ทำไมถึงเกิดจักรวาล มนุษย์ พระพุทธเจ้า

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Sagen1994, 16 มกราคม 2011.

  1. Sagen1994

    Sagen1994 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +202
    อยากทราบว่า เริ่มแรกจิตเกิดจากอะไรครับ แล้วทำไมถึงเกิดพระพุทธเจ้าองค์แรกของจักรวาลครับ ...แล้วสมเด็จองค์ปฐม เป็นองค์แรกของจักรวาลไหมครับ?

    ก่อนหน้าที่ไม่มีสัตว์ใดๆเลย ก็ไม่น่าจะมีใครทำกรรมใดๆนะครับ...แล้วทำไมสัตว์ต่างๆ เทวดา พรหม จึงเกิดได้ครับ?

    เริ่มแรกมี มนุษย์ พรหม เทวดา สัตว์นรก เกิดพร้อมกันหรือไม่ครับ?
     
  2. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,434
    ค่าพลัง:
    +1,770
    เริ่มแต่ไม่แรก คือว่าเมื่อลกสร้างเรียบร้อยใหม่ๆ มีเหล่าพรหม หมด บุญพากันมากินง้วนดิน
    ก็เป็นมนุษย์ พวกนรกอเวจีหมดบุญ ก็มารับเศษกรรมต่อเป็นสัตว์
    แล้วก็ไปเรื่อยๆ มีภพภูมิต่างๆ มากมาย เกิดแก่เจ็บตายนับไม่ถ้วน
    พอถึงวันจักรวาลก็โดนทำลาย เหลือแต่พรหมโลกชั้นสูงลิ่ว กับนรกอเวจี
    นานแสนนาน จนจำต้นเหตุนึกปลายไม่ออกนานนับแถบไม่ไ้ด้ พรหมก็ลงมากินง้วนดินต่อ

    แล้วก็วนไปวนมา เรื่อยๆ



    แต่เริ่มแรกจริงๆ พระพุทธเจ้า ตรัสว่า เป็นอจิณไตย (แปลว่าสิ่งที่ไม่ควรคิด
    คิดไปก็คิดไม่ออก ไม่มีประโยชน์ พ้นทุกข์ไม่ได้)
     
  3. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,434
    ค่าพลัง:
    +1,770
    ตอนผมอายุ16 เล่นเว็ปพลังจิตเมื่อปี 2005 ผมก็สงสัยแบบนี้แหละครับ.....
     
  4. yindee1917

    yindee1917 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +211
    ไม่ใช่ไม่มี แต่หาไม่เจอ
     
  5. new_mansum

    new_mansum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    3,793
    ค่าพลัง:
    +5,396
    วอนผู้รู้เช่นกันครับ ^^
    ผมก็สงสัยอยู่บ้าง
     
  6. banpong

    banpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,434
    ค่าพลัง:
    +1,770
    อจินไตย 4 สิ่งที่มนุษย์ไม่ควรคิด เพราะทำให้เครียดและเป็นบ้า

    อจินไตย แปลว่าสิ่งที่ไม่พึงคิด คือไม่อาจรู้ได้ด้วยการคิด แลถ้าขืนคิดให้รู้ให้ได้
    ก็จะกลายเป็นผู้มีส่วนแห่งความเครียดเป็นบ้าเสียสติไป
    แต่ที่ว่านี้ไม่ได้หมายความว่าพระพุทธเจ้าห้ามหรอกนะ
    ท่านเพียงแต่บอกความจริงว่ามันเป็นอย่างนั้น

    ตามหลักของพระพุทธศาสนานี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้าไปห้ามใคร
    เป็นแต่เพียงบอกว่า ไม่ควรคิด ถ้าคิดแล้วมันจะทำให้ มี

    ส่วนแห่งความวิปริตของจิตเกิดขึ้น คือเมื่อคิดไม่ออก ก็เลยฟุ้งเพ้อไปเลย
    ฉะนั้นท่านจึงบอกว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรคิด คือ ไม่

    อาจรู้เข้าใจได้ด้วยการคิด ต้องรู้ประจักษ์ด้วยประสบการณ์ของตนเอง
    โดยพัฒนาปัญญาให้เกิดขึ้น อจินไตยมี 4 อย่างคือ

    (องฺ.จตกฺก.21/76/104)




    1. พุทธวิสัยคือ เรื่องปัญญาความสามารถของพระพุทธเจ้าว่าเป็นอย่างไร
    รู้ได้อย่างไร ทำได้อย่างไร เรื่องนี้ก็เป็นธรรมดา

    อยู่แล้ว ปัญญาของเราไม่ถึงใคร แล้วให้หยั่งรู้ถึงทันเท่าคนนั้น
    ย่อมคิดไม่ได้ คิดไม่ออก เป็นที่เรื่องที่เห็นๆ กันอยู่เพราะ

    ฉะนั้น ปุถุชนจะเข้าใจสิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้ หรือ
    คิดเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าออกได้อย่างไร ก็ต้องพัฒนาตัวไปจน

    กว่าจะมีปัญญาอย่างนั้น




    2. ฌานวิสัย คือ วิสัยของฌาน
    จิตนั้นมนุษย์ก็มีอยู่ด้วยกันทุกๆ คน แต่มนุษย์ปุถุชนก็ไม่เคยรู้จัก
    ไม่เคยเข้าใจธรรมชาติของ

    จิต และการทำงานของจิตของตนเองเลย แม้แต่ความฝัน ตัวเองก็ฝันอยู่
    แต่ก็ไม่เข้าใจความฝันนั้น ความรู้เรื่องจิตที่มีอยู่

    ในตัวเองหรือที่เป็นตัวเองนี้ มีน้อยอย่างยิ่ง ทีนี้ สภาพจิตที่เป็นฌานนั้น
    เกิดจากสมาธิที่แน่วแน่ถึงขั้นที่เรียกว่า อัปปนา เป็น

