มหาสติปัฏฐานสี่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 26 ตุลาคม 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <center>ตอนที่ ๑</center> เมื่อครั้งที่มีการทำปฐมสังคายนากันครั้งแรกมีพระมหากัสสปเป็นประธาน แล้วก็มีพระอานนท์เป็นผู้ว่าการฝ่ายพระสูตรและพระอภิธรรม พระอานนท์ท่านได้กล่าวไว้ว่า
    ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าอานนท์ ได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ กล่าวคือ ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของชาวกุรุ ซึ่งมีชื่อว่ากัมมาสกัมมะนิคม ในแคว้นกุรุ ในที่นั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตักเตือนภิกษุทั้งหลายให้ตั้งใจฟังพระ ธรรมเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แล้วภิกษุทั้งหลายนั้นทูลรับคำว่า พระเจ้าข้า่ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้โปรดประทานพระธรรมเทศนาแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เป็นทางให้เกิดความบริสุทธิ์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นทางระงับเสียซึ่งความเศร้าโศกและเสียใจ และความพิไรรำพัน เป็นทางให้เข้าถึงซึ่งความสิ้นทุกข์และโทมนัส เป็นทางให้ได้ซึ่งอรรถธรรมและความรู้ เป็นทางให้สำเร็จซึ่งพระนิิพพาน ทางเอกนี้คือ สติปัฏฐานสติ ปัฏฐาน ๔ คืออะไรบ้าง คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย พิจารณาเห็นจิตในจิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ภิกษุในธรรมวินัยนี้ต้องเป็นผู้มีความเพียร เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ จึงจะกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้”
    สติปัฏฐาน ๔ นี้มีอะไรบ้าง



    1. [*] ให้พิจารณากายในกาย
      [*] พิจารณาเวทนาในเวทนา
      [*] พิจารณาจิตในจิต
      [*] พิจารณาธรรมในธรรม
    "พิจารณาเห็นกายในกายนั้น คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไปอยู่ในป่าหรือว่า อยู่ที่โคนต้นไม้ หรือไปอยู่ที่ว่างบ้านเรือน แล้วก็นั่งตั้งกายให้ตรง ดำรงสติอันเป็นเครื่องกำหนดไว้ ภิกษุนั้นหายใจออกก็มีสติ หายใจเข้าก็มีสติ เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่าหายใจยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น จะกำหนดกองลมทั้งปวง แล้วจึงหายใจออก เราจะกำหนดกองลมทั้งปวงแล้วจึงจะหายใจเข้า เราจะระงับกองลมแล้วจึงจะหายใจออก เราจะระงับกองลมแล้วจึงจะหายใจเข้า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ช่างกลึงผู้ฉลาดหรือว่าลูกมือช่างกลึง เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ว่าชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสัน ก็รู้ว่าเราชักเชือกกลึงสั้น ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าเราหายใจออกยาว หายใจเข้ายาวก็รู้ว่าเราหายใจเข้ายาว หายใจออกสั้นก็รู้ว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ว่าเราหายใจเข้าสั้น ภิกษุนั้นย่อมศึกษาว่า เราจะกำนหดรู้กองลมทั้งปวงแล้วจึงจะหายใจออก เราจะกำหนดรู้กองลมทั้งปวงแล้วจึงจะหายใจเข้า เราจะระงับกองลมแล้วจึงจะหายใจออก จะระงับกองลมแล้วจึงหายใจเข้า"
    การพิจารณากายในกาย ในขั้นแรก ท่านถือเอากองลมเป็นสำคัญ อันนี้เขาเรียกว่า อานาปานบรรพ หรือว่า อานาปานสติกรรมฐาน ซึ่ง มีความสำคัญมาก สามารถทรงฌาน ๔ ได้แล้ว ถ้าเจริญตามแบบนี้ ท่านจะมีความสุขแบบสุขวิปัสสโก และมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ จะดัดแปลงขึ้นไปสู่วิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณก็ทำได้
    อานาปานาสติกรรมฐานตอนต้น ว่าเมื่อเราหายใจเข้าก็มีสติ หายใจออกก็มีสติ สตินีี่่แปลว่านึกได้รู้อยู่ คำว่ามีสตินี่ ตัวนึกเข้าไว้ ตัวไม่ลืม หมายถึง จงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเอาไว้ เวลาจะหายใจเข้าก็ตาม เวลาจะหายใจออกก็ตาม ต้องรู้เข้าไว้ รู้ลมเข้าไว้ เวลาลมเข้าให้รู็ว่าลมเข้า ลมออกก็ให้รู้ว่าลมออก เดินไปก็ในรู้ว่าลมเข้าลมออก นั่งอยู่รู้ลมเข้าลมออก นอนอยู่รู้ลมเข้าลมออก ยืนอยู่รู้ลมเข้าลมออก ทำได้ตลอดทุกอิริยาบท ทำอย่างนี้ให้ชินจนกระทั่งจิตไม่ต้องระวังเรื่องลมเข้าลมออก รู้ได้เป็นปกติ อย่าไปดัดแปลงลมหายใจ ร่างกายมันต้องการหายใจสั้นหรือยาวปล่อยมัน หายใจแรงหรือหายใจเบาเปล่อยมัน ไม่ต้องฝืน
    จำไว้ว่าท่านจะเจริญมหาสติปฏิฐานสูตรในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในบทว่าอานาปานาบรรพเราจะรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกอยู่เสมอ จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน จะอาบน้ำ จะดูหนังสือ จะเดินไปไหน ทำงานอย่างใดก็ตาม รู้ลมเข้ารู้ลมออก

    <center>ตอนที่ ๒</center> ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายเธอจงเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า จงรู้ว่าเป็นผู้หายใจเข้า เมื่อหายใจออกก็จงรู้ว่าเป็นผู้หายใจออก" หมาย ความว่า การรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนี่เราไม่ต้องระวังกัน ไม่ต้องตั้งท่า ไม่ต้องหาเวลา เป็นเวลาใดก็ตาม เวลาที่กินข้าวอยู่ก็ดี หรือว่าทำการงานก็ดี เวลาพูดคุยกับเพื่อนฝูงก็ดี เดินไปก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ทุกอิริยาบทเราสามารถรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกได้อย่างสบาย อย่างนี้เรียกว่าเข้าถึงอานาปานาสติ มหาสติปัฏฐานสูตรข้อนี้แล้ว
    เรื่องของพระกรรมฐานกับนิมิตเป็นของธรรมดา นิมิตของอานาปานาสติกรรมฐานก็มี เช่น สีเขียว สีแดง สีสว่างคล้าย ๆ แสงไฟฉาย หรือเหมือนแสงฟ้าแลบ การที่จะได้บุญ อยู่ตรงที่จิตเป็นสมาธิ ตัวบุญอยู่ที่จิตเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ตั้งมั่น ไม่ใช่อยู่ที่องค์ภาวนาอย่างเดียว การภาวนาด้วย ก็เพื่อจะใช้อารมณ์ยึด คือ สติ ให้รู้อยู่ว่าเรากำหนดลมหายใจเข้าออก หรือว่าเราภาวนาว่ายังไง แล้วก็ควบคุมอารมณ์อยู่เฉพาะอย่างนั้นอย่างเดียวให้เป็นเอกัคคตารมณ์ คำว่า เอกัคคตารมณ์ แปลว่า เป็นหนึ่ง ตัวบุญใหญ่คือ การทรงสมาธิจิต ถ้าสมาธิทรงได้สูงมากเพียงใด นิวรณ์ที่จะมากั้นความดีคืออารมณ์ของความชั่ว คำว่านิวรณ์ได้แก่ อารมณ์ของความชั่ว ถ้าขณะใดจิตทรงสมาธิที่เรียกกันว่าเป็นฌาน คำว่าฌานนี้ แปลว่า การเพ่ง การทรงอยู่ของจิต จิตเพ่งอยู่เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อันนี้เราเรียกกันว่า ฌาน
    เมื่อเรามีสติสามารถจะรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ที่กระทบเข้าและกระทบออกที่จมูกได้ เข้าก็รู้ออกก็รู้ จิตก็จะเริ่มเป็นสมาธิ สมาธิขั้นต้นเรียกว่า ขณิกสมาธิ แปลว่า สมาธิเล็กน้อย เมื่อขณิกสมาธิละเอียดขึ้น จิตก็จะเข้าสู่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์ของที่เป็นทิพย์จะปรากฎ จิตเป็นทิพย์ คือ จิตย่อมว่าจากกิเลส จิตว่างจากนิวรณ์ทั้ง ๕ เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์ ๕ ประการแล้ว จิตก็สามารถจะเป็นทิพย์ แต่จะเป็นมากหรือเป็นน้อยขึ้นอยู่กับสมาธิจิต จะเห็นแสง เห็นภาพ แต่ภาพที่ปรากฎก็ดี แสงสีที่ปรากฎก็ดี จงอย่าเอาจิตเข้าไปเกาะ เพียงกำหนดว่า ถ้าหากว่าเราเห็นนานหรือเร็ว จงรู้ตัวว่า นี่จิตของเราเป็นทิพย์ เข้าสู่อุปจารสมาธิ




    <center>ตอนที่ ๓</center> ในการปฏิบัติทำได้ในทุกอิริยาบททั้ง ๔ คือ นั่ง ยืน เดิน นอน เวลาหายใจเข้ายาวหรือสั้นก็รู้ หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้ หายใจเบาหรือหายใจแรงก็รู้ เรียกว่า เพิ่มสติให้มากกว่าเดิมอีกนิด ถ้าทำได้แล้วเป็นอุปจารสมาธิและปฐมฌานด้วย เมื่อสมาธิเริ่มมากขึ้น อารมณ์เริ่มละเอียดขึ้น อุปจารณสมาธิ มีปิติให้ปรากฎ มีความชุ่มชื่น มีขนพองสยองเกล้า มีน้ำตาไหล มีร่างกายโยกโคลง มีความอิ่มเิอิบใจ มีความปลาบปลื้มใจ ส่วนอาการของปฐมฌาน คือ อารมณ์ที่ไม่ข้องกับนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ คือ


    1. [*] ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ รสอร่อย กลิ่นหอม สัมผัสนิ่มนวลไม่มี อารมณ์นิ่ง พอใจในการภาวนาหรือพอใจในการกำหนดลมหายใจเข้าออก
      [*] ความโกรธความพยาบาทไม่ปรากฎ
      [*] ความง่วงเหงาหาวนอนไม่ปรากฎ
      [*] อารมณ์ภายนอก นอกจากากรกำหนดลมหายใจเข้าออกไม่ปรากฎ
      [*] ทรงอารมณ์หายใจเข้าออกไว้ หูได้ยินเสียงทุกอย่าง แต่จิตไม่สอดส่ายไปตามนั้น คงรักษาลมหายใจเข้าออกไว้ได้อย่างสบาย ๆ ไม่เกิดความรำคาญ

    อาการอย่างนี้คือ อาการของปฐมฌาน อานาปานุสสติเป็นกรรมฐานใหญ่ สามารถทรงได้ถึงฌาน ๔ ถ้าทรงได้ถึงฌาน ๔ แล้ว สามารถจะทรงวิชชาสามและอภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณด้วย หลักสูตรของวิชชาสาม เป็นหลักสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง เพราะสามารถพิสูจน์คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ ที่บอกว่า สวรรค์มีจริง นรกมีจริง ตายแล้วไปเกิดที่ไหน เกิดมาจากไหน
    ก่อนที่จะรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก เราจะกำหนดกองลมเสียก่อน คำว่า กำหนดกองลม คือตั้งใจไว้ว่าเราจะหายใจเข้า ว่านี่เราจะหายใจเข้า แล้วหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้ไว้ แต่เราไม่ต้องไปกำหนดตอนหายใจ ว่าหายใจเข้าสั้นหรือยาว ไม่ต้องไปกำหนดกองลม จากนั้นเราก็ทำสติให้ละเอียดเข้าไปอีก การรู้ว่าหายใจเข้าหรือออก ยาวหรือสั้น กำหนดรู้ได้ สามารถทรงอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ คือไม่ปล่อยให้อารมณ์อื่นเข้ามายุ่ง กำหนดได้อย่างนี้ ครั้งละ ๒-๓ นาที หรือ ๕ นาทีก็ตาม แสดงว่าอารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๒ และฌานที่ ๓ ซึ่งตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นไป คำภาวนาจะหยุดไปเอง ลมหายใจเข้าออกยังรู้อยู่แต่ว่าเบาลงไป
    สำหรับฌานที่ ๒ รู้สึกว่าลมหายใจเข้าออกเบาลงไป มีจิตชุ่มชื่น มีความเยือกเย็น มีความสบายมากขึ้น หูยังได้ยินเสียง แต่รู้สึกว่าเบากว่าปกตินิดหนึ่ง
    สำหรับฌานที่ ๓ จะ รู้สึกว่าทางกายมันเครียด เหมือนมีอาการเกร็งตัว มีอาการตึงเป๋ง ลมหายใจรู้สึกว่าน้อยลง เสียงที่ได้ยินเบาเข้า ถึงแม้จะเป็นเสียงที่ใครพูดแรง ๆ ก็รู้สึกว่าเบาลงมาก
    ถ้าเมื่อกำหนดกองลมว่า ต่อไปเราจะหายใจเข้าแล้วเราก็หายใจเข้า เวลาหายใจเข้าสั้นหรือยาวเราก็รู้ เวลาจะหายใจออกก็นึกในใจว่านี่เราจะหายใจออก ไม่ต้องไปอั้นไว้ ปล่อยไปตามปกติ รู้ก่อนที่มันจะเข้า มันจะออกนิดหน่อย เรียกว่า กำหนดกองลมก่อนจะหายใจเข้าหรือหายออก ซึ่งเป็นอันดับที่สามของอานาปานาสติในกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน
    ต่อมาอันดับที่ ๔ เป็นอาการของฌาน ๔ จะไม่กำหนดรู้ลม คือปล่อยกองลมเสียมันจะหายใจเข้าหรือหายใจออกก็ตาม เราจะไม่ยอมรู้ เพราะว่าจิตละเอียดขึ้น จนกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีลมหายใจ จะเกิดความรู้สึกเหมือนไม่หายใจ แต่อารมณ์จิตภายในมีความโพลง มีความสว่าง มีการทรงตัวมาก มีอารมณ์เป็นเอกกัคคตารมณ์ เป็นหนึ่ง เป็นอุเบกขา วางเฉยต่ออารมณ์ทั้งปวง มีความชุ่มชื่น มีความสุขสบายที่สุด ไม่รู้สึกในการสัมผัสภายนอก เมื่อเข้าถึงฌาน ๔ จงรักษาไว้ หมั่นทำไว้เสมอให้จิตคล่อง จะสามารถนั่งยืนเมื่อไร เข้าฌาน ๔ ได้ทันที แล้วสามารถจะกำหนดเวลาออกได้ด้วย อานาปานสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ระงับสังขารมีคุณประโยชน์มาก เวลาป่วยไข้ไม่สบายมีทุกขเวทนา ถ้ากำหนดลมหายใจเข้าออกจนจิตเป็นฌาน อาการปวดเมื่อยทั้งหลายเหล่านั้น มันจะสลายตัวไป ท่านที่ได้อานาปานสติกรรมฐานจนคล่อง สามารถจะกำหนดเวลาตายได้
    พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "การกำหนดลมหายใจเข้าออกนี้ เรากำหนดเพื่อรู้ความเกิดขึ้น ความเสื่อมไปหรือการสลายตัว ว่าร่างกายเรานี้ที่ชื่อว่าร่างกายของเรา เมื่อมันเกิดขึ้นมันก็เสื่อมไป แล้วมันก็สลายตัว เราจะไม่ยึดถืออะไรทั้งหมดในร่างกายนี้" ตอนนี้เป็นวิปัสสนาญาณ
    <center>ตอนที่ ๔</center> พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ถ้ามีบารมีแก่กล้า หมายถึงมีกำลังใจสูง มีการระมัดระวังการปฏิบัติเป็นปกติไม่ขาดวรรคขาดตอน เรียกว่า วันทั้งวัน มีอารมณ์ครุ่นคิดอยู่ในมาหสติปัฏฐานสูตรทั้งสี่นี้ ท่านกล่าวว่า ท่านผู้นั้นบำเพ็ญบารมีเพียงแค่ไม่เกิน ๗ วัน จะเข้าถึงอรหัตตผล ถึงพระนิพพาน ถ้าหากว่ามีอารมณ์ย่อหย่อนไปนิดหนึ่งก็ไม่เกิน ๗ เดือน ถ้าหย่อนไปอีกก็เรียกว่า ไม่เกิน ๗ ปี
    การดัดแปลงอารมณ์ของมหาสติปัฏฐานสูตร ความจริงมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในขั้นสุขวิปัสสโก การบรรลุมี ๔ สายด้วยกัน คือ สุขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต



    1. [*] สุขวิปัสสโก บรรลุแล้วไม่เห็นผี ไม่เห็นสวรรค์ ไม่เห็นนรก มีแต่จิตสบาย กิเลสแห้งเหือดไป
      [*] เตวิชโช มีทิพย์จักขญาณ สามารถรู้สัตว์และคนที่ตายไปแล้ว ไปเกิดที่ไหน คนและสัตว์ที่มาเกิดนี้มาจากไหน แล้วมีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติของตนเองได้
      [*] ฉฬภิญโญ ก็ทรอภิญญา หมายความีฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ไม่จำกัด
      [*] ปฏิสัมภิทัปปัตโต มีความรู้พิเศษ ทรงพระไตรปิฎก รู้ภาษาสัตว์ต่าง ๆ ภาษาคนภาษาสัตว์ไม่ต้องเรียน รู้ แล้วก็รู้อธิบายขยายความให้กว้างก็ได้ หรือเนื้อความที่กว้างก็ย่อลงให้สั้นให้เข้าใจได้ดีก็ได้

    คนที่ชอบสงัดก็ศึกษาด้านสุขวิปัสสโก คนที่อยากรู้นั่นรู้นี่ อยากเห็นผี เห็นเทวดา ก็ศึกษาเตวิชโช เรียนวิชชาสาม ส่วนคนที่ชอบฤทธิ์ อยากแสดงฤทธิ์ ก็ต้องศึกษาฉฬภิญโญ
    พื้นฐานของวิชชาสาม จะต้องกำจัดอุปกิเลสทิ้งเสีย อุปกิเลส คือการเข้าถึงความเศร้าหมองจองจิต คือการไม่ไปยุ่งกับเรื่องของชาวบ้านเขา ไม่อวดดีอวดเ่ด่น
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับนิโครธปริฺพฺพาชกว่า "นิโครธปริพพาชก อันนี้บริสุทธิ์บริบูรณ์หรือยัง เป็นสาระเป็นแก่นสารไหม การไม่ไปยุ่งกับเรื่องของชาวบ้านนี่ ใครจะด่าจะว่านินทายังไงก็ช่างเขา มันเป็นเรื่องของเขา เราไม่อวดดีอวดเด่นกับเขา ไม่เห็นว่าเขาเลวกว่า เขาเสมอเราหรือเขาดีกว่า ไม่โอ้อวดในข้อวัตรปฏิบัติที่ตนทำแล้ว ไม่เอาไปข่มขู่ชาวบ้าน ข้อนี้บริสุทธิ์เป็นแก่นสารหรือยัง"
    นิโคธปริพพาชกตอบว่า "ข้อนี้เป็นสาระเป็นแก่นสารบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแล้วพระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนนิโครธ แค่นี้ยังไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ แค่นี้เป็นสะเก็ดของพระพุทธศาสนาเท่านั้น"
    นิโครธปริพพาชกถามต่อว่า "ยังไงจึงจะบริสุทธิ์บริบูรณ์ เป็นสาระแก่นสารล่ะพระเจ้าค่ะ"
    พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า "นิโครธะ คนที่จะบริสุทธิ์บริบูรณ์ก็ต้องปฏิบัติในยามสี่ ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลฆ่าสัตว์ และไม่ยินดีเมื่อเขาฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นลัก และไม่ยินดีเมื่อเขาลักมาแล้ว ไม่ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นประพฤติผิดในกาม และไม่ยินดีเมื่อเขาประพฤติผิดในกามแล้ว ไม่กล่าววาจามุสาวาทด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นกล่าววาจมุสาวาท และไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นกล่าวมุสาวาทแล้ว จากนั้นพยายามระงับนิวรณ์ ๕ ประการจากจิตเสีย คือ ไม่ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ไม่พยาบาท ไม่ง่วงเหงาหาวนอนในเวลาที่ปฏิบัติความดี ไม่ทำจิตฟุ้งซ่านยึดถืออารมณ์ภายนอก ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า และก็แผ่เมตตาไปในทิศทั้ง ๔ คือทรงพรหมวิหาร ๔ คิดว่าบุคคลและสัตว์ทั้งหมดเป็นมิตรกับเรา เราไม่เป็นศัตรูกับใคร แล้วก็ทำใจให้สบาย นิโครธะ นี่บริสุทธิ์บริบูรณ์หรือยัง"
    "บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว พระเจ้าข้า"
    "นิโครธะ นี่ยังไม่บริสุทธิ์ไม่บริบูรณ์ นี่แค่เปลือของความดีในพระศาสนาเท่านั้น"
    "ทำยังไงจะเข้าถึงแก่นล่ะ พระเจ้าข้า"
    "เมื่อทำอย่างนี้แล้ว จำทำปุพเพนิวาสานุสติญาณให้ปรากฎ คือระลึกชาติหนหลังได้"
    "แค่นี้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้วหรือยัง พระเจ้าข้า"
    "แค่นี้เพียงกระพี้ของความดีเท่านั้น"
    "ถ้าจะให้เข้าถึงจุดของความดีจริง ๆ เป็นสาระแก่นสาร ก็ต้องทำทิพยจักขุญาณ คือสามารถรู้ว่าสัตว์ที่เกิดแล้ว เกิดมานี่ตายแล้วไปไหน เป็นอะไร สัตว์และคนที่เกิดมาในโลกนี้มาจากไหน ชาติก่อนเขาเป็นอะไรมา อย่างนี้แหละที่เรียกว่าถึงแก่นถึงสาระ"
    การเจริญพระกรรมฐานเอาดี จะเป็นด้านสุขวิปัสสโกก็ดี เตวิชโชก็ดี ฉฬภิญโญก็ดี ปฏิสัมภิทัปปัตโตก็ดี ต้องวางภาคพื้นไว้ก่อนสำหรับภาคพื้นในด้านวิชชาสาม พื้นของวิชชาสามนี้ใช้ได้ทั้งอภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทาญาณ หรือแม้คนที่เจริญสุขวิปัสสโกก็ใช้ได้ แต่ต้องตัดปุพเพนิวาสานุสติญาณออก แล้วก็ตัดทิพยจุกขุญาณออก ก็เป็นสุขวิปัสสโก สำหรับท่านที่เจริญวิชชาสามก็ต้องเจริญปุพเพนิวาสนุสติญาณ และทิพยจักขุญาณด้วย ส่วนในด้านอภิญญา ๖ ก็ต้องเจริญกสิณทั้ง ๑๐ ประการ และหัดเข้าฌานตามลำดับญาณและลำดับกสิณ สลับฌานสลับกสิณให้คล่อง หากว่าท่านจะเข้าถึงปฏิสัมภิทาญาณ ก็เอากสิณเป็นภาคพื้น แล้วก็เจริญอรูปฌานให้ได้ อรูปฌาน ๔ ทรงอยู่ในฌาน ๔ เหมือนกันเท่านี้ ต่อไปก็เป็นปฏิสัมภิทาญาณ

