ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ติลกฺขณาทิคาถา
    ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) <TABLE style="COLOR: #666666" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="33%" align=center><COLGROUP><COL width="49%"><COL width="42%"><TBODY><TR><TD>สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ</TD><TD>ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข</TD><TD>เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา</TD></TR><TR><TD>สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ</TD><TD>ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข</TD><TD>เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา</TD></TR><TR><TD>สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ</TD><TD>ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข</TD><TD>เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา</TD></TR><TR><TD>อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ</TD><TD>เย ชนา ปารคามิโน</TD></TR><TR><TD>อถายํ อิตรา ปชา</TD><TD>ตีรเมวานุธาวติ</TD></TR><TR><TD>เย จ โข สมฺมทกฺขาเต</TD><TD>ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน</TD></TR><TR><TD>เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ</TD><TD>มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ</TD></TR><TR><TD>กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย</TD><TD>สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต</TD></TR><TR><TD>โอกา อโนกมาคมฺม</TD><TD>วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ</TD></TR><TR><TD>ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย</TD><TD>หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน</TD></TR><TR><TD>ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ</TD><TD>จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต</TD></TR><TR><TD>เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ</TD><TD>สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ</TD></TR><TR><TD>อาทานปฏินิสฺสคฺเค</TD><TD>อนุปาทาย เย รตา</TD></TR><TR><TD>ขีณาสวา ชุติมนฺโต</TD><TD>เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ. </TD></TR></TBODY></TABLE>


    สังขารทั้งหลายก็ต้องอาศัยธาตุอาศัยธรรม ถ้าว่าไม่มีธาตุไม่มีธรรมแล้ว สังขารทั้งหลายก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง ติณชาติ ต้นหญ้า รุกขชาติ ต้นไม้ พฤกษชาติ ก็ต้นไม้ที่แน่นหนาถาวร และวัลลีชาติเครือวัลย์ต่างๆ เครือเถาต่างๆ ไม่มีแผ่นดินแล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ก็ย่อมอันตรธานหายไปหมด ไม่ปรากฏแม้แต่น้อย หายไปหมด เพราะไม่มีแผ่นดินเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแผ่นดินเป็นที่ตั้งขึ้น ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ก็ย่อมปรากฏขึ้นฉันใดก็ดี ธาตุธรรมที่มีขึ้นแล้วปรากฏขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการปรากฏขึ้นเป็นขึ้นของสังขาร ถ้าว่าธาตุธรรมไม่มีแล้ว สังขารก็ไม่มีเหมือนกัน นี่เพราะอาศัยธาตุอาศัยธรรม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของดับได้เคลื่อนไปได้ ส่วนธาตุธรรมนั้นไม่แปรไปตามใคร
    ” ​

    วันนี้เป็นวันอัฏฐมีดิถีขึ้นแปดค่ำแห่งปักษ์ในมาฆมาสนี้ ที่เราท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า เมื่อถึงวันธรรมสวนะ ได้พากันมาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพราะว่าเราช่วยกันรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่กุลบุตรกุลธิดาในยุคนี้และภายหน้า เป็นตัวอย่างอันดีแก่ภิกษุสามเณรในยุคนี้และต่อไปในภายหน้า ได้ชื่อว่าทำตัวของอาตมาให้เป็นเนติแบบแผนตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไป การกระทำของตนให้เป็นแม่พิมพ์หรือให้เป็นกระสวนหรือให้เป็นตัวอย่างเช่นนี้ ได้ชื่อว่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่จะชี้แจงแสดงธรรมเทศนาในวันนี้ แก้ด้วย หนทางอันหมดจดวิเศษ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเป็นผู้รู้เห็นเหตุอันลึกลับยิ่งนักหนา จึงได้ ทรงแสดงหนทางอันหมดจดวิเศษ ให้เป็นตำรับตำราไว้
    หนทางอันหมดจดวิเศษนั้น ท่านยกพระไตรลักษณ์ขึ้นไว้เป็นตำรับตำราว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เมื่อนั้นก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา นี่หนทางหมดจดวิเศษข้อ ๑
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่าย ในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่ ๒
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตน ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่ ๓
    หนทางหมดจดวิเศษนั้นคืออะไร ? เมื่อฟังเพียงแค่นี้ก็ไม่เข้าใจ หนทางหมดจดวิเศษน่ะ หนทางตั้งต้นที่จะไปสู่มรรคผลนิพพาน ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงพระอรหัต พระอรหัตเป็นหนทางหมดจดวิเศษ หนทางหมดจดวิเศษน่ะอะไร ? ก็ทำใจให้หยุดคำเดียวเท่านั้นแหละ ให้หยุดที่ตรงไหน ? หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไปหยุดอยู่ตรงนั้นแหละ ไปหยุดก็เข้ากลางของหยุดเชียว กลางของกลางๆๆๆ ที่ใจหยุดนั่น อย่าไปที่อื่นต่อไปเชียว กลางของกลางๆๆๆ ที่ใจหยุดนั่น หยุดคำเดียวเท่านี้แหละ ตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าอรหันต์ ถ้าหยุดได้ก็ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ หยุดนั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษละ ที่พระองค์ทรงรับสั่งทางมรรคผลนิพพานว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา ขนฺตี นั่นความอดทน ตีติกฺขา กล่าวคือ ความอดใจ อดจนกระทั่งหยุด พอใจหยุดเรียกว่าอดละ ต่ออดมันก็หยุดทีเดียว ใจหยุด หยุดนั่นแหละเป็นสำคัญละ ยืนยันด้วยตำรับตำราว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ยังรับรองอย่างนี้อีก สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ต้องทำใจให้หยุดนั่นแหละ เป็นหนทางบริสุทธิ์หมดจดวิเศษทีเดียว
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว ต่อจากนี้จงฟังวาระพระบาลีสืบต่อไปว่า อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดมี ปกติไปสู่ฝั่งคือนิพพาน ชนทั้งหลายเหล่านั้นน้อยนัก ส่วนชนนอกนี้เลาะอยู่ชายฝั่งนั่นเทียว คือ โลกโอกอ่าววัฏฏสงสาร ฝั่งน่ะคือวัฏฏะนี่เอง กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ วัฏฏะ นี่เป็นฝั่งข้างนี้ ที่ไปสู่ฝั่งคือนิพพาน คือฝั่งข้างโน้น โบราณท่านแปลว่าไปสู่ฝั่งข้างโน้น คือ พระนิพพาน ไปสู่ฝั่งข้างนี้คือวัฏฏสงสาร วางหลักไว้สองประการดังนี้ เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน ก็ชนเหล่าใดแล ประพฤติธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งฝั่งคือนิพพานได้ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ เป็นที่ตั้งอันล่วงเสียซึ่งวัฏฏะ เป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ อันบุคคลข้ามได้ยากยิ่งนัก กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตละธรรมอันดำเสียแล้ว ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ อาศัยนิพพานไม่มีอาลัยจากอาลัย ยินดีในนิพพานอันสงัด ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน พึงละกามทั้งหลายเสีย ไม่มีกังวลแล้ว พึงปรารถนายินดีในนิพพานนั้น ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต บัณฑิตควรชำระตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ จิตอันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดอบรมดีแล้ว ในองค์เป็นเหตุแห่งตรัสรู้ อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดไม่ถือมั่นยินดีแล้วในอันสละความยึดถือ ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ มีความโพลงดับสนิทในโลก ด้วยประการดังนี้ นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เป็นทางปริยัติ หาใช่ทางปฏิบัติไม่ เป็นทางปริยัติก่อน ทางปริยัติชี้ชัดอยู่ว่า คนทั้งหลายเหล่าใด คนทั้งหลายเห็นตามปัญญา เมื่อบุคคลเห็นตามปัญญา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ บรรดามนุษย์ทั้งสิ้น ชนพวกใด ชนที่เป็นมนุษย์พวกใดที่จะไปถึงฝั่งข้างโน้น คือ พระนิพพานนั่น น้อยตัวนัก ส่วนชนนอกนี้ ส่วนชนคือมนุษย์นอกนี้ แล่นไปสู่ฝั่งนั้นแล ไปในกามวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ก็ชนเหล่าใดแลเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เป็นธรรมที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก ไม่ใช่เป็นของเล็กน้อย ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงพระนิพพานได้ พระนิพพานไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่เป็นของง่าย เพราะฉะนั้นทางไปนิพพานก็เป็นของไม่ใช่ง่าย เป็นของยากนัก ธรรมอันนี้ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงชี้ว่า ทางอันหมดจดวิเศษ เมื่อเห็นความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย เห็นความเป็นทุกข์ของสังขารทั้งหลาย เห็นความไม่ใช่ตัวของธรรมทั้งปวง นี่เป็นข้อสำคัญควรจะเข้าใจให้มั่นหมายทีเดียว สังขารทั้งหลายคือธาตุธรรมผลิตขึ้นเป็นสังขารทั้งหลาย เหมือนแผ่นดินเป็นที่ตั้งของติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ถ้าไม่มีแผ่นดินแล้ว ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ผุดเกิด นี่เพราะอาศัยแผ่นดินนี้ฉันใด สังขารทั้งหลายก็ต้องอาศัยธาตุอาศัยธรรม ถ้าว่าไม่มีธาตุไม่มีธรรมแล้ว สังขารทั้งหลายก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง ติณชาติ ต้นหญ้า รุกขชาติ ต้นไม้ พฤกษชาติ ก็ต้นไม้ที่แน่นหนาถาวร และวัลลีชาติเครือวัลย์ต่างๆ เครือเถาต่างๆ ไม่มีแผ่นดินแล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ก็ย่อมอันตรธานหายไปหมด ไม่ปรากฏแม้แต่น้อย หายไปหมด เพราะไม่มีแผ่นดินเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแผ่นดินเป็นที่ตั้งขึ้น ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ก็ย่อมปรากฏขึ้นฉันใดก็ดี ธาตุธรรมที่มีขึ้นแล้วปรากฏขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการปรากฏขึ้นเป็นขึ้นของสังขาร ถ้าว่าธาตุธรรมไม่มีแล้ว สังขารก็ไม่มีเหมือนกัน นี่เพราะอาศัยธาตุอาศัยธรรม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของดับได้เคลื่อนไปได้ ส่วนธาตุธรรมนั้นไม่แปรไปตามใคร
    ธาตุธรรมนั้นแยกออกเป็นสราคธาตุสราคธรรม เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วอยู่ด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นสราคธาตุสราคธรรม ธาตุธรรมที่ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้วนั่นเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม นี่อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วด้วย ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสังขตธาตุสังขตธรรม ธาตุธรรมที่กะเทาะจากราคะ โทสะ โมหะ ไปได้บ้างแล้ว ยังไม่สิ้นเชื้อ เป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรม ธาตุธรรมที่กะเทาะจากราคะ โทสะ โมหะ สิ้นเชื้อแล้ว นั่นเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม นี่เราจะเอาธาตุธรรมที่ไหน เราจะเห็นอย่างไร รู้อย่างไรกัน ธาตุธรรมทั้งหมดปรากฏที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นสราคธาตุสราคธรรม ไม่ใช่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม อาศัยสราคธาตุสราคธรรมอยู่ เมื่ออาศัยสราคธาตุสราคธรรมอยู่เช่นนี้ เราจะต้องเข้าไปถึงวิราคธาตุวิราคธรรมให้ได้ ถ้าเข้าไปถึงวิราคธาตุวิราคธรรมไม่ได้ ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี่ไม่มีจบมีสิ้น เหตุนี้ต้องตั้งใจให้แน่แน่ว ต้องทำใจให้หยุด ตั้งใจให้หยุด มุ่งที่จะไปพระนิพพานทีเดียว เพราะน้อยตัวนักที่ตั้งใจจะไปสู่ฝั่งพระนิพพาน มากตัวนักที่จะมุ่งไปสู่โลกในสราคธาตุในสราคธรรม ในสังขารทั้งหลาย มุ่งไปในสังขารทั้งหลายน่ะมากตัวนัก ที่จะปราศจากสังขารทั้งหลายนะน้อยตัวนัก เหตุนี้เราต้องคอยระแวดระวังทีเดียวในเรื่องนี้ เมื่อเป็นผู้จะไปสู่ในทางวิราคธาตุวิราคธรรม ต้องประกอบตามธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวแล้ว ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วน่ะธรรมอะไร ? ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วนั่นน่ะไม่ใช่อื่น ทางมรรคทางผลนี่เอง ทางมรรคผลไม่ใช่ทางอื่น ทางมรรคผลน่ะอะไร ? อะไรเป็นทางมรรค ? อะไรเป็นทางผล ? นี้จะกล่าวถึงทางมรรคผล ก็การทำใจให้หยุดนั่นแหละเป็นตัวมรรคทีเดียว พอใจหยุดก็เป็นตัวมรรค ก็จะมีผลต่อไปเมื่อใจหยุดเป็นตัวมรรคแน่นอนแล้ว มรรคผลเกิดเป็นลำดับไป พอใจหยุดก็ได้ชื่อว่าเริ่มต้นโลกิยมรรค เข้าถึงมรรคแล้ว มรรคผลนี้แหละเป็นธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ต้องเอาใจหยุด ถ้าใจไม่หยุดเข้าทางมรรคไม่ได้ เมื่อไปทางมรรคไม่ได้ ผลก็ไม่ได้เหมือนกัน
    เมื่อวานนี้บวชสามเณรองค์หนึ่ง พอใจหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้น ไปตลอดเทียวทางมรรคผล ทำใจได้หยุด เอาผมมาปอยหนึ่งที่โกนแต่เมื่อบวชนั่น เขาก็จำได้ ให้น้อมเข้าไปในช่องจมูกข้างขวา ไปตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางตัวเจ้านาคที่บวชเป็นเณรนั่น เห็นผมจำได้ว่าโคนน่ะไปทางตะวันออก ปลายไปทางตะวันตก ผมมันมีคู้กลางอยู่กลางหน่อย ถามว่ามันล้มไปทางซ้ายหรือล้มไปทางขวา ตรงกลางที่โค้งอยู่หน่อยน่ะ เจ้านาคบอกว่าไม่ล้ม โคนตั้งโค้งขึ้นมาด้วย โค้งก็เอาใจหยุดอยู่ ตรงกลางโค้งนั่นแหละ หยุดอยู่ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น หยุดนิ่งเถอะประเดี๋ยวเถอะ ผมนั่นแปรไป แปรสีไป พอถูกส่วนเข้าก็เป็นดวงใส ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละ เณรเห็นแล้วเป็นดวงใส ผมนั่นก็แปรไปๆ แปรสีไปเป็นดวงใส ดวงนั้นโตเล็กเท่าไหน เจ้านาคบอกเท่าหัวแม่มือได้ เอ้ารักษาไว้ดวงนั่นน่ะ ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นแหละ ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่น พอนิ่งแล้ว ก็เข้ากลางของกลางๆๆ นิ่งหนักเข้า นึกว่ากลางของกลางหนักเข้า ประเดี๋ยวเดียวแหละ ดวงนั่นขยายโตออกไปๆๆ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นเจ้านาคขยายได้แล้ว ดวงนั่นขยายออกไปเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์แล้ว ถูกส่วนเข้า ใจหยุดนิ่งกลางของกลางๆๆ นิ่งหนักเข้าหนักเข้าเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นแหละดวงนี้แหละเขาเรียกว่า เอกายนมรรค หรือเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่แหละทางหมดจดวิเศษละทางนี้ ไม่มีทางอื่นมาคัดง้างได้ละ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้วนั่นแหละ กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น หยุดเข้าเถอะ พอใจหยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าๆๆ ก็เข้าถึงดวงศีล เมื่อเข้าถึงดวงศีลแล้ว ใจหยุดอยู่กลางของดวงศีลนั่นแหละ ก็เท่ากับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ กลางของกลางดวงศีลหนักเข้ากลางของ กลางหนักเข้าๆๆ ก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน เจ้านาคทำได้ประเดี๋ยวเดียวเข้าถึงดวงสมาธิแล้ว กลางดวงสมาธินั่นแหละ หยุดเข้าเถอะ กลางของกลางๆๆ ดวงสมาธินั่น พอหยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธินั่น หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอใจหยุดกลางดวงปัญญา ก็กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ อยู่กลางดวงปัญญานั่น หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่น พอหยุดก็กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ จนกระทั่งหยุดหนักเข้า หนักเข้า ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ หยุดหนักเข้า กลางของกลางๆๆๆ พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายมนุษย์ละเอียด ที่นอนฝันออกไป ถามเจ้านาคว่า อย่างไร กายนี้เคยเห็นไหมละ เมื่อเวลานอนฝัน เจ้านาคบอกว่าเห็นเมื่อนอนฝัน เห็นมัน ถูกทีเดียว นี่ไม่ใช่เป็นของยาก ชั่วบวชนาคประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละไปตลอดแล้ว พอเห็นกายละเอียดก็เอาละถูกส่วนละ จำได้นะ
    • ต่อไปอีก ให้กายละเอียดนะ นั่งเหมือนกายมนุษย์นี่ เขาก็ทำถูกแบบเดียวกัน แล้วเอาใจของกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ นิ่งอยู่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกัน พอนิ่งถูกส่วนเข้าละก้อ กลางของกลางๆๆ ที่นิ่งนั่นแหละ ประเดี๋ยวเดียว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เห็นดวงศีลอยู่ในดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ในกลางดวงศีลนั่นแหละ พอใจหยุดก็หยุดอยู่กลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ หนักเข้าเห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนแล้วก็เข้ากลางของกลางๆๆ ที่หยุดนั่นเห็นดวงปัญญา อยู่ในดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ในกลางดวงปัญญานั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนเข้าแล้ว กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติแล้ว ก็กลางของกลางๆๆ ที่หยุดนั่นแหละ ไม่ได้ไปไหน พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ พอเห็นกายทิพย์เข้า เอ้าเป็นกายที่ ๒ ละ อยากจะรู้มรรคผลไหมละ นั่นแหละที่ดำเนินการนั่นแหละเป็นมรรคทั้งนั้น ที่มาโผล่เห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นผลแล้ว ตั้งแต่ดำเนินมาหยุดอยู่ที่กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เข้าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นกายทิพย์เข้า นั่นกายทิพย์นั่นเป็นผลแล้ว แต่ว่าเป็นโลกียผล โลกียมรรค ไม่ใช่ โลกุตตรผล ไม่ใช่โลกุตตรมรรค ให้รู้จักหลักอันนี้ นี่โลกีย์ นี่ทางหมดจดวิเศษ ไม่ใช่ทางอื่น นี้เป็นทางหมดจดวิเศษทีเดียว
    • ให้กายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูกส่วนเท่านั้น ให้เอาใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูก ส่วนเข้า ก็หยุดอยู่กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานของกายทิพย์ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่ใจหยุดอีกนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆ ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน-นอก-ใน ไม่ไป กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลาง ดวงศีลนั่นอีก พอใจหยุด ก็เข้ากลางของใจที่หยุดอีกนั่นแหละ แบบเดียวกัน กลางของ กลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ละเอียด ทำไปดังนี้อีก นี่เป็นมรรคเป็นผลไปอย่างนี้ แล้วก็เดินไปตามมรรคอีก
    • ให้นั่งนิ่งแบบเดียวกับกายทิพย์หยาบอีก นั่งนิ่ง ก็เอาใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดอีก นั่นเข้ามรรค หยุดนิ่งแล้วก็กลางของกลางๆๆ ที่ใจนิ่งทีเดียว พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่มรรคทั้งนั้น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลอีก กลางของกลางๆๆ เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ที่ใจหยุดนิ่งเข้าถึงดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก กลางของกลางๆๆ กลางดวงปัญญานั่น ก็เข้าถึงดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก กลางของกลางๆๆ ที่ใจหยุดนั่น เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่ในกลางดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางๆๆ ที่ให้หยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายรูปพรหม พอถึงกายรูปพรหม นี่ก็เป็นตัวผลแล้ว นี่มรรค มาแล้ว มาถึงผลแล้ว นี่ ๕ ผลแล้ว
    • พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีลอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอใจหยุดก็กลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่หยุดนั่น เข้าถึงดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอหยุดก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติอยู่กลางดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอถูกส่วนเข้าก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมละเอียดนี่ก็เป็นตัวผลอีก เดินมาตามมรรคนั่น เข้าถึงผลอีกแล้ว นี่ต้องเข้าใจอย่างนี้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้จะไม่รู้จักมรรคผล มรรคผลนี่เป็นของยากนัก ไม่ใช่เป็นของง่าย
    • ใจของกายรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ไม่ได้ถอยออกละ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอีก พอใจหยุด ก็กลางของกลางๆๆ เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ ใจหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม เห็นกายอรูปพรหม นี่เป็นผล กายอรูปพรหมนี่เป็นผล ที่ดำเนินมานั้นเป็นมรรค
    • ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก หยุดอยู่นั่น หยุดนิ่งอยู่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของใจที่หยุด ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เข้ากลางของหยุดอีก พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงสมาธิอีก ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก ถูกส่วนเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด
    • จากกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แบบเดียวกัน ไม่ได้มีเคลื่อนกันละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของหยุด กลางของกลางๆๆ พอกลางของกลางหนักเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อยู่ในกายอรูปพรหมละเอียด ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งกลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมาเกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน อย่างโตที่สุดไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ วา อย่างเล็กที่สุดก็ตามส่วนลงมา นั่นเรียกว่า กายธรรม เข้าถึงพุทธรัตนะแล้ว พุทธรัตนะนั่นแหละเป็นตัวผล ไม่ใช่ตัวมรรค เป็นตัวผลทีเดียว มรรคเดินมาตามลำดับนั่น
    • ใจของกายธรรมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมละเอียด หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสยิ่งกว่ากระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของกายธรรมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด นี่เข้าถึงผลอีกแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลม รอบตัว ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายธรรม หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดนั่น พอหยุดถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงธรรมกายพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดาก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว
    • ใจของพระโสดาหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นธรรมกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระสกทาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็เท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระสกทาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นสกทาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอนาคา
    • ใจของพระอนาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา ใสหนัก ขึ้นไป
    • ใจพระอรหัตหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียด ใสหนักขึ้นไป
    นี้วานนี้ได้สอนเจ้านาคให้ถึงนี้ พอบวชเณรเสร็จแล้ว ไปตามญาติ ไปนิพพานก็ได้ ไปโลกันต์ก็ได้ พวกพ้องไปตายอยู่ที่ไหน ไปตามเอารับส่วนบุญเสียด้วย ตากับยายทั้งสองคนไปตามมาและเห็น ฝ่ายพระบวชใหม่ก็เห็นด้วย นี่ทางพุทธศาสนาความจริงเป็นอย่างนี้
    นี่แหละ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา หนทางหมดจดวิเศษทีเดียว หมดจดวิเศษกว้างขวางนัก ทางปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา โคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต ทางมรรค ทางผล ทางศีล ทางสมาธิ ทางปัญญา ทางวิมุตติ ทางวิมุตติญาณทัสสนะ นี่แหละเป็นทางหมดจดวิเศษ ทางอื่นไม่มี นี่วันนี้ที่ตั้งใจแสดงก็ให้รู้ทางหมดจดวิเศษ ที่จะเข้าไปทางนี้ก็เพราะเห็นสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ก็ตกอกตกใจหา หนทางไป ทางนี้ก็ถูกมรรคผลนิพพานทีเดียว นี้ทางเป็นหลักเป็นประธานเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ต้องฟังจริงๆ ตั้งใจจริงๆ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย ไม่ใช่เป็นง่าย เป็นของยากนัก ผู้แสดงก็ตั้งอกตั้งใจแสดง ถ้าผู้ฟังไม่ตั้งใจฟัง ก็ขี้เกียจ เดี๋ยวก็เลิกเสียเท่านั้น ถ้าผู้ฟังตั้งใจฟัง ผู้แสดงก็ตั้งใจแสดง ตรงกันเข้า ขันกับพานมันก็รับกันเท่านั้น นี่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ผู้แสดงก็ได้ ผู้รับก็ได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าว่าพูดเสีย ผู้แสดงก็สะดุดใจเสีย ก็หยุดเสียไม่แสดง ก็เสียทั้งสอง ฝ่ายเป็นฝ่ายดำไป ไม่ใช่ฝ่ายขาว ได้ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายขาวไม่ใช่ฝ่ายดำ ให้รู้จักความจริงทางพุทธศาสนาดังนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้แล้ว ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดิ์จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010107.wma[/MUSIC]


     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]

    [​IMG]


    รัตนะ 7<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->เมื่อสามารถเข้าไปได้ถึงอายตนนิพพานแล้ว ก็
    เข้าไปเฝ้าพระนิพพาน แล้วขอประทานรัตนะ 7 ประการ คือ
    กำแพงแก้ว 7 ชั้น เพื่อเป็นเครื่องป้องกันสรรพอุปัทวันตราย
    ไม่ให้มากล้ำกราย ในกายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร

    จะขอรัตนะ 7 ประการนี้ได้ โดยจรดเข้ากลางพระ
    นิพพาน เมื่อตกศูนย์พระนิพพาน ก็จะดูดธรรมกายพระอรหัตต์
    ของผู้ปฏิบัติอย่างแรง คล้ายมีอะไรมาดูด อนุโลมตามแรง
    ดูดนั้น ก็จะได้เข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้รักษาพระนิพพาน ที่
    กลางกายของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นทางที่จะเข้าไปถึงรัตนะทั้ง
    7 นับแต่นี้ไป จะสามารถเห็นรัตนะทั้ง 7 ได้ภายในกายของผู้
    ปฏิบัติเอง ไม่จำเป็นจะต้อง ไปดูที่พระนิพพานอีก รัตนะทั้ง 7
    นี้ มีความหมายทำนองเดียวกับ รัตนะคู่บุญของสมเด็จพระเจ้า
    จักรพรรดินั่นเอง ต่างกันแต่ว่ารัตนะทั้ง 7 ของสมเด็จพระเจ้า
    จักรพรรดิ เป็นสิ่งที่มีรูปร่างปรากฏให้เห็นได้ด้วยตาธรรมดา
    แต่รัตนะ 7 ประการในที่นี้ เป็นของทิพย์ รัตนะทั้ง 7 ได้แก่


    1.จักรแก้ว ตามคัมภีร์กล่าวว่า เมื่อจักรแก้วมา
    ปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์พระองค์ใด พระมหา
    กษัตริย์พระองค์นั้น ได้ชื่อว่าเป็นสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ
    สามารถปราบได้ทั่วทุกทิศ จักรทิพย์เป็นอาวุธสำหรับปราบภูต
    ผีปีศาจต่างๆ และเป็นยานนำไปสู่สถานที่ทุกแห่ง ไม่ว่าจะเร้น
    ลับซับซ้อนเพียงใด

    2.ช้างแก้ว
    เป็นช้างทรงของ สมเด็จพระเจ้า
    จักรพรรดิ ในการเสด็จพยุหยาตรา ช้างทิพย์เป็นเครื่องมือใน
    การสร้างเกียรติประวัติและสะสมกองบุญในด้านการปฏิบัติ เมื่อ
    อธิษฐานจิตขึ้นขี่ช้างแก้ว ซึ่งเมื่อทำได้คล่องแล้ว จะกระทำได้
    ทันที ตัวของผู้ปฏิบัติจะมีความสง่าน่าเกรงขาม และเป็นที่
    ชื่นชมของคนทั่วไป

    3.ม้าแก้ว
    เป็นม้าทรงของสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ
    ในการเสด็จประพาสที่ต่างๆ เป็นการส่วนพระองค์ หรือ
    ลำลอง ม้าทิพย์เป็นพาหนะสำหรับไปเที่ยวในที่ต่างๆ ทั้งใน
    นรกและในสวรรค์ ในระหว่างเดินทาง ถ้าหากมีภยันตรายหรือ
    อุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ม้าแก้วจะขจัดภยันตราย
    หรืออุปสรรคเหล่านั้นให้สิ้นไป นิยายจีนได้นำอิทธิฤทธิ์ของ
    กายสิทธิ์ประเภทนี้ ไปผูกเป็นคุณสมบัติของม้ามังกร

    4.นางแก้ว
    เป็นพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้า
    จักรพรรดิ พระสิริร่างมีความอบอุ่นในฤดูหนาว มีความเยือก
    เย็นในฤดูร้อน ในด้านที่เป็นของทิพย์ได้แก่ นางแก้วทิพย์ ผู้มี
    ไออุ่น ไอเย็น ที่สามารถเนรมิตให้เกิดขึ้นเอง ไม่จำเป็นต้องง้อ
    ขอพึ่งไออุ่น ไอเย็นจากอกสาว อกหนุ่ม ให้ต้องเปลืองตัว
    และเปลืองใจ

    5.แก้วมณี
    คือ ดวงแก้วที่สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ
    ทรงใช้ส่องดูเหตุการณ์ต่างๆ ในราชอาณาจักรของพระองค์
    แว่นทิพย์ก็สามารถใช้มองดูอะไรได้ทั้งในนรก สวรรค์และใน
    เมืองมนุษย์ ตามปรกติเมื่อปฏิบัติกรรมฐานได้สูงแล้ว ก็
    สามารถจะมองเห็นนรก มองเห็นสวรรค์ แต่ถึงจะมองได้ก็
    เห็นไม่ทั่ว จึงนำมาเล่าแตกต่างกันไป ถ้าใช้ดวงแก้ว
    กายสิทธิ์นี้ส่องจะเห็นได้ทั่วถึง

    6.ขุนพลแก้ว
    ได้แก่ แม่ทัพผู้เกรียงไกร ผู้ปฏิบัติ
    ภารกิจเพื่อเพิ่มพูนพระบารมี ต่างพระเนตรพระกรรณ ขุน
    พลทิพย์ คือ ผู้ ช่วยเหลือขจัดอุปสรรคที่เกิดขึ้น ในระหว่าง
    การบำเพ็ญกรณียกิจ เพื่อสาธารณประโยชน์และการกุศล
    ต่างๆ ขุนพลแก้วมีรูปร่างคล้ายนักรบไทยโบราณ

    7.ขุนคลังแก้ว
    คือ ผู้แสวงหาและรักษาพระราช
    ทรัพย์ให้ มั่งคั่งและมั่นคง ขุนคลังทิพย์คือผู้รักษาทรัพย์สมบัติ
    ทั่วไปทั้งหมด มีกายสิทธิ์ต่างๆเป็นบริวาร ทรัพย์สมบัติเหล่า
    นี้ สามารถขอมาใช้ในการบุญการกุศลต่างๆได้ ส่วนการที่จะ
    ขอมาเพื่อประโยชน์ส่วนตัวนั้น ถ้าขอในจำนวนเพียงเล็ก
    น้อยอาจได้บ้าง เคล็ดลับในความสำเร็จของวัดปากน้ำ ใน
    การสร้างโรงครัวและอาคารสถานที่ ก็สืบมาแต่การอาศัย
    กายสิทธิ์ประเภทนี้เอง ขุนคลังแก้วมีรูปร่างคล้ายขุนนาง
    โบราณ

    คุณสมบัติของรัตนะ 7 ประการที่กล่าวมาข้างต้นนี้
    กล่าวเพียงเป็นเค้าพอให้เข้าใจ ยังมีความพิสดารที่ไม่ได้รับ
    อนุญาตให้เปิดเผยอีกมาก หากผู้ใดใฝ่ฝัน ใคร่จะได้เชยชมใกล้
    ชิด กับสมบัติของสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิบ้างในชาตินี้ หรือ
    ใคร่จะสังสรรค์กับหนุ่มสาวชาวเมืองทิพย์ หรืออยากจะทราบ
    ด้วยตนเองว่า ไออุ่น ไอเย็นอย่างว่าของนางแก้วจะมีรสซึม
    ซาบ ลึกซึ้งเพียงใด จะสมหวังได้ก็ด้วยการปฏิบัติวิชชา
    ธรรมกาย

    เมื่อได้รัตนะทั้ง 7 ประการแล้ว กำลังสมาธิจะแรงมาก
    ขึ้น คล้ายกับว่ามีของศักดิ์สิทธิ์ไว้กับตัว เพียงแต่ตั้งจิตให้นิ่ง
    อยู่ที่เหนือสะดือสองนิ้ว ภายในกาย ก็จะมีการสับฌานขึ้น
    ลง เท่ากับเป็นการเดินสมาบัติไปในตัว ถ้าในขณะที่นิ่งอยู่
    อย่างนั้น

    <CENTER>
    มีอะไรปรากฏขึ้นมาให้เห็น เรียกว่า เป็นการ"ตรัสเห็น"
    ถ้าเกิดรู้อะไรขึ้นมา เรียกว่า "ตรัสรู้"
    ถ้าได้ยินเสียงอะไรก็เรียก "ตรัสได้ยิน"
    การนิ่งเช่นนี้เรียกว่า "นิ่งในนิโรธ"
    นิโรธในที่นี้ มีความหมายว่า "ทำให้แจ้ง"
    </CENTER>
    ถ้าอธิษฐานจิตใจขณะที่นิ่งอยู่ในนิโรธ ขอดูความเป็นไปของ
    สรรพสัตว์ ก็เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์สัตว์ปรากฏ
    ขึ้นรอบตัวเรา ความสามารถนี้เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" ด้วย
    จุตูปปาตญาณนี้เอง จะทำให้ทราบได้ว่า กายทิพย์ของสัตว์
    ทั้งหลายรอบตัวเรานี้เป็นมนุษย์ จะต่างกันก็แต่รัศมีของบุญ
    บารมีที่ได้สร้างสมมา เมื่อทำบาปหนัก หรือตายในขณะมี
    ความห่วงใยในทรัพย์สมบัติหรือบุตรภรรยา ก็ต้องมาได้ร่าง
    เป็นสัตว์ในภพนี้ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตจึงเป็นเรื่องที่ไม่ห่างไกล
    จากการฆ่ามนุษย์เท่าใดนัก

    สิ่งมีชีวิตที่มาพัวพันกับเราในชาตินี้ล้วนได้อุปการะ
    เกื้อกูลกัน หรือมีเวรต่อกันมาในชาติก่อน การอโหสิให้แก่
    การกระทำของผู้อื่น ย่อมทำให้เวรนั้นระงับไป เนื่องด้วยกาย
    ทิพย์ของสัตว์ทั้งหลายเป็นมนุษย์ มนุษย์จึงสามารถทำความ
    เข้าใจกับสัตว์ต่างๆได้ โดยการพูดกันทางใจ ข่าวที่ว่า หลวง
    พ่อคล้ายแห่งนครศรีธรรมราช สามารถหยุดยั้งช้างป่าที่กำลัง
    อาละวาดอยู่ให้สงบลงได้นั้น จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แม้วิธี
    การอาจจะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้าง หลักการก็คงจะเป็น
    อย่างเดียวกัน

    จุตูปปาตญาณ จะนำไปสู่เคล็ดลับหลายประการ รวม
    ทั้งเคล็ดลับ ที่พระพุทธองค์ทรงสงเคราะห์ พระนางเขมาให้
    บรรลุอรหัตผล หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ใช้เคล็ดลับทำนองเดียว
    กันนี้ สงเคราะห์ให้สานุศิษย์บรรลุธรรมได้เป็นอันมาก นอก
    จากนี้ ยังสามารถจะช่วยให้ผู้อื่น พ้นจากการเจ็บไข้ได้ป่วย
    และทุกข์ภัยต่างๆอีกด้วย

    การเจริญจุตูปปาตญาณ ถ้าทำให้มาก จนรู้สึกเบื่อ
    หน่ายสังเวชในการเวียนว่ายตายเกิดอย่างแรงกล้า อำนาจ
    ของเจโตสมาธิ จะทำให้สามารถบรรลุอรหัตผลได้โดยฉับ
    พลัน แต่ถ้ายังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี
    ถ้า
    หากว่าไม่อาจจะทำให้ความเบื่อหน่ายเกิดขึ้นได้โดยรวดเร็ว ก็
    ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกเป็นบาท เช่น ในกรณีพระจูฬปันถก
    โดยโน้มใจไปพิจารณาญาณทั้ง 10 ญาณ ไม่ช้าก็จะบรรลุ
    มรรคผลขั้นต้น

    ตามที่บรรยายมาข้างต้นนี้ เป็นหลักทั่วไปของวิชชา
    ธรรมกายโดยสมบูรณ์ หลักทั่วไปของวิชชาธรรมกายมี
    เพียงเท่านี้เอง ดู ๆ ก็น่าจะเป็นวิชชาที่ปฏิบัติได้โดยง่าย
    แต่เป็นเรื่องที่ง่ายจริงสำหรับผู้ที่ปฏิบัติได้ ไม่ง่ายสำหรับผู้
    ปฏิบัติไม่ได้ วิชชานี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีความมั่นใจในตน
    เอง<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    เกิดมา.....


    ว่าจะมาหาแก้ว


    พบแล้วไม่กำ ... จะเกิดมาทำไม

    สิ่งที่อยาก ก็หลอก

    สิ่งที่หยอก ก็ลวง

    ทำให้จิต เป็นห่วงเป็นใย

    เลิกอยาก ...ลาหยอก...

