอดทิ้งถ่ายเดียวถ้าสติคุมจิตไว้ไม่ได้ก็จะเสียคน ที่เรียกว่า วิปลาส (คำว่าวิปลาส นักปฏิบัติทั้งหลายกลัวนักกลัวหนา แต่หลงในกามไม่ยักกลัวเพราะคนส่วนมากรู้จักกันดี)


    ขั้นที่สาม เมื่อสติคุมจิตให้อยู่ในที่เดียวแล้ว ก็จะพิจารณาทวนทบไปๆ มาๆ ว่า ที่เราพิจารณาเห็นเป็นอสุภะนั้นแท้จริงแล้วกายนี้มันก็ยังปกติตามเดิมนั้น เอง ที่เราเห็นเป็นอสุภะนั้น เพราะจิตเราเป็นสมาธิต่างหาก เมื่อจิตถอนออกมาจากสมาธิแล้ว มันก็เป็นอยู่อย่างเดิม


    ใช่อันนี้หรือเปล่าที่เรียกว่า นั่งหลับตาภาวนาโง่อย่างกัมมัฏฐานนั้น แท้จริงกัมมัฏฐานคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีอยู่ด้วยกันทุกๆคนมิใช่หรือ ผู้มาเพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามเป็นจริง ทำไมจึงเรียกว่าโง่ ผู้ไม่ได้เพ่งพิจารณาให้เห็นอสุภะตามเป็นจริงนั้นหรือเป็นผู้ฉลาด แปลกจริงหนอ ความเห็นของคนเรานี้ ผู้เห็นตามสภาพความเป็นจริงแทนที่จะเรียกว่าผู้ฉลาดกลับเห็นว่าโง่ไปได้ ผิดวิสัยของคนทั่วไปเสียแล้ว ยิ่งกว่านั้นพระบางองค์(ขอโทษ) เป็นถึงอุปัชฌาย์อาจารย์สอนกัมมัฏฐาน ๕ แก่ลูกศิษย์ ลูกศิษย์ได้แล้วไปถามเข้า เลยหาว่าโง่เข้าไปโน่นอีกผู้เห็นเช่นนี้มิเป็นการเหยียดหยามดูถูกเราพร้อม ทั้งต้นตระกูลของเราที่เป็นพระสงฆ์ (คือพระพุทธเจ้า)เสียหรือ เมื่อเหยียดหยามดูถูกเช่นนั้นได้แล้ว ความเป็นพระจะมีอะไรเหลืออยู่อีกเล่า เราผู้เป็นสงฆ์ฆราวาสญาติโยมเขาเคารพนับถือ ควรที่จะระวังสังวรถึงแม้จะพูดเล่นก็ไม่เป็นการสมควรโดยแท้


    ความโง่มันซ่อนเร้นอยู่ตาม ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้แหละ ฉะนั้นจงค้นให้เห็นตัวมัน ถ้าค้นหาตัวความโง่เห็นแล้วจะอุทานว่า อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้เอง ท่านจึงสอนให้พิจารณา เราทอดทิ้งมาเป็นเวลานาน มีแต่เห็นว่า ผมมันสวยงาม มันหงอกก็หายามาย้อมไว้ให้คนหลงว่าดำอยู่ ขนก็เช่นเดียวกัน มันรกรุงรังก็โกนให้คนอื่นเห็นว่าเกลี้ยงเกลาไม่มีขน เล็บมันไม่แดงก็เอาสีมาทาไว้ให้คนเข้าใจว่าเล็บแดง ฟันก็เอาทองมาหุ้มไว้ให้เหลืองอร่ามไปหมด หนังมันย่นหดหู่ก็ลอกให้มันเป็นหนังใหม่ลอกแล้วไม่กี่วันมันก็ย่นยู่หดหู่ อีก จะหลอกคนภายนอกไปอย่างไรก็หรอกไปเถิด แต่ในใจของตนย่อมรู้ดีว่าหลอกลวงคนอื่น เหมือนกับนายพรานดักนกมุ่งแต่จะเอาเขาฝ่ายเดียว ผีไม่ตายหลอกเขาไม่มีใครกลัวหรอก นอกจากเขาจะไม่กลัวแล้ว ท่านผู้มีปัญญายังจะต้องยิ้มขบขันเสียอีก

    [FONT=&quot]คัดลอกจาก
     
  13. amarpinky

    amarpinky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    423
    ค่าพลัง:
    +522
    น้อมนมัสการหลวงปู่เทศน์ ด้วยความเคารพ อนุโมทนาสาธุ ด้วยค่ะ
     
  14. Freehugs

    Freehugs สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +14
    ขออนุโมทนา สาธุ จขกท. ที่ได้นำคำสอนดีๆ มาให้อ่านนะครับ
     
  15. yokeemonkaew

    yokeemonkaew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +301
    ขอนอบน้อมหลวงปู่อริยะสงฆ์สาวกพระผู้มีพระภาคเจ้า...โมทนาสาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...