ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    คนไม่ทราบมักจะวิจารณ์ว่าการปฏิบัติแบบวัดปากน้ำภาษีเจริญนี้
    เป็นวิปัสสนึก คือนึกเอา ที่แท้ไม่ได้นึก

    ก็ให้หยุดๆ นึกที่ไหนเล่า ใจหยุด ไม่ใช่ใจนึก นึกตอนแรกเพื่อให้ใจมารวมกัน คือ เห็น จำ คิด รู้มารวมกัน

    พอใจหยุดแล้ว ก็หยุดในหยุดกลางหยุด ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อย สิ่งที่เห็นก็จึงเป็นของจริงโดยสมมติถ้าสิ่งที่เห็นนั้นยังอยู่ในระดับโลกิยะ

    ถ้าสุดละเอียดไปเมื่อถึงโลกุตตรธรรมจึงเป็นของจริงโดยปรมัตถ์<!-- google_ad_section_end -->
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เสียงเทศนาเรื่อง โอวาทปาติโมกข์ ของหลวงปู่สด


    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010107.wma[/MUSIC]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พรปีใหม่ที่ทันสมัยเสมอ ของ" หลวงปู่สด"

    [​IMG]





    กัณฑ์ที่ ๕๗
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๘
    ................................................................
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธฺธสฺส (๓ หน) ​

    เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา พาราณสียํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย ตตฺรโข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขุ อานมฺเตสิ
    เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน นเสวิตพฺพา โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค หีโน คมฺโม โปถุชฺชนิโก อนริโย อนตฺถสญฺหิโต โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต ฯ เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ ฯ
    กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ ฯ อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค ฯ เสยฺยถีทํ ฯ สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ ฯ อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ ฯ




    ณ บัดนี้ อาตมาภาพจักได้แสดงธรรมิกถา ในวันปัณรสีที่ ๑๕ ค่ำ ในเดือนยี่นี้ เป็นวันขึ้นปีใหม่ของทางสุริยคติ ผู้เทศน์ก็ต้องดำริหาเรื่องที่จะต้องแสดงให้สมกับวันขึ้นปีใหม่เป็นวันแรก และเป็นวันมงคลของพระพุทธ-ศาสนิกชนทั้งหลาย
    วันนี้แหละถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ เราจะทำอย่างไรจึงจะเป็นคนดี เรื่องนี้เรื่องที่เป็นมงคลดีไม่ดีนั้น พระองค์ทรงรับสั่งยืนยันตัดสิน ตั้งแต่ปีใหม่นี้เราต้องตั้งใจเด็ดขาดลงไป สมกับที่พระองค์จอมปราชญ์แสดงมงคลว่า
    อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺ จ เสวนา ปูชา จ ปูชานียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺมํ
    เราต้องตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่า อเสวนา จ พาลานํ ไม่เสพสมาคมคบหาคนพาลเด็ดขาดทีเดียว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตั้งแต่ได้อรุณวันนี้ ไม่เสพคบหาสมาคมกับคนพาลเป็นเด็ดขาด จะเสพสมาคมคบหาแต่บัณฑิตเท่านั้น จะบูชาสิ่งที่ควรบูชา ปูชา จ ปูชานียานํ เอตํมิ วิภตฺตยํ
    ๓ ข้อนี้แหละเป็นมงคลอันสูงสุด คือ จะไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต บูชาแต่สิ่งที่ควรบูชา ตั้งใจให้เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ อย่าลอกแลก ไม่เสพสมาคมกับคนพาลน่ะ
    ในตัวของตัวเองมีหรือ ซีกทางโลกเป็นซีกของโลภ โกรธ หลง นั่นเป็นเหตุของคนพาล เป็นเหตุให้เกิดพาล
    ซีกของไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นซีกของบัณฑิต เป็นเหตุให้เกิดบัณฑิต
    บูชาสิ่งที่ควรบูชา มั่นลงไปอย่างนี้นะ
    นี่วันนี้ ปีใหม่เราต้องตั้งใจให้เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ เมื่อเด็ดขาดลงไปดังนี้ละก็ตัดสินใจว่าเราดีแน่ นี่วันนี้ปีใหม่
    เราต้องตั้งใจให้เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ เมื่อเด็ดขาดลงไปดังนี้ ไม่มีทุจริตไม่มีชั่วเข้าไปเจือปนเลย เป็นซีกบัณฑิตแท้ๆ เหตุนี้แล เมื่อเป็นบัณฑิตแล้วสมควรจะฟังธรรมเทศนาในวันใหม่ปีใหม่ในทางสุริยคตินี้
    พระจอมไตรอุบัติขึ้นในโลก ยังไม่ได้แสดงธรรมเทศนากับบุคคลใดบุคคลอื่นเลย ได้แสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรกโปรดพระปัญจวัคคีย์ วันนี้จะแสดงปฐมเทศนา ที่พระองค์โปรดปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแคว้นเมืองพาราณสี
    บัดนี้เราจะฟังปฐมเทศนาซึ่งเป็นธรรมอันลุ่มลึกสุขุมนัก ไม่ใช่ธรรมพอดีพอร้าย และธรรมนี้เป็นตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไปด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ว่าเป็นปฐมเทศนาเท่านั้น เป็นตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนทีเดียว ที่ผู้ปฏิบัติจะเอาตัวรอดได้ในธรรมวินัยของพระบรมศาสดา
    เริ่มต้นแห่งปฐมเทศนาว่า
    เอวมฺเม สุตํ
    นี่เป็นพระสูตรที่พระอานนท์เอามากล่าวปฏิญาณตน เพื่อให้พ้นจากความเป็นสัพพัญญู ว่าตัวไม่ได้รู้เอง เพราะได้ยินได้ฟังมาจากสำนักของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    เอวํ อากาเรน ด้วยอาการอย่างนี้
    เอกํ สมยํ ในสมัยครั้งหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งหลาย ทรงประทับสำราญอริยาบท ณ สำนักมิคทายวัน แคว้นเมืองพาราณสี ครั้งนั้น พระองค์ทรงรับสั่งหาพระภิกษุปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ มารับสั่งว่า
    เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดทั้ง ๒ อย่างนี้นั้น อันบรรพชิตไม่ควรเสพ
    โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค
    การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามในกามทั้งหลายนี้ที่ใด
    หีโน เป็นของต่ำทราม
    คมฺโม เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน
    โปถุชฺชนิโก เป็นคนมีกิเลสหนา
    อนริโย ไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้
    อนตฺถสญฺหิโต ไม่เป็นประโยชน์ นี่คืออย่างหนึ่ง
    โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนติถสญฺหิโต
    การประกอบความลำบากให้แก่ตนเปล่า กลับเป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบด้วย ไม่ไปจากข้าศึก คือ กิเลสได้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้อย่างหนึ่ง
    เป็นสองอย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค
    นี่เป็นตัวกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยคทีเดียว
    เอเต เต ภิกฺขเว อุโก อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา
    ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นกลาง ไม่แวะเข้าใกล้ซึ่งที่สุดทั้งสองอย่างนี้นั่นนั้น อันพระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง และทำความเห็นให้เป็นปกติ เรียกว่า
    จกฺขุกรณี ญาณกรณี สํวตฺตติ ย่อมเป็นไปพร้อม
    อุปสมาย เพื่อความเข้าไปสงบระงับ
    อภิญฺญาย เพื่อความรู้ยิ่ง
    สมฺโพธาย เพื่อความรู้พร้อม
    นิพฺพานาย เพื่อความดับสนิท
    กตมา จ สาภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นกลางนั้น ที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นไฉน
    อยเมว อริโย อฏฐงฺคิโก มคฺโค
    หนทางที่องค์ ๘ ประการ ไปจากข้าศึก คือ กิเลสได้
    เสยฺยถีทํ คือ
    สมฺมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
    สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบ
    สมฺมาวาจา กล่าววาจาชอบ
    สมฺมากมฺมนฺโต ทำการงานชอบ
    สมฺมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ
    สมฺมาวายาโม ทำความเพียรชอบ
    สมฺมาสติ ระลึกชอบ
    สมฺมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
    นี่ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

    อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญฺาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ
    อย่างนี้แหละภิกษุทั้งหลาย
    อย่างนี้แหละข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    กระทำความเห็นให้เป็นปกติ
    กระทำความรู้ให้เป็นปกติ
    ย่อมเป็นไปเพื่อความออกไปสงบระงับ
    เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อมซึ่งพระนิพพาน
    นี้หลักประธานปฐมเทศนา ทรงรับสั่งใจความพระพุทธศาสนาบอกพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ โดยตรงๆ ไม่มีวกไปทางใดทางหนึ่งเลย บอกตรงๆ ทีเดียว
    แต่ว่าผู้ฟังพอเป็นวิสัยใจคอเป็นฝ่าย ขิปปาภิญญา เท่านี้ก็เข้าใจแล้วว่าธรรมของพระศาสดานี้ลึกจริง
    ถ้าว่าไม่เป็นขิปปาภิญญา เป็นทันธาภิญญา จะต้องชี้แจงแสดงขยายออกไปอีก จึงจะเข้าใจปฐมเทศนา พระองค์ทรงรับสั่งบอกพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ว่าที่สุดทั้งสองอย่างนั่นนั้นอันบรรพชิตไม่ควรเสพ
    ที่สุด ๒ อย่างน่ะอะไร
    เอาใจไปจด ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสที่ชอบใจนั้นแหละ
    หรือยินดีรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสที่ชอบใจนั้นแลตัวกามสุขัลลิกานุโยค
    ถ้าว่าเอาไปจดรูปนั้นเข้าแล้วจะเป็นอย่างไร
    ทุกฺโข เป็นทุกข์แก่ผู้เอาใจไปจดนั้น
    หีโน ถ้าเอาใจไปจดเข้ารูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสที่ชอบใจนั้น ใจต่ำ ไม่สูง ใจต่ำทีเดียว ใจมืดทีเดียว ไม่สว่างเพราะเอาไปจดกับอ้ายที่ชอบใจที่มัวซัวเช่นนั้น
    ถ้าไปจดที่มืดมันก็แสวงหาที่มืดทีเดียว ไม่ไปทางสว่างละ
    นั่นน่ะจับตัวได้ เอาใจเข้าจดกับรูปเสียงกลิ่นสัมผัสที่ชอบใจ ชวนไปทางมืดเสียแล้ว ไม่ชวนไปทางสว่าง ปิดทางสว่างเสียแล้ว
    เมื่อเป็นอย่างนั้นท่านจึงได้ยืนยัน หีโน ต่ำทราม ไม่ไปทางนักปราชญ์ราชบัณฑิต ไปทางโลกไปทางปุถุชนคนพาลเสียแล้ว หีโน ต่ำทรามลงไปอย่างนี้
    คมฺโม ถ้าไปจดมันเข้าไม่สะดวก ทำให้ต้องปลูกบ้านปลูกเรือนให้เหมาะเจาะ มีฝารอบขอบชิดให้ดีจึงจะสมความปรารถนานั้น ไปเสียทางโน้นอีกแล้ว นั้นใจมันชักชวนเสียไปทางนั้นแล้วนั้น
    คมฺโม โปถุชฺชนิโก ก็หมักหมมสั่งสมกิเลสให้หนาขึ้นทุกที ไม่บางสักทีหนึ่ง นั่นแหละ รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสเข้ามาๆๆ เป็นตึกร้านบ้านเรือนกันยกใหญ่เชียวคราวนี้ แน่นหนากันยกใหญ่เชียว
    อนริโย ออกไม่ได้ ไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่หลุดจากรูป เสียงกลิ่น รส สัมผัส ไม่หลุดจากความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่นั่นเอง
    พระองค์ทรงรับสั่งว่า นี่ๆ พวกนี้ กามสุขัลลิกานุโยค ไปจากข้าศึกคือกิเลสไม่ได้ ไปไม่ได้ทีเดียว
    อนตฺถสญฺหิโต แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ไม่มีประโยชน์เลย
    ถามคนแก่ดูก็ได้ ที่ครอบครองเรือนมาแล้วที่ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสมาแล้ว ติดจนกระทั่งถึงแก่ เฒ่าชรา ไปถามเถอะ ๑๐๐ คน ๑,๐๐๐ คนมายืนยัน
    บอกตรงทุกคน ทำไมจึงบอกตรงล่ะ แกวางก้ามเสียแล้วนะ บอกตรงซิ ถ้ายังไม่วางก้าม ยังกระมิดกระเมี้ยนอยู่ ยังจะนิยมชมชื่นอยู่
    นั่นพระองค์ทรงรับสั่งว่า กามสุขัลลิกานุโยค ไม่มีประโยชน์อะไร อย่าเข้าไปติด ถ้าเข้าไปติดแล้วไปไม่ได้
    นั่นว่า โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข ประกอบความลำบากให้แก่ตนเปล่า ไร้ประโยชน์
    นี่ อตฺตกิลมถานุโยโค เป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไปจากข้าศึกคือกิเลสนั้นไม่ได้ ไม่มีประโยชน์อีกเหมือนกัน
    อตฺตกิลมถานุโยโค นั่นทำอย่างไร ประกอบความลำบากให้แก่ตน พวกประกอบความลำบากให้นั่นทำอย่างไร นอนหนาม ตากแดด ย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้ง หาบทราย นี่พวกประพฤติดับกิเลส นอนหนาม ตากแดด ย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้ง หาบทราย
    นอนหนาม หนามนั่นเจ็บเสียความสงัดยินดีก็หายไปได้ เข้าใจว่าหมดกิเลส เป็นทางหมดกิเลส
    ตากแดดล่ะ เมื่อตากแดด แดดร้อนเข้าก็ไม่มีความกำหนัดยินดีเข้านะซิ เข้าใจว่ากิเลสดับแล้ว นั่นความเข้าใจของเขา เข้าใจอย่างนั้น
    ย่างไฟล่ะ ย่างไฟมาจากแดด แดดไม่สะดวกก็เอาไฟย่าง มาก่อไฟ ก่อไฟถ่าน อยู่ข้างบนเข้าให้ นอนบนกองไฟ นอนบนไฟย่างนอนบนไฟ นอนข้างบนร้อนรุ่ม เหมือนอย่างกับไฟย่างนั้น ได้ชื่อว่าย่างไฟ
    ไม้เคาะหน้าแข้งล่ะ มีความกำหนัดยินดีขึ้นมา ไม่รู้จะทำอย่างไร
    มันเดินก็ไม่ถนัดขาแข็งไปหมด ไม้เคาะหน้าแข้งเปกเข้าไปให้ เงียบ หายความกำหนัดยินดี ดับไปเอ้อ นี่ดีนี่ ได้อย่างทันอกทันใจ ทีหลังกำหนัดยินดีเวลาไหน ก็เอาไม้เคาะหน้าแข้งเปกๆ เข้าไปให้อย่างหนัก นี้ความกำหนัดยินดีก็หายไป
    อย่างนี้เป็นหมู่เป็นพวกต้องทำเหมือนกัน เป็นหนทางดีทางถูกของเขา พวกไม้เคาะหน้าแข้ง
    หาบทราย หาบทรายเหนื่อยเต็มที่ หมดความกำหนัดยินดี ควายเปลี่ยวๆ ยังสยบเลย ถึงอย่างนั้นหาบทราย
    ไอ้ ทรายกองใหญ่ที่พวกอัตตกิลมถานุโยค ประพฤติปฏิบัติอยู่นาน เข้ามาอาศัย กองใหญ่มหึมาทีเดียว หาบมาเอามากองเข้าไว้ หาบเข้ามากองไว้ใหญ่มหึมา นั่นเพื่อจะทำลายกิเลส ดับกิเลส
    นี่เขาเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค ทั้งนั้น ลักษณะอัตตกิลมถานุโยคมีมากมายหลายประการ ที่ผิดทางมรรคผลปฏิบัติตนให้เหนื่อยเปล่าไม่มีประโยชน์ นั่นแหละอัตตกิลมถานุโยคทั้งนั้น
    ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อัตตกิลมถานุโยค เหมือนกัน เอาดีไม่ได้ เดือดร้อนร่ำไป นั่นอัตตกิลมถานุโยคเหมือนกัน
    อัตตกิลมถานุโยค เป็นอย่างไรล่ะ ร่างกายทรุดโทรมไปตามกัน ฆ่าตัวเอง ทำลายกำลังตัวเอง ตัดแรงตัวเอง นี่งมงายอวดว่าฉลาด
    นึกดูทีเอ้อ เราไม่รู้เท่าทัน ถ้ารู้เท่าทันไม่ถึงขนาดนี้เลย เพราะไม่ได้ยินได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ได้ฝึกฝนใจทางพระพุทธเจ้าเลย ความรู้ไม่เท่าทันจึงได้เป็น อัตตกิลมถานุโยค อยู่เช่นนี้ นี่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
    ๒ อย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค เลิกเสีย ไม่เสพ อย่าเสพ อย่าเอาใจไปจด อย่าเอาใจไปติดปล่อยทีเดียว ปล่อยเสียให้หมด
    เมื่อปล่อยแล้วเดินมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่แวะวงเข้าไปใกล้ซึ่งทางทั้งสองอย่างนั้น อันพระตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้วด้วยพระญาณอันยิ่ง นี่ข้อปฏิบัติเป็นกลางซึ่งเราควรรู้
    กลางนี่ลึกซึ้งนัก ไม่มีใครรู้ใครเข้าใจกันเลย ธรรมที่เรียกว่าข้อปฏิบัติอันเป็นกลางน่ะ
    ปฏิบัติ แปลว่า ถึงเฉพาะซึ่งกลาง
    อะไรถึง ต้องเอาใจเข้าถึงซึ่งกลางซิ เอาใจเข้าไปถึงซึ่งกลาง
    กลางอยู่ตรงไหน กลางมีแห่งเดียวเท่านั้นแหละ
    เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ใจเราก็หยุดอยู่กลาง
    เมื่อเวลาเราจะหลับ ใจเราก็ต้องไปหยุดกลาง ผิดกลางหลับไม่ได้
    ผิดกลางเกิดไม่ได้ ผิดกลางตายไม่ได้ ผิดกลางตื่นไม่ได้ ต้องเข้ากลาง ถูกกลางละก็ เป็นเกิด เป็นหลับ เป็นตื่นกันทีเดียว
    อยู่ตรงไหน ในมนุษย์นี่มีแห่งเดียวเท่านั้น ศูนย์กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลังขึงได้กลุ่มเส้นหนึ่งตึง ได้ระดับกรอบปรอททีเดียว สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้ายขึงด้ายกลุ่มอีกเส้นตึงอยู่ในระดับแค่กัน ได้ระดับกันทีเดียว ได้ระดับกันเหมือนแม่น้ำทีเดียว ระดับน้ำหรือระดับปรอทแบบเดียวกัน
    เมื่อได้ระดับเช่นนั้นแล้ว ดึงทั้งสองเส้น ข้างหน้าข้างหลังตึง ตรงกลางจดกัน ตรงกลางจดกันนั่นแหละ เขาเรียกว่ากลางกั๊ก ที่เส้นด้ายคาดกันไปนั่น กดลงไปนั่นกลางกั๊ก กลางกั๊กนั่นแหละถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใส บริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ
    แรกเรามาเกิด เอาใจหยุดอยู่ตรงนั้น
    ตายก็ไปอยู่ตรงนั้น
    หลับก็ไปอยู่ตรงนั้น
    ตื่นก็ไปอยู่ตรงนั้น
    นั่นแหละเป็นที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น กลางแท้ๆ เทียว กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางนั่นแหละตรงกลางนั่นแหละ
    ไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางนั่นแหละ ได้ชื่อว่ามัชฌิมา มัชฌิมานะ พอหยุดก็หมดดี หมดชั่ว ไม่ดีไม่ชั่วกัน หยุดทีเดียว
    พอหยุดจัดเป็นบุญก็ไม่ได้
    พอหยุดจัดเป็นบาปก็ไม่ได้
    จัดเป็นดีก็ไม่ได้ ชั่วก็ไม่ได้
    ต้องจัดเป็นกลางตรงนั้นแหละกลาง ใจหยุดก็เป็นกลางทีเดียว
    นี้ที่พระองค์ให้นัยไว้กับองคุลิมาลว่า สมณะหยุด สมณะหยุด
    พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มา สมณะหยุดแล้ว ท่านก็หยุด
    นี้ต้องเอาใจไปหยุดตรงนี้ หยุดตรงนั้นถูกมัชฌิมาปฏิปทาทีเดียว พอหยุดแล้วก็ตั้งใจอันนั้นที่หยุดนั้น อย่าให้กลับมาไม่หยุดอีกนะ ให้หยุดไปท่าเดียว นั่นแหละ
    พอหยุดแล้วก็ถามซิว่า หยุดลงไปแล้วยังตามอัตตกิลมถานุโยคมีไหม
    ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตัวรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ยินดีไหม ไม่มี นั่นกามสุขัลลิกานุโยคไม่มี ลำบากยากไร้ประโยชน์ (อัตตกิลมถานุโยค) ไม่มี หยุดตามปกติ ของเขาไม่มี ทางเขาไม่มีแล้ว
    เมื่อไม่มีทางดังกล่าวแล้ว นี่ตรงนี้แหละที่พระองค์ทรงรับสั่งว่า
    ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา พระตถาคตเจ้ารู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง ตรงนี้แห่งเดียวเท่านั้น ตั้งต้นนี้แหละจนกระทั่งถึงพระอรหัตตผล
    ทีนี้จะแสดงวิธีตรัสรู้เป็นอันดับไป ถ้าไม่แสดงตรงไม่รู้ ฟังปฐมเทศนาไม่ออกทีเดียว อะไรล่ะ พอหยุดกึกเข้าคืออะไร
    หยุดกึกเข้านั่นละ เขาเรียกใจเป็นปกติล่ะ หยุดนิ่งอย่าขยับไป
    หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ กลางของนิ่งนั้นแหละ จะไปเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ บริสุทธิ์สนิทดังกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า อยู่ในกลางหยุดกลางนิ่งนั่นแหละ กลางนั่นแหละ
    พอเข้าถึงกลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานอีกแบบเดียวกัน พอถูกส่วนเข้าจะเข้าถึงดวงศีลเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน
    หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก ถูกส่วนเข้ากลางดวงศีลนั่นเองจะเข้าถึงดวงสมาธิ
    หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ ดวงเท่ากัน พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นจะเข้าถึงดวงปัญญา ดวงเท่ากัน
    หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณ-ทัสสนะ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นแจ่มแปลกจริง กายนี้เราเคยฝันออกไป เวลาฝันมันออกไป เมื่อไม่ฝันมันอยู่ตรงนี้เองหรือ ให้เห็นแจ่มอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ กลางตัวของตัวนั่น เห็นชัดเชียว อีกชั้นหนึ่งละนะ เข้ามาถึงนี้ละ
    นี่พระพุทธเจ้าเดินอย่างนี้ พักอย่างนี้ทีเดียว เอาเราเดินเข้ามาชั้นหนึ่งแล้ว เข้ามาถึงอีกชั้นหนึ่งแล้ว
    ต่อไปนี้ไม่ใช่หน้าที่ของกายมนุษย์หยาบละ เป็นหน้าที่ของกายมนุษย์ละเอียดทำไป
    ใจกายมนุษย์ละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกันทีเดียว พอถูกส่วนก็เห็นดวงธรรมานุปัสสนา-สติปัฏฐาน
    หยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเข้าถึงดวงศีล
    หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงสมาธิ
    หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเข้าถึงดวงปัญญา
    หยุดกลางดวงปัญญาแบบเดียวกัน เข้าถึงดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายทิพย์
    ที่นี่หมดหน้าที่ของกายมนุษย์ละเอียดไปแล้ว
    ใจกายทิพย์ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์อีก ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    หยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็นดวงศีล
    หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงสมาธิ
    หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงปัญญา
    หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายทิพย์ละเอียด
    ใจกายทิพย์ละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์ละเอียดอีก ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบบเดียวกัน
    หยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานพอถูกส่วนเข้าเห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงสมาธิ
    หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงปัญญา
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายรูปพรหม
    ใจกายรูปพรหม หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้าเห็น ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    หยุดศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็นดวงศีล
    หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงสมาธิ
    หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงปัญญา
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายรูปพรหมละเอียด
    ใจกายรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด นี้เป็นกายที่ ๖ แล้ว พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมา-นุปัสสนาสติปัฏฐาน
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานพอถูกส่วนเข้าเห็นดวงศีล
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าเห็นดวงสมาธิ
    หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงปัญญา
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ส่วนเข้าเห็นกายอรูปพรหม
    กายอรูปพรหม หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็นดวงศีล
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงสมาธิ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงปัญญา
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายอรูปพรหมละเอียด
    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าเห็นดวงศีล
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าเห็นดวงสมาธิ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงปัญญา
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าเห็นกายธรรมรูปเหมือนพระพุทธปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ห น้าตักโตเล็กตามส่วน ไม่ถึง ๕ วา หย่อนกว่า ๕ วา นี่เรียกว่า กายธรรม
    กายธรรมนี่เรียกว่า พุทธรัตนะ นี่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ได้อย่างนี้ นี่ปฐมยามได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ทีเดียว เป็นตัวพระพุทธรัตนะอย่างนี้ นี่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ขึ้นอย่างนี้ เป็นตัวพระพุทธเจ้าทีเดียว รูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องหน้าที่ทำรูปไว้นี่แหละ นี่แหละตัวพระพุทธเจ้าทีเดียว แต่ว่ากายเป็นที่ ๙
    กายที่ ๙ เป็นกายนอกภพ ไม่ใช่กายในภพ
    ทำไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ก็ทำรูปไว้ทุกวัดทุกวาจะไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าอย่างไร ทำตำราไว้อย่างนี้ ก่อนเราเกิดมาเป็นไหนๆ ก็ทำไว้อย่างนี้ ปรากฏอย่างนี้แหละตัวพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทีเดียว ตัวพุทธรัตนะทีเดียว
    อ้อ นี่เข้าถึงพุทธรัตนะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
    ที่ท่านรับรองว่า
    ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ตถาคเตน แปลว่า ตถาคตธรรมกายน่ะ แต่ว่าธรรมกายนั้นท่านทรงรับสั่งว่า
    ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราพระตถาคตผู้เป็นธรรมกาย
    ตถาคตสฺส วาเสฏฐ เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ คำว่าธรรมกายน่ะ ตถาคตแท้ๆ ทรงรับสั่งอย่างนี้ เข้าถึงธรรมกายแล้วนี่ ตถาคตทีเดียว รู้ขึ้นแล้ว เป็นขึ้นแล้ว ปรากฏขึ้นแล้ว
    ต่อไปนี้เรามาเป็นธรรมกายดังนี้ รู้จักทางแล้ว ใจธรรมกายก็หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย
    ดวงธรรมของธรรมกายวัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ใสเกินกว่าใส ใจธรรมกาย ก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย หยุดนิ่ง พอถูกส่วนถึง ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่า ดวงธรรมนั้น
    หยุดอยู่กลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล
    หยุดอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญา ก็เห็นดวงวิมุตติ
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น ธรรมกายละเอียด หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ธรรมกายหยาบเป็นพุทธรัตนะ
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายวัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกายเป็นธรรมรัตนะ
    ธรรมกายละเอียดอยู่ในกลางดวงธรรมรัตนะ นั่นแหละเป็นสังฆรัตนะ
    ดังนี้ อยู่ในตัว ที่อื่นไม่มี ทุกคนมีอยู่ในตัวของตัว
    ผู้หญิงก็มี ผู้ชายก็มี เช่นเดียวกันทุกคน