    ประสบการณ์ที่เกิดจากการฝึกฝนพัฒนาจิต
    ยิ่งรู้เข้าใจยากกว่าสภาพจิตสามัญ คนทั่วไปจึงไม่อาจคิดให้รู้เข้าใจได้ เป็น

    เรื่องที่ต้องฝึกฝนพัฒนาขึ้นมา
    แต่ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนอาจรู้เข้าใจได้ มิใช่ด้วยการคิด แต่ด้วยการทำเอา




    3. เรื่องการให้ผลของกรรม เรื่องนี้มนุษย์ปุถุชนคิดอย่างไร
    ก็ไม่สามารถมองเห็นชัดเจนจนถึงที่สุด เราก็รู้เข้าใจในแง่หลัก

    ของความเป็นไป ตามเหตุปัจจัยแล้วก็คิดไปได้ระดับหนึ่ง
    แต่จะให้คิดมองเห็นโล่งตลอดไปก็ไม่ไหว




    4. เรื่องโลกจินตา คือ ความคิดเกี่ยวกับเรื่องของโลกจักรวาล
    จักรภพ ว่าเกิดขึ้นอย่างไร จะมีการสิ้นสุดหรือไม่ มีขอบเขต

    ถึงไหน เรื่องนี้
    philosophers คือ นักปรัชญาทั้งหลายชอบคิด แต่ให้คิดไปเถิด
    ก็ข้องอยู่นั้นจะคิดให้ออก ก็ไม่ออกหรอก




    จากพระสูตร อจินติตสูตร

    [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด
    เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน อจินไตย ๔ ประการ
    เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย
    ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความ
    เป็นบ้า เดือดร้อน

    ขอบคุณ
    23-01-2005, 02:46 AM #1
    PalmPalmnaraks
    บุคคลทั่วไป

    ข้อความ: n/a
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 มกราคม 2011
  7. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    มันไม่มีจุดเริ่มแรกหรอกครับถ้ามันมีจุดเริ่มแรกแล้วก่อนหน้านั้นล่ะครับจะเป็นอะไร
     
  8. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870

    เกิดจากความคิดที่อยากให้เราคิด.....ทันคิดไหมนั้น? เรามีหน้าที่ในการรู้ เเละ รู้ทันความคิด ว่ากำลังคิดอะไร ที่เรียกว่า สตินั้นเอง

    คำตอบของความสงสัย ก่อให้เกิดการคิดต่อๆไป เรียกว่า มโนจิต จิตที่คิดเรื่อยๆไม่จบสิ้น เรียกว่า ภพชาติ

    เมื่อไรที่จิตทำให้เราคิดได้มากเท่าไร เราก็เกิดมากเท่านั้น ตามความสงสัยของความคิดที่เกิดขึ้น

    สรุปว่า ความคิดที่กำลังสงสัยอยู่นี้กำลังโดนหลอกให้ฟุ้งซ่านโดยไม่รู้ตัว เเละเมื่ออยุ่กับปัจจุบันไม่ได้ จึงเกิดเป็นความทุกข์

    เพราะวางไม่ได้ เมื่อวางไม่ได้ สุดท้ายก็ .........(คิดเอาเอง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2011
  9. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    น่าทึ่งนะคะ ที่สนใจเรื่องของชีวิตและธรรมะตั้งแต่อายุยังน้อย

    ดิฉันขอบคุณสำหรับ อจินไตย 4 ค่ะ ถูกใจประโยคนี้ที่สุด

    "..ไม่อาจรู้เข้าใจได้ด้วยการคิด ต้องรู้ประจักษ์ด้วยประสบการณ์ของตนเอง โดยพัฒนาปัญญาให้เกิดขึ้น"


    เรื่องบางเรื่องเราไม่อาจรู้และเข้าใจได้ด้วยการคิด..เห็นจริงตามนั้นเลยค่ะ
     
  10. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    เคยคิด เคยอ่าน เคยจินตนาการ เรื่องทำนองนี้อยู่เหมือนกันค่ะ
    ถึงตอนนี้ บางขณะจะยังคิด และอ่านข้อมูลความรู้ของคนอื่นๆอยู่ แต่ก็ไม่ติดใจจะค้นหาอะไรให้วุ่นวายเกินไปนัก
    แค่พยายามใช้สติพิจารณาชีัวิตของตนเอง ณ ปัจจุบันให้มากที่สุด

    ความเห็นส่วนตัว ดิฉันว่า สภาวะแห่งพุทธะ เป็นกุญแจสำคัญที่สุด
    สำคัญกว่าที่มา และที่ไป

    มีเรื่องหนึ่งอยากนำมาแบ่งปันหรือเล่าสู่กันฟังค่ะ


    ชายผู้ที่ยืนอยู่บนภูเขา

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชายคนหนึ่งยืนอยู่บนยอดเขาอันสูงชัน ระหว่างนั้นเองมีนักเดินทางสามคนผ่านมาในระยะไกล พวกเขาเห็นชายคนนั้นและการถกเถียงก็เริ่มขึ้น ชายคนแรกกล่าวว่า
    "เขาคงทำสัตว์เลี้ยงตัวโปรดหายไปเป็นแน่" อีกคนกล่าวว่า
    "ไม่หรอก ดูแล้วเขาคงกำลังมองหาเพื่อนอยู่มากกว่า" แล้วชายคนที่สามก็พูดว่า "เขาขึ้นไปที่นั่นก็เพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ต่างหากล่ะ"

