พระโพธิสัตว์พญาช้างนาฬาคิรี(ธนปาล)พระพุทธเจ้าในอนาคต

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย อุตฺตโม, 5 ธันวาคม 2010.

  1. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ว่าด้วยพระปัญญาตอนเสวยชาติเป็นราชกุมารปัญจาวุธ

    -เรื่องวิเคราะห์คติ"ฆ่าได้แต่หยามไม่ได้"ฯ ยังไม่จบครับ แต่กำลังเรียบเรียงอยู่ครับ ผมจึง

    คิดว่าน่าจะนำชาดกมาให้อ่านต่อ ๆ เนื่องไป เพราะชาดกจะให้อะไรที่เป็นข้อคิดและน่า

    ศึกษา และนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น "วาจา"ของพระโพธิสัตว์ที่ใช้ในแต่ละเหตุการณ์เรา

    สามารถนำมาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ , "หลักการคิด" ของพระโพธิสัตว์ที่คิด

    ประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น

    -ในสมัยพุทธกาลมีภิกษุรูปหนึ่งเกียจคร้าน อาศัยการถือบวชไปวัน ๆ เท่านั้น พระพุทธองค์

    ทรงเรียกมาตักเตือน แล้วทรงระลึกชาติแต่หนหลังของพระองค์ให้ฟัง โดยยกเอา

    ชาดก"ปัญจาวุธชาดก"มาเล่าสอน ดังนี้ครับ

    -มีพระโอรสของพระราชาพระองค์หนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุธ 5 ชนิด ทรงพระนามว่า

    "ปัญจาวุธ" มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและสมบูรณ์ด้วยพละกำลังยิ่งกว่ากุมารทั้งหลาย

    -เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ได้ไปศึกษาในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ นครตักกสิลา ทรง

    มีความชำนาญในการใช้อาวุธ 5 อย่าง คือ ธนู พระขรรค์ หอกซัด กระบอง และสติ

    ปัญญาเป็นเลิศ

    -เมื่อได้สำเร็จวิชาก็กราบลาพระอาจารย์ออกจากสำนัก เดินทางหลายวันจนพบทางลัดสู่

    เมือง และได้พบกับขบวนเกวียนซึ่งนำสินค้ามาขาย นายวานิชทุกคนต่างก็ห้ามมิให้พระ

    กุมารเดินทางในป่าทางลัดนั้น โดยย้ำเตือนว่า "ไม่เคยมีใครที่เดินทางเข้าไปแล้วได้กลับ

    ออกจากป่านั้นเลย ...ท่านจงเปลี่ยนใจเสียเถอะอย่าไปให้ยักษ์ร้ายมันจับกินเลย"

    -ปัญจาวุธกุมารได้ฟังก็เอ่ยคำ "ข้าฯขอบใจพวกท่านมาก แต่ข้ามิได้หวาดหวั่นหรือกลัว

    เกรงต่อยักษ์ตนนั้นเลย"

    -พระกุมารทรงเดินทางเข้าป่าลึกนั้นและได้พบกับ "กิเลสโลม"ยักษ์ที่มีขนเหนียวดูดอาวุธ

    ได้ เมื่อยักษ์เห็นพระกุมารจึงรีบวิ่งเข้าใส่ทันที

    -พระกุมารระวังตัวอยู่แล้ว ก็ได้ใช้ลูกธนูอาบยาพิษยิงธนูเข้าใส่ แต่ลูกธนูก็ไม่อาจทำ

    อันตรายได้ กลับไปติดที่ขนแขนที่มันยกขึ้นปิด

    -พระกุมารยิงจนลูกธนูหมดก็ไม่อาจทำอันตรายยักษ์ได้ ยักษ์จึงพูดขึ้นว่า "เจ้าหนุ่มเอ๋ย

    อย่าได้พยายามเลยเจ้าจะเหนื่อยเปล่า"

    -พระกุมารชักพระขรรค์เข้าประชิดตัวยักษ์แล้วฟันลงอย่างเต็มกำลัง ชักหอกซัดเข้าใส่ยักษ์

    ใช้กระบองขึ้นหวด อาวุธทั้งหลายก็ไปติดอยู่ที่ขนยักษ์หมด

    -พระกุมารไม่ล่ะพยายามกระโดดเข้าชกต่อยยักษ์เป็นพัลวัน

    -เจ้ายักษ์อยู่ในป่าตนเดียวมานานยังไม่มีใครมาต่อสู้ด้วย จึงต่อสู้พลางไล่จับพระกุมาร

    พลาง ในที่สุดก็จับได้จึงเอ่ยขึ้นว่า "ข้าเบื่อเล่นกับเจ้าแล้วล่ะ มาให้ข้ากินเสียดี ๆ

    ข้าหิวแล้ว"

    -แต่พระกุมารเมื่อถูกจับก็ไม่มีท่าทีสะทกสะท้านหรือหวาดกลัว ซึ่งเจ้ายักษ์ไม่มีใครพบเห็น

    คนเยี่ยงนี้ พระกุมารได้เอ่ยขึ้น "รีบ กินเราเลยซี วชิราวุธในตัวเราจะได้ตัดร่างเจ้าขาดเป็น

    ส่วน ๆ ไปซะทีเจ้ายักษ์ใจบาป และเมื่อเจ้าตายไปก็ต้องตกนรกหมกไหม้เป็นร้อย ๆชาติ

    ถึงได้เกิดใหม่ก็คงเป็นยักษ์กินซากศพใช้กรรมอยู่อย่างนี้เอง"

    -คำว่า "บาปกรรม" "นรก" และ "ใช้กรรมเก่า" เป็นคำใหม่ที่ยักกิเลสโลมไม่เคยได้ยิน จึง

    สงสัยและขอให้พระกุมารปัญจาวุธแสดงให้ฟัง

    -ยักษ์ฟังธรรมอย่างสงบและเป็นครั้งแรกในชีวิตมัน จึงยอมรับพร้อมกลับใจประพฤติตนใหม่

    -พระกุมารจึงขอให้ ยักษ์รักษาศีล 5 แล้วเตือนให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

    -ชาวบ้านจึงปลอดภัยและเลิกกลัวยักษ์ที่ประพฤติตนเป็นตนใหม่และได้รักษาศีล 5 ตลอดชีวิต

    -ยักษ์กิเลสโลม ต่อมากำเนิดเป็น องคุลีมาล

    -ปัญจาวุธกุมาร เสวยพระชาติ เป็นพระพุทธเจ้า

    ข้อคิดที่ได้ สติปัญญาช่วยเราได้แม้อยู่ในที่คับขันขอเพียงอย่าล่ะความพยายามย่อมเอา

    ตัวรอดได้ครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2011
  2. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    ที่วัดยังไม่โทรมาเลยครับพี่

    สงกะสัยว่าจะลืมแล้วมั้งพี่

    อย่าลืมส่งเมลล์ให้ผมด้วยนะครับพี่
     
  3. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    โทษของความปรวนแปรของอารมณ์หญิงเป็นเสมือนกับดัก

    -ผมขอนำเสนอชาดกให้ได้ขบคิดและเรียนรู้กันไปเรื่อย ๆ ก่อนนะครับ มีคุณต่อพวกเราที่

    ได้อ่านและศึกษามากครับ

    -ในสมัยพุทธกาลมีอุบาสก ผู้หนึ่งตั้งใจประพฤติธรรมและบำเพ็ญเพียรทำบุญด้วยของ

    ปราณีตถวายแด่พระพุทธองค์และพระภิกษุเป็นประจำ ขณะที่ฟังพระพุทธองค์แสดงธรรม

    อุบาสกจะตั้งใจฟังด้วยความซาบซึ้ง

    -ตรงกันข้ามกับภริยาของเขา นางไม่สนใจพระธรรมคำสอน มิหนำซ้ำยังประพฤติคบชู้สู้

    ชายทุกครั้งที่สามีไปบำเพ็ญเพียร

    -การประพฤติผิดในกามของนางต้องหลบซ่อนไม่ให้ใครรู้ ทำให้นางพะวักพะวนและ

    อารมณ์เสียบ่นว่าพูดจากระทบสามีของนางเสมอ

    -แต่บางคราวนางอารมณ์ดีก็จะพูดจาอ่อนหวานปรนนิบัติเอาใจสามีอย่างยอดเยี่ยม

    -อุบาสกรู้สึกประหลาดใจและไม่เข้าใจจิตใจของภริยาว่า "ที่นางบึ้งตึงโกรธเขาเป็นเพราะ

    เหตใด และที่นางดีต่อเขาอย่างมากเพราะเหตุใด ทั้งที่เขาเองก็ไม่ได้ทำอะไรให้นางเป็น

    พิเศษยังคงทำตนเป็นปกติ จึงรู้สึกสงสัยยิ่งนัก"

    -อุบาสกวุ่นวายใจถึงขนาดไม่ไปเชตวันมหาวิหารเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์หลายวัน

    -วันหนึ่งออกจากบ้านไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ แล้วกราบทูลให้พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่อง

    ภรรยาของตน

    -พระพุทธองค์ตรัสว่า"ดูก่อนอุบาสกขึ้นชื่อว่าหญิงแล้ว อ่านนางได้ยากจริง ๆ ในชาติ

    ก่อนนั้น บัณฑิตทั้งหลายเคยบอกเรื่องนี้กับเธอมาแล้วแต่เธอจำไม่ได้เอง เพราะต้อง

    เวียนว่ายตายเกิดหลายภพหลายชาติ เธอจึงลืมเรื่องในทำนองนี้เสียสนิท"

    -ว่าแล้วพระพุทธองค์จึงตรัสเล่าเรื่อง"ทุราชานชาดก" ให้เข้าใจในกรรมอันเป็นธรรมดาของ

    ชีวิตดังนี้

    -ในครั้งนั้นมีเด็กหนุ่มชาวบ้านคนหนึ่งเข้ามาเรียนศิลปวิทยากับอาจารย์ทิศาปาโมกข์

    -เนื่องจากศิษย์ผู้นี้เป็นผู้มีความตั้งใจเรียนรู้ และปรนนิบัติเอาใจอาจารย์สม่ำเสมอ อาจารย์

    จึงเอ็นดูเขา

    -ไม่นานต่อมา ลูกศิษย์คนนี้ก็หายหน้าไปจากสำนักคราวละหลาย ๆวัน เมื่อสอบถามได้

    ความว่า ไปรักใคร่หลงใหลหญิงสวยชาวตลาดคนหนึ่งจนได้นางเป็นภริยาอยู่ในเมือง

    -เมื่อมีภริยาแล้ว การตั้งใจเล่าเรียนก็หย่อนไปและไม่ค่อยได้มาปรนนิบัติอาจารย์

    -และเป็นความโชคร้ายของเขาที่ได้"ภริยาเป็นหญิงเจ้าชู้" แม้สามีของนางจะหนุ่มแน่นมี

    วิชาความรู้ นางก็ยังคบชู้สู่ชาย

    -วันใดที่นางสามารถหลบเลี่ยงสามีออกไปหาชายชู้ได้ นาง"จะกลับมาด้วยอารมณ์แจ่มใส

    สดชื่น เอาอกเอาใจ ปรนนิบัติรับใช้สามีอย่างดี"

    -แต่หากวันใด"ไม่สมปารถนา อารมณ์จะขุ่นมัวเกรี้ยวกราดดุด่าสามี"