    นี่แหละพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
    เมื่อรู้จักดังนี้ เมื่อท่านเป็นพระพุทธเจ้าขึ้น เช่นนี้แล้ว นี้เป็นโคตรภูแล้ว ท่านก็สำเร็จขึ้นไปอีก ๘ ขั้น ท่านก็เป็นพระอรหันต์ไปอยู่กับพระพุทธเจ้าทีเดียว
    พอเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ท่านเอาเรื่องนี้มาแสดงกับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ฟัง ท่านแสดงเรื่องของท่านว่า อันเราตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ท่านทำความเห็นเป็นปกติ เห็นอะไร ตาอะไร? ตาพระพุทธเจ้า ตาธรรมกาย มีตา ตาดีนัก เห็นด้วยตาธรรมกายนั่นแหละ
    จกฺขุกรณี ทำให้เห็นเป็นปกติ เห็นความจริงหมด
    ญาณกรณี กระทำความรู้ให้เป็นปกติ ญาณของท่าน
    เมื่อท่านเป็นมนุษย์ ส่วนดวงวิญญาณของท่านก็เล็กเท่าดวงตาดำข้างในของท่าน เมื่อท่านขึ้นไปเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตาของท่านก็มีเหมือนเราเช่นนี้ ตาธรรมกาย มีญาณของธรรมกาย มีดวงวิญญาณนั่นแหละกลับเป็นดวงญาณใหญ่โตมโหฬารใหญ่โตขึ้น ดวงใสเท่าดวงตาดำข้างในแหละที่มีความรู้อยู่ในใจนี้แหละเขาเรียกว่าดวงวิญญาณ
    พอไปเป็นธรรมกายเข้าแล้วกลับเป็นดวงญาณทีเดียว วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ดวงญาณเท่าหน้าตักธรรมกาย นั้นแหละเรียกว่า จกฺขุกรณี เห็นเป็นปกติ เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็นอะไร เห็นเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ในมนุษย์โลกนี้
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ของมนุษย์ละเอียด
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายทิพย์ ของกายทิพย์ละเอียด
    เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด
    เห็นเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ของ ๘ กาย นี้
    เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นจริง เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็นไม่เที่ยงจริงๆ เห็นจริงอย่างนี้ ตามนุษย์เห็นไม่ได้
    ตา ๘ กายในภพนี้เห็นไม่ได้
    กายมนุษย์ก็ไม่เห็น
    กายรูปพรหมก็ไม่เห็น
    กายรูปพรหมละเอียดก็ไม่เห็น
    อรูปพรหมก็ไม่เห็น
    อรูปพรหมละเอียดก็ไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นไม่ได้ ตามันไม่ดี ตามันไม่ถึงขึ้นที่จะได้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ทำไมไม่ถึงขนาดเล่า ก็มันขั้นสมถะนี่
    กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด นี่มันขั้นสมถะ
    แต่รูปฌานเท่านั้นเลยไปไม่ได้ พอถึงกายธรรมมันขั้นวิปัสสนา ตาพระพุทธเจ้าท่านก็เห็นเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แท้ๆ เห็นจริงๆ จังๆ อย่างนั้นละ
    เห็นแท้ทีเดียว เห็นชัดๆ ไม่ได้เห็นด้วยตากายในภพ เห็นด้วยตาธรรมกาย
    รู้ด้วยญาณธรรมกาย
    เห็นด้วยตาพระพุทธเจ้า
    รู้ด้วยญาณพระพุทธเจ้า
    เห็นอย่างนี้แหละ เห็นด้วยตาของพระตถาคตเจ้า รู้ด้วยญาณของพระตถาคตเจ้า ธรรมกายนั่นเป็นตัวของพระตถาคตเจ้าทีเดียว ไม่ใช่อื่น เห็นชัดอย่างนี้
    นี่แหละเห็นอย่างนี้แหละ เขาเรียกว่าวิปัสสนา เห็นเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เห็นเป็นอนิจจังน่ะเห็นอย่างไร?
    เห็นตั้งแต่กายมนุษย์เกิด กายมนุษย์เกิดไม่อยู่ที่ เกิดเรื่อยๆ เกิดริบๆ
    เหมือนไฟจุดอยู่ มีไส้ มีน้ำมัน มีตะเกียงจุดมันก็ลุกโพลง เราเข้าใจว่าไฟดวงนั้นเป็นอย่างนั้นแหละ
    ไอ้กายมนุษย์มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ แต่ตาธรรมกายไม่เห็นอย่างนั้น เห็นไฟเก่าหมดไป ไฟใหม่เดินเรื่อยขึ้นมา ไฟเก่าหมดไป ไฟใหม่เดินเรื่อยขึ้นมา แล้วก็เอามือคลำดูข้างบนก็รู้ ร้อนวูบๆๆๆ ไป อ้อ ไฟใหม่เกิดเรื่อย
    กายมนุษย์นี้ก็เช่นเดียวกัน ไอ้เก่าตายไป ไอ้ใหม่เกิดเรื่อย หนุนไม่ได้หยุดเหมือนไฟ เหมือนดวงไฟอย่างนั้นแหละ ไม่ขาดสาย มันเกิดหนุนอย่างนั้น นั่นเห็นขนาดนั้น เห็นเกิดเห็นตายเรื่อย เกิดแล้วก็ตายไป เกิดแล้วก็ตายไป ไม่มีหยุดละ
    เหมือนกันหมดทั้งสากลโลก เห็นทีเดียวว่ามีแต่เกิด กับดับ
    ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
    สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมมีความเกิดเสมอ
    สิ่งทั้งปวงมีเกิดเสมอ มีความดับเสมอ
    มีเกิดกับดับ ๒ อย่างเท่านั้น หมดทั้งสากลโลก เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกายจริงๆ อย่างนี้
    นี้ทำวิปัสสนาเห็นจริง เห็นจังอย่างนี้
    ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ก็แบบเดียวกัน
    โส สมุปาทยธมฺมํ เห็นตลอดขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๘ ดวงนี้เห็นตลอดหมด
    เห็นจริงเห็นจังทีเดียว เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกาย รู้ชัดอย่างนี้ นี้เรียกว่า
    สํวตฺตติ ย่อมเป็นด้วยพร้อม
    อุปสมาย เพื่อความสงบ
    เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้ว ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่มี สงบหมด หายไปหมด เงียบฉี่เชียว ที่ยินดีถอนไม่ออก เงียบฉี่เชียว
    อภิญฺญาย รู้ยิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง
    สมฺโพธาย รู้พร้อมรู้จริงทุกสิ่งทุกอย่าง
    นิพฺพานาย ดับหมด ราคะ โทสะ โมหะ ดับหมด ปรากฏอย่างนี้ ดังความจริงอย่างนี้
    นี่ที่ไปถึงพระตถาคตเจ้าอย่างนี้ ไปถึงธรรมกายเช่นนี้ ไม่ได้ไปทางอื่นเลย ไปทางปฐมมรรค ไปกลางดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    ดวงศีลคืออะไร
    ดวงศีลนะคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว อริยมรรค ๓ องค์นั้นเรียกว่าดวงศีล
    ดวงสมาธิ สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ อริยมรรคอีก ๓ องค์
    ดวงปัญญา สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็น ๘ องค์ในอริยมรรคนั้นทั้งสิ้น อยู่ในนั้น จึงได้เข้าถึงธรรมกายนี้ได้ ถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แท้ๆ
    นี้แหละให้แน่วแน่ลงไว้ เราก็เกิดมาประสบพบพระพุทธศาสนา พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ไม่ได้ ถึงตัวจริงของศาสนาไม่ได้ มีตัวจริงศาสนา
    นี่แก่นศาสนา อยู่ในตัวของเราเป็นลำดับของกายเข้าไป อย่าไปทางอื่นนะ ไม่ได้ ต้องไปทางหยุดทางเดียว จะยุ่งยากอย่างหนึ่งอย่างใดเข้าให้ถึง หยุดให้ถูกส่วน หยุดให้เข้ากลาง หยุดให้ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนา ทำตามที่พระองค์รับสั่งไว้ในปฐมเทศนา ให้แน่นอนอย่างนี้ จะได้เข้าถึงตัวจริงเช่นนี้
    ถ้าเข้าถึงตัวจริงเช่นนี้แล้ว ก็พึงรู้ อ้อ ที่แสดงมานี้ เว้นเสียจากที่สุดทั้ง ๒ สิ่ง ไม่เสพที่สุดทั้ง ๒ นั้น เดินตามมัชฌิมาปฏิปทาไป ทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ไปเป็นลำดับนั้นจึงเข้าถึง ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นตถาคตเจ้าแท้ๆ ดังที่ได้แสดงมานี้ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ผู้มีปรีชาญาณมนสิการกำหนดไว้ในใจทุกคนทุกถ้วนหน้า
    วันนี้เป็นวันปีใหม่ ได้แสดงปฐมเทศนา พระองค์ทรงตรัสเทศนาเป็นเบื้องต้น เป็นทีแรกเรียกว่า ปฐมเทศนา พอเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับสติปัญญา คุณสมบัติของท่านพุทธบริษัท คฤหัสถ์ บรรพชิตบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ว่าเราท่านทั้งหลายผู้เป็นเมธีมีปัญญาต้องการสิ่งที่เป็นมงคล ต้องการความเจริญแล้ว ตั้งใจให้แน่แน่วให้ถึงพระรัตนตรัย
    วันนี้เป็นวันใหม่ ชั่วร้ายด้วยกาย วาจา ใจ ตัดขาด อย่ากระทำ
    ทำใจให้หยุดให้ถูกเป้าหมายใจดำทางพระพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมา มนุษย์แท้ๆ ถึงจะไม่เข้าใจอย่างดี มนุษย์ธรรมดาเห็นจะดีกว่าค้างคาวแน่ ฟังเทศน์เอาบุญกัน ไม่ฟังเทศน์เอาเรื่องเอาราวกัน คนแก่คนเฒ่าเป็นอย่างนั้น
    คนที่สนใจฟังธรรมจริงๆ เรียนธรรมจริงๆ รู้ธรรมจริงๆ เป็นอีกพวกหนึ่ง ต้องเรียนเอาเรื่องเอาราวกันจริงๆ จึงจะปฏิบัติธรรมกันในพระพุทธศาสนาได้ ดังนี้
    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ เป็นตำรับตำราแน่นอนในทางพระพุทธศาสนา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย
    สรณํ เม รตนตฺตยํ พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย
    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้
    สทาโสตฺถี ภวนฺ ตุเต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า
    อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา ขอสมมุติยุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้
    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    <TABLE border=1 cellSpacing=0 cellPadding=7 width="78%" align=center height=60><TBODY><TR><TD width="90%">ทำไม ผู้ที่มาเข้ารับการอบรมที่วัดหลวงพ่อสดฯ จึงได้ธรรมกายกันมาก ?
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เหตุปัจจัยที่ผู้เข้ามาศึกษาและฝึกปฏิบัติภาวนาธรรม ณ วัดหลวงพ่อสดฯ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และในโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ (ภูเขาทอง) ปฏิบัติได้ผลในอัตราที่ค่อนข้างสูง ก็เพราะว่า
    ผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมในสำนักนี้ เป็นผู้มีธาตุธรรมที่แก่กล้าดีพอสมควรเอง ด้วยบุญบารมีที่เขาได้สั่งสมอบรมมาดีแล้วพอสมควร (ปุพฺเพกตปุญฺญตา) เอง จึงได้เข้ามาสู่สำนักปฏิบัติธรรมที่มีนโยบาย วิธีการฝึกอบรม อุปกรณ์การศึกษาอบรม และสิ่งแวดล้อมที่สัปปายะ และได้พบกับครูอาจารย์ เพื่อนสหธรรมิก ที่เป็นกัลยาณมิตรที่แท้จริง อันเอื้ออำนวย และช่วยประคับประคองเกื้อหนุนให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดีในอัตราที่สูง
    สำนักปฏิบัติธรรมนี้คือสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในโครงการทั้ง ๒ นี้ ได้มีนโยบายหลักที่จะ “สร้างพระในใจคน” และ “สร้างพระวิปัสสนาจารย์และวิทยากรให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ” อย่างจริงจังมาตั้งแต่เริ่มสร้างสถาบันแห่งนี้ขึ้น จึงกำหนดและพัฒนาวิธีการฝึกอบรมแก่ผู้มาเข้ารับการศึกษาและฝึกปฏิบัติธรรมที่สำนักนี้ ให้ได้ผลตามนโยบายที่กำหนดไว้อยู่เสมอ
    1. วิธีการฝึกอบรมธรรมปฏิบัติที่กำหนดขึ้นไว้และได้รับการพัฒนาจนพิสูจน์ได้ว่า เอื้ออำนวยให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดีมากก็คือ
      1. เมื่อมีผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมเริ่มได้ผลดีพอสมควรที่จะให้ได้รับคำแนะนำต่อวิชชาให้สูงขึ้นได้เพียงใด ก็จะรีบช่วยให้คำแนะนำ ต่อธรรมให้ได้ถึงธรรมกาย และต่อวิชชาชั้นสูง ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้เต็มขีดความสามารถหรือตามระดับภูมิธรรมที่เขาสามารถปฏิบัติได้ โดยไม่ชักช้า และอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นว่า เมื่อมีผู้ปฏิบัติได้ถึงดวงปฐมมรรคหรือกายในกายที่ละเอียดๆ บ้างตามสมควร ก็จะรีบช่วยแนะนำต่อวิชชาให้ได้ถึงธรรมกายและให้ได้ถึง ๑๘ กาย แล้วให้ฝึกพิสดารกายซ้อนสับทับทวีสุดกายหยาบกายละเอียด เพื่อชำระธาตุธรรมให้ใสสะอาดอยู่เสมอ เมื่อผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ปฏิบัติจนชำนาญดีพอสมควรแล้ว ก็ให้คำแนะนำให้ฝึกวิธีการเจริญสติปัฏฐาน ๔ พิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็นทั้ง ณ ภายในและทั้ง ณ ภายนอก ทั้งโดยหลักปริยัติและหลักปฏิบัติ ทั้งสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อให้รู้วิธีรักษาใจ และรักษาธรรมของตนอย่างถูกวิธี ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญแก่การฝึกเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงอีกต่อไป เมื่อเห็นสมควรที่จะให้ฝึกต่อวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ ก็ให้เข้ารับการฝึกต่อไปให้ถึงที่สุดตามระดับภูมิธรรมของแต่ละท่าน เพื่อสะสางธาตุธรรมของตนให้สะอาดบริสุทธิ์จากธาตุธรรมของภาคมารหรืออกุสลาธัมมา และยังจะมีผลในการช่วยผู้อื่นได้อีกด้วย
      2. ผู้ที่ฝึกปฏิบัติภาวนาได้ผลพอสมควรแล้ว ที่มีอุปนิสัยในการแนะนำสั่งสอน ก็จะมอบหมายหน้าที่ให้ช่วยทำหน้าที่เป็นวิทยากรอีกต่อไป เพื่อช่วยแนะนำและควบคุมพระกัมมัฏฐานแก่ผู้มาเข้ารับการอบรมรายอื่นๆ ที่ยังล้าหลังอยู่หรือเพิ่งเข้ามาใหม่ โดยจะแยกผู้มาเข้ารับการอบรมตามระดับต่างๆ เป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อให้วิทยากรได้ช่วยให้คำแนะนำและควบคุมพระกัมมัฏฐานเป็นกลุ่มๆ โดยใกล้ชิด เป็นการช่วยเพิ่มพูนบุญบารมีแก่ผู้ทำหน้าที่วิทยากรนั้นเองอีกด้วย
      3. ส่วนผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมที่ได้ผลดี แต่ไม่มีอุปนิสัยในการแนะนำสั่งสอน หรือยังเป็นเด็ก ก็จะได้รับมอบหมายให้เจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงอยู่ตามกลุ่มต่างๆ เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระการทำวิชชาสะสางธาตุธรรม ณ ภายในของวิทยากรที่กำลังทำหน้าที่แนะนำสั่งสอนกลุ่มต่างๆ ซึ่งจะต้องถอยจิตหยาบออกมาเพื่อให้คำแนะนำลูกกลุ่มอีกทีหนึ่ง -- เป็นการเพิ่มพูนบุญบารมีของผู้ทำวิชชาชั้นสูงเองด้วยอีกโสดหนึ่ง
    โดยวิธีนี้ ยิ่งมีผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมได้ผลดีมากขึ้นเพียงใด ก็ย่อมจะยิ่งให้ผลดีทั้งในส่วนของการช่วยตนเองและช่วยผู้อื่นได้มากเพียงนั้น -- นี้ก็เป็นบุญต่อบุญบารมีต่อบารมี ธรรมกายต่อธรรมกาย
    1. อุปกรณ์การฝึกอบรมและสิ่งแวดล้อมอันสัปปายะ ที่เอื้ออำนวยแก่การศึกษาและปฏิบัติธรรมให้ได้ผลสูง ก็คือสำนักปฏิบัติแห่งนี้ คือสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญ วัดสระเกศ (ภูเขาทอง) เป็นที่รวมสรรพตำราธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายทุกระดับ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ถ่ายทอดไว้ให้แก่ศิษยานุศิษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผ่านมายัง พระเดชพระคุณ พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) รองเจ้าอาวาส และพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกคือเป็นศิษย์ผู้รับการบรรพชาอุปสมบทโดยตรงจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ในฐานะผู้ถือนิสสัย และในฐานะผู้เรียนธรรมจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านมาอย่างใกล้ชิด (ท่านได้รับความกรุณาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านได้จัดที่จำวัดให้อยู่ใกล้ชิดกับท่าน เพื่อสะดวกแก่การสั่งและสอนวิชชาธรรมกายชั้นสูงมาโดยตลอด) จึงทำให้ผู้ที่ได้เข้ามาศึกษาและฝึกปฏิบัติภาวนาธรรม ณ สำนักนี้ ได้มีโอกาสศึกษาและฝึกปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายทุกระดับอย่างกว้างขวางละเอียดลออ ให้สามารถปฏิบัติธรรมได้ถูกต้องและเที่ยงตรง ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านได้ถ่ายทอดเอาไว้ และสอดคล้องกันทั้งหลักปริยัติและวิธีการปฏิบัติ ช่วยขจัดความลังเลสงสัยได้เป็นอันมาก ด้วยว่าได้มีตำรับตำราคอยเป็นครูอยู่ใกล้ชิดและผู้ช่วยแนะนำที่เป็นกัลยาณมิตรคู่ใจ ยากที่จะได้รับจากที่อื่นใดในโลก เมื่อผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติภาวนาธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมนี้ ปราศจากความลังเลสงสัยทั้งในหลักปริยัติและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ย่อมมีโอกาสใช้เวลาที่ได้เสียสละมาเข้ารับการอบรมด้วยวิธีการอันถูกต้องได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ ไม่ต้องเสียเวลาในการคลำหาทางเปะๆ ปะๆ ไปเองโดยเปล่าประโยชน์ ก็ย่อมจะมีกำลังใจ มีสติปัญญาปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดีกันเป็นส่วนมากเป็นธรรมดา
    2. ครู อาจารย์ และเพื่อนสหธรรมิกสำนักนี้ ต่างมีใจเอื้อเฟื้อแก่ผู้มาเข้ารับการอบรมโดยทั่วหน้ากันว่า จะช่วยกันถ่ายทอดธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายนี้แก่ผู้อื่น จนเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ ตามระดับภูมิธรรมของผู้ถ่ายทอดและผู้รับการถ่ายทอด ด้วยความมุ่งหมายเพื่อที่จะให้สาธุชนผู้มาเข้ารับการอบรมทุกท่าน สามารถช่วยทั้งตนเองและผู้อื่นได้ด้วย โดยไม่ปิดบังวิชชา และไม่หวั่นวิตกว่าจะมีผู้อื่นใดเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในธรรมยิ่งกว่าตน เพราะนั่นเป็นความปรารถนาของเราทุกคน ที่มุ่งจะเผยแพร่พระสัทธรรมนี้ให้กว้างไกลออกไปทั่วประเทศและแม้ในต่างประเทศ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขแก่สาธุชนโดยส่วนรวมร่วมกัน
    ทั้งหมดนี้แหละคือเหตุปัจจัยที่สำคัญ อันเอื้ออำนวยให้ผู้เข้ามาศึกษาและปฏิบัติภาวนาธรรมที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ (ภูเขาทอง) จึงปฏิบัติได้ผลดีในอัตราที่สูง บัณฑิตผู้มีปัญญาใด รู้จักเหตุและได้สังเกตผลตามที่เป็นจริง และกอปรด้วยมุทิตาธรรม ย่อมจักเข้าใจได้ดี และท่านที่เป็นผู้มีอุปการะแก่กิจกรรมเผยแพร่ธรรมปฏิบัติของสำนักนี้ และทั้งอนุโมทนาในมหากุศลธรรมทานแห่งสำนักนี้ด้วย ย่อมเป็นมหานิสงส์ บุญราศีทับทวีแก่ท่านผู้นั้นแต่ส่วนเดียว ด้วยประการฉะนี้
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    สมถวิปัสสนากรรมฐานแบบธรรมกาย


    วิปัสสนากรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิปัสสนาแบบที่มุ่งหวังผลอันสืบแต่ปัจจัยภายใน หรือ สูงกว่าวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ได้แก่การเจริญวิปัสสนาโดยใช้ เจโตสมาธิเป็นบาท


    เจโตสมาธิ คือ สมาธิที่ประดับด้วยอภิญญา หรือวิชชาสาม ถ้าบรรลุความหลุดพ้นโดยทางนี้ เรียกว่า หลุดพ้นโดยทางเจโตวิมุตติ วิปัสสนาประเภทนี้ เป็นประเภทที่ใคร่เชิญชวนให้ท่านทั้งหลาย ลองปฏิบัติดูบ้าง ถึงแม้จะปฏิบัติไปยังไม่ถึงขั้นบรรลุมรรคผล ก็ยังอาจจะได้ ความสามารถทางสมาธิบางประการ ไว้เป็นเครื่องแก้เหงา ถ้าโชคดีบรรลุมรรคผล ก็จะตระหนักด้วยตนเองว่า สุขใดจะสุขยิ่งไปกว่าสุขในกายตนนิพพานไม่มี ทั้งในขณะที่กำลังปฏิบัติวิปัสสนาแบบนี้อยู่ ใคร่จะปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์บ้าง เพียงแต่น้อมใจไปพิจารณาวิปัสสนาญาณ ไม่ช้าก็อาจจะบรรลุมรรคผลทางปัญญา เป็นผลพลอยได้อีกทางหนึ่ง


    การเจริญวิปัสสนาโดยใช้เจโตสมาธิเป็นบาท ปฏิบัติกันมากในหมู่ผู้เลื่อมใสในนิกายมหายาน ในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทก็อ้างถึงวิชชาแขนงนี้ไว้หลายตอน พุทโธวาทตอนใน ที่กล่าวถึงอาโลก หรือแสงสว่าง ที่กล่าวถึง


    ทิพพจักขุ วิชชาสาม และธรรมกาย เป็นเรื่องของวิปัสสนาแบบนี้ทั้งสิ้น การเจริญวิปัสสนาแบบนี้ไม่รุ่งเรืองทางฝ่ายเถรวาท แต่ทางมหายานกลับนิยมปฏิบัติกันทั่วไป อาจจะสันนิษฐานได้ว่า คงสืบมาแต่การกระทำทุติยสังคายนา ที่เมืองไพสาลี หลังจาก ปฐมสังคายนาราว 100 ปี ในครั้งนั้น พระสงฆ์ได้แตกแยกออกไปเป็นสองนิกาย เถรวาทนิกายหนึ่ง มหายานนิกายหนึ่ง ต่อมาต่างฝ่ายต่างพยายามแสดงว่าตนสังกัดในนิกายหนึ่งนิกายใดอย่างเคร่งครัด ผลก็คือว่า หลักปฏิบัติวิปัสสนาแขนงนี้ได้สูญไปจากนิกายเถรวาท หลวงพ่อวัดปากน้ำ เพิ่งได้ค้นพบวิชชานี้อย่างใหม่อย่างพิสดาร เมื่อปี พ.ศ. 2459 นี้เอง และได้ให้นามว่า “วิชชาธรรมกาย”


    วิชชาธรรมกาย เป็นกรรมฐานแบบเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา อาการของคู่กันนั้น ตามปฏิสัมภิทามรรค ยุคอรรถกถากล่าวว่า 1.คู่กันด้วยอารมณ์ 2.ด้วยความเป็นโคจร 3.คู่กันด้วยความละ 4.ด้วยความสละ 5.ด้วยความออก 6.ด้วยความหลีกพ้นไปจากกิเลส 7.คู่กันด้วยความเป็นธรรมละเอียด 8.ด้วยความเป็นธรรมประณีต 9.ด้วยความหลุดพ้น 10.ด้วยความไม่มีอาสวะ 11.ด้วยความเป็นเครื่องข้าม 12.คู่กันด้วยความไม่มีนิมิต 13.ด้วยความไม่มีที่ตั้ง 14.ด้วยความว่างเปล่า 15.คู่กันด้วยการภาวนา 16.คู่กันด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน 17.ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน และ 18.คู่กันด้วยความเป็นคู่กัน อาการคู่กันข้างต้น มีข้อที่น่าสนใจเป็นพิเศษอยู่ข้อหนึ่ง ได้แก่อาการคู่กันด้วยความไม่มีนิมิต การเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตนี้ ก็คือ อนิมิตเจโตสมาธิ นั่นเอง พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระอานนท์ ณ บ้านเวฬุคาม ในนครไพสาลี ก่อนจะทรงปลงอายุสังขารเล็กน้อยว่า [FONT=Verdana, Tahoma, Helvetica, sans-serif]<CENTER>"อนิมิตเจโตสมาธินี้ ถ้าทำให้มากแล้วสามารถทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่านั้น"</CENTER>[/FONT][FONT=Verdana, Tahoma, Helvetica, sans-serif]ถ้าจะอธิบาย อนิมิตเจโตสมาธิ ตามหลักของสมาธิแล้วอาจอธิบายได้ว่า ได้แก่การเกิดสมาบัติภายหลังที่ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว โดยเดินสมาบัติตามแบบของเจโตสมาธิ ให้นิมิตละเอียดเข้าๆ จนไม่เห็นนิมิต ทำนองอรูปฌาน ถึงขั้นนี้อำนาจสมาบัติจะทำให้ไม่มีมลทินและเชื้อโรคอะไรเหลืออยู่ในกายเลย การเดินสมาบัติทำนองนี้มากๆ ก็เท่ากับเป็นการพักผ่อนระบบของร่างกาย รวมทั้งสมองไปในตัว จึงมีเหตุผลพอเพียงที่จะทำให้อายุยืนได้ [/FONT]มีผู้แปลความหมายของ อนิมิตเจโตสมาธินี้ว่า เป็นอิทธิบาท 4 บ้าง นำความหมายของวิโมกข์ มาอธิบายว่า เป็นสมาธิที่ไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นนิมิตบ้าง ซึ่งก็ถูกด้วยกันทั้งสิ้น แต่ถ้าจะให้ตรงกันจริงแล้ว น่าจะอธิบายดังที่ได้อธิบายมา

    </PRE>

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เขมาเขมสรณาคมน์
    ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) <TABLE style="COLOR: #666666" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="33%" align=center><TBODY><TR><TD width="58%">พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ</TD><TD width="42%">ปพฺพตานิ วนานิ จ</TD></TR><TR><TD>อารามรุกฺขเจตฺยานิ</TD><TD>มนุสฺสา ภยตชฺชิตา</TD></TR><TR><TD>เนตํ โข สรณํ เขมํ</TD><TD>เนตํ สรณมุตฺตมํ</TD></TR><TR><TD>เนตํ สรณมาคมฺม</TD><TD>สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ</TD></TR><TR><TD>โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ</TD><TD>สงฺฆญฺจ สรณํ คโต</TD></TR><TR><TD>จตฺตาริ อริยสจฺจานิ</TD><TD>สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ</TD><TD>ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ</TD></TR><TR><TD>อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ</TD><TD>ทุกฺขูปสมคามินํ</TD></TR><TR><TD>เอตํ โข สรณํ เขมํ</TD><TD>เอตํ สรณมุตฺตมํ</TD></TR><TR><TD>เอตํ สรณมาคมฺม</TD><TD>สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>


    เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง เขมาเขมสรณทีปิกคาถา วาจาเครื่องกล่าวแสดงซึ่ง ที่พึ่งอันเกษมและไม่เกษมทั้ง ๒ สองอย่าง จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย จะชี้แจงแสดงเป็นทางปริยัติ เป็นทางปฏิบัติ เป็นทางปฏิเวธ ให้เป็นเหตุสอดคล้องต้องด้วยพุทธศาสนา เริ่มต้นจะแสดงทางปริยัติก่อน ในตอนหลังจะได้แสดงทางปฏิบัติต่อไป แล้วปฏิเวธก็จะรู้คู่กันไปในทางปฏิบัติ พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า จงเงี่ยโสตทั้งสองรองรับรสพระสัทธรรมเทศนา ดังอาตมาจะได้ชี้แจงแสดง ต่อไป ณ บัดนี้
    เริ่มต้นแห่งวาระพระบาลีว่า พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ เป็นอาทิว่า มนุษย์เป็นอันมาก อันภัยคุกคามเข้าแล้ว ย่อมถึงภูเขาทั้งหลายบ้าง ถึงป่าทั้งหลายบ้าง ถึงอารามและต้นไม้และเจดีย์ทั้งหลายบ้างว่าเป็นที่พึ่ง เนตํ โข สรณํ เขมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันเกษมไม่ เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันอุดมไม่ เนตํ สรณมาคมฺม ถ้าอาศัยอันนั้นเป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหาหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้ไม่ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ใดถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า ว่าเป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ทุกฺขทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ มาเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบ ทุกฺขํ คือทุกข์ ทุกขสมุปฺปาทํ คือ ตัณหาเป็นแดนให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ คือ การก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ คือหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึก ทุกฺขูปสมคามินํ ให้ถึงพระนิพพาน เป็นที่สงบระงับทุกข์ เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่ง อันอุดม เอตํ สรณมาคมฺม มาถึงอันนี้เป็นที่พึ่งได้แล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา
    ต่อแต่นี้จะแสดงเป็นปริยัติเทศนา ในเขมาเขมสรณาคมน์ต่อไป ปริยัติเทศนาว่า มนุษย์เป็นอันมาก ไม่ใช่น้อย หมดทั้งสากลโลก ชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกาย มีเท่าไรที่เป็นมนุษย์หรือทิพย์ก็ช่าง หรือรูปพรหม อรูปพรหม ก็ช่าง เมื่อพากันมาฟังธรรมเทศนาแล้ว นั่นแหละก็อยู่ในพวกมนุษย์นั่นทั้งนั้น มีมากน้อยเท่าใด มนุษย์ทั้งหลายมากด้วยกัน ภยตชฺชิตา อันภัยคุกคามเข้าแล้ว เมื่อคุกคามเข้าเช่นนั้น แล้วทำไง บางพวกไปถึงภูเขาใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงป่าใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงอารามใหญ่ๆ เช่น เชตวนาราม หรืออารามใหญ่ๆ กว่านั้นก็ช่าง หรือเล็กกว่านั้นก็ช่าง ที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น อย่างวัดโสธรอย่างนี้ พอถึงวัดเข้าไหว้แล้ว แต่ว่าไหว้กลัวฤทธิ์กลัวเดชพระยามาร อ้ายที่มีฤทธิ์มีเดชอยู่ที่นั่น ไม่ใช่เคารพต่อพระพุทธเจ้าโดยตรง เคารพในฤทธิ์เดชของพระยามารมัน กลัวพระยามารมัน อารามหรือต้นไม้เป็นเจดีย์ บัดนี้ก็ยังปรากฏอยู่นั่นแน่ เจริญพาสน์นั่นแน่ ต้นมะขามใหญ่ นั่นแน่ ไปถึงก็ต้องไหว้เชียว ต้องไหว้ กลัว กลัวใครละ กลัวฤทธิ์พระยามาร มันมีฤทธิ์มีเดช มันสิงมันทรงได้ มันบอกไหว้นบเคารพเสีย มันให้ความสุขความเจริญ ถ้าว่าไม่ไหว้นบ เคารพ นบบูชาแล้ว ก็ลงโทษต่างๆ นานา กลัวมัน ต้องไหว้มันอย่างนี้ ไปถึงอาราม หรือ ต้นไม้ เจดีย์เช่นนั้นเข้าแล้ว ก็ต้องไหว้ กลัวต้องภัยได้ทุกข์ ถึงอ้ายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ว่าเป็น ที่พึ่งทีเดียว
    นั่นพระพุทธเจ้าปฏิเสธแล้ว เนตํ โข สรณํ เขมํ ภูเขาก็ดี ป่าก็ดี อารามก็ดี ต้นไม้ก็ดี นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันผ่องใส ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด หรืออันอุดม ไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดมอันสูงสุด เนตํ สรณมาคมฺม อาศัยอันนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว น ปมุจฺจติ สพฺพทุกฺขา ย่อมหาหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะต้องติดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ อยู่นี่เอง จนไปนิพพานไม่ได้ เพราะเข้าถึงที่พึ่งไม่ถูก พลาดไปเรื่องนี้ เราเห็นอยู่ต่อตาทั่วๆ กัน ในประเทศไทยนี่ อะไรต่อมิอะไรกันไขว่เชียว เพราะเหตุอะไร ? เพราะเหตุว่า ไม่รู้จัก พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ น่ะซี พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ไม่ได้อยู่เรี่ยราดเช่นนั้น พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ อยู่ในตัวทุกคน กายเป็นชั้นๆ เข้าไป กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด นั่นแน่ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ นั่นแน่ กายธรรม-กายธรรมละเอียด กายธรรม นั่นแหละเป็น พุทฺโธ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเป็น พุทฺโธ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม นั่นแหละ เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ดวงนั้นแหละเป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม กายธรรมละเอียดอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย แต่ว่าใหญ่กว่ากายธรรม นั่นแหละเรียกว่า สงฺโฆ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเรียกว่า สงฺโฆ ถ้าตัวจริงละก้อ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละเป็นตัวจริงที่เราจะถึง จะไปถึงสิ่งอื่นไม่ได้ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง หรือถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ นั้นว่าเป็นที่พึ่ง
    เมื่อถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ต้องเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบที่ถูก ไม่ให้ผิดจากอริยสัจธรรมทั้ง ๔ อริยสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นธรรมสำคัญในทางพระพุทธศาสนา แต่เราไม่เดียงสาทีเดียวว่าอะไรเป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เราไม่เดียงสาทีเดียว ไม่เดียงสาอย่างไร ? ทุกขสัจน่ะคืออะไรล่ะ ? ความเกิดน่ะซีเป็นทุกขสัจจะ สมุทัยสัจล่ะ เหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นสมุทัยสัจ นิโรธสัจล่ะ ความดับเหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นนิโรธสัจ มรรคสัจ ข้อปฏิบัติหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึกให้ถึงพระนิพพานที่เป็นที่สงบระงับนั่นแหละ เป็นมรรคสัจ นี้เป็นตัวสำคัญนัก วันนี้มุ่งมาดปรารถนาจะแสดงในทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ นี้ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะแสดงทางปริยัติก่อน แล้วจึงย้อนไปแสดงทางปฏิบัติให้เข้าเนื้อเข้าใจชัดว่า ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ น่ะ อยู่ที่ไหน อะไรให้รู้กันเสียที
    เมื่อเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นที่พึ่งดีเช่นนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงรับสั่ง เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม อันผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ นี่ท่านแสดงย่อย่นสกลพุทธศาสนา ธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นที่ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ คือ สัจธรรมทั้ง ๔ รู้จริงรู้แท้ทีเดียวในสัจธรรมทั้ง ๔ นี้ ถ้าไม่รู้จริงรู้แท้ในสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นพระอรหันต์ก็ไม่ได้ เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ เป็นไม่ได้ทีเดียว นี่ธรรมสำหรับทำให้เป็นพระพุทธเจ้าทีเดียว สัจธรรมทั้ง ๔ นะ เพราะฉะนั้นวันนี้เราควรฟัง ที่แสดงมาแล้วนี้เป็นทางปริยัติ
    ถ้าจะแสดงโดยปฏิบัติ ให้แน่ชัดลงไปแล้วละก็ ในสัจธรรม ๔ นี่น่ะคือใคร ถ้ารู้จักพระพุทธเจ้าเสียก่อน
    • พระพุทธเจ้าน่ะคือใครที่ไปเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ น่ะ เห็นด้วยพระสิทธัตถกุมารหรือด้วยตาของพระสิทธัตถราชกุมาร ความเห็น ความรู้ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? ไม่ใช่
    • หรือเห็นด้วยกายละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร กายที่นอนฝันออกไปน่ะ ? ไม่ใช่ ไม่ได้เห็นด้วยตานั้นกายนั้น
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? กายที่ฝันในฝันออกไปนะ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยกายนั้นเป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ได้
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ถึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ? ไม่ใช่ ไม่เห็น เช่นนั้น เพราะสัจธรรมนี่เห็นขั้นท้ายไม่ใช่เห็นขั้นต้น เห็นด้วยตากายรูปพรหมหรือรูปพรหม ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ? เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ? ไม่ใช่
    • เห็นด้วยตากายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร เป็นกายที่ ๗ ที่ ๘ กระนั้นหรือ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยตากายนั้น มันอยู่ในภพ มันทะลุหลุดสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ มันยังติดภพอยู่
    ท่านเห็นด้วยตาธรรมกาย ธรรมกายที่เป็นโคตรภูนะ ยังหาได้เป็นพระโสดา-สกทาคาไม่ ยังหาได้เป็นโสดาปัตติมรรคผล สกทาคามิมรรคผล อนาคามิมรรคผล อรหัตมรรคผลไม่ เห็นด้วยตากายธรรม รู้ด้วยญาณของกายธรรม ไม่ใช่รู้ด้วยดวงวิญญาณ เพราะกายมนุษย์มีดวงวิญญาณ ญาณไม่มี กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด มีดวงวิญญาณทั้งนั้น ดวงญาณไม่มี กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี กายอรูปพรหม-อรูปพรหม ละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี พอถึงกายธรรมเข้า มีญาณทีเดียว
    ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ? ตาธรรมกายก็เหมือนรูปพระปฏิมาอย่างนี้แหละ เหมือนมนุษย์อย่างนี้แหละ แบบเดียวกันแต่ทว่าละเอียด แล้วมีญาณของกายธรรม ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? ดวงวิญญาณอยู่ในกลางกายมนุษย์นี่ เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายทิพย์ก็เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายมุนษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียด ก็แบบเดียวกัน หรือกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็มีดวงวิญญาณแบบเดียวกัน ดวงวิญญาณเท่านั้นไม่อาจจะเห็นอริยสัจได้ ต่อเมื่อใด ไปถึงกายธรรมเข้า ดวงวิญญาณจะขยายส่วนออกไปเป็นดวงญาณ หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ก็กว้างแค่นั้น ถ้าหน้าตักศอกหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางศอกหนึ่ง หน้าตักวาหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางวาหนึ่ง กลมรอบตัว ถ้าว่าหน้าตักธรรมกายนั้น ๒ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา กลมรอบตัว ขยายอย่างนั้น ถ้าหน้าตัก ๔ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๔ วา กลมรอบตัว แล้วแต่หน้าตักธรรมกาย หน้าตักธรรมกายโคตรภูนั่นไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ วาเล็กน้อย ถ้าเป็นพระโสดาจึงจะเต็ม ๕ วา ถ้ายังไม่ถึงพระโสดาหย่อนกว่า ๕ วา หน้าตักของธรรมกายนั่นโตเท่าไหน ดวงญาณก็โตเท่านั้น ดวงญาณนั้นแหละสำหรับรู้ละ นั่นแหละ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ เห็นตามปัญญาอันชอบ เห็นชัดๆ ทีเดียว ดวงญาณของธรรมกายขยายออกไป ดังนั้นเมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ธรรมกายจะเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรจสัจ มรรคสัจ ต้องเข้าสมาบัติ ธรรมกายต้องเข้าสมาบัติธรรมกายนั่งนิ่งเพ่งฌานทีเดียว ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย หยุดนิ่ง เมื่อนิ่งถูกส่วนเข้าแล้ว ที่ธรรมกายนั่งนั่นแหละเกิดเป็นดวงฌานขึ้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา ๘ ศอก กลมเป็นวงเวียน เป็นกงจักร กลมเป็นกงเกวียนทีเดียว เหมือนแผ่นกระจกหนาคืบหนึ่ง วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง รองนั่งของธรรมกายนั้นมาจากไหน ดวงฌานที่เกิดขึ้นน่ะมาจากไหน ที่มาของดวงฌานน่ะมีมาก มาจากกสิณก็เป็นดวงฌานได้ มาจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็เป็นดวงฌานได้ แต่ว่าเมื่อถึงธรรมกายแล้ว ใช้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเองเป็นปฐมฌาน ขยายส่วน เห็นใส เมื่อดูใสแล้วก็ขยายส่วนออกไป ขยายส่วนออกไป ๒ วา กลมรอบตัว แต่ว่าหนาคืบหนึ่ง กลมเหมือนยังกับกงจักรหรือกงเกวียน กลมเหมือนอย่างวงเวียนอย่างนั้น หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นแก้วผลึกทีเดียว รองนั่งของธรรมกาย ธรรมกายเมื่อเข้าถึงปฐมฌานเช่นนั้นนั่นแหละ พอถึงปฐมฌานเข้าเช่นนั้น ก็มีวิตก ความตรึก วิจาร ความ ตรอง ปีติ ชอบเนื้อชอบใจ วิตกว่าฌานนั้นมันมาจากไหน เห็นแล้วมันมาจากนั่น วิจาร ไตร่ตรองไป ตรวจตราไปถี่ถ้วน เป็นของที่ไม่มีที่ติ ปลื้มอกปลื้มใจ ดีอกดีใจ มีความปีติขึ้น ปลื้มอกปลื้มใจ เต็มอกเต็มใจ เต็มส่วนของปีติ มีความสุข นิ่งอยู่กลางฌานนั่น สุขในฌาน อะไรจะไปสู้ ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ สุขลืมสมบัตินั่นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้ สุขในฌานนะ สุขนักหนาทีเดียว เต็มส่วนของความสุขก็หนึ่ง เฉยวิเวกวังเวง เปลี่ยวเปล่า เรามาคนเดียวไปคนเดียวหมดทั้งสากลโลก คนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น ไม่มีคู่สองเลย จะเห็นว่าลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี ภรรยาสักคนหนึ่งก็ไม่มี ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด เป็นจริงอย่างนี้ ปล่อยหมด ไม่ว่าอะไร ไม่ยึดถือทีดียว เรือกสวนไร่นา ตึกร้านบ้านเรือน ก่อนเราเกิดเขาก็มีอยู่อย่างนี้ หญิงชายเขาก็มีกันอยู่อย่างนี้ เราเกิดแล้วก็มีอยู่อย่างนี้ เราตายไปแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ เห็นดิ่งลงไปทีเดียว เข้าปฐมฌานเข้าแล้ว เห็นดิ่งลงไปเช่นนี้ เมื่อเข้าปฐมฌานก็แน่นิ่งอยู่ ฌานที่ละเอียดกว่านี้มี พอนึกขึ้นมาเช่นนั้น ก็ อ้อ! ที่ละเอียดขึ้นมากว่านี้มีอยู่ ก็นิ่งอยู่กลางปฐมฌานนั่น กลางดวงปฐมฌานนั่นนิ่ง ใจของธรรมกายหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย นิ่งพอถูกส่วนเข้า ฌานนั่นเปลี่ยนแล้ว ปฐมฌานนั่นจางไป ทุติยฌานมาแทนที่รองนั่ง จะไปไหน ไปคล่องแคล่วยิ่งกว่าขึ้นเครื่องบิน ปฐมฌานเหมือนกัน ทุติยฌานเหมือนกัน พอเข้าฌานที่ ๒ ได้แล้ว ก็นึกว่าฌานที่ ๒ มันใกล้ฌานที่ ๑ มันเสื่อมง่าย ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอีก ถูกส่วนนิ่งเข้าอีก ทุติยฌานก็จางไป ตติยฌานมาแทนที่ นิ่งอยู่กลางตติยฌานนั่น พอถูกส่วนเข้าตติยฌานแล้ว ละเอียดกว่าตติยฌานนี่มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น ถูกส่วนเข้า เมื่อนึกถึงฌาน ตติยฌานก็จางไป จตุตถฌานเข้ามาแทนที่ ยังไม่พอแค่นั้น นิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี ว่าละเอียดกว่านี้มี จตุตถฌานก็จางไป อากาสานัญจายตนฌาน กลางของจตุตถฌานว่างออกไปเท่ากัน ดวงเท่ากัน ดวงเท่ากันนี้เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน ธรรมกายก็นั่งอยู่กลางของอากาสานัญจายตนฌาน เรียกว่า เข้าอากาสานัญจายตนฌาน แล้ว ใจก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น ถูกส่วนเข้าก็นึกว่าฌานนี้ คล่องแคล่วว่องไวดี แต่ว่าละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากาสานัญจายตนฌานก็จางไป วิญญาณัญจายตนฌานเข้ามาแทนที่ ดวงก็เท่ากัน นิ่งอยู่กลางดวงวิญญาณัญจายตนฌานนั่น ว่าละเอียดกว่านี้มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น แต่ว่าเพ่งฌาน นิ่ง พอถูกส่วนเข้า วิญญาณัญจายตนฌานจางไป อากิญจัญญายตนฌานเข้ามาแทนที่ รู้ละเอียด จริง นี่เป็นรู้ละเอียดจริง นิ่งอยู่อากิญจัญญายตนฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากิญจัญญายตนฌานจางไป เนวสัญญานาสัญญายตนะเข้ามาแทนที่ เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกนึกในใจทีเดียวว่า สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ นี่ละเอียดจริง ประณีตจริง นี่เข้าฌานดังนี้ นี่เขาเรียกว่า เข้าฌานโดยอนุโลม