    นักเดินทางทั้งสามคนต่างก็ถกเถียงกัน และไม่อาจหาข้อสรุปได้ พวกเขาเถียงกันไปตลอดทาง จนกระทั่งไปถึงยอดเขาและได้พบกับชายคนนั้น หนึ่งในนั้นเอ่ยปากถามว่า "เพื่อนเอ๋ย การที่ท่านมายืนอยู่ตรงนี้ เป็นเพราะว่าท่านได้ทำสัตว์เลี้ยงที่ท่านรักหายไป ใช่หรือไม่"
    "เปล่า ข้าไม่ได้ทำมันหาย"
    อีกคนถามต่อว่า "ท่านเพิ่งจะสูญเสียเพื่อนรักไป ใช่หรือไม่"
    "เปล่า ข้าไม่ได้สูญเสียเพื่อนรักไปเช่นกัน"
    นักเดินทางคนที่สามจึงถามว่า "ถ้าเช่นนั้น ท่านมาอยู่ตรงนี้ก็เพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ ใช่ไหม"
    "เปล่าเลย"
    "ถ้าเช่นนั้นแล้ว ท่านมายืนอยู่ตรงนี้ด้วยจุดประสงค์อะไร ในเมื่อท่านปฏิเสธทุกข้อที่พวกเราถามไป" ชายผู้นั้นตอบกลับมาว่า "ข้าเพียงแค่มายืนอยู่เฉยๆ เท่านั้น"

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->ใช่แล้ว มันก็เหมือนกันกับที่พวกท่านเห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระเยซู เห็นมหาวีระ หรือเห็น Zarathuatra แล้วพวกท่านก็เริ่มถกเถียงกัน มันเป็นระยะห่างที่ช่างไกลเสียเหลือเกิน เวลาข้าพเจ้าใช้คำว่า "ระยะห่าง" ข้าพเจ้ามิได้หมายถึงระยะห่างในทางกายภาพ มันไม่ใช่ความห่างทางกายภาพเลยแม้แต่น้อย

    เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเดินทางมาเข้าเฝ้าพระบิดา ทั้งๆที่ทั้งสองพระองค์ยืนอยู่ใกล้กัน แต่กลับมีระยะห่างที่มิอาจประมาณได้อยู่ที่ ตรงนั้น พระพุทธเจ้ากำลังพูดอย่างหนึ่ง แต่พระบิดาของพระองค์ก็พูดอีกอย่างหนึ่ง พระบิดาไม่ได้พูดกับพระพุทธเจ้า พระองค์กำลังพูดกับโอรสผู้ซึ่งในขณะนั้นไม่มีอยู่อีกต่อไปแล้ว พระองค์พูดกับอดีตที่ผ่านไปนานแล้ว โอรสผู้ซึ่งออกไปจากวังนั้นได้ตายไปแล้ว ตายไปอย่างหมดจด ที่หลงเหลืออยู่นั้น คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของคนๆ ใหม่ที่ได้ถือกำเนิดขึ้น มันคือการฟื้นคืนชีพ แต่พระบิดามองไม่เห็น มีเมฆามาบดบังพระองค์ไว้ เมฆแห่งอดีต เมฆแห่งความโกรธได้บดบังพระองค์ไว้ โอรสผู้นี้ได้ทรยศต่อพระบิดาที่อยู่ในวัยชรา

    พระพุทธเจ้าเป็นโอรสเพียงพระองค์เดียว และพระองค์ก็ประสูติมาในขณะที่พระบิดาอยู่ในวัยชราแล้ว ฉะนั้นจึงมีการยึดติดกับพระองค์มาก พระพุทธเจ้าผู้ซึ่งจะเป็นรัชทายาท ผู้ซึ่งจะได้ครอบครองอาณาจักรของพระบิดาทั้งหมด และพระบิดาก็เริ่มชราลงและพระองค์ก็เป็นกังวลมากขึ้นๆ โอรสของพระองค์ผู้ซึ่ง กลายมาเป็นขอทาน พระบิดาย่อมโกรธมากเป็นธรรมดา และเมื่อโอรสเดินทางมาหา และไม่ได้เพียงแค่มาเฉยๆ หากแต่พยายามพูดเกลี้ยกล่อมหว่านล้อมให้พระบิดาเป็นอย่างที่พระองค์เป็น ท่านคงจะพอมองเห็นภาพว่าพระบิดานั้นคงจะโกรธเพียงใด พระบิดาตรัสด้วยเสียงอันดังกับพระโอรสผู้ซึ่งทรยศพระองค์

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ไม่ทราบว่าพระบิดากำลังรับสั่งกับใครอยู่ ชายผู้ที่เคยเป็นโอรสของพระองค์นั้นได้ตายจากโลกนี้ไปแล้ว มองที่หม่อมฉันให้ดี ใครกันแน่ที่ยืนอยู่ตรงหน้าพระองค์ในขณะนี้ หม่อมฉันไม่ใช่ชายคน เดิม บางสิ่งได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง นี่เป็นคนๆอื่น หาใช่โอรสของพระบิดาองค์นั้น" พระบิดาหัวเราะและกล่าวว่า "เจ้ายังคิดจะหลอกข้าอีกหรือ เจ้าพูดอะไรของเจ้าอยู่ เจ้าบ้าไปแล้ว หรือเจ้าคิดว่าข้าบ้าไปแล้ว เจ้าคือลูกชายของข้า ลูกชายผู้ซึ่งหนีออกไป ข้าจำหน้าเจ้าได้ โลหิตของข้าไหลเวียนอยู่ใน กายของเจ้า ข้ารู้จักเจ้าดี ข้ารู้จักเจ้าตั้งแต่วันแรกที่เจ้าเกิด ข้าจะลืมไปได้อย่างไร ข้าจะเข้าใจผิดไปได้อย่างไร" และความเข้าใจผิดยังคงดำเนินต่อไป

    พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระสรวล หลังจากนั้นจึงตรัสว่า "พระองค์ได้โปรดฟังหม่อมฉันให้ดี ใช่ พระองค์ให้กำเนิดหม่อมฉัน ถึงแม้ว่าโลหิตอันเดียวกันก็กำลังไหลเวียนอยู่ใน ตัวหม่อมฉันจวบจนถึงปัจจุบัน แต่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนี้ต่างหากที่หม่อมฉันกำลังพูดถึง หม่อมฉันกำลังพูดถึงตัวหม่อมฉันนี่ หม่อมฉันกำลังพูดถึงศูนย์กลางในตัวหม่อมฉัน มันเป็นสิ่งที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง หม่อมฉันเคยยืนอยู่ในที่ๆมืดมิด ขณะนี้หม่อมฉันได้มายืนอยู่ในที่ที่สว่างแล้ว ได้โปรดฟังหม่อมฉันให้ดี พระองค์กำลังอยู่ในวัยชรา หม่อมฉันมองเห็นถึงสิ่งที่อยู่ตรงหน้า พระองค์กำลังสั่นเทา พระองค์มิอาจยืนอยู่นิ่งๆ ได้อีกต่อไป ไม่ช้าไม่นาน ความตายจะมาเยือนพระองค์ แต่ก่อนที่มันจะมาถึง จงเรียนรู้ที่จะภาวนา ก่อนที่มันจะมาเคาะประตูเรียกพระองค์ไป จงพยายามรู้ให้ได้ว่าจริงๆแล้ว พระองค์คือใคร.."

    บทสนทนาเช่นนี้ยัง คงดำเนินต่อไป ระยะห่างนั้นช่างยาวไกลเสียเหลือเกิน ฉะนั้นเมื่อข้าพเจ้าใช้คำว่า "ระยะห่าง" ข้าพเจ้าไม่ได้หมายถึงระยะห่างทางกายภาพ ท่านอาจจะเคยพบ พระพุทธเจ้า หรือพระเยซู หรือ Raman Maharshi หรือ พระกฤษณะราม มาอย่างใกล้ชิดแล้ว แต่ท่านยังคงถกเถียงเกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้ พวกเขายืนอยู่ ณ ที่ไกลโพ้นบนยอดเขา และทุกสิ่งที่ท่านกำลังพูดถึงพวกเขาอยู่นั้นช่างไม่เข้าท่าเลย เพราะมันเป็นเพียงแค่การคาดเดาเท่านั้น

    นักเดินทางสามคนผ่านมาในระยะไกล พวกเขาเห็นชายคนนั้น และการถกเถียงก็เริ่มขึ้น..

    นั่นคือสิ่งที่เราทำกันเรื่อยมาเมื่อเราเห็นพระพุทธเจ้า นั่นคือการถกเถียงเพื่อสนับสนุนหรือไม่ก็ต่อต้าน และทุกสิ่งที่เราได้พูดกันเกี่ยวกับท่านเหล่านั้นช่างไร้สาระ ไม่ว่าท่านจะยกย่องสรรเสริญหรือประณามกล่าวโทษก็ไม่ได้มีความแตกต่างอะไรเลย คำสรรเสริญทั้งหมดนั้นไร้ความหมายเพราะท่านไม่สามารถเห็นได้จริงๆว่าอะไรเกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า..
    การที่จะมองให้เห็นได้นั้นท่านต้องเป็นผู้ที่อยู่ในสภาวะแห่งพุทธะด้วย

    (จากหนังสือ The Way Of Zen - OSHO)


     
  11. mamboo

    mamboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +1,973
    เท่าที่ mamboo จำได้ ... ทุกๆสิ่งทุกๆอย่าง กำลังเกิด และ กำลังดับ มันกระพริบๆอยู่ตลอดเวลา

    คำถามที่ว่า จุดเริ่มต้นอยู่ที่ไหน หรือจุดสิ้นสุดอยู่ที่ไหน ... จึงเป็นคำถามที่ผิด

    เมื่อตั้งคำถามผิด ก็หาคำตอบไม่ได้

    เพราะทุกๆสิ่ง กำลังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา .. มันเกิดดับเกิดดับ ตลอดเวลา ...

    แม้แต่การเกิด Big Bang ตอนนี้ก็กำลังเกิด

    ในโลกความเป็นจริงหลากมิติ มันไม่มีเวลา ก่อนหน้า อดีต หรือ อนาคต หรอกนะคะ

    มีแต่ ปัจจุบัน ..

    พวกเรา ทุกคน .. มีตัวตน เพราะ "ความอยาก"

    ในห้วงเอกภพ จะมีสองสิ่งที่ตรงกันข้าม + และ -

    เมื่อไหร่ ทำให้ 2 สิ่งนี้ มันตัดกัน ... มันก็จะหายไป ..

    หายไปเลย ..

    สุขที่สุด มาพร้อมกับ ทุกข์ที่สุด .. สุขมาก ตอนทุกข์ ก็ทุกข์มาก..

    มีตัวตน และ ไม่มี ก็เกิดขึ้นอยู่พร้อมกันหมด..

    ทุกสิ่งอย่าง กำลังกระพริบเป็นจังหวะ ... อยู่ที่ใครจะสามารถหลุดออกไปจากห้วงแห่งความทุกข์นี้ได้

    บางคนเกิดมา สุขน้อย ตอนทุกข์ ก็ทุกข์น้อย.. จึงคิดว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่ดี .. แต่หารู้ไม่ ?? พวกเราไม่ได้ มีตัวตนอยู่ ณ ที่แห่งนี้เพียงตัวตนเดียว ..

