พุทธศาสนากับการบริโภค

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย siwarit, 26 มกราคม 2011.

  1. siwarit

    siwarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,159
    ค่าพลัง:
    +6,173
    ผมกำลังจะทำงานวิจัยเกี่ยวกับการบริโภคศาสนาพุทธ โดยจะนำไปตอบคำถามและพัฒนาทฤษฎีด้านการตลาดเชิงพุทธครับ จึงอยากจะรบกวนขอเชิญเพื่อนสมาชิกทุก ๆ คนร่วมแสดงความคิดเห็นครับผม

    ตอนนี้ผมกำลังถกเถียงกับเพื่อนที่ทำวิจัยในด้านการตลาดกับการบริโภคครับเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาพุทธที่ว่า "คนพุทธปฎิบัติสวนทางกับแนวคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เน้นหลุดพ้น ไม่ยึดติด แต่คนทั่วไปบริโภคแล้วยึดติดกับวัตถุนิยม สิ่งของ ทรัพย์สมบัติ ลาภยศ สรรเสริญ"
    แต่ผมคิดว่า พระพุทธเจ้าสอนกระจกอีกด้านของคนครับว่า ผู้คนแสวงหาวัตถุเพื่อสนองอัตตาของตัวเอง (กามตัณหา ภวะตัณหา วิภวะตัณหา) ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญในทฤษฎีด้านการตลาดและการบริโภคในปัจจุบัน

    สำหรับผมผมคิดว่า ท่านสอนให้คนตระหนักว่า การบริโภคแบบนั้นไม่ใช่ทางหลุดพ้น แม้ว่าเราจะเพลิดเพลิน เราก็ทุกข์ ท่านจึงสอนให้เราหาทางพ้นทุกข์ด้วยการเดินข้ามอัตตา คล้าย ๆ กับงานวิจัยที่ผมทำอยู่ว่าทุกอย่างคือกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง นั่นคือ จะต้องค่อย ๆ ลด ละ ปฎิบัติอย่างต่อเนื่องในการพ้นทุกข์

    ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรครับเกี่ยวกับแนวทางคำสอนของศาสนาพุทธกับการปฏิบัติตนของชาวพุทธในด้านการบริโภคที่เรายังมุ่งเน้นการครอบครองวัตถุว่าเรากำลังเดินออกห่างแนวคำสอนของศาสนาพุทธหรือไม่ครับ

    ขออนุญาตอีกคำถามครับว่า

    ท่านปฎิบัติธรรมหรือมีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพุทธ เช่นไปวัด ปิดทอง ปฎิบัติธรรม กราบสักการะพระสงฆ์ สวดมนต์ ฯลฯ ไปเพื่ออะไรครับ ขอทราบเหตุผลครับffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
     
  2. Tiger Dear's

    Tiger Dear's MY HOMEWORK

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2009
    โพสต์:
    842
    ค่าพลัง:
    +301
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=vJWxQz7GG0w"]YouTube - เพลง "ศรัทธา"[/ame]

    ก็เพราะผมเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้านะซิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2011
  3. นำทาง

    นำทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,181
    ค่าพลัง:
    +7,865
    "คน พุทธปฎิบัติสวนทางกับแนวคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เน้นหลุดพ้น ไม่ยึดติด แต่คนทั่วไปบริโภคแล้วยึดติดกับวัตถุนิยม สิ่งของ ทรัพย์สมบัติ ลาภยศ สรรเสริญ"
    ........................................................................
    คนความรู้น้อยๆๆอย่างผมเข้าใจแบบนี้ครับว่าตอบยากเหมือนกัน...เอาง่ายๆๆก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ และค้นพบหนทางของการหลุดพ้น ใช้ระยะเวลานานเท่าใดละครับ...หากคุณตอบคำถามตรงนี้ได้...คุณจะพบคำตอบที่คุณอยากได้เช่นกันครับ...นั่นคือการที่คนเรายังยึดติดกับ วัตถุนิยม สิ่งของหรืออะไรอีกมากมาย ก็มิใช่บทสรุปว่าบุคคลเหล่านั้นได้ปฏิบัติสวนทางกับคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่อาจเป็นก้าวแรกของบุคคลเหล่านั้นที่กำลังหาทางให้หลุดพ้นเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าก็ได้...เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าเคยกล่าวไว้ว่า อย่าเชื่ออะไรง่ายๆจนกว่าจะได้ลองเอง
     
  4. siwarit

    siwarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,159
    ค่าพลัง:
    +6,173
    ขอบคุณครับคุณนำทาง

    ผมขออธิบายเพิ่มว่าทำไมถึงตั้งคำถามแบบนี้ เนื่องจากตอนนี้มีหลายชาติกำลังให้ความสำคัญการปฎิบัติตามแนวทางศาสนาพุทธกับการบริโภค แล้วเค้าก็สงสัยว่าทำไมนะ คนไทยหรือชาวพุทธต่าง ๆ ยังมีการบริโภคแบบสุดโต่ง เน้นครอบครองวัตถุ หรืออัตตา แต่ทางปฎิบัติของพระพุทธเจ้าคือมุ่งเน้นปล่อยวาง ละอัตตา

    เข้าสู่ประเด็นคือ คำถามนี้ไม่มีคำตอบถูกผิดครับ แต่เป็นการแสดงความเห็นของแต่ละท่านถึงมุมมองนี้ครับ เช่น แนวทางนี้ก็ไม่ผิด เพราะไม่มีข้อห้ามในศีล 5 จึงปฎิบัติ หรือ อันนั้นเป็นเรื่องของคนที่ตัดได้ ทำนองนั้นครับ

    บางคนปฎิบัติเพื่อหาแนวทางการหลุดพ้น บางคนเชื่อว่าจะพ้นจากภัยพิบัติ บางคนทำแล้วสบายใจ มั่นใจ จึงอยากจะทราบว่าแต่ละท่านมีจุดมุ่งหมายอะไรในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ อาทิ ไปวัด ฟังธรรม ปิดทองฝังลูกนิมิตร เป็นต้น

    ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
  5. paitoon01

    paitoon01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,480
    ค่าพลัง:
    +4,160
    สวัสดีครับคุณ Siwarit

    คำถามค่อนข้างจะกินวงกว้างและอาจจะต้องพิจารณากันอย่างละเอียดโดยยึดพระไตรปิฏกเป็นหลักซึ่งคงจะยุ่งยากพอสมควร
    ผมจึงขอให้ความเห็นส่วนตัวแบบง่าย ๆ ดังนี้ครับ

    ข้อ๑. ผมเห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า "คนพุทธปฏิบัติสวนทางกับแนวคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เน้นหลุดพ้น ไม่ยึดติด แต่คนทั่วไปบริโภคแล้วยึดติดกับวัตถุนิยม สิ่งของ ทรัพย์สมบัติ ลาภยศ สรรเสริญ" ปัจจุบันนี้คนไทยที่นับถือศาสนาพุทธเกือบร้อยละร้อยนับถือแต่ในทะเบียนบ้าน ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ชาวพุทธที่สนใจศึกษาอย่างจริงจังและนำไปปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นมีเพียงหยิบมือเดียว เมื่อชาวพุทธส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าสอนอะไร ก็หันไปนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่นนับถือเทวดา อ้อนวอนขอให้เทวดาช่วยเป็นต้น

    ข้อ๒. ชาวพุทธส่วนใหญ่ซึ่งหมายถึงเรา ๆ ท่าน ๆ นี่แหละเกิดมาในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสังคมบริโภคนิยม หรือวัตถุนิยม สังคมไทยนับหน้าถือตาผู้คนที่ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ สื่อมวลชนต่าง ๆ ก็นิยมชมชอบแบบเดียวกัน ดังนั้นพวกเราจึงเติบโตมาในสิ่งแวดล้อมแบบนี้ ทำให้เราติดการบริโภคและมีความต้องการในการบริโภคที่มากขึ้นและไม่จำเจ จิตใจของพวกเราส่วนใหญ่จึงถูกย้อมด้วยกิเลส ตกเป็นทาสของกิเลสอย่างเต็มใจและไม่รู้ความเผ็ดร้อนของกิเลส เมื่อเป็นทุกข์ก็ดิ้นรนไขว่คว้าหาทางดับทุกข์ แต่เป็นการไขว้คว้าหาทางดับทุกข์ที่ผิดคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่นเมื่อกลุ้มใจก็ไปกินเหล้า เป็นต้น

    ข้อ๓. การปฏิบัติธรรมของผมจะมีการทำบุญตักบาตรตามโอกาส เข้าวัดฟังธรรมตามโอกาส ไหว้พระสวดมนต์ทุกวัน ถือศีล ๕ ฟังการบรรยายธรรมทางซีดีของหลวงพ่อบางองค์เป็นประจำ และปฏิบัติกรรมฐานบ้าง ที่ผมถือศีล๕ เพราะพระพุทธเจ้าสอนว่าศีล๕ เป็นการปิดกั้นอกุศลอย่างหยาบทางกายและทางวาจา เมื่อผมถือศีล๕เป็นประจำแล้วชีวิตสุขสบายขึ้น ผมฟังบรรยายธรรมทางซีดีของหลวงพ่อบางองค์เพื่อศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า หลังจากฟังเป็นประจำแล้วผมเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก ผมเข้าใจเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา เข้าใจเรื่องอริยสัจ เข้าใจเรื่องสติปัฏฐานก็เพราะได้ฟังการบรรยายธรรมทางซีดี และผมตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้คือหนทางสู่ความหลุดพ้นและจะไม่ย่อท้อแม้หนทางจะยาวไกลเพียงใด

    ขออนุโมทนากับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ด้วยครับ

     
  6. thumachatshawan

    thumachatshawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +144
    ความเห็นส่วนตัว

    ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรครับเกี่ยวกับแนวทางคำสอน ของศาสนาพุทธกับการปฏิบัติตนของชาวพุทธในด้านการบริโภคที่เรายังมุ่งเน้นการ ครอบครองวัตถุว่าเรากำลังเดินออกห่างแนวคำสอนของศาสนาพุทธหรือไม่ครับ
    คิดว่ามีส่วนเมื่อเรามีวัตถุที่มีมูลค่า ยิ่งมาก ยิ่งห่างไกลศาสนา




    ท่านปฎิบัติธรรมหรือมีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยว เนื่องกับศาสนาพุทธ เช่นไปวัด ปิดทอง ปฎิบัติธรรม กราบสักการะพระสงฆ์ สวดมนต์ ฯลฯ ไปเพื่ออะไรครับ ขอทราบเหตุผลครับ

    สำหรับดิฉันไม่มาก เช่น ฟังเทศน์ เดือนละ 1 ครั้ง, ใส่บาตรเดือนละ 1 ครั้ง, สวดมนต์อาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อสืบทอดพระศาสนา เข้าสังคม
     
  7. มะบอม

    มะบอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,255
    ค่าพลัง:
    +5,352
    "ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรครับเกี่ยวกับแนวทางคำสอนของศาสนาพุทธกับการปฏิบัติตนของชาวพุทธในด้านการบริโภคที่เรายังมุ่งเน้นการครอบครองวัตถุว่าเรากำลังเดินออกห่างแนวคำสอนของศาสนาพุทธหรือไม่ครับ"

    ขอเรียนถาม ครอบครองวัตถุอะไรหรือครับ อย่างเช่นอะไร
     
  8. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ศาสนาพุทธสอนให้รู้จักพิจารณา
    พิจารณาอะไร
    ธาตุปฏิกูละปัจจเวกขณปาฐะ

    [​IMG]

    (หันทะ มะยัง ธาตุปะฏิกูละปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส.)
    เชิญเถิด เราทั้งหลาย, จงสวดบาลีเป็นเครื่องพิจารณาปัจจัย๔ โดยความเป็นธาตุปฏิกูลเถิด

    ข้อที่ว่าด้วยจีวร
    ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง,
    สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น, กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ;
    ยะทิทัง จีวะรัง, ตะทุปะภุญชะโกจะ ปุคคะโล,
    สิ่งเหล่านี้คือ จีวร, และบุคคลผู้ใช้สอยจีวรนั้น;
    ธาตุมัตตะโก,
    เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ;
    นิสสัตโต,
    มิได้เป็นสัตวะ อันยั่งยืน;
    นิชชีโว,
    มิได้เป็นชีวะ อันเป็นบุรุษบุคคล;
    สุญโญ,
    ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
    สัพพานิ ปะนะ อิมานิ จีวะรานิ อะชิคุจฉะนียานิ,
    ก็จีวรทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม;
    อิมัง ปูติกายัง ปัต์วา,
    ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว;
    อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ,
    ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน;
    ข้อที่ว่าด้วยบิณฑบาตร
    ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง,
    สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น, กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ;
    ยะทิทัง ปิณฑะปาโต ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล,
    สิ่งเหล่านี้คือ บิณฑบาต, และบุคคลผู้บริโภคบิณฑบาตนั้น;
    ธาตุมัตตะโก,
    เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ;
    นิสสัตโต,
    มิได้เป็นสัตวะ อันยั่งยืน;
    นิชชีโว,
    มิได้เป็นชีวะ อันเป็นบุรุษบุคคล;
    สุญโญ,
    ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
    สัพโพ ปะนายัง ปิณฑะปาโต อะชิคุจฉะนีโย,
    ก็บิณฑบาตทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม;
    อิมัง ปูติกายัง ปัต์วา,
    ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว;
    อะติวิยะ ชิคุจฉะนีโย ชายะติ,
    ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน;
    ข้อที่ว่าด้วยเสนาสนะ
    ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง,
    สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น,กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ;
    ยะทิทัง เสนาสะนัง, ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล,
    สิ่งเหล่านี้คือ เสนาสนะ, และบุคคลผู้ใช้สอยเสนาสนะนั้น;
    ธาตุมัตตะโก,
    เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ;
    นิสสัตโต,
    มิได้เป็นสัตวะ อันยั่งยืน;
    นิชชีโว,
    มิได้เป็นชีวะ อันเป็นบุรุษบุคคล;
    สุญโญ,
    ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
    สัพพานิ ปะนะ อิมานิ เสนาสะนานิ อะชิคุจฉะนียานิ,
    ก็เสนาสะทั้งหมดนี้ ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม;
    อิมัง ปูติกายัง ปัต์วา,
    ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว;
    อะติวิยะ ชิคุจฉะนียานิ ชายันติ,
    ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน;
    ข้อที่ว่าด้วยคิลานเภสัช
    ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะเมเวตัง,
    สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติเท่านั้น,กำลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ;
    ยะทิทัง คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร, ตะทุปะภุญชะโก จะ ปุคคะโล,
    สิ่งเหล่านี้คือเภสัชบริขารอันเกื้อกูลแก่คนไข้, และบุคคลผู้บริโภคเภสัชบริขารนั้น;
    ธาตุมัตตะโก,
    เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ;
    นิสสัตโต,
    มิได้เป็นสัตวะ อันยั่งยืน;
    นิชชีโว,
    มิได้เป็นชีวะ อันเป็นบุรุษบุคคล;
    สุญโญ,
    ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน
    สัพโพ ปะนายัง คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร อะชิคุจฉะนีโย,
    ก็คิลานะเภสัชบริขารทั้งหมดนี้, ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม;
    อิมัง ปูติกายัง ปัต์วา,
    ครั้นมาถูกเข้ากับกายอันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว;
    อะติวิยะ ชิคุจฉะนีโย ชายะติ,
    ย่อมกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน; ดังนี้
    **************************
     
  9. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ๕๘. อาหาเรปฏิกูลสัญญา<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    เทศน์ ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย<o:p></o:p>

    วันที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๓<o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    วันนี้จะเทศนาเรื่อง อาหาเรปฏิกูล ให้ฟัง จงตั้งใจฟังให้ดี<o:p></o:p>

    อาหารเป็นสิ่งที่มนุษย์และสัตว์ทั่วไปทั้งหมดจะต้องกิน ถ้าไม่กินก็อยู่ไม่ได้จะต้องตาย ฉะนั้นอาหารจึงเป็นปัจจัยเครื่องยังชีวิตให้เป็นอยู่อย่างหนึ่งในปัจจัยสี่ คือ ผ้านุ่งห่ม ๑ อาหาร ๑ ที่อยู่อาศัย ๑ ยาแก้โรคภัยไข้เจ็บ ๑ ปัจจัยสี่แต่ละอย่างนั้น ท่านสอนให้พิจารณาโดยนัยเดียวกัน คือ ก่อนจะรับ เวลารับอยู่ และรับแล้ว แต่แยกกันออกไปโดยตามประเภทดังนี้ เช่น<o:p></o:p>

    จีวร ก่อนจะรับมาบริโภคใช้สอย ให้พิจารณาโดยแยบคายด้วยอุบายอันชอบ คำว่าอุบายอันชอบนั้นแล้วแต่ว่าใครจะมีอุบายเห็นสมควรแก่จริตนิสัยของตน ขอให้พิจารณาเพื่อมิให้มัวเมาประมาทในกิเลส ให้เกิดสลดสังเวชเป็นพอ เราบริโภคใช้สอยจีวรนี้ ก็เพื่อป้องกันความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง และสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ มีริ้น เหลือบ ยุง เป็นต้น แล้วก็ปกปิดร่างกายเพื่อป้องกันความอาย พิจารณาก่อนจะรับ เรียกว่า ตังขณิกปัจจเวกขณ<o:p></o:p>
    เมื่อรับอยู่ก็ให้พิจารณา จีวรนี้สักแต่ว่าธาตุ หาใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาไม่ ไม่มีชีวิตจิตใจอะไร เป็นของว่างเปล่า เมื่อธาตุภายนอกคือจีวร เอามาหุ้มห่อธาตุภายใน คือ ร่างกายอันนี้แล้วก็เป็นของปฏิกูล เก่าคร่ำคร่าน่าเกลียด ต้องชำระซักฟอกอยู่เสมอ พิจารณาเมื่อกำลังรับอยู่เรียกว่า ธาตุปัจจเวกขณ์<o:p></o:p>
    เมื่อรับแล้วขอให้พิจารณาอย่างก่อนรับนั้น การพิจารณาภายหลังเมื่อรับแล้ว เรียกว่า อตีตปัจจเวกขณ์ <o:p></o:p>
    ปัจจัยเครื่องอาศัยทั้ง ๔ นี้ ต้องอาศัยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เมื่ออาศัยแล้วทำให้เกิดกิเลส คือยินดี พอใจ ชอบใจ รักใคร่ หรือไม่พึงพอใจ ไม่ปรารถนา เกลียดแหนงหน่าย สิ่งที่ไม่พอใจก็เป็นกิเลส เป็นวิสัยของปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส เหตุนั้นสาธุชนผู้ปรารถนาจะพ้นจากทุกข์ทั้งหลาย โดยเฉพาะพระภิกษุในพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ เมื่อบวชมาเพื่อสละเพศฆราวาส ปรารถนาที่จะทำตนให้พ้นจากโลกียวิสัยที่เรียกว่า เนกขัม ฉะนั้นเมื่อมาบริโภคใช้สอยปัจจัยสี่อันทายกเขานำมาถวายเพื่ออุทิศแก่พระศาสนา เราเป็นผู้รับแทน จงได้พิจารณา ดังที่ได้อธิบายมาแล้วนั้นจึงจะพ้นจากโทษอันเป็นหนี้ในวัตถุทานของเขา<o:p></o:p>
    บริโภค ท่านอธิบายไว้มี ๓ อย่าง คือ เถยยบริโภค ๑ หีนบริโภค ๑ สามีบริโภค ๑<o:p></o:p>

    ภิกษุในพระศาสนานี้บวชมาแล้ว เป็นอยู่ด้วยอาศัยเครื่องภายนอกอาศัยด้วยคนอื่น คือทายกทายิกาเห็นครองผ้าเหลือง ๆ คิดว่าเป็นผู้มี ศีลจารวัตร เกิดศรัทธาเลื่อมใสมีใจยินดีทำบุญด้วย แต่พระบางองค์โลภมากอยากได้ไม่พอจึงพูดค่อนแคะกับผู้มีศรัทธา เพื่อหวังผลอยากได้ในสิ่งที่ตนต้องการ<o:p></o:p>
    ดังพระองค์หนึ่งพูดกับผู้เขียนว่า เขาไม่เคยไปกรุงเทพฯ เลยในชีวิต ครั้งแรกที่เขาไปคงจะเป็นแถวเมืองนนทบุรีนั่นเอง เห็นผู้หญิงวัยกลางคนคนหนึ่ง หิ้วทุเรียนผ่านไป กลิ่นทุเรียนเหม็นฉุ่ย พระองค์นั้นก็ถามขึ้นว่า “กลิ่นอะไรโยม” โยมบอกว่า “กลิ่นทุเรียนน่ะค่ะ” พระองค์นั้นจึงเอ่ยขึ้นว่า “ฉันไม่รู้จัก รสชาติของมันเป็นอย่างไร หวานหรือเปรี้ยว ลูกละเท่าไหร่” (ที่จริงพระองค์นั้นเคยฉันและรู้จักรสชาติมาแล้ว ตลอดถึงราคาเมื่อก่อน ๒ บาท หรือสิบสลึงเท่านั้น ) โยมจึงบอกว่า “ฉันได้รสชาติก็อร่อยดี ราคาก็ไม่เท่าไร สองบาท หรือสิบสลึงเท่านั้นแหละ” พระจึงบอกเรื่องของตัวว่า “อาตมาอยู่บ้านนอกไม่เคยเข้ามาในกรุงเห็นของแปลก ๆ ก็อยากฉันดูบ้าง” โยมบ้ายอคนนั้นก็ฉีกทุเรียนถวายพระขี้โกหกหมดทั้งลูกเลย<o:p></o:p>
    นี่แหละเรียกว่า กุหณา หลอกลวงโกหกเขากิน หรือ เถยยบริโภค ลักขโมยของเขากินด้วยการเห็นแก่ปากแก่ท้อง แล้วพูดโกหกหลอกลวงเขาด้วยอาการต่าง ๆ นานาให้เขาหลงเชื่อ ไม่พิจารณาให้สมแก่สมณะ โยมก็ศรัทธาเหลือควร เห็นเขายอเข้าก็ได้ใจใหญ่เพื่อจะเพิ่มพูนกิเลสของพระ เมื่อพระท่านฉันของไม่ว่าหวานหรือคาวสิ่งใดมาก ๆ ก็ตักมาเพิ่มเติมให้ ถ้าพระมีสติรู้ตัวละอายหน่อยก็หยุดฉันทันที ถ้าพระหายางอายไม่ได้ก็จะฉันเรื่อยไป พูดเท่านี้ก็พอแล้ว<o:p></o:p>
    หีนบริโภค เมื่อภิกษุได้ปัจจัยสี่มาแล้ว บริโภคปัจจัยนั้นด้วยความมัวเมาหาพิจารณา ตังขณิกปัจจเวกขณ์ ธาตุปัจจเวกขณ์ หรืออตีตปัจจเวกขณ์ไม่ ตามที่อธิบายมาแล้วแต่ข้างต้น ภิกษุบวชมาในพระพุทธศาสนานี้ เพื่อรักษาไว้ซึ่งพรหมจรรย์ มาปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า หากเห็นแก่ลาภยศสรรเสริญลืมตัว ไม่พิจารณาปัจจัยสี่ดังอธิบายมาแล้ว ทรงเทศนาเฉพาะก้อนข้าวอย่าเดียวว่า ภิกษุเช่นนั้นบริโภคก้อนเหล็กร้อนแดงดีกว่า เพราะก้อนเหล็กแดงเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว จะต้องไหม้ลำไส้ทะลุลงไปถึงทวารหนัก แล้วก็ตาย ตายแล้วไม่ได้รับบาปกรรม ตกนรกทนทุกข์ทรมานนาน ส่วนก้อนข้าวที่ชาวเมืองเขาทำบุญหวังผลอานิสงส์นี้ เป็นบาปมากเพราะเจตนาของเขาบริสุทธิ์ แต่พระผู้รับเป็นผู้ทุศีล ไม่พิจารณาปัจจเวกขณ์ให้สมแก่สมณสารูป จึงเป็นบาปมาก<o:p></o:p>
    สามีบริโภค คือภิกษุก่อนจะรับปัจจัยสี่ มีจีวร เป็นต้น ก็พิจารณาให้เป็นของจำเป็นที่เราจะต้องนุ่งห่มเพื่อป้องกันความเย็น ร้อน และริ้น เหลือบ ยุง ทั้งหลาย เพื่อป้องกันกำบังความละอาย<o:p></o:p>
    เมื่อบริโภคอยู่ ให้พิจารณาเห็นเป็นแต่สักแต่ว่าธาตุทั้งสี่ ไม่ใช่สัตว์ ตัวตนบุคคล เราเขา เป็นของว่างเปล่า <o:p></o:p>
    เมื่อเข้ามาถึงอัตภาพของเราแล้ว ก็เป็นของปฏิกูลเน่าเปื่อย เมื่อบริโภคแล้ว ก็พิจารณาเหมือนก่อนได้รับนั้น จะไม่ให้เกิดความมัวเมาหลงระเริง ดังตัวอย่างพระบางรูป เมื่อได้ปัจจัยสี่มา เช่น อาหารเป็นต้น บริโภคโดยระเริงคุยกันอย่างสนุกสนาน หยอกล้อหัวเราะคิก ๆ คัก ๆ ผิดวิสัยสมณสารูปที่ดีงามไม่สำรวมทั้งกาย วาจา และใจ ทำตัวอย่างให้กุลบุตรผู้ได้เห็นแล้วถือเป็นแบบอย่าง ได้ชื่อว่า ทำลายพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัว<o:p></o:p>
    ปัจจัยทั้งสี่นี้ เครื่องนุ่งห่มและอาหารสำคัญที่สุด จะเว้นเสียมิได้ อาหารก็ยังพออดได้ ๑๐ วัน ๒๐ หรือ ๓๐ วัน ก็ยังไม่ตาย ส่วนจีวรนี่ซีไม่นุ่งห่มไม่ตายจริงแล แต่ไม่นุ่งห่มแล้ว ใครเล่าจะกล้าออกมาเดินโทกเทก ๆ ให้เขาดูได้ เหตุนั้นจีวรจึงเป็นของจำเป็นอย่างยิ่ง<o:p></o:p>
    ส่วนอาหารมีการหิวโหย เมื่อรับประทานแล้วมีอาการระงับไป แล้วก็หิวโหยอีก ไม่รู้แล้วรู้รองสักที วันหนึ่ง ๆ ตั้งหลายครั้งหลายหน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบย่อมละเว้นข้อเหล่านั้นเสีย บริโภคเพื่อยังชีวิตให้อยู่ได้ จะได้ประพฤติพรหมจรรย์ให้มั่นคงถาวรต่อไป ถ้าไม่บริโภคก็หิวโหยทุกขเวทนามาก จะประพฤติพรหมจรรย์ลำบาก เพราะพระพุทธศาสนานี้จะตั้งอยู่มั่นคงถาวรได้ ก็เพราะอาศัยพระสงฆ์ พระสงฆ์จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ทายก ทายิกา ทำบุญก็เพื่อยังพระศาสนาให้มั่นคงเจริญถาวรต่อไป ฉะนั้นภิกษุที่ท่านพิจารณาอาหารโดยเห็นเป็นธาตุชัดเจนแล้ว เมื่อจะบริโภคก็ไม่มัวเมา บริโภคเพื่อยังชีวิตให้เป็นไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น หรือที่เรียกว่าเพื่อเป็น ยาปรมัตถ์ เท่านั้นเอง<o:p></o:p>
    คนเป็นไข้ป่วยมาเลเรียไม่รับประทานยาควินินขมขื่นก็จะไม่หายฉันใดก็ฉันนั้น ท่านอุปมาไว้ว่า เหมือนหญิงลูกอ่อนเดินข้ามทะเลทรายอันกันดารไปหลายวันหลายคืน เสบียงที่เตรียมติดตัวไปก็หมดลง จึงมาคิดว่าทางอันกันดารก็ยังไกลอยู่ อาหารเราก็หมดแล้ว อีก ๒ - ๓ วันเราพร้อมด้วยลูกก็จะตายลงเพราะไม่มีอาหารรับประทานอย่ากระนั้นเลย เรามาฆ่าลูกน้อยของเราอันแสนรักสุดชีวิต กินเพื่อยังประทังชีวิตให้เป็นอยู่ แล้วหญิงแม่ลูกอ่อนคนนั้นก็ฆ่าลูกตายเสีย อันการรับประทานลูกรักแสนสุดใจกับการรักชีวิต พ้นวิสัยจะพรรณนา อาหารที่รับประทานนั้นจะเป็นอย่างไร ขอให้ผู้อ่านพิจารณาเอาเอง<o:p></o:p>
    ภิกษุผู้มีสติควบคุมจิตของตนได้แล้ว ย่อมพิจารณา ตังขณิกปัจจเวกขณ์ ธาตุปัจจเวกขณ์ อตีตปัจจเวกขณ์ ในปัจจัยทั้งสี่ให้เห็นเป็นสักแต่ว่าธาตุเท่านั้น ย่อมไม่มัวเมา หลงระเริงลืมตัว แล้วบริโภคปัจจัยสี่นั้นเรียกว่า สามีบริโภค บริโภคโดยความเป็นใหญ่ โดยเป็นเจ้าของแห้งวัตถุทานนั้น<o:p></o:p><o:p></o:p>
    อธิบายว่า ทานวัตถุอันใดที่ทายกทายิกานำมาถวายพระนั้น มีจีวรบิณฑบาต เป็นต้น ไม่ว่าทานวัตถุนั้นจะเป็นของหยาบและของละเอียดก็ตามเป็นของมีค่าเสมอเหมือนกัน ด้วยเจตนาหวังบุญอันแน่วแน่แด่พระภิกษุ ผู้ที่ตนเห็นว่าเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์และมีจริยาวัตรอันดีงาม แล้วหวังเพื่อบุญกุศลอันยิ่งใหญ่อันหาค่ามิได้ แต่พระภิกษุกลับทำตัวแกล้งเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลและจริยาวัตร หลอกลวงเขากิน ฉ้อโกงเขาด้วยกระเท่ห์เล่ห์กลต่าง ๆ ถึงไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง แต่ผิดในธรรมวินัย ด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ เหตุนั้นจึงเรียกว่า เถยยบริโภคและหีนบริโภค ขโมยของเขามากิน เป็นหนี้เป็นสินเขามากิน<o:p></o:p><o:p></o:p>
    การบริโภคทั้ง ๓ นี้ ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะทรงเทศน์ให้พระภิกษุบริษัทฟังก็จริงแล แต่<o:p></o:p>ฆราวาสก็ควรนำมาพิจารณาได้เหมือนกัน อย่างน้อยก็เพื่อลดหย่อนความฟุ่มเฟือยลงไปได้ ดีกว่าจะไม่พิจารณาเสียเลย มีแต่ความหลงมัวเมา เอาแต่ความชอบใจของตนอย่างเดียว ไม่รู้จักผิดถูกชั่วด<o:p></o:p>
    ดังเรื่องนายโคฆาต ท่านแสดงไว้ในพระธรรมบท นายโคฆาตคนนี้ติดเนื้อวัว เอาแต่รับประทานเนื้อวัวเสียจนไม่ต้องรับประทานข้าวก็อิ่ม ฆ่าวัวขายเป็นประจำตั้งหลายสิบปี วันหนึ่งแกออกจากบ้านไปทำงาน ภรรยาแกอยู่เฝ้าบ้านตอนกลางวันมีเพื่อนสามีมาเยี่ยมถึงบ้าน เมื่อถามหาสามี ก็ได้รับตอบว่าไม่อยู่ไปทำงานนอกบ้าน ภรรยาของเพื่อนจึงถามว่า รับประทานอาหารเที่ยงหรือยัง เขาบอกว่า ไม่เป็นไรหรอก ยังไม่หิวรับประทานไปตะกี้นี้เองภรรยาของเพื่อนก็ได้ต้อนรับด้วยน้ำใสใจดี ขอให้รอสักประเดี๋ยวจะจัดอาหารอย่างดีมาให้รับประทานแล้วก็ไปหยิบเอาเนื้อวัวที่เหลือไว้ให้สามีรับประทานนั้นมาปรุงเป็นอาหาร แต่ลืมไปหาได้คิดว่า สามีกลับจากทำงานมาแล้วมาถึงบ้านจะรับประทานอะไรถ้าขาดเนื้อวัวแล้วแกก็รับประทานไม่ได้เด็ดขาด เพื่อนของสามีเมื่อรับประทานอาหารแล้วก็ขอบพระคุณลาไป ก่อนจะลาไปสั่งภรรยาของเพื่อนให้บอกสามีว่าฉันมาเยี่ยมแต่ไม่พบ พอตอนบ่ายหน่อยนายโคฆาตก็กลับมาถึงบ้าน ถามหาเนื้อวัวที่เก็บไว้ ภรรยาก็บอกว่าได้เอาไปทำอาหารให้เพื่อนของแกรับประทานเสียแล้ว นายโคฆาตกำลังหิวจัดจึงจับมีดอันคมจัดลงไปใต้ถุนบ้าน ล้วงจับเอาลิ้นของโคที่ผูกไว้ เชือดเอามาปิ้งกิน โคนั้นก็ชักดิ้นตายอยู่กับที่<o:p></o:p>
    นายโคฆาต ก็รับประทานลิ้นวัวด้วยความเอร็ดอร่อย เพลินไปในรสอาหารเลยกัดลิ้นของตนเองขาดตายคาที่นั่นเอง ก่อนจะตายก็ร้องเหมือนเสียงโค แล้วก็กลิ้งไปมาจนสิ้นใจตาย<o:p></o:p>
    นี่แลผลกรรมที่ตัดลิ้นวัวมาเป็นอาหาร ไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัวก็ตายเสียแล้วและความหลงรสชาติในอาหารด้วยการไม่พิจารณาก่อน ใคร ๆ ก็บอกว่าไม่มีโทษ เพราะไม่ได้ลักขโมยเขากิน ย่อมเป็นอย่างนี้แหละ<o:p></o:p>
    วันนี้อธิบายเพียงเท่านี้ เอวํ ฯ<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    นั่งสมาธ<o:p></o:p>

    ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน<o:p></o:p>

    นั่งภาวนาต่อไป ปัจจัยสี่ มีอาหารเป็นต้นก็เป็นกัมมัฏฐานด้วยหรือ ทำไมจึงต้องพิจารณากัมมัฏฐานด้วย แน่นอน ถ้าพิจารณาให้เป็นกัมมัฏฐานไม่ว่าแต่เป็นปัจจัยสี่เท่านั้น สิ่งทั้งปวงหมดที่มีอยู่ในโลกนี้ ถ้าพิจารณาให้เป็นกัมมัฏฐานก็เป็นด้วยกันทั้งนั้น เพราะท่านให้พิจารณาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้เห็นตามเป็นจริงของมันทุกประการ เรียกว่ากัมมัฏฐาน<o:p></o:p>
    ที่ท่านยกเอาปัจจัยสี่ มาให้พิจารณา ก็ด้วยปัจจัยสี่เป็นของจำเป็นแก่ชีวิตทุกคน และต้องอาศัยอยู่เป็นนิตย์ด้วย<o:p></o:p>
    สิ่งที่เราอาศัยอยู่เป็นนิตย์นี้ มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราหลงและเกิดกิเลสได้ เมื่อเกิดกิเลสขึ้นบ่อยๆ ก็หุ้มห่อจิตใจให้หนาแน่นขึ้นทุกวันๆ เหตุนี้ท่านจึงให้พิจารณาก่อนจะรับให้เห็นเป็นธาตุ รับอยู่ก็ให้พิจารณาด้วยแยบคาย เพื่อมิให้หลงตามของเหล่านั้น เมื่อรับแล้วเอามาพิจารณาอีกซ้ำๆ ซากๆ อยู่อย่างนั้น ตราบใดยังมีชีวิตอาศัยของสี่อย่างนี้อยู่ก็ต้องพิจารณาอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนั้นแล้วสติจะแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว คือ ปัจจเวกขณ์นั่นแล<o:p></o:p>
    แล้วจะเอากัมมัฏฐานที่ไหนอีก เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนั้นจนชำนิชำนาญแล้ว ปัญญาความฉลาดในการพิจารณานั้นก็ดี หรือปัญญาอันเกิดจากแยบคายที่พิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี หากจะเกิดขึ้นด้วยตนเอง เอาละ<o:p></o:p><o:p></o:p>
     
  10. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ในหนังสือเล่มนี้ก็บอกชัดอยู่แล้วว่า ของดีมีเฉพาะในพุทธศาสนา ของดีอย่างนี้ในศาสนาอื่นไม่มีเลย ของดีในที่นี้หมายถึงสัจธรรมของจริงของแท้มีเหตุมีผลยืนยันได้เต็มที่ มี ๔ อย่าง คือ ทุกข์ ๑, สมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ๑, นิโรธ ความดับทุกข์ ๑, มรรค หนทางให้ถึงความดับทุกข์ ๑, พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติค้นคว้าได้มาด้วยพระองค์เองโดยมิได้มีใครบอกเล่าแนะนำ และได้เฉพาะในกายและใจของพระองค์เองแท้ ๆ มนุษย์ในโลกนี้เขาไม่ทำกันมาก่อนเลย แล้วทรงนำเอาความรู้นั้นมาเผยแพร่แก่มนุษย์ชาวโลกให้รู้ตามเห็นตามจนกระทั่งทุกวันนี้
    ภายหลังพระอาจารย์บางท่านบางองค์สอนไม่มีหลักธรรมอยู่ในใจ ทั้งตนเองก็ไม่ได้ปฏิบัติด้วย จดจำเอาตามตำราสอนผิด ๆ ถูก ๆ หรือสอนโดยเห็นแก่อามิสสินจ้างหรือมีกฎข้อบังคับจำเป็น คำสอนนั้นย่อมไม่ได้ประโยชน์สมบูรณ์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้ฟังไม่เกิดศรัทธาเลื่อมใสยอมปฏิบัติตามถึงแม้ผู้ฟังจะมีอุปนิสัยยอมปฏิบัติเป็นไปตามนั้นแล้วก็ตาม เมื่อความขัดข้องเกิดมีขี้นมาจะถามอาจารย์ผู้สอนก็แก้ให้ไม่ได้เพราะตนไม่ได้มีประสบการณ์มาก่อน อาจทำให้ลูกศิษย์เห็นผิดไปได้ บางทีทำให้จิตวิปลาสไปก็มีมากแล้ว ฉะนั้นผู้สอนจึงควรระวังสังวรหน่อย สอนพระศาสนาแทนที่จะเป็นคุณเลยเกิดโทษขึ้นมาก็เป็นได้
    คนไทยในเมืองไทยโดยมากเพียงแต่เอาพุทธศาสนามาถือไว้ไม่ได้ปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จึงมีแต่ชาวพุทธเป็นส่วนมาก พุทธบริษัทที่แท้มีน้อยเหลือเกิน ถ้าอาจารย์ผู้สอนมีศรัทธาเชื่อมั่นในคุณของพระรัตนตรัยที่แท้จริงแล้ว คือ เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรมว่าทำดีย่อมได้รับผลของกรรมดีมีความสุขกายและใจ เชื่อว่าทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลของกรรมชั่วเป็นทุกข์กายและใจ คนเราเกิดมาย่อมมีกรรมทุก ๆ คนจึงได้เกิดมา ถ้าไม่มีกรรมก็ไม่ได้เกิด เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องอาศัยกรรมนั้นแหละเป็นเครื่องอยู่ คือการทำมาหาเลี้ยงชีพ เมื่อไม่ทำมาหาเลี้ยงชีพจะอยู่กับเขาในโลกนี้ได้อย่างไร ฉะนั้น เมื่อจำเป็นจะต้องทำกรรมจึงควรงดเว้นกรรมชั่วเสีย จงทำแต่กรรมดี กรรมชั่วจึงค่อยหมดไปด้วยการไม่กระทำอีก ผู้เชื่อกรรมเห็นชัดแจ้งอย่างนี้แล้วย่อมละจากบาปกรรมนั้น ๆ ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีสิ่งอื่นบังคับ เจตนาที่เป็นอกุศลที่จะให้ล่วงในศีลข้อนั้น ๆ ย่อมไม่มี ศีล ๕ , ศีล ๘ ของฆราวาส และศีล ๑๐ , ศีล ๒๒๗ ของพระภิกษุ สามเณร ก็จะหยั่งรากฐานลงลึกถึงซึ่งรากฐานของพระพุทธศาสนา ( คือจิต ) ต่างคนก็จะมีศีลเป็นอิสระ รักษาศีลด้วยศรัทธาของตนเอง พระพุทธศาสนาก็มั่นคงไปสิ้นกาลนาน
    แน่นอนที่สุด ผู้กลัวบาปย่อมงดเว้นในศีลข้อนั้น ๆ แล้วจะต้องพิจารณาแต่เรื่องบาปกรรม คุณและโทษของศีลจนเห็นชัดแจ้งแล้วจิตใจจะเบิกบานแจ่มใสสะอาดอยู่เป็นนิจ นี่เรียกว่า ปัญญาเกิดจากพระรัตนตรัยและศีลเป็นมูลฐาน
    การพิจารณาของการที่ไม่มีพระรัตนตรัยและไม่มีศีลในตัวของตนเห็นเป็นภัยอย่างมหันต์ แล้วก็จดจ่อตั้งมั่นอยู่ในความที่ตนมีพระรัตนตรัยและศีลนั้นด้วยจิตที่เบิกบานอย่างยิ่ง เห็นโทษของความคิดสัญญาอารมณ์ความปรุงแต่งซึ่งไม่มีสาระคิดนึกปรุงแต่งแล้วก็ดับไป นี่เรียกว่าปัญญาเกิดจากสมาธิ
    ผู้มารู้แจ้งเห็นจริงในกิเลสทั้งหลายเหล่านั้นดังที่ได้อธิบายมาแล้วก็ดีหรือรู้จากภูมิปัญญาของผู้ที่ละกิเลสเหล่านั้นแล้วก็ดี ยังไม่สามารถจะพ้นจากทุกข์ที่แท้จริงได้ เป็นแต่ทำกิเลสให้เบาบางลงเท่านั้น แท้จริงผู้เกิดมาในโลกนี้มีอายตนะ ผัสสะแล้วจะต้องมีอารมณ์เป็นธรรมดา กิเลสทั้งหลายมีกามฉันท์เป็นต้น ก็ต้องมี ผู้ไม่รู้เท่าเข้าใจตามเป็นจริงของมัน เข้าไปยึดถือเอาเป็นของตนของตัวย่อมเดือดร้อนเป็นทุกข์ตลอดกาลนาน ผู้ที่ได้อบรมมาแต่ต้นคือเชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัย เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม มีศีลให้มั่นคง ทำสมาธิให้แน่วแน่ มีปัญญาฉลาดในอุบายต่าง ๆ ทำตนให้พ้นจากอารมณ์ทั้งปวงแล้ว ย่อมเห็นชัดในโทษทุกข์ทั้งปวงที่เข้าไป ยึดถือเอาอารมณ์นั้น ๆ ปล่อยวางทำใจให้เป็นกลางแล้วรู้อยู่ว่าใจของเราเป็นกลาง นี้เรียกว่าวิปัสสนาเกิดจากปัญญา
    ถ้าผู้สอนสอนให้คนทั้งหลายเข้าใจในพุทธศาสนาตามนัยนี้แล้ว คนไทยในเมืองไทยก็จะชื่อว่าเป็นพุทธบริษัทมากขึ้น แล้วละการถือผิดเหล่านี้คือ ถือเจ้าเข้าทรง ถือตะกรุดพิสมร ถือหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์และวัตถุมงคลที่เอามาแขวนไว้ที่คอพะรุงพะรังกันมากมายอย่างทุกวันนี้แน่นอน พระพุทธศาสนาก็จะเจริญ พุทธบริษัทในเมืองไทยก็จะสงบสุขยิ่งขึ้นไปกว่านี้
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=34 width="52%"> </TD><TD height=34 width="48%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์
    ๑๘ กันยายน ๒๕๓๑
    [/FONT]
     
