วอนท่านผู้รู้ครับ ผมติดปัญหาวิธีการทำสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไตรลักษณ, 13 พฤศจิกายน 2010.

  1. ไตรลักษณ

    ไตรลักษณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +29
    ปรกติก่อนนอนผมจะทำสมาธิโดยการใช้คำภาวนาพุทโธกำกับการดูลมหายใจ และพยายามมีสติอยู่กับลมหายใจตลอดเวลา จิตก็สงบเป็นสมาธิมากบ้างน้อยบ้างตามปรกติไม่มีปัญหาอะไร
    จนกระทั้งเมื่อ 2-3 เดือนมานี้ผมชอบตื่นขึนมาช่วงตี 4 ถึงตี 5 พร้อมกับจิตที่เป็นทุกข์ (ช่วงนี้ผมมีปัญหาบางอย่างในงาน)
    ผมมีทางเลือก 2 วิธี
    วิธีที่ 1. เอาใจปักดิ่งเข้าไปในความทุกข์นั้น ใจจะเป็นสมาธิดีมาก ๆ แต่มันก็ทุกข์มาก ๆ เหมือนกัน ทุกข์สุด ๆ จนแน่นหน้าอก จุกอก แต่ด้วยใจที่เป็นสมาธิ ดูมันเข้าไป เอาจิตปักมันเข้าไป มันก็ยิ่งทุกข์มากยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น ปักเข้าไปเพราะอยากรู้ว่าใครเป็นคนทุกข์ ใช่เราใหมที่ทุกข์ แล้วทุกข์มันจะอยู่กับเราตลอดไปใหม จนบางครั้งก็เผลอหลับไปแล้วตื่นมาทุกข์มันก็จางคลาย
    วิธีที่ 2. ในขณะที่ทุกข์เกิดกับจิต ผมดึงจิตกลับมาที่ลมหายใจเข้าออก รู้อยู่แต่ลมเข้าลมออกให้เด่นชัด ความทุกข์มันก็จะจาง ๆ เหมือนเราแกล้งลืมมัน ไม่สนใจมัน แกล้งไม่สนใจมัน มันก็ทุกข์น้อยลงจางลง แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ได้หายหรือหมดไปไหนหรอก
    คำถามคือวิธีกำหนดจิตที่ถูกต้องตามคำสอนของที่พระพุทธเจ้าสอนคืออย่างไรครับ ตามทางที่ 1 หรือ 2 ครับ
    ขอบพระคุณล่วงหน้ากับทุกคำตอบครับ ขอธรรมทานด้วยครับ ขอให้ท่านเจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2010
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846


    ลองทำแบบนี้ดู หากทำครบ 7วัน
    เรื่องงาน จะคลีคลายครับ แต่ต้องทำให้ได้ครบ 7วัน ต่อเนื่องนะ

    ก่อน นั่งสมาธิ ให้อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด
    แต่งชุดสุภาพ สะบายๆ
    แล้วให้ ตั้งใจ สวดมนต์ดังต่อไปนี้

    อุปกรณ์เสริม ที่ช่วยส่งเสริม
    ควรได้สวดมนต์ ต่อหน้าพระพุทธรูป

    หรือหากใครหาไม่ได้ก็ให้ ตัดภาพเอา จากวารสาร หรือหนังสือ
    ใส่กรอบตั้งไว้หาโต๊ะรองตรงหน้าให้สูงกว่าพื้นที่เรานั่ง
    จุดเทียน 2เล่ม จุดธูป 5 ดอก
    นำเทียนหนัก 1 บาท 8เล่ม ธูป 108ดอก พวงมะลิ 1พวง วางใส่พานไว้

    กรณีตัวหนังสือ สีน้ำเงินนี้ หากใครสะดวกก็จัดหาได้
    ไม่สะดวกก็ไม่ต้องหา

    เวลาสวดมนต์ให้เปล่งเสียง



    ระลึกถึงคุณพระรัตนะตรัย


    กราบ ๕ ครั้ง


    กล่าวคำขอขมาว่าดังนี้


    ข้าพเจ้า ขอขมากรรม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ครูบาอาจารย์
    บิดามารดา
    เจ้ากรรมนายเวร
    และสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลาย
    กรรมอันใด ที่ข้าพเจ้า ได้ล่วงเกิน
    ด้วย กายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี
    ขอทุกท่าน โปรดอโหสิกรรม ให้ข้าพเจ้าด้วยเทอญ


    อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมิ
    อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมิ
    อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมิ
    อิมินา สักกาเรนะ อาจาริยานัง ปูเชมิ
    อิมินา สักกาเรนะ มาตาปิตุนัง ปูเชมิ


    อะระหังสัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ )
    สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ )
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ )
    มัยหังมาตาปิตูนังวะ ปาเท วันทามิ สาคะรัง (กราบ)
    ปัญญาวุฒฑิ กะเรเตเต ทินโนวาเท นะมามิหัง (กราบ)


    อาราธะนาศีล ๘


    ข้าพเจ้า ขอตั้งสัจจะบาระมี จะขอรักษาศีล ๘ ให้ได้ ตลอดการสวดมนต์นี้


    อะหังภันเต ติสะระเนนะสะหะ อัฐฐะ ศีลา นิยาจามิ
    ทุติยัมปิ อะหังภันเต ติสะระเนนะสะหะ อัฐฐะ ศีลานิยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหังภันเต ติสะระเนนะสะหะ อัฐฐะ ศีลานิยาจามิ


    ๑. ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ


    ๒. อะทินนา ทานา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ


    ๓. อะพรัมมะจะริยา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ


    ๔. มุสาวาทา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ


    ๕. สุราเมระยะ มัจชะ ปะมา ธะฐานา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ


    ๖. วิกาละโภชะนา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ


    ๗. นัฏจะคีตะวาฐิตะ วิสูกะทัศสะนา มาลาคันธะ วิเลปะนะ ธาระนะ
    มันฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ


    ๘. อุจจา สะยะนะ มะหา สะยะนา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ


    อิมานิ อัฐฐะ สิกขา ปะทานิ สะมาธิยามิ
    อิมานิ อัฐฐะ สิกขา ปะทานิ สะมาธิยามิ
    อิมานิ อัฐฐะ สิกขา ปะทานิ สะมาธิยามิ


    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ


    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    (บท พุทธะคุณ )
    อิติปิโสภะคะวา
    อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ
    วิชชา จะระณะ สัมปันโน
    สุคะโต
    โลกะวิทู
    อะนุตตะโล
    ปุริสะธัมมะสาระถี
    สัตถา เทวะ มะนุษสานัง
    พุทโธ
    ภะคะวา ติ



    ( บท ธรรมะคุณ )
    สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
    สัณฐิติโก
    อะกาลิโก
    เอหิปัสสิโก
    โอปะนะยิโก
    ปัจจัตตัง เวธิตัพโพ วิญญู หิ ติ



    (บท สังฆะคุณ )
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญาญะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิตัง จัตตาริ ปุริสะยุค คานิ
    อัฐฐะ ปุลิสะปุคคะลา
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ



    แล้ว วก สวด
    บท พุทธคุณ ๕๖ จบ
    บท ธรรมะคุณ ๓๘ จบ
    บท สังฆะคุณ ๑๔ จบ
    แล้ววก สวด พุทธะคุณ ธรรมะคุณ สังฆะคุณ ๑ รอบ


    ตามด้วยบท ต่อไปนี้ คือ บท พาหุง



    พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
    ค รีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง<O:p</O:p
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p



    มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง<O:p</O:p
    โฆรัมปะนาฬะวะมักขะมะถัทธะยักขัง<O:p</O:p
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p



    นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง<O:p</O:p
    ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง<O:p</O:p
    เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p



    อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง<O:p</O:p
    ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง<O:p</O:p
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p



    กัตวานะ กิฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา<O:p</O:p
    จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p



    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
    วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง<O:p</O:p
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p




    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง<O:p</O:p
    ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต<O:p</O:p
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p




    ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง<O:p</O:p
    พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง<O:p</O:p
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p



    เอตาปิ พุทธะ ชะยะมัง คะละอัฏ ฐะคาถา<O:p</O:p
    โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที<O:p</O:p
    หิตะวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ<O:p</O:p
    โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ



    (บท มหากาฯ )


    <O:pมะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง<O:p</O:p
    ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง<O:p</O:p
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ<O:p</O:p
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน<O:p</O:p
    เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล<O:p</O:p
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร<O:p</O:p
    อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ ฯ<O:p</O:p
    สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง<O:p</O:p
    สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ<O:p</O:p
    ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง<O:p</O:p
    ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา<O:p</O:p
    ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ<O:p</O:p
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา<O:p</O:p
    สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ<O:p</O:p
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา<O:p</O:p
    สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ <O:p</O:p
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา<O:p</O:p
    สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ




    ( ต่อด้วย บท กรวดน้ำ )