    รีบออกจากกาม

    เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป


    เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพาน ก็ได้
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ปัญญาเบื้องต่ำและปัญญาเบื้องสูง..........โดย หลวงปู่สด

    ปัญญาเบื้องต่ำและปัญญาเบื้องสูง
    ๔ มีนาคม ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยาติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ ภิกฺขุ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในทางปัญญา ในวันมาฆบูชา ทางปัญญาเป็นขั้นปลายของศีล สมาธิ แต่ในวิสุทธิมรรค ในอัฏฐังคิกมรรค ได้แสดงปัญญาไว้เบื้องต้น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป แสดงศีลไว้ในท่ามกลาง สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว แสดงสมาธิไว้ในเบื้องท้าย สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็ย่อลง ศีลอยู่เบื้องกลาง สมาธิอยู่เบื้องปลาย ปัญญาอยู่เบื้องต้น แต่ในลำดับของเทศนาอื่น พระองค์ทรงตรัสเทศนา ทรงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิเป็นท่ามกลาง ปัญญาเป็นเบื้องปลาย ที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา เป็นปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรในครั้งนั้น ทรงตรัสเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เพราะปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เป็นผู้ชำนาญดีแล้วในเรื่องศีล สมาธิ แต่ว่าไม่ฉลาดในทางปัญญา ยังไม่คล่องแคล่วในทางปัญญา พระศาสดาทรงเห็นเหตุนั้น เป็นผู้รู้แล้วเห็นแล้ว จึงได้ทรงแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ทีเดียว เมื่อแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้งแล้ว ก็กลับมาแสดงศีลโดยปริยายท่ามกลาง สมาธิเป็นเบื้องปลายไป ครั้นจะไม่มาแสดงเรื่องศีล สมาธิ ก็จะแตกแยกกันไป หาเข้าเป็นแนวเดียวรอยเดียวกันไม่
    เพราะพุทธศาสนามีศีลเป็นเบื้องต้น มีสมาธิเป็นท่ามกลาง มีปัญญาเป็นเบื้องปลาย แม้พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปกระทำปฐมสังคายนา ก็เลยประชุมสงฆ์ทั้ง ๕๐๐ พร้อมกัน พระมหาอริยกัสสปได้แสดงในที่ประชุม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า อิธ ภิกฺขุ ผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นความดับทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา อย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้
    ต่อแต่นี้จะได้อรรถาธิบายขยายความในปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ และปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงเป็นลำดับไป
    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ยกอริยสาวกขึ้นเป็นตำรับตำรา ก็เพราะพระอริยสาวกมีความไม่ยักเยื้องแปรผันแล้ว มีความรู้ความเห็นที่แน่นอนแล้ว ยกพระสาวกของพระตถาคตเจ้าตั้งแต่ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค-สกิทาคามิผล, อนาคามิมรรค-อนาคามิผล, อรหัตตมรรค-อรหัตตผล ๘ จำพวกนี้เป็นอริยสาวก ไม่ใช่เป็นปุถุชนสาวก ถ้าต่ำกว่านั้นลงมามีธรรมกาย แต่ว่าไม่ได้พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต อะไร นั่นสาวกชั้นโคตรภู พวกไม่มีธรรมกายมีมากน้อยเท่าใด เป็นสาวกชั้นปุถุชน เรียกว่า ปุถุชนสาวก สาวกที่ยังหนาอยู่ด้วยกิเลส ที่เป็นโคตรภูบุคคลน่ะ ปรารภจะข้ามขึ้นจากโลก จะเข้าเป็นอริยสาวกล่ะ เป็นอริยสาวกก็ไม่ใช่ เป็นปุถุชนก็ไม่เชิง ถ้ากลับมาเป็นปุถุชนก็ได้ เข้ากลับเป็นอริยสาวกก็ได้ ทั้งสองอย่างนี้เรียกว่าโคตรภู ท่านเหล่านั้นเป็นโคตรภู
    เพราะว่า ที่ท่านยกว่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เอาความเห็นความรู้ที่ตายตัวกัน ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา ปัญญาที่แสดงแล้วน่ะ ที่แสดงนี่แหละ คำว่าปัญญานี้น่ะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ถ้าให้ฟังไปร้อยปีว่าปัญญาน่ะอะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร โตเล็กเท่าไหน อยู่ที่ไหน กลม แบน ยาว รี สี่เหลี่ยม อย่างไรกัน เอาเถอะ หมดทั้งประเทศไทย ถ้าว่าเข้าดังนี้ละก็ ไม่รู้เรื่องกันทีเดียวแหละ ได้ยันกันป่นปี้ เหตุนี้ ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา ปัญญานี้ประสงค์อะไร ประสงค์ว่า อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามนั้นว่า ปิฎกทั้ง ๓ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก เราจะยกปิฎกใดขึ้นก่อนจึงจะสมควร พระอรหันต์ทั้งหลายก็พร้อมกันว่าวินัยปิฎกเป็นข้อสำคัญอยู่ ถ้าว่าวินัยปิฎกยังครบถ้วน ผ่องใสแล้ว ศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองเพราะอาศัยวินัยปิฎก เมื่อจบวินัยปิฎกพระอริยกัสสปก็ถามอีก ในปิฎกทั้ง ๒ คือสุตตันตปิฎกกับปรมัตถปิฎก ใครจะเป็นผู้วิสัชชนา ตกลงให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นพหูสูต พระองค์ทรงตั้งไว้เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าสาวกในพระพุทธศาสนา ให้วิสัชนาในสุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎกทั้งสองนี้ แต่ว่า ปรมัตถปิฎกเป็นข้อสำคัญ เป็นทางปัญญา วินัยปิฎกน่ะเป็นศีล สุตตันตปิฎกเป็นสมาธิ
    ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ นี้จะเคลื่อนมิได้เลย เพราะศีลมีหน้าที่สำหรับปราบปรามชั่วด้วยกาย วาจา ฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม มุสาวาท ชั่วด้วยกายนี้ต้องอาศัยศีลสำหรับปราบความชั่ว อันนี้ ไม่ให้เข้าไปแตะต้องกับกายได้ ให้กายสะอาดผ่องใส ถ้าไม่มีศีลแล้วละก็ ปราบความชั่วด้วยกายอย่างนี้ไม่ได้ ฝ่ายสมาธิก็สำหรับปราบความชั่วทางใจ ความเกียจคร้านไม่ให้มีทางใจ หรือความพลั้งเผลอไม่ให้มีทางใจ หรือความไม่มั่นคงเหลวไหลลอกแลกไม่ให้มีทางใจ แก้ไขให้ใจมั่นคง ให้มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือน ให้มีความเพียรอาจหาญ ไม่ครั่นคร้าม ๓ อย่างนี้เป็นหน้าที่ของสมาธิ ส่วนปัญญาเล่ายังหาได้แสดงไม่ ที่แสดงแล้วนี่ทางศีลทางสมาธิ
    ปัญญาที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นตัวสำคัญนัก แต่ว่าไม่ค่อยจะได้แสดง ที่วัดปากน้ำนี่ สมภารผู้เทศน์นี้ได้มาจำพรรษาอยู่วัดปากน้ำนี้ ๓๗ พรรษาแล้ว แต่ว่าในทางปัญญาไม่ค่อยแสดงมากนัก แสดงในศีล สมาธิ เป็นพื้นไป ทีนี้ตั้งใจจะแสดงในทางปัญญา ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยชอบนั้น โดยปริยายเบื้องสูงบ้าง จึงได้มีปุจฉาวิสัชนาเป็นลำดับไปว่า กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเป็นไฉนเล่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ปญฺญวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีปัญญา อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต เป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา อย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ ปัญญาที่รู้ความเกิดความดับนั่นเป็นตัวสำคัญ ปัญญาน่ะมีแต่รู้ ไม่ใช่เห็น ปัญญาที่เป็นแต่รู้ แต่เขาว่าเห็นด้วยปัญญา เห็นปัญญาไม่มีดวงตานี่ ถ้ามีดวงตาค่อยพูดเห็นกัน นี่ปัญญาจะมีดวงตาอย่างไร ไม่มีดวงตา แต่ว่าแปลกประหลาดอัศจรรย์เหลือเกิน เมื่อถึงพระอริยบุคคลแล้ว เป็นธรรมกายแล้ว ถ้ามารไม่ขวางนะ ความเห็นของตาไปแค่ไหน ความรู้ของทางปัญญาก็ไปแค่นั้น ความจำก็ไปแค่นั้น ความคิดก็ไปแค่นั้น
    ความรู้ ความคิด ความจำ ความเห็น ๔ อย่างนี้แหละ ๔ อย่างนี้เขาเรียกว่า ใจ ๑ ความเห็น ๒ ความจำ ๓ ความคิด ๔ ความรู้ ๔ อย่างนี้แหละ หยุดเข้าเป็นจุดเดียว ซ้อนเป็นจุดเดียวเข้า เรียกว่า “ใจ” ดวงรู้มันซ้อนอยู่ข้างในดวงคิด ดวงคิดซ้อนอยู่ข้างในดวงจำ ดวงจำซ้อนอยู่ข้างในดวงเห็น มันเป็นชั้นๆ กันอย่างนี้ ๔ อย่างนี้แหละ รวมเข้าเรียกว่าใจ ถ้าแยกออกไปละก็ เห็นน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางกาย จำน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางเนื้อหัวใจ มันย่อมกว่าดวงเห็นลงมาหน่อย คิดน่ะอยู่ในกลางดวงจำ นั่นย่อมลงมาหน่อย รู้น่ะอยู่ในกลางดวงคิดนั่น ย่อมลงมาเท่าดวงตาดำข้างใน นั่นมีหน้าที่รู้ เรียกว่า ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างนอกนั่น ดวงจิตเท่าลูกตานั่นดวงใจ เท่ากับเบ้าตานั่นดวงเห็น หมดทั้งร่างกายมี ๔ อย่างเท่านี้ มี ๑) ดวงเห็น ครอบอยู่ข้างนอกดวงจำ ๒) ดวงจำ อยู่ข้างนอกดวงคิด ๓) ดวงคิด อยู่ข้างนอกดวงรู้ ๔) ดวงรู้ อีกดวงอยู่ข้างในดวงคิด เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้แหละเป็นตัวสำคัญล่ะ
    เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ อย่างนี้มาจากไหน ที่ตั้งของมันอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ดวงนั้น เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แท้ๆ กายมนุษย์จะเป็นอยู่ได้ก็เพราะอาศัยธรรมดวงนั้น ถ้าธรรมดวงนั้นไม่มีแล้วละก็ กายมนุษย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ ดับ ถ้าธรรมดวงนั้นยังมีปรากฏอยู่ละก็ มนุษย์ไม่ดับ เป็นมนุษย์ปรากฏอยู่เหมือนกัน จะแก่เฒ่าชราช่างมัน พอดวงนั้นดับมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้ ต้องดับกัน ถ้าธรรมดวงนั้นผ่องใส มนุษย์ก็รุ่งโรจน์ผ่องใสเหมือนกัน ถ้าธรรมดวงนั้นขุ่นมัวเสีย มนุษย์ก็ซูบเศร้าไปไม่ผ่องใส ดวงนั้นเป็นสำคัญ ดวงนั้นแหละเป็นที่ตั้งของเห็นของจำ ของคิด ของรู้ ดวงเห็นก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่อยู่ข้างนอก ดวงจำก็อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้ก็อยู่ข้างในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ในกลางของดวงคิดอีกทีหนึ่ง ๔ ดวงอยู่นั่น ต้นเหตุอยู่นั่น ที่ออกมาปรากฏที่กายมนุษย์ก็ดี ที่หัวใจมนุษย์นี่ก็ดี ออกมาปรากฏอยู่เป็นดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ข้างนอกนี้ นี่เป็นดวงหยาบ นี่เป็นชั้นเป็นต้นเป็นปลาย นี่เป็นรากเง่า อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ในกลางดวงนั้นแท้ๆ
    อ้าย ๔ ่ดวงนั้นแหละเรียกว่า ใจ ถ้าว่าหยุดเป็นจุดเดียวกันละก็ เอาละ ท่านยืนยันสมาธิมาแล้ว สมาหิตํ ยถาภูตํ ปชานาติ จิตตั้งมั่น หยุดเป็นจุดเดียวกัน รู้ตามความเป็นจริงทีเดียว ถ้าว่าไม่ตั้งมั่นก็ไม่เรียกว่าเป็นสมาธิ ตั้งมั่นแล้วก็เป็นสมาธิ นี่ได้แสดงมาแล้ว สมาธินี่แหละเป็นต้นของปัญญา ปัญญาที่จะมีขึ้นก็เพราะอาศัยสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ เข้าถึงสมาธิไม่ได้ก่อน มีปัญญาไม่ได้ ปัญญาเป็นตัวสำคัญ เป็นปลาย เป็นของละเอียดมากทีเดียว ผู้ที่มีปัญญาเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ผู้ที่มีปัญญาต้องเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ปัญญาเป็นดวงอยู่ ปัญญาที่เป็นดวงอยู่นั่น จะต้องพูดให้กว้าง แสดงให้กว้างออกไป จึงจะเข้าเนื้อเข้าใจกันแท้ๆ ปัญญาเป็นดวงปลาย
    ธรรมในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๕ ดวง ถ้าว่าจะกล่าวถึงองค์ มี ๑๐ ทสหิ องฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจติ ผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๑๐ ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ องค์ ๑๐ คืออะไร สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี่ ๘ องค์แล้ว สัมมาญาณ เป็นองค์ที่ ๙ สัมมาวิมุตติ เป็นองค์ที่ ๑๐ นี่มี ๑๐ อย่างนี้ เมื่อผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๑๐ ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ ต้องมี ๑๐ องค์ อย่างนี้จึงจะเป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าไม่เข้าถึงองค์ ๑๐ อย่างนี้ เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ๘ องค์ย่อลงเป็น ๓ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นปัญญาไป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว เป็นศีลไป สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิไป ก็รวมว่าศีลอยู่กลาง สมาธิอยู่ปลาย ปัญญาอยู่ต้น แต่ว่าเมื่อมาถึงพระสูตรนี้เข้า ปัญญาอยู่ข้างปลาย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา องค์ ๑๐ ย่อลงเหลือ ๕ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ นี่แหละหลักพระพุทธศาสนาละ
    ศีลน่ะ อยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ศีลถ้าว่าจะกล่าวตัวจริงละก็ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนั่นแหละ อยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด นี้แหละเป็นที่ตั้งของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้งนั้น ตลอดขึ้นไป ๑๘ ดวง
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ๘ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม-กายธรรมละเอียด [รวมเป็น] ๑๐ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา-กายพระโสดาละเอียด [รวมเป็น] ๑๒ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคา-กายพระสกิทาคาละเอียด [รวมเป็น] ๑๔ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา-กายอนาคาละเอียด [รวมเป็น] ๑๖ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต-กายพระอรหัตละเอียด [รวมเป็น] ๑๘ กาย
    มีดวงธรรมทั้งนั้น ดวงโตขึ้นไปเป็นลำดับ เมื่อถึงธรรมกายโคตรภู ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้วดวงธรรมจะมีขนาดเท่าหน้าตักธรรมกาย ตลอดจนกระทั่งถึงเป็นพระอรหัต พระอรหัตหน้าตัก ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใส ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว อยู่ศูนย์กลางกายพระอรหัตนั้น นี่ให้รู้จักหลักนี้ก่อน
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในกลางดวงนี้ ดวงศีลเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ดวงสมาธิก็อยู่ศูนย์กลางดวงศีลนั่นแหละ ดวงเท่าๆ กัน ดวงปัญญาก็อยู่ศูนย์กลางดวงสมาธินั่นแหละ ดวงวิมุตติก็อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญานั่นแหละ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็อยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ กายมนุษย์ละเอียดก็อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น ถ้าต้องแสดงให้กว้างออกไปกว่านี้ ให้เข้าใจปัญญาชัดๆ อย่างนี้ละก็ จนกระทั่งถึงพระอรหัต ก็จะเข้ารู้จักปัญญาชัดๆ อย่างนี้ว่าปัญญามีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร
    เมื่อรู้จักดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา เช่นนี้แล้ว
    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เดินไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะอีก เข้าถึงกายทิพย์
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด
    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เดินแบบเดียวกันนี้ทั้ง ๑๘ กาย เดินไปแบบเดียวถึงพระอรหัตทีเดียว
    นั่นแหละต้องเดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะทั้งนั้น เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละเป็นหนทางนี่ ไม่ใช่ธรรมนี่ บอกเป็นหนทางนี่ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค หนทางมีองค์ ๘ ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ก็พูดถึงหนทางนี่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทาง ถ้าว่าไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีทางไป ไปนิพพานไม่ถูก ถ้าจะไปนิพพานให้ถูก ต้องไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนี่
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ วันนี้จะแสดงในเรื่องปัญญา ดวงปัญญาของมนุษย์ก็ขนาดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ของมนุษย์ละเอียด ทิพย์-ทิพย์ละเอียด รูปพรหม-รูปพรหมละเอียด โตเป็นลำดับขึ้นไป ของอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด โตหนักขึ้นไป แต่ว่าถึงเป็นลำดับขึ้นไปเท่าไร ก็ยังไม่ถึงเท่ากายธรรม กายธรรมใหญ่มาก ดวงปัญญานั้นขนาดไหน ปัญญาน่ะออกจากดวงนั้น ธรรมดวงนั้นของปุถุชน ปัญญาของปุถุชนมัว ความเห็นมัวไม่ชัดนัก คล้ายๆ เปลือกๆ ปัญญา ไม่ได้ใช้กำเนิดของปัญญา ไม่ได้ใช้ปัญญาที่เป็นแก่น ใช้ปัญญาที่เป็นเปลือกๆ เท่านั้น ปุถุชนใช้ปัญญาผิวๆ เผินๆ ตัวเองก็ไม่เห็นปัญญา ไม่รู้จักว่ามันอยู่ที่ไหน และก็ไม่รู้จักว่ารูปพรรณสัณฐานมันเป็นอย่างไร เพราะไม่เห็น เพราะทำไม่เป็น พอทำเป็นแล้วจึงเห็น ทำเป็นน่ะเห็นปัญญาทีเดียวว่า ดวงโตเท่านั้นเท่านี้ อยู่ที่นั่นที่นี่ ใช้ถูกทีเดียว ถ้าว่าทำไม่เป็นแล้วไม่เห็นปัญญา เป็นแต่รู้จักปัญญาเท่านั้น ไม่เห็นมัน ปัญญาที่ว่า อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อริยสาวกในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีปัญญา ปัญญานั่นดวงนั้นแหละ ประสงค์ดวงนั้น เรียกว่ามีปัญญาละ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิดความดับ ปัญญาก็ไม่ได้ดูอื่นนี่ ปัญญาน่ะมองดูแต่ความเกิดดับเท่านั้นแหละ หมดทั้งสากลโลกมีเกิดกับดับเท่านั้น รู้ชัดปรากฏชัดอยู่ว่าเกิดดับๆๆ เท่านั้น มีเกิดกับดับ ทั้งรู้ทั้งเห็นชัดทีเดียว เห็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้น รู้อย่างไรก็เห็นอย่างนั้น เห็นกับรู้ ตรงกัน แต่ว่าเมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ ตั้งต้นแต่มนุษย์ถึงรูปพรหมอรูปพรหม เห็นไม่ถนัดนักหรอก เห็นรัวๆ ไม่ชัดนัก เพราะเป็นของละเอียด เห็นความเกิดดับจริงๆ ตามนุษย์เรานี่ก็เห็น เอาไปเผาไฟเสียออกย่ำแย่เชียว ทิ้งน้ำ ฝังดิน เกิดดับๆ ทั้งนั้นแหละ หมดทั้งสากลโลก ตึกร้านบ้านเรือน ต้นไม้ ภูเขา สิ่งที่เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดดับ หมดทั้งนั้น เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้แหละ ไม่ใช่เห็นพอดีพอร้าย เราก็รู้ด้วยเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด รู้ชัดทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนปลาย รู้ได้ถี่ถ้วนดีทีเดียว นี้เรียกว่าปัญญา
    ปัญญาที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ ก็รู้เรื่องเหมือนกัน จะสิ้นไปแห่งทุกข์ด้วยวิธีอย่างไร ใช้ปัญญา แต่ว่ามัว ไม่ชัดทีเดียว เห็นโดยชอบที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันจริงแท้ หรือที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ เห็นจริงๆ รู้จริงๆ อย่างนี้ เห็นความสิ้นไป สิ้นไปแห่งทุกข์ทีเดียว ว่าทุกข์จะหมดไปได้ด้วยวิธีนี้อย่างนี้ ถ้าไม่ถึงธรรมขนาดนี้ทุกข์หมดไปไม่ได้ นี้ความจริงก็รู้อยู่ชัด แต่ว่ารู้ด้วยปัญญา อย่างนี้รู้ด้วยปัญญา รู้อย่างชนิดนี้ เรียกว่า ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง
    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงนั้นขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ หมดทั้งก้อนกายเป็นตัวทุกข์แท้ๆ เกิดนี้เป็นทุกข์แท้ๆ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พวกนี้เป็นทุกข์แท้ๆ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ว่า อ้ายนี่ทุกข์แท้ๆ ทุกข์ทั้งก้อน พึงเห็นชัดว่าเป็นตัวทุกข์ทีเดียว ทุกข์แท้ๆ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ อ้ายทุกข์อันนี้เป็นผล ทำอะไรไม่ได้ เป็นทุกข์แท้ๆ ทั้งก้อนร่างกายนี้ เหตุให้มี เหตุให้เกิดทุกข์ มีอยู่ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ให้รู้ชัดเห็นชัดเทียว กามตัณหา ความอยากได้ ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น วิภวตัณหา ความไม่อยากให้มีให้เป็น นึกดูซี อยากได้อะไรเล่า ถ้าอยากได้ลูกสักคนซี เมื่อได้ แล้วเอามาทำไม เอามาเลี้ยงน่ะซี เมื่ออยากได้สัก ๑๐๐ คนเล่า ให้เสีย ๑๐๐ คนเทียว เอาแล้ว เห็นทุกข์แล้ว ๑๐๐ ร้อยคน ต้องทำบริหารใหญ่แล้ว นี่ทุกข์แท้ๆ อยากได้ลูกนี่ อยากได้เมียสักคน อ้าวได้มาแล้ว เอามาทำไม อ้าวให้สัก ๑๐๐ คนเชียว เอาอีกแล้ว เลี้ยงไม่ไหวอีกแล้ว เห็นทุกข์อีกแล้ว อ้าวอยากได้ไปซี เป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่ใช่อื่น เพราะกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อได้มาแล้ว ไม่อยากให้มันแปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ต้องแปรเป็นธรรมดา ไม่แปรไม่ได้ ต้องแปรอยู่เป็นธรรมดา เมื่อไม่อยากให้แปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ได้ฝืนกันล่ะ ได้ขืนกันล่ะ รู้ชัดๆ ซีว่าเป็นอย่างนี้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นทุกข์แท้ๆ
    ที่จะหมดไปสิ้นไป ไม่เป็นทุกข์ เราจะทำอย่างไร ต้องดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกข์เหล่านั้นจึงจะหมด ถ้าไม่ดับกามตัณหา ทุกข์ไม่หมดหรอก ถ้าดับเสียได้เป็นอย่างไร ถ้า ดับเสียได้ก็เป็นนิโรธนะซี นิโรธเขาแปลว่าดับ จะเข้าถึงซึ่งความดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องทำอย่างไร จะเข้าดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องเข้าถึงซึ่งมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง ไม่ใช่อื่น มรรคน่ะ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง เดินไปทาง ศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์หยาบ
    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด หลุดเสียแล้วกายมนุษย์หยาบ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียด หลุดไปแล้ว หมดทุกข์ไป อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น ทุกข์หมด เข้ากายมนุษย์ละเอียด อย่างหยาบหมด เข้าถึงกายทิพย์ อย่างหยาบอย่างละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายรูปพรหม ส่วนโลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม ส่วนราคะ โทสะ โมหะ หมด
    • เข้าถึงกายธรรม กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย หมด เข้าถึงกายธรรม เดินทาง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระโสดา สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส หมด
    • เข้าถึงกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างหยาบหมด
    • เข้าถึงกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดหมด เหลือแต่รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด หมดกิเลส รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หมดไม่เหลือเลย เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม
    ที่พระองค์แนะนำให้รู้จักว่า สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ดี อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ดี วิราคธรรม เป็นยอดกว่าธรรมเหล่านั้น ถึงพระอรหัต ก็เข้าวิราคธรรมทีเดียว เป็นธรรมกายหน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่หมดทุกข์ แค่นี้หมดทุกข์ ทุกข์หมดไป สิ้นไป หาเศษ มิได้ นี่ดับทุกข์ได้จริงๆ อย่างนี้ เพราะดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าถึงวิชชา ดับ อวิชชาได้ทีเดียว นี่หลุดได้อย่างนี้นะ เมื่อหลุดได้อย่างนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในพระอรหัตยังมีไหมล่ะ ก็มีอยู่ซิ ทำไมจะไม่มีล่ะ ถ้าศีลไม่มี ท่านจะ บริสุทธิ์ได้ดีอย่างไร สมาธิมีไหมล่ะ สมาธิก็ดวงวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา ศีลก็เท่ากัน สมาธิ ก็เท่ากัน ปัญญาก็เท่ากัน นั่นแหละของพระอรหัต ท่านเรียกว่า โลกุตตรปัญญา เรียก ศีล สมาธิ ปัญญา ขั้นนั้นเป็นโลกุตตระอย่างสูง เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว พ้นจากสราคธาตุสราคธรรมไป เมื่อรู้จักชัดอย่างนี้แล้ว นี้แหละ ทางปัญญานี่แหละให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ครั้นจะชี้แจงแสดงให้กว้างขวาง เวลาไม่จุพอ เสียงระฆังตีบอกเวลาอาราธนาให้สวด มนต์อีกแล้ว เหตุนี้ต้องย่นย่อในทางปัญญานี้ไว้พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวจฺเชน ด้วยอำนาจ ความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ในเรื่องทางปัญญาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจง บังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]


    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    คารวาทิกถา


    ๑๐ มกราคม ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    <TABLE style="COLOR: #666666" width="65%"><TBODY><TR><TD width="29%"></TD><TD width="28%">เย จ สมฺพุทฺธา อตีตา
    โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ
    สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน
    อถาปิ วิหริสฺสนฺติ
    ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน
    สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ</TD><TD width="43%">เย จ พุทฺธา อนาคตา
    พหุนฺนํ โสกนาสโน
    วิหาสุ ํ วิหรนฺติ จ
    เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา
    มหตฺตมภิกงฺขตา
    สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>




    ... เข้าถึงเป็นชั้นๆ จนกระทั่งถึงกายพระอรหัต เข้าถึงกายพระอรหัต เขาไม่ถอนถอยทีเดียว เขาจะเป็นพระอรหันต์ให้ได้อย่างนี้ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ละก็นั่นแหละ เคารพพระสัทธรรมแท้ๆ แน่วแน่ละ คนนั้นน่ะเป็นอายุพระศาสนา เป็นกำลังพระศาสนาทีเดียว เป็นตัวอย่างอันดีของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในยุคนี้และต่อไปในภายหน้าทีเดียว ได้ชื่อว่าทำตนของตนให้เป็นกระสวน เป็นเนติแบบแผนทีเดียว ไม่เสียทีที่พ่อแม่อาบน้ำ ป้อนข้าว อุ้มท้องมา ไม่เสียทีเปล่า แม้จะทูนไว้ด้วยเศียรเกล้าก็ไม่หนักเศียรเกล้าเปล่า จะอาบน้ำป้อนข้าว ก็ไม่เหนื่อยยากลำบากเปล่า ได้ผลจริงจังอย่างนี้...
    ”​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาของท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ล้วนประกอบด้วยส่วน เจตนาใคร่เพื่อจะฟังพระสัทธรรมเทศนา
    ก็ ณ บัดนี้อาตมาจะได้แสดงในเรื่องคารวาทิกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภถึงความเคารพในพระธรรมเป็นข้อใหญ่ใจความสำคัญ เรื่องนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกๆ พระองค์ ย่อมเป็นแบบเดียวกันหมด ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าที่จะเคารพสิ่งอื่นไม่มี นอกจากพระธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าเคารพพระธรรมอย่างเดียว คือ เมื่อได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ตั้งพระทัยแน่แน่ว สิ่งอื่นนอกจากพระธรรมที่ตถาคตจะเคารพนั้นไม่มี ประเพณีพระพุทธเจ้าแต่ก่อนๆ ก็แบบเดียวกัน เมื่อได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ก็เคารพพระธรรมอย่างเดียวเท่านั้น
    การเคารพต่อพระธรรมเราต้องเข้าใจเสียให้ชัด วันนี้จะชี้แจงแสดงให้แจ่มแจ้งว่า การเคารพทำท่าไหนอย่างไรกัน ความเคารพของเราท่านทั้งหลายในบัดนี้ ซึ่งปรากฏอยู่ เมื่อเด็กๆ เล็กๆ ก็เคารพต่อพ่อแม่ เพราะได้นมจากพ่อแม่เลี้ยงอัตภาพให้เป็นไป หายหิว เคารพต่อพ่อแม่ก็เพื่อจะกินนมเท่านั้นเอง ยังไม่รู้เรื่องเดียงสาอันใด เคารพแม่จะรับนมเท่านั้น ครั้นเจริญวัย วัฒนาเป็นลำดับ อยากได้ผ้าเครื่องนุ่งห่ม พ่อแม่ให้ ก็เคารพพ่อแม่อีก เมื่อพ่อแม่ให้ผ้าเครื่องนุ่งห่มก็เคารพ เพราะอยากได้ผ้านุ่มห่มเท่านั้นจึงได้เคารพ ครั้นเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับขึ้นไป การอยากได้มันก็มากออกไป อาหารเครื่องเลี้ยงท้องอีก อยากได้อาหารเครื่องเลี้ยงท้องหิว ได้จากพ่อแม่ หิวเวลาใดก็เคารพพ่อแม่อีก เคารพเพื่อจะกินอาหารเท่านั้น ไม่ได้เคารพเรื่องอื่น แล้วก็ต่อมาจะต้องการสิ่งใดเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับ ต่างว่าเด็กหญิงเด็กชายก็มีนิสัยดี อยากจะเล่าเรียนศึกษาก็ต้องอ้อนวอนพ่อแม่ เคารพพ่อแม่อีก เพื่อจะได้ทุนค่าเล่าเรียนศึกษา เคารพเท่านั้นไม่ได้เคารพเรื่องอื่น ครั้นเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับ เมื่อได้เล่าเรียนศึกษาสำเร็จแล้ว จะครองเรือนจะทำการสมรสก็ต้องเคารพพ่อแม่อีก เอาเงินเอาทองจากพ่อแม่ เคารพเพื่อจะเอาเงินเอาทองไปแต่งงานเท่านั้น ไม่ได้เคารพเรื่องอื่น เมื่อต้องภัยได้ทุกข์ใดๆ ก็คิดถึงพ่อแม่ เพราะจะให้พ่อแม่ช่วยเหลือแก้ไข เคารพพ่อแม่ก็เพื่อจะให้พ่อแม่ช่วยแก้ไขเพื่อให้ตัวเป็นสุขสบายเท่านั้น
    การเคารพเหล่านี้พระพุทธเจ้าก็ได้ทำมาแล้ว แต่เด็กๆ มา เราก็ได้ทำมาแล้วแต่เด็กๆ การเคารพเหล่านี้เคารพอย่างเด็กๆ ปราศจากปัญญา เคารพที่มีปัญญากัน พ่อบ้านก็เคารพแม่บ้าน แม่บ้านก็เคารพพ่อบ้าน เพื่อต้องการให้ความสุขซึ่งกันและกัน เคารพต้องการให้ความสุขนั่นเอง ต้องการเอาความสุขนั่นเอง หรือต้องภัยได้ทุกข์ใดๆ ไม่มีใครจะช่วยเหลือ พ่อบ้านก็คิดถึงแม่บ้าน แม่บ้านก็คิดถึงพ่อบ้าน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ถ้าช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ได้ ก็ต้องเลิกกัน เลิกเคารพกัน เลิกนับถือกัน ต้องแยกจากกัน นี่ความเคารพกัน เป็นอย่างนี้
    การเคารพเหล่านี้เป็นการเคารพสามัญทั่วโลกเป็นอยู่อย่างนี้ การเคารพของพระพุทธเจ้า ที่ว่าท่านเป็นผู้เคารพในพระสัทธรรม การเคารพทั้งหลายที่ท่านได้ผ่านมาแล้วมากน้อยเท่าใด นอกจากเคารพในธรรมแล้วไม่ประเสริฐเลิศกว่า นี่ประเสริฐเลิศกว่า ท่านถึงปล่อยความเคารพ วางความเคารพอื่นเสียทั้งหมด เคารพในพระสัทธรรมทีเดียว การเคารพในพระสัทธรรม เคารพในพระสัทธรรมท่านก็แนะนำ วางตำรับตำราไว้ให้เป็นเนติแบบแผนของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในยุคนี้และตั้งแต่ครั้งพุทธกาลนั้นมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ และต่อไปในภายหน้า สมที่บาลีว่า เย จ สมฺพุทฺธา อตีตา เย จ พุทฺธา อนาคตา โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน วิหาสุ ํ วิหรนฺติ จ อถาปิ วิหริสฺสนฺติ เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ดังนี้ พระคาถาหนึ่งแปลเนื้อความเป็นสยามภาษาว่า พระสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วด้วย พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้าด้วย พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดซึ่งยังความโศกของชนเป็นอันมากให้พินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในบัดนี้ด้วย สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน ล้วนเคารพสัทธรรมทั้งสิ้น วิหาสุ ํ วิหรนฺติ จ มีอยู่แล้วด้วย มีอยู่ในบัดนี้ด้วย แม้อันหนึ่งจะมีต่อไปในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้าด้วย ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน มหตฺตมภิกงฺขตา สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สรํ พุทฺธาน สาสนํ เพราะเหตุนั้นบุคคลผู้อยากเป็นใหญ่ บุคคลผู้หวังประโยชน์แก่ตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพพระสัทธรรม คำนี้เป็นศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกๆ พระองค์สืบมาเป็นดังนี้ ให้ความเคารพพระสัทธรรมอันเดียวเท่านั้น
    คำว่าเคารพสัทธรรมเป็นข้อที่ลึกล้ำนัก คำว่าเคารพ ทำกันอย่างไร ทำกันท่าไหน ทำกันไม่ถูก ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ทำไม่ถูก ไม่ใช่เป็นของทำง่าย พระพุทธเจ้ากว่าจะเคารพพระสัทธรรมถูก ต้องสร้างบารมี ๔ อสงไขยแสนมหากัป ๘ อสงไขยแสนมหากัป ๑๖ อสงไขยแสนมหากัป กว่าจะทำความเคารพในพระสัทธรรมถูก กว่าจะปลงใจลงไปเคารพในพระสัทธรรมอย่างเดียว ไม่เคารพอื่นต่อไป กว่าจะถูกลงไปดังนี้ไม่ใช่เป็นของเล็กน้อย บัดนี้เรามาประสบพบพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าบอกแล้ว เราเชื่อพระพุทธเจ้ากันละว่า จะเคารพธรรมตามเสด็จพระพุทธเจ้า เหมือนพระพุทธเจ้า แล้วท่านย้ำไว้ในท้ายพระสูตรนี้ว่า บุคคลผู้รักตน ผู้มุ่งหวังประโยชน์แก่ตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพสัทธรรม ถ้าเคารพสัทธรรม ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย พระพุทธเจ้าท่านเคารพพระสัทธรรม ท่านก็เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ในชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล เป็นใหญ่กว่าหมดทั้งนั้น ท่านเคารพสัทธรรม ถ้าไม่เคารพสัทธรรมละก้อ ด้อย เป็นใหญ่กับเขาไม่ได้ ถ้าเคารพสัทธรรม ละก้อ ไม่ด้อย เป็นใหญ่กับเขาได้ เราจะต้องรู้จักพระสัทธรรมและรู้จักท่าเคารพ นี้เป็นข้อสำคัญ
    พระสัทธรรมคืออะไร เราจะเคารพ เราจะทำท่าไหน ข้อนี้แหละเป็นของยากนักหละ
    พระสัทธรรมนั้น ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ เวลานี้อยู่กลางกายมนุษย์ ธรรมดวงนั้นแหละ ใสบริสุทธิ์มีอยู่ในกายมนุษย์ กายมนุษย์นั้นก็ได้รับความสุขรุ่งเรืองผ่องใส ถ้าธรรมดวงนั้นซูบซีดเศร้าหมอง กายมนุษย์นั่นก็ไม่รุ่งเรืองไม่ผ่องใส
    • นั้นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงหนึ่งเท่าฟองไข่แดงของไก่ นี่ไม่ใช่ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ แต่ว่าแบบเดียวกัน
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ตั้งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ละเอียดนั้น ๒ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสดุจเดียวกัน ใสหนักขึ้นไป
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ๓ เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว แบบเดียวกัน
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ๔ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ใหญ่ขึ้นไปเป็นลำดับ นี่ ดวงธรรมหละ
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ๕ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสกลมรอบตัว นี่ดวงธรรมละ
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ๖ เท่าฟองไข่แดงของไก่
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ใสหนักขึ้นไป ๗ เท่าฟองไข่แดงของไก่
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ๘ เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นแหละที่รู้จักธรรม ดวงธรรมนั่นแหละ ธรรมอื่นจากนี้ไม่มี นี่แหละดวงธรรมละ บอกตรงละ ดวงธรรมนั่นแหละ
    • ทีนี้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักของกายธรรม กายธรรมหน้าตักเท่าไหน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมก็วัดผ่าศูนย์กลางโตเท่านั้น กลมรอบตัว
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัวเท่ากัน
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๕ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๕ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว นี่ พระพุทธเจ้านี้
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลางโตหนัก ขึ้นไป นี่แค่ ๒๐ วา นี่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าสำเร็จดวงเท่านี้
    ที่พระพุทธเจ้าท่านเคารพพระสัทธรรมท่านทำท่าไหนล่ะ ทีนี้ถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านจะทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าเคารพพระสัทธรรม เราจะเคารพบ้าง จะทำเป็นตัวอย่าง เอาพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เราจะเคารพบ้าง พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ทำท่าไหน ท่านเอาใจของท่านนั่นแหละหยุดไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายของท่าน ท่านหยุดขึ้นไปตั้งแต่กายมนุษย์นี้ที่แสดงไปแล้ว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นลำดับขึ้นไป เข้าถึงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด กายธรรม-กายธรรมละเอียด โสดา-โสดาละเอียด สกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด พระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เข้าถึงพระอรหัตโน่น พอถึงพระอรหัตแล้ว ใจท่านติดอยู่กับดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ไม่ถอนเลยทีเดียว ติดแน่นทีเดียว ติดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตนั่น ติดอยู่กลางดวงธรรมนั่นแหละ ไม่คลาดเคลื่อนละ ถอนไปไหนก็ไม่ไป ติดอยู่นั่นแหละ ติดแน่นทีเดียว
    เมื่อติดแน่นแล้วท่านก็สอดส่องมองดูทีเดียวว่า ประเพณีของพระพุทธเจ้า เมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนับถืออะไร เคารพอะไร เคารพอะไรบ้าง ไปดูหมด ไปดูตลอดหมด ทุกพระองค์เหมือนกันหมด แบบเดียวกันหมด ใจของท่านมาติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านี้ทั้งนั้น ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า กำเนิดดวงธรรมที่ทำให้พระพุทธเจ้า หยุดอยู่นี้เอง ติดแน่นไม่ถอยถอนหละ อินฺทขีลูปโม เหมือนอย่างกับเสาเขื่อนปักอยู่ในน้ำ ถ้าลมพัดมาแต่ทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ ไม่เขยื้อน หรือไม่ขยับ ปพฺพตูปโม เหมือนอย่างภูเขา ลมพัดมาแต่ทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ ใจไม่เขยื้อน แน่นเป๋งเชียว แน่นกั๊กทีเดียว นั่นแหละใจ แน่นอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านั่นแหละ นั่นแหละเรียกว่า สทฺธมฺมครุโน ละ ท่านเป็นผู้เคารพพระสัทธรรม เมื่อท่านเห็นเช่นนั้น บัดนี้จะเคารพใคร ไม่มีแล้วที่เราจะเคารพ ในมนุษย์โลกทั้งหมดต่ำกว่าเราทั้งนั้น ในเทวโลก พรหมโลก อรูปพรหมต่ำกว่าเราทั้งนั้น ตลอดไม่มีแล้วในภพทั้ง ๓ จะหาเสมอเราไม่มี สูงกว่าเราไม่มี เราสูงกว่าทั้งนั้น ที่เป็นอย่างเรา ไม่มี เราสูงกว่าทั้งนั้น พระองค์ก็ตั้งพระทัยวางพระทัยหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่นเอง ที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั้นนั่นแหละ กลางดวงอย่างนั้น และสมด้วยบาลีว่า เย จ สมฺพุทฺธา อตีตา พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ในอดีตที่เป็นไปล่วงแล้วมากน้อยเท่าไรไม่ว่า เย จ พุทฺธา อนาคตา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺนํ โสกนาสโน พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดซึ่งยังความโศกของมหาชนเป็นอันมากให้วินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ นี่พระสิทธัตถกุมารองค์นี้แหละ สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน ล้วนเคารพพระสัทธรรมทั้งสิ้นแบบเดียวกัน ใจหยุดอยู่แบบเดียวกันหมด ใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้านั่นแหละ ไม่ไปอื่นเลยแต่นิดหนึ่ง ติดแน่นเลยทีเดียว ไม่เผลอทีเดียว เรียกว่าท่านไม่เผลอจากดวงธรรมนั้นทีเดียว นั่นแหละเรียกว่า สทฺธมฺมครุโน เคารพสัทธรรม
    เมื่อท่านเคารพสัทธรรมแน่นหนาอยู่อย่างขนาดนี้แล้ว ไม่คลาดเคลื่อน ท่านจึงได้เตือนพวกเราว่า วิหาสุ ํ พระพุทธเจ้ามากน้อยเท่าใดที่มีอยู่แล้วเป็นอดีต วิหรนฺติ จ พระพุทธเจ้าที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ อถาปิ วิหริสฺสนฺติ อนึ่ง พระพุทธเจ้าที่จะมีในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้าต่อไป เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ข้อนี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายต้องใจติดอย่างนี้แบบเดียวกัน
    บัดนี้เราเป็นมนุษย์เราจะต้องปฏิบัติแบบนี้ ภิกษุจะต้องปฏิบัติแบบนี้ เป็นสามเณร ก็จะต้องปฏิบัติแบบนี้ เป็นอุบาสกอุบาสิกาจะต้องปฏิบัติแบบนี้ทั้งหมด ก็บัดนี้ใจเราไม่ติด จะทำอย่างไรกัน พร่าเสียหมดแล้ว ไม่ติดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เราจะทำอย่างไรกัน นี่แน่ไม่ติดอย่างนี้ เรียกว่าไม่ถูกตามความประสงค์ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ถ้าว่าใจไปติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เหมือนอย่างกับท่านติดอย่างนั้นละก้อ ก็ถูกเป้าหมายใจดำของพุทธศาสนาทีเดียว เราจะต้องแก้ไขใจของเราให้ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เห็น จำ คิด รู้ มันแตก ไม่เข้าไปติดอยู่ตรงนั้น เราจะแก้ให้ติด มันก็ไม่ติด มันติดเสียข้างอื่น เช่น เราจะฟังธรรมสักครู่หนึ่ง ให้ติดให้มันหยุด มันไม่หยุด เที่ยวพร่าไปเสียหมด โน่น นั่งอยู่นี่แหละ จะเทศน์ก็ดี โน่น แลบไปโน่น จะฟัง ธรรมก็ดี โน่น แลบไปบ้านไปช่อง ไปห่วงวัวห่วงควาย ไปหาอะไรมิอะไรไปโน่น ไปตลาด ไปถนนหนทาง ไปโน่น มันพร่าไปเสียอย่างนั้น มันไม่ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ มันก็เป็นใหญ่ไม่ได้ มันใหญ่ไม่ได้ มันไม่ถูกเป้าหมายใจดำ
    ที่จะเป็นใหญ่ได้ ใจมันต้องเชื่อง ต้องติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ถ้าติดอยู่ได้เช่นนั้น ภิกษุหรือสามเณรติดอยู่ได้เช่นนั้นละก้อ จะเป็นภิกษุที่เป็นใหญ่ จะเป็นสามเณรที่เป็นใหญ่ ถ้าเป็นอุบาสกอุบาสิกาเล่า ถ้าใจไปติดอยู่ตรงนั้นละก้อ จะเป็นอุบาสก อุบาสิกาที่เป็นใหญ่ แต่ว่าเขาทำกันติดได้มีนะ ในวัดปากน้ำเขาทำติดได้กันมากทีเดียวแหละ
    • ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ไม่หลุดหละ ก็ไม่ช้าเท่าไรหรอก ติดอยู่กลางนั่นแหละ
    • ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละก้อ กลางของกลางๆๆ พอหยุดได้ ก็กลางของกลางๆๆๆๆ อยู่นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด
    • หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เข้ากลางหยุดอีกนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆๆๆ ก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์
    • พอเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ก็เข้ากลางของกลางๆๆๆ ที่ใจหยุดนั่นแหละ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด
    • แต่พอเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ใจก็หยุด เข้ากลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆๆ ทีเดียว จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม
    • เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม แล้วหยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ก็เข้ากลางของหยุดอีก กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า ก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด
    • เมื่อใจเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดแล้ว พอหยุดแล้วเข้ากลางของกลางที่ใจหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆ ก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม
    • เมื่อเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมแล้วใจก็หยุด ก็เข้ากลางของใจหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด
    • พอเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดแล้ว ใจก็หยุดอยู่กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆๆ
    • หนักเข้าก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ใจก็หยุดอยู่กลางของหยุดอีกนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด
    • แล้วหยุดกลางของหยุดนี้แหละ กลางของกลางๆๆๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา พอเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาแล้ว หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา กลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด
    • เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายโสดาละเอียดแล้ว หยุดกลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา
    • เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาแล้ว หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้พระสกทาคาละเอียดที่เดียวกัน อยู่กลาง กายมนุษย์นี่แหละ ไม่ได้ไปที่อื่น
    • หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียดแล้ว เข้ากลางของใจที่หยุด และกลางของกลางๆๆๆๆๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา
    • เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาแล้ว หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา พอหยุดแล้ว เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลางๆๆๆๆ จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด
    • เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียดแล้ว หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด กลางของกลางๆๆๆๆ หนักเข้าจะเข้าถึงกายพระอรหัต เป็นตัวพระพุทธเจ้าทีเดียว
    • เมื่อเข้าถึงกายพระอรหัต เมื่อถึงกายพระอรหัตแล้วหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตนั้น กลางของกลางๆๆๆๆๆๆ ไม่มีไปไหนละ เข้าถึงกายธรรมของพระอรหัตละเอียดก็กลางของกลางนั่นแหละ กลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ละเอียดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆๆ
    ตั้งแต่เป็นพระพุทธเจ้าแล้วไม่ได้ถอยจากการหยุดเลย กลางของกลางอย่างนี้เรื่อยไป ท่านจึงถึงซึ่งความเป็นใหญ่ เราต้องไหว้บูชาขนาดนี้ เราก็ต้องเดินแบบนี้ซิ เป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในพุทธศาสนา เดินแบบนี้ไม่ได้ ก็ใช้ไม่ได้ ไม่ถูก ไม่ถูกเป้าหมายใจดำ ไม่เคารพพระพุทธเจ้า ไม่นับถือพระพุทธเจ้า ไม่บูชาพระพุทธเจ้า
    ท่านถึงได้กล่าวเป็นบทไว้ว่า คำที่เรียกว่าธรรม คือ ทำดี ไม่ใช่ทำชั่ว ท่านยกเป็นตำรับ ตำราไว้ว่า <TABLE style="COLOR: #0000ff" width="65%"><TBODY><TR><TD width="29%"></TD><TD width="28%">น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ
    อธมฺโม นิรยํ เนติ</TD><TD width="43%">อุโภ สมวิปากิโน
    ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตึ.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อุโภ สภาวา สภาพทั้งสอง ธมฺโม จ คือธรรมด้วย อธมฺโม จ คือไม่ใช่ธรรมด้วย น สมวิปากิโน มีผลไม่เสมอกัน หามีผลเสมอกันไม่ อธมฺโม นิรยํ เนติ อธรรมที่ไม่ใช่ธรรม ย่อมนำสัตว์ไปสู่นรก ธมฺโม ปาเปติ สุคฺคตึ สิ่งที่เป็นธรรม สภาพที่เป็นธรรม ยังสัตว์ให้ถึงซึ่งสุคติ ไม่เหมือนกันอย่างนี้
    เมื่อรู้จักสภาพที่ไม่เป็นธรรม ถ้าว่าเราอยู่เสียกับธรรมเช่นนี้แล้ว สภาพที่ไม่เป็นธรรมก็ไม่เข้ามาเจือปนได้ ไม่สามารถทำอะไรกับเราได้ เราอยู่เสียกับธรรมเรื่อยไป ไม่ออกจากธรรม ไม่ถอนจากธรรมทีเดียว สภาพที่ไม่ใช่ธรรมก็มาทำอะไรไม่ได้ สิ่งที่เป็นบาปอกุศล ที่เป็นชั่วร้ายมาทำอะไรไม่ได้ เราอยู่กับธรรมเรื่อยไป อยู่กับฝ่ายดีฝ่ายเดียว เมื่ออยู่ฝ่ายดีฝ่ายเดียว แตกกายทำลายขันธ์ กายก็ไม่มีเสีย วาจาก็ไม่มีเสีย ใจก็ไม่มีเสีย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ก็มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า นรกไม่มีทีเดียว นี่ขั้นต่ำไม่ไปนรกทีเดียว
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ ต้องปฏิบัติให้ถูกส่วน ให้ถูกในธรรมอยู่เสมอ อย่าเอาใจไปวางที่อื่น ให้จรดอยู่กลางดวงธรรม วางอยู่กลางดวงธรรมเสมอไป เรื่องนี้พระจอมไตรเมื่อมีพระชนม์อยู่ก็สอนอย่างนั้น ถึงแม้จะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว โอวาทของพระองค์ก็ยังทรงปรากฏอยู่ว่า
    อุกาส โย ปน ภิกฺขุ ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน วิหรติ สามีจิปฏิปนฺโน อนุธมฺมจารี โส ตถาคตํ สกฺกโรติ ครุกโรติ มาเนติ ปูเชติ ปรมาย ปูชาย ปฏิปตฺติปูชาย ว่าเราขอโอกาส ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยรูปใด ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติธรรมตามธรรม ปฏิบัติธรรมตามธรรมนั้นได้แก่ ใจหยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แล้ว ก็ให้เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด กายธรรม-กายธรรมละเอียด โสดา-โสดาละเอียด สกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด อรหัต-อรหัตละเอียด ก็ปฏิบัติตาม ธรรมอย่างนี้ ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติตามธรรมอย่างนี้ สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติชอบยิ่ง ให้ชอบหนักขึ้นไป ยิ่งหนักขึ้นไปไม่ถอยกลับ เหมือนพระบรมศาสดาดังนั้น ให้เป็นตัวอย่าง ดังนั้น อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรมไม่ขาดสาย อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรม ไม่ให้หลีกเลี่ยง ไม่ให้หลีกเลี่ยงจากธรรมไปได้ ให้ตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายตลอดไป นี่เรียกว่า อนุธมฺมจารี โส ภิกฺขุ ผู้ศึกษาในธรรมวินัยนั้น สกฺกโรติ ได้ชื่อว่าสักการะ ครุกโรติ ได้ชื่อว่าเคารพ มาเนติ ได้ชื่อว่านับถือ ปูเชติ ได้ชื่อว่าบูชา ตถาคตํ ซึ่งเราผู้ตถาคต ปรมาย ปูชาย ปฏิปตฺติปูชาย ด้วยปฏิบัติบูชา ด้วยการบูชาเป็นอย่างยิ่ง นี่ประสงค์อย่างนี้ ให้ได้จริงอย่างนี้
    นี่วัดปากน้ำเขาทำกันแล้ว มีธรรมอย่างนี้ไม่ใช่น้อย มีจำนวนร้อย ทั้งภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา แต่ว่าเขาพบของจริงขนาดนี้ เขาเผลอสติเสีย เขาไม่รู้ว่าของจริงสำคัญ เขาดันเอาใจไปใช้ทางอื่นเสีย เขาไม่นิ่งดิ่งหนักลงไป
    เข้าถึงเป็นลำดับไป เข้าถึงเป็นชั้นๆ จนกระทั่งถึงกายพระอรหัต เข้าถึงกายพระอรหัต เขาไม่ถอนถอยทีเดียว เขาจะเป็นพระอรหันต์ให้ได้อย่างนี้ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ละก็นั่นแหละ เคารพพระสัทธรรมแท้ๆ แน่วแน่ละ คนนั้นน่ะเป็นอายุพระศาสนา เป็นกำลังพระศาสนาทีเดียว เป็นตัวอย่างอันดีของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในยุคนี้และต่อไปในภายหน้าทีเดียว ได้ชื่อว่าทำตนของตนให้เป็นกระสวน เป็นเนติแบบแผนทีเดียว ไม่เสียทีที่พ่อแม่อาบน้ำ ป้อนข้าว อุ้มท้องมา ไม่เสียทีเปล่า แม้จะทูนไว้ด้วยเศียรเกล้าก็ไม่หนักเศียรเกล้าเปล่า จะอาบน้ำป้อนข้าว ก็ไม่เหนื่อยยากลำบากเปล่า ได้ผลจริงจังอย่างนี้ เหตุนี้เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต อุบาสกอุบาสิกา เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว อย่าเอาใจไปจรดอื่น ให้จรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ขั้นต้น จนกระทั่งถึงพระอรหัตขั้นสุดท้าย ๑๘ กายนี้ แล้วก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต อย่าถอยกลับ นิ่งแน่นอยู่นั่น นั่นแหละถูกเป้าหมายใจดำทางพระพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ใน คารวาทิกถา เฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาของภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ได้พากันมาสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาเห็นสภาวะปานฉะนี้ ด้วยอำนาจสัจจวาทีที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่าน ทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า รตนตฺตฺยานุภาเวน ด้วยอานุภาพรัตนะ ทั้ง ๓ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ สามประการนี้ จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ให้อุบัติบังเกิดมี เป็นปรากฏในขันธปัญจกแห่งท่านทั้งหลายทุกถ้วนหน้า ที่ได้ชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    เบญจขันธ์
    ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๖

