จะแก้วิปัสสนูปกิเลสของผมอย่างไรดีครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Tiger Dear's, 13 กรกฎาคม 2011.

  1. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    คือหลังจากผมปฏิบัติมาระยะนึงแต่เรื่องมันเกิดขึ้นมานานแล้วครับ ตั้งแต่สมัยยังเป็นภิกษุ ตอนนี้ลาสิกขามา 2 ปี แล้วยังไม่หาย อาการเป็นอย่างนี้ครับ เมื่อเวลาสวดมนต์ นั้งสมาธิ หรือระลึกถึงพระพุทธเจ้า จะมีจิตดวงนึงมาบริภาษพระพุทธองค์ทันที ไม่ว่าจะฝืนหรือห้ามปรามอย่างไรก็ไม่หยุด นอกจากจะออกจากสมาธิ เลิกสวดมนต์ และหยุดระลึกถึงพระพุทธองค์ แต่ก็ได้เห็นธรรมะข้อนึงว่าจิตนี้ไม่เที่ยง ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เป็นอนัตตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กรกฎาคม 2011
  2. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง
    มิจฉาสมาธิ มีเหตุให้เกิดขึ้นจาก มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดเข้าใจผิดจากความเป็นจริง มีตัณหาคือความอยากเป็นต้นเหตุที่สำคัญ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจึงเกิดภาพหลอกที่เรียกว่านิมิต นิมิตนี้เองจึงเป็นกลลวงของกิเลสสังขาร ผู้ไม่มีปัญญาจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของจริง มีความดีใจ พอใจในนิมิตนั้น ๆ จนลืมตัวจึงเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของดี มีความฝักใฝ่พอใจในนิมิตจนจิตเกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว นี้ก็เพราะไม่มีปัญญารอบรู้ในวิธีทำสมาธิที่ถูกต้องนั่นเอง จึงทำให้จิตเกิดวิปลาสเหม่อลอย ไม่มีสติควบคุมจิตของตัวเองได้เลย ที่เรียกว่ากรรมฐานแตกเป็นบ้านไปก็เป็นในลักษณะนี้ก็เพราะทำสมาธิไม่มีปัญญาเป็นองค์ประกอบรอบรู้เอาไว้ ถ้าทำสมาธิมีความจริงจังมากเท่าไรก็จะเพิ่มวิปลาสมากขึ้นเท่านั้น สติปัญญาไม่มี อาการของวิปัสสนูปกิเลสก็เริ่มปรากฏตัวขึ้นที่ใจ ดังจะได้อธิบายเรื่องของวิปัสสนูปกิเลสที่เกิดขึ้นจากมิจฉาสมาธิ ที่มีความสงบอย่างผิด ๆ ให้ผู้ทำสมาธิรับรู้เอาไว้ เพื่อจะได้ข้อคิดสังเกตดูตัวเองว่า เมื่อทำสมาธิไปแล้วมีผลเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ถ้าผิดไปก็จะได้แก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์
    • โอภาส เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิแล้วจะเกิดความสว่างในทางใจ ความสว่างนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เมื่อความสว่างนี้เกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อไร ให้รีบไปหาครูอาจารย์ช่วยแนะวิธีแก้ไข ครูอาจารย์นั้นต้องมีความรอบรู้ในวิธีทำสมาธิเป็นอย่างดี จึงจะช่วยแก้ไขให้ได้ ถ้าครูอาจารย์ไม่มีความรู้ในทางนี้ ก็จะส่งเสริมตอกย้ำให้ทำในวิธีนี้ต่อไป ผู้ได้รับผลที่ผิด ๆ ก็ตกอยู่กับผู้ทำสมาธิเอง