    <O:p</O:p
    กรวดน้ำอิมินา<O:p</O:p
    (นำ) หันทะ มะยัง อุททิงสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ<O:p</O:p
    (รับ) อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา<O:p</O:p
    อาจริยูปะการา จะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา (ปิยา มะมัง)<O:p</O:p
    สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ<O:p</O:p
    พรัหมะมารา จะ อินทา จะ<SUP>๑</SUP> โลกะปาลา จะ เทวะตา<O:p</O:p
    ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ<O:p</O:p
    สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม<O:p</O:p
    สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ฯ<O:p</O:p
    อิมินา ปุญญากัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ<O:p</O:p
    ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปานทานะเฉทะนัง<O:p</O:p
    เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง<O:p</O:p
    นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว<O:p</O:p
    อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา<O:p</O:p
    มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม<O:p</O:p
    พุทธาทิปะวะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม <O:p</O:p
    นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง<O:p</O:p
    เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ<O:p</O:p


    จากนั้น นั่งตัวตรง ดำรงสติให้มั่น
    กำหนดรู้ ลมหายใจเข้าออก จนถึงเวลาที่เหมาะสม

    เมื่อออกจากสมาธิแล้วก็ให้ กรวดน้ำอีก ๑ รอบ

    จบฯ กราบพระ
    อะระหังสัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ )
    สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ )
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ )
    มัยหังมาตาปิตูนังวะ ปาเท วันทามิ สาคะรัง (กราบ)
    ปัญญาวุฒฑิ กะเรเตเต ทินโนวาเท นะมามิหัง (กราบ)​


    <!-- google_ad_section_end -->
     
  3. moshininja

    moshininja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +103
    ทั้งสองวิธีถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีแล้ว ข้อหนึ่งนั้นคือการพิจารณาธรรม ส่วนข้อสองนั่นคือการภาวนาให้จิตสงบ ข้อหนึ่งนั้นให้ผลคือความยอมรับในสภาพความเป็นจริง ทำให้เรามีกำลังใจมากขึ้น สามารถทนกับมันได้ ส่วนข้อสองนั้นทำให้เราสุขสงบไม่ฟุ้งซ่าน

    จากที่อ่านผมขอนำเสนอแนวทางการปฏิบัติว่า ขั้นแรกพอท่านหลับตาควรภาวนาด้วยคำบริกรรมบทใดบทหนึ่งก่อน อย่างพึ่งคิดอะไรจนมันสงบนิ่ง ทำตัวเสมือนเป็นผู้โดยสารรถ นั่งอย่างเดียวอย่าวอกแวก พอถึงตรงนี้ค่อยเปลี่ยนมาใช้ปัญญาจากความสงบพิจารณาตามแบบข้อหนึ่งที่คุณทำ จะได้ผลที่ถูกต้องและเห็นแจ้งกว่าโดยไม่ปรุงแต่ง ในที่สุดเมื่อจิตในส่วนลึกถูกขัดเกลาจนแข็งแกร่งเมื่อนั้นความทุกข์อันเป็นเปลือกก็จะหลุดออกไป และคุณจะพบว่ามันก็แค่เรื่องธรรมดา

    ความผิดหวังเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ใครที่ยังเป็นทุกข์เพราะมัน ก็ถือว่ายังไม่รู้จักโลก ของให้เจริญในธรรมครับ
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646

    ถูกทั้งคู่นะ.....ถ้าจะให้ถูกที่สุด......ต้องดูมันไป.....ว่าไอ่สิ่งที่เรียกว่าทุกข์.....คือไอ่ที่เราคิดว่าเราทุกข์นี่.....มันทุกข์ที่ใหน.....ใครทุกข์..จนถึงการเริ่มก่อตัวเกิดขึ้นของมันต่อมาจนถึงการการทรงอยู่และการดับไปของมัน.....

    โดยการเฝ้ามองแบบมีสติ...รู้แบบไม่ต้องไปปรุงแต่งต่อ....ในลำดับแรกการปรุงแต่งต่อ...จะทำให้จิตฟุ้งซ่าน......(ในลำดับแรกต้องทำอย่างนี้เพื่อให้รู้สถาวจิต)....จะมีบางคราวถ้าจิตมีสมาธิดีควรแก่การงานดีแล้วอารมณ์จะเข้าวิปัสสนาเองคือจะเห็นลักษณะพระไตรลักษณ์ชัดและก็พิจารณาต่อไป(ไม่ถือเป็นการฟุ้งซ่านแห่งจิต...เพราะจิตที่พิจารณาต่อฟุ้งซ่านกับพิจารณาตอนจิตที่มาจากสมาธิควรแก่การงานมันคนละสถาวะคนละตัวกันเลย).....