    <center>ตอนที่ ๕</center> ขั้นแรก ต้องวางพื้นใหญ่คือ อานาปานสติกรรมฐาน ประการที่สอง จิตอย่าไปยุ่งกับเรื่องของชาวบ้าน ประการที่สาม รักษาศีล ๓ ชั้น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่กล่าววาจามุสาวาท ไม่ดื่มสุราเมรัยด้วยตนเอง และไม่ยุยงให้ชาวบ้านเขา่ทำ ไม่ยินดีเมื่อชาวบ้านเขาทำแล้ว และระงับนิวรณ์ ๕ ประการ ขณะที่กำลังภาวนาอยู่ก็ตาม กำหนดลมหายใจอยู่ก็ตาม อย่าเอาจิตเข้าไปยุ่งกับกามคุณ ๕ อย่าเอาจิตเข้าไปยุ่งกับความโกรธ ความพยาบาท อย่าสนใจกับความง่วง อย่าเอาอารมณ์อื่นนอกจากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกมาใช้ อย่าสงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางอารมณ์นี้ไว้ แล้วก็แผ่เมตตาไปในทิศทั้ง ๔ ว่า เราจะมีเมตตา กรุณา มุทิต อุเบกขา แก่คนและสัตว์ทั้งหลายทั้งหมดเท่ากับตัวของเรา ประเดี๋ยวก็ได้ฌาน และฌานก็จะสามารถทรงอยู่ได้ตลอด หากท่านทรงภาคพื้นนี้ได้ตลอด
    ขั้นต่อไป เป็นการดัดแปลง เอามหาสติปัฏฐานทั้ง ๔ มาดัดแปลงเป็นวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณ
    การดัดแปลงสุขวิปัสโกมาเป็นเตวิชโช ขั้นแรกสุด เข้าฌาน ๔ ในอานาปานสติกรรมฐาน กำหนดลมหายใจแค่จมูกก่อนจนจิตสบาย เลื่อนเข้าไปรู้ลมเข้าออกยาวหรือสัน พอจิตสลาย กำหนดกองลมว่านี่เราจะหายใจเข้า นี่เราจะหายใจออก พอจิตสบายตอนนั้นไม่สนใจกับกองลม วางอารมณ์เป็นเฉยเสีย จับอารมณ์เป็นดิ่ง พออารมณ์สบายแล้วลืมตาดูนิมิตกสิณ กสิณ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ 1. สีขาว เรียกว่า โอทาตกสิณ 2. แสงสว่าง เรียกว่า อาโลกสิณ 3. แสงไฟ เรียกว่า เตโชกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่งจัดตั้งนิมิตเข้าไว้ ลืมตาดูภาพกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง พอจำได้แล้วหลับตา หากว่าดูไฟ ภาวนาว่า เตโชกสิณัง หากว่าดูสีขาว ภาวนาว่า โอทาตกสิณัง ถ้าดูแสงสว่าง ภาวนาว่า อาโลกกสิณัง แล้วหลับตานึกถึงภาพนั้น จิตเป็นฌานอยู่แล้ว นิมิตจับดิ่งเลย แต่หากว่านิมิตยังเป็นภาพเดิมอยู่ ก็ยังใช้ไม่ได้ รักษานิมิตและให้เคลื่อนเข้าไป ๆ ถ้าจิตถึงฌาน ๔ เข้าถึงฌานนิมิต จะเปลี่ยนสีเดิมไป เป็นสีประกายพรึกเหมือนกันหมด
    พอภาพกสิณปรากฎเป็นประกายพรึก สีขาวแพรวพราว บังคับใหญ่ก็ได้ ก็ใหญ่ขึ้น นึกให้ภาพเล็กลงก็จะเล็ก ให้สูงก็ได้ต่ำก็ได้ อยู่ข้างหน้าก็ได้ ข้างหลังก็ได้ หัดให้คล่อง
    เมื่อหัดจนคล่องนึกปั๊บจับภาพกสิณได้ แต่ที่สำคัญคือ อย่าทิ้งลมหายใจเข้าออก ยามปกติรักษาลมหายใจเข้าออกไว้ จะทำอะไรก็ตามรักษานิมิตกสิณไว้ นิมิตกสิณที่เพ่งเห็นแล้วนั่นแหละ ให้ภาพกสิณปรากฎแก่ใจเป็นปกติ
    เมื่อจะดูภาพนรกสวรรค์อย่าลืม 1. ยามปกติอย่าทิ้งอานาปานสติกรรมฐาน 2. อย่าทิ้งภาพกสิณ นิมิตกสิณต้องชำระให้ใสจริง ๆ เพราะเป็นเครื่องวัด ถ้าเราเห็นภาพกสิณเท่าไร เราก็จะเห็นภาพนรกสวรรค์ได้เท่านั้น
    เมื่ออยากจะเห็นนรก ก็เพ่งภาพกสิณปั๊บ เห็นภาพกสิณแจ่มใส สบายใจดีแล้ว ก็อธิษฐานจิตว่า ขอภาพกสิณจงหายไป ภาพนรกจะปรากฎ ภาพสวรรค์ ภาพพรหม ก็เหมือนกัน
    ถ้าจะเป็นฉฬภิญโญ เมื่อได้กสิณกองใดกองหนึ่งแล้ว อีก ๙ กองก็เหมือนกัน เปลี่ยนภาพเท่านั้น ส่วนปฏิสัมภิทัปปัตโตก็ยกภาพกสิณขึ้นเป็นนิมิต แล้วก็เพิกกสิณทิ้งเสีย ยกอากาสนานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะมาแทน แทนแต่ละอย่างให้ถึงฌาน ๔ ก็จะได้ชื่อว่า ได้สมาบัติ ๘ แล้วต่อไปก็จะได้ปฏิสัมภิทาญาณ



     
  2. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <center>ตอนที่ ๖</center> เรื่องทิพยจักขุญาณ ว่าไปเริ่มจับกันตอนที่ได้จตตุถฌาน คือฌาน ๔ นักเจริญมหาสติปัฏฐานสูตร เจริญอานาปานสติกรรมฐาน มาถึงฌานที่ ๔ แล้วก็ทรงฌานที่ ๔ แล้ว แต่ความจริงการเจริญทิพยจักขุญาณ ถ้าเราทำกรรมฐาน ๔๐ เริ่มฝึกทิพยจักขุญาณกันตั้งแต่อุปจารสมาธิ คือยังไม่เข้าปฐมญาน พอถึงอุปจารสมาธิแล้วจับภาพกสิณขึ้นเพิกภาพกสิณ อธิษฐานให้ภาพกสิณหายไปขอภาพสวรรค์และนรกจงปรากฎ อย่างนี้จะเห็นได้เงา ๆ เห็นได้ดำ ๆ ต่อมาเมื่อฝึกฝนจิตเข้าถึงฌานก็เห็นใสขึ้น พอถึงฌาน ๔ ภาพก็นิ่งนาน เราดูภาพได้นาน เราสนทนาปราศรัยกันได้นาน นี่คือหลักที่องค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าสอนไว้ แต่นักเจริญมหาสติปัฏฐานสูตรแล้ว ก็เข้าถึงฌาน ๔ แล้วทุกท่านก็ไม่จำเป็นต้องไปตั้งต้นกันแค่อุปจารสมาธิ เราก็เข้ากันถึงจตุตถฌานเลย เพราะเป็นภาพนิ่งดีมาก แล้วก็สดใสดีมาก เมื่อถอยหลังจิตมาถึงอุปจารสมาธิอธิษฐานภาพกสิณให้หายไป แล้วอธิษฐานภาพสวรรค์ นรก พรหมโลก หรือบุคคลที่ตายไปแล้วจงปรากฎ ที่เราต้องการก็จะปรากฎเฉพาะหน้า นี่อาศัยกำลังจตุตถฌาน เป็นฌานที่ทรงสมาธิได้นาน แล้วก็มีความแจ่มใส ก็สามารถจะพูดจาปราศัยกันได้นาน ถ้าหากว่าท่านได้ฌาน ๔ แล้ว ได้ทิพยจักขุญาณแล้ว สามารถจะเห็นสวรรค์ เห็นนรกก็ได้ เห็นพรหมโลกก็ได้ ถ้ามีวิปัสสนาญาณพอสมควร จะรู้ภาวะพระนิพพานตามความเป็นจริง รู้ด้วยอำนาจของฌาน ถ้าอยากจะรู้จริง เห็นจริง ก็พยายามทำให้ปรากฎ ถ้าได้ทิพยจักขุญาณแล้ว ก็เจริญวิปัสสนาญาณพอสมควร พอจิตเข้าสู่โคตรภูญาณ อันนี้แหละจะเห็นพระนิพพานได้ชัดเจนแจ่มใส
    ทิพยจักขุญาณที่ได้ ญาณที่ติดตามได้มาเป็นผลพลอยได้คือ จุตูปปาตญาณ เจโตปริยยญาณ อดีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปันนังสญาณ และยถากัมมุตาญาณ นี่รวมความว่า ถ้าได้ทิพยจักขุญาณแล้ว ญาณอีก ๗ อย่างได้มาโดยไม่ต้องหาใหม่ และอย่าลืมว่า คนที่เข้าถึงความดีได้ต้อง
    ไม่เอาจิตไปกังวลกับเรื่องของชาวบ้าน เราควบคุมของเราเท่านั้นพอ
    ทรงศีลห้า จะไม่ละเมิดศีลห้าด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอ่นละเมิดศีลห้า และไม่ยินเมื่อเขาละเมิดแล้ว
    ระงับนิวรณ์ ๕ ประการ
    ทรงพรหมวิหารสี่

    พอจิตถึงจตุตฌาน ฌานที่ ๔ เมื่อเราได้ทิพยจุกขุญาณแล้ว คำว่าทิพยจักขุญาณ หมายความว่ามีความรู้คล้ายกับตาทิพย์ เห็นกันด้วยใจ ทิพยจักขุญาณเห็นสวรรค์ก็ได้ เห็นนรก เห็นพรหม เห็นใครตายไปแล้วก็ได้ คำว่าเห็นนี่เรียกกันว่า ทิพยจักขุญาณ
    จุตูปปาตญาณ ก็ใช้ทิพยจักขุญาณนั่นเอง ดูคนที่ตายไปแล้วหรือสัตว์ที่ตายไปแล้วว่าไปเกิดที่ไหน หรือว่าดูคนที่มาเกิดนี้ สัตว์ที่มาเกิดนี้มาจากไหน เราสามารถจะรู้ได้ด้วยญาณนี้ โดยวิธีใช้ดูภาพกสิณ เห็นภาพกสิณชัด แล้วอธิษฐานให้ภาพกสิณนั้นหายไป ขอภาพอดีตของคนและสัตว์จงปรากฎ หรือขอภาพในปัจจุบันของคนและสัตว์จงปรากฎ
    ญาณที่สาม เจโตปริยัติญาณ ญาณนี้รู้วาระจิตของคน หมายความว่ารู้ใจคน เจโตปริยัติญาณพระพุทธเจ้าสอนไว้ คือ


    1. [*] ในขั้นมีไว้ให้เปลื้องความสงสัยว่า กิเลสมีจริงไหม
      [*] รู้จิตของตนเองว่า เวลานี้กิเลสอะไรมันเข้ามาสิงอยู่ เราจะแก้อารมณ์ของกิเลสนันด้วยประการใด ไว้ดูใจตนเองนะ ส่วนใจของชาวบ้านเค้าไม่ต้องยุ่ง ยกเว้นจะเป็นบุคคลที่เราจะต้องสงเคราะห์จึงค่อยรู้เขา หรือเมื่อรู้แล้วก็นิ่งไว้ ถ้าเขาไม่ปรารถนาที่จะรับฟังก็อย่าพูด เขาไม่เลื่อมใสไม่ศรัทธาจงอย่าพูด
    เจโตปริยญาณนี้ ก็เอาทิพยจักขุญาณนั่นเองดูจิตของตน ดูสีของใจโดยแบ่งออกเป็น ๖ สีด้วยกัน แต่ในที่นี้จะพูดแค่ ๓ สี คือ

    1. [*] ถ้าจิตมีความเดือดร้อน สีของอารมณ์จะดำ
      [*] ถ้าจิตมีความรื่ีนเริง มีความยินดี อารมณ์จิตจะมีสีแดง
      [*] ถ้าจิตมีความสุขมีความว่างเป็นอุเบกขา จิตจะมีสีใสเป็นแก้วใส จิตที่มีสีใสเป็นแก้วใสนี่ก็เป็นจิตของฌาน ๔
    พยายามฝึกดูบ่อย ๆ นึกขึ้นได้ก็ดูเสีย ถ้าเห็นเป็นสีใดสีหนึ่ง แสดงว่าเรายังเลวอยู่ สภาวะของจิตจริง ๆ มันเป็นกายซ้อนกาย ที่พระพุทธเจ้าตรงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า เห็นกายในกาย เห็นกายในกายนั้น ในสภาพของสุขวิปัสสโกเห็นชิ้นเนื้อ เห็นอาการของกาย แต่ว่าในสภาพของนักวิชชาสามแล้ว เห็นกายทิพย์ที่ซ้ายกายอยู่ที่เข้ามาสิงในกาย ซึ่งจะบอกได้ว่า เวลาตายในระหว่างนี้จะเป็นเทวดาหรือเป็นพรหม หรือเป็นสัตว์นรกเป็นเปรต อสุรกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือว่าเป็นมนุษย์ ภาพเทวดาหรือพรหมมันจะทรงเป็นกายทิพย์แพรวพราวมีเครื่องประดับเต็มที่ ถ้าจะเป็นสัตว์ประเภทไหน ก็จะมีสภาพเป็นรูปสัตว์ประเภทนั้น

    <center>ตอนที่ ๗</center> เจโตปริยัติญาณ เห็นอัตภาพร่างกายของตัว สภาวะการเห็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การที่ใช้ฌานโลกีย์ ถ้าจะเห็นอย่างดีเท่าไรก็ตาม ก็เป็นสภาพมัว ๆ สลัว ๆ เท่านั้น ฌานที่เราได้กัน เรียกว่า ฌานโลกีย์ ซึ่งมีสภาพเสื่อม และมีอุปาทานเข้ากันมาก เวลาจะดูอะไรจะรู้อะไรจริง ๆ ต้องเข้าฌานให้จิตใจแจ่มใสจริง ๆ ดูสภาพจิตของเราให้เป็นแก้วจริง ๆ ถ้ามัวไปนิดพยากรณ์อะไรจะผิดพลาดได้ เพราะกิเลสเข้ามาบังจิตเสีย ที่เรียกกันว่า นิวรณ์ ๕ เราก็ต้องดูว่า นิวรณ์ ๕ นั้น ข้อไหนที่มาสิงสู่ใจของเรา ข้อดีของทิพยจักขุญาณ รับรู้จิตของตัวเอง ทำให้บรรลุมรรคผลได้ง่าย
    ทิพยจักขุญาณ จะดูกันให้แจ่มใสจริง ๆ ต้องทำจิตให้เข้าสู่อารมณ์วิปัสสนาญาณ การได้ทิพยจักขุญาณใหม่ ๆ ทำให้มีอุปาทานกันมาก รู้ผิดรู้ถูก เพราะอุปาทานเห็น อุปาทานนี้ก็ได้แก่ความยึดมั่น แปลง่าย ๆ ก็คือ ความชั่วของจิตนั่นเอง เป็นการยึดถืออารมณ์ หมายความถึง ยึดถือสัญญาเดิม ความจำ ไว้มากเกินไป ไม่ใช่ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ถ้าจิตยังเป็นอย่างนี้อยู่ พยายามเข้าฌาน ๔ ให้มาก ทรงฌาน ๔ ให้มาก เมื่อถอยหลังออกจากฌาน ๔ แล้ว ก็เข้าเจริญวิปัสสนาญาณ ชำระจิตให้ผ่องใส เมื่อจิตผ่องใสดีแล้วก็เข้าฌาน ๔ ใหม่ ทำอย่างนี้สลับไปเรื่อย ๆ จนกว่าสภาพจิตจะแจ่มใส เมื่อจิตแจ่มใสดีแล้วก็คุมสภาวะไว้ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ อย่ายุ่งเรื่องของชาวบ้าน ระวังนิวรณ์ ๕ ประการอย่าให้กวนใจ จิตทรงพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้ ไม่ช้าก็จะถึงความดี
    ถ้าจิตของเราต้องดูให้แจ่มใส นี่คือ เจโตปริยญาณ ดู ว่าสภาพของจิตเป็นยังไง สภาวะจริง ๆ เป็นคนอีกคนหนึ่ง เรียกว่า คนทิพย์ เป็นกายซ้อนกาย กายภายในเห็นกายในกายของพวกทิพยจักขุ ญาณวิชชาสาม เราอยากจะรู้เรื่องราวของคนอื่นบ้าง อยากจะรู้พอเห็นหน้าปั๊บ พอได้ยินชื่อปั๊บว่า คนคนนี้เขาดีหรือเขาไม่ดีตามเสียงที่ชาวบ้านว่า เราก็จงปลดอารมณ์นั้นเสีย กำหนดเห็นจิตของเขา รู้จิตของเขาเสียก่อน ถ้ารู้จิตของเราจนคล่องแล้วจิตของชาวบ้านก็รู้ไม่ยาก ง่ายกว่าจิตของเรา ดูจิตของเราผ่องใส ดูจิตของเขาปั๊บ นึกน้อมอารมณ์ให้เห็นจิตของเขา ถ้าเห็นจิตของเราได้ ก็เห็นจิตของเขาได้ เอาจิตของเราเป็นกสิณไปเลย ถ้าทำแบบนี้ก็เป็นวิญญานัญจายตนะฌานด้วย เป็นอรูปฌานไปในตัวเสร็จ เห็นจิตของเขาปั๊บ คนนี้มีกิเลสอะไร จิตสีอะไร กำลังดีใจ หรือมีความทุกข์ เขามีความทุกข์ ๆ เพราะอะไร ขอภาพนั้นจงปรากฎ
    อยากรู้ตัวจิต ดวงจิตเราเห็นแล้ว สภาพของจิต คือกายที่ซ้อนกายของเขา ว่า คนนี้หากว่าเขาตายเวลานี้เขาจะไปไหน ก็ดูสภาพของเขาคือ กาย ในกายที่มันซ่อนอยู่กายอยู่ ถ้าเขาจะไปเกิดเป็นพรหม ภาพพรหมก็ปรากฎ ถ้าจะไปเกิดเป็นเทวดา ภาพเทวดาก็ปรากฎ ถ้าไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ภาพนั้น ๆ ก็ปรากฎ คนที่ได้ฌานเราจะรู้ได้ยังไง เราก็เอากำลังฌานของเราเป็นเครื่องวัด ว่าฌานของเราสูงกว่าหรือเสมอเขา ถ้าฌานของเราไม่แค่เขาเราก็รู้ของเรา เลยไปนั้นเรารู้ไม่ได้ ถ้าเราไม่เป็นพระอริยเจ้า เราจะรู้เรื่องราวของพระอริยเจ้าไม่ได้เลย อย่าไปวัดกับท่านที่มีคุณธรรมสูงกว่า จะเป็นกรรมหนัก
    ปุพเพนิวาสนุสติญาณ การระลึกชาติได้ วิธีคือ เข้าฌาน ๔ แล้วก็ถอยหลังมาถึงอุปจารสมาธิ เพ่งภาพกสิณแล้วก็เข้าฌาน ๔ ใหม่ แล้วถอยหลังออกมา แล้วก็ให้นึกถึงวันเวลาที่ผ่านมาเมื่อวานนี้ เมื่อวานซืน เมื่อวันก่อน ปีก่อน ชาิตก่อน เป็นลำดับไป แล้วก็จะรู้เองระลึกชาติหนหลังได้ แต่ผู้ที่ได้ทิพยจักขุญาณแจ่มใส ทรงฌาน ๔ ได้แล้ว ไม่ต้องฝึก ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้มันปรากฎเอง
    อดีตังสญาณ เรื่องราวในอดีต เรื่องราวในอดีตนี้ หมายความถึง คนอื่นและสถานที่ ว่าความเป็นมาเขายังไง ในชาตินี้และชาติก่อน ก็ใช้ทิพยจักขุญาณ
    อนาคตัง ความเป็นไปในอนาคต ทั้งส่วนตัวของเราและบุคคลอื่น สัตว์และสถานที่
    ปัจจุบันนังสญาณ เวลานี้ใครอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร อยู่ใกล้หรือไกล อยู่คนมากหรือน้อย มีความสุขหรือความทุกข์
    ยถากัมมุตาญาณ รู้กฎของกรรม คนหรือสัตว์ในปัจจุบัน เพราะอาศัยกรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลอะไรในชาติก่อน หรือในชาตินี้ให้ผล คนที่ตายไปแล้วมีความสุขหรือความทุกข์อย่างใด อาศัยกรรมอะไรให้ผล
    ญานต่าง ๆ เป็นเครือของทิพยจักขุญาณ โดยเจริญมหาสติปัฏฐานสูตรในกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐานข้อต้น เรียกว่า อานาปานบรรพ แล้วก็สามารถดัดแปลงให้เป็นวิชชาสามได้ ดูสิว่า ที่เรามา มีอะไรติดตัวมา เอาจิตมา จิตที่เป็นนามธรรมคือ กายที่เป็นนามธรรม มาสิงอยู่ในร่างกายในชาตินี้ ชาติก่อน ๆ เคยเป็นกษัตริย์ เป็นเศรษฐี เป็นยาจก ก็กลายมาเป็นยาจก มาเป็นเศรษฐีกันได้ ว่าเป็นอนัตตา เป็นอนุตตาจริงหรือไม่จริงเพียงใด ก็ถอยไปดูสภาพในชาติก่อน ๆ พิจารณาไปก็แลเห็นความจริง ว่าจริงไหม เราเกิดมาทิ้งร่างกายของเรามานับไม่ถ้วน เป็นคนเท่าไหร่ เป็นสัตว์เท่าไหร่ มีความสุขความทุกข์กันมาเท่าไหร่ เราทำอะไรก็ทำเพื่ออยู่แต่เราก็ไม่สามารถอยู่ได้ เมื่อเห็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตใจเลื่อมใสในคำสอน ปฏิบัิติเรื่อย ไป ในไม่ช้าสังโยชน์ ๓ สังโยชน์ ๕ สังโยชน์ ๑๐ ซึ่งเป็นคุณธรรมของพระอริยเจ้าก็สามารถกำจัดเสียได้



    <center>ตอนที่ ๘</center> การทำเจริญมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ยากจริง ๆ ก็คือ อานาปานสติกรรมฐานเท่านั้น ทำกันจนเข้าถึงฌาน เรื่องต่อไปนี้เป็นอารมณ์คิด ก่อนที่จะใช้อารมณ์คิดทุกครั้ง โปรดทำสมาธิจนถึงฌานให้เต็มที่ จะได้ระดับไหนก็ให้ถึงระดับนั้น แล้วปล่อยให้จิตสบายจึงค่อยใช้อารมณ์คิด ปัญญาจะเกิด นี่เป็นหลักการปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าใช้อารมณ์คิดแล้วจิตใจมักฟุ้งออกนอกลู่นอกทาง ก็ทิ้งอารมณ์คิดนั้นเสีย กลับมาจับอานาปานาสติใหม่ จนกระทั่งจิตสบายแล้วก็ใช้อารมณ์คิดต่อไป
    กายานุปัสสนาสติปัฏฐานข้อนี้ ว่าด้วย อิริยาบถ คำว่าอิริยาบถ ก็คือ อิริยาบถ ๔ เรายืนอยู่ก็รู้ว่าเรายืน เดินอยู่ก็รู้ว่าเดิน นั่งอยู่ก็รู้ว่านั่ง นอนอยู่ก็รู้ว่านอน เราทำกันอยู่เป็นปกติแต่เรามักจะไม่ได้เอาสติเข้าไปกำหนดรู้ ทีนี้เราต้องควบคุมสติให้มากขึ้น กำหนดรู้ว่านี่เรานั่ง นั่งท่าไหน เรานอน นอนท่าไหน เราเดิน เดินท่าไหน เรายืนยืนท่าไหน กายานุปัสสนามหาสติปัฏฐานข้อต่อไป คือ สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว ในตอนต้นตั้งแต่อานาปานสติ และอิริยาบถเป็นสติ คราวนี้ก็สัมปชัญญะ การรู้ตัว รู้ว่าเราตื่นหรือหลับ รู้ว่าเรากำลังเคี้ยว กำลังยืน กำลังเดิน คือทำความรู้ตัวไว้ทุกอิริยาบถ ทุกอาการ บางคนพูดแล้วก็ว่าไม่ได้พูด หรือจำไม่ได้ เรียกว่า ขาดสัมปชัญญะ
    ต่อไปในกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน คือ เรื่อง ปฏิกูล แปลว่า สกปรก โสโครก น่าเกลียด ไม่น่ารัก น่าสะอิดสะเอียน ได้กล่าวไว้ว่า ว่าข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุทั้งหลาย คือภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แหละ ตั้งแต่เบื้องบนลงมาถึงเบื้องเท้า ตั้งแต่เบื้องต่ำขึ้นไปถึงปลายผม ซึ่งหุ้มรอบไปด้วยหนังเต็มไปด้วยของที่ไม่สะอาดต่าง ๆ ว่าในกายนี้มีดังนี้ คือ มีขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำ หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำมัน น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    ว่าในร่างกายของเรามันมีอะไรบ้าง ที่เป็นตัวของเราขึ้นมา มีอะไรอยู่ในร่างกายเรา ที่มีหนังกำพร้าเป็นเครื่องหุ้มห่อ ตรงไหนที่สวย ตรงไหนที่น่ารักบ้าง ไม่มีเลย กายคตานุสติกรรมฐานที่เป็นการตัดราคจริต ถ้าใครพิจารณาได้จริง ๆ และเข้าถึงจริง ๆ เกิดนิพพิทาญาณความเบื่อหน่ายจริง ๆ เป็นเหตุให้เข้าถึงอนาคามีได้ง่าย เป็นกรรมฐานใหญ่ ค่อย ๆ พิจารณาไป ของที่ว่าสวยนั้น เมื่อมองไปที่ข้างในมีอะไรบ้างที่สวย เมื่อผ่าท้องออกมา มีอะไรบ้างที่งาม ของที่อยู่ในร่างกายเรา เมื่อออกมาข้างนอกมีใครต้องการบ้าง มีทั้งน้ำลาย ขี้ฟัน เสมหะ อุจจาระ ปัสสาวะ ของทุกอย่างเหล่านี้อยู่ในร่างกายเราทั้งสิ้น แต่เมื่อออกมาแล้วไม่มีใครต้องการนำเข้าไปเลย ตัวเราเป็นแหล่งรวมของโสโครกต่าง ๆ อยู่ในร่างกายเราทั้งนั้น พิจารณาอย่างนี้ ชื่อว่าเห็นกายในกายตนเอง ส่วนกายของบุคคลอื่น ก็นึกดูว่า เขาเหมือนเราไม๊ สกปรกเหมือนเราไหม ของเราไม่ดี แล้วของเขาดีไหม ลองพิจารณาไปเรื่อย ๆ จิตไม่ค่อยดี ก็เข้าฌานเสีย หลับตาจับลมหายใจเข้าออก ภาวนาให้ใจสบาย แล้วหลังจากนั้นก็ถอยจิตมาคิดถึงปฏิกูลสัญญา หรือว่ากายคตานุสติกรรมฐาน จนจิตเข้าถึงความสังเวชสลดในใจในความรักในร่างกาย แล้วจะเกิดความเบื่อหน่าย จะเห็นความเป็นจริง ว่าร่างกายของเราก็ดี ของบุคลอื่นก็ดี มันเต็มไปด้วยความสกปรก เหมือนกับส้วมเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็น สัตว์ ผู้หญิง ผู้ชาย ฆราวาส พระ มีสภาพเหมือนกัน จนกระทั่งอารมณ์เบื่อหน่ายปรากฎขึ้น เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้นิพพิทาญาณก็เกิด ความเบื่อหน่ายก็เกิด เกลียดการเกิดต่อไป อยากจะไปนิพพานเสียทันที



    <center>ตอนที่ ๙</center> สำหรับกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐานเหลืออยู่ ๒ ข้อ คือ ธาตุบรรพ ได้แก่ ธาตุ ๔ และนวสี ๙
    ธาตุบรรพ หรือว่าธาตุ ๔ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุนี้อยู่ในกายของเราเอง มีธาตุรวมกัน คือ


    1. ธาตุดิน ของแข็ง ได้แก่ หนัง เนื้อ กระดูก
      ธาตุลม ได้แก่ ลมหายใจ หรือว่าลมที่พัดไปมาในร่างกาย
      ธาตุน้ำได้แก่ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง ปัสสาวะ น้ำลาย
      ธาตุไฟ ได้แก่ ความอบอุ่นในร่างกาย
    ร่ายกายของเรามีธาตุ ๔ นี้เข้ามาประชุมกัน ธาตุบรรพนี้ตัดราคะจริตได้ คือตัดความเมาในธาตุ ๔ หรือรูปร่าง เราออกมาจากท้องมารดา ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งโสโครก เราเกิดมาจากเมือกตม อาการที่เราจะเกิดก็เกิดจากโสโครก ร่างกายเราจึงเต็มไปด้วยความโสโครก ธาตุที่มาประชุมกันนี้เป็นธาตุที่เต็มไปด้วยความโสโครก
    ธาตุทั้งหลายถ้าสามัคคีกันดี ก็มีร่างกายที่ทรงอยู่ได้ ถ้าธาตุน้ำหย่อนไป ธาตุดิน ธาตุลม หรือธาตุไฟ หย่อนไป ก็เกิดการป่วย ไม่สบาย เพราะธาตุใดเสียไป แต่ถ้าธาตุใดธาตุหนึ่งดับไปสลายตัว ความอบอุ่นไม่มีก็ตาย ธาตุลมสลายตัว ความพัดไปมาไม่มี ธาตุน้ำสลายตัว ความชุ่มชื้นในร่างกายไม่มีก็ตาย ธาตุดินสลายตัวร่างกายถูกระเบิด หรือไฟไม้พังไปก็ตาย เรียกว่า ร่างกายเป็นเพียงธาตุทั้ง ๔ มาประชุมกัน เมื่อเกิดขึ้น แล้วก็เสื่อมไป และสลายตัวไปในที่สุด อย่าเมาในธาตุทั้งสี่ ว่าทรงสภาพอยู่ และอย่าเมาว่าธาตุ ๔ ของเราและของคนอื่นว่าสวยสดงดงาม มีความแข็งแรง เพราะธาตุ ๔ มาประุชุมกันชั่วคราว แล้วก็มีการทรุดโทรมลงไปตามลำดับ แล้วมันก็พัง ถ้ามันพังแล้วเราจะไปหลงรักมันทำไม เตรียมกายเตรียมใจเพื่อพระนิพพาน
    นวสีเก้า หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้พิจารณาคนและสัตว์ที่ตายดีแบบ คือ ตายวันหนึ่ง สองวัน สามวัน เน่าอืดเฟ้อ เขียว หรือเป็นท่อนท่อนใหญ่ จนกระทั่งเหลือแต่กระดูก ในนวสี ๙ ในกรรมฐาน ๔๐ ท่านเรียกว่า อสุภกรรมฐาน เป็นการตัดราคะจริต ตัดตัวรักสวยรักงาม เรียกว่าตัดตัวเมาในร่างกายเหมือนกัน คนตายคนที่เรารักที่สุด ที่ต้องการมากที่สุด เมื่อตอนที่เขามีชีวิตอยู่ แต่พอเขาตายแล้วเรานึกรักไหม ตายแล้ว ๑ วัน ร่างกายเย็นเฉียบ ตาย ๒ วัน สีเขียวขึ้น มีกลิ่นตุ ๆ พอตายแล้ววันที่ ๓ ขึ้นอืด น้ำเหลืองเริ่มไหล พอตายแล้ววันที่ ๔ น้ำเหลืองไหลปรี่ วันที่ ๕ ที่ ๖ ลิ้นจุก ตาโปน วันที่ ๗ ที่ ๘ ที่ ๙ เละเลย น้ำเหลืองไหลทั่วตัว ร่างกายเละดูไม่ได้ น้ำเหลืองก็ไหลไป ๆ มีแต่ความเหือดแห้งแกร่งลง เหลือแต่น้ำเหลืองล้วน ๆ กระดูกเริ่มเรี่ยรายเป็นท่อน ๆ
    ศพเมื่อเดิมนั้น มีสภาพเหมือนเราหรือเปล่า แต่เมื่อตายไปแล้ว เรารังเกียจว่า สกปรก เพราะสิ่งโสโครก คืออาการ ๓๒ ที่ว่าในปฏิกูลบรรพ หรือกายคตานุสติกรรมฐาน หรือธาตุบรรพมันปรากฎ ของเขาเป็นยังไง ของเราเป็นยังไง ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนในมรณานุสติกรรมฐาน ในกรรมฐาน ๔๐ ว่าเกิดแล้วมันตายทุกวัน ตายได้วันละหลายหมื่นครั้งหายใจออก ถ้าเราไม่หายใจเข้าก็ตาย หรือหายใจเข้าแล้ว ไม่หายใจออกก็ตาย ฉะนั้นเราหายใจเข้าทีหนึ่ง หายใจออกทีหนึ่ง เราก็ตายแต่ละครั้งตามลมหายใจ แต่เพราะการเกิดมันติดต่อกันไป เกิดดับ ๆ เป็นสันคติ คำว่า สันคติแปลว่า สืบเนื่องกัน เรียกว่า เราตายแบบปกปิด แต่เมื่อลมปราณมันไม่มี หายใจออกหรือหายใจเข้าก็ตาม หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออก หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้า อันนี้ก็ตายอย่างสิ้นลมปราณ เรียกว่า ตายอย่างเปิดเผย เรียกว่า เราตายแน่ และถ้าเราตายแล้วจะเหมือนเขาไหม ร่างกายเราเหมือนเขาไหม ตายแล้วเหมือนเขาไหม น้ำเหลืองและสิ่งโสโครกออกมา ทางทวารบ้าง ข้างลำตัวบ้าง เมื่อตอนที่เรายังไม่ตายมันก็มีของมันอยู่ในร่างกาย ไหลออกมาตามช่อง ถ่ายเททีละเล็กทีละน้อย เพราะเรายังมีลมปราณ มีสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นเครื่องปกปิดบังคับบัญชาประสาท แต่พอตายแล้ว เมื่อจิตออกจากร่างกาย คนที่จะบังคับบัญชาประสาทต่าง ๆ ให้ปกปิดมันไม่มี คราวนี้มันก็ไหลตามสบาย
    สมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่ นางศิริมาน้องสาวหมอชีวก โกมารทัตสวยมาก หาตัวจับไม่ได้ในเมืองราชคฤห์ เป็นคนรับแขกเมือง แขกเมืองมาจะเอาไปร่วมรักด้วย มีพระองค์หนึ่งเป็นพระบวชใหม่ ท่านไปบิณฑบาท ไปพบนางศิริมาใส่บาตรเข้าเกิดมีความรัก พอรักแ้วกินไม่ได้นอนไม่หลับ คิดในใจว่าถ้าไม่ได้นางศิริมาเป็นคู่ครองเราก็จะตาย ยอมตายเสียดีกว่า แต่โอกาสที่จะได้นางศิริมาเป็นคู่ครองก็ไม่มี เลยไม่กินข้าว ๓ วัน อาหารที่บิณฑบาตได้ก็ไม่กิน ปล่อยให้บูดคาบาตร แล้วท่านเองก็อยู่ในสำนักของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็รู้ แต่ก็ปล่อย ไม่ว่าอะไร ไม่ถึงเวลาจะว่า แต่ยังไม่ถึงเวลา ไม่ได้กินข้าวมา ๓ วัน นางศิริมาตาย พระเจ้าพิมพิสารส่งข่าวให้พระพุทธเจ้าทราบ ท่านบอกให้ปล่อยไว้อีก ๓ วัน ตถาคตจะไปเยี่ยมศพ พอถึง ๓ วัน ปรากฎว่าศพขึ้นอืด พระพุทธเจ้าก็บอกกับพระอานนท์ ว่าจะไปเยี่ยมนางศิริมา ไม่ได้บอกว่าจะไปเยี่ยมศพ พระยังไม่รู้ ให้ปิดข่าวไว้ ว่าใครจะไปกับเรา พระทังหมดจงไปกับเรา พระองค์นั้นพอได้ข่าวว่า พระพุทธเจ้าจะไปเยี่ยมนางศิริมาก็ดีใจ ได้เห็นหญิงที่ตนรัก พอไปถึงนางศิริมาขึ้นอืด ตาปลิ้นแล้ว พระพุทธเจ้าให้พระเจ้าพิมพิสารประกาศแก่ประชาชนว่า เราจะยกศพให้แก่ประชาชน ใครจะรับบ้าง เพราะเป็นคนสวยอยู่ก่อน สมัยมีชีวิตมีแต่คนต้องการ แต่ตอนนี้หาคนต้องการไม่ได้ ก็ขึ้นราคา ว่าให้ศพด้วย และให้เงิน ๑,๐๐๐ กหาปนะ ก็หาคนรับไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เท่านี้ เพื่อให้พระองค์นั้นทราบว่าร่างกายของคนที่เห็นว่าสวยสดงดงาม ความจริงมันไม่สวยจริง พอดีพระองค์นั้นได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัส และชี้เหตุผลให้ดูตัวบุคคลที่สวยแล้วกลับไม่สวย มีน้ำเหลืองเฟะอย่างนั้น ก็ปรากฎว่า เกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย ได้สำเร็จอรหัตตผลในวันนั้น



    <center>ตอนที่ ๑๐</center> เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน อันเป็นการพิจารณาอารมณ์ คือ รู้ความสุข รู้ความทุกข์ หรือความไม่สุข ความไม่ทุกข์ของจิตเวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐานนี้ พระพุทธเจ้าให้ใช้อารมณ์คิด คือรู้อยู่ ตัวนี้เป็นสัมปชัญญะ ให้รู้อยู่ว่าเวลานี้เรามีทุกข์หรือเรามีสุข หรือว่าเราไม่สุขไม่ทุกข์ จำได้แล้วนะขอรับ ทีนี้คำว่าทุกข์หมายถึงว่าจำจะต้องทน สิ่งใดก็ตาม ถ้าจำจะต้องทนละก็ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ เพราะว่าเป็นอาการฝืนอารมณ์อย่างเราหิวข้าวนี่มันทนหิว เพราะว่าต้องจำทนหิวจนกว่าจะกินอิ่ม อย่างนี้ก็ชื่อว่าทุกข์เพราะหิวข้าว เราป่วยไข้ไม่สบายอาการกายไม่ปกติ ปวดโน่นปวดนี่ เสียดโน่นเสียดนี่ นี่ก็เป็นอาการของความทุกข์ เขารักเรา จะเป็นผู้หญิงก็ตาม จะเป็นผู้ชายก็ตาม จะเป็นความรักเกี่ยวกับด้านกามารมณ์ หรือเป็นความรักเกี่ยวกับความเมตตาก็ตาม ถ้าเราใช้ความพยายามให้เขารัก ต้องเอาอกเอาใจเขา นี่ก็เป็นอาการของความทุกข์ ทีนี้เมื่อเรามีคนรักแล้ว มีคนที่เรารักเขาแล้ว แต่เกรงว่าความรักของเขาจะคลาย ต้องพยายามปฏิบัติเอาอกเอาใจเขา มันก็เป็นการฝืน นี่เป็นความทุกข์ แล้วการปวดอุจจาระปวดปัสสวะมันก็ทุกข์ มีทรัพย์สินมาก เกรงว่าทรัพย์สินจะสลายไปอย่างนี้มันเป็นความทุกข์ ทีนี้ เราเป็นคนยากจนเข็ญใจ ทรัพย์สินไม่พอใช้ ต้องแสวงหาทรัพย์ แสวงหาอย่างนี้ก็เป็นอาการของความทุกข์ การทำไร่ไถนา การค้าขาย อยากจะได้ทรัพย์สินเข้ามาต้องใช้ร่างกายด้วยความเหนื่อยยาก ต้องใช้สติปัญญา นี่ก็เป็นอาการของความทุกข์ ความเสื่อมไป ความเสื่อมไปทีละน้อย ๆ จากเด็กไปสู่ความเป็นหนุ่มสาวเป็นแก่ จากแก่ก็จะตาย อันนี้ ก็เป็นอาการของความทุกข์
    ความทุกข์คือสิ่งใดที่จำจะต้องทนอะไรก็ตามจำที่จะต้องทน บางทีทนเสียจนชิน จนไม่รู้สึกว่ามันทน เห็นเป็นของธรรมดาอันนี้ต้องใช้ปัญญาพิจารณา ทีนี้มาว่ากันถึงความสุขบ้าง อาการใด ๆ ก็ตามถ้ามันมีความพอใจเกิดขึ้น นี่ว่าถึงทางโลกีย์ ไม่ใช่ความสุขโลกุตตระ สิ่งใดก็ตาม ถ้าเป็นความปรารถนาสมหวัง ถ้าเราพอใจสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นอาการของความสุข เมื่อสิ่งใดก็ตามถ้าเราปรารถนาสมหวัง หรือว่าเราชอบใจ นั่นเป็นอาการของความสุข คือสุขใจ ทีนี้อาการของอทุกข์ กับอสุข คือความไม่ทุกข์ไม่สุข จะว่าทุกข์ก็ไม่ใช่ จะว่าสุขก็ไม่ใช่ มันเฉย ๆ เป็นอารมณ์ว่างจากความสุขและความทุกข์ มีอารมณ์ปลอดโปร่ง นี่เรียกว่าอทุกข์กับอสุข
    เวทนาในมหาสติปัฏฐาน ท่านบอกให้มีความรู้อยู่ว่าในขณะนี้จิตเรามีความสุขหรือความทุกข์ หรือว่าเราไม่สุขไม่ทุกข์ แล้วความทุกข์ก็ดี ความสุขก็ดี ความไม่ทุกข์ไม่สุขก็ดี มีอามิสสิงอยู่หรือเปล่า คำว่าอามิส หมายความว่าวัตถุหรือสิ่งของ หรือความสุขความทุกข์นั้น หรือความไม่สุขไม่ทุกข์นั้นไม่มีอามิสสิงอยู่ด้วย เป็นสัมปชัญญะเพราะว่าให้เป็นคนไม่เผลอ คิดว่าเวลานี้เราหนาวหรือเราร้อนถ้าหนาวมันก็ทุกข์ ร้อนมันก็ทุกข์ ให้รู้ว่า ทุกข์ ๆ เพราะสิ่งใด ให้รู้ว่าสุข ๆ เพราะสิ่งใด กำหนดรู้ไว้เท่านั้น รู้อย่างนี้ก็เพื่อจะให้มีสัมปชัญญะสมบูรณ์ เป็นความไม่ประมาทในชีวิต เป็นความไม่มัวเมาในชีวิต เป็นความไม่มัวเมาในชีวิตที่คิดว่าเป็นความสุขตลอดเวลา จัดว่าพระพุทธเจ้าสอนให้เป็นคนไม่ประมาท รู้ความเป็นจริงของขันธ์ห้า
    จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน ให้รู้อารมณ์ของจิต ว่าจิตเป็นยังไง กำหนดรู้ไว้ มี 15 ข้อ คือว่า


    1. [*] รู้อยู่ว่าจิตมีราคะ
      [*] รู้อยู่ว่าเวลานี้จิตของเราปราศจากราคะ คือ ไม่ต้องการความสวยสดงดงามใด ๆ
      [*] รู้อยู่ว่าจิตมีโทสะ คือความโกรธ ความไม่ชอบใจ
      [*]รู้ว่าจิตของเราปราศจากโทสะ ว่าเวลานี้เราว่าง เราไม่ได้โกรธ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร
      [*] รู้อยู่จิตมีโมหะ คือความหลงความชั่วยึดนั่นยึดนี่ว่าเป็นเราเป้นของเรา ร่างกายก็ของเรา ทรัพย์สินก็ของเรา ลูกเมีย ผัว ตัว เมีย ลูก หลาน เป็นของเรา โมหะเป็นความโง่
      [*] รู้ว่าจิตของเราปราศจากโมหะ คือว่าเวลานี้จิตของเรามีปัญญารู้ว่าร่างกายเรามันจะตาย ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมันจะสลายตัว มันไม่มีอะไรทรงสภาพมันเป็นอนิจจังไม่เที่ยงทุกขัง อนัตตา สลายไปในที่สุด เป็นคนฉลาด
      [*] มารู้อยู่ว่าจิตของเราหดหู่ คือมันเหี่ยวมันแห้งไม่มีกำลังใจ
      [*] รู้ว่าจิตของเราฟุ้งซ่าน คิดสร้างวิมานในอากาศ คิดส่งเดชหาเหตุหาผลไม่ได้ หาสิ่งที่เป็นสาระไม่ได้
      [*] รู้อยู่ว่าจิตมีอารมณ์ใหญ่ จิตคิดสร้างบ้านสร้างเมือง อยากมีผัวมีเมีย อยากมีลูก อยากมีทรัพย์สิน อยากมีอำนาจวาสนาว่ากันจิปาถะ หาจุดจบไม่ได้คิดเรื่อยเปื่อยไปทั้ง ๆ ที่ไม่มีเหตุมีผลที่จะเป็นไปได้
      [*] รู้ว่าจิตไม่มีอารมณ์ใหญ่ หมายความว่าเวลานี้จิตของเราอยู่ในวงแคบคิดในวงของร่างกายอย่างเดียว
      [*] รู้อยู่ว่าอารมณ์อย่างอื่นเยี่ยมกว่า มีอารมณ์อย่างอื่นเยี่ยมกว่า นี้หมายความว่าตามธรรมดา เราเป็นคนเฉย ๆ ไม่ได้คิดอะไรมาก แต่เวลานี้ซิกลับมีความปรารถนาอยากจะเป็นคนดีมีศีล อยากจะเป็นคนมีสมาธิ อยากจะเป็นคนวิปัสสนาญาณแจ่มใส คิดว่าอัตตภาพร่างกายหรือความเป็นอยู่มันไม่คงทนถาวรต่อไป ไม่ช้ามันก็ตายไม่ช้ามันก็สลายตัวเราอยากจะไปพระนิพพานดีกว่า นี่เป็นอารมณ์ที่เยี่ยมกว่า อารมณ์ธรรมดา หวังพระนิพพานเป็นอารมณ์
      [*] รู้อยู่ว่าเราไม่มีอารมณ์ที่เยี่ยมกว่า คือยามปกติมันเกิดอารมณ์ขึ้นอีกทางหนึ่งบอกอย่าไปมันเลยนิพพาน ไปทำไม อยู่ในโลกนี้ดีกว่า มีโขน มีละคร มีหนัง มีความรัก เรียกว่าไม่มีอารมณ์ที่เยี่ยมกว่าอามรณ์ปกติ
      [*] มีจิตตั้งมั่น รู้อยู่ว่าเวลานี้มีจิตตั้งมั่น หมายความว่าอามรณ์ส่ายที่เป็นอุทธัจจะกุกกุจจะมันไม่มี อารมณ์นอกเหนือจากสมาธิที่เราตั้งใจไว้ไม่มี คือเราตั้งใจไว้ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งคืออานาปานสติกรรมฐาน อารมณ์ตั้งอยู่โดยเฉพาะไม่สอดส่ายไปในอารมณ์อื่น ๆ ยิ่งไปกว่านี้ นี่เรียกว่าอารมณ์จิตตั้งมั่น
      [*] รู้ว่าในขณะนี้เรามีอารมณ์จิตไม่ตั้งมั่น นี่ขณะใดที่จิตมันส่ายออกนอกลู่นอกทางนอกจากอารมณ์ของมหาสติปัฏฐานสูตรหรือ ความดีใด ๆ ที่เราตั้งใจจะทรงไว้ แต่มันก็แลบออกไปเสียแล้วอย่างนี้เรารู้อยู่ ท่านเรียกว่ารู้อยู่จิตไม่ตั้งมั่น
      [*] ข้อสุดท้ายเรารู้อยู่ว่าเวลานี้จิตเราหลุดพ้น รู้อยู่จิตหลุดพ้น
      [*] เรารู้อยู่ว่าจิตไม่หลุดพ้น
    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีสัมปชัญญะ ว่าขณะนี้เรามีอารมณ์เป็นยังไง คือรู้อารมณ์ คุมอารมณ์เท่านั้น ว่าเรามีอารมณ์เป็นยังไง ถ้าจิตมีอารมณ์ราคะ ก็พยายามแก้ราคะเสียจิตมีโทสะก็แก้โทสะเสีย จิตมีโมหะก็แก้โมหะเสีย หากฎของความเป็นจริง จิตนั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือว่าจิตมีอารมณ์ดีหรือว่าจิตมีอารมณ์ชั่ว ถ้าจิตมีอารมณ์ดีเนื่องในกุศลส่วนใดส่วนหนึ่ง อันนั้นควรส่งเสริมพยายามทำให้มากขึ้น รักษาอารมณ์นั้นให้แจ่มใส ถ้าอารมณ์ชั่วของจิตเกิดขึ้นเมื่อใดพยายามแก้ทันที แต่เรามักจะเผลอกัน เราไม่ค่อยได้สนใจกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของตัวเองไม่ค่อยมีใครสนใจ มักจะไปสนใจกับเรื่องขอบบุคคลอื่น อันนี้มันเป็นอุปกิเลสนะขอรับ รวมความว่าเข้าถึงความชั่ว อุป แปลว่าเข้าไป กิเลส แปลว่าความเศร้าหมอง และสำหรับท่านที่เจริญสติปัฏฐานสูตรในอานาปานสติกรรมฐานแล้ว แล้วก็ทรงวิชชาสามหรือได้ทิพยจักขุญาณ สามารถดูกระแสของจิต ว่าเวลานี้จิตของเรามีสีหรือไม่มีสี สีขาวธรรมดาสีขาวอยู่ในเกณฑ์ดี อยู่ในเกณฑ์จิตผ่องใส อยู่ในเกณฑ์จิตสงบ แต่ว่าจิตสงบก็ยังใช้ไม่ได้ ต้องเป็นสีใสเหมือนแก้วที่ขัดดีแล้ว ต้องขัดสีแก้วให้เป็นสีประกายพฤกษ์คล้าย ๆ กระจกเงาที่ตั้งไว้ทวนแสงพระอาทิตย์ มองดูแล้วแพรวพราว ถ้ามันเป็นประกายน้อยก็ขัดให้มันเป็นประกายมาก เป็นอาการระงับกิเลส จำกัดกิเลสให้สิ้นไป


    <center>ตอนที่ ๑๑</center> ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐานตอนนี้ พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องนิวรณ์ห้าว่า


    1. [*] กามฉันทะ ความ พอใจในรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัส กามแปลว่าความใคร่ มีความใคร่ในรูปสวย ๆ ในเสียงเพราะ ๆ ในกลิ่นหอม ๆ ในรสอร่อย และสัมผัสที่นิ่มนวลที่เราต้องการ บางคนต้องการแข็ง ได้รับสัมผัสแข็ง บางคนต้องการนิ่มนวล ได้รับสัมผัสนิ่มนวล
      [*] พยาบาท คือความโกรธแล้วก็คิดจองล้างจองผลาญคนอื่น คิดจะประทุษร้าย คิดจะด่าเขาบ้าง คิดจะตีเขาบ้าง คิดจะฆ่าเขาบ้าง คิดจะกลั่นแกล้งให้เขาเสียบ้าง นี่เป็นอารมณ์คิด
      [*]อุทธัจจะกุกกุจจะ อารมณ์ที่คิดนอกลู่นอกทาง ฟุ้งซ่านไปหาเหตุหาผลไม่ได้ นอกเหตุนอกผล ตั้งใจไว้ว่าเจริญในอานาปานสติกรรมฐานก็ดี เราคิดไว้ว่า แต่ไปเอาเรื่องราวภายนอกคิดแทรกเข้ามานี้เป็นอาการของอุทธัจจะกุกกุจจะ
      [*]ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน จะเจริญสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี หรือจะคิดสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลก็ดี ความง่วงเหงาหาวนอนมันเข้ามาตัด
      [*] ความสงสัย เรียกว่าวิจิกิจฉา สงสัยว่าผลที่เราทำนี้มันจะได้หรือไม่ได้ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี่จริงหรือไม่จริง

    อาการของนิวรณ์ 5 อย่างนี้ขอรับพระคุณเจ้าที่เคารพ เป็นอาการที่กันความดี เป็นอาการของ อวิชชา คือ ความโง่ หรือโมหะ ความหลง
    คำว่า นิวรณ์ มันก็มาจากอวิชชา ความโง่ คนที่ว่าสวยที่สุดในโลก มันทรงความสวยอยู่ได้บ้างหรือเปล่า สภาพของรูปมันไม่ทรงสภาพอย่างนี้ มีความเสื่อมไปแล้วก็มีการสลายตัว
    กามฉันทะ ตัวนี้มันมาสอนจิตให้เห็นว่ารูปสวย แล้วให้เข้าใจว่าสวยตลอดเวลา เป็นความโง่ เสียงที่ผ่านหูไปแล้วก็หายไป มันเป็นสภาพอนัตตาอยู่เสมอ มันไม่คงสภาพ ฟังเสียงเพราะๆ ชอบใจ เสียงนั้นหยุดแล้วก็ต้องหาฟังใหม่ กลิ่นนี่เป็นสภาพเหมือนกัน รสก็เหมือนกัน กลิ่นผ่านจมูกนิดแล้วก็หายไป รสผ่านลิ้นหน่อยแล้วก็หายไป แล้วการสัมผัสที่ต้องการก็เหมือนกัน ที่ถูกต้องขณะสัมผัสก็ชื่นใจ แต่พอเลิกสัมผัสแล้วก็เปล่า เหลว นี่มันไม่มีอะไรคงสภาพ
    ความพยาบาท ที่คิดจะไปพิฆาตเข่นฆ่าคนอื่น จะไปฆ่าเขาทำไม จะไปโกรธเขาทำไม จะไปเกลียดเขาทำไม คนเกิดมามันก็มีดีมีชั่วเหมือนกัน เพราะอาศัยมีความโง่เสมอกัน
    ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ความง่วงเหงาหาวนอน จะหากินทางโลกก็ตามทางธรรมก็ตาม ถ้าง่วงเสียแล้วมันก็ไม่มีท่า
    อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านความคิดพล่านเกิดขึ้นแก่จิต นี่เราคิดว่าจะไถนา พอคิดเรื่องไถนาเข้าแล้วไม่เอาแล้ว ไปคิดเรื่องสุ่มปลามาแทน
    วิจิกิจฉา ความสงสัย ที่พระพุทธเจ้าเทศน์ไว้นี่จริงหรือไม่จริงแล้วคำสั่งสอนที่ในพระไตรปิฎกเป็น ของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า อย่างพระสูตรก็ดี ชาดกก็ดี นี่จริงหรือเปล่า
    ตอนมหาสติปัฏฐานสูตรตอนธรรมานุปัสสนานี่ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีสัมปชัญญะว่านี่กามฉันทะมันเกิดขึ้นกับใจเราแล้วหรือ ยัง กามฉันทะนิวรณ์ ถ้าไม่มีก็จงรู้ว่าไม่มี ถ้ามีก็จงรู้ว่ามี แล้วพยาบาทความโกรธ ถีนมิทธะความง่วงเหงาหาวนอนหรือความฟุ้งซ่านในอารมณ์ของจิต ความสงสัยในพระรัตนตรัย มันเกิดมีในจิตหรือเปล่า ถ้ามันเกิดขึ้นจงรู้ว่ามันเกิดขึ้น แล้วหาทางระงับเสีย แล้วขณะใดถ้านิวรณ์มันว่างจากจิต เราก็มีอารมณ์รู้ว่านิวรณ์ว่างจากจิต อารมณ์ผ่องใสมีอาการจิตสบาย เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา เราไม่มีฉันทะความพอใจในรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัสใด ๆ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้นิวรณ์ ทั้ง 5 ประการก็เพราะว่า เมื่อรู้อยู่ว่ามันจะเกิด ก็กันไม่ให้มันเกิด มันเกิดแล้วก็ทำลายมันเสีย เมื่อทำลายมันแล้วก็ทำลายให้มันสิ้นไป ไม่ให้มันเกิดอีก ถ้านิวรณ์ 5 ประการไม่เกิดกับจิต อารมณ์ของจิตว่างจากนิวรณ์เมื่อไหร่ ก็ชื่อว่าจิตของท่านทรงปฐมฌานเป็นอย่างต่ำ

     
  3. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <center>ตอนที่ ๑๒</center> เรื่องขันธ์ มหาสติปัฏฐานสูตรในกายานุปัสสนาก็ดี เวทนานุปัสสนาหรือว่าจิตตานุปัสสนาถึงข้อนิวรณ์ 5 อันนี้ เป็นสมถกรรมฐาน ตอนที่ว่าด้วยขันธ์นี่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ขันธ์ก็แปลว่ากอง ขันธ์ 5 แปลว่า มีอยู่ 5 กอง คือ 1 รูป 2 เวทนา 3 สัญญา 4 สังขาร 5 วิญญาณ คำว่าวิญญาณตัวนี้ไม่ใช่จิต เป็นวิญญาณที่เกาะอยู่กับขันธ์ 5 เรียกว่าประสาท การพิจารณาขันธ์ 5 นี่เป็นปัจจัยให้ได้โสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ ในอริยสัจ 4 ก็เหมือนกัน อริยสัจ 4 ก็เป็นการพิจารณาขันธ์ 5 คือทุกข์หรือว่าสมุทัยที่เกิดกับขันธ์ 5 ขันธ์ 5 เป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน คือคนที่จะบรรลุพระโสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ อาศัยขันธ์ 5 เป็นปัจจัย
    มีพระสูตรหนึ่ง สูตรนี้ก็มีอยู่ในพระธรรมบทขุททกนิกาย หรือว่ามาจากพระไตรปิฎก เรื่องมีอยู่ว่า สมัยหนึ่งบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายที่บวชใหม่ เข้าไปกราบทูลลาองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งใจจะไปเจริญพระกรรมฐานในป่า หวังให้บรรลุมรรคผล ตอนนั้นองค์สมเด็จพระทศพลจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสถามว่า "ภิกขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไปลาพระสารีบุตรแล้วหรือยัง" บรรดาพระทั้งหลายเหล่านั้นจึงกราบทูลว่ายังพระพุทธเจ้าข้า พระพุทธจ้าจึงทรงมีพระบัญชาว่า อย่างนั้นก่อนที่เธอจะไปเธอจงไปลาพระสารีบุตรเสียก่อน พระเหล่านั้นก็รับคำแล้วก็ลาพระพุทธเจ้าออกไปจากพระมหาวิหารเข้าไปหาพระสารี บุตร พอเข้าไปถึงพระสารีบุตร พระสารีบุตรให้โอวาทอื่นพอสมควร แล้วพระทั้งหลายเหล่านั้นจึงได้ถามพระสารีบุตรว่า พวกกระผมเป็นปุถุชน ถ้าจะปฏิบัติตนให้เป็นพระโสดาบันจะ ทำยังไงขอรับ พระสารีบุตรก็บอกว่า ถ้าพวกเขาทั้งหลายปรารถนาเป็นพระโสดาบัน ก็จงพิจารณาขันธ์ 5 ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา ปลงให้ตกจนกว่าจะเลิกสังโยชน์ 3 ได้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส เมื่อปลงขันธ์ 5 อย่างเดียวสังโยชน์ 3 มันจะขาดไปเอง เมื่อสังโยชน์ 3 ขาดลงไปแล้ว พวกเธอก็จะได้เป็นพระโสดาบัน พระพวกนั้นก็เลยถามต่อไปว่า เมื่อผมเป็นพระโสดาบันแล้วจะเป็นพระสกิทาคามีจะ ทำยังไง ท่านก็บอกว่าพิจารณาขันธ์ 5 ตามแบบนั้นแหละพิจารณาละเอียดลงไปก็จะเป็นพระสกิทาคามีเอง พระพวกนั้นก็ถามต่อไปว่า เมื่อพวกกระผมเป็นพระสกิทาคามีแล้ว จะเป็นพระอนาคามีจะ ทำยังไง ท่านก็บอกว่าปลงขันธ์ 5 นั่นเองทำอย่างว่านั้นแหละ แล้วกามฉันทะกับปฏิฆะ คือการกระทบกระทั่งจิต การโกรธ ความพยาบาท มันก็จะสิ้นไปเอง ก็จะเป็นพระอนาคามี ท่านพวกนั้นก็ถามต่อไปว่า ถ้าผมเป็นพระอนาคามีแล้ว ผมจะเป็นอรหันต์จะต้องทำอย่างไร ท่านบอกว่าพิจารณาขันธ์ 5 ตามที่บอกมานั่นแหละก็เป็นพระอรหันต์ไปเอง สังโยชน์ 10 ก็ จะขาดไป พระพวกนั้นก็จะถามว่า เมื่อเป้นพระอรหันต์ละสังโยชน์ 10 ได้แล้วการพิจารณาขันธ์ 5 ไม่ต้องทำต่อไปใช่ไหมขอรับ พระสารีบุตรตอบว่าไม่ใช่ พระอรหันต์นี่แหละทำหนัก ยิ่งพิจารณาหนักเพื่อความอยู่เป็นสุข ขันธ์ 5 ตัวเดียวเท่านั้นแหละเป็นเหตุละกิเลสได้ทุกตัว ในขันธวรรคแห่งพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าบอกว่า ธรรมะส่วนหนึ่ง หรือธรรมะอย่างหนึ่ง กองหนึ่ง ที่สามารถทำลายกิเลสได้ทั้งหมด เรื่องขันธ์ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อีกข้อหนึ่งภิกษุทั้งหลาย คือ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อันได้แก่อุปาทานขันธ์ 5 อย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย จึงชื่อว่าภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอันได้แก่อุปาทานขันธ์ 5 อย่างนี้คือภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่ารูปอย่างนี้ รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
    รูปนี่ เราสามารถจะเห็นได้ด้วยตาเนื้อ เกิดขึ้นด้วยอำนาจของธาตุ 4 มีอาการ 32 มหาสติปัฏฐานต้องมองย้อนไปย้อนมาว่า คือรูปมันก็มีหนังกำพร้ามีเนื้อมีรูป มีตับไตพังผืดไส้ปอด ไม่ต้องพรรณนาอาการ 32 ครบถ้วนเป็นรูป ทีนี้รูปร่างนี้มันเกิดขึ้นได้ยังไงก็ต้องไปดูธาตุ 4 อาศัยธาตุ 4 มาประชุมกัน ตั้งขึ้นมาตั้งแต่เล็กแล้วก็โตมาทีละน้อย ๆ อาศัยอาการเปลี่ยนแปลงเจริญเติบโตขึ้น การเจริญขึ้น ก็หมายถึงการเสื่อมลงนั่นเอง เดินไปหาความพังของมันแล้วในที่สุด ก็เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายเป็นโรคะนิทัง เป็นรังของโรค คำว่าโรคะหรือโรค แปลว่าอาการเสียดแทง ทำให้ไม่สบายกายไม่สบายใจ แล้วในที่สุดมันก็เสื่อมลง ๆ แล้วก็สลายตัว คือตาย
    ว่าด้วยเรื่องรูป ในอาการ 32 ที่ว่าด้วยปฏิกูลบรรพพิจารณาอาการ 32 มาแล้ว พิจารณาธาตุ 4 รูป คือกายคตานุสติกรรมฐาน คืออาการ 32 เป็น อนิจจังไม่เที่ยง ทุกขัง เต็มไปด้วยความทุกข์ อนัตตา มีความสลายตัวไปในที่สุด
    เวทนาก็ คืออารมณ์ อารมณ์ที่เป็นสุข อารมณ์ที่เป็นทุกข์ อารมณ์ที่ไม่สุขไม่ทุกข์ อาการเกิดของเวทนาเป็นยังไง ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย มันเป็นเวทนาทั้งนั้น เป็นทุกขเวทนา การอยากได้ของที่ชอบใจเป็นสุขเวทนา รู้ว่าเวทนามันเกิดขึ้นแล้วก็สลายตัวไป ไม่มีอะไรคงที่ มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเหมือนกัน
    สังขาร คือสภาพที่ ปรุงแต่งจิต หมายความถึงอารมณ์ของจิต อารมณ์ที่เข้ามาแทรกจิต ท่านกล่าวว่า อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร สังขารมี 3 ปุญญาภิสังขาร คือ อารมณ์ที่มีความสุข อปุญญาภิสังขาร ได้แก่อารมณ์ที่มีความทุกข์ อารมณ์ที่มีความสุขก็คือบุญ อารมณ์ที่มีความทุกข์ก็คือบาป ความชั่ว และอเนญชาภิสังขาร คืออารมณ์ที่วางเฉยเป็นอารมณ์กลางได้แก่อุเบกขารมณ์ เป็นอารมณ์ว่างจากกิเลส ว่างจากความสุขหรือความทุกข์ อันนี้เป็นอารมณ์ที่ปรารถนาพระนิพพาน ถ้าเป็นอารมณ์ฝ่ายกุศลก็มีความสุขใจ ถ้าเป็นอารมณ์ฝ่ายอกุศลก็มีความทุกข์ใจกลัดกลุ้มใจ ถ้าเป็นอารมณ์พระนิพพานก็มีแต่ความเยือกเย็น อารมณ์อย่างนี้มันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป มันไม่คงสภาพ เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ ไม่คงที่ เดี๋ยวมีอารมณ์อย่างนี้ เดี๋ยวมีอารมณ์อย่างนั้น ข้อนี้เป็นวิปัสสนาญาณ ให้พิจารณาว่ามันเป็นอนัตตา ไม่มีอะไรทรงตัว
    สัญญา คือความจำ จำได้บ้าง จำไม่ได้บ้าง จำได้นิด ๆ หน่อย ๆ แล้วก็สลายไป ตั้งอยู่ไม่ได้นาน
    วิญญาณ ที่รับรู้สภาพของอากาศ ดินฟ้าอากาศ ความร้อน ความหนาว ความหิว ความกระหาย ความเจ็บ ความปวด ความอ่อน ความแข็ง นี่เป็นอาการของวิญญาณ คือประสาท สัมผัสรู้ว่าอ่อน รู้ว่าแข็ง รู้ว่าเย็น รู้ว่าร้อน แล้วก็เลิกสัมผัส ไม่มีอะไรแน่นอน
    การที่มาพิจารณาเรื่องขันธ์ 5 ก็เพื่อละ อุปาทานขันธ์ 5 อุปาทาน แปลว่าเข้าไปยึดถือ ขันธ์ 5 ว่าเป็นเรา ว่าเป็นของเรา เรามีขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มีในเรา การที่เราจะเป็นใคร มียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่มีความมั่นคงแน่นอน เราต้องทุกข์เพราะขันธ์ 5 เป็นอย่างมาก ไม่ว่าในเรื่องของการปวดท้อง หิวข้าว มีเวทนาต่าง ๆ การปวดเมื่อย เราไปห้ามไม่ได้ และสิ่งต่าง ๆ ก็สลายไปในที่สุด ไปยึดถืออะไรไม่ได้ ไม่มีความจีรังยั่งยืน เราคือ จิต จิตเราชั่ว เราก็ต้องหาที่เกิดต่อไป นี้คือ วิปัสสนาญาณ และสมถะ ก็อย่าทิ้ง ถ้าทิ้งก็ตายเพราะเป็นลมหายใจเข้าออก เป็นการทรงสติสัมปชัญญะ



    <center>ตอนที่ ๑๓</center> ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อันได้แก่อายตนะภายใน 6 และอายตนะภายนอก 6 อย่างนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักจักษุ รู้จักรูป รู้จักสังโยชน์ ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุกับรูป รู้ความเกิดแห่งสังโยชน์ซึ่งยังไม่เกิด มีอยู่อย่างใด ก็รู้อย่างนั้น การละสังโยชน์ที่เกิดแล้ว มีอยู่อย่างใดก็รู้อย่างนั้น ความไม่เกิดอีกต่อไปแห่งสังโยชน์ที่ละแล้ว มีอย่างไรก็รู้อย่างนั้น นี่เป็นถ้อยคำของพระพุทธเจ้าที่ตรัสกับภิกษุอายตนะมีอยู่ 2 อย่างทั้งภายใน และภายนอก คือ ภายในมี 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นะขอรับ ข้างนอก 6 ก็ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ธรรมนี่มี 6 อย่างด้วยกัน
    สังโยชน์แปลว่ากิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด เรียกว่ามันทั้งร้อยทั้งรัดเกาะแน่นเลย เพราะอะไร เพราะลูกตาเป็นสื่อสำคัญ ตาเห็นรูปชอบรูป หูได้ยินเสียงชอบเสียง จมูกได้กลิ่น ชอบกลิ่น ลิ้นได้รส ชอบรส กายกระทบกระทั่งชอบสัมผัส เมื่อตาเห็นรูปติดรูป สังโยชน์มันเกิดอย่างนี้ หูฟังเสียงติดเสียง เสียงอะไร เสียงชมก็ติด เสียงด่าก็ติด เสียงชมก็ติด ติดชื่นใจ เสียด่าติด ติดเจ็บใจ จมูกดมกลิ่น ชอบใจกลิ่น หรือติดกลิ่น ถ้ากลิ่นหอมชอบใจ ถ้ากลิ่นเหม็นก็รังเกียจ คิดไม่หาย ลิ้นกระทบของก็ติดรส แล้วกายกระทบกระทั่งก็ติดสัมผัส เมื่อสังโยชน์เป็นกิเลสมาร้อยรัดแล้ว จงรู้ว่ามันเกิดขึ้นแล้ว ตอนนี้เป็นสัมปชัญญะ เป็นสมถะ สมถะเป็นกำลัง วิปัสสนาเป็นอาวุธ นำมาฆ่ากิเลสให้ตาย สังโยชน์มันมีอยู่ 10



    1. [*] สักกายทิฏฐิ มี ความหลงผิดเข้าใจว่าขันธ์ 5 คือร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา เรามีขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มีในเรา ก็คิดว่าร่างกายของเรานี่มันไม่ตายหรอก มันไม่ตาย มันไม่ยอมตาย มันไม่ยอมสลายตัว มันอยู่กับเราตลอดเวลา แล้วก็ร่างกายของบุคคลอื่นก็เหมือนกัน ที่เราชอบเรารัก คิดว่าเขาจะไม่ตาย คิดว่าเขาจะไม่เปลี่ยนแปลง เขาจะอยู่กับเราตลอดเวลา นี่เป็นความคิดของบุคคลผู้เป็นเหยื่อของวัฏฏะ หมายความว่าเป็นเหยื่อของกิเลส
      [*] วิจิกิจฉา สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า
      [*]สีลัพตปรามาส นี่ได้แก่การรักษาศีลไม่จริง
      [*]กามฉันทะ มีความพอใจในรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัสตามที่อายตนะกระทบกระทั่ง รักอยากได้มาเป็นผัวเป็นเมีย อยากเคล้าเคลียอยู่คู่ครอง
      [*]ปฏิฆะความพยาบาท ความกระทบกระทั่งจิต ความไม่ชอบใจที่เขาทำไม่ถูกใจเรา หรือพยาบาทการจองล้างจองผลาญ นี่ถ้ามันไม่ถูกใจละก็คิดอาฆาต
      [*] รูปราคะ หลงอยู่ในรูปฌาน คิดว่าฌานเป็นของวิเศษ
      [*] อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน
      [*] มานะ การถือว่าเราเสมอเขา เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา
      [*]อุทธัจจะ อารมณ์จิตฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทาง
      [*] อวิชชา ความโง่
    ตัดสังโยชน์ 10 นี้ ก็สามารถเข้าพระนิพพานได้
    สักกายทิฏฐิ ตามที่พูดมาแล้วในขันธวรรค หรือขันธบรรพ ที่พระสารีบุตรบอกกับบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลาย ตัดสักกายทิฏฐิได้ตัวเดียวไปนิพพานได้ จะเป็นพระโสดาก็ได้ เป็นอานาคาก็ได้ สมมุติว่าตาเป็นรูป มันเกิดรักรูปเข้า ทีนี้รูปไหนล่ะที่เรารัก ไปยืนเปรียบเทียบดู มองดูว่าเรามีเท้าเขามีเท้าหรือเปล่า เรามีหนังเขามีหนังหรือเปล่า เรามีตามีหู มีจมูกมีฟัน มีเลือดมีเสลด มีน้ำเหลือง แล้วเขามีหรือเปล่า เมื่อมันเกิดมาใหม่แล้ว มันเก่าหรือเปล่า รูปคนรูปบ้านเราชอบใจเดี๋ยวเราก็ละ มันเก่าแล้วเราก็ไม่ชอบ เครื่องประดับประดา ประเดี๋ยวก็หยิบประเดี๋ยวก็วาง ไอ้ที่ติดมากนี่คือรูปคน รูปคนนี้ไม่ใช่ชอบรูปอย่างเดียว ชอบลูบชอบคลำเสียด้วย ชอบสัมผัสนี้มันชอบมาก ทีนี้ ตัวรูปตัวนี้แหละไปลองคลำ ๆ ดูว่าเขามีเหมือนเรา นึกเข้าไปในท้องดูว่าเขามีอะไรเหมือนเราไหม ถ้ามีแล้วก็ลองพิจารณาดูว่ารูปนี้สะอาดหรือสกปรก น่าประคับประคองหรือเปล่า แล้วก็ดูต่อไป รูปนี้มีอาการเปลี่ยนแปลงไหมนะ แล้วในที่สุดมันพังไหม เมื่อพังแล้วมันก็สะอาดหรือมันเก่า มันผุมันเปื่อย มันเหม็นหรือมันหอม หาความเป็นจริง นี่เรียกว่ารูปภายนอกที่เราชอบนะ รูปภายในคือร่างกายของเรา ว่ามันทรงสภาพไหม มันเปลี่ยนแปลงไหมแล้วมันจะตายไหม ถ้ารู้ว่ามันจะเปลี่ยนแปลง มันจะตาย มันจะสกปรก แล้วก็มันไม่เป็นมิตรที่ดีสำหรับเรา จะชอบมันทำไมโมกขธรรม คือธรรมเป็นเครื่องพ้นจากความตายมีอยู่ ทำไมจึงไม่ชอบ นั่นก็คือพระนิพพาน ทำใจยังไงจึงจะเห็นชัด นวสี 9 คือ อสุภกรรมฐานมา เอาธาตุ 4 มา เอาปฏิกูลสัญญามาช่วยประกอบ เวลาเจริญวิปัสสนาญาณต้องเอาสมถะมาช่วยประกอบ ถ้าตัดรูปไปได้ตัวเดียว เห็นแล้ว ว่าจะต้องเสื่อม ต้องตาย คิดบ่อย ๆ ให้ชิน พิจารณาให้เห็น หนัก ๆ เข้ามันก็จะมีความรังเกียจคล้าย ๆ รังเกียจสิ่งโสโครก คืออสุภกรรมฐาน ได้แก่คนเน่าคนเปื่อย สุนัขเน่าสุนัขเปื่อยนั่นเอง เมื่อเกิดนิพพิทาญาณความเบื่อหน่ายแล้ว ต่อมาสังขารุเปกขาญาณ ความวางเฉยในสังขารมันก็ปรากฏ ในร่างกายนะ ก็เชิญป่วยซี มียาฉันก็รักษา หายก็หาย ไม่หายก็ตามใจนายซิ ตามใจ จะตายรึ? ก็ตามใจซี ฉันรู้แล้วนี่ ว่าแกจะตาย ไอ้แกกับฉันนี่ชาตินี่ชาติเดียว เป็นชาติสุดท้ายนะ ต่อไปเลิกคบกัน เราไม่ต้องการ ท่านโคทิกะบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา บวชมาแล้วได้แต่เพียงฌานโลกีย์ ไม่ได้อรหัตตผล พระโสดาก็ไม่ได้ เกิดความป่วยไข้ไม่สบายอย่างหนักบวมทั้งตัว ในที่สุดก็เกิดเบื่อสังขาร เบื่อขันธ์ 5 คิดว่าเกิดมาทันพระพุทธเจ้าแล้วขันธ์ 5 ยังเป็นโทษ เลยไม่ต้องการขันธ์ 5 อีก คิดว่าชาตินี้ชาติเดียว เราเป็นเหยื่อของขันธ์ 5 ชาติหน้าขันธ์ 5 ไม่มีสำหรับเรา เมื่อไม่ต้องการความเกิดอีกทั้งหมด ขึ้นเชื่อว่าขันธ์แล้วไม่ต้องการ เลยเอามีดโกนเชือดคอตาย ไปนิพพาน ในหลักสูตรนักธรรมโทนี่การไปนิพพานมีนิพทิทาญาณ สังขารุเปกขาญาณเสียหน่อยเดียว ก็ไปได้ ทีนี้เมื่อตัดสักกายทิฏฐิได้แล้ว เสียง กลิ่น รสสัมผัสก็เหมือนกัน ตัดได้หมด ให้ตัดรูปเสียงเถอะ ไอ้เสียงมันก็มาจากรูป ไอ้รสแห่งการสัมผัส รสกระทบลิ้นมันก็มาจากรูป ไอ้สัมผัสมันก็มาจากรูป ทำไมว่ารสมาจากรูป กินรูปเข้าไปได้รึ? ก็กินปลากินหมูนี่ไม่ใช่รึ กินผักกินน้ำพริกน่ะ มันรูปทั้งนั้นแหละ จะไปเอาแต่รูปคนยังไงเล่า นี่มันก็เป็นรูปด้วยกันหมดแหละ เมื่อตัดสักกายทิฏฐิได้แล้ว ต่อไปเมื่อมีความสงสัยในคำสอน ก็นึกว่านี่เราเห็นตามจริงพระพุทธเจ้าแล้วนี่ ท่านกล่าวว่า คนเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกันหมด ก็เลิกสงสัย ทีนี้ ถ้าเราจะเอาดีแล้ว เห็นดีแล้วตามพระพุทธเจ้าก็นึกว่า
    ศีลนี่แหละจะนำเราไปพระนิพพาน กำลังใจมันก็เกิด ก็รักษาศีลได้
    กามฉันทะ เรากำจัดความพอใจในรูปเสียงได้แล้วกามฉันทะมันก็หมดไป ถ้ามีอารมณ์ที่เป็นอนุสัย ก็ค่อย ๆ คิด มันก็หายไป แล้วมาพยายาม โอ๊ มันจะเกิดมาได้ยังไงเล่าก็เรารู้ว่าเขาจะตาย เขาก็ต้องเจ็บเขาเอง มันก็หายไป ทีนี้ ถ้าอารมณ์จับพระนิพพานแล้วนี่ตอนนี้ เป็นพระอนาคามีแล้วนี่แหละ กำจัดพยาบาทได้เป็นพระอนาคามีแล้ว รูปราคะในปฐมฌานในรูปฌานก็ดีหรืออรูปราคะในอรูปฌานก็ดี อย่าคิดว่าฌานเป็นของเลิศประเสริฐไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า มันคิดไม่ได้แล้ว เพราะวิปัสสนาญาณที่มีกำลังสูงกว่ามีความบริสุทธิ์กว่าเข้าถึงแล้ว เหมือนกับเรียนมัธยมแล้วเห็นว่าชั้นประถมไม่สำคัญหมายความว่าชั้นประถมไม่ ใช่ชั้นเลิศ ต้องเรียนชั้นอุดมต่อไป
    มานะ เมื่อรู้ว่าคนคนเหมือนกันแล้ว มานะมันจะเกิดที่ไหน อุทธัจจะความฟุ้งซ่านก็เหมือนกัน ในเมื่ออารมณ์จับพระนิพพานแล้วความฟุ้งซ่านไม่มี มีอย่างเดียว คืออย่างที่อื่นไม่เห็นด้วย เห็นด้วยเฉพาะนิพพานเท่านั้น จับเฉพาะพระนิพพานจิตไม่คลาดจากพระนิพพาน อย่างนี้เรียกว่าไม่มีอุทธัจจะ อวิชชาความโง่ เมื่อรู้มาแค่นี้แล้วมันจะโง่ยังไง ไม่มีการโง่หรอก ไม่ต้องไปตัดหรอก มันตัดหมดของมันเอง นี่เป็นอันว่าอายตนะทั้ง 6 ต้องตัดด้วยสักกายทิฏฐิ สังโยชน์ที่เกาะร้อยรัดจึงจะหมดไป

    <center>ตอนที่ ๑๔</center> โพชฌงค์แปลว่าธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ หมายความว่าคนที่เข้าถึงการบรรลุมรรคผล หรือว่าเข้าถึงความดีได้ต้องมีโพชฌงค์ 7 ประการ โพชฌงค์นี่มีอยู่ด้วยกัน 7 ประการ


    1. [*] สติ ความระลึกได้
      [*] ธรรมวิจยะ การวินิจฉัยธรรม
      [*]วิริยะ ความเพียร
      [*] ปีติ ความอิ่มใจ
      [*] ปัสสัทธิ ความสงบ
      [*] สมาธิ จิตตั้งมั่น
      [*] อุเบกขา ความวางเฉย
    จัดว่าเป็นโพชฌงค์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่องและทรงรับรอง ว่า ถ้าใครมีคุณธรรม 7 ประการนี้ไว้ประจำใจแล้ว เรียกว่าประจำ ให้รู้อยู่ว่าเรามีโพชฌงค์ 7 หรือไม่ หรืออาการโพชฌงค์ 7 เกิดขึ้นได้อย่างไร ยังคงอยู่หรือว่าเสื่อม
    สติ ความระลึกได้ เวลานี้ท่านรู้อยู่หรือเปล่าว่าลมหายใจเข้าออกของท่านมีอยู่เวลานี้ท่าน หายใจเข้าสั้นหรือยาว หายใจออกสั้นหรือยาว นี่เป็นการใช้สติเหมือนกัน อิริยาบถ เรากำลังเดินอยู่หรือเปล่าหรือนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ หรือเดินอยู่ หรือทำอะไรอยู่สัมปชัญญะ เรารู้ตัวอยู่ว่าเวลานี้เราทำอะไรนะ นี่สตินึกอิริยาบถที่เข้าไปถึงสัมปชัญญะนี่เวลาอาบน้ำ หรือว่าเรากินข้าว เราห่มผ้า เราเมาร่างกายหรือเปล่า ร่างกายของเรานี่เราเมาไหม เราคิดว่ามันสวยมันงามหรือเปล่า ถ้าคิดว่าสวยว่างาม ก็นึกลงไปอีกทีว่า ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในปฏิกูลสัญญาว่า ปฏิกูลสัญญาว่าสภาพร่างกายมีอาการ 32 คือว่าอัฏฐิ อิมัสมิง กาเย เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้น มีขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ตับ ไต ไส้ ปอด อุจจาระ ปัสสาวะอะไรก็ตาม ตามที่เรียนมาแล้วก็เราเห็น หรือว่ามันชั่วหรือว่ามันไม่ชั่วมันสวยหรือมันไม่สวย มันเป็นของสะอาดหรือของสกปรก หากว่าเราเมาชีวิต คิดว่าเราจะไม่ตายก็ไปดูป่าช้า 9 คิดว่านี่เรานึกถึงความตาย 9 อย่าง ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสหรือเปล่า แล้วก็ราคะจริต จิตที่รักสวยรักงามมันปรากฏในขณะเดียวกันหรือเปล่า แล้วเวลานี้เรานะงับลงไปได้หรือเปล่า นี่เป็นตัวสติ เราวิจัยจิตของเราหรือเปล่าว่าจิตของเรามีราคะ หรือว่าโทสะ หรือว่าโมหะ หรือว่าจิตของเราปราศจากราคะ โทสะ นึกว่าจิตของเรามีนิวรณ์หรือเปล่าไอ้นิวรณ์เครื่องกั้นความดีที่ทำให้คนไม่ เกิดฌาน นึกถึงขันธ์ ว่าอัตภาพร่างกายที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา ขันธ์ 5 มีสภาพเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไปแล้วก็สลายตัวไปในที่สุด เราไม่สามารถบังคับบัญชาขันธ์ 5 ให้อยู่ในอำนาจของเราได้ ที่เกิดมาแล้วในโลกมันเป็นทุกข์ ไอ้ความทุกข์ที่มาได้เพราะตัณหาสามประการ ถ้าเราดับตัณหาได้ก็ต้องอาศัยมรรค 8 ย่นมรรค 8 ลงมาก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา
    ธรรมวิจยะ แปลว่าสอดส่องธรรม หรือว่าวินิจฉัยธรรม วิจยะ วิจัย วิจัยวินิจฉัยค้นคว้าดูว่าไอ้สิ่งที่เราคิด ด้วยอำนาจของสติมันถูกหรือไม่ถูก มันตรงหรือไม่ตรง ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้หรือเปล่านี่ และพิจารณาดูว่าที่เราทำอยู่นี้ เคร่งเครียดตึงเกินไป หย่อนเกินไป หรือว่าพอดี และที่ทำอยู่ทำเพื่ออะไร เราทำเป็นมัชฌิมาปฏิปทาหรือเปล่า เมื่อเราทำตามนั้นแล้วมีผลเป็นยังไง ผลของความสุขใจมันเกิดขึ้นบ้างหรือเปล่านี่ เราใช้ข้อนี้เป็นเครื่องมือนะขอรับ โพชฌงค์ 7 นี่น่ะ เป็นเครื่องมือในการบรรลุ
    วิริยะ ได้แก่ความเพียร ต้องเพียรให้ตรง แล้วก็มีความพากเพียร ต้องคิดว่างานทุกอย่างต้องมีอุปสรรค ไม่ว่าอะไรทั้งหมด อุปสรรคมันมีทั้งนั้น จะถือว่าทำงานทุกอย่างเต็มไปด้วยความราบรื่นไม่ได้ คนที่มีความเห็นไม่ตรงกับท่านยังมีอยู่ เขาจะพูด ให้ท่านเกิดความเศร้าใจบ้าง สะเทือนใจบ้าง ถ้าอาการอย่างนี้ปรากฏก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องของธรรม เป็นธรรมดาของบุคคลที่มีความเห็นไม่เสมอกัน เราก็ต้องมีความเพียร เพียรละถ้อยคำ เพียรละอาการที่เขาแสดงออกซึ่งการเหยียดหยามต่าง ๆ เพียรตัด เพียรไม่สนใจ เพียรไม่ยุ่ง ทีนี้ถ้าความขัดข้องใดๆ มันปรากฏ เราก็ต้องนึกว่า นี่เราจะทำความดีนะ คนที่เขาทำนาเกี่ยวข้าว เขาก็ต้องต่อสู้กับอุปสรรคนานาประการ เช่น ความร้อน ความหนาว จากน้ำฝน จากอากาศ การต้องต่อต้านกับความเหนื่อยบาก อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้ง แล้วนี่เราจะมาบุกใจของเราให้ราบเรียบ มีผลเกิดจากใจไม่ต้องไปตากแดดตากฝน เหมือนกับคนที่ทำงานภายนอกบ้าน ถ้าอุปสรรคมันเกิดขึ้นทางใจแบบนี้ เราก็ต้องระงับทางใจ ถือขันติเป็นที่ตั้ง แล้วข้อสำคัญที่สุด พระคุณเจ้าก็อย่าลืม กระผมได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ตอนที่ว่าด้วยเรื่องวิชชาสามว่าความดีอันดับแรกก็คืออย่าสนใจกับชาวบ้าน เขาจะดีเขาจะเลวเขาจะว่ายังไง เขาจะแสดงอาการยังไงก็ปล่อยเขา อย่าไปสนใจกับเขา เท่านั้นเป็นพอ ทีนี้วิริยะตัวนี้เราจะเพียรแบบไหนถ้าโดนเข้าแบบนั้น ก็เพียรไม่สนใจในเรื่องของเขา เขาจะว่ายังไงก็เป็นปากของเขา เขาจะแสดงอาการทางกายยังไงก็เป็นอาการของเขา เราไม่สนใจเสียก็หมดเรื่อง นี่เราเพียรไม่สนใจ แล้วก็เพียรปฏิบัติตามกฎที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้วทุกอย่างในมหาสติ ปัฏฐานสูตร
    ปีติ แปลว่า ความอิ่มใจ ปีตินี่เราจะสร้างมันเองไม่ได้ ต้องทำไปตามกฎแห่งการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราพิจารณากรรมฐานในมหาสติปัฏฐานสูตรข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม ให้เห็นเหตุเห็นผล ความชุ่มชื่นจะปรากฏแก่จิต ความสุขของจิตจะมี ปีติแปลว่า ความอิ่มใจ สมมติว่าเราทำสมาธิจิตให้ได้อานาปานสติกรรมฐานในเมื่อสมาธิเข้าถึงจุด มีอาการทรงตัว ความอิ่มใจ คือความสุขใจมันจะเกิดขึ้น ความปลาบปลื้มมันจะเกิดขึ้น ทีนี้มาพิจารณาในปฏิกูลบรรพ หรือว่าธาตุบรรพ หรือว่านวสี 9 ยังงี้พอเกิดอารมณ์ปลงความปรารถนาใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเสียได้ ความเยือกเย็นจะปรากฏ นี่ปีติมันอิ่มตัวอิ่มใจ ทำให้เข้าถึงนะขอรับ ปีติมันต้องมี มีเพราะเรามีความเพียร มีเพราะเราทรงสมาธิ
    ปัสสัทธิ แปลว่าความสงบ ปัสสัทธินี้พระพุทธเจ้าให้ทรงอาศัยไว้ คือทรงสติสัมปชัญญะ และทรงสมาธินั่นเอง รักษาอารมณ์แห่งอานาปานสติกรรมฐานเข้าไว้ความสงบจะปรากฏ ความดิ้นรน ตัวจิตที่คิดนอกลูกนอกทางจะไม่ปรากฏ ถ้าเราทรงเมตตาเข้าไว้ ถ้าเรามีเมตตาเป็นประจำใจ เรียกว่าทรง ไอ้ตัวที่มีไว้เรียกว่าทรง พยาบาทจะไม่ปรากฏ ถ้าเรามีธรรมวิจยะ คือสอดส่องธรรมอยู่เสมอ ตัวสงสัยในคุณของพระรัตนตรัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่ปรากฏ จะเป็นปัสสัทธิ นี่อาการของปัสสัทธิจะเกิดขึ้นมาได้ด้วยอาการอย่างนี้ ไม่ใช่เกิดขึ้นมาเฉย ๆ ต้องรักษาเข้าไว้ คือต้องมีเข้าไว้ มีสติ มีธรรมวิจยะ มีวิริยะ มีปีติ มีปัสสัทธิ
    สมาธิ ความ ตั้งใจมั่นได้แก่การรักษาอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง รักษาอารมณ์ของเราให้เป็นเอกัคคตารมณ์ สมมติว่าเราจะนึกถึงกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ข้อใดข้อหนึ่งในมหาสติปัฏฐานสูตร อารมณ์จิตก็จะไม่หลบไปสู่อารมณ์อื่น นอกจากจะวิจัยกองนั้น นึกถึงกองนั้นอยู่ อย่างนี้เรียกกันว่าสมาธิ ไม่ใช่การนั่งหลับกานั่งหลับนั้นไม่รู้สึกตัวไม่รู้อะไรเลยอย่างนี้ ไม่ใช่สมาธิ ไม่ใช่ฌานแล้ว เขาเรียกกันว่าหลับในสมาธิ นักเจริญสมาธิก็แปลว่าตั้งใจมั่น ไม่ช่นั่งหลับหรือนอนหลับ สมาธิแปลว่าตั้งใจมั่น กำลังใจนี่คุมอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอยู่โดยเฉพาะจิตไม่สอดส่ายไปสู่อารมณือื่น อย่างนี้เราเรียกกันว่าสมาธิ ถ้าการเข้าถึงขั้นนิโรธสมาบัติข้างในน่ะลืมโพลง หมายความมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คือว่าจิตกับกายมันแยกกัน อาการภายนอกไม่รู้จริง แต่อาการภายในมีเหมือนกับคนที่ตื่นอยู่ปกติ แล้วก็มีอารมณ์ตั้งมั่นโดยเฉพาะ มีความสุขไม่มีความทุกข์ นี่เป็นอาการของนิโรธสมาบัติสมาธิขั้นสูง นี่เป็นยังงี้นะขอรับ ตัวสมาธิคือตั้งใจมั่นจับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะต้องมีเป็นปกติ ถ้ายังงั้นไม่มีทางบรรลุมรรคผล
    อุเบกขา ในกรณีนี้ คือวางเฉยต่ออาการของชาวบ้าน ชาวบ้านที่ทำให้เราไม่ชอบใจก็ดี ทำให้เราชอบใจก็ตาม เราเฉยเสียไม่ยอมรับนับถือทั้งชอบใจและไม่ชอบใจ นี่เป็นเรื่องธรรมดา ๆ นะ แล้วถ้าสูงขึ้นไปอีกนิด ก็อุเบกขาเหมือนกัน วางเฉยในขันธ์ 5 นี่สำคัญ ตัวนี้เป็นตัวแท้ ตัวแรกนั้นเป็นตัวหน้าตัววางเฉยเรื่องราวของชาวบ้านที่เขาพูดไม่ถูกหรือทำ ไม่ถูกใจ หรือทำไม่ถูกใจ พูดไม่ถูกใจ เราวางเฉยไม่เอาอารมณ์ไปยุ่ง ยังงี้เป็นเรื่องเปลือก ๆ เป็นอาการของเปลือก ไม่ใช่เนื้อ อุเบกขาที่แท้ต้องเป็นสังขารรุเปกขาญาณวางเฉยในขันธ์ 5 เรื่องของขันธ์ 5 มันจะรับอะไรมาก็ตาม เราเฉยเสีย คิดว่านี่เป็นธรรมดาของคนที่เกิดมามีชีวิต คนที่เกิดมามีขันธ์ 5 มันต้องมีอาการอย่างนี้เป็นปกติ ไม่มีใครจะพ้นอาการอย่างนี้ไปได้ ถึงแม้ว่าเราจะหลีกหนีให้พ้นไปสักขนาดใดก็ตาม เราจะมีเงินมีทองมีอำนาจวาสนาบารมียังไงก็ตาม ไม่สามารถจะพ้นโลกธรรม 8 ประการไปได้ คือ


    1. [*] มีลาภ
      [*] เสื่อมลาภ
      [*] มียศ
      [*] เสื่อมยศ
      [*] นินทา
      [*] สรรเสริญ
      [*]สุข
      [*]ทุกข์
    อาการ 8 ประการนี้ คนในโลกทั้งหมดหนีไม่พ้น ที่นี้เมื่ออาการภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมา เราก็วางเฉยเสีย ถือว่าเรื่องของขันธ์ 5 เป็นธรรมดา คนมีขันธ์ 5 ต้องมีการกระทบกระทั่งทั้งทางหูและทางตา หนีไม่ได้ก็ปล่อยมัน เหมือนกับคนเดินอยู่กลางทุ่งที่ไม่มีอะไรบัง ฝนจะตกก็ดี แดดจะออกก็ดี ก็ต้องถูกตัว แต่เราก็ไม่โกรธแดดโกรธฝน เพราะถือเราเป็นคนเดินดิน มันหนีไม่พ้น ทีนี้มาถ้าขันธ์ 5 มันป่วยไข้ไม่สบาย หรือมันจะตาย เราก็วางเฉยอีก เพราะว่าขันธ์ 5 สภาวะมันเป็นอย่างนี้ มันจะพังอย่างนี้ มันจะต้องป่วยอย่างนี้เป็นของธรรมดา เราก็เฉยมันเสียแต่ไม่เฉยเปล่านะ เอาจิตเข้าไปจับพระนิพพานเป็นอารมณ์ด้วย และนอกจากนั้น ถ้ารักษาเพื่อระงับเวทนาได้ก็ควรรักษา เมื่อรักษามันหายก็หาย ไม่หายก็ตามใจ นี่เรื่องของมัน วางเฉยไว้ คิดว่าถ้ามันทรงอยู่เราก็จะเลี้ยงมันไว้ ถ้ามันทรงอยู่ไม่ได้ เราก็จะไปนิพพาน ขันธ์ 5 มันเป็นตัวถ่วง เป็นตัวให้เกิดในวัฏฏสงสาร ถ้าเราข้องใจในมันเมื่อไร ความทุกข์ก็ไม่ถึงที่สุดเมื่อนั้น หมายความว่าความทุกข์มันก็จะปรากฏเมื่อนั้น ถ้าเราเลิกข้องใจกับมันเมื่อไร เลิกสนใจกับมันเมื่อไร เราก็สิ้นทุกข์เมื่อนั้น
    โพชฌงค์ 7 ประการก็พูดมาครบแล้ว พูดมาแนะนำแต่เพียงหัวข้อ วิธีคิดจริงๆ ก็คิดกันตามใจเถอะ จะคิดแบบไหนก็ได้ตามอารมณ์ เพราะทางเข้าถึงพระนิพพานมีหลายจุด ไม่ใช่ว่าจะมีตามจุดเฉพาะเดินในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้ง 4 เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่มีบารมีสูงๆ ในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้ง 4 นี้ บางทีท่านจับเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นก็ได้พระนิพพาน เป็นอันว่าโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการนี้ เป็นเครื่องมือสำหรับนักปฏิบัติเพื่อช่วยควบคุมกำลังจิตให้เดินเข้าสู่สภาวะ พระนิพพานอย่างง่ายดายมีขอบเขตนั่นเอง

    <center>ตอนที่ ๑๕</center> อริยสัจที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ จัดว่าเป็นยอดของธรรม อริยสัจตัวนี้เป็นตัวบรรลุมรรคผล
    อริยะ แปลว่าประเสริฐ หรือสะอาดหมดจดบริสุทธิ์ สัจจะ แปลว่าความจริง ที่เข้าถึงความสะอาดหมดจด หรือความประเสริฐนี้ได้ หรือจะแปลว่าความจริงที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบก็ได้ หรือพระอริยเจ้าทรงเห็นแล้วก็ได้ ว่ายังไงก็ได้ คำแปลไม่สำคัญ สำคัญว่าเราเข้าถึงอริยสัจหรือเปล่า ตัวนี้สำคัญ อย่ามัวไปเถียงกันเรื่องคำแปล แปลว่ายังงั้นถูก แปลว่ายังงั้นผิด แต่ไอ้ใจของเรามันคิดถูกหรือคิดผิด มันปลงถูกหรือปลงผิด ดีกว่าไปเถียงกันเรื่องคำแปล
    อริยสัจนี้มีอยู่ 4 อย่าง คือ



    1. [*] ทุกขสัจ
      [*]สมุทัยสัจ
      [*] นิโรธสัจ
      [*] มรรคสัจ
    มี 4 อย่างด้วยกัน จะพูดถึงทุกขสัจ
    สัจจะ แปลว่าความจริง ทุกขะ แปลว่าทนได้ยาก อะไรก็ตามที่จำจะต้องทน สิ่งนั้นเป็นทุกข์ทั้งนั้น แล้วก็อย่ามานั่งเถียงกันนาว่า อะไรบ้างต้นทนอย่างที่กำลังนั่งอยู่ก็ดี กำลังนอนอยู่ก็ดี ฟังอยู่ก็ดี ถ้านั่งตามสบายยังไม่ทุกข์ ถ้าถึงกับต้องทนนั่งละก็เป็นทุกข์ละ ถ้ารู้สึกปวดโน่นเข้ามานิด ปวดนี่เขามาหน่อย เมื่อยโน้นเข้ามานิด เมื่อยเข้ามาหน่อย อันนี้ก็เป็นทุกข์ เพราะมันต้องทน หรือบางท่านที่กำลังนั่งฟังอยู่นี่ บางคนก็เป็นไข้หวัดลงคออย่างผม เสียงแหบเสียงแห้งมีเสมหะที่คอไม่หลุด อาการรำคาญเกิดขึ้น อย่างนี้มันเป็นทุกข์ นี่เป็นอาการของความทุกข์ ผมชี้ทุกข์กันเลยนะมันเป็นความจริง สัจจะแปลว่าความจริง มันทุกข์จริง ๆ ถ้าจะมาบอกว่านี่มันยังทนได้ไม่ชื่อความทุกข์ ถ้าหากท่านที่กำลังนั่งฟังอยู่นี่ หิวข้าวหิวน้ำขึ้นมาก็เกิดควาทุกข์ เห็นหรือยังว่ามันทุกข์ ทีนี้ถ้าปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะก็เป็นทุกข์ อย่าทนนะ ถึงทนก็ทนได้ยาก ทนได้ไม่นานก็ต้องไปปล่อยมัน ถ้าความหนาวปรากฏ ความร้อนปรากฏ ความกระสับกระส่ายปรากฏ นี่ก็เป็นอาการของความทุกข์
    ตั้งแต่เกิดมานี่ ใครเคยมีความสุขจริง ๆ บ้าง เอากันความสุขเฉพาะวัน เอาละ สมมติว่าวันนี้ที่ท่านตื่นมาวันพุธ แล้วก็ตั้งใจคิดว่าวันนี้จะฟังธรรมะในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้งสี่ที่ผมมาพูด ทีนี้พอท่านตื่นนอนขึ้นแต่เช้าตรู่อาการที่หลับไปแล้ว ตื่นขึ้นมาหายอาการจากเพลีย ทีนี้ตื่นใหม่ ๆ มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ล่ะขอรับ ลองนั่งนึก ว่ามันเป็นสุขเป็นทุกข์ ขี้ตาที่กรังหน้าอยู่ ขี้ฟันที่กรังปากอยู่ กลิ่นในปากไม่ดี หน้ากรัง ตามีขี้ตา ถ้าจะทิ้งมันไว้จะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ มันจะเกิดความรำคาญไหม ถ้าเกิดความรำคาญละก็ นั่นไม่ใช่ความสุขหรือเป็นทุกข์ มันจะเกิดความรำคาญไหม ถ้าเกิดความรำคาญละก็ นั่งไม่ใช่ความสุขหรอกขอรับ เป็นความทุกข์แน่ นี่เป็นตัวทุกข์ตัวหนึ่งละ มันทุกข์เพราะรำคาญขี้หู ขี้ตา ขี้ฟัน เพราะปากเหม็น เราก็ต้องเดินไปล้างหน้า อาการที่เดินไปหยิบขันตักน้ำมาล้างหน้าต้องทำงาน ต้องมีอาการเครียดตัวส่วนใดส่วนหนึ่งเข้าไว้ คือว่ายืน หรือว่านั่ง มือซ้ายถือขัน มือขวาวักน้ำมาล้างหน้าหรือถือแปรงแปรงฟัน อาการที่ต้องทำแบบนี้ ถ้าไม่เลิกมันก็เหนื่อย มันก็เป็นทุกข์เหมือนกัน ทำน้อย ทุกข์น้อย ทำมาก ทุกข์มาก ทำนาน ทุกข์นาน ทำทั้งวัน ทุกข์ตลอดทั้งวัน เพราะมันเหนื่อยมันเมื่อยแต่นิด ๆ เราอาจจะยังไม่คิด แต่มันเป็นอาการของความทุกข์ ที่นี้ล้างหน้าแล้วแปรงฟันแล้ว หายจากความทุกข์ หน้ากรัง ฟันเหม็น ปากเหม็น หมดทุกข์ไปได้ชั่วขณะ อะไรมันตามมา ดีไม่ดีเจ้าตัวอุจจาระปัสสาวะมันจะโผล่หน้ามา มันก็จะต้องบอกว่า นี่ รีบนำฉันไปปล่อยเสียนะ ถ้าแกไม่รีบปล่อยฉัน ฉันจะจัดการให้แกขายขี้หน้าชาวบ้าน อาการอย่างนี้มีหรือเปล่าละขอรับ วัน ๆ หนึ่งมีไหม ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ถ้ามีก็จัดว่าเป็นทุกข์นะขอรับ นี่วันหนึ่งละนะ ในวันหนึ่งเราจัดว่ามีความสุขอะไรบ้าง ต่อมาสายนิด ชักหิวข้าว ถ้าเราไม่ไปกินมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ขอรับ มันก็เป็นทุกข์นะขอรับ ถ้าไม่กิน กินเข้าไปแล้วก็สุขประเดี๋ยวเดียว สุขแค่อิ่ม สุขแล้วต่อไปมันก็หิวอีก ตอนกลางวันหิวเราก็ไปกินมันใหม่ มันก็สุขไปนิดเดียว แล้วตอนเย็นมันก็หิวอีก หิวแล้วกราก็กินมันใหม่ กินแล้วไม่ช้ามันก็หิวอีก นี่ มันไม่มีจังหวะพ้นจากความทุกข์ หิวเมื่อไรทุกข์เมื่อนั้น นี่เอาแต่ทุกข์ประจำวันกันก่อน ทีนี้มาตอนรับประทานอาหารแล้ว มีงานที่จะต้องทำอย่างบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท จะต้องไปทำนาบ้าง ไปค้าขายบ้าง ไปรับราชการบ้าง หรือว่าต้องดูแลลูกหลายอยู่กับบ้านบ้าง การทำงานนี่มันเหนื่อยไหม ลองคิดดูบรรดาพระเจ้าพระสงฆ์ก็ต้องเข้าห้องเรียนศึกษาบ้าง ท่องหนังสือสวดมนต์บ้าง บางทีพวกที่เป็นหมอก็เตรียมยาไว้ เตรียมเวทย์เตรียมมนต์ไว้ ท่านที่เป็นนักเทศน์นักธรรมก็ค้นคว้าตำรับตำรา อาการอย่างนี้มันเป็นอาการเหนื่อยหรือเปล่าขอรับ เหนื่อยไหมบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทเวลาไปทำงานทำการมันเหนื่อยหรือเปล่า เหนื่อยทั้งกำลังกายแล้วก็เหนื่อยทั้งอารมณ์ ลองคิดดูให้ดี ทำงานแบกหาม ไม่ใช่ว่าไม่ต้องใช้ความคิด มันต้องใช้ความคิดเหมือนกัน จะแบกยังไงจะดี จะหามยังไงจะดี จะไถนาที่ตรงไหน จะหว่านข้าวที่ตรงไหน นี่อารมณ์มันต้องคิด อย่างพระคุณเจ้าที่ค้นคว้าตำรับตำราจะเป็นธรรมวินัย หรือตำราหมอดู ตำราหมอยา ตำราหมอเวทย์มนต์ก็ตาม มันก็เหนื่อยอารมณ์เหมือนกัน ไอ้การเหนื่อยนี่เป็นสุขหรือเป็นทุกข์เล่าขอรับ มันก็เป็นทุกข์นะขอรับ เห็นทุกข์หรือยัง นี่กว่าเราจะหลับลงไปได้ บางทีเรายังต้องเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์ที่ไม่ถูกใจอีก เพื่อนของเราที่มีอยู่ประจำโลก มีอยู่ประจำบ้าน มีอยู่ประจำตัว ได้แก่คนอีกคนหนึ่งนะขอรับ ไม่ใช่ตัวเรา นี่บางทีก็สร้างอารมณ์ความดีใจให้ปรากฏบางทีสร้างอารมณ์ข้องใจให้ปรากฏในวัน เดียวกัน อารมณ์ของเราก็ไม่ทรงตัว การเกิดความข้องในอารมณ์มันเป็นความสุขใจหรือทุกข์ใจขอรับ อย่างนี้ก็จัดว่าเป็นความทุกข์นี่เป็นอันว่า วันหนึ่งนี่เราหาความสุขจริงๆ ไม่ได้เลย นี่เอากันแค่วันหนึ่งนะนี่เรื่องธรรมดา ๆ ทีนี้ต่อมาไอ้การป่วยไข้ไม่สบาย ถ้ามันปรากฏ อย่างผมนี่ เอาผมเป็นตัวอย่าง อย่างผมนี่เวลาจะมาพูดกับพระคุณเจ้านี่ไข้มันจับมาก่อนนะขอรับ อาการหนาว ๆ อย่างนี้นะขอรับ มันเป็นไข้ ไข้แล้วก็หวัดด้วย แล้วก็เสมหะปะคอ พระคุณเจ้าและบรรดาญาติโยมที่รักที่กำลังนั่งฟัง ได้เคยป่วยไข้ไม่สบายไหม เคยมีไหม ถ้าไม่เคยมีก็บุญตัว ถ้าเคยมีลองนึกทบทวนไปดูว่าอาการมันเป็นยังไง ความทุรนทุรายใจมันปรากฏความทุรนทุรายกายมันปรากฏ แล้วอาการอย่างนี้มันเป็นความสุขหรือความทุกข์ล่ะขอรับ กรุณานั่งคิดด้วยนะขอรับ ว่านี่มันสุขหรือมันทุกข์
    ทีนี้มาว่ากันถึง ร่างกายมันเปลี่ยนแปลง ตอนเป็นหนุ่มเป็นสาวไม่ต้องพูดกันมันยังเมามันอยู่ ถ้าหากว่าท่านยังไม่แก่ ท่านเห็นคนแก่ไหม เคยเห็นคนแก่ไหม จะกินอะไรก็ไม่ถนัด ฟันไม่ดี มองอะไรก็ไม่ถนัด ตาไม่ดี ฟังอะไรก็ไม่ถนัด หูไม่ดี จะทำอะไรก็ไม่ถนัดเพราะกำลังไม่มี เห็นคนแก่แล้ว หรือตัวเองกำลังจะแก่ก็ตาม มีความรู้สึกว่า คนแก่มีความสุขหรือความทุกข์ขอรับเคยเห็นคนไหนคนแก่บ่นว่ามีความสุขเพราะแก่ มีไหม ถ้าไม่เห็นมีก็ลองถามเขาดู ความเป็นคนแก่กับคนหนุ่ม สมัยเป็นหนุ่ม ๆ กับคนแก่นี่น่ะ จะแลกกันจะเอาอย่างไหน เห็นว่าอย่างไหนจะดีกว่ากัน ถ้ามีคนส่วนมากเขาว่าคนแก่ดีละก็ ก็พยายามเห็นว่าแก่เป็นความสุขเถิดขอรับ แล้วถ้าเขาบอกว่าแก่แล้วไม่เป็นเรื่อง หูตาก็ไม่ดี ฟันก็ไม่ดี ร่างกายก็ไม่ดี สติปัญญาก็ไม่ดี ความจำเสื่อม ถ้าได้ยินอย่างนี้ก็โปรดทราบว่าอาการของความทุกข์ปรากฏกับคนแก่ ถ้าความตายมันจะเข้าถึงคนที่ยังปลงจิตไม่ได้ จิตใจไม่เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ยังมีความหวาดหวั่นในความตายเกรงความตายมันจะปรากฏ ดิ้นรนไม่อยากให้ตาย ทีนี้คนที่จะตาย ทุกขเวทนามันก็บีบคั้นหนัก ถ้าป่วยไข้ไม่สบายนะ คือมันบีบ ขั้นถึงตายเลย เวลาเราป่วย ๆ ธรรมดาก็รู้สึกว่า นั่นแค่ป่วย แค่ทุกข์ ทุกข์ไม่หนักนัก ทีนี้ความตายมันปรากฏ ทุกขเวทนามันบีบหนัก อาการเจ็บโน่นปวดนี่มันปวดแสนสาหัส เป็นอากาของความสุขหรือความทุกข์ ก่อนตายถ้าเห็นว่ามีความสุขก็ตามใจเถอะขอรับ แต่ผมเห็นว่ามีความทุกข์แน่ นี่พูดกันอย่างทุกข์ผิว ๆ นะขอรับ เห็นหรือยังพระคุณเจ้าที่เคารพ สำหรับพระคุณเจ้าที่ยังหนุ่มซี ยังหนุ่มอยู่ยังเมามันนะขอรับ ไปนอนคิดนอนตรองเสียให้ดี นี่ว่าเพียงแค่ทุกข์รอบชีวิต รอบประจำวัน เป็นชีวิตประจำวันนะขอรับ เรียกว่าวันหนึ่ง ๆ ที่เราจะไม่มีความทุกข์ไม่มี จะว่ากันให้ดีละก็วันหนึ่ง ๆ คนที่จะมีความสุขจริง ๆ ไม่มี หาความสุขอะไรไม่ได้ นี่ว่าถึงความทุกข์ภายในรอบ ๆ ตัว ที่นี้มายังมีความทุกข์นอกเข้ามาอีก คนเราเกิดมาแล้วนะขอรับ มีกฎประจำใจอยู่อย่างหนึ่ง เรียกว่าประจำตระกูล ถ้าหญิงก็ต้องแต่งงานกับผู้ชาย ผู้ชายต้องแต่งงานกับผู้หญิง นี่เป็นประเพณีของท่านผู้หลักผู้ใหญ่ ท่านถือว่าถ้าเราไม่ไดแต่งงานแล้ว มันก็ไม่เป็นฝั่งเป็นฝา ไม่เป็นหลักเป็นแหล่ง หาความสุขไม่ได้ เมื่อสมัยที่เป็นโสดอยู่ เราจะไปเหนือเราจะไปใต้เมื่อไรก็ได้ เราจะขี้เกียจก็ได้ เราจะขยันก็ได้ เรียกว่าไปไหนมาไหนเป็นอิสระ ไม่ต้องเอาใจใคร ไม่ต้องเป็นห่วงใยอะไรมาก เราอยู่กับพ่อแม่ของเรา เรามีความสุขมาก จะทุกข์หนักอยู่อย่างหนึ่งก็คือพ่อแม่คอยขัดใจ ถ้าจะทำอะไรลงไปท่านก็จะติว่า อย่างโน้นไม่ดี อย่างนี้ไม่ดี นั่นอย่าทำ นี่อย่าทำ จงทำอย่างโน้น จงทำอย่างนี้ นี่เราก็จะเหนื่อยกาย แล้วมันเหนื่อยใจอยู่นิดตรงนี้ที่ว่า ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ไม่เห็นใจคนหนุ่มสาว นั่นมันทุกข์แค่นี้นา ทีนี้ไอ้จะมีกินไม่มีกินเราไม่หนักใจ แล้วก็ไม่ต้องมีความห่วงใยมาก จะไปไหนก็ได้ พ่ออยู่บ้านแม่อยู่บ้าน พี่อยู่บ้าน น้องอยู่บ้าน จะเที่ยวค้างวันค้างคืนยังไงก็ได้ พอเริ่มแต่งงานขึ้นมาแล้ว อารมณ์อิสระมันก็หายไป ถ้าจะไปทางไหนก็เกรงใจสามีเกรงใจภรรยา เขาจะต้องอยู่คนเดียว จะไปนานเกินไปเขาก็จะบ่นเอาหาว่าไม่เป็นห่วงงานบ้าน ความจริงเขาถือว่าไม่ห่วงเขาน่ะนะ เขาบอกว่าไม่ห่วงงานบ้าน ไม่สนใจ เมื่อตอนอยู่กับพ่อกับแม่เรามีความสบาย จะมีหรือไม่มีเป็นหน้าที่พ่อแม่จะรับผิดชอบ ความทุกข์ในบ้านทั้งหมดลูกทุกคนจะมีกินมีใช้หรือไม่ จะป่วยไข้ไม่สบาย จะมีความสุขความทุกข์ พ่อกับแม่เป็นผู้รับภาระ เรามองไม่เห็นทุกข์ตอนนี้ แต่ทว่ามาแต่งงานกันแล้ว แยกจากพ่อแยกจากแม่ ถ้ามีบ้านมีเรือนอยู่ก็ดี ถ้าไม่มีบ้านมีเรือนก็ต้องหาสตางค์ปลูกบ้านปลูกเรือน ตอนหาสตางค์นี่จะไปทำนาก็ดี จะไปค้าขายก็ดี จะไปรับจ้างก็ตาม หรือว่าจะประกอบอาชีพอะไรก็ตาม มันต้องหนักนะขอรับ มาเรื่องของเหนื่อยกายเหนื่อยใจอีกแล้ว มันเป็นความทุกข์ กว่าจะรวบรวมเงินทองขึ้นมาได้ก็แสนยาก ต้องอดหลับอดนอน ตากลมตากฝน ฟันฝ่าอันตราย เป็นอาการของความทุกข์นาขอรับ ทีนี้เมื่อปลูกบ้านขึ้นแล้วก็เกรงว่าภัยจะมีกับบ้าน กลัวอัคคีภัย กลัวไฟจะไหม้บ้าน กลัวโจรภัย กลัวโจรจะมาปล้นทรัพย์สิน วาตภัย กลัวน้ำจะมาท่วมบ้าน ทำให้บ้านพังไหลตามน้ำไป แล้วก็ไอ้บ้านที่ปลูกขึ้นมามันก็รูจักเก่า รู้จักทรุด รู้จักโทรม ต้องหาเงินมาซ่อมมาแซม นี่เราต้องทำเองทั้งหมดนะขอรับ ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่พ่อไม่ใช่แม่นะ ต้องเป็นตัวของตัวเอง แล้วการอย่างนี้มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ขอรับ เห็นหรือยังว่ามันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ทีนี้เอาละรื่องบ้านทิ้งไป มาคู่ผัวตัวเมียการอยู่ด้วยกัน 2 คน ทั้งสองเป็นพ่อบ้านแม่เรือนถ้าอาการป่วยไข้ไม่สบายของตัวของเราเองถึงสามี ภรรยาก็ตาม หรือคนในบ้าน ถ้ามันเกิดขึ้น ก็ไม่ใช่หน้าที่ของพ่อแม่แล้ว เราไม่เคยเป็นหมอก็ต้องเป็น ไม่เคยอดหลับอดนอนเพราะคนป่วยไข้ไม่สบายก็ต้องอดหลับอดนอน ไม่เคยจ่ายเงินจ่ายทองค่าหมอรักษาโรคก็ต้องจ่าย นี่เป็นอาการของความสุขหรือความทุกข์ขอรับ
    ทีนี้ มาว่าถึง 2 ตายายที่แต่งงาน เมื่อระหว่างที่อยู่กันตามลำพังกับพ่อกับแม่ จะไปไหนมาไหนก็ได้ ไม่ต้องเอาใจกัน คราวนี้พอแต่งงานเข้าแล้วต่างคนต่างต้องเอาใจกัน ก็เกิดเป็นคน 2 พวก ไม่ใช่เอาใจเฉพาะสามีหรือภรรยา ต้องเอาใจพวกของสามีและพวกของภรรยาอีกด้วย คนกลุ่มใหญ่ การหนักอะไรก็ตาม ไม่เท่ากับหนักอารมณ์ ไม่เท่ากับหนักใจ เราเห็นว่าอย่างนี้ดี เขาจะเอาอย่างโน้น เราเห็นว่าอย่างโน้นดี เขาจะเอาอย่างนั้น บางทีทำตามเขาชอบใจแล้ว เขายังว่า เขายังนินทาอีกว่าทำไม่ดีไม่เรียบร้อย การกระทบกระทั่งกับจิตมันก็เกิดขึ้น อาการอย่างนี้เป็นความสุขหรือความทุกข์ขอรับ มันก็เป็นความทุกข์นะขอรับ ทีนี้ มาพอมีลูกเห็นแล้วนี่ คนที่มีลูกก็เห็นแล้วนี่ คนที่มีลูกก็เห็นแล้วนี่ คนที่มีลูกรู้แล้วนะ เวลากลางคืนหลับๆ สบายๆ พ่อเจ้าคุณร้องขึ้นมาก็ต้องตื่น สมัยที่ยังไม่มีลูกไม่ต้องตื่นนะขอรับ นอนตั้งแต่หัวค่ำยันสว่าง สบาย ถ้ามีลูกเข้าแล้ว เจ้าใหม่มันเกิด มันทำยังไง มันเรียกไม่เลือกเวลา ดีไม่ดีกำลังกินข้าวกินปลา พ่อเจ้าพระคุณขี้ออกมาเสียอีกแล้ว ไอ้ขี้นี่ใครๆ ก็เกลียด มันเหม็น แต่ว่าขี้ลูกนี้เหม็นไม่ได้ ละชามข้าวที่กำลังกินอยู่นั่นแหละ ไปปาดขี้ทิ้ง ไปเช็ดขี้ลูก แล้วก็ล้างมือมากินข้าวใหม่ อาการอย่างนี้มีไหมขอรับ หรือบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทเคยพบมาไหมคนที่ไม่เคยมีลูกเคยเห็นเขามีลูกไหม แล้วเวลาลูกป่วยไข้ไม่สบาย มันยังพูดไม่ได้นี่มันยังเด็ก ๆ ความทุกข์เกิดแค่ไหน บางทีมืดค่ำดึกดื่นยามสองยามก็ต้องเดินไปตามหมอจะถูกอันตรายฆ่าตายเมื่อไหร่ ก็ไม่รู้ อาการอย่างนี้มันเป็นความสุขหรือความทุกข์ขอรับนี่ละบรรดาพระคุณเจ้าที่ เคารพและญาติโยมที่รัก ว่าถึงความทุกข์มันก็ทุกข์ทุกอย่าง ที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเราเกิดมาแล้วมันมีแต่ความทุกข์ อันนี้ไม่ได้ยกแบบมาพูดกัน นะแบบท่านก็ว่าไว้เป็นกลาง ๆ ก็บอกแล้วนี่ว่าไม่ถือตำรานัก เอาอาการที่เราเห็นกัน เราเห็นกันนะว่าอะไรเป็นทุกข์ แล้วความทุกข์จะมีหรือไม่มีก็ต้องอาศัยคนมีปัญญาเป็นปัจจัยนะ ถ้าไม่ใช้ปัญญาแล้ว มันจะมองไม่เห็นทุกข์ ถ้าใช้ปัญญาแล้วมันจะมองเห็นทุกข์ ต้องค่อย ๆ คิดไปนะขอรับ เอาสตินี้เป็นตัวนึกเข้าไว้ในโพชฌงค์ นึกว่าพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าคนที่เกิดมาแล้วมีแต่ความเป็นทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ การตายเป็นทุกข์ นี่หลักใหญ่ ๆ นี่อย่างหนึ่งท่านกล่าว ปิยโต ชายเต โสโก ปิยโต ชายเต ภยํ ความ เศร้างโศกเสียใจเกิดจากความรักไอ้ความเศร้าโศกเสียใจก็เป็นอาการของความ ทุกข์ ภัยอันตรายทั้งหลายเกิดขึ้นก็เพราะอาศัยความรัก นี่เรียกว่าความรัก มันจึงทุกข์ ไอ้นั่นมันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกคนเต็มไปด้วยความทุกข์ ทุกคนนั้นอยู่ในระหว่างท่ามกลางของคนทุกข์ ทีนี้เมื่อเราเห็นแล้ว่าเราทุกข์ เราก็ควรทำทางหนีทุกข์ทางหนีทุกข์จะหนีทางไหนล่ะ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทจะไปเมืองเหนือ จะไปเมืองใต้ จะไปเมืองจีน จะไปเมืองฝรั่ง จะไปเมืองแขก มันก็ไม่พ้นความทุกข์ แม้ว่าจะไปเป็นเทวดา เป็นพรหม ก็ไม่พ้นความทุกข์ เพราะอะไร เพราะทุกข์มันเกาะอยู่กับใจ ทุกข์คือตัวอารมณ์ ที่เรายังยอมรับนับถือว่าเหตุของความทุกข์เป็นเหตุของความสุข ถ้าเรายังนึกถึงว่าเหตุของความทุกข์เป็นเหตุของความสุข แล้วก็ใช้เหตุนั้นปฏิบัติเรื่อยไป ความทุกข์มันก็เกิด อย่างคนที่เห็นว่าการด่าชาวบ้านเป็นของดี เรื่องความสุขใจ ก็ด่าชาวบ้านเรื่อยไป ชาวบ้านเขาไม่ชอบใจก็มีศัตรูมากขึ้น ข้อนี้มีอุปมาฉันใด เหตุของความทุกข์ก็เหมือนกัน เหตุของความทุกข์ได้แก่อะไร บรรดาท่านพุทธบริษัทในอริยสัจ ท่านเรียกสมุทัย ไม่ใช่กระดาษไทยนะ สมุทัย สมุทัยที่เป็นเหตุของความทุกข์ก็มี ตัณหา 3 ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภาวตัณหา ถ้าตัดตัณหา 3 ประการได้เมื่อไรเมื่อนั้นก็ชื่อว่าสิ้นทุกข์ ถ้าตัณหา 3 ประการนี้ยังไม่ลบไปจากใจเมื่อไร เมื่อนั้นเราก็ยังชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์

    <center>ตอนที่ ๑๖</center> สมุทัย คือเหตุให้เกิดความทุกข์ คำว่าเหตุให้เกิดความทุกข์หรือสมุทัย เป็นประเภทได้ 3 ประเภท


    1. [*] กามตัณหา
      [*]ภวตัณหา
      [*] วิภวตัณหา

    คำว่า กาม แปลว่าความใคร่ หรือความต้องการ นี่ไม่ใช่หมายถึงกามารมณ์ คือว่าต้องการในเรื่องระหว่างเพศเสมอไปนะขอรับ ถ้าเราไปพูดกันว่าเจ้านี่บ้ากาม ก็จะมาโกรธหาว่าเป็นคนมักมากในกามารมณ์ อย่างนี้ไม่ใช่นะขอรับ ขึ้นชื่อว่าความใคร่ ความปรารถนา ความอยากได้ทั้งหมดจัดเป็นกาม เราอยากกินน้ำแข็ง เราอยากกินก๋วยเตี๋ยว เราอยากมีบ้านสวย ๆ เราอยากมีเสื้อมีกางเกงงาม ๆ นี่มันก็กามเหมือนกัน เราอยากจะไปเที่ยวก็กาม ความใคร่ ความอยาก อยากจะเที่ยว อยากจะกิน ก็เรียกว่าเรามีกาม
    ความใคร่ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มีอยู่ 3 ขั้น คือ


    1. [*] กามตัณหา อยากได้ของหรือวัตถุ หรือบุคคล หรืออารมณ์ ที่ยังไม่ปรากฏให้มีขึ้น
      [*]ภวตัณหา สิ่งที่มีอยู่แล้ว อยากให้ตั้งอยู่ตามรูปนั้น ไม่ให้เคลื่อนอย่างคนที่รักอยู่แล้วก็อยากจะให้รักตลอดกาล ของที่มีอยู่แล้วสวยสดงดงาม มันเป็นของใหม่ ก็ไม่อยากให้เก่า ไม่อยากให้พัง
      [*] วิภวตัณหา อาการดิ้นรนอาการคัดค้าน แต่สิ่งเหล่านั้นมันจะหายไป มันจะเก่าไปมันจะพังไป มันจะเศร้าหมองไปซึ่งไม่ตรงกับอัธยาศัยที่เราต้องการ เพราะเราต้องการให้มันทรงสภาพก็หาทางต้านทาน เช่น คนจะตายก็ให้ไปหาหมอมาเป่าหู หาฤาษีมาชุบ หาใครต่อใครมาต่ออายุ ไม่อยากให้ตาย หรือว่าหาหมอมาสะเดาะเคราะห์อย่างนี้หมอรวยไปหลายรายแล้ว หรือเราจะแค่ไม่อยากแก่ หาทางป้องกันความแก่เราเป็นคนไม่อยากป่วย หาทางป้องกันความป่วย มันก็ยังป่วย พอป่วยแล้วก็ดิ้นรน นี่เป็นวิภวตัณหา หรือว่าบ้านจะพังเราก็ไม่อยากให้มันพัง ไม้มันเก่าแล้วเราอยากให้มันเป็นไหม้ใหม่ อย่างนี้เป็นอาการของวิภวตัณหา

    ถ้าคิดอยากจะสร้างตึกก็ลองนึกดูก็แล้วกัน ว่าอะไรบ้างมันจะติดมามา ค่าปูน ค่าเหล็ก ค่าทราย ค่าไม้ ค่าแรงงาน ค่าสี ราคามันเท่าไรขอรับ ทีนี้ถ้าเราอยากจะสร้าง ยังไม่ทันจะสร้างความทุกข์มันก็เกิด ทุกข์ว่าทำยังไงเราจึงจะได้ตึกสวย ๆ อยู่สักหลังนะขอรับ นี่ทุกข์ ความปรารถนามันเกิดแล้ว นี่นะ มันเป็นเหตุของความทุกข์จริงๆ ไอ้ตัวอยากนี่ นี่ไปอยากมีตึกมันเข้ามันก็ทุกข์ ทุกข์ว่าเมื่อไหร่จะมีตึกสักหลังหนึ่ง พอมีช่องทางมีคนรับจะช่วยเหลือ ว่าไปหาเงินที่โน่นดี ไปหาเงินที่นี่ดีความทุกข์ก็ปรากฏอีก ออกเดินทางไปหาสตางค์ ก็ไอ้เงินทองของเหล่านี้มันไม่ได้เรี่ยราดอยู่กลางหนทาง มันอยู่ในกระเป๋าของชาวบ้าน ทีนี้เวลาไปเอาสตางค์เดขามาน่ะมันง่ายเมื่อไหร่ขอรับ ต้องไปนอนตั้งท่าคิดว่าเราจะพูดยังไง เราจะไปแบบไหน แล้วไอ้ทุนที่จะไปมันก็ต้องหา ต้องใช้เงินใช้ทองเหมือนกัน แล้วคนที่จะไปก็เหมือนกัน ต้องเลือกคนต้องเอาใจคน แล้วไปเอาใจเจ้าของเงินอีกว่าจะได้มา นี่มันก็เป็นอาการของความทุกข์นะขอรับ นี่ ตัณหามีขึ้นอย่างเดียวมันสร้างความลำบาก ทีนี่เวลาเดินทางของเงินเขาน่ะดีไม่ดีก็เป็นอันตรายระหว่างทาง ทีนี้ เอาตอนได้มาแล้วต้องหาช่างต้องหาวัตถุเครื่องใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการก่อสร้าง การคุมคนไม่ใช่ของง่ายนะขอรับ ดีไม่ดีช่างก็เกเอา บรรดาช่างทั้งหลายสมัยนี้ เป็นช่างเถอะเสียก็เยอะ เผลอไม่ได้ เผลอเป็นเอาเปรียบเจ้าของงาน นี้เป็นยังงี้นะขอรับ กว่าจะสร้างตึกได้สักหลังก็เหนื่อยแสนเหนื่อย ใช้เวลามากบางท่านสร้างยังไม่เสร็จก็พอดีตาย ทีนี้พอเสร็จขึ้นมาแล้วนะขอรับ เอาละไอ้ทุกข์ตอนนั้นก็หมดไป มาทุกข์ตอนบำรุงรักษาตึกอีก เอาเข้าอีก มันก็ใช้แรงงาน ใช้สมองเหมือนกัน เราคนเดียวทำความสะอาดไม่ไหว เราคนเดียวดูแลไม่ไหว เราคนเดียวทะนะบำรุงไม่ไหว ความรู้สึกยังงี้เกิดขึ้นมาก็เป็นความทุกข์ ทีนี้ตัวอยากมันก็โผล่ อยากจะได้คนมาช่วยดูแลทำนะบำรุงสักคนหนึ่งหรือสองคน แล้วต้องนั่งคิดนอนคิดว่าจะได้ใครเป็นที่ถูกใจเราแล้วก็สนใจในงาน นี่ก็เป็นอาการของความทุกข์นะขอรับ เอากันอย่างย่อๆ นะเท่านี้ก็พอ เพราะมันยังมีอีก 2 เหตุ นี่กามตัณหาท่านกล่าวว่าเป็นเหตุของความทุกข์มันอย่างนี้ เราว่ากันถึงว่าเราเป็นนักปฏิบัตินี่ เรามารู้กันถึงทุกข์เฉพาะหน้า เหตุเฉพาะหน้า นี่ว่ากันถึงเรื่องตึกอย่างเดียวนะอยากอย่างนี้อย่างเดียวนะ ไอ้ตัวอยากอย่างอื่นมันก็เหมือนกัน อยากได้คนเขามาเป็นคู่ครอง นี่ร้ายใหญ่ วัตถุถ้าเราอยากได้ เราแบกได้ เราหามได้ ถ้าเรามีสตางค์ซื้อก็ยังพอทำเนา เอามาได้สบาย แต่ว่าอยากได้คนเขามาเป็นคู่ครองนี่ซีขอรับ คนนี่ไม่ใช่ตุ๊กตา คนไม่ใช่ท่อนไม้ เรามีเงินมีทองมีเฒ่าแก่แล้ว แต่ว่าเจ้าตัวเขาไม่เห็นชอบด้วย มันก็สร้างความเดือดร้อน ทีนี้ ถ้าเขาเห็นชอบด้วย ถ้าเราได้มาแล้วความทุกข์มันก็ยังไม่สิ้น ต้องมานั่งเอาใจกันอีก ต้องมานั่งปฐมพยาบาลเอาอกเอาใจซึ่งกันและกัน แล้วก็คนมีใจ เป็นอันว่าเป็นเหตุของความทุกข์อีก เมื่อยังไม่ได้มา คิดอยากจะได้ก็ทุกข์ว่าทำยังไงถึงจะได้ เมื่อได้มาแล้วก็ต้องเป็นทุกข์เอาใจกัน ปรนนิบัติซึ่งกันและกัน เห็นทุกข์หรือยังล่ะขอรับ ในที่สุดต่างคนต่างตายจากกันไป ไม่เห็นมีอะไร เจ๊งกันไปตามๆ กัน นี่ทุกข์เปล่าๆ ไม่มีประโยชน์หรือว่าผมมันหัวล้านนอกครูก็ไม่รู้ขอรับ ชาวบ้านชาวเมืองเขาว่าดีกัน จะเป็นผมคนเดียวหรือไงที่ว่าไม่ดี แต่ว่าไม่ใช่ผมคนเดียวนะขอรับ พระพุทธเจ้าท่านก็ว่าไม่ดี พระอริยสงฆ์ทั้งหลายท่านก็ว่าไม่ดี ท่านจึงตัดเฉพาะตัวของท่าน ที่เรียกว่า เอกายโน อยํ ภิกขเว เอกาแปลว่าหนึ่งเท่านั้น อยู่คนเดียวสบาย ไม่มีใครกวนใจอยู่สองครองทุกข์แสนสนุกแต่ไม่สบาย ไม่เป็นเรื่อง อันนี้เรียกว่ากามตัณหา เป็นเหตุของความทุกข์
    ภาวตัณหา คือสิ่งที่ได้มาแล้ว ต้องการให้คงที่ อย่างเราได้สามีภรรยามาแล้ว ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวสวยสดงดงามร่างกายสมบูรณ์ เราก็ไม่ต้องการให้ร่างกายของบุคคลนั้นที่เราได้มาแล้วเปลี่ยนแปลง หรือว่าร่างกายของเราก็เหมือนกัน เมื่อยังมีความสมบูรณ์อยู่มาก เราก็ไม่ต้องการให้เปลี่ยนแปลง มันสวยยังไงก็ต้องให้มันสวยอยู่ยังงั้น มันหนุ่มมันสาวยังไงก็ต้องการความเป็นหนุ่มเป็นสาวยังงั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้มาวันแรก มีสภาพเป็นยังไงเราไม่ต้องการให้มันเปลี่ยนแปลง นี่เป็นอาการของภวตัณหานะขอรับ ทีนี้ มาวัตถุก็เหมือนกัน มาด้านวัตถุ จะเป็นวัตถุอะไรก็ตามเถอะขอรับ เป็นวัตถุธรรมดาที่เขาทำมาเป็นธรรมชาติ คือปรากฏเป็นธรรมชาติ หรือว่าดัดแปลงแล้วก็ตาม ที่ประดิษฐ์ขึ้น ถ้าเราได้มาแล้วเราไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลง ต้องการให้มันทรงอยู่ และถึงแม้ว่าคนก็เหมือนกัน อารมณ์ของเราและอารมณ์ของเขา ที่เราคบค้าสมาคมซึ่งกันและกัน เราต้องการอารมณ์เดียว คืออารมณ์ดี มีความเห็นใจซึ่งกันและกัน ไม่ต้องการให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ความต้องการอย่างนี้ พระพุทธเจ้าบอกว่าเป็นเหตุของความทุกข์ เพราะว่าท่านทรงตรัสไว้แล้วว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นอนิจจัง ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นอนิจจัง มันไม่เที่ยง คือมันไม่ทรงสภาพคำว่าไม่ทรงสภาพอย่างนี้ แปลว่า มันไม่ทรงสภาพตามความคิด ตามความนึก ตามความต้องการของเรา มันไม่ทรงอยู่ตามความต้องการของเราเท่านั้น แต่ว่ามันเป็นไปตามปกติขอมัน ธรรมดาของมันจะต้องเป็นอย่างนั้นนะขอรับ ธรรมดาของมัน เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มีความเปลี่ยนแปลง แล้วก็เจ็บ แล้วก็ตาย วัตถุทั้งหลายก็เหมือนกัน ใหม่แล้วก็เริ่มเก่า เก่าแล้วก็เริ่มผุ ผุแล้วก็เริ่มพัง พังแล้วก็สลายตัวไป นี่ธรรมดาของมันเป็นอย่างนี้นะขอรับ แต่ว่าอารมณ์ของภวตัณหานี่มันฝืนธรรมดา คล้าย ๆ จะบังคับพระอาทิตย์และพระจันทร์ขึ้นมาแล้ว จงอย่าลับไป จงมีแต่ความสว่าง จงอย่ามีความมืด หรือจงมีแต่ความมืด อย่ามีความสว่าง อารมณ์อย่างนี้เขาเรียกว่าบ้าตัณหา คือบ้าการคัดค้าน ไม่มีเหตุไม่มีผล คนก็ดี สัตว์ก็ดี ที่มีอารมณ์อย่างนี้ เป็นอารมณ์บ้า การที่พระพุทธเจ้าเอาธรรมะมาสอนพุทธบริษัทก็เพื่อจะแก้บ้า บ้าอยากได้ บ้าอยากให้ทรงอยู่ นี่ ไอ้การฝืนอย่างนี้ในเมื่ออารมณ์มันเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอนิจจัง คือความเคลื่อนไปย่อมมี เราไม่ยอมรับนับถือมันเสียนี่ มันก็เสร็จกัน มันก็กลุ้มซีขอรับ ก็มีแต่ความทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า อกขาตาโร ตถาคตา ตถาคตมีหน้าที่บอก ไม่มีหน้าที่บังคับให้ใครเชื่อ อาตมาก็เหมือนกัน กระผมก็เหมือนกันนะขอรับ มีหน้าที่บอก แต่ไม่มีหน้าที่บังคับให้บรรดาพระคุณเจ้าและญาติดยมพุทธบริษัทที่กำลังนั่ง ฟังอยู่นี่เชื่อ จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็จงใช้ปัญญาพิจารณาเสียก่อน
    วิภวตัณหา ค้าน ต้านทานคือว่าอะไรก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ดึงกลับ แก่แล้วก็ดึงให้มันหนุ่มกลับ กลับเป็นหนุ่มเป็นสาว ของมันเก่าแล้วก็กลับดึงเข้ามาใหม่ กลับเป็นของใหม่ตามเดิม แล้วอะไรก็ตาม ถ้ามันพังแล้วก็จะดึงให้มันกลับฟื้นคืนสภาพ คนแก่แล้วผมขาวแล้ว จะทำให้ผมดำตามเดิมมันไม่ได้ เอาอะไรไปย้อม ประเดี๋ยวมันกลาย กลับขาวตามเดิม แล้วไอ้คนตายแล้วจะดึงมายังไง ไอ้คนแก่แล้วจะดึงมาให้หนุ่มให้สาวได้ยังไง วัตถุที่ทรุดโทรมไปแล้วจะดึงให้เป็นของใหม่ได้ยังไง มันอยากได้ตัวเดียวนั่น ก็คืออยากทุกข์ ถ้าเราไม่อยากเสียอย่างเดียวมันก็ไม่มีอะไรจะทุกข์นะครับ เป็นอันว่าทั้งสามตัวนี้ เป็นเหตุของความทุกข์ ถ้าจะว่ากันจริง ๆ ก็คือตัวอยาก อยากทุกข์ ถ้าเราไม่อยากเสียอย่างเดียวมันก็ไม่มีอะไรจะทุกข์นะครับ เวลานี้กำลังพูดอยู่ พระคุณเจ้าอยากก๋วยเตี๋ยวไหม อยากกาแฟไหม อยากดูดบุหรี่ไหม ถ้าลงมันอยากขึ้น แล้วยังไม่ได้สมหวัง ความทุกข์ใจมันก็เกิดนะขอรับ พอเริ่มอยากก็เริ่มทุกข์ ว่าทำไมจะได้กินก๋วยเตี๋ยว ทำไมจะได้กินกาแฟ ทำยังไงจะได้สูบบุหรี่นี่มันสร้างความทุกข์ขึ้นมาทันที
    ทีนี้ตัณหา 3 ประการนี้ องค์สมเด็จพระพิชิตมาร บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้ละด้วยอะไร ท่านก็กล่าวว่าเหตุของความทุกข์นี่จะตัดด้วยมรรค 8 ประการ แต่มรรค 8 ประการนี่ย่อเข้ามาจริง ๆ เหลือแค่ ศีล สมาธิ ปัญญา เอาศีล ทำศีลของตนให้บริสุทธิ์ ทำสมาธิให้ตั้งมั่น ใช้ปัญญาให้รู้ว่า ไอ้ทุกข์มันเกิดเพราะอะไรกันแน่ แล้วเราก็ทำลายความอยากตัวนั้นเสีย ถ้าเราไม่อยากอย่างเดียว อย่างอื่นก็หมดไป ความทุกข์ใด ๆ ก็ไม่ปรากฏ อุปทานขันธ์ 5 มันก็ไม่มี ขึ้นชื่ออวิชชามันก็สิ้นไป ถ้าเราไม่อยาก แต่วิธีจะละความอยาก ทำอย่างไรล่ะ ตั้งแต่อานาปานสติกรรมฐาน เก็บมาเลยนะขอรับ เก็บมาให้หมด มันมีเท่าไรเก็บมาให้หมด หมดมาถึงยันอริยสัจ พอมาถึงตอนนี้แล้วทวนหน้าทวนหลังจนคล่องแล้ว ถ้าทำมาถึงตอนนี้นะขอรับถึงอริยสัจ นี่ผมจะไม่พูดมรรคสัจกับนิโรธสัจ เพราะนักปฏิบัติไม่มีหรอกครับ เหลือแต่ 2 อริยสัจเท่านั้น เราปฏิบัติมาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงป่านนี้ ต้องมีทั้งศีล ทั้งสมาธิทั้งปัญญา เราใช้มาแล้วนะขอรับ ไม่ต้องไปหาใหม่ แต่วางอารมณ์ให้มันถูกเท่านั้น นักปฏิบัติเรารู้กันแค่ 2 อริยสัจนี้ก็เข้าถึงอริยมรรคแล้วขอรับ แต่ว่าต้องทำให้คล่องจริง ๆ นะขอรับ ให้ขึ้นใจ ให้จับใจ เป็นเอกัคคตารมณ์ อันนี้ชื่อจบมหาสติปัฏฐานสูตร เราปฏิบัติจนคล่อง แล้วองค์สมเด็จพระประทีปแล้วกล่าวว่า ถ้าปฏิบัติอย่างดี ภายใน 7 วัน จะได้พระอรหัตผล แล้วอย่างกลางภายใน 7 เดือนจะได้อรหัตผล ถ้าอย่างเลวก็ภายใน 7 ปีจะได้อรหัตผล