    • ปีติ ผู้ทำสมาธิจะมีความเอิบอิ่มใจเป็นอย่างมากมีความเบิกบานใจอยู่ตลอดเวลา จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในอิริยาบถไหนใจจะมีความเอิบอิ่มอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน ในช่วงนั้นมีแต่เฝ้าดูจิตที่มีความเอิบอิ่มอยู่เป็นนิจ ความคิดทางสติปัญญาจะพิจารณาในเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็หมดสภาพไป ใจมีแต่ความเพลิดเพลินอยู่กับปีตินั้น ๆ
    • ปัสสัทธิ ความสงบใจที่เป็นผลจากการทำสมาธิจะมีความสงบเป็นอย่างมาก จะมีความแน่วแน่มั่นคงอย่างแนบแน่นทีเดียว ใจไม่คิดวอกแวกแส่ส่ายไปตามอารมณ์แต่อย่างใด จะเป็นอารมณ์แห่งความรักหรืออารมณ์แห่งความชัง เนื่องจากสาเหตุอันใดก็ตามไม่มีความอยากคิดในเรื่องอะไรทั้งนั้น จะยืนเดินนั่งนอนอยู่ในที่ไหนมีแต่ความสงบใจอยู่ตลอดเวลา นี้ก็เป็นโมหสมาธิหลงอยู่ในความสุขจนลืมตัว ไม่อยากคิดพิจารณาให้เป็นไปในการเจริญทางสติปัญญาแต่อย่างใด เพราะกลัวว่าใจจะเกิดความฟุ้งซ่าน มีแต่ใช้สติระลึกรู้อยู่ในอารมณ์แห่งความสงบนั้น ๆ จึงเป็นสมาธิที่โง่เขลาหาความฉลาดไม่ได้เลย
    • สุขะ เมื่อจิตมีความสงบดีแล้วย่อมเกิดความสุขภายในใจเป็นอย่างมาก จะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในที่ไหนใจจะมีแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา ถือว่าใจมีความสุขแล้ว อยากให้ความสุขนี้อยู่เป็นคู่ของใจตลอดไปไม่อยากให้เสื่อมคลาย นี้เองผู้ปฏิบัติในยุคนี้จึงมีความต้องการภาวนาหาความสุขใจเพียงเท่านั้น ที่สอนกันว่าทำสมาธิเพื่อให้เกิดความสุขภายในใจถ้าปัญญาไม่มีก็จะหลงความสุขได้
    • ญาณะ เมื่อจิตมีความสงบเป็นสมาธิได้แล้วย่อมมีความรู้เกิดขึ้น ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้เองจะทำให้เกิดความหลงผิดไปได้ง่าย จะตีความหมายไปว่าปัญญาญาณได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้เรื่องอะไรอยากรู้ในธรรมหมวดไหนก็กำหนดถามลงไปที่ใจ ก็จะมีความรู้ตอบขึ้นมาในหมวดธรรมนั้น ๆ จะเข้าใจไปว่าคุณธรรมได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว อยากรู้ว่าเราอยู่ในคุณธรรมระดับไหน ก็จะมีความรู้บอกขึ้นมาว่า เป้ฯคุณธรรมของพระอริยโสดาบันบ้าง เป็นคุณธรรมของพระสกิทาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอนาคามีบ้าง เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์บ้างจึงได้เกิดความเชี่อมั่นในความรู้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นจริงที่ฝังใจอย่างสนิททีเดียว ใครจะมาว่ามีความสำคัญผิด ก็จะยืนยันว่าเรามีญาณรู้ที่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าจริง ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงยากที่จะแก้ไข