    เข้าฌานโดยปฏิโลม ถอยกลับจากฌานที่ ๘ นั้น จากเนวสัญญานาสัญญายตนะเข้าหา อากิญจัญญายตนะ มาวิญญาณัญจายตนะ เข้าอย่างไรก็ออกมาอย่างนั้น มาถึงอากาสานัญจายตนะ ถอยจากอากาสานัญจายตนะ มาถึงจตุตถฌาน ถอยจากจตุตถฌาน มาถึงตติยฌาน ถอยจากตติยฌาน มาถึงทุติยฌาน ถอยจากทุติยฌาน มาถึงปฐมฌาน เข้าไปดังนี้อีก นี่เรียกว่าปฏิโลมถอยกลับ อนุโลมเข้าไปอีก ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ ไปอีก ถอยจากที่ ๘ มาถึง ที่ ๗ ที่ ๖ ที่ ๕ ที่ ๔ ที่ ๓ ที่ ๒ ที่ ๑ มาถึงอีก นี่เรียกว่า อนุโลมปฏิโลมไปอย่างนี้ พออนุโลมปฏิโลมถูกส่วนเข้าก็เห็นทีเดียวว่า อ้อ! สัตว์โลกนี่เป็น ทุกข์ละ เห็นทุกข์ละนะ นี่ทางปฏิบัติเห็นทุกข์ละ ตาธรรมกายเห็นอายตนะที่ดึงดูดของสัตว์โลก เขาเรียกว่า โลกายตนะ อ้อ! มนุษย์นี่เกิดขึ้นไม่ใช่อื่นเลย ความเกิดนี่ อายตนะของโลกเขาดูดนะ ก็เห็นอายตนะทีเดียว มนุษย์นี่ก็มีอายตนะอยู่อันหนึ่ง เราเคยค้นพบ เรารู้จักแล้ว อายตนะของมนุษย์ รู้จักกันทั่วแหละ อายตนะของมนุษย์ ที่เราติดอยู่ ก็ติดอายตนะนั่นแหละมันดึงดูด อายตนะอยู่ที่ไหน ? ที่บ่อเกิดของมนุษย์ อายตนะแปลว่าบ่อเกิด บ่อเกิดมันอยู่ที่ไหน ? นั่นแหละเป็นตัวอายตนะของมนุษย์ทีเดียว อายตนะของทิพย์ละ มันมีมากด้วยกันนี่ อายตนะกำเนิดของสัตว์มีถึง ๔ คือ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ สังเสทชะ เกิดด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ อายตนะที่ว่านี้เป็นชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ โอปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เอากันละคราวนี้ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ เป็ด ไก่ ทั้งนั้น เป็นอายตนะอันหนึ่ง สังเสทชะ เหงื่อไคลเป็นอายตนะอันหนึ่ง สำหรับเหนี่ยวรั้งใจให้สัตว์เกิดนั่น เป็นอายตนะสำหรับบ่อเกิด ชลาพุชะ มีน้ำสำหรับเป็นอายตนะให้เกิด โอปปาติกะ อายตนะของจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตตวสวัตตี นี่เป็นอายตนะของทิพย์ทั้งนั้น มีอายตนะดึงดูดให้เกิดเหมือนกัน ไม่ใช่เท่านั้น อายตนะที่ทรามลงไปกว่านี้ อายตนะให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คล้ายมนุษย์เหมือนกัน อายตนะให้เกิดเป็นอสุรกาย แบบเดียวกันกับมนุษย์ อายตนะเกิดเป็นเปรต แบบเดียวกับมนุษย์ อายตนะในอบายภูมิทั้ง ๔ สัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาฏะ โรรุวะ มหาโรรุวะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจีนรก นรกทั้ง ๘ ขุมใหญ่นี้ ขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรกเป็นบริวารล้อมรอบ ๔ ด้านๆ ละ ๔ ขุม เป็น ๑๖ ขุม แล้วมียมโลกนรก ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔ ทิศๆ ละ ๑๐ ขุม เป็น ๔๐ ขุม นรกทั้ง ๔๕๖ ขุมเป็นอายตนะดึงดูดสัตว์โลกทั้งนั้น เมื่อทำดีทำชั่วไปถูกส่วนเข้าแล้ว อายตนะของนรกก็ดึงเป็นชั้นๆ ดูดเป็นชั้นๆ ต้องไปติด ใครทำอะไรเข้าไว้ อายตนะมันดึงดูดไปติด ฝ่ายธรรมกายไปเห็นก็ อ้อ! สัตว์โลก มันติดอย่างนี้เอง ติดเพราะอายตนะเหล่านี้ อ้ายที่มาเกิดเหล่านี้ใครให้มาเกิดละ อ้ายที่มาเกิด เป็นอบายภูมิทั้ง ๔ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ ชั้นนี้ ใครให้เกิดละเห็นทีเดียวแหละ เห็นทีเดียว ทุกฺขสมุปฺปาทตณฺหา ตัณหานี่แหละเป็นแดนให้เกิดพร้อมทีเดียว
    ตัณหาคืออะไรล่ะ ? กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา แยกออกไปเป็น ๓ เห็นตัณหาอีก อ้อ! อ้ายเจ้ากามตัณหานี้ อยากได้กาม อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส นั่นเอง เจ้าถึงต้องมาเกิด เออ อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ไปตีรันฟันแทงกันป่นปี้ รบราฆ่าฟันกันยับเยินเปินทีเดียว เพราะอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ ไม่ใช่เรื่องอะไร เห็นชัดๆ อย่างนี้ว่า อ้อ ! อ้ายนี่เองเป็นเหตุให้เกิด กามตัณหานี่เอง อ้อ! นี่ อายตนะของกามตัณหาทั้งนั้น ในอบายภูมิทั้ง ๔ นรก อสุรกาย เปรต สัตว์ดิรัจฉานเหล่านี้ มนุษย์ สวรรค์ ๖ ชั้น นี่กามตัณหาทั้งนั้น อ้ายกามนี่เองเป็นตัวสำคัญเป็นเหตุ อ้ายนี่สำคัญนัก
    ไม่ใช่แต่กามตัณหาฝ่ายเดียว ไปดูถึงรูปพรหม ๑๖ ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐ รูปพรหม ๑๖ ชั้นนี่เป็น ภวตัณหา อ้ายนี่อยากได้รูปฌานที่เราดำเนินมานั่นเอง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อ้ายนี่เป็นรูปพรหม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อ้ายนี่ให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อ้ายนี่ติด อ้าย ๘ ดวงนี่เอง เมื่อไปติดเข้าแล้วมันชื่นมื่นมันสบายนัก กามภพสู้ไม่ได้ มันสบายเหลือเกิน มันสุขเหลือเกิน ปฐมฌานก็สุขเพียงเท่านั้น ทุติยฌานก็สุขหนักขึ้นไป ตติยฌานสุขหนักขึ้นไป จตุตถฌานสุขหนักขึ้นไป อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน สุขหนักขึ้นไป อากิญจัญญายตนฌานสุขหนักขึ้นไป เนวสัญญานาสัญญายตนฌานสุข หนักขึ้นไป มันพิลึกกึกการละ มันยิ่งใหญ่ไพศาลทีเดียว ส่วนรูปภพนั้นเป็นภวตัณหา อ้ายภวตัณหานี่เองเป็นเหตุให้เกิดในรูปภพทั้ง ๑๖ ชั้นนี่
    ฝ่ายอรูปภพทั้ง ๔ ชั้นนี่เป็นวิภวตัณหา เข้าใจว่า นี่เอง หมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บ หมดตาย เสียแล้ว เข้าใจว่า นี่เองเป็นนิพพาน เมื่อไม่พบศาสนาของพระบรมศาสดาจารย์ ก็เข้าใจว่า อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่เอง เป็นนิพพานทีเดียว เข้าใจอย่างนั้น ค้นคว้าหาเอาเอง นี่เป็นวิภวตัณหา ไปติดอยู่อ้ายพวกนี้เอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อ้าย ๓ ตัวนี่แหละสำคัญนัก ไปเห็นหมด เห็นรูปพรรณสัณฐาน ฌานก็เห็น กามตัณหาก็เห็น กามตัณหาทั้ง ๑๑ ชั้นนี่เห็น ภวตัณหาทั้ง ๑๖ ชั้นนั่นก็เห็น วิภวตัณหาทั้ง ๔ ชั้นน่ะ เห็นหมด เห็นปรากฏทีเดียว เอ! นี่จะทำอย่างไร ? ต้องละอ้ายพวกนี้ ต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ ถ้าละไม่ได้ละก้อ หลุดพ้นไปไม่ได้ละ ก็ทุกข์อยู่นี่ ไม่พ้นจากทุกข์ แน่นอนทีเดียว แน่นอนในใจของตัวทีเดียว เข้าสมาบัติดูอีก ตรวจทบไปทวนมาดูอีก ดูหนักเข้าๆๆ เห็นชัดหมดทุกสิ่งทุกประการแล้ว ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูไปดูมา อ้อ! เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี่ ถ้าว่าไม่ละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี่ให้ขาดเสียละก้อ เราจะต้องมีชาติไม่จบไม่แล้ว จะต้องทุกข์ไม่จบไม่แล้ว จะต้องหน้าดำคร่ำเครียดไม่จบไม่แล้ว จะต้องลำบากยากแค้นไม่จบไม่แล้ว เมื่อคิดดังนี้เข้าใจดังนี้แล้ว ตาธรรมกายก็มองเห็นแจ่ม เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ละอย่างไร ? วิธีจะละ ละอย่างไรนะ ? เออ ! วิธีจะละ ละท่าไหนกันนะ ? เห็นทางทีเดียวว่า อ้อ ! พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ที่เราเดินมาทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์มาถึงกายมนุษย์ละเอียด ในกายทิพย์มาถึงกายทิพย์ละเอียด ในกายรูปพรหมมาถึงกายรูปพรหมละเอียด ในกายอรูปพรหมมาถึงกายอรูปพรหมละเอียด จนกระทั่งมาถึงกายธรรมกาย ธรรมกายละเอียดนี้ เราต้องเดินในช่องทางของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่เอง ใจต้องหยุด ต้องหยุดทีเดียวถึงจะละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้ เริ่มต้นต้องหยุดเชียว พอหยุดกึ๊กเข้าก็ได้การทีเดียว อ้อ! พอหยุดกึ๊กเข้า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับหมด ถ้าว่าไม่หยุดละก้อ เป็นไม่ได้การทีเดียว ไปไม่รอดไม่พ้นทีเดียว
    หยุดอะไรละ ใจหยุดสิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ หยุดกลางของกลาง กลางของหยุด กลางที่หยุดนั่นแหละ ถ้าว่าถึงดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิ กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ พอหยุดแล้วก็กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว หยุดอยู่ศูนย์กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าก็เห็นกายพระโสดา เข้าถึงกายพระโสดา อ้อ! พอเข้าถึงกายพระ โสดารู้จักเชียว นี่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ไม่ใช่ไปทางอื่นเลย แต่พอเข้าถึงกายพระโสดาละเอียด ทำแบบเดียวกันอย่างนั้น หยุดอย่างเดียวกันนั่นแหละ หยุดอย่างนั้นแหละ พอหยุดเข้ารูปนั้นจริงๆ เข้าถึงกายพระสกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด ก็รู้รสชาติของใจทีเดียว พอเข้าถึงพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เข้าแล้วหลุดหมด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกฺขูปสมคามินํ อย่างนี้เอง ถึงพระนิพพานเป็นที่ดับแห่งทุกข์ พอถึงพระอรหัตก็เห็นนิพพานแจ่ม เข้านิพพานไปได้ทีเดียว นี้ไปอย่างนี้ ไปจริงๆ อย่างนี้ ก็ไปได้ เพราะเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว ก็เข้ามาคลุมสัจธรรมทั้ง ๔ ไว้ ยังไม่ปล่อยทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มั่นกับใจดูแล้วดูอีก ทบทวนแล้วทบทวนอีก แน่นอนในใจ พอแน่นอนในใจ เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ พอครบ ๔ เข้าเท่านั้นแหละ ได้บรรลุพระโสดาทันที พอพระโสดาเข้าสมาบัติ นิ่งอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมาๆ ตาธรรมกายของพระโสดาไปเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ รู้ด้วยญาณของพระโสดา พอครบรอบ ๔ เข้าเท่านั้น ได้บรรลุพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์หนักขึ้นไป ธรรมกายพระสกทาคาเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมา แบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม เห็นชัด พอถูกส่วนเข้า ก็ได้บรรลุพระอนาคา พระอนาคาเดินสมาบัติแบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมเข้าก็ได้บรรลุพระอรหัตทีเดียว หมดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานทีเดียว ถ้าหลักฐานเรียกว่า โสฬสกิจ เรียกว่าแค่นี้สำเร็จโสฬสกิจแล้ว โสฬสกิจแปลว่ากระไร ? กิจ ๑๖ ในเพลงที่เขาวางไว้เป็นหลักว่า เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา ทางพระอรหัตแค่นี้ นี้ทางปฏิบัติ เทศนาดังนี้เป็นทางปฏิบัติ ไม่ใช่ทางปริยัติ นี่ทางปฏิบัติอันนี้แหละ พระพุทธศาสนาในทางปริยัติ ดังแสดงแล้วในตอนต้น พุทธศาสนาในทางปฏิบัติดังแสดงแล้วในบัดนี้ แต่ปริยัติ ปฏิบัติ ที่เรียกว่าเข้าถึงปฏิบัติ เดินสมาบัติทั้ง ๘ นั้น เป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังนี้ นี่เป็นทางปฏิบัติแท้ๆ
    เมื่อกายธรรมเห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้เข้าเห็นพระโสดา บรรลุถึงพระโสดา นั่นปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว ได้เข้าถึงพระโสดาแล้ว ทั้งหยาบทั้งละเอียด เมื่อพระโสดา เดินสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์เข้าทั้งหยาบทั้งละเอียด ได้บรรลุพระสกทาคา
    เมื่อถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นเข้านั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดในสกทาคาเข้าแล้ว เมื่อพระสกทาคาเข้าสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหมเข้า เห็นในสัจจธรรมทั้ง ๔ ชัดอีก ได้บรรลุ พระอนาคา นี้ที่ได้เห็นตัวพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด และทั้งธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา นั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดเห็นจริงทีเดียว เห็นปรากฏทีเดียว
    เมื่อพระอนาคาเข้าสมาบัติ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดใน ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้บรรลุพระอรหัต
    เมื่อเห็นกายพระอรหัต ทั้งธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดทีเดียว นั่นเห็นชัดอันนั้นแหละได้ชื่อว่า เป็นปฏิเวธแท้ๆ เชียว รู้แจ้งแทงตลอด
    นี้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ศาสนามีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ถ้าว่านับถือศาสนา ปฏิบัติศาสนา เข้าปริยัติก็ไม่ถูก ปฏิบัติก็ไม่ถูก ปฏิเวธก็ไม่ถูก มันก็ไปต่องแต่งอยู่นั่น เอาอะไรไม่ได้ สัก ๑๐ ปี ๑๐๐ ปี ก็เอาอะไรไม่ได้ ถึงอายุจะแก่ปานใด จะโง่เขลาเบาปัญญาปานใด ถ้าเข้าถึงทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ไม่ได้ ไม่เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังแสดงมาแล้วนี้ จะปฏิบัติศาสนาเอาเรื่องราวไม่ได้ ถ้าว่าคนละ โมฆชิณฺโณ แก่เปล่า เอาอะไรไม่ได้ เอาเรื่องไม่ได้ เหตุนี้แหละทางพุทธศาสนาจึงนิยมนับถือนักในเรื่อง สัจธรรมทั้ง ๔ นี้
    ที่แสดงมานี้ก็เพื่อจะให้รู้สัจธรรมทั้ง ๔ เมื่อรู้จักสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว สัจจธรรมทั้ง ๔ นี้ใครเป็นคนรู้คนเห็น ธรรมกาย ธรรมกายโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นผู้เห็นเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เหล่านี้ นี้แหละเป็นธรรมสำคัญในพุทธศาสนา เมื่อได้สดับ ตรับฟังแล้ว พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า เมื่อรู้จักธรรมที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้ที่พึงอันเกษมผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้ที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ด้วยประการดังนี้ ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย เป็นไปในทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติใน เขมาเขมสรณาทีปิกคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็น สยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้. ​
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ เทศน์เรื่อง “ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ฯ”
    เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗
    บันทึกและถอดเทปโดยท่านเจ้าคุณพระพิพัฒน์ธรรมคณี(อำนาจ อุปคุตฺโต)​
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺส
    เย ธมฺมา เหตุปฺปพฺภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต
    เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ
    อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปณฺจ เวทนา ตถา
    อโถ สญฺญา จ สงฺขารา วิญฺญาณณฺจาติปญฺจิเม
    อุปปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ เอวํ หตฺวา อภาวโต
    เอวํ ธมฺมา อนิจฺจาถ ตาวกาลิกตาทิโต
    เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺณาย สาธุกํ
    ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาติ ฯ