    -ชายหนุ่มรักสงบใฝ่ใจในทางธรรม แต่เมื่อไม่อาจเอาใจนางได้ถูก จึงไม่ไปสำนัก

    อาจารย์หลายวัน

    -ในที่สุดวันหนึ่งเมื่อเหตุการณ์ในบ้านสงบลงเขาก็คิดถึงอาจารย์ จึงรีบเดินทางไปหา

    อาจารย์แต่เช้า และนำเรื่องราวของภริยาไปหารือ

    -อาจารย์ฟังคำของลูกศิษย์แล้วจึงกล่าวปลอบโยน และอธิบายสภาพธรรมดาของหญิงเจ้า

    ชู้ว่า " เป็นธรรมดาของหญิงเจ้าชู้ ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงแล้ว ดูนางยาก ดังนั้นไม่ว่านางจะทำ

    ดีกับเรานักหนาก็อย่ายินดีเลยว่านางปรารถนาเรา แม้เมื่อนางดุด่าว่าเราก็อย่าเสียใจว่า

    นางไม่ปรารถนาเรา เพราะสภาพของหญิงรู้ได้อยาก เหมือนการไปในน้ำของปลา ฉะนั้น

    จงวางตัวเป็นกลางทำเฉย ๆไว้ อย่ายินดียินร้าย"

    -ศิษย์ฟังโอวาทของอาจารย์แล้วก็คิดได้ ตั้งใจจะไม่ยินดียินร้ายกับการกระทำของภริยา

    อีกต่อไป

    -ดังนั้นในวันต่อมา แม้ภริยาจะเกรี้ยวกราดเข้าใส่อย่างไร เขาก็ทำเฉยเมยเสีย และแม้ใน

    วันที่ภริยาอารมณ์ดีมายั่วยวน เคล้าเคลีย เอาใจ เขาก็คงทำเฉย ๆ เสียเช่นกัน

    -หญิงผู้เป็นภริยารู้สึกไม่ชอบมาพากล ในท่าทีของสามีที่เปลี่ยนไป นึกหวาดระแวงว่า

    "สามีคงรู้ความลับเรื่องนางเป็นชู้เสียแล้ว" และยิ่งรู้ว่าสามีกลับไปตั้งใจเรียนที่สำนักของ

    อาจารย์ก็ยิ่งไม่สบายใจ คิดไปว่า"ท่านอาจารย์ของสามีคงล่วงรู้ความประพฤติของนาง

    ด้วย" นางจึงหวั่นวิตกและเลิกประพฤตินอกใจสามี หันมาเอาใจใส่กิจการบ้านเรือนเยี่ยง

    ภริยาที่ดีทั้งหลาย

    -นับแต่นั้นมา ครอบครัวนี้ก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ชายผู้เป็นสามีก็สามารถศึกษาจนจบ

    -อุบาสกได้ฟังเรื่องราวจากพระพุทธองค์ก็คลายความขุ่นข้องหมองใจ สามารถทำใจให้

    ผ่องใสได้ และปฏิบัติรรมได้ดีเช่นเดิม

    -สามีในชาดก กำเนิดเป็น อุบาสก

    -ภริยาในชาดก กำเนิดเป็น ภริยาอุบาสก

    -ท่านอาจารย์ เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า

    ข้อคิดที่ได้ ความปรวนแปรย่อมพ่ายแพ้ต่อความมั่นคง และเป็นข้อปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเช่น

    นี้ขึ้นกับเราได้ครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P-2451.gif
      P-2451.gif
      ขนาดไฟล์:
      114.8 KB
      เปิดดู:
      102
  4. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    วิบากกรรมของพระอรหันต์สมัยอดีตชาติเป็นเจ้าอาวาสผู้ริษยา

    -กรรมเมื่อกระทำแล้ว ย่อมให้ผลแน่นอน ต่างแต่จะช้าหรือเร็ว

    -กรรมที่กระทำต่อ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้า ย่อมให้ผลแห่งกรรมรุนแรงมากมายยิ่งนัก

    -ชาดกเรื่องนี้จะกล่าวถึง "เจ้าอาวาสที่กระทำกรรมต่อพระอรหันต์โดยไม่ยอมนำอาหาร

    ถวายท่าน" ผลแห่งกรรมจึงตามติดมาจนวาระสุดท้ายก่อนนิพพาน แม้ท่านจะได้บรรลุ

    ธรรมเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม

    -ในสมัยพุทธกาล มีหญิงในหมู่บ้านชาวประมงแห่งหนึ่งได้ตั้งครรภ์ขึ้น พอนางตั้งครรภ์ก็

    ได้เกิดอาเพทในหมู่บ้าน โดยคนทั้งหมู่บ้านได้อดอยาก หากินด้วยความลำบาก ชาวบ้าน

    เห็นว่า "นางและบุตรในครรภ์เป็นกาลกิณี" จึงได้ขับไล่นางออกจากหมู่บ้าน

    -นางได้คลอดบุตรระหว่างทาง และเลี้ยงดูบุตรจนเดินได้ นางจึงได้ให้บุตรออกไปขอ

    ทานหากินเลี้ยงชีวิตด้วยตนเองโดยไม่ได้ดูแลสนใจ

    -จนเด็กได้เร่ร่อนไปขอทานไปทั่ว จนกระทั่งอายุได้ 7 ขวบ

    -วันหนึ่งพระสารีบุตรได้เห็นเด็กชายกำลังเก็บเศษอาหาร ท่านรู้สึกสงสารจึงได้นำตัวมา

    เป็นศิษย์ในสำนักท่านและบวชเป็นสามเณรให้ ต่อมาเมื่อมีอายุครบบวชจึงได้บวชให้มี

    ฉายาว่า "โลสกติสสะ"

    -พระโลสกติสสะบำเพ็ญเพียรต่อมาอีกไม่นานก็บรรลุเป็น"พระอรหันต์" แต่ท่านก็ยังคงมี

    ลาภน้อย จนกระทั่งใกล้วันเข้านิพพานก็ยังมีกรรมบิณฑบาตไม่เคยได้อาหารพออิ่ม

    -พระสารีบุตรคิดอนุเคราะห์เพื่อให้ท่านได้ฉันอาหารอิ่มสักมื้อ จึงพาไปบิณฑบาตด้วย

    แต่ก็น่าแปลกที่ไม่มีใครใส่บาตรท่านเลย

    -เมื่อพระสารีบุตรไปบิณฑบาตมาแล้ว จึงได้ฝากคนนำอาหารไปถวายท่านแต่ท่านก็ไม่ได้

    รับ "เพราะผลกรรมเก่าบันดาลให้ผู้นำส่งอาหารหลงลืมเสีย"

    -พระสารีบุตรจึงต้องนำอาหารไปถวายท่านเอง และต้องถือบาตรไว้ แล้วให้พระโลสกติ

    สสะนั่งฉันจากบาตรในมือท่านจนอิ่มเป็นครั้งแรกในชีวิต ต่อมาท่านก็นิพพานในวันนั้นเอง

    -พระภิกษุทั้งหลายสนทนาเรื่องของท่านเพื่อทราบสาเหตุ และได้กราบอาราธนาให้พระ

    พุทธองค์ทรงตรัสเรื่องอดีตชาติของท่าน พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเรื่อง"โลสกชาดก" ดัง

    นี้คือ

    -ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า พระอรหันต์รูปหนึ่งมาบิณฑบาตในหมู่บ้าน คหบดีเห็นท่าน

    แล้วเกิดความเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้ท่านไปพักที่วัดซึ่งตนอุปัฏฐากอยู่ และได้บำรุงพระ

    อาคันตุกะอย่างดี จนเจ้าอาวาสวัดเกิดความอิจฉาริษยา

    -ยามบิณฑบาตตอนเช้า คหบดีให้นิมนต์พระอาคันตุกะไปด้วยกับพระเจ้าอาวาส พระเจ้า

    อาวาสก็แกล้งเคาะระฆังเบา ๆ เคาะประตูเบา ๆ เพื่อไม่ให้ท่านได้ยิน แล้วเจ้าอาวาสก็ไป

    บิณฑบาตรูปเดียว

    -คหบดีจึงได้ฝากข้าวปายาสแก่พระเจ้าอาวาสไปถวายพระอาคันตุกะ แต่ระหว่างทางพระ

    เจ้าอาวาสเกิดริษยาได้เอาข้าวปายาสในส่วนของพระอาคันตุกะทิ้งเสีย แล้วกลับวัด

    -เมื่อมาถึงวัดได้แอบดูในกุฏิพระอาคันตุกะแต่ไม่เห็น เพราะท่านได้เดินทางจากไปแล้ว

    พระเจ้าอาวาสจึงฉุกคิดขึ้นว่า "พระอาคันตุกะรูปนี้คงเป็นพระอรหันต์และรู้เหตุการณ์ที่เรา

    กระทำขึ้นจึงไปเสีย" พระเจ้าอาวาสเสียใจมากและตรอมใจจนถึงแก่มรณภาพ

    -เมื่อมรณภาพแล้วได้ตกนรกหมกไหม้อยู่นานแสนนาน เมื่อพ้นจากนรกแล้วเศษกรรมยัง

    นำไปเกิดเป็นยักษ์อีก 500 ชาติ และมาเป็นสุนัขอีก 500 ชาติ ทุกภาพทุกชาติที่เกิดมา

    จะอดอยากยากแค้นมาก ได้กินอิ่มมื้อเดียวก่อนตายเท่านั้น

    -ชาติต่อมาได้มาเกิดเป็นลูกคนยากจนมีชื่อว่า "มิตตพินทุกะ"

    -เมื่อโตขึ้นเที่ยวเร่ร่อนไปเรื่อย มีเศษบุญนำพาให้ไปเรียนในสำนักของ"อาจารย์ทิศา

    ปาโมกข์" ต่อมาได้ทะเลาะกับเพื่อนศิษย์ จึงได้ออกจากสำนักเร่ร่อนไปจนถึงหมู่บ้าน

    ชายทะเลแห่งหนึ่งและได้หญิงเข็ญใจเป็นภริยามีลูกด้วยกัน 2 คน

    -ต่อมาวิบากกรรมทำให้เกิดเพลิงไหม้ในหมู่บ้าน จึงต้องถูกไล่ออกจากหมู่บ้าน

    -และได้เดินทางหลงเข้าไปในแดนอมนุษย์ และพักอาศัยอยู่ แต่แล้วในที่สุดภริยาและบุตร

    ก็ถูกจับกินหมด แต่ตัวเขาหนีรอดได้

    -เขาเร่ร่อนไปจนถึงเมืองท่าแห่งหนึ่ง และได้สมัครเป็นกรรมกรในเรือ

    -เมื่อเรือสินค้าแล่นไปได้ 7 วัน ก็เกิดอาเพทเรือไม่แล่น นายเรือจึงจับลสลากเพื่อหาคน

    ที่เป็นสาเหตุหรือเป็นกาลกิณี เขาก็จับสลากได้ทุกครั้ง จึงถูกนายเรือสั่งจับปล่อยลอย

    แพ เมื่อเขาลงจากเรือไปเรือก็แล่นได้ต่อไป

    -มิตตพินทุกะได้รับความยากลำบาก แต่เพราะเคยมีบุญในการรักษาศีลบวชเป็นพระใน

    ชาติที่เป็นพระเจ้าอาวาส ทำให้แพลอยไปถึงที่ของเทพธิดาเปรตและได้เสวยสุขขณะ

    หนึ่ง แต่ก็ยังคงลอยแพต่อไปอีก

    -จนกระทั่งได้มาถึงเมืองพาราณสี ด้วยความหิวจัดจึงจับแพะตัวหนึ่ง เป็นขณะที่คนเลี้ยง

    แพะของพระราชาที่ซุ่มอยู่ได้กรูกันมาช่วยจับ แล้วกล่าวหาว่า "เจ้าเป็นโจรที่มาขโมยแพะ

    เมื่อครั้งก่อน"

