ปัญหา 108 (1) (พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 15 ธันวาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]

    ปัญหา 108 (1)
    โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

    วัดป่าสุนันทวนาราม
    บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี



    คำนำ

    พระอาจารย์มิตซูโอะ ได้จัดอบรม อานาปานสติ ณ วัดป่าสุนันทวนาราม มาแล้ว 21 รุ่น ในการอบรมแต่ละครั้งพระอาจารย์ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรมถามปัญหาได้ทุกแง่ทุกมุมทุกเรื่อง คณะผู้จัดทำมีความเห็นว่า คำตอบคำถามของปัญหาเหล่านั้นจะมีประโยชน์สำหรับผู้อ่านทั่วไปและผู้อ่านที่อาจมีข้อสงสัยคล้ายคลึงกันได้ จึงได้ขออนุญาตพระอาจารย์รวบรวมพิมพ์เป็นเล่มขึ้นเพื่อแจกเป็นบรรณาการ และเนื่องจากคำตอบคำถามที่น่าสนใจยังมีอีกหลายข้อ จึงให้ชื่อหนังสือนี้ว่า
     
  2. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ปัญหาการปฏิบัติธรรม

    การเผชิญหน้ากับอารมณ์นั้น
    สติกับปัญญาต้องทำงานร่วมกัน จึงจะเกิดผล
    ไม่ว่าเกิดอารมณ์ที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจก็ตาม
    ให้เรากำหนดรู้อารมณ์นั้น
    โดยมี สติรู้ทัน ปัญญารู้เท่า
    ว่าสิ่งเหล่านี้มีโทษ
    ยึดถือเข้าแล้วเป็นอันตราย เป็นทุกข์ในภายหลัง
    เมื่อจิตรู้อย่างนี้แล้ว
    จิตก็จะปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น เหล่านั้นไปเอง


    จากหนังสือธรรมไหลไปสู่ธรรม หน้า 31, 32
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>ถาม 1

    กราบเรียนถามว่าเพราะอะไรนางวิสาขา อายุ 7 ปี ฟังธรรมะพระพุทธเจ้าจึงได้เป็นโสดาบัน


    ตอบ

    นางวิสาขาสร้างบุญบารมีมามากแต่ชาติก่อน บุญบารมีที่สะสมมาก็เป็นปัจจัยหนึ่ง อีกปัจจัยหนึ่งก็คือการได้พบ ได้ฟังเทศน์ ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นยอดกัลยาณมิตร พระองค์ทรงทราบวาระจิตหรืออุปนิสัยของนางวิสาขา แล้วได้เทศน์โปรดพอเหมาะแก่จิตของนางวิสาขาในขณะนั้น และขณะที่ฟังธรรมอยู่นั้น เกิดมรรคสมังคี ศีล สมาธิ ปัญญาหรืออริยมรรคมีองค์แปดเกิดพร้อมกันในขณะเดียวกัน นางวิสาขาได้ดวงตาเห็นธรรม จิตตกกระแสพระนิพพานเป็นโสดาบัน

    แต่ในสมัยพุทธกาลก็ไม่ใช่นางวิสาขาคนเดียวที่ได้เป็นโสดาบัน สามเณร 7 ขวบได้เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ก็หลายองค์
    ส่วนใหญ่ท่านก็ไม่ได้ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้านะ ท่านฟังเทศน์จากพระสาวกนี่แหละ บางองค์กำลังโกนผม หลังจากพระอุปัชฌาย์ให้อารมณ์กรรมฐาน เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ให้จำท่องกลับไปกลับมา อนุโลมปฏิโลม ทำสมาธิอยู่อย่างนั้น พิจารณาอยู่อย่างนั้น จิตตกกระแสพระนิพพานเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีตามลำดับ พอโกนผมเสร็จท่านก็เป็นอรหันต์พอดีก็มี

    ช่วงที่ปลงผมจิตของท่านรวมเป็นสมาธิ เห็นผมหลุดไปเรื่อยๆ ก็เห็นอนัตตา เกศาก็อนัตตา โลมาก็อนัตตาความรู้สึกก็อาศัยรูปธรรม เมื่อรูปเป็นอนัตตา เวทนาก็เป็นอนัตตา สัญญาก็อาศัยรูป ก็เป็นอนัตตา วิญญาณก็เป็นอนัตตา เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา เมื่อท่านรับอารมณ์กรรมฐาน พิจารณาอาการ 32 ก็ทำอยู่แค่นั้น ท่านก็สำเร็จ จบกิจ ในขณะที่อายุ 7 ขวบเท่านั้น เพราะฉะนั้นไม่ใช่เฉพาะผู้ที่ได้ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะได้เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์

    บางทีเราก็มีความรู้สึกน้อยใจว่าเรานี่โชคไม่ดี สมัยพุทธกาลได้ฟังเทศน์พระพุทธเจ้าก็สำเร็จเป็นอรหันต์ อนาคามี สกิทาคามี โสดาบัน เดี๋ยวนี้ไม่มีพระพุทธเจ้าแล้ว เราคงไม่มีโอกาส แต่ความจริงฟังเทศน์จากปุถุชนสำเร็จพระอนาคามีก็มี

    พระเถระคณะหนึ่ง 60 รูป รับกรรมฐานจากสำนักพระพุทธเจ้า ฟังเทศน์ ฟังวิธีปฏิบัติแล้วท่านก็ชวนกันไปหาที่จำพรรษา อุบาสิกาคนหนึ่งเห็นพระก็นิมนต์จำพรรษาพร้อมกับปวารณาจะจัดเสนาสนะถวายและอุปฐากตลอดพรรษา พระเห็นสถานที่เหมาะเจาะดี ก็รับนิมนต์จำพรรษาที่นั่น และพระก็ตั้งกติกาไม่คลุกคลีกัน ต่างคนต่างปรารภความเพียร ส่วนโยมก็สมาทานศีล 5 และถืออุโบสถในวันพระ

