ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    <CENTER>การปฏิบัติธรรมให้ถูกกับจริต</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>จริต คือ ความประพฤติ กิริยาอาการ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER> ในทางพุทธศาสนาได้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 6 ประเภท ตามลักษณะพื้นเพของจิต หรือจริต ซึ่งหมายถึงความประพฤติโดยปกติเป็นนิสัยที่แสดงออก เป็นพฤติกรรมอย่างเด่นชัด ดังนี้

    1. ราคจริต แปลว่า ผู้ที่มีความประพฤติปกติหนักไปทางด้านราคะ คือ มีนิสัยค่อนข้างเรียบร้อย แต่หยิบโหย่ง รักสวยรักงาม มักหลงติดสิ่งต่างๆได้ง่าย เช่น รูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น ถ้าทำอะไรพลาด หรือเสียหายสัก 2-3 ครั้ง มักจะขยาดกลัวไม่ค่อยกล้าทำอีก
    2. โทสจริต แปลว่า ผู้ที่มีความประพฤติปกติหนักไปทางด้านโทสะ คือ มีนิสัยโกรธง่าย ฉุนเฉียว เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเอง ไม่ค่อยเรียบร้อย เวลาเดินมักเดินส้นเท้าหนัก จะลุกหรือนั่งมักมีกริยารุนแรง เช่น ลากเก้าอี้ดังๆ แต่จะเป็นคนที่ทำอะไรจริงจัง กล้าได้กล้าเสีย และมักก้าวร้าวผู้อื่นเป็นนิสัย
    3. โมหจริต แปลว่า ผู้ที่มีความประพฤติปกติหนักไปทางด้านโมหะ คือ มีนิสัยละโมบ อยากได้โดยไม่มีเหตุผล ลุ่มหลงต่อสิ่งที่ตนเองคล้อยตามได้โดยง่าย ปราศจากการตรึกตรอง ในลักษณะงมงายโง่เขลา ไม่สามารถริเริ่มด้วยตนเอง เพราะขาดความเป็นผู้นำ จึงถูกชักชวนได้โดยง่าย
    4. วิตกจริต แปลว่า ผู้ที่มีความประพฤติปกติหนักไปทางด้านวิตก คือ มีนิสัยครุ่นคิดไปในลักษณะของคนฟุ้งซ่าน ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง คือ คล้ายโมหจริต ชอบจับจด มีความหวาดระแวงตลอดเวลา โดยไม่สามารถหาเหตุผลให้กับตนเองได้ ขาดความเป็นผู้นำ จึงถูกหลอกชักชวน ไปในทางที่เสียหายได้โดยง่าย
    5. ศรัทธา หรือ สัทธาจริต แปลว่า ผู้ที่มีความประพฤติปกติหนักไปทางด้านศรัทธา คือ มีนิสัยเป็นช่างคิดค้น รู้จักเปรียบเทียบ มีเหตุมีผล และสามารถเป็นตัวของตัวเองในการตัดสินใจ ชอบเป็นผู้นำในสิ่งที่เห็นแล้วว่าดี คล้ายราคจริต แต่ต่างกันตรงที่ราคจริต มักแสดงออก ในฐานะผู้นำ โดยแยกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี บุคคลประเภท ศรัทธาจริตนี้ มีลักษณะการเดินที่แตกต่างจากโทสจริต คือ เดินไปเรื่อยๆ ในลักษณะที่ฝ่าเท้าและส้นเท้าเสมอกัน จุดเด่นของบุคคล ในประเภทนี้ คือ ไม่พยาบาทอาฆาตมาดร้ายผู้อื่น สามารถให้อภัยบุคคลอื่นๆ ได้ด้วยเหตุผลของตนเอง บุคคลที่มีศรัทธาจริต จึงหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน
    6. พุทธจริต หรือ พุทธิจริต หรือ ญาณจริต แปลว่า ผู้ที่มีความประพฤติปกติ ในฐานะผู้รู้แจ้งต่อสภาวธรรมทั้งปวง ซึ่งก็หมายถึง บุคคลที่จะมาเป็นศาสดาเอกของศาสนา ในแต่ละพุทธันดรเท่านั้น จริตประเภทนี้ จึงไม่มีในบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป จริต หรือ ความประพฤติปกติ ดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นการสร้างด้วยตนเอง จากการสั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน ของการใช้ชาติ ของแต่ละบุคคล ซึ่งแตกต่างกัน มนุษย์จึงมีจริตทั้ง 6 ประเภทนี้อยู่ในตนเอง โดยไม่สามารถแยกออกได้อย่างชัดเจน แต่จะมีเพียง 1 หรือ 2 จริตที่เด่นออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งเรียกว่า มีอินทรีย์แรงกล้านั่นเอง เช่น ราคจริตผสมโทสจริต หรือ วิตกจริตผสมโมหจริต เป็นต้น

    นอกจากนี้ การใช้ชีวิตของบุคคลโดยทั่วไป ก็สามารถเปลี่ยนจริตของตนเองได้ เช่น การฝึกสมาธิ เป็นต้น เพราะการฝึกฝนอบรมใจของตนเองด้วยอารมณ์ของสมถกรรมฐาน ย่อมขัดเกลาจิตใจของผู้นั้น ให้เปลี่ยนแปลงไปในด้านที่ดี เช่น มีความเมตตา กรุณา รู้จักให้อภัย เสียสละ บริจาคทาน เป็นต้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสภาพจิตใจ ของผู้นั้น ให้อ่อนโยน สำรวม สามารถฝึก หรือข่มต่ออารมณ์ต่างๆ ได้โดยง่าย นิสัยต่างๆ ก็เริ่มถูกแก้ไข ไปในด้านที่ดีมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าการใช้ชีวิตของบุคคลโดยทั่วไป เป็นไปในด้านของการประกอบ อกุศลกรรม อยู่เป็นประจำ เช่น ประกอบอาชีพในทางมิจฉาชีพ ทำร้าย หรือ ฆ่าสัตว์อยู่เนืองนิตย์ ดื่มสุราหรือสิ่งเสพติด อยู่เป็นประจำ ก็ย่อมส่งผลให้ สภาพจิตใจของผู้นั้นเศร้าหมองตกต่ำลงหรือโหดร้าย เริ่มเห็นผิดเป็นชอบ มีนิสัยเห็นแก่ตัว และเอาเปรียบผู้อื่น เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุปัจจัย ให้นิสัยของบุคคลผู้นั้น เปลี่ยนแปลงไปในด้านที่เลวลงจากเดิม


    ดังนั้น จริตของมนุษย์ จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยชัดเจน ซึ่งขึ้นกับระยะเวลาด้วย เพราะการเปลี่ยนแปลงนั้นได้มีทั้งจากดีไปสู่ไม่ดี และพัฒนาจากไม่ดีมาเป็นจริตที่ดีก็ได้ ทั้งนี้เพราะจริตที่เด่นชัดขึ้นมา ในขณะใดขณะหนึ่งนั้นเป็นผลโดยตรงจากสภาพจิตใจของผู้นั้น ในเวลานั้นๆ ว่า ได้ประกอบกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมเป็นประการสำคัญ ซึ่งโดยปกติแล้ว อาจพิจารณาได้อย่างชัดเจน ได้ด้วยตนเอง ในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน สำหรับบุคคลโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาให้เข้าใจ ถึงเรื่องจริตของตนเอง ว่าเป็นประเภทใดนั้น ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนอบรมใจของตนเอง ด้วยวิธีของสมถกรรมฐาน เพราะอารมณ์ของ สมถกรรมฐานแต่ละประเภทนั้น มีความเหมาะสมกับจริตของมนุษย์แตกต่างกัน เช่น อารมณ์ของอสุภ 10 มีความเหมาะสมต่อผู้ที่มีราคจริตมากกว่าจริตอื่น เพราะราคจริต เป็นของบุคคลประเภทหลงในรูป หรือความงาม ดังนั้น ถ้าได้พิจารณาซากศพเป็นอารมณ์ ย่อมสามารถเกิดความเบื่อหน่ายต่อสิ่งที่ตนเองหลงใหล ได้เร็วกว่าการใช้อารมณ์ของสมถกรรมฐานอารมณ์อื่นๆ เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่มี โมหจริตหรือวิตกจริตอยู่ในตนเองนั้น มักแก้นิสัยของตนเอง ให้เปลี่ยนแปลงไปในด้านที่ดี ได้ช้ากว่าจริตอื่นๆ เป็นประเภทที่สำเร็จมรรคผลนิพพานได้ยาก เพราะอัปปนาสมาธิ หรือสมาธิที่มั่นคงแล้วนั้น จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อผู้ฝึกฝนมีสติที่มั่นคงแล้วเท่านั้น แต่สำหรับบุคคลที่มีโมหจริต หรือ วิตกจริตเด่นชัดในตนเอง มักขาดสติได้ง่าย เพราะไม่สามารถพิจารณาหาเหตุผลที่ดีให้กับตนเองได้โดยตรง ขาดความเป็นผู้นำในตนเองอย่างเด่นชัด จึงสามารถฝึกฝน อบรมใจของตนเอง ให้สูงสุดได้เพียงแค่ความสงบระงับเท่านั้น แต่ไม่สามารถยกระดับของจิตเข้าสู่ระดับองค์ฌานได้เลย ซึ่งอารมณ์ของสมถกรรมฐานที่เหมาะสมต่อผู้ที่มีโมหจริต และ วิตกจริต ก็คือ กสิณ และ อนุสติบางอารมณ์ เมื่อจริตของมนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการใช้อารมณ์สมถกรรมฐานในการฝึกฝนการอบรมจิต ก็คือ ถ้าบุคคลที่มีจริตใดจริตหนึ่ง ใช้อารมณ์ของสมถกรรมฐานอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ที่มีความเหมาะสมต่อจริตนั้นๆ ฝึกฝนอบรมจิตของตนอยู่ ต่อมาเมื่อบุคคลนั้น มีสภาพของจิตใจที่ดีขึ้น อันเนื่องมาจากการขัดเกลาจิตใจของตน ได้ระยะหนึ่ง จริตของผู้นั้นก็ถูกพัฒนาให้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อจริตถูกเปลี่ยนไป อารมณ์ของสมถกรรมฐานที่ผู้นั้นใช้ฝึกฝนอยู่ ก็ย่อมไม่เหมาะสม จำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้อารมณ์ของกรรมฐานใหม่ที่มีความเหมาะสมต่อจริตที่เปลี่ยนไป หรือในทางกลับกัน ถ้าบุคคลผู้นั้นมีสภาพของจิตใจที่ตกต่ำลง อันเนื่องจากเหตุผลใดก็ตาม ย่อมส่งผลโดยตรงต่ออารมณ์ของสมถกรรมฐานที่ตนใช้ฝึกปฏิบัติอยู่ คือต้องไม่เหมาะสมต่อจริตที่เด่นชัดขึ้นมาแทนจริตเดิม อันก่อให้เกิดความยุ่งยาก เพราะบุคคลโดยทั่วไปย่อมไม่ทราบว่าในขณะนั้นตนมีสภาพของใจตรงกับจริตใด และควรใช้อารมณ์ สมถกรรมฐานอารมณ์ใด เพราะอารมณ์ของสมถกรรมฐานส่วนใหญ่ นอกจากบางอารมณ์เท่านั้น ถ้าใช้ไม่ตรงกับจริตของตน ย่อมปฏิบัติได้ผลช้ามาก หรือเกือบไม่ได้ผลเลย ดังนั้นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ก็คือ ผู้ฝึกปฏิบัติ จะต้องเลือกใช้อารมณ์ของ สมถกรรมฐานที่ใช้ได้ และเหมาะสมต่อทุกจริต เพราะเมื่อจริตเปลี่ยนแปลงไป อารมณ์นั้น ก็ยังมีความเหมาะสมอยู่เช่นเดิม จึงจะสามารถฝึกปฏิบัติแล้วได้ผลอย่างจริงจัง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติอยู่บ่อยๆ ย่อมมีปัญหาตามมามากมายด้วยเช่นกัน


    มีหลักฐานอ้างอิงทางพุทธศาสนาที่สำคัญๆ กล่าวตรงกันว่า อารมณ์ของสมถกรรมฐาน ที่สามารถใช้ได้ และเหมาะสมต่อทุกจริตนั้น มีเพียงกสิณแสงสว่าง และกสิณอากาศเท่านั้น ส่วนกสิณอีก 4 อารมณ์นั้น มีความเหมาะสมเพื่อเน้นการฝึกปฏิบัติเฉพาะบุคคล หรือ ประเภทโทสจริต คือ กสิณสีขาว กสิณสีเขียว กสิณสีแดง และกสิณสีเหลือง ส่วนกสิณที่เหลืออีก 4 อารมณ์ คือ กสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม และ กสิณไฟ มีความเหมาะสมเฉพาะบุคคลประเภทราคจริต ดังนั้น สำหรับบุคคลที่ไม่ทราบว่า ตนเองมีจริตประเภทใด และไม่ทราบว่า ตนเองควรใช้อารมณ์สมถกรรมฐานอารมณ์ใดนั้น กสิณแสงสว่าง และกสิณอากาศ มีความเหมาะสมมาก ที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กสิณแสงสว่าง บุคคลโดยทั่วไป สามารถฝึกปฏิบัติได้ ด้วยวิธีการปฏิบัติธรรม ตามแนววิชชาธรรมกาย ซึ่งมีการเปิดสอนอยู่หลายแห่งในปัจจุบัน


    อนึ่ง ยังมีกลุ่มบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ถือว่าจัดเป็นจริตประเภทใดๆ แต่ควรกล่าวถึงในที่นี้ เนื่องจากมีพฤติกรรมที่แปลกจนเป็นความประพฤติปกติ ที่น่าสังเกต คือ มักแสวงหาที่พึ่งทางใจให้ กับตนเอง โดยไม่สามารถปักใจเชื่อ หรือศรัทธายอมรับต่อสิ่งใดอย่าง แท้จริง โดยยอมรับเกือบทุกอย่าง เช่น เข้าทรง รดน้ำมนต์ หรือปฏิบัติสมถกรรมฐาน คือ เกิดความศรัทธาทุกสถานที่ ทุกวิธีการ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นการเข้าหาศาสนาก็ไม่ใช่ ปฏิบัติเพื่อความสงบก็ไม่เชิง สิ่งใดที่กล่าวกันว่าดี ก็ยอมรับอย่างง่ายดาย โดยปราศจากเหตุผลที่เหมาะสม เป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เราอาจจัดบุคคลประเภทนี้ไว้ในฐานที่เรียกว่า ผู้มีศรัทธาเลื่อนลอย ซึ่งในที่สุด บุคคลประเภทนี้ก็มักเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ คือ เข้าประเภทจับปลาหลายมือนั่นเอง

    </PRE>
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2010
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]




    หลวงปู่สด ท่านสอนไว้ว่า .....