    -ในขณะนั้นเป็นผลบุญได้บันดาลให้"อาจารย์ทิศาปาโมกข์อาจารย์ของเขา"ผ่านมาพบเห็น

    เหตุการณ์ จึงได้ช่วยเหลือเขาไว้ เขาจึงถูกปล่อยและเดินทางไปกับอาจารย์ทิศา

    ปาโมกข์

    -มิตตพินทุกะ กำเนิดเป็น พระโลสกติสสะ

    -อาจารย์ทิศาปาโมกข์ เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า

    -ข้อคิดที่ได้ บุคคลผู้ริษยากลั่นแกล้งคนดีย่อมได้รับผลกรรม เป็นวิบากกรรมติดไปทุกภพ

    ทุกชาติ ยิ่งกระทำต่อพระอริยเจ้าขึ้นไปผลย่อมรุนแรงมากมายยิ่งนักครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • BB(3).gif
      BB(3).gif
      ขนาดไฟล์:
      57.9 KB
      เปิดดู:
      101
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กุมภาพันธ์ 2011
  5. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ผมเริ่มก้าวสู่ในทางธรรมใฝ่ธรรมโดยจริงจังก็หลังจากได้ฟังเครื่องเล่น

    เทปที่ใส่ตลับเทปนิยายธรรมเรื่อง"โกกิลาภิกษุณี" ที่คุณแม่ของผมเปิดฟังในยามค่ำคืนคืน

    หนึ่ง ยิ่งดึกสงัดก็ยิ่งดังวังเวงซึมลึกจนเข้าสู่จิตใจอย่างชัดเจน

    ผมไม่เคยเห็นหลวงพ่อสุรศักดิ์มาก่อน แต่เมื่อได้ฟังนิยายธรรมที่หลวง

    พ่อใช้เสียงหลวงพ่อแสดงเป็นทั้ง "พระพุทธเจ้า" "พระอานนท์" "นางโกกิลาภิกษุณี"

    "ท่านโฆษิตเศรษฐี" "พระภิกษุณีรูปอื่น" ผมฟังแล้วรู้สึกดีมากจึงอยากกราบนมัสการไต่

    ถามทางธรรมจากท่าน อยากพบท่าน

    นิยายเรื่องนี้ แสดงให้เห็นความจริงทางธรรมและทางโลกอย่างชัดเจน

    หลวงพ่อตัดตอนมาจากธรรมนิยายอิงประวัติในพุทธกาลเรื่อง "พระอานนท์ พุทธอนุชา"

    ที่"ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ" เป็นผู้เขียนแต่งขึ้น เป็นนิยายที่ถูกยกย่องให้เป็น

    "วรรณกรรมของโลก"

    ฟังหลวงพ่อแล้วเพลิดเพลินออกเสียงเป็นทั้ง "ชาย" และ "หญิง"

    สมัยนั้นวัดมเหยงคณ์ที่หลวงพ่ออยู่ยังไม่เป็นวัด เป็นเพียงสำนักปฏิบัติ

    กรรมฐานวัดมเหยงคณ์ ตั้งอยู่ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรี

    อยุธยา หลวงพ่อออกเทปอยู่สองเรื่อง คือ "เสียงปลุก" และนิยายธรรมเรื่อง"โกกิลา

    ภิกษุณี" เรื่องนี้มี สองม้วนจบ เป็นนิยายที่แสดงธรรมได้ลุ่มลึกและดีมาก เหมาะแก่ผู้อ่าน

    ได้อ่านไปเพลิน ๆ ผมจึงต้องย้อนกลับเอามาเขียนนำเสนอให้อ่านกันครับ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1216.JPG
      IMG_1216.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.1 MB
      เปิดดู:
      86
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กุมภาพันธ์ 2011
  6. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม"โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 1

    -นอกจากมีเมตตากรุณา หวั่นใจในความทุกข์ยากของผู้อื่นแล้ว พระ

    อานนท์ยังเป็นผู้สุภาพอ่อนโยนอย่างยิ่งอีกด้วย

    -ความสุภาพอ่อนโยนและลักษณะอันน่ารัก มีรูปงาม ผิวพรรณดีนี่เอง ได้เคยคล้องเอา

    ดวงใจน้อย ๆ ของสตรีผู้หนึ่งให้หลงใหลใฝ่ฝัน โดยที่ท่านมิได้มีเจตนาเลย เรื่องเป็นดังนี้

    -คราวหนึ่ง ท่านเดินทางจากที่ไกล มาสู่วัดเชตวัน อากาศซึ่งร้อนอบอ้าวในเวลาเที่ยงวัน

    ทำให้ท่านมีเหงื่อโซมกายและรู้สึกกระหายน้ำ

    -พอดีเดินมาใกล้บ่อน้ำแห่งหนึ่ง เห็นนางทาสีกำลังตักน้ำ ท่านจึงกล่าวขึ้นว่า "น้องหญิง

    อาตมาเดินทางมาจากที่ไกล รู้สึกกระหายน้ำ ถ้าไม่เป็นการรบกวน อาตมาขอบิณฑบาต

    น้ำจากท่านดื่มพอแก้กระหายด้วยเถิด"

    -นางทาสีได้ยินเสียงอันสุภาพอ่อนโยน จึงเงยหน้าขึ้นดู นางตะลึงอยู่ครู่หนึ่ง แล้วถอย

    ออกห่างท่านสองสามก้าวพลางกล่าวว่า "พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าถวายน้ำแก่ท่านมิได้ดอก

    ท่านไม่ควรดื่มน้ำจากมืออันต่ำช้าของข้าพเจ้า ท่านเป็นวรรณะกษัตริย์ข้าพเจ้าเป็นเพียง

    นางทาสี"

    "อย่าคิดอย่างนั้นเลย น้องหญิง อาตมาไม่มีวรรณะแล้ว อาตมาเป็นสมณศากยบุตร

    อาตมามิได้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ ไวศยะ ศูทร หรือจัณฑาล อย่างใดอย่างหนึ่งเลย

    อาตมาเป็นมนุษย์เหมือนน้องหญิงนี่แหละ"

    "ข้าพเจ้าเกรงแต่จะเป็นมลทินแก่พระคุณเจ้า และเป็นบาปแก่ข้าพเจ้าที่ถวายน้ำ การที่

    ท่านจะรับของจากมือของคนต่างวรรณะ และโดยเฉพาะวรรณะที่ต่ำอย่างข้าพเจ้าด้วยแล้ว

    ข้าพเจ้าไม่สบายใจเลย ความจริงข้าพเจ้ามิได้หวงน้ำดอก" นางยังคงยืนกรานอยู่อย่าง

    เดิม ขณะที่พูดมีเสียงสั่นน้อย ๆ

    "น้องหญิง มลทินและบาปจะมีแก่ผู้มีเมตตากรุณาไม่ได้ มลทินย่อมมีแก่ผู้ประกอบกรรม

    ชั่ว บาปย่อมมีแก่ผู้ไม่สุจริต การที่อาตมาขอน้ำ และน้องหญิงจะให้น้ำนั้นเป็นธรรม

    ธรรมย่อมปลดเปลื้องบาปและมลทิน เหมือนน้ำสะอาดชำระสิ่งสกปรกฉะนั้น น้องหญิง

    บัญญัติของพราหมณ์เรื่องบาปและมลทินอันเกี่ยวกับวรรณะนั้นเป็นบัญญัติที่ไม่ยุติธรรม

    เป็นการแบ่งแยกมนุษย์ให้เหินห่างจากมนุษย์ เป็นการเหยียดหยามมนุษย์ด้วยกัน เรื่องนี้

    อาตมาไม่มีแล้ว อาตมาเป็นสหมณศากยบุตร สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่มี

    วรรณะ เพราะฉะนั้นถ้าน้องหญิงต้องการจะให้น้ำก็จงเทลงในบาตรนี้เถิด"

    -นางรู้สึกจับใจในคำพูดของพระอานนท์ ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตของนางที่ได้ยินคำอัน

    ระรื่นหู จากชนซึ่งสมมติเรียกกันว่า "ชั้นสูง" มืออันเรียวงามสั่นน้อย ๆของนาง ค่อย ๆ

    ประจงเทน้ำในหม้อลงในบาตรของพระอานนท์

    -ในขณะนั้นนางนั่งคุกเข่า พระอานนท์ยืนโน้มตัวลงรับน้ำจากนาง แล้วดื่มด้วยความ

    กระหาย นางช้อนสายตาขึ้นมองดูพระอานนท์ซึ่งกำลังดื่มน้ำ ด้วยความรู้สึกปิติซาบ

    ซ่าน แล้วยิ้มอย่างเอี่ยงอาย

    "ขอให้มีความสุขเถิด น้องหญิง" เสียงอันไพเราะจากพระอานนท์ หน้าของท่านยิ่งแจ่ม

    ใสขึ้นเมื่อได้ดื่มน้ำระงับความกระหายแล้ว

    "พระคุณเจ้าดื่มอีกหน่อยเถิด" นางพูดพลางเอียงหม้อน้ำในท่าจะถวาย

    "พอแล้วน้องหญิง ขอให้มีความสุขเถิด"

    "พระคุณเจ้า ทำอย่างไรข้าพเจ้าจึงจะทราบนามของพระคุณเจ้าพอเป็นมงคลแก่โสต

    และความรู้สึกของข้าพเจ้าบ้าง" นางพูดแล้วก้มหน้าด้วยความขวยอาย

    "น้องหญิง ไม่เป็นไรดอก น้องหญิงเคยได้ยินชื่อพระอานนท์ อนุชาของพระพุทธเจ้า

    หรือไม่"

    "เคยได้ยิน พระคุณเจ้า"

    "เคยเห็นท่านไหม"

    "ไม่เคยเลย พระคุณเจ้า เพราะข้าพเจ้าทำงานอยู่เฉพาะในบ้าน และมาตักน้ำที่นี่ ไม่มี

    โอกาสไปที่ใดเลย"

    "เวลานี้น้องหญิงกำลังสนทนากับพระอานนท์อยู่แล้ว"

    นางมีอาการตะลึงครู่หนึ่ง แล้วแววแห่งปิติค่อย ๆ ฉายออกมาทางดวงหน้าและแววตา

    "พระคุณเจ้า" นางพูดด้วยเสียงสั่นน้อย ๆ "เป็นมงคลแก่โสตและดวงตาของข้าพเจ้ายิ่ง

    นักที่ได้ฟังเสียงของท่าน และได้เห็นท่านผู้มีศีล ผู้มีเกียรติศัพท์ระบือไปไกล ข้าพเจ้าเพิ่ง

    ได้เห็นและได้สนทนากับท่านโดยมิรู้มาก่อน นับเป็นบุญอันประเสริฐของข้าพเจ้ายิ่งแล้ว"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 2

    -และแล้วพระอานนท์ก็ลานางทาสี เดินมุ่งหน้าสู่วัดเชตวัน อันเป็นที่ประทับของพระ

    ศาสดา เมื่อท่านเดินมาได้หน่อยหนึ่ง ได้ยินเสียงเหมือนมีคนเดินตามมาข้างหลัง ท่าน

    เหลียวดู ปรากฏว่าเป็นนางทาสีที่ถวายน้ำนั่นเองเดินตามมา

    -ท่านเข้าใจว่าบ้านของนางคงจะอยู่ทางเดียวกับที่ท่านเดินมา จึงมิได้สงสัยอะไรและเดิน

    มาเรื่อย ๆ จนจวนจะถึงซุ้มประตู ไม่มีทางแยกไปที่อื่นอีกแล้ว นอกจากทางเข้าสู่วัด

    -ท่านเหลียวมาเห็นนางทาสีเดินตามมาอย่างกระชั้นชิด นัยน์ตาก็จ้องมองดูท่านตลอด

    เวลา ท่านหยุดอยู่ครู่หนึ่ง พอนางเข้ามาใกล้ท่านจึงกล่าว่า "น้องหญิง เธอจะไปไหน"