    เย็นวันหนึ่งอุบาสิกาเอาน้ำปานะไปถวายพระ ไปถึงศาลาไม่เห็นพระอยู่ มีคนเฝ้าคนเดียวก็เลยถามว่า โยมอยากถวายน้ำปานะจะทำอย่างไร คนเฝ้าบอกว่าให้ตีระฆัง เมื่อตีระฆังแล้วพระก็ต่างองค์ต่างมา มาจากคนละทิศคนละทาง ไม่พูดจากัน ต่างองค์ต่างเฉย อุบาสิกาก็ไม่สบายใจ ทำไมพระที่เราอุปฐากอยู่ จึงทะเลาะกัน ทำไมไม่พูดกัน พระก็อธิบายว่า พระไม่ได้ทะเลาะกัน พระกำลังเจริญกรรมฐานจึงไม่พูดกัน ไม่คลุกคลีกัน อุบาสิกาก็ถามว่า เจริญกรรมฐานคืออะไร พระก็อธิบายการกำหนดอาการ 32 พิจารณา เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ฯ พิจารณาเป็นปฏิกูล ฯลฯ อุบาสิกาก็เข้าใจ แล้วก็นำไปปฏิบัติ

    ท่านเจริญกรรมฐาน พิจารณาอาการ 32 อยู่ไม่นาน จิตใจเป็นสมาธิ และเกิดมรรคสมังคี ได้เป็นพระอนาคามี จากนั้นท่านก็ตรวจอุปนิสัยของพระที่จำพรรษาที่นั่น ก็ทราบว่าพระทั้งหมดยังมีกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ อยู่ แม้แต่ฌานหรือวิปัสสนาก็ไม่มี แต่เห็นว่าทุกท่านมีอุปนิสัยของการเป็นอริยบุคคลอยู่ แล้วท่านก็ตรวจไปในเรื่องต่างๆ พบว่าอาหารไม่สัปปายะ พระกังวลเรื่องอาหาร จึงจัดอาหารถวายตามที่พระแต่ละองค์ต้องการ พระองค์ไหนต้องการอาหารอย่างไร ก็ทำอาหารอย่างนั้นไปถวาย องค์ที่อยากฉันข้าวต้มก็จัดข้าวต้มถวาย องค์ที่อยากฉันผลไม้ก็จัดผลไม้ถวาย ฯลฯ ก็ปฏิบัติอยู่อย่างนี้

    เมื่อได้อาหารเป็นสัปปายะแล้ว ไม่มีกังวล จิตสงบ เป็นสมาธิ มีอารมณ์เดียว มีจิตแน่วแน่ เจริญวิปัสสนา ไม่นานก็บรรลุอรหันต์ทั้ง 60 รูป เมื่อออกพรรษาพระก็ขอบคุณและลาอุบาสิกาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า มีพระอีกองค์หนึ่งได้ฟังคำสรรเสริญที่มีแก่มหาอุบาสิกาท่านนี้ ก็สนใจและไปขอพัก อุบาสิกาก็จัดคนมาเช็ดถูเสนาสนะ จัดน้ำปานะมาถวายตามที่พระนึกปรารถนา

    พระคิดอะไรอุบาสิกาก็จัดให้คนมาถวาย พอคิดอยากพบอุบาสิกา อุบาสิกาก็ถืออาหารมาถวายพระเอง พระยังเป็นปุถุชนอยู่ รู้ว่าอุบาสิกา รู้จิตตนแน่นอนก็เกิดความกลัวหนีกลับไปหาพระพุทธเจ้า เพราะตัวเองบางทีก็คิดไม่ดี คิดชอบพออุบาสิกาบ้างก็มี พระพุทธเจ้าก็ให้รักษาจิตของตัวเอง แล้วให้กลับไปอยู่ที่นั่นตามเดิม พระก็กลับไปและ ในที่สุดก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราต้องฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าจึงจะได้ดวงตาเห็นธรรม หรือเป็นพระอรหันต์ได้
    บางทีปุถุชนก็อธิบายได้ถูกต้อง และเมื่อเราเจริญภาวนาและปฏิบัติถูกต้อง ก็ได้มรรคผลนิพพานเหมือนกัน สมัยพุทธกาลสามเณรสำเร็จตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ก็มีหลายองค์ ในประเทศญี่ปุ่น ในนิกายเซ็นก็มีคนที่กินเหล้าเมายาไปที่น้ำตก เห็นฟองน้ำ มองดูแล้วก็เกิดความรู้สึกสลดสังเวช คิดได้ว่าชีวิตเราก็ไม่เที่ยง น้ำตกก็ปั่นป่วนอยู่อย่างนี้ เห็นความไม่เที่ยง อนิจจัง เห็นชีวิตก็เป็นอย่างนี้ เกิดสลดสังเวช รีบกลับบ้านปิดล็อคประตูห้องแล้วก็นั่งกรรมฐานจนได้ธรรมะ อย่างนี้ก็มี

    คือ พอเกิดความสลดสังเวชแล้วก็นั่งกรรมฐาน เอาจริง เอาจัง เด็ดขาด ก็ได้ผลเช่นกัน นั่งจนตายอย่างนี้ก็ปฏิบัติง่ายๆ แบบพระพุทธเจ้านี่แหละ ใครจะทำก็ได้ นั่งอย่างไรก็นั่งอยู่อย่างนั้น ความรู้สึกจะเป็นอย่างไรก็ไม่ขยับ สู้อยู่อย่างนั้น เวทนาก็เป็นอนัตตา กาย คือ รูปและจิตก็เป็นอนัตตา พิจารอยู่แค่นี้ พออินทรีย์แก่กล้า เกิดมรรคสมังคี อะไรๆ ก็เกิดได้หมด

    อย่างพวกเรานี่ บางทีใจเป็นศีล แต่ไม่เป็นสมาธิ
    บางครั้งก็เป็นสมาธิ แต่ปัญญาก็ไม่เกิด
    ระบบอานาปานสติจึงแน่นอน เน้นศีล ฝึกอยู่อย่างนั้น
    สำหรับคนมาใหม่ที่มานั่งอยู่นี่ ต้องการสมาธิ
    ให้มีสติกำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    ติดต่อกันในทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน
    เราไม่ต้องคิดว่านั่งแล้วจะได้อะไรเป็นพิเศษ

    สำหรับผู้ใหม่ เราก็ต้องการให้ใจเป็นศีล คือ อินทรีย์สังวรศีล
    มนุษย์เราส่วนใหญ่ก็ไม่รู้จักว่าปกติของเราคืออะไร

