ขอความรู้หน่อยครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย lldreamll, 12 ตุลาคม 2010.

  1. lldreamll

    lldreamll Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +84
    พอดีผมอยากรู้เรื่องจิตน่ะครับ
    ในทางทฤษฎีน่ะครับ เช่น จิต เจตสิก
    จริต6(อันนี้พอทราบ) จิตสำนึก จิตใต้สำนึก
    จิตวิเคราะห์(ของฟลอยด์??)พวกจิตวิทยาด้วยน่ะครับ
    ช่วยเติมผมให้เต็มทีนะครับ
    เอาทีละน้อยๆก่อนนะครับจะทะยอยศึกษาไปเรื่อยๆ
    หากได้เยอะมันไม่ถูกจริตน่ะครับ เหอๆ
    ขอบคุณมากครับ
     
  2. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    หาอ่านในพระอภิธรรมซิครับ มีรายละเอียดมากมาย.............
     
  3. lldreamll

    lldreamll Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +84
    มันเป็นภาษาที่เข้าใจค่อนข้างยากน่ะครับ
     
  4. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    คูหาสยัง คืออะไร?
    อาศัยที่ใด?
    และในนั้นมีอะไร?
     
  5. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,421
    ค่าพลัง:
    +4,649
    ที่คุณขอมาน่ะเขียนประโยคสั้นแต่ภาพมันกว้างเกินไป อยากรู้อะไรตั้งกระทู้ถามที่ละอย่างดีกว่า

    แต่ถ้าอยากรู้ทั้งหมดก็ไปอ่านอภิธรรม 7 คัมภีร์ดีกว่า
     
  6. lldreamll

    lldreamll Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +84
    งั้นขอถามเรื่องจิตกับเจตสิกแล้วกันครับ
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ในความเห็นเรานะ จากที่อ่านมาแล้วทำความเข้าใจเอง
    จิต กับ เจตสิก เป็นธาตุรู้ ตามธรรมชาติ ถ้ามันแยกกันอยู่ก็ไม่มีเรื่องราวอะไร
    ยกตัวอย่างนะเทียบง่ายๆเป็น ธาตุ H กับ O ถ้ามันรวมกันได้กลายเป็นน้ำ H2O
    มันก็กลายเป็นเรื่องราวเกิดเป็นน้ำมีตัวตนจับต้องได้แล้ว และ H2O ก็ไม่ใช่ H และ O
    มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน มีกายภาพแตกต่างกัน
    จิตกับเจตสิก ก็เช่นกัน ถ้าอยู่โดดๆ ตามธรรมชาติมันก็ไม่มีอะไร
    แต่จิตใต้สำนึก และ จิตสำนึก เราเข้าใจว่ามันเป็น จิต+เจตสิก รวมกันเกิดเป็นตัวตนแล้ว
    มีวิญญาณเป็นบ้านเป็นภพรองรับแน่นหนา แยกจากกันไม่ได้ ปุถุชนอย่างเราๆเข้าไม่ถึง
    สภาวะของจิต ที่แยกเป็นอิสระจากเจตสิก เพียวๆ ไม่ได้หรอกมั้ง แต่คนที่เข้าถึงสภาวะ
    นิพพานแล้วกระมัง ถึงจะเข้าใจสภาวะนั้น ที่ทำลายภพชาติได้แล้ว รู้แจ้งอริยสัจ4แล้ว
    เข้าถึงสภาวะปรมัตถ์ของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ที่เป็นอิสระ ขาดจากกัน
    ปราศจากพันธนาการของภพและทำลายแรงดึงดูดขาดจากกันถาวร ได้ ก็เข้าใจปัจจัย
    ของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ของภพชาติที่เป็นตัวตนของเรา อย่างแจ่มแจ้ง

    อย่างจิตในตำราพระอภิธรรม ที่แบ่งเป็นกลุ่มๆ อกุศลจิต กุศลจิต กิริยาจิต เขาหมายถึง
    จิต+เจตสิก ที่เกิดขึ้นเป็นดวงๆต่อเนื่องกันไป ไม่มีขาดตอนเป็นภพชาติเกิดต่อเนื่องกัน
    ตลอดเวลาไม่มีหยุด ที่เหมือนกันคือจิต แต่ที่ทำให้ดวงจิตที่เกิดขึ้นแตกต่างกันคือ
    เจตสิก ซึ่งเจตสิกก็จัดเป็น กุศลเจตสิก อกุศลเจตสิก โสภณเจตสิก และอื่นๆอีกจำ
    ได้แค่นี้ ดวงจิตของใครเกิดประกอบด้วยกุศลเจตสิก ก็ถือว่าปฏิบัติกุศลมาดีก็จะเกิด
    เป็นกลุ่มกุศลจิตเยอะ เป็นนิสัยเป็นตัวตนตามความเคยชินที่สั่งสมมา ถ้าหัดภาวนา
    เจริญสติมากก็จะเกิดดวงจิตที่ประกอบด้วยสติเจตสิกเป็นจำนวนมาก ก็จะเป็นคนมีสติมาก
    ถ้าภาวนาเจริญมาทางฌาณสมบัติมากก็จะเป็นคนที่มีสมาธิมาก แต่ถ้าเป็นคนที่ชอบทำตาม
    ใจตัวเองตามกิเลสตัวเองก็จะมีดวงจิตที่ประกอบด้วยโมหะเจตสิกมาก ลุ่มหลงในเรื่องต่างๆ
    ทั้งสุขและทุกข์เรียกว่าหน้ามืดง่ายๆ คนที่ทำแต่ความชั่วเป็นอาจิณคิดแต่เรื่องอกุศล
    ดวงจิตที่เกิดก็จะประกอบด้วยกลุ่มอกุศลเจตสิกเป็นพื้นก็น่ากลัวมาก ทุกอย่างที่เราทำเป็น
    อาจิณกรรม เกิดเป็นดวงจิตนั้นๆบ่อยๆมันก็จะเคยชินที่จะเป็นแบบนั้น ทั้งชั่วและดี
    ทั้งปกติ และวิปลาส ทั้งหมดก็เกิดจากกรรมที่เราทำจนเป็นนิสัยนั้นเอง ถ้ารู้แล้วอยาก
    เปลี่ยนแปลงตนเองก็ทำได้ โดยการฝึกภาวนาเจริญสติ เจริญสมาธิ ก็จะเป็นการช่วยให้
    เกิดดวงจิตที่มีคุณภาพดีได้มากขึ้น และหัดรู้สึกตัวจะได้รู้ทันตัวเองว่าดวงจิตณ.ปัจจุบัน
    มันเป็นกุศลจิตหรืออุศลจิต ก็จะเป็นการรู้ทันตัวเองเกิดเป็นดวงจิตที่มีสติเจตสิกเกิดขึ้น
    เป็นการช่วยตัวเองโดยตรงให้หมั่นเจริญแต่ในทางฝ่ายกุศลให้เป็นนิสัย ก็จะช่วยให้เข้าใจ
    ตัวเองและเดินทางได้ถูกต้องตามธรรมะที่เกิดในตนเอง รู้เองเห็นเองได้ตามจริง จนเกิด
    ปฏิเวชเปลี่ยนแปลงที่ตัวเองได้ มีศีล ได้ด้วยตัวเอง ปัญญาที่จะเข้าใจเรื่องต่างๆ ก็มีเอง
    ตามคุณภาพของดวงจิตที่เกิดในตัวเรา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2010
  8. Nefertity

    Nefertity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +634
    จิตเป็นนามธรรมที่มีธรรมชาติเกิดขึ้นเพื่อรู้อารมณ์ และมีเจตสิกซึ่งเป็นส่วนประกอบในจิตแต่ละดวง ซึ่งจำนวนที่เกิดได้ และเกิดไม่ได้กับสัตว์แต่ละภูมิ จะเกิดขึ้นตามสมควร เจตสิกเป็นสภาวะที่ปรุงแต่งจิตจะเกิดขึ้นพร้อมกันกับขณะที่จิตเกิด การเกิดขึ้นปรุงแต่งก็ต้องเป็นอารมณ์อย่างเดียวกันกับที่จิตเข้าไปเสวยอารมณ์นั้น แล้วก็ดับไปพร้อมกันกับจิตที่ดับลง ซึ่งที่กล่าวมาเป็นสภาวะธรรมที่สามารถระลึกพิจารณาได้ในวิปัสนาญาณ เหตุเพราะเป็นขั้นปรมัตถ์ (ประมัตถ์ธรรม ๔ จิ.(จิต) เจ.(เจตสิก) รุ.(รูป) นิ.(นิพาน))ซึ่งหลายๆท่านคงอาจเคยได้พบจากพระคาถามาแล้วบ้าง นี่คือหัวใจปรมัตถ์ธรรม การศึกษาพระอภิธรรมจึงเป็นการศึกษาโดยเฉพาะเกี่ยวกับปรมัตถ์ธรรมเพื่อน้อมนำมาใช้พิจารณารูปและนามตามความเป็นจริงโดยปัจจุบันขณะ ส่วนจิตซึ่งมีทั้งสิ้น 89 ดวง จะมีเจตสิก เกิดร่วมได้สูงสุด ไม่เกิน 38 ดวง จากเจตสิกทั้งหมด 52 ดวง เพราะมีการแบ่งเป็นเจตสิกที่เป็นฝ่ายกุศล อกุศล และเป็นกลางเกิดได้ในจิตเกือบทุกดวงอีก แบ่งกันไปทำหน้าที่ในจิตประเภทต่างๆกันไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2010
  9. Nefertity

    Nefertity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +634
    อันที่จริงเราท่านทั้งหลายต่างได้มีโอกาส เกิดขึ้นมาในประเทศเสรี มีพระพุทธศาสนาประดิษฐานอยู่ และยังคงมีการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากแต่หลายท่านที่ยังคงติดข้องในกิจทั้งปวง หากท่านทั้งหลายสละเวลาเข้ามาศึกษาพระอภิธรรมกันอย่างถูกต้องและให้มีการแพร่หลายมากขึ้น เชื่อว่าไม่นาน ธรรมะอันลึกซึ้งนี้จะเข้าถึงจิตถึงใจของทุกท่านได้อย่างแน่นอน จึงอยากเชิญชวนท่านผู้สนใจในการศึกษาพระอภิธรรม ของอภิธรรมโชติกวิทยาลัย (วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์) ซึ่งการเริ่มต้นเรียนจิต และเจตสิก จะเริ่มอีกครั้งประมาณปลายเดือน ม.ค.54 ขอเชิญทุกท่านและพร้อมให้ความช่วยเหลือแนะนำสถานที่เรียนให้
     
  10. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    เอาทางวิทยาศาสตร์แล้วกันครับ ของฟรอยด์จิตใต้สำนึกมันเป็นส่วนหนึ่งของภวังค์จิต(จิตไร้สำนึก) ส่วนจิตสำนึกอาจเปรียบเทียบว่าเป็นวิถีจิต โดยจิตใต้สำนึกมันทำงานในสิ่งที่เป็นงานอัตโนมัติ เช่น หายใจ หัวใจเต้น กระพริบตา เวลาโดนไฟลวกอย่างนี้ไม่ยังไม่ทันรู้สึกก็ถอยออกมาก่อนแล้ว ลองคิดดูว่าเราต้องหายใจตลอดเวลาไม่หายใจเราตายอย่างนี้คงยาก จิตใต้สำนึกก็ทำหน้าที่ในส่วนนี้ ส่วนจิตสำนึกก็เป็นส่วนที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว แล้วที่ยังไม่แน่ใจว่ามีก็คือจิตเหนือสำนึก
     