    "จะเข้าไปในวัดเชตวันที่แหละ" นางตอบ

    "เธอจะเข้าไปทำไม"

    "ไปหาพระคุณเจ้า สนทนากับพระคุณเจ้า"

    "อย่าเลยน้องหญิง เธอไม่ควรจะเข้าไป ที่นี่เป็นที่อาศัยอยู่ของพระสงฆ์ เธอไม่มีธุระ

    อะไร อย่าเข้าไปเลย เธอกลับบ้านเสียเถิด"

    "ข้าพเจ้าไม่กลับ ข้าพเจ้ารักท่าน ข้าพเจ้าไม่เคยพบใครดีเท่าพระคุณเจ้าเลย"

    "น้องหญิง พระศาสดาตรัสว่าปกติของคนเราอาจจะรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และต้องอยู่

    ร่วมกันนาน ๆ ต้องมีโยนิโสมนสิการ และต้องมีปัญญา จึงจะรู้ว่าคนนั้นคนนี้มีปกติอย่าง

    ไร คือดีหรือไม่ดี"

    "ที่น้องหญิงพบเราเพียงครู่เดียว จะตัดสินได้อย่างไรว่าอาตมาเป็นคนดี อาตมาอาจจะ

    เอาชื่อท่านอานนท์มาหลอกเธอก็ได้ อย่าเข้ามาเลย กลับเสียเถิด"

    "พระคุณเจ้าจะเป็นใคร่ก็ช่างเถิด" นางคงพร่ำต่อไปมือหนึ่งถือหม้อน้ำซึ่งบัดนี้นางได้เทน้ำ

    ออกหมดแล้ว "ข้าพเจ้ารักท่านซึ่งข้าพเจ้าสนทนาอยู่ด้วยเวลานี้"

    "น้องหญิง ความรักเป็นเรื่องร้าย มิใช่เป็นเรื่องดี พระศาสดาตรัสว่า ความรักเป็นเหตุให้

    เกิดทุกข์โศก และทรมานใจเธอชอบความทุกข์หรือ"

    "ข้าพเจ้าไม่ชอบความทุกข์เลย พระคุณเจ้า และความทุกข์นั้นใคร ๆ ก็ไม่ชอบ แต่

    ข้าพเจ้าชอบมีความรัก โดยเฉพาะรักพระคุณเจ้า"

    "จะเป็นไปได้อย่างไร น้องหญิง ในเมื่อทำเหตุก็ต้องได้รับผล การที่จะให้มีรักแล้วมิให้

    ทุกข์ติดตามมานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้เลย"

    "แต่ข้าพเจ้ามีความสุข เมื่อได้เห็นพระคุณเจ้า ได้สนทนากับพระคุณเจ้า ผู้เป็นที่รักอย่าง

    ยิ่งของข้าพเจ้า รักอย่างสุดหัวใจเลยทีเดียว"

    "ถ้าไม่ได้เห็นอาตมา ไม่ได้สนทนากับอาตมา น้องหญิงจะมีความทุกข์ไหม"

    "แน่นอนทีเดียว ข้าพเจ้าจะต้องมีความทุกข์อย่างมาก"

    "นั่นแปลว่า ความรักเป็นเหตุให้เกิดทุกข์แล้วใช่ไหม"

    "ไม่ใช่พระคุณเจ้า นั่นเป็นเพราะการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักต่างหากเล่า มิใช่เพราะ

    ความรัก"

    "ถ้าไม่มีรัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักจะมีได้หรือไม่"

    "มีไม่ได้เลย พระคุณเจ้า"

    "นี่แปลว่าน้องหญิงยอมรับแล้วใช่ไหมว่า ความรักเป็นสาเหตุชั้นที่หนึ่งที่จะให้เกิดทุกข์"

    พระอานนท์พูดจบแล้วยิ้มน้อย ๆ ด้วยรู้สึกว่ามีชัย

    -แต่ใครเล่าจะเอาชนะความปรารถนาของหญิงได้ง่าย ๆ ลงจะเอาอะไรก็จะเอาให้ได้

    เพราะธรรมชาติของเธอมักจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล

    -ถ้าผู้หญิงคนใดใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาชีวิต หรือในการดำเนินชีวิต หญิงคนนั้นจะ

    เป็นสตรีที่ดีที่สุดและน่ารักที่สุด เหตุผลที่กล่าวนี้ มิใช่มากมายอะไรเลย เพียงไม่ถึงกึ่งเท่า

    นั้น

    -ด้วยเหตุนี้แม้นางจะมองเห็นเหตุผลของพระอานนท์ว่าคมคายอยู่ แต่นางก็หายอมไม่

    นางกล่าวต่อไปว่า "พระคุณเจ้า ความรักที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ดังพระคุณเจ้ากล่าวมานั้น

    เห็นจะเป็นความรักของคนที่รักไม่เป็นเสียละกระมัง คนที่รักเป็น ย่อมรักได้โดยมิให้เป็น

    ทุกข์"

    "น้องหญิงเคยรักหรือ หมายถึงเคยรักใครคนใดคนหนึ่งมาบ้างหรือไม่ในชีวิตที่ผ่านมา"

    "ไม่เคยมาก่อนเลย ครั้งนี้เป็นครั้งแรก และคงจะเป็นครั้งสุดท้ายอีกด้วย"

    "เมื่อไม่เคยมาเลย ทำไมเธอจึงจะรักให้เป็นโดยมิต้องเป็นทุกข์เล่าน้องหญิง คนที่จับไฟ

    นั้น จะจับเป็นหรือไม่เป็นจะรู้หรือไม่รู้ ถ้าลงได้จับไฟด้วยมือแล้วย่อมร้อนเหมือนกันใช่

    ไหม"

    "ใช่-พระคุณเจ้า"

    "ความรักก็เหมือนการจับไฟนั่นแหละ ทางที่จะไม่ให้มือพองเพราะไฟเผามีอยู่ทางเดียว

    คือ อย่าจับไฟ อย่าเล่นกับไฟ ทางที่จะปลอดภัยจากรักก็ฉันนั้น มีอยู่ทางเดียวคือ อย่า

    รัก"

    "พระคุณเจ้าจะว่าอย่างไรก็ตามเถิด แต่ข้าพเจ้าหักรักจากพระคุณเจ้ามิได้เสียแล้ว แม้

    พระคุณเจ้าจะไม่ปรานีข้าพเจ้าเยี่ยงคนรัก ก็ขอให้พระคุณเจ้ารับข้าพเจ้าไว้ในฐานะทาสผู้

    ซื่อสัตย์ ข้าพเจ้าจักปฏิบัติพระคุณเจ้า บำรุงพระคุณเจ้าเพื่อความสุขของท่านและของ

    ข้าพเจ้าด้วย"

    "น้องหญิง ประโยชน์อะไรที่เธอจะมารักคนอย่างอาตมา อาตมารักพระศาสดาและ

    พรหมจรรย์หมดหัวใจเสียแล้ว ไม่มีหัวใจไว้รักอะไรได้อีก แม้เธอจะขอสมัครอยู่ในฐานะ

    เป็นทาสก็ไม่ได้ พระศาสดาทรงห้ามมิให้ภิกษุในพระศาสนามีทาสไว้ใช้ ยิ่งเธอเป็นทาส

    หญิงด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการผิดมากขึ้น แม้จะเป็นศิษย์คอยปฏิบัติก็ไม่ควร จะเป็นที่ตำหนิ

    ของวิญญูชนเป็นทางแห่งความเสื่อมเสีย อาตมาเห็นใจน้องหญิง แต่จะรับไว้ในฐานะใด

    ฐานะหนึ่งไม่ได้ทั้งนั้น กลับเสียเถิดน้องหญิง พระศาสดาหรือภิกษุสามาเณรเห็นเข้าจะ

    ตำหนิอาตมาได้ ที่ก็จวนจะถึงพระคันธกุฎีแล้ว อย่าเข้ามานะ พระอานนท์ยกมือขึ้นห้าม

    ในขณะที่นางทาสีจะก้าวตามท่านเข้าไป.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 3

    -พระผู้มีพระภาคทรงสดับเสียงเถียงกันระหว่างพระอานนท์ กับสตรี จึงตรัสถามมาจากภาย

    ในพระคันธกุฏีว่า "อะไรกัน อานนท์"

    "ผู้หญิงพระเจ้าข้า นางจะตามข้าพระองค์เข้ามายังวิหาร"

    "ให้เข้ามาเถอะ พามานี่ มาหาตถาคต" พระศาสดาตรัส

    -พระอานนท์พานางทาสีเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคับแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    พระผู้มีพระภาคมีพระวาจาว่า "อานนท์ เรื่องราวเป็นมาอย่างไร ทำไมนางจึงตามเธอมา

    ถึงนี่"

    -เมื่อพระอานนท์ทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า "ภคินี เธอรักใคร่พอใจในอานนท์หรือ"

    "พระเจ้าข้า" นางทาสียกมือแค่อกรับตามเป็นจริง

    "เธอรักอะไรในอานนท์"

    "ข้าพระพุทธเจ้ารักนัยน์ตาพระอานนท์ พระเจ้าข้า"

    "นัยน์ตานั้นประกอบขึ้นด้วยเส้นประสาทและเนื้ออ่อนต้องหมั่นเช็ดสิ่งสกปรกในดวงตาอยู่

    เป็นนิตย์ มีขี้ตาไหลออกจากนัยน์ตาอยู่เสมอ ครั้นแก่ลงก็จักฝ้าฟางขุ่นมัวไม่แจ่มใส

    อย่างนี้เธอยังรักนัยน์ตาของพระอานนท์อยู่หรือ"

    "ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์รักหูของพระอานนท์ พระเจ้าข้า"

    "ภคินี หูนั้นประกอบด้วยเส้นเอ็นและเนื้อ ภายในช่องหูมีของโสโครกเป็นอันมาก มีกลิ่น

    เหม็น ต้องแคะไค้อยู่เสมอ ครั้นชราลงก็หนวก จะฟังเสียงอะไรก็ไม่ถนัดหรืออาจไม่ได้

    ยินเลย ดังนี้แล้ว เธอจะยังรักอยู่หรือ"

    -นางเอียงอายเล็กน้อย แล้วตอบเลี่ยงต่อไปว่า "ถ้าอย่างนั้น ข้าพระองค์รักจมูกอันโด่ง

    งามของพระอานนท์พระเจ้าข้า"

    "ภคินี จมูกนั้นประกอบขึ้นด้วยกระดูกอ่อนที่มีโพรงภายในมีน้ำมูกและเส้นขน กับของ

    โสโครกมีกลิ่นเหม็นเป็นก้อน ๆ อย่างนี้เธอจะยังรักอยู่อีกหรือ"

    -ไม่ว่านางจะตอบเลี่ยงไปอย่างไร พระพุทธองค์ก็ทรงชี้แจงให้พิจารณาเห็นความจริงของ

    ร่างกายอันสกปรกเปื่อยเน่านี้ ในที่สุดนางก็นั่งก้มหน้านิ่ง

    -พระพุทธองค์ตรัสว่า "ภคินีเอย อันร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของสกปรกโสโครก มีสิ่งปฏิกูล

    ไหลออกจากทวารทั้ง 9 มีช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์เล็กสัตว์น้อย

    เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เก็บมูตรและกรีส อุปมาเหมือน

    ถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่าง ๆ เข้าไว้ และซึมออกมาเสมอ ๆ เจ้าของกายจึงต้อง

    ชำระล้างขัดถูวันละหลาย ๆครั้ง เมื่อเว้นจาการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวัน กลิ่น