    มีตัวตนของเรา อยู่อีกหลายๆแห่ง หลายๆตัวตน .. แล้วยังมีตัวตนที่ไม่ใช่บุคลิกลักษณะแบบเรา อยู่อีกหลายแห่ง หลายมิติ หลากหลายตัวตน

    แต่ละตัวตน มีทั้งสุข และ ทุกข์

    ที่สุดของความสุขมนุษย์ คือการได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับคนที่เรารัก ^^

    และทุกข์ที่สุดของมนุุษย์ ก็คือตอนที่ เราต้องสูญเสียคนรักเหล่านั้นไป T-T

    ------

    บางคน อาจหลงเข้าใจผิดว่า ... ชีวิตนี้มีความสุข ..

    หากชีวิตคือสุข แล้วมหาบุรุษของโลก "พระพุุทธเจ้า" ท่านจะทิ้งหนทางแห่งการพ้นทุกข์ ไว้ให้มนุษย์ทำไม ?? ><

    ก็พระองค์ ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ .. พระองค์รู้แจ้งแทงตลอด เห็นมาหมดแล้วแหละ โลกความเป็นจริงหลากมิติ ..

    ยังจำได้ว่า.. ตอนที่พระองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ พระองค์ถึงกับ ไม่คิดจะเผ่ยแผ่ความจริงนี้ เพราะพระองค์คิดว่า มนุษย์ไม่น่าจะเข้าใจสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้

    ตอนหลังถ้าจำไม่ผิด เหมือนเทวดามาบอกนิ่ >< ว่าให้พระองค์เผยแพร่แก่ชาวโลกด้วย...

    พระพุทธเจ้า ท่านคงไม่เน้นเรื่อง โลกและจักรวาล หรอก.. เพราะมันเป็นมายา มันคือ ภาพมายา ทั้งหมดเลย .. ><

    พระองค์จึงเน้น ภาคปฏิบัติให้หลุดพ้น มิได้เน้นเรื่องโลกความเป็นจริงหลากมิติ

    ส่วนใครจะไปได้ ไปไม่ได้ .. mamboo เชื่อว่า พระพุทธเจ้า ท่านมองเห็นแล้วแหละ ...

    ท่านนั่งสมาธิใต้ต้นโพธิ์ ทั้งวัน ทั้งคืน อย่างมีสติสัมปชัญญะ ท่านไม่ฝัน ไม่มีแม้แต่เสี้ยววินาที ที่สติจะเลอะเลือน.. เวลานอนก็ไม่ฝัน

    mamboo แทบจะนึกภาพไม่ออกว่า ท่านได้ไปรู้เห็นอะไรมาบ้าง..

    เอ๊ะ .. เล่ายาว ลืมประเด็นอีกแระ อิอิ ^^
     
  12. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    พุทธภาวะ สำคัญกว่าที่มา และที่ไป

    สภาวะแห่งพุทธะ หรือ พุทธภาวะ

    ไกวัลยธรรม
    ในฐานะที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ



    ธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ หมายถึง ธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งทำสัตว์ให้เข้าถึงพุทธภาวะ และมีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ทุกกาลเวลา ตามความหมายของไกวัลยธรรม
    การวิวัฒนาการของสิ่งที่มีชีวิต ย่อมไปถึงวาระสุดท้ายคือ "พุทธภาวะ" อันหมายถึงภาวะแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน สิ่งที่เรียกว่า "ความรู้" ในที่นี้ หมายถึง การรู้แจ้งด้วยปัญญาอันชอบว่า ความทุกข์ได้หมดสิ้นไปแล้ว ชาติสิ้นแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ความเกิดย่อมไม่มีอีกต่อไป อย่างนี้เรียก "เบิกบานถึงที่สุด" ซึ่งจัดเป็นจุดหมายปลายทางที่แท้จริงของทุกชีวิต.

    ความเบิกบานตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
    การมีชีวิตที่สมบูรณ์ หมายถึง การเข้าถึง "พุทธภาวะ" ในทางวิทยาศาสตร์ ได้แสดงไว้ว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้ แยกมาจากดวงอาทิตย์ แรกเริ่มเดิมที ก็เป็นดวงไฟ ครั้นเย็นลง จึงเกิดมีชีวิตขึ้น ลักษณะอย่างนี้ย่อมกล่าวได้ว่า มีชีวิตซ่อนอยู่แล้วในดวงไฟ เมื่อได้โอกาสจึงปรากฏตัวออกมาเป็นชีวิตคน ดังที่ปรากฏอยู่นี้.
    วิวัฒนาการอย่างนี้ กล่าวตามหลักธรรม ก็ได้แก่ กฏเกณฑ์ของ "อิทัปปัจจยตา" หรือ "สามัญญลักษณะ" มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยไม่หยุดยั้ง จนเกิดความรู้สึกนึกคิด ความสุขความทุกข์ ทำให้มีการแสวงหา ความสุขที่แท้จริง จนกระทั่งพบการดับความรู้สึกที่เป็นทุกข์ได้ในที่สุด เป็นสภาวะของความเบิกบานถึงที่สุดแห่งความเป็น "พุทธภาวะ".
    ข้อนี้ เป็นการแสดงว่า เชื้อแห่งความเป็น "พุทธภาวะ" ได้มีมาแล้ว ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที มิฉะนั้นก็ไม่อาจเจริญเติบโตขึ้นมา เป็นพุทธภาวะได้ โดยความหมายนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า เชื้อแห่งความเป็น "พุทธะ" ได้มีอยู่แล้วในคนทุกคน ในชีวิตทุกชีวิต รอเวลาที่จะทำให้เจริญเติบโตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถึงที่สุด อันเป็นลักษณะของการเข้าถึง หรือเป็นปรากฏการณ์ของ "พุทธภาวะ" จัดเป็นการเข้าถึง "ความสมบูรณ์" แห่งชีวิต.