    • อธิโมกข์ น้อมใจเชื่อว่าเป็นของจริงอย่างฝังใจทีเดียว เข้าใจว่าเรามีดวงตาเห็นธรรม ก็เพราะมีญาณรู้ที่เกิดขึ้นจากสมาธิความสงบเป็นต้นเหตุนั่นเอง มีความเชื่อมั่นในความรู้ของตัวเองสูงมากให้ความสำคัญตัวเองว่า พุทโธ รู้ตื่นเบิกบานได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วถ้ามีอภิญญาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก็จะเกิดความเชื่อมั่นเพิ่มทิฏฐิมานะอัตตาจนลืมตัว ถ้าพระเป็นในลักษณะนี้ก็จะได้รับพยากรณ์จากลูกศิษย์ว่า อาจารย์ของเราได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทันที
    • ปัคคาหะ มีความเพียรที่เข้มแข็งเป็นอย่างมาก ความเพียรนั้นจะมุ่งทำสมาธิให้จิตมีความสงบเพียงอย่างเดียว จะไปที่ไหนอยู่ในที่ใดจะปรารภความเพียรทำสมาธิอยู่เสมอ จะอยู่เฉพาะตัวหรือในสังคมใดจะอยู่ในความสำรวมผิดปกติ จะอยู่แบบนิ่งเฉยไม่อยากจะพูดคุยกับใคร ๆ ผู้ที่ไม่เข้าใจก็คิดว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก หรือลืมตาก็จะอยู่ในท่าเงียบขรึมซึมเซ่อเหม่อลอย ไม่ชอบอยู่ในสังคมอยากจะอยู่เป็นเอกเทศเฉพาะตัว ไม่มีความฉลาดรอบรู้ในทางปัญญาแต่อย่างใด จึงเรียกว่า มิจฉาวายานะ เป็นความผิดไม่ถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด
    • อุปัฏฐาน มีสติระลึกรู้ในอารมณ์ภายในใจได้ดีมาก แต่เป็นเพียงสติสมาธิเท่านั้น ส่วนสติปัญญาจะไม่มีกับผู้เป็นในลักษณะนี้แต่อย่างใด ถ้าอารมณ์ของใจเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยอย่างไร ก็จะมีสติระลึกรู้ไปตามอารมณ์ประเภทนั้น ๆ ไม่ชอบพิจารณาในทางสติปัญญาแต่อย่างใด ไม่สนใจพิจารณาในเรื่องที่เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ถึงจะพูดธรรมะได้ก็พูดไปตามตำราที่ได้ศึกษามาเท่านั้น จึงเรียกว่า มิจฉาสติ ระลึกรู้ในสิ่งใด จะไม่เป็นไปในความถูกต้องชอบธรรมแต่อย่างใด
    • อุเบกขา ความวางเฉยในทางใจได้ดีมาก ใจไม่รับในอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ อะไรที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นสิ่งที่จะให้เกิดความรักความชัง ใจจะวางเฉยอยู่ตลอดเวลาเมื่อใจลงสู่อุเบกขาความวางเฉยที่มั่นคงแล้ว จะไม่ทำให้เกิดความรู้สึกในอารมณ์ ไม่มีความเอาใจใส่ในสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อเป็นอย่างนี้จะทำสมาธิได้ง่าย แต่ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งใจมั่นผิดต่อไป จึงยากที่จะแก้ไขหรือแก้ไขไม่ได้เลย
    • นิกันติ มีความยินดีพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ยอมรับผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริง มีความเชื่อ ว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานได้แน่นอน ใครจะมาว่าภาวนาผิดอย่างไรก็มีความมั่นใจในตัวเองว่าภาวนาถูกต่อไป และยังไปตำหนิผู้อื่นว่าภาวนาไม่เก่งเหมือนเรา ถึงครูอาจารย์องค์ที่มีความฉลาดรอบรู้เข้ามาช่วยเหลือก็สายไปเสียแล้ว ชีวิตได้ทุ่มเทในการทำสมาธิอย่างจริงจัง ก็มาพังเพราะวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นนี้เอง