  11. มธุรดา

    มธุรดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +213
    ลองอ่านเรื่องนี้ดูนะคะ ลองอ่านดูแล้ว ได้สติในการบริโภคขึ้นเยอะเลยค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • pic19.jpg
      pic19.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.9 KB
      เปิดดู:
      73
  12. siwarit

    siwarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,159
    ค่าพลัง:
    +6,173
    ครอบครองวัตถุในทุก ๆ อย่าง สะสมมือถือ รถยนต์ บ้าน พระเครื่อง ตลอดจนลาภยศสรรเสริญครับ

    ประเด็นเริ่มต้นที่ว่าฝรั่งเค้าเห็นว่าศาสนาพุทธ มุ่งเน้นการหลุดพ้น การไม่ยึดติดกับอัตตา กับสิ่งของ แต่เค้าเห็นว่าคนไทยหรือชาวพุทธต่างมุ่งเน้นสิ่งของ แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน

    คำถามตรงนี้คือ สิ่งที่ฝรั่งเค้าคิดนั้น เค้าคิดถูกต้องหรือไม่ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอนให้เราละทิ้งทุกอย่างจริงหรือไม่ครับ

    ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ อยากได้ความเห็นของเพื่อนสมาชิกมาก ๆ ครับ

    ขออภัยที่ตั้งคำถามไม่ชัดเจน เลยโดนเทศน์ด้วยพระไตรปิฎก กับถูกสั่งการบ้านให้ไปอ่านหนังสืออีกเล่มเลยครับ :)
     
  13. Tawatchai1889

    Tawatchai1889 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    6,406
    ค่าพลัง:
    +16,785
    ศาสนาพุทธ จุดหมายสูงสุดคือ พระนิพพาน นั่นก็ใช่อยู่ แต่ท่านก็ยังสอนเรื่องการครองเรือนอยู่ดีครับ ฆราวาสธรรม

    การครอบครองวัตถุมงคลต่างๆ ไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ก็มีบางกลุ่มที่หวังให้พระช่วย วัตถุมงคลจะเป็นเหมือนสะพาน ให้เราระลึกถึงพระรัตนตรัย ดังนั้นคนก็จะทำความดี รู้สึกผิดที่จะทำบาป

    ดังนั้นก็จะนำพาไปถึงจุดสูงสุดได้
     
  14. 15 ค่ำ

    15 ค่ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,108
    ค่าพลัง:
    +10,573
    ขอออกตัวเช่นกันว่าความรู้น้อย แถมสมองกลวงอิกนิดหน่อย ^ ^

    คำถาม1 คือ ฝรั่งมองกลุ่มคนที่นับถือศาสนาพุทธยังโลภ ยังชิงดีชิงเด่นกัน ทั้งๆที่ฝรั่งเข้าใจว่าศาสนาพุทธ สอนให้เราปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น

    อันนี้คงต้องแยกมา2ประเด็น ประเด็นแรกคือ ฆราวาส ประเด็นที่2ก็คือพระสงฆ์
    ประเด็นแรกคือฆราวาสหรือเรียกง่ายๆว่าชาวบ้านทั่วไปนี่ละ หรือ เราเองนี่ละ อันนี้พระพุทธองค์ท่านก็มีสอนใว้แล้วคือหลัก'' ฆราวาสธรรมเบื้องต้น''

    แต่จะมีซักกี่คนที่รู้ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนใว้อย่างไรบ้าง ผมเองก็พูดอย่างไม่อาย (เพราะด้านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว^ ^) ก็พึ่งเปิดกูเกิ้ลดูเมื่อครู่เหมือนกัน ท่านสอนใว้ดี และปฏิบัติใด้อย่างแน่นอน แต่จะมีซักกี่คนที่ทำใด้ครบ เหมือนสอบปลายเทอมเพื่อเลื่อนชั้น ก็ย่อมต้องมีพวกที่สอบผ่านและสอบตก ส่วนใหญ่พวกสอบตกจะเยอะ นับวันๆยิ่งเยอะ เพราะข้อสอบที่มีไม่กี่ข้อ แต่คนดันผ่านยาก เอาเพียงข้อแรก คือกิเลส ข้อนี้ก็ตกกันละนาวแล้ว

    ส่วนที่สองคือ''พระสงฆ์" ส่วนนี้ชัดเจนว่าบวชเพื่อศึกษาและปฏิบัติ ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนนี้ต้องสอบผ่านอย่างเดียวจะผ่านแบบเส้นยาแดง หรือ สอบผ่านใด้เกรดดี ก็คือต้องสอบผ่าน

    ผมว่าถ้าฝรั่งจะมองจริงๆ มองที่แก่นของศาสนาพุทธ และศึกษาจากตรงนั้น จะใด้สาระที่แท้จริงมากกว่า ดีกว่าจะมามองว่าทำไมคนที่นับถือศาสนาพุทธ จึงมีนิสัยที่ไม่ดีต่างๆ เหมือนเรามีผ้าสีขาว1เมตร แต่เราดันไปมองแค่รอยน้ำหมึกที่ตกลงบนผ้าแค่1มิล ส่วนที่ไม่มีน้ำหมึกและสะอาด ขาว กลับไม่มอง หรือ ลืมมอง

    เขียนไปเขียนมาก็ชักมึนตัวเอง รู้ว่าถ่ายทอดความคิดออกมาแบบเหวี่ยงแห แต่จะลบออกก็เสียดาย ทนๆอ่านละกันนะครับ ^ ^
     
  15. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ร่วมแสดงความเห็นด้วยคน :)

    ประเด็นเริ่มต้นที่ว่าฝรั่งเค้าเห็นว่าศาสนาพุทธ มุ่งเน้นการหลุดพ้น การไม่ยึดติดกับอัตตา กับสิ่งของ แต่เค้าเห็นว่าคนไทยหรือชาวพุทธต่างมุ่งเน้นสิ่งของ แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน

    เห็นด้วยกับที่คุณ paitoon01 กล่าวในข้อ 1 และ 2

    แต่อยากเพิ่มเติมว่า..

    ดิฉันอาจบอกกับเขา(ผู้ที่ตั้งคำถาม)ว่า..ไม่เห็นจะต้องแปลกใจอะไรเลย อันที่จริงแล้ว ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น การแก่งแย่งชิงดีกัน และลัทธิบริโภคนิยม มันก็เป็นกันทุกประเทศ ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ถือเป็นเรื่องธรรมดาของคนผู้ยังมีกิเลสอยู่

    สังคมมนุษย์มันถูกครอบงำด้วยวิถีทุนสมัยใหม่มานานแล้ว โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำให้มนุษย์มีความต้องการบริโภคมากขึ้น เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการเงินของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

    ด้วยระบบและแนวคิดเหล่านี้ ยิ่งเป็นตัวกระตุ้น หากลวิธีให้คนหลงใหลหรือพึงพอใจกับการได้มาซึ่งวัตถุสิ่งของต่างๆมากขึ้น พูดง่ายๆก็คือ ระบบโลกสมัยใหม่มันส่งเสริมกิเลสคนเพื่อจะใช้ครอบงำ คนทั่วโลกต่างก็อยู่ภายใต้การครอบงำเหล่านี้มาตั้งแต่เกิด คนที่จะหลุดพ้นหรือไม่อยู่ในการครอบงำเหล่านี้ได้ จึงต้องเป็นผู้ที่รู้จักตนเอง และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

    พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและเผยแพร่สัจธรรมที่ทำให้คนเรารู้จักตนเอง และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต แต่การน้อมนำไปปฏิบัติของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับระดับความเข้าใจซึ่งจะแตกต่างกันไป และยังมีบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย จึงไม่นำไปปฏิบัติ

    คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสากล ถ้าต่างชาติ เขาเห็นว่าดีและนำไปปฏิบัติ ผลก็จะเิกิดแก่เขาเอง

    ความเป็นพุทธะถือเป็นสากล เป็นด้วยจิต ไม่ได้เป็นตามบัตรประชาชน ฉะนั้นอย่าได้แปลกใจอะไรอีกเลย..

