พลิกตำนาน2พันปีตุงเอกลักษณ์ล้านนา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 26 พฤศจิกายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    พลิกตำนาน2พันปี'ตุง'เอกลักษณ์ล้านนา

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>พลิกตำนาน2พันปี "ตุง"เอกลักษณ์ล้านนา

    คอลัมน์ รายงานพิเศษ

    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=right>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    "ตุง" เป็นวัสดุที่มีลักษณะคล้าย "ธง" หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นธงประเภทหนึ่งแต่ไม่ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ หรือสัญญาณใดๆ แต่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำบุญทำทาน

    "ตุง" จึงเป็นวัสดุที่ใช้ในพิธีกรรม บ่งบอกถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของคนล้านนา มีหลักฐาน ตามพงศาวดารอาณาจักรนาคพันธ์สิงหนวัติ ดินแดนอันรุ่งเรืองริมฝั่งแม่น้ำโขงพื้นที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เมื่อ 2,000 กว่าปีที่ผ่านมา ว่ามีการใช้ตุงกันแล้ว

    ข้อมูลของสำนักงานวัฒนธรรม จ.เชียงราย ระบุว่า ตำนานของตุงเกิดจากเรื่องเล่าของอาณาจักรนาคพันธ์สิงหนวัติว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรง พระนิพพาน พระมหากัสสปะเถรเจ้าได้นำเอาพระธาตุส่วนกระดูกด้ามมีดหรือพระรากขวัญ เบื้องซ้าย พระเกศาธาตุและพระโลมาธาตุ สรีรธาตุ บรรจุในโกศ เพื่อถวายแก่พระเจ้าอชุตราชกษัตริย์องค์ที่ 3 ของราชวงศ์สิงหนวัติ พระองค์จึงอาราธนาเอาพระโกศประดิษฐานขึ้นบนหมู่ดอยสามเส้าและสร้างสถูป โดยก่อนสร้างสถูปได้อธิษฐานและสร้างธงหรือตุงยาวพันวาปักเอาไว้บนยอดดอยหากหางตุงปลิวไปเพียงใดก็กำหนดสร้างสถูป ณ จุดนั้น

    จึงเรียกขานดอยสามเส้า ดังกล่าวว่า "ดอยตุง" ตั้งอยู่พื้นที่ อ.แม่ฟ้าหลวง และ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ในปัจจุบันนั่นเอง

    เชื่อกันว่าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการใช้ตุงเพื่อพิธีกรรมต่างๆ ก็แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ และผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมที่มีอยู่ โดยคนล้านนามีความเชื่อเรื่อง วิญญาณของบรรพบุรุษว่ายังคงอยู่เรียกว่าผีปู่ย่าโดยอยู่ในภพภูมิต่างๆ

    ปัจจุบัน "ตุง" แบ่งออกตามลักษณะได้เป็น 3 ลักษณะ คือ แบ่งตามวัสดุที่ใช้ผลิต เช่น ทำจากผ้าและฝ้าย เรียกตุงไชย ตุงใย ฯลฯ ทำจากไม้เรียก ตุงไม้ ตุงกระด้าง ฯลฯ ทำจากกระดาษเรียก ตุงสิบสองราศี ตุงพญายอ ฯลฯ

    แบ่งตามรูปร่างลักษณะ เช่น ตุงสี่เหลี่ยมยาวเรียกตุงตะขาบ ตุงไชย ฯลฯ ตุงสามเหลี่ยมเรียกตุงราว ตุงดิน ฯลฯ ตุงรูปคนเรียกตุงสามหาง ตุงค่าคิง ฯลฯ หรือแบ่งตามการใช้งาน เช่น ตุงที่ใช้ประกอบพิธีมงคลเรียกตุงไชย ตุงช้าง ตุงกระด้าง ฯลฯ ตุงที่ใช้ประกอบพิธีอวมงคล เรียกตุงแดง ตุงสามหาง ฯลฯ

