คำสอนที่กล่าวว่า "นิพพานสูญ" เป็นมิจฉาทิฐิ

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 13 ตุลาคม 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,172
    [​IMG]



    ถาม : ปัจจุบันยังมีคำสอนของพระพุทธองค์ที่อธิบายว่า นิพพานัง ปรมัง สุญญัง-นิพพานมีสภาพสูญ ต้องการพระนิพพานเพื่อเข้าสู่ความดับสูญของวิญญาณ ในขณะเดียวกันก็มีผู้ฟังและผู้ศึกษาเข้าใจว่าเป็นแบบ นั้น คนที่เข้าใจผิดมีผลเสียอะไรหนักหรือไม่?

    ตอบ : อันนั้นถือว่าเป็น มิจฉาทิฐิ ถ้าหากว่าตายจะมีอเวจีเป็นที่ไป เท่าที่ อาตมามีประสบการณ์เห็นคนที่สอนอย่างนี้ลงโลกันตร์ไปเลย

    ตอนแรกก็สงสัยเพราะว่า โลกันตร์นี่โทษมันหนักหนาสาหัสมาก โอกาสที่คนจะลงมีน้อยมาก แต่วันนั้นลงไปบังเอิญเจออาจารย์ใหญ่ท่านไปอยู่ที่นั้น ก็ถามว่าทำไมถึงลงโลกันตร์ เพราะว่าโทษมันหนักเหลือเกิน มัน ๔ เท่า ของอเวจีถึงลงโลกันตร์ได้ ท่านบอกว่า ท่านสอนคนเป็นมิจฉาทิฐิ คนเป็นจำนวนมากต้องตกอเวจีมหานรก กว่าจะไล่ครบทุกขุมตามกรรมที่เคยทำมา กว่าจะเป็นเปรต กว่าจะเป็นอสุรกาย กว่าจะเป็นสัตว์เดรัจฉาน กว่าจะเกิดเป็นคน มันนานเหลือเกิน ทำคนให้ห่างความดีได้เนิ่นนานขนาดนั้นและจำนวนมากขนาดนั้น โทษของเขาเลยหนักกลายเป็นลงโลกันตร์ไปเลย อันนี้เป็นนิทานเฉยๆ เล่าให้ฟังไปคุยมา ใครสอนว่านิพพานสูญก็ระวังไว้เถอะ



    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ (ต่อ)
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ




    .
     
  2. เกลี่ยง

    เกลี่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    233
    ค่าพลัง:
    +428
    โมทนา สาธุ
    ถ้าเชื่อเพียงเพราะ อาจารย์ท่านว่าไว้ว่า.......
    คงลงนรกกันอีกมหาศาล

    เป็นอาจารย์สอนธรรมะ ต้องระวังอย่างมาก
     
  3. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739
    ต้องดูนัยญความหมายของคำว่า มิจฉาทิฏฐิ ว่าคื่ออะไร ครอบคลุมแค่ไหน รวมถึงเข้าใจว่านิพพานสูญด้วยรึเปล่า แล้วถ้าเชื่อหรือไม่เชื่อแบบนี้จะมีโทษหรือเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมอย่างไร

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #ffff00 2px solid; BORDER-LEFT: #ffff00 2px solid; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-RIGHT: 10px; BORDER-TOP: #ffff00 2px solid; BORDER-RIGHT: #ffff00 2px solid; PADDING-TOP: 10px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700><TBODY><TR><TD class=content colSpan=2>มิจฉาทิฏฐิกับศรัทธา
    </TD></TR><TR><TD class=content vAlign=top width=650 colSpan=2 align=middle>มิจฉาทิฏฐิ 10


    1)เห็นว่าทานที่ถวายแล้วไม่มีผล 2)เห็นว่าการบูชาไม่มีมีผล 3)เห็นว่าการสักการะไม่มีผล 4)เห็นว่าไม่มีผลแห่งกรรมดีกรรมชั่ว 5)เห็นว่าไม่มีโลกนี้ 6)เห็นว่าไม่มีโลกอื่น หรือชาติหน้า 7)เห็นว่าแม่ไม่มี พระคุณของแม่ไม่มี 8)เห็นว่าพ่อไม่มี พระคุณของพ่อไม่มี 9)เห็นว่าไม่มีสัตว์ที่จะผุดเกิด เชื่อว่าตายแล้วสูญ 10)เห็นว่าไม่มีสมณชีพราหมณ์ นักบวช ผู้ปฏิบัติจนบรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระอริยเจ้าหรือพระอรหันต์ได้

    ศรัทธา 4
    ความเชื่อพื้นฐานของชาวพุทธ 1)เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า 2)เชื่อกฎแห่งกรรม 3)เชื่อว่ากรรมที่เราทำมีผลจริง 4)เชื่อว่าเรารับผลของกรรมที่เราทำ ขอถามว่า นี่คือ ความเชื่อถือที่เป็นสัมมาทิฏฐิ-ความเห็นที่ถูกต้องใช่หรือไม่ ? และข้อไหนสำคัญที่สุด ทั้งในทางโลกทางธรรม เพราะอะไร?

    ในการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ความคิด ความเชื่อ ความเห็น จะต้องเป็น"สัมมาทิฏฐิ" คือ ความถูกต้อง เหมาะสมทั้งหมด โดยปราศจาก"มิจฉาทิฏฐิ"
    ที่มา http://www.buddhapoem.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=buddhapoemcom&thispage=41&No=364251

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2010
  4. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    มิจฉาทิฏฐิ ร้ายแรงมากกว่าสิ่งอื่น บุญใดก็ไม่อาจยับยั้งได้
    ต้องสำรวมระวังให้มาก คือ

    นิยตมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดที่เห็นผิดอย่างมั่นคงรุนแรง
    และยาวนานเป็นนิจ) เป็นกรรม (อกุศลกรรม กรรมไม่ดี เป็นบาป)
    ที่หนักมาก ที่จริงต้องบอกว่าหนักที่สุด เพราะว่ากรรมนี้จะให้ผล
    ทันทีที่ชีวิตจบลงโดยไม่มีกรรมใดๆ อื่นมาแทรกได้เลย

    ต้องท้าวความไปก่อนว่า กรรมชั่วหรือกรรมไม่ดีหรืออกุศลกรรม
    หรือการกระทำที่เป็นอกุศลที่จะทำให้ได้รับผลกรรมนั้น (ที่เรียกว่า
    เสวยผลของกรรม) ทันทีตาย โดยไม่มีกรรมอื่นๆ มาแทรกได้เลย
    เรียกว่า มิจฉัตตนิยตธรรม

    มิจฉัตตนิยตธรรม
    คือสิ่งที่เป็นสิ่งไม่ดี การกระทำหรือความคิดที่ไม่ดี เป็นความชั่ว
    และจะทำให้ผู้กระทำได้รับผลหรือต้องเสวยผลของกรรมนั้นทันที
    ที่ตายลง (คือ ไปอบาย) โดยไม่มีกรรมไม่ว่าชั่วหรือดีแค่ไหนก็ตาม
    อย่างอื่น มาคั่นกลางหรือแทรกระหว่างได้เลย

    มิจฉัตตนิยตธรรม มี ๒ อย่างคือ
    (๑) นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม
    (๒) ปัญจานันตริยกรรม

    - นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม -
    นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม มี ๓ อย่างคือ
    (ก)
    นัตถิกทิฏฐิ
    คือ การมีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายที่จะได้รับความดีความชั่ว
    ที่จะได้มีความสุขหรือความทุกข์ ฯลฯ ในภพข้างหน้านั้น
    ไม่ได้เป็นผลสืบเนื่องไปจากการกระทำอันเป็นบุญหรือเป็นบาป
    ของตนเองที่ตนทำไว้ในชีวิตปัจจุบัน

    (ข)
    อเหตุกทิฏฐิ
    คือ การมีความเห็นว่าความดี ความชั่ว ความสุข ความทุกข์ ฯลฯ
    ที่สัตว์ทั้งหลายได้รับอยู่ในชีวิตปัจจุบันนี้ ไม่ได้เป็นผลสืบเนื่อง
    มาจากการกระทำอันเป็นบุญหรือเป็นบาปของตนเอง
    ในภพก่อน

    (ค)
    อกริยทิฏฐิ
    คือ มีความเห็นว่าการกระทำของสัตว์ทั้งหลาย
    ถึงแม้ว่าจะทำดีก็ไม่ชื่อว่าเป็นบุญ ถึงแม้กระทำชั่วก็ไม่ชื่อว่าเป็นบาป
    แต่เชื่อว่าการกระทำไม่ว่าดีหรือไม่ดีก็แค่เป็นไปตามธรรมดา
    ไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาป


    - ปัญจานันตริยกรรม -
    ปัญจานันตริยกรรม มี ๕ คือ
    มาตุฆาต - ฆ่ามารดา
    ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา
    อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
    โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต
    สังฆเภท - ยุให้พระสงฆ์แตกหมู่แตกคณะกัน

    อันนี้ ท่านอธิบายว่า อกุศลกรรมทั้ง ๘ ประเภทนี้ (นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม ๓
    และปัญจานันตริยกรรม ๕) ถ้าหากใครกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในนี้แล้ว
    เมื่อสิ้นชีวิตก็จะต้องได้รับผลของกรรมนั้นทันที
    ถึงแม้ว่าก่อนตายจะสร้าง
    บุญใหญ่บุญดีเลิศขนาดไหน บุญทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่อาจช่วยให้พ้น
    ไปจากการต้องรับผลกรรมชั่วเหล่านี้ทันทีที่ตายลงได้เลย


    copy จาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ตุลาคม 2010
  5. tumkuk

    tumkuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    586
    ค่าพลัง:
    +1,851
    จากเพียงกายแต่จิตนั้นยังคงมั่นมิเสื่อมคลาย...
     
  6. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา </O:p>
    *
    [​IMG]
     
  7. ศิษย์ธรรมเทพ

    ศิษย์ธรรมเทพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +786
    นิพพาน เป็นสภาวะแห่งการดับทุกข์-กิเลสอย่างสิ้นเชิง จากบาลีว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" เมื่อดับสิ้นทุกข์-กิเลสอย่างสิ้นเชิงจึงไม่เป็นเหตุแห่งการเกิดอีกแล้ว และจากบาลีที่ว่า "นิพพานัง ปรมัง สุขขัง" ยืนยันได้ว่าวิญญาณคือตัวรู้นั้นยังมีอยู่ เพราะแปลได้ว่า นิพพาน เป็นบรมสุข หมายความว่า วิญญาณคือตัวรู้นั้นยังมี ยังรับรู้สุขว่าเป็นความสุขอย่างยิ่ง หาใช่ตัวรู้คือวิญญาณดับสูญ
    ส่วนมากที่สอนกันว่านิพพานสูญ ก็พูดเพียงเพื่อหาประโยชน์เพราะสอนกันเพื่อให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น จับต้องได้เพื่อการขาย โดยเฉพาะสำนักจานบินเป็นคำสอนที่บิดเบือนมาก ผู้มีศรัทธาทั้งหลายพึงระวัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2010
  8. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ความเห็นอันถูกต้องของพระสาวก

    ปัญหา สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะต้องมีทรรศนะเกี่ยวกับชีวิตอย่างไร จึงจะถือว่าถูกต้องตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง ?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนอัคคิเวสสะ สาวกของเราในพระธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึงทั้งที่เกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมดก็เป็นแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเราดังนี้

    “ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ สาวกของเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากความแคลงใจอันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตนฯ”

    จูฬสัจจกสูตร มู. ม. (๔๐๑)
    ตบ. ๑๒ : ๔๓๓-๔๓๔ ตท.๑๒ : ๓๕๗-๓๕๘
    ตอ. MLS. I : ๒๘๘
     
  9. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    กุญแจสู่มรรคผลและนิพพาน

    ปัญหา อะไรเป็นเครื่องมืออันสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้ปุพเพนิวาสนุสสติญาณระลึกชาติก่อนได้ จุตูปปาตญาณ รู้จุติและอุบัติของสัตว์ ทั้งหลาย อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้หมดสิ้นไป?

    พุทธดำรัสตอบ “ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ภิกษุนั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก.... ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย..... ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ.... ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางปฏิบัติเพื่อความดับอาสวะ....
    “เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวสาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าพ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีฯ ”

    จูฬหัตถิปโทปมาสูตร มู. ม. (๓๓๖)
    ตบ. ๑๒ : ๓๔๖-๓๔๘ ตท.๑๒ : ๒๘๖-๒๘๘
    ตอ. MLS. I : ๒๒๘-๒๓๐
     
  10. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น

    ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ “ธรรมทั้งปวงที่ไม่ควรยึดมั่น” ดังนี้ พระพุทธองค์ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร ?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่นย่อมสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้ว ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จอันยิ่งยวด ถึงที่สุดอันยิ่งยวด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ”

    จูฬตัณหาสังขยสูตร มู. ม. (๔๓๙)
    ตบ. ๑๒ : ๔๗๐-๔๗๑ ตท.๑๒ : ๓๘๒-๓๘๓
    ตอ. MLS. I : ๓๑๐-๓๑๑
     
  11. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    วิญญาณมีจริงหรือ

    ปัญหา ศาสนาพราหมณ์ถือว่า ในตัวคนเรามี “วิญญาณ” อันถาวรซึ่งเป็นตัวตนแท้ เป็นผู้พูด ผู้ทำ ผู้รู้ ผู้เสวยผลกรรม ผู้เกิดในภพใหม่ ในเรื่องนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้อย่างไร ?

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวโดยปริยายเห็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี ดูก่อนโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสบบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูก่อนโมฆบุรุษ ความเห็นของเธอจักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใด ๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับ (เรียกชื่อ) ด้วยปัจจัยนั้น ๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าจักขวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและเสียงเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะ และกลิ่นเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วสิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์เกิดขึ้น ก็เรียกว่ามโนวิญญาณ เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใด ๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้น ๆ ไฟอาศัยไม้ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟไม้ ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟป่า ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหญ้า ไฟอาศัยมูลโคติดขึ้น ก็ถือความนับว่าไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหยากเยื่อ ฉันใด
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันและวิญญาณอาศัยปัจจัยใด ๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้น ๆ ”

    มหาตัณหาสังขยสูตร มู. ม. (๔๔๓)
    ตบ. ๑๒ : ๔๗๖-๔๗๗ ตท.๑๒ : ๓๘๗-๓๘๘
    ตอ. MLS. I : ๓๑๔-๓๑๕
     
  12. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    พระอรหันต์นิพพานแล้วไปไหน

    ๔๖. ปัญหา คนธรรมดาตายแล้วย่อมเกิดในภพต่าง ๆ ตามกรรม ส่วนพระอรหันต์ผู้สิ้นกรรมแล้ว ไปเกิดที่ไหน ?

    พุทธดำรัสตอบ “....ดูก่อนวัจฉะ คำว่า จะเกิดดังนี้ไม่ควรเลย.... คำว่า ไม่เกิดดังนี้ก็ไม่ควร.... คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ก็ไม่ควร.... คำว่าเกิดก็มีใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ก็ไม่ควร
    “.....ธรรมนี้เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเป็นยากที่จะรู้ สงบระงับประณีตไม่ใช่ธรรมที่จะหลั่งถึงได้ด้วยความตรึกละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยากดูก่อนวัจฉะ...... เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้..... ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านท่านจะพึงรู้หรือไม่ว่าไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา”
    วัจฉะ “ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา”
    พุทธะ “...... ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้อาศัยอะไรจึงลุกเล่า ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร ?
    วัจฉะ “......ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกอยู่”
    พุทธะ “......ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้จะดับไปต่อหน้าเราแล้ว ?”
    วัจฉะ “ ...... ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.....”
    พุทธะ “......ไฟที่ดับไปต่อหน้าท่านแล้วนั้นไปยังทิศไหนจากทิศนี้.... ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร ?”
    วัจฉะ “...... ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกแต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่า ไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว”
    พุทธะ “......ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะรูปใด...... เพราะเวทนาใด....... เพราะสัญญาใด........ เพราะสังขารใด เพราะวิญญาณใด รูป...... เวทนา...... สัญญา.....สังขาร..... วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เห็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความมี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูป....... เวทนา...... สัญญา.... สังขาร...... วิญญาณ มีคุณอันลึกอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มีไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้”

    อัคคิวัจฉโคตตสูตร ม. ม. (๒๔๘-๒๕๑)
    ตบ. ๑๓ : ๒๔๕-๒๔๘ ตท.๑๓ : ๒๐๙-๒๑๑
    ตอ. MLS. II : ๑๖๕-๑๖๖
     
  13. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    นาคารชุนะ
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



    พระนาคารชุนะ
    นาคารชุนะ (नागार्जुन ; โรมัน: Nāgārjuna ; เตลุกุ : నాగార్జునా ; จีน : 龍樹) (มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็นนักปรัชญาอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน แห่งพุทธศาสนา และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจากพระพุทธเจ้า เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่นในด้านปรัชญาและตรรกวิทยา ผลงานสำคัญของท่านคือ มาธยมิกการิกา (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนะไม่เคยมีปรากฏในโลก ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
    [แก้]ประวัติ