  11. Nefertity

    Nefertity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +634
    จริงอยู่ว่าการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มีเหตุและผลเช่นกัน แต่การศึกษาและทดลองทางจิตและวิทยาศาสตร์ ก็มิอาจเทียบกันได้เลยกับพระปัญญาคุณแห่งองค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจากพระสัพพัญญุตญาณ เพื่อไม่เป็นการปรามาสว่าวิทยาศาตร์สังเคราะห์ความรู้ดีไปกว่าพระปัญญาของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงน่าจะศึกษาพระอภิธรรมดูก่อน ว่าทำไม ถึงไม่ควรเอาวิทยาศาสตร์มาอธิบายเทียบเคียงกับพระอภิธรรม และในอภิธรรม ภวังค์ ไม่ใช่จิตที่ไร้สำนึก หากแต่เป็นจิตที่มีบทบาทอย่างมากต่อการบบรลุธรรมของแต่ละคน อันเนื่องมาจากปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วยเหตุที่เหมาะสมแล้วเท่านั้น
     
  12. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    การบอกว่าจิตมี89ดวงนั้นทำให้คนเข้าใจว่าดวงจิตของมี89ดวงเกิดความเชื่อเรื่องแบ่งจิตแบ่งภาคไปเกิด
    แท้ที่จริงแล้วจิตมีดวงเดียว เกิดดับตลอดเวลา
    ในพระอภิธรรมที่พูดว่ามี89ดวงนั้น คือลักษณะของดวงจิตที่เสวยอารมณ์แตกต่างกัน เช่น จิตเสวยอารมณ์โกรธ เป็นต้น
    การปฏิบัติสติปัฏฐาน4จึงมุ่งให้สติแยกแยะ ว่าเวทนาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
    ทุกข์ สุข หรือเป็นกลาง
    จิตมีอาการเป็นอย่างไร
    คัดมาให้อ่าน
    สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร[1] เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
    คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็น​เจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​ ​มหาสติปัฏฐานสูตร​ ​และ​ ​สติปัฏฐานสูตร​ ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
    โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
     
  13. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ปรมัตถ์ : แนวคิดและการอธิบาย






    สัจจะหรือความจริง ในโลกนี้มีความจริงอยู่ 2 ระดับ คือ
    ความจริงระดับสมมุติ และความจริงระดับปรมัตถ์





    มนุษย์ส่วนใหญ่จะเข้าใจเพียงความจริงระดับสมมุติจากภาษาเท่านั้น ได้แก่ บัญญัติชื่อต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ วัตถุ และความเป็นเจ้าของสิ่งเหล่านั้นทั้งโดยชื่อและโดยความรู้สึก เช่น นายดำ แมว เงินของฉัน ลูกของฉัน เป็นต้น เป็นความจริงที่ต้องขึ้นกับการอ้างอิงและเปรียบเทียบ ซึ่งรู้จักกันเฉพาะในกลุ่มชนบางกลุ่มที่ใช้ภาษาเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกันเท่านั้น จะใช้กับต่างกลุ่ม ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรมไม่ได้

    ส่วนความจริงอีกระดับหนึ่ง คือ ความจริงระดับปรมัตถ์ ปรมัตถ์นี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มชน สถานที่ หรือยุคสมัย อดีตนับตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ไฟเคยให้ความร้อนและเผาไหม้อย่างไร ในอนาคตจนถึงโลกถูกทำลาย ไฟก็ยังคงให้ความร้อนและเผาไหม้ตลอดไป

    คำว่าไฟเป็นจริงเฉพาะในหมู่คนไทย ต่างชาติจะเรียกอีกอย่างหนึ่ง แต่ความรู้สึกร้อนจะเป็นสากลสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งคนและสัตว์ เมื่อถูกไฟจะรู้สึกว่าร้อน ความร้อนเป็นความจริงระดับปรมัตถ์ของไฟ




    เนื่องจากมนุษย์มีความเข้าใจติดอยู่แค่ระดับสมมุติ ซึ่งสื่อกันด้วยภาษา และจำเป็นต้องมีคน สัตว์ วัตถุขึ้นอ้างอิงด้วย ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงยึดมั่นโดยไม่รู้ตัวว่า ภาษาเป็นความจริง คิดว่าคน สัตว์ วัตถุ มีจริง จนกระทั่งไม่มีใครนึกถึงความจริงระดับปรมัตถ์ที่แฝงอยู่





    ในระดับปรมัตถ์แล้ว สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ด้วยการรวมกลุ่มของเหตุปัจจัยเพียงขณะหนึ่งเท่านั้น แล้วก็สลายตัวไป ไม่มีอะไรเกิดขึ้นนอกจากปัจจัย ไม่มีอะไรสลายไปนอกจากการสลายไปของปัจจัย ที่เรียกว่า นายดำ ก็เพราะโครงสร้างโดยรวมของลักษณะหน้าตา แขนขา จำได้ว่าชื่อดำ
    ถ้าตัดแขนมาส่วนเดียวก็จะเรียกว่าแขน ไม่เรียกแขนว่าเป็นนายดำ ถ้าตัดนิ้วมาหนึ่งก็จะเรียกนิ้วแทน ไม่เรียกนิ้วว่าเป็นแขน เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่เรียกว่าคนเลย โครงสร้างโดยรวมจึงเป็นที่มาของความจริงระดับสมมุติมากมายนับไม่ถ้วน แต่การกระจายโครงสร้างดังกล่าวออกเป็นส่วนประกอบแต่ละส่วนแล้ว จะเหลือความจริงระดับปรมัตถ์เพียง 2 อย่าง คือ ไม่เป็นรูปธรรม ก็เป็นนามธรรม
    รูปเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น จะรับรู้อะไรไม่ได้ ส่วนนามเป็นทั้งตัวรู้และถูกรู้ได้ด้วย





    ปรมัตถ์ธรรม เป็นธรรมชาติที่ทรงสภาพของตนไม่มีการวิปริตผันแปรด้วยอำนาจอื่น (ขุนสรรพกิจโกศล 2510 : 7) ในพระพุทธศาสนาแบ่งปรมัตถธรรมออกเป็น 4 อย่าง คือ จิตปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่รู้อารมณ์) เจตสิกปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต) รูปปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่เสื่อมเป็นนิจ) และนิพพานปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสและขันธ์ 5) สภาวะของปรมัตถ์รวมอยู่ในธรรมชาติทั้งหลายทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต มีลักษณะประจำตัวอยู่ 3 อย่าง คือ ความไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และบังคับบัญชาไม่ได้ แต่มนุษย์ทั้งหลายเข้าใจผิดกันไปเองว่าโลกและชีวิตมีอยู่จริง (เที่ยงแท้ถาวร) เป็นสุข และมีตัวตนบงการได้ ความเข้าใจผิดดังกล่าวถูกยึดมั่นเป็นความคิดสำคัญของมวลมนุษยชาติ ถ้าเป็นชาวพุทธที่แท้แล้ว จะเห็นว่าความเข้าใจผิดนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์ยินดีในภพชาติ มองไม่เห็นว่าภัยแห่งวัฏฏะสงสารเป็นอย่างไร



    ในปรมัตถ์ธรรมทั้ง 4 ไม่มีรูปพรรณสัณฐานแน่นอนของตนเอง มีทั้งส่วนที่เป็นนามธรรมและส่วนที่เป็นรูปธรรม รูปปรมัตถ์ในที่นี้ก็เป็นรูปปรมาณูซึ่งเล็กมากเกินกำลังสายตาหรือเครื่องมือพิเศษใด ๆ จะจับถึง เราไม่อาจเห็นรูปร่างหน้าตาของปรมัตถ์ธรรมได้ เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ เป็นต้น เราสัมผัสได้เพียงการแสดงอานุภาพของสิ่งเหล่านี้ และรับรู้ได้ตามขีดความสามารถของประสาทสัมผัส แต่ไม่สามารถเข้าถึงตัวปรมัตถ์โดยตรง

    --------------------------------------------------

    ปรมัตถธรรมมีประโยชน์กับมนุษย์อย่างไร

    ปรมัตถธรรมจะเป็นประโยชน์แท้ สำหรับมนุษย์ผู้มีปัญญา มีความเห็นถูกตรงกับสภาวะธรรมเท่านั้น ปรมัตถธรรมไม่ขึ้นกับภาษา หรือเนื้อความใด ๆ

    มนุษย์ผู้มีปัญญาจะเข้าใจถูกตรงว่า สรรพสิ่งท้งหลายจะมีอยู่ได้ก็ในฐานะของการเป็นส่วนประกอบของกันและกันเท่านั้น
    ในทุก ๆ อณูของส่วนประกอบมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ตั้งแต่ระดับธาตุที่เล็กมากมองไม่เห็น จนถึงระดับจักรวาลอันกว้างใหญ่

    ธรรมจักษุที่เห็นความต่อเนื่องของส่วนที่ประกอบกัน(อย่างมีเงื่อนไข)จากสถานะหนึ่ง เปลี่ยนไปสู่อีกสถานะหนึ่งในเวลาต่อมานี้
    ช่วยให้ผู้เห็นธรรมนั้น รู้ถึงความเห็นผิดของตน อันเนื่องมาจากการใช้ความหมายของภาษา และเนื้อความที่เคยประกอบกันขึ้นมาเป็นตัวตน

    ผลพลอยได้คือ การหยั่งรู่ถึงการหาต้วตนที่แท้ไม่ได้เลยจริง ๆ ไม่ใช่จำเขามาพูดให้ฟัง

    ใช่ว่ามนุษย์ทุกคน จะรู้จักประโยชน์แท้เหล่านี้ ปรมัตถธรรมจึงอาจจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยสำหรับมนุษย์ผู้ไม่มีปัญญา และมนุษย์ที่ยอมรับความจริงไม่ได้

    --------------------------------------------------

    ในการศึกษาสภาวธรรมที่เป็นปรมัตถ์ ผู้ศึกษาจะสามารถจินตนาการเป็นรูปร่างอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ความเข้าใจของตน แต่ไม่ควรสับสนไปยึดจินตนาการนั้นว่าเป็นความจริงหรือเป็นตัวปรมัตถ์ เช่น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า จิตมีลักษณะเป็นดวงกลม ๆ ใสบ้าง ขุ่นบ้าง
    เป็นต้น แนวคิดทางสภาวะของรูป จิต เจตสิก ที่จะกล่าวต่อไป ก็อาศัยเครื่องหมายบางอย่าง ซึ่งท่านอาจารย์ กวิสิฎฐะ (ชาวพม่า) เป็นผู้กำหนดขึ้น เพื่อใช้อธิบายโครงสร้างทางสภาวพื้นฐานของรูป ของจิต ของเจตสิก พอสังเขป ทั้งนี้เป็นเพียงระบบการศึกษาตัวอย่างระบบหนึ่งเท่านั้น มิใช่ว่ารูป จิต และเจตสิก จะมีลักษณะเป็นดวง ๆ หรือเป็นขีด ๆ ดังกล่าวจริง ๆ
     
  14. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    แนวคิดเกี่ยวกับจิต


    พระพุทธศาสนาจำกัดความคำว่า จิต ไปในทางธาตุรู้หรือธาตุคิด ที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่าง ๆ ที่เรียกว่า เจตสิก กระบวนการนี้เกิดดับไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้ จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่นมักจะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ ตัวอย่างเช่น เสียใจ บ่งสภาพความเศร้าโศก ดีใจบ่งสภาพความดียินดี ในที่นี้คำว่าใจจึงบอกถึงสภาพของสิ่งหนึ่ง ที่เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นกระบวนการของความคิด เหมือนอย่างคำว่า จิต
    (ประพจน์ อัศววิรุฬหการ และ สุวรรณา สถาอานันท์, “จิตใจ” ใน คำ : ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย : 2537 หน้า 313)