    เพราะใจเราก็ผิดปกติ เครียด ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
    ปกติของเราคือ จิตใจที่สงบ เป็นศีล ไม่ยินดียินร้าย สงบหนักแน่นนี่เป็นศีล
    ศีลที่ใจ อยากให้เราทุกคนเข้าใจ เข้าถึง
    การปฏิบัติเบื้องต้นก็ต้องการให้ทุกคนรักษาใจให้เป็นศีล
    ให้รู้จักปกติของตัวเอง อันนี้เป็นเป้าหมายที่เราต้องทำก่อน

    ตั้งแต่ต้นอาจารย์ก็เน้นว่า ยืน เดิน นั่ง นอน ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง
    เราพยายามกำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    อาจารย์ไม่ได้เน้นให้นั่งเป็นชั่วโมง
    อาจารย์เน้นให้กำหนดรู้ลมหายใจออกลมหายใจเข้า
    พยายามทำ แม้แต่นอนก็ทำได้ คนแก่อายุมากก็นอนภาวนาได้
    พยายามรักษาใจให้ติดต่อกัน คือกำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    เราต้องการศีลมั่นคง การปฏิบัติก็เพื่อให้ใจเป็นศีล ศีลมั่นคง
    ถ้าทำได้ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาปฏิปทา การปฏิบัติของเราก็เข้าทางที่ถูกต้อง

    ความพอใจในการกำหนดลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี่ไม่ใช่งานโง่ๆ นะ คนโง่ทำไม่ได้ ต้องมีปัญญา มีสัมมาทิฐิที่จะเลือกระหว่างกิเลสกับศีล สมาธิ ปัญญา มรรคผล นิพพาน เรากำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ธรรมดาๆ นี่แหละ ไม่ใช่ว่าต้องพยายามนั่ง แล้วไม่มีลมหายใจ อันนั้นก็ดีอยู่แต่ไม่เห็นประโยชน์ถ้าจะทำเป็นครั้งคราวก็ได้ แต่ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ให้เรารู้สึกเป็นปกติ สามารถกำหนดความรู้สึกตัว ฝึกอานาปานสติ ทำอยู่อย่างนี้ ไม่ต้องหลับตา เดินเที่ยวป่า มองดูธรรมชาติ ดูอารมณ์ อย่าให้ยินดียินร้าย

    ถ้าเกิดอารมณ์ก็ให้มีสติปัญญาอบรม โอปนยิโก น้อมเข้ามาที่กาย ที่ลมหายใจ ฝึกอยู่อย่างนี้ก็เป็นศีล เป็น สัมมาทิฐิ ถ้าทำอย่างนี้ติดต่อกัน เดิน ยืน นั่ง นอน ต่อไปก็เป็น สัมมาสมาธิ เราก็พัฒนาสัมมาสมาธิได้ ไม่ใช่ว่าพอเรามาถึงที่นี่ปุ๊บ ก็จะให้เกิดสมาธิ ถ้าเป็นได้ก็ดี ถ้าไม่เป็นก็ไม่เป็นไร ที่สำคัญเราต้องการรู้จักว่า ศีล คืออะไรก่อน

    เมื่อใจเป็นศีล สัมมาสมาธิก็จะเกิดได้ และเมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ปัญญาก็จะเกิดได้ ถ้าในขณะจิตหนึ่ง ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดพร้อมกัน จิตจะตกกระแสพระนิพพาน เกิดมรรคผลนิพพานได้ ตรงกันข้าม ในขณะจิตเดียว เผลอสตินิดเดียว จิตคิดชั่ว คิดจะฆ่าคน คิดจะข่มขืนลูกเมียเขา ฯลฯ พอดีเกิดอุบัติเหตุตาย ก็ตกนรกได้เหมือนกันนะ ระวังไว้ อย่าประมาท จงไม่ประมาทเถิด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 2

    จิตของพระอริยบุคคลและจิตของปุถุชนต่างกันอย่างไร


    ตอบ

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมบทว่า จิตปุถุชนยังคิดเบียดเบียนสัตว์อื่นอยู่ จิตอริยบุคคลก็ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่นๆ แล้ว อริยบุคคลขั้นแรกคือ พระโสดาบัน ท่านก็ยังมีกิเลสเกือบทุกชนิด เช่น ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ยังมีอยู่ แต่อยู่ในขอบเขต

    เมื่อกิเลสเกิดขึ้นท่าน ไม่หลงกิเลส เพราะปัญญาก็เกิดพร้อมกัน จิตตั้งมั่นในศีล สามารถรักษากายวาจาใจให้อยู่ในขอบเขตของศีลได้ คือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และศีล 227 จึงกล่าวว่า กิเลสยังมีอยู่แต่อยู่ในขอบเขต เมื่อเกิดราคะ โทสะ โมหะ ท่านก็รู้อยู่ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นกิเลส มีโทษ ท่านรู้ผิดรู้ถูกตลอดเวลา ท่านจึงไม่หลงกิเลส ส่วนปุถุชนยังหลงกิเลสอยู่

    นางวิสาขา ฟังเทศน์พระพุทธเจ้า บรรลุโสดาบันขณะที่อายุเพียง 7 ขวบ เป็นพระโสดาบันที่พอใจในโลกียะสมบัติ เมื่อถึงวัยก็แต่งงานมีครอบครัว มีลูก 12 คน มีหลานมากมาย ครองเรือน แต่งตัวเต็มที่ตามปกติ แต่ทุกวันพระจะไปวัดรักษาศีล 8 กินน้อย นอนน้อย นอนกับพื้น ถอดเครื่องประดับเพชรพลอยออกหมด อยู่แบบคนวัด

    ศีล 5 เป็นศีลของพระโสดาบัน ผู้ที่รักษาศีล 5 ได้สมบูรณ์ เจริญสมถะวิปัสสนากรรมฐาน ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา ศีลลพตปรามาสได้ก็มีโอกาสเป็นโสดาบันได้
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 3

    สัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ ต่างกันอย่างไร


    ตอบ

    สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิตที่ปราศจากกามคุณและอกุศลจิต เป็นสมาธิที่ประกอบด้วยสัมมาทิฐิ เป็นการปฏิบัติเพื่อศึกษาจิตใจหรืออารมณ์ของตัวเอง และเพื่อลดละความโลภ ความโกรธ ความหลง เพื่อความพ้นทุกข์ ไม่ได้มุ่งหวังอะไรอื่น