    หลอกตัวเองเป็นอย่างไร ตัวอยากได้ความสุข แต่ไปประพฤติทุกข์เสีย มันก็หลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ละซี ตัวเองอยากได้ความสุข แต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย ไปทางทุกข์เสีย มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่ ใครเข้าใกล้มันก็โกง โกงทุกเหลี่ยมนั่นแหละ ถ้าลองหลอกตัวเองได้มันก็โกงคนอื่นได้
    ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว เหตุนี้พุทธศาสนาท่านตรง ตรงตามท่านล่ะ
    ก็มรรคผลไม่ไปไหน อยู่แค่เงื้อมมือ อยู่ในกำมือทีเดียว พุทธศาสนาท่านตรงแต่ผู้ปฏิบัติไม่ตรงตามพุทธศาสนา มันก็หลอกลวงตัวเองโกงคนอื่นเท่านั้น นี่หลักจริงเป็นอย่างนี้ ให้จำไว้ให้มั่น ฯ



    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    วิชชาธรรมกาย

    มีการพัฒนา และค้นวิชชาเข้าไปในกายเรื่อยๆไม่หยุด

    มีใบไม้ในกำมือ คือ อาศัยสติปัฏฐานเป็นหลักกำจัดกิเลส
    มีการค้นวิชาเพิ่ม ตามวิสัยแห่งฌาณ วิชชา ปัญญา อันเป็นคุณสมบัติพิเศษ ของแต่ละท่าน ละคน ที่ตั้งอฐิษฐานบารมีไว้ต่างกัน
    โดยค้นเข้าไปตามสายธาตุธรรมภาคขาว บุญกุศลสัมมาทิฐิล้วนๆ
    อันเป็นวิชาเดิมของตน จึงมีการพัฒนาไม่อยู่กับที่ในด้านความแตกฉาน

    อันเป็นวิสัยที่เป็นอจินไตย


    หมายเหตุ. แต่ถ้าเฉออกนอกสัมมาปฏิบัติ คือ ไม่เป็นไปเพื่อกำจัดกิเลส ตัณหา อวิชชา มากขึ้นๆเมื่อใด ธรรมกายบริสุทธิ์ก็ค่อยๆดับโดยไม่รู้ตัว มีธรรมปลอมเข้าครอบงำ สอดแทรก ซึมซาบ เข้าไปเป็นเนื้อของดวงจิต ดวงใจ ญาณรู้ก็เฉออกไปเรื่อยๆ<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->



    ...รถที่ขับเร็วแรง ถ้ามีสติสัมปชัญญะไม่ละเอียดสุขุมรอบคอบพอ
    ถ้าเผลอนิดเดียว ก็ออกนอกทางแล้ว...


    ถ้าไม่กำจัดกิเลส ทำเพื่อสร้างกิเลส

    กว่าจะรู้ตัวว่า.. ธรรมกายที่บริสุทธิ์ดับไปแล้ว แต่เป็นสังขารอกุศล หรือภาคมาร
    จำแลงสร้างมาแทน ก็ต้องแก้ไขไม่น้อยเหมือนกัน


    ...นี่แหละ ใช้วิชชาเดียวกัน แต่ไม่เหมือนกัน

    ถ้า ไม่เป็นไปเพื่อกำจัดกิเลสเสียแล้ว

    ไม่ดำรงไว้ ซึ่ง ธรรมวินัย เสียแล้ว

    ไม่เคารพ สมมติบัญญัติเสียแล้ว
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    วิธีพิจารณาอริยสัจ ๔ เข้ามรรคผลนิพพาน


    การมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อริยสัจ ๔ นี้ เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ อันเป็น เอกายนมรรค คือ หนทางอันเอก ให้ถึงมรรค ผล นิพพาน โดยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยว่าอริยสัจ ๔ ก็มีอริยมรรคมีองค์ ๘ และอริยมรรคมีองค์ ๘ เล่า ก็มีสติปัฏฐาน ๔ คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายใน
    เฉพาะในส่วนของการมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ก็มีตั้งแต่การมีสติพิจารณา นิวรณ์ ๕ (อันเป็นธรรมปฏิบัติในขั้นอนุวิปัสสนา) อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ โพชฌงค์ ๗ และอริยสัจ ๔ ซึ่งก็จะมีข้อกำหนดรวมทั้งอริยมรรคมีองค์ ๘ และทั้งสติปัฏฐาน ๔ อันจะขยายผลถึงการมีสติพิจารณาเห็นธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ให้เจริญขึ้นเต็มภูมิวิปัสสนา ตั้งแต่ระดับอนุวิปัสสนาถึงโลกุตตรวิปัสสนา และยังให้ข้อปฏิบัติอื่นๆ เจริญขึ้น อันเป็นทางให้บรรลุวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด และเป็นธรรมเกื้อหนุนอริยมรรคให้เจริญขึ้น ถึงความบรรลุมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุข ได้แก่
    1. จรณะ ๑๕ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้บรรลุวิชชา (ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งปวง) คือ ศีลสัมปทา อินทรีย์สังวร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ สติ ปัญญา และ รูปฌาน ๔
    2. โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ และธรรมเครื่องเกื้อหนุนอริยมรรค ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และ อริยมรรคมีองค์ ๘
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์เป็นปฐมเทศนาว่า
    “จกฺขุ ํ อุทปาทิ, ญาณํ อุทปาทิ, ปญฺญา อุทปาทิ, วิชฺชา อุทปาทิ, อาโลโก อุทปาทิ ...” (สํ.มหา.๑๙/๑๖๖๖-๑๖๖๙/๕๒๙-๕๓๐)
    “จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณ [ความหยั่งรู้-เห็น] เกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความสว่างแจ้งเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ว่า นี้คือทุกข์ ... นี้เหตุแห่งทุกข์ ... นี้ความดับทุกข์ [สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ] ... นี้ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ ...”
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะทรงบำเพ็ญสมณธรรมใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ ๒๕๘๘ ปีล่วงมาแล้วนั้น (ปีนี้ พ.ศ.๒๕๔๓) จึงได้ทรงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาเพื่อเจริญวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด เริ่มตั้งแต่ วิชชาที่ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในยามต้นแห่งราตรี, วิชชาที่ ๒ จุตูปปาตญาณ ในยามกลางแห่งราตรี และ วิชชาที่ ๓ อาสวักขยญาณ โดยการพิจารณาอริยสัจ ๔ และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ในยามปลายแห่งราตรี จนเห็นแจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔ อันเป็นไปในญาณ ๓ (คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ) มีอาการ ๑๒ และมีญาณหยั่งรู้วิธีทำอาสวกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในตอนรุ่งอรุณแห่งคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้นเอง
    จึงขอแนะนำวิธีเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ ๔ ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย และพัฒนาขึ้นเป็นวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ต่างเป็นธรรมกาย) ที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนศิษยานุศิษย์ มีปรากฏในหนังสือ วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๑ และ เล่มที่ ๓ (หนังสืออาสวักขยญาณชั้นสูง) อันเป็นธรรมปฏิบัติส่วนสำคัญของสติปัฏฐาน ๔ นี้ มาแสดงไว้ก่อน เพื่อดำเนินตามรอยบาทพระพุทธองค์ ดังต่อไปนี้
    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกายไปจนสุดละเอียด และให้สมาธิตั้งมั่นดีเสียชั้นหนึ่งก่อน
    ในลำดับนี้ก็จะได้แนะนำการพิจารณาอริยสัจ ๔ ให้เห็น ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และมรรคอริยสัจ อีกต่อไป [​IMG]

    การพิจารณาให้เห็นสัจจะทั้ง ๔ แต่ละอย่าง

    พึงเข้าใจเสียก่อนว่า
    ทุกข์ เป็น ผล, สมุทัย เป็น เหตุ
    นิโรธ เป็น ผล, มรรค เป็น เหตุ
    หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะสมุทัย ทุกข์จึงเกิด, แต่ถ้ามรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธก็แจ้ง กล่าวคือ เมื่อมรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธคือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะสมุทัยอันเป็นตัวเหตุดับก็แจ้ง, เมื่อสมุทัยอันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ดับลงโดยอัตโนมัติ
    ๑. ทุกขอริยสัจ
    ทุกขอริยสัจนั้นมีลักษณะสัณฐานกลม มีสีดำๆ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียด ซ้อนอยู่ในกลางดวงอัญญาตาวินทรีย์ ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม มีซ้อนกันอยู่ ๔ ชั้น คือ ดวงชาติทุกข์ (ทุกข์เพราะเกิด), ดวงชราทุกข์ (ทุกข์เพราะแก่), ดวงพยาธิทุกข์ (ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ), และ ดวงมรณทุกข์ (ทุกข์เพราะความตาย)
    ในดวงกลมของทุกข์นั้นยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ อีก ๔ ชั้น คือ เห็น จำ คิด รู้ และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และวิญญาณ ของกายมนุษย์ ของทิพย์ ของรูปพรหม และของอรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะทั้งหมด แต่ทุกข์ส่วนหยาบก็มีอยู่ในกายหยาบคือกายมนุษย์ ทุกข์ส่วนละเอียดก็มีอยู่ในกายที่ละเอียดๆ คือ กายทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหมต่อไป ตามลำดับ
    เฉพาะทุกข์ของมนุษย์นั้น ชาติทุกข์ หรือสิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใส ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ สีขาวบริสุทธิ์ ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจรดที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ (ของมารดา) กายมนุษย์ก็จะมาเกิดไม่ได้
    ใช้ตาหรือญาณของธรรมกายดูความเกิดและเหตุที่จะทำให้เกิด ให้เห็นตลอด แล้วก็ดูความแก่ต่อไป
    ความแก่ (ชราทุกข์) นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงเกิด (ชาติทุกข์), มีลักษณะกลม สีดำเป็นนิล แต่ไม่ใส ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กอยู่ ก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่, แต่ถ้าดวงนี้ยิ่งโตขึ้น กายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นก็ต้องมีเจ็บ (พยาธิทุกข์) เพราะดวงเจ็บนั้นซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กันกับดวงเกิด ดวงเจ็บนี้มีสีดำเข้มกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บไข้ทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดหนักเข้า ดวงตาย (มรณทุกข์) ก็จะเข้ามาซ้อนอยู่ในกลางดวงเจ็บ เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจรดกลางดวงเจ็บแล้ว ถ้ามาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที
    กายมนุษย์ที่เป็นทุกข์นั้น ก็เพราะอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน บุคคล เรา เขา ของเรา ของเขา จึงได้ชื่อว่า รูปูปาทานักขันโธ, เวทนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ และ วิญญาณูปาทานักขันโธ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้น ต่างก็มีเห็น จำ คิด และรู้ ซ้อนประจำอยู่ แล้วขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และ วิญญาณ เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อ และใจนั่นเอง
    ขันธ์ทั้ง ๕ นั้น เป็นประดุจดังว่าบ้านเรือนที่อาศัยของเห็น จำ คิด รู้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่ตัวบ้านเรือนที่อาศัย ผู้อาศัยอยู่ คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งยึดติดอยู่กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณนั้นเองที่รู้สึกเดือดร้อน เป็นทุกข์ เพราะเข้าไปยึดว่าขันธ์แต่ละขันธ์นั้นว่าเป็นตัวเรา เราเป็นนั้น นั้นมีในเรา นั้นเป็นของเรา ซึ่งรวมเรียกว่า สักกายทิฏฐิ ๒๐ (คือแต่ละขันธ์ มีสักกายทิฏฐิ ๔, ขันธ์ ๕ ขันธ์ จึงเป็นสักกายทิฏฐิ ๒๐)
    กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ซึ่งก็คือ เห็น จำ คิด รู้ นั่นเองที่เข้าไปยึดถือในขันธ์ ๕ จึงเป็นทุกข์
    อนึ่ง ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ได้แต่เพียงกำหนดรู้ไว้ว่าเป็นทุกข์เท่านั้น จะดับทุกข์ก็ยังไม่ได้ ถ้าจะดับทุกข์ก็จะต้องละสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์เสียก่อน ทุกข์จึงจะดับ เพราะทุกข์นี้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสมุทัยเป็นเหตุ คือ ทุกข์นั้นอยู่ชั้นนอก สมุทัยซ้อนอยู่ชั้นใน ชั้นนอกจะเกิดขึ้นได้และเจริญอยู่ได้ก็เพราะอาศัยชั้นในรักษา ถ้าชั้นในซึ่งเป็นใจกลางดับ ชั้นนอกซึ่งเป็นเสมือนเปลือกหุ้มอยู่ก็ต้องดับตามไปด้วย เพราะเหตุนั้น การดับทุกข์จึงต้องดับตัวสมุทัยซึ่งเป็นตัวเหตุเสียก่อน ทุกข์ซึ่งเป็นตัวผลจึงจะดับตาม
    เมื่อกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาหรือญาณพระธรรมกายว่า ความเกิด แก่ เจ็บ และตายนี้ เป็นทุกข์จริง (ทุกขอริยสัจ) เรียกว่า สัจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาและญาณพระธรรมกายว่า ทุกขอริยสัจนี้ควรกำหนดรู้ เรียกว่า กิจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งชัดว่า ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้เราได้กำหนดรู้ชัดแล้ว ชื่อว่า กตญาณ เช่นนี้เรียกว่าพิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ ๓ [​IMG]

    ๒. สมุทัยอริยสัจ
    เหตุให้เกิดทุกข์นั้น มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ซ้อนอยู่ในกลางดวงทุกขสัจ ที่ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ มีซ้อนกันอยู่ ๓ ชั้น คือ ดวงกามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา มีความละเอียดและดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้นๆ ในดวงสมุทัยนี้ยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่ ๔ ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ ของกายทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด และ อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ แต่สมุทัยในแต่ละกายนี้หยาบละเอียด ตามความหยาบ-ละเอียดของแต่ละกายเข้าไปตามลำดับ
    ส่วนรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ซึ่งเรียกว่า กามคุณ หรือ วัตถุกาม ทั้ง ๖ อย่างนี้เป็นของทิพย์ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับหายไป คงทิ้งไว้แต่ความยินดี-ยินร้ายให้ปรากฏฝังใจอยู่เท่านั้น, กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกามคุณทั้ง ๕, ภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้กามคุณที่พึงพอใจที่ตนมีอยู่แล้ว ให้ดำรงอยู่ และความทะยานอยากในความอยากมี อยากเป็นโน่น เป็นนี่ และ วิภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้สิ่งที่ไม่เป็นที่พึงพอใจ พินาศไป หรือไม่อยากจะได้พบ ได้เห็น หรือความทะยานอยากที่จะไม่มี ไม่เป็นในสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนาทั้งหลาย เหล่านี้มีอยู่ในก้อนกายทิพย์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นทิพย์ เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือสิ่งสัมผัสทางกาย และ ธรรมารมณ์ เหล่านี้จึงเต็มไปด้วยตัณหา และชุ่มโชกสดชื่นไปด้วยตัณหา
    สิ่งที่เป็นทิพย์นั้น เมื่อจุติ (เคลื่อน คือตายจากภพหนึ่ง) แล้วก็จะไปแสวงหาที่เกิดใหม่ เรียกว่า กายสัมภเวสี ถ้าแสวงหาที่เกิดได้แล้ว เรียกว่า กายทิพย์ ซ้อนอยู่ภายในกายมนุษย์ละเอียดนั้นแหละ จึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเจริญอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยสมุทัยซึ่งมีอยู่ในก้อนกายทิพย์เป็นเหตุ
    และก็ใคร่จะขอย้ำว่า กำเนิดเดิมของทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดนั้น ก็มิใช่อื่นไกล ก็คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากขันธ์ ๕ ที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง
    โดยเหตุนี้ กายทั้ง ๘ คือ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด และ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ จึงต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา
    เมื่อเห็นด้วยตา และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ซึ่งรวมเรียกว่าสมุทัยนี้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง (สมุทัยอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ควรละ ชื่อว่า ได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นแจ้ง รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ ดังนี้เรียกว่า พิจารณาสมุทัยอริยสัจ เป็นไปในญาณ ๓ [​IMG]

    ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสมุทัยอริยสัจแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ เป็นดวงกลมใส ซ้อนอยู่ในสมุทัยอริยสัจ ในกลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ วา มีหุ้มซ้อนกันอยู่ ๔ ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ เดิม ของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ กลับเป็นญาณของกายธรรม หรือ ธรรมกาย นั่นเอง
    เมื่อมรรคอันเป็นเหตุ เกิดและเจริญขึ้น รวมกันเป็นเอกสมังคีนั้น นิโรธธาตุอันเป็นผล ย่อมเป็นธรรมอันพระอริยเจ้าท่านได้บรรลุ พร้อมกับสมุทัยอันเป็นเหตุดับ และทุกข์อันเป็นผลของสมุทัยก็ดับทันที เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไป ฉะนั้น
    อนึ่ง ใคร่จะทบทวนไปถึงที่เคยได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นจิตในจิต คือ อาสวกิเลส ซึ่งเอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น อยู่ในเห็น จำ คิด และ รู้ ของกายโลกิยะทั้ง ๘ ว่า เมื่อเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วนั้น ใจของธรรมกายอันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ ย่อมสิ้นรสชาติจากอาสวะจนจืดสนิท และเห็น จำ คิด รู้ นั้น ก็กลับเป็นอาสวักขยญาณ ส่วนอวิชชาเครื่องหุ้มรู้นั้น ก็กลับเป็นตัววิชชา ให้รู้แจ้งในสัจจธรรมขึ้นมาทันที เห็น จำ คิด และ รู้ จึงเบิกบานเต็มที่ ขยายโตขึ้นเต็มส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักของพระธรรมกาย ส่วนเห็น จำ คิด และ รู้ ในก้อนทุกข์และสมุทัยของกายโลกิยะเดิมจึงดับหมด เป็นวิกขัมภนวิมุตติ ตั้งแต่เมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกาย นับตั้งแต่กายลำดับที่ ๙ ซึ่งเป็นกายโลกุตตระเป็นต้นไปจนสุดธรรมกายพระอรหัตละเอียด ต่อเมื่อละสัญโญชน์ได้หมด จึงจัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด โดยสิ้นเชิง
    กายธรรม หรือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นกายโลกุตตระนั้น พ้นจากอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ กลับเป็น นิจจัง สุขัง และ อัตตา ด้วยประการฉะนี้
    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ความดับทุกข์ คือ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับคือนิโรธอริยสัจ มีได้ เป็นได้จริง เรียกว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ เราได้กระทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ
    ดังนี้คือการพิจารณานิโรธอริยสัจ เป็นไปในญาณ ๓ [​IMG]

    ๔. มรรคสัจ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในนิโรธอริยสัจแล้ว ก็พึงพิจารณาและกระทำมรรคให้เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้นอีกต่อไป
    มรรคอริยสัจนั้น เป็นดวงกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งนัก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย ซ้อนอยู่ในกลางนิโรธอริยสัจ ที่ในกลางขันธ์ ๕ ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง มรรคอริยสัจนี้ ก็คือ
    ดวงศีล ซึ่งมีซ้อนกันอยู่ ๓ ชั้น คือ สัมมาวาจา วาจาชอบ, สัมมากัมมันโต การงานชอบ, สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ
    ดวงสมาธิ ซึ่งมีซ้อนกันอยู่อีก ๓ ชั้นเข้าไปข้างใน คือ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ, สัมมาสติ ความระลึกชอบ และ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
    ดวงปัญญา ซึ่งมีซ้อนกันอยู่อีก ๒ ชั้นเข้าไปข้างในอีก คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบในอริยสัจ และ สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
    และ ในมรรคอริยสัจแต่ละดวงนี้ก็ยังมีหุ้มซ้อนอีก ๔ ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต วิญญาณ เดิมของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ (เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ) เป็นญาณของพระธรรมกายตั้งแต่พระโสดาหยาบ (โสดาปัตติมรรค) ขึ้นไป กล่าวคือ กายธรรม เป็น พระพุทธรัตนะ, ใจ (คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ ของธรรมกาย) เป็น พระธรรมรัตนะ, จิต เป็น พระสังฆรัตนะ และ วิญญาณ ซึ่งขยายส่วนหยาบเป็นดวงรู้ของกายโลกิยะเดิมดับ กลับเป็นญาณ (ญาณรัตนะ) ของธรรมกายซึ่งขยายเต็มส่วนแล้ว
    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า มรรคอริยสัจนี้ เป็นทางดับทุกข์ได้จริง (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า มรรคอริยสัจนี้ควรเจริญ ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ และเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้เจริญแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ
    นี้คือการพิจารณาอริยสัจ เป็นไปในญาณ ๓
    ญาณ หรือ ปริวัฏ ๓ นี้ เมื่อเป็นไปในอริยสัจ ๔ จึงมีอาการ ๑๒ [​IMG]

    วิธีเจริญฌานสมาบัติเข้ามรรคผล นิพพาน
    สำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด และได้ฝึกสับกาย-ซ้อนกาย เจริญฌานสมาบัติ ดีพอสมควร และได้พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ พอให้มีพื้นฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาดีพอสมควรแล้ว ให้ฝึกเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ ๔ เข้ามรรคผลนิพพานต่อไป
    ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่ละเอียดที่สุด เอาใจธรรมกายอรหัตเป็นหลัก เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน ๔) หมดพร้อมกันทุกกายหยาบกายละเอียด โดยอนุโลมและปฏิโลม ๑-๒-๓ เที่ยว ให้ใจผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยน ควรแก่การงาน แล้วธรรมกายพระอรหัตที่สุดละเอียด ทำนิโรธ ดับสมุทัย คือพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัตออกจากฌานสมาบัติ (ไม่ต้องพิจารณาอารมณ์ฌาน) ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุ-ธรรม และเห็น-จำ-คิด-รู้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของกายโลกียะ สุดกายหยาบกายละเอียด ปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ ให้เป็นแต่ใจ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนสุดละเอียดปล่อยอุปาทานขันธ์ ๕ และความยินดีในฌานสมาบัติได้ (แม้ชั่วคราว) เป็นวิกขัมภนวิมุตติ โคตรภูจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่แล้วนั้น
    1. ใช้ตา (ญาณ) พระธรรมกายพิจารณาอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้า พระธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง ๕ วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นธรรมกายพระโสดา กล่าวคือ
    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในพระสัจจธรรมดังกล่าวแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียดก็ตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ปรากฏขึ้นปหาน (ละ) สัญโญชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ ๕ คือ พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละได้, กิเลสที่ยังเหลือ และ พิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน และก็จะเห็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กเข้ามาอีก
    1. แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจของกายทิพย์ ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๑๐ วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระสกิทาคามี กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นกำจัดสัญโญชน์ และสามารถละโลภะ โทสะ และ โมหะ จนเบาบางลงมากแล้ว ก็จะตกศูนย์ และปรากฏธรรมกายพระสกิทาคามิผลเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ๕ ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี และท่านก็จะเห็นธรรมกายพระสกิทาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา
    1. แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๑๕ วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอนาคามี กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นปหานกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยได้อีก แล้วก็จะตกศูนย์ ปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ๕ ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีบุคคล และท่านจะเห็นธรรมกายพระอนาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา
    1. แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอรหัตแล้ว กล่าวคือ
    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรค ปรากฏขึ้นปหานสัญโญชน์เบื้องสูงอีก ๕ ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชาได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ๔ คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้หมด และพิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตขีณาสพ แล้วท่านจะเห็นธรรมกายพระอรหัตของท่านใสละเอียดและมีรัศมีสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กลงอีก และก็จะมีญาณหยั่งรู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว
    เมื่อได้กายพระอรหัตนี้แล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วหยุด ตรึกนิ่ง เพื่อฟังตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้อีกต่อไป
    การเจริญสมาบัติพิจารณาพระอริยสัจทั้ง ๔ นี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ด้วยสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ แล้ว ญาณทั้ง ๓ กลุ่มนี้เองที่เป็นปัญญาผุดรู้ขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ท้อถอย ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้ง ๓ กลุ่ม รวม ๑๒ ญาณของอริยสัจ ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ทีนั้น ญาณทั้ง ๑๒ ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็นความเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจ และ พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา และ สพฺเพ ธมฺมา (สังขาร/สังขตธรรม ทั้งปวง) อนตฺตา ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้า ปหานสัญโญชน์พินาศไปในพริบตา
    ญาณทั้ง ๓ กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อันให้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๑๒ นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้แล ในพระไตรปิฎกมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ ๑๕ และ ๑๖ ว่า เป็นญาณทัสสนะมี รอบ ๓ มีอาการ ๑๒ [​IMG]

     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    วิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒


    พระพุทธดำรัสว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท

    สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี ได้ตรัส
    “ปฏิจจสมุปบาทธรรม” คือ ธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น ๑๒ ประการ ดังต่อไปนี้ (ม.มู.๑๒/๔๔๘, ๔๕๐/๔๘๒-๔๘๓, ๔๘๕)
    ตรัสนัยอันเป็นปัจจัยเกิด และ ดับ
    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น

    เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ

    เพราะ อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี

    เพราะ สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

    เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

    เพราะ นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

    เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

    เพราะ ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

    เพราะ เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

    เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

    เพราะ อุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี

    เพราะ ภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี

    เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงมี

    ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้
    เพราะ อวิชชาดับหมดมิได้เหลือ
    สังขารก็ดับ

    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ

    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ

    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ

    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้
    ตรัสนัยแห่งความดับ
    ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น

    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ
    เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ

    เพราะ สังขารดับ วิญญาณจึงดับ

    เพราะ วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

    เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

    เพราะ สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

    เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

    เพราะ เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

    เพราะ ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

    เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ

    เพราะ ภพดับ ชาติจึงดับ

    เพราะ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ

    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้
    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม
    วิธีเจริญภาวนาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสอนไว้ มีความว่าดังนี้
    “ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้น หมายถึงธรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยติดต่อกันไม่ขาดสาย คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส” (พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๑: หจก.พริ้นติ้ง (ไทยแลนด์), พ.ศ.๒๕๒๘, หน้า ๓๗-๓๘.)
    มีวิธีเจริญภาวนาพิจารณาเห็นได้ดังต่อไปนี้
    ขณะเมื่อพระโยคาวจรเจริญฌานสมาบัติ พิจารณาอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นไปในญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อยู่นั้น ย่อมจะสามารถพัฒนาไปเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ ได้ กล่าวคือ ในขณะที่พิจารณาเห็นทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ในกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดอยู่นั้น หากเพ่งพิจารณาด้วย “ตา” หรือ “ญาณ” พระธรรมกาย ลงไปที่กลางทุกขสมุทัยอริยสัจ ก็จะเห็นว่า
    “อวิชชา มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำขุ่นมัว ไม่ผ่องใส เล็กประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

    สังขาร มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ

    วิญญาณ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

    นามรูป มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของวิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ

    สฬายตนะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของนามรูป เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ

    ผัสสะ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของสฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา

    เวทนา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา

    ตัณหา มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของเวทนา เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน

    อุปาทาน มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิดภพ

    ภพ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของอุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ

    ชาติ มีลักษณะสัณฐานกลม สีขาวใสสะอาดบริสุทธิ์ ซ้อนอยู่ในชั้นในของภพ เป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาส
    ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน ประสานติดต่อกันเป็นปัจจัย อุดหนุนกันไม่ขาดสาย เหมือนลูกโซ่ จึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เกิดขึ้นเพราะเป็นปัจจัยติดต่ออาศัยซึ่งกันและกันเกิด เมื่อจะดับธรรมเหล่านี้ ก็ต้องดับเบื้องต้น คือ อวิชชาดับมาก่อน แล้วธรรมอื่นๆ ก็ดับมาเป็นลำดับจนถึงเบื้องปลาย คือ ชาติดับ แต่นั่นธรรมเหล่านี้จึงจะดับขาดสายไปทุกประการ” (อ้างแล้ว. หน้า ๓๘-๓๙)
    อนึ่ง ในปฏิจจสมุปบาทธรรมแต่ละดวงนี้ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง และดังที่จะได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต โดยละเอียดในลำดับต่อๆ ไปว่า ใน เห็น จำ คิด รู้ ก็มี “อนุสัย” ได้แก่ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย หุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชานุสัยนั้น หุ้มซ้อนดวงรู้ของกายโลกิยะทั้ง ๘ อยู่ แต่หยาบละเอียดกว่ากันไปตามความหยาบละเอียดของกายเข้าไป เห็น จำ คิด รู้ ของกายโลกิยะทั้ง ๘ จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนธรรมกาย
    ต่อเมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกายแล้ว อนุสัยกิเลสทั้งหลาย จึงถูกถอดออกเป็นชั้นๆ จนกระทั่งหมดไปเมื่อถึงธรรมกาย อวิชชาเครื่องหุ้มรู้ เมื่อถูกถอดมาถึงกายธรรม จึงกลับเป็นวิชชา ให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมขึ้นมาทันที วิชชาเครื่องหุ้มนั้นก็ใสละเอียดสะอาดบริสุทธิ์ และดวงรู้ก็เบิกบานขยายโตเต็มส่วน มีขนาดวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย และ กลับเป็นญาณรัตนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นอาสวักขยญาณคือความหยั่งรู้วิธีทำอาสวะให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป
    จึงเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกายว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นคงมีอยู่แต่เฉพาะในกายโลกิยะทั้ง 8 เท่านั้น หาได้มีในพระธรรมกายด้วยไม่ และรู้แจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์ส่วนละเอียดด้วยญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง 8 นั้นเอง ที่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เพราะมีอวิชชาเป็นรากเหง้าแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ถ้าดับอวิชชาได้ ทุกข์ก็ดับหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดดับหรือขาดลง ทุกข์ก็ดับ เพราะความเป็นเหตุและผลของทุกข์ ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรม” นั้นขาดหมดตลอดทั้งสาย
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ด้วยตา และ ญาณพระธรรมกายว่า กายโลกิยะทั้ง ๘ นั้น ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์อย่างไรแล้ว ก็ย่อมเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย และ รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกาย ว่า พระธรรมกายมรรค ผล นิพพาน ชื่อว่า “พระนิพพานธาตุ” อันพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้าท่านได้บรรลุแล้ว ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งนี้เอง ที่กลับเป็นกาย นิจฺจํ สุขํ และ อตฺตา (แท้) ที่วิมุตติหลุดพ้น หรือ ว่าง (สูญ) จากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ว่างจากอัตตาโลกิยะและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโลกิยะนั้น หรือที่ว่างจากสังขาร จึงชื่อว่า “ว่างอย่างยิ่ง-ปรมํ สุญฺญํ” ด้วยประการฉะนี้
    ที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นวิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ในส่วนที่เป็นธาตุละเอียด ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กัน เข้าไปข้างใน ถัดจากธาตุละเอียดของอริยสัจ ๔ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม
    สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม ทั้งของตนเองและของผู้อื่น และทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) จากสุดหยาบ (กายมนุษย์) ไปถึงสุดกายละเอียด
    โดยความเป็นธรรมอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒) และ ดับไป เป็นปัจจุบันธรรม ได้ ดังเช่นต่อไปนี้
    สำหรับผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายที่เจริญฌานสมาบัติให้จิตสงัดจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัยคือปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ มีสติสัมปชัญญะ มีศีลสังวรและอินทรีย์สังวรอยู่เสมอ ย่อมสามารถพิจารณาเห็นเป็นปัจจุบันธรรม ทั้งที่ยังเป็นๆ อยู่ ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม ดังต่อไปนี้
    1. กายมนุษย์ละเอียด ซึ่ง เป็นกาย ณ ภายใน ของผู้ที่ปฏิบัติกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต ซอมซ่อ เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส พลอยให้กายมนุษย์หยาบ อันเป็นกาย ณ ภายนอก เศร้าหมองด้วย
      ย่อมเห็น เวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก และ ทั้ง ณ ภายใน คือ ดวงเห็น-จำ-คิด-รู้ ของกายมนุษย์หยาบ และ ของกายมนุษย์ละเอียด เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส และ
      ย่อมเห็น ธรรมในธรรม อันมี “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกาย ๑ “ดวงศีล” ๑ ธาตุละเอียดของ “ทุกขสัจ” ๑ “สมุทัย” (ตัณหา) ๑ และ ภพภูมิ (ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม) ๑ อันมี เห็น-จำ-คิด-รู้ คือ “ใจ” ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมในธรรมดังกล่าวทุกดวง มัวหมอง ไม่ผ่องใส เป็น “ทุคคติภพ” พลอยให้การดำเนินชีวิตของผู้นั้นเป็นไปไม่ดี คือ เป็น “ทุกข์” ไม่เป็น “สันติสุข” และ
    2. ย่อมสามารถพิจารณาเห็น กายมนุษย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายในกาย ณ ภายใน ของผู้งดเว้น คือ ไม่ประกอบกายทุจจริต วจีทุจจริต และ มโนทุจจริต เป็นผู้มีศีลมีธรรม ประกอบด้วยทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น ผ่องใส ตามระดับภูมิธรรม เช่น