    [​IMG] ณ บัดนี้อาตมาภาพจักได้แสดงธรรมมิกถา เริ่มต้นแต่ความย่อย่นธรรมเทศนาของพระบรมศาสดา พระองค์ได้รับสั่งด้วยพระองค์เอง ว่า “ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ” ไม่มีเหตุแล้วธรรมเกิดไม่ได้ นั้นเป็นข้อใหญ่ใจความในพระพุทธศาสนา ผู้มีปัญญาจะพึงสดับในบัดนี้ ตามวารพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้น ว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปพฺภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต เตสญฺจโย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงตรัสเหตุของธรรมเหล่านั้นและความดับเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้าทรงตรัสอย่างนี้
    นี่เนื้อความของพระบาลีแห่งพุทธภาษิต คลี่ความเป็นสยามภาษาอรรถาธิบาย ว่า คำว่าเหตุนั้นในสังคหะแสดงไว้ ฝ่ายชั่วมีสาม ฝ่ายดีมีสาม ดังพระบาลีว่า โลภเหตุ โทษเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ มีสามเหตุดังนี้
    เพราะท่านแสดงหลักไว้ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ น่ะท่านแสดงหลัก ยกเบญจขันธ์ทั้ง ๕ มีอวิชชาเป็นปัจจัย วางหลักไว้ดังนี้ อวิชฺชา ทีหิ สมฺภูตา รูปณฺจ เวทนา ตถา อโถ สญฺญา จ เวทนา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม เบญจขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดพร้อมแต่เหตุปัจจัยทั้งหลายมี อวิชชา เป็นต้น
    เกิดอย่างไร เกิดแต่เหตุ เกิดพร้อมแต่ปัจจัยทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นดังในวาระพระบาลีที่ท่านวางเนติแบบแผนไว้ว่า
    อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา ดังนั้นเป็นต้น อวิชฺชาความไม่รู้จริง มันก็กระวนกระวายนิ่งอยู่ไม่ได้ ความรนหาความรู้จริงนั่นแหละมันเกิดเป็นสังขารขึ้น รู้ดีรู้ชั่ว รู้ไม่ดีไม่ชั่วเข้าไปว่าอวิชฺชา –ปจฺจย สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณความรู้ เมื่อมีความรู้เกิดขึ้นแล้ว
    วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดรูป มันก็ไปยึดเอานามรูปเข้า
    นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ มีนามรูปแล้วก็มีอายตนะเข้าประกอบ
    อายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ เมื่อมีอายตนะเข้าแล้วก็รับผัสสะ
    ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
    เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ความอยากได้ดิ้นรน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
    ตัณหา มีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดถือ
    อุปาทาน มีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก็ยึดถือภพต่อไปกามภพ รูปภพ อรูปภพ
    ภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชาต เมื่อได้ภพแล้วก็เกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นสัตว์ดิรัจฉานก็ดี สี่กำเนิด เกิดด้วยอัณฑชะ เกิดด้วยสังเสทชะ อุปปาติกะ เกิดด้วยชลัมภุชะ สังเสทชะเหงื่อไคล อัฑชะเกิดเป็นฟองไข่ ชลัมภุชะเกิดด้วยน้ำของพวกมนุษย์ อุปปาติกะลอยขึ้นบังเกิดอย่างพวกเทวดา สัตว์นรก นี่อุปปาติกะ นี้ที่เกิดขึ้นได้เช่นนี้ ก็เพราะอวิชชานั่นเอง ไม่ใช่อื่น ถ้าอวิชชาไม่มีแล้วเกิดไม่ได้ อวิชชาน่ะ เป็นเหตุด้วย แล้วเป็นปัจจัยด้วย นี่เราท่านทั้งหลายเป็นหญิงเป็นชายเป็นคฤหัสถ์ บรรพชิต เกิดมาได้อย่างนี้
    ความเกิดอันนี้แหละเกิดแต่เหตุ ไม่ได้เกิดแต่อื่น ไม่ว่าสิ่งอันใดทั้งสิ้น ต้องมีเหตุเป็นแดนเกิดทั้งนั้น ถ้าไม่มีเหตุเกิดไม่ได้ นี่พระองค์ทรงรับรองไว้ตามวาระพระบาลีในเบื้องต้นนั้น
    เมื่อเป็นหตุเกิดขึ้นเช่นนี้ท่านวางหลักไว้อีก ว่า อุปปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ มีดับ มีเกิดดับ เกิดดับนี่เป็นตัวสำคัญ ไม่ใช่เกิดแต่ฝ่ายเดียว มีเกิดแล้วมีดับด้วย
    ความดับนั้นอวิชชาไม่ดับสังขารก็ดับไม่ได้
    สังขารไม่ดับวิญญาณก็ดับไม่ได้
    วิญญาณไม่ดับ นามรูปก็ดับไม่ได้
    นามรูปไม่ดับ อายตนะก็ดับไม่ได้
    อายตนไม่ดับ ผัสสะก็ดับไม่ได้
    ผัสสะไม่ดับ เวทนาก็ดับไม่ได้
    เวทนาไม่ดับ ตัญหาก็ดับไม่ได้เหมือนกัน
    ตัณหาไม่ดับ อุปาทานก็ดับไม่ได้
    อุปาทานไม่ดับ ภพก็ดับไม่ได้
    ภพไม่ดับ ชาตก็ดับไม่ได้
    ชาตเป็นตัวสำคัญ ไม่หมดชาตไม่หมดภพ นี่เขาต้องดับกันอย่างนี้
    เมื่อดับก็ดับเป็นลำดับไปอย่างนี้ ได้วางตำราไว้ว่า อวชฺชายเตฺว อเสสวิราคนิโรโธ สงฺขารนิโรธา สังขารดับ วิญญาณดับกันเรื่อยไป จนกระทั่งถึงชาตโน่นดับกันหมด ท่านจึงได้ยกบาลีว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ ย่อมเกิดย่อมดับดังนี้ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ เกิดดับ หมดทั้งสากลโลก
    เกิดดับเรื่องนี้พระปัญจวัคคีย์รับว่าได้ฟังพระปฐมเทศนาธรรมจักกัปปวัตตนสูตรของพระบรมศาสดารับรองทีเดียวตามวารพระบาลีว่า อ ายสฺมโต อญฺญาโกณฺฑญฺญสฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุ อุทปาทิ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ นิโรธธมฺมํ มนฺติ ว่า วิรชํ วีตมลํ ธุมฺมจกฺขุ ความเห็นธรรม ธมฺมจกฺขุ ความเห็นอันปราศจากธุลีมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้มีอายุชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ
    เห็นอะไร เห็นเกิดดับนั่นเอง ยงฺกิญจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเสมอดับไปเสมอ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดามีความดับไปเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้นดับไป สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ดับไป ถ้าย่นลงไปแล้วก็มีเกิดดับ นี่ตรงกับ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ เกิดดับอยู่อย่างนี้
    เมื่อเกิดดับดังนี้แล้ว เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาถ ตาวกาลิกตาทิโต เมื่อเป็นอย่างนี้ ความเกิดและความดับ หุตฺว่า อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาถ รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้น ไม่เที่ยง เพราะความเกิดขึ้นแล้ว เพราะความมีแล้วหามีไม่ รูปธรรม นามธรรมหล่านั้นไม่เที่ยง เพราะความมีแล้วหามีไม่ เพราะความเป็นเหมือนดังของยืม เหมือนเราทั้งหลายบัดนี้มีเกิดมีดับเรื่อยไป รูปธรรมนามธรรมที่ได้มานี้มีแล้วหามีไม่ เพราะความเป็นดับดังของยืมเหมือนกันทุกคน ต้องขอยืมทั้งนั้น ผู้เทศนี่ก็ต้องคืนให้เขา เรา ๆ ทุกคนก็ต้องคืนทั้งนั้น ขอยืมเขามาใช้ ไม่ใช่ของตัวเลย ความป็นจริงเป็นอย่างนี้
    เมื่อรู้ความของมันเป็นอย่างนี้แล้ว ท่านจึงได้รับสั่งในคาถาเป็นลำดับ ไปว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสสติ อถนิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เทื่ยง เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เอส มคฺโค วิสุทธิยา นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษ ให้ปัญญาจดลงตรงนี้น่ะว่า สังขารเราทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ถ้าจริงไม่เที่ยงอยู่แล้วละก็ยึดด้วยความไม่เที่ยงนั้นไว้ อย่าให้หายไป ตรึกไว้เรื่อยสังขารทั้งปวงน่ะ ถ้ามันอยากจะโลดโผนละก็สังขารของตัว ปุญญาภิสังขาร สังขารที่เป็นปุญอปุญญาภิสังขาร สังขารที่เป็นบาป อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว กายสังขาร ลมหายใจเข้าออกปรนปรือกายให้เป็นอยู่ วจีสังขาร ความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขาร ความรู้สึกอยู่ในใจ
    เป็นจิตตสังขาร สังขารทั้งหลายเหล่านี้ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงจริง ๆ แล้วเอาจดอยู่ที่ความไม่เที่ยง ตัวเป็นสังขารดุจเดียวกัน แบบเดียวกันหมดปรากฎหมดทั้งสากลโลก ล้วนแต่อาศัยสังขารทั้งนั้น เห็นจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะเหนื่อยหน่ายในทุกข์ทีเดียว พอเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ก็รักษาความเหนื่อยหน่ายนั้นไม่ให้หายไป ช่องนั้นแหละ ทางนั้นแหละหมดจดวิเศษ ระงับทุกข์แท้ ๆ
    แล้วคาถาตามลำดับไปรับรองว่า ปุนปฺปุนํ ปิฬิตตฺตา อุปฺปาเทนวเยน จ เต ทุกขาว อนิจฺจา เย อตถสนฺตตฺตาทิโต สังขตธรรมเหล่าใดไม่เที่ยง เมื่อเห็นว่าไม่เที่ยงแล้ว สังขารธรรมเหล่านั้นเป็นทุกข์แท้ เพราะความที่ไม่เป็นไปตามอำนาจใครเลย อันความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปมีเบียดเบียนอยู่ร่ำไป และเป็นสภาพที่เร่าร้อนเป็นต้น ไม่เยือกเย็นเป็นสภาพที่เร่าร้อน
    พระคาถารับสมอ้างอีกวา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ นี่ให้เห็นว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ อ้ายสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นแหละเป็นทุกข์แท้ ๆ ไม่ใช่เป็นสุข ถ้าว่าเป็นสุขแล้วมันต้องเที่ยง นี่มันไม่เป็นสุขมันจึงไม่เที่ยง เมื่อมันไม่เที่ยงแล้วมันเป็นสุขได้อย่างไร มันก็เป็นทุกข์เท่านั้น
    เมื่อรู้จักชัดเช่นนี้แล้ว วเส อวตฺตนา เยว อตตวิปกฺข ภาวโต สุญญสตสสา วิกตตา จ เต อนตตาติ ญายเร สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตรู้ว่าไม่ใช่ตัว ว่า เป็นอนัตตา เพราะความเป็นสภาพไม่เป็นไปตามอำนาจเลย และเป็นปฏิปักษ์แก่ตัวเสียด้วย อตตวิปกฺขภาวโต เพราะเป็นปฏิปักษ์แก่ตน สุญฺญสตสฺสา วิกตตา จ เป็นสภาพว่างเปล่าหมดทั้งสากลโลก เราก็ว่างเปล่า เขาก็ว่างเปล่า ว่างเปล่าหมดทั้งนั้น เอาอะไรมิได้ หาอะไรมิได้เลย โบร่ำโบราณต้นตระกูลเป็นอย่างไรหายไปหมด ว่างเปล่าไปหมด หาแต่คนเดียวก็ไม่ได้ ว่างเปล่าอย่างนี้ไม่มีเจ้าของ เอ้าใครล่ะมาเป็นเจ้าของเบญจขันธ์ คนไหนเล่าเป็นเจ้าของบญจขันธ์ ด้วยกันทั้งนั้นเป็นเจ้าของไม่ได้เลย ของตัวก็ต้องทิ้ง เอาไปไหนไม่ได้ ทิ้งทั้งนั้น ยืนยันว่าเหมือนของขอยืมเขาใช้ทั้งนั้น แล้วก็ต้องส่งคืนทั้งนั้น เอาไม่ได้เอาอะไรไม่ได้ทั้งนั้น เมื่อรู้จักหลักความจริงดังนี้ให้ตรึกไว้ในใจ ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ
    เมื่อกี้พูดถึงขันธ์นะ พูดถึงสังขาร นี่มาพูดถึงธรรมเสียแล้ว สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสสติ อถ นิพฺพินทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งหลายมิใช่ตัว เอ้ามาเรื่องธรรมเสียแล้ว เมื่อกี้พูดสังขารอยู่ ธรรมทั้งหลายมิใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์นี้เป็นมรรคาวิสุทธิ์ หรือวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ
    นี่ธรรมละ ธรรมทั้งหลายมิใช่ตัวหละ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว นี่มันอื่นจากสังขารไป มันสังขารคนละอย่าง สังขารอันหนึ่ง ธรรมอันหนึ่ง ไม่ใช่อันเดียวกัน ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว ธรรมที่ทำให้เป็นตัวน่ะ ที่จะเป็นมนุษย์นี่ก็ต้องอาศัยมนุษย์ธรรม ที่จะเป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่ก็อาศัยมนุษย์ธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ธรรมที่เป็นกายทิพย์ อาศัยกายทิพย์ เป็นกายทิพย์ละเอียดอาศัยทิพย์ธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมก็อาศัยพรหมธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมละเอียดก็อาศัยธรรมละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหม ที่เป็นอรูปพรหมละเอียดก็อาศัยธรรมอรูปพรหม คืออรูปฌาณถึงละเอียดก็เช่นเดียวกัน ธรรมน่ะเป็นอย่างไร สังขารเป็นอย่างไร ต่างกันหรือ ต่างกันไม่เหมือนกัน คนละอันเขาเรียกว่าสังขารธรรมอย่างไรล่ะ นั่นอนุโลม ความจริงธรรมน่ะไม่ใช่ตัว ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว เราจะค้นเข้าไปเท่าไรในตัวเรานี่แน่ะ ค้นเท่าไร ๆ ก็พบดวงธรรม
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่อยู่กลางกายมนุษย์ ใสนักที่เดียว ธรรมดวงนั้นแหละเราได้มาด้วยกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้วไม่ใช่ดวงธรรมนั้น ธรรมดวงนั้นเราเรียกว่าธรรมแท้
    ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดก็ได้แบบเดียวกัน บริสุทธิ์ของมนุษย์
    ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ละเอียด ดวงโตขึ้นกว่าธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์เท่าตัว
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมโตกว่าอีกเท่าหนึ่ง รูปพรหมละเอียดก็โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง อย่างเดียวกัน เป็นดวงใสอย่างเดียวกัน
    ธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมโตขึ้นไปอีก ๗ เท่าฟองไข่แดงของไก่
    ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดโตขึ้นไปอีก ๘ เท่าฟองไข่แดงของไก่
    นั่นดวงนั้นเป็นธรรมพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ที่ได้สำเร็จ ท่านเดินในกลางดวงธรรมนี้ทั้งนั้น เดินด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ ในกลางดวงธรรมนี่ทั้งนั้น ไม่เดินกลางดวงธรรมนี้สำเร็จไม่ได้ ไปถึงกายเป็นลำดับไม่ได้ ดวงธรรมนี้เป็นธรรมสำคัญ ท่านจึงได้ยืนยันว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ไม่ใช่ตัว แต่ธรรมถึงไม่ใช่ตัวก็ธรรมนั้นแหละทำให้เป็นตัว ตัวก็ต้องอาศัยดวงธรรมนั้นแหละจึงจะเกิดมาได้