    หาวิธีใดวิธีหนึ่งที่เราถนัดก็ได้ครับ......เมื่อคุณปฏิบัติต่อไปไม่นานคุณจะรู้ว่าความทุกข์คือสิ่งที่จรเข้ามาในใจเราชั่วคราวเท่านั้น....ควบคุมเราไม่ได้......เมื่อนั้นคุณก็จะเข้าใจความเป็นจริง....และก็จะไม่ถูกความทุกข์เข้าครอบงำจิตใจคุณ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2010
  5. ไตรลักษณ

    ไตรลักษณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +29
    ขอบพระคุณทุกคำตอบครับด้วยความจริงใจครับ ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม ดังที่ท่านให้ธรรมเป็นทานกับกระผมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2010
  6. ไตรลักษณ

    ไตรลักษณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +29

    ขอบคุณครับจะระวัง ไม่ตำหนิจิตครับ ผมกลับไปลบข้อความเก่าแล้ว ขอถามเพิ่มเติมนะครับจากข้อความ
    "พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคล
    ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังอุเทศและวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี
    เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ"
    อุเทศ คืออะไร
    และวิภังค์ คืออะไรครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2010
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    จะดับทุกข์ ก็ต้องรู้จักเหตุแห่งทุกข์สิครับ

    ความปรุง เรื่องราวที่อยู่ในใจ แล้วเราเผลอเข้าไปอยู่ในภพนั้น ดึงตัวออกมาไม่ได้

    หันหน้าไปทางไหน มันก็สะดุ้ง ดังเหล็กทิ่มอยู่ตลอดเวลา

    ทางแก้ทั้งสองทางของคุณ ยังไม่ถูก เป็นเพียงการ พยายามดึงจิตมาสู่สมาธิ ทั้งๆ ที่มันทำไม่ได้ อุปมาว่า อยู่ท่ามกลาง สมรภูมิรบ แล้ว เรามานั่งทำใจ ปืนมากระสุนมา โดนเตะ โดนถีบ มันก็ทุกข์อยู่ดี

    อาการที่ตื่นมากลางดึก แสดงว่า จิตวนเวียนผูกพัน กับเรื่องเดิมๆ

    การที่เราไม่สามารถใช้ปัญญา ตัดขาดได้ทันที เพราะกระแสของจิตเรายังอ่อน ไม่มีกำลังเพียงพอ พระธรรมยังไม่เข้าสู่ใจ มากพอ เราจึงยังต้องอยู่กับกิเลส

    ตั้งใจฟังให้ดีๆ แล้วทำตาม

    การยิ่งแก้ เหมือนยิ่งผูก เพราะอะไร เพราะธรรมชาติของจิตนั้น เมื่อเจอตัณหาเมื่อใด ย่อมติดเมื่อนั้่น ดังนั้น หากแก้ก็ จะกลายเป็น วิภวตัณหา จิตย่อมติดกับเวทนาตัวนั้นแน่นอน

    เรื่องราวต่างๆ ภายนอก ทั้งเรื่องงาน เรื่องอะไรก็ตาม ยิ่งเราเห็นว่ามันเป็นปัญหา เราก็ยิ่งจะแก้ แล้วจิตก็ยิ่งถูก กิเลสตัณหาครอบงำ ยิ่งแก้ไม่ได้ ยิ่งมั่ว เราก็จะยิ่งแย่ลงไป

    เพราะมันจะทำให้ ความมั่นใจ ถดถอยลงไปเรื่อยๆ

    เราต้องหยุดให้เป็น คือ คอยเตือนตนเองเป็นระยะไม่ให้ ใจเราไหลไปสู่การขบคิดเรื่องเดิมๆ ค่อยๆ ถอนด้วยการ เอาความสนใจไปอยู่ที่เรื่องอื่นบ้าง

    บอกตนเอง ย้ำกับตนเองว่า การคิดแก้ปัญหาตอนนี้ หรือ ทั้งวัน มันไม่สามารถทำได้หรอก แต่ หากว่า เราสบายใจ อาจจะใช้เวลาสัก 3 นาที ก็คิดออกแล้ว
    หรือ บางทีจิตเบิกบาน ใช้เวลาทำงานเพียง 10 นาที

    หยุดพักสมองบ้าง ไม่ต้องไปคร่ำเคร่งกับการทำสมาธิ เพราะการทำสมาธิ ไม่ใช่ การเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่จะเปิดปุ๊บติดปั๊บ มันจะต้องอบรมบ่มนิสัย จนเป็น พละ อินทรีย์

    งานทั้งหลายทั้งปวง หากว่าเราทำไม่ได้ ก็ไม่มีใครมาฆ่าเราให้ถึงตาย
    เราจะยอมเครียดจนตาย ก็ตามสบาย ไม่มีใครว่่า เพราะเขาเรียกว่า โง่