    มิจฉาสมาธิ คือ มีลักษณะจิตสงบ แต่ไม่รู้เรื่องอะไร เพราะเป็นสมาธิที่เจือปนด้วยถีนะมิทธะนิวรณ์ ความง่วงเหงาหาวนอนหรือเป็นสมาธิที่เจือปนด้วยโทสะ มีความประสงค์ร้ายต่อผู้อื่น เช่น คิดจะควบคุมจิตของเขาเพื่อประโยชน์ตน อาฆาตพยาบาท เป็นต้น หรือเป็นสมาธิที่เจือปนด้วยความโลภ เอาเปรียบคนอื่น หวังเอาลาภ เช่น กรณีใบ้หวย เป็นต้น การกระทำเช่นนี้เป็นการเพิ่มกิเลส มิได้เป็นไปเพื่อลดละกิเลส จึงเป็นมิจฉาสมาธิ พูดสั้นๆ ว่า มิจฉาสมาธิ คือ สมาธิที่ใช้ในการเบียดเบียนตนเอง และเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ได้เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์

    บางทีเราก็ใช้คำว่า “ฌาน” แทนสมาธิ ฌานที่บริสุทธิ์ก็คือ สัมมาสมาธิ คือ ฌานเพื่อโลกุตตระ ฌานที่ไม่บริสุทธิ์ คือ ฌานที่เจือปนด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีกิเลส เป็นโลกียฌานก็มี ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับมิจฉาสมาธิ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 4

    ขณะที่นั่งทำสมาธิสักครู่หนึ่ง ก็ได้ยินเสียงนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่กำลังสั่งนักเรียนนายตำรวจเป็นร้อยคนด้วยเสียงที่ได้ยินชัดเจน แต่ไม่ดังรบกวนคนที่ทำสมาธิ นายตำรวจทั้งหมดอยู่ที่ลานหน้าวิหารอย่างเป็นระเบียบ พระอาจารย์บอกว่าไม่ต้องไปสนใจอะไรทั้งนั้น ก็นั่งสมาธิต่อไปไม่ให้ความสนใจ แล้วนายตำรวจผู้ใหญ่ก็สั่งให้นักเรียนนายตำรวจขึ้นวิหารมากราบพระและปฏิบัติธรรม เมื่อรู้ว่าเขาจะทำอย่างนี้ก็คิดว่าที่นั่งคงไม่พอ จะทำอย่างไร ขอขัดคำสั่งของพระอาจารย์เถอะ คือขอสนใจและลืมตาดูซิ ก็ได้ลืมตาดูปรากฏว่าไม่มีอะไร ทุกอย่างเหมือนเดิม ถามพระอาจารย์ว่าทั้งหมดนี้เป็นอะไรครับ


    ตอบ

    เรียกว่า “นิมิต” สัญญา สังขารปรุงแต่ง ปรากฏเป็นภาพลักษณะอย่างนี้และเห็นได้สารพัดอย่าง เห็นชัดกว่าเห็นด้วยตาเนื้ออีกและถ้าสวยก็จะสวยมาก มันทำให้เกิดความรู้สึกว่าอัศจรรย์ บางอย่างก็มีความหมาย เช่น ลักษณะอย่างนี้ พอเวลาผ่านไปปรากฏว่าตำรวจมาจริงๆ อย่างนี้ เราก็รู้ว่าเราได้เห็นมาก่อนแล้วเลยได้รู้ว่ามันเป็นนิมิตถึงอนาคตรู้เรื่องล่วงหน้าก็มี นิมิตอดีตก็มี เห็นใกล้ เห็นไกลก็มี แต่โดยมากสัญญา สังขารปรุงแต่งเป็นส่วนใหญ่ อย่ายินดียินร้าย อย่ายึดมั่นถือมั่น มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 5

    ความรู้สึกว่าจิตนิ่ง ไม่รู้สึกว่ามีร่างกาย แต่เสียงยังได้ยิน ลักษณะอย่างนี้เป็นสภาวะธรรมอย่างใด


    ตอบ

    สภาวะธรรมเช่นนั้นเอง เมื่อจิตเริ่มสงบ อย่าเพิ่งไปสนใจตั้งชื่อ อย่าเอาจริงเอาจังเปรียบเทียบกับทฤษฎีมากนัก ถึงแม้บางครั้งเราอาจจะสำรวจตรวจตรา และเปรียบเทียบกับหลักธรรมต่างๆ ด้วยสติปัญญาบ้าง แต่ก็เพื่อไม่ให้หลง และเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติต่อไปเท่านั้น ยังมีความฟุ้งซ่านภายในอยู่ จิตยังแล่นไปตามสัญญาอารมณ์ต่างๆ

    ให้เราลองยกอานาปานสติขั้นที่ 3 มาพิจารณาเทียบดู

    การตามรู้ลมหายใจอย่างต่อเนื่องสมบูรณ์ในขึ้นที่ 3 นี้ ต้องมีสติสัมปชัญญะเต็มเปี่ยม มีความรู้สึกติดต่อกันตลอดสาย จิตมีอารมณ์เดียว มีสติมั่นคงเป็นสมาธิ ถ้าจะเปรียบกับการรีดผ้า ก็เหมือนผ้ากับเตารีดที่สัมผัสกันอย่างพอดีๆ ตลอดสาย

    ถ้าทำได้เช่นนี้ ก็เรียกว่าทำได้ดีในขั้นที่ 3 และฝึกให้ชำนาญยิ่งๆ ขึ้นไป จนกระทั่งจิตมีความคล่องแคล่วว่องไว และสามารถทำงานในวิปัสสนาได้ในที่สุด

    ขณะที่กำหนดลมหายใจอยู่ เมื่อจิตวอกแวก เห็นภาพบ้าง นึกถึงคำพูดบ้าง อย่างนี้เรียกว่า ฟุ้งซ่านภายใน เพราะสัญญามารบกวนใจ เช่นนี้ให้ฝึกอานาปานสติขึ้นที่ 3 คือ รู้เฉพาะลมหายใจตลอดสาย ไม่ให้วอกแวกไปที่อื่น
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    ถาม 6

    อานิสงส์ของการมาปฏิบัติฝึกสมาธิ เจริญสติจะเกิดบุญกุศลกับตัวผู้ปฏิบัติอย่างไร และถ้าผู้ปฏิบัติมาปฏิบัติแล้วจิตใจยังฟุ้งซ่านปรุงแต่งอยู่ ก็แสดงว่าไม่ได้อานิสงส์อะไรเลยใช่ไหมเจ้าคะ


