นั่งสมาธิไปสักพักแล้วก็เกิดอาการ...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย person, 14 กรกฎาคม 2011.

  1. person

    person Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +69
    พอผมนั่งสมาธิไปภาวนาไปเรื่อยๆจนพุธโธหายไป แล้วสักพักก็รู้สึกมันตัวจะออกดึงไปข้างบน มันอึดอัดตอนกำลังดึงไปข้างบนแล้วร่างกายมันค่อยๆตรงตึงขึ้นเกร็ง

    พอรู้ว่าออกไปแล้วกายมันก็ค่อยๆหายเกร็ง ไม่รู้สึกอึดอัด(ถ้าคำพูดมันดูงงๆ ก็ขอโทษด้วยนะครับ อธิบายไม่ค่อยถูก) อยากรู้ว่ามันคืออาการอะไรครับ

    แล้วก็ตอนภาวนาพุธไปสักพักพอจิตเริ่มนิ่งผมก็จับภาพพระไปด้วย(ถ้าจับภาพพระจากนังสือสวดมนต์แต่ไม่เคยเห็นภาพพระพุทธรูปองค์นั้นจริงๆเลยจะได้ไหมครับ)แล้วก็พิจารณาร่างกายต่อว่ามันไม่เที่ยง สกปรก ฯลฯ พอรู้สึกเหมือนจิตมันออกไปแล้ว(ไม่เชิงออกเหมือนแยกส่วนกันมากกว่า) ผมก็จับภาพพระ+พิจารณากายสลับกันไปด้วย พอเริ่มนิ่งมันรู้สึกเหมือนเคว้งๆยังไม่รู้ครับไม่รู้จะกำหนดอยู่กับอะไรดี

    ปล.ผมไปฝึกมโนยิทธิที่บ้านสายลมต้นเดือนที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกครับ แต่ฝึกไม่สำเร็จเกิดอาการปิติแบบตัวโยกไปมา ไม่ถึงขั้นอุปจารสมาธิ ผมรู้สึกเหมือนจะเอา 2 สาย มโนยิทธิกับกรรมฐานธรรมดามาปนๆกันอะครับ แล้วก่อนจะนั่งสมาธิจำเป็นต้องสวดมนต์ก่อนทุกครั้งไหมครับ แล้วถ้าจำเป็นนี่สวดบทไหนครับ
    (ถ้าอ่านงงๆ ก็ต้องขอโทษด้วยนะครับที่เรียบเรียงคำพูดไม่ค่อยดี)
     
  2. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    น่าจะฝึกแยกกันดีกว่านะครับ ถ้าเราเอาหมดเลยมันก็ไปไม่ถึงไหนทุกสาย เราทำ
    ไปที่ละอย่างดูครับ อย่างถ้าเรากำหนดคำบริกรรมจนจิตเริ่มสงบดีแล้วเกิดนิมิต
    แล้วเราตามนิมิตไปจิตมันก็หลุดจากบริกรรม หลุดจากสมาธิ แล้วถ้าเราตามดู
    นิมิตกลับมาบริกรรมมันเหมือนสลับไปสลับมา
     
  3. person

    person Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +69
    ใช่ครับผมก็คิดว่าควรจะฝึกแยกสายกันครับ(ตอนไปฝึกเค้าก็บอกว่าให้เลือกฝึกสายใดสายหนึ่ง)แต่ไปมาๆ วิธีมันตีกันน่ะครับก็เลยงงๆจัดลำดับไม่ถูก

    แล้วก็เมื่อไปอ่านหาข้อมูลดูอีกรอบอาการผมบอกมันคล้ายๆกับฌาน 4 เลยที่จะมันรู้สึกเหมือนไล่ขึ้นไปข้างบนเรื่อยๆแล้วรู้สึกว่างเปล่า ลมหายใจจะรู้สึกเบาบางกว่าตอนแรก <<พอถึงตอนแหละครับที่ไม่รู้ควรทำไงต่อดี