    คำถามตรงนี้คือ สิ่งที่ฝรั่งเค้าคิดนั้น เค้าคิดถูกต้องหรือไม่ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอนให้เราละทิ้งทุกอย่างจริงหรือไม่ครับ

    ดิฉันว่า พระุุพุทธองค์สอนให้เรารู้จักใช้สติ-ปัญญาเพื่อพิจารณาตนเอง
    และการรู้จักตนเองนั้น ก็ทำให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างมีสติปัญญา

    เมื่อเราดำเนินตามวิถีเหล่านี้จนเป็นธรรมชาติ มองเห็นทุกอย่างได้ตามความจริง ความรู้ ตื่น เบิกบาน หรือสภาวะจิตที่หลุดพ้นนั่นคือสิ่งที่จะตามมา (เข้าใจแล้ว จึงจะละวางลงได้)

    ขอบคุณ สำหรับคำถามที่ชวนให้คิดค่ะ :cool:
     
  16. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ว่าแต่..งานวิจัยเกี่ยวกับการบริโภคศาสนาพุทธ และพัฒนาทฤษฎีด้านการตลาดเชิงพุทธ มันเป็นยังไงหรือคะ? กรุณาเล่าให้ฟังหน่อยค่ะ :d
     
  17. มะบอม

    มะบอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,255
    ค่าพลัง:
    +5,352
    คงต้องถามฝรั่งกลับไปว่า ศาสนาใหญ่ๆของโลกที่มุ่งเน้นสอนเรื่องความเมตตาต่อทุกคนรวมทั้งเมตตาแม้กระทั้งศัตรู ทำไมยังเกิดสงครามเพื่อแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์และการล่าอาณานิคมเพื่อศาสนา ทั้งๆที่มันก็ตรงกันข้ามกับคำสอนทั้งนั้น และที่ฝรั่งมองว่าศาสนาชาวพุทธก็ยังมีให้เห็นเรื่องความโลภกิเลสต่างๆ ทำให้ขัดกับหลักการศาสนานั้น แสดงว่าฝรั่งยังไม่เข้าใจศาสนาพุทธอย่างแท้จริง ธรรมมะของฆารวาสและการครองเรือน ครองแผ่นดิน หรือหลักธรรมราชา ก็มีอยู่ ฝรั่งต้องการเพียงแค่รู้แก่นแท้ เลยมองข้ามขั้นพื้นฐานจากน้อยไปมาก จากมากไปปล่อยวาง เรียกง่ายๆว่า ข้ามขั้นเกินไปมาก จึงทำให้เข้าใจในแบบของธรรมะเพื่อการหลุดพ้นเพียงด้านเดียว คงต้องเผยแพร่ธรรมะของฆารวาสให้พวกเขาเข้าใจก่อนเป็นเบื้องต้น จบที
     
  18. siwarit

    siwarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,159
    ค่าพลัง:
    +6,173

    ปัจจุบันมีมุมมองเกี่ยวแนวคิดเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธเป็นวิชาการที่มีการเรียนการสอนไปทั่วโลก แต่ผมมีแนวคิดที่ว่าปัจจุบันการบริโภคของมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำเราไปสู่จุดจบของโลกเร็วขึ้น ทั้งสิ่งแวดล้อม อากาศเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงโลกร้อนขึ้น

    ดังนั้น ในฐานะนักการตลาดที่มุ่งเน้นแต่เพิ่มการบริโภค เพราะบริโภคมากย่อมส่งผลกำไรมาก ผมมองว่ามุมมองตรงนี้ นักการตลาดควรมุ่งเน้นในเรื่องการคำนึงถึงสถานการณ์ความเป็นจริง เหตุ และผลที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาจากการมุ่งเน้นผลตอบแทนด้านตัวเงิน

    สุดท้ายแล้วตุ๊กตาที่ผมคิดก็จะเป็นในลักษณะของแนวคิดการดำเนินการตลาดแบบเชิงพุทธเน้นพอดี ซึ่งคล้าย ๆ กับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงครับ เพียงแต่นักการตลาดแทนที่จะส่งเสริมหรือกระตุ้นการบริโภค แต่ก็จะมุ่งเน้นด้านพอเพียงมากขึ้น คราวนี้ฝรั่งเลยงง เพราะเค้าเข้าใจว่าพุทธเน้นปล่อยวาง ละอัตตา แม้ว่าคนไทยเองบางคนก็เข้าใจในจุดนี้ ผมก็เลยอยากถามความเห็นคนไทยที่เข้ามาในนี้ และคนทั่ว ๆ ไปว่ามีมุมมองอย่างไรตรงนี้ครับ

    อีกประเด็นหนึ่งครับ ก่อนหน้านั้นเวลาผมบรรยายด้านการตลาด ผมจะเริ่มต้นด้วยคำว่า "กิเลส" ในฐานะนักการตลาด เราต้องเล่นที่กิเลสของลูกค้า มาถึงจุดนี้ ผมคิดได้ว่า "กิเลส" ตัวนี้ของลูกค้าจะทำให้เราเกิดทุกข์อันยิ่งใหญ่ในอนาคตครับ


    นอกจากนี้อยากจะมองในประเด็นที่ว่า "พวกเราทำบุญ สะสมบุญกันไปเพื่ออะไร" เพื่อชีวิตหลังความตาย เพื่อผลประโยชน์ในชาตินี้ เพื่อมุ่งสู่ทางหลุดพ้น ฯลฯ

    ชอบตรงนี้แหละครับ มะมอมตอบได้ชัดเจนครับ ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มกราคม 2011
  19. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    เคยได้ยินอยู่เหมือนกันค่ะเรื่อง "เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ"
    ดิฉันเข้าใจว่า โดยภาพรวมเป็นเรื่องของการสร้าง "ปัญญา" ให้กับคนในสังคมในฐานะผู้บริโภค เพื่อให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจปัญหา และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตของตนเองได้ เช่น บริโภคอย่างไรไม่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นต้น

    แต่ยังไม่เคยได้ยินเรื่อง "การตลาดแบบเชิงพุทธ"
    น่าสนใจที่นักการตลาดและนักลงทุนจะหันมาทำการตลาดแบบเชิงพุทธ
    มันจะเป็นไปได้แค่ไหน และจะออกมาในรูปแบบใด?

     
  20. siwarit

    siwarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,159
    ค่าพลัง:
    +6,173
    ต้องรีบครับ เพราะฝรั่งจะเข้ามาจับไอเดียนี้ไป แต่เข้าไม่เข้าใจแก่นแท้ของศาสนาพุทธเท่าไหร่ครับ เค้าคิดว่าศาสนาพุทธคือ การละซึ่งความเป็นตัวตน ดังนั้น เค้าจึงไม่คิดว่าการตลาดเชิงพุทธจะได้ผลครับ ผมเคยไปนำเสนองานวิชาการที่อเมริกา ได้พบกับศาตราจารย์บางท่าน พอเค้ารู้ว่าผมเป็นคนไทย เค้าอยากให้ผมพัฒนาแนวทางนี้ให้ได้ ผมก็ไม่ได้ทำอะไรต่อ จนมาถึงปีที่แล้วถึงได้เริ่มครับ

    ตั้งใจว่าจะพัฒนาให้ได้ครับ ขอบคุณมากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...