    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “มนุษยธรรม” กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏผ่องใส
    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “เทวธรรม” คือประกอบด้วยหิริ โอตตัปปะ กายทิพย์ก็ปรากฏผ่องใส
    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “พรหมธรรม” คือประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม และรูปฌาน/อรูปฌาน กายรูปพรหม/อรูปพรหม ก็ปรากฏผ่องใส
    • ผู้ทรงคุณธรรมในระดับ “พุทธธรรม” ตั้งแต่โคตรภูจิตขึ้นไป “ธรรมกาย” ก็ปรากฏผ่องใสตามระดับภูมิจิต
      ธรรมในธรรมของผู้นั้น รวมทั้งเวทนาในเวทนา และ จิตในจิต ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ของผู้นั้น ย่อมบริสุทธิ์ผ่องใส และ มีรัศมีปรากฏ เป็นสุคติภพ (ภูมิจิต) และสูงขึ้นไปเป็นโลกุตตรภูมิ ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีของแต่ละท่าน
      พลอยให้การดำเนินชีวิตของท่านผู้นั้นเป็นไปด้วยดี มี “สันติสุข”
    แต่มีข้อพึงสังเกตว่า ผู้มีภูมิจิตสูงกว่า ย่อมสามารถเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ของผู้มีภูมิจิตต่ำกว่าได้ชัดเจน
    โดยนัยนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเจริญสมถวิปัสสนาภาวนาถึงธรรมกาย ที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติ และได้สั่งสอนไว้ จึงมีสติปัฏฐาน ๔ คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และ ทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) อย่างครบถ้วน อยู่ในตัวพร้อมเสร็จ ด้วยประการฉะนี้
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    <TABLE style="FONT-FAMILY: 'MS Reference Sans Serif'" border=0 cellPadding=1 width=694 align=center><TBODY><TR><TD height=55 width=688>พุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี
    </TD></TR><TR><TD height=88 width=688 align=left>มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ว่าเป็นหลักเหตุผลที่เข้าใจง่าย เพราะมีเรื่องที่พระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระองค์ และพระองค์ได้ตรัสตอบ มีความดังนี้
    </TD></TR><TR><TD height=38 width=688 align=left>
    "น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาเลยพระเจ้าข้า หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ถึงจะเป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง แต่ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ"


    </TD></TR><TR><TD height=38 width=688 align=left>
    "อย่ากล่าวอย่างนั้น อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง เพราะไม่รูไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดหลักธรรมข้อนี้แหละ หมู่สัตว์นี้จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง..........ฯลฯ."


    </TD></TR><TR><TD width=688>(ที่มา สํ.นิ. ๑๖/๒๒๔-๕/๑๑๐-๑)


    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height="100%" vAlign=top width="85%">ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ที่หลังจากแรกตรัสรู้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมที่จะไม่แสดงธรรมแก่เหล่าสรรพสัตว์ เพราะมีพุทธดําริในแรกเริ่มว่าจะไม่เผยแผ่ธรรมที่ท่านตรัสรู้ ก็เนื่องจากความลึกซึ้งของ "ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน" ว่าเป็นที่รู้เข้าใจได้ยากแก่สรรพสัตว์ (พระไตรปิฎก เล่ม๑๒/ข้อ๓๒๑) เหตุที่กล่าวแสดงดังนี้ เพื่อให้ท่านได้พิจารณาธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคายจริงๆ ไม่เกิดความประมาทว่าเป็นของง่ายๆ ดังปรากฎแก่พระอานนท์มหาเถระมาแล้ว [​IMG] จึงจักเกิดประโยชน์สูงสุดขึ้นได้ และควรกระทําการพิจารณา(ธรรมวิจยะ)โดยละเอียดและแยบคายด้วยความเพียรพยายามอย่างยิ่ง เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แล้วว่า"ยากและลึกซึ้ง" แต่เรามีแนวทางปฏิบัติของท่านแล้ว จึงเป็นสิ่งอันพึงปฏิบัติได้ แต่กระนั้นเราผู้เป็นปุถุชนจึงมิควรประมาทว่าเข้าใจแล้วโดยการอ่าน, การฟังแต่เพียงอย่างเดียวโดยเด็ดขาดเพราะเกินกำลังอำนาจของปุถุชน จักต้องทําการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายจริงๆ(โยนิโสมนสิการ)จึงจักบังเกิดผลอย่างแท้จริงปฏิจจสมุปบาท ดำเนินเป็นไปตามหลักธรรมอิทัปปัจจยตา ที่มีพระพุทธพจน์ ตรัสสอนไว้ว่า
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top>เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี</TD><TD vAlign=top>เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น</TD></TR><TR><TD vAlign=top>เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี</TD><TD vAlign=top>เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ</TD></TR></TBODY></TABLE>อันแลดูเป็นธรรมดา แต่กลับแสดงถึงสภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ตามความเป็นจริงถึงขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์) ถึงปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์กันจึงเป็นผลให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งขึ้น อันเป็นหัวใจสําคัญในพุทธศาสนาที่ยึดในหลักธรรมที่ว่า" สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย" หรือ " ธรรม(สิ่งหรือผล)ใด ล้วนเกิดแต่เหตุ" อันเป็นเฉกเช่นเดียวกับหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนั่นเอง แตกต่างกันแต่ว่าหลักวิทยาศาสตร์นั้นส่วนใหญ่ครอบคลุมแต่เพียงด้านวัตถุธรรมหรือรูปธรรมเพียงด้านเดียว แต่ธรรมของพระพุทธองค์นั้นครอบคลุมถึงขั้นปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด จึงครอบคลุมโดยบริบูรณ์ ทั้งฝ่ายรูปธรรม(วัตถุ)และนามธรรม(จิต,นาม), ปฏิจจสมุปบาทก็เนื่องมาจากหลักธรรมอิทัปปัจจยตาหรือกฎธรรมชาตินี้ แต่เป็นหลักธรรมที่เน้นเฉพาะเจาะจงถึงเหตุปัจจัยให้เกิดผล อันคือความทุกข์(ฝ่ายสมุทยวาร) และการดับไปแห่งทุกข์(ฝ่ายนิโรธวาร) โดยตรงๆ แต่เพียงเรื่องเดียว
    ช่างยนต์ ต้องรู้เรื่องเครื่องยนต์อย่างดี จึงจักซ่อมบํารุงได้ดี ฉันใด
    ผู้ที่ต้องการดับทุกข์ จึงต้องกำหนดรู้เรื่องทุกข์ และการดับทุกข์อย่างดี จึงจักดับทุกข์ได้ดี ฉันนั้น
    พระองค์ท่านได้ตรัสไว้ว่า ท่านสอนแต่เรื่องทุกข์และการดับทุกข์ ที่สอนให้รู้เรื่องทุกข์ต่างๆ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์ ไปใช้ในการดับทุกข์ อันเป็นสุขอย่างยิ่ง
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมในรูปกฎแห่งธรรมชาติขั้นสูงสุด คือเป็นสภาวธรรมจริงแท้แน่นอนอย่างที่สุดหรือมันต้องเป็นเช่นนั้นเองจึงอกาลิโกยิ่งนัก อันกล่าวถึง กระบวนจิตของการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปของทุกข์ ที่แสดงถึง การอาศัยกันของเหตุต่างๆ มาเป็นปัจจัยกัน แล้วก่อให้เกิดเป็นความทุกข์ขึ้น, หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า
    ธรรมที่แสดงถึงเหตุปัจจัยชนิดต่างๆ ที่ทําให้เกิดเหตุปัจจัยต่อเนื่องสืบต่อกัน อันเป็นผลให้เกิดทุกข์ในที่สุด, หรือกล่าวอย่างละเอียดได้ว่า
    ธรรมที่แสดงถึงการที่ทุกข์เกิดขึ้นได้นั้น เพราะอาศัยเหตุปัจจัยอันเกิดต่อสืบเนื่องกันมาเป็นลําดับ...ซึ่งมีองค์ประกอบ ๑๒ ส่วนหรือองค์ธรรม เกี่ยวเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันและกัน หมุนเวียนไปเป็นวงจรเกี่ยวเนื่องกันไปเป็นลําดับแต่หาต้นหาปลายไม่ได้เพราะเป็นภวจักรหรือวงจร ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยอันหนึ่งเป็นปัจจัยของอีกอันหนึ่ง และปัจจัยอีกอันหนึ่งนี้ก็เป็นปัจจัยของอีกอันอื่นๆสืบต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด......จึงก่อเกิดเป็นสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในภพ....ในชาติ, และมีการเกิดภพ เกิดชาติ ตั้งแต่ในปัจจุบันชาตินี้เอง กล่าวคือเกิด ภพ ชาติ ตั้งแต่ ณ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้นั่นเอง! และสามารถเกิด ภพ เกิด ชาติ อันเป็นทุกข์ได้ในทุกขณะจิต!
    เพราะความลึกซึ้งและแยบคายของปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปรมัตถธรรมคือเป็นธรรมหรือสิ่งที่เป็นจริงขั้นสูงสุด จึงมีความหมายครอบคลุมไปถึงเรื่องข้ามภพ ข้ามชาติ หรือการเกิดภพชาติ ตลอดจนแม้กระทั่งกําเนิดของโลก อันเป็นโลกิยะ อันยังประโยชน์ต่อขันธ์หรือชีวิตของปุถุชน, แต่พระพุทธประสงค์โดยลึกซึ้งสูงสุดแล้ว เป็นการแสดงแบบโลกุตระ (ดังกล่าวแสดงโลกิยะและโลกุตระไว้ในมหาจัตตารีสกสูตร) ที่แสดงการเกิดขึ้นของภพ ชาติ แล้วดับภพ ดับชาติ เหล่านั้น เสีย ตั้งแต่ในปัจจุบันชาตินี้ ก่อนตายหรือแตกดับ หรือดับความทุกข์ที่เกิดจากภพจากชาติเหล่านี้ ที่เกิดดับ..เกิดดับ อยู่เป็นระยะๆทุกขณะจิตโดยไม่รู้และไม่เข้าใจด้วยอวิชชา เป็นการ เกิดดับ เกิดดับๆๆ..ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทุกขณะ ทั้งๆที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ เยี่ยงนี้จึงเป็นเรื่องที่ถูกพระพุทธประสงค์อย่างถูกต้องและแท้จริงเป็นสูงสุด เป็นโลกุตระและเมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง(สัมมาญาณ) ย่อมทําให้ดําเนินไปในธรรมได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว (อ่านรายละเอียดได้ใน การตีความปฏิจจสมุปบาท)
    ดังพุทธพจน์ ที่ตรัสไว้ว่า
    เราตถาคต จึงบัญญัติความเพิกถอน ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบัน (จูฬมาลุงโยวาทสูตร)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    โลกุตตรปัญญา


    โลกุตตรปัญญา คือปัญญาที่ทำให้หลุดพ้นไปจากโลก การหลุดพ้นไปจากโลกในทางพระพุทธศาสนา มีอยู่ 2 ทาง คือ


    ก. หลุดพ้นโดยการเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ หรือการตัดสังโยชน์ เครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก ให้ขาดเป็นสมุจเฉท คือขาดไปโดยเด็ดขาด


    </PRE>




    </PRE>




    </PRE>

    สังโยชน์นี้มี 10 ประการ ได้แก่

    1) อริยบุคคลชั้นโสดาบัน ตัดสังโยชน์ได้ 3 คือสักกายทิฏฐิ การยึดมั่นในขันธ์ 5 วิจิกิจฉา การลังเลสงสัยในพระพุทธศาสนา สีลัพพตปรามาส เลื่อมใสในศีลวัตรของศาสนาอื่น
    2) อริยบุคคลชั้นสกิทาคามี ตัดสังโยชน์ได้ 3 เหมือนอริยบุคคลชั้นโสดาบัน กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
    3) อริยะบุคคลชั้นอนาคามี ตัดสังโยชน์ได้อีก 2 ประการ คือ กามราคะ และ พยาบาท ( ปฏิฆะ )
    4) อริยบุคคลชั้นอรหันต์ ตัดสังโยชน์ได้อีก 5 ประการ คือรูปราคะ ความพอใจในรูปภพ คืออยากเป็นพรหมชั้นนี้ อรูปราคะ ความพอใจในอรูปภพ มานะ ความถือตน อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน อวิชชา เครื่องกั้นปัญญา


    [​IMG]




    ข. หลุดพ้นโดยทางปฏิจจสมุปบาทธรรม

    ธรรมข้อนี้มี 12 ประการคือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ กองทุกข์ (ชรามรณะ) แม้สังโยชน์และปฏิจจสมุปบาทธรรม จะมีวิถีทางเพื่อความหลุดพ้นต่างกัน ธรรมทั้งสองก็ไม่ล่วงเกินกัน นักศึกษาย่อมทราบดีอยู่แล้วว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมย่อมมีสภาพของไตรลักษณ์อยู่ในตัว ทั้งสังโยชน์และปฏิจจสมุปบาท เมื่อย่อลงแล้วจะได้แก่ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และ อวิชชาสวะ สรุปแล้วไม่ว่าจะหลุดพ้นทางใด ย่อมมี อาสวักขยญาณ ด้วยกันทั้งสิ้น


    </PRE>




    </PRE>

    อริยบุคคลชั้นโสดาบัน มี 3 ประเภท1. เอกพีชีโสดาบัน เกิดในภพมนุษย์อีกครั้งเดียวก็นิพพาน2. โกลังโกละโสดาบัน เกิดอย่างช้าอีก 2 หรือ 3 ครั้ง3. สัตตักขัตตุงปรมะโสดาบัน กลับมาสู่สุคติภูมิ คือ สวรรค์ และ มนุษย์โลกอีกไม่เกิน 7 ชาติ บุคคลทั้งสามจำพวกนี้ แม้จะกลับมาเกิดในมนุษย์อีก ก็จะมีความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์ เพียบพร้อมไปด้วยลาภยศสรรเสริญสุข มี จิตใจใฝ่ในทางธรรม แต่จะไม่มีโอกาสได้ไปปฏิสนธิในอบายภูมิอีกเลย อบายภูมิ 4 ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน



    อริยบุคคลชั้นสกิทาคามี จะปฏิสนธิอีกอย่างมากเพียงครั้งเดียว
    ส่วน พระอนาคามี นั้น มี 5 ประเภท 1.อันตราปรินิพพายี ยังอริยมรรคให้เกิดได้ง่าย แล้วปรินิพพานในเวลาติดต่อกับ ที่เกิดบ้าง ไม่ถึงกึ่งอายุบ้าง 2. อุปหัจจปรินิพพายี ปรินิพพานเมื่อท่ามกลางอายุบ้าง เมื่ออายุจวนจะสุดแล้วบ้าง 3. สสังขารปรินิพพายี ต้องใช้ความเพียร ในการเจริญอริยมรรคจึงจะปรินิพพาน 4. อสังขารปรินิพพายี ไม่ต้องใช้ความเพียร ในการเจริญอริยมรรคนัก 5. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี จะต้องเลื่อนขึ้นไปอยู่พรหมชั้นสูงสุดก่อนจึงจะปรินิพพาน
    พระอนาคามี เมื่อสิ้นบุญในโลกนี้ จะได้ไปเกิด เป็น พระพรหมชั้นสุทธาวาสซึ่งมี 5 ชั้น คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา แล้วก็ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นเอง
    พระอรหันต์ มีอยู่ 4 ประเภทคือ1. พระอรหันต์ ที่ถึงพร้อมด้วยจตุปฏิสัมภิทาญาณ คือ มี พระปรีชาแตกฉานในธรรม 1 ปรีชาแตกฉานในอรรถ 1 ปรีชาแตกฉานในภาษาบาลี และ ภาษาคนและสัตว์ 1 และมีปรีชาไหวพริบแตกฉานในการโต้ตอบปัญหา และ เทศนาไปตามจริตอัธยาศัยของผู้ฟัง 12. พระอรหันต์ ที่ถึงพร้อมด้วย อภิญญา 63. พระอรหันต์ ที่ถึงพร้อมด้วย วิชชา 34. พระอรหันต์ ที่หลุดพ้นไปเฉย ๆ ไม่มีอิทธิฤทธิ์อะไรเลย


    พระพุทธองค์ในวันจะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงระลึกได้ถึงวิธีเจริญกรรมฐาน ที่ได้ทรงเจริญ ที่ใต้ต้นหว้า เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ จึงได้ทรงกำหนด อานาปานสติ เป็นเบื้องต้น ทรงบรรลุ ปุพเพนิวาสานุสติญาณในปฐมยาม บรรลุจุตูปปาตญาณในมัชฌิมยาม ทรงทวนกระแสจิต มาใคร่ครวญถึงธรรมอันอาศัยซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นและดับไป พิจารณากลับไปกลับมา ในปฏิจจสมุปบาท ปัจจยาการ จนเกิดความสลดสังเวชเต็มที่ แล้วก็บรรลุถึงญาณๆหนึ่ง ประหารอาสวะสิ้นไป ทำให้พระองค์พ้นจากบ่วงมาร จากความทุกข์ และ ลุถึงความสุข ในอายตนนิพพาน ได้ทรงบัญญัติญาณนี้ว่า อาสวักขยญาณ


    </PRE>
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ..........10 ตุลาคม วันคล้ายวันเกิดหลวงปู่สด จันทสโร............................

    [​IMG]


    ผู้สำเร็จธรรม ในฝ่ายบุญภาคปราบล้วนทั้งลับและเปิดเผย


    ตั้งปรารถนาจิตว่า "ข้าพเจ้าจะเป็นทนายแก้ต่างให้ศาสนาพระโคดม"
    ได้รับโองการลงจุติยังโลกมนุษย์เพื่อดับทุกข์เข็ญในยุคก่อนกึ่งพุทธกาล

    งานที่ได้รับมอบหมายก็คือ
    1. ประกาศวิชชาธรรมกาย ซึ่งเป็นพระสัทธรรม ดั้งเดิมของพระบรมศาสดาทั้งส่วนของ
    พระอริยสาวก และส่วนของพระโพธิสัตว์
    2. แก้ไขภัยพิบัติต่าง ๆ ของโลก และของสัตว์โลก
    3. รักษาสืบทอดอายุพระศาสนา ปลดเปลื้องสัตว์โลก ให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม บ่วงมาร
    และวัฏสงสาร

    **********************************************************

    ในส่วนมรรคผลนิพพาน แห่ง อริยะสาวก ในตัววิชชาธรรมกายก็มีอยู่

    คือ สติปัฏฐาน4 ,อริยสัจจสี่,นิวรณ์5,อายตนะ 12,ปฏิจจสมุปปบาท 12
    ธาตุ 18 ฯลฯ
    พึงเจริญตามกำลังแห่งอิทธิบาท4 ของแต่ละท่านเถิด
    เป็นวิชชา 3 ,ไปจนถึงอภิญญา 6

    ----------------------

    ในส่วนการบำเพ็ญโพธิสัตว์บารมีก็มีอยู่ เป็นวิชชาเพื่อสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า บารมีแก่ๆแบบต้นนิพพานนั้นมีอยู่

    -----------------------------------

    เลือกตามอัธยาศัยเทอญ สาธุชน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2010
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->

    ที่จะเข้าถึงต้องทำให้
    รู้ตรึก
    รู้นึก
    รู้คิด

    นั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน

    แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด ตรองดูเถิด ท่านทั้งหลาย นี้เป็นจริง หัวต่อมีเป็นอยู่อย่างนี้
    ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้ก็ไม่มี ไม่เป็นเด็ดขาด”<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2010
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ......หลวงปู่สด ท่านสอนไว้ว่า..........

    กามาวจรกุศลจิต


    กามาวจรกุศลจิตมีทั้งหมด 8 ดวง เราท่านทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์ ทั้งบรรพชิตที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาควรจักต้องรู้จักจิตนี้ไว้ ถ้าไม่รู้จักจิตของการบุญการกุศลก็จะหลงไปประกอบตามอกุศลแต่ถ้ารู้จักเท่าทันจิต รู้จักท่วงทีบุญกุศลและบาปอกุศล จิตก็ไม่อาจบังคับให้ตกอยู่ในอำนาจของจิตได้ ไม่ต้องตกอยู่ในอำนาจของจิตนั้น หลวงพ่อท่านจึงสอนให้เข้าใจเรื่องของจิตเป็นลำดับดังนี้


    การเกิดของมหากุศลจิตดวงที่หนึ่ง
    เป็นจิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดี มีความยินดีเป็นอย่างมาก ประกอบด้วยปัญญาและเกิดโดยลำพัง ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี หญิงชายในพุทธศาสนาก็ดี นอกพุทธศาสนาก็ดี ที่ยินดีในการบริจาคทาน เห็นว่าการให้ทานนี้เป็นคุณอย่างสำคัญ หมดทั้งสากลโลกนี้ ถ้าฝ่ายบิดามารดาไม่ให้กับบุตรธิดา บุตรธิดาก็ตายเปล่า ถ้าให้แก่บุตรและธิดา บุตรธิดาก็เป็นอยู่ ถ้าทั้งอุบาสกอุบาสิกาไม่ยินดีในการให้อาหาร และรางวัลแก่ภิกษุสามเณร พระภิกษุและสามเณรก็อยู่รักษาพุทธศาสนาไว้ไม่ได้พุทธศาสนาก็ล้มละลายไปเพราะอาศัยการไม่ให้เหล่านี้ บ้านเรือนหนึ่งครัวเรือนใด ถ้าให้ซึ่งกันและกันอย่างเป็นกอบเป็นกำ บ้านนั้นก็เจริญรุ่งเรือง บ้านไหนถ้าแร้นแค้นนัก บ้านนั้นก็ขัดสนอับจนขาดการให้ ทั้งนี้ย่อมอาศัยพ่อบ้านแม่บ้านเป็นสำคัญ หรือถ้าพ่อบ้านแม่บ้านไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ให้ซึ่งกันและกัน ก็จะปรกครองกันไม่ได้ เหตุนั้นการให้จึงเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งซึ่งกันและกันไว้


    เมื่อจิตเกิดขึ้นเช่นนี้แล้วก็ตั้งใจให้แน่วแน่ว่า การให้ทานนี่แหละเป็นบ่อเกิดของความเจริญ แล้วยินดีในการให้ทาน ยินดีมาก ๆ ไม่ใช่ยินดีน้อย ยินดีจนกระทั่งสละพัสดุ วัตถุทานของตนได้ นี่เรียกว่าทานบารมี ถ้ายินดีจนกระทั่งสละเลือดเนื้อในกายของตนได้ นี่เรียกว่าทานอุปบารมี

    ถ้ายินดีจนกระทั่งสละชีวิตของตนได้นี้เรียกว่าทานปรมัตถบารมี

    การบำเพ็ญทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมีนี้ ต้องอาศัยจิตที่เป็นมหากุศล ถ้าไม่ได้จิตดวงนี้แล้วบำเพ็ญทานไม่ได้ ฉะนั้นจิตที่บำเพ็ญทานนี่และได้ชื่อว่า จิตที่บังเกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยปัญญา และเกิดโดยลำพัง ไม่มีใครชักจูงเลย ไม่มีการชักชวนแต่อย่างใด เราคิดขึ้นเองเช่นนี้แล้วก็ได้บริจาคทานเป็นทานบารมีบ้าง ทานอุปบารมีบ้าง ทานปรมัตถบารมีบ้าง จึงต้องรู้จักมั่นหมายในจิตดวงนี้ไว้จะได้เป็นประโยชน์แก่ตน


    </PRE>



    การเกิดของมหากุศลจิตดวงที่ 2

    จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีเป็นอย่างมาก ประกอบด้วยปัญญาและต้อง อาศัย การกระตุ้นเตือนชักจูง กุศลจิตดวงนี้ประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบ ด้วยปัญญา แต่ต้อง อาศัยการกระตุ้นเตือนหรือชักจูง เช่น ได้ยินรื่องพระโพธิสัตว์ เจ้า สร้างบารมี มีการบำเพ็ญทานบารมี บำเพ็ญทานอุปบารมี บำเพ็ญทาน ปรมัตถบารมี ครั้นได้ยินได้ฟังมากเข้าก็เกิดตะขิดตะขวงใจว่า เราเกิดเป็นมนุษย์ มาประสพ ควรจะเอาอะไรมาเป็นหลักเป็นแก่นสารแน่นหนาไว้ในใจบ้าง เริ่มต้นก็ต้องยึดเอาทานบารมีก่อน เพราะทานบารมีนี่แหละจะเป็นสบียงเลี้ยงเรา ในขณะที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่ทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เกิดชาติใดภพใด จะได้เลิกเป็นคนจน เป็นคนมั่งมี ขั้นสูงต้องเกิดเป็นกษัตริย์ ต่ำลงมาต้องเป็นเศรษฐี ต่ำลงมาต้องเป็นธนบดี เลิกเป็นคนขัดสนยากจนอีก ต่อไป เพราะทานการให้นี่เอง ได้ฟังมาว่าพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญ บารมีต่าง ๆ มาในเอนกชาติทุก ๆ ชาติไม่ละทานการให้เลย เมื่อได้สดับตรับฟัง ดังนี้มามาก ความรู้อันนี้เมื่อนึกขึ้นมาก็กระตุ้นเตือนใจ ให้ตนเร่งสร้างทานบารมี โดยด่วน อย่างนี้เรียกว่าประกอบด้วยปัญญา แต่ต้องอาศัยการกระตุ้นเตือนใจ ให้ตนเร่งสร้างทาน บารมีโดยด่วน อย่างนี้เรียกว่าประกอบด้วยปัญญา แต่ต้องอาศัยการกระตุ้นเตือน อีกนัยหนึ่งต้องอาศัยการชักจูง เช่น เห็นเขากำลังสร้างโบสถ์วิหาร การ เปรียญอยู่ ก็เกิดความเลื่อมใส เข้าไปบริจาคทานกับเขาบ้าง นี้เรียกว่าทานบารมี ถ้าบริจาคชนิดถึงตัวเองขัดสน หมดเนื้อหมดตัวเท่าใดไม่ว่าช่างมัน นี้เรียกว่า ทานอุปบารมี ถ้าบริจาคจนกระทั่งสละชีวิต ตายก็ตายไปปล่อยชีวิตบริจาคทาน นี้เรียกว่าทานปรมัตถบารมี ที่บริจาคทานได้เช่นนี้ก็เพราะว่าอาศัยการชักจูงคือ เขาทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง หรือเขาทอดกฐิน ทอดผ้าป่าแห่ประโคมกันมา ก็ร่วมทำบุญกับเขาไป ก็ถือเป็นการชักจูงทั้งสิ้น


    การเกิดมหากุศลจิตดวงที่ 3 จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก และปราศจากปัญญา แต่เกิดตามลำพัง การเกิดมหากุศลจิตดวงที่สาม จิตดวงนี้เกิดขึ้นประกอบด้วย ความยินดีมาก แต่ปราศจากปัญญา และเกิดตามลำพัง บางคนจะให้ทาน หรือจะ รักษาศีล ก็ปราศจากปัญญา ไม่ได้พินิจพิจารณาอะไร ว่าได้บาปได้บุญเพียงใด แค่ไหน ไม่รู้ว่ามีคุณหรือโทษเพียงใดแค่ไหน ไม่รู้จักบาปบุญอะไร ตั้งใจบริจาคทานก็บริจาคลงไปเท่านั้น เท่าไหร่ก็เท่ากัน บริจาคอย่างแข็งขัน ไม่ครั่นคร้าม ให้ทานข้าวของเงินทองไม่รู้จักเสียดาย ให้เนื้อให้เลือดก็ให้ได้ ให้ชีวิตก็ให้ได้ แต่ไม่รู้จักบุญจักบาป เช่นนี้เรียกว่าปราศจากปัญญาแต่ก็ให้ทาน ได้สมปรารถนาเหมือนกัน และเกิดขึ้นโดยลำพังไม่ต้องมีใครชักจูง ตนกล้าหาญ ด้วยใจตนเอง เมื่อบริจาคทานปราศจากปัญญาเช่นนี้ก็ได้ผล เหมือนกัน แต่น้อยกว่าชนิดที่ประกอบด้วยปัญญาและไม่มีใครชักจูง

    การเกิดของมหากุศลจิตดวงที่ 4 จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีมาก แต่ปราศจากปัญญา และเกิดขึ้น ต้องอาศัยการกระตุ้นเตือนและชักจูง จิตดวงนี้เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีมาก ปราศจากปัญญา ต้องอาศัยการ กระตุ้นเตือนหรือชักจูง โดยมากแล้ว ชายก็ดี หญิงก็ดี ที่จะรู้จักบุญจักบาปลึกซึ้ง นั้นมีน้อยมาก ต่างต้องอาศัยธรรมเทศนาแสดงไปชักจูงไปกระตุ้นเตือนไป เมื่อได้ยินถ้อยคำของผู่เฒ่าเหล่าเมธานักปราชญ์ราชบัณฑิต สะกิดเตือน ก็กล้าหาญชาญชัยในการบริจาคทาน รักษาศีล ได้บริจาคทานจนกระทั่งเป็น ทานบารมี เป็นอุปบารมี เป็นปรมัตถบารมี นี้เป็นจิตดวงที่สี่

    การเกิดของมหากุศลจิตดวงที่ 5 ดวงจิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยปัญญา และเกิดตามลำพัง จิตดวงที่ 5 นี้เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ และเกิดขึ้นตาม ลำพังโดยไม่ต้องมีใครชักจูง จิตดวงนี้เมื่อเกิดขึ้นมีความยินดีไม่มาก จึงไม่กล้าหาญชาญชัยนักแต่ว่ามีปัญญา โดยพิจารณาแล้วว่า ทานการให้นี้