    เหม็นก็ปรากฏเป็นที่รังเกียจ เป็นของน่าขยะแขยง ภคนี ร่างกายนี้เป็นเหมือนเรือนซึ่ง

    สร้างด้วยโครงกระดูก มีหนังและเลือดเป็นเครื่องฉาบทา ที่มองเห็นเปล่งปลั่งผุดผาดนั้น

    เป็นเพียงผิวหนังเท่านั้น เหมือนมองเห็นความงามแห่งหีบศพอันวิจิตรตระการตา ผู้ไม่รู้ก็

    ติดในหีบศพนั้น แต่ผู้รู้ เมื่อทราบว่าเป็นหีบศพ แม้ภายนอกจะวิจิตรตระการตาเพียงไร

    ก็หาพอใจยินดีไม่ เพราะทราบชัดว่าภายในแห่งหีบอันสวยงามนั้นมีสิ่งปฏิกูลพึงรังเกียจ"

    -แม้พระศาสดาตรัสอยู่อย่างนี้ ความรักของนางที่มีต่อพระอานนท์ก็หาลดลงไม่ บาง

    คราวแสงสว่างฉายวูบเข้ามาสู่หทัยของนาง จะทำให้นางมองเห็นความเป็นจริงตามพระ

    ศาสดาตรัสก็ตาม แต่มันมีน้อยเกินไป ไม่สามารถจะข่มความเสน่หาที่นางมีต่อพระ

    อานนท์เสียได้ เหมือนน้ำน้อยไม่พอที่จะดับไฟโดยสิ้นเชิง

    -ไฟคือราคะในจิตใจของนางก็ฉันนั้น คุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา นางคิดว่าจะทำไฉนหนอจัก

    สามารถอยู่ใกล้พระอานนท์ได้ เมื่อไม่ทราบจะทำประการใด จึงทูลลาพระศาสดาและ

    พระอานนท์กลับบ้าน ก่อนกลับนางไม่ลืมที่จะชำเลืองมองพระอานนท์ด้วยความเสน่หา.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2011
  9. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 4


    -เนื่องจากมาเสียเวลาในวัดเชตวันเสียนาน นางจึงกลับไปถึงบ้านเอาจวนค่ำ นางรู้สึก

    ตะครั่นตะครอทั้งกายและใจ เกรงว่าระหว่างที่นางหายไปนานนั้นนายอาจจะเรียกใช้ เมื่อ

    ไม่พบนางคงถูกลงโทษอย่างหนักอย่างที่เคยถูกมาแล้ว

    -อนิจจา ชีวิตของคนทาส ช่างไม่มีอิสระและความสุขเสียเลย

    -เป็นการบังเอิญอย่างยิ่ง ปรากฏว่าตลอดเวลาที่นางหายไปนั้นนายมิได้เรียกใช้เลย ผิด

    จากวันก่อน ๆ นี่เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากพุทธานภาพ โอ พุทธานุภาพช่างน่า

    อัศจรรย์อะไรเช่นนั้น

    -คืนนั้นนางนอนกระวนกระวายอยู่ตลอดคืน จะข่มตาให้หลับสักเท่าใดก็หาสำเร็จไม่ พอ

    เคลิ้ม ๆ นางต้องผวาตื่นขึ้นด้วยภาพแห่งพระอานนท์ ปรากฏทางประสาทที่ 6 หรือมโน

    ทวาร

    -นางนอนภาวนาชื่อพระอานนท์เหมือนนามเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธคุณก็คอยไหลวน

    เวียนเข้ามาสู่ความสำนึกอันลึกซึ้ง นางคิดว่าภายใต้พุทธฉายาน่าจะมีความสงบเย็นและ

    บริสุทธิ์น่าพึงใจเป็นแน่แท้ แต่จะทำอย่างไรหนอจึงจะประสบความสงบเย็นเช่นนั้น

    -เสียงไก่โห่อยู่ไม่นาน ท้องฟ้าก็เริ่มสาง ลมเย็นตอนรุ่งอรุณพัดแผ่วเข้ามาทางช่อง

    หน้าต่าง นางสลัดผ้าห่มออกจากกายลุกขึ้นเพื่อเตรียมอาหารไว้สำหรับนาย นางภาวนา

    อยู่ในใจว่าเช้านี้ขอให้พระอานนท์บิณฑบาตผ่านมาทางนี้เถิด

    -แสงแดดในเวลาเช้าให้ความชุ่มชื่นพอสบาย นางเสร็จธุระอย่างอื่นแล้ว ออกมายืน

    เหม่ออยู่หน้าบ้าน มองไปเบื้องหน้าเห็นภิกษุณีรูปหนึ่งมีบาตรในมือ เดินผ่านบ้านของ

    นางไป

    -ทันใดนั้นความคิดก็แว่บเข้ามา ทำให้นางดีใจจนเนื้อเต้น ภิกษุณี โอ ภิกษุณี เราบวช

    เป็นภิกษุณีซิ จะได้อยู่ในบริเวณวัดเชตวันกับภิกษุณีทั้งหลาย และคงมีโอกาสได้อยู่ใกล้

    และพบเห็นพระคุณเจ้าอันเป็นที่รักของเราเป็นแน่แท้

    -นางลานายไปเฝ้าพระศาสดา และทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระ

    ศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งนางแล้ว ประทานอนุญาตให้อุปสมบทอยู่ ณ สำนักแห่งภิกษุณี

    ในวัดเชตวันนั่นเอง

    -เมื่อบวชแล้วภิกษุณีรูปใหม่ก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนท่องบ่นพระธรรมวินัย ตั้งใจประพฤติ

    ปฏิบัติด้วยดี สำรวมอยู่ในสิกขาบทปาฏิโมกข์ มีสิกขาและอาชีพเสมอด้วยภิกษุณีทั้ง

    หลาย เป็นที่รักใคร่ชอบพอของภิกษุณีอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะนางเป็นผู้เสงี่ยมเจียมตนและพอ

    ใจในวิเวกอีกด้วย

    -ถึงกระนั้นก็ตาม ทุกเวลาบ่ายเมื่อนางได้เห็นพระอานนท์ขณะให้โอวาทแก่ภิกษุณีบริษัท

    ความรัญจวนใจก็ยังเกิดขึ้นรบกวนนางอยู่มิเว้นวาย จะพยายามข่มด้วยอสุภกัมมัฏฐานสัก

    เท่าใด ก็หาสงบราบคาบอย่างภิกษุณีอื่น ๆ ไม่

    -คราวหนึ่งนางได้ฟังโอวาทจากพระศาสดาเรื่องกิเลส 3 ประการ คือ ราคะ โทสะ และ

    โมหะ พระพุทธองค์ตรัสว่า "กิเลสทั้งสามประการนี้ย่อมเผาบุคคลผู้ยอมอยู่ใต้อำนาจของ

    มันให้รุ่มร้อนกระวนกระวายเหมือนไฟเผาไหม้ท่อนไม้และแกลบให้แห้งเกรียม ข้อแตกต่าง

    แห่งกิเลสทั้งสามประการนี้ก็คือ ราคะนั้นมีโทษน้อยแต่คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่

    คลายเร็ว โมหะมีโทษมากด้วยคลายช้าด้วย บุคคลซึ่งออกบวชแล้วประพฤติตนเป็นผู้ไม่

    มีเรือนเรียกว่า ได้ชักกายออกห่างจากกามราคะ แต่ถ้าใจยังหมกมุ่นพัวพันอยู่ในกามก็หา

    สำเร็จประโยชน์แห่งการบวชไม่ คือ เขาไม่สามารถจะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้

    อุปมาเหมือนไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง แม้จะวางอยู่บนบก บุคคลผู้ต้องการไฟก็ไม่อาจนำมา

    สีให้เกิดไฟได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุ ภิกษุณี ผู้ชักกายออกจากกามแล้ว ควรพยายามชัก

    ใจออกจากกาม ความเพลิดเพลินหลงใหลเสียด้วย"

    -นางได้ฟังพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ให้รู้สึกละอายใจตนเองสุดประมาณ ที่นางเข้ามาบวชก็

    มิได้มุ่งหมายเพื่อกำจัดทุกข์ให้สูญสิ้น หรือเพื่อทำลายกองตัณหาอะไรเลย แต่เพื่อให้มา

    อยู่ใกล้คนอันเป็นที่รัก คิดดูแล้วเหมือนนำน้ำมันมาวางไว้ใกล้เพลิง มันมีแต่จะลุกเป็นไฟ

    กองมหึมาขึ้นสักวันหนึ่ง

    -เมื่อปรารภดังนี้ นางยิ่งกระวนกระวายใจมากขึ้น พระอานนท์หรือก็ไม่เคยทักทายปราศรัย

    เป็นส่วนตัวเลย การได้เห็นคนอันเป็นที่รักเป็นความสุขก็จริง แต่มันเล็กน้อยเกินไป

    เมื่อนำมาเทียบกับความทรมานในขณะที่ต้องจากอยู่โดดเดี่ยวและว้าเหว่

    -กาสาวพัสตร์เป็นกำแพงเหลืองมหึมาที่คอยกั้นมิให้ความรักเดินถึงกัน ถึงกระนั้นก็ยังมี

    ภิกษุ และภิกษุณีบางท่านกระโดดข้ามกำแพงนี้ ล่วงละเมิดสิกขาบทวินัยของพระ

    พุทธองค์จนได้ นางคิดมาถึงเรื่องนี้แล้วเสียวสันหลังวาบ เหมือนถูกก้อนหิมะอันเยือก

    เย็นโดยไม่รู้สึกตัวมาก่อน

    -นางพยายามสะกดใจมิให้คิดถึงพระอานนท์ พยายามท่องบ่นสาธยายพระธรรมวินัย แต่

    ทุกขณะจิตที่ว่างลง ดวงใจของนางก็จะคร่ำครวญรำพันถึงพระอานนท์อีก

    -นางรู้สึกปวดศีรษะและวิงเวียน เพราะความคิดหมกมุ่นสับสน นี่เองกระมังที่พระอานนท์

    พูดไว้แต่แรกที่พบกันว่า ความรักเป็นความร้าย.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    ต่อครับพี่ชาย กำลังสนุกครับ ย้ายหนีผมมาได้ไงครับพี่

    ตามชาดกครับ ชอบอ่านมาก สนุกด้วย ได้แง่คิด
     
  11. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 5


    -วันหนึ่งนางชวนเพื่อนภิกษุณีรูปหนึ่งไปหาพระอานนท์ พระอานนท์เป็นผู้มีอัธยาศัยงาม

    จึงต้อนรับนางด้วยเมตตาธรรม นางรู้สึกชุ่มชื่นขึ้นบ้าง เหมือนข้าวกล้าที่จวนจะแห้ง

    เกรียมเพราะขาดน้ำชุ่มชื่นขึ้นเพราะฝนผิดฤดูกาลหลั่งลงมา แต่เมื่อนางจะลากลับนั่นเอง

    -พระอานนท์พูดว่า "น้องหญิง ต่อไปเมื่อไม่มีธุระอะไรก็อย่ามาอีก ถ้ามีความสงสัยเกี่ยว

    กับข้อธรรมวินัยอันใด ก็ให้ถามเมื่ออาตมาไปสู่สำนักภิกษุณีเพื่อให้โอวาท"

    -คืนนั้นนางนอนร้องไห้ตลอดคืน น้อยใจ เสียใจและเจ็บใจตนเอง "พระอานนท์หรือก็ช่าง

    ใจไม้ไส้ระกำเสียเต็มประดา จะเห็นแก่ความรักของเราบ้างก็ไม่มีเลย" นางยิ่งคิดยิ่งช้ำ

    และน้อยใจ

    -ภิกษุณีผู้พักอยู่ ณ ที่ใกล้ ได้ยินเสียงสะอื้นในยามดึก จึงลุกมาหาด้วยความเป็นห่วง