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    <TABLE style="COLOR: #666666" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ
    เอเต ธมฺมา อนิจฺจาว
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข</TD><TD width="42%">เอวํ หุตฺวา อภาวโต
    ตาวกาลิกตาทิโต
    ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ...ขันธ์ ๕ นี้ ชั่วที่สุดน่ะเป็นอย่างไร มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่กลางกายมนุษย์นั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่กลางกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดมีทั้งนั้น เป็นดวงให้เกิดทั้งนั้น ทำชั่วเกินส่วนเข้า ไม่มีดีเจือปนเลย วัดผ่าเส้นศูนย์กลางกลมรอบตัว ๒๐ วา มีชั่วฝ่ายเดียว ดีไม่มีเจือปนเลย แตกกายทำลายขันธ์ไปเกิดในโลกันต์นั่นแน่ะ ถ้าว่าหย่อนกว่า นั้นขึ้นมาก็อเวจี หย่อนกว่านั้นขึ้นมาฝ่ายได้รับทุกข์เป็นลำดับขึ้นมา จนกระทั่งถึงอสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปถึงอรูปพรหมโน่น นั่นทำดีๆ ไม่มีชั่วเจือปนเลย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว แตกกายทำลายขันธ์ไป นิพพานทีเดียว...
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เป็นอนุสนธิในการเทศนาเนื่องจากวันอาทิตย์โน้น เทศนาวันนี้จะแสดงในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ของเราท่านทั้งหลาย หญิงชาย ทุกถ้วนหน้า เบญจขันธ์ทั้ง ๕ นี้มีสภาพเกิดขึ้น ตั้งขึ้นอยู่ แตกแล้วดับไป ตำรับตำราได้กล่าวไว้ว่า อุปฺปาท แปลว่าความบังเกิดขึ้น ฐิติ แปลว่าตั้งอยู่ ภงฺค แปลว่าแตกสลายไป อุปฺปาท ฐิติ ภงฺค เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แตกสลายไป นี่เป็นใจความแท้ๆ ถ้าจะกลั่นลงไปให้แน่แท้ แล้วละก็ เกิดกับดับ ๒ อย่างเท่านั้น เกิดดับๆๆๆ อยู่อย่างนี้แหละทุกถ้วนหน้า ไม่ว่ามนุษย์คนใด หญิงชายคนใด ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาว ตาวกาลิกตาทิโต แปลเนื้อความเป็นสยามภาษาว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้น ดับไป เพราะความเป็นอย่างนั้นแล้วก็หาไม่ ที่ว่าเป็นของไม่เที่ยง เพราะมีความเป็นไปชั่วคราว เป็นต้น สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อเห็นตามปัญญาว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยงเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางบริสุทธิ์หรือเป็นหนทางหมดจดวิเศษ ความทุกข์ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่สัตว์โลก ปุนปฺปุนํ ปีฬิตตฺตา อุปฺปาเทน วเยน จ เต ทุกฺขาว อนิจฺจา เย อถ สนฺตตฺตตาทิโต สภาพอันไม่เที่ยง ชื่อว่า เป็นทุกข์แท้ เพราะเป็นสภาพที่ถูกความเกิดขึ้นและเสื่อมไปบีบคั้นอยู่เนืองๆ อนึ่ง เพราะว่าสภาพนั้นมีความเร่าร้อนเป็นต้น ถึงได้เป็นทุกข์เหลือทน สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางบริสุทธิ์ หรือเป็นหนทางหมดจดวิเศษ เป็นมรรคาบริสุทธิ์ วเส อวตฺตนาเยว อตฺตวิปกฺขภาวโต สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เต อนตฺตาติ ญายเร อัตภาพเหล่านั้นรู้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจของตัว เป็นปฏิปักษ์แก่ตัวด้วย เป็นสภาพว่างเปล่าและเป็นสภาพไม่มีเจ้าของ อัตภาพนั้นน่ะคือร่างกายของเราหมดทุกคนนี้ไม่ใช่อื่น ที่ว่าอัตภาพนั้นรู้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว ใครลองนับเป็น ตัวเข้า เดี๋ยวหายไปหมด ไม่มีใครรับว่าเป็นตัวหรอก รับว่าเป็นตัว เดี๋ยวก็หายไปหมด ไม่ใช่ตัวจริงๆ อย่างนี้เรียกว่าอัตภาพไม่ใช่ตัว รู้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว อัตภาพนั้นรู้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว วเส อวตฺตนาเยว เพราะไม่เป็นไปในอำนาจของตัว อตฺตวิปกฺขภาวโต เป็นข้าศึกแก่ตัวด้วย สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เพราะเป็นสภาพว่างเปล่าและไม่มีเจ้าของด้วย ใครจะเป็นเจ้าของเล่า รับรองดูซิ รับรองไม่ได้ เป็นอย่างนี้ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เป็นมรรคาอันบริสุทธิ์ นี่ประเด็น ของธรรมนี้ นี้แปลเนื้อความเป็นสยามภาษา ภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระธรรมวินัย ไตรปิฎก แปลกันอย่างนี้นะ ถ้าเราไม่แปลกันอย่างนี้ เราแปลไม่ออกเลย นี่มันเป็นภาษาเล่าเรียนของเขา ถ้าภาษาเทศน์จะต้องรู้อีกอย่างหนึ่ง ภาษาเทศน์ต้องอรรถาธิบายออกไป ประเด็นที่ได้กล่าวมานี้เป็นเทศนาเนื่องกับวันวานนี้ แสดงเรื่องปัญจขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เราท่านทั้งหมดด้วยกันนี้ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กันทั้งนั้น คำว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตัวตนเรานี้แหละ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา นี้แหละ มีอยู่ ๕ เท่านั้นแหละ รูป ๑ นาม ๔
    1. รูป ๑ ก็คือมหาภูตรูป ทั้ง ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ประชุมเป็นร่างกายนี้ นี่เรียกว่ารูปขันธ์
    2. เวทนา ก็เวทนา ความรับอารมณ์ ความรู้อารมณ์ เวทนา แปลว่า ความรู้อารมณ์หรือรับอารมณ์ ทุกข์ สุข ไม่สุข ไม่ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เรียกว่าเวทนา
    3. สัญญา ตาจำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำสัมผัส ที่เราจำหมดทุกคน นี่แหละเรียกว่าสัญญา
    4. สังขาร ความคิดดี คิดชั่ว คิดไม่ดี คิดไม่ชั่ว
    5. วิญญาณ ความรู้แจ้งทางทวารทั้ง ๖ รู้แจ้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๕ ประการนี้เรียกว่าเบญจขันธ์ เบญจขันธ์ทั้ง ๕ นี้ เกิดกำเนิดของมันเกิดหลายประการ กำเนิดของมันเกิด ๔ เบญจขันธ์ทั้ง ๕ นี่ที่จะแสดงวันนี้ กำเนิดเกิดขึ้น ๔
    1. เกิดเป็นอัณฑชะ เกิดเป็นฟองไข่ เกิดเป็นฟองไข่เสียครั้งหนึ่ง แล้วมาฟักเป็นตัวอีกครั้งหนึ่ง นี้เขาเรียกว่า เทฺวชาติ เกิด ๒ ครั้ง หรือ ทฺวิชาติ ทฺวิชาติ แปลว่า เกิด ๒ ครั้ง เกิดเป็นไข่เสียครั้งหนึ่ง เกิดเป็นตัวเสียครั้งหนึ่ง นี่เกิด ๒ ครั้ง อย่างหนึ่งเรียกว่า ทฺวิชาติ
    2. สังเสทชะ เกิดด้วยเหงื่อไคล นี่เราไม่ค่อยเข้าใจเลยทีเดียว เรือด ไร เหา เล็น พวกนี้เกิดด้วยเหงื่อไคล เกิดด้วยเหงื่อไคลน่ะ ไม่ใช่แต่เรือด ไร เหา เล็น มนุษย์เราก็เกิดด้วยเหงื่อไคลได้เหมือนกัน ลูกของนางปทุมาวดีคลอดบุตรมาคนหนึ่งแล้ว ส่วนสัมภาวมลทินของครรภ์นั้น ที่ออกกับลูกนั่น ก็เป็นเลือดออกมาเท่าไรๆๆ ก็เป็นลูกทั้งนั้นถึง ๔๙๙ คน เป็น ๕๐๐ ทั้งออกมาคนแรก นั่นก็เรียกว่า สังเสทชะ เหมือนกัน เกิดด้วยมลทินของครรภ์นั้น เกิดได้อย่างนี้ เขาเรียกว่าเกิดด้วยเหงื่อไคล สังเสทชะ นี่อีกกำเนิดหนึ่ง
    3. ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ มนุษย์เกิดด้วยน้ำ สัตว์ต่างๆ ที่เกิดด้วยน้ำมีมาก
    4. อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด ลอยขึ้น บังเกิดเป็นมนุษย์ เกิดได้หรือ เกิดได้ มนุษย์เกิดได้ดีทีเดียว ลอยขึ้นบังเกิด ลอยขึ้นบังเกิดน่ะไม่มีพ่อมีแม่เหมือนนางอัมพปาลี เกิดที่ค่าคบมะม่วง โมคณสาทิกพราหมณ์ เกิดในดอกบัว ไม่ต้องอาศัยท้อง ลอยขึ้นบังเกิด เกิดขึ้นเป็นตัวเฉยๆ ขึ้นที่ค่าคบมะม่วงอายุ ๑๔-๑๕ ทีเดียว นางอัมพปาลี นั่นเขาเรียกว่าลอยขึ้นบังเกิด หรือไม่เช่นนั้น กายของเทวดาในชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี กายเทวดา กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นอุปปาติกะทั้งนั้น กายสัตว์นรก เป็นอุปปาติกะทั้งนั้น เปรตเป็นอุปปาติกะทั้งนั้น อสุรกาย เป็นอุปปาติกะทั้งนั้น นี่ลอยขึ้นบังเกิดทั้งนั้น กำเนิดทั้ง ๔ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ อุปปาติกะ
    กำเนิดนี้แหละล้วนแล้วด้วยขันธ์ทั้ง ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดในมนุษย์หมดทั้งกามภพนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดในเทวดา ๖ ชั้น ก็ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังนี้แหละ จะเกิดในรูปพรหม ก็ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดในอรูปพรหม ก็ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    แต่ว่าต่างอยู่อีกพวกหนึ่ง คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ชั้นเบื้องบนสูงขึ้นไป เกิดแล้วก็สัญญาละเอียดเต็มที่ รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ ไปเกิดในชั้นนั้นได้รับความสุขในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ๘๔,๐๐๐ กัป มหากัป ๘๔,๐๐๐ มหากัป อยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั่น อ้ายนั่นแปลก ไม่นับเข้าในวิญญาณฐิติ แต่ว่ายังอยู่ในสัตตาวาส ๙ นั่นพวกหนึ่งเกิดแปลก อีกพวกหนึ่งเกิดแปลกอีก ในชั้นพรหมที่ ๑๑ อสัญญีสัตว์ เบื่อนามติดรูป อ้ายนี่เบื่อนามติดรูป เบื่อว่าอ้ายความรู้นี่แหละ มันได้รับทุกข์ร้อนลำบากนัก พอได้จตุตถฌานแล้ว ปล่อยรู้เสีย นั่งหัวโด่อยู่นั่น ปล่อยรู้เสีย เป็นมนุษย์ก็นั่งหัวโด่ ไปเขย่าตัวก็ไม่รู้เรื่องกัน นานๆ แล้วรู้เสียทีหนึ่ง ฌานนั้นแหละไม่เสื่อม แตกกายทำลายขันธ์ เบื่อนามติดรูป ไปเกิดในชั้นพรหมที่ ๑๑ ไปนอนอืดอยู่ ที่เขาเรียกว่าพรหมลูกฟักก็เรียก ถ้าว่านั่งตายก็ไปนั่งโด่อยู่นั่น นั่งโด่อยู่นั่น ๕๐๐ มหากัป ไม่ครบ ๕๐๐ มหากัป มาไม่ได้ ติดคุกรูปพรหมแท้ๆ ไม่ได้เป็นไรเลย สุขทุกข์ไม่เอาเรื่องกัน นอนอยู่นั่นแหละไม่รู้เนื้อรู้ตัวกันล่ะ พระพุทธเจ้ามาตรัสสักกี่ร้อยองค์ ก็ไม่รู้เนื้อรู้ตัว ติดอยู่นั่น ๕๐๐ มหากัป อยู่นั่น นี่อีกพวกหนึ่ง นี่พวกเบญจขันธ์ทั้งนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ถ้าจะกล่าวถึงเบญจขันธ์ ๕ ละก้อ กำเนิด ๔, คติ ๕, วิญญาณฐิติ ๗ กว้างขวางออกไป กำเนิด ๔ ดังกล่าวแล้ว อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ อุปปาติกะ วิญญาณฐิติ ๗ นี่ นานตฺตกายา นานตฺตสญฺญี กายต่างกันสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์นี่กายต่างกันสัญญา ต่างกัน ไม่เหมือนกันสักคนเดียว สัญญาก็ต่างกัน จำก็ไม่เหมือนกัน นานตฺตกายา นานตฺตสญฺญี นานตฺตกายา เอกสตฺตสญฺญี เอกสตฺตกายา นานตฺตสญฺญี รูปพรหมอีกเหมือนกัน อรูปพรหม ๓ ชั้นข้างบนโน้นเข้าสมทบด้วย รวมเป็นวิญญาณฐิติ ๗ เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ และ อสัญญีสัตว์เสีย นอกจากนั้นอยู่ในวิญญาณฐิติทั้งนั้น นั่นเรียกว่าวิญญาณฐิติ ๗ ทั้งนั้น รวม เนวสัญญานาสัญญายตนะเข้ามาด้วย อสัญญีสัตว์เข้ามาด้วย เป็นนวสัตตาวาส ๙ เติมเข้ามาอีก ๒ นี่ที่มาเกิดไปเกิดของสัตว์โลกทั้งนั้น เราไม่พ้นจากพวกนี้ นี่ไปสุคติ ถ้าทุคคติ ก็อบายภูมิ ๔ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ตลอดกระทั่งถึงโลกันต์ โลกันต์นอกภพออกไป คือภพอันหนึ่งของโลกันต์นั่น เวียนว่ายตายเกิดอยู่เหล่านั้น
    ทว่าทำชั่วที่สุด อ้ายขันธ์ ๕ นี้ ชั่วที่สุดน่ะเป็นอย่างไร มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่กลางกายมนุษย์นั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่กลางกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดมีทั้งนั้น เป็นดวงให้เกิดทั้งนั้น ทำชั่วเกินส่วนเข้า ไม่มีดีเจือปนเลย วัดผ่าเส้นศูนย์กลางกลมรอบตัว ๒๐ วา มีชั่วฝ่ายเดียว ดีไม่มีเจือปนเลย แตกกายทำลายขันธ์ไปเกิดในโลกันต์นั่นแน่ะ ถ้าว่าหย่อนกว่า นั้นขึ้นมาก็อเวจี หย่อนกว่านั้นขึ้นมาฝ่ายได้รับทุกข์เป็นลำดับขึ้นมา จนกระทั่งถึงอสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปถึงอรูปพรหมโน่น นั่นทำดีๆ ไม่มีชั่วเจือปนเลย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว แตกกายทำลายขันธ์ไป นิพพานทีเดียว นี่ขันธ์ ๕ นี่แสดงถึงขันธ์ ๕ แต่ว่ากว้างออกมากนัก ฟังยาก
    ทีนี้จะแสดงใกล้เข้ามา ขันธ์ทั้ง ๕ นี่แหละมีเกิดดับ ๒ อย่าง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไปมี ๒ อย่างเท่านี้แหละ จะแก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้ มีเกิดแล้วก็ดับๆ นึกดูซิ บุรพชนต้นตระกูล ปู่ ย่า ตา ยาย ของเราเป็นอย่างไร ดับไปหมด ดับไปหมดแล้ว ไปเกิดหรือเปล่า ดับก็ต้องไปเกิด อยู่ไม่ได้ต้องไปเกิด แล้วก็เกิดเป็นอะไรไม่รู้ ถ้าจะรู้เรื่องเกิดเรื่องดับเหล่านี้ วิชชาวัดปากน้ำมี เข้าเรียนวิชชาธรรมกาย พอมีธรรมกายก็เห็นเกิดดับทีเดียว เห็นมนุษย์ หมดทั้งสากลโลก ถ้าจะดูละก้อ เห็นเกิดดับๆๆ มี อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ อย่างนี้แหละ
    ที่เกิดดับเหล่านี้น่ะ เพราะอะไรให้เกิดดับ เพราะธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ธรรมที่ทำให้เป็นกายสัตว์ต่างๆ นั่นแหละ ด้วยนั้นแหละ ถ้าตั้งอยู่ละก้อ ปรากฏอยู่ ดวงนั้นดับไป มนุษย์ก็ดับไป เกิดดับนั้นแหละดวงนั้นแหละ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นแหละ ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ปรากฏอยู่ ถ้าดวงนั้นดับไปกายมนุษย์ก็ดับไป มันมีเกิดดับ เพราะธรรมดวงนั้น เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหลายมีเกิดดับเท่านั้น พูดถึงธรรมก็มีเกิดดับเท่านั้น ส่วนขันธ์ทั้ง ๕ นี้ เกิดดับเพราะมันอาศัยธรรมต่างหากล่ะ ธรรมดวงนั้นแหละเป็นสำคัญ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็มีเกิดดับ ขันธ์ ๕ ของมนุษย์ก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็มีเกิดดับ ขันธ์ ๕ ของกายมนุษย์ละเอียดก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็มีเกิดดับ ขันธ์ ๕ ของกายทิพย์ก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็มีเกิดดับ ขันธ์ ๕ ของกายทิพย์ละเอียดก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมก็มีเกิดดับ ขันธ์ ๕ ของกายรูปพรหมก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหมละเอียดก็มีเกิดดับ ขันธ์ ๕ ของกายรูปพรหมละเอียดก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมก็มีเกิดดับ ขันธ์ ๕ ของกายอรูปพรหมก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดก็มีเกิดดับ ขันธ์ ๕ ของกายอรูปพรหมละเอียดก็มีเกิดดับ
    เกิดดับทั้งนั้นไม่เหลือเลย เกิดดับๆๆ อยู่อย่างนี้ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิดดับอยู่อย่างนี้
    เมื่อรู้จักเกิดดับอย่างนี้ เราจะทำอย่างไร ถ้าไม่ฉลาด เกิดดับนั่นมันสำคัญนัก ถ้าเกิดขึ้นมาอยู่ในคุณสมบัติผู้ดีที่งดงาม ที่รุ่งโรจน์ ที่ร่ำรวย ที่เป็นเศรษฐี ที่เป็นคฤหบดี หรือเป็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล ถ้าเกิดในที่เช่นนั้นก็พอสบาย ถ้าดับไปมันจะไปเกิดในที่เลวทรามต่ำช้าเป็นอย่างไร มันจะเกิดในที่เลวทราม ถ้าเกิดในที่เลวทราม ใครๆ ก็ไม่ชอบ เหตุนี้เราต้องประกอบความดีไว้เป็นเบื้องหน้า ตำรับตำราได้ยืนยันไว้ดังนี้ มีเกิดดับเช่นนี้ เมื่อมีเกิดดับเช่นนี้ เพราะว่าเกิดขึ้นอย่างนั้นแล้ว หาเป็นอย่างนั้นไม่ แปรไปเสียอีก เพราะไม่เที่ยง แปรไปอย่างนั้นอีก ไม่เที่ยงเพราะสภาพมีความยักเยื้องแปรผันอยู่เป็นธรรมดา แก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้ ท่านถึงยืนยันเป็นตำรับตำราว่าเห็นจริงตามสังขารทั้งหลาย อ้ายสังขารทั้งหลายเราไม่รู้เสียอีกแล้วนะ สังขารทั้งหลายน่ะ จะเป็นบุญหรือเป็นบาป หรือจะไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปก็ตาม ที่บอกแล้วในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ น่ะ อ้ายที่เกิดของมันน่ะ อ้ายที่เกิดเวลาใด ปรุงให้เกิดขึ้นเวลาใด ก็เป็นสังขารเวลานั้น ที่เรียกว่าสังขารนะปรุงให้เกิด ปรุงให้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นอัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ อุปปาติกะ ๔ กำเนิด ใน ๔ กำเนิดนี่แหละ เรียกว่าสังขารทั้งนั้นปรุงให้มีให้เป็นขึ้น
    สังขารทั้งหลายเหล่านั้นแหละ ถ้าเห็นตามปัญญา หมดทั้งสากลโลกไม่เที่ยงเสียเลย เห็นว่าไม่เที่ยง เมื่อใดเห็นว่าไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ว่าเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี้ เอาที่จบที่แล้วไม่ได้ เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้วละก็ จิตมันก็ปล่อยหมด ความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ มันก็ปล่อยไม่ห่วงไม่ใยไม่อาลัย เพราะเห็นจริงตามจริงเสียเช่นนั้น อ้ายเห็นจริง ตามจริงเช่นนั้น อ้ายทางนั้นจำเอาไว้ จำเป็นรอยใจเอาไว้ อย่าให้ลบเชียว นึกไว้ร่ำไป ค่ำมืดดึกดื่นเที่ยงคืนอย่างไร นึกไว้ร่ำไป นึกถึงความเกิดดับเหล่านั้น ก็เบื่อหน่ายจากทุกข์ อ้ายที่เบื่อหน่ายจากทุกข์นั่นแหละ จิตบริสุทธิ์ ใจอยู่ในความบริสุทธิ์ที่เบื่อหน่ายจากทุกข์นั่น ที่เบื่อหน่ายอยู่ในทุกข์นั่นแหละ ทุกข์คือความเกิด ความแก่ ความตาย เหล่านี้เบื่อหน่าย ใจก็ว่างจากความยึดถือในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ นั่นแหละเป็นทางบริสุทธิ์ เมื่อรู้จักหลักจริงดังนี้แล้ว สภาพอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ที่ยักเยื้องแปรผันไปนั่นแหละเป็นทุกข์ ชื่อว่าเป็นทุกข์แท้ๆ เพราะเหตุใด เพราะว่าถูกความเกิดขึ้นเสื่อมไปบีบคั้นอยู่อย่างเดียว เกิดขึ้นเสื่อมไป บีบคั้น อยู่อย่างเดียว เกิดขึ้นก็บีบคั้นอยู่ เสื่อมไปก็บีบคั้นอยู่ บีบคั้นให้สัตว์เดือดร้อนอยู่ด้วยชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ ทุกข์ทั้งนั้น บีบคั้นให้เดือดร้อนอยู่ร่ำไปทีเดียว เมื่อบีบคั้นให้เดือดร้อนอยู่อย่างนี้ เพราะว่าสภาพเหล่านั้นๆ เป็นของทนได้ยาก เป็นของเดือดร้อน เป็นของเร่าร้อน เป็นของทุรนทุราย เป็นของไม่สบาย ท่านถึงยืนยันว่า เมื่อใดเห็นตามความจริงว่า ความเกิดนั่นแหละเป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นสุข เมื่อรู้ว่าความเกิดนั่นเป็นทุกข์แล้วเมื่อใด เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เมื่อเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เบื่อในทุกข์แล้ว ไม่อยากได้ในเบญจขันธ์เหล่านั้น ปล่อยเบญจขันธ์เหล่านั้น นั่นแหละได้ชื่อว่าเป็นหนทางหมดจดวิเศษ ปล่อยเสีย ไม่ยึดถือ สบายด้วย หน้าที่เราปล่อยเสียได้นะ ลูกหญิงก็ดี ลูกชายก็ดี ภรรยาก็ดี สามีก็ดี ใจว่างวางเสีย ไม่เอาธุระเสีย เอาธุระแต่ความบริสุทธิ์ของใจเท่านั้น ใจก็เย็นเป็นสุข ร่างกายก็อ้วน ร่างกายก็สบาย เพราะว่าทอดธุระเสียได้ นี้เป็นทางหมดจดขั้นที่ ๒
    ทางหมดจดขั้นที่ ๓ ตามลำดับลงไป ความหมดจดขั้นที่ ๓ ว่า อัตภาพร่างกายอันนี้ รู้กันอยู่แล้วว่าไม่ใช่ตัว เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ จะว่าสักเท่าใดก็ไม่เป็นไปในอำนาจ กายมนุษย์ไม่เป็นในอำนาจ กายมนุษย์ละเอียดก็ไม่เป็นไปในอำนาจ กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ไม่เป็นไปในอำนาจทั้งนั้น ใครจะมีฤทธิ์มีเดชสักเท่าไรก็ตามเถอะ ไม่เป็นไปในอำนาจ พระพุทธเจ้าจะมีฤทธิ์เดชสักเท่าไรก็มีไป แต่ว่าอ้ายอัตภาพร่างกายไม่เป็นไปในอำนาจ แตกสลายไปอย่างนี้ เพราะฉะนั้นอัตภาพอันนี้รู้กันอยู่แล้วว่าไม่ใช่ตัว เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะเป็นปฏิปักษ์แก่ตัวเสียด้วย เป็นข้าศึกแก่ตัวเสียด้วย ไม่เป็นไปในอำนาจอย่างไร จะห้ามปรามสักเท่าหนึ่งเท่าใดไม่เชื่อ จะแก้ไขสักเท่าไรไม่เป็นไปตามแก้ไข และเป็นข้าศึกแก่ตัวเสียด้วย ถ้ายุ่งๆ หนักเข้า ก็ได้รับทุกข์ยากลำบากจิตใจ ไม่ใช่พอดีพอร้ายทีเดียว ถ้าไปแก้หนักเข้าก็เดือดร้อน หนักเข้าลองไปแก้เข้าซิ แก้แก่ แก้เจ็บ แก้ตาย แก้กันอย่างไรนะ แก้ไม่ได้ เป็นข้าศึกแก่ตัวแท้ๆ เพราะเป็นสภาพว่างเปล่า อัตภาพนี้น่ะเป็นสภาพว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย ไม่มีอย่างไร ก็บิดามารดาปู่ย่าตายายเล่าไปไหน เหลือแต่กระดูกหรือกระดูกอยู่ที่ไหนล่ะ ได้ร้อยปีพันปี หายไปไหนหมดแล้ว ไม่มีเลยหายไปหมด นี้เป็นสภาพว่างอย่างนี้นะ เป็นของว่างอย่างนี้ เมื่อเป็นของว่างเช่นนี้แล้ว ถามว่าใครล่ะเป็นเจ้าของอัตภาพเหล่านี้ กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ใครเป็นเจ้าของ ไม่มีเจ้าของ ถามหาเจ้าของสักคนเดียวไม่ได้ ใครจะรับว่าของข้าล่ะ เอ้า! รับดูซิ แตกสลายหมด อ้ายคำรับน่ะ ไม่จริง หลอกลวง แตกสลายหมดหายหมด เมื่อรู้ความจริงอันนี้แล้ว ท่านถึงสอนแนะนำไว้เป็นหลักเป็นฐานแน่นอนว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้นๆ ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหมดนั้นไม่ใช่ตัวเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทางหมดจดวิเศษ เป็นทางบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นจะแสดงทางบริสุทธิ์ให้ฟังในวันนี้นะ เวลาไม่เพียงพอเสียแล้ว ไม่ฉะนั้นแล้วละก็ ตรงนี้จะได้ฟังทางบริสุทธิ์ทีเดียว ทางบริสุทธิ์เป็นสำคัญนะ ทางบริสุทธิ์นะ ทางบริสุทธิ์เฉพาะต้องไปเส้นเดียว สายเดียว รอยเดียวเท่านั้น จะไปทางอื่นไม่ได้ จะเอาใจไปจรดอื่นไม่ได้ จะบอกต้นทางให้
    ทางบริสุทธิ์นะ ก็ต้องเอาใจหยุด นั่นแหละเป็นทางบริสุทธิ์ เอาใจหยุดนึกที่ไหน ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ หยุดอยู่กลางดวงนั่นแหละ หยุดทีเดียว หยุดที่นั่นแหละ เป็นทางบริสุทธิ์ละ ถูกละ หยุดนะ หยุดในหยุด พอรู้ว่า ใจหยุดกึก ใจหยุดก็กลางของกลางๆๆๆๆๆ หยุดเรื่อยไปนั่นแหละ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำให้หยุดอยู่อย่างนี้แหละ นั่นแหละบริสุทธิ์ละ ราคะไม่มี อภิชฌาความเพ่งเพราะอยากได้ไม่มี พยาบาทปองร้ายไม่มี เห็นผิดไม่มี โลภะความอยากได้ไม่มี โทสะความประทุษร้ายไม่มี โมหะความหลงงมงายไม่มี ราคะความกำหนัดยินดีไม่มี โทสะความขุ่นเคืองไม่มี โมหะ ความหลงงมงายไม่มี กามราคานุสัยไม่มี ปฏิฆานุสัยไม่มี อวิชชานุสัยไม่มี หยุดเข้าเถอะ หยุดนั่นแหละตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว นี่แหละเขาเรียกว่าหนทางบริสุทธิ์ละ ให้ไปทางนี้
    วันนี้ที่ชี้แจงแสดงมาเป็นปริยาย ต้องการจะให้รู้ว่าหนทางบริสุทธิ์ที่ใจหยุดนี้ ภิกษุสามเณรถ้าทำให้หยุดตรงนี้ไม่ได้ละก้อ ไม่พบทางบริสุทธิ์เลย อุบาสก อุบาสิกา ปฏิบัติในศาสนา ทำใจหยุดไม่ได้ก็ไม่พบทางบริสุทธิ์เลย เข้าทางบริสุทธิ์ไม่ถูกเลย หยุดนั่นแหละเป็นเป้าหมายใจดำของพุทธศาสนา เป็นโอวาทของพระบรมศาสดาที่ทรงให้นัยแก่พระองคุลิมาล เมื่อทรมานพระองคุลิมาลจำนนแล้ว เห็นว่าสู้ไม่ได้แล้ว เปล่งวาจาว่า “สมณะหยุดๆ” พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มา “สมณะหยุดแล้ว ท่านไม่หยุด” นั่นแน่โอวาทอันนี้นะ หยุดนั่นแหละ ถูกโอวาทของพระศาสดา ออกจากพระโอษฐ์ ถอดมาทีเดียว ถ้าเราเป็นพุทธศาสนิกชน เชื่อพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าละก้อ ต้องทำใจให้หยุด หยุดอยู่ที่กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ หยุด นั่ง นอน ยืน เดิน ให้หยุดอยู่ร่ำไป ทำได้จริงๆ อย่างนั้นไม่ได้หรือ วัดปากน้ำเขาทำกันได้มาก มีที่อยู่ในวัดเวลานี้เห็นจะถึง ๑๐๐ คน ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสิกาอุบาสก เขาทำใจหยุดได้ นั่นแหละถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ นั่นแหละเป็นทางบริสุทธิ์ละ เมื่อรู้จักทางบริสุทธิ์ดังนี้ละก็ เมื่อเป็นมนุษย์แล้วอย่าให้เคลื่อนนะ ถ้าว่าเคลื่อนละก้อ เสียทีที่มาประสบพบพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก

    ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก

    ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๖

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    <TABLE style="COLOR: #666666" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา

    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก

    นิกฺขิปิตฺวา ครุ ํ ภารํ

    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห


    </TD><TD width="42%">














    ภารหาโร จ ปุคฺคโล
    ภารนิกฺเขปนํ สุขํ

    อญฺญํ ภารํ อนาทิย
    นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>






    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ ๕ นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ ๕ น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ ... แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยขันธ์เป็นภาระอันหนัก ตามวาระพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษา
    เพราะว่าเราท่านทั้งหลายเกิดมาหญิงชายทุกถ้วนหน้า ล้วนแต่แบกภาระขันธ์ ๕ ด้วยกันทั้งนั้น ขันธ์ ๕ เป็นของหนัก ไม่ใช่ของเบา หนักอย่างไร หนักตั้งแต่อุบัติตั้งแต่อยู่ในท้อง ตั้งแต่เกิดในท้องมารดา หนักเรื่อยมา นั่นบังคับให้มารดาผู้ทรงครรภ์นั้นหนักแล้ว ตัวเองก็หนักไปไหนไม่ค่อยไหว ติดอยู่ในอู่มดลูกนั่นเอง เจริญวัยวัฒนา เป็นลำดับๆ ไป เมื่อคลอดก็หนักถึงกับตายได้ ถ้าว่าขันธ์ที่เกิดนั้นไม่ตาย ขันธ์ของมารดาที่ให้เกิดนั้นถึงกับตายลำบากยากแค้นนัก หนักด้วย ลำบากด้วย ฝืดเคืองด้วย คับแค้นด้วย คับแคบด้วย ลำบากทั้งนั้น ขันธ์ ๕ เป็นของหนักจริงๆ ไม่ใช่ของเบา ไปไหนก็ไปเร็วไม่ได้ อุ้ยอ้าย เมื่อเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับแล้วก็ไปได้ด้วยตนของตนเอง แต่ว่าเป็นกายหนัก เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ไปเร็วไม่ได้ ต้องไปตามกาลสมัยตามกาลของขันธ์นั้น ไม่ใช่หนัก พอดีพอร้าย หนักกาย ต้องบริหารมากมาย
    ผู้เกิดมานั้นต้องบริหารขันธ์ ๕ นั้นด้วย ต้องดูแลรักษา ครั้นเจริญวัยวัฒนาตัวของตัว เมื่อหลุดจากมารดาบิดาบริหารรักษาแล้ว ตัวของตัวต้องรักษาตัวเองอีก ตัวของตัวเองรักษาตัวเองก็ไม่ค่อยไหว บางคนถึงกับให้คนอื่นเขารักษาให้ ต้องให้เขาใช้สอยไปต่างๆ นานา รักษาขันธ์ ๕ ของตัวไม่ได้ ต้องบากบั่นตรากตรำมากมาย ในการเล่าเรียนศึกษา กว่าจะรักษาขันธ์ ๕ ของตนเองได้ จนกระทั่งรักษาขันธ์ ๕ ของตนได้ พอรักษาขันธ์ของตัวได้ ขันธ์ ๕ ก็เก่าคร่ำคร่า หนักเข้าขันธ์ ๕ ของตัวเองก็พยุงตัวเองไม่ไหว พยุงตัวไม่ไหวต้องอยู่กับที่ ขยับได้บ้าง ไปโน่นมานี่ได้บ้าง แต่หนักเข้าก็ลุกไม่ขึ้น หนักเข้าก็หมดลมอัสสาสะปัสสาสะเข้าโลงไป ๔ คนนั่นแหละต้องหาม ๔ คนก็เต็มอึดเชียวหนา มันหนักขนาดนี้ หนักอย่างโลกๆ ไม่ใช่หนักอย่างธรรมๆ
    หนักอย่างทางธรรมน่ะนั่นลึกซึ้ง แบกขันธ์ทั้ง ๕ นำขันธ์ทั้ง ๕ ไปมากมายนัก ในมนุษย์โลกนี้แบกขันธ์ทั้ง ๕ ไปมากมายนัก ภาระคือ ขันธ์ ๕ นี้หนัก ไม่ใช่หนักแต่ในมนุษย์โลกนี้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็หนักอีก ไปเกิดเป็นพรหมก็หนักอีก ไปเกิดเป็นอรูปพรหมก็หนักอีก หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เบา ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์นรก หนักขึ้นไปกว่านั้นอีก ในสัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาตะ โรรุวนะ มหาโรรุวนะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจี หนักขึ้นไปกว่านั้น หรือไปเกิดในบริวารนรก รวมนรก ๔๕๖ ขุม ขุมใดขุมหนึ่ง หรือไปเกิดเป็นเปรตก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดเป็นอสุรกายก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็หนักอีกเหมือนกัน เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย ก็หนักทั้งนั้น ขันธ์ ๕ นี่เป็นของหนัก
    ท่านจึงได้ยืนยันตามพระบาลีว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนัก ภารหาโร จ ปุคฺคโล บุคคลผู้นำขันธ์ ๕ ที่หนักนั้นไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก การถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ นั้นหนัก เป็นทุกข์ในโลก ภารนิกฺเขปนํ สุขํ สละขันธ์ ๕ ปล่อยขันธ์ ๕ วางขันธ์ ๕ ทิ้งขันธ์ ๕ เสียได้เป็นสุข นิกฺขิปิตฺวา ครุ ํ ภารํ การทิ้งภาระที่หนักอันนั้นเสียได้แล้ว อญฺญํ ภารํ อนาทิย ไม่ถือเอาของหนักอื่นอีกต่อไป สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ชื่อว่าเป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้ นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต หมดกระหาย ไปนิพพานได้ หมดกระหาย หมดร้อน หมดกระวนกระวาย ไปนิพพานได้ ให้ทิ้งขันธ์ ๕ เสีย ทิ้งขันธ์ ๕ เสียได้แล้ว ได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้
    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ ๕ นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ ๕ น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ ๕ ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ ๕ ของสามีภรรยากันล่ะ เอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปอย่างไรล่ะ เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด
    เมื่อรู้ชัดดังนี้ วิธีจะละขันธ์ ๕ ถอดขันธ์ ๕ ทิ้ง วิธีจะถอดสละขันธ์ ๕ วางขันธ์ ๕ นั้น ต้องเป็นผู้ตั้งอยู่ในสังวรกถา ที่จะตั้งอยู่ในสังวรกถาได้ ต้องอาศัยมีความรู้ความเห็นแยบคาย เห็นแยบคายอย่างไร ? รู้เห็นแยบคาย ความยินดีในรูปในอารมณ์นั้นๆ ต้องปล่อยวาง ต้องละต้องทิ้งความยินดีในอารมณ์นั้นๆ ถ้ายังยึดความยินดีในอารมณ์อยู่ ปล่อยขันธ์ ๕ ไม่ได้ การยึดอารมณ์ยินดีในอารมณ์ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้เป็นเนติแบบแผน เป็นภาษามคธว่า <TABLE style="COLOR: #0000ff" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุ ํ
    ตํ เว ปสหตี มาโร </TD><TD width="42%">อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
    กุสีตํ หีนวีริยํ
    วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    แปลเป็นสยามภาษาว่า สุภานุปสฺสึ ผู้ที่เห็นอารมณ์งาม รูปารมณ์ก็ดี สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ผู้เห็นอารมณ์งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นแหละเรียกว่า สุภานุปสฺสึ ผู้เห็นอารมณ์งามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเกียจคร้าน กุสีตํ จมอยู่ในอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด หีนวิริยํ มีความเพียรเลวทราม ตํ เว ปสหตี มาโร มาร ย่อมประหารบุคคลผู้นั้นได้ วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ เหมือนลมประหารต้นไม้ อันมีกำลังทุพพลภาพได้ฉันนั้น นี้พระคาถาต้น คาถาสองรองลงไป <TABLE style="COLOR: #0000ff" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุ ํ
    ตํ เว นปฺปสหตี มาโร /td> <TD width="42%">อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
    สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
    วาโต เสลํ ว ปพฺพตํ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผู้ที่เห็นอารมณ์อันไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารหรือโภชนาหาร มีความเชื่อ ปรารภความเพียรอยู่ มารย่อมประหารบุคคลผู้นั้นไม่ได้ เหมือนอย่างลมประหารภูเขาอันล้วนแล้วด้วยศิลาเขยื้อนไม่ได้ ฉันนั้น <TABLE style="COLOR: #0000ff" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">จกฺขุนา สํวโร สาธุ
    ฆาเนน สํวโร สาธุ
    กาเยน สํวโร สาธุ
    มนสา สํวโร สาธุ
    สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ</TD><TD width="42%">สาธุ โสเตน สํวโร
    สาธุ ชิวฺหาย สํวโร
    สาธุ วาจาย สํวโร
    สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
    สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    แปลเนื้อความว่า สำรวมตาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมวาจาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมในที่ทั้งหมดปรากฏว่า ยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ผู้ศึกษาธรรมวินัยเป็นผู้สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายในอินทรีย์ทั้งสิ้น เมื่อสำรวมได้เช่นนี้ตัดสินว่า สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปด้วยประการดังนี้ นี่สังวรกถา แสดงการสำรวม
    แต่ว่าที่กล่าวมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ถ้าจะอรรถาธิบายขยายความในการที่ปล่อยขันธ์ ๕ เป็นลำดับไป ขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราแบ่งเป็นภาระหนักอยู่ในบัดนี้ แล้วอวดดีด้วยนะ ภาระของตัวหนักพออยู่แล้ว ยังอวดดีไปแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าอีกด้วย เอากันละตรงนี้ อวดดีแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าด้วย ไม่ใช่แบกน้อยด้วย บางคนแบกหลายๆ ขันธ์ แอบไปแบกเข้า ๕ ขันธ์อีกแล้ว หญิงก็ดีชายก็ดีแอบไปแบกเข้าอีก ๕ ขันธ์ แล้วรวมของตัวเข้าเป็น ๑๐ ขันธ์ แล้วหนักเข้า ก็หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์ เป็น ๑๕ ขันธ์ แล้วแบกเอาไป แบกเข้าไปเฮอะ เอ้าหนักเข้าๆ หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์แล้ว เป็น ๒๐ ขันธ์แล้ว นานๆ หลายๆ ปีเข้า หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์ แล้วเป็น ๒๕ ขันธ์ นานๆ หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์แล้ว เอ้าเป็น ๓๐ ขันธ์ ดังนี้แหละ บางคนแบก ถึง ๔๐-๕๐-๖๐-๗๐-๘๐-๙๐ บางคนถึง ๑๐๐ ขันธ์ สมภารแบกตั้ง ๑,๐๐๐ ขันธ์เชียวนา ไม่ใช่น้อยๆ นั่นอวดดีล่ะ ถ้าอวดดีอย่างนี้ต้องหนักมาก เขาจึงได้ชื่อว่าสมภาร สัมภาระ แปลว่าหนักพร้อม หนักรอบตัว พ่อบ้านแม่บ้าน พ่อครัวแม่ครัว ก็เหมือนกัน หนักใหญ่อีกเหมือนกัน หนักรอบอีกเหมือนกัน เพราะแบกขันธ์ทั้งนั้น ที่ทุกข์ยากลำบากกันหนักหนา ทีเดียว เพราะแบกขันธ์เหล่านี้แหละต้องปลูกบ้านเป็นหย่อมๆ เป็นหลังเป็นพืดไป นั่นเพราะอะไร บริหารขันธ์แบกขันธ์ทั้งนั้น แบกภาระที่หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เล็กน้อย ไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะเหตุดังนั้น การแบกภาระของหนักนี่แหละ ถ้าปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ละก้อ เป็นทุกข์หนักทีเดียว บุคคลผู้แบกของหนักไป บุคคลผู้แบกขันธ์ ๕ ที่หนักไป ถ้าว่าปล่อยวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ ก็เป็นทุกข์แท้ๆ ถ้าปล่อยวางขันธ์ ๕ เสียได้ก็เป็นสุขแท้ๆ เหมือนกัน ตรงกันข้ามอย่างนี้
    แต่ว่า วิธีปล่อยขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของเล็กน้อย ไม่ใช่เป็นของปล่อยง่าย ถ้าปล่อยไม่ได้ ก็เป็นทุกข์ ปล่อยได้ก็เป็นสุข แต่ขันธ์ ๕ จริงๆ เราก็ไม่รู้จักมันเสียแล้วนะ ปล่อยมันอย่างไร รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณน่ะ เอาเถอะ แก่เฒ่าอยู่วัดอยู่วาไปตามกัน บวชแล้วก็ตาม ไม่บวชก็ตาม ถามจริงๆ เถอะว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จริงๆ น่ะคืออะไร เอาละอึกอักกันทีเดียว ไม่เข้าใจตัวของตัวแท้ๆ ไม่เข้าใจ รูปน่ะคือร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกันอยู่นี้ ถ้าว่าแยกออกไปก็เป็น ๒๘ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ เป็นรูป ๒๘ ประการดังนี้ นี่แหละมีรูปเท่านี้ เป็นเบญจขันธ์นี้ รูป ๒๘ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นามขันธ์ ๔ โดยย่อ สังขาร ๓ วิญญาณ ๖ เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ สังขาร ความคิด วิญญาณ ความรู้ เป็นดวงสีต่างๆ กัน ส่วนเวทนาก็เป็นดวง ถ้าสุขเวทนาก็ใส ถ้าทุกขเวทนาก็ขุ่น ดังนี้ เป็นดวงๆ ดังนี้ สัญญา ความจำก็เป็นดวงเหมือนกัน เป็นดวงต่างกัน ดีชั่วหยาบละเอียดเลวประณีต สังขาร ความคิดดีคิดชั่ว คิดไม่ดีไม่ชั่ว นี่ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน วิญญาณ ความรู้ ความรู้ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน ต้องรู้จักพวกนี้ ให้เห็น พวกนี้เสียก่อน ให้เห็นขันธ์ทั้ง ๕ เสียก่อน ให้เป็นปฏิบัติ
    ที่แสดงแล้วนั่นเป็นปริยัติ ถ้าปฏิบัติ ต้องเห็น เห็นขันธ์ทั้ง ๕ นั่น รูปเป็นดังนั้นโตเล็กเท่านั้น สัณฐานอย่างนั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเห็นเบญจขันธ์ทั้ง ๕ แล้ว ก็ดูความจริงของมัน ขันธ์ ๕ เหล่านี้น่ะ ถ้าแม้ว่า ขืนไปยึดถือมันเข้าไว้ละก้อ เป็นทุกข์ ท่านถึงได้วางตำราเอาไว้ว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ยึดถือมั่นในเบญจขันธ์ ๕ นั่นเป็นทุกข์ ถ้าหากว่าปล่อยเบญจขันธ์ ๕ เสียได้ก็เป็นสุข แต่ว่าปล่อยไม่ใช่ได้ง่าย ปล่อยไม่ได้ง่ายเหมือนอะไร ปล่อยไม่เป็น ถ้าปล่อยเป็นปล่อยได้ง่าย ปล่อยไม่เป็นปล่อยได้ยาก ปล่อยไม่เป็นเหมือนอะไร เหมือนเด็กๆ กำไฟเข้าไว้ ยิ่งร้อนหนักเข้า ยิ่งกำหนักแน่นหนักเข้า ร้องใจหายใจคว่ำก็ร้องไป ปล่อยไม่เป็น คลายมือไม่เป็น ถ่านก้อนที่กำเข้าไว้น่ะ เมื่อเด็กกำเอาเข้าไว้แล้ว กำเสียดับเลยทีเดียว กำเสียมิดทีเดียว มือก็ไหม้ เข้าไปรูหนึ่งแล้ว นั่นเพราะอะไร เด็กมันปล่อยถ่านไฟไม่เป็น ปล่อยไม่เป็นหรือมันไม่ปล่อย ปล่อยไม่เป็นจริงๆ ถ้าปล่อยเป็นมันก็ปล่อยเหมือนกัน
    เหมือนพวกเรานี่แหละยึดมั่นเอาเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เข้าไว้ ปล่อยไม่เป็น ไม่รู้จะปล่อยท่าไหน วางท่าไหนก็ไม่รู้ วางไม่ออก ปล่อยไม่ออก ปล่อยไม่เป็น วางไม่เป็น หรือปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ ไอ้ที่ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ อีกพวกหนึ่ง ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง
    ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้น่ะ รู้แล้วว่าปล่อยเท่านั้นวางเท่านั้น ไม่ยอมปล่อย ไม่อยากปล่อย เพราะอะไร เสียดายมัน นั่นอีกพวกหนึ่ง ไม่อยากปล่อยขันธ์ ๕ อยากจะได้ขันธ์ ๕ ให้มากขึ้น นั่นพวกหนึ่ง
    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง ไม่ได้เล่าเรียนศึกษา ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้า ไอ้พวกนั้นปล่อยไม่เป็น
    ไอ้พวกที่ได้ฟังแล้วจะปล่อยก็เป็น แต่ว่าเสียดายไม่ยอมปล่อย อีกพวกหนึ่งตั้งใจปล่อยจริงๆ แต่ปล่อยไม่ได้ ไอ้ที่ไม่อยากปล่อยน่ะ เหมือนอะไรล่ะ เหมือนพรานวางเบ็ด เมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว ถ้าปลาตัวเล็กๆ พอจะปลดปล่อยได้ ถ้าปลาถึงขนาดเข้าปล่อยไม่ได้ เสียดาย ต้องใส่เรือของตัวไป ไอ้อยากปล่อยแต่ปล่อยไม่ได้น่ะเหมือนอะไร เหมือนนกติดแร้ว อยากปล่อย แต่เครื่องติดมันมี มันมีเหมือนอะไรล่ะ นี่แหละเหมือนอย่างเราครองเรือน อย่างนี้แหละ อยากจะปล่อยมัน แต่ว่าเครื่องติดมันมีเลยปล่อยไม่ได้ เสียดาย มันปล่อยไม่ได้ มันติดอยู่ดังนั้นแหละ ปล่อยไม่ถนัด เพราะเหตุฉะนี้แหละเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ต้องถอดกัน ไม่ถอด ปล่อยไม่ได้
    วิธีถอดเบญจขันธ์เบื้องต้นต้องสำรวม ที่จะสำรวมน่ะ ต้องพิจารณาเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เสียก่อนว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นของไม่ดีไม่งามนะ เป็นของหนักจริงๆ นะ รู้ว่าเป็นของหนักแล้ว เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักละก็เริ่มต้นสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยทีเดียว สำรวมระวังไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มากระทบ คอยระวังไว้สำรวมไว้ให้ดี เมื่อระวังให้ดีแล้วสละความยินดียินร้ายไม่ให้มากระทบ ไม่ให้ความชอบความไม่ชอบซึ่งเป็นกิเลสหยาบเข้ามากระทบได้ สละเสีย เมื่อสละเช่นนั้น ถ้าว่าเกียจคร้านไม่ได้นะ ต้องหมั่นขยันทีเดียว ต้องมีความเชื่อมั่นว่าปล่อยได้จริง แล้วขยันหมั่นเพียรจริงๆ นั่นแหละจึงจะปล่อยได้ ถ้าไม่สำรวมระวังปล่อยพลั้งเผลอละก้อ เหมือนดังคนเกียจคร้านมีปัญญาเลวทราม ก็ต้องรัดรึงตรึงตราอยู่ในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ก็บุคคลมีศรัทธา มีความเพียรดี มีความเพียรหมั่นขยัน กลั่นกล้านั้นแหละอาจปล่อยขันธ์ ๕ ได้ล่ะ แต่ว่าวิธีจะปล่อย ท่านชี้แจงแสดงย่อยออกไปเป็นตำรับตำราออกไปเป็นส่วนๆ ให้เป็นตำรับตำราออกไปว่า จกฺขุนา สํวโร สาธุ สำรวมตาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ อย่างไร ความติดมั่นในรูปารมณ์ก็ไม่มี สำรวมหูได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำเร็จอย่างไร ความติดมั่นในสัททารมณ์ก็ไม่มี หยุดไปได้ สำรวมจมูกได้ ความติดมั่นถือมั่นในกลิ่นก็ไม่มี หลุดไปได้ สำรวมในลิ้นได้ ก็ไม่ติดในรส สำรวมในกายได้ ความสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ก็หลุดไป ยังประโยชน์ให้สำเร็จดังนี้ เมื่อสำรวมกายได้ สัมผัสก็หลุดไป สำรวมวาจาได้ ที่จะมีโทษทางวาจาก็ไม่มี หลุดไป สำรวมใจได้ โทษทางใจก็ไม่มี ยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นชั้นๆ ไป ดังนี้ ความสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นแหละ ทั้ง ๖ อย่างสำรวมได้แล้ว ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ทั้งหมด ปรากฏว่าผู้ศึกษาพระธรรมวินัยต้องเป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้ เมื่อมีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้แล้ว ได้ชื่อว่าสำรวมดีในสิ่งทั้ง ๖ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวมใจดีแล้วหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้จริงๆ นะ
    เขาทำกันอย่างไร ต้องทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ที่เคยแสดงอยู่เสมอๆ เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ดี ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ เป็นลำดับไป เมื่อเข้ากลางของกลางเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์หยาบหลุด หยุดอยู่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เข้ากลางของกลาง หยุดเรื่อยไป ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์หยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหม กายทิพย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรม กายอรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    นี่หลุดไป ๘ กายแล้ว
    • เข้าถึงกายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมโคตรภูหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบันหยาบ กายธรรมโคตรภูละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด กายพระโสดาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาหยาบ กายพระโสดาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด กายพระสกทาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาหยาบ กายพระสกทาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด กายพระอนาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตหยาบหรือพระอรหัตตมรรค กายพระอนาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียดหรืออรหัตตผล กายพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคก็หลุดไป
    • พอเข้าถึงอรหัตตผล เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เรียกว่าเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดจากธรรมที่ปะปนด้วยกิเลส สราคธาตุสราคธรรม หลุดหมด เบญจขันธ์ทั้ง ๕
    • ขันธ์ ๕ ของมนุษย์ ขันธ์ ๕ ของกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว ก็หลุด
    • ขันธ์ ๕ ของกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ก็หลุด,
    • ขันธ์ ๕ กายของรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด เข้าถึงอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็หลุด, หลุดหมด หลุดเป็นชั้นๆ ไป
    ขันธ์ ๕ ของกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรมเสียแล้ว ก็หลุด, ถึง กายธรรมพระโสดา ขันธ์ ๕ ของกายธรรมโคตรภูหยาบ-โคตรภูละเอียด หลุด, เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาแล้ว กายธรรมของโสดา-โสดาละเอียดหลุด, เข้าถึงกายธรรมของ พระอนาคาหยาบ-อนาคาละเอียดแล้ว กายธรรมของพระสกทาคาหยาบ-สกทาคาละเอียด หลุดออกไปเช่นนี้ เป็นชั้นๆ เช่นนี้เรียกว่ารู้จักสำรวมถูกส่วนเข้าแล้วหลุดเป็นชั้นๆ ไปดังนี้ เมื่อหลุดออกไปได้แล้วเห็นว่าหลุดจริงๆ ไม่ใช่หลุดเล่นๆ ถ้าว่าโดยย่อแล้วละก็ พอถึง กายธรรมหยาบละเอียดเท่านั้นไปนิพพานได้แล้ว แต่ว่าหลุดดังนี้เป็นตทังควิมุตติ ประเดี๋ยวก็ กลับมาอีก พอหลุดแค่พระโสดา นั่นเป็นโลกุตตระ ข้ามขึ้นจากโลกได้แล้ว เป็นอริยบุคคลแล้ว แต่ว่าไม่พ้นจากไตรวัฏฏ์ ต้องอาศัยไตรวัฏฏ์ เพราะยังไปนิพพานไม่ได้ ต้องอาศัยกามภพ รูปภพอยู่ แต่ว่าอาศัยอยู่แต่เปลือกนอก ข้างในล่อนจากเปลือกนอกเสียแล้ว อย่างนั้นก็พอ ใช้ได้ แต่ว่ายังไม่ถึงที่สุด ต้องถึงที่สุดคือพระอรหัตตผลนั่นแหละจึงจะพ้นขาดเด็ดเป็น วิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดได้จริงๆ เช่นนี้ อย่างนี้เอาตัวรอดได้ อย่างนี้ เมื่อรู้จักหลัก ความหลุดพ้นเช่นนี้แล้วก็ตั้งใจให้แน่วแน่ ต้องมีความสำรวมเบื้องต้น ที่ท่านได้ชี้แจงแสดงไว้ใน อารมณ์ที่ไม่งาม แล้วสำรวมระวังให้ดี รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเพียร มีศรัทธา กล้าหาญไม่ย่อท้อ นั่นแหละคงจะไปถึงที่สุดได้ ทว่าย่อท้อเสียแล้วถึงที่สุดไม่ได้ง่าย ให้เข้าใจ หลักอันนี้ หลักที่แสดงแล้ว ที่แสดงในทางขันธ์ ๕ เป็นของหนักแล้ว คิดสละขันธ์ ๕ นั่นได้ ด้วยความสำรวมระวัง นี้เป็นทางปริยัติ เป็นลำดับไปจนเข้าถึงถอดกายเป็นชั้นๆ ออกไปแล้ว จนกระทั่งถึงพระอรหัต ถึงวิราคธาตุวิราคธรรม กายพระอรหัตหยาบ-พระอรหัตละเอียดนั้น ในแนวนั้นเป็นทางปฏิบัติ ปฏิเวธก็เป็นชั้นๆ เคยแสดงแล้ว
    กายมนุษย์เมื่อปฏิบัติถูกส่วนเข้าแล้วเห็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นเป็นนิโรธ เป็น ปฏิเวธ รู้แจ้งแทงตลอดของกายมนุษย์ เมื่อกายมนุษย์ละเอียดเข้าถึงกายทิพย์ ก็เป็นปฏิเวธ ของกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์เมื่อเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายทิพย์ รู้จักกายทิพย์ละเอียดแล้ว เมื่อกายทิพย์ละเอียดเข้าถึงกายรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหมเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม, กายรูปพรหมละเอียดเข้าถึงกายอรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหมหยาบเห็นกายอรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมหยาบ, กายอรูปพรหมละเอียดเห็นกายธรรม ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรมเห็นกาย ธรรมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมหยาบ, กายธรรมละเอียดเห็นกายธรรมพระโสดา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมละเอียด, กายธรรมพระโสดาเห็นกายธรรมพระโสดาละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาหยาบ, เมื่อกายธรรมของพระโสดาละเอียดเห็นกายธรรม ของพระสกทาคา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาละเอียด, กายธรรมพระสกทาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคา, กายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเห็นกายธรรมพระอนาคาหยาบ ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคาละเอียด, กายธรรมพระอนาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระอนาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคา, กายธรรมของพระอนาคาละเอียดเห็นกายธรรมของพระอรหัต ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคาละเอียด, กายธรรมของพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคเข้าถึงกายธรรมของพระอรหัตละเอียดหรือพระอรหัตตผล ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอรหัต นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นมาลำดับอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักดังนี้ละก็ การเล่าเรียนในทางพุทธศาสนา การแสดงก็ดี การสดับตรับฟังก็ดี ให้รู้จักทางปริยัติ ทาง ปฏิบัติ ทางปฏิเวธ จึงจะเอาตัวรอดได้ ถ้ารู้จักแต่เพียงทางปริยัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิบัติ ต้องให้เข้าถึงทางปฏิบัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิเวธ ให้เข้าถึงทางปฏิเวธนั่นแหละจึงจะเอาตัว รอดได้ ด้วยประการดังนี้ ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติ ธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความด้วยเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม

    ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม
    ๑๒ มกราคม ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    <TABLE style="COLOR: #666666" width="65%"><TBODY><TR><TD width="41%"></TD><TD width="59%">ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
    ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
    เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
    น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารีติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ...มากอยู่แล้วพวกที่ปฏิบัติใช้ได้ทีเดียว ที่ใช้ไม่ได้อย่างสูงนั้น ผู้เทศน์ต้องคอยคุม ถ้าไม่คุมละก้อ ไปสูงไม่ได้ มารมันปัดลงต่ำเสีย มันแนะนำให้วางเป้าหมายใจดำเสีย ไม่จรดอยู่ที่เป้าหมายใจดำ ที่ผู้เทศน์คอยคุมไว้ละก้อ ถูกเป้าหมายใจดำ ตรงกันข้ามกับพวกพญามาร ถ้าว่าไม่คุมไว้แล้ว เป็นลูกศิษย์พญามารเสียแล้ว มารเอาไปใช้เสียแล้วอย่างนี้มาก เหตุนั้นเมื่อมาพบของจริงเช่นนี้แล้ว ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ควรปล่อยชีวิต ค้นเอาของจริง รักษาของจริงไว้ให้ได้ เมื่อได้แล้วละก็ จะยิ้มในใจของตัวอยู่เสมอไป ไม่มีความเดือดร้อนใดๆ ...
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ว่าด้วย ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย กว่าจะยุติลงโดยสมควรแก่เวลา
    เริ่มต้นแห่งธรรมที่รักษาผู้ประพฤติธรรม ตามวาระพระบาลีว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมนั่นแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธมฺโม สุจิณฺโน สุขมาวหาติ ธรรมที่บุคคลสั่งสมไว้ดีแล้ว นำความสุขมาให้ เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ ข้อนี้แหละเป็นอานิสงส์ในธรรม น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ผู้ประพฤติธรรมดีเรียบร้อยไม่ไปสู่ทุคติ นี่เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงแค่นี้
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมนั้นเป็นไฉน เพราะธรรมคือความดี จะขีดขั้นลงไปเพียงแค่ไหน ความดีไม่มีความชั่วเข้าเจือปนเลย นี่ก็เป็นโลกุตตรธรรมแท้ๆ ข้ามขึ้นจากโลก เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้ๆ ไม่เกี่ยวข้องด้วยสราคธาตุ สราคธรรมทีเดียว นี้ส่วนหนึ่ง คำว่าธรรมแยกออกเป็นหลายประการ ท่านแสดงไว้เป็นหลักเป็นประธาน แก้ในศัพท์ว่าธรรม ธมฺโม คำว่าธรรมนั้นแยกออกไปถึง ๔ คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม นิสสัตตนิชชีวธรรม แยกออกไปเป็น ๔
    1. คุณธรรมให้ผลตามกาล ฝ่ายดีก็ให้ผลเป็นสุข ฝ่ายชั่วก็ให้ผลเป็นทุกข์ นี้ก็เป็นคุณธรรมฝ่ายดีฝ่ายชั่ว หรือดีฝ่ายเดียวให้ผลเป็นสุขฝ่ายเดียวนั้นก็เรียกว่าคุณธรรม
    2. เทศนาธรรมที่พระองค์ตรัสเทศนา ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในเบื้องปลาย ท่านวางหลักไว้ ไพเราะในเบื้องต้นคือศีล บริสุทธิ์กายวาจาเรียบร้อยดีไม่มีโทษ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงศีล ไพเราะในท่ามกลางคือสมาธิ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงสมาธิ ไพเราะในเบื้องปลายคือปัญญา ตลอดจนกระทั่งถึงดวงปัญญา นี้ก็คือเทศนาธรรม
    3. ปริยัติธรรม ข้อปฏิบัติอันกุลบุตรจะพึงเล่าเรียนศึกษา ตั้งต้นแต่นักธรรมตรี-โท-เอก เปรียญ ๓-๔-๕-๖-๗-๘-๙ หลักสูตรวางไว้ในประเทศไทย การศึกษาปริยัติธรรมมีเท่านี้ นี่ที่เรียกว่าปริยัติธรรม
    4. นิสสัตตนิชชีวธรรม ยกเอารูปออกเสีย กับวิญญาณออกเสีย เหลือแต่เวทนา สัญญา สังขาร ๓ อย่างนี้ท่านจัดเป็นนิสสัตตนิชชีวธรรม ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวิต แสดงหลักไว้ดังนี้
    แสดงธรรมออกไปเป็น ๔ คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม นิสสัตตนิชชีวธรรม แสดง ๔ ดังนี้ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม แต่คำว่าธรรมนี้ แสดงตามแบบปริยัติ ไม่ใช่หนทางปฏิบัติ แบบทางปฏิบัติ ศาสนามี ๓ ทาง คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
    ถ้าแบบทางปฏิบัติ คำว่าธรรม กล่าวถึงดวงธรรมทีเดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ เป็นดวงธรรมทีเดียว เป็นธรรมแท้ๆ ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์-มนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด กายธรรม-กายธรรมละเอียด กายโสดา-กายโสดาละเอียด สกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด อรหัต-อรหัตละเอียด เรียกว่า ธมฺโม นี่ทางปฏิบัติ เป็นดวงใสบริสุทธิ์ ธรรมดวงนั้นเป็นธรรมสำคัญ ทว่าหลักก็ธรรม อันนั้นเป็นธรรมทีเดียว
    ธรรมนั้นถ้าว่าจะแยกออกไป ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ที่จะได้ธรรมดวงนั้นมา ต้องกล่าวเริ่มแรก มนุษย์หญิงชายทุกถ้วนหน้า ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บริสุทธิ์สนิททั้งกาย วาจา จิต ไม่มีผิดจากความประสงค์ของพระพุทธเจ้าอรหันต์เลย บริสุทธิ์สนิททั้งกาย วาจา จิต ไม่ฆ่าสัตว์ แต่เวทนาปรานีต่อสัตว์ ลักทรัพย์สมบัติก็ไม่มี มีแต่ให้สมบัติของตนแก่คนอื่น ประพฤติล่วงผิดในกามก็ไม่มี หรือประพฤติล่วงอสัทธรรมประเพณีก็ไม่มีดังนี้ สนิททีเดียว พูดจริงทุกคำไม่มีปด เสพสุรายาเมาเป็นที่ตั้งของความประมาทไม่มี วัตถุที่ทำให้เมาเป็นที่ตั้งของความประมาทก็ไม่ใช้สอย ในศีลทั้ง ๕ นี้ตลอด ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ตลอด สะอาดสะอ้านทั้งกาย กายก็ไม่มีร่องเสีย วาจาก็ไม่มีร่องเสีย ใจก็ไม่มีร่องเสีย ใช้ได้ทั้งกาย วาจา ใจ ตรงกับบาลีกล่าวไว้ว่า
    • สพฺพปาปสฺส อกรณํ ชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ไม่กระทำเป็นเด็ดขาด
    • กุสลสฺสูปสมฺปทา ดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำจนสุดสามารถ
    • สจิตฺตปริโยทปนํ ทำใจของตนให้ผ่องใส
    อันนี้เมื่อบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียแล้ว นี้เรียกว่าธรรมโดยทางปริยัติ ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติ ถ้ากลั่นเข้ามาถึงเจตนา เจตนาก็บริสุทธิ์ บังคับกายบริสุทธิ์ บังคับวาจาบริสุทธิ์ บังคับใจบริสุทธิ์ นั่นก็เป็นทางปริยัติอยู่เลย ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติ เข้าถึงทางปฏิบัติ เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สำเร็จมาจากบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ สำเร็จมาจากบริสุทธิ์ เจตนา เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้า เท่าฟองไข่แดงของไก่ นี่ ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นดวงๆ ไปอย่างนี้
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่งเป็น ๘ เท่าฟองไข่แดงของไก่นั้น เรียกว่าเป็นธรรมทั้งนั้น
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมหน้าตักวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดโตขึ้นไปอีก ๕ วา
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ๕ วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ๑๐ วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ๑๐ วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ๑๕ วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา ๑๕ วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด ๒๐ วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ๒๐ วา กลมรอบตัว เป็นลำดับกันไปอย่างนี้
    นั้นแหละเรียกว่า ธมฺโม ลึกอย่างนี้ นี่ทางปฏิบัติเห็นปรากฏชัด เข้าถึงธรรมดังกล่าวแล้วนี้ ตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ไปจนกระทั่งถึงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทีเดียว นั่นแหละคำที่เรียกว่า ธมฺโม ละ นั่นแหละธาตุธรรมอันนั้นแหละรักษาผู้ประพฤติธรรมละ ถ้าเห็นเข้าแล้วก็รักษาผู้นั้นไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว อย่าทิ้งท่านก็แล้วกัน อย่าผละจากท่าน ถ้าว่าห่างจากธรรมนั้นไม่รับรอง ถ้าติดอยู่กับธรรมนั้น รับรองทีเดียว ทั้งกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์ ไม่มีร่องเสียกัน เสียไม่มีกัน ถ้าว่าไปเสียเข้าดวงธรรมนั้นเศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ลงโทษเอาเจ้าของผู้ประพฤติผู้กระทำ ถ้าไม่ล่วงล้ำแต่อย่างหนึ่งอย่างใดสะอาดสะอ้าน ก็ใสหนักขึ้นทุกที ใจหยุดนิ่งหนักขึ้น ใสหนักขึ้น นั่นแหละ ธมฺโม ละ คำที่เรียกว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้น ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้น
    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้วจะแสดงต่อไป ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมดวงนั้นแหละ ถ้าว่าสั่งสมได้ดีแล้วสะอาดหนักขึ้น เสมอตัว สะอาดหนักขึ้นใสหนักขึ้น เสมอตัว ใสไปแค่ไหน เสมอตัวไปแค่นั้น ใสหนักขึ้นไปแล้วเสมอตัวไปแค่นั้น ใสหนักขึ้นไปเสมอตัวไปแค่นั้นอีก อย่างขนาดอย่างนี้เรียกว่าสั่งสมดีจริง ธรรมอันบุคคลสั่งสมดีแล้ว สุขาวหาติ นำความสุขมาให้ ถ้าอยู่กับใครขนาดนี้ ใจก็เบิกบานรื่นเริงบันเทิงชื่นแช่มแจ่มใส ไม่มีความทุกข์เศร้าหมองขุ่นมัวใดๆ เพราะธรรมนั้นนำความสุขมาให้ นี่หลักของธรรมที่แสดงไว้แค่นี้ เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดี ประพฤติดีขนาดนี้ก็ได้อานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดี ประพฤติดีขนาดนี้ก็ได้อานิสงส์แล้วก็เป็นสุขทีเดียว น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ประพฤติไปอย่างนั้น มั่นคงอย่างนั้น ไม่ไปสู่ทุคติ ผู้ประพฤติเรียบร้อยเช่นนั้นดี สะอาดสะอ้านเช่นนั้น ไม่ไปสู่ทุคติเด็ดขาดทีเดียว ตายแล้วก็ไปสู่สวรรค์ เป็นมนุษย์อยู่ก็ไม่ได้รับทุคคติ มีแต่ สุคติฝ่ายเดียว นี่แหละเลือกเอาเถอะ ให้รู้จักหลักจริงอย่างนี้
    รู้จักหลักจริงอันนี้ เราเป็นภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ประพฤติดีจริงตรงเป้าหมายใจดำ [ถ้า] เห็นดวงแก้วใสเช่นนี้ ไม่ค่อยจะได้ ภิกษุหรือสามเณรก็เลอะเลือนไป อุบาสกอุบาสิกาก็เหลวไหลไป ไม่อยู่กับธรรมเนืองนิตย์ ความสุขเราปรารถนานัก แต่ว่าความประพฤติไขว้เขวไปเสียอย่างนี้ อย่างนี้หลอกตัวเองนี่ ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นเท่านั้น ไม่ต้องไปสงสัย
    หลอกตัวเองเป็นอย่างไร ตัวอยากได้ความสุข แต่ไปประพฤติทางทุกข์เสีย มันก็หลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ละซิ ตัวเองอยากได้ความสุขแต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย ไปทางทุกข์เสีย มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่ ใครเข้าใกล้ มันก็โกง โกงทุกเหลี่ยมนั่นแหละ ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นได้ ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว เหตุนี้พุทธศาสนาท่านตรง ตรงตามท่านละก้อ มรรคผลไม่ไปไหน อยู่ในเงื้อมมือ อยู่ในกำมือทีเดียว พุทธศาสนาท่านตรง แต่ว่าผู้ปฏิบัติไม่ตรงตามพุทธศาสนา มันก็หลอกลวงตัวเอง โกงคนอื่นเท่านั้น นี่หลักจริงเป็นอย่างนี้ ให้จำไว้ให้มั่น ท่านได้ยืนยันอีกในอัคคัปปสาทสูตร ว่า <TABLE style="COLOR: #666666" width="65%"><TBODY><TR><TD width="29%"></TD><TD vAlign=top width="28%">อคฺคโต เว ปสนฺนานํ
    อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ
    อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ
    อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ
    อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ
    อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ
    อคฺคสฺส ทาตา เมธาวี
    เทวภูโต มนุสฺโส วา</TD><TD width="43%">อคฺคํ ธมฺมํ วิชานตํ
    ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร
    วิราคูปสเม สุเข
    ปุญฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร
    อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
    ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ
    อคฺคธมฺมสมาหิโต
    อคฺคปฺปตฺโต ปโมทตีติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    นี่วางหลักอีกหลักหนึ่ง แปลเป็นภาษไทยว่า เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วด้วยความเป็นของเลิศ เลิศอย่างไร ? รู้จักธรรมอันเลิศนั้น ธรรมอะไร ? ธรรมอันเลิศคือธรรมที่แสดงมาแล้วเป็นธรรมอันเลิศทั้งนั้น ถ้าว่าเลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศ ไม่ปล่อยไม่วางไม่ละกันละ เข้าถึงก็จรด ไม่ปล่อยไม่วางกันละ จรดไม่วางไม่ปล่อย วางกึกลงไปตั้งแต่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดเรื่อยเข้าไป จนกระทั่งได้ขึ้นไปถึงแค่ไหน ดวงไหนไม่ปล่อยไม่ละกันละ ใจจรดอยู่กลางดวงนั่นแหละ ถ้าจรดอยู่ขณะนั้นละก้อ เลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศละ ของเลิศก็ต้องไม่ปล่อย ถ้าปล่อยมันก็ไม่เลิศ ไม่ปล่อยกันละ คว้ากันแน่นทีเดียวดวงนั้น ตลอดตั้งแต่ดวงต้นจนกระทั่งถึงดวงพระอรหัต ได้แค่ไหนยึดแค่นั้น มั่นเป็นขั้นๆ ไป เมื่อรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ ทีนี้ก็เป็นชั้นๆ ไป
    อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ คือ ธรรมกายทีเดียว ธรรมกายโคตรภู-ธรรมกายโคตรภูละเอียด ธรรมกายโสดา-โสดาละเอียด ธรรมกายสกทาคา-สกทาคาละเอียด ธรรมกายอนาคา-อนาคาละเอียด ธรรมกายอรหัต- อรหัตละเอียด นั่นแหละ ธรรมกายนั่นแหละพระพุทธเจ้าผู้เลิศละ เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้านั้น เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยม ทักขิไณยบุคคลเป็นอย่างไร ถ้าใครได้ไปทำบุญทำกุศลกับท่านเข้า ผลได้ในปัจจุบันทันตาเห็น ได้เป็นเศรษฐีคหบดีทีเดียว ได้เป็นกษัตริย์เศรษฐีทีเดียว ได้สมบัติในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว นั่นแหละเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยมอย่างนั้น
    อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ วิราคูปสเม สุเข ซึ่งเป็นธรรมปราศจากยินดี สงบสุข สงบเป็นสุข นั่นแหละ ดวงนั้นตลอดขึ้นไปนั่นแหละ อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ซึ่งเป็นธรรมอันปราศจากกำหนัดยินดีสงบสุข เมื่อเข้าไปอยู่ในกลาง ดวงนั้นแล้ว หมดความกำหนัดยินดี สงบ ระงับ เป็นสุขแสนสุขทีเดียว ทุกดวงไป ตั้งต้นแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่ออยู่กลางดวงนั้นแล้วความกำหนัดยินดีไม่มี สงบ ระงับ เป็นสุขทีเดียว ถ้าว่าต้องการสุขละก้อ ไปอยู่นั่น ถ้าว่าต้องการทุกข์ละก้อ ออกมาเสีย ก็ได้รับทุกข์ ต้องการสุขก็เข้าไปอยู่กลางดวงธรรมนั่น ทุกดวงไปเป็นสุขแบบเดียวกันหมด ที่ปรากฏว่า วิราคูปสเม สุเข ซึ่งเป็นธรรมปราศจากยินดี สงบระงับ เป็นสุข
    อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ เลื่อมใสในพระสงฆ์อันเลิศ ธรรมกายละเอียด กายมนุษย์ละเอียด-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมละเอียด-กายอรูปพรหมละเอียด นี่เป็นหมู่ของชน เป็นหมู่ของมนุษย์ ธรรมกายละเอียดของโคตรภู ธรรมกายละเอียดของโสดา ธรรมกายละเอียดของสกทาคา ธรรมกายละเอียดของอนาคา ธรรมกายละเอียดของพระอรหัตนี่แหละ อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ เลื่อมใสในพระสงฆ์อันเลิศ ปุญฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอด พระสงฆ์เป็นบุญเขตอย่างยอด ถ้าใครได้บริจาคกับพระสงฆ์หรือได้ไปเลื่อมใสใน พระสงฆ์เข้าก็ได้ผลปัจจุบันได้ผลเป็นมหัศจรรย์ทีเดียว เป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอด อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ ได้ถวายทานในท่านผู้เลิศแล้ว อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ บุญอันเลิศย่อมเจริญ ได้ถวายทานในพระพุทธเจ้า ได้ถวายทานในธรรม ได้ถวายทานในพระสงฆ์ ในท่านผู้เลิศเหล่านั้น บุญอันเลิศย่อมเจริญ ได้สมบัติปัจจุบันทันตาเห็น ไม่อย่างนั้นละโลกนี้ไปแล้วก็ได้สมบัติในเทวโลก พรหมโลก สมมาดปรารถนา ได้ผลทีเดียว อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ อายุ วรรณะ อายุ คือมีอายุยืน วรรณะ ผิวพรรณวรรณะแห่งร่างกายงดงามเป็นของที่เลิศ ย่อมเจริญแก่เขาที่ได้ถวายทานนั้น ยศ เกียรติคุณ ความสุขและกำลังอันเลิศ ก็ย่อมเจริญแก่เขา อคฺคสส ทาตา เมธาวี ผู้มีปัญญาได้ถวายทานแก่ท่านผู้เลิศแล้ว อคฺคธมฺมสมาหิโต ตั้งอยู่ในธรรมอันเลิศ เทวภูโต มนุสฺโส วา จะไปเกิดเป็นเทวดาหรือว่าจะไปเกิดเป็นมนุษย์ อคฺคปฺปตฺโต ปโมทติ ย่อมถึงเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่ เกิดเป็นเทวดาก็ได้เกิดในวิมานทีเดียว จะเกิดเป็นมนุษย์ ก็เกิดในปราสาททีเดียว ถึงซึ่งความเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่ ไม่ต้องทำไร่ไถนา ค้าขายใดๆ เกิดในกองสมบัติทีเดียว นี่เป็นหลักยืนยันว่าธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติได้จริงอย่างนี้ ไม่คลาดเคลื่อน อย่าไปต้องสงสัยอะไรเลย อย่าระแวงอะไรเลย ถ้าไม่สงสัย ก็ให้มั่นอยู่ในธรรม จะทำอะไรก็ช่าง
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสหรือไม่
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ใสหรือไม่ ถ้าใสเข้าอยู่เวลาใด ได้เวลานั้น
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ใสหรือไม่ ถ้าใส
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ใสหรือไม่ ถ้าใส
    • ดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายอรูปพรหมใส หรือไม่ ถ้าใส
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ใสหรือไม่ ถ้าใส
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่ในเวลาใด ได้เวลานั้น
    ตลอดกายธรรมละเอียด กายธรรมโสดา-โสดาละเอียด กายธรรมสกทาคา-สกทาคาละเอียด กายธรรมอนาคา-อนาคาละเอียด กายธรรมพระอรหัต-อรหัตละเอียด นี่แหละเรียกว่า ธมฺมวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ หรือ สุขธมฺมวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข อยู่ในกลางดวงธรรมนั้น จะปฏิบัติให้ถูกหลักพระพุทธศาสนา หลักพระพุทธศาสนาอยู่ในกลางดวงธรรมนั้น ไม่ได้อยู่ที่อื่น หลักพระพุทธศาสนาไม่มีอื่น มีดวงศีล สมาธิ ปัญญา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อจัดออกมาทางกายวาจาไปอีกเรื่องหนึ่ง จัดไปทางเจตนาก็อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าจัดเข้าไปในดวงธรรม ก็คือดวงศีลทีเดียว เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ใสบริสุทธิ์สนิท เมื่อเป็นมนุษย์ก็ปฏิบัติอยู่ในดวงธรรม ดวงศีลนั่น ที่จะเข้าถึงดวงศีลต้องเข้าถึงดวงธรรมก่อน ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ ดวงปฐมมรรค หรือ ดวงเอกายนมรรค เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน และหยุดอยู่กลางดวงธรรมนั่นแหละ นี่จะปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาละ ปฏิบัติทางธรรม ได้หลักแล้ว ได้หลักศาสนาแล้ว ปฏิบัติทางธรรมต่อไป ปฏิบัติทางธรรมก็ต้องให้มั่นคง
    • ใจนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    • ใจหยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอหยุดก็หยุดในกลางดวง ของกลาง กลางของกลางๆๆๆ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล
    • หยุดอยู่กลางศีล พอถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางใจที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงสมาธิ
    • หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอหยุดเข้า กลางของหยุด กลางของกลางๆๆๆ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงปัญญา
    • หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้ากลางของหยุด กลางของกลางถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติ
    • หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอหยุดเข้าก็กลางของกลางๆๆ พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    • หยุดอยู่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียด
    ดำเนินไปในกายมนุษย์ละเอียดแบบนี้แหละ ก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม-กายธรรมละเอียด เป็นลำดับขึ้นไปทั้ง ๑๘ กาย ถึงตลอดแบบเดียวกันนี้
    นี่ปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา คือ ไปทางศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติเข้าไปข้างใน ถ้าปฏิบัติถอยออกมาข้างนอก ก็กายวาจาบริสุทธิ์ ว่ากันเจตนาบริสุทธิ์ไปอีกกว้างๆ เป็นปริยัติไป ถ้าปฏิบัติต้องเดินให้ตรงเข้าไปข้างใน นั่นเป็นทางปฏิบัติ เมื่อเข้าถึงปฏิบัติแล้ว ก็ปฏิเวธเป็นชั้นๆ เข้าไป
    เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์หยาบนี้ เข้าไปในทางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียด พอถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เห็นกายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว นั่นเป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้วตามส่วน เข้าไปในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด จนกระทั่งถึงกายทิพย์ก็เป็นปฏิเวธอยู่แล้ว เห็นกายทิพย์เข้าแล้ว เห็นกายทิพย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธ เห็นกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธ เห็นกายอรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธ เห็นกายอรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธเป็นชั้นๆ เข้าไป เข้าถึงกายธรรม เข้าถึงกายธรรมก็เป็นปฏิเวธ เข้าถึงกายธรรมละเอียดก็เป็นปฏิเวธ แบบเดียวกันนั่นแหละ จะปฏิบัติไปอย่างไรก็ว่าไปเถอะปริยัติ เมื่อเข้าถึงปฏิบัติแล้ว ก็เข้าถึงปฏิเวธ เป็นลำดับไป เข้าถึงโสดา-โสดาละเอียด สกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด อรหัต-อรหัตละเอียด เป็นลำดับไป ไม่เคลื่อนละ ไม่เคลื่อนหลัก เอาหลักมาปรับดูเถอะ ปริยัติเอามาปรับดูเถอะ แต่ว่าผู้เรียนปริยัติ ผู้เรียนบาลีท่านไม่เห็น ท่านก็เรียนตามศัพท์ของท่านไป เมื่อท่านเห็นท่านก็เรียนตามความเห็นของท่าน นี่เรื่องนี้สำคัญ
    เพราะเหตุนั้น การปฏิบัติศาสนาหรือนับถือศาสนา ถ้าว่าศึกษาไม่ได้หลักพระพุทธศาสนาแล้ว จะนับถือไปสัก ๕๐ ปีก็เอาเรื่องไม่ได้ ถ้าได้หลักแล้ว จึงจะเอาเรื่องได้ เพราะฉะนั้น วัดปากน้ำได้หลักแล้ว ต่อไปหมดประเทศไทย จะต้องถือเอาวัดปากน้ำนี้เป็นหลักทางปฏิบัติ ในทางปฏิบัติ ปฏิเวธ ส่วนปริยัติน่ะไม่ต้องเอาวัดปากน้ำ วัดปากน้ำต้องไปเอาเขามาอีก เอามาจากตำรับตำราที่เขาตั้งไว้เป็นหลักสูตรในประเทศไทย ถึงกระนั้นปริยัติวัดปากน้ำ ก็ไม่แพ้ฝั่งพระนคร ชนะฝั่งพระนครหลายวัด เหลือไม่กี่วัดที่จะล่วงล้ำไป แต่ส่วนปฏิบัตินั้น ชนะหมดทั้งประเทศไทย วัดใดวัดหนึ่งสู้ไม่ได้ เพราะวัดใดวัดหนึ่งสั่งสมพวกมีธรรมกายมาก ไม่ได้เหมือนวัดปากน้ำ วัดปากน้ำสั่งสมมากเวลานี้ ขนาด ๑๐๐ ขาดเกินไม่มาก ทั้งอุบาสก อุบาสิกา พระเณร ๑๐๐ ขาดเกินไม่มาก หรือจะกว่าก็ไม่รู้ แต่ว่ายังไม่ได้สำรวจถี่ถ้วน แล้วจะ สำรวจให้ดูว่ามีเท่าใด มากอยู่แล้วพวกที่ปฏิบัติใช้ได้ทีเดียว ที่ใช้ไม่ได้อย่างสูงนั้น ผู้เทศน์ต้องคอยคุม ถ้าไม่คุมละก้อ ไปสูงไม่ได้ มารมันปัดลงต่ำเสีย มันแนะนำให้วางเป้าหมายใจดำเสีย ไม่จรดอยู่ที่เป้าหมายใจดำ ที่ผู้เทศน์คอยคุมไว้ละก้อ ถูกเป้าหมายใจดำ ตรงกันข้ามกับพวกพญามาร ถ้าว่าไม่คุมไว้แล้ว เป็นลูกศิษย์พญามารเสียแล้ว มารเอาไปใช้เสียแล้วอย่างนี้มาก เหตุนั้นเมื่อมาพบของจริงเช่นนี้แล้ว ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ควรปล่อยชีวิต ค้นเอาของจริง รักษาของจริงไว้ให้ได้ เมื่อได้แล้วละก็ จะยิ้มในใจของตัวอยู่เสมอไป ไม่มีความเดือดร้อนใดๆ เห็นว่าพระพุทธศาสนานี่เป็นนิยานิกธรรมจริง นำสัตว์ออกมาจากทุกข์ ได้จริงในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว เมื่อรู้จักหลักอันนี้นี่แหละ ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมย่อมรักษาผู้ที่ประพฤติธรรม ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมนั่นแหละ สั่งสมไว้ดีแล้ว นำความสุขมาให้แท้ๆ เหตุนี้แหละที่ได้ชี้แจงแสดงมาแล้วนี้ เพื่อเป็นปฏิการสนองประคองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดาสโมสรในสถาน ที่นี้ถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมมีกถาโดยอรรถนิยมความแต่เพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    พระธรรมกาย