    ตอบ

    การปฏิบัติที่เรากำลังปฏิบัติอยู่นี้เป็นการสร้างกำลังใจ กำลังใจ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นนามธรรมสะสมไว้ในจิตใจของเรา จิตฟุ้งซ่านเป็นธรรมดาสำหรับทุกคน ยกเว้นพระอรหันต์เท่านั้น ความฟุ้งซ่านเป็นหนึ่งในสังโยชน์ 10 อย่าง และเป็นสังโยชน์ขั้นสูง คือ พระอรหันต์เท่านั้นที่จะตัดได้ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ยังละไม่ได้

    เมื่อเราดำเนินชีวิตหยาบๆ อยู่ จิตเราก็ฟุ้งซ่าน แต่เราไม่รู้ พอเรามานั่งปฏิบัติธรรม พยายามทำสมาธิ เห็นความฟุ้งซ่านชัดก็ตกใจและรำคาญใจ แต่ความจริงช่วงที่ไม่ได้นั่งสมาธิ จิตฟุ้งซ่านมากกว่าแต่เราไม่รู้ เวลาที่เราไม่สมาทานปฏิบัติ เราปล่อยใจตามสบายอยากจะกินก็กิน อยากจะนอนก็นอน อยากจะทำอะไรก็ทำไป เหมือนลิงในป่า กระโดดจากกิ่งไม้กิ่งหนึ่งไปยังกิ่งไม้อีกกิ่งหนึ่งตลอดเวลา ก็สบายมีความสุข เมื่อจับลิงมาขึงไว้ในกรงเหล็ก ลิงไม่ชอบ ไม่สบาย ดิ้นรน อาละวาด เดือนร้อน

    ใจเราก็เหมือนกัน พอเริ่มเข้าวัด สมาทานศีล เข้าระเบียบของวัด ตั้งใจนั่งสมาธิ เดินจงกรม จิตใจก็อึดอัด ฟุ้งซ่านมากขึ้นเหมือนลิงที่ถูกจับขังไว้ในกรงเหล็กนั่นแหละ หงุดหงิดอาละวาด การกิน เราเคยกินวันละหลายๆ ครั้ง มาถูกจำกัดให้เหลือวันละ 1 ครั้ง ท้องมันก็หิว ใจมันก็อยาก ก็คิดฟุ้งซ่านไป ขณะที่กำลังปฏิบัติ จิตใจฟุ้งซ่านมากขึ้น และขณะที่กำลังปฏิบัติก็เห็นความฟุ้งซ่านมากขึ้นด้วย

    การปฏิบัติในปัจจุบัน เป็นการสร้างเหตุที่จะทำให้ใจสงบ เรากำลังสร้างเหตุอยู่ แต่ยังไม่ได้ผล จึงฟุ้งซ่าน ได้ผลเมื่อไรเราก็จะเข้าถึงความสงบ เมื่อเริ่มปฏิบัติใหม่ๆ จิตใจอาจจะฟุ้งซ่าน อาจจะทุกข์ เดือดร้อนใจมากขึ้น กิเลสปรากฏชัดมากขึ้น ก็ไม่เป็นอะไร ฟุ้งซ่านก็เป็นธรรมะ เป็นธรรมะฝ่ายอกุศล อย่ายินดียินร้าย พอใจหรือไม่พอใจกับความรู้สึกฟุ้งซ่าน ให้ดูเฉยๆ ทำใจเป็นกลางๆ

    เข้าใจธรรมชาติของความฟุ้งซ่านคือ การปฏิบัติ
    ในที่สุดความสงบก็จะปรากฏขึ้น
     
  9. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 7

    เมื่อนั่งสมาธิแล้วเกิดนิวรณ์ขึ้น เป็นสิ่งไม่ดีหรือ ทำไมเราต้องขจัดนิวรณ์ให้หายไป เป็นเพราะเราประสงค์ทำใจให้ว่างเปล่าเท่านั้นใช่ไหม จึงจะเป็นสุขได้


    ตอบ

    นิวรณ์เป็นสิ่งเศร้าหมอง อาจจะเป็นของละเอียดสำหรับจิตที่ยังหยาบอยู่ สำหรับผู้มีจิตโลภะ จิตโทสะ จิตโมหะ ถ้าคิดไปตามนิวรณ์ อาจจะเป็นสิ่งที่มีความสุขก็ได้ แต่ความจริง นิวรณ์เป็นสิ่งเศร้าหมองเป็นบาปเป็นทุกข์ทั้งนั้น

    เราต้องสังเกตพิจารณาดูจนเห็นโทษของมัน เหมือนโรคมะเร็ง เริ่มต้นก็ไม่รู้สึกอะไร ไม่เป็นอะไร แต่ถ้าหนักขึ้นแล้วก็เห็นโทษ เมื่อเห็นโทษก็อาจจะรักษายาก รักษาไม่ได้ เป็นทุกข์มาก สายไปแล้วก็เป็นได้..... อย่าประมาท

    ถ้าจะสงบระงับนิวรณ์ต้องรู้เหตุ การไม่มีสัมมาสติเป็นเหตุให้นิวรณ์ไม่สงบ ถ้าสัมมาสติเกิดและมีกำลังพอ นิวรณ์ทุกตัวจะสงบได้ ขณะนี้เรากำลังฝึกโดยอาศัยอานาปานสติ เมื่อใดเกิดสติที่จะกำหนดรู้ลมหายใจได้ เมื่อนั้นนิวรณ์ก็ดับไป กล่าวคือ เมื่อสติหนักแน่น นิวรณ์ก็จะสงบลง เมื่อจิตเป็นสมาธิ เราจะเห็นโทษของนิวรณ์ เมื่อเห็นโทษได้แล้ว กำลังที่จะระงับนิวรณ์ก็เพิ่มมากขึ้นต่อไป
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 8

    จะมีหลักปฏิบัติอย่างไรให้นั่งสมาธิได้ง่ายขึ้นเจ้าคะ


    ตอบ

    คำถามนี้เข้าใจว่าคงจะมาจากการนั่งสมาธิแล้วจิตใจไม่สงบ ควรจะอาศัยหลักกว้างๆ ดังนี้

    (1) พยายามใช้ชีวิตให้เรียบง่าย อะไรที่พอจะตัดออกได้ก็ให้ตัดออกไปเสีย โดยเฉพาะภารกิจทั้งหลายที่ทำให้เกิดความกังวลใจ