    ตามหลักการทางพระพุทธศาสนา จิตเป็นจุดเริ่มต้น เป็นจุดรวม และเป็นจุดสูงสุด คือ จิตที่หลุดพ้นแล้วของพระอริยะ ดังปรากฏในพระธรรมบทว่า

    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
    มโนเสฏฐา มโนมยา

    มนสา จ ปทุฏเฐน

    ภาสติ วา กโรติ วา

    ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ

    จกฺกํ ว วหโต ปทํ

    ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
    มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ

    ถ้าบุคคลมีใจชั่วแล้ว

    พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม (ย่อมชั่ว)

    เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตามบุคคลนั้นไป

    ดุจล้อหมุนตามรอยเท้าแห่งโคที่นำแอกไปอยู่ฉะนั้น


    มนสา จ ปสนฺเนน

    ภาสติ วา กโรติ วา

    ตโต นํ สุขมเนฺวติ

    ฉายาว อนุปายินี

    ถ้าบุคคลมีใจดีแล้ว
    พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม (ย่อมดี)

    เพราะความดีนั้น สุขย่อมตามบุคคลนั้นไป

    ดุจเงาติดตามตนฉะนั้น
    (ขุ. ธรรมบท 25 / 15)


    ลักษณะสภาวะการเกิดของจิตมี 4 อย่าง (บุญมี เมธางกูร และ วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี 2530 : 28) คือ


    วิชชานนลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ
    ปุพฺพงฺคมรสํ มีการเกิดก่อนและเป็นประธานในธรรมทั้งปวง หรือทำให้ดวงหนึ่งต่อดวงหนึ่งเกิดติดต่อกันเป็นกิจ
    สนฺธานปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเห็น การได้ยิน ฯลฯ สืบต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นความปรากฏของจิต
    นามรูปปทฏฺฐานํ มีนามและรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น

    จิตเป็นปรมัตถธรรมประเภทหนึ่ง มีสามัญลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นสภาวะรู้อารมณ์อย่างเดียว เช่น การนึกคิดถึงบ้านเรือน ต้นไม้ ก็รู้เฉพาะบ้านเรือนอย่างเดียวแล้วดับไป จึงมารู้ต้นไม้ใหม่ เป็นต้น จิตนี้แม้จะเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างตัวตน เพียงแต่แสดงความรู้สึกอยู่ภายในเท่านั้นก็จริง แต่มีอำนาจพิเศษ หรือเรียกว่า ความวิจิตร ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไป 6 อย่าง (พระครูสังวรสมาธิวัตร 2521 : 12-15) คือ

    1. วิจิตรด้วยการกระทำ หมายความว่า วัตถุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ประดิษฐ์กรรมอันวิจิตรตระการตามีภาพลวดลายต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องยนต์กลไกทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นศิลปวิทยาที่เกิดขึ้นด้วยจิตของนายช่างทั้งสิ้น

    2. วิจิตรด้วยตนเอง หมายถึง จิตทำจิตเอง ให้เป็นกุศลบ้าง เพราะปราศจากโลภ โกรธ หลง เป็นบาปอกุศลบ้าง เพราะประกอบด้วย โลภ โกรธ หลง หรือเป็นผลของบุญผลของบาป ที่เรียกว่า วิบากบ้าง หรือเป็นจิตของพระอรหันต์ที่เรียกว่ากิริยาจิตบ้าง ยิ่งกว่านั้นยังแบ่งบุคคลให้ต่างด้วยเพศ ต่างด้วยสัญญา และต่างด้วยคติอีกด้วย

    3. สั่งสมกรรมและกิเลส หมายความว่า กรรมหรือการกระทำอันเกิดขึ้นด้วยเจตนาและกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เมื่อทำแล้วสั่งสมไว้ที่จิตนี้เองหาได้สั่งสมไว้ที่อื่นไม่เรียกว่า ขันธสันดาน

    4. รักษาไว้ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสสั่งสมไว้ หมายความว่า จิตนี้ย่อมรักษาผลของการกระทำและผลของกิเลส ซึ่งได้สั่งสมอำนาจไว้มิได้สูญหายไปไหน เกิดขึ้นกับจิตที่เป็นวิบาก เพื่อรับผลของกรรมนั้น ๆ เมื่อมีโอกาส

    5. สั่งสมสันดานของตนเอง หมายความว่า จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับลง เป็นปัจจัยให้จิตอีกดวงหนึ่งเกิดขึ้นติดต่อกันไม่ขาดสาย เป็นสันตติสืบเนื่องกันไป ลงสู่ภวังค์แล้วเกิดขึ้นใหม่อีก

    6. มีการวิจิตรด้วยอารมณ์ต่าง ๆ หมายความว่า จิตนี้ย่อมรู้อารมณ์ต่าง ๆ จิตขณะที่รู้อารมณ์นี้ จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วิญญาณ เช่น จิตทางตารู้รูปารมณ์ (เห็นสี) ก็จะเรียกว่า จักขุวิญญาณ หรือจิตทางหู รู้สัททารมณ์ (ได้ยินเสียง) จิตทางจมูก รู้คันธารมณ์ 12 (รู้กลิ่น) จิตทางลิ้น รู้รสารมณ์ (รู้รส) จิตทางกาย รู้โผฏฐัพพารมณ์ (เครื่องกระทบ เย็น, ร้อน, อ่อน, แข็ง) จิตทางมโนรู้ธรรมารมณ์ (รู้เรื่องราวต่าง ๆ มีปสาทรูป 5 สุขุมรูป 16 จิต เจตสิก นิพพาน บัญญัติ)

    ความวิจิตรของจิตนั้น เป็นธรรมชาติที่เหนืออำนาจการดลบันดาลจากผู้ใดทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่บังคับให้เกิดก็ไม่ได้ บังคับให้ดับก็ไม่ได้ ไม่มีใครสามารถลิขิตความเป็นไปนั้น นอกจากมีเหตุ-ปัจจัยมาประชุมพร้อมกันชั่วขณะหนึ่ง ๆ เหตุปัจจัยแต่ละส่วนมีความสำคัญเสมอกัน หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การรับรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ในการเห็นครั้งหนึ่งต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 อย่าง ดังต่อไปนี้คือ
    1. ต้องมีประสาทตาที่ดี
    2. ต้องมีแสงสว่างพอเหมาะ ไม่สว่างหรือมืดเกินไป
    3. ต้องมีคลื่นแสงสะท้อนจากวัตถุ มาตกลงบนจุดโฟกัสในประสาทตา
    4. ต้องมีความตั้งใจดู
    ถ้าองค์ประกอบไม่ครบทั้ง 4 ข้อ การเห็นจะเกิดขึ้นไม่ได้ การมีตาอย่างเดียวไม่ทำให้เกิดการเห็นได้ ในทางตรงข้ามถ้ามีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ข้อ แล้ว จะบังคับมิให้เกิดการเห็นครั้งนั้นก็ไม่ได้เช่นกัน
    จากหนังสือสังคหะบาลีแปล 9 ปริจเฉทกล่าวถึงเรื่องจิตไว้ดังนี้
    จิตมีลักษณะแตกต่างกันรวม 89 หรือ 121 ลักษณะ จากแผนผังของจิต แบ่งจิตออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม เช่น ในกลุ่มที่ 1 อกุศลจิต มี 12 ดวง , กลุ่มที่ 2 มหากุศลจิต มี 8 ดวง เป็นต้น

    แผนผังจิต 89/121




    ตัวเครื่องหมายที่ต่างกัน 5 ลักษณะ เป็นการแบ่งจิตโดยประเภทแห่งเวทนา (ความรู้สึก) ซึ่งมีอยู่ 5 อย่าง จิตทุกดวงจะต้องเกิดพร้อมด้วยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ จิตจะเกิดขึ้นโดยไม่มีเวทนาไม่ได้ เวทนาทั้ง 5 ได้แก่



    เครื่องหมาย (È) หมายถึง สุขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกสบายทางกายจาก
    การกระทบทางร่างกาย มี 1 ดวง
    เครื่องหมาย (Ç ) หมายถึง ทุกข์เวทนา หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายทางกายจากการกระทบกับความเย็น ความร้อน ความแข็ง มี 1 ดวง
    เครื่องหมาย (+) หมายถึง โสมนัสเวทนา หรือความรู้สึกยินดีอย่างมากที่เกิดขึ้นทางใจ มีทั้งหมด 62 ดวง
    เครื่องหมาย (<) หมายถึง โทมนัสเวทนา หรือความรู้สึกทุกข์ใจ เร้าร้อน คับแค้นเกิดขึ้นทางใจ มี 2 ดวง
    เครื่องหมาย (-) หมายถึง อุเบกขาเวทนา หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ หรือความยินดีเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นทางใจ มี 55



    ส่วนตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องหมาย ก็เป็นตัวบอกถึง ชนิด คุณสมบัติ และพัฒนาการทางจิต ที่แตกต่างกัน เช่น ในกลุ่มอกุศลจิต 12 แยกเป็น โลภะจิต 8 ดวง โทสะจิต 2 ดวง โมหะจิต 2 ดวง

    จิตมีเวทนาเหมือนกัน เช่น กลุ่มอกุศลจิต 12 ดวง
    โสมนัสเวทนา (+) ที่อยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน เช่น
    โลภะจิตดวงที่ 1 แถวบน กับโลภะจิตดวงที่ 3 แถวล่าง
    คุณภาพของจิตทั้ง 2 ดวงจะต่างกัน คือ

    ดวงที่ 1 แถวบน เป็นความโลภชนิดที่มีความเห็นผิด กล้าทำทุจริตเช่นลักขโมย ยักยอกทรัพย์ เป็นพยานเท็จ เป็นต้น

    ส่วนดวงที่ 3 แถวล่าง เป็นความโลภที่ ไม่ประกอบ ด้วยความเห็นผิด ไม่ถึงกับทำทุจริต ถ้าอยากมีทรัพย์สมบัติก็ขยันทำงานหาเงินด้วยตัวเอง แต่ทั้ง 2 ดวง ก็จัดอยู่ในกลุ่มของอกุศลที่มีความโลภเป็นแรงจูงใจอยู่เบื้องหลัง เป็นต้น

    นอกจากตัวเครื่องหมายและตำแหน่งของเครื่องหมาย จะบอกคุณสมบัติของจิตแล้วยังมีหลักการจัดประเภทของจิตออกเป็นลักษณะที่ตรงข้ามกัน 9 คู่ อาทิ การประกอบ (สัมปโยค) การชักจูง (สังขาร) ฌาน โสภณะ ชาติ ภูมิ เป็นต้น
    ชาติเภทนัย
    ภูมิเภทนัย
    เหตุเภทนัย เวทนาเภทนัย
    สัมปยุตเภทนัย
    สังขารเภทนัย โสภณเภทนัย
    โลกะเภทนัย
    ฌานเภทนัย

    ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงบางลักษณะ เช่น
    การแบ่งประเภทของจิตโดยชาติ ซึ่งบอกถึงชนิดของจิตว่าเป็นฝ่ายดีหรือไม่ดี และการแบ่งประเภทโดยภูมิ ซึ่งบอกถึงระดับพัฒนาการทางจิตไปในทางต่ำหรือสูง (พระมหาแสวง โชติปาโล 2535 : 9, 13)

    จิตว่าโดยชาติมี 4 ชาติ คือ (จากแผนผังในแนวนอน)

    1.อกุศลชาติ (อกุสลาธมฺมา) ธรรมชาติ (จิต) ที่เกิดมาแล้วเป็นบาป มีโทษให้ผลเป็นความทุกข์ ความเดือดร้อนใจ ได้แก่ อกุศลจิต 12 ดวง

    2. กุศลชาติ (กุสลา ธมฺมา) ธรรมชาติ (จิต) ที่เป็นบุญ ไม่มีโทษ ให้ผลเป็นความสุข ความสบายใจ ได้แก่ มหากุศลจิต 8
    รูปาวกุศลจิต 5 อรูปาวจรกุศลจิต 4 มัคคกุศล 4/20

    3. วิบากชาติ (อพยากตา ธมฺมา) ธรรมชาติ (จิต) ที่ไม่กล่าวว่าเป็นกุศลหรืออกุศลในตัวเอง เป็นแต่เพียงผลที่เกิดจากกุศลหรืออกุศล ได้แก่ อกุศลวิบากจิต 7 อเหตุกกุศลวิบากจิต 8 มหาวิบากจิต 8 รูปาวจรวิบากจิต 5 อรูปาวจรวิบากจิต 4 ผลจิต 4/20

    4. กิริยาชาติ (อพยากตาธมฺมา) ธรรมชาติ (จิต) ที่ไม่กล่าวว่าเป็นกุศลหรืออกุศลในตัวเอง ทั้งไม่ใช่ผลของกุศลและอกุศลด้วย มี 20 ดวง


    กลุ่มกิริยาจิต เป็นแต่เพียงกิริยาอาการของจิตที่เกิดขึ้นเพื่อรับรู้อารมณ์ แต่ไม่ได้รับรู้ด้วยกิเลส มีอภิชฌาหรือโทมนัส เป็นต้น ยกเว้น 2 ดวงแรกในกลุ่มแล้วกิริยาจิตที่เหลือ ได้แก่ หสนจิต 1 มหากิริยาจิต 8 รูปาวจรกิริยาจิต 5 อรูปาวจรกิริยาจิต 4 รวม 18 ดวง เป็นจิตที่เกิดขึ้นแก่พระอรหันต์เท่านั้น



    จิตว่าโดยภูมิมี 4 ภูมิ คือ (จากแผนผังในแนวตั้ง)


    1. กามาวจรภูมิ เกิดขึ้นเพื่อรับกามคุณอารมณ์ จัดอยู่ในระดับต่ำรับอารมณ์ได้มากมาย มี 54 ดวง
    2. รูปาวจรภูมิพัฒนามาจากกามาวจรภูมิ เป็นสมาธิและฌาน มีความแนบแน่นในระดับต่าง ๆ 5 ระดับ รวม 15 ดวง

    3. อรูปาวจรภูมิ จิตที่พัฒนาสูงกว่าชั้นรูปาวจร ด้วยการเพ่งนามธรรม หรือความว่าง เกิดความแนบแน่นในระดับต่าง ๆ 4 ระดับ รวม 12 ดวง

    4. โลกกุตตรภูมิ จิตที่พัฒนาขั้นสูงสุด พ้นจากความทุกข์ ความเศร้าโศก ในระดับต่าง ๆ รวม 8 หรือ 40 ดวง
    มีอำนาจพิเศษคือหยุดการเวียนว่ายตายเกิด





    1. กามาวจรจิต เป็นภูมิของจิตที่ รับรู้กามคุณ 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จัดว่าเป็นจิตที่อยู่ในภูมิระดับต่ำ รับอารมณ์ได้มากมาย กระจัดกระจาย มีทั้งฝ่ายดี
    และฝ่ายไม่ดี จิตในชั้นกามาวจรนี้มี 54 ดวง






    2. รูปาวจรภูมิ เป็นภูมิที่รองรับจิตที่อีกทีหนึ่ง เป็นจิตฝ่ายดีฝ่ายเดียว สำหรับบุคคลผู้เบื่อหน่าย เห็นโทษแห่งกามคุณอารมณ์ จึงพัฒนาจิตที่เรียกว่า สมาธิและฌานขึ้น โดยอาศัยภาพลักษณ์หรือสร้างรูปวัตถุบางอย่างมาเป็นอารมณ์ให้จิต (แทนกามคุณอารมณ์) รับรู้แต่เพียงอารมณ์เดียวที่สร้างขึ้น เกิดความแนบแน่นมีพลัง เป็นพลังจิต ที่สงบนิ่งในระดับต่าง ๆ 5 ระดับ มี 15 ดวง





    3. อรูปาวจรภูมิ เป็นภูมิของจิตที่พัฒนาสูงกว่าชั้นรูปาวจร เป็นพลังจิต ฝ่ายดีฝ่ายเดียว เนื่องจากเห็นโทษของรูปวัตถุว่าหยาบกว่า มีความเข้าใจว่าความทุกข์ต่าง ๆ มีขึ้นได้เพราะมีรูป จึงพอใจที่จะพัฒนาจิตที่ละเอียดขึ้น


    โดยการเพิกรูปวัตถุที่เคยได้มาแล้ว ใช้จิตเพ่งอารมณ์ที่เป็นนามธรรมหรือเพ่งความว่างเปล่าแทน เกิดความแนบแน่นที่ละเอียดขึ้นในระดับต่าง ๆ 4 ระดับ มีอำนาจจิตพิเศษเหนือบุคคลทั่วไป แสดงฤทธิ์ได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น อรูปาวจรจิตมี 12 ดวง







    4. โลกุตตรภูมิ เป็นภูมิของจิตที่พัฒนาชั้นสูงสุด รับพระนิพพานเป็นอารมณ์ พ้นจากความพินาศทั้งปวง
    โลกุตตรจิตมี 8 หรือ 40 ดวง ได้แก่
    มรรคจิต 4 หรือ 20
    ผลจิต 4 หรือ 20


    สำหรับโลกุตตรจิตนั้น ความทุกข์ ความเศร้าโศก ไม่อาจเกิดขึ้นมาได้อีก มีอำนาจจิต พลังจิตพิเศษในการหยุดการเวียนว่ายตายเกิด (วัฏฏสงสาร) ของตนเองได้ในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์

    จิตถึงแม้จะพัฒนาจนเกิดอำนาจพิเศษใด ๆ ก็แล้วแต่ หากยังไม่พัฒนาจนถึงโลกุตตรจิตแล้ว ก็ยังต้องตาย-เกิดในภพภูมิทั้ง 31 ภูมิอยู่นั่นเอง


    ในจิตทั้ง 4 ชาติ กลุ่มอกุศลชาติ จัดอยู่ในภูมิระดับต่ำ คือ กามาวจรภูมิเท่านั้น อกุศลเป็นต้นเหตุของวัฏฏะสงสาร จึงเป็นจิตที่ควรละ ไม่ควรเจริญอีกต่อไป การเจริญกรรมฐานที่ถูกต้องเป็นการละอกุศลกลุ่มนี้โดยตรง ขณะที่ละอกุศลเหล่านี้ได้ ขณะนั้นเป็นการเจริญกุศลไปในตัว
    กลุ่มกุศลชาติ มีทั้งกุศลชั้นต่ำในกามาวจร จนถึงกุศลชั้นสูง คือ โลกุตตรกุศล ดังนั้น กลุ่มกุศลชาติจึงเป็นกลุ่มที่สามารถเจริญและพัฒนาจากระดับต่ำให้สูงขึ้นได้
    กลุ่มของวิบากชาติ เปรียบเป็นผลที่สุกงอมแล้ว จึงไม่ใช่สิ่งที่ควรละหรือควรเจริญ
    ส่วนกลุ่มกิริยาชาติ เป็นจิตที่เจริญสูงสุดของพระอรหันต์ ไม่มีโอกาสตกต่ำแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเจริญอีก จะทรงสภาวอยู่จนพระอรหันต์ท่านนั้นปรินิพพาน ไม่เกิดในภพภูมิใด ๆ อีก

    พลังทางจิตโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจาก จิตที่มีเหตุ (มีจำนวน 71 ดวง) เหตุในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง เหตุ 6 ชนิด แบ่งเป็น
    กุศลเหตุ 3 (อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ) และอกุศลเหตุ 3 (โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุ) ทั้งนี้ขึ้นกับเจตสิก 6 ชนิดที่ประกอบกับจิต ได้แก่ อโลภะเจตสิก อโทสะเจตสิก อโมหะเจตสิก (ปัญญาเจตสิก) โลภะเจตสิก โทสะเจตสิก และโมหะเจตสิก เหตุทั้ง 6 เป็นเงื่อนไขสำคัญพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทำแล้วมีพลังงานที่สามารถส่งผลในอนาคตได้
    อกุศลเหตุเป็นที่มาของชีวิตที่ต้องตกไปอยู่ในที่ที่มีแต่ความลำบาก อดอยาก เร่าร้อน จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
    ส่วนกุศลเหตุเป็นที่มาของชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ได้รับความสะดวกเป็นส่วนมาก
    กุศลเหตุจึงเป็นสิ่งที่ควรเจริญเพราะทุกชีวิตต้องการความสุข

    มีจิตอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยเหตุทั้ง 6 ข้างต้น แต่อาศัยเหตุปัจจัยบางอย่างที่พร้อมมูล (อุปัติเหตุ) จึงเกิดขึ้นได้ จิตกลุ่มนั้นได้แก่ อเหตุกจิตมี 18 ดวง ว่าโดยชาติหรือการเกิดแล้ว อเหตุกจิตมี 2 ชาติ คือ วิบากชาติ และกิริยาชาติ


    ในวิบากชาติแบ่งเป็น
    อกุศลวิบากมี 7 ดวง (แถวบนแนวนอน 7 ดวง)
    อเหตุกกุศลวิบาก 8 ดวง (แนวนอนแถวที่ 2)

    ส่วนกิริยาชาติมี 3 ดวง คือ อเหตุกกิริยาจิต 3





    ดังได้กล่าวแล้วว่า วิบากจิตเป็นเพียงผลมาจากเหตุในอดีต อกุศลวิบากมาจากอกุศลเหตุ กุศลวิบากมาจากเหตุของกุศล ในอดีตทุกชีวิตเคยกระทำทั้งเหตุของอกุศลและกุศลมาแล้ว เราไม่อาจเปลี่ยนการกระทำในอดีตได้ ดังนั้น จึงต้องรับผล (วิบาก) ทั้งผลของอกุศล (อกุศลวิบาก) และผลของกุศล (กุศลวิบาก) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่ตลอดเวลา

    และโดยส่วนมากของชีวิตประจำวันจะเป็นอกุศลวิบาก มากกว่ากุศลวิบาก เช่น ในวันหนึ่ง ๆ เราจะรู้สึกสบายใจ ปลอดโปร่งใจน้อยมาก การรับกระทบไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ฯลฯ ส่วนใหญ่ทำให้จิตใจเร่าร้อน หดหู่ เศร้าหมอง กับปัญหาต่าง ๆ มากมายมากกว่า จนกระทั่งถึงเวลานอนหลับ ไม่ต้องรับรู้ปัญหาดังกล่าว ความเร่าร้อนจึงลดระดับลงบ้าง

    อเหตุกจิต 18



    วิบากจิตในกลุ่มอเหตุกจิต 18 ที่สำคัญ คือ
    ทวิปัญจวิญญาณ 10 ดวง แบ่งเป็น

    จักขุวิญญาณจิต 2 (แถวบน 1 ดวง แถวล่าง 1 ดวง)
    โสตวิญญาณจิต 2
    ฆานวิญญาณจิต 2
    ชิวหาวิญญาณจิต 2
    กายวิญญาณจิต 2