    ไกวัลยธรรม กับความเป็นพุทธะ
    คำว่า "ไกวัลยตา" หมายถึง "ความที่มันเป็นอย่างนั้น" ส่วนคำว่า "ไกวัลยธรรม" หมายถึง "สิ่งที่เป็นอย่างนั้น" คือเป็นสิ่งเดียวกันทั้งหมด และมีอยู่ในสิ่งทั้งปวงตลอดเวลา บุคคลจะสามารถเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" ด้วยการทำให้ "พุทธภาวะ" เปิดเผยออกมา จากสิ่งที่ห่อหุ้มอยู่ คือ กิเลส ฉะนั้น หน้าที่สำคัญของพุทธบริษัท จึงอยู่ที่การเรียนรู้ ปฏิบัติ พัฒนาให้รู้จักธรรมชาติของตัวเองตามเป็นจริง แล้วปล่อยวางเสีย ก็จะทำให้เข้าถึง "พุทธภาวะ" โดยความหมายนี้ เป็นการแสดงว่า "ไกวัลยตา" กับ "พุทธภาวะ" ก็เป็นสิ่งเดียวกัน ต่างกันโดยสิ่งแรกเป็นพื้นฐานของธรรมชาติแห่งพุทธะ สิ่งที่สองเป็นปรากฏการณ์ของพุทธะ เรียก "ไกวัลยธรรม"
    เปรียบได้กับเชื้อแห่งการเกิด และสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น การเกิดขึ้นของคนมาจากเชื้อเริ่มแรกที่มองไม่เห็น อันเนื่องมาจากการผสมพันธุ์ของพ่อแม่ แล้วคลอดออกมาเป็นคนในภายหลัง หรือเปรียบอีกนัยหนึ่ง ความเป็นต้นมะม่วง มันย่อมรวมอยู่เสร็จแล้วในเมล็ดมะม่วง ไกวัลยตาเปรียบเมล็ดมะม่วง พุทธภาวะเปรียบต้นมะม่วง นั่นคือ สิ่งทั้งสองนี้ เป็นเหตุผลต่อกัน หรือจะกล่าวว่าเป็นอันเดียวกันก็ได้
    ถ้าเปรียบด้วยการฟักไข่ จะเห็นชัดยิ่งขึ้น ในไข่ไก่ฟองหนึ่ง ย่อมมีความเป็นตัวไก่อยู่ในนั้น แต่ในฟองไก่ จะไม่ปรากฏความเป็นตัวไก่แต่ประการใด จนกระทั่ง ทำการฟักชั่วเวลาหนึ่ง จึงออกมาเป็นตัวไก่ ข้อนี้หมายความว่า ใน"ความที่จะต้องเป็นอย่างนั้น" เรามองไม่เห็นด้วยตา แต่ย่อมให้ความมั่นใจว่า "มันต้องเป็นอย่างนั้น" เป็นการแน่นอน นั่นคือ ในทุกชีวิตมีเชื้อแห่งความเป็น"พุทธะ"อยู่แล้ว รอเวลาที่จะมีการฟักออกเป็นตัว พระพุทธองค์ทรงเปรียบพระองค์เองเหมือนลูกไก่ตัวพี่ ซึ่งฟักออกมาก่อนใคร
    ข้อนี้เป็นการแสดงว่า "ไกวัลยตา" เป็นเชื้อแห่ง "ไกวัลยธรรม" เมื่อฟักออกมาเป็นตัวได้ ชื่อว่าเข้าถึง"พุทธะ" นั่นคือ "ไกวัลยธรรม" กับ "พุทธะ" ก็คือสิ่งเดียวกัน

    เชื้อแห่งความเป็นพุทธะ มีอยู่ในทุกสิ่ง
    คำว่า "ทุกสิ่ง" ในที่นี้ หมายรวมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่สิ่งที่ไม่มีชีวติยังต้องรอการวิวัฒนาการอีกไกล จึงจะปรากฏเป็นความพร้อมที่จะเข้าถึงพุทธภาวะ ผู้ที่มีความพร้อมต่อการที่จะเข้าถึงความเป็น "พุทธะ" ได้แก่ สภาวะแห่งความเป็นคน ดังที่คนโบราณได้กล่าวเป็นสุภาษิตไว้ว่า "เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เป็นลาภอันประเสริฐ" ดังนี้ สิ่งที่เรียกว่า "ลาภอันประเสริฐ" ในที่นี้ ก็คือ โอกาสที่จะเข้าถึง "ความเป็นพุทธะ" ในตัวเอง.
    ธาตุแห่งความเป็น "พุทธะ" ในตัวคน ได้แก่ "ความรู้สึกนึกคิด" เมื่อมีความรู้สึกนึกคิด ทำให้เกิดปัญญารู้จักตัวเองตามเป็นจริงว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น เมื่อปล่อยวางย่อมหลุดพ้นและนิพพาน นั่นคือ ลำดับของการเข้าถึง "พุทธะ" อันเริ่มต้นมาจาก "ความรู้สึกนึกคิด" ฉะนั้น ความเป็นคนจึงจัดเป็นธรรมชาติที่มีความพร้อมต่อการเข้าถึง "ความเป็นพุทธะ" ในตัวเอง.