    (2) รักษาศีลให้ดี ดำรงชีวิตอยู่ในหลักศีลธรรมทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น

    (3) ระมัดระวังอารมณ์ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันไม่ให้เกิดยินดีหรือยินร้าย ไม่ให้เกิดความไหวหวั่นเมื่อกระทบอารมณ์ หรือเมื่อกระทบอารมณ์แล้วก็ให้รีบจัดการให้เรียบร้อย แก้ปัญหาให้เสร็จ แล้วปล่อยวางเสียไม่ปล่อยให้อารมณ์ตกค้างอยู่ในใจ เมื่อมีเวลาว่างก็พยายามจับลมบ่อยๆ หรือใช้ลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร

    (4) พยายามนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 20 นาที หรือครึ่งชั่วโมง วันละ 2–3 ครั้ง

    การนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอนั้น แม้จิตจะสงบหรือไม่สงบก็ไม่เป็นไร ให้เราพยายามดูที่จิต โดยทำใจกลางๆ แล้วเจริญสติ อย่ายินดียินร้ายกับความสงบหรือไม่สงบ ถ้าเกิดความไม่สงบให้มองเป็นธรรมะ ที่เกิดขึ้นแล้วไม่นานก็จะดับลงไปเอง ถ้าเราเกิดยินดีก็จะหลงไปตามอารมณ์นั้น แล้วคิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆ แต่ถ้ายินร้าย ก็จะเกิดความไม่พอใจในตัวเอง เกิดความเดือนร้อนขึ้นในใจอีก

    โดยสรุปแล้วก็อยู่ที่การ “คิดดี พูดดี ทำดี” นั่นเอง ถ้ารักษาใจให้เป็นปกติในชีวิตประจำวันได้แล้ว ก็จะช่วยให้นั่งสมาธิได้ง่ายขึ้น
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 9

    ฟังเทศน์ท่านอาจารย์แล้วง่วงนอน จะทำอย่างไรครับ


    ตอบ

    สมัยพุทธกาล มีอุบาสก 5 คน มาฟังเทศน์พระพุทธเจ้า คนหนึ่งนั่งหลับ อีกคนหนึ่งนั่งเขียนแผ่นดินด้วยนิ้วมือ คนหนึ่งนั่งเขย่าต้นไม้ คนหนึ่งแหงนหน้ามองดูอากาศ อีกคนหนึ่งนั่งฟังธรรมโดยเคารพ

    พระอานนท์กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ทำไมอุบาสกเหล่านี้จึงแสดงกิริยาเช่นนั้น”

    พระพุทธเจ้าก็ทรงเล่าอดีตชาติของอุบาสกแต่ละคนว่า

    อุบาสกที่นั่งหลับ เคยเกิดเป็นงูมาแล้ว 500 ** ชาติ เขาหลับมาแล้ว 500 ชาติก็ยังไม่อิ่ม แม้แต่ฟังเทศน์พระพุทธเจ้า ธรรมะก็ไม่เข้าหู ยังหลับอยู่อย่างนั้น

    อุบาสกที่เขียนแผ่นดินด้วยนิ้วมือนั้น ได้เกิดเป็นไส้เดือนมา 500 ชาติ ขุดแผ่นดินอยู่อย่างนั้นด้วยอำนาจความประพฤติที่ตัวเคยทำมา ก็ไม่ได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้าเช่นกัน

    ส่วนอุบาสกที่นั่งเขย่าต้นไม้อยู่นั้น เกิดเป็นลิงมาแล้ว 500 ชาติ ถึงบัดนี้ก็ยังเขย่าต้นไม้อยู่ ไม่ได้ยินธรรมะพระพุทธเจ้าเช่นกัน

    อุบาสกที่นั่งแหงนดูอากาศนั้น เคยเกิดเป็นพราหมณ์บอกฤกษ์ด้วยการดูดาว 500 ชาติ ถึงบัดนี้ก็ยังคงนั่งดูท้องฟ้าอยู่ ไม่ได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้า

    ส่วนอุบาสกที่นั่งฟังธรรมโดยเคารพ เคยเกิดเป็นพราหมณ์ศึกษาธรรมะและปรัชญา ค้นคว้าหาความจริงมา 500 ชาติ มาบัดนี้ได้พบพระพุทธเจ้า ตั้งใจฟังธรรมด้วยดี จนได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน

    โยมผู้ถาม ชาติก่อนเป็นอะไรน้อ อย่างไรก็ดี พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

    การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นเรื่องยาก
    การได้เกิดเป็นมนุษย์แล้วมีชีวิตที่ดี สบายๆ ก็ยากมากขึ้น
    การได้พบสัตตบุรุษก็เป็นของยาก
    การได้พบพระพุทธเจ้ายิ่งยากขึ้นอีก


    โยมที่นั่งหลับอยู่ก็ดี พวกเราในที่นี้ก็ดี อย่างน้อยเราก็ได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว เหมือนกับอุบาสกทั้งหลาย ท่านก็เกิดเป็นมนุษย์แล้วก็ดีกว่าเป็นสัตว์เดรัจฉานอยู่ การเกิดเป็นมนุษย์ได้ก็ไม่ใช่ง่าย ฉะนั้นการที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็นับว่าเราได้ทำความดีมามากพอสมควรแล้ว และแต่ละคนก็คงสุขสบายพอสมควรด้วย ยังมีโอกาสได้เข้าวัดฟังเทศน์ ฟังธรรมะจากพระ ก็นับว่าดีมากแล้ว เป็นเรื่องยากมาก

    คิดดูซิ คนที่จะมานอนที่วัด ปฏิบัตินั่งสมาธิเดินจงกรม อย่างนี้มีสักกี่คน น้อยคนนะที่จะได้มาปฏิบัติอย่างนี้ นับว่าเรามีบุญพอสมควร ที่สามารถผ่านมาถึงขั้นที่ 3 แล้ว ภูมิใจได้แต่อย่าประมาท ให้ตั้งใจศึกษาธรรมะปฏิบัติ เพื่อจะได้ไม่ต้องกลับไปเป็นงู เป็นไส้เดือนอีก

    ให้ยกธรรมขึ้นพิจารณา ปฏิบัติให้จริงจังสักข้อใดข้อหนึ่ง เอาไว้เป็นเครื่องเตือนสติ เตือนใจ ทุกวันนี้สังคมโลกสับสนวุ่นวายมาก ให้เรามีธรรมะพอที่จะรักษากายใจไม่ให้เดือดร้อนมากนักก็ยังดี