    เหตุที่มีอย่างละ 2 เช่นจักขุวิญญาณจิต ก็เพราะว่าสิ่งที่เห็นนั้นอาจเป็นผลของกุศล เช่น โบสถ์ วิหาร สิ่งของสวยงาม บุคคลที่เรารัก สิ่งเหล่านี้เมื่อเห็นแล้วเกิดความพอใจ จักขุวิญญาณที่ทำหน้าที่เห็นนั้นจัดเป็นวิบากจิต ที่เป็นผลจากกุศล

    การได้เกิดเป็นมนุษย์
    เป็นผลของกุศล




    ความตายเป็น
    ผลของอกุศล
    ตัดรอนให้ชีวิตล่วงไป

    แต่บางครั้งสิ่งที่เห็นหรือได้ยินไม่ทำให้เกิดความพอใจสบายใจ มีความเศร้าหมอง เร่าร้อน จัดเป็นผลของอกุศล เช่น เห็นสุนัขตายข้างถนน ไฟไหม้ น้ำท่วมทรัพย์สินเสียหาย หรือได้ยินเสียงทะเลาะวิวาทเป็นต้น เป็นการเห็นในสิ่งที่ไม่น่าพอใจ

    จิตที่ทำหน้าที่เห็นหรือได้ยิน ก็จะเป็นจักขุวิญญาณกุศลวิบาก หรือโสตวิญญาณอกุศลวิบาก เมื่ออารมณ์ต่างกันจิตที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์จึงไม่ใช่จิตดวงเดียวกัน ต้องเป็นจิตคนละดวง

    สัมปฏิจฉนะจิต 2 ( สํ ) ที่ทำหน้าที่รับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ
    สันตีรณจิต 3 ( ณ ) ที่ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ต่อจากสัมปฏิจฉนะ

    จิตก็ทำนองเดียวกัน คือ เมื่ออารมณ์กุศลมากระทบ ปัญจวิญญาณฝ่ายกุศลจะทำหน้าที่รู้อารมณ์กุศลนั้น สัมปฏิจฉนะจิตฝ่ายกุศลจะรับอารมณ์ที่เป็นกุศลนั้น สันตีรณจิตฝ่ายกุศลก็จะพิจารณาเฉพาะอารมณ์กุศล จิตที่รับและพิจารณาอารมณ์ต้องเป็นฝ่ายเดียวกัน สัมปฏิจฉนะจิตฝ่ายกุศลจะไปรับอารมณ์ฝ่ายอกุศลไม่ได้

    ในแต่ละวันไม่มีใครสามารถเลือกรับแต่อารมณ์ที่ดีอย่างเดียว ปฏิเสธอารมณ์ที่ไม่ดีว่าอย่าเกิดขึ้นกับตนเลย เป็นต้น เมื่อรับกระทบอารมณ์แล้ว จิตแต่ละดวงก็จะทำหน้าที่ของตน ผ่านทาง วิถีจิต







    การเรียนรู้กฎเกณฑ์แห่งวิบากจิตนี้ เพื่อการยอมรับข้อจำกัดบางอย่างของจิตและอารมณ์ว่า ไม่สามารถเป็นไปตามความต้องการได้เสมอไป ความต้องการของมนุษย์มีอยู่ไม่จำกัด แต่โอกาสเป็นไปได้สมความปรารถนามีไม่ถึง 5%

    เมื่อเราเลือกรับวิบากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจไม่ได้ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงมุ่งสังเกตการกระทบกันของจิตและอารมณ์ทางปัญจวิญญาณ โดยมีสติคอยระวังไม่ให้อภิชฌาหรือโทมนัสเข้ามีส่วนในการตีความ กลไกของจิตและอารมณ์ยังคงทำงานของตนอย่างสม่ำเสมอ แต่ความดิ้นรน เร่าร้อนใจจะได้รับการพิจารณาใหม่ด้วยสติ และเป็นที่มาของความยับยั้งชั่งใจแทน

    จิตทั้ง 89 หรือ 121 ดวง จะมีหน้าที่ ของตนเอง หน้าที่ของจิตมี 14 อย่าง เรียกว่า
    กิจ 14 (บุญมี เมธรางกูร และ วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี 2530 : 25-28) บางดวงทำหน้าที่ได้อย่างเดียว บางดวงทำหน้าที่ได้หลายอย่าง จิตจึงเกิดขึ้นอย่างมีความหมายเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อหมดหน้าที่จิตนั้นก็ดับลง และส่งอำนาจให้จิตดวงต่อไปทำหน้าที่ต่อจากตน ในวิถีจิต เช่น โสตวิญญาณ เกิดขึ้นทำหน้าที่ได้ยินเสียง หมดหน้าที่แล้วดับลง การดับลงของโสตวิญญาณเป็นปัจจัยให้จิตอีกดวง คือ สัมปฏิจฉนจิตเกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเสียงนั้นต่อไป เป็นต้น




    วิถีทางดำเนินของจิตชนิดต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ได้ยินเสียง พิจารณาเสียง ตีความ และให้ความหมายต่อเสียงนั้น เป็นจิตคนละดวงที่เกิดขึ้นตามลำดับไม่ก้าวก่ายกัน กล่าวคือ
    โสตวิญญาณจะไปทำหน้าที่เห็นเสียง หรือพิจารณา หรือตีความ แทนจิตดวงอื่นก็ไม่ได้ เป็นต้น



    แนวคิดเรื่องจิตที่มากไปด้วยจำนวน มากไปด้วยกิจ และมากไปด้วยอารมณ์นี้ แสดงถึงความไม่เที่ยงของจิตว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นครั้งหนึ่งต้องรู้อารมณ์ (รูป เสียง ...) อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เมื่ออารมณ์นั้นดับไป จิตที่รู้จำเป็นต้องดับลงด้วย

    การดับไปนั้นมีผลให้เกิดจิตดวงใหม่ เพื่อรู้อารมณ์ใหม่ อารมณ์เป็นธรรมชาติที่ไหลเรื่อยไปไม่หยุดนิ่ง ผันแปรไปตามทวารต่าง ๆ (ตา หู ...) จึงต้องมีจิตที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน เพื่อรับอารมณ์ที่หลากหลายนั้น ในขณะที่รูปเกิดขึ้นเพราะสมุฏฐานของ กรรม จิต อุตุ อาหาร จิตจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสภาวธรรม (สมุฏฐาน) 3 อย่าง คือ
    1. อดีตกรรม 2. วัตถุรูป (อายตนะภายในและภายนอก) 3. อารมณ์



    หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จิตก็ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้

    กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มีผู้ใดลิขิตขึ้น พระพุทธองค์เองก็มิได้เสกสรรขึ้นมาเอง แต่เป็นผลจากพระสัพพัญญุตาญาณของพระพุทธองค์ ที่ทรงหยั่งรู้เข้าไปถึงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว และนำมาเปิดเผย ถึงเหตุที่ทำให้ธรรมชาติใด ๆ เกิดขึ้น พร้อมกับตอบคำถามว่า เหตุใดธรรมชาติเหล่านั้นจึงตั้งอยู่ไม่ได้

    เท่าที่กล่าวมาในแง่ของเครื่องหมาย ตำแหน่ง การแบ่งประเภท และหน้าที่ เป็นเพียงตัวอย่างพอสังเขปในการศึกษาตัวจิตโดยตรง จิตในกลุ่มอื่น ๆ ที่เหลือก็มีแนวคิดคล้ายกับที่กล่าวมาแล้ว และยังมีแง่มุมที่ลึกละเอียดอีกมากมาย เช่น การแบ่งประเภท โดยการประกอบ (สัมปโยค) โดยสังขาร โดยโสภณ ฯลฯ แต่ของดกล่าวในที่นี้

    โดยสรุปแล้ว การที่จิตมีจำนวนมากถึง 89 หรือ 121 ดวง แต่ละดวงมีลักษณะประจำตัวตามภูมิของตน มีเงื่อนไขของการเข้าประกอบ มีเงื่อนไขของการรับอารมณ์ และมีหน้าที่เฉพาะของตน

    สิ่งเหล่านี้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ สภาวธรรมของจิตว่า จิตไม่ได้เกิดขึ้นเอง หรือล่องลอยไปมา หรือผุดขึ้นโดยไม่มีจุดหมาย แต่เกิดขึ้นอย่างมีปัจจัยรองรับ ปัจจัยนั้นได้แก่ อารมณ์ทั้ง 6 เป็นต้น จิตไม่เคยว่างจากอารมณ์ แต่อยู่เบื้องหลังการแสดงออกทางความคิดและพฤติกรรมทุกอย่าง สามารถฝึกฝนอบรมจิต ให้สันทัดขึ้นได้ทั้งในทางดีและทางชั่ว

    ในทางดีสามารถพัฒนาจนถึงโลกุตตรจิตได้ ส่วนความสันทัดในทางชั่ว เป็นการวนเวียนอยู่เฉพาะในกลุ่มอกุศล ทั้ง 12 ดวง เนื่องจากจิตบางกลุ่มเป็นธรรมชาติที่พัฒนาได้ พระพุทธองค์จึงเสนอวิธีการทางวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อการฝึกฝนและพัฒนาดังกล่าว
     
  15. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    แนวคิดเรื่องเจตสิกในพระอภิธรรม


    เจตสิก คือสิ่งที่ประกอบกับจิตได้ เป็นธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด การที่อาศัยจิตเกิดขึ้นนี้ ไม่เหมือนกับต้นไม้ ที่อาศัยพื้นแผ่นดินเกิด เพราะพื้นแผ่นดินกับต้นไม้นั้น พื้นแผ่นดินเป็นฐานรองรับ และต้นไม้ตั้งอยู่บนพื้นแผ่นดินที่รองรับนั้น ซึ่งพื้นแผ่นดินจะต้องปรากฏขึ้นก่อน เพื่อเป็นฐานรองรับให้ต้นไม้เกิดภายหลัง และการเกิดขึ้นของต้นไม้นั้นก็เป็นคนละส่วนกับพื้นแผ่นดิน คือต้นไม้ตั้งอยู่บนพื้นแผ่นดิน
    เจตสิกที่อาศัยจิตนั้น มีสภาพเหมือนอาจารย์กับศิษย์ คือ ทั้งอาจารย์และศิษย์ปรากฏขึ้นพร้อมกัน เมื่อมีอาจารย์ก็ต้องมีศิษย์ หรือมีศิษย์ก็ต้องมีอาจารย์ ถ้าเว้นอาจารย์เสียแล้ว ศิษย์ย่อมมีไม่ได้ หรือถ้าเว้นศิษย์เสียแล้ว อาจารย์ก็ย่อมมีไม่ได้เช่นเดียวกัน



    1. ความหมายของเจตสิก
    เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ (ขุนสรรพกิจโกศล 2510 : 2-3) อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ
    1. เกิดพร้อมกับจิต 2. ดับพร้อมกับจิต 3. มีอารมณ์เดียวกับจิต 4. อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

    จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้

    1. ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
    2. กิจการงานของเจตสิกคือ เกิดร่วมกับจิต
    3. ผลงานของเจตสิกคือ รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต
    4. เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ การเกิดขึ้นของจิต



    เจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ให้จิตมีพฤติกรรมเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด ไม่ว่าจะเป็นความพอใจ ความไม่พอใจ ความรัก ความเกลียด ความสงบ หรือฟุ้งซ่าน ล้วนเป็นคุณสมบัติของเจตสิกทั้งสิ้น แต่เจตสิกเกิดขึ้นเอง และแสดงพฤติกรรมเองไม่ได้ ต้องอาศัยจิตเป็นตัวแสดงพฤติกรรมแทน
    จึงกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของเจตสิกนั้น เกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ หรือธรรมชาติ ที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์ ชื่อว่า เจตสิก

    การที่ต้องแบ่งจิตออกไปมากมายนั้น เพราะเจตสิกที่ประกอบจิต มีประเภทต่าง ๆ กัน จิตสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยการเข้าไปรับรู้โลกเป็นอารมณ์ แต่การรับรู้นั้นต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นตัวกระทบอารมณ์ครั้งแรก(ผัสสะเจตสิก) เป็นต้น และเจตสิกอื่น ๆ ก็จะร่วมปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในอาการต่างๆ
    การปรุงแต่งของเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ทำให้จิตมีความสามารถในการรู้อารมณ์พิเศษแตกต่างกันออกไป เช่น รู้เรื่องของกามคุณอารมณ์ เรื่องของรูปฌาน อรูปฌาน จนถึงรู้นิพพานอารมณ์

    ที่กล่าวว่าเจตสิก คือ กลุ่มนามธรรมที่เกิดในจิต โดยเป็นไปเนื่องกับจิตหมายถึง กลุ่มธรรมอันมีผัสสะเป็นต้นนั้น มีความเป็นไปของกลุ่มธรรม ที่คล้ายเป็นอันเดียวกับจิต ด้วยลักษณะมีการเกิดขณะเดียวกับจิตนั่นเอง ข้อความนี้แสดงว่า เหมือนดั่งดอกไม้ ที่เนื่องอยู่ในขั้วเดียวกัน ในช่อดอกไม้ช่อหนึ่ง



    สภาพธรรม คือเจตสิก มีใจเป็นผู้นำ มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
    หมายความว่า ผัสสะ เป็นต้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีจิต แต่จิตเป็นไปได้ แม้จะไม่มีเจตสิกบางดวงเกิดร่วม เช่น กลุ่มปัญจวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีวิตกเจตสิกร่วมด้วย เป็นต้น จึงควรกล่าวว่า เจตสิกเนื่องกับจิต แต่ไม่ควรกล่าวว่าจิตเนื่องกับเจตสิก
    พระบาลีว่า “ สำเร็จด้วยใจ” หมายความว่า ถูกจิตกระทำให้สำเร็จ กล่าวคือ เป็นอาการของจิต

    2. ประเภทของเจตสิก
    เจตสิกมีลักษณะที่แตกต่างกัน รวม 52 ลักษณะ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ (จากแผนผังเรื่องเจตสิก)

    1 2 3 4
    2.1 อัญญสมานาเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายกลาง ๆ ที่สามารถเข้าประกอบกับจิตได้ ทั้งกลุ่มกุศลจิต กลุ่มอกุศลจิต และกลุ่มจิตที่ไม่ใช่กุศล / อกุศล (อัพยากตะจิต)
    อัญญสมานาเจตสิกมี 13 ดวง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม(แถว) ได้แก่
    1. กลุ่มเจตสิกแถวบน 7 ดวง เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตทั่วไปทุกดวง (89 หรือ121ดวง) เจตสิกกลุ่มนี้เวลาเข้าประกอบ จะเข้าพร้อมกันทั้ง 7 ดวง แยกจากกันไม่ได้ จึงเรียกเจตสิกกลุ่มนี้ว่า สัพพสาธารณะเจตสิก 7
    2. กลุ่มเจตสิกแถวล่าง 6 ดวง เป็นกลุ่มเจตสิกที่เข้าประกอบได้กับจิตทั่วไปเช่นกัน แต่เวลาเข้า ประกอบ จะเข้าไม่พร้อมกันก็ได้ แยกกันประกอบได้ เจตสิกกลุ่มนี้เรียกว่า ปกิณณกะเจตสิก 6

    2.2 อกุศลเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายอกุศล เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตที่เป็นอกุศลเท่านั้น กลุ่มอกุศลจิต มี 14 ดวง แบ่งเป็น 5 กลุ่ม(แถว) ความหมายของแต่ละดวง จะกล่าวในบทต่อไป ในที่นี้จะแสดงเพียงชื่อของกลุ่ม และเจตสิกในกลุ่มก่อน กล่าวคือ
    1. กลุ่มโมหะเจตสิก 4 ดวง(โมจตุกะ 4) ได้แก่ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
    2. กลุ่มโลภะเจตสิก 3 ดวง(โลติกะ3) ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ มานะ
    3. กลุ่มโทสะเจตสิก 4 ดวง(โทจตุกะ 4) ได้แก่ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ
    4. กลุ่มที่ทำให้หดหู่ ท้อถอย(ถีทุกะ2) ได้แก่ ถีนะเจตสิก มิทะเจตสิก
    5. กลุ่มความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา1) ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก (มีเพียง 1 ดวง)

    2.3 โสภณเจตสิก หมายถึง กลุ่มเจตสิกฝ่ายดีงาม เป็นกลุ่มที่ประกอบได้กับโสภณจิต (ยกเว้นกลุ่มอกุศลจิต และกลุ่มอเหตุกจิตแล้ว จิตที่เหลือชื่อว่าโสภณะจิต) โสภณเจตสิกมี 25 ดวง แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้
    1. โสภณสาธารณะเจตสิก 19 ได้แก่ สัทธา สติ หิริ โอตัปปะ..... เป็นต้น
    2. วิรตีเจตสิก 3 ได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตะเจตสิก สัมมาอาชีวะเจตสิก
    3. อัปมัญญาเจตสิก 2 ได้แก่ กรุณาเจตสิก มุฑิตาเจตสิก
    4. ปัญญาเจตสิก 1 ได้แก่ ปัญญาเจตสิก หรือปัญญินทรีย์เจตสิก

    การที่จิตและเจตสิกจะประกอบกันได้จำต้องมีคุณสมบัติที่คล้ายกัน จึงอยู่ในที่เดียวกันได้ เช่น โลภะเจตสิก จะต้องประกอบได้กับโลภะมูลจิตเท่านั้น เมื่อประกอบกันแล้วโลภะจิตดวงนี้จึงจะสามารถแสดงอำนาจความอยากได้ออกมา โทสะเจตสิกก็ต้องประกอบกับโทสะมูลจิตเท่านั้น โทสะเจตสิกจะ ประกอบกับโลภะจิตไม่ได้ เพราะเป็นสภาพธรรมที่ตรงข้ามกัน คือ โลภะเจตสิกมีสภาพติดใจในอารมณ์ ส่วนโทสะเจตสิกมีสภาพประทุษร้ายทำลายอารมณ์ จึงเข้ากันไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน เจตสิกฝ่ายอกุศล ก็จะเข้ากับโสภณเจตสิกก็ไม่ได้เช่นกัน


    กล่าวโดยสรุป ธรรมชาติของเจตสิกนั้นเกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ เมื่อประกอบแล้ว ทำให้จิตเป็นบุญ(กุศล) หรือเป็นบาป(อกุศล) ตามการเข้าประกอบ เจตสิกแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ เจตสิกฝ่ายกลาง เข้าได้กับจิตทุกกลุ่ม เรียกว่า อัญญสมานาเจตสิก มี 13 ดวง กลุ่มที่ 2 คือ เจตสิกฝ่ายอกุศลได้แก่ อกุศลเจตสิกมี 14 ดวง เข้าได้กับ กลุ่มอกุศลจิตเท่านั้น กลุ่มสุดท้ายคือเจตสิกฝ่ายดีงาม เข้าได้กับกลุ่มโสภณจิตเท่านั้น โสภณเจตสิกมี 25 ดวง
     
  16. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    แนวคิดเกี่ยวกับรูป

    ชีวิตต้องมีทั้งกายและจิต กายเป็นสภาพที่มองเห็นได้ สัมผัสได้ มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป และแบบเฉียบพลัน เช่น จากผิวเด็กที่เต่งตึง แปรสภาพไปสู่ความเหี่ยวย่นเมื่อถึงวัยชราเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่รู้ตัวค่อย ๆ เปลี่ยนไป แต่ถ้าถูกน้ำร้อน หรือถูกไฟไหม้หรือถูกแสงแดดมากเกินไป ก็จะเห็นความเสื่อมสลายได้ในทันที กายอย่างเดียวเป็นสิ่งที่รับรู้ความดี ความชั่ว ความสุข ความเจ็บปวดทรมานไม่ได้ เช่น คนตาย กายไม่มีการเคลื่อนไหว ถึงจะถูกน้ำร้อน หรือไฟไหม้ ก็ไม่มีความรู้สึกสะทกสะท้านแต่อย่างใด กายในภาษาธรรมเรียกว่า รูป อาการของกาย ก็คือ อาการของรูป กายนั่ง จึงหมายถึง รูปนั่ง รูปเป็นธรรมชาติที่ย่อมแตกสลายไปด้วยอำนาจของความร้อนและเย็น และรูปเป็นสิ่งที่รับรู้อารมณ์ใด ๆ ไม่ได้



    ดังนั้น จึงต้องมีสภาวธรรมอีกชนิดหนึ่ง เป็นตัวรับรู้ความดี ความชั่ว ความสุข ความเจ็บปวดทรงมานดังกล่าว ตัวรับรู้นั้นคือ จิต ซึ่งเป็นสภาวธรรมที่มองไม่เห็น ไม่มีรูปร่าง แต่รู้อารมณ์ได้ สภาพที่น้อมไปสู่อารมณ์ในภาษาธรรม เรียกว่า นาม จิตจึงเป็นนามชนิดหนึ่ง (นอกจากจิตแล้ว เจตสิกและนิพพานก็เป็นนามเช่นกัน) สิ่งที่เรียกว่าอารมณ์มี ๖ ชนิด คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง และความนึกคิด จิตอาศัยรู้อารมณ์เหล่านี้ทางระบบประสาทของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำหรับคนที่ตายแล้วระบบประสาททั้งหมดทั่วร่างกายไม่ทำงาน เมื่อจิตไม่มีที่อาศัยเกิด จึงไม่มีการรับรู้อารมณ์ใด ๆ อีก ความสำคัญของจิตหรือนามจะกล่าวถึงอีกครั้งหนึ่งในโอกาสต่อไป

    ที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อแสดงถึงความหมายของรูปและนาม ตามความเข้าใจของคนทั่วไป และตามหลักทางธรรม ในที่นี้จะเสนอแนวคิดเรื่องรูปปรมัตถ์ด้วยวิธีการของอภิธรรมก่อน กล่าวคือ สิ่งที่เรียกว่า รูปธรรม มีลักขณาทิจตุกะ (บุญมี เมธางกูร และ วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี ๒๕๓๐ : ๒) ดังนี้

    รุปปน ลกฺขณํ มีการสลายไปแปรปรวนไป เป็นลักษณะ

    วิกิรณ รสํ มีการแยกออกจากกัน (กับจิต) ได้ เป็นกิจ

    อพฺยากต ปจฺจุปฏฺฺฐานํ มีความเป็นอพยากตธรรม (คือ ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล)
    เป็นอาการปรากฏ

    วิญฺญาณ ปทฏฺฺฐานํ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้ให้เกิด



    ในขณะที่ความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ศึกษาถึงส่วนประกอบตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบเนื้อเยื่อ ระบบผิวหนัง ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ หรือระบบประสาท โดยศึกษาว่าแต่ละระบบมีส่วนประกอบสำคัญอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีหน้าที่พิเศษอย่างไรในการรักษาสมดุลของร่างกาย