    ถ้าไม่อาศัยดวงธรรมนั้นมาเกิดไม่ได้
    กายมนุษย์ดวงธรรมนั้นได้บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ตลอดถึงใจ เป็นอัพโภหาริกไปด้วย บริสุทธิ์ด้วยกายวาจาใจได้ดวงธรรมนั้น
    ธรรมที่ทำให้เป็นเทวดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ต้องเติมทาน ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ไปในความบริสุทธิ์กายวาจาใจอีก มันก็ได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายเทวดาเป็นลำดับไป ทั้งหยาบทั้งละเอียดธรรม
    ที่ทำให้พรหมล่ะได้รูปฌาณทั้ง ๔ ได้สำเร็จรูปฌาฌแล้วให้สำเร็จธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม
    ธรรมเป็นอรูปพรหมเล่าทั้งหยาบละเอียด ก็ได้อรูปฌาน อากาสานัญจายตนะพ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญานาสัญ ญายตนฌาน นั่นแหละสำหรับเติมลงไป ในธรรม ที่ทำให้เป็นกายอรูปในธรรม ทีทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก จึงได้ธรรมที่ทำให้เป็นกกายอรูปพรหมขึ้นทั้งหยาบทั้งละเอียดดังนี้
    นี่แหละว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตัวจริง ๆ ตัวอยู่ที่ไหนล่ะ เออธรรมทั้งหลายนี่ไม่ใช่ตัว แล้วตัวไปอยู่ที่ไหนล่ะ ตัวก็ง่าย ๆ กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัว กายมนุษย์ละเอียดก็เป็นตัว แต่เป็นตัวที่ฝันออกไป กายทิพย์ก็เป็นตัวกายทิพย์ละเอียด ที่กายทิพย์นอนฝันออกไปก็เป็นตัว กายรูปพรหมก็เป็นตัว กายรูปพรหมละเอียดก็เป็นตัว กายอรูปพรหมก็เป็นตัว แต่ว่าตัวสมมุติ ไม่ใช่ตัววิมุตติ ตัวสมมุติกันขึ้น
    เป็นตัวเข้าถึงธรรมกาย กายธรรมก็เป็นตัว เข้าถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมละเอียดก็เป็นตัวอีกนั่นแหละ เป็นชั้น ๆ ขึ้นไป นั่นเข้าถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดก็เอาตัวที่เป็นโคตรภู เข้าถึงกายธรรมพระโสดา พระโสดาละอียด นั่นเป็นตัวแท้ ๆ ตัวอริยะ เรียกว่าอริยบุคคล พระองค์ทรงรับรองแค่โคตรภูนี่ ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสาวกของพระถาคตของพระผู้มีพระภาค กายธรรมที่เป็นพระโสดา โสดาละเอียด สกิทา สกิทาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัต อรหัตละเอียด ทั้งมรรคทั้งผล นั่นเรียกว่า อริยบุคคล ๘ จำพวกนั้นเรียกว่าอริยบุคคล
    นี่แหละ ภควโต สาวกสงฺโฆ สาวกของเราตถาคตท่านปรากฏในโลกแล้วท่านทั้งแสวงหาพวกนี้ ถ้าได้แล้วก็จัดเป็นพวกของท่านทีเดียว ถ้ายังไม่ถึงกระนั้นท่านลดลงมา ถ้าบุคคลใดได้ถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดนั่นก็ ภควโต สาวกสงฺโฆ เหมือนกัน เรียกว่าพระพุทธชินสาวก ไม่ใช่อริยสาวก เป็นพระพุทธชินสาวก หรือปุถุชนลดลงตามส่วนลงมา ตามนั้น ประพฤติดี ถูกต้องร่องรอยที่จะเข้าถึงธรรมกาย ธรรมกายละเอียดขึ้นไป ไม่ได้เคลื่อนทีเดียว ทางนั้นไม่คลาดเคลื่อน ท่านอนุโลมเข้าเป็นพุทธชินสาวกด้วยเหมือนกัน หรือจะผลักเสียเลยไม่ได้ ถ้าผลักเสียเลยละก็ที่จะเป็นโคตรภู
    ธรรมกายละเอียดก็ไม่มีเหมือนกัน อาศัยความบริสุทธิ์ของพวกเราที่เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต บริสุทธิ์จริง ๆ นั่นเป็นปุถุชนสาวกของพระบรมศาสดา นี่เป็นตำรับตำรา
    บัดนี้ เราจะเป็นพระสาวกของพระศาสดาบ้างก็ต้องขาดจากใจนะ พิรุธจากกาย พิรุธจากวาจา ไม่ให้มีทีเดียว ให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจจริง ๆ ด้วยใจของตน จะค้นลงไปเท่าไร ตัวเองจะค้นตัวเองลงไปเท่าไร หาความผิดทางกายวาจาใจไม่ได้ คนอื่นพิจารณาด้วยปัญญาสักเท่าหนึ่งเท่าใดก็หาความผิดทางกายวาจาใจไม่ได้
    หรือที่ท่านมีปุริสสวิชชา รู้วารจิตของบุคคลผู้อื่นให้พินิจพิจารณาค้นความพิรุธทางกายวาจาใจ ของบุคคลผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นไม่ได้ นั้นเรียกว่า ปุถุชนสาวก ถ้าว่าเข้าธรรมกายแล้วโคตรภูทีเดียว ไม่ใช่ปุถุชนไม่ใช่อริยะ ที่จะถึงอริยะต้องอาศัยโคตรภู แต่ยังกลับเป็นปุถุชนได้ ยังกลับเป็นโลกีย์ชนได้ จึงได้ชื่อโคตรภูระหว่างปุถุชนกับพระอริยะต่อกัน ถ้าเข้าถึงโคตรภูแล้ว ที่จะเป็นโสดาก็เป็นไป ที่จะกลายมาเป็นปุถุชนก็กลับกลาย ที่จะเป็นโสดาก็ถึงนั้นก่อนจึงจะเป็นไปได้
    เมื่อรู้จักอันนี้นี่แหละท่านจึงได้วางบาลีว่า ผู้ใดเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว เหมือนธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ไม่ใช่ตัวแล้ว จะไปเพลินอะไรกับมันเล่า ? มันของยืมเขามาหลอก ๆ ลวง ๆ อยู่อย่างนี้ เพลินไม่สนุก ปล่อยมัน อ้ายที่ปล่อยไม่ได้ไม่เข้าใจว่าตัวเป็นของตัว จงปล่อยมัน เมื่อปล่อยแล้วนั่นแหละหนทางหมดจดวิเศษ หนทางบริสุทธิ์ทีเดียว นั้นเป็นหนทางบริสุทธ์แท้ ๆ วิสุทฺธิ
    สพฺพเกลเสหิ วิสุทธิ อตถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมื่อหมดจดจากกิเลสทั้งหลายได้แล้ว วิสุทฺธิ สพฺพเกลเสหิ โหติ ทุกฺเข นิพพุติ เจตโส โหติ สาสนติ นิพพานมีติมุจฺจเร ความหมดจดความปลอดจากกิเลสทั้งหลายแล้ว ย่อมดับจากทุกข์ทั้งหลายเสียได้ ทุกข์เหล่านั้นดับไปแล้ว จิตก็สงบ หลุดไปจากทุกข์ทั้งหมด นิพพานฺมีติ วุจฺจเร นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นความดับคือนิพพาน แต่ว่าความสงบนี่เป็นต้นของมรรคผลนิพพานทีเดียว ถ้าเข้าความหยุดความสงบไม่ได้บรรลุนิพพานไม่ได้ ความหยุดความสงบเป็นเบื้องต้นมรรคผลนิพพานทีเดียว
    จะไปนิพพานได้ต้องไปทางนี้ มีทางเดียว ทางสงบอันเดียวกันนี้แหละ ท่านจึงยืนยันต่อไปว่า นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี หยุดนิ่งกันทั้งหมดทั้งสากลโลก ไม่เอาธุระ นั่นเป็นทางบริสุทธิ์ นั่นเป็นทางไปสู่มรรคผลนิพพานแท้ ๆ รู้แน่เช่นนี้แล้ว ย่อสั้นลงไปท่านจึงได้ยืนยันว่า เย จ โข สมฺมทกฺขาตาธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน เต ชะนา ปรเมสฺสนฺติ มจฺ-จุ-เธย-ยํ สุทุตฺตรํ กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต ก็ชนเหล่าใดประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตกล่าวแล้ว ชนทั้งหลายเหล่านั้นจะถึงฝั่งคือนิพพาน อันเป็นที่ตั้งล่วงเสียวัฏฏะ อันเป็นที่ตั้งของมัจจุ ฝั่งที่ล่วงเสียวัฏฏะอันเป็นที่ตั้งของมัจจุสุดจะข้ามได้ คือนิพพาน นั่นเอง ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงฝั่งอันล่วงเสียซึ่งวัฏฏะอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ สุทุตฺตรํ แสนยากที่จะข้ามได้ ในสากลโลกที่จะข้ามถึงฝั่งนิพพานน่ะแสนยาก ไม่ใช่เป็นของง่ายเลย
    พระพุทธเจ้าท่านสร้างบารมี ๔ อสงขัย แสนกัล์ป ๘ อสงขัย แสนกัล์ป ๑๖ อสงขัย แสนกัล์ป จึงจะข้ามวัฏฏะสงสารได้ ถ้าคนข้ามได้บ้างก็แสนยากที่ข้ามได้ ท่านจึงได้วางตำราเป็นเนติแบบแผนไปตามลำดับ ๆ ไปว่า สทฺธาย จ สีเลน จ ยา ปวตฺตติ ปญฺญาย จาเคน สุเตน จูภย สาตาทิ สีสี ลภตี อุปปาติกา อาทิยติ สารมิเทว อตฺตโน แต่ว่าในท้ายพระคาถา บัณฑิตผู้มีปัญญาละธรรมดำเสีย ไม่ประพฤติเลยทีเดียว ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้นขาดเด็ดลงไป เหมือนภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกา พอบวชเป็นพระป็นเณร ขาดจากใจความชั่วไม่ทำเลย ถ้าว่าชีวิตตายเป็นตายกันชีวิตจะดับดับไป ทำความดีร่ำไป นี่พวกละธรรมดำประพฤติธรรมขาวแท้ๆ
    อุบาสกอุบาสิกาล่ะเมื่อจะเป็นอุบาสกอุบาสิกาดี ๆ แท้ ๆ น่ะ พอเริ่มเป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ขาดจากใจ ความชั่วกายวาจาใจละเด็ดขาด ไม่ทำชีวิตดับ ๆ ไป เอาความบริสุทธิ์ใส่ลงไป เอาความบริสุทธิ์ใส่ได้ไปสวรรค์ ไม่ต้องทุกข์กับใคร แน่นอนใจทีเดียว นี้อย่างชนิดนี้ละธรรมดำเสียยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น
    นี่พระโพธิสัตว์เจ้าบารมีเป็นสองชาติดังนี้ ละธรรมดำจริง ๆ เจริญธรรมขาวจริง ๆ ไม่ยักเยื้องแปรผันไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ตามวาระพระบาลีว่า คาถาข้างหลังรับรองไว้ สทฺธาย สีเลน จ ยา ปวตฺติ ปญฺญาย จาเคน สุเตน จูภยํ สาตาสาตาทิสีสี ลภตี อุปปาติกา อาทิยติ สารมิเทว อตฺตโน หญิงชายต้องแปลเป็นเอาเสส หญิงชายเหล่าใดเจริญด้วยศรัทธาความเชื่อมั่นในขันธสันดาน ละชั่วขาดแล้ว ไม่กลับกลอกแล้ว เหลือแต่ดีแล้วฝ่ายเดียวแล้วเจริญด้วยศีล เจริญด้วยสุตตะ นี่ก็เป็นฝ่ายดี เจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยปัญญา หญิงชายเหล่าใดที่เจริญในทางจิตด้วยศีล ด้วยจาคะ ด้วยสุตตะ ด้วยปัญญาแล้ว สาตาวิสีสี ลภตี อุปปฺปาติกา หญิงชายเช่นนั้น ชื่อว่า ประพฤติเป็นปรกติ หญิงชายเหล่านั้น ชื่อว่าประพฤติเป็นระเบียบเรียบร้อยดี มั่นในพระรัตนตรัยแท้ มั่นในพระรัตนตรัย อาทิยติ สารมิเทว อตฺตโน ได้ชื่อว่า ยึดแก่นสารของตนไว้ได้
    ตรงหลักนี้ต้องจำไว้ ยึดไว้ให้มั่นเชียว ไม่ให้คลาดเคลื่อนได้ ชีรนฺติ เวยา ธนตฺถา สุจิติ วา อโถ สรีรญฺปิ สรํ อุปฺโปติ ปปญฺจธมฺโม สครํ อุเปติ ปุญฺญานิ กริราถ สุขาวหานิ ราชรถอันงดงามย่อมถึงความเสื่อมทรามไป แม้สรีระร่างของเราทั้งหลายนี้ละ สรีระร่างกายก็ย่อมเข้าถึงความทรุดโทรมไม่ยักเยื้องแปรผันไปข้างไหน ทรุดโทรมหมดเหมือนกันหมดเป็นลำดับ ๆ ไป ย่อมเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม ธรรมของสัตตบุรุษย่อมหาเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรมไม่ ดำรงคงที่อยู่ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นธรรมสัตตบุรุษ ไม่ถึงซึ่งความทรุดโทรม ไม่สลาย ไม่เสียหาย ไม่ถึงซึ่งความทรุดโทรม
    เมื่อรู้จัดเช่นนี้ควรกระทำเถิดซึ่งบุญ ปุญฺญนิ กยิราถ ควรกระทำเถิดซึ่งบุญทั้งหลาย สุขาวหานิ อันนำความสุขมาให้ เมื่อทำบุญทั้งหลายแล้ว นำความสุขมาให้ อจฺเจนฺติ กาลา กาลย่อมผ่านไป ตรยนฺติ รตฺติโย ราตรีก็ย่อมล่วงไป วันก็ผ่านไป วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลผ่านไป ราตรีย่องล่วงไป ชั้นของวัยย่อมละลำดับไป
    ชั้นของวัยเป็นไฉน เด็กเล็ก ๆ ละลำดับเด็กเรื่อยมาเป็นคนโต ๆ เป็นลำดับมา หนุ่มสาวละลำดับมา แก่เฒ่าละเป็นลำดับมาอีกหน่อยก็หมด ละลำดับอย่างนี้มาเรื่อย เหมือนกาลเวลาล่วงไปไม่กลับมา กาลเวลานะ อดีตกาลปีที่ล่วงไปแล้ว ปัจจุบันกาลปีที่เป็นปัจจุบันนี้ อนาคตกาลปีที่จะมีมาข้างหน้าผ่านไปหมด นี่แหละกาลผ่านไปวันเวลา วันนี้ผ่านไปบ้างแล้ว ผ่านไปแล้วเป็นอดีตที่กำลังปรากฏฟังเทศน์อยู่นี้เป็นปัจจุบัน วันที่จะมาข้างหน้าเป็นอนาคต นั่นแหละเรียกกาลเวลาผ่านไป ๆ ราตรีล่วงไปวันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไป ไม่ถอยกลับมาเลย ชั้นของวัยเด็กเล็ก ๆ เป็นหนุ่มสาว เป็นแก่เป็นเฒ่าก็ละลำดับเรื่อยไป ไม่ได้หยุดอยู่เลยสักนิด ไม่รอใครเลย เอ็งจะรออย่างไรก็ตามเถิด ข้าไม่รอเจ้า
    ความจริงเป็นอย่างนี้ก็ต้องละลำดับไป เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ผู้มีปัญญาเห็นเหตุนั้นเป็นภัยในความตายทีเดียวไอ้กาลเวลาผ่านไป ราตรีล่วงไปชั้นของวัยละลำดับไป นั้นเป็นภัยในความตายทีเดียวนนะ ตัวตายที่เดียวไม่ใช่ตัวอื่นละ เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ เมื่อรู้ชัดจริงลงไปเช่นนี้แล้ว อย่ามุ่งอื่น มุ่งแต่การบำเพ็ญการกุศลต่อไป ที่จะนำความสุขมาให้แท้ ๆ ไม่ต้องๆไปสงสัย เอตตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถาปิ ผู้มีปัญญาได้รู้เนื้อความของบาลีแม้เพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว สาธุกํ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
    ผู้มีปัญญารู้ความของบาลีเพียงเท่านี้ก็ดีแล้วพึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ ไร้ประโยชน์ พึงปฏิบัติตามเป็นอยู่ของตนในวันหนึ่ง ๆ ให้มีประโยชน์อยู่ร่ำไป ไม่ให้ไร้ประโยชน์ ถ้าปล่อยความเป็นอยู่ของตนให้ไร้ประโยชน์ละก็เป็นลูกศิษย์พญามาร เป็นบ่าวของพญามาร ไม่ใช่ลูกศิษย์พระ เป็นลูกศิษย์พญามาร เป็นบ่าวพญามาร
    พึงปฏิบัติชีวิตของตน อโนฆํ ไม่ให้ไร้ประโยชน์ไม่ให้เปล่าประโยชน์ จากประโยชน์ทีเดียว ให้มีประโยชน์อยู่เสมอในความบริสุทธิ์ ในธรรมที่ขาวอยู่เสมอไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน นี่พระองค์ได้เตือนเราทั้งหลายแม้เสด็จดับขันธ์ไปแล้วตั้งนาน ก็ยังเตือนเราท่านทั้งหลายอยู่ชัดๆอย่างนี้ เราพึงปฏิบัติตามเถิดสมกับพบพระบรมศาสดา
    นี่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความตามสยามภาษา ตามมัตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุเต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุก ถ้วนหน้า อาตมาภาพชี้แจงแสดงมา พอสมควรแก่เวลา สมมุติยุติธรรมมิกถาเพียงเท่านี้
    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

    ******************
    เรียบเรียงและรวบรวมข้อมูลโดย สมถะ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kayadham.org)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...