    ผู้ทำสมาธิถ้าไม่กำจัดตัวมิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดให้หมดออกจากใจได้ เมื่อทำสมาธิเพิ่มเข้าไปกำลังใจที่เกิดจากการทำสมาธิ ก็จะไปบวกกันกับมิจฉาทิฏฐิเดิมที่มีอยู่ ก็จะเกิดเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งมั่นผิด แล้วกลายเป็นวิปัสสนูปกิเลสดังที่ได้อธิบายมาแล้ว

    ของผมในนี้ไม่มีครับไม่รู้อะไรกันแน่
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    สาเหตุที่ใจคิดปรามาส พระรัตนตรัยและครูบาอาจารย์

    ถาม : ยิ่งนับถือสิ่งใดมาก ๆ นับถือครูบาอาจารย์องค์ไหนมาก ๆ ใจบางทีมันจะแวบ อคติบ้างอะไรบ้าง

    ตอบ : นี่ ตัวนี้ชัดเลย ให้ขอขมาพระรัตนตรัยประจำ ๆ พอกำลังใจของเราถึงตรงจุดนี้มา เขารู้ว่าเราจะพ้นมือเขาแล้ว เขาจะพยายามทำทุกวิถีทางที่จะทำให้เราล่วงเกินหรือปรามาสพระรัตนตรัย ด้วยกายด้วยวาจา หรือด้วยใจ ไม่ว่าวิธีใดวิธีหนึ่ง

    บางคนภาวนาไม่ได้ เลย หลับตาลงเมื่อไร นึกถึงภาพที่ตัวเองลบหลู่ครูบาอาจารย์หรือทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็ไม่คิดจะทำอย่างนั้น มาสร้างภาพให้ปรากฏขึ้นมาชัด ๆ เลยก็มี เรา เองให้คิดเสียว่าอันนี้เป็นการชักนำจากสิ่งภายนอก ด้วยอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรมเขาชักนำให้เป็นไป ไม่ใช่ความผิดของเรา

    แต่ ถึงไม่ใช่ความผิดของเราก็เถอะ ในเมื่อเราเป็นคนคิด เป็นคนพูด เป็นคนทำ เราก็ตั้งใจที่จะขอขมา ให้ตั้งใจอย่างนี้อยู่บ่อย ๆ เจ้าพวกนี้มันทนคนหน้าด้านไม่ได้ พอถึงเวลา เราตั้งใจขอขมาบ่อย ๆ ตั้งใจทำบ่อย ๆ เขารู้ว่าเขาทำอย่างนี้อยู่ เราไม่กระเทือน เขาก็เลิก

    สนทนา กับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๔ <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2011
  4. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    สาธุ สาธุ อนุโมทนา... มารเขาคุมเห็น จำ คิด รู้ ถ้าเราถอนจากอำนาจของเขาได้ เขาก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว
     
  5. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ขออภัย..ขอตอบตรงๆนะครับ สมาธิคุณยังไม่เกิดเลย คุณยังไม่เข้าใจสภาวะจริง แต่คุณจำตำราอาการ วิปัสสนูมาเองครับ ..อย่าข้ามไปถึง "วิปัสสนูกิเลส" เลยครับ
    ขออภัยอีกครั้งที่ตอบตรงๆ..สภาวะวิปัสสนูของท่าน ถ้ามีอาการอย่างที่โพสต์นี่ไม่ใช่ร้อยเปอร์เซ็นครับ:cool:
     
  6. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    มันไม่เป็นวิปัสสนูไม่เป็นไรครับ ผมก็เป็็นครับ มันเป็นเหมือนตะกอนภายใน เป็นคล้ายๆอนุสัยกิเลส แต่ที่เข้าใจว่าเป็นอนัตตามันก็เป็นอย่างนี้จริงๆแหล่ะครับ
    ไม่ใส่ใจไม่ทุกข์ร้อนครับ มันก็จะจางหายไปบ้าง แต่บางทีก็เหมือนถูกตีตะกอนขึ้นมาใหม่ คอยตามรู้ตามดูไปเรื่อย ให้เข้าใจความไม่เที่ยง นี้มันจะค่อยๆวางคลายความยึดถือจิตว่าเป็นของดีของวิเศษไปหน่ะครับ
     