    การศึกษาเรื่องรูปในทางพุทธศาสนาก็ศึกษาถึงส่วนประกอบหน้าที่การทำงานและความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนเช่นกัน โดยวิเคราะห์ไปถึงเหตุ ปัจจัย ที่ทำให้แต่ละส่วนสามารถรักษาโครงสร้างของตนเองอยู่ได้ แต่ศึกษาในลักษณะที่เป็นสภาวะของรูปปรมัตถ์ซึ่งมีความละเอียดเล็กมาก รูปปรมัตถ์ทางพระพุทธศาสนามีทั้งหมด ๒๘ รูป ดังแผนผังเรื่องรูปต่อไปนี้ (พระมหาแสวง โชติปาโล ๒๕๓๕ : ๙๖ - ๙๙)


    แผนผังรูป ๒๘



    รูปสมุทเทสนัย



    จาก ๒๘ รูป แบ่งเป็นหมวดได้ ๗ หมวด คือ




    เหตุที่แบ่งรูปเป็น ๗ หมวดนั้น เป็นการแบ่งตามสมุฏฐาน หรือ เหตุที่ทำให้รูปเกิดขึ้น
    รูปทุกรูปจะเกิดขึ้นเองตามลำพังไม่ได้ต้องมีสมุฏฐานให้เกิด เหตุที่ทำให้รูปเกิดขึ้นได้มี ๔ อย่าง คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร

    นอกจากสมุฏฐานทั้ง ๔ แล้ว ไม่มีสิ่งใดทำให้เกิดรูปได้ รูปแต่ละหมวดจะมีสมุฏฐานการเกิดไม่เท่ากัน เช่น









    - หมวดอวินิพโภครูป ๘ มีสมุฏฐาน ๔ คือ เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร

    - วิการรูป ๓ เป็นรูปที่แสดงความเบา ความอ่อน ความควรที่การงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดจากสมุฏฐาน ๓ คือ จิต อุตุ อาหาร

    - สัททรูป ๑ คือ สัททารมณ์ หรือเสียง จะเกิดขึ้นได้ต้องมีสมุฏฐาน ๒ คือ เกิดจาก จิต และอุตุ

    - เอกันตกัมมชรูป ๙ มีสมุฏฐานเพียง ๑ คือ เกิดจากอำนาจกรรมโดยตรง

    - วิญญัติรูป ๒ เป็นรูปที่แสดงการเคลื่อนไหวทางกายและการพูด มีสมุฏฐานเพียง ๑ เช่นกัน แต่เกิดจากจิตที่นึกคิด จะทำหรือจะพูดไม่ได้เกิดจากกรรม

    - ลักษณรูป ๔ เป็นรูปที่แสดงถึงความเกิดและเสื่อมไปของรูปแต่ละรูป จึงไม่มีสมุฏฐานของตนเองโดยเฉพาะ

    - ปริจเฉทรูป ๑ คือ ช่องว่างระหว่างรูปแต่ละรูป ทำให้รูปแยกเป็นส่วน ๆ ได้ จึงมี
    สมุฏฐานอ้างอิงตามรูปที่ตนประกอบ คือ มีได้ทั้ง ๔ สมุฏฐาน (กรรม จิต อุตุ อาหาร)





    นอกจากแบ่งตามสมุฏฐานแล้ว ในรูป ๒๘ มีทั้งส่วนที่เป็นรูปปรมัตถ์แท้และส่วนที่ไม่ใช่รูปปรมัตถ์แท้ รูปปรมัตถ์แท้ คือ รูปที่มีสภาวลักษณประจำตัวเฉพาะของตนแน่นอน มีทั้งหมด ๑๘ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป๘ สัททรูป ๑ เอกันตกัมมชรูป ๙



    ส่วนที่เหลืออีก ๑๐ รูป คือ วิการรูป ๓ วิญญัติรูป ๒ ลักษณรูป ๔ ปริจเฉทรูป ๑ ทั้ง ๑๐ รูป ไม่ใช่รูปปรมัตถ์แท้ เพียงแต่เป็นรูปพิเศษที่เกิดขึ้นเพื่อแสดงอาการเคลื่อนไหวของรูปปรมัตถ์แท้เท่านั้น ไม่มีสภาวะลักษณะประจำของตน รูปที่ไมใช่รูปปรมัตถ์แท้ เช่น ความเบา ความอ่อน ความควรแก่การงาน ในการเคลื่อนไหวร่างกาย การพูด เป็นต้น รูปเหล่านี้จะเปลี่ยนไปได้ตามความนึกคิดที่จะเปลี่ยน ส่วนลักษณะความเกิดขึ้น สืบต่อ ความเสื่อมสลาย และช่องว่างระหว่างรูปก็เป็นเพียงความเปลี่ยนแปลงไปตามอายุของแต่ละรูป จึงไม่มีลักษณะเฉพาะของตน ในเนื้อเยื่อร่างกายของคนเราจะมีรูปได้มากที่สุด ๒๗ รูป กล่าวคือ ถ้าเป็นหญิงก็ต้องยกเว้นไป ๑ รูป ที่แสดงลักษณะเพศชาย (ปุริสะภาวะ) ถ้าเป็นชายก็จะยกเว้น 1 รูปที่แสดงลักษณะของหญิง (อิตถีภาวะ) ถ้าพิการ เช่น ประสาทตาหรือหูพิการ จำนวนรูปก็จะลดลงอีก

    ในที่นี้จะกล่าวถึงรูปปรมัตถ์แท้เพียง ๒ กลุ่ม คือ อวินิพโภครูป ๘ และเอกันตกัมมชรูป ๙ ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของชีวิตในมนุษยภูมิ โดยเฉพาะกลุ่มเอกันตกัมมชรูป ๙ เป็นรูปที่เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมในอดีต เป็นตัวสร้างรูปเหล่านี้ขึ้น และเป็นที่มาของพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ส่วนสัททรูป (เสียง) เป็นรูปปรมัตถ์แท้ ซึ่งเกิดจากจิตและอุตุในปัจจุบันภพ ไม่ได้เกิดจากกรรมในอดีต จึงขอแยกและงดกล่าวถึงรายละเอียด องค์ประกอบพื้นฐานของรูปทุกชนิดต้องมีอย่างน้อย ๔ ธาตุ เป็นประธานของรูปอื่น ๆ เรียกว่า มหาภูตรูป ๔ ส่วนที่เหลืออีก ๒๔ รูป จะต้องอาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดเรียกว่า อุปาทายรูป ธาตุประธานหรือมหาภูตรูป ๔ นั้น ได้แก่





    ธาตุดิน มีลักษณะเด่น คือ ความแข็งหรือความอ่อน เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ อวัยวะทุกส่วน

    ธาตุน้ำ มีลักษณะเด่น คือ การไหลและเกาะกุม เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง ในเนื้อเยื่อทุกส่วนจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญ ทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ เกาะกลุ่มกันได้ ไม่กระจัดกระจายออกไป

    ธาตุไฟ มีลักษณะเด่น คือ ให้ความร้อนและพลังงาน ในการเผาผลาญอาหารใน
    ร่างกาย และยังทำให้ร่างกายแก่ชราทรุดโทรม เช่น ผมหงอก ฟันหัก เป็นต้น

    ธาตุลม มีลักษณะเด่น คือ ความเคร่งตึง เคลื่อนไหว เช่น ลมหายใจทำให้เกิดการกระเพื่อมของทรวงอก ตามไขข้อต่าง ๆ สามารถเหยียดยืดออกและหดงอเข้าได้ การเคลื่อนไหวทุกส่วนเกิดจากคุณสมบัติของธาตุลมนั่นเอง



    ภายในธาตุทั้ง ๔ แต่ละธาตุมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ๔ อย่าง คือ สี กลิ่น รส โอชะ เช่น
    ภายในธาตุดินเองจะมีทั้งสี กลิ่น รส โอชะ ประจำธาตุดินอยู่ ธาตุอื่น ๆ ก็เช่นกัน ดังนั้น
    องค์ประกอบพื้นฐานของรูปธรรมจึงมีอยู่ ๘ รูป ซึ่งแยกออกจากกันไม่ได้เลย คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชะ เรียกว่า อวินิพโภครูป ๘

    นอกจากกลุ่มอวินิพโภครูป ๘ แล้ว รูปปรมัตถ์แท้ที่สำคัญอีก ๙ รูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรมโดยตรง กัมมชรูปทั้ง ๙ นั้น ได้แก่

    ชีวิตรูป เป็นรูปอย่างหนึ่งเกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานแทรกอยู่ในทุกเนื้อเยื่อของร่างกาย มีหน้าที่รักษารูปที่เกิดพร้อมกับตนให้คงอยู่ และเป็นไปได้ตลอดอายุของรูปนั้น ๆ

    หทยวัตถุรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน ตั้งอยู่ภายในช่องเนื้อเยื่อหัวใจโตเท่าเมล็ดดอกบุนนาค เป็นที่อาศัยเกิดของจิต (จิตประเภทมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ) เพื่อการรู้ธรรมารมณ์

    ปสาทรูป ๕ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม ปสาทรูป หมายถึง รูปที่มีความใสเป็นที่อาศัยเกิดของจิตประเภทปัญจวิญญาณ รูปที่มีความใสนี้มีอยู่ 5 อย่าง คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป และกายปสาทรูป ตำแหน่ง รูปร่างสัญฐาน และการเรียงตัวของเนื้อเยื่อเฉพาะ ๆ ของรูปทั้ง ๕ ไม่เหมือนกัน ปสาทรูป ๕ จึงเป็นที่อาศัยเกิดของจิตได้เพียงบางดวง และไม่ก้าวก่ายกัน เช่น จักขุปสาทรูป เป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณเพื่อทำหน้าที่เห็นเท่านั้น ส่วนโสตปสาทรูปจะเหมาะสำหรับเป็นที่อาศัยเกิดของโสตวิญญาณเพื่อทำหน้าที่ได้ยินเท่านั้น จักขุวิญญาณจะไปอาศัยเกิดที่โสตปสาทรูป เพื่อทำหน้าที่เห็น หรือแม้แต่ทำหน้าที่ได้ยินก็ไม่ได้ ปสาทรูปอื่นก็เช่นเดียวกัน คือ เป็นที่อาศัยเกิดของจิตเฉพาะดวง โดยจิตนั้นมีความสามารถรับอารมณ์ได้เฉพาะอารมณ์ของตน ๆ ไม่ปะปนกัน

    ภาวรูป ๒ เป็นรูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน แสดงสภาพความเป็นหญิง (อิตถีภาวะ) เป็นชาย (ปุริสะภาวะ) ภาวรูปนี้จะแทรกอยู่ในทุกเนื้อเยื่อของ
    ร่างกายเช่นกัน การแสดงความเป็นหญิงหรือเป็นชายนั้นอาศัยเครื่องหมายที่แสดงออก 4 อย่าง คือ รูปร่าง ลักษณะเฉพาะ นิสัยใจคอ และกิริยาอาการ

    - รูปร่าง ได้แก่ อวัยวะต่าง ๆ แขนขา หน้าตา เพศ ที่ปรากฏแต่กำเนิด

    - ลักษณะเฉพาะ เช่น หนวด เครา หน้าอก

    - นิสัยใจคอ การละเล่น การกระทำ เช่น หญิงชอบเล่นตุ๊กตา ทำครัว ส่วนชายชอบซุกซน

    - กิริยาอาการ เดิน ยืน นั่ง นอน การพูด หญิงมีลักษณะเรียบร้อย เอียงอาย ชายจะว่องไว

