ความอยาก,ตัณหา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฟางว่าน, 17 พฤษภาคม 2011.

  1. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เรียนถามว่า ความอยากหรือตัณหา ในการอยากเป็นพระอรหันต์หรือบรรลุธรรม จัดเป็นสมุทัยหรือไม่?, ช่วยอธิบายด้วยนะครับ
     
  2. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -ไม่จัดเป็น สมุทัย ในแบบโลกๆหรือแบบกิเลส
    -แต่เป็น สมุทัย ในทางธรรม
     
  3. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    สมุทัยกับการบรรลุธรรม

    รู้แล้วๆครับ จะจัดเป็นสมุทัยเมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราเกิดกิเลส หรือคิดไม่ถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรม แต่ถ้าความอยากเป็นพระอรหันต์นั้น เป็นไปโดยความคิดที่เป็นกุศล และตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราสำรวมหรือปกติ ก็ไม่จัดเป็นสมุทัย หากแต่เป็นธรรมะ ธรรมะก็คือทุกสิ่งทุกอย่าง หรือทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม..........
     
  4. gandaan

    gandaan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +163
    ทำไมต้องติดคำว่าสมุทัย..
     
  5. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ...เป็นความพอใจในธรรม ธรรมฉันทะ หาใช่ตัณหาไม่...
     
  6. สะพานธรรม

    สะพานธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +6

    เรียงคำถามใหม่ นะครับ ในการอยากเป็นพระอรหันต์หรือบรรลุธรรม จัดเป็นตัณหา หรือไม่

    ตอบว่าไม่เป็นตัณหา เพราะไม่เจือด้วย อกุศล คือ ราคะ
    เรี่ยกว่า ฉันทะ คือความพอใจ ครับ
    ตรงนี้ ต้องแยก ให้ได้ ว่าข้อใหนคือ ราคะ ข้อใหนคือ ฉันทะ ครับผม
     
  7. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    การปฏิบัติธรรมกับสมุทัย

    ไม่รู้จะมีคนเห็นด้วยกับผมหรือเปล่าว่า การปฏิบัติธรรมนั้นเราควรจะไม่มีความอยาก หมายถึงอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรืออยากบรรลุธรรม เช่น จิตใจจดจ่ออยู่กับความอยากเป็นพระอรหันต์ จะทำให้การหลุดพ้นไม่ก้าวหน้า เพราะผมคิดว่ามันจะกลายเป็นอนุสัยบางๆที่นอนเนื่องอยู่ที่จิตและใจนา อันจะเป็นเหตุให้เกิดสังขาร แบ่งปันจากประสบการณ์ในการภาวนา พอผมได้สติระลึกรู้ว่า ตอนนี้เรามีความอยากเป็นพระอรหันต์หนอ แล้วก้ภาวนาไปการภาวนาก้ไม่ก้าวหน้า หรือทำให้ไม่สบายใจ แต่พอละความอยากเป็นนั่นเป้นนี่ ปฏิบัติตามทางสายกลาง ไม่มีจิตคิดที่จะเป้นพระอรหันต์ ผมรู้สึกว่าการภาวนาจะก้าวหน้าไปได้ดีกว่า แล้วท่านอื่นล่ะครับ มีความเห็นอย่างไรบ้าง...ฟางว่านบางแค
     
  8. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    ขออนุญาติ จขกท.นะครับ ขอวางไว้หน่อย

    ปริญเญยยสูตร

    <CENTER>ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
    </CENTER>[๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้
    ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน?
    คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.(ขันธ์ทั้ง ๕)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน?
    (ความกำหนดรู้เพื่อ)ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้. (จึงควรกำหนดรู้ยิ่งในขันธ์ทั้ง ๕ ก็เพื่อความสิ้นไปดังกล่าว)
    [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน?
    บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว.​

    <CENTER>(พระไตรปิฎก เล่มที่๑๗/๒๘๙)

    อนึ่งการโยนิโสมนสิการในขันธ์ ๕ นี้ ไม่ใช่เป็นไปในลักษณะการท่องจำหรือไล่เรียงในขันธ์ทั้ง ๕ ได้คล่องแคล่วแม่นยำแต่ประการใด แต่ต้องการให้เกิดความเข้าใจไล่เรียงความเป็นเหตุเป็นผล หรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้นของขันธ์ทั้ง ๕ อย่างมีเหตุ มีผล อันจะทำให้เข้าใจในสภาวธรรมของชีวิตหรือธรรมหรือธรรมชาติบางประการได้แจ่มแจ้งขึ้น จึงยังประโยชน์ถึงขั้นธรรมสามัคคี เกิดปัญญาถึงขั้นหูตาสว่างได้เป็นอัศจรรย์ ถ้าประกอบด้วยความเพียรในการพิจารณาโดยแยบคายอยู่เนืองๆเป็นอเนก ไม่ย่อหย่อน, ดังมีคำกล่าวของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ที่เกี่ยวเนื่องกับขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทไว้น่าพิจารณา มีความดังนี้
    " เออ ก็ดีแล้วที่ได้ผล(ท่านกล่าวถึงเรื่อง การปฏิบัติสมาธิ) พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้ แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น มันก็ได้แค่นั้นแหละยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัด ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทาน ให้ละสุขนั้นเสียก่อน แล้วพิจารณาขันธ์ ๕ ให้แจ่มแจ้งต่อไป " (จาก "อตุโล ไม่มีใดเทียม" หน้า ๔๙๕)
    </CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...