คำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย svt, 25 ตุลาคม 2010.

  1. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,033
    [​IMG]

    "สัพพปาปัสสะ อกรณัง กุสะลัสสูปะสัมปะทา
    สะจิตตะปะริโยทะปะนัง, เอตัง พุทธาน สาสนัง"
    "การไม่กระทำบาปทั้งปวง การยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม
    การชำระจิตให้ขาวรอบ, นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์"
    พระพุทธดำรัสโอวาทปาฏิโมกข์

    เป็นพระพุทธดำรัสซึ่งทรงตรัสไว้อย่างลงตัวกับอริยสัจ๔ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงตรัสรู้และสอนอริยสัจ ๔
    นับเป็นความอัศจรรย์อย่างนึงว่าตลอด ๔๕ ปีที่ทรงสั่งสอนนั้น ซึ่งเนื้อหาบันทึกนั้นล้วนมีมากมาย แต่กระนั้นก็มีความลงตัวกันไม่ขัดแย้งกันเลย

    อริยสัจ ๔ คือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค ใจความสำคัญในพุทธศาสนา
    อริยสัจ ๔ ผลเกิดจากเหตุ ทุกข์ เกิดจาก สมุหทัย ,นิโรธ(ความดับทุกข์ นิพพาน) เกิดจาก มรรค
    ......สมุหทัย(ตัณหา) แรงที่ทำปฏิกิริยาผลักดึงพันธนาการร้อยรัดจิตไว้ไม่ให้มีความอิสระจากประสาทสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังผลต่อสภาวะรับรู้ของมนุษย์ที่บิดเบือนจากความเป็นจริง ไปยังสถานการณ์ชีวิตที่สะท้อนผ่านโลกทัศน์ของเขา จากความไม่รู้หรืออวิชชา ๘ เปรียบได้ดั่งสิ่งสกปรกที่เกาะบนแว่นสายตา ทำให้ปฏิกิริยา ตอบสนองผ่านสถานการณ์นั้นๆ ที่เข้ามาอย่างถูกบ้าง ผิดไปบ้าง
    [ *อวิชชา๘ http://www.dhammachak.net/awicha8.pdf ]


    "การไม่กระทำบาปทั้งปวง"
    ......การไม่กระทำบาปทั้งปวง คือ ก้าวแรกบนเส้นทางเดินของมรรค ๘ เป็นการดำรงก้าวแรกของ"สัมมาทิฏฐิ" ก้าวบนเส้นทางโดยมีปัญญาความเห็นที่ถูกต้องในความเป็นจริง
    ......กฏแห่งกรรมที่เป็นแรงสืบต่อ การไหลเวียนถ่ายเทของพลังงานและสสารหรือนามและรูป(จิตและกาย) จากเหตุอดีต สู่ผลปัจจุบัน และจากเหตุปัจจุบัน สู่ผลอนาคต

    ......เมื่อบุคคลได้เรียนรู้ว่า การกระทำอย่างนึงย่อมก่อให้เกิดผลอย่างนึง, ซึ่งหากเขาไม่ต้องการผลเช่นใด เขาก็จะไม่จงใจสร้างเหตุเช่นนั้นขึ้นมา , เขาจะเพียรศึกษาและเกิดปัญญา เพื่อไปดับที่สาเหตุ ไม่สร้างเหตุให้เป็นทุกข์กายใจตนเองและคนรอบข้าง
    ......โดยเขาจะเรียนรู้ว่า การพยายามแก้ไขปลายเหตุเมื่อเกิดผลขึ้นมาแล้วนั้น ความพยายามเหล่านั้นอาจจะเป็นการสร้างสาเหตุใหม่ และอาจเพิ่มทิศทางใหม่ให้กระจายวงกว้างออกไป
    ........แม้ว่าปัจจุบันสิ่งที่ประสบอยู่ เขาจะไม่รู้ว่ามาจากสาเหตุใด มาจากสิ่งใด?ที่ได้กระทำไว้แล้วในอดีต ที่มีความสัมพันธ์กับเงื่อนเวลา เจตนา ผู้คน และสถานการณ์ อย่างไรบ้าง, หรือควรที่จะทำอย่างไร ที่จะไม่สร้างเหตุเพิ่ม เกิดวงรอบใหม่จากเหตุของเรื่องนี้สืบต่อไปยังอนาคต "ทุกสิ่งเกิดจากจิต หากสิ่งนั้นจะดับก็ดับลงที่จิตดวงนั้น"