    การเกิดของมหากุศลจิตดวงที่ 6 จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยปัญญาแต่เกิดขึ้นโดยการกระตุ้นเตือนหรือชักจูง จิตดวงนี้เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยปัญญาแต่ต้อง อาศัยการกระตุ้นเตือนหรือชักจูง ตัวอย่างเช่น ในการบริจาคทานนั้น ประกอบด้วยปัญญา แบบเดียวกับจิตดวงที่ 5 คือพินิจพิจารณาทบทวน ซ้าย ขวา หน้า หลัง อดีต ปัจจุบัน อนาคตตลอดหมด แทงตลอดได้ด้วยปัญญาว่า พระเจ้าแผ่นดินสูงกว่าเรานี้ก็เพราะบริจาคทานไว้มากกว่า จึงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เห็นเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติพัสถานบริวารมาก ก็รู้ว่าท่านบริจาคทานของท่านไว้จึงได้บุญกุศลใหญ่ยิ่งถึงเพียงนี้ เห็นธนบดีก็รู้ว่าท่านบำเพ็ญทานของท่านไว้ในชาติภพก่อน จึงได้เป็นธนบดี ที่เราต้องเป็นคนอนาถาหาเช้ากินค่ำเช่นนี้เพราะเราไม่เคยได้บริจาคทานไว้ เมื่อนึกได้เช่นนี้เรียกว่าประกอบด้วยปัญญาแล้ว พอถูกกระตุ้นเตือนขึ้น โดยอาจจะเกิดความได้ยินได้ฟังมามากในกาลเก่า หรือได้ฟังในปัจจุบันเฉพาะหน้าก็ดี หรือรู้จากตำรับตำราก็ตาม วันหนึ่งก็ได้รับบริจาคทานเป็นทานบารมี ทานอุปบารมี หรือทานปรมัตถบารมี สมความปรารถนา นี้เป็นจิตดวงที่หก

    การเกิดของมหากุศลจิตดวงที่ 7 จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีพอประมาณ แต่ปราศจากปัญญา และ เกิดตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นโดยความยินดีพอประมาณ ไม่กล้าหาญชาญชัย ปราศจาก ปัญญา แต่ก็เกิดขึ้นเองตามลำพัง ที่ว่าปราศจากปัญญา คือไม่รู้จักบุญจักบาป ประโยชน์-มิใช้ประโยชน์ แม้จะขาดปัญญา แต่ก็มีศรัทธาเลื่อมใส ในการบริจาค ทาน ของนอกกายให้ได้เป็นทานบารมี เลือดเนื้อให้ได้เป็นทานอุปบารมี ชีวิตจิตใจให้ได้เป็นทานปรมัตถบารมี การให้ทานของท่านผู้ปราศจากปัญญา เช่นนี้ เท่าไรเท่ากันไม่รู้จักเสียดาย แต่ว่าไม่รู้จักต้นสายปลายเหตุอย่างไรเลย เกิดขึ้นตามลำพังของตนเอง กล้าหาญชาญชัยพอประมาณ ดังนี้จึงชื่อว่า เป็นจิตดวงที่ เจ็ด


    การเกิดของมหากุศลจิตดวงที่ 8 จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีพอประมาณแต่ปราศจากปัญญาและต้องอาศัยการกระตุ้นเตือนหรือชักจูง จิตดวงนี้เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ปราศจากปัญญาและต้องอาศัยการชักจูงหรือกระตุ้นเตือน บางคนถ้ามีใครกระตุ้นเตือนหรือชักจูง ก็ไม่รู้จักผลทานว่ามันจะให้ผลเป็นอย่างไร อดีต อนาคต ปัจจุบันเป็นอย่างไรก็ไม่เข้าเนื้อเข้าใจเพราะปราศจากปัญญา แต่ว่าเขากระตุ้นเตือนชักจูงให้บำเพ็ญทาน รักษาศีล ก็ทำตาม คงได้ความว่าทำตามเพราะยินดีปรีดาเห็นด้วย แต่ว่าถ้าตามลำพังก็ไม่เอา ไม่ทำ นี้เป็นจิตดวงที่แปด จิตทั้งแปดดวงที่กล่าวมานี้เป็นกามาวจรกุศล เป็นมหากุศลอย่างแรงกล้า เป็นลำดับ ๆ ขึ้นไป ที่เรียกว่ากามาวจรกุศล ก็เพราะเป็นกุศลอยู่ในชั้นกาม จะล่วงพ้นชั้นกามไปไม่ได้ เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ก็ได้รับความสุขอยู่ในชั้นกาม




    ชั้นกามมีอยู่ 11 ชั้นด้วยกัน คือ

    อบายภูมิ 4 : 1. นรก 2. เปรต 3. อสูรกาย 4.
    เดรัจฉานมนุษย์ 1:

    5. มนุษย์
    สวรรค์6 จาตุมหาราช 7. ดาวดึงส์ 8. ยามา 9. ดุสิต 10. นิมมานรดี 11. ปรนิมมิตวสวตี

    หมู่สัตว์ทั้ง 11 ชั้น ถือว่าเป็นกามาวจรเพราะเหตุว่าพวกเหล่านี้ยังยินดี ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทั้งนั้น ไม่สามารถจะพ้นการยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสไปได้ จิตของตัวติดแจอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ชนิดแกะไม่หลุด จะให้ทานก็เพื่อต้องการในรูป เสียง กลิ่น สัมผัส ไม่พอใจของตัวในชาตินี้ จะคืบหน้าให้มากในชาติต่อไป ไม่พอใจกามของตัวในมนุษย์โลกนี้ จะไปบริโภคกามในสวรรค์ชั้นนั้นต่อๆไปอีก คิดจะบริโภคกาม ติดอยู่ที่กามนั่นแหละ จะหลุดจากกามไปไม่ได้ จึงได้ชื่อว่าชั้นกาม กามแปลว่าใคร่ ความปรารถนาในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส กามทั้ง 5 อย่างนี้ พระองค์ทรงรับสั่งว่า เบญฺจ กิรตา ปชา หมู่สัตว์เนิ่นช้าอยู่ในเบญจกามทั้ง 5 เพราะจิตไปติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส จนแก้ไม่ออก ผู้ชายจึงติดผู้หญิง ผู้หญิงก็ติดผู้ชาย พ่อแม่จึงติดลูก ลูกจึงติดพ่อแม่ ชั้นจาตุมหาราชอยู่สูงขึ้นไปจากพื้นมนุษย์ 42,000 โยชน์ มนุษย์ที่จะไปอยู่ในชั้นนี้ได้ต่างสำเร็จด้วยจิตทั้งแปดดวงดังที่กล่าวมาแล้ว จึงไปเสวยสมบัติอยู่ในจาตุมหาราชเป็นเทวดามีสมบัติเป็นทิพย์วิมานสุขเกษมสำราญ ไม่มีการงานอันหนึ่งอันใด บริโภคแต่กาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเท่านั้น ในชั้นจาตุมหาราชยังมีอิจฉาริษยากันอยู่ เพราะฤทธิ์ของกามบังคับให้เป็นไป ไม่เป็นไปก็ไม่ได้เพราะจิตมันติดแจอยู่กับกาม ตัวไปติดแจอยู่ตรงไหน คนอื่นมันก็ติดแจซ้อนตรงนั้นบ้าง มันก็โกรธกันขึงกัน มันก็ตบก็ตีก็ต่อยกัน ฆ่าฟันกัน แย่งกามกัน ต้องห้ามกัน ถ้าว่ากันชัด ๆ ก็หวงก้างกันนั่นเอง หวงก้างกันเขาเทียบด้วยสุนัขคือ หวงไม่ควรจะหวง ห้ามไม่ควรจะห้าม เลอะเทอะเหลวไหล จิตใจติดอยู่ในกาม เมื่อรู้จักหลักดังนี้แล้ว ต้องทำใจให้ผ่องแผ่ว ตั้งใจหลีกออกจากกามให้ได้ แต่เทวดานั้นไม่เหมือนมนุษย์คือ ตี ต่อย ฆ่า ฟันกันเต็มที่เหมือนมนุษย์ไม่ได้ เพราะเทวดานั้นถ้าปล่อยใจให้โกรธเต็มที่เมื่อไร แม้ไม่ถึงตี ต่อย ฆ่า ฟันก็ต้องจุติอยู่ไม่ได้แล้ว หรือมัวบริโภคกามคุณ เพลิดเพลินในกามคุณ จนเคลื่อนเลยเวลาบริโภคอาหารทิพย์ ร่างกายก็เหี่ยวแห้งที่เดียว รัศมีสีสรรวรรณะก็ซีดเซียว


    รูปาวจรจิต ที่เรียกว่าจิตนั้น ได้แก่ธรรมชาตินึกคิดอยู่ในสากลร่างกายเรา จิตนี้เองที่ทำให้เราสามารถคิดนึกได้ รูปพรรณสัณฐkนของมันคือเป็นดวง ๆ ขนาดดวงตาดำข้างนอกของตนเอง ใสเหมือนน้ำสะอาด ผู้ที่ปฏิบัติธรรม จนสามารถควบคุมให้จิตหยุดนิ่งได้ถูกส่วน ไม่ฟุ้งซ่านแล้ว จะพบด้วยตนเองว่า ดวงจิตเป็นเพียงหนึ่งในสี่ของดวงใจ ดวงใจเป็นดวงกลมใหญ่ ประกอบด้วย ดวงเห็นอย่างหนึ่ง ดวงจำอย่างหนึ่ง ดวงคิดอย่างหนึ่ง ดวงรู้อย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า....... ดวงเห็น คือ ดวงธาตุที่ทำให้เราสามารเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ ดวงจำ คือ ดวงธาตุที่ทำให้เกิดความทรงจำ ดวงคิด คือ ดวงธาตุที่ทำให้เกิดความคิด ดวงรู้ คือ ดวงธาตุที่ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ดวงธาตุทั้ง 4 อย่างนี้เมื่อมารวมเป็นจุดเดียวกันจึงเรียกว่า ใจ นี้เป็นหลักที่ค้นพบ จากการปฏิบัติ ไม่มีอยู่ในตำรา ถ้าจะว่ากันตามตำรา เรื่องราวยืดยาวมากมาย ในวันนี้จะกล่าวถึง จิต ซึ่งเป็นรูปฌาน 15 ดวง รูปฌานและอรูปฌานทั้งสองประการนี้ เป็นธรรมสำคัญในพุทธศาสนา เพราะรูปฌานและอรูปฌานนี้ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะทำให้เกิดฤทธิ์ เป็นที่ตั้งของฤทธิ์ พระพุทธเจ้าและ พระอรหันต์ต้องใช้ทั้งนั้น ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน ที่จะต้องทำรูปฌานและอรูปฌานให้เป็นขึ้น แต่การที่จะทำรูปฌานและอรูปฌาน ให้เกิดขึ้นไม่ใช่ของง่าย ก่อนอื่นจะต้องทำใจให้หยุดนิ่ง รูปฌานจึงจะเกิดได้ ถ้าทำใจให้หยุดนิ่งไว้ข้างนอกกาย ก็จะเกิดรูปฌานชนิดนอกพุทธศาสนา เป็นรูปฌานของฤาษีชีไพร คือพวกอาฬรดาบส อุทกดาบส เป็นต้น ถ้าใจหยุดนิ่งไว้ภายในท่ามกลางกายก็จะเกิดรูปฌานในพุทธศาสนา


    รูปฌานภายนอก รูปฌานภายนอกกายนั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะเห็นรูปพรรณสัณฐานเป็น แผ่นกลมใหญ่ ขนาดปรกติ ไม่ได้ขยายส่วนวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 2 วา หนา 1 คืบ ใสเป็นกระจกหรือใสกว่า การทำรูปฌานภายนอกให้เกิดขึ้นจะต้องอาศัย วัตถุเป็นที่ตั้ง เช่น นำเอาดิน น้ำ ลม ไฟ เหล่านี้มาเพ่งให้เกิดขึ้นภายนอก เช่น เพ่งให้เห็นเป็นวงกลมดินก่อน แล้วก็เพ่งดินนั้นให้แปรไปเป็นสีสรรวรรณะต่างๆ จนในที่สุดกลายเป็นแผ่นกลมใส แล้วขยายให้โตออกไปจนกระทั่ง วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 2 วา หนา 1 คืบอยู่ภายนอกร่างกาย



    รูปฌานภายใน เมื่อทำใจให้หยุดนิ่งถูกส่วนอยู่ตรงศูนย์กลางกายมนุษย์ ของเรานี้ ก็เกิดเป็นดวงกลมใสขึ้นตรงศูนย์กลางกายนั้น ดวงนี้คือดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ ซึ่งแต่ละคนก็มีดวงธรรมที่มีขนาดแตกต่างกันไป จากนั้นดวงธรรม ก็ขยาย ใหญ่ออกไปตามลำดับ จากดวงกลมกลายเป็นแผ่นกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 วา หนา 1 คืบ แล้วเกิดเป็นกายรูปพรหมขึ้นในกลางกายกายรูปพรหมนั้นก็นั่งอยู่ในท่ามกลางแผ่นฌานนั้น (ก่อนถึงกายรูปพรหม จะถึงกายมนุษย์ละเอียดและกายทิพย์ก่อน แต่ว่ากายเหล่านี้เข้าฌานไม่ได้ เพราะยังหลงเมามัวติดอยู่ในรสของกาม) เมื่อรูปฌานเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นแหละเป็นรูปาวจร จิตดวงที่หนึ่งเรียกว่ารูปาวจรกุศล แล้วกายรูปพรหมก็นั่งอยู่ในท่ามกลางฌานนั้น เสวยสุขอยู่ในฌานนั้น เสวยสุขอยู่ในฌาน นิ่งอยู่ในปฐมฌานนั้นไม่ยอมไปไหน






    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2010
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ......หลวงปู่สด ท่านสอนไว้เรื่อง..........

    ...................." ปล่อยขันธ์5"................



    ขยายความในการที่ปล่อยขันธ์ ๕ เป็นลำดับไป ขันธ์ทั้ง ๕
    คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราแบ่งเป็นภาระหนัก
    อยู่ในบัดนี้ แล้วอวดดีด้วยนะ ภาระของตัวหนักพออยู่แล้ว ยัง
    อวดดีไปแบกภาระของคนอื่นเข้าอีกด้วย เอากันล่ะตรงนี้อวดดี
    แบกภาระของคนอื่นเขา เข้าด้วย ไม่ใช่แบกน้อยด้วย บางคน
    แบกหลายขันธ์ แอบไปแบกเข้า ๕ ขันธ์อีกแล้ว หญิงก็ดี ชายก็
    ดี แอบไปแบก เข้าอีก ๕ ขันธ์ แล้วรวมของตัวเข้าเป็น ๑๐ ขันธ์
    แล้ว หนักเข้าก็หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์เป็น ๑๕ ขันธ์ แล้วแบก
    เอาไป แบกเข้าไปเหอะ เอ้า หนัก ๆ เข้า หลุดออกมาอีก ๕
    ขันธ์แล้ว เป็น ๒๐ ขันธ์ แล้วนาน ๆ หลาย ๆ ปีเข้า หลุดออกมา
    อีก ๕ ขันธ์ แล้วเป็น ๒๕ ขันธ์ นาน ๆ หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์
    แล้ว เอ้า เป็น ๓๐ ขันธ์ ดั่งนี้แหละ บางคนแบกถึง ๔๐ ๕๐ ๖๐
    ๗๐ ๘๐ ๙๐ บางคนถึง ๑๐๐ ขันธ์

    สมภารแบกตั้ง พันขันธ์ เชียวนะ ไม่ใช่น้อย ๆ นั่นอวดดีล่ะ
    ถ้าอวดดีอย่างนี้ต้องหนักมาก เขาจึงได้ชื่อว่า สมภาร สัมภาระ
    แปลว่า หนักพร้อม หนักรอบตัว พ่อบ้าน แม่บ้าน พ่อครัว แม่
    ครัวก็เหมือนกัน หนักใหญ่อีกเหมือนกัน หนักรอบอีกเหมือนกัน
    เพราะแบกขันธ์กันทั้งนั้น ที่ทุกข์อยากลำบากกันหนักหนาที
    เดียว เพราะแบกขันธ์เหล่านี้แหละ ต้องปลูกบ้านเป็นย่อม ๆ เป็น
    หลัง เป็นพืดไป นั่นเพราะอะไร บริหารขันธ์ แบกขันธ์ทั้งนั้น
    แบกภาระที่หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เล็กน้อย ไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะ
    เหตุดังนั้น การแบกภาระของหนักนี่แหละ ถ้าปล่อยไม่ได้ วาง
    ไม่ได้ล่ะ ก็เป็นทุกข์หนักทีเดียวบุคคลผู้แบกของหนักไป บุคคล
    ผู้แบกขันธ์ ๕ ที่หนักไป ถ้าปล่อยวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ ก็เป็นทุกข์
    แท้ ๆ ถ้าปล่อยวางขันธ์ ๕ เสียได้ ก็เป็นสุขแท้ ๆ เหมือนกัน
    ตรงกันข้ามอย่างนี้