    ค่อยๆ เจริญสติ หักห้ามใจ ไม่ให้วิ่งออกคิดเรื่องเดิมๆ เอาเท่านั้นก่อน แล้วใจจะค่อยๆผ่อนลง กลายเป็น สงบแทน แล้ว เราจะเริ่มสุขสบายเอง จากการที่ใจเราสงบตัวลง

    จากนั้นงานที่เคยมีปัญหาจะลุล่วงไปเอง ไม่ต้องคิดมาก ให้พระธรรมช่วย เราจะทำได้เอง
     
  8. soponpearsanit

    soponpearsanit สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +11
    มองดูทุกข์กำหนดรู้ทุกข์ก็เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    มองดูทุกข์กำหนดรู้ทุกข์ก็เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ทุกข์ทางใจก็เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน กำหนดไปด้วย รู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ หรือ ทุกข์หนอ ทุกข์หนอ ไปเรื่อยๆๆๆๆ จนกว่าจะหายไปเอง หายแน่ ครับ เพราะพระสอนว่า สุขทุกข์เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาครับ ลองดูครับ
    อ่านธรรมเพื่อความบันเทิงได้ที่นี่ครับ ถ่าว่างพอ
    โสภณ เปียสนิท - เส้นทางสู่การดำรงชีวิตอย่างมีค่า
     
  9. aossv

    aossv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +279
    ผมมีปัญหาเรื่อง การวางอารมณ์ ทำสมาธิ จิต ที่หนักเกินไป ครับ ทำอย่างไร ผมจะเข้าถึง รู้แบบเบาๆๆ สบายๆๆ ได้ครับ ขอคำแนะนำจากท่านผู้มีประสพการณ์จริง ผู้ได้เข้าถึงแล้ว ในการวางอารมณ์ สบายๆๆในการกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ออกหน่อยครับ เจ้าของกระทู้ลองไปอ่านดูครับ http://www.tangnipparn.com/Frameset-7.html มี ค 2547
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 พฤศจิกายน 2010
  10. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ลองพิจารณาทุกข์ไปเลยครับ อยู่กับความทุกข์ที่มีแล้วเห็นมันตามความเป็นจริง มีอะไรเอาออกมาให้หมดอย่าให้เหลือเพราะปกติเราชอบแกล้งทำเป็นลืมแล้วมันก็สะสมมาเรื่อยๆ ทำให้ใจมันไม่ผ่องใส ลองเผชิญกับมันเลยอย่าหนี เพราะถ้าเราหนีมันก็จะกัดกินเราไปเรื่อยๆ อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเราพิจารณาดูมันอยู่ มันจะทุกข์ได้ไม่นานครับ มันจะหายมันจะมีเวลาของมันอยู่ มันจะกลับมาแล้วหายสลับกันไปที่ต่างกันคือช่วงเวลาที่เราทุกข์จะหดสั้นลง ถ้าทำบ่อยๆ จะรู้สึกว่าหายเร็วมากแสดงว่าจัดการกับเรื่องเก่าๆ ได้เกือบหมดแล้ว
     
  11. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    วิีธีที่ 1 ผิดครับ
    ต้องไม่ดิ่งเข้าไปในกองทุกข์
    เพราะเป็นห้วงภวังค์ของกองทุกข์
    ก็จะหลงอยู่ในกองทุกข์นั้น
    วิธีที่ถูกต้องคือให้ตั้งสติ ดูความทุกข์นั้น
    ใด้ดูว่าึความทุกข์นี้มันจะเคลื่อนไปไหน
    เวทนาสุขทุกข์ เกิดขึ้นแล้วต้องดับ
    เมื่อตามรู้จนถึงเหตุของมัน ทุกข์นี้ต้องดับครับ

    อย่าเข้าไปจมอยู่ในกองทุกข์
    ให้มีสติจ่อดูเฉย ๆ....