    ตามการรวบรวมการใช้ตุงพบว่ามีจำนวนตุงไม่ต่ำกว่า 24 ชนิด แต่ที่โดดเด่นพอยกเป็นตัวอย่างได้ ได้แก่ "ตุงไชย" ใช้ในทางความเป็นมงคลบ่งบอกถึงความสำเร็จ ความปีติยินดีชื่นชม หรือสิริมงคล โดยทั่วไปใช้ปักในงานเทศกาลต่างๆ เช่น สงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมือง งานบุญต่างๆ

    "ตุงสิบสองราศี" นิยมใช้มากทั่วทุกหมู่บ้านในช่วงเทศกาลปี๋ใหม่เมือง นิยมใช้ปักถวายทานบนเจดีย์ทรายในวัด บางครั้งใช้ในพิธีสืบชะตา สะเดาะเคราะห์ สร้างบ้าน ฯลฯ

    "ตุงกระด้าง" เป็นตุงที่เรียกตามวัสดุที่ใช้ซึ่งมีความแข็งไม่อ่อนพลิ้วหรือตุงทั่วไป เช่น ไม้ โลหะ ฯลฯ ออกแบบลวดลายให้สวยงาม สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

    "ตุง กฐิน" มักทำเป็นผืนธรรมดามีรูปจระเข้ ตะขาบ นางสุวรรณมัจฉา ตามความเชื่อว่าในอดีตการทอดกฐินได้กุศลมาก

    "ตุงสามหาง" มีสีขาวลักษณะสามแฉกหรือสามหาง ใช้สำหรับนำขบวนศพสู่ป่าช้า เชื่อว่าจะนำพาผู้ตายไปสู่สุคติ

    "ตุงแดง" ใช้ปักตรงจุดที่มีอุบัติเหตุหรือมีคนตายโหง เชื่อว่าจะทำให้วิญญาณผู้ตายไปสู่ที่ชอบไม่วนเวียนอยู่ ณ ที่นั้น

    นอกจากนี้ยังมีตุงอีกหลายประเภท เช่น ตุงเหล็ก ตุงทอง ตุงส้มโอ ตุงช้าง ตุงม้า ตุงประสาท ตุงจ้อจ๊าง หรือช่อช้างที่ใช้ในพิธีแห่ ฯลฯ

    ด้วยความที่เชื่อว่าตุงเป็นเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ ชาวเชียงรายจึงมีการจัดทำ "ตุงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ โดยเป็นตุงพิเศษที่ทำจากทองคำเพื่อน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    โดยแบ่งออกเป็น 3 ผืน ผืนแรกออกแบบโดยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ให้ความหมายถึงความทรงพลัง เข้มขลังด้วยศรัทธาความรัก ผืนที่ 2 ออกแบบโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ บ่งบอกถึงความหมายถึงพระบารมีที่ปกป้องไพร่ฟ้าประชาชน และพระพุทธศาสนา ตุงผืนที่ 3 ออกแบบโดย นายกนก วิศวะกุล แสดงออกถึงพลังและความสงบนิ่ง ของความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทย

    เมื่อน้อมถวายฯ เสร็จก็ได้มีการจำลองขึ้นใหม่และสร้างให้มีขนาดใหญ่กว้าง 3.70 เมตร ยาว 23 เมตร ตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช จ.เชียงราย

    ปัจจุบัน "ตุง" ยังคงเป็นความเชื่อของคนล้านนาอย่างฝังรากลึก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่ยังคงมีการสร้างตุงในพิธีการต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องในหลายๆ กิจกรรม

    นับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาคเหนือที่ไม่ได้แปรเปลี่ยนไปตามวันเวลา แม้ตำนานความเป็นมาจะยาวนานมากกว่า 2,000 กว่าปีแล้วก็ตาม

    -----------------

    ที่มา:ข่าวสด
    http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03fea01261149&day=2006/11/26
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    :cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. boydd

    boydd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +1,773
    ใครเห็นตุงปักตามข้างทาง เวลาขับรถอยู่ อย่าไปดึงนะคับ
    อันตรายคับ อิอิ
     
  4. angus

    angus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    545
    ค่าพลัง:
    +2,725
    เราไม่ได้ไปนานแล้ว......ตั้งแต่ตอนเด็กๆๆ
    จำได้ตอนนั้นไปตอนอายุไม่ถึง 10 ขวบเอง
    ไม่เคยเห็น.......งดงามจังเลยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...