    แต่ว่าวิธีปล่อยขันธ์ ๕ นั้น ไม่ใช่ของเล็กน้อย ไม่ใช่เป็นของ
    ปล่อยง่ายถ้าปล่อยไม่ได้ก็เป็นทุกข์ ปล่อยได้ ก็เป็นสุข แต่
    ขันธ์ ๕ จริง ๆ เราก็ไม่รู้จักมันเสียแล้วนะ ปล่อยมันอย่างไร รูป
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แน่ะ เอาเถอะ แก่เฒ่าอยู่วัดอยู่
    วาไปตามกัน บวชแล้วก็ตาม ไม่บวชก็ตาม ถามจริง ๆ เถอะว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จริง ๆ น่ะคืออะไร เอา
    ล่ะ !!อึกอักกันทีเดียว ไม่เข้าใจตัวของตัวแท้ ๆ ไม่เข้าใจรูปน่ะ
    คือร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกันอยู่
    นี้ ถ้าว่าแยกออกไปก็เป็น ๒๘ : มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔
    เป็นรูป ๒๘ ประการดังนี้ นี่แหละมีรูปเท่านั้น เป็นเบญจขันธ์นี้
    รูป ๒๘ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นามขันธ์ ๔ โดยย่อ
    สังขาร ๓ วิญญาณ ๖ เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ
    สังขาร ความคิด ความรู้ วิญญาณ เป็นดวงสีต่าง ๆ กัน ส่วน
    เวทนาก็เป็นดวง ถ้าสุขเวทนาก็ใส ถ้าทุกขเวทนาก็ขุ่น ดังนี้เป็น
    ดวง ๆ ดังนี้ สัญญา ความจำ ก็เป็นดวงเหมือนกัน เป็นดวงต่าง
    กัน ดี ชั่ว หยาบ ละเอียด เลว ประณีต สังขาร ความคิดดีคิดชั่ว
    คิดไม่ดีไม่ชั่ว นี่ก็เป็นอีกดวงเหมือนกัน วิญญาณ ความรู้ ความ
    รู้ก็เป็นอีกดวงเหมือนกัน ต้องรู้จักพวกนี้ ให้เห็นพวกนี้เสียก่อน
    ให้เห็นขันธ์ทั้ง๕เสียก่อน ให้เป็นปฏิบัติที่แสดงแล้วนั่นเป็น
    ปริยัติ ถ้าปฏิบัติต้องเห็น เห็นขันธ์ทั้ง๕นั่น รูป เป็นดังนั้น โตเล็ก
    เท่านั้น สัณฐานอย่างนั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อ
    เห็นเบญจขันธ์ทั้ง๕แล้ว ก็ดูความจริงของมัน ขันธ์๕เหล่านี้นะ
    ถ้าแม้ว่าขืนไปยึดถือมันเข้าไว้ละก็เป็นทุกข์

    ท่านถึงได้วางตำรับตำราเอาไว้ว่า



    <CENTER>
    “ ปญจุปาทานกขนทา ทุกขา”
    ยึดถือมั่นในเบญจขันธ์ ๕ นั่นเป็นทุกข์
    </CENTER>
    ถ้าหากปล่อย เบญจขันธ์ ๕ เสียได้ก็เป็นสุข แต่ว่าปล่อยไม่ใช่
    ได้ง่าย ปล่อยไม่เป็นปล่อยได้อยาก ปล่อยไม่เป็นเหมือนอะไร
    เหมือนเด็ก ๆ กำไฟเข้าไว้ ยิ่งร้อนหนักเข้ายิ่งกำแน่นหนักเข้า
    ร้องใจหายใจคว่ำก็ร้องไป ปล่อยไม่เป็นคลายมือไม่เป็น ถ่าน
    ก้อนที่กำเข้าไว้นั้นเมื่อเด็กกำเอาเข้าไว้กำเสียดับเลยทีเดียว กำ
    เสียมิดทีเดียว มือก็ไม่เข้าไปรูหนึ่งแล้ว นั่นเพระอะไร เด็กมัน
    ปล่อยถ่านไฟไม่เป็น ปล่อยไม่เป็นหรือมันไม่ปล่อย ปล่อยไม่
    เป็นจริงๆ ถ้าปล่อยเป็นมันก็ปล่อยเหมือนกันเหมือนพวกเรานี้
    แหละ ยึดมั่นเอาเบญจขันธ์ ๕ เข้าไว้ ปล่อยไม่เป็นไม่รู้จะปล่อย
    ท่าไหน วางท่าไหนก็ไม่รู้ วางไม่ออก ปล่อยไม่ออก ปล่อยไม่
    เป็น วางไม่เป็น หรือปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ ไอ้ที่ปล่อยไม่ได้
    วางไม่ได้อีกพวกหนึ่ง ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นพวกหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2010
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ......หลวงปู่สด ท่านสอนไว้เรื่อง......." วิธีถอดขันธ์ "

    ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้น่ะ รู้แล้วว่าปล่อยเท่านั้นวางเท่า
    นั้น ไม่ยอมปล่อยไม่อยากปล่อย เพราะอะไร เสียดายมัน
    นั่นอีกพวกหนึ่ง ไม่อยากปล่อยขันธ์๕ อยากจะได้ขันธ์ ๕ ให้
    มากขึ้นนั่นพวกหนึ่ง

    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง ไม่ไดเล่าเรียนการศึกษา
    ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระ
    พุทธเจ้า ไอ้พวกนั้นปล่อยไม่เป็น

    ไอ้พวกที่ได้ฟังแล้วจะปล่อยก็เป็น แต่ว่าเสียดายไม่ยอม
    ปล่อย อีกพวกหนึ่งตั้งใจปล่อยจริง ๆ แต่ปล่อยไม่ได้ ไอ้ที่ไม่
    อยากปล่อยน่ะเหมือนอะไร เหมือนพรานวางเบ็ดเมื่อปลาติด
    เบ็ดแล้ว ถ้าปลาตัวเล็ก ๆ พอจะปลดปล่อยได้ ถ้าปลาถึงขนาด
    เข้าปล่อยไม่ได้ เสียดาย ต้องใส่เรือของตัวไป ไอ้อยากปล่อย
    แต่ปล่อยไม่ได้นะเหมือนอะไร เหมือนนกติดแร้ว อยากปล่อย
    แต่เครื่องติดมันมี มันมีเหมือนอะไรล่ะ นี่แหละ !! เหมือนอย่าง
    เราครองเรือนอย่างนี้แหละ อยากจะปล่อยมัน แต่ว่าเครื่องติด
    มันมี ปล่อยไม่ได้ เสียดายมันปล่อยไม่ได้ มันติดอยู่ดังนั้น
    แหละ ปล่อยไม่ถนัด เพราะเหตุฉะนี้แหละ เบญจขันธ์ทั้ง ๕
    ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ต้องถอดกัน ไม่ถอดปล่อยไม่ได้

    วิธีถอดเบญจขันธ์เบื้องต้น ต้องสำรวม ที่จะสำรวมนะ
    ต้องพิจารณาเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เสียก่อน ว่าเป็นของไม่ดีไม่
    งาม เป็นของไม่ดีไม่งามนะ เป็นของหนักจริงๆ แน่ะ !! รู้ว่า
    เป็นของหนักแล้ว เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักแล้วก็สำรวม
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยทีเดียว สำรวมระวังไว้ ตา หู จมูก
    ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
    มากระทบ คอยระวังไว้ สำรวมไว้ให้ดี เมื่อระวังให้ดีแล้วสละ
    ความยินดียินร้ายไม่ให้มากระทบ ไม่ให้ความชอบไม่ชอบ ซึ่ง
    เป็นกิเลสหยาบมากระทบได้ สละเสีย เมื่อสละเช่นนั้น ถ้าว่า
    เกียจคร้านไม่ได้นะ ต้องหมั่นขยันทีเดียว ต้องมีความเชื่อมั่น
    ว่าปล่อยได้จริง แล้วขยันหมั่นเพียรจริง ๆ นั่นแหละจึงจะ
    ปล่อยได้ ถ้าไม่สำรวมระวังปล่อยพลั้งเผลอละก็ เหมือนดังคน
    เกียจคร้านมีปัญญาเลวทราม ก็ต้องรัดรึง ตรึงตราอยู่ใน
    เบญจขันธ์ทั้ง๕ ก็บุคลมีศรัทธา มีความเพียรดี มีความเพียร
    หมั่นขยันแกร่งกล้านั้นแหละ อาจปล่อยขันธ์ ๕ ได้ล่ะ ฯ
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ......หลวงปู่สด ท่านสอนไว้เรื่องกายมนุษย์ละเอียด และ กายพุทธรัตนะ...

    หยุดอยู่กลางดวงวิมุติญาณทัสสนะนั้น พอถูกส่วนเข้า
    กลางของกลาง ๆ ๆ หนักเข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียด พอเข้า
    ไปถึงกายมนุษย์ละเอียดเท่านั้นจะตกใจทีเดียวว่า เจ้านี้ข้าไม่
    เคยเห็นเลย เจ้าอยู่ที่นี่เวลาเจ้าฝันออกไปเวลาตื่นขึ้นมาก็ไม่
    เห็นเจ้า ไม่รู้หายไปอยู่ที่ไหน บัดนี้ข้ามาพบเจ้าเข้าแล้ว อยู่ใน
    กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนี่เอง กายมนุษย์ละเอียดที่ฝันออก
    ไป เมื่อพบเจ้าเวลานี้ก็ดีแล้ว ไหนเจ้าลองฝันให้ข้าดูซิ ฝันไป
    เมืองเพชร ไปในเขาวัง เอาเรื่องในเขาวังนั้นมาเล่าให้ฟัง
    หน่อย สักนาทีเดียว เท่านั้นกายละเอียดฝันไปเอาเรื่องในเขาวัง
    มาเล่าให้กายมนุษย์หยาบฟังแล้ว และเจ้าลองฝันไปเอาเรื่อง
    ทางอรัญญประเทศบ้าง พระธาตุพนมบ้างเล่าให้ฟังบ้างสักนาที
    เดียวเช่นกัน กายมนุษย์ละเอียดก็ฝันไปเอาเรื่องพระธาตุพนม
    มาเล่าให้ฟังอีก และไหนลองฝันไปเมืองเชียงใหม่ ไปเอาเรื่อง
    ดอยสุเทพมาเล่าให้ฟังอีก ไปเมืองนครศีรธรรมราชฝันไปเอา
    เรื่องพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุมาเล่าให้ข้าฟังอีกเช่นกัน

    นี่ฝันได้อย่างนี้ ฝันทั้ง ๆ ที่ตื่น ๆ ไม่ใช่ฝันหลับ ๆ ฝันอย่างนี้
    ประเดี๋ยวเดียวได้เรื่องหลายเรื่อง ถ้าหลับฝันนานนักกว่าจะได้
    สักเรื่องหลายคืนจึงจะได้สักเรื่องบ้าง บางทีก็ไม่ฝันเสียเลย
    บางทีฝันบ่อยครั้งเอาแน่นอนไม่ได้ ให้รู้จักกายมนุษย์ละเอียด
    ดังนี้ ถ้าเราเป็นเช่นนี้จะสนุกไม่น้อย ถ้าเราถึงกายมนุษย์
    ละเอียด เราจึงรู้เรื่องได้ละเอียดกว่า เรื่องลี้ลับอะไรเรารู้เรื่อง
    หมดเราไปตรวจดูได้ หมดทีเดียวไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลาง
    คืนไปตรวจดูได้ เอากายมนุษย์ละเอียดไปตรวจดู ฝันไปเรื่อย
    ตรวจดูทุก ๆ คน ถ้าฝันตื่น ๆ อย่างนี้ได้สนุกแน่ นี่ชั้นหนึ่งก่อน
    นี่กายมนุษย์ละเอียด ไม่ใช่พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
    ต้องเข้าไปอีก 9 กาย จึงจะถึงกายพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆ
    รัตนะ นี่พึงรู้ว่า กายมนุษย์ละเอียด อยู่ตรงกลางกายเราทีเดียว


    กายพุทธรัตนะ

    กายที่ 9 นี้คือ “ พุทธรัตนะ”ที่สร้างรูปปฏิมากรบนพระ
    อุโบสถวิหารศาลาการเปรียญต่าง ๆ นั้นสร้างรูปกายที่ 9 นี้
    คือ พุทธรัตนะ นี้ที่เราไหว้บูชาอยู่ทุกวันนี้รูปมีเกตุตูมบ้าง เลียบ
    บ้าง แหลมบ้าง มีเกตุอย่างนี้ไม่ใช่เหมือนคนอย่างนี้ คนเราไม่
    มีอย่างนั้น ฯ
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ......หลวงปู่สด ท่านสอนไว้เรื่อง.."ทานในพระปรมัตถ์ 6 "...

    วันนี้ท่านเจ้าภาพได้บริจาคทาน ถูกทักขิไณยบุคคล ผู้มี
    ธรรมกายมากด้วยกัน บุญกุศลจึงยิ่งใหญ่ไพศาลไหลมาสู่
    สันดานของเจ้าภาพ ติดอยู่ท่ามกลางศูนย์กลางที่ทำให้เป็นกาย
    มนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่อยู่กลางดวงนั้น ฯ

    ถ้าบุคคลทำบุญได้อย่างนี้แล้ว ให้เอาใจไปจรดอยู่ศูนย์
    กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุ
    ซ้าย กลางกั๊กนั้น ให้เอาใจจรดให้ถูกต้องตรงกลางดวงนั้น เมื่อ
    ต้องทุกข์ภัยอย่างหนึ่งอย่างใด ให้ระลึกถึงดวงบุญที่ตนได้
    กระทำไว้ อย่าไประลึกนึกถึงสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ดวงบุญของตน ฯ

    เมื่อเราบริจาคทานและตามระลึกถึงบุญอย่างนี้แล้ว ภัย
    อันตรายอย่างหนึ่งอย่างใดทำอะไรไม่ได้จะประกอบกิจการ
    งานอย่างใด ก็เกิดลาภและสักการะยิ่งใหญ่ไพศาลก็เพราะนึกถึง
    บุญนั้น บุญย่อมนำผลสมบัติมาให้ในปัจจุบันนี้เชียว ฯ

    <CENTER>

    ทานในพระปรมัตถ์ ๖ คือมีอายตนะ ๖
    คือ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
    </CENTER>
    ถอนความยินดีในอารมณ์เหล่านี้ออกเสียได้ สละความ
    ยินดีในอารมณ์เหล่านี้เสียได้ ก่อนเราเกิดมาเขาก็ยินดีกันอยู่
    อย่างนี้ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เหล่านี้
    ครั้นเราจะตายเขาก็ยินดีใน รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    ธรรมารมณ์ อย่างนี้เหมือนกัน ความยินดี เหล่านี้ หากถอน
    อารมณ์ออกเสียได้ไม่ให้มาเสียดแทงเราได้พิจารณาว่านี้เป็น
    อารมณ์ของชาวโลก ไม่ใช่อารมณ์ของธรรม ปล่อยอารมณ์
    เหล่านั้นเสีย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ให้เข้าไปเสียดแทงใจ ทำใจให้
    หยุด ให้นิ่ง นี่เขาเรียกว่า ให้ธรรมารมณ์ เป็นทาน ย่อมมีกุศล
    ใหญ่ เป็นทางไปแห่งพระนิพพานโดยแท้ และเป็นทานอันยิ่ง
    ใหญ่ทางปรมัตถ์ ฯ