    วิธีที่ 2 นี้ถูกต้องครับ
    ดับทุกข์ด้วยสมาธิ ถึงจะดับได้ชั่วคราวก็ยังดับครับ
    เมื่อเราไม่ปรุงสังขารความทุกข์ เพิ่มเติมเข้าไปให้พอกหนาขึ้น
    ความทุกข์นี้จะเบาบางไปจนหมดไปได้ครับ

    หากใช้ปัญญาสอดแทรกพิจารณาถอดถอนได้บางครั้งบางกาล
    ทุกข์นี้จะหมดไปได้เร็วขึ้น
    และจะถึงความจริงปล่อยวาง ได้เป็นเรื่อง เป็นเืรื่องไปครับ
     
  12. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    ขอเอาใจช่วยให้ผ่านไปให้ได้ครับ ถ้ากำลังสมถะยังกดไว้ได้เพียงชั่วคราว ออกจากอารมณ์สงบก็กลับมาทุกข์
    ทุกข์แม้จะเป็นสภาพที่ทนไม่ได้
    แต่ก็ไม่ยั่งยืน
    ทุกข์ สุข เป็นโลกธรรม ฝนตกก็ต้องมีหยุด
    เมื่อเราฝึกจิตใจให้มั่นคง แข็งแรง ด้วยกำลังสมาธิ มีสติ ใคร่ครวญ มุ่งในความดี ไม่ยอมแพ้ไปก่อนเวลาอันควร
    เมื่อสิ่งร้ายๆ บรรเทาไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะได้เก็บเกี่ยวสิ่งดีๆที่จะตามมาภายหลัง
     
  13. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ...ตามที่ทำแล้วได้ผล(ไม่รับรองว่าจะได้ผลทุกคน)...
    ขณะเมื่อทุกข์ใจมากๆ คือขณะคิด ก็เลยคิดสะกิดใจว่า ..อีกในไม่ช้าเดี๋ยวก็ตาย มันจะอะไรนักหนา...ใจมันเริ่มเห็นด้วย(ตั้งสติได้) ก็เกิดความคิดต่อว่า ..อะไรที่ยังทำไม่ได้ มันย่อมยังทำไม่ได้ตอนนี้ ฉะนั้นทำในสิ่งที่ทำได้ตอนนี้ ได้เท่าไร เอาเท่านั้น ตายเมื่อไรเลิก...

    ...ทุกทีที่ทุกข์ใจ ใช้ทีไร พอบรรเทาให้เบาใจลงทุกที...พอเป็นตัวอย่าง(ช่องทางของเรา ย่อมเฉพาะของเรา..จึงโปร่ง)
     
  14. ซีดีธรรมะ

    ซีดีธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +821
    [​IMG]


    ซีดีภาวนา นวัตกรรมใหม่ ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม พัฒนาสมาธิ และการเจริญสติ

    อุปกรณช่วยพัฒนาตัวรู้...

    ซีดีรุ่นนี้ไม่ได้มีไว้เก็บสะสม ไม่ได้มีไว้ฟัง และไม่ได้มีไว้ Burn
    แต่มีไว้ให้ท่านใช้พัฒนาจิต ฝึกสมาธิ เจริญปัญญา

    เมื่อฟ้าดินเปิดทาง... ครูบาอาจารย์เมตตา จึงกำเนิดซีดีธรรมะรูปแบบใหม่
    ที่จะนำท่านก้าวสู่การพัฒนาจิต เจริญภาวนา ... อย่างไม่ยาก แต่ต้องมีความเพียร

    ดังนั้นขอขนานนามเป็นศัพท์เฉพาะว่า... ซีดีภาวนา

    ซีดีภาวนา จัดทำเพื่อช่วยเหลือ และส่งเสริม ผูุ้ที่สนใจการปฏิบัติธรรม รวมถึงผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมแล้วแต่ยังไม่พบความก้าวหน้า

    ซีดีภาวนา ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ช่วยในการฝึกสมาธิอย่างเป็นสัมมาสมาธิ ( ไม่เพ่ง ) และก็ยังช่วยส่งเสริมการฝึกเจริญสติ

    การฝึกกับซีดีภาวนา = การทำในรูปแบบ , การฝึกสมาธิ , การฝึกเจริญสติรู้กาย ( กระแสคลื่นพลังงานภายในกาย )

    สิ่งสำคัญในซีดีภาวนา คือ พลังงานที่บรรจุภายในแผ่น , พลังงานที่ถูกโปรแกรมไว้แบบสำเร็จรูปให้ช่วยส่งเสริมการฝึกจิต ( ในแผ่นซีดีภาวนามีพลังปราณธรรมชาติ )

    วิธีการฝึกด้วยซีดีภาวนา สำหรับท่านที่ยังไม่สามารถรับรู้ได้ถึงพลังงานที่อยู่ในแผ่นซีดี
    ควรหมั่นใช้มือสัมผัสแผ่นซีดีไว้บ่อยๆๆๆ ก็จะช่วยทำให้รับรู้ได้ไวขึ้น ถึงแม้ยังรับรู้พลังงานในแผ่นยังไม่ได้ก็ตาม เพราะในแผ่นซีดีถูกโปรแกรมให้ช่วยปล่อยพลังสมาธิคลื่นสีขาว ( พลังปราณธรรมชาติ ) เข้าสู้ร่างกายต่อเนื่องตลอดเวลาเป็นอัตโนมัต เวลาที่นั่งสมาธิในรูปแบบ ก็ให้วางไว้ให้สัมผัสกับฝ่ามือ แม้จะยังไม่รู้สึกถึงคลื่นพลังก็ตาม ... ฝึกทำไปเรื่อยๆ เดียวจิตจะเกิดการพัฒนา และรับรู้ได้เอ