    ตามประวัติที่แปลเป็นภาษาจีนโดยพระกุมารชีวะเมื่อประมาณ ค.ศ. 405 ได้กล่าวว่า พระนาคารชุนะเป็นชาวอินเดียภาคใต้ เกิดในสกุลพราหมณ์ แต่ข้อมูลที่บันทึกโดยพระถังซำจั๋งระบุว่า ท่านเกิดในแคว้นโกศลภาคใต้, ท่านเป็นพระสหายที่มีอายุไล่เลี่ยกับพระเจ้ายัชญศรีเคาตมีบุตร (ค.ศ. 166-196) ประวัติในตอนต้นไม่แน่ชัด หลักฐานของทิเบตกล่าวว่าท่านออกบวชตั้งแต่วัยเด็กเนื่องจากมีผู้ทำนายว่าจะอายุสั้น บ้างก็ว่าในวัยเด็กมารดาของท่านได้รับคำทำนายว่าท่านนาคารชุนะจะไม่อาจมีบุตร ทางแก้คือต้องจัดพิธีเลี้ยงพราหมณ์ 100 คน ครอบครัวของท่านจึงต้องจัดพิธีดังกล่าว แต่หลังจากนั้นพราหมณ์ก็ยังทำนายว่าต้องจัดพิธีเช่นนี้อีกเนื่องจากยังไม่สิ้นเคราะห์ กระทั่งหลังจากที่มารดาทำพิธีเลี้ยงพราหมณ์เป็นครั้งที่สาม มารดาจึงตัดสินใจให้ท่านออกบวชขณะอายุยังไม่ครบ 7 ปี และให้ท่านออกจาริกแสวงบุญเพื่อแสวงหาผู้ที่สามารถช่วยชีวิตท่านให้รอดพ้นจากความตาย ท่านจาริกมาจนถึงนาลันทา ท่านได้พบกับท่านราหุลภัทระและได้รับการศึกษาที่นั่น
    แต่อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าท่านออกบวชในวัยหนุ่ม เหตุเนื่องจากท่านกับสหายใช้เวทมนตร์ลักลอบเข้าไปในพระราชวังและถูกจับได้ สหายท่านถูกจับประหารชีวิต เนื่องจากตัวท่านอธิษฐานว่าหากรอดพ้นจากการจับกุมในครั้งนี้จะออกบวชในพระพุทธศาสนา หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระไตรปิฎกเจนจบภายใน 90 วัน มีความรอบรู้ในไตรเพทและศิลปศาสตร์นานาชนิด ประวัติท่านปรากฏเป็นตำนานเชิงอภินิหารในพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ จนยากจะหาข้อสรุป ตำนานเล่าว่าท่านได้ลงไปยังเมืองบาดาลเพื่ออัญเชิญคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตรขึ้นมาจากนาคมณเฑียร และเป็นผู้เปิดกรุพระธรรมเร้นลับของมนตรยานซึ่งพระวัชรสัตว์บรรจุใส่สถูปเหล็กไว้ ได้มีการอ้างว่าท่านพำนักอยู่ในสถานที่หลายแห่งของอินเดีย เช่น ศรีบรรพตในอินเดียภาคใต้ ในคัมภีร์ทิเบตกล่าวว่าท่านใช้เวลาช่วงหนึ่งอยู่ที่นาลันทาด้วย
    สำหรับนามว่า "นาคารชุนะ" นั้น มีที่มาจากคำว่า นาคะ กับ อรชุนะ โดยที่อรชุนเป็นชื่อของต้นไม้ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่กำเนิดของท่าน บ้างก็อธิบายต่างไปว่า นาคะหมายถึงปัญญาญาณ แสดงถึงสมรรถภาพทางสติปัญญาของผู้ที่สามารถเอาชนะกิเลสาสวะลงได้ ดังนั้นชื่อของพระนาคารชุนะจึงอาจเป็นชื่อจริงหรือนามฉายาที่มีบุคคลยกย่องขึ้นในภายหลังก็ได้ และมีข้อสันนิษฐานมากมายเกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า นักปราชญ์ที่มีนามว่านาคารชุนะนั้น อาจมีอยู่หลายคน ทำให้บุคคลในชั้นหลังเกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน ทำให้มีตำนานเรื่องราวปรากฏต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ในทางปรัชญาย่อมถือเอาคุรุนาคารชุนะผู้รจนาคัมภีร์มาธยมิกศาสตร์เป็นสำคัญ
    งานเขียนของนาคารชุนะนั้น ถือเป็นพื้นฐานการกำเนิดสำนักมัธยมกะ ซึ่งมีการถ่ายอดไปยังจีน โดยเรียกว่า สำนักสามคัมภีร์ (ซานลุ่น : 三論) ท่านได้รับการยกย่องนับถือในฐานะผู้สถาปนาแนวคิดแห่ง พระสูตรปรัชญาปารมิตา และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยพุทธนาลันทา คัมภีร์สำคัญของท่านนาคารชุนะที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันได้แก่ มูลมัธยมกการิกา (มาธยมิกศาสตร์), ศูนยตาสัปตติ, ยุกติษัษฏิกา, วิครหวยาวรตนี, สุหฤลเลขะ, รัตนาวลี, ไวทัลยปรกรณะ ซึ่งล้วนเป็นการอรรถาธิบายพุทธพจน์ด้วยตรรกวิทยาอันเฉียบคม และหลักปรัชญาศูนยตวาท นอกจากนี้ยังมีงานเขียนอีกจำนวนมากที่อ้างว่าเป็นผลงานของท่านเพื่อให้งานนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ ผลงานหลายเล่มยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นผลงานที่แท้จริงของท่านหรือไม่.

    [แก้]แนวคิดทางปรัชญา

    พระนาคารชุนะอธิบายหลักพุทธพจน์บนพื้นฐานของปรัชญาศูนยตวาท ซึ่งกล่าวไว้อย่างชัดเจนในงานเขียนของท่านคือ "มาธยมิกศาสตร์" คำว่ามาธยมิกะหมายถึงทางสายกลาง เพราะฉะนั้นแนวคิดของมาธยมิกะก็คือปรัชญาสายกลางระหว่างสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีอยู่อย่างเที่ยงแท้) และอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) ตามที่พุทธปรัชญาอธิบายว่าสรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกันเกิดขึ้น ไม่มีสิ่งใดมีสวภาวะที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง จึงเรียกว่าสูญยตา ทว่าก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นความว่างเปล่าหรือขาดสูญแบบอุจเฉททิฏฐิ หากหมายถึง ไม่มีสาระในตัวเอง แต่เป็นเพราะเหตุปัจจัยอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแบบปัจจยาการ สรรพสิ่งในโลกจึงล้วนเป็นความสัมพันธ์ เช่นความสั้นและความยาวเกิดขึ้นเพราะมีการเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งเสมอ เพราะฉะนั้นสาระอันแท้จริงของความสั้นและความยาวจึงไม่มี จึงเป็นศูนยตา และทุกสิ่งโดยสภาพปรมัตถ์แล้วล้วนเป็นศูนยตา ปราศจากแก่นสารให้ยึดมั่นถือมั่นได้ แนวคิดของมาธยมิกะเป็นพัฒนาการทางตรรกวิทยาอันสุขุมลุ่มลึกของมหายาน เพื่อใช้เหตุผลทางตรรกะคัดค้านความเชื่อในความมีอยู่ของอัตตา รวมทั้งปรมาตมัน ซึ่งพราหมณ์และลัทธินอกพระพุทธศาสนาอื่นๆ เชื่อถือว่า เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่โดยตัวเอง ไม่อิงอาศัยสิ่งใด และเป็นแก่นสารของสรรพสิ่ง แต่หลักปรัชญาของพระพุทธศาสนาย่อมสอนให้เข้าถึงความดับรอบโดยแท้จริง แม้ทั้งตัวผู้รู้และสิ่งที่รู้ย่อมดับทั้งสิ้น กล่าวคือโดยปรมัตถ์แล้วทั้งพระนิพพานและผู้บรรลุนิพพานย่อมเป็นศูนย์นั่นเอง เพราะเมื่อธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เกิดจากเหตุปัจจัยจึงปราศจากตัวตน เมื่อปราศจากแก่นสารตัวตน แล้วอะไรเล่าที่เป็นผู้ดับกิเลสและบรรลุพระนิพพาน เราจะเห็นได้ว่าว่างเปล่าทั้งสิ้น ไม่มีสัตว์บุคคลมาตั้งแต่แรก เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเท่านั้น สังสารวัฏล้วนเป็นมายา โดยแท้แล้วหาได้มีสภาวะใดเกิดขึ้นหรือดับไป เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่าตัวตนผู้บรรลุนิพพานไม่มีเสียแล้ว พระนิพพานอันผู้นั้นจะบรรลุจึงพลอยไม่มีไปด้วย
    ตัวอย่างในเรื่องนี้ปรัชญามาธยมิกได้ใช้อุปมาว่า เปรียบเหมือนมายาบุรุษคนหนึ่งประหารมายาบุรุษอีกคนหนึ่ง การประหารของมายาบุรุษทั้งสองย่อมเป็นมายาไปด้วยฉันใด ทั้งผู้บรรลุนิพพานและสภาวะแห่งนิพพานย่อมเป็นศูนย์ไปด้วยฉันนั้น หรือเปรียบกิ่งฟ้าซึ่งไม่มีอยู่จริง สิ่งที่แขวนอยู่บนกิ่งฟ้าก็ย่อมจะมีไม่ได้ แล้วเช่นนี้จะมีอะไรอีกสำหรับปัญหาการบรรลุและไม่บรรลุ กล่าวให้ชัดขึ้นอีกคือ เมื่อตัวตน อัตตา อาตมัน เป็นสิ่งว่างเปล่าไม่มีแก่นสารอยู่จริง เป็นสักแต่คำพูด เป็นสมมติโวหารเท่านั้นแล้ว การประหารกิเลสของสิ่งที่ไม่มีจริงนั้นจะเป็นจริงได้อย่างไร อนึ่ง อุปมาว่ามายาบุรุษผู้ถูกประหารอันเปรียบด้วยกิเลสทั้งหลาย ก็ไม่มีอยู่จริงเช่นนี้แล้ว ถ้าเกิดความเข้าใจผิดว่า มีสิ่งอันตนประหาร หรือมีสิ่งอันตนได้บรรลุถึง (มรรค ผล นิพพาน) แล้วไซร้ จะหลีกเลี่ยงส่วนสุดทั้งสองข้าง (เที่ยงแท้-ขาดสูญ) ได้อย่างไร มาธยมิกะแสดงหลักว่าทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรมมีสภาพเท่ากันคือเป็นสูญยตา เพราะการมีอยู่แห่งสังขตะจึงมีอสังขตะ หากสังขตธรรมเป็นมายาหามีอยู่จริงไม่โดยปรมัตถ์แล้ว อสังขตธรรมอันเป็นคู่ตรงข้ามก็ย่อมไม่มีไปด้วย อุปมาดั่งดอกฟ้ากับเขากระต่าย หรือนางหินมีครรภ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีในโลก เช่นนั้นแล้วบุตรอันเกิดจากนางหินมีครรภ์จะมีอย่างไรได้ แม้แต่ความสูญเองก็เป็นมายาด้วยเช่นกัน แต่กระนั้น ปรัชญาศูนยวาทก็ยังยืนยันในเรื่องนิพพานและบุญบาปว่าเป็นสิ่งมีอยู่ เพียงแต่คัดค้านสิ่งที่ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเองเท่านั้น เพราะสรรพสิ่งเป็นศูนยตานั่นเอง คนทำกรรมดีย่อมได้ดี ทำกรรมชั่วย่อมได้ชั่ว ปุถุชนจึงบรรลุเป็นพระอริยะได้ หาไม่หากสรรพสิ่งเที่ยงแท้อยู่โดยตัวของมันเองแล้วย่อมไม่แปรผัน เมื่อนั้นมรรคผลนิพพานก็จะมีไม่ได้ด้วย
    [แก้]อ้างอิง

    ภรัต ซิงห์ อุปัธยายะ.นักปราชญ์พุทธ.กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2542.
    สุชิน ทองหยวก.ปรัชญามาธยมิก.กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2509.
    เสถียร โพธินันทะ.ปรัชญามหายาน.กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541.
    ________.วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2540.
    Kalupahana David J. Nagarjuna:The Philosophy of the Middle Way. State University of New York Press, 1986.
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,879
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ขอบคุณมากค่ะ
    อนุโมทนาสาธุค่ะ

    เมื่อไรจะหยุดเดินซักที...rabbit_run_away
     
  15. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    วาทะ ท่านคุรุนาคารชุน




    ปณามคาถา.

    “ พระมหาสมณะอันบังเกิดในภัทรกัลป์นี้ พระองค์ใดนามว่า โคตม
    ผู้ทรงแสดงธรรมดุจกระทำสิ่งที่คว่ำให้หงายแลเป็นผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
    ด้วยคุณอันเป็นจริงนั้น ข้าพเจ้านอบน้อมซึ่งพระมหาสมณะพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า”
    “ ธรรมเหล่าใดอันบังเกิดแล้วแต่พระมหาสมณะนั้น
    ย่อมยังจิตแห่งชนทั้งหลายเหล่าใดให้เกษม
    ด้วยคุณนั้นขอความเป็นผู้มีจิตอันเกษม จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าในบัดดล”
    “สงฆ์สาวกแห่งพระมหาสมณะนั้นเหล่าใด
    ประพฤติการอันสมควรแก่การดับทุกข์แล้วไซร้
    ข้าพเจ้าจักบูชาองค์แห่งคุณนั้นด้วยมโนทวาร”
    “คุรุใดบังเกิดในบวรพระพุทธศาสนานี้แล้วไซร้
    มีนามว่า นาคารชุน ผู้ถึงพร้อมด้วยองค์คุณมีทาน ศีล เป็นต้น
    ด้วยการกล่าวองค์คุณแห่งความเป็นจริงในพระรัตนตรัยนั้น ขอความสวัสดีจงบังเกิดมี
    แลขอข้าพเจ้าปริวรรตคัมภีร์อันมีนามว่า มหายานวีสติศาสตร์ อันคุรุนาคารชุน
    รจนาไว้ดีแล้วนั้น จงสำเร็จลุล่วงไปด้วยเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนทั้งหลาย”
    大乘二十頌論 [ มหายานวีสติคาถาศาสตร์ ]
    คุรุนาครชุน รจนา
    พระตรีปิฏกธราจารย์ทานปาละ พากษ์จีน
    สามเณรศุภโชค ตีรถะ พากษ์ไทย

    歸命不可思議性  諸佛無著真實智
    諸法非言非無言  佛悲愍故善宣說
    “อันว่าความเคารพนอบน้อมที่มิได้คำนึงในภาวะ
    เหล่าพุทธะผู้ไม่ขัดข้องในปรมัตถ์สัจจะโดยปัญญา
    ธรรมทั้งหลายมิใช่มิกล่าวไม่ใช่ไร้การกล่าว
    ด้วยความเมตตาแห่งพุทธะจักกล่าวคำอันเป็นกุศล”

    第一義無生  隨轉而無性
    佛眾生一相  如虛空平等
    “ปรมัตถ์สัจจะไร้การเกิด
    ตามการเปลี่ยนแปลงแลอภาวะ
    พุทธะแลสรรพสัตว์เป็นเอกลักษณะ
    ประดุจสูญญตาอันสมภาพ”

    此彼岸無生  自性緣所生
    彼諸行皆空  一切智智行
    “นั้นแลคือฝั่งแห่งนิพพาน
    สวภาวะเป็นปัจจัยแห่งการเกิด
    มรรคาทั้งหลายนั้นล้วนเป็นศูนยตา
    รวมถึงมรรคาแห่งสัพพัญญู”

    無染真如性  無二等寂靜
    諸法性自性  如影像無異
    “ไร้ปรารถนาในภูตตถตาภาวะ
    แลที่ไม่เป็นสองนั้นคือนิพพาน
    สภาวธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ในตัวของมันเอง
    ประดุจดังภาพสะท้อนอันไร้แตกต่าง”



    凡夫分別心  無實我計我
    故起諸煩性  及苦樂捨等
    “ปุถุชนผู้แบ่งแยกจิต
    ไร้ภูตตถตาหาตรรกในตัวตน”
    ย่อมยังให้บังเกิดบรรดากุกกุจจะภาวะ
    แลทุกขภาวะ สุขภาวะ อุเบกขาภาวะเป็นอาทิ


    世間老病死  為苦不可愛
    隨諸業墜墮  此實無有樂
    “โลกนี้ความชราความเจ็บไข้แลมรณา
    เป็นทุกข์อันมิน่าปรารถนา
    คล้อยตามลงสู่กรรมทั้งหลาย
    นั้นคือความจริงอันไร้สุข ”

    天趣勝妙樂  地獄極大苦
    皆不實境界  六趣常輪轉
    “สวรรค์คติอันวิจิตรตระการตาแลสุขอันเป็นเลิศ
    นรกอันเป็นยอดแห่งทุกข์อันยิ่งใหญ่”
    เพราะต่างก็มิเข้าใจในสัจจะ
    จึงยังหมุนเวียนในคติทั้งหกนี้เป็นนิจ


    眾生妄分別  煩惱火燒燃
    墮地獄等趣  如野火燒林
    “สัตว์ทั้งหลายผู้เห็นผิดย่อมแบ่งแยก
    กิเลศคือไฟอันร้อนแรง
    เมื่อคล้อยตามย่อมตกสู่นรกคติเป็นอาทิ
    อุปมาดังไฟที่แผดเผดป่าไม้ฉันนั้น”

    眾生本如幻  復取幻境界
    履幻所成道  不了從緣生
    “มูลเดิมแห่งสรรพสัตว์นั้นดังมายา
    ย้อนคืนสู่อุปทานมายาเขต
    ประพฤติในมายาสู่สำเร็จมรรค
    ย่อมไม่ย้อนกลับเป็นปัจจัยให้บังเกิด”

    如世間畫師  畫作夜叉相
    自畫己自怖  此名無智者
    “อุปมาดั่งศิลปาจารย์ในโลกนี้
    รังสรรค์ยักษลักษณะ
    คือตนแสดงความหวั่นกลัวแห่งตน
    จึงได้ซื่อผู้ไร้ปัญญานัก”

    眾生自起染  造彼輪迴因
    造已怖墜墮  無智不解脫
    “สรรพสัตว์ใดที่บังเกิดความด่างพร้อยในตน
    กล่าวว่านั้นคือเหตุของสังสารวัฏ
    แลกล่าวว่าหากน้อมลงสู่ความกลัวแห่งตน
    คือไร้ปัญญาหาใช่วิมุตติไม่”

    眾生虛妄心  起疑惑垢染
    無性計有性  受苦中極苦
    “สัตว์หมู่ใดลวงหลอกเข้าใจผิดในจิต
    ย่อมบังเกิดวิจิกิฉากิเลศเครื่องเศร้าหมองอันเป็นมลทินแลด่างพร้อย
    ไร้สภาวะแต่กับคิดหาสภาวะ
    ย่อมได้รับทุกข์เวทนาแลมีเวทนานั้นแลเป็นที่สุดรอบ”

    佛見彼無救  乃起悲愍意
    故發菩提心  廣修菩提行
    “พุทธทัศนะนั้นไร้การอ้อนวอน
    แต่ถึงกระนั้นบังเกิดความเมตตากรุณาด้วยเจตนา
    ย่อมกระทำการตั้งโพธิจิต
    อันเป็นแบบประพฤติในโพธิมรรค”