    รู้จักพระรัตนตรัย

    เราเป็นพุทธศาสนิกชน หญิงก็ดี ชายก็ดี เป็นคฤหัสน์หรือ
    บรรพชิตก็ตาม ต้องรู้จักพระรัตนตรัยนี้ ถ้าไม่รู้จักรัตนตรัยทั้ง
    สามนี้แล้ว การนับถือศาสนาปฏิบัติในศาสนาเอาตัวรอดไม่ได้
    ถ้าได้เข้าถึงพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ แล้วก็แก้
    โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆให้หายได้บ้าง ทำอะไรได้ผลอันศักดิ์สิทธิ์
    บ้าง นั่นก็เพราะคุณของรัตนตรัยที่มีอยู่ในตัวเรา แต่หากใช้ไม่
    เป็นก็ไม่ปรากฏเหมือนกัน ถ้าใช้เป็นทำเป็นถูกส่วนเข้าแล้วเห็น
    ปรากฏ จริงแต่ว่าเป็นชั้น ๆ เข้าไป ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของ
    ยากลำบากอยู่ จะว่ายากก็ไม่ยากจนเกินไป จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย
    จนเกินไป หรือว่าไม่ยากไม่ง่ายนั้นก็ถูก คือ ไม่ยากสำหรับคนที่
    ทำได้ ปฏิบัติได้ ไม่ง่ายสำหรับคนที่ทำไม่เป็นปฏิบัติไม่ถูก คน
    ทำไม่ได้ ปฏิบัติไม่เป็นก็บอกว่ายาก แต่คนทำได้ ปฏิบัติถูกก็
    บอกว่าง่าย เพราะฉะนั้นจึงว่าไม่ยากไม่ง่าย ไม่ยากแก่คนทำ
    ได้ ไม่ง่ายแก่คนที่ทำไม่ได้ หลักนี้เป็นของสำคัญนัก เพราะเป็น
    ชั้น ๆ เข้าไปให้รู้จักกายเหล่านี้เสียก่อน ให้รู้จักพระรัตนตรัยเสีย
    ก่อน ถ้าไม่รู้จักพระรัตนตรัยเสียก่อนแล้วเอาหลักไม่ได้ ถึงจะฟัง
    ธรรมฟังเทศน์ไปสักเท่าใด ก็จับจุดเอาหลักไม่ได้

    พระรัตนตรัยนั้นอยู่ในตัวของเรานี่เอง อยู่ตรงไหน อยากจะ
    พบ ตัวของเรามีศูนย์กลางอยู่คือ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย
    สมมติว่าเราขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่ง จากหน้าท้องตรงสะดือทะลุ
    หลัง และอีกเส้นหนึ่งจาก กึ่งกลางสีข้าง ขวาทะลุซ้าย ถึงตรง
    กลางกั๊ก ที่ด้ายกลุ่มนั้นจด จุดที่กลางได้ กลุ่มสองเส้นจดกันนั้น
    แหละเรียกว่า กลางกั๊ก ตรงกลางกั๊กนั้นถูกดวงธรรมที่ทำให้เป็น
    กายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ให้เอาใจไปหยุด
    อยู่ตรงกลางกายมนุษย์นั้น ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    มนุษย์ ที่ตรงนั้นแหละเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น มีแห่งเดียว
    ก่อนมนุษย์จะมาเกิด หญิงก็ดี ชายก็ดี ต้องเอาใจไปจรดตรงนั้น
    จึงเกิดได้ ถ้าไม่หยุด ไม่นิ่ง เกิดไม่ได้ พอหยุดถูกส่วนเข้า เกิด
    ได้ทันที ตรงนั้นแหละ เป็นที่หยุดและเป็นที่เกิด ที่ตาย พอใจ
    หยุดถูกส่วนเข้า ก็เกิดและตาย ตรงนั้นเป็นที่เกิด ที่ดับ แห่ง
    เดียว ไม่ใช่แต่ที่เกิด ที่ดับเท่านั้น ตรงกลางนั้นเวลาจะนอน
    หลับ ใจก็ตรงไปหยุดอยู่ที่ตรงกลางนั้น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าก็
    หลับ ถ้าไม่ถูกส่วนตรงนั้นก็ไม่หลับอีกเหมือนกัน หลับตรงไหน
    ตื่นขึ้นก็ตรงนั้น ตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
    ในบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นแหละเป็นที่เกิด ที่ดับ ที
    หลับ ที่ตื่น แห่งเดียว อย่าได้เอาใจไปไว้ที่อื่น ให้เอาใจไปจรด
    ไว้ตรงนั้น จึงจะถูกต้อง พอใจหยุดถูกที่เท่านั้น เราจะรู้สึกตัวที
    เดียวว่า ช่างเป็นสุขอะไรอย่างนี้หนอ ฯ
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ......หลวงปู่สด ท่านสอนไว้เรื่อง.."การให้ "...

    เราเห็นเท่านี้ก็ฉลาดกว่าคนอีกชั้นหนึ่งแล้ว เขาใช้แค่กาย
    มนุษย์เท่านั้น แต่เราเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ใช้กายมนุษย์
    ละเอียดจึงฉลาดกว่าเขาเหล่านั้น ฉลาดกว่าเขาอย่างไร คือเรา
    รู้ทีเดียวว่าคนนี้จะซื่อตรงหรือไม่ซื่อตรงให้ไปดูที่กายละเอียด
    ไปถามกายละเอียด กายละเอียดจะไปสืบดูเดี๋ยวก็รู้ได้ทันทีว่า
    คนนั้นซื่อตรงหรือไม่ กายละเอียดบอกกายมนุษย์แล้ว นี่ฉลาด
    กว่ากันอย่างนี้ ใช้ได้อย่างนี้เข้าไปข้างในถามเรื่องราวจริง ให้
    และโกหกหลอกลวงกันไม่ได้ นี่เรียกว่า ปัญญาสองชั้น คือมี
    ปัญญาในกายมนุษย์ละเอียดอีกชั้นหนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดรู้
    เรื่องมากมาย รู้แม้กระทั่งเรื่องลี้ลับต่าง ๆ ที่ท่านกล่าว
    ว่า ..........

    นตถิ โลเก รโห นาม ขึ้นชื่อว่าความลับไม่มีในโลก

    นี้ถูกต้องทีเดียว คือความลับมีแต่ในกายมนุษย์เท่านั้น
    กายมนุษย์ละเอียดไม่มีความลับ
    กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม
    กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด
    อีกมากมายนัก จะโกหกอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ทั้งนั้น ฯ

    ถ้าว่ามีคนมีปัญญาฉลาดอย่างนี้ ตระกูลของตนจะใหญ่โต
    สักปานใดก็ตาม ให้ให้หนักเข้า คนก็จะมากขึ้นเป็นลำดับ เป็น
    สุขขึ้น กินก็เป็นสุข นอนก็เป็นสุข ทั้งกาย วาจา และใจ เพราะ
    การให้นั้นแหละเป็นตัวสำคัญ หากฉลาดในการให้ก็จะเป็นพระ
    เจ้าแผ่นดินในชาตินี้ก็ได้ คนที่เราให้นั้นย่อมยกย่องสรรเสริญ
    เคารพนับถือในเราเราไม่ต้องไปเอาอะไร ให้หนักเข้าเท่านั้น
    พวกเขาย่อมคุ้มครองรักษาเราเอง กลัวเราจะเป็นอันตราย
    เพราะถ้าคนให้เป็นอันตรายเสียแล้ว พวกเขาก็อดอยาก ลำบาก
    คนที่ให้นั่นแหละย่อมช่วยระวังรักษาทั้งบ้านและสมบัติของเรา
    เมื่อเราให้หนักเข้าเช่นนี้ สามีก็คงอยู่คนเดียว ภรรยาก็คงอยู่คน
    เดียว ไม่เป็นสองไปได้ ถ้าเราไม่ให้นั่นแหละจะอยู่ด้วยกันไม่ได้
    ทีเดียว ทั้งสามี ภรรยา ลูกก็ต้องแยกจากกันไป ให้รู้จักให้อย่าง
    นี้จะปกครองบ้านเรือนสมบัติได้

    หญิงก็ดี ชายก็ดี ถ้าอยากให้วงศ์ตระกูลของตนสูงขึ้น
    ต้องการให้คนมากขึ้นมีพวกพ้องวงศ์วานมากขึ้น
    ก็อย่าเป็นคนตระหนี่ จงแก้ไขด้วยปัญญาของตน
    ถึงคราวให้อาหารก็ให้อาหาร
    ถึงคราวให้ผ้าก็ให้ผ้า
    ถึงคราวให้ที่หลับนอนก็ให้ที่หลับนอน
    ถึงคราวให้ยารักษาโรคก็ให้ยารักษาโรค
    ให้ไปตามกาลเวลาอย่างนั้น
    ให้เขาเป็นสุขเบิกบานสำราญใจ
    หากเราให้อย่างนี้แล้ว วงศ์ตระกูลของเราย่อมสูงขึ้นเป็นลำดับ
    เป็นที่สรรเสริญของคนทั่วไป ฯ

    ดวงบุญ

    ภวนํ ภาเวติ ทำใจจริงให้หยุด ให้นิ่ง ทำให้มี ให้เป็นขึ้น กี่
    ร้อยกี่พันคนก็นอนหลับสบาย กี่คน ๆ ก็สงบนิ่ง เมื่อสงบนิ่งแล้ว
    มีคนสักเท่าไหร่ก็ไม่รกหูรกตา ไม่รำคาญ ไม่เดือดร้อน เป็นสุข
    สำราญเบิกบานใจเป็นนิจ นี่เขาเรียกว่า ภาวนา


    ใครจะเป็นคนนำไปเกิด ในเมื่อกายมนุษย์แตกดับไปแล้ว
    กายมนุษย์ละเอียดยังเหลืออยู่ อย่างเรานอนฝันไป ตายก็
    เหมือนกับเรานอนฝันไป กายมนุษย์ละเอียดออกจากกายมนุษย์
    ไป เพราะกายมนุษย์แตกดับเสียแล้ว ดวงบุญในกายมนุษย์ก็
    แตกดับหมด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็แตกดับ รูป
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทำลายหมดไม่มีเหลือ แต่ว่า
    ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้นมีดวงบุญ
    อีกดวงหนึ่ง
    ดวงบุญดวงนั้นแหละจะนำไปเกิด ใน
    ตระกูลสูง ๆ มีกษัตริย์มหาศาลมีทรัพย์สมบัติบริวารนับจะ
    ประมาณไม่ได้ เศรษฐีมหาศาล พราหมณ์มหาศาลมีทรัพย์
    สมบัติบริวารนับประมาณไม่ได้ คหบดีมหาศาลมีทรัพย์สมบัติ
    บริวารนับประมาณไม่ได้ ให้เกิดในตระกูลสูง ๆ อย่างเช่นนั้น

    ทว่ามนุษย์ในโลกไม่พอรับบุญขนาดใหญ่ ๆ ขนาดนี้
    ก็ให้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา
    พิภพ ชั้นดุสิต ชั้นนิมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ให้เกิดใน
    กายทิพย์สูงขึ้นไป กายทิพย์ในชั้นจาตุมหาราช กายทิพย์ใน
    ชั้นดาวดึงส์ กายทิพย์ในชั้นยามาพิภพ กายทิพย์ในชั้นดุสิต
    กายทิพย์ในชั้นนิมมานรดี กายทิพย์ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ใน
    กามภพนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ฯ
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]


    [​IMG]




    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    วิธีตรวจจักรวาล ภพ ๓ และโลกันต์

    [​IMG]ลักษณะภพ ๓ และโลกันต์[​IMG] วัตถุประสงค์และวิธีตรวจ [​IMG]
    ภูมิ ๓๑

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="45%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-TOP: 2px solid" align=middle>อรูปภูมิ ๔</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>อากิญจัญญายตนภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>วิญญาณัญจายตนภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>อากาสานัญจายตนภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid"></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 2px solid" align=middle>รูปภูมิ ๑๖</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>สุทธาวาสภูมิ ๕ ชั้น</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>อกนิฏฐภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>สุทัสสีภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>สุทัสสาภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>อตัปปาภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>อวิหาภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>จตุตถฌาน/ปัญจมฌานภูมิ ๒ : เวหัปผลภูมิ / อสัญญสัตตภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ตติยฌานภูมิ ๓ : ปริตตสุภาภูมิ อัปปมาณสุภาภูมิ สุภกิณหาภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ทุติยฌานภูมิ ๓ : ปริตตาภาภูมิ อัปปมาณาภาภูมิ อาภัสสราภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ปฐมฌานภูมิ : มหาพรหมาภูมิ พรหมปุโรหิตาภูมิ พรหมปาริสัชชาภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid"></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 2px solid" align=middle>เทวภูมิ ๖</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle><A href="http://www.dhammakaya.org/เทวภูมิ%20๖#ชั้นที่ ๖ ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ>ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ</a></td></tr><tr><td style=" align="center" 1px;? border-top-width: solid; border-top-style: jQuery1263999952218="52">นิมมานรตีภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ดุสิตภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ยามาภูมิ </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ตาวติงสาภูมิ (ดาวดึงส์เทวโลก)</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>เขาพระสุเมรุ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>จาตุมมหาราชิกาภูมิ

    อากาสัฏฐเทวดา
    ภุมมัฏฐเทวดา
    รุกขเทวดา
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid"></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 2px solid" align=middle>มนุสสภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ปุพพวิเทหทวีป
    ชมพูทวีป
    อปรโคยานทวีป
    อุตตรกุรุทวีป
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid"></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 2px solid" align=middle>ทุคคติภูมิ ๔</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>เปตติวิสยภูมิ
    อสุรภูมิ ติรัจฉานภูมิ
    นิรยภูมิ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- google_ad_section_end -->
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    วัตถุประสงค์และวิธีตรวจจักรวาล ภพ ๓



    วัตถุประสงค์ ของการตรวจจักรวาล ภพ และโลกันต์ ก็เพื่อให้รู้เห็นธรรมชาติที่เป็นไปในภพ ๓ และโลกันต์ ว่า เป็นสภาพที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร/สังขตธรรม) อย่างไร ได้แก่ปรุงแต่งด้วยบุญ (ปุญญาภิสังขาร) ปรุงแต่งด้วยบาป (อปุญญาภิสังขาร) และปรุงแต่งด้วยฌานสมาบัติที่ไม่หวั่นไหว (อเนญชาภิสังขาร) และเพื่อให้เห็นแจ้งรู้แจ้ง ในสามัญญลักษณะคือสภาวะที่เป็นเองเสมอกันหมดของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวงว่า เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อย่างไร ให้เห็นสัจจธรรม คือ ทุกขสัจ และ สมุทัยสัจ ตามที่เป็นจริง และพัฒนาขึ้นเป็นความเห็นแจ้งรู้แจ้งในอีก ๒ สัจจธรรมที่เหลือ คือ นิโรธสัจ และ มรรคสัจ อันเป็นการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้สภาวธรรมและสัจจธรรม ตามที่เป็นจริงอย่างแจ่มแจ้ง เป็นหนทางให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์​
    สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกาย เจริญฌานสมาบัติพร้อมกันหมดทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด โดยอนุโลมปฏิโลมหลายๆ เที่ยว ให้ใสละเอียดหมดทุกกาย



    หากประสงค์จะตรวจดูความเป็นไปในภพ ๓ ก็ให้น้อมเอาภพ ๓ เข้ามาเป็นกสิณ คือมาไว้ ณ ศูนย์กลางกาย แล้วใช้ตาคือญาณพระธรรมกายตรวจดูความเป็นไปในแต่ละภพ เริ่มตั้งแต่ อรูปภพ ๔ ชั้น รูปภพ ