“บุคคลที่มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์กับพระยายม”

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Lukhgai, 8 มกราคม 2011.

  1. Lukhgai

    Lukhgai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    3,000
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +8,240
    อัธยาศัยจิตใจของบุคคลทั้งหลาย สรุปได้ ๔ คือ

    ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้มีอัธยาศัยจิตใจชอบบาเพ็ญกุศลมาก

    ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้มีอัธยาศัยจิตใจชอบในการกุศลและอกุศลเท่าๆ กัน

    ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้มีอัธยาศัยจิตใจชอบในอกุศลมากกว่ากุศล

    ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้มีอัธยาศัยจิตใจชอบในอกุศลฝุายเดียว


    บุคคลประเภทที่ ๑ ในขณะใกล้ตายย่อมระลึกนึกถึงกุศลได้มาก ฉะนั้นบุคคลจาพวกนี้ย่อมพ้นจากการไปบังเกิดในอบายภูมิ

    บุคคลประเภทที่ ๒ ถ้าตัวเองพยายามระลึกถึงกุศลให้มากหรือญาติบุคคลใกล้ชิดช่วยเตือนสติให้ระลึกถึงกุศล ก็สามารถช่วยให้พ้นจากการบังเกิดในอบายภูมิ

    บุคคลประเภทที่ ๓ ทำอกุศลมากกว่ากุศล ลำพังตัวเองจะนึกถึงกุศลนั้นย่อมนึกถึงไม่ได้ นอกจากจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นเท่านั้น แต่ต้องเป็นการช่วยเหลืออย่างพิเศษจึงจะช่วยได้ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างพิเศษแล้วบุคคลจาพวกนี้ย่อมจะต้องไปสู่อบายแน่นอน

    ส่วนบุคคลประเภทที่ ๔ นั้น ย่อมไม่พ้นจากการไปสู่อบายได้เลย นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อัครสาวก มหาสาวกเท่านั้นที่จะช่วยเหลือได้ และการที่จะได้รับความช่วยเหลือจากท่านเหล่านี้ได้บุคคลผู้นั้นก็จะต้องมีกุศลอปราปริยเวทนียกรรม(กุศลในชาติก่อนๆ)ที่มีกาลังมาก(ตัวอย่างเช่นโจรเคราแดงในบทเรียนชุดที่๗) ฉะนั้นถ้าบุคคลจาพวกนี้ต้องไปสู่นรกแล้ว ก็ไปสู่นรกโดยตรง ไม่มีโอกาสที่จะได้พบกับพระยายมราช


    เฉพาะบุคคลประเภทที่ ๒ และ ๓ ถ้าต้องไปสู่นรกแล้วก็มีโอกาสได้พบกับพระยายมราชเพื่อทาการสอบถาม ๕ เรื่อง หรือเรียกว่า เทวทูต ๕ เสียก่อน แล้วจึงไปเสวยทุกข์ในนรกนั้นๆ ภายหลัง

    คำถามของพระยายมราช มี ๕ เรื่อง คือ

    ๑. ความเกิด ได้แก่ ทารกที่แรกเกิด

    ๒. ความแก่ ได้แก่ คนชรา

    ๓. พยาธิ ได้แก่ ผู้ปุวยไข้

    ๔. คนต้องราชทัณฑ์ ได้แก่ ผู้ที่ถูกลงโทษตามกฎหมาย

    ๕. มรณะ ได้แก่ คนตาย


    เกิด
    พระยายมราชผู้มีจิตกรุณาจะไต่ถามว่า
    “นี่แน่ะเจ้า! เราจะถามเจ้าว่า เมื่อเจ้ายังอยู่ในมนุษย์โลกนั้นได้เคยเห็นเด็กแรกเกิดนอนเปื้อนมูตรคูถของตนเองบ้างไหม” ถ้าสัตว์นรกตอบว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็น” พระยายมราชจะถามต่อไปว่า
    “ในขณะที่เจ้าเห็นเด็กแรกเกิดนั้น เจ้าเคยนึกถึงตนเองบ้างไหมว่า ตัวของเจ้าเองนี้จะต้องเกิดอีกเช่นเดียวกัน และได้เคยพยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา


    เพื่อจะได้เป็นหนทางที่จะช่วยตัวเองให้พ้นไปจากความเกิดอันเป็นชาติทุกข์บ้างไหม” สัตว์นรกได้ฟังคาถามของพระยายมราชแล้ว ถ้าระลึกถึงกุศลได้ในขณะนั้นก็จะพ้นจากนรกโดยทันที ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา ถ้าระลึกถึงกุศลไม่ได้ในขณะนั้นก็จะกล่าวตอบว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็นเด็กแรกเกิดก็จริง แต่ก็ไม่มีความนึกคิดอะไร คงมีแต่ความยินดี พอใจเพลิดเพลิน สนุกสนานไปตามวิสัยของชาวโลกเท่านั้น”

    พระยายมราชจึงกล่าวต่อไปว่า “เจ้าเป็นผู้มีความประมาท ไม่ทาความดีทางกายวาจาใจ ด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ความประมาท เพลิดเพลินสนุกสนานของเจ้าที่ได้กระทาไปแล้ว ล้วนแต่เป็นความประมาทที่เกิดขึ้นจากตัวของเจ้าทั้งนั้น ไม่ใช่บิดามารดา บุตร ภรรยา มิตรสหาย หรือเทวดาทั้งหลายมากระทาให้เจ้า ฉะนั้นเจ้าก็ต้องได้รับผลที่เจ้าได้กระทาไว้แล้วนั้นด้วยตนเองไม่มีผู้ใดจะมารับโทษแทนเจ้าได้” ต่อจากนั้นพระยายมราชจะถามปัญหาที่ ๒ ต่อไป

    แก่
    พระยายมราชผู้มีจิตกรุณาจะถามต่อไปว่า “เจ้าเคยเห็นคนแก่ หลังโก่งงอ ผมหงอก หนังเหี่ยว ตกกระ บ้างไหม ในขณะที่เจ้าเห็นนั้น เจ้าเคยนึกถึงตนเองบ้างไหมว่า ตัวของเจ้าเองนี้จะต้องแก่เช่นเดียวกัน และได้เคยพยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา เพื่อจะได้เป็นหนทางที่จะช่วยตัวเองให้พ้นไปจากความแก่อันเป็นชราทุกข์บ้างไหม” สัตว์นรกได้ฟังคาถามของพระยายมราชแล้ว ถ้าระลึกถึงกุศลได้ในขณะนั้นก็จะพ้นจากนรกโดยทันที ได้เกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา


    ถ้าระลึกถึงกุศลไม่ได้ในขณะนั้นก็จะกล่าวตอบว่า “ข้าพเจ้าเคยเห็นคนแก่ก็จริงแต่ไม่มีความนึกคิดอะไร คงมีแต่การใช้ชีวิตที่พอใจเพลิดเพลิน สนุกสนานไปตามวิสัยของชาวโลกเท่านั้น” ๑๘
    พระยายมราชกล่าวต่อไปว่า “เจ้าเป็นผู้ประมาท ฯลฯ ฉะนั้นเจ้าก็ต้องได้รับผลที่เจ้าได้กระทาไว้แล้วนั้นด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดจะมารับโทษแทนเจ้าได้” ต่อจากนั้นพระยายมราชจะถามปัญหาที่ ๓ ต่อไป

    เจ็บ
    พระยายมราชผู้มีจิตกรุณาจะถามต่อไปว่า “เจ้าเคยเห็นคนปุวยไข้ที่กาลังได้รับความทุกข์เวทนาบ้างหรือไม่ ในขณะที่เจ้าเห็น เจ้าเคยนึกถึงตนเองบ้างไหมว่า ตัวของเจ้าเองนี้จะต้องเจ็บปุวยเช่นเดียวกัน และได้เคยพยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา เพื่อจะได้เป็นหนทางที่จะช่วยตัวเองให้พ้นไปจากความเจ็บปุวยอันเป็นพยาธิทุกข์บ้างไหม”


    สัตว์นรกได้ฟังแล้ว ถ้าระลึกถึงกุศลได้ในขณะนั้นก็จะพ้นจากนรกโดยทันที ฯลฯ ถ้าระลึกถึงกุศลไม่ได้ ฯลฯ พระยายมราชจึงกล่าวต่อไปว่า “เจ้าเป็นผู้ประมาท ฯลฯ ฉะนั้นเจ้าก็ต้องได้รับผลที่เจ้าได้กระทาไว้แล้วนั้นด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดจะมารับโทษแทนเจ้าได้” ต่อจากนั้นพระยายมราชจะถามปัญหาที่ ๔ ต่อไป

    นักโทษ
    พระยายมราชผู้มีจิตกรุณาจะถามต่อไปว่า
    “เจ้าเคยเห็นคนที่ถูกจองจา เช่น โจร ผู้ร้าย ผู้กระทาผิด ซึ่งถูกลงโทษด้วยวิธีต่างๆ เช่น โบยด้วยแส้ หวาย ตีด้วยกระบอง ถูกตัดมือ เท้า หู จมูก ยิงเปูา แขวนคอบ้างหรือไม่ ในขณะที่เจ้าเห็นเจ้าเคยนึกถึงตนเองบ้างไหมว่า ตัวของเจ้าเองนี้จะต้องเพียรเร่งสร้างความดี เพื่อจะได้เป็นหนทางที่จะช่วยตัวเองให้พ้นไปจากความทุกข์บ้างไหม? สัตว์นรกได้ฟังแล้ว ถ้าระลึกถึงกุศลได้ในขณะนั้นก็จะพ้นจากนรกโดยทันที ฯลฯ ถ้าระลึกถึงกุศลไม่ได้ ฯลฯ


    พระยายมราชกล่าวต่อไปว่า “เจ้าเป็นผู้ประมาท ฯลฯ ฉะนั้นเจ้าก็ต้องได้รับผลที่เจ้าได้กระทาไว้แล้วนั้นด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดจะมารับโทษแทนเจ้าได้ ” ต่อจากนั้นพระยายมราชจะถามปัญหาที่ ๕ ต่อไป

    ตาย
    พระยายมราชผู้มีจิตกรุณาจะถามต่อไปว่า
    “เจ้าเคยเห็นคนตายบ้างหรือไม่ ในขณะที่เจ้าเห็น เจ้าเคยนึกถึงตนเองบ้างไหมว่าตัวของเจ้าเองนี้จะต้องตายเช่นเดียวกัน และได้เคยพยายามสร้างทาน ศีล ภาวนา เพื่อจะได้เป็นหนทางที่จะช่วยตัวเองให้พ้นไปจากความตายอันเป็นมรณทุกข์บ้างไหม” สัตว์นรกได้ฟังแล้ว ถ้าระลึกถึงกุศลได้ในขณะนั้นก็จะพ้นจากนรกโดยทันที ฯลฯ ถ้าระลึกถึงกุศลไม่ได้ ฯลฯ

    พระยายมราชจึงกล่าวต่อไปว่า “เจ้าเป็นผู้ประมาท ฯลฯ ฉะนั้นเจ้าก็ต้องได้รับผลที่เจ้าได้กระทาไว้แล้วนั้นด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดจะมารับโทษแทนเจ้าได้” เมื่อเป็นเช่นนี้ พระยายมราชก็พยายามช่วยระลึกให้ว่า สัตว์นรกผู้นี้ได้สร้างกุศลอะไรไว้บ้าง เพราะบุคคลบางคนเมื่อทากุศลแล้วก็แผ่ส่วนกุศลให้แก่พระยายมราช พระยายมราชผู้เคยได้รับส่วนกุศลก็จะพยายามช่วยให้สัตว์นรกนึกถึงกุศลที่เคยทาไว้ เมื่อระลึกถึงกุศลกรรมของตนได้เช่นนี้ ในขณะนั้นก็พ้นไปจากนรก

    แต่ถ้าพระยายมราชช่วยแล้วก็ยังระลึกไม่ได้ก็จะนิ่งเสีย แล้วนายนิรยบาลก็จะนาตัวไปลงโทษในนรกต่างๆ เสวยกรรมในนรกไปจนกว่าจะหมดกรรม พระยายมราชเป็นราชาแห่งเปรตที่มีวิมาน ในคราวหนึ่งเสวยทิพยสมบัติ ในคราวหนึ่งเป็นธรรมิกราชเสวยวิบากกรรม พระยายมราชเองก็ปรารถนาความเป็นมนุษย์และได้พบ ได้ฟังธรรม ได้รู้ธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    หน้าที่ของพระยายมราช คือเป็นผู้ซักถามผู้ทาบาปที่ถูกนาตัวเข้าไป หลักซักถาม ๕ อย่างข้างต้น ถ้าพิจารณาดูตรงๆ ก็ยากที่จะเข้าใจว่าจะใช้เป็นกฎเกณฑ์สาหรับวินิจฉัยได้อย่างไร แต่เมื่อพิจารณาโดยหลักธรรม ก็อาจจะเห็นความมุ่งหมายว่า คนที่ทาบาปทุจริตต่างๆ นั้น ก็เพราะมีความประมาท ไม่ได้คิดพิจารณาว่าเกิดมาแล้วจะต้องแก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา

    ที่มา บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๖.๑ ภพภูมิ
     
  2. chaladda

    chaladda สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +10
    จงเร่งทำแต่ความดีคิดดีทำดีตายไปก็ได้ไปอยู่ในที่ดีๆๆ
     
  3. tonokoong

    tonokoong สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    ขออนุโมทนา กับเจ้าของกระทู้ด้วยนะครับ ที่นำเรื่องราวดีๆ มาให้อ่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...