    สิ่งที่เราชาวพุทธได้เรียนรู้กันจากพุทธพจน์นี้ คือ ทางเลือก
    ทางเลือก ของการตอบสนองจากทางจิตใจ วาจา และการกระทำ ด้วยระดับที่มีความสมดุลย์พอดี ไม่มากไม่น้อยไป
    ........การกระทำผ่านทางเลือกของระดับของความมีสติที่เป็นปัจจุบันขณะ และการใช้เหตุผล การรักษาความดีงามรักษาความเป็นกุศลจิต โดยปราศจากอารมณ์เลือกที่รักมักที่ชังซึ่งอารมณ์ในลักษณะนี้มักจะทำให้มีทัศนคติเอนเอียง(เมื่อหางเสือคือทัศนคติถูกครอบงำในแง่ใด ความคิดเห็น คำพูด การกระทำ ที่ไหลไปตามทัศนคตินั้นก็ไม่เที่ยงตรงตามสิ่งที่ควรเป็นไปด้วย)
    ........"สัมมาวายะมะ" เป็นการ "ยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม" ซึ่งอยู่ท่ามกลาง การรักษาสมดุลย์ ความดีความงามกุศลจิตนั้นเกิดจากศรัทธา ความเพียร และสติที่จากการมีอนุสติขยายขอบเขตสู่ความมีสัมมาสติ

    ........ความดีงาม กุศลจิตที่จะดำเนินไปอย่างถูกต้องและตลอดรอดฝั่ง จำเป็นที่จะต้องเดินไปด้วยกันกับ สัมมาสติ คือมีความระลึกรู้ อย่างรู้ตัวทั่วพร้อม กับสิ่งที่เป็นปัจจุบันขณะที่เกิดขึ้นกับกายและกับจิตใจ เป็นการเจริญสติ เพื่อระลึกรู้เห็นเท่าทันความเกิดขึ้น และความดับไป ในขอบเขตของร่างกายและจิตใจภายใน
    ........ซึ่งทั้งนี้ลักษณะนาม(ความรู้สึก นึก คิด สภาวอาการต่างๆของจิตใจ) หรืออาการที่เกิดขึ้นบนเรือนกาย มิได้เป็นการจงใจเลือกตั้งธงกำหนดไว้ล่วงหน้า ถึงสิ่งที่จะดูจะรู้ หรือจะเห็น หรือเลือกที่จะทำแต่เพียงสิ่งที่ได้รับฟังมาจากผู้อื่นอีกที แต่สิ่งที่เป็นอยู่นั้น เป็นการระลึกรู้สภาวธรรมที่กำลังเป็นปัจจุบันอยู่ เป็นสิ่งที่สดใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นกับกายใจเราอยู่
    ........เมื่อรู้สึกถึงสิ่งใด ระลึกรู้ถึงสิ่งนั้น หรือหาก ระลึกถึงสิ่งใด พึงรู้สึกถึงสิ่งนั้น, ด้วยใจที่เป็นกลางปราศจากความชอบหรือความชัง มีความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นปัจจุบัน นี้เป็นวิปัสสนาภายใน นี้เรียกว่า การเจริญสติปัฏฐาน ๔
    [ *วิธีเจริญสติปัฏฐาน ๔ http://www.dhammachak.net/wimuttidham_ch3.pdf ]

    "การชำระจิตให้ขาวรอบ"
    ........สัมปชัญญะ ความสติระดับสัมมาสติ และสมาธิ ทำให้เกิดปัญญา เป็นปัญญาที่จะกวาดล้างอวิชชา อัตตาตัวตน และมายา พันธนาการที่ห่อหุ้มจิตใจ
    ........การดำรงอยู่เป็นเอกัคตาจิต มีความตั้งมั่น เป็นหนึ่ง ไม่มีจิตสองเข้ามาแทรก ถ่วงหรือลากดึงไปหาความนึก ความคิดใดๆ
    ล่วงแล้วโดยชอบจากจิตที่เป็นอดีต ละแล้วโดยชอบจากจิตที่ปรารภไปยังอนาคต แล้วโดยชอบ คือ ได้มาจากการไม่สร้างปฏิกิริยาความพยายามใดๆ ที่จะเข้าไปดับเข้าไปละในส่วนที่เป็นปฏิภาค สิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติจากความตั้งมั่น จิตบริสุทธิ์ คือความปราศจากสนิมจิตสิ่งปนเปื้อนที่เป็นนิวรณ์ทั้ง ๕