    การประสมธาตุอย่างถูกส่วน ทำให้เกิดชีวิต
    นักคิดบางพวก มีความเห็นว่า การประสมกันอย่างถูกส่วนระหว่างธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ย่อมทำให้เกิดชีวิตได้ แต่ในทางพุทธศาสนาได้เติมเอา อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ เข้าไปด้วย จึงเป็นธาตุ ๖ ความจริง วิญญาณธาตุ มันสิงซึมอยู่ในธาตุ ๔ แต่นักคิดพวกนั้นมองไม่เห็น จึงไม่ยอมรับ อากาศธาตุ หมายถึง "ความว่าง" หรือ ที่ว่าง อันเป็นที่ตั้งหรือที่รองรับของธาตุทั้งปวง ถ้าไม่มีที่ว่าง สิ่งทั้งปวงก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้.
    เป็นอันกล่าวได้ว่า ไม่มีธาตุใดที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยการประสมปรุงแต่งกันทุกๆ ธาตุ อย่างเหมาะสม จึงทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ชีวิต" และมีความรู้สึกได้.
    สิ่งที่ต้องสังเกตและจำไว้เป็นหลัก ก็คือว่า "ถ้ามีชีวิตต้องมีความรู้สึกด้วย" อันหมายรวมถึง คน สัตว์ และพืช ฉะนั้น ทุกชีวิตย่อมมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ คือ มีความรู้สึกได้.
    เมื่อถือเอาตามความหมายที่ว่า ในทุกธาตุย่อมมีวิญญาณธาตุแฝงอยู่ จักทำให้เข้าใจว่า แม้ในวัตถุธาตุ ก็มีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ
    ในเมื่อ "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และสิ่งทั้งปวงที่อยู่ในอาณาจักรแห่งไกวัลยธรรม ย่อมมีธรรมชาติแห่งพุทธะ ฉะนั้น ย่อมกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ

    ทุกสิ่งมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ
    การมองเห็นว่า สิ่งทั้งปวงทุกสิ่งย่อมเต็มไปด้วยเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ทำให้มีความเคารพรักในสิทธิของสิ่งทั้งปวง แม้เม็ดกรวดเม็ดทราย ไม่ทำให้เกิดการดูถูกว่า เป็นของชั้นต่ำ อันเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งชั้นวรรณะ ยึดมั่นถือมั่นเป็นเขาเป็นเรา จะมีความเห็นแจ่มแจ้งอยู่ว่า ทุกสิ่งมีสภาพแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน เป็นการเข้าถึงสภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ไม่มีการแบ่งแยกเป็น คน สัตว์ พืช หรือสิ่งของ นั่นคือ มีแต่ธรรมชาติแห่ง "ความเป็นพุทธะ"
    แม้ในปรมาณูหนึ่งๆ ก็มีค่าสำหรับความเป็นพุทธะ หรือสำหรับความมีชีวิตในอนาคต ถ้าได้มีความเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องครบถ้วน เหมาะสมเมื่อไร มันก็แสดงรูปออกมาเป็นความมีชีวิต หรือมีความรู้สึก ซึ่งเป็นเชื้อแห่งความเป็นพุทธะโดยตรง อันจะต้องมีการพัฒนาต่อไป จนเป็นมนุษย์ ซึ่งมีความพร้อมต่อการที่จะรู้แจ้ง "อริยสัจจ์ ๔"
    ความรู้สึกที่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ไปสู่ความรู้แจ้ง คือรู้ผิดรู้ถูก แต่ธรรมชาติแห่งความรู้สึก กับเชื้อแห่งความรู้สึก มันอยู่ห่างไกลกันมาก ยกตัวอย่างคนๆ หนึ่ง นับตั้งแต่เกิดในท้องแม่ ย่อมมีความรู้สึกเกิดมาก่อน แล้วต่อมาจึงมีความนึกคิด และการที่ปรากฏออกมาเป็นความรู้สึกนึกคิด ย่อมแสดงว่า มันมีเชื้อแห่งความรู้สึกนึกคิดก่อตัวมาก่อนแล้ว
    ดังกล่าวแล้วว่า ความรู้แจ้งได้แก่ "การรู้ผิดรู้ถูก" ความรู้นี้จะรุดหน้าต่อไปจนกระทั่ง มีความเบิกบานเต็มที่ถึงที่สุด เรียก "พุทธสภาวะ" การที่มีความรู้แจ้งได้อย่างนี้ แสดงว่า "ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ" ได้มีอยู่แล้วในธรรมชาติอันนั้น.

    ความเป็นพุทธะ รุดหน้าได้ถึงจุดสมบูรณ์
    ในเมื่อธรรมชาติแห่งพุทธะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกคน ฉะนั้น ทุกชีวิตย่อมไหลไปสู่นิพพาน ทั้งนี้มีความแตกต่างกัน ตรงที่ธรรมชาติแห่งพุทธะจะเบิกบานได้ช้าหรือเร็ว ซึ่งขึ้นอยู่กับอำนาจของเหตุปัจจัย ดูตัวอย่างพระเทวทัต แม้จะทำผิดถึงขั้นอนันตริยกรรม ครั้นรับบาปใช้กรรมใช้เวรหมดแล้ว ในที่สุดก็ยังจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ด้วยเหตุแห่งการสำนึกผิด และน้อมจิตถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งก่อนถูกแผ่นดินสูบ นี่เป็นการแสดงถึง ความถูกต้องที่พัฒนาขึ้นมาจากความผิด
    การที่พุทธสภาวะ หรือเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ได้วิวัฒนาการมาถึงระดับความเป็นคน นั้นแสดงว่า มีความพร้อมในการที่จะเข้าถึงพุทธสภาวะได้โดยเร็ว ดังเช่นมีปรากฏว่า สามเณรเด็กๆ ก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้ ข้อนี้ หมายความว่า บุคคลถ้าไม่ปิดประตูตัวเองเสียด้วยอุปาทาน ผู้นั้นจักดำเนินเข้าสู่พุทธสภาวะได้โดยเร็ว
    เวลานี้มีการกล่าวกันว่า การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เป็นสิ่งหมดสมัยแล้ว แต่ถ้าเข้าใจว่า ธรรมชาติแห่งพุทธสภาวะไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ อย่างเดียวกับไกวัลยธรรม เพราะธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ย่อมมีอยู่ในทุกสิ่งทุกส่วนของสิ่งที่เกี่ยวกับ "ไกวัลยธรรม" ดังนี้แล้ว ย่อมทำให้พบความจริงว่า ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ จักไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา และสถานที่เช่นเดียวกัน โดยนัยนี้ ถ้ากล่าวตามหลักอริยสัจจ์ ๔ แล้ว จะยืนยันได้ทันทีว่า ทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ที่นี่เดี๋ยวนี้