    ถ้าผมจำไม่ผิดตอนไปฝึกมโนมยิทธิเค้าบอกว่าฌาน มันสูงกว่า อุปจารสมาธิซึ่งมโนมยิทธิใช้ขั้นนี้ ถ้าสูงไปก็ใช้ไม่ได้ไม่เกิดทิพจักษุญาณ ถ้าจะลดขั้นลงนี่ต้องทำยังไงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2011
  4. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    จะกี่สายก็แล้วแต่ เรียนไปเถอะ ไม่ต้องไปแบ่งแยก หากเราวางใจแบ่งแยก
    เราก็จะเผลอ สร้างกรรมวาจากล่าวแบ่งแยกกรรมฐาน หากเป็นพระ ก็เท่ากับแบ่ง
    แยกปฏิปทา แยกชินจักร เสร็จกัน ทำสังฆาเพศ

    ดังนั้น ฟังกรรมฐานสายไหนมา เราอย่าไปแยก แต่ให้ มองหา จุดร่วม จุดที่
    ต้องมาเหมือนกันให้เจอ ซึ่งรวมที่ไหน ก็รวมลงที่ "ใจ" หา "ใจ" เจอมัน
    ก็เจอฐานจิต หาฐานจิตเจอ มันจะออกเป็นสายไหน มันก็ออกมาจาก จิต
    เดียวกัน นี่เห็นไหม ไม่มีสายหลอก หากเจอ จริงจิตจริงใจ ในการปฏิบัติ

    * * * *

    ที่นี้ มาดูตัวนี้กัน "ไม่รู้ควรทำไงต่อดี"

    ไปสังเกต คำๆนี้นะ หากมันปรากฏ แปลว่า ก่อนหน้านั้น เราเผลอส่งจิตไปคิด แล้ว
    เราเอาความคิดนั้นจินตนาการไป แต่ความที่ความคิดมันเป็นการส่งออกจากฐาน
    ของจิต เป็นขันธ์5 ขันธ์5มันเลย หาทางไปต่อไม่ได้ มันอึ๊ก มันหมด

    นี่ดูลงไปเลย ว่า ขันธ์5 มาพาเราพ้นทุกข์ไม่ได้ ดูไปเรื่อยๆ แบบนี้ก่อน จนกว่าจิต
    จะจดจำ หรือ ระลึกการเห็น สภาวะธรรม "ไม่รู้ควรทำไงต่อดี" ได้ พอมันจะเข้า
    ไปอีก มันจะสวนกระแสเข้ามา แล้วเราจะทันตอนที่ จิตไหลไปคิด ส่งออกไปใช้
    ขันธ์5เป็นตน แล้ว เราจะเจอ ฐานของจิต หรือ หาใจเจอ หรือ เจอฐีติจิต

    เจอเมื่อไหร่ มันก็ไม่มีสาย ทำสายไหนมาเจอตรงจุดรวม มันก็ไม่ไปเผลอสร้างกรรม
    วาจาว่าสายนั้นไม่ถึง สายยนี้ไม่ไว สายนั้นไม่ดี

    มันอยู่ที่เราฝึก หรือไม่ฝึก ให้มากๆ ต่างหาก <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. person

    person Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +69
    ขอบคุณครับ คุณบุคคลทั่วไป 3 คน
    ก็คือพิจารณาขันธ์ 5 ต่อไปเรื่อยๆใช่ไหมครับ จนกว่าจะเจอฐานเอง
     
  6. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ไปลองปฏิบัติดูก่อน

    ถามมาก มันจะเผลอไป พอกพูลกำลังให้กับ อนุสัยในการส่งออก "ไม่รู้ควรทำไงต่อดี" เข้า

    "ไม่รู้ควรทำไงต่อดี" พุงกางพอดี

    ลองดูเนาะ สู้สู้ เวลามันจะเจอของดี มันจะยากส์ อย่าพึ่งหนีหละ พุทโธๆ ไป จับภาพ
    พระด้วยจะได้มีกำลังใจ เนาะ
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ตอบได้ดีมากครับ...โมทนาสาธุธรรมนะ
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ส่วนอื่นหลายท่านได้แนะนำไปแล้ว...ผม จะแนะนำในส่วนนี้แล้วกันนะครับ....

    อาการปิติ จะเกิดขึ้นได้เมื่อจิตอยู่ในอุปจารสมาธินะครับ....ขอให้ท่านได้มั่นใจไว้ว่าอาการที่ท่านทรงอยู่ ณ. ตอนนั้นคือ อุปจารสมาธิแล้ว....