    หมายเหตุ : ** 500 เป็นสำนวนอินเดีย หมายถึง มากๆ บ่อยๆ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 11

    ดิฉันนั่งสมาธิทีไรหลับทุกที แต่ดิฉันไม่เคยรู้สึกง่วง นั่งแล้วมันหลับไปเองโดยไม่ได้ง่วง รู้สึกตัวก็เมื่อสัปผงกนั่นแหละ พอลืมตาขึ้นมารู้สึกปรกติ ไม่ได้ง่วงแต่ทำไมถึงหลับก็ไม่รู้ ดิฉันควรจะแก้ไขอย่างไร


    ตอบ

    เมื่อเข้าพรรษา อาจารย์พาพระเณรไปทำวัตรครูบาอาจารย์ตามธรรมเนียมของพระ พระอาจารย์องค์หนึ่งเทศน์ว่าไม่ให้นั่งสมาธิ ท่านว่าสมัยพุทธกาล การนั่งสมาธิทำความเพียรไม่ค่อยมี ส่วนมากมีแต่เดินจงกรมทำความเพียร เดินจนส้นเท้าแตกทั้งนั้น นั่งจนก้นแตกไม่มี นั่งง่วง สัปผงก นั่งหลับท่านปรับอาบัติทุกกฎ

    ท่านให้เดินจงกรม “เท้าแตกเดินไม่ได้ก็ใช้เข่าเดิน เข่าแตกคลานเอา คลานไม่ได้ก็กลิ้งเอา เพราะท่านปรารภความเพียรกันจริงๆ การนั่งสมาธิเพื่อหลอกตัวเองอย่านั่งเลย ถ้าจะนั่งก็นิดหน่อย” ที่ท่านพูดนี้หมายความว่า ให้ใช้อิริยาบถ ยืน เดิน เป็นหลัก นั่งเฉพาะช่วงที่ไม่ง่วงนอนนิดหน่อย

    ปฏิปทาของพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ในมัชฌิมวัย ตื่นเช้าท่านก็เดินจงกรม ภาวนา จนสว่าง ไปบิณฑบาต กลับมา ฉันเสร็จก็เดินจงกรม เอนกายพักนิดหน่อยก็นั่งสมาธิต่อ ตอนเย็นถึงดึกๆ ก็เดินจงกรมภาวนา โยมก็เหมือนกัน พยายามปฏิบัติอย่างนี้แหละ ถ้าหายง่วงนอน ไม่ง่วงนอนจริงๆ จึงค่อยๆ นั่งนิดหน่อย แล้วก็ห้ามหลับตา ให้ลืมตาปฏิบัติ ลองดู
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    ถาม 10

    เวลานั่งสมาธิบางครั้งมีอาการหนักศีรษะ เหมือนมีของหนักๆ ทับอยู่ข้างบน คอแข็งหันไม่ค่อยได้


    ตอบ

    ลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นได้ เพราะกายสังขาร หรือจิตตสังขาร กายสังขาร เป็นอาการทางกาย อาจจะเกิดขึ้นเพราะอิริยาบถหรือท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง ถ้าเป็นเช่นนี้ปฏิบัติเรื่อยๆ ไม่นานคงจะหายและไม่เกิดขึ้นอีก อาจารย์เองมีประสบการณ์สมัยบวชใหม่ๆ โดยเฉพาะวันพระ นั่งนานๆ แล้วก็เป็นลักษณะอย่างนี้ แต่ไม่นานก็หายไป ไม่เป็นอีก หรือบางทีจิตตสังขารเกี่ยวข้องด้วย ถ้าเป็นเพราะเหตุนี้ใช้เวลา ต้องใช้ปัญญาหน่อย ต้องเจริญวิปัสสนา ปฏิบัติเรื่อยๆ แล้วก็ค่อยๆ หายไปเอง

    บางครั้งสำหรับบางคน เมื่อเจริญวิปัสสนาแล้ว ลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้น วิปัสสนาจารย์ก็อธิบายว่า เพราะสังขารหรือวิบากกรรมมาปรากฏขึ้น พูดง่ายๆ ว่ากำลังชำระกรรม ล้างกรรมนั่นเอง อย่างนี้ก็เป็นได้ ให้ทำใจเป็นกลางๆ วางเฉยเสีย ถ้ารำคาญมากเริ่มจะเป็นปัญหา ให้ลองบริหารกาย หมุนศรีษะไปทางขวา ทางซ้าย ยืดตัว เป็นต้น ลองทำดู กล้ามเนื้ออาจจะผ่อนคลาย อาการคอแข็งอาจจะหายไปก็ได้
     
  14. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 12

    กรุณาอธิบายว่า ทำไมสมาธิที่ได้ ขณะเดินจงกรมจึงเสื่อมยาก เจ้าคะ


    ตอบ

    เพราะการเดินจงกรมจะต้องใช้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่ ถ้าเรารักษาจิตสงบได้ในขณะเดินจงกรม เราก็สามารถรักษาใจในชีวิตประจำวันได้ เพราะในชีวิตประจำวันเราเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่

    ที่สุดของสมาธิคือ ความสามารถอยู่อย่างปกติ

    ไม่ใช่นั่งหลับตาทำความสงบอย่างเดียว แต่ยืน เดิน นั่ง นอน ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง หรือปากกำลังคุยอยู่ จิตก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ สามารถรักษาจิตให้สะอาดคล่องแคล่ว ว่องไว ในภาวะปัจจุบัน นั่นคือสมาธิที่เราต้องการ

    สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรม สามารถพัฒนามาใช้ในชีวิตประจำวันในอิริยาบถต่างๆ เช่นนี้ได้ เป็นสมาธิตามธรรมชาติมีกำลังมาก มีประโยชน์มาก จิตที่ไม่คิดฟุ้งซ่านไป นิวรณ์ไม่มี ก็เรียกว่าสมาธิอยู่แล้ว
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 13

    การนั่งสมาธิและสวดมนต์ที่บ้านกับที่วัดจะได้ผลเท่ากันหรือไม่ หากได้ผลเหมือนกัน ทุกคนคงไม่ดั้นด้นมาที่วัด


    ตอบ

    ลองดูสักวัน วันเสาร์หรือวันอาทิตย์ก็ได้ที่ไม่ต้องไปทำงาน บอกให้ครอบครัวทราบว่า วันนี้จะปฏิบัติจริงๆ จังๆ อย่ารบกวน แล้วเริ่มปฏิบัติ

    ตี 3 ตื่นนอน ล้างหน้าแปรงฟัน เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย
    ตี 3 ครึ่ง ทำวัตร สวดมนต์ ประมาณครึ่งชั่วโมง
    นั่งสมาธิ เดินจงกรม จนถึง 6 โมงเช้า
    ดื่มกาแฟ โอวัลติน หรือนมสักแก้วหนึ่ง
    ปฏิบัตินั่งสมาธิ เดินจงกรมอีก 2 ชั่วโมง ถึง 9.00 น.
    รับประทานอาหาร พักอิริยาบถ สบายๆ จนถึง 11.00 น.
    เปิดเทปครูบาอาจารย์ที่ศรัทธาฟังสัก 1 ชั่วโมง
    เที่ยงวันนั่งสมาธิอีก 1 ชั่วโมง เดินจงกรมอีก 1 ชั่วโมงสลับกัน
    16.00– 8.00 น. ดื่มน้ำเย็นน้ำร้อน อาบน้ำ ทำความสะอาดที่พัก
    18.00 น. เริ่มเดินจงกรม นั่งสมาธิ ทำวัตรสวดมนต์ถึง 3 ทุ่ม

    ถ้าอยู่ในวัดทำได้อย่างไร ที่บ้านก็ทำได้ดีเท่ากันหรือดีกว่า ก็ไม่ต้องดั้นด้นมาที่วัด
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 14

    ดิฉันเคยนั่งสมาธิเองที่บ้าน ขณะนั่งไม่มีอะไรผิดปกติ พอนั่งเสร็จก็นอน พอเคลิ้มหลับแล้วรู้สึกตัวเองลอยขึ้น รู้ว่าร่างกายกำลังนอนอยู่แต่ความรู้สึกเหมือนมีอีกร่างหนึ่งลอยขึ้น ซึ่งทำให้ดิฉันกลัวและตกใจ เป็นเช่นนี้หลายครั้ง อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร (แต่ปัจจุบันไม่เป็นแล้ว) เจ้าคะ


    ตอบ

    เป็นอาการของสมาธิ เป็นปกติ ไม่ต้องกลัวอะไร เพียงแต่กำหนดรู้เฉยๆ ขณะที่กำลังนั่งอยู่ จิตใจมีกังวล แต่ก็พยายามนั่ง มีความรู้สึกเจ็บขาบ้าง ใจจึงไม่สงบ หลังจากนั่งสมาธิ เมื่อยแล้วก็นอนสบาย เลยเกิดสมาธิโดยอัตโนมัติ อาการเช่นนี้ก็เกิดขึ้นได้ ถือเป็นอาการของสมาธิ ให้ทำใจกลางๆ ไม่ให้ยินดีหรือยินร้าย กำหนดรู้เฉยๆ </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    ถาม 15

    การนั่งสมาธินานๆ เป็นชั่วโมงๆ หรือหลายๆ ชั่วโมง โดยไม่ขยับ ขาจะชาไปหมด ถ้าปฏิบัติแบบนี้ไปนานๆ จะมีโอกาสเป็นอัมพาตไหม


    ตอบ

    ไม่เป็น ไม่เป็นอะไร เพียงแต่ให้ระวังตอนที่ขยับ ค่อยๆ ขยับ โดยเฉพาะก่อนลุกขึ้น ให้เกิดความรู้สึกเป็นปกติ และเส้นประสาททำงานปกติแล้วจึงลงน้ำหนักที่เท้า
     
  18. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    ถาม 17

    (1) การนั่งสมาธิให้นานๆ สัก 1 ชั่วโมงจะทำอย่างไรครับ เพราะมันปวดเมื่อยมาก ทนไม่ค่อยได้เลย กำหนดตามดูลมด้วยวิธีอานาปานสติขั้นที่ 1, 2 แล้วก็ยังปวดเมื่อยอยู่มาก จนทนไม่ได้ นั่งได้ประมาณ 30 นาทีเท่านั้น

    (2) เห็นคนไข้ก่อนตายตามโรงพยาบาล แล้วร้องทุรนทุรายก่อนตาย แสดงว่าเจ็บปวดและมีความทุกข์มาก เราจะแก้ไขอย่างไรครับ


    ตอบ

    นั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ 2 เวลา เป็นเวลา 6 เดือนหรือ 1 ปี ปกติร่างกายของเราจะเกิดความเคยชิน เมื่อเริ่มการปฏิบัติใหม่ๆ การขยับไปขยับมาไม่เป็นไร นั่งจนครบ 1 ชั่วโมง นั่งทุกวันจนเป็นกิจวัตรประจำวัน ปกติคนทั่วๆ ไปถ้าหัดนั่งทุกวันๆ ละ 2–3 ครั้งต่อเนื่องกันเป็นเวลา 6 เดือนถึง 1 ปีก็จะได้ผล การนั่งสมาธิ 1 ชั่วโมง ก็จะเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ลำบากอะไร คิดจะนั่งเมื่อไรก็นั่งได้สบาย
     
  19. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    ถาม 16

    เวลานั่งสมาธิฟังพระอาจารย์ก็จะฟังแต่พระอาจารย์ ลืมกำหนดลมหายใจเข้า–ออก ทำให้สับสนไม่รู้ว่าควรกำหนดลมหายใจเข้าออกหรือฟังพระอาจารย์ ควรแยกอย่างไรจึงจะถูกต้องเจ้าคะ


    ตอบ

    เมื่อฟังเทศน์ ตั้งใจฟัง ลมหายใจหายไปก็ไม่เป็นไร สำคัญตรงที่จิตสงบและตั้งใจฟัง แล้วลมหายใจจะกลับมาเอง
     
  20. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>ปัญหาทั่วไป

    พระพุทธสุภาษิต

    คนเราควรมอง ผู้มีปัญญา ใดๆ
    ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป
    ว่าคนนั้นแหละ คือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ ละ
    ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น
    เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่
    ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย


    ปณฑิตวคค ธ.ขุ. ไตรปิฎก ล.๒๕ น.๒๕ บ.๑๖.
    จากหนังสือพุทธศาสนา เล่มที่ 1 ปีที่ 66 พ.ศ. 2541
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...