    ........ในองค์มรรคลำดับสุดท้าย คือ สัมมาสมาธิ คือรูปฌานทั้ง ๔ โดยลำดับ การดำรงอยู่ของสภาวะจิตที่เมื่อมีการสะสมชั่วโมงเพิ่มขึ้นก็จะมีความชำนาญ รักษาจิต ประคองจิต เกื้อกูลการเพาะบ่มอินทรีย์ภายในให้แก่กล้าและสมดุลย์โดยลำดับ คือ
    ศรัทธา- เป็นความเชื่อมันเส้นทางการประคองจิตไว้ในกุศลธรรม ความหนักแน่น ในความสันโดษแห่งจิตใจ,
    วิริยะ- เป็นความสม่ำเสมอในการปฏิบัติ การรักษาต่อเนื่องของการดำรงจิตและการดำรงอยู่โดยไม่สร้างแรงปรารถนาใดๆ,
    สติ- เป็นการระลึกรู้นามรูป การรักษาจิต การรักษาธรรมที่ยังให้เป็นกุศลจิต สติที่ได้รับการพัฒนาด้วยสติปัฏฐาน ๔,
    สมาธิ- สัมมาสมาธิ ดังกล่าวไว้ในนี้ ,ปัญญา- คือสิ่งที่อยู่ในจิตเป็นภาวะตื่นรู้ภายในพัฒนาไปสู่ปัญญาประจักษ์อริยสัจ ๔
    ........อินทรีย์ทั้ง ๕ มีส่วนสำคัญที่สุด ในการบรรลุอริยสัจธรรม มรรค ผล นิพพาน
    ........อุปมาเปรียบได้กับ บุคคลที่ต้องการข้ามฝั่ง ที่มีคลองห้วงน้ำขวางคั่นอยู่ เขาสร้างท่อนไม้มีไว้อยู่ ๕ ท่อน นำไปเป็นเสาปักลงในคลองเรียงต่อกัน ซึ่งการปักเรียงลงไปนั้นมีระดับที่พอดีไม่เหลื่อมล้ำกันทั้ง ๕ ท่อนแล้วนำไม้กระดานมาพาด เพื่อข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง

    ........ฉันใดก็ฉันนั้นข้อนี้ ท่อนไม้ ๕ ท่อนที่บุคคลสร้างเสริมปักลงไปในดิน เปรียบได้ดั่ง ผู้ปฏิบัติธรรมเพาะบ่มอินทรีย์ ๕ ณ จุดใดจุดนึงที่อินทรีย์สมดุล มรรคก็สมบูรณ์ไปด้วย, ไม้กระดานที่พาด เปรียบได้กับ เส้นทางสีทองที่นำสู่ฝั่งโน้น ,ฝั่งอีกด้านนึงของห้วงน้ำที่ได้ก้าวข้ามไป เปรียบได้กับ มรรค ผล นิพพาน, ห้วงน้ำ เปรียบได้กับ วัฏฏสังสารการเวียนว่ายตายเกิด
    ........ อินทรีย์ทั้ง ๕ ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากสำหรับผู้ปฏิบัติที่ต้องการจะพัฒนาในธรรม
    [​IMG]
    ภาพจาก http://www.shutterstock.com/pic-62070274/stock-photo-bamboo-bridge-over-the-river-pai-foggy-morning.html


    ........การชำระจิตภายใน เป็นการเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น กำลังตั้งอยู่ และดับไปในภาวะเอกัคตาจิต อาการของปีติ สุข บริสุทธิ์ ทุกองค์ประกอบของแต่ละสิ่งที่เกิดขึ้นภายใน เมื่อมีการพินิจชำเลือง พิจารณาเป็นกลางโดยปราศจากความชอบความชังต่อสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นการพลิกไปสู่วิปัสสนา, ซึ่งทั้งนี้นั้น ทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ความแปรปรวนเป็นเช่นไร การที่เราเข้าไปบังคับบัญชาไม่ได้อาการเป็นเช่นไร ไม่ใช่ตัวตนที่จะนำเป็นเจ้าของ.. อาการเหล่านี้ที่แสดงออกภายในจิต นั้นพึงประจักษ์ชัดทราบได้ด้วยประสบการณ์ในสมาธิภาวนาผู้ปฏิบัติเอง ปัญญาภายในจึงจะพอกพูนสู่ปัญญาในอริยสัจ ๔
    สมถะและวิปัสสนา ที่มีการดำเนินไปด้วยจังหวะความลงตัวและสมดุลย์ ที่เป็นไปเองโดยธรรมชาติ คือ สัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยรูปฌานทั้ง ๔ โดยลำดับ

    สมาธิภาวนาไม่มีข้างในไม่มีข้างนอก
    ........คือ ระดับความตื่นรู้ที่มีการขยายขอบเขตจากสมาธิภาวนาภายใน ออกภายนอกสู่ชีวิตประจำวัน ลมหายใจ การรักษาจิต การไม่คาดหวังสิ่งใดล่วงหน้าเกินจำเป็น วิธีลดละการประเมินค่าสิ่งต่างๆ ความสงบ การดำรงกุศลธรรม การชำระจิต ,ดังนี้ทำให้จิตบริสุทธิ์ขาวรอบ สภาวธรรมภายนอกจะถูกเติมเต็มออกมาจากข้างในโดยลำดับจวบจนไม่มีความแตกต่างกัน
    [ อานาปานสติสมาธิภาวนา ธรรมศาลา :: อ่าน - อานาปานสติ สมาธิภาวนา ]