    รูปปรมัตถ์แท้ทั้ง ๑๘ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ สัททรูป ๑ เอกันตกัมมัชรูป ๙
    นิปผันรูป ๑๘



    รูปแต่ละรูปจะแยกกันอยู่ตามลำพังไม่ได้ บรรดารูปธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นนั้นย่อมเกิดขึ้นเป็นกลุ่ม (กลาป) ในมนุษยภูมิมีได้ทั้งหมด ๗ กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีจำนวนรูปอยู่ ๑๐รูป โดยมีกลุ่มอวินิพโภครูป๘ และชีวิตรูป ๑ รวม ๙ รูป เป็นพื้นของทุกกลุ่ม ส่วนรูปที่ ๑๐ มาจากกัมมัชรูปที่เหลือ ๘ รูป อีกกลุ่มละ รูป เช่น





    กลุ่มของหทยวัตถุรูป จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป รวม ๕ กลุ่มนี้ มีที่ตั้งที่อาศัยเฉพาะที่ คือ ที่บริเวณหัวใจ ตา หู จมูก ลิ้น ตามลำดับ ส่วนอีก 3 กลุ่ม คือ กายปสาทรูป ๑ ภาวรูป ๒ (เพศหญิงและเพศชาย) จะมีที่ตั้งที่อาศัยอยู่ทั่วทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า

    กลุ่มรูปในร่างกายส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากกรรม กรรมในอดีตจะผันแปรเนื้อเยื่อ (เซลที่เกิดจากการผสมของไข่และสเปอร์ม) ให้เจริญเติบโตเป็นอวัยวะและระบบประสาททั่วร่างกาย กรรมดีจะช่วยอุดหนุนให้มีอวัยวะครบสมบูรณ์

    กรรมชั่วก็อุดหนุนได้เช่นกัน แต่อุดหนุนให้อวัยวะขาดตกบกพร่อง ร่างกายไม่สมประกอบซึ่งเป็นผลมาจากกรรมชนิดการฆ่าและการเบียดเบียนสัตว์ในอดีต เป็นต้น กลุ่มรูปนอกจากจะเกิดกรรมโดยตรงแล้ว จิต อุตุ อาหาร ก็ทำให้เกิดรูปได้เช่นเดียวกัน กล่าวโดยรวมแล้วรูปปรมัตถ์มีกรรมเป็นพื้นฐาน มีจิตเป็นตัวเร่งเร้ากำเนิดของชีวิต และความเป็นไปภายหลังการเกิด มีอุตุเป็นตัวสร้างพลังงานให้ชีวิตสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนอาหารช่วยหล่อเลี้ยงให้ชีวิตดำรงอยู่ได้

    ทั้ง ๔ สมุฏฐานทำงานร่วมกันอย่างมีเงื่อนไข เป็นสัดส่วนมากบ้างน้อยบ้าง เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็เพื่ออุปถัมภ์ให้ชีวิตทั้งรูปธรรมและนามธรรมตั้งอยู่ได้ในภพหนึ่ง ๆ ตามสมควรที่พึงจะอยู่ได้ มิใช่ตามความปรารถนาของตนเองหรือของใครทั้งสิ้น



    ดังได้กล่าวแล้วว่า รูปปรมัตถ์เกิดขึ้นเองไม่ได้ ต้องมีสมุฏฐานให้เกิด เมื่อเกิดแล้วจะอยู่ลำพังก็ไม่ได้ ต้องรวมกันเป็นกลุ่ม (กลาป) จึงจะทำหน้าที่ได้ ในมนุษยภูมิมีกลุ่มกลาปได้อย่างมาก ๗ กลุ่ม บางกลุ่มกระจายอยู่ทั่วทุกส่วนของร่างกาย เช่น กายปสาทรูป และกลุ่มภาวะรูป ๒ อีก ๕ กลุ่ม คือ หทยรูป จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป ฆานปสาทรูป จะรวมกันอยู่เฉพาะที่ เช่น กลุ่มหทยวัตถุรูป จะมีที่ตั้งอยู่ในเนื้อเยื่อหัวใจ กลุ่มจักขุปสาทรูปจะมีอยู่เฉพาะบริเวณจอรับภาพ (Retina) ของลูกตาทั้ง ๒ ข้างเท่านั้น กลุ่มโสตปสาทรูปก็จะมีอยู่เฉพาะบริเวณ Cochlea ในหูชั้นกลาง ๒ ข้างเท่านั้น เป็นต้น ใน ๗ กลุ่ม สามารถเป็นที่ตั้งที่อาศัยของจิตได้ ๖ กลุ่ม คือ หทยรูป ๑ และปสาทรูป ๕ จิตต้องอาศัยกลุ่มรูปทั้ง ๖ นี้ จึงจะแสดงความสามารถในการรู้อารมณ์ได้ หากรูปใดพิการหรือบกพร่อง เช่น ตาบอด การรับรู้อารมณ์ในส่วนนั้นก็บกพร่องไปด้วย คือ มองไม่เห็น



    ความสำคัญของรูป คือ การเรียนรู้ถึงกฎเกณฑ์การอิงอาศัยกันของรูปและนาม รูปเป็นที่ตั้งที่อาศัยของจิตเพื่อให้จิตทำงานได้ แนวคิดนี้เป็นประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน คือ แม้รูปทั้งหมดจะรู้อารมณ์ใด ๆ ไม่ได้เลย (การรู้เป็นหน้าที่ของจิต) แต่รูปก็เป็นอารมณ์แก่การเจริญสติปัฏฐานได้ รูปที่เป็นอารมณ์ในวิปัสสนาได้ต้องเป็นรูปปรมัตถ์แท้ (๑๘ รูป) เท่านั้น เพราะมีสภาวของตนและมีสามัญลักษณะของตน คือ เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป

    ในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน บรรพที่ให้พิจารณารูป เช่น การพิจารณาอิริยาบถ หรือการพิจารณากายโดยความเป็นธาตุ เป็นต้น การพิจารณาดังกล่าวเพื่อละสัญญาวิปลาสที่เคยจำผิดว่า รูปร่างเป็นส่วนที่งาม รับความสุข มีความเที่ยง เป็นบุคคลตัวตนและมีอำนาจบงการ ให้รู้ว่าเป็นเพียงโครงสร้างต่าง ๆ ที่เกาะเกี่ยวกันเพื่อทำหน้าที่ของตนอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
     
  17. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



    สภาพธรรมที่จำ ภาษาบาลี เรียกว่า "สัญญา"

    "สัญญา" เป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ.


    จิต รู้อารมณ์ เท่านั้น จิต ไม่จำ ในอารมณ์

    แต่ "สัญญาเจตสิก" ทำกิจ "จำหมายในอารมณ์ที่ปรากฏ"

    ขณะใด ที่จำได้...ขณะนั้น เป็น "สัญญาเจตสิก" ที่กระทำกิจ "จำ"

    เพราะฉะนั้น จงไม่ใช่ "ตัวตน" ที่จำได้.


    "เจตนาเจตสิก" หมายถึง "สภาพธรรมที่ตั้งใจ"

    เจตนาเจตสิก เป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ.


    มีเจตสิกอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดกับจิตทุกขณะ

    เช่น "อกุศลเจตสิก" ต้องเกิดร่วมกับ "อกุศลจิต" เท่านั้น

    แต่สำหรับ "โสภณเจตสิก" (โสภณ=ดีงาม)

    ต้องเกิดร่วมกับ "โสภณจิต" เท่านั้น เป็นต้น.


    โลภะ โทสะ โมหะ เป็น อกุศลเจตสิก

    ซึ่งต้องเกิดร่วมกับ อกุศลจิต เท่านั้น.!

    เช่น ขณะที่เห็นสิ่งที่สวยงาม...จิตอาจจะเกิดความยินดีพอใจ ในสิ่งที่เห็น

    หมายความว่า จิตขณะนั้น มี "โลภเจตสิก" เกิดร่วมด้วย

    และ โลภเจตสิก ก็ทำกิจ "ติดข้องในอารมณ์"


    นอกจากนี้ ยังมี "อกุศลเจตสิก" ประเภทอื่น ๆ อีก

    ที่เกิดร่วมกับ "อกุศลจิต" เช่น ความสำคัญตน (มานะเจตสิก)

    ความเห็นผิด (ทิฏฐิเจตสิก) ความริษยา (อิสสาเจตสิก) เป็นต้น.


    "โสภณเจตสิก" ต้องเกิดร่วมกับ "โสภณจิต"

    เช่น อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก อโมหเจตสิก (ปัญญาเจตสิก)

    เช่น ขณะที่กำลังให้ทาน

    ขณะนั้น...อโลภเจตสิก และ อโทสเจตสิก กำลังเกิดขึ้นร่วมกับกุศลจิต

    และ โสภณเจตสิก ประเภทอื่น ๆ เช่น "ปัญญาเจตสิก" เป็นต้น

    อาจจะเกิดร่วมด้วยกับกุศลจิต (ขณะที่กำลังให้ทาน) หรือไม่ก็ได้.


    แม้ว่า จิต และ เจตสิก เป็น นามธรรม แต่มี "ลักษณะ"ต่างกัน.

    บางท่านอาจจะสงสัยว่า...จะรู้ลักษณะของเจตสิกได้อย่างไร.!


    .


    เราอาจจะรู้ลักษณะของเจตสิกได้

    เมื่อสังเกตเห็น "ความเปลี่ยนแปลงของจิต"

    เช่น ขณะที่อกุศลจิต ซึ่งมี "มัจฉริยเจตสิก" (ความตระหนี่) เกิดขึ้น

    หลังจากที่กุศลจิตซึ่งมีอโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย...ดับไปแล้ว

    สภาพธรรมที่ปรากฏ...ทำให้เรารู้ว่า มัจฉริยเจตสิก (ความตระหนี่)

    ต่างจาก อโลภเจตสิก (ความไม่ติดข้อง) เป็นต้น.


    หรือ เราอาจจะสังเกตเห็น "ความเปลี่ยนแปลง"

    จาก ความยินดี เป็น ความยินร้าย

    จาก ความสบายใจ เป็น ความไม่สบายใจ (ซึ่ง เป็น เวทนาเจตสิก)


    "เวทนาเจตสิก"

    เป็น เจตสิกประเภทหนึ่ง ที่สามารถสังเกตรู้ได้ ในชีวิตประจำวัน.

    เพราะว่า บางครั้ง เวทนาเจตสิก ปรากฏชัด

    และ เวทนาเจตสิก มีลักษณะต่าง ๆ หลายประเภท

    ซึ่งถ้าสังเกต จะทำให้เราสามารถรู้ได้ว่า...."ลักษณะ" ของ โทมนัสเวทนา

    ต่างกับ โสมนัสเวทนา และ อุเบกขาเวทนา.


    เจตสิกบางประเภท เกิดกับจิตบางประเภทเท่านั้น

    เจตสิกประเภทต่าง ๆ เมื่อเกิดร่วมกับจิตขณะหนึ่ง ๆ แล้ว

    ก็ดับไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับจิตที่เกิดร่วมด้วย.


    ความเข้าใจเรื่องของ "จิตและเจตสิก" ประเภทต่าง ๆ อย่างละเอียด

    จะเป็นปัจจัยให้ "รู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง"



    ข้อความบางตอนจากหนังสือ พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน

    โดย Nina Van Gorkorm

    แปลโดย อาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม

    ......................ขออนุโมทนา......................
     

แชร์หน้านี้

Loading...