    得無上智果  即觀察世間
    分別所纏縛  故為作利益
    “ย่อมสำเร็จในอนุตริยะปัญญาผล
    จักบังเกิดเจโตปริญญาญาณบนโลก
    การแบ่งแยกในกุศลพันธะ
    กระทำไซร้นั้นเพื่อการแห่งประโยชน์ ”

    從生及生已  悉示正真義
    後觀世間空  離初中後際
    “จากการบังเกิดแลบังเกิดแล้ว
    ย่อมแสดงความถูกต้องแห่งปรมัตถสัจจะ
    หลังการพิจารณาโลกนี้คือความว่าง
    ย่อมละจุดกำเนิดที่เริ่มต้น”

    觀生死涅盤  是二俱無我
    無染亦無壞  本清淨常寂
    “หากพิจารณาการเกิดตายแลนิพพาน
    ก็แค่สองคำคือไร้ตน
    มิด่างพร้อยอีกทั้งมิแปรปรวน
    มูลเดิมบริสุทธิ์แลสงบเป็นนิจ”

    夢中諸境界  覺已悉無見
    智者寤癡睡  亦不見生死
    “ในขอบเขตกึ่งกลางแห่งความฝันทั้งหลายนั้น
    โพธิอันบริบูรณ์แล้วย่อมไร้ทัศนะ
    ปัญญานั้นมีลักษณะคลายจากถีนมิทธะ
    อีกทั้งมิพานพบการเกิดแลการตาย”

    愚癡闇蔽者  墜墮生死海
    無生計有生  起世間分別
    “อันโมหะวิจิกิฉาแลความหลอกลวงปิดบังนั้น
    หากคล้อยตามก็ย่อมลงสู่ทะเลแห่งทะเลแห่งความเกิดตาย
    ไร้บังเกิดแต่กลับคิดหาความบังเกิด
    ย่อมบังเกิดความแบ่งแยกให้โลกนี้”

    若分別有生  眾生不如理
    於生死法中  起常樂我想
    “หากแบ่งแยกในภาวะ
    สรรพสัตว์นั้นไม่สมดังเหตุผล
    ในการเกิดดับในธรรมนั้น
    บังเกิดสัญญาในความสุขของตน”

    此一切唯心  安立幻化相
    作善不善業  感善不善生
    “สิ่งทั้งหลายนั้นสักแต่ว่าจิต
    ความสงบสุขนั้นบังเกิดเป็นมายาแลมีการเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะ
    กระทำกุศลมิใช่กุศลกรรม
    สัมผัสกุศลกุศลไม่บังเกิด”

    若滅於心輪  即滅一切法
    是諸法無我  諸法悉清淨
    “หากนิโรธในจิตอันเปลี่ยนแปลง
    ก็บังเกิดนิโรธในธรรมทั้งหลาย
    คือสรรพธรรมนั้นเป็นอนัตตา
    ธรรมทั้งหลายนั้นย่อมบริสุทธิ์”

    佛廣宣說世間法  當知即是無明緣
    若能不起分別心  一切眾生何所生
    “พระพุทธเจ้าผู้ประกาศธรรมธรรมในโลกนี้
    ย่อมทราบเหตุปัจจัยในการบังเกิดของอวิชชา
    หากสามารถบังเกิดการไม่แบ่งแยกแห่งจิต
    สรรพสัตว์จักเกิดได้แต่ที่ไหน”

    於彼諸法法性中  實求少法不可得
    如世幻師作幻事  智者應當如是知
    “ในธรรมทั้งหลายนั้นธรรมภาวะอันเป็นกลาง
    ด้วยสัจจะนั้น หากจะขอให้ธรรมนั้นมีน้อยย่อมเป็นบ่มิได้
    ประดุจดังมายาจารย์ในโลกกระทำมายากิจ
    ปัญญานั้นพึงทราบดังเช่นนี้”

    生死輪迴大海中  眾生煩惱水充滿
    若不運載以大乘  畢竟何能到彼岸
    “ในสังสารวัฏอันมีเกิดตายที่มากมาย
    สรรพสัตว์มีความรำคาญฟุ้งซ่านดังน้ำที่อัดแน่น
    หากมิขับเคลื่อนในมหายาน
    ท้ายที่สุดนั้นอะไรสามารถถึงฝั่งแห่งนิพพาน”


    ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก เว็ปไซด์ ลานธรรมเสวนา




    คุรุนาคารชุน(บรมครูมหายาน)


    ปรัชญามหายาน นิกายศูนยตวาทิน (มาธยามิกะ)

    อาจารย์นาคารชุนได้ประกาศทฤษฎีศูนยตวาทินด้วยอาศัยหลักปัจจยการและอนัตตาของพระพุทธองค์เป็นปทัฏฐาน

    ท่านกล่าวว่าสังขธรรมอสังขธรรมมีสภาพเท่ากันคือสูญ ไม่มีอะไรที่เป็นอยู่มี ด้วยตัวของมันเองได้

    อย่างปราศจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งแม้กระทั่งพระนิรวาณเพราะฉะนั้นอย่าว่าแต่สังขธรรมเป็นมายาไร้แก่นสารเลย

    พระนิรวาณก็เป็นมายาด้วย

    สิ่งที่อาจารย์นาคารชุนปฏิเสธคือ "สิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง" ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอยู่โดยสมมติหรือปรมัตถ์

    ก็สิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเองนั้นกินความหมายรวมทั้งอาตมันหรืออัตตาด้วย แต่เรื่องอาตมันนั้น

    พระพุทธศาสนาทุกนิกาย(ยกเว้นนิกายวัชชีบุตรและพวกจิตสากล) ปฏิเสธอย่างเด็ดขาดไม่ยอมให้เหลือเศษอะไรอยู่แล้ว

    แต่ตามทัศนะของอาจารย์นาคารชุน

    ท่านคณาจารย์เหล่านั้นถึงแม้ปฏิเสธความมีอยู่ด้วยตัวของมันเองเพียงแต่อาตมันเท่านั้น

    แท้จริงยังไม่เกิดอุปาทานยึดสิ่งที่มีอยู่ในตัวของมันเองในขันธ์ธาตุอายตนะ

    พระนิรวาณว่ามีอยู่ด้วยตัวของตัวเองอีกเห็นว่ามีกิเลสต้องละและมีพระนิรวาณเป็นที่บรรลุซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    นาคารชุนกล่าวว่า สิ่งที่เราเข้าใจว่ามันเป็นสิ่งจุดสุดท้ายที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเองนั้น

    แท้จริงก็เกิดจากปัจจัยอื่นอีกมากหลายปรุงแต่งขึ้นเมื่อสิ่งทั้งหลายไม่มีภาวะอันใดแน่นอนของตัวเองเช่นนี้สิ่งเหล่านั้น

    ก็เป็นประดุจมายาสิ่งใดเป็นมายาสิ่งนั้นก็ไร้ความจริงจึงจัดว่าสูญ

    นาคารชุนอธิบายว่าสิ่งที่มีอยุ่ด้วยตัวของมันเองย่อมบ่งถึงความเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น จะเปลี่ยนแปลงมิได้

    ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นก็เป็นการขัดต่อกฎปัจจยาการของพระพุทธศาสนา

    เพราะตามกฎแห่งปัจจัยสิ่งทั้งปวงย่อมอาศัยเหตุปัจจัยจึงมีขึ้น ไม่ได้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นอยู่โดยโดดเดี่ยว

    เช่นนี้ย่อมจัดเป็นสัสสตทิฏฐิไปอนึ่งถ้ามีความเห็นว่าทั้งปวงขาดสูญ ปฏิเสธต่อบาปบุญคุณโทษเล่าก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ

    หลักธรรมฝ่ายศูนยตวาทินจึงไม่เป็นทั้งฝ่ายสัสสตทิฏฐิ

    ก็เพราะแสดงถึงแก่นความจริงว่า สรวม ศูนยมด้วยความเป็นที่ไร้ภาวะที่โดดเดี่ยวโดยตัวของมันเอง

    และไม่เป็นทั้งอุจจเฉททิฏฐิหรือนัตถิกทิฏฐิก็เพราะแสดงว่าสิ่งทั้งปวงอาศัยเหตุเป็นปัจจัยดุจมายา

    มีอยู่ด้วยสมมติบัญญัติ

    ด้วยประการดังนี้อาจารย์นาคารชุนกล่าวว่าการหลุดรอดจากบาปทั้งปวงต้องทำลายความติดอยู่

    ในภาวะหรือสัตความเป็นอยู่ซึ่งจัดว่าเป็นสัสสตทิฏฐิ และทำลายความติดในอภาวะหรืออสัต ความไม่เป็นอยู่

    ซึ่งเป็นนัตถิกทิฏฐิเสียนั่นแหละจึงบรรลุถึงมัชฌิมาปฏิปทา

    เพื่อสนับสนุนทฤษฎีนี้อาจารย์นาคารชุนยกพระพุทธภาษิตที่ตรัสแก่พระกัจจายนะ ขึ้นอ้างว่า

    "ดูก่อนกัจจายนะ ข้อที่ว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่เป็นส่วนสุดข้างหนึ่งข้อที่ว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ก็เป็นส่วนสุดอีก

    ข้างหนึ่งตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยท่ามกลางไม่เกี่ยวข้องส่วนสุดทั้งสองนั้น"

    เพราะฉะนั้นศูนยตวาทินจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามาธยามิกะ ซึ่งต่อไปจะเรียกชื่อนี้แทนชื่อเดิมต่ออสังขธรรม

    ฝ่ายมาธยามิกะมีทัศนะว่าอสังขธรรมนั้นย่อมไม่มีความเกิดปรากฏขึ้น อันใดความเกิดไม่มีอันนั้นจะมีอยู่อย่างไร

    อุปมาดังดอกฟ้าและเขากระต่ายหรือนางหินมีครรภ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีในโลก

    และไม่เคยมีปรากฏด้วยอันดอกฟ้านั้นใครบ้างเคยเห็น กระต่ายเกิดมีเขางอก

    หรือรูปปั้นสตรีเกิดมีครรภ์ขึ้นได้นั้นล้วนเป็นมายาอนึ่งถ้าพระนิรวาณมีอยู่ไซร้ พระนิรวาณจักชื่อว่ามีการเกิดขึ้น

    สิ่งใดมีการเกิดขึ้นสิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยงเป็นการขัดกันและหากสิ่งใดมีอยู่โดยลำพังตัวเองจะปราศจากการิยรูป

    หรือคุณภาพมิได้สิ่งใดมีการิยรูปหรือคุณภาพย่อมบ่งให้เห็นว่าสิ่งนั้นมีการปรุงแต่งอยู่

    ู่ดังนั้นจึงสรุปว่านิรวาณก็เป็นประดุจมายาเพราะไม่มีการเกิดขึ้นเหมือนดอกฟ้าเขากระต่ายหรือนางหินมีครรภ์

    อนึ่งถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งความเกิดความดับที่แท้ก็ไม่เป็นอื่นไปนอกจากความไม่เกิดไม่ดับนั้น

    เองพระนิรวาณมิใช่จักเป็นภาวะใดภาวะหนึ่งนอกจากปรากฏการณ์ทั้งหลาย

    หลักปัจจยาการที่แท้ก็คือความไม่เกิดไม่ดับและเป็นทั้งมัชฌิมาปฏิปทาด้วย ถ้าเราพิจารณาด้วยสายสมุทัยคือ

    อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารๆเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ฯลฯ เช่นนั้นโดยลำดับ โลกสมุทัยก็เกิดขึ้น

    ถ้าพิจารณาสายดับคือ เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับเพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับฯลฯ

    เช่นนี้โดยลำดับไซร้ก็เป็นโลกนิโรธะ (คือพระนิรวาณ)ฝ่ายมัธยามิกะยกพระพุทธภาษิตขึ้นอ้างอีกว่า

    "เมื่อสิ่งอันนี้มีอยู่ สิ่งอันนั้นก็จักเกิดขึ้นเพราะเกิดขึ้นแห่งสิ่งอันนี้

    เมื่อสิ่งอันนั้นไม่มีอยู่สิ่งอันนี้ย่อมไม่มี สิ่งอันนี้จะดับได้ก็เพราะดับแห่งสิ่งอันนั้น"

    ในปัจจยการนั่นเอง เมื่อกล่าวโดยสายเกิดก็เป็นโลกสมุทัย เมื่อกล่าวโดยสายดับก็เป็นโลกนิโรธะ

    หรือพระนิรวาณเพราะฉะนั้นใช่ว่าจะมีพระนิรวาณต่างหากนอกเหนือปรากฏการแห่งปัจจยการนี้ไม่

    เพราะเห็นแจ้งในโลกสมุทัย นัตถิกทิฏฐิจึงไม่เกิดขึ้นและเพราะแจ้งในโลกนิโรธะ สัสสตทิฏฐิจึงไม่อุบัติ...

    อรรถกถาของท่านนิลเนตรได้ให้ข้ออุปมาโดยง่าย ๆ

    ว่าเหมือนกับเมล็ดพืชเมล็ดแรกนั้นเกิดขึ้นในสมัยใดแม้เราจะสืบสวนไปจนถึงเบื้องปฐมกัลป์เราก็หาไม่พบว่า

    เมล็ดพืชเมล็ดแรกเกิดขึ้นอย่างไรและมีอะไรเป็นปฐมเหตุเราไม่อาจหาไปจนพบ

    ถ้ามีปฐมเหตุอะไรเป็นปฐมเหตุให้เกิดปฐมเหตุนั้นอีกเล่า

    สืบสวนไปไม่มีที่สิ้นสุด ความเกิดแห่งเมล็ดนี้จึงไม่ปรากฏ

    (ที่ปรากฏว่าเมล็ดพืชนั้นเป็นมายา)เมื่อเมล็ดความเกิดไม่ปรากฏจะกล่าวว่าเมล็ดพืชนั้นดับไม่มีเลยหรือก็หามิได้

    เพราะเมล็ดพืชที่เราเห็นอยู่นั้นมี(อย่างมายา) สืบเนื่องกันมาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน

    และจากปัจจุบันจะสืบเนื่องไปจนถึงอนาคตถ้ากระนั้นเมล็ดพืชก็มีภาวะเที่ยงนะซิ เปล่าเลย

    เพราะถ้ามีภาวะเที่ยงแล้วไซร้เมล็ดพืชจะงอกงามเป็นต้นกิ่งก้านใบสาขาไม่ได

    ถ้าไม่เที่ยงเมล็ดพืชนั้นชื่อว่าขาดสูญด้วยหรือไม่

    ไม่ขาดสูญหรอก เพราะกิ่งก้านใบสาขาใบดอกของพืชนั้นย่อมสืบสันตติเนื่องมาจากเมล็ด

    ดังนั้นไซร้ควรกล่าวว่าเป็นหนึ่งก็ไม่ควรเพราะหากเป็นหนึ่งแล้วกิ่งใบดอกผลจะมีไม่ได้

    จะต้องเป็นตัวเมล็ดพืชนั้นเองถ้ามิใช่หนึ่งก็สมควรว่าต่างแตกแยกจากเมล็ดพืชเด็ดขาดหรือ มิได้เลย

    หากต่างแตกแยกจากเมล็ดพืชแล้วกิ่งก้านสาขาใบดอกก็ออกจากเม็ดพืชเหมือนงูเลื้อยออกจากโพรงอย่างนั้นซิ

    เปล่าอีกเหมือนกันเพราะเราต่อยเมล็ดพืชนั้นออกเราก็หาไม่พบกิ่งก้านสาขาใบดอกในเมล็ดนั้น

    ฉะนั้นเราจึงลงบัญญัติได้ว่าเมล็ดพืชนั้นเป็นเพียงมายา ...

    สำหรับทฤษฎีเรื่องพุทธภาวะมีอยู่ในสรรพสัตว์นั้น อาจารย์นาคารชุนไม่รับรองทฤษฎีนี้

    ถือว่าถ้าอย่างนั้นก็จัดว่าเป็นพวกวาทะผลอยู่ในเหตุฝ่ายมัธยามิกะย่อมถือว่าสัตว์ทั้งหลายมีความสามารถ

    ที่จะบรรลุความเป็นพุทธได้เพราะสัตว์ทั้งปวงไม่มีภาวะอันคงที่ดั้งเดิม

    ทำกรรมใดย่อมได้รับผลกรรมนั้นเมื่อลงสร้างทศบารมีเมศสมบูรณ์ก็จักบรรลุเป็นสัมพุทธะได้ไม่ใช่ว่ามีพุทธภาวะ

    ที่บริสุทธิ์ที่เป็นอมตะอยู่ก่อนเป็นอนมตัคคะแต่ถูกหุ้มอย่างฝ่ายภูตตถาวาท

    ทั้งนี้เนื่องด้วยการถือว่ามีพุทธภาวะที่แน่นอนอยู่ก่อนแล้วนั้นชื่อว่าเป็นการถือ

    "สิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง"นั่นเองอนึ่งเมื่อธรรมทั้งปวงเกิดจากเหตุปัจจัยจึงปราศจากแก่นสารตัวตน

    เมื่อปราศจากตัวตน อะไรเล่าเป็นตัวท่องเที่ยวในวัฏฏสังสาร อะไรเล่าเป็นตัวดับกิเลสบรรลุพระนิรวาณ

    เราจะเห็นว่าว่างเปล่าทั้งสิ้นไม่มีสภาวะเกิดหรือดับไปเพราะฉะนั้นผู้บรรลุนิรวาณไม่มีแล้ว

    พระนิรวาณอันผู้นั้นจะบรรลุจึงพลอยไม่มีไปด้วย นาคารชุนอรรถาธิบายต่อไปอีกว่าพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาหลักอนิจจัง

    ทุกขัง อนัตตา รวมลงได้ที่ศูนยตานี้เองและดังนั้นในปรัชญาปารมิตาสูตรจึงกล่าวว่า รูปํ ศูนยตา ศูนยตาตท รูปํ

    รูปคือความสูญ ความสูญคือรูปนั้น คือสังขตะ อสังขตะแท้ก็เป็นเพียงสมมติบัญญัติ

    ความจริงย่อมเป็นสูญบัณฑิตที่สอดส่องด้วยปัญญาเท่านั้นจึงจักตรัสรู้ถึง เพราะอสังขตะย่อมเป็นธรรมคู่กับสังขตะ

    ปราศจากสิ่งที่มีอยู่ด้วยตัวของมันเองเหมือนกัน

    เมื่อแสดงปรัชญามาถึงตอนนี้พวกอัสติวาทินก็แย้งขึ้นมาว่าเมื่อสังขตะอสังขตะล้วนเป็นสูญไปแล้วการบำเพ็ญมรรคผล

    ต่างๆ มิไร้สาระไปด้วยหรือความเป็นอย่างนี้มิเป็นอุจเฉทวาทหรือ

    นาคารชุนก็โต้กลับไปว่าเพราะสิ่งทั้งปวงเป็นของสูญปราศจากสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวของมันเองนะซิ

    ปุถุชนจึงบำเพ็ญมรรคภาวนาเป็นอริยบุคคลได้ คนทำชั่วจึงลงนรกได้ คนทำดีจึงไปสวรรค์ได้

    ถ้าหากมีสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวของมันเองแล้ว มันจะเกิดแปรเปลี่ยนภาวะจากปุถุชนเป็นอริยเจ้าได้อย่างไรหนอ

    เพราะสิ่งที่เป็นอยู่ด้วยตัวของมันเองย่อมหมายถึงสิ่งนั้นต้องไม่อิงอาศัยสิ่งอื่นเลยสำเร็จในตัวของมันเอง

    ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเองเช่นนี้ย่อมเป็นการหักล้างกฏอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของพระพุทธองค์

    และทิฏฐิอย่างนี้มิเป็นสัตตวาทหรือฝ่ายมัธยามิกะอุปมาอย่างโลก ๆ ว่าเหมือนกับอาศัยที่ว่าง เราปราถนาจะสร้างอะไร

    ๆ จึงจักสร้างขึ้นได้ ณเนื้อที่ว่างเปล่าตรงนั้น ไม่ว่าจะมากหรือน้อย อุปไมยดังอาศัยศูนยตา

    เหตุปัจจัยทั้งหลายจึงจักแสดงบัญญัติขึ้นมาได้ ฉันใดก็ฉันนั้น...

