การให้อภัยทาน(ธรรมทาน)ย่อมชนะเสียซึ่งทานทั้งปวง

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 30 กันยายน 2004.

  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,172
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ ได้ความรู้จากเว็บสโนว์และได้ข้อคิดเพิ่มขึ้นจากน้องอ้น...เพราะกำลังคิดถึงเรื่องนี้อยู่้เหมือนกันครับ
    แต่ผมยังทำไม่่ค่อยได้ครับ ถ้าเป็นเรื่องที่เขาทำกับเราโดยส่วนตัว อันนี้พอรับได้ ให้อภัยได้ แต่หากเป็นเรื่องที่คนส่วนมากหรือคนส่วนรวมต้องได้รับความเดือดร้อนเพราะการกระทำของ
    คนๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรม และไม่ถูกกฎหมาย และผมมีส่วนรับรู้รับเห็นถึงความไม่ชอบธรรมนั้น ผมก็อยู่นิ่งเฉยไม่ได้...แม้ไม่ใช่เรื่องของตนเอง แต่เพราะเป็นหัวหน้าคนเขา..ทนเห็นลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับความ
    ไม่เป็นธรรมไม่ไหว ไม่ใช่ว่าอยากเป็นคนดีอะไรหรอกครับ แต่มันทนไม่ไหวจริงๆ...

    ช่วงนี้กำลังจะทำหนังสือร้องเรียนไปยังผู้บังคับบัญชาระดับสูง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่พอดีเลยครับ.. ก็นั่งคิดๆ อยู่เหมือนกันว่า
    หากเราร้องเรียนพฤติกรรมไม่ดีของเขาไป แล้วเขาถูกลงโทษ ถูกให้ออกจากงาน หรืออาจติดคุก ถ้าศาลไม่รอลงอาญา เท่ากับว่าเรา
    ทำกรรมแก่เขา...ก็คงตามจองเวรจองกรรมกันไปอีกหลายภพหลายชาติ (แต่เราจะหนีไปพระนิพพาน..ตามได้ก็ตามไปสิ..อิ..อิ..) ่ถ้าเราไม่ทำ ..ก็ไม่มีใครทำ แล้วคนจำนวนไม่น้อยก็จะยังคงเดือดร้อน และอาจต้องสูญเสียงาน เพราะคนๆ นี้ คิดแล้วก็คงต้องทำ ต่อไป....เฮ้อ... เลยเอาเรื่องที่ทำงานมาบ่นๆ ให้ฟังซะแล้วสิ... ขอนิ๊ดดดนึงละกัน พอดีใกล้เคียงกับเรื่องของตนเองน่ะครับ..
     
  2. :-)

    :-) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +151
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780><TBODY><TR><TD class=cd16 width=620>จาคะอย่างเดียวไปนิพพานได้ไหม?



    </TD><TD class=cd16 width=80 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD class=cd16 width=620>

    วันนี้ก็จะขอนำเอาพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งครั้งหนึ่งได้พบกับพระองค์ หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงเขียนหนังสือมาถาม ทรงพิมพ์เองไม่ได้ใช้ใครเขียนมาถามว่า จาคะอย่างเดียวไปนิพพานได้ไหม อันนี้อาตมาก็ได้ถวายพระพรไปว่า จาคะอย่างเดียวไปนิพพานได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าคำว่า จาคะ แปลว่า เสียสละ ถ้าจาคะตัวนี้เรามีกำลังความรู้สึกของใจว่าต้องเสียสละ ยังไปนิพพานไม่ได้ จะไปได้ก็เพียงสวรรค์กามาวจรเท่านั้น ถ้าจาคะตัดคำว่า "เสีย" ออกเหลือแต่ "สละ" อย่างนี้มีกำลังใจเข้มแข็งยังไปนิพพานไม่ได้ ไปได้แค่พรหมโลก ถ้าจาคะกำลังใจเหลือคำว่า "ละ" คำเดียวอย่างนี้ไปนิพพานได้