    [​IMG]









    [​IMG]

    “คมฺภีโรจายํ ธมฺโม ทุทฺทโส ทุรนุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย”
    “ธรรมนี้เป็นสภาพลึก เห็นได้ยาก ตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต คิดเดาด้วยเหตุผลธรรมดาไม่ได้ [หยั่งไม่ได้ด้วยตรรกะ] เป็นธรรมละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตเท่านั้นที่จะถึงรู้ได้” - พุทธภาษิต
    ธรรมกายคืออะไร
    ธรรมกาย คือ กายในกายที่สุดละเอียดของสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม เป็นกายโลกุตตระ (คือพ้นโลก) พ้นจากกายในกายอันเป็นโลกิยะ (กายมนุษย์หยาบ-ละเอียด กายทิพย์หยาบ-ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ-ละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ-ละเอียด)
    ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนี้เอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน ของพระอรหันตสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
    พระพุทธลักษณะของธรรมกาย
    ผู้ที่ได้ปฏิบัติภาวนาธรรมจนได้เข้าถึง ได้รู้ ได้เห็นและได้เป็น ทุกท่าน ต่างเห็นพระธรรมกายมีพระพุทธลักษณะดังต่อไปนี้

    • ลักษณะเหมือนพระพุทธปฏิมา เกตุดอกบัวตูม
    • ขาวใส บริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งนัก
    • ครองจีวรม้วนลูกบวบเข้าใน คือม้วนขวาเท่านั้น ไม่ม้วนซ้าย
    • ประทับนั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย นิ้วชี้พระหัตถ์ขวาแตะนิ้วหัวแม่มือพระหัตถ์ซ้าย
    • ประทับอยู่บนองค์ฌาน มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ขาว ใส หนาประมาณ ๑ ฝ่ามือของธรรมกาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย อยู่โดยรอบ จึงเห็นเหมือนพระธรรมกายประทับนั่งอยู่ในดวงแก้วดวงใหญ่ ซึ่งต่างจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายโลกิยะ (กายของมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม)

    (สำหรับผู้ที่กำลังของสมาธิยังไม่มั่นคงพอ หรือความบริสุทธิ์ของใจในขณะนั้นยังไม่ละเอียดดีพอ อาจเห็นมีลักษณะที่คลาดเคลื่อนไปได้ เช่น เห็นพระธรรมกายห่มดองมีผ้ารัดอกด้วย เป็นต้น)
    รัตนบัลลังก์
    ในอายตนะนิพพาน อันเป็นที่ประทับอยู่ของธรรมกายธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผล คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ที่ทรงสภาวะนิพพานนั้น มีทั้งธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก ประทับอยู่
    ธรรมกายตรัสรู้ของพระอรหันตสาวกทั้งหลายคงประทับ อยู่บนองค์ฌาน เฉยๆ
    เฉพาะธรรมกายตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ล้วนประทับ อยู่บนรัตนบัลลังก์ อีกทีหนึ่ง ธรรมกาย มีหยาบมีละเอียดไปจนสุดละเอียด
    แม้จะเป็นธรรมกายเหมือนกัน เป็นกายโลกุตตระเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีหยาบละเอียด ขึ้นอยู่กับระดับความบริสุทธิ์ มีประเภทดังนี้
    1. ธรรมกายโคตรภู สำหรับผู้ได้โคตรภูญาณ มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ๔ วาครึ่ง
    2. ธรรมกายพระโสดา มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๕ วาขึ้นไป
    3. ธรรมกายพระสกทาคา มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๑๐ วาขึ้นไป
    4. ธรรมกายพระอนาคามี มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๑๕ วาขึ้นไป
    5. ธรรมกายพระอรหัต หรือธรรมกายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านี้เอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะพระนิพพานนั้น มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรมขนาด ๒๐ วาขึ้นไป เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ (ตาย) แล้ว พระนิพพานธาตุอันเป็นอมตธรรมนี้น ย่อมสถิตยั่งยืนอยู่ในอายตนะนิพพาน เข้านิโรธสงบตลอดกันหมด เป็นบรมสุข
    สภาวะของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผล
    • ธรรมกายนั้นเป็น กายอันประเสริฐเพราะเป็นอมตธรรมที่เที่ยงและเป็นบรมสุข
    • ธรรมกายเป็นกายที่บริสุทธิ์ คือเป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน
    • ธรรมกาย มีชีวิตจิตใจ แต่ก็มีใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ คือไม่ใช่เบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์ เป็นวิสุทธิขันธ์
    • ธรรมกาย ปราศจากตัณหาราคะใดๆ (วิราคธาตุ-วิราคธรรม)
    • ธรรมกาย เป็นวิสังขารธรรม ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง พ้นจากความปรุงแต่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นความปรุงแต่งด้วยผลของ บาปอกุศล หรือ บุญกุศล (คือเป็นอสังขตธาตุ-อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร)
      จึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์หรือสามัญญลักษณะ คือลักษณะที่เสมอกันของสังขาร คือ ความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) ความเป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และความเป็นของไม่ใช่ตน (อนตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน ที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (วิสังขาร) จึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแปรผันไปตามเหตุปัจจัยดังสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งเขาเป็นกัน นี้เอง ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว จึงมีสภาวะที่ตรงกันข้ามกับสังขาร โดยเหตุนี้จึงเป็นกายที่เที่ยง (นิจฺจํ) เป็นสุข (สุขํ) และเป็นกายที่เป็นตัวตนที่แท้จริง (โลกุตฺตรอตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุเป็นธรรมเป็น คือเป็น กายที่มีชีวิตจิตใจ แต่ก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ อย่างสัตว์โลกทั้งหลาย ซ้อนอยู่ในที่สุดละเอียด ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ณศูนย์กลางกายของสัตว์โลกทั้งหลาย
    • ธรรมกาย เป็น อมตธรรม คือธรรมที่ไม่ตาย จึงไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ และตาย อีก
    • ธรรมกาย มีความสุขที่เหนือความสุขทางโลกทั้งสิ้น ดังพระพุทธพจน์ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ - นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่สุขในนิพพานก็ไม่ใช่สุขเวทนาอย่างชาวโลก
    • ธรรมกาย เป็นกายที่ประมวลความบริสุทธิ์ ๓ ประการเข้าไว้ คือ
      • กายและหัวใจ เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก เป็น ปฐมมรรค [พระวินัยกลั่นออกมาเป็นกายและหัวใจ]
      • ดวงจิต เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระสุตตันตปิฎก เป็น มรรคจิต [พระสูตรกลั่นออกมาเป็นดวงจิต]
      • ดวงปัญญาเป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมหรือพระปรมัตถปิฎก เป็นมรรคปัญญา [พระอภิธรรมกลั่นออกมาเป็นดวงปัญญา]

    ฐานะ ความสำคัญ ของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว
    • ธรรมกายเป็น กายในกาย ที่สุดละเอียด ของมนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลาย ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน (เที่ยงและเป็นบรมสุข) ไว้
    • พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “ธรรมกาย” เป็นชื่อของพระองค์ - อหํ ธมฺมกาโย อิติปิ ก็คือ พระองค์เป็นธรรมกาย นั่นเอง
    • ธรรมกายทำหน้าที่ตรัสรู้อริยสัจ ๔ (กรณีพระอรหันตสาวก) และตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (กรณีพระพุทธเจ้า)
      • ธรรมกายจึงเป็นพระพุทธรัตนะ
      • ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายคือพระธรรมรัตนะ
      • ธรรมกายที่ละเอียดๆ ทั้งหลาย คือ พระสังฆรัตนะ
    ความอุบัติขึ้นของ "ธรรมกาย" เป็นของยาก
    ความปรากฏขึ้นของ “ธรรมกาย” แก่สัตว์โลก เป็นเรื่องที่สัตว์โลกมีได้ด้วยยาก แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยที่สัตว์โลกจะทำได้ เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี หรือพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ก่อนแต่จะตรัสรู้ ได้บรรลุพระอรหัตตผลหรือพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย “พระธรรมกาย” นั้น ก็เริ่มตั้งแต่ความเป็นมนุษย์ปุถุชนมาก่อนเหมือนกัน กายพระพุทธเจ้าจักรพรรดิ
    มีข้อสังเกตว่า เมื่อปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายชั้นสูงไปจนสุดละเอียด ในท่ามกลางธรรมกายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า (กินความรวมถึงกายอื่นที่หยาบรองลงมาจนสุดกายหยาบคือกายมนุษย์ด้วย) ยังมีกายในกายซ้อนอยู่ต่อไปอีก คือ กาย “พระพุทธเจ้าจักรพรรดิ” หรือเรียกว่า “จักรพรรดิ” เฉยๆ ซึ่งเป็นกายภาคผู้เลี้ยง และเป็นประธานของรัตนะ ๗ และกายสิทธิ์ทั้งหลาย มีลักษณะเหมือนพระธรรมกายโดยทั่วไป แต่ “ทรงเครื่อง” เหมือนพระทรงเครื่อง (อย่างเช่น พระแก้วมรกตทรงเครื่อง) ขาวใสบริสุทธิ์ยิ่งนักอีกเช่นกัน
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]



    พระธรรมกาย
    [​IMG]


    “คมฺภีโรจายํ ธมฺโม ทุทฺทโส ทุรนุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย”
    “ธรรมนี้เป็นสภาพลึก เห็นได้ยาก ตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต คิดเดาด้วยเหตุผลธรรมดาไม่ได้ [หยั่งไม่ได้ด้วยตรรกะ] เป็นธรรมละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตเท่านั้นที่จะถึงรู้ได้” - พุทธภาษิต
    ธรรมกายคืออะไร
    ธรรมกาย คือ กายในกายที่สุดละเอียดของสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม เป็นกายโลกุตตระ (คือพ้นโลก) พ้นจากกายในกายอันเป็นโลกิยะ (กายมนุษย์หยาบ-ละเอียด กายทิพย์หยาบ-ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ-ละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ-ละเอียด)
    ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนี้เอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน ของพระอรหันตสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
    พระพุทธลักษณะของธรรมกาย
    ผู้ที่ได้ปฏิบัติภาวนาธรรมจนได้เข้าถึง ได้รู้ ได้เห็นและได้เป็น ทุกท่าน ต่างเห็นพระธรรมกายมีพระพุทธลักษณะดังต่อไปนี้

    • ลักษณะเหมือนพระพุทธปฏิมา เกตุดอกบัวตูม
    • ขาวใส บริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งนัก
    • ครองจีวรม้วนลูกบวบเข้าใน คือม้วนขวาเท่านั้น ไม่ม้วนซ้าย
    • ประทับนั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย นิ้วชี้พระหัตถ์ขวาแตะนิ้วหัวแม่มือพระหัตถ์ซ้าย
    • ประทับอยู่บนองค์ฌาน มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ขาว ใส หนาประมาณ ๑ ฝ่ามือของธรรมกาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย อยู่โดยรอบ จึงเห็นเหมือนพระธรรมกายประทับนั่งอยู่ในดวงแก้วดวงใหญ่ ซึ่งต่างจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายโลกิยะ (กายของมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม)

    (สำหรับผู้ที่กำลังของสมาธิยังไม่มั่นคงพอ หรือความบริสุทธิ์ของใจในขณะนั้นยังไม่ละเอียดดีพอ อาจเห็นมีลักษณะที่คลาดเคลื่อนไปได้ เช่น เห็นพระธรรมกายห่มดองมีผ้ารัดอกด้วย เป็นต้น)
    รัตนบัลลังก์
    ในอายตนะนิพพาน อันเป็นที่ประทับอยู่ของธรรมกายธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผล คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ที่ทรงสภาวะนิพพานนั้น มีทั้งธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก ประทับอยู่
    ธรรมกายตรัสรู้ของพระอรหันตสาวกทั้งหลายคงประทับ อยู่บนองค์ฌาน เฉยๆ
    เฉพาะธรรมกายตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ล้วนประทับ อยู่บนรัตนบัลลังก์ อีกทีหนึ่ง ธรรมกาย มีหยาบมีละเอียดไปจนสุดละเอียด
    แม้จะเป็นธรรมกายเหมือนกัน เป็นกายโลกุตตระเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีหยาบละเอียด ขึ้นอยู่กับระดับความบริสุทธิ์ มีประเภทดังนี้
    1. ธรรมกายโคตรภู สำหรับผู้ได้โคตรภูญาณ มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ๔ วาครึ่ง
    2. ธรรมกายพระโสดา มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๕ วาขึ้นไป
    3. ธรรมกายพระสกทาคา มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๑๐ วาขึ้นไป
    4. ธรรมกายพระอนาคามี มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๑๕ วาขึ้นไป
    5. ธรรมกายพระอรหัต หรือธรรมกายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านี้เอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะพระนิพพานนั้น มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรมขนาด ๒๐ วาขึ้นไป เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ (ตาย) แล้ว พระนิพพานธาตุอันเป็นอมตธรรมนี้น ย่อมสถิตยั่งยืนอยู่ในอายตนะนิพพาน เข้านิโรธสงบตลอดกันหมด เป็นบรมสุข
    สภาวะของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผล
    • ธรรมกายนั้นเป็น กายอันประเสริฐเพราะเป็นอมตธรรมที่เที่ยงและเป็นบรมสุข
    • ธรรมกายเป็นกายที่บริสุทธิ์ คือเป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน
    • ธรรมกาย มีชีวิตจิตใจ แต่ก็มีใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ คือไม่ใช่เบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์ เป็นวิสุทธิขันธ์
    • ธรรมกาย ปราศจากตัณหาราคะใดๆ (วิราคธาตุ-วิราคธรรม)
    • ธรรมกาย เป็นวิสังขารธรรม ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง พ้นจากความปรุงแต่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นความปรุงแต่งด้วยผลของ บาปอกุศล หรือ บุญกุศล (คือเป็นอสังขตธาตุ-อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร)
      จึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์หรือสามัญญลักษณะ คือลักษณะที่เสมอกันของสังขาร คือ ความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) ความเป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และความเป็นของไม่ใช่ตน (อนตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน ที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (วิสังขาร) จึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแปรผันไปตามเหตุปัจจัยดังสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งเขาเป็นกัน นี้เอง ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว จึงมีสภาวะที่ตรงกันข้ามกับสังขาร โดยเหตุนี้จึงเป็นกายที่เที่ยง (นิจฺจํ) เป็นสุข (สุขํ) และเป็นกายที่เป็นตัวตนที่แท้จริง (โลกุตฺตรอตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุเป็นธรรมเป็น คือเป็น กายที่มีชีวิตจิตใจ แต่ก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ อย่างสัตว์โลกทั้งหลาย ซ้อนอยู่ในที่สุดละเอียด ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ณศูนย์กลางกายของสัตว์โลกทั้งหลาย
    • ธรรมกาย เป็น อมตธรรม คือธรรมที่ไม่ตาย จึงไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ และตาย อีก
    • ธรรมกาย มีความสุขที่เหนือความสุขทางโลกทั้งสิ้น ดังพระพุทธพจน์ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ - นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่สุขในนิพพานก็ไม่ใช่สุขเวทนาอย่างชาวโลก
    • ธรรมกาย เป็นกายที่ประมวลความบริสุทธิ์ ๓ ประการเข้าไว้ คือ
      • กายและหัวใจ เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก เป็น ปฐมมรรค [พระวินัยกลั่นออกมาเป็นกายและหัวใจ]
      • ดวงจิต เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระสุตตันตปิฎก เป็น มรรคจิต [พระสูตรกลั่นออกมาเป็นดวงจิต]
      • ดวงปัญญาเป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมหรือพระปรมัตถปิฎก เป็นมรรคปัญญา [พระอภิธรรมกลั่นออกมาเป็นดวงปัญญา]

    ฐานะ ความสำคัญ ของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว
    • ธรรมกายเป็น กายในกาย ที่สุดละเอียด ของมนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลาย ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน (เที่ยงและเป็นบรมสุข) ไว้
    • พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “ธรรมกาย” เป็นชื่อของพระองค์ - อหํ ธมฺมกาโย อิติปิ ก็คือ พระองค์เป็นธรรมกาย นั่นเอง
    • ธรรมกายทำหน้าที่ตรัสรู้อริยสัจ ๔ (กรณีพระอรหันตสาวก) และตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (กรณีพระพุทธเจ้า)
      • ธรรมกายจึงเป็นพระพุทธรัตนะ
      • ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายคือพระธรรมรัตนะ
      • ธรรมกายที่ละเอียดๆ ทั้งหลาย คือ พระสังฆรัตนะ
    ความอุบัติขึ้นของ "ธรรมกาย" เป็นของยาก
    ความปรากฏขึ้นของ “ธรรมกาย” แก่สัตว์โลก เป็นเรื่องที่สัตว์โลกมีได้ด้วยยาก แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยที่สัตว์โลกจะทำได้ เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี หรือพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ก่อนแต่จะตรัสรู้ ได้บรรลุพระอรหัตตผลหรือพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย “พระธรรมกาย” นั้น ก็เริ่มตั้งแต่ความเป็นมนุษย์ปุถุชนมาก่อนเหมือนกัน กายพระพุทธเจ้าจักรพรรดิ
    มีข้อสังเกตว่า เมื่อปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายชั้นสูงไปจนสุดละเอียด ในท่ามกลางธรรมกายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า (กินความรวมถึงกายอื่นที่หยาบรองลงมาจนสุดกายหยาบคือกายมนุษย์ด้วย) ยังมีกายในกายซ้อนอยู่ต่อไปอีก คือ กาย “พระพุทธเจ้าจักรพรรดิ” หรือเรียกว่า “จักรพรรดิ” เฉยๆ ซึ่งเป็นกายภาคผู้เลี้ยง และเป็นประธานของรัตนะ ๗ และกายสิทธิ์ทั้งหลาย มีลักษณะเหมือนพระธรรมกายโดยทั่วไป แต่ “ทรงเครื่อง” เหมือนพระทรงเครื่อง (อย่างเช่น พระแก้วมรกตทรงเครื่อง) ขาวใสบริสุทธิ์ยิ่งนักอีกเช่นกัน
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    หลักฐานในคัมภีร์
    [​IMG]


    ธรรมกาย


    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย
    พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย
    พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่
    พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก
    ตถาคตคือใคร ? พระอรหันต์ตายแล้ว ไม่ขาดสูญ (๑)
    ตถาคตคือใคร ? พระอรหันต์ตายแล้ว ไม่ขาดสูญ (๒) นิพพาน


    อายตนะ(นิพพาน) นั้น มีอยู่
    เป็นที่ที่พระอเสขมุนีคือพระอรหันต์ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก
    พระนิพพาน เห็นได้ยาก
    พระนิพพาน ตรัสรู้ตามได้ยาก
    พระนิพพาน มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด

    [​IMG] ธรรมกาย


    (๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย

    “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”
    “วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี
    ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”
    ที.ปา.11/55/92
    (๒) พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="65%"><TBODY><TR><TD width="30%"></TD><TD width="26%">“อหํ สุคต เต มาตา
    สทฺธมฺมสุขโท นาถ
    สํวทฺธิโตยํ สุคต
    อานนฺทิโย ธมฺมกาโย
    มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ
    ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ
    พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ </TD><TD width="44%">ตุวํ ธีร ปิตา มม
    ตยา ชาตมฺหิ โคตม.
    รูปกาโย มยา ตว
    มม สํวทฺธิโต ตยา.
    ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา
    ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.
    อนโณ ตฺวํ มหามุเน.” </TD></TR></TBODY></TABLE>
    “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
    ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
    ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
    ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
    หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
    ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”
    ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔
    (๓) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่
    “เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.”
    (๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า
    “วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...”
    “นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”
    ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐ อายตนะ(นิพพาน)


    (๑) ตรัสว่า อายตนะ(นิพพาน) นั้น มีอยู่ ดังนี้

    “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ. ยตฺถ เนว ปฐวี น อาโป น เตโช น วาโย น อากาสานญฺจายตนํ น วิญญาณญฺจายตนํ น อากิญฺจญฺญายตนํ น เนวสญฺญานาสญฺญายตนํ นายํ โลโก น ปรโลโก น อุโภ จนฺทิมสุริยา. ตมหํ ภิกฺขเว เนว อาคตึ วทามิ น คตึ น ฐิตึ น จุตึ น อุปฺปตฺตึ. อปฺปติฏฺฐํ อปฺปวตฺตํ อนารมฺมณเมว ตํ เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺสาติ.” “ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) นั้นมีอยู่. ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มี ในอายตนะนั้น.
    ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ. อายตนะนั้นหาที่ตั้ง อาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั้นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.”
    ขุ.อุ.๒๕/๑๕๘/๒๐๖-๒๐๗
    (๒) ตรัสว่า เป็นที่ที่พระอเสขมุนีคือพระอรหันต์ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก ดังนี้
    “สตฺถา 'ภิกฺขเว เอวรูปานํ อเสขมุนีนํ อภิสมฺปราโย นาม นตฺถิ. เอวรูปา หิ อจฺจุตํ อมตํ มหานิพฺพานเมว ปาปุณนฺตีติ วตฺวา อิมํ คาถมาห
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="65%"><TBODY><TR><TD width="30%"></TD><TD width="26%">'อหึสกา เย มุนโย</TD><TD width="44%">นิจฺจํ กาเยน สํวุตา</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ </TD><TD>ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเรติ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ... อจฺจุตนฺติ สสฺสตํ. ฐานนฺติ อกุปฺปฏฺฐานํ ธุวฏฺฐานํ. ยตฺถาติ ยสฺมึ คนฺตฺวา น โสจนฺติ น วิหญฺญนฺติ ตํ นิพฺพานฏฺฐานํ คจฺฉนฺตีติ อตฺโถ.”
    “พระศาสดาตรัสว่า 'ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าอภิสัมปรายภพของพระอเสขมุนีทั้งหลายผู้เห็นปานนั้น ย่อมไม่มี, เพราะว่าพระอเสขมุนีผู้เห็นปานนั้น ย่อมบรรลุมหานิพพานอันไม่จุติ อันไม่ตาย' ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
    'มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้วด้วยกายเป็นนิตย์, มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่ฐานะ (ที่) อันไม่จุติ, ซึ่งเป็นที่ชน (อเสขมุนี) ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก.'
    ... บทว่า อจฺจุตํ ได้แก่ เที่ยง.
    บทว่า ฐานํ ได้แก่ ฐานะ (ที่) ที่ไม่กำเริบ คือ ฐานะ (ที่) ที่ยั่งยืน.
    บทว่า ยตฺถ เป็นต้น ความว่า มุนีทั้งหลาย ย่อมไปสู่ฐานะ (ที่) คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ชน (อเสขมุนี) ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก คือไม่เดือดร้อน.”
    ขุ.ธ.๒๕/๒๗/๔๕
    (๓) ตรัสว่า พระนิพพาน เห็นได้ยาก ดังนี้ <TABLE width="65%"><TBODY><TR><TD width="30%"></TD><TD width="26%">“ทุทฺทสํ อนตํ นาม </TD><TD width="44%">น หิ สจฺจํ สุทสฺสนํ </TD></TR><TR><TD></TD><TD>ปฏิวิทฺธา ตณฺหา ชานโต </TD><TD>ปสฺสโต นตฺถิ กิญฺจนํ.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    “ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่า นิพพาน ไม่มีตัณหา. นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย. ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่.”
    ขุ.อุ..๒๕/๑๕๙/๒๐๗
    (๔) ตรัสว่า พระนิพพาน ตรัสรู้ตามได้ยาก ดังนี้

    “อธิคโต โข มยายํ ธมฺโม คมฺภีโร ทุทฺทโส ทุรานุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย.” “ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ด้วยการนึกคิด เป็นธรรมละเอียด อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง.”
    วิ.มหา.๔/๗/๘
    (๕) ตรัสว่า พระนิพพาน มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด ดังนี้ <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="65%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="30%" align=right>“</TD><TD width="26%">วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ
    เอตฺถ ทีฆญฺจ รสฺสญฺจ
    อตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ
    วิญฺญาณสฺส นิโรเธน</TD><TD width="44%">อนนฺตํ สพฺพโต ปภํ
    อนุ ํ ถูลํ สุภาสุภํ
    อเสสํ อุปรุชฺฌติ
    เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ.”</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือในธรรมชาตินี้, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.”
    ม.มู.๑๒/๕๕๔/๕๙๖
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]


    ธรรมนิยามสูตร
    ๓๑ มกราคม ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)

    เอวมฺเม สุตํ. เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม. ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ. ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ํ. ภควา เอตทโวจาติ.