    ธรรมทั้งหลายไม่อุบัติขึ้นเอง ไม่อุบัติจากสิ่งอื่น ทั้งไม่อุบัติขึ้นเองด้วยไม่อุบัติจากสิ่งอื่นรวมอยู่ด้วยกัน

    และไม่ใช่ปราศจากเหตุเพราะฉะนั้นจึงรู้ว่าไม่มีการอุบัติขึ้นลย


    เสถียร โพธินันทะ ,ปรัชญามหายาน





    ท่านนาคารชุนะ



    "สังขตธรรมทั้งปวง มีอุปมาดั่งความฝัน ดั่งภาพมายา ดั่งฟองน้ำ ดั่งเงา ดั่งน้ำค้าง และดั่งสายฟ้าแลบ พึงเพ่งพิจารณาโดยอาการเช่นนี้แล"

    วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร
     
  16. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (สันสกฤต वज्रच्छेदिका प्रज्ञापारमितासूत्र, จีน 金剛般若波羅蜜經, อังกฤษ Diamond Sutra) พระสูตรสำคัญหมวดปรัชญาปารมิตาของพระพุทธศาสนามหายาน มีชื่อเต็มในภาษาสันสกฤตว่า วัชรัจเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร หมายถึงพระสูตรว่าด้วยปัญญาญาณอันสมบูรณ์ประดุจเพชรที่จะตัดภาพมายา คืออวิชชาและอุปาทานอันเป็นเครื่องกีดขวางมิให้บุคคลบรรลุถึงความรู้แจ้ง เชื่อกันว่าพระสูตรหมวดปรัชญาปารมิตานี้เป็นพระสูตรมหายานรุ่นแรก ๆ ที่เกิดขึ้น เนื้อหาสาระสำคัญเป็นเรื่องราวการเทศนาสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากับพระสุภูติซึ่งเป็นพระอรหันตสาวก ที่พระเชตวันมหาวิหาร ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ จะต้องกระทำด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นการอรรถาธิบายถึงหลักศูนยตา ความว่างเปล่าปราศจากแก่นสารของอัตตาตัวตนและสรรพสิ่งทั้งปวง แม้ธรรมะและพระนิพพานก็มีสภาวะเป็นศูนยตาด้วยเช่นเดียวกัน สรรพสิ่งเป็นแต่เพียงสักว่าชื่อเรียกสมมติขึ้นกล่าวขาน หาได้มีแก่นสารแท้จริงอย่างใดไม่ เพราะสิ่งทั้งปวงอาศัยเหตุปัจจัยประชุมพร้อมกันเป็นแดนเกิด หาได้ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง เช่นนี้สิ่งทั้งปวงจึงเป็นมายา พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีพึงมองเห็นสรรพสิ่งในลักษณะเช่นนี้ เพื่อมิให้ยึดติดในมายาของโลก ท้ายที่สุด พระพุทธองค์ได้สรุปว่าผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพึงยังจิตมิให้บังเกิดความยึดมั่นผูกพันในสรรพสิ่งทั้งปวง เพราะสังขตธรรมนั้นอุปมาดั่งภาพมายา ดั่งเงา ดั่งความฝัน ดั่งฟองในน้ำ และดั่งสายฟ้าแลบ เกิดจากการอิงอาศัยไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารจีรังยั่งยืน แนวคิดเรื่องศูนยตานี้ได้พัฒนาต่อไปโดยท่านคุรุนาคารชุนแห่งนิกายมาธยมิกะ จนกลายเป็นความคิดหลักทางพุทธปรัชญาที่ลึกล้ำและโดดเด่นในโลกจนทุกวันนี้ พระสูตรนี้มีแปลเป็นภาษาไทยโดย อ.เสถียร โพธินันทะ
    บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยแก้ไขเพิ่มเติมได้ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา
     
  17. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร เสถียร โพธินันทะ
    金剛般若波羅密經
    วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร
    แปลโดย
    เสถียร โพธินันทะ
    เรียบเรียง จีน—ไทย โดย เย็นเจี่ยวภิกขุ
    เอื้อเฟื้อจากสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย

    法會因由分第一
    如 是 我 聞 。 一時佛在舍衛國祇樹給孤獨園。與大比丘眾、千兩百五十人俱。 爾時,釋尊食時,著衣持缽,入舍衛大城乞食。 於其 城中次第乞已, 還至本處 。 飯食訖,收衣缽,洗足已,敷座而坐 。
    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เชตวนารามวิหารของท่านอณาถบิณฑิกเศรษฐีแขวงเมืองสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ 1250 รูป ก็โดยสมัยนั้นแลเป็นกาลแห่งภัตต์ พระผู้มีพระภาคทรงครองจีวรทรงบาตร เสด็จจาริกไปบิณฑบาตรในนครสาวัตถีโดยลำดับ ครั้นแล้วเสด็จกลับมายังเชตวนารามทรงกระทำภัตกิจเสร็จ เก็บบาตรขึ้น ชำระพระบาท ประทับนั่งสมาธิบัลลังก์
    善現啟請分第二
    時長老須菩提,在大眾中,即從座起偏袒右肩,右膝著地,合掌恭敬 而白佛言: 希有世尊 ,如來善護念諸菩薩 ,善付囑諸菩薩。 世尊, 善男子善女人,發阿耨多羅三藐三菩提心 , 應云何住 , 云 何降伏其心? 佛言: 善哉善哉 。 須菩提 , 如汝所說 , 如來善護念諸菩薩 , 善付囑諸菩薩 。 汝今諦聽 ,當為汝說 。 善男子 善女人 , 發阿耨多羅三藐三菩提心 , 應如是住 , 如是降伏其心。 唯然,世尊,願樂欲聞 。
    ครั้งนั้นแล พระสุภูติผู้มีอายุได้ลุกขึ้นจากท่ามกลางประชุมสงฆ์ ทำจีวรเฉลียงบ่าด้วยการลดไหล่ขวา แล้วคุกเข่าขวาลงสู่พื้น ประคองอัญชลีมายังพระผู้มีพระภาค พลางกราบทูลถามขึ้นว่า
    สุ “ หาได้ยากนักหนา ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ที่พระตถาคตทรงคอยระฤกในการตามคุ้มครอง และอบรมสั่งสอนปวงพระโพธิสัตว์อย่างดียิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ควรจักปฏิบัติตั้งจิตของตนโดยสถานใด ควรจักควบคุมบำราบจิตของตนอย่างไรหนอพระเจ้าข้า”
    พ “ สาธุๆ สุภูติ เป็นความจริงดุจที่เธอกล่าว ตถาคตย่อมตามระฤกในการคุ้มครอง และอบรมสั่งสอนปวงพระโพธิสัตว์เป็นอย่างดี เธอจงตั้งใจฟัง เราจักแสดงแก่เธอ กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆ ผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ควรจักปฏิบัติตั้งจิตของตนอย่างนี้ ควรจักควบคุมบำราบจิตของตนอย่างนี้ “
    สุ “ อย่างนั้น พระสุคต ข้าพระองค์มีความปลาบปลื้มยินดีเฝ้าคอยสดับอยู่ “


    大乘正宗分第三
    佛告須菩提 : 諸菩薩摩訶薩 , 應如是降伏其心 。 所有一切眾 生之類,若卵生 、 若胎生 、 若濕生、若化生、若有色、若無 色、若有想、若無想、若非有想、非無想,我皆令入無餘涅槃而滅度之。如是滅度無量無數無邊眾生,實無眾生得滅度者。何以故,須菩提,若菩薩有我相人相眾生相壽者相 , 即非菩薩 。
    พ “ ดูก่อน สุภูติ ปวงพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ควรจักควบคุมบำราบจิตของตนอย่างนี้ว่า สรรพสัตว์ไม่ว่าจักเป็นเหล่าใดๆ คือ จักเป็นอัณฑะชะกำเนิดก็ดี, จักเป็นชลาพุชะกำเนิดก็ดี, จักเป็นสังเสทชะกำเนิดก็ดี, จักเป็นอุปปาติกะกำเนิดก็ดี, หรือจักมีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาหรือไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี เราจักโปรดสัตว์ทั้งหลายดังกล่าวนี้ ให้บรรลุสำเร็จแก่อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ โดยประการฉะนี้ ปราศจากขอบเขตแต่โดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสัตว์ใดๆเป็นผู้บรรลุสำเร็จแก่อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเลย ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา สุภูติ ถ้าพระโพธิสัตว์ยังมีความยืดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ ในปุคคละลักษณะ ในสัตวะลักษณะ ในชีวะลักษณะไซร้ นั้นหาชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ไม่
    妙行無住分第四
    復次,須菩提!菩薩於法,應無所住,行於布施。 所謂不住色布 施,不住聲香味觸法布施。須菩提,菩薩應如是布施,不住於相。何以故?若菩薩不住相布施,其福德不可思量。須菩提,於意云何,東方虛空,可思量不?不也,釋尊。須菩提,南西北方,四維上下虛空,可思量不?不也,釋尊。須菩提,菩薩應無住相布施,福德亦復如是不可思量。須菩提,菩薩但應如所教住。
    “ อนึ่ง สุภูติ ในการบำเพ็ญทานบารมี พระโพธิสัตว์จักต้องไม่ยึดติดอยู่ในธรรม กล่าวคือจักบำเพ็ญทานด้วยความไม่ยึดถือผูกพันในรูป ไม่ยึดถือผูกพันในเสียง กลิ่น รส สัมผัส และบำเพ็ญทานด้วยความไม่ยึดถือผูกพันในธรรมารมณ์ ดูก่อน สุภูติ พระโพธิสัตว์พึงบำเพ็ญทานด้วยความไม่ยึดถือผูกพันในการบำเพ็ญทานย่อมมีบุญกุศล อันจักคิดประมาณมิได้เลย สุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน อากาศเบื้องทิศตะวันออกจักพึงคิดคำนวณประมาณได้อยู่ฤาหนอ
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ ถ้าเช่นนั้น อากาศเบื้องทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตลอดจนอากาศเบื้องบนและเบื้องล่าง จักพึงคิดคำนวณประมาณได้อยู่ฤาหนอ
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ”
    พ “ ดูก่อน สุภูติ พระโพธิสัตว์ไม่เป็นผู้มีความยึดถือผูกพันในการบำเพ็ญทานย่อมมีบุญกุศลอันไม่พึงคิด คำนวณประมาณได้ดุจกัน สุภูติ พระโพธิสัตว์พึงปฏิบัติตามคำสอนอย่างนี้แล”
    如理實見分第五
    須菩提,於意云何 ,可以相見如來不?不也, 釋尊,不可相得見 如來。 何以故,如來所說相,即非相。 佛告須菩提 ,凡所有相皆 是虛妄,若見諸相非相,則見如來。
    พ “ ดูก่อน สุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระตถาคตนั้นพึงจักเห็นได้ด้วยรูปลักษณะฤาหนอ”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตเจ้ามิอาจจักเห็นได้ด้วยรูปลักษณะเลย ข้อนั้นเพราะเหตุใด ก็เพราะว่าพระตถาคตเจ้าตรัสแล้วว่า รูปลักษณะนั้น โดยความจริงแล้วมิได้มีสภาวะรูปลักษณะอยู่เลย”
    พ “ ดูก่อน สุภูติ สิ่งที่มีลักษณะทั้งปวง ย่อมเป็นมายา ถ้าสามารถเห็นแจ้งว่ารูปลักษณะทั้งปวง โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะแห่งรูปลักษณะ ก็ย่อมเห็นตถาคตได้ “
    正信希有分第六
    須菩提白佛言 : 釋尊,頗有眾生,得聞如是言說章句,生實信不? 佛告須菩提,莫做是說。如來滅後,後五百歲,有持戒修福者,於此章句, 能生信心,以此為實。當知是人,不於一佛二佛三四五佛而種善根,已於無量千萬佛所,種諸善根。聞是句,乃至一念生淨信者,須菩提,如來悉知悉見,是諸眾生,得如 是無量福德。何以故?是諸眾生,無復我相人相眾生相相 ,無法相,亦無非法相。何以故?是諸眾生,若心取相,則為著我人眾生壽者。若取法相,即著我人眾生壽者。何以故 ?若取非法相,即 著我人眾生壽者。是故,不應取法,不應取非法。以是義故 ,如來常說,汝等比丘,知我說法如筏喻者。 法尚應捨,何況非法。
    สุ “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังจักมีสัตว์ใดที่ได้สดับพระธรรมบรรยาย ฉะนี้แล้วแลบังเกิดศรัทธาอันแท้จริงขึ้นหรือหนอ “
    พ “ อย่ากล่าวอย่างนั้นซิ สุภูติ เมื่อตถาคตดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 500 ปี หากมีบุคคลผู้ถือศีลบำเพ็ญกุศลมาบังเกิดความศรัทธาอันแท้จริงในพระธรรมบรรยาย นี้แลเขาจักถือว่านั่นเป็นความจริงไซร้ เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่า บุคคลนั้นหาได้ปลูกฝังกุศลมูลเพียงในพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ หรือพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ 3 พระองค์ 4 พระองค์ 5 พระองค์ไม่ แต่เขาได้ปลูกฝังกุศลในพระพุทธเจ้านับด้วยพัน เป็นอเนกนับด้วยหมื่นเป็นอเนกจักนับประมาณพระองค์มิได้ บุคคลใดได้สดับพระธรรมบรรยายนี้บังเกิดจิตศรัทธาอันบริสุทธิ์แม้เพียงชั่วขณะเดียว สุภูติ ตถาคตย่อมรู้อยู่ ย่อมเห็นอยู่ในเขาเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายนี้ได้บรรลุบุญกุศลอันจักประมาณมิได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา เพราะสรรพสัตว์เหล่านี้ย่อมจักไม่มีอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะสักษณะ ชีวะลักษณะ ไม่มีธรรมลักษณะหรืออธรรมลักษณะ ด้วยเหตุเป็นไฉน ด้วยเหตุสรรพสัตว์เหล่านี้ ถ้ายังมีจิตยึดถือผูกพันในลักษณะ ก็ชื่อว่ายังมีความยืดถือในอาตมะ ปุคคละ สัตวะ และชีวะ หากยังมีความยึดถือในธรรมลักษณะ ก็ชื่อว่ายังมีความยึดถือในอาตมะ ปุคคละ สัตวะ และชีวะ ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา หรือหากมีความยึดถือในอธรรมลักษณะ ก็ยังชื่อว่ามีความยึดถือในอาตมะ ปุคคละ สัตวะ และชีวะดุจกัน เพราะเหตุฉะนั้นแล จึงไม่ควรยึดถือในธรรมและไม่ควรยึดถือในอธรรม นี้คือเหตุผลที่ตถาคตพร่ำสอนอยู่เสมอว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกำหนดรู้ว่าธรรมะที่เราแสดงมีอุปมาดังผู้อาศัยพ่วงแพ แม้แต่ธรรมก็ยังต้องละเสีย จักกล่าวไปใยกับอธรรมเล่า” *1
    (*1 ธรรมของพระพุทธองค์ดุจยานพาหนะมีแพเป็นต้น สำหรับผู้ข้ามพ้นทุกข์อาศัยข้ามวัฏฏสงสารเมื่อบรรลุถึงฝั่งอมตนิพพานที่ปรารถนาแล้ว ผู้นั้นก็ย่อมไม่แบกหามแพให้เป็นภาระ คงปล่อยทิ้งไว้ที่ชายฝั่งนั่นเอง แต่ในขณะที่ยังไม่บรรลุถึงฝั่งก็จำต้องอาศัยไปพลางๆ ข้อความนี้เปรียบเทียบได้กับพุทธภาษิตในอลคัททูปมสูตรแห่งบาลีมัชฌิมนิกาย-ผู้แปล )
    無得無說分第七
    須菩提,於意云何。如來得阿耨多羅三藐三菩提耶?如來有所說法 耶?須菩提言:如我解佛所說義,無有定法,名阿耨多羅三藐三菩提。亦無有定法,如來可說。何以故?如來所說法,皆不可取 , 不可說,非法,非非法。所以者何,一切聖賢,皆以無為法,而有 差別。
    “ สุภูติเอย เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณฤา ตถาคตได้แสดงพระธรรมเทศนาอยู่ฤา”
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ตามความเข้าใจของข้าพระองค์ในธรรมอรรถอันพระสุคตได้ตรัสไว้ ก็ไม่มีสภาวะใดแน่นอนที่เรียกว่าพระอนุตตระสัมมาสัมโพธิ และก็ไม่มีสภาวะธรรมแน่นอนอันใดซึ่งพระองค์แสดง ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน เพราะว่าธรรมซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสทั้งหมดไม่ควรยึดถือ ไม่ควรกล่าว ไม่ใช่ธรรมและไม่ใช่อธรรมทั้งนี้ด้วยเหตุอันใด ด้วยเหตุว่า พระอริยะบุคคลทั้งหลายอาศัยอสังขตธรรมนี้แล้วจึงมีความแตกต่างกัน *2
    ( *2 ธรรมทั้งปวงมีความศูนย์เป็นลักษณะ จึงกล่าวไม่ได้ว่าเป็นธรรมหรืออธรรม และจากความศูนย์นี้ เราจึงแบ่งประเภทอริยบุคคลต่างๆ เช่นพระโสดา สกทาคามี อนาคามีและพระอรหันต์ ทั้งนี้เพราะธรรมทั้งปวงไม่มีสภาวะแน่นอนอยู่ได้โดยตัวมันเอง ถ้ามีสภาวะแน่นอนในตัวของมันเองไซร้ พระอริยบุคคลประเภทต่างๆนี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้)
    依法出生分第八
    須菩提,於意云何。若人滿三千大千世界七寶,以用布施,是人所 得福德,甯為多不?須菩提言:甚多,釋尊,何以故?是福德,即 非福德性,是故如來說福德多。若復有人,於此經中受持,乃至四句偈等,為他人說,其福勝彼。何以故?須菩提,一切諸佛,及諸 佛阿耨多羅三藐三菩提法,皆從此經出。須菩提,所謂佛法者 , 即非佛法。
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ถ้ามีบุคคลใดบำเพ็ญทานบริจาคด้วยสัปตรัตนะอันเต็มเปี่ยมทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุ บุคคลนั้นจักได้เสวยบุญกุศลอันมากมายกระนั้นฤาหนอ”
    สุ “ มากมายนั้นแล้วพระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าบุญกุศลนั้นโดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะอันใดที่เป็นกุศล ฉะนั้นพระตถาคตเจ้าจึงตรัสว่าได้บุญกุศลมากมาย” *3
    (*3 โดยปรมัตถ์บุญกุศลก็เป็นอนัตตาหรือศูนยตา การที่ไม่ยึดถือบุญกุศลนั่นแหละ จึงนับว่าเป็นบุญกุศลโดยแท้ เพราะเป็นบุญกุศลชนิดวิวัฏฏะ-ผู้แปล)
    พ “ ถ้ามีบุคคลได้อาศัยปฏิบัติตามพระสูตรนี้ แม้ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท และประกาศสั่งสอนแก่ผู้อื่น บุญกุศลของผู้นั้นจักโอฬารยิ่งกว่าผู้ทำทานด้วยสัปตรัตนะข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา สุภูติ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดจนพระพุทธอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมทั้งปวงล้วนมีกำเนิดจากพระสูตรนี้ สุภูติเอย สิ่งที่เรียกว่าพระพุทธธรรมนั้น โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะพระพุทธธรรมนั้นเลย”
    一相無相分第九
    須菩提,於意云何。須陀洹能作是念,我得須陀洹果不。須菩提 言:不也,世尊。何以故。須陀洹名為入流,而無所入,不入色聲 香味觸法,是名須陀洹。須菩提,於意云何。斯陀含能作是念,我得斯陀含果不。須菩提言:不也,世尊。何以故。斯陀含名一往 來,而實無往來,是名斯陀含。須菩提,於意云何 。 阿那含能作 是念,我得阿那含果不。須菩提言:不也,世尊。何以故。阿那 含名為不來,而實無不來,是故名阿那含。須菩提,於意云何。阿 羅漢能作是念,我得阿羅漢道不。須菩提言:不也,世尊。何以 故。實無有法名阿羅漢。世尊若阿羅漢作是念,我得阿羅漢道。即著我人眾生壽者。世尊,佛說我得無諍三昧,人中最為第一,是第 一離欲阿羅漢。世尊,我不作是念,我是離欲阿羅漢。世尊,我若 作是念,我得阿羅漢道,世尊則不說須菩提是樂阿蘭那行者。以須菩提實無所行,而名須菩提是樂阿蘭那行。
    “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระโสดาบันจักสามารถนมสิการว่า เราได้บรรลุโสดาปัตติผลฤา”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าพระโสดาบันบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้เข้าสู่กระแส แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดที่เจ้าสู่กระแสเลย การไม่เข้าถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าพระโสดาบัน”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระสกทาคามีจักสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุสกทาคามีผลฤา “
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าพระสกทาคามีชื่อว่าเป็นผู้จักเวียนกลับมา(ในกามาวจรภพ) อีกครั้งเดียว แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดเวียนกลับมาอีก เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า พระสกทาคามี”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระอนาคามีจักสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุอนาคามีผลฤา “
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าพระอนาคามีชื่อว่าเป็นผู้ไม่กลับมาอีก(ในกามาวจรภพ) แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดที่ไม่กลับมาอีก เป็นสักแต่ชื่อว่าพระอนาคามี”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระอรหันต์จักสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุอรหัตตมรรคผลฤา “
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะโดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดที่เรียกว่าอรหันต์ ข้าแต่พระสุคต หากพระอรหันต์จักพึงมนสิการว่า เราบรรลุอรหัตตมรรคอย่างนี้ไซร้ ก็ชื่อว่าได้ยึดถือในอาตมะ ปุคคละ สัตวะ ชีวะเข้าแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่าในหมู่ผู้บรรลุอารัณยิกสมาธิอันยอดเยี่ยมนั้น ได้แก่ตัวข้าพระองค์ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ผู้ยอดเยี่ยมพ้นแล้วจากกิเลสราคะ ข้าแต่พระองค์ผู้ควรบูชา ข้าพระองค์ไม่มนสิการว่า ตัวเราได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ผู้ยอดเยี่ยมพ้นแล้วจากกิเลสราคะ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าข้าพระองค์ยังมนสิการว่า ตัวเราได้บรรลุอรหัตตมรรคอย่างนี้ไซร้ พระสุคตจักไม่ตรัสว่าสุภูติเป็นผู้ยินดีในอารัณยกปฏิปทาเลย โดยความจริงแล้วสุภูติมิได้ยึดถือในปฏิปทาเลย ฉะนั้นพระองค์จึงตรัสยกย่องว่า สุภูติเป็นผู้ยินดีในอารัณยกปฏิปทา”
    莊嚴淨土分第十
    佛告須菩提,於意云何,如來昔在然燈佛所,於法有所得不?不 也,世尊。如來在然燈佛所,於法實無所得。須菩提,於意云何, 菩薩莊嚴佛土不?不也,世尊。何以故。莊嚴佛土者,即非莊嚴,是名莊嚴。是故須菩提,諸菩薩摩訶薩,應如是生淨心,不應住色 生心,不應住聲香味觸法生心,應無所住而生其心 。 須菩提,譬 如有人,如須彌山王,於意云何,是為大不?須菩提言,甚大,世尊。 何以故,佛說非,是名。
    พ.” สุภูติเอย เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ณ เบื้องอดีตกาลโน้น เมื่อตถาคต(ยังเป็นพระโพธิสัตว์) อยู่ในสำนักของพระทีปังกรพุทธเจ้า ตถาคตได้บรรลุธรรมอันใดฤา”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระตถาคต (ยังเป็นพระโพธิสัตว์)อยู่ในสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้ามิได้ทรงบรรลุ ธรรมใดๆเลย” *4
    ( * 4 เมื่อครั้งพระศาสดาเรายังเสวยพระชาติเป็นโพธิสัตว์ในชาติหนึ่งเกิดเป็นดาบสชื่อสุเมธ ได้ทอดองค์ลงต่างสะพานไปในลุ่มเลน พร้อมทั้งสยายเกศาปกคลุมสถานสกปรกนั้น เพื่อพระทีปังกรพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวกเสด็จผ่าน สุเมธดาบสได้ตั้งความปรารถนาพระโพธิญาณในขณะที่พระทีปังกรพุทธเจ้า เสด็จเหยียบบนร่างกายของตน และได้รับพุทธพยากรณ์ว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตการ-ผู้แปล)
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระโพธิสัตว์บุคคลจักพึงกระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรฤาหนอ”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าการกระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรนั้น โดยความจริงมิได้มีสภาวะการกระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่ากระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรเท่านั้น”
    พ “ เพราะฉะนั้นแล สุภูติ พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ทั้งปวงพึงยังจิตให้บริสุทธิ์สะอาดโดยประการอย่างนี้ กล่าวคือพึงยังจิตมิให้ยึดถือผูกพันในรูป พึงยังจิตมิให้ยึดถือผูกพันในเสียง ในกลิ่ง ในรส ในสัมผัส ในธรรมารมณ์ พึงยังจิตมิให้บังเกิดมีความยึดถือผูกพันในสภาวะใดๆ”
    “ สุภูติ อุปมาดั่งบุคคลผู้มีรูปกายสัณฐานดุจขุนเขาพระสุเมรุ เธอจักมีความคิดเห็นเป็นไฉน รูปกายแห่งบุคคลนั้นมโหฬารฤาหนอแล”
    สุ “มโหฬารนักแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุใดเล่า เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า รูปกายนั้นโดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า รูปกายอันมโหฬารเท่านั้น”
    無為福勝分第十一
    須菩提,如恆河中所有沙數,如是沙等恆河,於意云何,是諸恆河 沙,甯為多不?須菩提言,甚多,世尊。但諸恆河,尚多無數,何 況其沙。須菩提,我今實言告汝,若有善男子善女人,以七寶滿爾所恆河沙數三千大千世界,以用布施,得福多不?須菩提言,甚多,世尊。佛告須菩提,若善男子善女人於此經中,乃至受持四句 偈等,為他人說,而此福德勝前福德。
    พ “ ดูก่อนสุภูติ อุปมาดั่งจำนวนเมล็ดทรายในท้องคงคานทีแลมีแม่น้ำคงคาเป็นอันมากนับด้วยเมล็ดทรายเหล่านั้น เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน จำนวนแห่งเมล็ดทรายในคงคานทีทั้งหลาย จักนับได้ว่ามากมายอยู่ฤาหนอ”
    สุ “ มากมายนักแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะคงคานทีเองก็ยังมีปริมาณมากจนมิอาจคำนวนได้ จักป่วยกล่าวไปใยถึงเมล็ดทรายในนทีเหล่านั้น”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เรากล่าวกับเธอโดยแท้จริงว่า ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใดๆนำ สัปตรัตนะซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมดุจเมล็ดทรายในคงคานทีทั่วมหาตรสหัสโลกธาตุมาบริจาคทาน จักได้บุญกุศลมากอยู่ฤาหนอแล”
    สุ “ มากมายนักแล้ว ข้าแต่พระผู้มีภาค”
    พระสัมพุทธเจ้าตรัสกันพระสุภูติว่า
    พ “ ถ้ากุลบุตร กุลธิดาใดๆหากได้ประพฤติปฏิบัติตามพระสูตรนี้ที่สุดแม้จะปฏิบัติคาถาเพียง 4 บาท หรือประกาศแสดงแก่คนอื่นๆข้อนั้นย่อมจะเป็นบุญกุศลวิเศษยิ่งกว่าบุญกุศลที่กล่าวแล้วนั้นอีก
    尊重正教分第十二
    復次,須菩提,隨說是經,乃至四句偈等,當知此處,一切世間天 人阿修羅,皆應供養如佛塔廟,何況有人,盡能受持讀誦。須菩提,當知是人,成就最上第一希有之法。若是經典所在之處,則為有佛,若尊重弟子。
    อนึ่ง สุภูติ ณ สถานที่ใดมีผู้ได้ประกาศแสดงพระสูตรนี้ แม้ที่สุดคาถาเพียง 4 บาท เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่า ณ สถานที่ (ประกาศแสดง)นั้น ทวยเทพมนุษย์และอสูรในโลกทั้งหลายถึงกระทำสักการบูชาดุจพระพุทธสถูปวิหาร จักป่วยกล่าวไปใยกับบุคคลผู้ปฏิบัติประพฤติตามพระสูตรนี้ทั้งหมด ตลอดจนสามารถเจริญสาธยายได้เล่า สุภูติเอย เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่า บุคคลดังกล่าวนั้นแลได้ยังความสำเร็จแล้วในธรรมอันเป็นยอดสูงสุดซึ่งหาได้โดยยาก ถ้าพระสูตรนี้ประดิษฐานอยู่ ณ สถานที่ใด ณ สถานที่นั้นย่อมชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดับอยู่ และมีพระอัครสาวกสำนักอยู่”
    如法受持分第十三
    爾時須菩提白佛言,世尊,當何名此經,我等云何奉持。佛告須菩 提,是經名為金剛般若波羅蜜,以是名字,汝當奉持。所以者何。 須菩提,佛說般若波羅蜜,即非般若波羅蜜,是名般若波羅蜜。須菩提於意云何,如來有所說法不?須菩提白佛言,世尊,如來無所 說。須菩提,於意云何,三千大千世界,所有微塵,是為多不?須 菩提言,甚多,世尊。須菩提,諸微塵,如來說非微塵,是名微塵。如來說世界,非世界,是名世界。須菩提,於意云何,可以三十二相見如來不?不也,世尊,不可以三十二相得見如來,何以故,如來說三十二相,即是非相,是名三十二相。須菩提,若有善 男子善女人,以恆河沙 命布施,若復有人,於此經中,乃至受持四句偈等,為他人說,其福甚多。
    ก็โดยสมัยนั้นแล พระสุภูติได้กราบทูลถามพระสัมพุทธเจ้าขึ้นว่า
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระสูตรนี้มีนามว่ากระไรพระเจ้าข้า และข้าพระองค์ทั้งหลายจักพึงรับปฏิบัติอย่างไรพระเจ้าข้า”
    พระสัมพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระสุภูติว่า
    พ “ พระสูตรนี้ชื่อว่า วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร นี้แลเป็นนามอันเธอพึงรับปฏิบัติ ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา สุภูติ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปรัชญาปารมิตานั้นโดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะแห่งปรัชญาปารมิตาเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า ปรัชญาปารมิตาเท่านั้น ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตได้แสดงพระธรรมเทศนาอยู่ฤา”
    พระสุภูติกราบทูลสนองพระสัมพุทธเจ้าว่า
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตเจ้ามิได้แสดงพระธรรมเทศนาใดๆเลย”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ปรมาณูในมหาตรีสหัสโลกธาตุ มีปริมาณมากอยู่ฤาหนอแล”
    สุ “ มากมายนักแล้ว ข้าแต่พระสุคต”
    พ “ สภูติเอย ก็ปรมาณูเหล่านั้น ตถาคตกล่าวว่าโดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะปรมาณูเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าปรมาณู ตถาคตกล่าวว่า โลกธาตุก็ไม่มีสภาวะแห่งโลกธาตุอยู่เลย เป็นสักแต่ชื่อว่าโลกธาตุเท่านั้น ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน จักถึงเห็นตถาคตได้ในมหาปุริสสลักษณะ 32 ประการฤาหนอ”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค จักเห็นพระตถาคตเจ้าโดยมหาปุริสสลักษณะ 32 ประการมิได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าพระตถาคตเจ้าตรัสว่า ลักษณะ 32 ประการนั้น โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะแห่งลักษณะอยู่เลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าลักษณะ 32 ประการเท่านั้น”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใดๆได้สละร่างกายกอบทั้งชีวิตอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกบริจาคทาน แต่หากมีบุคคลได้ปฏิบัติตามพระสูตรนี้แม่ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท ประกาศแสดงอรรถแก่บุคคลอื่น ย่อมมีบุญกุศลมากมายยิ่งกว่า”
    離相寂滅分第十四
    爾時須菩提聞說是經,深解義趣,涕淚悲泣,而白佛言,希有世 尊,佛說如是甚深經典,我從昔來所得慧眼,未曾得聞如是之經。 世尊,若復有人得聞是經,信心清淨,則生實相,當知是人成就第一希有功德。世尊,是實相者,即是非相,是故如來說名實相。世 尊,我今得聞如是經典,信解受持,不足為難。若當來世,後五百 歲,其有眾生得聞是經,信解受持,是人則為第一希有。何以故。此人無我相、無人相、無眾生相、無壽者相。所以者何。我相即是 非相,人相眾生相壽者相,即是非相。何以故。離一切諸相,則名 諸佛。佛告須菩提,如是如是。若復有人得聞是經,不驚不怖不畏,當知是人,甚為希有。何以故。須菩提,如來說第一波羅蜜,即非第一波羅蜜,是名第一波羅蜜。須菩提,忍辱波羅蜜,如來說 非忍辱波羅蜜,是名忍辱波羅蜜。何以故。須菩提,如我昔為歌利 王割截體,我於爾時,無我相、無人相、無眾生相、無壽者相。何以故。我於往昔節節支解時,若有我相人相眾生相壽者相,應生瞋恨。須菩提,又念過去,於五百世作忍辱仙人,於爾所世,無我相、無人相、無眾生相、無壽者相。是故須菩提,菩薩應離一切相,發阿耨多羅三藐三菩提心,不應住色生心,不應住聲香味觸法生心,應生無所住心。若心有住,則為非住。是故佛說菩薩心,不 應住色布施。須菩提,菩薩為利益一切眾生故,應如是布施。如來 說一切諸相,即是非相,又說一切眾生,即非眾生。須菩提,如來是真語者,實語者,如語者,不誑語者,不異語者。須菩提,如來 所得法,此法無實無虛。須菩薩,若菩薩心住於法而行布施,如人 入闇,則無所見。若菩薩心不住法而行布施,如人有目,日光明照,見種種色。須菩提,當來之世,若有善男子善女人,能於此經受持讀誦,則為如來以佛智慧,悉知是人,悉見是人,皆得成就無 量無邊功德。
    ครั้งนั้นแล พระสุภูติได้สดับพระสูตรนี้แล้ว เป็นผู้มีความซาบซึ้งแจ่มชัดในธรรมอรรถนั้น จึงบังเกิดอาการร้องไห้หลั่งน้ำตา (ด้วยความปิติ) แล้วกราบทูลพระสัมพุทธเจ้าว่า
    สุ “ หาได้ยากนัก ข้าแต่พระผู้มีภาค ในการที่พระสัมพุทธเจ้าตรัสพระสูตรอันสุขุมล้ำลึกเป็นปานฉะนี้ ในอดีตกาลนับแต่ข้าพระองค์ได้บรรลุปัญญาจักษุเป็นต้นมา มิได้เคยสดับพระสูตรดั่งนี้เลย ข้าแต่พระสุคต ถ้ามีบุคคลผู้ได้สดับพระสูตรดังกล่านี้ มีศรัทธาอันบริสุทธิ์ แล้วบังเกิดลักษณะอันแท้งจริง (กล่าวคือปัญญารู้แจ้งในสภาพตามเป็นจริง) ก็พึงสำเหนียกได้ว่าบุคคลนั้นได้บรรลุสำเร็จซึ่งคุณานิสงส์อันเยี่ยมยอดหาได้โดยยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ลักษณะอันแท้จริงนั้น โดยความจริงไม่มีลักษณะ ฉะนั้นพระตถาคตเจ้าจึงตรัสว่า นั่นเป็นลักษณะที่แท้จริง ข้าแต่พระผู้มีภาค ข้าพระองค์ได้สดับพระสูตรนี้ ณ บัดนี้ มีความศรัทธาและซาบซึ้งในธรรมอรรถรับปฏิบัติตาม ย่อมไม่เป็นข้อยากเย็นอะไรเลย ก็แต่ว่าในอนาคตกาลจากนี้ 500 ปี หากมีสรรพสัตว์ใดได้สดับพระสูตรนี้ แล้วแลบังเกิดความศรัทธาซาบซึ้งในธรรมอรรถรับปฏิบัติตาม บุคคบนั้นนับว่าเป็นบุคคลอย่างเยี่ยมยอดชนิดหาได้โดยยากทีเดียวพระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าบุคคลนั้นจักเป็นผู้ปราศจากความยึดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ ไม่ยึดถือผูกพันในปุคคละลักษณะ ไม่ยึดถือผูกพันในสัตวะลักษณะ ไม่ยึดถือผูกพันในชีวะลักษณะ ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน เพราะว่าอาตมะลักษณะนั้นไม่มีสภาวะลักษณะเลย ด้วยเหตุดังฤา เมื่อละความยึดถือในสรรพลักษณะทั้งปวง ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้แจ้งตรัสรู้เช่นพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย”
    พระสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระสุภูติว่า
    พ “ อย่างนั้นอย่างนั้น ถ้ามีบุคคลผู้ได้สดับพระสูตรนี้แล้วแลไม่บังเกิดความกลัว ไม่บังเกิดความครั่นคร้าม ไม่บังเกิดความระย่อ*5 เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่าบุคคลนั้นเป็นผู้หาได้โดยยาก ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน สุภูติ ตถาคตกล่าวว่า บารมีอันยอดเยี่ยมนั้นโดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสภาวะแห่งบารมีอันยอดเยี่ยมนั้นเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า บารมีอันยอดเยี่ยมเท่านั้น ดูก่อนสุภูติ ขันติบารมีนั้นตถาคตกล่าวว่าแท้จริงไม่มีสภาวะแห่งขันติบารมีนั้นเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า ขันติบารมีเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเหตุดังฤา สุภูติเอย ณ เบื้องอดีตกาลนานโพ้น เมื่อครั้งเราถูกพระเจ้ากลิราชาตัดหั่นสรีระ *6 ครั้งนั้นเราไม่ถือมั่นในอาตมะลักษณะ ไม่ถือมั่นในปุคคละสักษณะ ไม่ถือมั่นในสัตวะลักษณะ ไม่ถือมั่นในชีวะลักษณะ ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าสมัยนั้นขณะที่สรีระของเราถูกหั่นฉะเชือดออกเป็นส่วนๆ หากเรามีความถือมั่นในอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะไซร้ก็จะพึงบังเกิดความโกรธแค้นอาฆาต ดูก่อนสุภูติ อนึ่งเรายังตามระลึกถึงกาลที่ล่วงมาแล้ว 500 ชาติ เมื่อเราเป็นกษานติวาทีดาบส ในชาตินั้นเราปราศจากความถือมั่นในอาตมะลักษณะ ปราศจากความถือมั่นในปุคคลลักษณะ ปราศจากความถือมั่นในสัตวะลักษณะ ปราศจากความถือมั่นในชีวะลักษณะ ด้วยเหตุฉะนั้นแล สุภูติ พระโพธิสัตว์พึงเป็นผู้ละความยึดถือในลักษณะทั้งปวง แล้วบังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ พึงยังจิตมิให้ยึดถือผูกพันในรูป พึงยังจิตมิให้ยึดถือผูกพันในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ในธรรมารมณ์ พึงยังจิตให้ปราศจากความยึดถือผูกพันใดๆ และถ้าจิตยังมีความยึดถือผูกพันอยู่ ก็ย่อมชื่อว่าจิตมิได้ตั้งอยู่ในสถานะที่ควร(แก่อนุตตรสัมมาสัมโพธิ กล่าวคือจิตที่ตั้งอยู่ในสถานะที่ความแก่อนุตตรสัมมาสัมโพธิ ต้องเป็นจิตชนิดที่ปราศจากความยึดถือผูกพัน) ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พระโพธิสัตว์ไม่พึงบริจาคทานด้วยจิตซึ่งยึดถือผูกพันในรูป ดูก่อนสุภูติ พระโพธิสัตว์ผู้ยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ พึงบริจาคทานอย่างนี้แล ตถาคตกล่าวว่าลักษณะทั้งปวง โดยความจริงแล้ว ก็ปราศจากสภาวะแห่งลักษณะ และกล่าวว่าสรรพสัตว์ โดยความจริงแล้ว ก็ปราศจากสภาวะแห่งสรรพสัตว์ดุจกัน
    ( *5 ทั้งนี้เนื่องด้วยพระสูตรนี้แสดงเรื่อง ศูนยตา อันเป็นปรมัตถ์สุดยอด ผู้ที่ยังมีความหลงไหลอยู่เมื่อฟังแล้วก็เข้าใจว่าเป็นมิจฉาทิฎฐิ หรือเกิดความกลัวในความว่างเปล่าขึ้น ทั้งนี้โดยสัญชาติญาณแห่งภวตัณหาของสัตว์ทั่วๆไป แม้จนกระทั่งพรหมชั้นสูง พากันคิดในความมีความเป็นเมื่อมาฟังคารมปฏิเสธในพระสูตรนี้ จึงอาจเกิดความกลัวความระย่อ-ผู้แปล)
    ( *6 ในชาดกกล่าวว่า เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นกษานติวาทีดาบส (บาลี คือขันติวาทีดาบส )ครั้งหนึ่งจาริกมาพักอยู่ในราชอุทยานของพระเจ้ากลาปุหรือ กลิราชาแห่งเมืองพาราณสี วันหนึ่งพระราชาพานางสนมกำนัลประพาสอุทยาน เสวยน้ำจัณฑ์เมาบรรทมหลับไป ครั้นตื่นขึ้นไม่เห็นนางสนมกำนัลเหล่านั้น จึงเสด็จเที่ยวหามาพบนางในเหล่านั้นห้อมล้อมฟังธรรมของดาบสอยู่ พระราชาบังเกิดความหึงหวงดำรัสให้ลงโทษดาบส และถามดาบสถือธรรมอะไร พระโพธิสัตว์ตอบว่าถือขันติ พระราชาก็ยิ่งให้ทำทรมานมากขึ้น จนถึงตัดมือตัดเท้า ทรมานจนพระโพธิสัตว์มรณะภาพแล้วพระราชาจึงเสด็จกลับ ครั้นเสด็จถึงประตูอุทยานก็ถูกธรณีสูบลงสู่อเวจีมหานรก – ผู้แปล)
    ดูก่อนสุภูติ ตถาคตเป็นสัจจวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที อนัญญถวาที สุภูติ ธรรมอันตถาคตบรรลุ มิได้เป็นสิ่งมีอยู่จรงิหรือเป็นสิ่งไร้แก่นสารก็หาไม่ *7 สุภูติ หากพระโพธิสัตว์มีจิตยึดถือผูกพันในธรรมแล้วแลบริจาคทาน อุปมาดั่งบุคคลผู้เข้าสู่สถานที่มือย่อมไม่อาจเห็นสิ่งอะไรได้เลย แต่ถ้าพระโพธิสัตว์มีจิตไม่ยึดถือผูกพันในธรรมแล้วและบริจาคทาน มีอุปมาดั่งบุคคลผู้มีจักษุสว่างและ (เข้าไปในสถาน)ที่ซึ่งมีแสงอาทิตย์สว่าง ย่อมจะเห็นชัดในรูปต่างๆได้
    ( * 7กล่าวคือจะว่ามีสภาวะโดยตัวมันเองอยู่อย่างจริงแท้ ก็ชื่อว่าตกเป็นฝ่ายอัตถิตาข้างสัสสตทิฎฐิไป จะว่าว่างเปล่าไร้สาระเสียเลยทีเดียวเป็นการปฏิเสธต่อสมมติบัญญตก็ชื่อว่า ตกเป็นฝ่ายนัตถิตา ข้างนัตถิกทิฎฐิ ธรรมะของพระพุทธองค์ไม่เป็นทั้งอัตถิตาหรือนัตถิตา เพราะพระองค์แสดงโดยปรมัตถนัยและโลกิยนัย ทั้งมิให้ยึดถือทั้งในความมีอยู่หรือไม่มีอยู่ – ผู้แปล)
    ดูก่อนสุภูติ ในอนาคตกาลเบื้องหน้า หากมีกุลบุตร กุลธิดาใดๆอาจสามารถรับปฏิบัติตามพระสูตรนี้ หรือเจริญสาธยายก็ดี อาศัยอำนาจแห่งพุทธปัญญาของตถาคตย่อมทราบชัดอยู่ซึ่งผู้นั้น ย่อมเห็นอยู่ซึ่งผู้นั้นจักสำเร็จบรรลุคุณานิสงส์อันจักประมาณมิได้และไม่มีขอบเขต”

    持經功德分第十五
    須菩提,若有善男子善女人,初日分,以恆河沙等布施;中日分,復以 恆河沙等布施;後日分,亦以恆河沙等布施。如是無量百千萬億劫以身 布施。若復有人聞此經典,信心不逆,其福勝彼,何況書寫受持讀誦,為人解說。須菩提,以要言之,是經有不可思議、不可稱量、無邊功德, 如來為發大乘者說,為發最上乘者說。若有人能受持讀誦,廣為人說, 如來悉知是人,悉見是人,皆得成就不可量、不可稱、無有邊,不可思議功德。如是人等,則為荷擔如來阿耨多羅三藐三菩提。何以故。須菩 提,若樂小法者,著我見人見眾生見壽者見,則於此經,不能聽受讀誦, 為人解說。須菩提,在在處處,若有此經,一切世間天人阿修羅,所應供養。當知此處則為是塔,皆應恭敬作禮圍繞,以諸華香而散其處。
    สุภูติเอย กุลบุตร กุลธิดาใดๆ ในยามเช้าจักบริจาคสรีระกายอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี ในยามกลางวันยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี แม้ในยามเย็นก็ยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี เขาจักสละสรีระตลอดกาลนับหลายร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์อันไม่มีประมาณ ออกบริจาคเป็นทานอยู่ตลอดก็ตาม แต่ถ้ามีบุคคลผู้ได้สดับพระสูตรนี้แล้วบังเกิดจิตศรัทธาไม่คัดค้าน บุญกุศลของเขาผู้นั้นยังประเสริฐกว่า จักป่วยกล่าวไปใยกับการที่เขาคัดลอก รับปฏิบัติ เจริญสาธยาย และอธิบายอรรถซึ่งพระสูตรนี้แก่บุคคลอื่นๆได้เล่า
    อนึ่ง สุภูติ โดยสรุปความสำคัญแล้ว ก็กล่าวได้ว่าพระสูตรนี้มีคุณานิสงส์อันจักพึงคิดคาดคะเนมิได้ หรือจักประมาณก็มิได้ประกอบด้วยคุณานิสงส์อันไม่มีขอบเขต ตถาคตประกาศพระสูตรนี้ เพื่อบุคคลผู้มุ่งต่อมหายาน และประพระสูตรนี้เพื่อบุคคลผู้มุ่งต่ออนุตตรยาน ถ้ามีบุคคลผู้สามารถรับปฏิบัติตามก็ดี เจริญสาธยายก็ดี ประกาศแสดงแก่บุคคลอื่นๆก็ดี ตถาคตย่อมทราบชัดอยู่ซึ่งผู้นั้น ย่อมเห็นอยู่ซึ่งผู้นั้น บุคคลนั้นๆทั้งหมดจักบรรลุคุณานิสงส์ซึ่งประมาณมิได้ กล่าวมิได้ ปราศจากขอบเขต และเป็นอจินไตย บุคคลผู้เช่นนี้ชื่อว่าเป็นผู้แบกคอนพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิของพระตถาคต ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุดังฤา สุภูติ หากบุคคลใดเป็นผู้ยินดีในธรรมอันคับแคบ มีความยึดถือผูกพันเห็ว่ามีอาตมะ เห็นว่ามีปุคคละ เห็นว่ามีสัตวะ และเห็นว่ามีชีวะไซร้ เขาผู้นั้นย่อมไม่สามารถรับฟังและปฏิบัติตามพระสูตรนี้ได้ และไม่สามารถเจริญสาธยายหรือประกาศพระสูตรนี้แก่บุคคลอื่นๆได้เลย
    ดูก่อนสุภูติ ในสถานที่ใดๆ ถ้ามีพระสูตรนี้ประดิษฐานอยู่สถานที่นั้นๆย่อมเป็นสถานอันทวยเทพ ตลอดจนมนุษย์และอสูรในโลกทั้งหลายจักพึงกระทำสักการบูชา เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่า ณ.สถานที่ดังกล่าวนี้แลเป็นพระสถูปเจดีย์ ควรแก่การเคารพพนมไหว้กระทำการประทักษิณ และนำบุปผาชาตินานาพรรณมาเกลี่ยบูชา
    能淨業障分第十六
    復次,須菩提,若善男子善女人受持讀誦此經,若為人見賤,是人先世 罪業,應墮惡道,以今世人賤故,先世罪業,則為消滅,當得阿耨多羅 三藐三菩提。須菩提,我念過去無量無邊阿僧祇劫,於然燈佛前,得值八百四千萬億那由他諸佛,悉皆供養承事,無空過者。若復有人,於後 末世能受持讀誦此經,所得功德,於我所供養諸佛功德,百分不及一, 千萬億分,乃至算數譬喻所不能及。須菩提,若若善男子善女人,於後末世,有受持讀誦此經 。所得功德,我若具說者,或有人聞,心則狂亂 狐疑不信。須菩提,當知是經義不可思議,果報亦不可思議 。
    อนึ่ง สุภูติ กุลบุตร กุลธิดาใดๆมารับปฏิบัติหรือเจริญสาธยายซึ่งพระสูตรนี้ แลแล้วถูกคนเขาดูหมิ่นย่ำยี บุคคลนั้น (คือผู้ปฏิบัติตามพระสูตรนี้) อันอกุศลกรรมแต่ปางหลังชาติก่อนสมควรแก่การจบลงสู่อบายทุคคติภูมิ แต่เมื่อเขาได้รับการดูหมิ่นย่ำยีจากคนอื่นในภพปัจจุบัน(มาชดเชย) อกุศลกรรมแต่ปางก่อนจึงดับศูนย์ บุคคลนั้นจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ
    สุภูติเอย เรามาตามระฤกได้อยู่ซึ่งอดีตนับด้วยอสงไขยกัลป์อันจักประมาณมิได้ เบื้อหน้าแต่ก่อนที่จะได้เฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า เราได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย นับจำนวนแปดร้อยสี่พันหมื่นองสไขยนิยุตะองค์ *8 เราได้เฝ้าปฏิบัติบูชาพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นโดยมิพลาดโอกาสแม้ สักพระองค์หนึ่งเลย อนึ่ง หากมีบุคคลกาลอนาคตสมัยปลายแห่งพระสัทธรรม อาจสามารถรับปฏิบัติ เจริญสาธยายซึ่งพระสูตรนี้ คุณานิสงส์ซึ่งเขาพึงได้นั้น เมื่อมาเปรียบเทียบกับคุณานิสงส์ซึ่งเราบูชาพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในร้อยส่วนไม่ถึงหนึ่งส่วน (ในคุณานิสงส์ของผู้นั้น) นับด้วยพันหมื่นอสงไขยกัลป์ส่วนที่สุดจนเหลือคณานับซึ่งจะเปรียบเทียบมิได้เลย
    ( *8 ตอนนี้กล่าวถีงอานุภาพของการปฏิบัติพระสูตรนี้ ทำให้อกุศลกรรมแต่ก่อนซึ่งควรให้ผลในชาติต่อไป กลายเป็นย่นเวลาให้สั้นมาให้ผลในปัจจุบันเพียงแค่ได้รับการดูหมิ่นจากผู้อื่นเท่านั้น – ผู้แปล )
    ดูก่อนสุภูติ กุลบุตร กุลธิดาใดๆในสมัยเบื้องปลายแห่งพระสัทธรรม ได้มาปฏิบัติและเจริญสาธยายพระสูตรนี้ คุณานิสงส์อันเขาได้นั้น ถ้าเราจักพึงอธิบายโดยละเอียดสมบูรณ์ซึ่งคุณานิสงส์นั้นแล้ว หากมีผู้ใดสดับเข้าก็จะพึงบังเกิดความวุ่นวายแห่งจิต มีวิจิกิจฉาไม่เชื่อถือเลย *9 สุภูติ เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่าธรรมอรรถแห่งพระสูตรนี้เป็นอจินไตย แม้ผลานิสงส์ก็เป็นอจินไตยดุจกันอย่างนี้แล”
    ( *9 กล่าวคืออานิสงส์ซึ่งกล่าวมาแต่ต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ถ้ากล่าวอธิบายอานิสงส์ทั้งหมดจะเป็นการมโหฬารพันลึก เกรงผู้เข้าไม่ถึงจะไม่เชื่อ – ผู้แปล)
    究竟無我分第十七
    爾時須菩提白佛言,世尊,善男子善女人發阿耨多羅三藐三菩提心,云 何應住,云何降伏其心。佛告須菩提,善男子善女人發阿耨多羅三藐三 菩提心者,當生如是心,我應滅度一切眾生,滅度一切眾生已,而無有一眾生實滅度者。何以故。須菩提,若菩薩有我相人相眾生相壽者相, 則非菩薩。所以者何。須菩提,實無有法,發阿耨多羅三藐三菩提心者。 須菩提,於意云何,如來於然燈佛所,有法得阿耨三藐三菩提不。不也,世尊,如我解佛所說義,佛於然燈佛所,無有法得阿耨三藐三菩提。 佛言,如是如是,須菩提,實無有法,如來得阿耨三藐三菩提。須菩提, 若有法得阿耨三藐三菩提者,然燈佛則不與我記,汝於來世當得作佛,號釋迦牟尼。以實無有法,得阿耨多羅三藐三菩提,是故然燈佛與我授 記,作是言,汝於來世當得作佛,號釋迦牟尼。何以故。如來者,即諸 法如義。若有人言如來得阿耨三藐三菩提,須菩提,實無有法、佛得阿耨三藐三菩提。須菩提,如來所得阿耨三藐三菩提,於是中無實無虛, 是故如來說一切法皆是佛法。須菩提,所言一切法者,即非一切法,是 故名一切法。須菩提,譬如人長大。須菩提言,世尊,如來說人生長大,則為非大,是名大。須菩提,菩薩亦如是,若作是言,我當滅度無量眾 生,則不名菩薩。何以故。須菩提,實無有法,名為菩薩,是故佛說一切 法,無我無人無眾生無壽者。須菩提,若菩薩作是言,我當莊嚴佛土,是不名菩薩。何以故。如來說莊嚴佛土者,即非莊嚴,是名莊嚴。須菩 提,若菩薩通達無我法者,如來說名真是菩薩 。
    โดยสมัยนั้นแล พระสุภูติกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กุลบุตร กุลธิดาใดๆ ผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ควรจักปฏิบัติตั้งจิตของตนโดยสถานใด ควรจักบำราบจิตของตนอย่างไรหนอพระเจ้าข้า”
    พระสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระสุภูติว่า
    พ “ กุลบุตร กุลธิดาใดๆผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ควรจักปฏิบัติตั้งจิตของตนอย่างนี้ ควรจักควบคุมบำราบจิตของตนอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้โปรดสรรพสัตว์ให้สำเร็จแก่อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แลสรรพสัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จแก่อนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้วก็จริง แต่โดยความจริงแล้วก็มิได้มีสัตว์ใดๆแม้สักผู้หนึ่งได้ดับขันธนิพพานเลย ข้อนั้นเพราะเหตุใดฤา สุภูติ ถ้าพระโพธิสัตว์ยังมีความยึดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ นั่นก็หาใช่พระโพธิสัตว์ไม่ ทั้งนี้ด้วยเหตุเป็นไฉน สุภูติ โดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสภาวะธรรมที่จะ(เป็นผู้) บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั่นเอง *10
    ( * 10 คือผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นพระโพธิสัตว์ก็เป็นสภาพว่างเปล่าไร้ตัวตน แล้วจริยะธรรมอันเกิดจากสภาพว่างเปล่านั้นจักเป็นของมีอยู่ได้อย่างไร-ผู้แปล)
    ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน เมื่อตถาคตอยู่ในสำนักแห่งพระทีปังกรพุทธเจ้ามีธรรมอันใดที่เราพึงบรรลุ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิฤา”
    สุ “ ไม่มีเลย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ตามความเข้าใจของข้าพระองค์ในธรรมอรรถของพระสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งพระองค์อยู่ในสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้า ปราศจากธรรมอันพึงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิเลย”
    พ “ อย่างนั้นอย่างนั้น สุภูติ โดยความจริงแล้ว ย่อมไม่มีธรรมใดซึ่งตถาคตจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิเลย ดูก่อนสุภูติ หากพึงมีธรรมใดซึ่งตถาคตบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิไซร้ พระทีปังกรพุทธเจ้าก็จักไม่พยากรณ์แก่เราว่า “ในอนาคตกาลท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้ามีนามกรว่า พระศากยมุนี “ แต่ที่แท้ย่อมไม่มีธรรมใดซึ่งจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ฉะนั้น พระทีปังกรพุทธเจ้าจึงตรัสพยากรณ์แก่เราว่า“ในอนาคตกาลท่านจักได้เป็น พระพุทธเจ้ามีนามกรว่า พระศากยมุนี “ ข้อนั้นเพราะเหตุใด ก็เพราะว่า “ตถาคต” นั้น คือสภาพความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมดาทั้งปวง ถ้ามีผู้กล่าวว่า ตถาคตบรรลุแก่พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิไซร้ สุภูติ โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะธรรมใดเลย ซึ่งพระพุทธเจ้าจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติเอย โดยความจริงแล้วพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิอันตถาคตบรรลุนั้น ในพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ย่อมไม่มีสภาวะความมีอยู่และไม่มีอสภาวะความไม่มีอยู่เลย และด้วยเหตุดังกล่าวนั้นแล ตถาคตจึงกล่าวว่าธรรมทั้งหลายล้วนเป็นพระพุทธธรรม อนึ่ง สุภูติ ตามที่เรากล่าวว่าธรรมทั้งหลายล้วนเป็นพระพุทธธรรมนั้น โดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสภาวะแห่งธรรมทั้งหลายเลย เป็นสักแต่เรียกว่าธรรมทั้งหลายเท่านั้น
    ดูก่อนสุภูติ อุปมาดั่งบุคคลผู้มีรูปกายสูงมหึมา”
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตตรัสว่า บุคคลผู้มีรูปกายสูงมหึมาโดยแท้จริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งรูปกายสูงมหึมา เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่ารูปกายสูงมหึมาเท่านั้น”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ โดยประการเดียวกัน ถ้าพระโพธิสัตว์ยังมีวาทะกล่าวว่าเราเป็นผู้โปรดสรรพสัตว์ให้บรรลุนิพพานธาตุไซร้ ก็หาชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา สุภูติ โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะใดที่เรียกว่าพระโพธิสัตว์ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าธรรมทั้งหลายไม่มีอาตมะ ไม่มีปุคคละ ไม่มีสัตวะ และไม่มีชีวะ
    อนึ่ง สุภูติ หากพระโพธิสัตว์มีวาทะกล่าวว่า เราจักกระทำการตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรอย่างนี้ไซร้ ก็หาชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ไม่ ทั้งนี้เพราะเหตุไฉน ตถาคตกล่าวว่า การตบแต่งอลังการพุทธเกษตรนั้น โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งการตบแต่งอลังการ เป็นสักแต่ชื่อว่าตบแต่งอลังการเท่านั้น สุภูติ ถ้าพระโพธิสัตว์สามารถแจ่มแจ้งเข้าถึงความจริงว่าธรรมทั้งหลายว่างเปล่าจาก ตัวตนแลของๆตนอย่างนี้ ตถาคตจึงกล่าวว่านั่นเป็นพระโพธิสัตว์อย่างแท้จริง”
    一體同觀分第十八
    須菩提,於意云何,如來有肉眼不。如是,世尊,如來有肉眼。須菩提 於意云何,如來有天眼不。如是,世尊,如來有天眼。須菩提,於意云 何,如來有慧眼不。如是,世尊,如來有慧眼。須菩提,於意云何,如來有法眼不。如是,世尊,如來有法眼。須菩提,於意云何,如來有佛 眼不。如是,世尊,如來有佛眼。須菩提,於意云何,如恆河中所有沙, 佛說是沙不。如是,世尊,如來說是沙。須菩提,於意云何,如一恆河中所有沙,有如是沙等恆河,是諸恆河所有沙數佛世界,如是,甯為多不。 甚多,世尊。佛告須菩提,爾所國土中,所有眾生若干種心,如來悉知。 何以故。如來說諸心皆為非心,是名為心。所以者何。須菩提,過去心不可得,現在心不可得,未來心不可得。
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตมีมังสะจักษุฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีมังสะจักษุ ”
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตมีทิพจักษุฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีทิพจักษุ “
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตมีปัญญาจักษุฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีปัญญาจักษุ “
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตมีธรรมจักษุฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีธรรมจักษุ “
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตมีพุทธจักษุฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีพุทธจักษุ “
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน อุปมาดั่งเมล็ดทรายในคงคานที ตถาคตกล่าว่านั่นเป็นเมล็ดทรายฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตตรัสเรียกว่านั่นเป็นเมล็ดทราย “
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน เปรียบดุจเมล็ดทรายในท้องคงคานที แลมีแม่น้ำคงคาเป็นอันมากนับด้วยเมล็ดทรายเหล่านั้น อนึ่ง มีพุทธเกษตรโลกธาตุอื่นๆอีกเท่าจำนวนเมล็ดทรายในคงคานทีทั้งปวงอีกเล่า ด้วยประการดั่งนี้พึงนับเป็นจำนวนมากหลายอยู่ฤาหนอแล “
    สุ “ มากมายนักแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค “
    พระสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระสุภูติว่า
    “ สรรพสัตว์ในโลกธาตุทั้งปวงเหล่านั้นมีจิตประพฤติโดยประเภทต่างๆกัน ตถาคตย่อมรู้ชัดแจ่มแจ้งในจิตพฤตติต่างๆนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน ตถาคตกล่าวว่า สรรพจิตทั้งปวงนั้นโดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งจิต เป็นสักแต่ชื่อว่าจิตเท่านั้น ด้วยเหตุดังฤา สุภูติ จิตในอดีตปราศจากแก่นสารจะถือเอาก็ไม่ได้ จิตในปัจจุบันปราศจากแก่นสารจะถือเอาก็ไม่ได้ แม้จิตในอนาคตก็ปราศจากแก่นสารจะถือเอาก็ไม่ได้ดุจกัน “ *11
    ( * 11 ขณะจิตในอดีตกับไปแล้ววอดวายไปแล้วจึงไม่มีอยู่ ขณะจิตในอนาคตเล่าก็ยังไม่เกิดขึ้นไม่มีอยู่อีก ส่วนขณะจิตในปัจจุบันกำลังแปรไปไม่คงที่ อนึ่ง เพราะอาศัยอดีตกับอนาคตจึงมีปัจจุบัน ก็เมื่ออดีตไม่มีสภาวะ อนาคตก็ไม่มีสภาวะ ปัจจุบันจึงหมดความหมายไปด้วย – ผู้แปล)
    法界通分分第十九
    須菩提,於意云何,若有人滿三千大千世界七寶,以用布施,是人以是 因緣,得福多不。如是,世尊,此人以是因緣,得福甚多。須菩提,若 福德有實,如來不說得福德多,以福德無故,如來說得福德多。
    ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ถ้ามีบุคคลใดๆนำเอาสัปตรัตนะซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมเท่าเมล็ดทรายในคงคานที ทั่วมหาตรีสหัสสโลกธาตุมาบริจาคทาน บุคคลนั้นอาศัยเหตุปัจจัยดังกล่าวนี้ ได้รับบุญกุศลมากอยู่ฤาหนอแล “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุคคลผู้นั้นอาศัยเหตุปัจจัยดังกล่าวย่อมได้รับบุญกุศลมากมายพระเจ้าข้า “
    พ “ ดูก่อนสุภูติ หากบุญกุศลจักพึงมีสภาวะอยู่จริงแท้แล้ว ตถาคตก็จักไม่กล่าวว่า เขาได้บุญกุศลมากมาย ทั้งนี้ด้วยเหตุว่าบุญกุศลนั้นปราศจากสภาวะ ตถาคตจึงกล่าวว่าผู้นั้นได้บุญกุศลมากมาย “ * 12
    ( * 12 กล่าวคือบุญกุศลที่แท้จริงนั้นเป็นศูนยตาซึ่งเป็นฝ่ายวัฏฏคามินี ถ้ายังมีความยึดถืออยู่ก็เป็นบุญกุศลชนิดฝ่ายวัฏฏคามินี - ผู้แปล)
    離色離相分第二十
    須菩提,於意云何,佛可以具足色見不。不也,世尊,如來不應以具足 色見。何以故。如來說具足色,即非具足色是名具足色。須菩提,於意 云何,如來可以具足諸相見不。不也,世尊,如來不應以具足諸相見。 何以故。 如來說,諸相具足,即非具足,是名諸相具足。
    พ “ อนึ่ง สุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน จักเห็นพระพุทธเจ้าได้ในรูปกายอันสมบูรณ์นี้ฤา “
    สุ “ มิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นการไม่สมควรเลยที่จะเห็นพระตถาคตเจ้าในรูปกายอันสมบูรณ์นี้ ทั้งนี้เพราะเหตุใด พระตถาคตตรัสว่า รูปกายอันสมบูรณ์นั้น โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งรูปกายอันสมบูรณ์ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า รูปกายอันสมบูรณ์เท่านั้น”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน จักเห็นพระพุทธเจ้าได้ในสรรพลักษณะอันสมบูรณ์ได้อยู่ฤาหนอแล “
    สุ “ มิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นการไม่สมควรเลยที่จะเห็นพระตถาคตเจ้าในสรรพลักษณะอันสมบูรณ์นี้ ทั้งนี้เพราะเหตุใด พระตถาคตตรัสว่า สรรพลักษณะอันสมบูรณ์ โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งสรรพลักษณะอันสมบูรณ์ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าสรรพลักษณะอันสมบูรณ์เท่านั้น “
    非說所說分第二十一
    須菩提,汝勿謂如來作是念,我當有所說法,莫作是念。何以故。若人 言,如來有所說法,即為謗佛,不能解我所說故。須菩提,說法者,無 法可說,是名說法。爾時慧命須菩提白佛言,世尊,頗有眾生,於未來世聞說是法,生信心不。佛言,須菩提,彼非眾生,非不眾生。何以故。須菩提,眾生眾生者,如來說非眾生,是名眾生。
    พ “ สุภูติเอย เธออย่ากล่าวว่าตถาคตมีมนสิการว่า เราเป็นผู้แสดงธรรมแก่มวลสรรพสัตว์ เธออย่าเข้าใจอย่างนั้นเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน หากมีบุคคลกล่าวว่า ตถาคตเป็นผู้แสดงธรรม ชื่อว่าเป็นผู้ติเตียนตู่พระพุทธเจ้า เขาผู้นั้นไม่เข้าใจในวจนะของเรา สุภูติ ที่เรียกว่าการแสดงธรรมนั้น โดยความจริงแล้วไม่มีธรรมใดที่แสดงเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าการแสดงธรรมเท่านั้น “
    ก็โดยสมัยนั้นแลพระสุภูติเถระผู้มีปัญญาทูลถามพระบรมศาสดาขึ้นว่า
    สุ “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังจะมีสรรพสัตว์ใดในอนาคตกาล สดับธรรมนี้แล้วบังเกิดศรัทธาจิตขึ้นฤาหนอแล “
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เขา(ผู้สดับธรรมแห่งพระสูตรนี้) มิใช่สรรพสัตว์ แต่จักว่ามิใช่สรรพสัตว์เลยก็มิได้ *13 ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา ดูก่อนสุภูติ ที่ว่าสรรพสัตว์ สรรพสัตว์นั้น ตถาคตกล่าวว่าปราศจากสภาวะแห่งสรรพสัตว์ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าสรรพสัตว์เท่านั้น
    ( * 13 อรรกถากล่าวว่า ผู้ที่สดับพระสูตรนี้บังเกิดศรัทธาจิตขึ้น นับว่าเป็นสัตว์ประเภทพิเศษไม่เหมือนสรรพสัตว์ทั่วไป แต่ผู้นั้นก็ยังมีกิเลสไม่บรรลุโพธิญาณ จึงสงเคราะห์อยู่ในสรรพสัตว์ ข้าพเจ้ามีความเห็นตรงกันข้ามกับอรรกถา ข้าพเจ้าเข้าใจว่าตอนนี้แสดงว่าโดยปรมัตถ์แล้วไม่มีสัตว์ แต่โดยบัญญัติสมมติแล้วก็ยังชื่อว่าสัตว์ – ผู้แปล)
    無法可得分第二十二
    須菩提白佛言,世尊,佛得阿耨多羅三藐三菩提,為無所得耶。佛言, 如是如是。須菩提,我於阿耨多羅三藐三菩提,乃至無有少法可得,是 名阿耨多羅三藐三菩提。
    พระสุภูติกราบทูลกับพระบรมศาสดาว่า
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระสัมพุทธเจ้าบรรลุตรัสรู้แก่พระปรมาภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณนั้น นับว่าเป็นการมิได้บรรลุเลยฤาหนอพระเจ้าข้า”
    พ “ อย่างนั้น อย่างนั้น สุภูติ เมื่อเราบรรลุตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ ไม่มีธรรมแม้สักส่วนเล็กน้อยส่วนหนึ่งเลยที่เราบรรลุได้ถึง เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ “

    淨心行善分第二十三
    復次,須菩提,是法平等,無有高下,是名阿耨多羅三藐三菩提。以無 我無人無眾生無壽者修一切善法,即得阿耨多羅三藐三菩提。須菩提, 所言善法者,如來說即非善法,是名善法。
    อนึ่ง สุภูติ ธรรมทั้งหลายมีความเสมอภาคเท่ากัน ไม่มีสูงหรือต่ำ นั่นแลชื่อว่าพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ เมื่อไม่มีความยึดถือในอาตมะ ไม่ยึดถือในปุคคละ ไม่ยึดถือในสัตวะ ไม่ยึดถือในชีวะ แล้วบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหมด ก็จักชื่อว่าพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติ ที่กล่าวว่ากุศลธรรมนั้น ตถาคตกล่าวว่า โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะแห่งกุศลธรรมเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่ากุศลธรรมเท่านั้นแล

    福智無比分第二十四
    須菩提,若三千大千世界中,所有諸須彌山王,如是等七寶聚,有人持 用布施。若人以此般若波羅蜜經,乃至四句偈等,受持讀誦,為他人說, 於前福德,百分不及一,百千萬億分,乃至算數譬喻所不能及。
    อนึ่ง สุภูติ ถ้ามีบุคคลผู้นำเอากองแห่งสัปตรัตนะเท่าขุนเขาพระสุเมรุทั้งหลายใน มหาตรีสหัสสโลกธาตุมาบริจาคทาน แต่หากมีบุคคลมารับปฏิบัติเล่าเรียนสาธยาย ประกาศชี้แจงแก่ผู้อื่นซึ่งธรรมในปรัชญาปารมิตาสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงคาถา 4 บาท เท่านั้น คุณานิสงส์ของบุคคลแรกในร้อยส่วนเปรียบด้วยมิได้สักหนึ่งส่วน แม้นับด้วยร้อยหมื่นอสงไขยส่วนที่สุดจนเหลือประมาณคณานับ ก็เอามาเปรียบเทียบด้วย(กับคุณานิสงส์ของบุคคลหลัง) ไม่เท่าเทียมถึงได้เลย

    化無所化分第二十五
    須菩提,於意云何,汝等勿謂如來作是念,我當度眾生。須菩提,莫作 是念。何以故,實無有眾生如來度者。若有眾生如來度者,如來則有我 人眾生壽者。須菩提,如來說有我者,則非有我,而凡夫之人以為有我。須菩提,凡夫者,如來說即非凡夫,是名凡夫。

    ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน เธออย่ากล่าวว่าตถาคตมีมนสิการว่า เราเป็นผู้โปรดสัตว์ สุภูติ เธอย่าเข้าใจอย่างนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสรรพสัตว์ใดเลยอันตถาคตจักโปรด ถ้าแลมีสรรพสัตว์อันตถาคตจักพึงโปรดไซร้ ตถาคตก็มีความยึดถือผูกพันในอาตมะ ปุคคละ สัตวะ ชีวะ สุภูติเอย การที่ตถาคตกล่าวว่า “ตัวเรา ตัวเรา” นั้น โดยความจริงแล้วก็ไม่มีตัวเราอยู่เลย ก็แต่ปุถุชนย่อมยึดถือว่ามีตัวเราอยู่ สุภูติ แม้ปุถุชนก็เถอะตถาคตยังกล่าวว่า โดยความจริงแล้ว ปราศจากสภาวะแห่งปุถุชน เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าปุถุชนเท่านั้น
    法身非相分第二十六
    須菩提,於意云何,可以三十二相觀如來不。須菩提言,如是如是,以 三十二相觀如來。佛言,須菩提,若以三十二相觀如來者,聖王,則是如 來。須菩提白佛言,世尊,如我解佛所說義,不應以三十二相觀如來。爾時世尊而說偈言:
    若以色見我 以音聲求我 是人行邪道 不能見如來

    ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน จักพึงเห็นตถาคตได้ในมหาปุริสลักษณะ 32 ประการฤา “
    สุ “ อย่างนั้น อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พึงเห็นพระผู้มีพระภาคได้โดยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ ถ้าเห็นตถาคตได้โดยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการไซร้ พระจักรพรรดิราชก็ชื่อว่า ตถาคตซิหนอ”
    พระสุภูติกราบทูลสนองพระสัมพุทธเจ้าว่า
    สุ “ ข้าแต่พระสุคต ตามความเข้าใจของข้าพระองค์ในธรรมอรรถซึ่งพระสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ เป็นการไม่สมควรที่จะเห็นพระตถาคต โดยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการเลย”
    ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้กล่าวนิคมคาถาว่า
    “ ผู้ใดจักเห็นเราในรูป ฤาจักหาเราในเสียง ผู้นั้นย่อมชื่อว่าดำเนินทางที่ผิด ย่อมไม่สามารถเห็นตถาคตได้”

    無斷無滅分第二十七
    須菩提,汝若作是念,如來不以具足相故,得阿耨多羅三藐三菩提。須 菩提,莫作是念,如來不以具足相故得阿耨多羅三藐三菩提。須菩提, 汝若作是念,發阿耨多羅三藐三菩提心者,說諸法斷滅,莫作是念。何以故。發阿耨多羅三藐三菩提心者,於法不說斷滅相。
    อนึ่ง สุภูติ หากเธอพึงมนสิการว่าเพราะเหตุตถาคตมิได้มีสรรพรูปลักษณะอันสมบูรณ์ (คือมหาปุริสลักษณะ 32 ประการและอสีตยานุพยัญชนะ 80 )แล้วบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติเอย เธออย่าเข้าใจอย่างนั้นเลยว่า เพราะเหตุตถาคตมิได้มีสรรพรูปลักษณะอันสมบูรณ์ แล้วบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติ หาเธอมีมนสิการอย่างนี้ไซร้ บุคคลผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ก็จักกล่าวได้ว่าธรรมทั้งปวงขาดศูนย์ เธออย่าได้มนสิการอย่างนั้นเลย ทั้งนี้เพราะเหตุใดฤา โดยควยามจริงแล้ว บุคคลผุ้บังเกิดจิตมุ่ต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิจักไม่มีวาทะกล่าวว่าธรรมทั้งปวงขาดศูนย์ได้ *14
    ( * 14 กล่าวคือยอมรับว่ามีสมมติบัญญัติตามโลกโวหาร ไม่ถือรั้นแต่ประมัตถ์อย่างเดียว เพราะการถือรั้นอย่างนั้นเป็นลักษณะของฝ่ายอุจเฉททิฏฐิไป – ผู้แปล)

    不受不貪分第二十八
    須菩提,若菩薩以滿恆河沙等世界七寶,持用布施,若復有人,知一切 法無我,得成於忍,此菩薩勝前菩薩所得功德。何以故,須菩提,以諸 菩薩不受福德故。須菩提白佛言,世尊,云何菩薩不受福德。須菩提,菩薩所作福德,不應貪著,是故說不受福德。
    ดูก่อนสุภูติ ถ้ามีพระโพธิสัตว์นำเอาสัปตรัตนะซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมเท่าจำนวนเมล็ดทราย ในคงคานทีทั่วมหาตรีสหัสสโลกธาตุออกบริจาคทาน แต่หากมีบุคคลมารู้แจ้งว่าธรรมทั้งปวงปราศจากตัวตน เขาผู้นั้นได้สำเร็จแก่ปัญญาความตรัสรู้ *15 พระโพธิสัตว์องค์หลังนี้ได้คุณานิสงส์ประเสริฐยิ่งกว่าพระโพธิสัตว์องค์แรก ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา ดูก่อนสุภูติ เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่ยึดถือในสรรพบุญกุศลนั่นเอง”
    ( *15 แปลตามตัวอักษรจีนว่า สำเร็จความอดทน โดยอรรถหมายถึงดวงปัญญา – ผู้แปล)
    พระสุภูติกราบทูลกันพระสัมพุทธเจ้าว่า
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุไฉนเล่าพระโพธิสัตว์จึงไม่ยึดถือในบุญกุศลหนอพระเจ้าข้า”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญกุศลแล้ว ไม่พึงบังเกิดความโลภยึดถือเอา เพราะเหตุฉะนั้นแลจึงกล่าวได้ว่าไม่ยึดถือในบุญกุศล

    威儀寂淨分第二十九
    須菩提,若有人言,如來若來若去,若坐若臥,是人不解我所說義。何 以故。如來者,無所從來,亦無所去,故名如來 。
    อนึ่ง สุภูติ หากมีผู้กล่าวว่า ตถาคตเสด็จมาอยู่ ตถาคตดำเนินอยู่ ตถาคตประทับอยู่ ฤาตถาคตบรรทมอยู่อย่างนี้ไซร้ บุคคลผู้กล่าวนั้นมิได้เข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมอรรถอันเราแสดงไว้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา โดยความจริงแล้วพระตถาคตปราศจากที่มาและปราศจากที่ไป เหตุนั้นจึงชื่อว่าตถาคต

    一合理相分第三十
    須菩提,若善男子善女人,以三千大千世界碎為微塵,於意云何,是微 塵眾,甯為多不。須菩提言,甚多,世尊。何以故。若是微塵眾實有者, 佛則不說是微塵眾。所以者何。佛說微塵眾,即非微塵眾,是名微塵眾。世尊,如來所說三千大千世界,即非世界,是名世界。何以故。若世界 實有者,則是一合相。如來說一合相,即非一合相,是名一合相。須菩提,一合相者,則是不可說,但凡夫之人貪著其事。
    ดูก่อนสุภูติ กุลบุตร กุลธิดาใดๆถ้าพิจารณากระจายมหาตรีสหัสสโลกธาตุให้เป็นผุยผงละเอียด เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน กองแห่งปรมาณูเหล่านั้นมีจำนวนมากมายอยู่ฤาหนอแล “
    สุ “ มากมายนักแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน เพราะถ้ากองแห่งปรมาณูเหล่านี้จักพึงมีสภาวะอยู่จริงไซร้ พระสัมพุทธเจ้าก็จักไม่ตรัสว่ากองแห่งปรมาณูนั้น ทั้งนี้เพราะเหตุใดเล่า พระสัมพุทธเจ้าตรัสว่ากองแห่งปรมาณู โดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสภาวะแห่งกองปรมาณุเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่ากองปรมาณูเท่านั้น
    ข้าแต่พระสุคต มหาตรีสหัสสโลกธาตุซึ่งพระสัมพุทธเจ้าตรัสนั้น โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งโลกธาตุ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าโลกธาตุเท่านั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไฉน ถ้าโลกธาตุพึงมีสภาวะอยู่จริงไซร้ ก็ชื่อว่าเป็นเอกฆนลักษณะ พระตถาคตตรัสว่าเอกฆนลักษณะ โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งเอกฆนลักษณะ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าเอกฆนลักษณะเท่านั้น” *16
    ( *16 อักษรจีนเขียนคำที่ให้ความหมายว่า รวมธรรมลักษณะหลายๆธรรมเข้าไว้ เช่น ในร่างกายของคนก็รวมประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ ผู้ที่จะเห็นแจ้งในสรรพธรรมว่าเป็นอนัตตาต้องทำลายฆนสัญญาดังกล่าวนี้ – ผู้แปล)
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เอกฆนลักษณะนั้นไม่มีสภาวะโดยตัวของมันเองอยู่เลย ก็แต่ปุถุชนยึดถือว่ามีสภาวะโดยตัวของมันเองอยู่อย่างจริงแท้”

    知見不分分第三十一
    須菩提,若人言,佛說我見人見眾生見壽者見,須菩提,於意云何,是 人解我說義不。不也,世尊,是人不解如來所說義。何以故。世尊說我 見人見眾生見壽者見,即非我見人見眾生見壽者見,是名我見人見眾生見壽者見。須菩提,發阿耨多羅三藐三菩提心者,於一切法,應如是知,如 是見,如是信解,不生法相。須菩提,所言法相者,如來說即非法相, 是名法相。
    อนึ่งสุภูติ ถ้ามีบุคคลมากล่าวว่า พระสัมพุทธเจ้าตรัสว่ามีอาตมะทัศนะ มีปุคคละทัศนะ มีสัตวะทัศนะ มีชีวะทัศนะ ดั่งนี้ไซร้ สุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน บุคคลนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมอรรถอันเราแสดงไว้ฤา”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุคคลนั้นไม่เข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมอรรถอันพระตถาคตเจ้าแสดงไว้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุใด ก็พระสุคตตรัสแล้วว่า อาตมะทัศนะ ปุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะ โดยความจริงแล้ว ก็ปราศจากสภาวะแห่งอาตมะทัศนะ ปุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า อาตมะทัศนะ ปุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะเท่านั้น”
    พ “ดูก่อนสุภูติ บุคคลผู้มีจิตปรารถนาต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิพึงมีความกำหนดรู้อย่างนี้ พึงมีทัศนะอย่างนี้ พึงมีศรัทธาและความเข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลายไม่บังเกิดธรรมลักษณะขึ้น *17 สุภูติ ที่กล่าวว่าธรรมลักษณะนั้น ตถาคตกล่าวว่า โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งธรรมลักษณะ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าธรรมลักษณะเท่านั้น”
    ( *17 ความหมายตามอักษรจีนแปลว่า ธรรมลักษณะ แต่ในที่นี้โดยอรรถหมายถึงความไม่ยึดถือ สภาวะที่มีอยู่โดยตัวมันเอง – ผู้แปล)

    應化非真分第三十二
    須菩提,若有人以滿無量阿僧祇世界七寶,持用布施,若有善男子善女 人,發菩提心者,持於此經,乃至四句偈等,受持讀誦 ,為人演說,其 福勝彼。云何為人演說。不取於相,如如不動。何以故。
    一切有為法 如夢幻泡影 如露亦如電 應作如是觀.
    佛說是經已 , 長老須菩提 , 及諸比丘 、 比丘尼 、 優婆塞 、 優 婆夷 , 一切世間,天人阿修羅 ,聞佛所說 , 皆大歡喜 ,信受奉行。

    อนึ่งสุภูติ หากมีบุคคลน้ำเอาสัปตรัตนะมีปริมาณเต็มทั่วอสงไขยโลกธาตุอันไม่มีประมาณมาบริจาคทาน แต่ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใดๆตั้งจิตปรารถนาต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ มาปฏิบัติตามซึ่งพระสูตรนี้แม้ที่สุดคาถาเพียง 4 บาท เขารับปฏิบัติฤาเล่าเรียนสาธยายก็ดี ฤาประกาศแก่ผู้อื่นก็ดี ย่อมมีบุญกุศลวิเศษยิ่งกว่าผู้บริจาคทานนั้นเสียอีก ก็การประกาศแก่ผู้อื่นนั้นเป็นไฉน คือความไม่ยึดถือผูกพันในลักษณะ ตั้งมั่นอยู่ในตถาตาภาพธรรมดาโดยไม่หวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา เพราะว่าสังขตธรรมทั้งปวง มีอุปมาดั่งความฝัน ดั่งภาพมายา ดั่งฟองน้ำ ดั่งเงา ดั่งน้ำค้าง และดั่งสายฟ้าแลบ พึงเพ่งพิจารณาโดยอาการอย่างนี้ “
    เมื่อพระสัมพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้อวสานลง พระสุภูติผู้มีอายุพร้อมด้วยเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนปวงเทพ มนุษย์ อสูร ในโลกทั้งหลายได้สดับซึ่งพระพุทธพจน์แล้วก็พากันอนุโมทนาชื่นชมยินดี มีความศรัทธาน้อมรับไปปฏิบัติด้วยประการฉะนี้แล.
    คัดลอกจากหนังสือสารัตถธรรมมหายานของวัดโพธิ์แมนคุณาราม


    文字輸入者:
     
  18. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    ผมเห็นว่าฆารวาสที่บรรลุอรหันต์หากไม่มีพระอรหันต์ที่เป็นภิกษุมาบวชให้ภายใน 24 ชั่วโมง จะต้องนิพพานนี่เป็นความเชื่อที่ถูกต้องหรือไม่ครับ รบกวนครูบาอาจารย์ช่วยแก้ไขด้วยครับหากผิดพลาด
     
  19. thumboon.com

    thumboon.com Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +26
    บรรลุอรหันต์ต้องบวชภายใน 24 ชั่วโมง



    ผมไม่ใช่ ครูบาอาจารย์นะครับขอตอบในฐานะเพื่อนร่วมเดินทางนะครับ

    เรื่องนี้ก็เคยได้ยินได้ฟังมาเหมือนกันนะครับ ลำดับขั้นของพระอริยะเจ้า เท่าที่พอรู้มาน่าจะเกิดจากการละวางไปทีละสิ่งไปทีละอย่าง จนหมดตัว ตู ของตู อย่างแท้จริง ผมว่าถ้าใครได้ถึงขั้นนั้นจริงๆ ของแบบนี้ก็น่าจะรู้ได้ด้วยตัวเอง เวลาและโอกาสก็คงเอื้ออำนวยให้เราทำสิ่งที่เหมาะสมที่สุดนะครับ

    * ผมก็เคยคิดเล่นๆนะครับ ถ้าเกิดมีผู้ปฎิบัติธรรมบรรลุอรหันต์ ต้องรีบเข้าวัด ภายใน 24 ชั่วโมง แบบนี้ฟังดูเหมือนคนป่วยต้องรีบเข้าโรงพยาบาล เหมือน
    เหล็กร้อนที่ต้อง รีบหาบ่อน้ำ เพื่อคลายความร้อน ฟังแล้วยังไงก็ไม่รู้นะครับ
    และ ถ้าเกิดไปอยู่ต่างประเทศที่ไม่มีวัดล่ะ คงจะแย่มากเลย ถ้าคิดเล่นๆก็ตลกๆดีนะครับ

    * ลองศึกษา พุทธในหลายๆ นิกายดูนะครับ ลองดูหลายๆด้าน จะเห็นความแต่ต่าง ทางด้านคติ ความคิด ความเื่ชื่อ พิธีกรรม และที่สำคัญหลายอย่าง คำสอนบ้างอย่างก็ถูก พรามณ์สอดแทรกเนื้อหาลงไปเยอะเหมือนกัน เรามีอิสระในด้านความคิด และจิตใจ ปัญญาก็เกิดจะการรับฟังนี้ล่ะครับ

    * ธรรมะที่แท้ เรียนรู้เพื่อ ละวางและดับทุกข์ได้ ธรรมใดที่ปฎิบัติเพื่อการยึดติด
    ย่อมไม่ใช่ธรรมที่แท้จริง เพราะสุดท้ายก็จะกลับมาทุกข์อีกเหมือนเดิม

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2010
  20. jiwcrop

    jiwcrop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +792
    ตอบคุณ พยัคฆ์นิล ครับ

    ที่ผมเคยได้อ่านมาจากในเว็บนี้นะครับ

    ประมาณว่า ถ้า ท่านบรรลุแล้ว และยังใช้ชีวิต ร่วมกับธรรมดาสามัญชน แล้ว คนธรรมดาอาจไม่ทราบอาจล่วงเกิน เป็นเหตุให้ต้องตกนรกได้ เช่น เผลอไปใช้ ท่านที่บรรลุอรหันต์ เป็นผลให้ เกิดมาเป็นทาส เขา อีกหลายชาติ (กี่ชาติก็จำไม่ได้) เผลอไปทำไม่ดีด้วยประการใดๆกับท่านก็โทษหนักมาก

    แต่ถ้าท่าน บวชเป็นพระ อย่างน้อยๆ คนในสถานที่นั้นๆ จะให้ความเคารพ ในฐานะที่คนทั่วไปสังเกตเห็นได้อยู่แล้ว นั่นเองครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...