    กรรมฐานในส่วนของทิพยจักษุญาณนั้น ในเริ่มแรกท่านต้องจับอานา(พอเป็นพื้น กรรมฐานวิธีการแบบเตวิชโช วิธีการไม่ค่อยเหมือนกับสุขวิปัสโก) พ่วงกับกสิณ คือ การทรงภาพพระ(ต้องได้เป็น ฌาน คือ ชิน) . ต้องบอกว่าหากท่านฝึกมโนมยิทธินี้ การทรงภาพพระมีความจำเป็นอย่างมากเลยทีเดียวนะครับ....และอีกข้อคือ ศีล ต้อง ดี นะครับ..

    และการทรงกำลังใจในการฝึก....เรื่องนี้บรรยายได้ยากนะครับ....ยากที่จะเข้าใจสำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกมา.....

    เอาเป็นว่าหากท่านต้องการไปฝึกอีกครั้งนั้น...พยายามฝึกทรงภาพพระไว้ดีๆ...พิจารณากายให้เข้าใจในพระไตรลักษณ์บ้าง....

    การทรงภาพพระนั้นให้ทรงอย่างเป็นปกติ นึกเมื่อไรให้ได้...แม้ว่าจะทำงานอะไรก็ตาม หรือออกกำลังกายก็ตาม นึกแล้วต้องทรงได้จนชิน...(กรรมฐานที่เราจะเน้น คือในด้านของกสิณ ไม่ใช่ด้านของ อานา)

    ทรงกำลังใจในการปฏิบัติพระกรรมฐานแบบสบายๆนะครับ...ไม่ต้องไปอยากรู้ อยากเห็นอะไร....ในระหว่างนี้....ฝึกทรงภาพพระ และวิปัสสนาญาณ ให้คล่องก่อน....คราวต่อไป ไปฝึก ก็ให้ทรงกำลังใจสบายไว้อย่างเดียว เปิดหัวให้โลง ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง ไปให้มากที่สุด..จับภาพพระให้ดี....ให้เรียนอย่างคนโง่นะครับ....กรรมฐานแบบหลวงพ่อปานต้องเรียนแบบโง่ๆ....ถ้าฉลาดไปก่อนนี่รับรองว่า ไม่ได้แน่ๆ ครับ.....

    เอาเป็นว่า เป็นกำลังใจให้ปฏิบัตินะครับ...

    บทสวดมนต์ที่ถามนั้น ผมแนะนำ บทสมาทานพระกรรมฐาน เพิ่มเติมนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2011
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อาการปิติเป็นอาการที่ถามกันมาก.....ซึ่งผู้ปฏิบัติมักจะข้องใจเมื่อเกิดอาการนี้....
    <O:p</O:p
    <TABLE style="WIDTH: 45%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="45%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #f0f0f0; BORDER-LEFT: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f0f0f0; BORDER-RIGHT: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">
    อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ<O:p</O:p

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <O:p</O:p
    อาการของอุปจารสมาธิคือปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์
    จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยมไม่เคยพบความสุข
    อย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิตตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุข
    ร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการ
    ทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ
    ๑.อาการขนลุกซู่ซ่าเมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์
    ใจเป็นสุขขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจเมื่อสมาธิ
    สูงขึ้นหรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเองอาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควร
    ภูมิใจว่าเราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย
    ๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ได้แก่อาการน้ำตาไหล
    ๓.อาการของปีติขั้นที่ ๓คือร่างกายโยกโคลงโยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง
    บางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น
    ๔.อาการของปีติขั้นที่ ๔ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศแต่ผลของการปฏิบัติ
    ไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศเมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิ
    คลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง(อย่าตกใจ)
    ๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕คือมีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออก
    ในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้นหน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกายในที่สุด
    ก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว
    อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้นนักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจ
    เป็นสำคัญอย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นพอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัว
    ไปเองปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุขคือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็
    เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน

    <O:p</O:p**************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p
     
  10. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    สิ่งที่คุณต้องเฝ้าดู ก็คือ ความคิดที่เกิดขึ้นกับคุณครับ

    วิชชาทุกสายก็มาจากจุดเดียวกัน ไม่ว่าจะสอนในรูปแบบไหนก็เน้นหนักลงไปที่จิตทั้งนั้นครับ