    ...แต่ว่าผู้เทศน์เองก็ได้ค้นคว้าหาเหตุผลเหล่านี้นักหนา แต่ว่ายังไปไม่ถึงสุด ไปยังไม่สุด ในวิราคธาตุวิราคธรรม ถ้าไปสุดเวลาไรละก้อ วิชชาวัดปากน้ำ วิชชาของผู้เทศน์นี่สำเร็จเวลานั้น ภิกษุสามเณรจะต้องเหาะเหินเดินอากาศได้ทันทีทีเดียว ไม่ต้องไปสงสัยล่ะ ถ้าไปสุดวิราคธาตุ วิราคธรรมล่ะ เวลานี้กำลังไปอยู่ ทั้งวันทั้งคืน วินาทีเดียวไม่ได้หยุดเลย ตั้งใจจะไปให้สุดวิราคธาตุวิราคธรรมนี่แหละ ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งบัดนี้ นับปีได้ ๑๒ ปี กับ ๖ เดือนเศษแล้ว ๑๒ ปี ๖ เดือนเศษแล้วเกือบครึ่งล่ะ จะไปให้สุดวิราคธาตุวิราคธรรมให้ได้ แต่มันยังไม่สุด แต่มันจะอีกกี่ปีไม่รู้แน่นะ ถ้าว่าสุดแล้วก็รู้ดอก ไม่ต้องสงสัยล่ะ รู้กันหมดทั้งสากลโลก ถ้าสุด เข้าแล้วก็รบราฆ่าฟันเลิกกันหมด มนุษย์ในสากลโลกร่มเย็นเป็นสุขหมด ไม่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ มีผู้เลี้ยงเสร็จ เป็นสุขเหมือนอย่างกับพระ เหมือนอย่างกับเทวดา เหมือนกับพระนิพพาน สุขวิเศษไพศาลอย่างนั้น จะได้พบแน่ละ แต่ว่าขอให้ไปสุดวิราคธาตุวิราคธรรมเสียก่อน ...
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เป็นธรรมสวนะฉลองประคองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรเพื่อสวนกิจในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า จะชี้แจงแสดงธรรมเทศนาในเวลาวันนี้ คือ ในเรื่อง ธรรมนิยามสูตร ธรรมที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสเทศนายกย่องธาตุธรรมว่าเป็นของเกิดขึ้นก่อนเก่า หรือ เก่าก่อน พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือจะไม่บังเกิดขึ้น ธาตุธรรมน่ะเขามีอยู่แล้ว เขาเกิดอยู่แล้ว ตั้งอยู่แล้วเป็นปกติ พระองค์ทรงแสดงธรรมในข้อนี้ คือ จะทรงแสดงชี้แจงแสดงธาตุธรรมให้ปรากฏตามกำหนด ตามความเป็นจริงของธาตุธรรมเหล่านั้น บัดนี้จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลีแห่งพระสูตรนั้น เพื่อเป็นเครื่องปฏิการสนองประคองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัททุกถ้วนหน้า
    เริ่มต้นแห่งพระสูตรว่า เอวมฺเม สุตํ พระสูตรนี้พระอานนท์ได้สดับฟังเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เอวํ อากาเรน ด้วยอาการอย่างนี้ เอกํ สมยํ ณ สมัยครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับที่วิหารเชตวัน อันเป็นอารามของอนาถปิณฑิกคฤหบดี สร้างถวายในกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งหาพระภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายรับพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอาลปนคาถาว่า ภทนฺเต ความเจริญจงมีแก่พระองค์ดังนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาค เมื่อพระภิกษุทั้งหลายเป็นอันมากมาสู่ที่ประชุมนั้นแล้ว จึงได้ตรัสพระสูตรนี้ว่า
    อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้า ก็ดี อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ความไม่บังเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ฐิตา ว สา ธาตุ ธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว ธมฺมฏฺฐิตตา เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นของตั้งมั่นแห่งธรรม หรือเป็น ที่ตั้งมั่นแห่งธรรม ธมฺมนิยามตา เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรม คำว่าเป็นเบาะนี้ขบขันอยู่ สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงดังนี้ ตํ ตถาคโต อภิสมฺพุชฺฌติ พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ไต่สวนธรรมนั้นอยู่ หรือไต่สวนธาตุนั้นอยู่ อภิสมฺพุชฺฌิตฺวา อภิสเมตฺวา ครั้นตรัสรู้พร้อมจำเพาะแล้ว ไต่สวนเสร็จแล้ว อาจิกฺขติ เทเสติ ย่อมบอก ย่อมแสดง ปญฺญเปติ ปฏฺฐเปติ ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง วิวรติ วิภชติ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก อุตฺตานีกโรติ ย่อมทำให้ตื้นขึ้นว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้
    อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตา ว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี หรือว่าความไม่ เกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นที่ตั้งมั่นของธรรม เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรม ว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ตํ ตถาคโต อภิสมฺพุชฺฌติ อภิสเมติ พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ไต่สวนธาตุนั้นอยู่ อภิสมฺพุชฺฌิตฺวา อภิสเมตฺวา ครั้นตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ไต่สวนแล้ว ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงทำให้ตื้นขึ้นว่า สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ ดังนี้
    อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตา ว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี หรือว่าความไม่เกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นที่ตั้งมั่นแห่งธรรม เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ตํ ตถาคโต อภิสมฺพุชฺฌติ อภิสเมติ พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ไต่สวน หรือสอบสวน ธาตุนั้นอยู่ อภิสมฺพุชฌิตฺวา อภิสเมตฺวา ครั้นตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ไต่สวนแล้ว ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงทำให้ตื้นขึ้นว่า ธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัว ดังนี้
    อิทมโวจ ภควา สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว อตฺตมนา เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ ํ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาเทศนาดังนี้ ตามที่แปลกันในสยามภาษานี้
    ต่อแต่นี้จะแปลขยายจากมคธภาษาเป็นสยามล้วน ให้เราท่านทั้งหลายได้ทบทวน ได้สดับตรับฟังให้เข้าเนื้อเข้าใจ เป็นธรรมอันลุ่มลึกสุขุมนัก ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้ายว่า พระสูตรนี้อันพระอานนท์เถรเจ้าได้สดับตรับฟังแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่วิหารเชตวัน อันเป็นอารามของอนาถปิณฑิกคฤหบดีสร้างถวาย ในกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาสู่ที่เฝ้า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นรับพุทธพจน์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอาลปนคาถาว่า ภทนฺเต ความเจริญจงมีแด่พระองค์ดังนี้ แล้วสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เริ่มตรัสพระสูตรนี้ว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ความไม่บังเกิดขึ้นของ พระตถาคตเจ้าก็ดี ธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นที่ตั้งมั่นของธรรม เพราะ ความที่แห่งธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรมว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง พระตถาคตเจ้าตรัสรู้พร้อม เฉพาะอยู่ สอบสวนซึ่งธาตุนั้นอยู่ ครั้นตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว สอบสวนแล้ว ทรงบอก ทรง แสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงกระทำให้ตื้นขึ้นว่า สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง ดังนี้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ความไม่บังเกิดขึ้นของ พระตถาคตเจ้าก็ดี ธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นที่ตั้งมั่นของธรรม เพราะ ความที่แห่งธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรมว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้พร้อม เฉพาะอยู่ สอบสวนธาตุนั้นอยู่ ครั้นตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว สอบสวนแล้ว ทรงบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงกระทำให้ตื้นขึ้นว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความบังเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าก็ดี ความไม่บังเกิดขึ้นของ พระตถาคตเจ้าก็ดี ธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว เพราะความที่แห่งธาตุนั้นเป็นที่ตั้งมั่นของธรรม เพราะ ความที่แห่งธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรมว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว พระตถาคตเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะอยู่ สอบสวนธาตุนั้นอยู่ ครั้นตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว สอบสวนแล้ว ทรงบอก ทรง แสดง ทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงกระทำให้ตื้นขึ้นว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ดังนี้
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ภิกษุทั้งหลายมีใจเพลิดเพลินยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการดังนี้ นี่เป็นสยามภาษาล้วน ไม่เกี่ยวด้วยบาลี แต่ว่าเป็นเนื้อความของภาษาแปลอยู่ ไม่ใช่สยามภาษาแท้ เป็นแปลมคธภาษาเป็นสยามอยู่ จะ อรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เพราะธรรมนี่ลึกซึ้งนัก เราไม่รู้ไม่ถึง เราอาศัยกายมนุษย์ก็จริง แต่ว่าหารู้จักธาตุธรรมของมนุษย์ไม่ หารู้จักธาตุธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ วันนี้จะชี้แจงให้เข้าเนื้อเข้าใจในธาตุธรรมเหล่านี้
    ข้อสำคัญอยู่ที่พระตถาคตเจ้าน่ะ เราต้องรู้จักคือใคร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ? แล้วก็คำว่า ธาตุ น่ะ ว่า ธรรม น่ะ เราต้องรู้จักว่าเป็นอย่างไร ? รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ? นั่นแน่ะ ต้องรู้ความอันนั้นแน่ะ ที่แสดงมาแล้วนี้เป็นอุเทศ ต้องเป็นนิเทศออกไป อุเทศน่ะแสดงเนื้อความอยู่ นิเทศน่ะกว้างออกไป นิเทศน่ะพิสดารออกไป จะแสดงให้พิสดารกว้างขวางออกไปอีก คำว่า “ธาตุ” นั้นน่ะ พระตถาคตเจ้าจะเกิดขึ้นก็ดี ไม่เกิดขึ้นก็ดี ธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว พระตถาคตเจ้าน่ะ รู้กันน่ะ “ธรรมกาย” เคยเทศน์กันมากแล้ว ธรรมกายมีหลายชั้น ธรรมกายโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด ๑๐ กาย กายหยาบกายละเอียดทั้งมรรคทั้งผลด้วย รวมทั้งมรรคทั้งผล ๑๐ กาย นี่เรียกว่าธรรมกาย นี่ตัวพระตถาคตเจ้าทั้งนั้น ธรรมกายนี้ตัวพระตถาคตเจ้าทั้งนั้น เมื่อเข้าใจว่าพระตถาคตเจ้าดังนี้ละก็ เราจะแสดงว่าธรรมกายจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ธาตุนั้นตั้งอยู่แล้ว ที่ได้ไว้น่ะก็ถูกเหมือนกัน แบบเดียวกัน พระตถาคตเจ้าก็แบบเดียวกัน ชื่อธรรมกายนั่นแหละเรียกธรรมกายนั่นแหละ
    เมื่อเข้าใจแล้วดังนี้ จะแสดงโดยธาตุให้เข้าเนื้อเข้าใจต่อไปว่า ิตา ว สา ธาตธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้ว แต่ว่าความที่ของธาตุนั้นเป็นที่ตั้งมั่นของธรรม นั่นแน่มีธรรมอยู่ข้างหลัง นั่นแน่ เพราะความที่ของธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรม ธาตุเป็นที่ตั้งของธรรม เป็นเบาะของธรรม อย่างนี้จริงน่ะ ธาตุน่ะรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ? ธรรมน่ะรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ? โตเล็ก เท่าไหน ? อยู่ที่ไหน ? ธาตุนั้นตัวจริงน่ะกลมๆ ธรรมตัวจริงก็กลมๆ เป็นดวงกลมๆ เล็กใหญ่ตามส่วน เล็กน่ะ เล็กที่สุดจนกระทั่งเอากล้องส่องไม่เห็น เป็นดวงทั้งนั้น ใหญ่ขึ้นไปก็หมดธาตุหมดธรรม เต็มธาตุเต็มธรรม เต็มไปหมดก็เป็นดวงใหญ่ขึ้นไปขนาดนั้นนั่น เป็นดวงของธาตุ ดวงของธรรม ธาตุธรรมนี้แยกกันไม่ได้ อาศัยกัน เหมือนกายมนุษย์กับใจทีเดียว แยกกันไม่ได้ ถ้าแยกกันเกิดเรื่อง ต้องเป็นต้องตายทีเดียว เพราะฉะนั้นธาตุนั้นก็เป็นเบาะของธรรม ธรรมต้องอยู่ในธาตอาศัยธาตุอยู่ ถ้าว่าเมื่อธาตุเป็นเบาะของธรรม ถ้าว่าเมื่อธาตุเป็นที่ตั้งมั่นของ ธรรมละก้อ ธรรมเป็นที่ตั้งมั่นของธาตุได้บ้างไหมล่ะ ได้เหมือนกัน แบบเดียวกัน ถ้าธาตุนั้นเป็นเบาะของธรรม ธรรมเป็นเบาะของธาตุบ้างได้ไหมล่ะ ได้เหมือนกัน แบบเดียวกัน เป็น อย่างไรกันน่ะ
    คำว่าเป็นเบาะนั่นแหละเป็นภาษาพูด เป็นภาษาไทยเราแท้ๆ แต่ว่าฟังไม่ออก อย่าเข้าใจว่าเบาะที่ปูให้เด็กนอน หรือเบาะปูให้เด็กนอน เข้าใจเสียอย่างนั้น เข้าใจอย่างนั้นหมด ก็ถูกเหมือนกันแหละ แต่ว่ามีวัตถุธาตุ มีวัตถุนั้นขึ้น แต่คำว่าธาตุเป็นเบาะของธรรม ธรรมเป็นเบาะของธาตุน่ะ เป็นเบาะอย่างนี้ มนุษย์มาเกิดในมนุษย์โลกมีอายตนะของชั้นกามนี่ โลกายตนะต้องมีโลกายตนะเป็นเบาะ ไม่มีโลกายตนะเป็นเบาะ เกิดไม่ได้ เขาเรียกว่า โลกายตนะ อายตนะของโลก อายตนะมี ๒ อย่าง อายตนะของธรรม “ธรรมายตนะ” ธรรมายตนะน่ะไม่ใช่อื่นทีเดียว นิพพานทีเดียว ที่พระองค์ทรงรับสั่งว่า อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอยู่อันหนึ่ง นิพพานเป็นอายตนะมีอยู่ พระพุทธเจ้าไปนิพพาน เบาะนิพพานก็มี สัตว์มาเกิดในโลก เบาะของโลกเขาก็มี เรียกว่า โลกายตนํ เป็นเบาะเป็นที่ตั้ง เป็นที่อาศัยอยู่ เรียกว่าเป็นเบาะ เกิดในครรภ์มารดา ครรภ์มารดาเป็นเบาะ นั่นก็โลกายตนะเหมือนกัน แม้เกิดในชั้นทิพย์ ๖ ชั้น ชั้นทิพย์ก็เป็นเบาะ เกิดในชั้นรูปพรหม อรูปพรหม ชั้นรูปพรหม อรูปพรหมนั่นก็เป็นเบาะเหมือนกัน เรียกว่าโลกายตนะทั้งนั้น รู้จักเบาะอย่างนี้ละก็ เข้าใจกัน เมื่อเข้าใจฟังดังนี้
    ธาตุที่ตั้งอยู่แล้วน่ะ ธาตุน่ะแบ่งออกไปเป็น ๒ มีธาตุอย่างหนึ่ง ธาตุแบ่งออกไปเป็น ๒ เป็น “สังขตธาตุ” “อสังขตธาตุ” ถ้าธาตุแบ่งออกเป็น ๒ ธรรมล่ะ ก็แบ่งออกเป็น ๒ เหมือนกัน “สังขตธรรม” “อสังขตธรรม” แบบเดียวกัน เรียกว่า “สังขตธาตุ สังขตธรรม” “อสังขตธาตุ อสังขตธรรม” ไม่ใช่แต่เท่านั้น ยังมี “วิราคธาตุ วิราคธรรม” อีก ยังมีอีก วิราคธาตุ วิราคธรรม ที่ท่านยกตำรับตำราไว้ว่า สงฺขาตา วา อสงฺขาตา วา วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ “สังขตธาตุ สังขตธรรม” ก็ดี “อสังขตธาตุ อสังขตธรรม” ก็ดี ไม่ประเสริฐเลิศเท่า “วิราคธาตุ วิราคธรรม” วิราคธาตุวิราคธรรม ประเสริฐเลิศกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น นั่นต้องรู้ชัดลงไปอย่างนี้
    สังขตธาตุสังขตธรรมน่ะเป็นอย่างไร นี่แหละที่เราอาศัยอยู่นี่แหละ ตัวสังขตธาตุ สังขตธรรมทั้งนั้น อยู่กับธรรมในกายมนุษย์ นี่ก็เป็นสังขตธรรม อยู่กับธาตุมนุษย์ นี่ก็เป็น สังขตธาตธาตุธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ บังคับบัญชาได้ เป็นสังขตธาตุสังขตธรรม
    อสังขตธาตุอสังขตธรรมล่ะอยู่ที่ไหน ? อสังขตธาตุอสังขตธรรมตั้งแต่ธรรมกายขึ้นไป ธรรมกายที่เป็นโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายที่เป็นโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ถ้ารวบทั้งหมด เช่นนี้ นี่ก็หมดสงสัยทีเดียว ส่วนที่เป็นธรรมกายแล้วเป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรม แต่ยังไม่ใช่ “วิราคธาตุ วิราคธรรม” ธาตุที่เป็นธรรมกาย ไม่ต้องยกธรรมกายโคตรภูออก เป็นธรรมกาย ใสแบบเดียวกัน ที่เป็นธรรมกายทั้งหยาบทั้งละเอียด ธาตุธรรมที่เป็นธรรมกายทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายหยาบ-ธรรมกายละเอียดที่เป็นโคตรภู ธรรมกายหยาบ-ธรรมกายละเอียดที่เป็นพระโสดา ธรรมกายหยาบ-ธรรมกายละเอียดที่เป็นพระสกทาคา ธรรมกายหยาบ-ธรรมกายละเอียดที่เป็นพระอนาคา ยกพระอรหัตออกเสีย ทั้ง ๘ กายนี้เป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรมทั้งนั้น ธาตุเหล่านี้ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เป็นเหมือนแก้วใสสะอาดทีเดียว นี่เป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรมทีเดียว แต่ว่ายังไม่ใช่ “วิราคธาตุ วิราคธรรม”
    ถ้าจะเป็นวิราคธาตุวิราคธรรมล่ะ ต้องกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียดเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม กายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียดเป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว มีธาตุธรรมชนิดเดียวกันไม่ต่างกัน แต่ว่าละเอียดขึ้นไปเป็นชั้นๆ เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม เออ รู้จักล่ะ
    ส่วนสังขตธาตุ สังขตธรรม, อสังขตธาตุ อสังขตธรรม, วิราคธาตุ วิราคธรรม รู้จักธาตุล่ะ ธาตุเหล่านี้แหละเป็นตัวยืน พระตถาคตเจ้าจะเกิดขึ้นก็ดี หรือว่าพระตถาคตเจ้าจะไม่เกิดขึ้นก็ดี ธาตุธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่แล้ว มีปรากฏอยู่แล้ว ไม่งอนง้อผู้หนึ่งผู้ใด มีปรากฏขึ้นเป็นสัตว์ เป็นสังขาร เป็นกำเนิด ที่เรียกว่า ชลาพุชะ, อัณฑชะ, สังเสทชะ, โอปปาติกะ, กำเนิดทั้ง ๔ นี้ ที่เกิดขึ้นก็เพราะอาศัยธาตุธรรมเหล่านั้นผลิตขึ้น ธาตุธรรมเหล่านั้นผลิตขึ้นเหมือนอะไร ? ผลิตขึ้นเหมือนติณชาติ รุกขชาติ พฤกษชาติ ติณชาติ ต้นหญ้า รุกขชาติ ต้นไม้ พฤกษชาติ ต้นไม้เหมือนกัน วัลลีชาติ ก็เถาวัลย์ต่างๆ ที่เป็นเถา ติณชาติ รุกขชาติ พฤกษชาติ วัลลีชาติ เหล่านี้ไม่มีธาตุธรรมละก็มีไม่ได้ ต้องอาศัยธาตุธรรมผลิตขึ้น ผลิตขึ้นก็เป็นสังขาร เป็นสังขารของโลกไป มนุษย์เล่าที่ผลิตขึ้นเป็นมนุษย์นี่ เป็นหญิงเป็นชายปรากฏนี่ ก็อาศัยธาตุธรรมนั่นแหละ ธาตุธรรมนั่นแหละผลิตขึ้น ถ้าไม่มีธาตุธรรมแล้วเป็นไม่ได้ ปรากฏไม่ได้ ถ้าธาตุธรรมผลิตขึ้นเป็นอะไร ? ก็เป็นสังขาร เป็นปุญญาภิสังขารบ้าง อปุญญาภิสังขารบ้าง อเนญชาภิสังขารบ้าง ที่เป็นปุญญาภิสังขาร สังขารที่งดงามสวยงาม ที่ดีที่ชอบใจเจริญใจ ที่เป็นอปุญญาภิสังขาร สังขารที่ไม่งดงามไม่สวยงาม ที่ไม่ดีที่ไม่ชอบใจไม่เจริญใจทั้งนั้น อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่ สังขารของอรูปพรหม ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เป็นอเนญชาภิสังขาร หรือได้แก่อสัญญีสัตว์ เบื่อนามติดรูป ได้รูปฌาน ๔ เบื่อนาม ติดรูป อยู่ในพรหมชั้นที่ ๑๑ นั้น นั่นเรียกว่าเป็นอเนญชาภิสังขารเหมือนกัน เป็นสังขาร ๓ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร
    ที่เป็นสังขารหล่านี้ขึ้นก็เพราะธาตุธรรมเหล่านั้นผลิตขึ้น ธาตุธรรมเหล่านั้นเป็นตัวยืน ผลิตให้เป็นติณชาติ รุกขชาติ พฤกษชาติ วัลลีชาติ ผลิตให้เป็นสัตว์เป็นหญิงเป็นชายปรากฏขึ้น อย่างนี้ ที่ผลิตขึ้นเรียกว่าอะไร ? พระพุทธเจ้าท่านทรงสอบสวนแล้ว ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว สอบสวนแล้วว่า นั่นแหละสังขาร เป็นสังขารขึ้น สังขารจะเป็นขึ้นมากน้อยเท่าไร เหมือนต้นไม้ ภูเขา ตึกร้านบ้านเรือน เหล่านี้แหละ จะเป็น “อุปาทินนกสังขาร” ก็ดี “อนุปาทินนกสังขาร” ก็ดี ที่เป็นอุปาทินนกสังขาร สังขารที่มีใจครอง ที่เป็นอนุปาทินนกสังขาร สังขารที่ไม่มีใจครอง ได้แก่ ติณชาติ รุกขชาติ พฤกษชาติ วัลลีชาติ เหล่านั้นไม่มีใจครอง อนุปาทินนกสังขาร
    สังขารที่เกิดขึ้น อาศัยกำเนิด ๔ คือ ชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ เหล่านี้ เกิดขึ้นอาศัยกำเนิด ๔ เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทินนกสังขาร สังขารที่มีใจครอง
    สังขารที่มีใจครองก็ดี ไม่มีใจครองก็ดี นั่นแหละเรียกว่า สพฺเพ สงฺขารา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง แปรผันไปหมด ปรากฏอย่างนี้
    เมื่อรู้จักอย่างนี้แล้ว สิ่งที่ไม่เที่ยง เราก็ถามซิว่า ในสากลโลก ถามพระ ถามเณร ถาม อุบาสกอุบาสิกาก็ได้ เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ล่ะ มันจะเอาสุขมาจากไหนล่ะ มีสตางค์อยู่ ๑๐๐ บาท ใช้หมดไปเสียแล้ว มันไม่เที่ยง มันหมดไปเสีย ทุกข์หรือสุขล่ะ อ้าวไม่มี ใช้ ทุกข์แล้ว หรือไม่ฉะนั้น สังขารเหล่านี้ที่แปรไปอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ล่ะ ถามคนแก่ซิ สุขหรือทุกข์ ต้องว่าทุกข์ทีเดียว ถามเด็กๆ มันก็ไม่ทุกข์ล่ะซี หนุ่มๆ สาวๆ มันก็ไม่ทุกข์ ถามคนแก่เข้าซี ทุกข์ทันทีทีเดียว อ้อ! ทุกข์เช่นนี้หรอกหรือ นี่มันทุกข์อย่างนี้ นี้เรียกว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เป็นทุกข์จริงๆ นะ ไม่ใช่สุขหรอก สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา เป็นทุกข์แท้ๆ ไม่ใช่หลอกลวง ทุกข์จริงๆ แต่ว่าทุกข์เหล่านี้ไม่เที่ยง ทุกข์เหล่านี้ก็เป็นละครของโลก ชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็เลิกกันไป ลาโรงกันไป เก็บฉากกันไป หายไปหมด ไม่รู้ไป ทางไหน ก็เป็นละครโลกนั่นเอง ถ้าว่าใครมีปัญญาก็ปล่อยความยึดถือสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นเสีย ถ้าเป็นคนโง่ก็ไปยึดถือสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มันก็ต้องร้องไห้เศร้าโศกเสียใจไป เข้าใจว่า เป็นของเรา เป็นเราไป นั่นมันโง่นี่ ไม่รู้จริงตามธาตุธรรมเหล่านี้ ถ้ารู้จริงตามธาตุธรรม เขาปรุงให้เป็นไปต่างหากล่ะ ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาที่ไหน ไม่มีทั้งนั้น เมื่อรู้จักความจริงอันนี้แล้ว รู้จักความจริงอันนี้แล้ว ไม่ใช่แต่ธาตุอย่างเดียว ไม่ใช่แต่ธาตุที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่แต่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์นะ ธรรมทั้งปวงก็ยังไม่ใช่ตัวนะ รู้จักว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เที่ยวหา “ตัว” กันยุ่ง ทีนี้ใครล่ะเป็นผู้ทุกข์ ใครล่ะเป็นผู้รับทุกข์ ใครล่ะเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลจะหากันยุ่ง จะเอาธรรมเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์เป็นบุคคลเสียอีกล่ะ ท่านก็ยืนยันอีกว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว แต่ว่าธรรมทั้งหลายก็ไม่ใช่ตัว ปรุงตัวให้เป็นไปอีกนั่นแหละ ถ้าว่าไม่มีธรรม ตัวก็ไม่มี ไม่มีตัว ธรรมก็ไม่มีอาศัยกัน นี่ข้อสำคัญ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ธรรมทั้งปวงน่ะประสงค์อะไร ธรรมที่อยู่กับธาตุนั่นแหละ ธาตุมีเท่าไร ธรรมมีเท่านั้น มากมายนับประมาณไม่ได้
    ธรรมน่ะ ที่นี้จะกล่าวถึง “ธรรม” ละ “ธรรม” ดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่อยู่ในกลางกายมนุษย์นี้ นี่ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์นี่ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย ถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์พอดี ด้ายกลุ่มขึง ๒ เส้นตึง สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย ๒ เส้นตึง ตรงกลางจรดกัน ตรงกลางก็ถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์พอดี
    1. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นแหละธรรมละ ดวงนั้นแหละเรียกว่า “ธรรม” เมื่อดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ดวงขนาดนั้นละ
    2. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดละ ๒ เท่า [ของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์] นั้น
    3. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ชนิดเดียวกันเหมือนกัน ใสหนักขึ้นไป ๓ เท่านั้น
    4. ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ๔ เท่านั้น
    5. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ๕ เท่านั้น โตขึ้นไป โตขึ้นไป
    6. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ๖ เท่านั้น
    7. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ๗ เท่านั้น
    8. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ๘ เท่านั้น ๘ เท่าฟองไข่แดงของไก่ โตขนาดนั้น นั่นเรียกว่าธรรมทั้งปวงทั้งนั้น เป็นสังขตธาตุ สังขตธรรม
    9. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม นั่นเป็น ๙ เท่า
    10. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ๑๐ เท่า นั่น เท่าหน้าตักวัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกายนั้นๆ
    11. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว
    12. ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายพระโสดาละเอียด ๑๐ วา วัดผ่าเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว
    13. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ๑๐ วา กลมรอบตัว
    14. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ๑๕ วา กลมรอบตัว
    15. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา ๑๕ วา กลมรอบตัว
    16. ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด ๒๐ วา กลมรอบตัว
    นี่ธรรมเหล่านี้เป็น “อสังขตธาตุ อสังขตธรรม” แต่ว่าไม่ใช่ “วิราคธาตุ วิราคธรรม”
    1. ดวงธรรมเหล่านี้ ดวงธรรมที่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา
    2. พระอรหัตละเอียด กว่า ๒๐ วาขึ้นไป นี่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตละเอียด
    ยกดวง ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตกับพระอรหัตละเอียดออกเสีย ดวงธรรมต่ำกว่านั้นลงมารวมด้วยกัน ๑๖ ดวง นั่นแหละคำว่า ธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ธรรมทั้งปวงเท่านั้น ไม่ใช่ตัว ตัวไม่ใช่ธรรม ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ตัวไม่ใช่ธรรม
    ทีนี้ จะให้รู้จักตัวล่ะ ใครเป็นตัวล่ะ กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัว กายมนุษย์ละเอียดก็เป็นตัว แต่ว่าตัวโดยสมมตินะ ยกกันขึ้น เชิดกันขึ้น เรียกมันขึ้น ตัวโดยสมมติ กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียดก็เป็นตัว กายรูปพรหมก็เป็นตัว รูปพรหมละเอียดก็เป็นตัว กายอรูปพรหมก็เป็นตัว อรูปพรหมละเอียดก็เป็นตัว ตัวโดยสมมติทั้งนั้น ไม่ใช่ตัวโดยวิมุตตินะ นี่ตัวโดยสมมติ เหมือนละครโรงใหญ่ในโลก สมมติว่าเป็นพระเอกนางเอก มันก็ลาโรงกันเสียทีหนึ่ง ก็จะเอาพระเอกนางเอกที่ไหน ลาโรงกันแล้ว ตัวเหล่านี้ตัวโดยสมมติทั้งนั้น ตัววิมุตติมีไหมล่ะ มี ตัววิมุตติมีอยู่ กายธรรมนั่นแหละ กายธรรมละเอียดนั่นแหละเป็นตัววิมุตติล่ะ เป็นตัวอีกเหมือนกัน แต่ว่าเป็นตัวโดยวิมุตติ กายธรรม-กายธรรมละเอียดก็เป็นตัว กายโสดา-โสดาละเอียดก็เป็นตัว ตัวโดยวิมุตติ กายพระสกทาคา-พระสกทาคาละเอียดก็เป็นตัว ตัวโดยวิมุตติ กายธรรมพระอนาคา-พระอนาคาละเอียดก็เป็นตัว ตัวโดยวิมุตติอีกเหมือนกัน แต่ว่ายังไม่ใช่วิราคธาตุวิราคธรรม เป็นแต่เพียงว่า สังขตา วา อสังขตา วา เท่านั้น ตัวที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ ตัวที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ไม่ใช่วิมุตติหลุดขาดทีเดียว เป็นตทังควิมุตตบ้าง วิกขัมภนวิมุตติบ้าง ไม่ถึงสมุจเฉทวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ก็หลุดเลยเป็น “วิราคธาตุ วิราคธรรม” ทีเดียว นั่นเป็นสมุจเฉทวิมุตติทีเดียว นี่รู้จักตัวละนะ ก็รู้เท่านั้น เมื่อรู้จักตัวชนิดนี้ละก็
    ดวงธรรมนั่นจริงไม่ใช่ตัว แต่ว่าเป็นที่อาศัยตัว ตัวต้องอาศัยดวงธรรมนั้น ถ้าดวงธรรมนั้นไม่มี ตัวก็ไม่มี สมมติก็สมมติด้วยกัน วิมุตติก็วิมุตติด้วยกัน ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ปรุงแต่งได้ด้วยกัน ปรุงแต่งไม่ได้ก็ไม่ได้ด้วยกัน ขาดจากปัจจัยปรุงแต่งก็ขาดด้วยกัน เพราะเป็นตัว อาศัยกันอย่างนี้
    เพราะฉะนั้นท่านถึงได้ชี้ว่า สพฺพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เมื่อธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ตัวก็ไม่ใช่ธรรม ธรรมก็ไม่ใช่ตัว ตัวอยู่ส่วนหนึ่ง ธรรมอยู่ส่วนหนึ่ง คนละชั้น ธรรมอยู่ดวงหนึ่งใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่กลางกายมนุษย์ ตัวมนุษย์อีกเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่ดวงธรรมนั้น ตัวที่เป็นขึ้นก็เพราะอาศัยดวงธรรมนั้น ดวงธรรมนั้นไม่ใช่ตัว ตัวไม่ใช่ดวงธรรม เพราะฉะนั้นท่านถึงได้ยืนยันว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว มีเท่าไรก็ไม่ใช่ตัวทั้งนั้น เรียกว่า ธรรมทั้งปวง
    เมื่อรู้จักชัดดังนี้ รู้จักชัดว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ตัวไม่ใช่ธรรม เมื่อรู้จักจริงเสียเช่นนี้แล้ว เราก็จักตั้งใจแน่แน่วให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้ เมื่อเข้าถึงธรรมกายโคตรภูแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียด เข้าถึงธรรมกายโสดา-โสดาละเอียด สกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด อรหัต-อรหัตละเอียด เท่านี้เราก็จะเป็นสุขเกษมสำราญเบิกบานใจ พระพุทธเจ้าไปทางไหน เราก็จะไปทางนั้น นี้เทศนาเช่นนี้ สั้น ยืนยันให้เข้าใจชัดเชียว
    ถ้าเทศนาให้กว้างออกไปอีก กว้างออกไปอีกนั้นเข้าใจยาก ฝ่าย “สราคธาตุ สราคธรรม” “วิราคธาตุ วิราคธรรม” “สังขตธาตุ อสังขตธาตุ” “สังขตธรรม อสังขตธรรม” เมื่อแยกออกไป แล้วมี ๒ ธาตุธรรมทั้งหมด เรียกว่า วิราคธาตุ วิราคธรรม, สราคธาตุ สราคธรรม แยกออกเป็น ๒ วิราคธาตุ วิราคธรรม ได้แก่ ธรรมเป็นพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด นั่นเป็นวิราคธาตุ วิราคธรรมแท้ๆ ถ้าสังขตธาตุ สังขตธรรม, อสังขตธาตุ อสังขตธรรม อยู่ในสราคธาตุ สราคธรรม ทั้งนั้น ย่นลงมาเสียเท่านี้ เป็น ๒ อย่าง สราคธาตุสราคธรรม กับ วิราคธาตุวิราคธรรม ๒ อย่างเท่านั้น
    เมื่อรู้จักชัดดังนี้แล้ว ธาตุนี่พิสดารมากมายนัก ที่มนุษย์อาศัยนี้ ธาตุย่อยๆ ที่เรามอง เห็น ไม่มีที่สุดเสียแล้ว ตาก็มองไม่มีที่สุด ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณ อากาศ นั้น แยกออกไป ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณ อากาศ ทั้งนั้น มองไม่มีที่สุดเป็นตึกร้านบ้านเรือน เรือกสวน ไร่นา เรือแพนาวา เป็นสัตว์เป็นบุคคล เหล่านี้เป็นสราคธาตุสราคธรรม พวกธาตุธรรมทั้งนั้น ไม่มีที่สุดทีเดียว ถ้าให้กว้างขวางออกไปแล้วเป็นชั้นๆ ธาตุมีเป็นชั้นๆ ธาตุอยู่เป็นชั้นๆ ไม่ใช่กว้างขวางเท่านั้น เข้าไปในกลางนะ กลางของกลางนะ กลางของกลางๆๆ ภายนอกนั่นเป็นสราคธาตุสราคธรรม กลางเข้าไปๆๆ จนกระทั่งถึงพ้นจากสราคธาตุสราคธรรม เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมเป็นชั้นๆ เข้าไปใหญ่โตนักเข้าไปทุกที ไม่มีที่สุด เต็มธาตุเต็มธรรมหมด ไม่มีที่ว่างเลย ที่แสดงเท่านี้ก็จบธาตุจบธรรมทั้งหมด
    แต่ว่าผู้เทศน์เองก็ได้ค้นคว้าหาเหตุผลเหล่านี้นักหนา แต่ว่ายังไปไม่ถึงสุด ไปยังไม่สุด ในวิราคธาตุวิราคธรรม ถ้าไปสุดเวลาไรละก้อ วิชชาวัดปากน้ำ วิชชาของผู้เทศน์นี่สำเร็จเวลานั้น ภิกษุสามเณรจะต้องเหาะเหินเดินอากาศได้ทันทีทีเดียว ไม่ต้องไปสงสัยล่ะ ถ้าไปสุดวิราคธาตุ วิราคธรรมล่ะ เวลานี้กำลังไปอยู่ ทั้งวันทั้งคืน วินาทีเดียวไม่ได้หยุดเลย ตั้งใจจะไปให้สุดวิราคธาตุวิราคธรรมนี่แหละ ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งบัดนี้ นับปีได้ ๑๒ ปี กับ ๖ เดือนเศษแล้ว ๑๒ ปี ๖ เดือนเศษแล้วเกือบครึ่งล่ะ จะไปให้สุดวิราคธาตุวิราคธรรมให้ได้ แต่มันยังไม่สุด แต่มันจะอีกกี่ปีไม่รู้แน่นะ ถ้าว่าสุดแล้วก็รู้ดอก ไม่ต้องสงสัยล่ะ รู้กันหมดทั้งสากลโลก ถ้าสุด เข้าแล้วก็รบราฆ่าฟันเลิกกันหมด มนุษย์ในสากลโลกร่มเย็นเป็นสุขหมด ไม่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ มีผู้เลี้ยงเสร็จ เป็นสุขเหมือนอย่างกับพระ เหมือนอย่างกับเทวดา เหมือนกับพระนิพพาน สุขวิเศษไพศาลอย่างนั้น จะได้พบแน่ละ แต่ว่าขอให้ไปสุดวิราคธาตุวิราคธรรมเสียก่อน
    พวกเราทั้งหลายนี้ไม่ได้ไปกันเลย เฉยๆ อยู่ มัวชมสวนดอกไม้ในโลกอยู่นี่เอง ชมรูปบ้าง เสียงบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็อยู่ที่เดียวนั่นเอง ไม่ได้ไปไหนกับเขาเลย นี้พวกจะไปก็ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จะไปให้สุดวิราคธาตุวิราคธรรม อ้าวไปๆ ก็เลี้ยวกลับกันเสียแล้ว ไม่ไปกันจริงๆ ไปชมสวนดอกไม้อีกแล้ว ไปเพลิดเพลินในบ้านในเรือนกันอีกแล้ว อ้าวไปๆ ก็จะไปอีกแล้ว ไปๆ ก็กลับเสียอีกแล้ว พวกเรานี้แหละกลับกลอกๆ อยู่อย่างนี้แหละ จะเอาตัวไม่รอด ชีวิตไม่พอ เหตุนี้ให้พึงรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวของเรา ก็นั่นแหละ จึงจะเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมได้ ที่จะเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมน่ะ ต้องปล่อยชีวิตจิตใจนะ ไปรักไปห่วงอะไรไม่ได้ ปล่อยกันหมดสิ้นทีเดียว ไปรักห่วงใยอยู่ละก้อ ไปไม่ได้ ไปไม่ถึงทีเดียว เด็ดขาดทีเดียว ต้องทำใจหยุดนั่นแน่ จึงจะไปถูกวิราคธาตุวิราคธรรมได้ ต้องทำใจหยุด หยุดในหยุด ไม่มีถอยกัน ไม่มีกลับกันล่ะ นั่นแหละจึงจะไปสุดได้ ถ้าใจอ่อนแอ ไปไม่ได้ดอก ต้องใจแข็งแกร่งทีเดียว จึงไปได้ นี่ที่ชี้แจงแสดงมานี้ ในสราคธาตุสราคธรรม, วิราคธาตุวิราคธรรม, ซึ่งมีมาในธรรมนิยามสูตร แสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย เข้าถึงของจริงในธรรมนิยามสูตร ให้พินิจพิจารณา ผู้ที่สดับตรับฟังแล้วให้ตั้งใจแน่แน่วว่าเราจะต้องเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมให้ได้ นี่แหละเป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ด้วยประการดังนี้ ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแด่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    สิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตน




    ๑๓ กันยายน ๒๔๙๖

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสฺสรณา นาญฺญสฺสรณาติ.


    กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัวโดยสมมติ ๘ กายที่อยู่ในภพนั่นแหละ เรียกว่า อัตตาสมมุติ เรียกว่าตัวโดยสมมุติทั้งนั้น ส่วน ธรรมล่ะ คือธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์น่ะ ก็เรียกว่า ธรรมสมมุติ เหมือนกัน สมมุติชั่วคราวหนึ่ง ไม่ใช่ตัว ที่พระองค์ทรงรับสั่งว่า “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ” ธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว ตัวทั้งสิ้นไม่ใช่ธรรม ตัวก็เป็นตัวซิ ธรรมก็เป็นธรรมซิ คนละนัย มีตัวกับธรรม ๒ อย่างนี้เท่านั้น กายมนุษย์ก็มีตัว กายมนุษย์ก็มีธรรมที่ทำให้เป็นตัวตลอดทุกกาย ทั้ง ๑๘ กาย มีตัวกับ มีธรรมที่ทำให้เป็นตัว แต่ว่าตัวทั้งหลายเหล่านั้น ทั้ง ๘ กายในภพ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หมดไม่เหลือเลย ทั้ง ๑๐ กายนอกภพ เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา หมดไม่เหลือเลย ตรงกันข้ามอย่างนี้
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ว่าด้วยสิ่งที่เป็นเกาะและสิ่งที่เป็นที่พึ่งของตน ทุกถ้วนหน้า สมเด็จพระบรมศาสดาทรงสงเคราะห์พวกเราทั้งหลายซึ่งไม่รู้จักตนว่าเป็นเกาะและเป็นที่พึ่งของตน ให้รู้จักว่าตนเป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตน พระบรมทศพลจึงได้ทรงชี้แจงแสดงธรรมนี้ ที่พึ่งอันนี้แหละไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย นอกจากพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว รู้เองไม่ได้ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรู้เองได้ รู้สิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตนได้ พระบรมทศพลเมื่อตรัสปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ สำเร็จแล้ว ก็ตรัสเทศนาอนัตตลักขณสูตรโปรดพระยสะและสหายรวม ๕๕ สำเร็จแล้ว ทรงดำเนินไปยังเหล่าชฎิล ๑,๐๐๓ รูป ในระหว่างทางนั้น ไปพบพวกราชกุมารเล่นซ่อนหาปิดตากันในป่าไร่ฝ้าย ราชกุมารเหล่านั้นมีมเหสีด้วยกันทั้งนั้น แต่ราชกุมารอีกองค์หนึ่ง มเหสีนั้นเป็นมเหสีกำมะลอ จ้างเขาไป ไม่ใช่ของตนโดยตรง จ้างหญิงแพศยาไป ครั้นไปถึงป่าไร่ฝ้าย เล่นซ่อนหาปิดตากันสนุกสนานนัก ถอดเครื่องประดับ แล้วห่อเรียบร้อยส่งให้มเหสีถือไว้ทุกๆ องค์ทั่วหน้ากัน พระราชกุมารที่มีมเหสีกำมะลอก็ให้ถือ ดุจเดียวกัน พระมเหสีกำมะลอของพระราชกุมารผู้นั้นเป็นหญิงนครโสเภณี พอเห็นของมีค่าเช่นนั้น นึกว่าเครื่องประดับเหล่านี้ เลี้ยงตัวเราได้ชาติหนึ่ง เราไม่ต้องเดือดร้อน เมื่อนางเห็นเช่นนั้น ก็หาอุบายสัญญาวิปลาสแปรผันไป หาวิธีหลบหลีกซ่อนเร้นตัวหลีกตัวสมความปรารถนา แล้วพาเครื่องประดับหนีไป ไปทางไหนไม่มีใครรู้เรื่อง เมื่อราชกุมารเล่นซ่อนหาปิดตากันอย่างสนุกสนาน หมดเวลาที่จะเล่นกันแล้ว ก็กลับมาขอห่อเครื่องประดับที่พระมเหสีของตนประดับตกแต่งอวัยวะร่างกายไปตามหน้าที่ ฝ่ายราชกุมารที่มีพระมเหสีกำมะลอเป็นหญิงแพศยานั้น ไม่พบตัวหญิงแพศยาที่จ้างไปเป็นพระมเหสี ซึ่งพาเอาห่อเครื่องประดับหนีไปแล้ว ช่วยกันค้นคว้าหาสักเท่าใดก็ไม่พบ ค้นไปค้นมาก็ไปพบพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ รุกขมูล โคนต้นไม้ ราชกุมารเหล่านั้นก็ได้ทูลถามพระจอมไตรว่า “โภ ปุริส ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นหญิงถือห่อผ้าเดินไปทางนี้บ้างไหม” พระจอมไตรทรงรับสั่งว่า “แน่ะราชกุมารทั้งหลาย ท่านจะหาหญิงถือห่อผ้านั้นดีหรือ หรือจะหาตัวดี” ราชกุมารก็ทูลรับว่า “หาตัวดี พระเจ้าค่ะ” “เออ ถ้าหาตัวดีแล้ว ก็นั่งลงซิ เราจะบอกตัวให้” พระจอมไตรก็ทรงรับสั่งให้ราชกุมาร ๓๐ นั้นนั่ง ให้พระมเหสีอีก ๒๙ นั่งลงพร้อมกัน พระองค์ก็ทรงแสดงถึงตัว ซึ่งตรงกันกับ อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสฺสรณา นาญฺญสฺสรณา เมื่อเข้าใจดังนี้ ขอเชิญท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตวิถีทั้งสองของอาตมาลงรองรับรสพระธรรมเทศนาในเรื่อง “สิ่งที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตัว” สืบต่อไป
    แปลตามวาระพระบาลีว่า อตฺตทีปา มีตนเป็นเกาะ อตฺตสรณา มีตนเป็นที่พึ่ง นาญฺญสฺสรณา สิ่งอื่นไม่ใช่ ธมฺมทีปา มีธรรมเป็นเกาะ ธมฺมสฺสรณา มีธรรมเป็นที่พึ่ง นาญฺญสฺสรณา สิ่งอื่นไม่ใช่ นี้พึงรู้ใจความตามวาระพระบาลีให้แจ่มชัดเสีย ให้แน่ในใจว่าตนนี่แหละเป็นเกาะ เป็นที่พึ่งตอนหนึ่ง
    ตอนที่สองรองลงไป ธรรมนั่นแหละเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ที่จะฟังเทศนาเรื่องนี้ออก ต้องรู้จักตน รู้จักธรรมเสียก่อน คำว่าตนนั่นหมายอะไร หมายหลายชั้น กายมนุษย์นี่ก็เรียกว่าตน กายมนุษย์ละเอียดเข้าไปอีกก็เรียกว่าตน กายทิพย์ก็เรียกว่าตนของกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียดก็เรียกว่าตนของกายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมก็เรียกว่าตนของกายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดก็เรียกว่าตนของกายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมก็เรียกว่าตนของกายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดก็เรียกว่าตนของกายอรูปพรหมละเอียด ตนเป็นดังนี้ นี่เป็นตนในภพ ตนนอกภพออกไปยังมีอีก ตนในภพนี้เป็นตนโดยสมมติ ไม่จริงจังอะไร สมมติชั่วคราวหนึ่ง ตนนอกภพออกไป กายธรรมก็เป็นตน กายธรรมละเอียดก็เป็นตน กายธรรมพระโสดาก็เป็นตน กายธรรมพระโสดาละเอียดก็เป็นตน กายธรรมพระสกทาคาก็เป็นตน กายธรรมพระสกทาคาละเอียดก็เป็นตน กายธรรมพระอนาคาก็เป็นตน กายธรรมพระอนาคาละเอียดก็เป็นตน กายธรรมพระอรหัตก็เป็นตน กายธรรมพระอรหัตละเอียดก็เป็นตน นี่ ๑๐ กายเป็นตนทั้งนั้น ตน ๑๐ กายนี้เป็นตนโดยวิมุตติ ไม่ใช่สมมติ ออกไปนอกภพ นี่ให้รู้จักตนเสียดังนี้ก่อน ตนนี่แหละเป็นเกาะ ตนนี่แหละเป็นที่พึ่ง
    แล้วจะแสดงเรื่องธรรมต่อไป ให้รู้จักธรรมเสียอีกอย่างหนึ่ง คำที่เรียกว่าธรรมน่ะอะไร อยู่ที่ไหนต้องรู้จักเสีย ถ้าไม่รู้จักก็เลอะเทอะเป็นป้าป้อนหลาน ไม่รู้จักธรรมละก้อ ฟังธรรมไปสักเท่าใดๆ ก็ไม่รู้เรื่องของธรรม เพราะไม่รู้จักธรรม จะรู้เรื่องจริงอย่างไร ต้องรู้จักธรรมเสียก่อน คำว่าธรรมน่ะอะไร ธรรมก็สำหรับให้ตนนั้นเป็นอยู่ ตนนั้นไม่มีธรรมเลยก็เป็นอยู่ไม่ได้ ทั้งกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กาย รูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, มีธรรมให้ตั้งอยู่ทั้งนั้น ถ้าไม่มี ธรรมก็ดับหมด กายธรรม-กายธรรมละเอียด, กายธรรมพระโสดา-กายธรรมพระโสดาละเอียด, กายธรรมพระสกทาคา-กายธรรมพระสกทาคาละเอียด, กายธรรมพระอนาคา-กายธรรมพระอนาคาละเอียด, กายธรรมพระอรหัต-กายธรรมพระอรหัตละเอียด, มีธรรมให้เป็นอยู่ทั้งนั้น ถ้าไม่มีธรรมแล้ว กายธรรมนั้นก็เป็นอยู่ไม่ได้
    คำว่าธรรมนี้อยู่ที่ไหนล่ะ อยู่กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย ด้ายกลุ่มสองเส้นขึงให้ตึง ตรงกลางเส้นด้ายที่พาดกันนั้นเรียกว่ากลางกั๊ก นั่นคือถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงนั้นแหละเรียกว่าธรรม ธรรมดวงนั้นดับไป กายมนุษย์ก็ดับ ธรรมดวงนั้นผ่องใสสะอาดสะอ้าน กายมนุษย์ก็รุ่งโรจน์โชตนาการ ธรรมดวงนั้นซูบซีดเศร้าหมอง กายมนุษย์ก็ไม่ผ่องใส ซอมซ่อ ไม่สวย ไม่งาม น่าเกลียดน่าชังไป เพราะธรรมดวงนั้นสำคัญนัก ธรรมดวงนั้นแหละเป็นชีวิตของมนุษย์ คือความเป็นอยู่ของมนุษย์ ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ อยู่กลางดวงนั้น ออกจากกลางธรรมดวงนั้นเป็นชีวิตธรรมสำคัญทีเดียว นั่นแหละธรรมดวงนั้นแหละอยู่กลางกายของ เราเหมือนกันทุกๆ คนไป กายมนุษย์มีดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ กายมนุษย์ละเอียดมีดวงใส สองเท่าฟองไข่แดงของไก่ กายทิพย์ก็มีดวงใสอยู่กลางกายแบบเดียวกัน สามเท่าฟองไข่แดงของไก่ กายทิพย์ละเอียดสี่เท่าฟองไข่แดงของไก่ เป็นดวงใส กายรูปพรหมเป็นดวงใส ห้าเท่าฟองไข่แดงของไก่ กายรูปพรหมละเอียดเป็นดวงใส หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ กายอรูปพรหมเป็นดวงใส เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ กายอรูปพรหมละเอียดเป็นดวงใส แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่ พอไปถึงกายอรูปพรหม ธรรมดวงนั้นแหละเรียกว่าธรรม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมเล่าเป็นดวงใสแบบเดียวกัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ธรรมกายหน้าตักเท่าใด เช่นหน้าตัก ๒ ศอก ธรรมดวงนั้นก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง กลมรอบตัว ๒ ศอก ถ้าว่าธรรมกายหน้าตัก ๔ ศอก ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๔ ศอก กลมรอบตัวเหมือนกัน ถ้าธรรมกายนั้นหน้าตัก ๒ วา ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วาเหมือนกัน กลมรอบตัว ถ้าธรรมกายนั้น หน้าตัก ๔ วา ๓ ศอก ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๔ วา ๓ ศอก กลมรอบตัว อยู่กลางกายธรรม ธรรมดวงนั้นแหละเรียกว่าธรรม นี่นอกภพออกไป ไม่ใช่ในภพ จึงได้ขยายส่วนใหญ่ออกไปดังนี้ ถ้าในภพแล้ว อย่างใหญ่ก็เพียง ๘ เท่าฟองไข่แดงของไก่เท่านั้น นี่ใหญ่โตมโหฬาร ดวงธรรมนอกภพ ดวงธรรมภายนอกภพ ใหญ่โตมโหฬาร เป็นดวงใส วิเศษชัชวาล นั่นแหละเรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม ดวงหนึ่งล่ะ ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียดอยู่ในกลางดวงธรรมนั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว นี่เอง กายธรรมละเอียด
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว เท่าของกายธรรมโคตรภูละเอียด
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดาละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาวัดผ่าเส้นศูนย์ กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคาละเอียด วัดผ่าเส้น ศูนย์กลาง ๑๕ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๕ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลางโตขึ้นเป็นลำดับไป จนนับอสงไขยไม่ถ้วน
    นั่นแหละธรรมที่เรียกว่าธรรม เป็นอย่างนี้ รู้จักเสียที ที่เรียกว่าธรรมน่ะ
    ทีนี้จะแสดง อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา กายน่ะเป็นเกาะนั้นเป็นอย่างไร เป็นที่พึ่งน่ะเป็นอย่างไร เกาะได้อย่างไร พึ่งได้อย่างไรหรือ จึงได้ชื่อว่าเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง พึงนึกถึงมนุษย์ที่เรือล่มจมลงในท่ามกลางมหาสมุทร มนุษย์ก็ต้องว่ายน้ำละซิ มนุษย์ปรารถนาเกาะไหมล่ะ ว่ายน้ำไปๆ ไปพบเกาะเข้าสักเกาะจะเป็นอย่างไร ก็ชื่นอกชื่นใจ ขึ้นเกาะนั้นโดยฉับพลันเชียว ได้เกาะดีแล้ว ได้อาศัยแล้ว ไม่อย่างนั้นต้องว่ายน้ำกระเดือกๆ อยู่ในน้ำ เหนื่อยแทบประดาตาย ขึ้นเกาะเสียได้หมดเหนื่อย หมดยาก หมดลำบาก นั่นได้เกาะในท่ามกลางมหาสมุทร อาศัยได้อย่างนั้นหนา นั่นเป็นเกาะของคนที่เรือล่มจม ลงไปในท่ามกลางมหาสมุทร นั่นเป็นเกาะละหนึ่งล่ะ เกาะมีคุณอย่างนั้นแหละ
    ก็กายเป็นที่พึ่งล่ะ ที่ตนเป็นที่พึ่งน่ะ พึ่งอย่างไรกัน เมื่อไปพบเกาะล่ะเป็นอย่างไร ถามว่าเมื่อไปพบเกาะล่ะเป็นอย่างไร เมื่อไปพบเกาะเข้าแล้วก็ดีใจ ได้พึ่งพาอาศัยเกาะนั้น ไปพึ่งอื่นไม่ได้ แล้วต้องพึ่งเกาะอาศัยเกาะนั้น มันมีผลไม้พอที่จะยังอัตตภาพให้เป็นไป อาศัยเกาะนั้น พึ่งเกาะนั้น นี่เหมือนดังนี้
    บัดนี้เราท่านทั้งหลายก็มาอาศัยกายมนุษย์นี่แหละ พึ่งกายมนุษย์อยู่ เวลานี้อาศัยกายมนุษย์จริงๆ นะ พึ่งกายมนุษย์จริงๆ ถ้าว่าไม่อาศัยจริงๆ กายมนุษย์นี่ไม่เป็นเกาะของเราจริงๆ ละก้อ ก็ลองทิ้งดูซี ถ้าทิ้งกายมนุษย์ละเอียดก็อยู่ไม่ได้ มนุษย์ก็ไม่เห็น หายไป ก็เรียกว่าตายกันเสียทีนั่นแหละ มันออกไปอย่างนี้แหละ ปรากฏอย่างนี้ เมื่อปรากฏอย่างนี้ละก็ กายมนุษย์นี่เป็นเกาะจริงๆ หนา
    ธรรมล่ะเป็นที่พึ่ง ธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง เป็นเกาะอย่างไร ธรรมเป็นเกาะ ถ้าไม่ได้ธรรมดวงนี้แล้ว กายมนุษย์ละเอียดจะไปอาศัยอะไร กายมนุษย์ก็ไม่มี หายไป กายมนุษย์ก็ไม่มีที่อาศัย กายมนุษย์อาศัยธรรมดวงนั้น กายมนุษย์ละเอียดอยู่ในกลางธรรมดวงนั้น นั่นแหละ เขาก็พึ่งธรรมดวงนั้น อาศัยธรรมดวงนั้นเป็นเกาะ แล้วเขาก็พึ่งธรรมในตัวของเขา ดุจเดียวกัน นั่นธรรมดวงนั้นแหละของกายมนุษย์หยาบ เป็นที่อาศัยของกายมนุษย์ละเอียด
    ดวงธรรมของกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นที่พึ่งของกายมนุษย์ละเอียด ธรรมดวงนั้นแหละเป็นที่พึ่งที่อาศัยจริงๆ กายมนุษย์หยาบเป็นเกาะสำหรับให้กายมนุษย์ละเอียดนั้นอาศัยด้วย แล้วกายมนุษย์ละเอียดนั้นก็มีกายของตัวเป็นเกาะ ตัวก็ต้องอาศัยกายของตัวด้วย มีธรรมเป็นเกาะ ก็ต้องอาศัยธรรมของตัวด้วย กายมนุษย์ละเอียดมีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละเป็นที่พึ่ง เป็นทั้งเกาะด้วย เป็นทั้งที่พึ่งด้วย ทั้ง ๒ อย่างปรากฏอย่างนี้ ยังมัวไม่เข้าใจชัด ค่อยๆ ฟังไปก่อน จะเข้าใจชัดเป็นลำดับไป
    กายมนุษย์ละเอียดมีกายของตัวเองเป็นเกาะ มีกายของตัวเองเป็นที่พึ่ง แล้วก็มีธรรมของกายมนุษย์ละเอียดนั้น ก็เป็นเกาะด้วย เป็นที่พึ่งด้วย กายมนุษย์ละเอียดมีกายเป็นเกาะ ต้องอาศัยกายมนุษย์หยาบ ถ้าไม่มีกายมนุษย์แล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็ไม่มีหน้าที่ในกายมนุษย์นั้น ต้องส่งไปถึงหน้าที่กายทิพย์ เพราะฉะนั้น กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละถ้ามีอยู่แล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็ต้องอาศัยกายของตัวด้วย เป็นเกาะเป็นที่พึ่งด้วย แล้วก็ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ถ้าไม่มีกายมนุษย์นั้นก็มีไม่ได้ ก็ต้องเป็นที่พึ่งของตัวด้วย เพราะฉะนั้นกายมนุษย์ละเอียดเป็นเกาะของตัวด้วย และเป็นที่พึ่งของตัวด้วย แล้วก็ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้นเป็นเกาะของตัวด้วย เป็นที่พึ่งของตัวด้วย นี่ชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ ตามลำดับ
    ลงไปกายมนุษย์ละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่แหละเป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตัว และเป็นเกาะเป็นที่พึ่งของกายทิพย์ด้วย แล้วธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์นั่นแหละ เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของกายทิพย์ด้วย กายทิพย์ละเอียดก็พึ่งกายทิพย์หยาบและธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์หยาบ ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของกายทิพย์ละเอียดด้วย กายทิพย์ละเอียดก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของกายทิพย์ละเอียดด้วย สิ่งอื่นไม่มีนอกจากนี้แล้ว เป็นลำดับลงไป
    • กายรูปพรหมก็มีธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดนั้น เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของกายรูปพรหม ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของกายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดก็ได้อาศัยกายรูปพรหม และธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม
    • และกายอรูปพรหมก็ได้อาศัยกายรูปพรหมละเอียด ได้พึ่งธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด แล้วกายอรูปพรหมละเอียดก็ได้พึ่งได้อาศัยกายอรูปพรหมหยาบ ได้อาศัยธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม
    • ธรรมกายเล่าก็ได้อาศัยกายอรูปพรหมละเอียด ได้พึ่งกายอรูปพรหมละเอียด ได้อาศัยธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ได้พึ่งธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด กายธรรมละเอียดก็ได้พึ่งได้อาศัยกายธรรมโคตรภูหยาบ และธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมโคตรภูหยาบ
    • กายธรรมพระโสดาได้อาศัยกายธรรมละเอียด ได้พึ่งกายธรรมละเอียด ได้อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด กายธรรมพระโสดาได้อาศัยดังนี้
    • กายธรรมพระโสดาละเอียดได้อาศัยกายธรรมพระโสดาหยาบ ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดาหยาบ
    • กายธรรมพระสกทาคาได้อาศัยกายพระโสดาละเอียด ได้พึ่งกายธรรมพระโสดาละเอียด ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดาละเอียด
    • กายธรรมพระสกทาคาละเอียด ได้อาศัยกายธรรมพระสกทาคาหยาบ ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาหยาบ
    • กายธรรมพระอนาคาได้อาศัยกายธรรมพระสกทาคาละเอียด ได้พึ่งกายธรรมพระสกทาคาละเอียด ได้อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด ได้พึ่งดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด
    • กายธรรมพระอนาคาละเอียด ได้อาศัยกายธรรมพระอนาคาหยาบ ได้พึ่งกายธรรมพระอนาคาหยาบ ได้อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาหยาบ ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาหยาบ
    • กายธรรมพระอรหัตได้อาศัยกายธรรมของพระอนาคาละเอียด ได้พึ่งกายธรรมของพระอนาคาละเอียด ได้อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด
    • กายธรรมพระอรหัตละเอียด ได้อาศัยกายธรรมพระอรหัตหยาบ ได้พึ่งกายธรรมพระอรหัตหยาบ ได้อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตหยาบ ได้พึ่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตหยาบ พึ่งอาศัยกันดังนี้
    อธิบายดังนี้ดูมัวไป จะต้องกลับอธิบายอีกสักครั้งหนึ่ง ไม่สนิทที่อธิบายมาแล้ว พลั้งๆ พลาดๆ ไปไม่สนิทนัก แต่ขอให้เรียบเรียงเป็นตัวอย่างใหม่ว่า
    กายทั้ง ๑๘ กายนี้ พูดถึงกายมนุษย์ใหม่ กายมนุษย์เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ๒ อย่างนี้ เวลานี้เราอาศัยอยู่กับกายมนุษย์ มีกายมนุษย์เป็นเกาะจริงๆ ได้มีเกาะอาศัยอยู่ แล้วก็มีกายมนุษย์นี่เป็นที่พึ่งจริงๆ คนอื่นพึ่งไม่ได้ จะพึ่งคนอื่น พึ่งอย่างไร กายมนุษย์นี้มันต้องพึ่งตัวของมันเอง อตฺตทีปา มันต้องพึ่งตัวมันเอง จะพึ่งคนอื่นอย่างไร อาบน้ำ อุจจาระ มันก็ต้องพึ่งตัวของมันทั้งนั้น คนอื่นไม่พึ่ง พึ่งตนเอง
    เมื่อกายมนุษย์นี่มีกายของตัวเป็นเกาะเป็นที่พึ่งดังนี้ละก็ ธรรมล่ะ มีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง อีกเหมือนกัน ไม่ใช่แต่กายมนุษย์มีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ธรรมดวงนี้เป็นดวงใสอยู่กลางตัว นั่นแหละเป็นเกาะ แล้วมีธรรมดวงนั้นแหละเป็นที่พึ่ง เป็นเกาะน่ะเป็นอย่างไร มีกายมนุษย์ละเอียดมาอาศัยดวงธรรมนั้น มาอาศัยอยู่กับดวงธรรมนั้น ถ้าไม่มีดวงธรรมนั้นอยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็มาอาศัยอยู่ไม่ได้ นี่กายมนุษย์ละเอียดมาอาศัยอยู่ได้ ก็มีธรรมดวงนั้น ธรรมดวงนั้นแหละเป็นที่อาศัยของตัวเอง กายมนุษย์ละเอียดๆ นั่นแหละเป็นตัวของตัวเอง เป็นที่อาศัยด้วย และธรรมดวงนั้นแหละเป็นที่พึ่งด้วย ธรรมดวงนั้นแหละเป็นที่พึ่งสำคัญ เพราะได้มาด้วยความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ไม่มีพิรุธเลย จึงเกิดธรรมดวงนั้น ถ้าธรรมดวงนั้นดับไป กายมนุษย์ละเอียดก็หมดที่พึ่ง กายมนุษย์ละเอียดก็แบบเดียวกัน มีตัวเป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง และมีธรรมดวงนั้นแหละเป็นเกาะเป็นที่พึ่งดุจเดียวกัน
    เมื่อถึงกายทิพย์ล่ะ กายทิพย์ก็ดุจเดียวกัน เป็นเกาะเป็นที่พึ่งกันเป็นลำดับไป
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้วละก็ สิ่งอื่นไม่มีหนา ตัวของตัวนี่เท่านั้นเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ๘ กายนี้อยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบแล้ว แต่เขาก็มีที่พึ่งของเขาอย่างนั้นแหละ แต่ว่าพึ่งโดยสมมติ ชั่วคราวหนึ่งไม่จริงจังนัก เรียกว่าโลกีย์ ยังยักเยื้องแปรผันอยู่ เอาจริงเอาจังไม่ได้ ที่จะเอาจริงเอาจังได้ต้องเข้าไปถึงกายธรรม
    กายธรรมโคตรภู มีกายธรรมหยาบ กายธรรมละเอียดแบบเดียวกัน กายธรรมหยาบ ก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมหยาบก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง กายธรรมละเอียดก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง จนกระทั่ง ถึงพระโสดา พระโสดาก็มีกายของท่านเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา ก็เป็นเกาะเป็นที่พึ่งของตัวเองทั้งนั้น จะไปพึ่งสิ่งอื่น เลอะละ ไม่ได้ ถ้าพึ่งเจ้าพึ่งผี เที่ยวบนบานศาลกล่าว นี่เพราะพวกเหล่านี้ไม่ได้ยินไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ศึกษาในธรรมของสัตบุรุษ ความเห็นจึงพิรุธไปเสียแล้ว ไม่ได้ยินไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้า ความเห็นจึงได้เลอะเลือนไปเช่นนั้น ถ้าไม่เลอะเลือน จะต้องมี ๒ อย่างนี้เท่านั้น คือ มีกายกับธรรม ๒ อย่างนี้เท่านั้น
    • กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด ก็มีกายกับธรรม ๒ อย่างนี้เท่านั้น มีกายมนุษย์กับมีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ๒ อย่างนี้เท่านั้น
    • กายมนุษย์ละเอียดกับธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ๒ อย่างนี้เท่านั้น กายทิพย์ก็มีกายทิพย์กับธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์
    • กายทิพย์ละเอียดก็มีกายทิพย์ละเอียด กับธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด
    • กายรูปพรหมเล่า ก็มีกายรูปพรหมกับธรรมที่ทำให้ เป็นกายรูปพรหม กายอรูปพรหมก็มีกายอรูปพรหมกับธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ๒ อย่างนี้เท่านั้น ทั้งหยาบทั้งละเอียด แบบเดียวกัน
    เพราะฉะนั้นจะต้องเรียนให้รู้จักกายของตัวเสียก่อนว่า กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัวโดย สมมติ ๘ กาย ที่อยู่ในภพนั่นแหละ เรียกว่า อัตตาสมมุติ เรียกว่าตัวโดยสมมุติทั้งนั้น ส่วน ธรรมล่ะ คือธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์น่ะ ก็เรียกว่า ธรรมสมมุติ เหมือนกัน สมมุติชั่วคราวหนึ่ง ไม่ใช่ตัว ที่พระองค์ทรงรับสั่งว่า “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ” ธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว ตัวทั้งสิ้น ไม่ใช่ธรรม ตัวก็เป็นตัวซิ ธรรมก็เป็นธรรมซิ คนละนัย มีตัวกับธรรม ๒ อย่างนี้เท่านั้น กายมนุษย์ก็มีตัว กายมนุษย์ก็มีธรรมที่ทำให้เป็นตัวตลอดทุกกาย ทั้ง ๑๘ กาย มีตัวกับ มีธรรมที่ทำให้เป็นตัว แต่ว่าตัวทั้งหลายเหล่านั้น ทั้ง ๘ กายในภพ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หมดไม่เหลือเลย ทั้ง ๑๐ กายนอกภพ เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา หมดไม่เหลือเลย ตรงกันข้ามอย่างนี้
    เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา เป็นของเที่ยงของจริงหมด แต่ว่าในภพแล้ว เป็นของไม่เที่ยงไม่จริงหมด ให้รู้ชัดเสียอย่างนี้ที่เกิดมาในมนุษย์โลกเป็นภิกษุ เป็นสามเณร เป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็เย็นอกเย็นใจ สบายอกสบายใจ ไม่ถือเลอะเลือน ผิดๆ พลาดๆ ไป ให้รู้จักหลักพระพุทธศาสนาอย่างนี้ ตามความเป็นจริงของทางมรรค ผล ตามความเป็นจริง ของกายที่เป็นของในภพ นอกภพ ชัดอย่างนี้ละก็ ก็ไม่งมงาย การหาเลี้ยงชีพหรือการเป็นอยู่ ในหมู่มนุษย์ ก็ไม่สับสนอลหม่านกับใคร ให้แต่ความสุขกับตนและบุคคลผู้อื่นเป็นเบื้องหน้า ที่ได้ชี้เแจงแสดงมานี้ใน ตนของตน และ ธรรมที่ทำให้เป็นตนของตน ทั้งเป็นเกาะทั้งเป็น ที่พึ่ง ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    สังคหวัตถุ
    ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    <TABLE style="COLOR: #666666" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">ทานญฺจ เปยฺยวชฺชญฺจ
    สมานตฺตตา จ ธมฺเมสุ
    เอเต โข สงฺคหา โลเก
    เอเต จ สงฺคหา นาสฺสุ
    ลเภถ มานํ ปูชํ วา
    ยสฺมา จ สงฺคหา เอเต ตสฺมา มหตฺตํ ปปฺโปนฺติ
    </TD><TD width="42%">อตฺถจริยา จ ยา อิธ
    ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ
    รถสฺสาณีว ยายโต
    น มาตา ปุตฺตการณา
    ปิตา วา ปุตฺตการณา
    สมเวกฺขนฺติ ปณฺฑิตา
    ปาสํสา จ ภวนฺติ เตติ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    เจ้าภาพได้บริจาคทานถูกทักขิไณยบุคคล ๘๐ กว่าคน ได้ชื่อว่าเป็นบุญใหญ่กุศลใหญ่ เมื่อเจ้าภาพ สละไทยธรรมเสร็จขาดลงไป มอบให้แก่พระภิกษุ พระภิกษุรับเป็นสิทธิ์ใช้ได้บริโภคได้ ให้เด็กให้เล็กให้ใครก็ได้ เป็นสิทธิ์ของผู้รับ ขาดจากสิทธิ์ของผู้ให้ขณะใด ขณะนั้นแหละ ปุญฺญาภิสนฺทา บุญไหลมาจากสายธาตุสายธรรมของตัวเองโดยอัตโนมัติ เข้าสู่อัตโนมัติ คือ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ในกลางกายมนุษย์นี้ กลาง ดวงนั้นแหละเป็นที่ตั้งของบุญ บุญไหลมาติดอยู่กลางดวงนั้น เหมือนยังกับไฟติดอยู่ในหลอด ไฟฟ้ากี่ร้อยแรงเทียน กี่พันแรงเทียน ก็ช่างเถิด แล้วแต่หลอดเขาทำดีกรีไว้เท่าไร จุไฟได้เท่านั้น ส่วนอัตโนมัติ ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ บุญมากเท่าไรก็ใส่เข้าไปไม่เต็ม เท่าไรๆ ก็ไม่เต็ม วันนี้เจ้าของทาน หัวหน้าและเป็นลำดับมา ได้บุญวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑,๐๐๐ วา เป็นดวง กลมติดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ ๑,๐๐๐ วา แทบทุกคน
    ” ​

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ว่าด้วย ภัตตานุโมทนากถา เฉลิมเพิ่มเติมศรัทธาของเจ้าภาพ ซึ่งเป็นผู้มีสมานฉันท์ พร้อมใจซึ่งกันและกันมาบริจาคทาน เวลาเช้าได้ถวายข้าวยาคูคือข้าวต้ม เวลาเพลได้ถวายโภชนาหาร พร้อมด้วยสูปพยัญชนะ [แกงและกับ] ขณะนี้ให้มีพระสัทธรรมเทศนา น้อมนำปัจจัยทั้ง ๔ บูชาพระสัทธรรมเห็นสภาวะปานฉะนี้ ได้ชื่อว่า ถวายทานแก่พระธรรมด้วยโดยแท้ กับได้ชื่อว่าเจ้าภาพได้ถวายทานครบทั้งพระรัตนตรัย คือถวายทานแด่พระพุทธเจ้า ถวายทานแด่พระธรรม ถวายทานแด่พระสงฆ์ ซึ่งเป็นองค์คุณของพระพุทธศาสนา
    พุทฺโธ พระพุทธเจ้านั้นเป็นเนมิตตกนาม [ชื่อที่เกิดขึ้นโดยมีเหตุและคุณลักษณะ] เกิดขึ้นจากพระพุทธรัตนะ คำว่า “พุทธรัตนะ” นั้นเป็นหลักเป็นประธานเดิม ธมฺโม เป็นเนมิตตกนาม เกิดขึ้นจากธรรมรัตนะ พระธรรมรัตนะนั้นเป็นหลักเป็นธรรมที่ตั้งอยู่เดิม สงฺโฆ พระสงฆ์นั้นเป็นเนมิตตกนาม เกิดขึ้นจากสังฆรัตนะ สังฆรัตนะนั้นเป็นตัวยืนอยู่เดิม พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เหล่านี้ แหละเรียกว่า พระรัตนตรัย พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นี้เป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย สิ่งอื่นนอกจากพระรัตนตรัยนี้ไม่มี และสิ่งอื่นที่เราจะพึ่งสูงและดีขึ้นไปกว่านี้ไม่มี
    เหตุนี้ในวาระพระบาลี ได้แสดงเป็นตำรับตำราเนติแบบแผนไว้ว่า <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="65%"><TBODY><TR><TD width="22%"></TD><TD width="22%">นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ
    พุทฺโธ เม สรณํ วร
    ํ นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ
    ธมฺโม เม สรณํ วรํ
    นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ
    สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
    </TD><TD width="56%">สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งของเรา
    พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา
    สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งของเรา
    พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเรา
    สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งของเรา
    พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ ของเรา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ดังนั้นก็แน่นอนในใจว่าพระรัตนะทั้ง ๓ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้น พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ว่านี่แหละเป็นที่พึ่งของเราจริงแท้แน่นอนโดย ไม่ผิดเพี้ยนยักเยื้องแปรผัน ท่านจึงได้ตราตำรับตำราเป็นเนติแบบแผนไว้ว่า
    นานา โหนฺตมฺปิ วตฺถุโต ถ้าว่าโดยวัตถุแล้วแยกเป็น พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
    เอกีภูตมฺปนตฺถโต ถ้าว่าโดยอรรถประสงค์แล้วเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้ br> <อญฺญมญฺญาวิโยคาว พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ เป็นของเนื่องซึ่งกันและกัน แยกแตกจากกันไม่ได้
    เมื่อ รู้จักดังนี้แล้ว นี่แหละเป็นตัวพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ อยู่ในตัวของเรามีทุกคนด้วยกัน
    บัดนี้เจ้าภาพได้เป็นหัวหน้าเป็นประธาน พรักพร้อมด้วยวงศาคณาญาติ เพื่อนสนิท มิตรสหาย เนื่องด้วยสายโลหิตก็มี เนื่องด้วยความคุ้นเคยก็มี พากันมาบริจาคทานแก่พระภิกษุสามเณร ณ พระอารามวัดปากน้ำนี้ ถูกท่านผู้เป็นทักขิไณยบุคคลหลายสิบด้วยกัน ทักขิไณยบุคคลมีกว่า ๘๐ คน เป็นพระบ้าง เป็นเณรบ้าง เป็นอุบาสกบ้าง เป็นอุบาสิกาบ้าง ของบริจาคทานวันนี้ถูกหลักถูกฐานในทางพุทธศาสนา ถูกทักขิไณยบุคคล การบริจาคทาน ถ้าถูกทักขิไณยบุคคล ก็เป็นผลยิ่งใหญ่ไพศาล ถ้าไม่ถูกทักขิไณยบุคคลแล้ว ผลนั้นก็ทรามต่ำลง ถ้าถูกทักขิไณยบุคคลก็ผลนั้นรุนแรงสูงขึ้น มีกำลังกล้าขึ้น ทักขิไณยบุคคลมี ๙ จำพวก

    1. พระอรหัตตผลจำพวกที่ ๑ ขั้นสูง
    2. พระอรหัตตมรรคเป็นขั้นที่ ๒ รองลงมา
    3. พระอนาคามิผล เป็นขั้นที่ ๓ ตามลำดับ
    4. พระอนาคามิมรรคเป็นขั้นที่ ๔
    5. พระสกทาคามิผลเป็นขั้นที่ ๕
    6. พระสกทาคามิมรรคเป็นขั้นที่ ๖
    7. พระโสดาปัตติผลเป็นขั้นที่ ๗
    8. พระโสดาปัตติมรรคเป็นขั้น ที่ ๘
    9. โคตรภูบุคคลผู้ที่มีธรรมกาย เป็นผู้หญิงเป็นผู้ชาย เป็นเด็กเป็นเล็ก เป็นพระเป็นเณร ไม่เข้าใจ
    เรียกว่า ทักขิไณยบุคคล ทั้งนั้น ทักขิไณยบุคคลนั่นแหละเป็นบุคคลผู้ควรซึ่งทาน ทานสมบัติเป็นเครื่องเจริญผล
    บัดนี้เจ้าภาพมาพบทักขิไณยบุคคลแล้ว ได้บริจาคทานแด่พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในพระอารามวัดปากน้ำนี้ สมด้วยบาลีที่ได้รับสมอ้างว่า โภชนํ ภิกฺขเว ททนฺโต ทายโก เจ้าภาพได้เป็นทายกบริจาคโภชนาหารในเวลาวันนี้ ปฏิคฺคาหกานํ ปญฺจ ฐานานิ เทติ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการแก่ปฏิคาหก กตมานิ ปญฺจ ฐานะ ๕ ประการนั้นเป็นไฉน อายุ ํ เทติ ให้อายุประการหนึ่ง วณฺณํ เทติ ชื่อว่าให้วรรณะความสวยงามประการหนึ่ง สุขํ เทติ ชื่อว่าให้ ความสุขกายสบายใจประการหนึ่ง พลํ เทติ ชื่อว่าให้กำลังกาย กำลังวาจา กำลังใจประการหนึ่ง ปฏิภาณํ เทติ ชื่อว่าให้ปฏิภาณ ความเฉลียวฉลาดประการหนึ่ง เจ้าของทานให้โภชนะอย่างเดียวเท่านั้น ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการแก่ปฏิคาหก คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ
    อายุ ํ โข ทตฺวา อายุสฺส ภาคี โหติ เจ้าของทานผู้ที่ให้อายุมีอายุยืนถ้วนอายุขัย นั่นแหละ ชื่อว่าให้อายุแก่ตัวเอง เพราะอายุนั้นจะกลับมาเป็นอายุของตัวเอง ผู้ที่ให้อายุ ย่อมมีอายุเป็นส่วนตอบ วณฺณํ ทตฺวา วณฺณสฺส ภาคี โหติ เจ้าของทานที่ให้วรรณะความสวยงามนั่นแหละแห่งร่างกาย ได้ชื่อว่าให้วรรณะความสวยงามแก่ตัวเอง ผู้ที่ให้ความสวยงามแก่บุคคลอื่น ความสวยงามนั้นเป็นส่วนตอบแก่ตัวเอง สุขํ ทตฺวา สุขสฺส ภาคี โหติ ผู้ให้ ความสุขกายสบายใจนั้นแหละได้ชื่อว่าให้ความสุขแก่ตัวเอง ได้ความสุขนั้นมาเป็นส่วนตอบ พลํ ทตฺวา พลสฺส ภาคี โหติ ผู้ให้กำลังแก่ปฏิคาหก เมื่อปฏิคาหกอิ่มอาหารแล้วก็มีกำลัง กำลังอันนั้นแหละจะมาเป็นส่วนตอบของเจ้าของทาน เจ้าของทานชื่อว่าให้กำลังแก่ตัวเอง ปฏิภาณํ ทตฺวา ปฏิภาณสฺส ภาคี โหติ ทิพฺพสฺส วา มนุสสฺส วา ผู้ให้ความเฉลียวฉลาดแก่ ปฏิคาหกให้มีสติปัญญา ขึ้นชื่อว่าให้ความเฉลียวฉลาดแก่ปฏิคาหก ความเฉลียวฉลาดนั่นแหละย่อมกลับมาเป็นส่วนตอบแก่เจ้าของทาน เจ้าของทานได้ชื่อว่าให้ความเฉลียวฉลาดแก่ตัวเอง คุณธรรม ๕ อย่างนี้เป็นเงาตามตัว อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ทำทานในสถานที่ใดๆ ได้สำเร็จผลในมนุษย์บ้าง ในทิพย์บ้าง ตามความปรารถนาของตน ได้ชื่อว่า ทานนั้นย่อมมีผล
    ทานการให้ ไม่ใช่เป็นไปแต่ในพุทธศาสนา ก่อนพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังไม่ได้อุบัติ ตรัสขึ้นในโลก การให้นี่เขามีกันอยู่แล้ว มีอย่างไร ? จำเดิมแต่มารดาบิดาเมื่ออยู่ร่วมกัน ก็ต้องให้กันแล้ว ต้องให้ความสุขกัน ให้เงินทองข้าวของเสื้อผ้าซึ่งกันและกัน มีอะไรก็แจกกัน รับประทานไปใช้สอยไป นี่ก็ให้กัน ถ้าไม่ให้กันอยู่ด้วยกันไม่ได้ ต้องแยกจากกันทีเดียวแหละ ถ้าให้กันละก้อ อยู่ด้วยกันได้ นี่การให้นี้เป็นข้อสำคัญนัก
    ทานการให้ เป็นหลักสำคัญที่จะให้ความเจริญรุ่งเรืองแก่ผู้ให้ ถ้าว่าไม่มีทานการให้แล้ว คนจีนที่มาจากเมืองนอกจะไม่รวยเร็วถึงขนาดนี้ดอก เพราะทานการให้นี่แหละ จีนยิ้มทีเดียว เจอเถ้าแก่ใหญ่ๆ ที่เขาทำงานใหญ่ๆ กัน เมื่ออยากจะทำงานกับเขาด้วย แต่เขาไม่ค่อยยอมให้ทำ เมื่อไม่ยอมให้ทำ คนจีนก็ฉลาด ค่อยๆ ให้เล็กให้น้อยเข้าไปก่อน เอ๊ะ ไอ้นี่ดีนี่ ให้หนักเข้าไปทุกทีแหละ พอมีกำลังให้หนักขึ้น ให้มากจนกระทั่งถึงผูกภาษีอากร เป็นเถ้าแก่ใหญ่โตขึ้นไป เพราะให้ไม่ใช่หรือ ถ้าไม่ให้ ก็ไม่ได้เป็นเถ้าแก่ผูกภาษีอากรน่ะซี เพราะให้นั่นเป็นตัวสำคัญนัก คนจีนเขาจึงได้พูดยืนยันว่า ลูกไก่ยังกินข้าวสารอยู่ตราบใดละก้อ เขาอยู่เมืองไทยไม่จนแน่ เขาบอกอย่างนี้แหละ ถ้าว่าลูกไก่ไม่กินข้าวสารละก้อ จีนเขาก็ยอมจนล่ะ จะไปให้อะไรใครก็ไม่ได้ ถ้าว่าให้อะไรใครไม่ได้ จะหางานการอะไรได้ เพราะตนเป็นคนต่างบ้านต่างเมืองมา ดังนั้นการให้กันและกันนี้เป็นสิ่งสำคัญนัก
    เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้แล้ว อยู่ในสถานที่ใดก็อย่าลืมทานการให้กัน การให้กัน พ่อแม่ ลูกหญิงลูกชาย สามีภรรยาก็ต้องให้กัน เมื่อสามีภรรยาอยู่ร่วมกันและมีลูกขึ้นมา ต้องให้ลูกกินนม นมนั่นแหละเป็นเงินเป็นทองเหมือนกัน นมน่ะกลั่นออกมาจากเงินทองเช่นกัน มารดาบริโภคอาหารเข้าไป อาหารก็ไปเป็นน้ำนม ลูกก็กินนมเข้าไปเป็นลำดับ พอวายนมแล้ว ก็ให้ลูกบริโภคอาหาร ต้องซื้อข้าวของลูกไม้ลูกไล่มาให้ลูกมัน ลูกจึงจะอ้วนพีมีเนื้อดีหนังดี ให้เรื่อยทีเดียว ลูกจะกินอะไร จะต้องการอะไร พ่อแม่ให้ได้ทุกอย่าง ให้เรื่อยจนกระทั่งเติบโต แต่ว่าถ้าลูกต้องภัยได้ทุกข์หิวโหยโรยแรง แม่ก็เอาของอะไรมาให้รับประทาน พอโตหนัก ขึ้นๆๆ ลูกต้องการอะไรก็อยู่ที่แม่นี้อีกทั้งนั้น แม่ไม่ให้ พ่อก็ให้ หรือให้ด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย นี่แหละ ถ้าว่าพ่อแม่ไม่ให้ละก้อ ลูกตายหมด ไม่เหลือเลย ลูกที่เป็นอยู่ได้นี่ก็เพราะอาศัยการให้ซึ่งกันและกัน เพราะให้อย่างนี้แหละ ถึงได้นามระบือลือเลื่องไปทั้งเมืองว่า พ่อและแม่
    เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้แล้ว เราจำหลักไว้ เราค่อยๆ ให้บุคคลคนหนึ่งคนใดโกรธเคืองด่าว่าเรา เราก็หาอุบายแก้ไข ค่อยๆ ให้เขาเถอะ คนที่เคยด่าพ่อด่าแม่ คนอิจฉาริษยานั่นแหละ ให้เสีย พอเขาเชื่อง พอเขาเลื่อมใส เราจะใช้เขาทำอะไร เขาทำเองทั้งนั้นแหละ นี่สำเร็จด้วยการให้ นี่แหละเป็นข้อสำคัญนัก
    โลกจะจงรักภักดีซึ่งกันและกันก็เพราะอาศัยให้ซึ่งกันและกัน เขาจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราว่า หญิงชายที่เป็นสามีภรรยากัน ถ้าสามีไม่ชอบใจภรรยา หรือภรรยาไม่ชอบใจสามีละก้อ เอาล่ะ หาเสน่ห์เล่ห์ลมประการต่างๆ ช่างบ้าหลัง อะไรไม่เข้าใจ นี่เขาบอกไว้ชัดๆ แล้วว่า ผู้ปฏิบัติครองเรือนไม่ต้องมีเสน่ห์อะไรดอก เสน่ห์ปลายจวักนั่นแหละ ผัวรักจนตายทีเดียว เพราะอะไรล่ะ จวักนี่ตักข้าวตักแกง หากินหาอยู่ให้สามีได้รับความสุข เพราะภรรยาเอากระจ่าตักแกงนั่นแหละ จวักก็คือทัพพีนั่นเอง นั่นสำคัญนัก ไม่ต้องไปหาอื่น แก้ไขว่าทำอย่างไรจะให้สามีได้รับความสุข
    ลูกก็เหมือนกัน เมื่อกินอิ่ม จะดุด่าทุบตีเท่าไร เขาก็ยอมทั้งนั้นแหละ ไม่โกรธไม่เคืองหรอก สามีก็เหมือนกัน ปรนนิบัติให้ดี ให้อิ่มหนำสำราญเช่นนี้ เท่านั้นแหละ จะใช้ให้ไปทำอะไรก็ยอมทั้งนั้น นี่เสน่ห์สำคัญนัก ให้เข้าใจว่าการให้เป็นหลักสำคัญ ตระกูลๆ หนึ่ง ถ้าว่าให้กันถึงขนาดเข้าแล้ว ตระกูลนั้นก็เจริญ ให้ถูกส่วนเข้าแล้วเจริญ
    ศาสนาพุทธนี้อยู่ได้ด้วยการให้ ถ้าเลิกให้กันเสียสักเดือนเดียว ข้าวปลาอาหารไม่ให้กันล่ะ หยุดกันหมดทั้งประเทศ ทุกบ้านทุกเรือนไม่ให้กันล่ะ ศาสนาดับ พระเณรสึกหมด หายหมดไม่เหลือเลย นี่เพราะอะไร เพราะการให้นี่เอง การให้นี่สำคัญนัก เพราะทุกคนอยู่ได้ด้วยการให้ทั้งนั้น ท่านจึงได้ยืนยันตามตำรับตำราว่า ให้โภชนาหารอิ่มเดียวได้ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ เป็นที่ปรารถนาของมหาชนคนทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์บรรพชิตปรารถนาเหมือนกันหมด อายุ อายุยืน ใครๆ ก็ชอบ วรรณะ ความสดชื่นแห่งร่างกาย ผิวพรรณผ่องผุดเป็นที่ดึงดูดนัยนาของ มนุษย์โลกให้มารวมกันที่ตน ใครๆ ก็ชอบใจทั้งนั้น สุขะ มีความสบายกายสบายใจ ใครๆ ก็ชอบใจทั้งนั้น พละ กำลังกาย กำลังวาจา กำลังใจ เวลาจะใช้กำลังกายได้สมความปรารถนา ไม่ติดขัดอะไร เวลาจะใช้กำลังวาจาก็ได้สมความปรารถนา ไม่ติดขัดอะไร เวลาจะใช้กำลังใจ ความคิดก็ได้สมความปรารถนา ไม่ต้องรอเวลาอย่างหนึ่งอย่างใด กำลังทั้ง ๓ นี่แหละสำคัญนัก กำลังกายเวลาจะใช้งานการด้วยกาย กำลังวาจาที่ต้องใช้วาจาโต้ตอบระหว่างประเทศต่อประเทศนั้น หรือเวลาพูดคนต่อคนกันก็ใช้วาจา กำลังใจที่จะต้องคิดการงานใหญ่โต กว้างขวางออกไป นี่กำลังใจ กำลังเหล่านี้ใครๆ ก็ชอบ ใครๆ ก็ปรารถนา ปฏิภาณ ความ เฉลียวฉลาดในทุกสิ่งทุกอย่าง ในหน้าที่ของตัว หรือในหมู่มนุษย์ ฉลาดในหน้าที่ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ไม่ขัดขวางอย่างหนึ่งอย่างใด นี่ใครๆ ก็ชอบ ใครๆ ก็ปรารถนาสิ่งทั้ง ๕ นี้แหละ เป็นที่ปรารถนาของมหาชนคนทั้งหลาย
    เมื่อเป็นดังนี้ ท่านเจ้าภาพได้มาบริจาคทานวันนี้ได้ชื่อว่าการให้ ให้กับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนกระทั่งเด็กเล็กซึ่งอยู่ในวัด ได้รับความสุขกันหมด มาบริจาคทานก็ได้รับความสุขตลอดกันหมด ไม่เดือดร้อน อิ่มหนำสำราญ นี่ก็เพราะการให้
    การให้อย่างนี้ไม่ใช่แต่ในมนุษย์นี้เท่านั้น พระพุทธเจ้าท่านอยู่นิพพาน มาให้ทานอย่างนี้ ท่านก็มามากเหมือนกัน เต็มหมดในศาลา ในหมู่พระก็เต็มหมด ในหมู่อุบาสกอุบาสิกาก็เต็มหมด ท่านก็รู้ตลอดสาย ก็การให้อย่างนี้แหละถูกต้องร่องรอยของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์เมื่อมีพระชนม์อยู่ ก็มีการให้อย่างนี้ จึงเจริญรุ่งเรืองอยู่ได้ ถ้าปราศจากการให้อย่างนี้แล้วเจริญรุ่งเรืองอยู่ไม่ได้ เมื่อให้ความเจริญแก่พระพุทธศาสนาแล้ว ความเจริญก็หันเข้าสู่ตัว ไม่ต้องไปสงสัย ได้ชื่อว่าให้ความเจริญแก่ตัวนั่นเองทีหลัง คนที่พากันมาบริจาคทาน เป็นเจ้าภาพหรือเป็นหัวหน้า เป็นที่สองรองลำดับลงไป หรือว่าหมู่พวกนั้นๆ บริจาคทาน พระพุทธเจ้าท่านก็คอยดู สอดญาณ ส่องญาณคอยดู ได้รับความสุขได้รับความทุกข์แค่ไหน ท่านก็ช่วยเหลือเผื่อแผ่ คอยแก้ไขบำบัดความทุกข์บำรุงความสุขให้ยิ่งๆ ขึ้นไป นี่ก็เพราะอาศัยพระพุทธเจ้าอยู่ลับๆ เรานับได้ในประเทศไทยพระพุทธเจ้ามีจริงๆ ในที่ลับๆ ประเทศนิดเดียวเท่านี้แหละเป็นเอกราชอยู่ได้ ปืนผาหน้าไม้ทำกับเขาไม่เป็น เรือแพนาวาเรือยนต์กลไฟ ต่อไม่ได้ทั้งนั้น แต่ว่าเป็นเอกราชได้ แปลกเหลือเกิน เป็นเอกราชได้ด้วยอะไร นี่เป็นเอกราชด้วยพุทธศาสนา ด้วยพระพุทธเจ้าท่านคอยดูแลแก้ไข รักษาชาติศาสนาของท่านไว้ให้ศาสนา ดำรงอยู่ เพราะหมดทั้งชมพูทวีป ศาสนาเดี๋ยวนี้มาแน่นหนาอยู่ในเมืองไทยเท่านั้น ศาสนาฝ่ายเขมรในปกครองของฝรั่งเศส การประพฤติผิดธรรมผิดวินัยมากแล้ว พม่าอยู่ในปกครองของอังกฤษประพฤติผิดธรรมผิดวินัยมากแล้ว เขาไม่ได้เป็นศาสนูปถัมภกทีเดียว เพียงแต่ว่าเขาไม่ได้ทำลายเท่านั้น ส่วนพุทธศาสนาในประเทศไทยเป็นเอกราชอยู่ร่ำไป รักษาพุทธศาสนาให้ถาวรดำรงคงที่ ดีขึ้นเป็นลำดับไป
    ท่านเจ้าภาพได้มาบริจาคทานแก่พระภิกษุในประเทศไทย เวลานี้ยังได้ชื่อว่าถูกทักขิไณยบุคคล ทักขิไณยบุคคลมี ๙ จำพวก พวกธรรมกาย มี ๘๐ กว่าคน เจ้าภาพได้บริจาคทานถูกทักขิไณยบุคคล ๘๐ กว่าคน ได้ชื่อว่าเป็นบุญใหญ่กุศลใหญ่ เมื่อเจ้าภาพสละไทยธรรมเสร็จขาดลงไป มอบให้แก่พระภิกษุ พระภิกษุรับเป็นสิทธิ์ใช้ได้บริโภคได้ ให้เด็กให้เล็กให้ใครก็ได้ เป็นสิทธิ์ของผู้รับ ขาดจากสิทธิ์ของผู้ให้ขณะใด ขณะนั้นแหละ ปุญฺญาภิสนฺทา บุญไหลมาจากสายธาตุสายธรรมของตัวเองโดยอัตโนมัติ เข้าสู่อัตโนมัติ คือ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ในกลางกายมนุษย์นี้ กลางดวงนั้นแหละเป็นที่ตั้งของบุญ บุญไหลมาติดอยู่กลางดวงนั้น เหมือนยังกับไฟติดอยู่ในหลอดไฟฟ้ากี่ร้อยแรงเทียน กี่พันแรงเทียน ก็ช่างเถิด แล้วแต่หลอดเขาทำดีกรีไว้เท่าไร จุไฟได้เท่านั้น ส่วนอัตโนมัติ ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ บุญมากเท่าไรก็ใส่เข้าไปไม่เต็ม เท่าไรๆ ก็ไม่เต็ม วันนี้เจ้าของทาน หัวหน้าและเป็นลำดับมา ได้บุญวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑,๐๐๐ วา เป็นดวงกลมติดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ ๑,๐๐๐ วา แทบทุกคน เจ้าภาพที่ร่วมบริจาคกันวันนี้ เพราะถูกทักขิไณยบุคคลจึงได้บุญใหญ่กุศลใหญ่ ให้เอาใจนึกอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ หยุดตรงนั้นหรือหยุดอยู่กลางนั้น เมื่อนึกอยู่กลางนั้น ตั้งใจอยู่กลางนั้น ให้นึกถึงบุญของตัวไว้ ที่ตัวได้วันนี้ว่า ใหญ่วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑,๐๐๐ วา ใจจรดอยู่ตรงนั้นแหละว่าเราได้บริจาคทานวันนี้ ได้ดวงบุญใหญ่ขนาดนี้ ใจเราก็จรดอยู่กับดวงบุญนั้น
    เมื่อต้องภัยได้ทุกข์อะไร จรดอยู่ดวงบุญนั้น ให้ดวงบุญนั้นช่วย อย่าไปนึกถึงสิ่งอื่นนะ นึกถึงบุญกุศลที่ตนกระทำนั่นแหละ เป็นที่พึ่งของตัวจริง ช่วยตัวได้จริงๆ พระพุทธเจ้าเมื่อเข้าที่คับขัน ท่านยังนึกถึงบุญของท่าน ที่ท่านได้บำเพ็ญบารมีของท่านมาแน่วแน่ทีเดียวมั่นคงทีเดียว เมื่อมั่นคงเช่นนั้น นางธรณีก็ผุดขึ้นมา บำบัดพญามารให้พ่ายแพ้ด้วยน้ำที่พระองค์ทรงหลั่งให้ตกลงเหนือพื้นปฐพี นางธรณีรับไว้รูดปราดเดียวเป็นทะเลท่วมพญามารป่นปี้หมด ยับเยิน แพ้พระพุทธเจ้าด้วยน้ำที่พระองค์ทรงกรวดนั่นแหละ นี่พระองค์ทรงนึกถึงทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ให้เป็นอาวุธผจญพญามารให้อันตรธานพ่ายแพ้พระองค์ไป เราก็เหมือนกัน ต้องภัยได้ทุกข์ ก็นึกถึงบุญบารมีที่เราได้สั่งสมอบรมมานี้ นิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ นิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ กลางดวงนั่นแหละ ถูกดวงบุญพอดี ทานการให้ สำเร็จเป็นบุญดังนี้ เมื่อสำเร็จเป็นบุญแล้วก็เป็นที่ระลึก ดังนี้ นี้เรียกว่า ทานญฺจ เปยฺยวชฺชญฺจ
    เมื่อเรามีบุญเช่นนี้ไปอยู่ในสถานที่ใด ลูกก็มาก หลานก็มาก พวกพ้องวงศาคณาญาติก็มากทั้งนั้น เมื่อมีพวกมากเช่นนี้ เราจะทำอย่างไร ? เราต้องอาศัยวาจาที่ไพเราะเสนาะโสต เมื่อกล่าววาจาอันใดออกไปแล้วเป็นที่ดึงดูดใจเหนี่ยวรั้งใจ เป็นที่สมัครสมานในกันและกัน ไม่เป็นที่กระทบกระเทือนในกันและกัน ต้องใช้วาจาอย่างนั้น เป็นคนชั้นสูง เป็นคนชั้นผู้ใหญ่ เป็นคนชั้นพวกมาก ไม่ใช่พวกน้อย ถ้ามีวาจาเช่นนั้นเรียกว่าเป็นคนสุภาพ เป็นคนมีมารยาท เป็นคนที่มีถ้อยคำวาจาเป็นหลักเป็นประธาน วาจาไพเราะอ่อนหวาน ไม่กระทบกระเทือนผู้หนึ่งผู้ใด กล่าวออกไปแล้วไม่กระเทือนตัวเองด้วย ไม่กระเทือนบุคคลอื่นด้วย ไม่กระเทือนทั้งตนและบุคคลอื่นด้วย กล่าววาจาใดออกไปแล้ว วาจานั้นไพเราะเสนาะโสต ดึงดูด อยากจะฟังแล้วอยากจะฟังอีกอยู่ร่ำไป ดังนี้เรียกว่า ปิยวาจา วาจาไพเราะ วาจาอย่างนี้แหละเป็นของสำคัญนักในหมู่มนุษย์ จำเป็นจะต้องใช้
    อตฺถจริยา จ ยา อิธ ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกันในโลกนี้ มีพวกเท่าไร ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่กันและกันเท่านั้น อย่าเอาแต่ความสุขส่วนตัวผู้เดียว ให้ความสุขเสมอทั่วหน้ากัน เรียกว่า อตฺถจริยา จ ยา อิธ ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกันน่ะ ประพฤติอย่างไร ? มีลูกต้องแก้ไขให้ลูกเป็นปริญญา หญิงก็ให้เป็นปริญญาชั้นหญิง ชายก็ให้เป็นปริญญาชั้นชาย ทุกๆ คนไป สมมติว่ามีลูก ๑๐ คน หญิง ๕ คน ชาย ๕ คน เป็นปริญญาหมดทุกคน มีการงานชั้นสูงทั้งนั้น พ่อแม่ ๒ คน จะได้รับความสุขแค่ไหน ไม่ต้องมากหรอก ลูกกตัญญูคนเดียวเท่านั้นแหละ เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ให้เป็นสุขเหมือนเทวดาได้ เป็นปริญญาขึ้นแล้วน่ะ เลี้ยงได้อย่างดิบอย่างดีทีเดียว เพราะฉะนั้น มีลูกเท่าไรต้องแก้ลูกให้เป็นปริญญาขึ้น นี้ได้ชื่อว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานก่อน คนใกล้เคียงเข้ามา วงศาคณาญาติ ก็ประพฤติเช่นนั้น ให้เป็นประโยชน์เช่นนั้น ให้เลี้ยงตัวของตัวได้ แก้ไขให้เลี้ยงตัวของตัวได้ เหมือนเด็กเล็กเลี้ยงตัวเองไม่ได้ แก้ไขให้เลี้ยงตัวของตัวได้ ผู้หญิงก็ให้ผู้หญิงเลี้ยงตัวของตัวได้ ผู้ชายก็ให้เลี้ยงตัวผู้ชายได้ ไม่ต้องพึ่งใครทีเดียว แก้ไขให้ฉลาดออกไปอย่างนั้น ได้ชื่อว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน หรือให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานของตัว ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่บ้านใกล้เรือนเคียงกัน มีวิชาความรู้ ให้ความสุขแก่มนุษย์เพื่อนบ้านด้วยกัน เขาจะรุ่งเรืองเจริญได้อย่างไร แก้ไขอย่างนั้น ชื่อว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน ลักษณะที่ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน นี่แหละเป็นประโยชน์นัก ทางพุทธศาสนาต้องการนัก ภิกษุบวชก่อนประพฤติตัวให้เป็นตำรับตำราต่อภิกษุบวชหลัง เป็นลำดับไป นี่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน อย่างนี้เรียกว่า อตฺถจริยา จ ยา อิธ ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกันในโลกนี้หรือในหมู่นี้ก็ตาม คงได้ความว่าประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
    สมานตฺตตา จ ธมฺเมสุ ตตฺถ ยถารหํ ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมนั้นๆ ในบุคคลนั้นๆ ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมนั้นๆ ในบุคคลนั้นๆ น่ะ เราจะไปทางไหน เป็นหญิงก็ดี เป็นชายก็ดี เข้าไปในหมู่บ้าน พวกไหน ชาติไหน ภาษาไหน ไม่กระทบกระเทือนเลยด้วยกายของเรา ไม่กระทบกระเทือนเลยด้วยวาจาของเราเลย และไม่กระทบกระเทือนเลยด้วยใจของเรา เราเข้าไปในหมู่ไหนพวกไหน เป็นหมู่นั้นพวกนั้นไปหมด ปรากฏเป็นแบบเดียวกัน เรามีพวกมากเท่าไร ก็เป็นคนเดียวกันไปหมด ไม่แยกแตกจากกัน นี้ความเป็นผู้มีตนเสมอเขา พอเหมาะพอดีกับเขา เข้าใกล้ใคร คนนั้นก็บอกว่าเป็นพวกเขา เป็นพี่เป็นน้องเขา เป็นพี่เขา เป็นน้องเขาตามชันษาอายุของตน ประพฤติตนเสมอในธรรมนั้นๆ ในบุคคลนั้นๆ ไม่ขาดตกบกพร่องทุกชาติทุกภาษาไป เมื่อประพฤติได้ดังนี้ ได้ชื่อว่าเป็นประโยชน์ในโลกแท้ๆ
    โลกจะได้รับความสุขก็เพราะอาศัยความประพฤติทั้ง ๔ อย่าง คือ ให้ทาน กล่าววาจาไพเราะ ประพฤติให้เป็นประโยชน์ในกันและกัน ความประพฤติตนให้สม่ำเสมอในธรรมนั้นๆ ในบุคคลนั้นๆ ไม่ขาดตกบกพร่องใดๆ เมื่อประพฤติดังนี้แล้ว เอเต โข สงฺคหา ความสงเคราะห์ในโลกเรานี้แล รถสฺสาณีว ยายโต เหมือนลิ่มสลักเพลารถที่แล่นไปอยู่ฉันนั้น ความสงเคราะห์ในโลกทั้งหลายนี้แล เหมือนลิ่มสลักเพลารถที่แล่นไปฉันนั้น ทว่ารถที่จะแล่นไปในถนนหนทางน้อยใหญ่ ถ้าลิ่มสลักเพลาไม่มีเสียแล้ว กงรถก็หลุดจากเพลา แล่นไปไม่ได้ ถ้าลิ่มสลักเพลามีอยู่แล้ว กงรถนั้นก็ไปสะดวก ไม่ขัดข้องอย่างหนึ่งอย่างใด นี้ฉันใด โลกที่คับขัน จะได้ความร่มเย็นเป็นสุข ก็ด้วยอาศัยความเกื้อกูลสงเคราะห์ซึ่งกันและกันอย่างนี้แหละ เหมือนลิ่มสลักเพลารถอย่างนี้ เอเต จ สงฺคหา นาสฺส ถ้าความสงเคราะห์เหล่านี้ไม่มีแล้ว น มาตา ปุตฺตการณา ลเภถ มานํ ปูชํ วา ปิตา วา ปุตฺตการณา มารดาบิดาย่อมไม่ได้ความนับถือและบูชาเพราะเหตุที่ตนมีบุตร ยสฺมา จ สงฺคหา เอเต สมเวกฺขนฺติ ปณฺฑิตา เพราะเหตุใดบัณฑิตพิจารณาเห็นชอบซึ่งความสงเคราะห์ทั้งหลายเหล่านี้ มหตฺตํ ปปฺโปนฺติ เพราะเหตุนั้นบัณฑิตจึงถึงซึ่งความเป็นใหญ่ บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเป็นผู้น่าสรรเสริญ เพราะดำเนินด้วยคติของปัญญา น่าไหว้น่าบูชา
    ท่านเจ้าภาพได้ประพฤติสงเคราะห์เช่นนี้ ก็เพราะดำเนินด้วยคติของปัญญา จึงได้ให้ความสุขแก่คนมากถึงขนาดนี้ เมื่อให้ความสุขแก่คนมากขนาดนี้ ก็เป็นผู้น่าสรรเสริญ น่าชมเชย น่าเลื่อมใส เป็นตัวอย่างที่ดีในยุคนี้และต่อไปในภายหน้า จงอุตส่าห์รักษาความคิดอันนี้ให้ดำรงคงที่และทวีขึ้นเป็นลำดับไป จะได้ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา เมื่อได้บุญสมมาดปรารถนาเช่นนี้ วันนี้มีโอกาสน้อย จะเทศนาให้มากกว่านี้ไป ยังมีกิจจะประชุมพระภิกษุสามเณรพร้อมกันที่ศาลานี้ และจะมีการสอนในทางปรมัตถปิฎกกัน เพราะฉะนั้นการที่จะเทศน์ให้กว้างขวางไปกว่านี้ ขอยกเอาไว้ก่อน ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ใน สังคหวัตถุกถา ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า รตนตฺตฺยานุภาเวน ด้วยอานุภาพรัตนะทั้ง ๓ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ ประการนี้ จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ให้อุบัติบังเกิดมีเป็นปรากฏในขันธบรรจกแห่งท่านผู้เป็นเจ้าภาพและสาธุชนทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    มงคลกถา

    มงคลกถา


    การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑
    ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๖


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
    อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมนฺติ.


    ... หยุดนั่นแหละถูกต้อง ร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าไม่หยุดละก้อ เลอะล่ะ แต่ถ้าพอหยุดได้แล้ว ก็อย่าออกจากหยุดหนา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางหนักเข้าไปอย่าถอย ออก ถ้าถอยออกผิดความประสงค์ กลางของกลางเข้าไปนั่นแหละ ตั้งแต่ต้นจนถึงพระอรหัต ไม่ให้คลาดเคลื่อนความหยุดอันนี้ เมื่อเราไปพบประเทศอันสมควรเข้าเช่นนั้นแล้ว เราจะต้อง พึงปฏิบัติให้ถูกส่วน ประเทศที่สมควรเป็นประเทศกลาง กลางนั่นแหละที่ใจหยุดเป็นประเทศกลาง ...เหตุนี้แหละท่านทั้งหลายที่ได้มาประสบพบพระพุทธศาสนาต้องหยุดตรงนี้แหละ จับหลักอันนี้ให้ได้ ถ้าจับหลักตรงนี้ไม่ได้ก็ไม่ถูกร่องรอยทางพุทธศาสนา ถึงจะปฏิบัติศาสนา สัก ๕๐ พรรษา ๘๐-๙๐ พรรษา หรือแม้ว่าจะเป็นหญิงเป็นชายชนิดใดก็ช่าง เข้าทางนี้ไม่ถูก ก็เหลว ไม่ถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนา...
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงมงคลกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญ ดังนี้ เป็นข้อใหญ่ใจความ ในสากลโลกก็ต้องการความเจริญด้วยกันทั้งนั้น หลีกเลี่ยงหนีความเสื่อมสิ้นด้วยกันทั้งนั้น ความเสื่อมเป็นอนิฏฐผล ไม่เป็นที่ปรารถนาแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ความเจริญเล่าเป็นอิฏฐผล เป็นที่ปรารถนาแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าดุจเดียวกัน เหตุนั้นเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ก็ต้องการเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญดุจเดียวกัน เมื่อเป็นดังนั้น จงมนสิการกำหนดไว้ในใจ ในเวลาที่สดับตรับฟังพระธรรมเทศนาสืบต่อไป ในสัปดาห์ก่อนโน้น ได้แสดงตามวาระพระบาลีว่า อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานํ การไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต บูชาสิ่งที่ควรบูชา ๓ ข้อนี้เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญโดยแท้ ได้แสดงมาแล้ว
    วันนี้จะแสดงใน ปฏิรูปเทสวาโส เป็นลำดับไป การอยู่ในประเทศอันสมควร เรียกว่า ปฏิรูปเทสวาโส ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน อตฺตสมฺมาปณิธิ จ การตั้งตนไว้ชอบ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ๓ ข้อนี้เป็นเหตุเครื่องถึงความเจริญสูงสุด นี่ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป
    ปฏิรูปเทสวาโส การอยู่ในประเทศอันสมควรนั้น เราต้องรู้จักประเทศ คือประเทศที่เราอยู่ในบัดนี้เรียกว่าประเทศไทย มีประเทศอื่นอยู่รั้วรอบขอบชิด เรียกว่าประเทศใกล้ชิดติดกัน ประเทศอินโดจีนนี่ก็เป็นประเทศ ประเทศลาวก็เป็นประเทศ ประเทศพม่าก็เป็นประเทศ ต่อออกไปจากพม่าก็เป็นประเทศอินเดีย ประเทศลังกาต่อไปอีก ไปทางยุโรปมีมากประเทศทีเดียว ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส กว้างออกไปอีกคือประเทศเยอรมัน และประเทศเยอรมันนั้นเป็นประเทศลอกแลก ตายแล้วกลับฟื้นขึ้น เวลานี้ฟื้นขึ้นแล้ว ฟื้นขึ้นครึ่งประเทศ ยังไม่ฟื้นหมดประเทศ แปลก ประเทศก็รู้จักเป็นรู้จักตายเหมือนกัน เมื่อรู้จักหลักอันนี้ ประเทศนั้นแหละเป็นหลักอันสำคัญ ถ้าว่ามนุษย์อยู่ในประเทศใดไม่มีพุทธศาสนา ประเทศนั้นเป็นประเทศเรียกว่าไม่มีศาสนาแน่นอน ประเทศเหล่านั้นเรียกว่าประเทศโยกคลอน เพราะศาสนาเป็นตัวสำคัญของประเทศนัก ถ้าประเทศใดมีพุทธศาสนาที่แน่นอน ประเทศนั้นก็เป็นหลักฐาน เป็นประเทศที่เป็นหลักเป็นประธานของโลกทีเดียว ในบัดนี้ประเทศต่างๆ พุทธศาสนาง่อนแง่นคลอนแคลน ในแหลมทองนี้มีอยู่ ๕ ประเทศ ประเทศลาว มอญ พม่า ประเทศเขมร และประเทศไทย ๕ ประเทศนี้เป็นประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีศาสนาที่แน่นแฟ้น ไม่ยักเยื้องแปรผันไปตามใคร พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีคำสอนเป็น นิยยานิกธรรมจริงๆ นำสัตว์ออกจากไตรภพแท้ๆ เรียกว่า กระแสพระพุทธฎีกาสืบลำดับของโลกของธรรมมา พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกก็ขนเวไนยสรรพสัตว์ให้พ้นจากไตรวัฏ ๒๔ อสงไขยเศษๆ ทุกๆ พระองค์มา
    บัดนี้เราเกิดมาเป็นไทย เราได้อยู่ในประเทศไทย มีศาสนาปรากฏอยู่ในประเทศไทยนี้ เรียกว่าพุทธศาสนา เราเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตั้งอยู่ในพุทธศาสนาด้วย นี้เป็นปฏิรูปเทส ไม่ใช่อื่น ตรงนี้เป็นปฏิรูปเทส เมื่อครั้งพุทธกาลโน้น อินเดียเป็นปฏิรูปเทสแล้ว ต่อมาลังกาเป็นปฏิรูปเทส บัดนี้อินเดียไม่เป็นปฏิรูปเทสเสียแล้ว เท่ากับมิลักขประเทศที่มีศาสนาฟั่นเฟือนหมดแล้ว เราไม่สมควรจะไปประพฤติปฏิบัติ เวลานี้พุทธศาสนารุ่งโรจน์อยู่ในประเทศไทยแห่งเดียว ประเทศพม่า ประเทศเขมร ประเทศลาว เขาก็พอใช้ เขาก็ดีเหมือนกัน แต่ว่าแน่นแฟ้นสำคัญไม่รู้จักแยกแตกสลายละก้อต้องประเทศไทย เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ทีเดียว เรียกว่า อุปถัมภ์ศาสนาอย่างเลิศ พระเจ้าแผ่นดินเป็นศาสนูปถัมภ์ทีเดียว นี่เป็นปฏิรูปเทส ประเทศที่สมควรที่เราจะพึงประพฤติปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาได้ ดังนี้เป็นปฏิรูปเทส เรามาอยู่ในประเทศเช่นนี้แล้ว เราสมควรที่จะดำเนินให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา
    ที่จะดำเนินให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาน่ะ จะดำเนินอย่างไร ต้องแก้ไขใจของเราให้หยุดเสียก่อน หยุดที่ไหน ต้องหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กนั่น ตรงนั้น เวลาเรามาเกิด ใจเราต้องหยุดตรงนั้น เวลาเราหลับ ใจต้องไปหยุดตรงนั้น เวลาเราตาย ใจต้องไปหยุดตรงนั้น เวลาเราตื่นก็ต้องตื่นตรงนั้นแหละ จุดนั้นแหละเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น มีจุดเดียว ต้องเอาใจของเราไปจรดนิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ ทำใจให้หยุด แก้ไขใจให้หยุด ใจหยุดขณะใด ขณะนั้นถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าใจไม่หยุดละก้อ ไม่ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ทางพุทธศาสนา ถ้าใจหยุดละก้อ ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาแท้ ตรงกับกระแสพระโอษฐ์ของพระบรมศาสดาได้ทรงประทานให้นัยแก่องคุลิมาล จนองคุลิมาลละพยศ หมดพยศแล้ว ยอมจำนนแก่พระศาสดาแล้ว เปล่งวาจาว่า “สมณะหยุดๆ” พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มาแล้วตรัสว่า “สมณะหยุดแล้ว แต่ท่านไม่หยุด” นั่น หยุดอันนั้นเป็นกระแสพระดำรัสของพระบรมศาสดา หยุดนั่นแหละถูกต้อง ร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าไม่หยุดละก้อ เลอะล่ะ แต่ถ้าพอหยุดได้แล้ว ก็อย่าออกจากหยุดหนา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางหนักเข้าไปอย่าถอยออก ถ้าถอยออกผิดความประสงค์ กลางของกลางเข้าไปนั่นแหละ ตั้งแต่ต้นจนถึงพระอรหัต ไม่ให้คลาดเคลื่อนความหยุดอันนี้ เมื่อเราไปพบประเทศอันสมควรเข้าเช่นนั้นแล้ว เราจะต้องพึงปฏิบัติให้ถูกส่วน ประเทศที่สมควรเป็นประเทศกลาง กลางนั่นแหละที่ใจหยุดเป็นประเทศกลาง
    ที่กล่าวมาแล้วเป็นประเทศข้างนอก ประเทศข้างในต้องหยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดตรงนั้น จึงจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่สมควรทีเดียว หยุดตรงนั้นถูกมัชฌิมประเทศ ถูกมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค กับ อัตตกิลมถานุโยค เป็นมัชฌิมาปฏิปทาแท้
    เหตุนี้แหละท่านทั้งหลายที่ได้มาประสบพบพระพุทธศาสนาต้องหยุดตรงนี้แหละ จับหลักอันนี้ให้ได้ ถ้าจับหลักตรงนี้ไม่ได้ก็ไม่ถูกร่องรอยทางพุทธศาสนา ถึงจะปฏิบัติศาสนา สัก ๕๐ พรรษา ๘๐-๙๐ พรรษา หรือแม้ว่าจะเป็นหญิงเป็นชายชนิดใดก็ช่าง เข้าทางนี้ไม่ถูก ก็เหลว ไม่ถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนา
    ที่จะถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนาต้องอาศัย อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ถูก ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ถูก ตั้งกันอย่างไร ต้องรู้จักตนเสียก่อนหนา ถ้าไม่รู้จักตน จะไปตั้งเลอะๆ เทอะๆ ที่เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบไว้ถูกนั่นอะไร สุขทุกฺขํ อทตีติ อตฺตา สภาพอันใดรับสุขรับทุกข์ สภาพอันนั้นชื่อว่าตน ก็บัดนี้กายมนุษย์รับสุขรับทุกข์อยู่ สุขมันก็รู้ ทุกข์มันก็รู้ เมื่อรับสุขรับทุกข์อยู่ต้องตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งกันอย่างไร ขั้นต้น ต้องตั้งตนไว้ในทาน ตั้งตนไว้ในศีล ตั้งตนไว้ในการเจริญภาวนา นี่เป็นการตั้งตนไว้ชอบของกายมนุษย์หยาบ ส่วนการตั้งตนไว้ชอบของกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียดคือกายที่ฝันออกไป เอากายมนุษย์ละเอียดมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายมนุษย์หยาบ ที่หยุดที่นิ่งนั่นแหละ เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ แท้ เมื่อถูกหลักเช่นนี้แล้ว หยุดเป็นลำดับเข้าไป เมื่อกายมนุษย์ละเอียดหยุดนิ่ง ที่หยุดที่นิ่งนั่นแล้ว กายทิพย์ก็หยุดไปตามส่วนกัน กายทิพย์ละเอียดก็หยุดไปตามด้วย ตนของกายรูปพรหมก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายรูปพรหมละเอียด ก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายอรูปพรหมก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายอรูปพรหมละเอียด ก็ต้องหยุดให้ถูกส่วนกัน กายรูปพรหม อรูปพรหม ต้องหยุดให้ถูกส่วนกันดังนี้ ตลอดจนกระทั่งถึงกายธรรม พอถึงกายธรรมก็ต้องหยุดให้ถูกจุด นิ่งที่จุดหยุดนั้น หยุดนิ่งจุดอื่นไม่เอา จนกระทั่งถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมพระโสดา-พระโสดาละเอียด เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคา-พระสกทาคาละเอียด เข้าถึงกายพระอนาคา-พระอนาคาละเอียด เข้าถึงกายพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เมื่อเข้าถึงถูกต้องร่องรอยดังนี้ เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
    เมื่อตั้งตนไว้ชอบเช่นนี้ ทำอย่างไรจึงได้ชื่อว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน เพราะตนได้อบรมสั่งสมบารมีมาแล้วตั้งแต่อเนกชาติสมควร แล้วครบแสนกัปแล้ว มาพบพระพุทธศาสนาอาจได้สำเร็จมรรคผลทีเดียว เพราะบารมีพอแล้ว ทำอะไรที่เรียกว่าทำความดีน่ะ ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์อย่างนี้น่ะ ชาติก่อนที่แล้วๆ มา ได้อุตส่าห์ให้ทานตามความสามารถและตามกำลังของตน ตามส่วนที่จะพึงให้ได้ บำเพ็ญทานไปดังนี้แหละ ของนอกกายมีเท่าไรๆ ให้ไปให้หมด ไม่เหลือไว้เลย ดังนี้ เรียกว่า ทานบารมี เนื้อและเลือดก็ให้ได้ เว้นแต่ชีวิตเท่านั้น ให้ดังนี้เรียกว่า ทานอุปบารมี ให้ชีวิตเป็นทานก็ได้ นี้เรียกว่า ทานปรมัตถบารมี เมื่อให้ของนอกกายได้ตลอดถึงชีวิตและเลือดเนื้อเช่นนี้ ได้ชื่อว่า ตนได้บำเพ็ญทานของตน ไม่ใช่แต่ให้เท่านั้น ให้สูงยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ครบปัญจมหาบริจาค ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี ให้ได้เกินกว่านั้น เรียกว่า ปุตตบริจาค ให้ลูกเป็นทานก็ได้ ให้ผัวเป็นทานก็ได้ การให้อย่างนี้สูง ไม่ใช่ให้ง่ายๆ ไม่ใช่สละง่ายๆ สละยากนัก คนใจไม่มั่นหมายในทาน ให้ไม่ได้ ถ้ามั่นหมายในทานจึงจะให้ได้ เพราะฉะนั้น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ต้องทำความดีไว้ในปางก่อน ต้องบำเพ็ญทานให้มั่นหมาย ไม่ใช่บำเพ็ญง่อนแง่นคลอนแคลน ให้ทานเป็นของนอกกาย ให้ตลอดจนชีวิตและเลือดเนื้อ อย่างนี้เรียกว่า ให้ทานจริงจัง คนที่สร้างบารมีต้องสร้างกันอย่างนี้ เรียกว่าทำความดีไว้ในชาติปางก่อน เรียกว่า ทานบารมี
    ศีลบารมีอีกดุจเดียวกัน การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่มีเศร้าหมองด่างพร้อยอย่างหนึ่งอย่างใด ศีลบริสุทธิ์แท้ๆ แน่วแน่ทีเดียว แม้สมบัตินอกกายจะวอดวายอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่ยอมให้ศีลเป็นอันตราย เรียกว่า ศีลบารมี แม้เลือดเนื้อจะเป็นอันตรายไม่ยอมให้ศีลขาด เรียกว่า ศีลอุปบารมี แม้ชีวิตจะดับไปเดี๋ยวนี้ก็ไม่ยอมให้ศีลขาด เรียกว่า ศีลปรมัตถบารมี เมื่อสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยศีลเช่นนี้ เรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความดีที่ทำไว้ในชาติก่อน
    เจริญภาวนาเล่า ก็ดุจเดียวกัน เสียสมบัติภายนอกกายเว้นไว้แต่ชีวิตและเลือดเนื้อ ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา เนื้อและเลือดจะแห้งเหือดหมดไปก็ไม่ว่า ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา แม้ชีวิตจะดับไปก็ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา มั่นหมายในทางภาวนาทีเดียว อย่างนี้เรียกว่า ภาวนาบารมี ภาวนาอุปบารมี ภาวนาปรมัตถบารมี ดุจเดียวกัน บำเพ็ญให้มั่นหมายในขันธสันดาน เรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในชาติปางก่อน
    อุทาหรณ์ที่จะชักให้เห็นนั้นมีมาก ดังท่านผู้ปกครองประเทศ เช่น พระเจ้าแผ่นดิน ทำไมจึงเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้ได้สั่งสมความดีไว้ในชาติปางก่อน การเกิดเป็นกษัตริย์หรือเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ใช่ของเกิดยาก ดังเช่นทุคคตบุรุษ บุรุษทำการรับจ้างของอนาถปิณฑิกเศรษฐีในเมืองสาวัตถี ในครั้งกระนั้นเวลาทุคคตบุรุษเสร็จจากการรับจ้างกลับมา เป็นเวลาเย็น เป็นวัน ๘ ค่ำ แม่ครัวเขาก็หุงข้าวไว้ให้ แล้วก็ยกมาให้ทุคคตบุรุษ ทุคคตบุรุษจึงถามว่า “ท่านเจ้าข้า คนในบ้านเป็นอันมากเคยเอิกเกริกโกลาหล หายไปไหนเล่า เงียบเชียบไปหมด” แม่ครัวเขาก็บอกว่า “คนในบ้านนี้เวลาวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เขารักษาศีลกันทั้งหมดบ้าน เด็กเล็กก็ต้องรักษาศีลกันทั้งนั้น เขาไม่รับประทานอาหารเย็นกันดอก” ทุคคตบุรุษนึกแต่ในใจว่า “เอ๊ะ เรามาทำการรับจ้างในบ้านที่เขารักษาศีลกัน เราเป็นคนไม่รักษาศีล มันก็ขัดจังหวะกัน ไม่ได้นา ชอบกล ศีลก็เป็นของรักษาได้ยาก เขาเป็นคนมั่งมีถึงขนาดนี้ เขายังรักษาศีลกันทั้งบ้านทั้งช่อง เราจนถึงขนาดนี้ใจยังหยาบช้า กล้าแข็ง ไม่รักษาศีลกับเขาบ้างล่ะ” คิดดังนี้แล้วก็ถามแม่ครัวว่า “ฉันจะรักษาศีลบ้างได้ไหมล่ะ” แม่ครัวก็บอกว่า “ฉันจะไปถามนายดูก่อน” แม่ครัวก็รีบไปถามท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า “บุรุษทำการรับจ้างเขาจะรักษาศีลบ้างได้ไหมเจ้าค่ะ” ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็บอกว่า “ได้ซี แต่ว่าเป็นอุโบสถครึ่งวันนะ ไม่ได้เต็มวัน เพราะมันจะค่ำเสียก่อน หมดวันเสียแล้ว กึ่งวัน เท่านั้น รักษาได้ก็สมาทานอุโบสถทีเดียว” เมื่อสมาทานอุโบสถเรียบร้อยแล้ว พอค่ำๆ ตอน ดึกๆ หน่อย เอ้า ปวดท้องเข้าแล้ว เพราะอ้ายท้องมันหิว เพราะทำงานเหนื่อยมาก มันแสบท้อง มันหิวเต็มที แม่ครัวก็ไปบอกท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า บุรุษที่รักษาศีลปวดท้องเสียแล้วเพราะความหิว ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็บอกแก่แม่ครัวว่าทำน้ำอัฏฐบานให้ดื่มเสียซิ แม่ครัวก็จัดแจงทำน้ำอัฏฐบานมาให้ บุรุษนั้นไม่ยอมดื่ม แล้วกล่าวว่า “ท่านทำไม ไม่ดื่มบ้างล่ะ” “ฉันไม่ได้เป็นอะไรนี่ จะไปดื่มทำไมล่ะ” “ท่านเป็นโรค ดื่มน้ำอัฏฐบานเสียซี โรคปวดท้องจะได้หาย” บุรุษนั้นจะดื่ม ก็ศีลของตัวกึ่งวันเท่านั้น กลัวจะเป็นอันตรายแก่ศีล กลัวศีลจะไม่บริสุทธิ์ จึงพูดว่า “เมื่อท่านไม่ดื่ม ฉันก็ไม่ดื่ม ตายก็ตายไปเถิด เป็นอะไรก็เป็นไป ไม่ดื่มเหมือนกัน” ก็ทนต่อไป พอตกตอนดึกๆ เข้าก็ปวดท้องเต็มที พอรุ่งเช้าขึ้น เต็มทีจะตายอยู่แล้ว จวนตายเต็มที ก็พอดีพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จผ่านไปทางนั้น พอใกล้จะตายเห็นพระเจ้าปเสนทิโกศลนึกในใจว่า “ด้วยบุญกุศลของเราที่ได้รักษาศีลกึ่งวันนี้ ขอให้ได้ไปเกิดเป็นพระราชโอรสพระเจ้าปเสนทิโกศลเถิด” พออธิษฐานใจดังนั้นก็แตกกายทำลายขันธ์จากอัตภาพร่างกายเข้าไปอยู่ในศูนย์กลางกายของพระเจ้าปเสนทิโกศล ลูกไปเกิดในท้องพ่อ เข้าไปทางช่องจมูกขวา ไปอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล พอถึงเวลาพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ประกอบธาตุธรรมถูกส่วนอยู่ร่วมกับพระมเหสีถูกส่วนเข้า บังคับกายสัมภเวสีนั้นตกศูนย์ ก็ออกจากท้องพระเจ้าปเสนทิโกศลออกทางจมูกขวา เข้าทางจมูกซ้ายของมารดา ไปเป็นกลลรูปติดที่ขั้วมดลูกในท้องของพระมเหสี เหมือนกับอนาถปิณฑิกเศรษฐี อุ้มเด็กกุมารส่งให้ภรรยาเลี้ยงไว้ในท้อง พอเจริญครบ ๑๐ เดือน ก็ประสูติออกมาเป็นราชกุมารเป็นโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล รักษาศีลกึ่งวันเท่านั้นได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จสวรรคตแล้ว นี่เป็น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา อย่างนี้ เขาทำความดีไว้ เขาได้รักษาศีลจริงๆ ศีลบริสุทธิ์จริงๆ ยอมตายเพื่อไม่ให้ศีลเป็นอันตราย นี่เขาเรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ทำความดีอย่างนี้ ก็ได้เกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ปรากฏอย่างนี้
    ไม่ใช่แต่เท่านั้น เหมือนดังลาชเทวธิดาเฝ้าไร่ข้าวสาลี เมื่อเห็นพระมหาอริยกัสสปะเดินทางมา มีศรัทธาเลื่อมใส เข้าไปในท้องนา ไปเอาข้าวตอกที่ตัวเตรียมออกไปไว้สำหรับรับประทานในกลางวัน เอาออกมาคอยอยู่ พอพระคุณเจ้าพระมหาอริยกัสสปะมาใกล้ “ติฏฺฐถ ภนฺเต นิมนต์โปรดก่อนเจ้าค่ะ” พระมหาอริยกัสสปะก็รออยู่ นางก็เอาข้าวตอกยกมือขึ้นทูนศีรษะแล้วขออาราธนาพระคุณเจ้าเปิดบาตร พระคุณเจ้าก็เปิดบาตร นางก็ใส่ข้าวตอกลงไปครึ่งขัน ท่านก็ปิดบาตร พอครึ่งขันก็ปิดบาตรเสียแล้ว นี่เขาเรียกว่ารู้จักประมาณในการรับ เขาให้ละก็รับเรื่อยเปื่อยไปมันก็เดือดร้อนนะซิ เขาก็รับประทานเหมือนกัน ให้เขาครึ่ง เอาครึ่ง เอาข้าวตอกครึ่งเดียวปิดบาตรทันทีเสียแล้ว นางนั้นนั่งลง ยกมือขึ้นไหว้ว่า “ปรโลกสงฺคหํ ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดฉันในโลกหน้าเถิด โลกนี้อย่าโปรดเลย โปรดโลกหน้าเถิด” พระมหาอริยกัสสปะก็เปิดบาตร นางก็ใส่เข้าตอกหมด ดีอกดีใจ ปลื้มอก ปลื้มใจ พระมหาอริยกัสสปะท่านรับข้าวตอกแล้วท่านก็เลยไป เดินทางไปตามคันนา นางก็ตามส่งพระผู้เป็นเจ้ามหาอริยกัสสปะไปถึงคันนาตอนหญ้ารกปกคลุม อสรพิษมันอยู่ในที่นั้น พระมหาอริยกัสสปะเดินไปข้างหน้า มันก็ไม่ได้กัด เมื่อนางเดินผ่านไป มันก็ออกจากปล่อง ขบเอาแข้งนางล้มลง ณ ที่นั้น สุตฺตปฺปพุทฺโธ วิย ราวกับว่าตื่นจากหลับ สุวณฺณวิมาเน นิพฺพตฺติ ก็บังเกิดในวิมานทอง ห้อยย้อยไปด้วยสายข้าวตอกในชายวิมานงดงามยิ่งนักหนา เมื่อลมทิพย์พัดมาอ่อนๆ ดังประหนึ่งปัญจางคดุริยางค์ดนตรีไพเราะเสนาะสนานประสานเสียง นางก็นึกแต่ในใจว่า โอ! เรามาเกิดนี้ด้วยกุศลอันใด ก็รู้ว่าได้ถวายข้าวตอกแก่พระมหาอริยกัสสปะ จึงได้มาเกิด งูกัดเข้าล้มตายอยู่ตรงนั้น ซากศพยังปรากฏอยู่นั่น เราจะต้องแก้ไขสมบัติของเราให้ตั้งมั่นต่อไป ทำบุญนิดหนึ่งเท่านี้ได้สมบัติมากมายขนาดนี้ กลัวจะไม่ตั้งมั่นสิ้นกาลนาน คิดดังนั้นแล้ว เวลารุ่งเช้าของมนุษย์โลก นางก็ถือเอาถาดทองกระเช้าทองลงมาสู่วิหารที่อยู่ของพระมหาอริยกัสสปะ มาปฏิบัติปัดกวาดปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำใช้ น้ำฉันไว้เรียบร้อยสำหรับพระมหาอริยกัสสปะ พระมหาอริยกัสสปะกลับจากบิณฑบาต “เอ๊ะ นี่ใครมาปฏิบัติอยู่นี่ จะเป็นภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรหนอ” รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง นางก็มาทำดังนั้นอีก ทำเสร็จแล้วก็กลับไป “เอ นี่จะเป็นภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรหนอมาทำ” พอรุ่งขึ้น อีกวันหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าไปครึ่งเวลาเท่าที่เคยไป แล้วกลับมาดูที่วิหารมองไปในช่องดาน “โอ! สว่างโล่ง แสงสว่างอะไรน่ะ”
    นางลาชเทวธิดาตอบว่า “หม่อมฉันเอง พระเจ้าค่ะ” “หม่อมฉันเองน่ะ คือใครล่ะ”
    “หม่อมฉันคือลาชเทวธิดา ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระคุณเจ้า” “อุปัฏฐากของเราไม่มีนะ ลาชเทวธิดา”
    พอเปิดประตูเข้าไป พระคุณเจ้าก็ไต่ถามว่า “วานนี้เจ้ามาทำหรือ ? วานซืนนี้เธอก็มาทำหรือ” นางก็ตอบรับตามตรงทุกสิ่งทุกอย่าง
    “ต่อแต่นี้ไปไม่ได้หนา เราอยู่ผู้เดียว เจ้าถึงจะเป็นกายทิพย์ก็เป็นผู้หญิง ผู้หญิงกับผู้ชาย ทางพุทธศาสนามีวินัยบัญญัติห้ามนัก ถ้าว่าปฏิบัติกันสองต่อสองเช่นนี้ละก็ นานต่อไปในภายภาคเบื้องหน้า พระธรรมสังคีติกาจารย์ขึ้นธรรมาสน์ ถือพัดวาลวีชนี จะยกกัสสปะนี้ขึ้นเป็นตัวอย่างว่าทำชั่วร้ายในศาสนาหนา ผิดธรรมผิดวินัย ท่านจงออกไปเสียเถิด อย่าปฏิบัติเราเลย”
    “พระคุณเจ้าขอได้กรุณาหม่อมฉันเถิด ขอให้สมบัติของหม่อมฉันตั้งมั่นต่อไป สมบัติที่ได้นั้นเพราะอาศัยบุญบารมีของพระคุณเจ้า”
    “ไม่ได้ ออกไปเสียเถอะ จะเป็นตัวอย่างเสียหายในทางพุทธศาสนา”
    นางก็อยู่ไม่ได้ ก็ร้องไห้ เสียงร้องไห้ได้ยินเข้าไปในโสตของพระบรมศาสดา พระองค์ทรงสงเคราะห์ แสดงพระกายให้ปรากฏต่อหน้านางลาชเทวธิดานั้น นางจะเหาะไปทางไหน พระองค์ก็เทศนาเรื่อยไปต่อหน้านาง นางก็ได้ยินเรื่อยไป กำลังเหาะนั่นแหละฟังเทศน์เรื่อยไป นางได้สำเร็จมรรคผล สมมาดปรารถนาด้วยความเลื่อมใสศรัทธา นี่เป็น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา นางได้กระทำความดี ได้ถวายข้าวตอกแก่พระมหาอริยกัสสปะ แล้วงูกัดตาย ไปเกิดในดาวดึงส์เทวโลก ก็เพราะสำเร็จด้วยบุญที่ตัวได้กระทำในชาติก่อนภพก่อน อาศัยบุญที่ตัวได้กระทำไว้แล้วจึงได้ไปเป็นเทวธิดา ก็มุ่งมาดปรารถนาจะทำสมบัติให้ตั้งมั่น ก็ได้สมมาดปรารถนา อุตส่าห์ไปปฏิบัติพระมหาอริยกัสสปะ พระบรมศาสดาจึงได้ทรงอนุเคราะห์ให้ได้ สำเร็จมรรคผล สมปรารถนา
    ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนาก็ต้องอาศัย ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน จงอุตส่าห์พยายามทำความดีให้หนักขึ้นไป ให้เป็นบุญนิธิหนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีให้ทาน ก็ให้ทานหนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีรักษาศีล ก็รักษาศีลให้ หนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีการเจริญภาวนา ก็เจริญภาวนาให้หนักขึ้นไป จะทำได้ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่งก็จงอุตส่าห์พยายามทำให้สุดความสามารถของตน สิ่งที่เป็นที่ตั้งกองการบำเพ็ญกุศล พระบรมทศพลได้ทรงตรัสเทศนาไว้เป็นอเนกประการว่า
    1. ทาน การให้ ก็ได้ชื่อ “ทานมัย” บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    2. ศีล การรักษากายวาจา ได้ชื่อว่า “สีลมัย” บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    3. ภาวนา การทำให้มีให้เป็น ก็ได้ชื่อว่า “ภาวนามัย” บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    4. ประพฤติตกต่ำยำเกรงแก่ตระกูลผู้เจริญกว่า ก็ได้ชื่อว่า “อปจายนมัย” บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อม ตนต่อผู้ใหญ่หรือผู้เจริญกว่า
    5. การช่วยเหลือในกิจที่ชอบ เรียกว่า “เวยยาวัจจมัย” บุญสำเร็จ ด้วยการขวนขวายในกิจที่ชอบ
    6. การให้ความดีแก่ผู้อื่นได้ชื่อว่า “ปัตติทานมัย” บุญสำเร็จด้วย การให้ความดีแก่ผู้อื่น
    7. การอนุโมทนาความดี ไม่อิจฉาริษยาเขาที่เรียกว่า “ปัตตานุโมทนามัย” บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาบุญของผู้อื่น
    8. การสดับตรับฟังธรรมเทศนาของเราท่านในบัดนี้ เหมือนภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่ฟังอยู่ ณ บัดนี้ ได้ชื่อว่า “ธัมมัสสวนมัย” บุญ สำเร็จด้วยการสดับตรับฟังธรรมเทศนา
    9. บุญที่ได้ด้วยการแสดงธรรมให้แก่ ผู้อื่นฟังได้บุญกุศล เหมือนผู้เทศน์นี้ ได้ชื่อว่า “ธัมมเทสนามัย” บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรมให้แก่ผู้อื่น
    10. ทั้ง ๙ อย่าง ได้ชื่อว่าเป็น “ทิฏฐุชุกัมม์” เป็นการทำความเห็นให้ตรงถูกต้องร่องรอยตามความประสงค์ ของทางพุทธศาสนา เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นของตนให้ตรง
    สิ่งเป็นที่ตั้งของการบำเพ็ญบุญมีถึง ๑๐ ประการ ในวันหนึ่งๆ เราบำเพ็ญหลายประการ เหมือนเราท่านในบัดนี้ได้บำเพ็ญหลายอย่างด้วยกัน
    1. ทานมัย ให้ทาน
    2. แล้วก็มารักษาศีล เรียกว่า สีลมัย
    3. รักษาศีลแล้วก็ไปเจริญภาวนา เรียกว่า ภาวนามัย
    4. แล้วไปอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เรียกว่า อปจายนมัย
    5. การช่วยทำครัวเลี้ยงพระเจ้าพระสงฆ์อย่างนี้ก็เรียกว่า เวยยาวัจจมัย ให้คนโน้นเขาประเคนบ้าง ให้คนนี้เขาประเคนบ้าง
    6. สิ่งของของตนให้คนอื่น เขาให้ทานบ้าง เรียกว่า ปัตติทานมัย
    7. เห็นเขาดีก็อนุโมทนาเขา นั้นเรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย
    8. การสดับตรับฟังเช่นนี้ เรียกว่า ธัมมัสสวนมัย
    9. การแสดงธรรมให้บุคคลผู้อื่นฟัง จำได้เรื่องนั้น เรื่องนี้ก็นำไปแสดงให้ผู้อื่นฟังบ้าง เรียกว่า ธัมมเทสนามัย
    10. การทำความเห็นของตนให้ตรงต่อ ความประสงค์ทางพุทธศาสนา เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์
    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาในมงคลคาถาทั้ง ๓ ข้อนี้ ข้อต้นว่า อยู่ในประเทศอันสมควร ข้อที่ ๒ ว่า ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน และข้อที่ ๓ ว่า ได้ตั้งตนไว้ชอบ ประกอบด้วยองค์คุณ ทั้ง ๓ ประการนี้ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญอันสูงสุด นี้ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องปฏิการประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านพุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดาที่มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...