    ถามนางว่า "โกกิลา มีเรื่องอะไรหรือ"

    "อ้อ ไม่มีอะไรดอก สุมิตรา ข้าพเจ้าฝันร้ายไป รู้สึกตกใจมากเลยร้องไห้ออกมา ขอบ

    ใจมากที่ท่านเป็นห่วงข้าพเจ้า" นางตอบฝืนสีหน้าให้ชุ่มชื่นขึ้น

    "พระศาสดาสอนว่าให้เจริญเมตตา แล้วจะไม่ฝันร้าย ท่านเจริญเมตตาหรือเปล่าก่อนนอน

    น่ะ" ภิกษุณีสุมิตราถามอย่างกันเอง

    "อื่อ เมื่อเจริญเมตตาแล้วจะไม่ฝันร้ายอย่างนั้นหรือ"

    "ใช่"

    "ก่อนนอนคืนนี้ ข้าพเจ้าลืมไป ท่านกลับไปนอนเถิด ข้าพเจ้าขออภัยด้วยที่ร้องไห้ดังไป

    จนท่านตื่น"

    -เมื่อภิกษุณีสุมิตรากลับไปแล้ว ภิกษุณีโกกิลา ก็คิดถึงชีวิตของตัว ชีวิตของนางเต็มไป

    ด้วยความเป็นทาส เมื่อก่อนบวชก็เป็นทาสทางกาย พอปลีกจากทาสทางกายมาได้ก็มา

    ตกเป็นทาสทางใจเข้าอีก

    -แน่นอนทีเดียว ผู้ใดตกอยู่ในความรัก ดวงใจของผู้นั้นย่อมเป็นทาส ทาสของความ

    รัก ทาสรักนั้นจะไม่มีใครสามารถช่วยปลดปล่อยได้ นอกจากเจ้าของดวงใจจะปลด

    ปล่อยเอง

    -นางหลับไปด้วยความอ่อนเพลียเมื่อจวนจะรุ่งสางอยู่แล้ว.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 13092009396.jpg
      13092009396.jpg
      ขนาดไฟล์:
      702.7 KB
      เปิดดู:
      75
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2011
  12. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931

    -ผู้ดูแลย้ายมาให้ครับ คงอยากให้อยู่ในส่วนของพุทธภูมิ-พระโพธิสัตว์ครับ.
     
  13. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    ก็เหมาะสมน่ะครับพี่ชาย ผู้ดูแลคงเห็นความสำคัญครับ
     
  14. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 6

    -ในที่สุดเมื่อเห็นว่าจะสะกดใจไว้ไม่อยู่แน่แล้ว นางจึงตัดสินใจลาพระศาสดา พระ

    อานนท์ และเพื่อนภิกษุณีอื่น ๆ จากวัดเชตวัน เมืองสาวัตถี มุ่งหน้าสู่โสตาราม เมือง

    โกสัมพี ด้วยคิดว่า "การอยู่ห่างอาจจะเป็นยารักษาโรครักได้บ้างกระมัง"

    -นางจากเชตวันด้วยความอาลัยอาวรณ์เป็นอย่างยิ่ง อุปมาเหมือนมารดาต้องจำใจจาก

    บุตรสุดที่รักของตัวฉันใดก็ฉันนั้น นางอยู่จำพรรษา ณ โฆสิตาราม ซึ่งโฆสิตมหา

    เศรษฐีสร้างถวายพระพุทธองค์

    -สามเดือนที่อยู่ห่างพระอานนท์ ดวงจิตของนางผ่องแผ้วแจ่มใสขึ้น การท่องบ่น

    สาธยายและการบำเพ็ญสมณธรรมก็ดีขึ้นตามไปด้วย นางคิดว่าคราวนี้คงตัดอาลัยในพระ

    อานนท์ได้เป็นแน่แท้

    -แต่ความรักย่อมมีวงจรของมัน จนกว่ารักนั้นจะสิ้นสุดลง ชีวิตมักจะเป็นอย่างนี้เสมอ

    เมื่อใครคนหนึ่งพยายามดิ้นรนหาความรัก เขามักจะไม่สมปรารถนา แต่พอเขาทำท่าจะ

    หนี ความรักก็ตามมา

    -ความรักจึงมีลักษณะคล้ายเงา เมื่อบุคคลวิ่งตาม มันจะวิ่งหนี แต่เมื่อเขาวิ่งหนี มันจะ

    วิ่งตาม

    -ด้วยกฏอันนี้กระมัง เมื่อนางหนีรักออกจากเชตวันและมาสงบอยู่ ณ โกสัมพีนี้ เมื่อ

    ออกพรรษาแล้ว ข่าวการเสด็จสู่กรุงโกสัมพีของพระผู้มีพระภาคก็แพร่สะพัดมา ซึ่งเป็น

    การแน่นอนว่า พระอานนท์จะต้องตามเสด็จมาด้วย

    -ชาวโกสัมพีทราบข่าวนี้ด้วยความชื่นชมโสมนัส ภิกษุสงฆ์ต่างจัดแจงปัดกวาด

    เสนาสนะ เตรียมพระคันธกุฎีที่ประทับของพระศาสดา พระเจ้าอุเทนเองซึ่งไม่ค่อยจะ

    สนพระทัยในทางธรรมนัก ก็อดที่จะทรงปรีดาปราโมชมิได้ เพราะถือกันว่า พระศาสดา

    เสด็จไป ณ ที่ใด ย่อมนำความสงบสุขและมงคลไปสู่ที่นั้นด้วย

    -การสนทนาเรื่องการเสด็จมาของพระศาสดามีอยู่ทุกหัวระแหงแห่งกรุงโกสัมพี ศาสดา

    คณจารย์เจ้าลัทธิต่าง ๆ ก็เตรียมผูกปัญหาเพื่อทูลถาม บางท่านก็เตรียมถามเพื่อให้พระ

    ศาสดาจนในปัญหาของตน บางท่านก็เตรียมถามความรู้ความเข้าใจจริง และบางท่านก็

    เตรียมถามเพียงเพื่อเทียบเคียงความคิดเห็นเท่านั้น

    -หมู่ภิกษุสงฆ์ปิติปราโมชเป็นอันมาก เพราะการเสด็จมาของพระศาสดาย่อมหมายถึง

    การได้ยินได้ฟังมธุรสภาษิตจากพระองค์ด้วย และบางท่านอาจจะได้บรรลุคุณวิเศษเบื้อง

    สูงเพราะธรรมเทศนานั้น

    ใครจะทราบบ้างเล่าว่า ดวงใจของโกกิลาภิกษุณีจะเป็นประการใด

    -เมื่อบ่ายวันหนึ่ง เพื่อนภิกษุณีนำข่าวมาบอกนางว่า "นี่ โกกิลา ท่านทราบไหมว่าพระ

    ศาสดาจะเสด็จมาถึงนี่เร็ว ๆนี้"

    "อย่างนั้นหรือ" นางมีอาการตื่นเต้นเต็มที่ "เสด็จมาองค์เดียวหรืออย่างไร"

    "ไม่องค์เดียวดอก ใคร ๆ ก็รู้ว่าเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาจะต้องมีพระเถระผู้ใหญ่มาด้วย

    หรืออาจจะมาสมทบทีหลังก็ได้ แต่ท่านที่ต้องตามเสด็จแน่คือ พระอานนท์ พุทธอนุชา"

    "พระอานนท์" นางอุทาน พร้อมด้วยเอามือทาบอก

    "ทำไมหรือ" โกกิลา ดูท่านตื่นเต้นมากเหลือเกิน" ภิกษุณีรูปนั้นถามอย่างสงสัย

    "เปล่าดอก ข้าพเจ้าดีใจที่จะได้เฝ้าพระศาสดา และฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ ดีใจ

    จนควบคุมตัวไม่ได้" นางตอบเลี่ยง

    "ใคร ๆ เขาก็ดีใจกันทั้งนั้นแหละ โกกิลา คราวนี้เราคงฟังธรรมกถาอันลึกซึ่ง และได้ฟัง

    มธุรภาษิตของพระมหาเถระเช่นพระสารีบุตร และพระมหากัสสป หรือพระอานนท์เป็นต้น"

    ภิกษุณีรูปนั้นกล่าว.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 16072008117.jpg
      16072008117.jpg
      ขนาดไฟล์:
      523.7 KB
      เปิดดู:
      93
  15. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 7

    -วันที่รอคอยก็มาถึง พระศาสดา มีพระภิกษุสงฆ์อรหันต์หมู่ใหญ่แวดล้อมเสด็จถึงกรุงโก

    สัมพี พระราชาธิบดีอุเทน และเสนาอำมาตย์ พ่อค้าประชาชน สมณพราหมณาจารย์

    ถวายการต้อนรับอย่างมโหฬารยิ่ง

    -ก่อนถึงซุ้มประตูโฆสิตารามประมาณกึ่งโยชน์ มีประชาชนจำนวนแสนคอยรับเสด็จ

    มรรคาดารดาษไปด้วยกลีบดอกไม้นานาพันธุ์หลากสีที่ประชาชนนำมาโปรยปรายเพื่อเป็น

    พุทธบูชา

    -ในบริเวณอาราม ก่อนเสด็จถึงพระคันธกุฎี มีภิกษุและภิกษุณีจำนวนมากรอรับเสด็จ ทุก

    ท่านมีแววแห่งปิติปราโมชถวายบังคมพระศาสดาด้วยความเคารพอันสูงสุด

    -พระอานนท์ตามเสด็จพระพุทธองค์ด้วยกิริยาที่งดงามมองดูน่าเลื่อมใส ทุกคนต่างชื่นชม

    พระศาสดาและพระอานนท์ และผู้ที่ชื่นชมในพระอานนท์เป็นพิเศษก็เห็นจะเป็นโกกิลา

    ภิกษุณีนั่นเอง

    -ทันใดที่นางได้เห็นพระอานนท์ ความรักซึ่งสงบตัวอยู่ก็ฟุ้งขึ้นมาอีก คราวนี้ดูเหมือนจะ

    รุนแรงยิ่งกว่าคราวก่อน เพราะเป็นเวลาสามเดือนแล้วที่นางมิได้เห็นพระอานนท์

    -ความรักที่ทำท่าจะสงบลงนั้น มันเหมือนติณชาติซึ่งถูกลิดรอน ณ เบื้องปลาย เมื่อขึ้น

    ใหม่ย่อมขึ้นได้สวยกว่า มากกว่า และแผ่ขยายโตกว่า ฉะนั้น

    -นางรีบกลับสู่ห้องของตน บัดนี้ใจของนางเริ่มปั่นป่วนรวนเรอีกแล้ว จริงทีเดียว ใน

    จักวาลนี้ไม่มีไฟอะไรร้อนแรงและดับยากเท่าไฟรัก ความรักเป็นความเรียกร้องของหัวใจ

    มนุษย์เราทำอะไรลงไปเพราะเหตุเพียงสองอย่างเท่านั้น คือ เพราะหน้าที่อย่างหนึ่ง และ

    เพราะความเรียกร้องของหัวใจอีกอย่างหนึ่ง

    -ประการแรกแม้จะทำสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง มนุษย์ก็ไม่ค่อยจะเดือดร้อนเท่าใดนัก

    เพราะคนส่วนมากหาได้รักหน้าที่เท่ากับความสุขส่วนตัวไม่

    -แต่สิ่งที่หัวใจเรียกร้องนี่ซิ ถ้าไม่สำเร็จ หรือไม่สามารถสนองได้ หัวใจจะร่ำร้องอยู่