    ทุกศาสนา มีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ
    เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งเดียวที่มีอยู่ และมีสภาพเป็นหนึ่งเดียว แม้จะแยกออกเป็นกี่ส่วน ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน ดังที่กล่าวว่า "หนึ่งสิ่งในทุกสิ่งและทุกสิ่งในสิ่งหนึ่ง" เปรียบด้วยน้ำ แม้จะแยกไปอยู่ในที่ใดก็ตาม ย่อมยังสภาพแห่งความเป็นน้ำอย่างเดียวกัน โดยความหมายนี้แสดงว่า ทุกศาสนาย่อมมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือ "ดับทุกข์" ฉะนั้น ทุกศาสนาแม้จะต่างกันโดยชื่อหรือรูปแบบ แต่ก็ตั้งอยู่ในกฏแห่งไกวัลยธรรมอย่างเดียวกัน ในเมื่อธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ เป็นอันเดียวกับไกวัลยธรรม โดยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ทุกศาสนาย่อมมีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน.
    กล่าวให้ชัดถึงตัวบุคคล โดยเหตุที่ทุกคนมีเชื้อหรือธรรมชาติแห่งพุทธะและทุกศาสนาก็บัญญัติขึ้นเพื่อคน แล้วจุดหมายปลายทางของทุกคนจักไปสู่ความดับทุกข์ คือ "พุทธภาวะ" ฉะนั้น ทุกศาสนาย่อมบัญญัติขึ้นสอน เพื่อนำไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน คือ "ความเป็นพุทธะ"

    ความหวังต่อการเข้าถึงพุทธภาวะ
    เมื่อทำความเข้าใจได้ว่า "พุทธภาวะ" เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในไกวัลยธรรม โดยเหตุที่ไกวัลยธรรมเป็นที่รวมของทุกสิ่ง ฉะนั้น ทุกสิ่งย่อมมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะในตัวมันเอง เมื่อเป็นดังนี้ ย่อมทำให้มีความหวัง มีความมั่นใจ มีความแน่ใจ และมีความกล้าหาญต่อการที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงพุทธภาวะในตนเอง พร้อมกันนั้น ก็จะมีความเมตตากรุณา หรือเคารพรักในสิ่งทั้งปวง ในฐานะที่มีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน
    ชาวโลกจะไม่มีทางเบียดเบียนกันด้วยความเข้าใจอันนี้ เพราะการเบียดเบียนผู้อื่นที่แท้ก็คือ การเบียดเบียนตนเอง ในทางตรงกันข้าม การช่วยเหลือผู้อื่น ก็คือการช่วยเหลือตัวเอง ในความหมายเดียวกัน การมองเห็นความเป็นพุทธะในสิ่งอื่น ย่อมทำให้ความเป็นพุทธะในตนเองเบิกบานงอกงามขึ้น ชาวธิเบตทำความเคารพผู้อื่น ด้วยการทำความรู้สึกว่าเป็นการเคารพพระพุทธเจ้าในตัวผู้นั้น


    สรุปความ
    ตามที่ได้แสดงมาในตอนนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า เชื้อแห่งความเป็นพุทธะมีอยู่ในทุกสิ่ง ในฐานะเป็นไกวัลยธรรม เช่นเดียวกับเชื้อแห่งความมีชีวิต ย่อมมีในทุกสิ่ง และไม่อาจแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่มีชีวิต กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เพราะในสิ่งที่ไม่มีชีวิต ย่อมมีเชื้อแห่งความมีชีวิตพร้อมอยู่ในนั้น แม้สิ่งที่ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย แต่มันก็มีเชื้อแห่งความที่จะมีความรู้สึกซ่อนอยู่ในนั้น รอเวลาต่อการที่จะพัฒนาไปสู่ความมีชีวิต และความรู้สึกต่อไป.
    เป็นอันว่า ความที่จะวิวัฒนาการเป็นบุคคลผู้รู้แจ้งถึงที่สุด นับเป็นของธรรมดาสามัญที่สุด มีได้แก่ทุกหน่วยของสิ่งที่กำลังถูกสมมติว่า เป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต เมื่อทำใจให้เปิดกว้างอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นการแผ่เมตตาไปยังสรรพสิ่ง เมื่อเมตตาเจริญ ปัญญาก็ย่อมเจริญ แล้วการ "ตรัสรู้" ก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยง่าย

    จาก พุทธทาส ดอทคอม
    ไกวัลยธรรม ในฐานะ ธรรมชาติแห่งพุทธภาว&#3
     
  13. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    ใช่แล้ว โลกวิสัย เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด เพราะปัญญาของมนุษย์มีไม่เพียงพอ

    ถ้าอยากทำความเข้าใจ ไม่ควรที่จะใช้ความคิด เพราะความคิดหาคำตอบไม่ได้

    ต้องปฏิบัติเพื่อหาทางหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็จะได้คำตอบเอง
     
  14. Amantrai

    Amantrai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +162
    อย่าไปหาเหตุผลเลย ชีวิตมนุษย์นั้นสั้นเกิน เอาแค่รับรู้ในความจริง ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตก็พอ สิ่งใดที่ตัวเรารู้ สัมผัสได้ และให้คุณโทษแก่เราได้ แม้เราจะมองไม่เห็น ก็ยอมรับไป รู้มากก็ใช่ว่าจะทำอะไรได้มากมาย

    ;););)
     

แชร์หน้านี้

Loading...