    "สัพพปาปัสสะ อกรณัง กุสะลัสสูปะสัมปะทา
    สะจิตตะปะริโยทะปะนัง, เอตัง พุทธาน สาสนัง"
    "การไม่กระทำบาปทั้งปวง การยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม
    การชำระจิตให้ขาวรอบ, นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์"

    พระพุทธดำรัสนี้ เป็นการกล่าวสอนให้ผู้ปฏิบัติเจริญมรรค๘ ให้สมบูรณ์พร้อม
    เมื่อมรรค๘ สมบูรณ์ การประจักษ์แจ้งอริยสัจ๔ ก็จะสมบูรณ์

    อริยสัจ ๔ เป็นหัวใจของศาสนาพุทธ ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่างคือ ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ และ มรรคมีองค์๘

    ในที่นี้ มีสิ่งมีอยู่เดิมก่อนหน้านั้นที่ผู้คนรู้จักกันแล้ว และมีสิ่งใหม่ที่พระพุทธเจ้าทรงคิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง
    ....สิ่งที่มีคนยุคนั้นรู้จักกันก่อนหน้าแล้ว สมัยช่วงก่อนพุทธกาลและช่วงสมัยพุทธกาลที่ไม่ใช่สิ่งใหม่ คือ ทุกข์ เกิดจาก สมุหทัย(เหตุแห่งทุกข์) และสภาพของความดับทุกข์ หรือที่เรียกว่า นิโรธ นิรวาณ นิพพาน โมกษะ

    สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบที่เป็นสิ่งใหม่ก็คือ มรรคมีองค์๘ หนทางปฏิบัติอันประเสริฐเพื่อถึงความดับทุกข์

    .....กงล้อธรรมจักรเริ่มหมุนเป็นครั้งแรกที่สวนกวางทราย(อิสปตนะ มฤคทายวัน ) ที่ได้ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคืย์ การปฐมเทศนาครั้งนั้น ต่อมาผู้คนมักจะใช้สัญญลักษณ์รูปปั้นแทนเป็นรูป กวางหมอบใกล้ธรรมจักร ถือว่าเป็นการเริ่มประกาศทรงเผยแพร่พระพุทธศาสนา ประกาศหลักสัจธรรม อริยสัจ๔


    ...................................


    เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:

    การเจริญอินทรีย์ ๕ เส้นทางสีทองสู่ความตื่นรู้

    ธรรมจักร ~ "สิ่ง" สารัตถะแห่งชีวิต

    ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 ตุลาคม 2012
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,689
    ค่าพลัง:
    +9,239
    [​IMG]


    ขออนุโมทนาค่ะ

     
  3. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,033
    ณ ภาวะในความสงบของจิตใจ...

    พึงใส่ใจระลึกรู้ในภาวะความเป็นวงกลม หมายถึง วัฏจักรวงกลม
    ความที่คนเราเกิด แก่ เจ็บ ตาย วงรอบความเป็นวงกลม
    แต่ละวันที่ผ่านไป ตื่นนอน ไปจนหลับ ชีวิตที่เป็นวงกลม
    อารมณ์ ความนึกคิด ที่มีเกิดขึ้น และดับลงไป แล้วเกิดขึ้นมารอบใหม่

    หรือบางหนบางขณะ...
    ใส่ใจในการระลึกรู้ ช่องว่าง เพื่อเกิดความรู้ตัวทั่วพร้อมหยั่งลงในท่ามกลาง
    รอยต่อช่องว่างระหว่างความนึกคิดนึงที่ดับไป ก่อนที่ความนึกอันใหม่จะเกิด
    รอยต่อช่องว่างระหว่างลมหายใจที่เข้ามา ก่อนลมหายใจกำลังจะออกไป
    รอยต่อช่องว่างระหว่างลมหายใจที่ออกไปแล้ว ก่อนลมหายใจกำลังจะเข้ามา


    ___________________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 ตุลาคม 2012
  4. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,710
    ค่าพลัง:
    +51,938
    *** มรรค ทางพ้นทุกข์ ****

    ปลดกิเลสนิสัย ตัญหาราคะ
    ให้ความชัดเจนในการปฏิบัติ
    ด้วยข้อสัจจะ ทุกวัน เป็นประจำ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  5. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นทางตรง ฉะนั้น คําสอนที่อ้างว่าลัดกว่าสั้นกว่าเป็นไม่มี คําสอนนอกจากนี้ล้วนอ้อมทั้งสิ้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...