    การรับรู้พลังงานในแผ่นซีดี ไม่ว่าจะรู้สึกอย่างไร ก็ให้รู้ไปตามนั้น อาจจะร้อน เย็น ซ่าๆ สบายๆ อุ่นๆ สว่างๆ เบาๆ เนียนๆ ... รู้สึกได้อย่างไร ก็แค่ดู แค่รู้พอ

    หลังจากการฝึกกับซีดีภาวนาแล้ว ... ก็ต้องมาเจริญสติในชีวิตประจำวันต่อเนื่องต่อไป ก็คือการทำความรู้สึกตัว รู้กาย รู้ใจ ดูกาย ดูจิต ตามคำสอนครูบาอาจารย์

    สิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างครับคือ ท้อได้ แต่ต้องไม่ถอย และจะก้าวหน้าได้คือ ต้องปฏิบัติให้ถูกวิธี และมีความเพียรต่อเนื่อง

    รับรองครับ ถ้าคุณตั้งใจ ให้เวลากับการฝึก ... ซีดีภาวนาจะพาคุณก้าวเดินไปสู่เส้นทางแห่งนักภาวนา คุณจะเริ่มนับ 1 - 2 - 3 ไปเรื่อยๆ แน่นอนครับ


    ความรู้เกี่ยวกับการพลังปราณ
    ความรู้เกี่ยวกับการพลังปราณ

    ความรู้และวิธีการฝึก
    การฝึกด้วยองค์พระสมเด็จโต และซีดีภาวนา

    ขอรับซีดีภาวนาได้ฟรีๆจางลิงค์นี้ครับ
    http://palungjit.org/threads/ซีดีภาวนา-นวตกรรมใหม่-ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม.252173/

    ซีดีภาวนาสามารถจัดทำน้ำพลังปราณดื่มได้ ดูแลสุขภาพ และเสริมการฝึกจิต
    ดื่มน้ำพลังปราณธรรมชาติ เพื่อดูแลสุขภาพกาย และช่วยเสริมการฝึกจิต

    ฝึกสมาธิกับแผ่นซีดีภาวนา ไม่หลงทาง ทำฌานได้ ต่อยอดเจริญสติได้
     
  15. ซีดีธรรมะ

    ซีดีธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +821
    [​IMG]


    ซีดีภาวนา นวัตกรรมใหม่ ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม พัฒนาสมาธิ และการเจริญสติ

    ซีดีรุ่นนี้ไม่ได้มีไว้เก็บสะสม ไม่ได้มีไว้ฟัง และไม่ได้มีไว้ Burn
    แต่มีไว้ให้ท่านใช้พัฒนาจิต ฝึกสมาธิ เจริญปัญญา

    เมื่อฟ้าดินเปิดทาง... ครูบาอาจารย์เมตตา จึงกำเนิดซีดีธรรมะรูปแบบใหม่
    ที่จะนำท่านก้าวสู่การพัฒนาจิต เจริญภาวนา ... อย่างไม่ยาก แต่ต้องมีความเพียร

    ดังนั้นขอขนานนามเป็นศัพท์เฉพาะว่า... ซีดีภาวนา

    ซีดีภาวนา จัดทำเพื่อช่วยเหลือ และส่งเสริม ผูุ้ที่สนใจการปฏิบัติธรรม รวมถึงผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมแล้วแต่ยังไม่พบความก้าวหน้า

    ซีดีภาวนา ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ช่วยในการฝึกสมาธิอย่างเป็นสัมมาสมาธิ ( ไม่เพ่ง ) และก็ยังช่วยส่งเสริมการฝึกเจริญสติ

    การฝึกกับซีดีภาวนา = การทำในรูปแบบ , การฝึกสมาธิ , การฝึกเจริญสติรู้กาย ( กระแสคลื่นพลังงานภายในกาย )

    สิ่งสำคัญในซีดีภาวนา คือ พลังงานที่บรรจุภายในแผ่น , พลังงานที่ถูกโปรแกรมไว้แบบสำเร็จรูปให้ช่วยส่งเสริมการฝึกจิต ( ในแผ่นซีดีภาวนามีพลังปราณธรรมชาติ )