    ตลอดเวลา มันจะทรมานไปจนกว่าจะหมดฤทธิ์ของมัน หรือมนุษย์ผู้นั้นตายจากไป

    -โกกิลาภิกษุณีกำลังต่อสู้กับสิ่งสองอย่างนี้ อย่างน่าสงสาร หน้าที่ของนางคือการ

    ทำลายความรักความใคร่ บัดนี้นางเป็นภิกษุณีมิใช่ชาวบ้านธรรมดา นางจึงต้องพยายาม

    กำจัดความรักความใคร่ระหว่างเพศให้หมดไป แต่หัวใจของนางกำลังเรียกร้องหาความรัก

    -หน้าที่กับความเรียกร้องของหัวใจ อย่างไหนจะแพ้จะชนะก็แล้วแต่ ความเข้มแข็งของ

    อำนาจฝ่ายสูงหรือฝ่ายต่ำ

    -ผู้หญิงนั้นลงได้ทุ่มเทความรักให้แก่ใครแล้วก็มั่นคงเหนียวแน่นยิ่งนัก ยากที่จะถ่ายถอน

    และความรักที่ไม่มีทางสมปรารถนาเลยนั้นเป็นความปวดร้าวอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง ดวงใจ

    ของเธอจะระบมบ่มหนอง ในที่สุดก็แตกสลายลงด้วยความชอกช้ำนั้น

    -อนิจจา โกกิลา แม้เธอจะรู้ว่าความรักของเธอไม่มีทางจะสมปรารถนาได้เลย แต่เธอก็

    ยังรัก สุดที่จะหักห้ามและถ่ายถอนได้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02915.JPG
      DSC02915.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3 MB
      เปิดดู:
      75
  16. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 8

    -อีกคืนหนึ่งที่นางต้องกระวนกระวายรัญจวนจิตถึงพระอานนท์ นอนพลิกไปพลิกมา

    นัยน์ตาเหม่อลอยอย่างไร้จุดหมาย นาน ๆ จึงจะจับนิ่งอยู่ที่เพดานหรือขอบหน้าต่าง นาง

    รู้สึกว้าเหว่เหมือนอยู่ท่ามกลางป่าลึกเพียงคนเดียว

    -ทำไมจึงว้าเหว่ในเมื่อคืนนั้นเป็นคืนแรกที่พระศาสดาเสด็จมาถึง ราชามหาอำมาตย์และ

    พ่อค้าคหบดีมากหลายเข้าเฝ้าพระภูมีพระภาคเจ้าเหมือนสายน้ำที่หลั่งไหลอยู่มิได้ขาด

    ระยะ มันเป็นเรื่องของผู้หญิงที่ผู้ชายน้อยคนนักจะเข้าใจและเห็นใจ

    -ภิกษุณีโกกิลาถอนสะอื้นเบา ๆ เมื่อเร้าร้อนและกลัดกลุ้มถึงที่สุด น้ำตาเท่านั้นที่จะช่วย

    บรรเทาความระทมข่มขื่นลงได้บ้าง

    -เพื่อนที่ดีในยามทุกข์สำหรับผู้หญิงก็คือน้ำตา ดูเหมือนจะไม่มีอะไรอีกแล้วจะเป็นเครื่อง

    ปลอบประโลมใจได้เท่าน้ำตา แม้มันจะหลั่งไหลจากขั้วหัวใจ แต่มันก็ช่วยบรรเทาความ

    อึดอัดลงได้บ้าง

    -เนื่องจากผู้หญิงถือว่าชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของความรัก ตรงกันข้ามกับผู้ชายซึ่งมักจะเห็นว่า

    ความรักเป็นเพียงบางส่วนของชีวิตเท่านั้น เมื่อเกิดความรัก ผู้หญิงจึงทุ่มเททั้งชีวิตและ

    จิตใจให้แก่ความรักนั้น ทุ่มเทอย่างยอมเป็นทาส

    -โกกิลาเป็นผู้หญิงคนหนึ่งในโลก นางจะหลีกเลี่ยงความจริงในชีวิตหญิงไปได้อย่างไร

    -พระดำรัสของพระศาสดาซึ่งทรงแสดงแก่พุทธบริษัทเมื่อสายัณห์ ยังคงแว่วอยู่ในโสตของ

    นาง พระองค์ตรัสว่า "ไม่ควรปล่อยตนให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งความรัก เพราะการ

    พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเป็นเรื่องทรมานและเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพรากก็เป็นสิ่งสุด

    วิสัย ทุกคนต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง"

    -พระพุทธดำรัสนี้ช่างเป็นความจริงเสียนี่กระไร แต่นางจะพยายามมิให้คิดถึงพระอานนท์

    สักเท่าใดก็หาสำเร็จไม่ นางตกเป็นทาสแห่งความรักแล้วอย่างหมดสิ้นหัวใจ

    -รุ่งขึ้นเวลาบ่ายนางเที่ยวเดินชมโน่นชมนี่ในบริเวณโฆสิตาราม เพื่อบรรเทาความกระวน

    กระวายกลัดกลุ้มรุ่มร้อน นางเดินมาหยุดยืนอยู่ริมสระซึ่งมีบัวบานสะพรั่ง รอบ ๆสระมีม้า

    นั่งทำด้วยไม้และมีพนักพิงอย่างสบาย

    -นางชอบมานั่งเล่นบริเวณสระนี้เสมอ ๆ ดูดอกบัว ดูแมลงซึ่งบินวนไปมาอยู่กลางสระ

    ลมพัดเฉื่อยฉิวหอบเอากลิ่นดอกบัว และกลิ่นน้ำคละเคล้ากันมาทำให้นางมีความแช่มชื่น

    ขึ้นบ้าง

    -ธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิตเสมอ มันเป็นเพื่อนที่ดีทั้งยามสุขและยามทุกข์ ชีวิต

    อยู่กับธรรมชาติมักจะเป็นชีวิตที่ชื่นสุขเบาสบาย

    -ยิ่งมนุษย์ทอดทิ้งห่างเหินจากธรรมชาติมากเท่าใด เขาก็ยิ่งห่างความสุขออกไปทุกทีมาก

    เท่านั้น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2011
  17. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 9

    -ขณะที่นางกำลังเพลินอยู่กับธรรมชาติอันสวยงามและดูเหมือนความรุ้มร้อนจะลดลงได้

    บ้างนั่นเอง นางได้ยินเสียงเหมือนมีคนเดินอยู่ด้านหลัง

    -ทันทีที่นางเหลียวไปดู ภาพ ณ เบื้องหน้านางเข้ามาทำลายความสงบราบเรียบเสียโดย

    พลัน พระอานนท์และโฆสิตมหาเศรษฐีเจ้าของอารามนั่นเอง

    -นางรู้สึกตะครั่นตะครอ มือและริมฝีปากนางเริ่มสั่นน้อย ๆ เหมือนคนเริ่มจะจับไข้ เมื่อ

    พระอานนท์เข้ามาใกล้ นางถอยหลังไปนิดหนึ่งโดยมิได้สำนึกว่า เบื้องหลังของนาง

    ณ บัดนี้คือสระน้ำ บังเอิญเท้าข้างหนึ่งของนางเหยีบดินแข็งก้อนหนึ่ง นางเสียหลักและ

    ล้มลง

    -พระอานนท์และโฆสิตมหาเศรษฐีตกตะลึงจังงังยืนนิ่งเหมือนรูปปั้นศิลา สักครู่หนึ่งจึงได้

    สติ แต่ไม่ทราบว่าจะช่วยนางประการใด นางเป็นภิกษุณีอันใคร ๆ จะถูกต้องมิได้

    -อย่าพูดถึงพระอานนท์เลย แม้โฆสิตมหาเศรษฐีเองก็ไม่กล้ายื่นมือประคองนางให้ลุก

    ขึ้น นางพยายามช่วยตัวเองจนสามารถลุกขึ้นมาสำเร็จแล้วคุกเข่าลงเบื้องหน้าพระ

    อานนท์ ก้มหน้านิ่งด้วยความละอาย

    -"น้องหญิง" เสียงทุ้ม ๆ นุ่มนวลของพระอานนท์ปรากฏแก่โสตของนางเหมือนแว่วมา

    ตามสายลมจากที่ไกล "อาตมาขออภัยด้วยที่ทำให้เธอตกใจและลำบาก เธอเจ็บบ้าง

    ไหม"

    -เสียงเรียบ ๆ แต่แฝงไว้ด้วยความห่วงใยของพระอานนท์ได้เป็นเหมือนน้ำทิพย์ชโลมใจ

    นางให้ชื่นบาน อะไรเล่าจะเป็นความชื่นใจของสตรีมากเท่ารู้สึกว่าชายที่ตนพะวงรักมี

    ความห่วงใยในตน

    -สตรีเป็นเพศที่จำความดีของผู้อื่นได้เก่งพอ ๆ กับการให้อภัย และลืมความผิดพลาดของ

    ชายอันตนรัก

    -เหมือนเด็กน้อยแม้จะถูกเฆี่ยนมาจนปวดร้าวไปทั้งตัว แต่พอมารดาผู้เพิ่งวางไม้เรียวแล้ว

    หันมาปลอบด้วยคำอันอ่อนหวานสักครู่หนึ่ง และแถมด้วยขนมชิ้นน้อย ๆ บ้างเท่านั้น เด็ก

    น้อยจะลืมเรื่องไม้เรียว กลับหันมาชื่นชมยินดีกับคำปลอบโยนและขนมชิ้นน้อย

    -เขาจะซุกตัวเข้าสู่อ้อมอกของมารดาและกอดรัดเหมือนอาลัยอย่างที่สุด

    -การให้อภ้ยแก่คนที่ตนรักนั้น ไม่มีที่สิ้นสุดในหัวใจของสตรี และบางทีก็เป็นเพราะ

    ธรรมชาติอันนี้ด้วยที่ทำให้เธอชอกช้ำแล้วชอกช้ำอีก

    -แต่มนุษย์ทั้งบุรุษและสตรี เป็นสัตว์โลกที่ไม่ค่อยจะรู้จักเข็ดหลาบ จึงต้องชอกช้ำด้วยกัน

    อยู่เนือง ๆ

    -นางช้อนสายตาขึ้นมองพระอานนท์แวบหนึ่ง แล้งคงก้มหน้าต่อไป ไม่มีเสียงตอบจาก

    นาง เหมือนมีอะไรมาจุกที่คอหอยนางพูดไม่ออกบอกไม่ถูกว่านางดีใจหรือเสียใจที่เกิด

    เหตุการณ์นี้ขึ้น

    -"น้องหญิง" เสียงพระอานนท์ถามขึ้นอีก "เธอเจ็บบ้างไหม อาตมาเป็นห่วงว่าเธอจะเจ็บ"

    "ไม่เป็นไร พระคุณเจ้า" เสียงตอบอย่างยากเย็นเต็มที

    "เธอมาอยูที่นี่ สบายดีหรือ"

    "พอทนได้ พระคุณเจ้า"

    "แม่นางต้องการอะไรเกี่ยวกับปัจจัย 4 ขอให้บอกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอปวารณาไว้" ท่าน

    เศรษฐีพูดขึ้นบ้าง แล้วพระอานนท์และโฆสิตเศรษฐีก็จากไป

    -นางมองตามพระอานนท์ด้วยความรัญจวนพิศวาส นางรู้สึกเหมือนอยากให้หกล้มวันละ

    ห้าครั้ง ถ้าการหกล้มนั้นเป็นเพราะนางได้เห็นพระอานนท์อันเป็นที่รัก

    -นางเดินตามพระอานนท์ไปเหมือนถูกสะกด ความรักทำให้บุคคลทำสิ่งต่าง ๆ อย่างครึ่ง

    หลับครึ่งตื่น ครู่หนึ่งนางจึงหยุดเหมือนนึกอะไรขึ้นได้ แล้วเหลียวหลังกลับสู่ที่อยู่