    <center>ตอนที่ ๑๗</center> การปฏิบัติอยู่ในมรรคสัจ คือ
    ท่านต้องมีศีล
    ท่านต้องมีสมาธิ
    ท่านต้องมีปัญญา อย่างนี้ในมรรค 8 ก็รวมกันแล้วเหลือ 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค 8 คือปฏิปทาให้เข้าถึงความดับทุกข์ คือเข้าถึงนิโรธ นิโรธสัจก็เหมือนกัน เป็นตัวผลนะขอรับ หมายความว่าคนกินข้าวอิ่มแล้วจะมาพูดกันเรื่องกินอะไรกันอีก มันกินอิ่มแล้วไม่ต้องพูดกัน นิโรธไม่มีอาการเป็นอย่างอื่น มันตัดเสียแล้ว กิเลสหมดแล้วก็หมดกันไป ว่าที่เราปฏิบัตินี่เพื่ออะไร เราปฏิบัติเพื่อนิพพานกัน ไม่ใช่ทำเพียงอุปนิสัย อย่าคิดว่าพอบวชเข้ามาแล้ว ก็ทำเสียหน่อยหนึ่ง หรือบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทประกาศตัวเป็นพุทธสาวกเสียแล้ว ก็ทำเสียนิดหนึ่ง ไม่ถึงความดีอะไร เราจะไปพระนิพพาน กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดที่ทำให้คนเข้าถึงนิพพานไม่ได้มันมีอยู่ 10 อย่าง นี่เราปฏิบัติกันยังก็ตามนะครับ ถ้าไม่รู้ไอ้สิบตัวนี้แล้วเข้านิพพานไม่ได้ เป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ ก็เป็นไม่ได้สักอย่าง นั่นก็คือสังโยชน์ 10
    การเจริญมหาสติปัฏฐานต้องทบทวนตลอดเวลา แล้วก็ใช้อารมณ์ต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เวลาไหนควรใช้อานาปานสติ เวลาไหนควรใช้อิริยาบถ เวลาไหนควรใช้สัมปชัญญะ เวลาไหนควรใช้ปฏิกูลสัญญาธาตุ 4 นวสี 9 หรือว่าเวทนา จิตตา ธรรมา ส่วนใดส่วนหนึ่งให้เป็นกิจประจำวันไป หมายความว่า ทำเป็นกิจประจำวันนะครับ วันหนึ่งจงอย่าว่าง ใช้อารมณ์ตามสมควร ถ้าความรักความเมามันเกิดขึ้นมาก็ใช้ปฏิกูลสัญญาบ้าง ธาตุ 4 บ้าง นวสี 9 บ้าง แล้วก็ดู ถ้ามันเกิดความกลุ้มขึ้นมา เกิดความดีใจขึ้นมา ก็ดูจิต ดูจิตนะขอรับ แล้วก็ดูเวทนา แล้วก็ละนิวรณ์ พิจารณาขันธ์ 5 แล้วก็ทรงโพชฌงค์ 7 ตลอดเวลานะขอรับ แล้วก็มาว่าอริยสัจนี่ก็ควรจะทรงตลอดเวลาเหมือนกัน
    ทีนี้ มาจับจุดกัน ทำให้คล่องนะครับ นึกให้คล่อง ทำให้คล่องให้เป็นปกติ ต้องคล่องเสียก่อนนะครับ แค่จบยังไม่ได้อะไร ตอนนี้ก็มาจับจุดกันว่าสังโยชน์ 10 กิเลสเครื่องร้อยรัด ทำให้เราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะมันมีอะไรบ้าง จับตัวมันให้ได้
    ตัวที่ 1 ก็สักกายทิฏฐิ เป็นกิเลสตัวที่ 1 ที่เมามันเห็นว่าอัตภาพร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา เมาชีวิตคิดว่าเราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขาตัวหนึ่งละครับ
    ตัวที่ 2 สงสัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อย่างบรรดานักปราชญ์ทั้งหลายสงสัยพระสูตร และชาดกสมัยนี้
    ประการที่ 3 สีลัพตปรามาส โกหกศีล โกหกพระ ไปรับศีลมาแล้วไม่ปฏิบัติเห็นศีลเป็นเครื่องเล่นไป ว่าส่งเดช
    ประการที่ 4 เมาในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เรียกว่ากามคุณนะขอรับ กามฉันทะ
    ประการที่ 5 เมาในความโกรธ ความพยาบาท อยากจะเป็นคนเด่นในด้านความโกรธ ความพยาบาท อยากจะเป็นคนเก่ง
    ประการที่ 6 รูปราคะ เมาในรูปฌาน
    ข้อที่ 7 อรูปราคะ เมาในอรูปฌาน
    ข้อที่ 8 มานะถือตัวถือตนว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา
    ข้อที่ 9 มีอารมณ์ฟุ้งซ่านนอกรีดนอกรอย
    ข้อที่ 10 ความรู้ไม่ครบ คือรู้ผิด รู้นอกลูกนอกทาง อวิชชานี้ไม่ใช่ไม่รู้นา คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วนี้รู้หมด ต่างคนต่างมีความรู้ ต่างคนต่างมีความคิด แต่ว่าจะรู้ตรงรู้ถูกตามที่พระพุทธเจ้าประสงค์หรือเปล่านั้นอีกเรื่องหนึ่ง เรียกว่ารู้ไม่ตรงความประสงค์ของพระพุทธเจ้า ก็เรียกว่ารู้ผิด ผิดจากอะไร ผิดจากทางพระนิพพาน
    นี่เป็น 10 ประการด้วยกันนะขอรับ ทีนี้ เราเป็นนักปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน จะเข้าถึงมรรคถึงผลก็อย่ากระโจนกลาง อย่ากินช้างทั้งตัว จงอย่าคิดว่าเราจะเอาอรหัตผลภายในวันนี้ ปฏิบัติทีเดียวจะเข้าถึงอหัตผล จงอย่าคิดอย่างนั้นนะขอรับ คิดอย่างนั้น มันกินช้างคำเดียวหมดตัว มันใช้ไม่ได้ แต่บังเอิญถ้าเราจะได้ละก็อีกเรื่องหนึ่ง ที่ท่านทำกันก็ได้อรหันต์เลย เรียกว่าผ่านโสดา สกิทาคา อนาคา เพียงชั่วขณะจิตเดียว แล้วได้อรหันต์เลยก็มีถมเถไป แต่ว่าท่านก็เริ่มต้นน้อยอย่างนี้เหมือนกัน ถ้าอารมณ์เข้มข้นอารมณ์เข้มข้นมันก็ได้ของมันเอง แล้วก็การบรรลุอรหัตผลก็มีตั้งหลายแบบหลายแผนนะขอรับ ไม่ใช่ว่าต้องเฉพาะมหาสติปัฏฐาน 4 เสมอไป แบบแผนที่เขาได้อริยมรรค แต่ว่านี่เราว่ากันเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตรนี่ขอรับ ขั้นแรก เราก็จับสังโยชน์สามก่อน เพื่อความเป็นพระโสดาและสกิทาคา สังโยชน์ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส อันนี้ถ้าได้อย่างหยาบ เป็นพระโสดาบัน ถ้าได้อย่างละเอียดลงไป เป็นพระสกิทาคามี หนึ่งสักกายทิฏฐิ ความเมาในชีวิตเราก็ตัดเสีย ว่าอัตภาพร่างกายนี่มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา มันเป็นของเรา ข้อนี้เป็นข้อสำคัญ ฟันหรือเป็นของเรา หรือว่าตาเป็นของเรา เนื้อหรือว่ากระดูก เส้นเอ็นเป็นของเรา เป็นจริงหรือขอรับ เวลาฟันมันจะปวด ห้ามปวดได้หรือเปล่า เวลาฟันมันจะหัก ห้ามหักได้หรือเปล่า เวลาผิวมันจะคล้ำ ห้ามคล้ำได้หรือเปล่า เวลาความแก่มันเกิดขึ้น จะห้ามแก่ได้ไหม อารมณ์ของเราเวลาจะกลุ้ม ห้ามกลุ้มได้หรือเปล่า ผมเวลาจะหงอก ห้ามหงอกได้หรือเปล่า อะไรก็ตาม ผลที่สุดมันจะป่วยไข้ไม่สบาย ห้ามได้หรือเปล่า พระคุณเจ้าที่กำลังนั่งฟัง ใครห้ามได้บ้างขอรับ คนที่ฟังอยู่นี่ทั้งพระทั้งฆราวาสที่ฟันหลอ ๆ มีตั้งเยอะนั่นท่านเต็มใจให้มันหลุดไป หรือว่ามันหลุดของมันเองขอรับ หรือท่านที่กำลังผมหงอกก็มีเยอะ หรือหัวล้านอย่างผมนี่ก็มี คนผมหงอกคนหัวล้านน่ะ อยากให้มันหงอกอยากให้มันล้านหรือเปล่าขอรับ เปล่า ไม่มีใครอยากให้เป็นอย่างนั้น ในเมื่อไม่อยากให้เป็น มันก็เป็นของมันเอง แล้วมันจะเป็นของเราได้ยังไง ห้ามปรามมันไม่ได้ หากกฎอนิจจังไม่เที่ยงทุกขัง ในเมื่อผลมันเป็นอย่างนั้นแล้ว ถ้าเราฝืนมันก็เป็นทุกข์ อนัตตา ในที่สุดเราก็ห้ามมันไม่ได้ ปลงใจเสีย นึกว่าอย่างน้อยที่สุดมันเป็นอย่างนี้ อย่างมากที่สุดมันต้องตาย แล้วอัตภาพร่างกายเราเป็นอย่างนี้ ทรงอย่างนี้มาทุกชาติทุกภพ ร่างกายแต่ละชาติ ๆ ที่มันมาเกิดนี่ มันไม่ตามเรามา แล้วยังจะคิดว่ามันเป็นพวกของเราอยู่หรือขอรับ ไม่ต้องทิ้งมันหรอก มันก็ทิ้งเราเอง ไม่ต้องฆ่ามัน มันก็ตายของมันเอง ไม่ต้องประทุษร้ายมัน มันก็เจ็บมันก็ปวดของมันเอง ไม่ต้องทรมานมันมันก็แก่ของมันเอง เห็นไหมขอรับ ทั้ง ๆ ที่เราไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น มันก็จะเป็น แล้วมันจะเป็นเราเป็นของเราได้ยังไง จะมัวเมาไปถึงไหนล่ะขอรับ ถ้าปลดความเมามัวตัวนี้เสียได้อย่างเบาๆ คิดว่าเรามันต้องตายแน่ อัตภาพร่างกายนี้เราไม่ห้าม ความเศร้าโศกเสียใจ ความเหือดแห้งใจย่อมไม่ใคร่จะมี มีเหมือนกัน ไม่ใคร่จะมีกับสังขาร และในเมื่อเราไม่เมาในสังขาร เชื่อพระพุทธเจ้าในข้อนี้แล้ว
    ก็เชื่อว่าสังโยชน์ข้อที่ 2 ได้ด้วย เรียกว่าไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว เพราะเห็นคล้อยตามแล้วสังโยชน์ตัวที่สองไม่ต้องหายไปไหน ทีนี้เมื่อเรารู้ว่าเราจะตาย จะตายแล้วก็จิตกับว่างจะจากกัน ไอ้ความดีความชั่วเท่านั้นที่จะนำไป เมื่อเห็นสังโยชน์ตัวที่ 1 แล้ว สังโยชน์ตัวที่ 3 ก็พลอยได้ด้วย ในเมื่อเราจะตายแล้วจิตจะนำความดีหรือความชั่วไปด้วย เมื่อนำความชั่วไปก็มีแต่ความทุกข์ระทม เมื่อนำความดีไปมันก็มีแต่ความสุข เมื่อเชื่อตัวต้นแล้วตัวที่ 3 ก็เชื่อด้วย เพื่อพระพุทธเจ้าว่าการรักษาศีลเป็นของดี ก็เลยทรงอยู่ในศีลในธรรม ศีล 5 ประการ สำหรับฆราวาส ศีล 227 สำหรับพระ ศีล 10 สำหรับเณรเป็นของง่าย ก็เลยไม่อยากให้ศีลขาด ศีลด่าง ศีลพร้อย นี่ถ้าเชื่อจริง ๆ นะ เป็นได้ขนาดนี้ มันได้ไปในตัว ได้สักกายทิฏฐิตัวเดียวก็ได้ พอเชื่อจริง ๆ ความมั่นปรากฏเห็นอัตภาพร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้แล้ว ความมั่นใจในการปฏิบัติก็ปรากฏ ความเยือกเย็นใจก็ปรากฏ อย่างนี้แล้วอารมณ์ก็จะเข้าถึงพระนิพพาน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นเรื่องธรรมดาไปหมด ความแก่ก็ธรรมดา ความเจ็บไข้ไม่สบายก็ธรรมดา ความพลัดพรากจากของรักก็เป็นเรื่องธรรมดา มันไม่ค่อยสะเทือน มันสะเทือนเหมือนกันแต่ก็สะเทือนน้อย เวลาร่างจะตายจริง ๆ ก็รู้สึกว่าเป็นธรรมดา ถูกชาวบ้านด่าก็นึก เออ เป็นธรรมดาของคนในโลก นัตถิ โลเก อนินทิโต คนที่เกิดมาในโลกแล้วไม่มีใครนินทา ไม่มีใครด่า ไม่มีใครว่าร้ายไม่มี แม้แต่พระพุทธเจ้ายังถูกเขาด่า เป็นยังงั้น ตัวธรรมดาก็เข้ามาถึงแล้ว มีจิตใจรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ คิดว่านี่เราจะอยู่ เราจะเวียนว่ายตายเกิดไปในวัฏฏสงสารเพื่ออะไร ไม่เกิดประโยชน์ มันเต็มไปด้วยความทุกข์ เต็มไปด้วยความเดือดร้อน ไปพระนิพพานดีกว่า พระนิพพานเป็น เอกันตะ บรมสุข ตอนนี้ ท่านเรียกกันว่าโครตภูญาณ ชื่อว่าจิตอยู่ในระหว่างโลกีย์กับโลกุตตระ จะเข้าถึงความเป็นพระแล้วพระโสดากำลังมา นี่เรียกว่าแขนขวายึดพระโสดาไว้ แขนซ้ายยึดกฎของโลกไว้ อารมณ์ของโลกไว้ เมื่อทำไป ๆ ปลงจิตสักกายทิฏฐิตัวเดียวแหละ ในที่สุดมันก็ปล่อยมือไปกอดพระโสดาบันเข้าไว้ เราจะรู้ได้มันเป็นของไม่ยาก ที่เรียกกันว่าศีลห้าของเราไม่บกพร่อง เราไม่มีเจตนาจะฆ่าสัตว์ จะลักทรัพย์ จะประพฤติผิดในกาม จะกล่าวมุสาวาท จะดื่มสุราเมรัย ความมั่นคงปรากฏ อารมณ์ ถือมงคลตื่นข่าวไม่มี ใครเขาว่าดีที่นั่น ใครเขาว่าดีที่นี่ เที่ยวฮือไปที่นั่น ฮือมาที่นี่ไม่มี เพราะมีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแล้ว เกาะพระพุทธเจ้าก็ได้ เกาะพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ได้ เกาะพระอริยเจ้าก็ได้ ทีนี้เมื่อถึงความเป็นพระโสดาบันแล้วก็พิจารณาสักกายทิฏฐินั่นแหละขอรับ ให้หนักขึ้น ให้อารมณ์ปลงมากขึ้น ปลงจนเห็นโทษจากกามคุณนะ เห็นโทษจากความโกรธ ความพยาบาท เห็นโทษจากการยึดมากขึ้น อารมณ์ก็จะเบาลง เบาลงจนกระทั่งความรู้สึกในกามเกือบจะไม่มี ผมใช้คำว่าเกือบจะไม่มีนะขอรับความจริงมันมีแต่มันก็เล็กนิดเดียว บางมาก เบามาก ถ้าจัดเป็นไม้ก็จัดว่าเป็นเยื่อไม้ ปกติที่เห็นวัตถุ เห็นคน เห็นสัตว์ ไม่เกิดความรัก ไม่เกิดความปรารถนา แต่ว่าเวลาจิตสงัดบางครั้งมันมีความปรารถนา อย่างนี้เรียกว่ากามารมณ์เป็นเพียงแค่อนุสัยนะขอรับ นิดหนึ่งเกิดขึ้นบางขณะก็เชื่อว่ายังมี ทีนี้ความโกรธความพยาบาทก็เหมือนกัน มันยังไม่สิ้นไป แต่มันเบาเกือบจะไม่มีอาการกระทบกระทั่งปรากฏ ไม่ชอบใจปรากฏ แต่ก็หายไปเอง ส่วนโมหะก็เหมือนกัน ไอ้นั่นก็ของกู ไอ้นี่ก็ของกู มันเบาลง เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันต้องจากกันทั้งนั้น มันต้องสลายตัวทั้งนั้น แต่ความรักในวัตถุยังมีอยู่ แต่ไม่ถึงกับอาลัยหมายความว่ามันหมดไปก็หมดไปไม่เดือดร้อน มันมีอยู่ก็ใช้มันไป รักษามันไป จนกระทั่งเป็นเครื่องสังเกต ในด้านกามฉันทะสังเกตง่าย บางคราวจนเกือบจะคิดว่าเรานี่เป็นพระอนาคามี ความรู้สึกทางเพศมันไม่มี แต่บางมีพอเผลอ ๆ มันโผล่หน้า นาน ๆ มาที อาการอย่างนี้เป็นพระสกิทาคามีนะขอรับ ละสังโยชน์ได้สาม อันนี้ถ้าตายแล้วเกิดเป็นเทวดาก็นิพพานในเทวดา สำหรับพระโสดาบัน ถ้าอย่างอ่อนที่เรียกว่า สัตตะขัตตุง ก็ต้องเกิดอีก 7 ชาติเป็นอรหันต์ ถ้าอย่างกลางเป็น โกลังโกละ 3 ชาติเป็นอรหันต์ ถ้าอย่างเก่งก็เป็นเอกะพีซี เกิดอีกชาติเดียวเป็นอรหันต์ เกิดเป็นมนุษย์นะขอรับ แต่ว่าสำหรับพระสกิทาคมี ถ้าตายแล้วเป็นเทวดาก็ดี เป็นพระพรหมก็ดี ก็นิพพานบนโน้นเลยขอรับ ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานอีก พระโสดาก็เหมือนกัน ตั้งแต่โสดาบันขึ้นมาย่อมปิดอบายภูมิคือไม่เกิดในนรก ไม่เกิดเป็นเปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน นี่เป็นยังงี้นะขอรับ ไม่ยากนะขอรับ เวลาพิจารณาสักกายทิฏฐิก็อย่าลืมทุกข์ข้อในมหาสติปัฏฐานสูตร เอามาเป็นเครื่องประกอบกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโพชฌงค์ 7 อย่าทิ้งนะขอรับ ถ้าทิ้งแล้วก็เสียท่า ทีนี้มาตอนเป็นพระอนาคามีทำยังไง กามฉันทะมันเหือดไปแล้วนี่ขอรับ ก็มาทำลายกามฉันทะด้วยการพิจารณาร่างกาย คือสักกายทิฏฐิว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเราแล้ว ร่างกายคนอื่นทำไมจะมาถือว่าเป็นของเราอีก จะไปนิยมชมชอบอะไร หันไปพิจารณาในปฏิกูลบรรพและอสุภกรรมฐาน นวสี 9 นะขอรับ จะเห็นว่าภายในมันเละไปหมด พอตายแล้วก็เละใหญ่มันน่ารักน่าชมตรงไหน ในที่สุดจิตก็จะวางเสียได้เลย เพราะได้สกิทาคามีแล้วมันเหือดไปมากแล้วกระทบอีกนิดเดียวก็หมดไป ส่วนโทสะก็เหมือนกัน เพราะตอนอนาคามีมันเลาแล้วจับเมตตาบารมีขึ้นตั้งนะขอรับ จับเมตตาขึ้นตั้งไว้ความดีความชั่วที่เขาทำก็เพราะเขาปรารถนาดี ที่ทำไปไม่ถูกต้องก็เพราะการหลงผิด กิเลสเข้ามาสิงใจ จิตคิดเป็นอภัยทาน เพียงเท่านี้ก็ได้พระอนาคามี แต่ยึดสักกายทิฏฐินั่นแหละ เราจะตายอยู่แล้ว เราป่วยอยู่แล้ว เราเจ็บอยู่แล้ว เราทรุดโทรมอยู่แล้ว หัวล้านแล้ว หัวหงอกแล้ว ฟันหักแล้ว มันเป็นของมันเอง ไม่ใช่เขาด่า เขาว่า เขากระทบกระทั่ง เห็นแล้วไม่น่าจะโกรธเขา เขาจะโกรธเราขนาดไหนก็ตาม เขาจะว่าเราขนาดไหนก็ตาม เขาก็เหมือนเรา ในที่สุดเขาก็ตาย เขาก็ถูกทรมานจิตใจของเขาเอง เราจะไปยุ่งอะไร จิตมันก็วางได้ วางได้ขนาดนี้ก็เป็นพระอนาคามี พอถึงอนาคามีแล้ว ความเมาในรูปฌานก็ดี อรูปฌานก็ดี มันก็น้อยลง เราก็เห็นแล้วว่าพระนิพพานมีความสำคัญ จิตมันก็ข้ามไปแล้ว มันไม่เมาแล้วนะขอรับ ที่นี้เหลือตัวถือตัวถือตน คือมานะที่คิดว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา มันยังมีอยู่บ้าง เราก็ตัดลงไปเสียว่ามันแค่ตายเหมือนกัน ไม่มีอะไร แค่ตายเหมือนกัน ใครแค่ไหนก็ตาม ไม่ดีไม่เลวกว่ากัน ต่างคนต่างตาย มันเป็นกฎของกรรม ใครทำดีก็ได้ดี ใครทำชั่วก็ได้ชั่ว เรื่องของกรรมไม่มีอะไรเป็นเครื่องวัด มานะแล้วก็มาอุทธัจจะ คนที่คิดเป็นกุศลตอนนี้กุศลไม่มี แต่ว่ามันนอกทางพระนิพพานไป ก็หวนกลับเข้ามาจับสักกายทิฏฐิตามเดิม พอตัดตัวอุทธัจจะเสียได้แล้วอวิชชาไม่ต้องตัดนะขอรับ มันมีปัญญาขึ้นมาเอง ปัญญามันมีขึ้นตามลำดับแล้ว พอตัดอุทธัจจะได้หมดแล้ว ตัวปัญญาเต็มที่ก็ปรากฏ อวิชชาก็หายไป อย่างนี้ก็เป็นพระอรหัตผล


    ที่มา
     
  4. ทองอยู่

    ทองอยู่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    346
    ค่าพลัง:
    +1,493
    <CENTER>ตอนที่ ๒</CENTER>ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายเธอจงเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า จงรู้ว่าเป็นผู้หายใจเข้า เมื่อหายใจออกก็จงรู้ว่าเป็นผู้หายใจออก" หมาย ความว่า การรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนี่เราไม่ต้องระวังกัน ไม่ต้องตั้งท่า ไม่ต้องหาเวลา เป็นเวลาใดก็ตาม เวลาที่กินข้าวอยู่ก็ดี หรือว่าทำการงานก็ดี เวลาพูดคุยกับเพื่อนฝูงก็ดี เดินไปก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ทุกอิริยาบทเราสามารถรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกได้อย่างสบาย อย่างนี้เรียกว่าเข้าถึงอานาปานาสติ มหาสติปัฏฐานสูตรข้อนี้แล้ว
    เรื่องของพระกรรมฐานกับนิมิตเป็นของธรรมดา นิมิตของอานาปานาสติกรรมฐานก็มี เช่น สีเขียว สีแดง สีสว่างคล้าย ๆ แสงไฟฉาย หรือเหมือนแสงฟ้าแลบ การที่จะได้บุญ อยู่ตรงที่จิตเป็นสมาธิ ตัวบุญอยู่ที่จิตเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ตั้งมั่น ไม่ใช่อยู่ที่องค์ภาวนาอย่างเดียว การภาวนาด้วย ก็เพื่อจะใช้อารมณ์ยึด คือ สติ ให้รู้อยู่ว่าเรากำหนดลมหายใจเข้าออก หรือว่าเราภาวนาว่ายังไง แล้วก็ควบคุมอารมณ์อยู่เฉพาะอย่างนั้นอย่างเดียวให้เป็นเอกัคคตารมณ์ คำว่า เอกัคคตารมณ์ แปลว่า เป็นหนึ่ง ตัวบุญใหญ่คือ การทรงสมาธิจิต ถ้าสมาธิทรงได้สูงมากเพียงใด นิวรณ์ที่จะมากั้นความดีคืออารมณ์ของความชั่ว คำว่านิวรณ์ได้แก่ อารมณ์ของความชั่ว ถ้าขณะใดจิตทรงสมาธิที่เรียกกันว่าเป็นฌาน คำว่าฌานนี้ แปลว่า การเพ่ง การทรงอยู่ของจิต จิตเพ่งอยู่เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อันนี้เราเรียกกันว่า ฌาน
    เมื่อเรามีสติสามารถจะรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ที่กระทบเข้าและกระทบออกที่จมูกได้ เข้าก็รู้ออกก็รู้ จิตก็จะเริ่มเป็นสมาธิ สมาธิขั้นต้นเรียกว่า ขณิกสมาธิ แปลว่า สมาธิเล็กน้อย เมื่อขณิกสมาธิละเอียดขึ้น จิตก็จะเข้าสู่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์ของที่เป็นทิพย์จะปรากฎ จิตเป็นทิพย์ คือ จิตย่อมว่าจากกิเลส จิตว่างจากนิวรณ์ทั้ง ๕ เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์ ๕ ประการแล้ว จิตก็สามารถจะเป็นทิพย์ แต่จะเป็นมากหรือเป็นน้อยขึ้นอยู่กับสมาธิจิต จะเห็นแสง เห็นภาพ แต่ภาพที่ปรากฎก็ดี แสงสีที่ปรากฎก็ดี จงอย่าเอาจิตเข้าไปเกาะ เพียงกำหนดว่า ถ้าหากว่าเราเห็นนานหรือเร็ว จงรู้ตัวว่า นี่จิตของเราเป็นทิพย์ เข้าสู่อุปจารสมาธิ


    แต่ดิฉันไม่เคยภาวนาเลยค่ะ นั่งหลับตา นึกถึงคำที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนสั่งแล้วทำตาม
    มารู้ตัวอีกที่ เฮ้ย ตะกี้ เราไม่ได้หายใจนี่ และขณะที่คิดอยู่ ลมหายใจก้อแผ่วเบาเต็มที หายใจเข้าอึดใจนิดเดียว แต่ ลมหายใจที่ผ่อนออกมา มันแผ่วเบา และนานมากกว่าตอนลมเข้า แล้วเหมือนกับเมื่อลมนี้ผ่อนออกมาหมด ดิฉันก้อจะหยุดหายใจอ่ะค่ะ



    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ถ้ามีบารมีแก่กล้า หมายถึงมีกำลังใจสูง มีการระมัดระวังการปฏิบัติเป็นปกติไม่ขาดวรรคขาดตอน เรียกว่า วันทั้งวัน มีอารมณ์ครุ่นคิดอยู่ในมาหสติปัฏฐานสูตรทั้งสี่นี้ ท่านกล่าวว่า ท่านผู้นั้นบำเพ็ญบารมีเพียงแค่ไม่เกิน ๗ วัน จะเข้าถึงอรหัตตผล ถึงพระนิพพาน ถ้าหากว่ามีอารมณ์ย่อหย่อนไปนิดหนึ่งก็ไม่เกิน ๗ เดือน ถ้าหย่อนไปอีกก็เรียกว่า ไม่เกิน ๗ ปี


    จะนำพระมหากรุณาธิคุณนี้ มาเตือนตนเสมอ จะได้ไม่ละความเพียร เจ้าค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...