    วิธีการฝึกด้วยซีดีภาวนา สำหรับท่านที่ยังไม่สามารถรับรู้ได้ถึงพลังงานที่อยู่ในแผ่นซีดี
    ควรหมั่นใช้มือสัมผัสแผ่นซีดีไว้บ่อยๆๆๆ ก็จะช่วยทำให้รับรู้ได้ไวขึ้น ถึงแม้ยังรับรู้พลังงานในแผ่นยังไม่ได้ก็ตาม เพราะในแผ่นซีดีถูกโปรแกรมให้ช่วยปล่อยพลังสมาธิคลื่นสีขาว ( พลังปราณธรรมชาติ ) เข้าสู้ร่างกายต่อเนื่องตลอดเวลาเป็นอัตโนมัต เวลาที่นั่งสมาธิในรูปแบบ ก็ให้วางไว้ให้สัมผัสกับฝ่ามือ แม้จะยังไม่รู้สึกถึงคลื่นพลังก็ตาม ... ฝึกทำไปเรื่อยๆ เดียวจิตจะเกิดการพัฒนา และรับรู้ได้เอ

    การรับรู้พลังงานในแผ่นซีดี ไม่ว่าจะรู้สึกอย่างไร ก็ให้รู้ไปตามนั้น อาจจะร้อน เย็น ซ่าๆ สบายๆ อุ่นๆ สว่างๆ เบาๆ เนียนๆ ... รู้สึกได้อย่างไร ก็แค่ดู แค่รู้พอ

    หลังจากการฝึกกับซีดีภาวนาแล้ว ... ก็ต้องมาเจริญสติในชีวิตประจำวันต่อเนื่องต่อไป ก็คือการทำความรู้สึกตัว รู้กาย รู้ใจ ดูกาย ดูจิต ตามคำสอนครูบาอาจารย์

    สิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างครับคือ ท้อได้ แต่ต้องไม่ถอย และจะก้าวหน้าได้คือ ต้องปฏิบัติให้ถูกวิธี และมีความเพียรต่อเนื่อง

    รับรองครับ ถ้าคุณตั้งใจ ให้เวลากับการฝึก ... ซีดีภาวนาจะพาคุณก้าวเดินไปสู่เส้นทางแห่งนักภาวนา คุณจะเริ่มนับ 1 - 2 - 3 ไปเรื่อยๆ แน่นอนครับ


    ความรู้เกี่ยวกับการพลังปราณ
    http://www.luangputo.com/forum/index.php?topic=81.0

    ความรู้และวิธีการฝึก
    http://www.luangputo.com/forum/index.php?board=6.0

    ขอรับซีดีภาวนาได้ฟรีๆจางลิงค์นี้ครับ
    http://palungjit.org/threads/ซีดีภาวนา-นวตกรรมใหม่-ส่งเสริมการปฏิบัติธรรม.252173/

    ซีดีภาวนาสามารถจัดทำน้ำพลังปราณดื่มได้ ดูแลสุขภาพ และเสริมการฝึกจิต
    http://www.luangputo.com/forum/index.php?topic=44.0

    ฝึกสมาธิกับแผ่นซีดีภาวนา ไม่หลงทาง ทำฌานได้ ต่อยอดเจริญสติได้
    http://www.luangputo.com/Menu04/Mainmenu.htm



    ขอบคุณที่สนใจครับ
    เอกณัฏฐ์
     
  16. misty

    misty Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +57
    หรือจะลองใช้อุบายว่า ตอนนี้ต้องรีบทำความเพียรนะ จะตายวินาทีไหนก็ไม่รู้นะ ไม่กลัวตายทิ้งเปล่าๆเหรอ กลับมาเวียนว่ายตายเกิด ก็จะเป็นทุกข์ยังงี้อีกนะ..จิตจะเลิกคิดฟุ้งซ่านเรื่องทุกข์หรือฟุ้งก็ฟุ้งน้อยลง ...เพราะต้องเร่งปฏิบัติ
    (อาจจะใช้ได้เฉพาะตัวเหมือนกันอีกน่ะค่ะ แต่ก็อยากช่วยหาวิธีแก้ ตามปัญญาของหนูตัวน้อยนิด)
    .....ชอบวิธีของคุณพลรัฐจังค่ะ
     
  17. ไตรลักษณ

    ไตรลักษณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +29
    ขอบคุณทุกท่านที่ตอบด้วยความบริสุทธิ์ใจครับ ขอให้ทุกท่านพบแต่สัมมาทิฏฐิ ไม่หลงเดินผิดทิศผิดทาง แต่ละก้าวย่างเข้าใกล้พระธรรมมากขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...