    ของนาง.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2011
  18. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 10


    -นางกลับสู่ภิกขุนูปัสสยะ ที่พักของภิกษุณีด้วยหัวใจที่เศร้าหมอง ความอยากพบและ

    อยากสนทนาด้วยพระอานนท์นั้นมีมากสุดประมาณ

    -บุคคลเมื่อมีความปรารถนาอย่างรุนแรง ย่อมคิดหาอุบายเพื่อให้บรรลุสิ่งที่ปรารถนานั้น

    เมื่อไม่ได้อุบายที่ชอบ ก็พยายามทำโดยเล่ห์กลมารยา แล้วแต่ว่าความปรารถนานั้นจะ

    สำเร็จได้โดยประการใด

    -โดยเฉพาะความปรารถนาในเรื่องรักด้วยแล้ว ย่อมหันเหบิดเบือนจิตใจของผู้ตกอยู่ภาย

    ใต้อำนาจของมันให้กระทำได้ทุกอย่าง

    -พระพุทธองค์จึงตรัสว่า " เมื่อใดความรักและความหลงครอบงำจิต เมื่อนั้นบุคคลก็

    มืดมน เสมือนคนตาบอด "

    -นางปิดประตูกุฏินอนเหมือนคนเจ็บหนัก ภิกษุณีผู้อยู่ห้องติดกันได้ยินเสียงครางจึงเคาะ

    ประตูเรียก "ท่านเป็นอะไรไปหรือ โกกิลา" สุนันทาภิกษุณีถามด้วยความเป็นห่วง

    "ไม่เป็นไรมากดอก สุนันทา ปวดศีรษะเล็กน้อย แต่ดูเหมือนจะมีอาการไข้ ตะครั่น

    ตะครอ เนื้อตัวหนักไปหมด" โกกิลาตอบ

    "ฉันยาแล้วหรือ"

    "เรียบร้อยแล้ว"

    "อ้อ มีอะไรจะให้ข้าพเจ้าช่วยท่านบ้าง ไม่ต้องเกรงใจนะ ข้าพเจ้ายินดีเสมอ"

    "มีธุระบางอย่าง ถ้าท่านเต็มใจช่วยเหลือก็พอทำได้" โกกิลาพูดมีแววแช่มชื่นขึ้น

    "มีอะไรบอกมาเถิด ถ้าข้าพเจ้าพอช่วยได้ก็ยินดี" สุนันทาตอบด้วยความจริงใจ

    "ท่านรู้จักพระอานนท์มิใช่หรือ"

    "รู้ซิ โกกิลา พระอานนท์ ใคร ๆ ก็ต้องรู้จักท่าน เว้นแต่ผู้ที่ไม่รู้จักพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่า

    นั้น ท่านมีธุระที่พระอานนท์หรือ"

    "ถ้าไม่เป็นการลำบากแก่ท่าน ข้าพเจ้าอยากวานให้ท่านช่วยนิมนต์พระอานนท์มาที่นี่

    ข้าพเจ้าอยากฟังโอวาทจากท่าน เวลานี้ข้าพเจ้ากำลังป่วย ชีวิตเป็นของไม่แน่ พระ

    พุทธองค์ตรัสไว้มิใช่หรือว่า ความแตกดับแห่งชีวิต ความเจ็บป่วย กาลเป็นที่ตาย

    สถานที่ทิ้งร่างกายและคติในสัมปรายภพเป็นสิ่งที่ไม่มีเครื่องหมาย ใคร ๆรู้ไม่ได้ เพราะ

    ฉะนั้น ขอท่านอาศัยความอนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า ไปหาพระอานนท์แล้วเรียนท่าน

    ตามคำของข้าพเจ้าว่า โกกิลาภิกษุณีขอนมัสการท่านด้วยเศียรเกล้า เวลานี้นางป่วยไม่

    สามารถลุกขึ้นได้ ถ้าพระคุณเจ้าจะอาศัยความกรุณาไปเยี่ยมไข้จะเป็นประโยชน์เกื้อกูล

    และความสุขแก่นางหาน้อยไม่"

    -เวลานั้นบ่ายมากแล้ว ความอบอ้าวลดลง บริเวณอารามซึ่งมีพันธุ์ไม้หลายหลากดูร่มรื่น

    ยิ่งขึ้น นกเล็ก ๆบนกิ่งไม้วิ่งไล่อย่างเพลิดเพลิน บางพวกร้องทักทายกันอย่างสนิทสนม

    และชื่นสุข

    -ดิรัจฉานเป็นสัตว์โลกที่มีความรู้น้อย และความสามารถน้อย มันมีความรู้ความสามารถ

    แต่เพียงหากินและหลบหลีกภัยเฉพาะหน้า แต่ดูเหมือนมันจะมีความสุขยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่ง

    ถือตนว่าฉลาดและมีความสามารถเหนือสัตว์โลกทั้งมวล

    -เป็นความจริงที่ว่าความสุขนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหนและ

    ภาวะอย่างใด ถ้าสามารถพอใจในภาวะนั้นได้ เขาก็มีความสุข

    -คนยากจนหาเช้ากินค่ำ อาจจะมีความสุขกว่ามหาเศรษฐีหรือมหาราชาผู้เร่าร้อนอยู่เสมอ

    เพราะความปรารถนาและทะยานอยากอันไม่รู้จักสิ้นสุด.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2011
  19. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    นิยายธรรม "โกกิลาภิกษุณี" ที่หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี ได้แสดงเผยแผ่

    ตอนที่ 11


    -มนุษย์เราจะมีสติปัญญาฉลาดปานใดก็ตาม ถ้าไร้เสียแล้วซึ่งปัญญาในการหาความสุขให้

    แก่ตนโดยทางที่ชอบ เขาผู้นั้นจะทนงตนว่าฉลาดกว่าสัตว์ละหรือ

    -มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ความยากความดิ้นรนออกหน้าแล้ววิ่งตาม เหมือนวิ่งตาม

    เงาของตนเองในเวลาบ่ายยิ่งวิ่งตาม ก็ดูเหมือนเงาจะห่างตัวออกไปทุกที

    -ทุกคนต้องการและมุ่งมั่นในความสุข แต่ความสุขก็เป็นเหมือนเงานั่นเอง ความสุขมิใช่

    เป็นสิ่งที่เราจะต้องแสวงหาและมุ่งมอง

    -หน้าที่โดยตรงที่มนุษย์ควรทำนั้นคือ การมองทุกข์ให้เห็น พร้อมทั้งตรวจสอบพิจารณา

    สาเหตุแห่งทุกข์นั้น แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์เสีย โดยนัยนี้ความสุขก็จะเกิดขึ้นเอง

    -เหมือนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ประเทศชาติ ถ้าปราบเสี้ยนหนามและเรื่องร้าย

    ในประเทศมิได้ ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศชาติจะเจริญและผาสุก

    -หรือเหมือนผู้ปรารถนาความสุขแก่ร่างกาย ถ้ายังกำจัดโรคในร่างกายมิได้ ความสุขกาย

    จะมีได้อย่างไร แต่ถ้าร่างกายปราศจากโรค มีอนามัยดี ความสุขกายก็มีมาเอง

    -ด้วยประการฉะนี้ ปรัชญาเถรวาทจึงให้หลักเราไว้ว่า "มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบาย

    ว่า เมื่อเห็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์ แล้วทำลายสาเหตุแห่ง

    ทุกข์นั้นเสีย

    -เหมือนหมอทำลายเชื้อโรคอันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์น้อยลงเท่าใด ความสุขก็ยิ่ง

    เพิ่มขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ที่ลดลงนั่นเองคือความสุข

    -เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่า ความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อน ความเย็นคือ

    ความร้อนที่ลดลง เมื่อความร้อนลดลงถึงที่สุด ก็กลายเป็นความเย็นที่สุด

    -ทำนองเดียวกัน เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด ขั้นแห่งความสุข

    นั้นมีขึ้นตามขั้นแห่งความทุกข์ที่ลดลง คำสอนทางศาสนาเมื่อว่าโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเรื่อง

    ของ "ศิลปแห่งการลดทุกข์" นั่นเอง

    -พระอานนท์ได้รับคำบอกเล่าจากสุนันทาภิกษุณีแล้ว ให้รู้สึกเป็นห่วงกังวลถึงโกกิลา

    ภิกษุณียิ่งนัก ท่านคิดว่าหรือจะเป็นเพราะนางหกล้มเมื่อบ่ายนี้กระมัง จึงเป็นเหตุให้นาง

    ป่วยลง

    -อนิจจา โกกิลานางรักเรา เราหรือจะไม่รู้ แต่นางมาหลงรักคนที่ไม่มีหัวใจจะรักเสีย

    แล้ว เหมือนเด็กน้อยผู้ไม่ประสาต่อความตายนั่งร่ำร้องเร่งเร้าขอคำตอบจากมารดาผู้นอน

    ตายสนิทแล้ว ช่างน่าสงสารสังเวชเสียนี่กระไร

    -ผู้หญิงมีความอ่อนแอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พระศาสดาจึงกีดกันหนักหนาในเบื้องแรก

    ที่จะให้สตรีบวชในศาสนา ทั้งนี้เป็นเพราะพระมหากรุณาของพระองค์ ที่ไม่ต้องการให้

    สตรีต้องลำบาก มีเรื่องเดียวเท่านั้นที่สตรีทนได้ดีกว่าบุรุษ นั่นคือ การทนต่อความเจ็บ

    ปวด

    -พระอานนท์มีพระรูปหนึ่งเป็นปัจฉาสมณะไปสู่สำนักภิกษุณีเพื่อเยี่ยมไข้ แต่เมื่อเห็น

    อาการไข้ของโกกิลาภิกษุณีแล้ว ความสงสารและกังวลของท่านก็ค่อย ๆ คลายตัวลง

    ความฉลาดอย่างเลิศล้ำของพระพุทธอนุชาแทงทะลุความรู้สึกและเคลัญญาการของนาง

    ท่านรู้สึกว่าท่านถูกหลอก ท่านไม่เชื่อเลยว่านางจะเป็นไข้จริง

    "แต่เอาเถิด" พระอานนท์ปรารภกับตัวท่านเอง "โอกาสนี้เป็นโอกาสดีเหมือนกันที่จะแสดง

    บางอย่างให้นางทราบ เพื่อนางจะได้ละความพยายาม เลิกรัก เลิกหมกมุ่นในโลกียวิสัย

    หันมาทำความเพียรเพื่อละสิ่งที่ควรละ และเจริญสิ่งที่ควรทำให้เจริญให้เหมาะสมกับเพศ

    ภิกษุณีแห่งนาง คงจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่นางไปตลอดกาลนาน คงจะเป็นปฏิการอัน

    ประเสริฐสำหรับความรักของนางผู้ภักดีต่อเราตลอดมา"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC03044.JPG
      DSC03044.JPG
      ขนาดไฟล์:
      3.1 MB
      เปิดดู:
      76
    • 1328-7.jpg
      1328-7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.2 KB
      เปิดดู:
      75
    • 1328-8.jpg
      1328-8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.1 KB
      เปิดดู:
      70
    • DSC04669.gif
      DSC04669.gif
      ขนาดไฟล์:
      55.7 KB
      เปิดดู:
      90
    • KuanYin02.jpg
      KuanYin02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16.8 KB
      เปิดดู:
      240
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2011
  20. สวนพลู

    สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    มารออ่านครับพี่ชาย กำลังสนุกเลยครับ

    เลขใต้ฐาน 72 ไม่กลับครับพี่ ได้เรื่องเลยครับ อิอิอิ

    อย่าลืมไปทำบุญน่ะครับ วันสำคัญครับ โอวาทปาฏิโมก เป็นสิ่งที่พึ่งได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...