    การที่กังวลจนเกินไปก็จะทำให้เกิดความลังเลในการปฏิบัติ ไม่มีความมั่นใจว่าทางไหนถูกจนทำไปแบบครึ่งๆกลางๆ และนี่แหละครับจะทำให้ปฏิบัติช้าลงไปครับ

    ส่วนอาการที่ดึงออกไปข้างบนนั้นเป็นผลมาจากปิติเช่นกันครับ อาการตัวเบาและรู้สึกว่าลอยขึ้นข้างบน หรือ รู้สึกเหมือนถูกดึงขึ้นไปข้างบน ในขณะที่รู้สึกเช่นนี้คำบริกรรมจะเลือนหายไป เพราะจะเฝ้ามองอาการดังที่กล่าวมากกว่าครับ

    สิ่งที่คุณกำลังเข้าใจว่าเป็นอารมณ์เดียวนั้นยังไม่ใช่ครับ อารมณ์เดียวจะไม่มีความรู้สึกครับ เพราะกายกับจิตนั้นแยกจากกันในชั่วขณะครับ พอออกจากสมาธิจิตกับกายก็จะกลับมารวมกันเหมือนเดิมครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  11. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ถ้าอยากเจอฐานของจิต ก็ต้องสังเกตจิตดูครับ
    ว่าตรงไหนที่เวลาจิตเป็นกุศลแล้วรู้สึกชัดที่สุด ให้ฐานตรงนั้นเป็นฐานของจิต
    เมื่อเจอฐานของจิต ก็ส่งจิตเข้าไปในฐาน ไม่ออกนอก ไม่ซัดส่าย ไม่พล่านหาอารมณ์ภายนอก
    แล้วต่อจากจะเป็นจิตที่ฝึกได้แล้วครับ จิตที่ควรกับงานสมถวิปัสสนาแล้ว... สาธุ
     
  12. fapatan

    fapatan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    145
    ค่าพลัง:
    +134
    ก่อนอื่นต้อง ขออนุโมทนา ก่อนครับ...เพราะสิ่งที่คุณกระทำอยู่เป็นสิ่งที่ดีแล้ว ควรแล้ว เหมาะสมแล้วครับ


    ..และก็ขอติงท่านทั้งหลายที่ให้คำแนะนำด้วยครับ(บางท่าน)การที่ท่านจะแนะนำผู้อื่นได้ท่านต้องลงมือปฏิบัติจริง รู้แจ้ง เห็นจริง จึงค่อยเอามาแนะนำผู้อื่น ไม่ไช่ว่าจำจากตำรา จำจากผู้อื่นมา แล้วเอามาแนะนำผู้อื่น ถ้าถูกมันก็ดีไป ถ้าผิดมันจะกลายเป็นบาปครับ...(อย่าลืมว่ากัมมัฏฐานนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด พระอริยะเจ้าทั้งหลายบรรลุธรรมด้วยกัมมัฏฐานทั้งสิ้น ไม่ใช่ของเล่น)

    สำหรับคำแนะนำของผมคือ จะเกิดอาการอย่างไรไม่ต้องสนใจครับ..แค่ตามรู้ดูอาการของจิตด้วยสติตลอดเวลาเท่านั้นพอครับ...รับรองความก้าวหน้าได้เลยครับ

    อันนี้แนะนำจากประสบการณ์จริงครับ..แต่ถ้าหากยังดูไม่น่าเชื่อถือ ก็จะขอยกปฏิปทาของพ่อแม่ครูอาจารย์สายกัมมัฏฐาน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในสมัยที่ท่านเริ่มปฏิบัติใหม่ๆโดยใช้อานาปานสติก็ไม่เกิดความก้าวหน้าเท่าที่ควร ท่านจึงเปลี่ยนวิธีปฏิบัติมาเป็นการตามรู้อาการของจิตด้วยสติ ตามดูตามรู้เหมือนดั่งมารดาเฝ้าดูบุตรที่ยังเยาว์วิ่งเล่นไปมา มีสติติดตามรู้ตลอดกาลตลอดเวลา จนในที่สุดจากการติดตามรู้ก็กลับกลายเป็นการรู้เท่าทัน เมื่อดวงจิตถูกรู้เท่าทันมันก็ส่ายไปใหนไม่ได้จึงนิ่งสงบอยู่อย่างนั้น เมื่อเวลาอารมณ์มากระทบดวงจิตดวงจิตมันหวั่นไหวไปตามอารมณ์อย่างไรก็รู้หมด เรียกว่ารู้เท่าทันอารมณ์ ท่านจึงได้ค้นพบว่านี่เองคือวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง วิธีเก่ามันสงบอย่างเดียวไม่มีความก้าวหน้า วิธีนี้นอกจากสงบระงับแล้วยังเกิดปัญญา ซึ่งต่อมาท่านก็ทราบว่าวิธีปฏิบัตินี้ก็คือวิปัสนากัมมัฏฐานนั่นเอง ท่านจึงมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติบรรลุคุณธรรมขั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ผู้เป็นอาจารย์ของท่านก็ยังไม่ทราบวิธีปฏิบัตินี้ ต่อมาท่านจึงได้แนะนำวิธีปฏิบัตินี้แก่หลวงปู่เสาร์ จนท่านได้บรลุคุณธรรมขั้นสูงเช่นกัน เพราะเหตุนี้เอง ท่านหลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโณ ท่านจึงเคยกล่าวว่า ระหว่างหลวงปู่เสาร์ กับ หลวงปู่มั่น ไม่รู้ใครเป็นอาจารย์ใคร หลวงปู่เสาร์สอนสมถให้กับหลวงปู่มั่น แต่หลวงปู่มั่นสอนวิปัสนาให้กับหลวงปู่เสาร์ ท่านจึงต่างก็เป็นอาจารย์ของกันและกัน....

    นี่แหล่ะครับวิธีปฏิบัติที่ผมแนะนำให้ ลองปฏิบัติดูครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2011
  13. bennynaja

    bennynaja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +104
    ศึกษาตามพุทธวจนะของพระพุทธองค์ดีที่สุดแล้วคะ ^^ การปฏิบัติแบบแปลกๆมาเกิดขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้า ทำให้คนมักสับสนว่าแบบไหนถูกกันแน่ โดยเฉพาะผู้ปฎิบัติเบื้องต้น
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อาการของ รูปฌาน ๔ นั้น เมื่อจิตคุณดำเนินเข้าถึงแล้ว จะไม่มีคำถามว่าจะต้องดำเนินอย่างไรต่อไปนะครับ....เพราะในนั้นมันไม่ได้มีความรู้สึกนึกคิดว่าต้องต่อ....ถ้าคุณยังมีความคิดอยู่นั้น ไม่ว่าจะคิดหาทางต่ออย่างไรก็ตามให้คุณมั่นใจได้ว่า ยังไม่ก้าวถึงรูปฌาน ๔ อย่างแน่นอนครับ....

    รูปฌาน ๔ มี เอกัคคตา และ อุเบกขา เป็นอารมณ์นะครับ....สติสมาธิตั้งมั่นเด่นดวง...ไม่รับรู้อาการแห่งกาย นะครับ.....ไปสอบอารมณ์ใหม่ ไม่ได้วัดแต่ว่าลมหายใจมันดับเท่านั้นนะครับ....

    ส่วน มโนมยิทธิ ที่แนะนำที่บ้านสายลมนั้น ถูกต้องตามอาจารย์ท่านสอนหละครับ...คือต้องใช้สมาธิขั้น อุปจารสมาธิ ครับ.....วิธีการถอยนั้นไม่ได้ยากอะไรนะ....ไปทำตามที่ผมแนะนำไว้ข้างบนก่อนหน้านี้...พอไปถึงวางใจให้สบาย ทำตามที่ครูฝึกท่านแนะนำเท่านั้นเป็นพอ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2011
  15. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    คลิกที่ไฟล์ โหลดได้เลยครับ นำมาฝาก จขกท. ย่อมาจาก เจ้าของกระทู้

    ไว้ฟัง เวลานั่งสมาธิก่อนนอนครับ หรือ เวลาว่างๆ


    หากคุณ จิตตินน มาอ่าน จะโหลดไปฟังด้วยก็ดีครับ

    ใครจะโหลดก็เชิญเลยครับ นิพพานครับนิพพาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 13.mp3
      ขนาดไฟล์:
      13.3 MB
      เปิดดู:
      52
  16. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    โมทนาสาธุครับ ถูกต้องครับ...
     
  17. person

    person Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +69
    อนุโมทนาสาธุ กับทุกๆท่านที่ช่วยตอบครับ

    ตกลงว่าพอตอนที่เกิดอาการอย่างบอกให้พิจาณาขันธ์5 หรือให้ดูความคิดตอนนั้นว่าคิดอะไรอยู่กันแน่ครับ
     
  18. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    การปฏิบัตินั้น เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องศึกษาปริยัติมาก่อนนะ เพื่อที่จะให้รู้ว่าการปฏิบัตินั้นต้องปฏิบัติอย่างไร...

    ในด้านของการปฏิบัติ เราก็ต้องปฏิบัติ ให้เกิดผล

    ความสงสัยนั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมี แต่เมื่อใดก็ตามที่เราปฏิบัติมาควรที่จะวางเสีย เพราะความสงสัยนั้นเป็นนิวรณ์ธรรมตัวสำคัญ ตัวหนึ่ง ที่จะทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า

    ปฏิบัติไปให้มาก จับหลักมันให้ได้....ไม่นานก็จะดีเองครับ....

    ความสงสัยด้านการปฏิบัตินั้น จริงแล้วไม่ได้แก้ด้วยการสอบถามแล้วรับรู้ ความสงสัยด้านการปฏิบัตินั้น จริงแล้วต้องแก้ด้วยการปฏิบัติให้รู้ให้เห็นผลด้วยตัวของตัวเอง...

    เป็นกำลังใจให้ปฏิบัติต่อไปนะครับ....หาคำตอบให้ได้ด้วยตนเองนะ....
     
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เกิดอาการนั้นอยู่ ถ้าท่านต้องการความสงบแห่งจิตนั้น ยังไม่มีความจำเป็นต้องพิจารณาขันธ์ ๕ เพราะจิตยังไม่ควรแก่การงานแก่การพิจารณาธรรม

    เพราะการพิจารณาธรรม คือการใช้ความคิด เมื่อจิตไม่ควรแก่การงาน มันจะฟุ้งซ่าน....

    วิธีการถ้าคุณฝึกกรรมฐานด้านอานา สมมุติว่าคุณจะฝึกอานา ให้คุณยึดกรรมฐานกองนี้ไปเลย เมื่อมีอาการใดสถาวะธรรมใดก็ตามที่ผ่านเข้ามา ให้จิตคุณนั้นทรงอยู่ในกรรมฐานที่คุณปฏิบัติอยู่ ก็คือ ให้สติรู้อยู่ในลมหายใจเข้าออกต่อไป....ไม่ต้องไปสนใจสถาวะนั้น....ไม่นานสมาธิเลยผ่านละเอียดขึ้น อาการทั้งหลายเหล่านั้น ก็จะหายไปเอง....
     
  20. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เรียนกรรมฐานหลายกอง แล้วยังทำไม่ได้ดีสักกองนี่มันสับสนดีแท้นะ....

    ไปหาเอาอันใดอันหนึ่งให้มันแน่นอนนะคุณ ลองค้นหาตัวเองดูว่าจะเอาอะไรกันแน่นะ...

    ไม่ใช่ว่าใครบอกว่าดีคุณก็จับเอา จับเอา ลืมอันเก่า จับอันใหม่ อยู่อย่างนี้ การปฏิบัติจะไม่ก้าวหน้า...ลองหาอันใดที่เหมาะสมกับตนสักอัน แล้วยอมตายกับมัน อันนั้นหละ คุณจะสำเร็จ....กรรมฐานพระพุทธเจ้าสอนไว้ให้แต่ละคนนั้นตั้ง ๔๐ กอง แต่ละคนก็ใช่ว่าจะรู้ทั้งหมดทั้ง ๔๐ กอง รวมทั้งกรรมฐานที่มีอยู่ในสติปัฏฐานสูตรอีก แม้ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่สอนกันอยู่ความถนัดแต่ละท่านก็แตกต่างกัน ดีของเขาไม่ดีของเราก็มีนะ....

    ในนี้ก็มีคนที่ฝึกปฏิบัติมาหลายด้าน ประสบการณ์แต่ละคนนั้นก็ไม่เหมือนกันนะ...คุณลองไปหาหลักของตนเองดูก่อนนะ....ไม่ใช่จับเอาทั้งหมด...ถ้าอย่างนั้น ยากนาน...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...