  7. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    วิปัสสนูปกิเลศมันจะเกิดเมื่อเราถึงวิปัสสนาญาณที่ 4 อุทัพพยานุปัสสนาญาณ
    มันเป็นกิเลศที่ละเอียดขึ้น ต้องสำรวจดีๆ ว่าใช่แน่หรือเปล่า
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ ย่อมเกิดขึ้นได้แก่โยคีผู้ปฏิบัติทุกคน เมื่อบรรลุถึง อุทยัพพยญาณอย่างอ่อน
    ฉะนั้น พอถึงระยะนี้ วิปัสสนาจารย์พึงคอยตักเตือนให้สติ อย่าให้โยคีหลงผิดอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสเป็นอันขาด
    ควรดุก็ต้องดุ ควรว่าก็ต้องว่า อย่าได้เกรงใจเลย ต้องมุ่งประดยชน์เบื้องหน้าของโยคีเป็นสำคัญ

    มีข้อควรทราบอีกอย่างหนึ่ง คือ วิปัสสนูกิเลส ข้อ 1 ถึง ข้อ 9 นั้นเป็นของดี มีสภาวะคล้ายๆกับโคตรภู.มรรคญาณ. ผลญาน.
    ความคล้ายๆกันจะทำให้เป็นเหตุเข้าใจผิด ต้องพิจารณาศึกษาให้รอบคอบ เพราะผู้ปฏิบัติทั้งหลายจะต้องผ่านจุดนี้ทุกคนก่อน
    ที่จะข้ามโคตรภูญานได้ เมื่อผู้ปฏิบัติพบกับวิปัสสนูกืเลส 10 นี้ก็จะไปยินดีพอใจจะไปติด

    ข้อที่ 10 คือนิกันติ ว่าที่จริงก็เปรียบเหมือนหลุมดักของนักปฏิบัติ ฉะนั้น วิปัสสนูกิเลสนี้ควรระวังให้มาก
    เหมือนว่านักปฏิบัติจะตกน้ำตายเมื่อใกล้เรือจอด จะเกิดขึ้นที่ญานที่ 4 คืออุทยัพพยญาณ
    เมื่อผ่านตรงนี้ได้ก็จะน้อมไปในญานเบื้องสูงฝ่ายเดียว คือ โคตรภูญาณ มรรคญาน ผลญาน

    ข้อสำคัญต้องให้ได้ลักษณะเห็น รูป-นาม เกิดดับเร็วๆก็เป็นอันว่าใช่ อย่างแน่นอน


    วิธีแก้การติดในอุปกิเลสและกิเลสทั้งปวง มีแต่การเจริญสติเท่านั้น ที่จะทำให้เข้าใจและเข้าถึง
    ตลอดจนรู้ในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น ขอย้ำในข้อ 10 ครับ

    ขออนุโมทนากับท่านครับ

    ขอน้อมรับความคิดเห็นที่ 7ครับ
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->bluebaby2<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4875462", true); </SCRIPT>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กรกฎาคม 2011
  9. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,461
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,011
    ขอฝากกระทู้นี้ให้คุณ ฅนรักควาย เข้ามาอ่านเเละฟังคลิปในนี้ทั้งหมดได้ครับ จะได้เข้าใจ เเละจะได้ปฎิบัติได้อย่างถูกวิธีครับ อนุโมทนาครับ

    กระทู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปรามาส ผมรวบรวมมาให้หมดเเล้วในกระทู้นี้

    http://palungjit.org/threads/กระทู้...ามาส-ผมรวบรวมมาให้หมดเเล้วในกระทู้นี้.225534/
     
  10. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288

    สวัสดีครับลุงหมานหายไปนานเลย
     
  11. pimrapat

    pimrapat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +97
    ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับกระทู้นี้ ตอนนี้รู้สึกสับสนจนไม่รู้จะทำยังไงกับชีวิตตอนนี้สว่างขึ้นอีกเยอะค่ะ
     