    ความจริงการถวายพระพรไม่มีคำอธิบาย เพราะว่าทราบอยู่ว่าพระปรีชาสามารถ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีมากจึงถวายพระพรไปด้วยคำย่อๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าพระทัยได้ดี อาตมาไม่เคยดูถูกดูหมิ่นปัญญาของท่านว่าท่านถ้าพูดเท่านี้ท่านจะยังไม่รู้ แต่ความจริงแล้วอาตมาทราบดี ว่าปัญญาความสามารถดีกว่าอาตมามาก พระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งยากที่บุคคลภายนอกจะพึงรู้ได้โดยง่ายเพราะว่าเรื่องภายในไม่มีใครเขารู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่ปรากฏในน้ำพระทัยของพระองค์ในใจ ความรู้สึกอย่างนี้รู้กันไม่ได้แม้แต่คนใกล้ชิด นอกจากพระองค์จะทรงตรัสออกมาเท่านั้น

    แต่ทว่าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไต่ถามมามักจะทรงตรัสว่า ผมไม่รู้จะไปถามใคร เวลาถามใครๆ เขาก็นิ่งหมดเขาไม่โต้ตอบ พระองค์อื่นบางทีถามท่าน ถามคำท่านก็ตอบคำ บางทีถาม ๓ คำ ท่านก็ตอบ ๓ คำ ก็มีหลวงพ่อองค์เดียวที่โต้กันไปโต้กันมาไม่ยอมละ ถ้าอะไรเป็นเหตุเป็นผลก็ไม่ยอมลดจนกว่าเรื่องนั้นจะขาวกระจ่าง จึงได้ถวายพระพรว่า พระองค์อื่นท่านมีอัธยาศัยนิสัยดี มารยาทดี จึงไม่ต่อล้อต่อเถียง ต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขของชาติ ของประเทศ สำหรับอาตมานี้ถ้าพูดกันแบบชาวบ้านเขาเรียกกันว่า คนทะลึ่ง เป็นอันว่าอะไรก็ตามที่ถ้ายังไม่ขาวกระจ่างก็ต้องพูดกันให้รู้เรื่อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสั่งสนทนาอาตมาก็ชอบราชาศัพท์ ชอบศัพท์ภาษาลูกทุ่ง พระองค์ก็ทรงตรัสว่า ผมก็ชอบลูกทุ่งเหมือนกันขอรับ การคุยภาษาลูกทุ่งกับพระองค์จึงคุยกันได้นานพระองค์ชอบ อาตมาก็ชอบ โดยมากถ้าจะให้ใช้ราชาศัพท์ประเดี๋ยวก็เข้ารกเข้าป่าไป เพราะอะไร เพราะใช้ไม่เป็น เป็นพระป่าพระดง

    คำว่า จาคะ ตัวนี้ถ้าเป็นกรรมฐานเรียกว่า จาคานุสสติกรรมฐาน แปลว่า นึกถึงทานการบริจาค ในการที่จะสงเคราะห์บุคคลอื่นให้เป็นสุขไว้เสมอ จิตใจนึกอย่างเดียวว่าเราจะเป็นผู้ให้ จะทิ้งอารมณ์ที่นึกว่าเราจะเป็นผู้แย่งคือว่าแย่งหรือว่าโกงทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาเป็นของตน อันนี้ไม่มีในจิตใจของเรามีอารมณ์นึกอย่างเดียวว่าเราต้องการให้เท่านั้นคือให้ให้เขามีความสุข

    สำหรับอารมณ์ที่เราจะให้นี้ต้องแบ่งเป็น ๓ ขั้น ตามที่กล่าวมา

    ถ้าให้ด้วยการเสียสละ เป็นปัจจัยให้เกิดบนสวรรค์ หรือว่าถ้าจะว่ากันยังไม่ตาย ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความรักแก่บุคคลผู้รับ เมื่อเรามีความรักมากเราก็มีความสุขมาก ไปไหนก็มีแต่รอยยิ้มแย้มแจ่มใสมีความเคารพซึ่งกันและกัน แสดงความเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน นี่จาคะตัวต้นให้ผลปัจจุบันในชาตินี้มีความสุข ถ้าตายจากชาตินี้ไปแล้วก็ไปสวรรค์ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราว่ายังมีคำว่าเสียดายอยู่มาก เสียสละจิตใจมันยังดึงจัด ต้องใช้กำลังสูงจึงจะดึงออกได้

    ถ้ากำลังสูงยิ่งไปกว่านั้น คำว่าเสียหายไปใจคิดว่าเราสละเพื่อความสุขส่วนใหญ่ ของนี้เป็นของนอกกาย แต่เราไม่จำเป็นต้องใช้ สิ่งใดที่มันเหลือกินเหลือใช้ที่พอจะแบ่งกันได้ เราจะให้เขาด้วยความสุข จิตใจยึดอารมณ์อย่างนี้เป็นปกติจนกระทั่งอารมณ์ทรงตัว เรียกว่า ได้ฌานในจาคานุสสติกรรมฐาน เวลาให้ใจก็สบาย สละไปเสีย ของประเภทนี้ไม่หวังผลในการตอบแทน

    สำหรับข้อต้นที่เสียสละนั้นยังหวังผลในการตอบแทน เราให้เขาแล้วก็คิดว่าสักวันหนึ่งข้างหน้าถ้าเราขัดข้องเขาคงจะให้เราบ้าง อาการอย่างนี้เรียกว่า เสียสละ จิตยังดึงอยู่มากยังมีความเสียดาย กำลังใจประเภทนี้จึงชื่อว่ากำลังใจยังอ่อนอยู่ สมเด็จพระบรมครูจึงทรงตรัสว่า ยังไปนิพพานไม่ได้ ไปได้แค่สวรรค์ พรหมก็ยังไปไม่ได้

    พอขั้นที่ ๒ เข้ามาถึงจุดเรียกว่า สละ คำว่า "เสีย" หายไป คำว่า "สละ" นี่กำลังใจเข้มแข็งยิ่งขึ้น เราสละทรัพย์สินส่วนนี้เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ ไม่มีกำลังใจหวังผลจะตอบแทนแต่ประการใด ให้เพื่อเป็นการเชิดชูบำรุงความสุขแก่ท่านผู้นั้นตามกำลังที่เราจะพึงทำได้ เรามีมากให้มาก มีน้อยให้น้อย ตามที่จะให้ได้ ไม่ใช่ให้หมดตัว การที่จะให้นี้องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่า ต้องพิจารณาเสียก่อนว่าให้แล้วเราไม่เดือดร้อนจึงควรให้ ถ้าให้เขาไปแล้วเราเดือดร้อนเพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นจำเป็นจะต้องกินต้องใช้ตามกาลเวลา อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าก็ทรงตำหนิ ว่าการให้อย่างนั้นเป็นความทุกข์จัดว่า เป็นการเบียดตนเกินไป สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาไม่ทรงสรรเสริญ โปรดจำไว้ด้วยไม่ใช่สอนแต่ให้อย่างเดียว ถ้ากำลังใจทำได้อย่างนี้เป็นพรหม เพราะจิตเป็นฌาน

    ถ้าตัดตัว "ส สะ" ออกเสียเหลือแต่ "ละ" ตัวเดียว คำว่า "ละ" ตัวนี้แม้แต่ละวัตถุในอันดับแรกมันก็ละ ถ้าเราละวัตถุได้ หมายความว่าจิตไม่ติดในวัตถุ อย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ตรัสกับอาตมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ วันนั้นเป็นวันเททองหล่อรูป หลวงพ่อปาน เนื่องในงานสร้างพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่า เวลานี้จิตใจของผมไม่มีห่วงใยในวัตถุแล้วขอรับ เห็นว่าวัตถุทุกอย่างทรัพย์สินทุกอย่างที่เรารับมานี้มันเป็นมรดกตกทอดจากญาติผู้ใหญ่ แต่ว่าญาติผู้ใหญ่ที่หาไว้ให้นั้นก็ปรากฏว่าทุกท่านเวลานี้ไม่มีใครอยู่เหลือเลย ตายหมด แต่ละท่านที่ตายแล้วไม่มีใครแบกภาระคือทรัพย์สมบัติไปได้เลย ปล่อยทอดทิ้งไว้ให้คนอื่นปกครองต่อไป ที่เสียหายไปก็มาก ทรงตรัสต่อไปว่า ผมไม่ติดใจในวัตถุ ไม่เยื่อใยในวัตถุ มียังไงกินอย่างนั้น มียังไงใช้อย่างนั้น มีความต้องการอย่างเดียวถ้ามีวัตถุขึ้นมาถ้าสามารถจะแจกจ่าย หรือหาทางทะนุบำรุงบรรดาประชาชนทั้งหลายโดยทั่วหน้าให้มีความสุขได้อย่างนี้ผมพอใจ

    อารมณ์อย่างนี้เขาเรียกว่า อารมณ์ละ ไม่ติดในวัตถุ ถ้าอารมณ์ละไม่ติดในวัตถุ มีแต่ว่าเราจำจะต้องรักษามันไว้บ้าง เพราะว่าร่างกายยังมีอยู่มันยังต้องกินต้องใช้ ถ้าเสียหายไปแล้ว เราก็ไม่ห่วงใยในมัน แต่ว่าถ้าสิ่งใดอันมีอยู่รักษาด้วยดี อย่างนี้เป็นอารมณ์ใจของบุคคลผู้ละ ถ้าเราไม่ติดในวัตถุ ต่อไปกำลังใจมันก็สูงมันก็ละคือไม่ติดในขันธ์ ๕ คือร่างกาย เพราะว่าการที่จะละได้จริงๆ ในด้านวัตถุต้องเป็นคนที่ปัญญาจริงๆ ที่เขาเรียกว่า วิปัสสนาญาณ

    วิปัสสนาญาณก็คือตัวปัญญานั่นเอง มีปัญญาพิจารณารู้แจ้งตามความจริง รู้ว่าสิ่งทั้งหลายในโลกว่ามีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา และก็มีการสลายตัวไปในที่สุด ทรัพย์สินก็ดี ร่างกายก็ดี เวลาตายแล้วเราเอาไปไม่ได้สักอย่าง สิ่งที่จะได้ไปเมืองผีนั่นก็คือความชั่วกับความดี ถ้าเราดึงความชั่วไปเราก็มีความทุกข์ รับผลของความทุกข์ ถ้าเราดึงความดีไปก็รับผลคือความเป็นสุข

    เมื่อเราละวัตถุได้จิตใจคิดอย่างนี้ก็เลยละร่างกายคือขันธ์ ๕ ได้ เห็นว่าร่างกายมันแก่ก็เป็นธรรมดาของร่างกาย ร่างกายมันป่วยก็เป็นธรรมดาของร่างกาย จำจะต้องรักษาก็รักษาเพื่อระงับทุกขเวทนา ระงับไหวก็ไหว ไม่ไหวก็ตามใจในเมื่อมันจะตายก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของขันธ์ ๕ เกิดมาแล้วมันก็ต้องตาย ใจก็มีความสุข จิตไม่เกาะทั้งวัตถุ จิตไม่เกาะร่างกาย ไม่เกาะวัตถุนอกกาย ไม่เกาะทั้งกาย ไม่มีอารมณ์เกาะใดๆ ไม่เกาะอยู่ในมนุษยโลก ละมนุษยโลก จิตไม่เกาะอยู่ในเทวโลก คือมีอารมณ์ละเทวโลก จิตไม่เกาะในพรหมโลก มีอารมณ์ละพรหมโลก จิตปรารถนาอย่างเดียวคือ ความดับไม่มีเชื้อ ดับความโลภ ความโกรธ ความหลง

    ต้องการดับความโลภ ด้วยทาน การบริจาค คือ จาคะ
    ดับความโกรธ ด้วยมี เมตตา กรุณา มีความรักมีความสงสารปรารถนาในการเกื้อกูล
    ดับความหลง ด้วยการไม่ติดอยู่ในวัตถุ ไม่ติดอยู่ในร่างกาย ไม่ติดอยู่ในโลกใดใดทั้งหมด
    จิตใจของบุคคลทั้งหลายทำได้อย่างนี้ องค์สมเด็จพระมหามุนีกล่าวว่า ท่านตัดความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ ใจของบุคคลนั้นเมื่อร่างกายตายใจก็ไป นิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    จากหนังสือ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีฯ)

    ที่มา http://www.banfun.com/buddha/tana_jaka.html
     
  3. sukhawadee

    sukhawadee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +130
    ขอให้อภัยกะทุกคนที่เคยล่วงเกิน และถ้าเคยทำอารัยผิดพลาดไป ก้อขออโหสิกรรมด้วยนะค้า
    *-*
     
  4. Oatto81

    Oatto81 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +399
    อภัยทาน

    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า เหตุที่ไม่โกรธจะต้องประกอบด้วยธรรม 2 ประการ คือ พรหมวิหาร 4 และ อภัยทาน

    ถ้าจิตบุคคลใดไม่มีพรหมวิหาร ไม่มีอภัยทาน การที่จะระงับความโกรธคือโทสะจะปรากฏขึ้นมาไม่ได้ โทสะเป็นไฟประเภทหนึ่งที่เผาผลาญใจทำให้บุคคลเร่าร้อน เมื่อโทสะเกิดขึ้น องค์สมเด็จพระชินวรทรงกล่าวว่า

    1. ทำให้ปัญญาทรามลง จิตใจไม่โปร่งใส ไม่สามารถรู้เท่าทันสภาวะของกิเลส
    2. รางกายของบุคคลนั้นจะทรุดโทรมลง โทสะเป็นไฟร้ายเผาใจ เผากาย นอนไม่หลับคิดจะแก้แค้น กินข้าวไม่ได้ ร่างกายก็จะทรุดโทรม กำลังใจก็จะเศร้าหมอง ตายเมื่อไรก็จะไปอบายภูมิเมื่อนั้น

    ถ้าเราจะระงับความโกรธ ให้จิตทรงอยู่ในอำนาจของความดี 4 ประการ คือ
    1. คิดไว้ว่าคนและสัตว์ในโลกนี้เป็นที่รักของเรา ที่เขาประพฤติเลวก็เพราะเป็นทาสของตัณหา ให้อภัยแก่คนที่เป็นทาส เพราะเจ้านายคือ "ตัณหา" บังคับ
    2. เขาเป็นคนน่าสงสาร เพราะเป็นคนไม่มีอิสระในความเป็นตัวของตัวเอง เจ้านายเลวสั่งให้เขาเลวตามเขาก็ต้องเลวตามด้วย เราก็ช่วยสงเคราะห์ด้วยความเมตตาปราณี ไม่เอาโทษกับบุคคลประเภทนี้
    3. ทำอารมณ์ใจให้อ่อนโยน เมื่อเขาถูกเจ้านายบังคับขับไสให้ทำกรรมชั่วประเภทนั้นไซร้ เราก็ไม่อิจฉาริษยาเขา ไม่ซ้ำเติม
    4. เมื่อเราไม่สามารถจะระงับให้เขาดีได้ เราก็วางเฉย คือไม่ยอมรับกรรมคามชั่วที่เขาทำ ไม่ให้ความชั่วทั้งหลายมายุ่งกับใจของเรา
    ทั้ง 4 ประการนี้ ถ้าทำบ่อยๆ ในที่สุดจะกำจัดความโกรธได้ เป็น พระอนาคามี ให้คิดไว้เสมอว่า เราจะอภัยให้กับคนที่หลงผิดเสมอไป การให้อภัยนี้ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า เป็น อภัยทาน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือ

    อามิสทาน เป็นปัจจัยให้คนตัดโลภะ ความโลภเสียได้
    ธรรมทาน เป็นทานอันเลิศประเสริฐทั้งหมด
    อภัยทาน จะเป็นปัจจัยให้บรรดาท่านทั้งหลายตัดโลภะความโลภได้ด้วย และอภัยทานจะเป็นพื้นฐานให้ตัดความหลง

    องค์สมเด็จพระพุทธองค์กล่าวว่า ถ้าบุคคลใดมีอภัยทานประจำใจ บุคคลทั้งหลายเหล่านั้นก็จะได้ถึงที่สุดแห่งความทุกข์ จะได้อรหันตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาในเบื้องหน้า

    โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน จากหนังสือ "พ่อสอนลูก" หน้า303-304
     
  5. บัวหลวง

    บัวหลวง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +32
    อภัยทาน

    ขอบคุณที่ได้อ่านนะคะ ทำให้คิดได้หมดอารมณ์โกรธและคิดที่จะแก้แค้นคนที่ทำไม่ดีกับเรา ขอบคุณเทวดาฟ้าดินที่ทำให้พบคนที่ดีๆใก้เวปนี้ ขอบคุณทุกๆคนที่ให้สติ
    ทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นมากจริงๆ
     
  6. Forest_Sa

    Forest_Sa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +1,444
    ดีครับ ได้ความรู้อีกแล้ว ขอบคุณมากครับ
    ^_^เคโต้
     
  7. Forest_Sa

    Forest_Sa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +1,444
    อภัยทาน กับอโหสิเหมือนกันมั้ยนะครับ
    ถ้าอภัยทานให้เขาไปแล้วชาติหน้าเขาจะมาทำร้ายเราอีกไหมอ่ะหรือ
    ต้องอโหสิด้วย
    ขอบคุณมากครับนำพระธรรมมาบอกเล่าสู่กันฟังขอบคุณมาก
     
  8. นิรมิต

    นิรมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +171
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=549 align=center bgColor=#ffffcc border=0><TBODY><TR><TD colSpan=4>พรหมวิหาร 4

    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD colSpan=4>ความหมายของพรหมวิหาร 4
    - พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=301 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=55>เมตตา</TD><TD width=246>ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข</TD></TR><TR><TD width=55>กรุณา</TD><TD width=246>ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์</TD></TR><TR><TD width=55>มุทิตา</TD><TD width=246>ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี</TD></TR><TR><TD width=55>อุเบกขา</TD><TD width=246>การรู้จักวางเฉย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    คำอธิบายพรหมวิหาร 4
    1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
    และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น 2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
    ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
    - ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
    ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
    - ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
    3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
    4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html
     
  9. varanyo

    varanyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    925
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ขออนุโมทนา...สาธุ
    ------------------
    ศึกษาวิธีสร้างบุญบารมี...ของสมเด็จพระญาณสังวร...ได้ที่

    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=19673

    เว็บไซต์ประวัติและธรรมเทศนาหลวงปู่หลวง กตตฺปุญฺโญ พระสุปฏิปันโนสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    http://members.thai.net/varanyo/pooluang.asp
     
  10. Seel

    Seel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    260
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,604
    น่าสนใจ เราต้องทำให้ได้บ้างแล้ว
     
  11. sound

    sound Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2006
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +65
    อนุโมทนา สาธุ อ่านจากทั้งหมดแล้วก็ได้ควมรู้อีกว่าการให้ทานจะใช้พรหมวิหาร 4 ด้วยก็ได้ สาธุ[b-wai]
     
  12. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,403
    ฮ่า..... สด ๆร้อนครับ แบบว่าพึงจะถูกแทงข้างหลังมา พอได้อ่านบทความนี้แล้วรู้สึกปลงตกดีครับ เอ้า ...อโหสิเน้อ....
     
  13. ท่าข้าม

    ท่าข้าม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2006
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +2,513
    อนุโมทนาสาธุ เราให้อภัยได้ถ้าคนนั้นทำกับเราคนเดียวถึงจะมาทำกับเราซ้ำซากเราก็ให้อภัย(แต่หลังๆเริ่มฉลาดอโหสิและอธิษฐานตัดด้วยจะได้มาทำเราซ้ำซากอีกไม่ได้) แต่ถ้าคนนั้นทำความชั่วกับคนอื่นที่อ่อนแอกว่า หรือทำกับคนหมู่มาก เราไม่อยากให้อภัย แต่อยากเขาไปเบิ๊ดกระโหลกพวกชอบรังแกหรือทำให้คนอื่นเดือดร้อนมันรับไม่ได้จริงๆ
     
  14. yut2u

    yut2u เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +464
    มนุสสานัง สะหะยัง ปิโยเทวา สีหะราชา เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ
    ขอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาที่รักทั้งหลาย สัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย
    จงมามีจิตเป็นมิตรสามัคคีกับข้าพเจ้าด้วย.
    [​IMG]
     
  15. pattarawat

    pattarawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,671
    ค่าพลัง:
    +7,982
    ดีมากเลยครับ จะฝึกสม่ำเสมอนะครับ จะได้ชนะเสียที
     
  16. Darinpraiwan

    Darinpraiwan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2007
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +20
    ขออนุโมทนาด้วยค่ะ ดีใจที่ได้เจอเวปนี้อย่างไม่ตั้งใจ แรกๆก็ฟังแต่เพลงแต่พอมาหลังๆก็ลองมาอ่านดูจึงรู้ว่ามีอะไรดีๆอีกมากมายในเวปนี้ ความจริงดิฉันเป็นคนคิดมากแล้วก็ช่างจำด้วย(โดยเฉพาะเรื่องที่ไม่ดี) ทำให้เป็นทุกข์จริงๆนั่นแหละค่ะ แต่เดี๋ยวนี้ก็ยังมีบ้างแต่ก็น้อยลงค่ะ คิดว่ามันคงเป็นกรรมของเรา หัดสวดมนต์มากขึ้นทำสมาธิมากขึ้น อืม...ไม่รู้ว่ารู้สึกไปเองรึเปล่านะคะ แบบว่าชีวิตดูดีขึ้นค่ะ
     
  17. ri_thai13

    ri_thai13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    250
    ค่าพลัง:
    +2,253
    ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ กับทุกท่านที่ได้ ให้เผยแพร่ธรรมนำความรู้สู่ผู้แสวงบุญทั้งหลาย ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป หวังพระนิพพานก็ขอให้ได้ดังหวังเถิด
     
  18. รัก+ยม

    รัก+ยม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2007
    โพสต์:
    861
    ค่าพลัง:
    +3,122
    พี่วีระชัยครับ การให้อภัยนี้เป็น ขันติหรือเมตตาอะครับ
     
  19. takashina_toto

    takashina_toto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +764
    อนุโมทนาบุญ สาธุ ครับ ที่ทำให้คนๆหนึ่งได้ตาสว่างหลุดพ้นจากบ่วงมาร พ้นอบายความโกรธ แค้น อาฆาต และได้พบกับความสุขสงบในใจอันแท้จริง
     
  20. หนูแว่น

    หนูแว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    1,188
    ค่าพลัง:
    +3,207
    อนุโมทนา กระจ่างชัดขึ้นมากว่าเดิมมากเลยท่านๆ

    เมื่อไม่กี่วันมานี่เอง มีคนพูดแขวะเรา ชัดเจนทำให้เกิดอารมณ์โกรธขึ้นมา
    ตอนนั้น ควันออกหูแล้วล่ะ แต่คิดทบทวนอยู่ในใจเหมือนกัน พยายามอย่างที่สุด
    ที่จะละความโกรธ เพราะสิ่งที่เค้าส่งมาให้เรามันเป็นสิ่งไม่ดี ซึ่งเราก็พิจารณาแล้วว่าไม่ดี
    ครั้งเห็นว่าไม่ดีแล้วจะไปโต้ตอบอีกเราก็ไม่ดีเหมือนเค้า ก็พยายามข่มใจ
    คิดสงสารเค้า คิดข่มความโกรธอยู่อย่างนี้ พอกลับถึงบ้านความโกรธนั้นยังอยู่
    แต่ค่อยๆคายลง สุดท้ายก็ดับไป พิจารณาต่อไปว่า สิ่งที่เราทำนั้นถูกต้องแล้ว
    เมื่อเราไม่โต้ตอบ เด็กนั่นก็เกิดความละอายใจและไม่ ทำสิ่งนี้กับเราอีก
    รู้สึกว่าชนะตัวเอง มีความภูมิใจ และ นำประสบการณ์ครั้งนี้ไปพัฒนาตนเอง
    ให้ดีขึ้นอีก สามารถเอาชนะความโกรธให้ได้ นับได้ประเสริฐแท้แล้วจ้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...