พระกริ่งปริสุทโธ รุ่นทิ้งทวน ใครมีรายละเอียดบ้างครับ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 2 กุมภาพันธ์ 2005.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ผมบังเอิญ ได้มา อยากทราบรายละเอียด ความเป็นมาครับ ทำไมต้องรุ่นทิ้งทวน ปริสุทโธ นี่มา ฉายา หลวงพ่อคูณ นี่ครับ
     
  2. vego

    vego สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +4
    ผมก็ได้มาองหนึ่งครับหลังมีคำว่ารุ่นทิ้งทวน ยังไม่มีรายละเอียดเหมือนกัน แต่อยากเห็นรูปว่าเหมือนกันไหม
     
  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
  4. vego

    vego สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +4
  5. vego

    vego สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +4
  6. vego

    vego สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +4
  7. ืีnumq

    ืีnumq เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +343
  8. MICKY&MINNY

    MICKY&MINNY สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ประวัติการสร้างพระกริ่งปริสุทโธ รุ่นทิ้งทงวน

    ตอบ
    พระกริ่งรุ่นนี้สร้างประมาณกลางปี๒๕๓๖ โดยหลวงปุ่มอบหมายให้ลูกศิษย์ใกล้ชิด๓คนที่รับใช้หลวงปู่มาตั้งแต่เริ่มสร้างวัดบ้านไร่ จนรถบรรทุกไม้มาสร้างวัดพังกันไปหลายคัน เป็นผู้ควบคุมการสร้าง ลูกศิษย์ทั้ง๓ท่านประกอบไปด้วย ลุงพญา ลุงทิม พ่อเว้ง(สมชาย วัฒนวานิชย์กุล) แกะแบบแม่พิมพ์หินสบู่โดยช่างสมศักดิ์ ควบตุมการหล่อโดยคุณวิชัย เนื้อที่จัดสร้างพระกริ่งรุ่นนี้มี๓เนื้อเท่านั้น คือ เนื้อทองคำจำนวน๑๕๐ องค์ ตอกหมายเลข๑๔๕องค์ ที่เหลืออุดก้นด้วยสีผึ้ง เส้นเกศา ตะกรุดทองคำ หลวงปู่จารอักขระใต้ฐานพระทุกองค์
    เนื้อเงินสร้าง ๒,๐๐๐องค์ ตอกโค้ตใต้ฐานพระทุกองค์
    เนื้อนวะโลหะสร้าง ๑๐,๐๐๐องค์ ตอกโค้ตใต้ฐานพระทุกองค์
    "เนื้อนวะโลหะอุดก้นกริ่งด้วยแผ่นเงินเท่านั้น นอกจากพระที่กล่าวมาแล้วยังได้จัดสร้างเนื้อนวะโลหะพิเศษแก่ทองคำ โดยนำช่อชนวนที่เหลือจากการหล่อเนื้อทองคำมาเป็นมวลสารเพิ่ม เนื้อนวะโลหะพิเศษนี้มีเพียงประมาณไม่เกิน๒๐องค์เท่านั้น สำหรับโค้ตที่ใช้ตอกใต้ฐานพระมี๒ตัว คือตัว มิ(บาลื)และอักษร วทค ตอกเป็นรูปตราเบนซ์ ซึ่งโค้ตตัว วทคนี้ ถ้าบางท่านพบเห็นว่ามีการตอกที่ใต้ฐาน๒หรือ๓จุด ไม่ต้องแปลกใจครับ เพราะว่าผู้ตอกต้องการให้เห็นชัดเจน ส่วนตัว มิ(บาลี)จะตอกที่แผ่นอุดกริ่ง แผ่นอุดกริ่งนี้จะมีคำว่า คูณ ปั๊มอยู่และเป็นแผ่นเงินแท้ !ขอย้ำอีกครั้งนะครับเนื้อนวะโลหะอุดก้นกริ่งใต้ฐานด้วยแผ่นเงินเท่านั้น นอกเหนือไปจากนี้...!!!
    สำหรับชื่อรุ่นทิ้งทวน ได้มาจากการตั้งของหลวงปู่ซึ่งท่านได้ตั้งเอง เนื่องมาจากท่านมีความต้องการที่จะเลิกสร้างวัตถุมงคลซึ่งในขณะนั้นวัดบ้านไร่ได้ดำเนินการก่อสร้างจวนจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างวัตถุมงคลเพื่อหารายได้มาก่อสร้างอีก ประกอบกับเพื่อเป็นการช่วยเหลือครอบครัวของลูกศิษย์ใกล้ชิดทั้ง๓ ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจฝ่าความยากลำบากอุปสรรคต่างๆ จนวัดบ้านไร่สำเร็จสมบูรณ์ โดยหลวงปู่ได้อนุญาตให้ทั้ง๓ท่านดำเนินการจัดสร้างพระกริ่งแต่ทั้ง๓ท่านไม่รู้ว่าจะใช้ชื่อรุ่นอย่างไรจึงจะเหมาะสม จึงได้เข้าไปกราบขอความเมตตาจากหลวงปุ่ ท่านได้กล่าวว่า "กูจะหยุดสร้างแล้วรุ่นนี้เป็นรุ่นทิ้งทวน" เมื่อข่าวนี้กระจายออกไป ทำให้คนในพื้นที่และต่างจังหวัด ต้องการที่จะมีพระกริ่งรุ่นทิ้งทวนไว้สักการะบูชาเพื่อความเป็นศิริมงคล ยิ่งทำให้พระกริ่งรุ่นทิ้งทวนนี้โด่งดังไปทั่วฟ้าเมืองไทยตั้งแต่ยังไม่ได้ปลุกเศก
    เมื่อถึงวันอธิษฐานจิตปลุกเศกนั้น ด้วยความเมตตาของหลวงปู่ ลูกศิษย์ทุกคนที่อยู่ในพิธีวันนั้น ต่างรับรู้ใด้ถึงความตั้งใจและความศักสิทธิ์ของพระรุ่นนี้ การอธิษฐานจิตปลุกเศกครั้งนี้หลวงปู่ใช้เวลานั่งบริกรรมนานเกือบ๓ชั่วโมง นานกว่าการอธิษฐานจิตทุกครั้ง และเหตุการณ์เหนือธรรมชาติก็ได้เกิดขึ้นในขณะที่หลวงปู่ได้นั่งอธิษฐานจิต บรรดาฝูงจิ้งจกจำนวนนับร้อยๆตัวได้พากันมาเกาะอยู่ข้างผนัง บนเพดานหลังพระประธาน เป็นที่น่าแปลกใจไปตามกัน ลุงพญาลูกศิษย์ที่รับใช้ท่านมาหลายสิบปีถึงกับกล่าวว่า เหมือนหลวงลุงในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่(หลวงลุงหมายถึงหลวงปู่คง วัดถนนหักใหญ่ ผู้เป็นอาจารย์ของหลวงปู่คูณ) หลังจากนั้นพระกริ่งรุ่นทิ้งทวนนี้ก็มีประสบการณ์แก่ผู้บูชามาตลอดจนถึงทุกวันนี้ นับว่าเป็นพระเครื่องอีกรุ่นของท่านที่มีพุทธคุณสูง น่าเสาะหาไว้บูชา "สำหรับของฝีมือทำเลียนแบบยังห่างไกลจากของแท้" ถ้าไม่แน่ใจสอบถามได้จากผู้รู้จริงที่อยู่ในการจัดสร้าง ที่วัดบ้านไร่ยังมีอยู่๒หรือ๓ท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...