  12. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ผมก็เคยเป็นครับ แทบไปต่อไม่เป็นเลย
    ทั้งที่เรารักศรัทธาท่านมาก แต่มันเหมือนมีอีกใจ
    มันแว่บตำหนิท่าน บริภาทท่าน ยิ่งห้าม มันกลับยิ่งเหิม มันได้ใจ เหมือนมันยุเราขึ้นแล้ว ให้เราสนใจมันมากกว่าฐานของเราได้แล้ว แทบจะเลิกภาวนา คงเอาดีไม่ได้แล้วชีวิตนี้ ทำไมเราเลวได้อย่างนี้ นรกแน่เรา

    แต่ก็นึกถึงคำของครูบาอาจารย์ท่านว่าไว้ ได้ว่า ไม่มีเจตนา ไม่เป็นกรรม
    เอาซี เออ เอา ใครอยากคิดคิดไป ใครอยากตกนรกตกไป ไม่ใช่เรา เราไม่เจตนา เรารักศรัทธาอย่างไรก็คือเรา ที่เหลือไม่ใช่ ไม่เอา อยากว่าอย่างไรก็ว่าไป ไม่ใช่เราจริงๆ
    เค้าก็ว่าของเค้าไป ผมก็รู้อยู่อย่างเดียว จนเค้าเบาไป เบาไป เหมือนว่าเรายุไม่ขึ้น เหมือนจุดแล้วไม่ติดไม่ต่อ เขาก็เลิกของเขาไปเองในที่สุด โดยที่ผมไม่ได้ใส่ใจเลยว่าเขาจะเลิกหรือจะว่าอีกต่อไป
    ปิ๊ง ขึ้นมาเลยครับ เข้าใจบางอย่างขึ้น ภาวนาต่อได้อย่างที่ไม่เคยภาวนาได้มาก่อน

    อานิสงค์จากเหตุการณ์นี้ทำให้การภาวนาของผมเปลี่ยนไป จับหลักบางอย่างได้
    และ อาการเมารถ อาการเลือกกิน มักโกรธ มักพูด ขี้น้อยใจ เบียดเบียน เรียกร้องความสนใจ ไม่สงบ และอีกหลายอย่าง เปลี่ยนไปครับ หลังจากเหตุการณ์นั้น

    เป็นประโยชน์ ครับ เมื่อสิ่งที่เราได้รับรู้ กลายเป็นสิ่งที่เราได้เรียนรู้
    เรารักเราศรัทธา เราต้องมั่นใจในรัก ในศรัทธาของเรา

    อนุโมทนากับการต่อสู้กับสิ่งเบียดเบียนนะครับ
     
  13. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมจะขอกล่าวบ้างนะครับ

    คุณควรที่จะบริกรรมเพียงอย่างเดียวอย่าได้ใส่ใจกับสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติ เพราะสิ่งที่คุณกำลังใส่ใจนั้นเป็นไปเพียงเพราะว่าคุณไม่มีการคงมั่นของจิตใจ หรือ จะเรียว่าฟุ้งซานก็ได้ครับ เท่าที่ผมได้อ่านดู

    ความคิดที่ตำหนิติเตียน ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลมาจากความสงสัยที่มีอยู่ในตัวคุณครับ

    สรุปเป็นเพียงนิวรณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้นเองครับ ไม่ต้องไปกังวลครับ เพียงแค่คุณบริกรรมภาวนา อย่าได้หยุด จนจิตเกิดความตั้งมั่นดีแล้ว สิ่งที่เป็นอยู่ก็จะหายไปเองครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ถ้ามันเกิด สำหรับผมจะเห็นว่ามันเกิด เป็น เจตสิกปรุงแต่งจิต เป็นสัญญาอย่างนึง เป็นสังขารที่ปรุงแต่งจิตทีหลัง จะเห็นว่ามันแปลกแยก ผมจะพิจารณาตามดูสิ่งปรามาสนั้นสิ่งแปลกแยกนั้นว่าเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต เกิด และดับ โดยเร็ว และคลายความยึดว่าเป็นความคิดของเรา ตามดูทุกครั้งที่เกิด ช่วยได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...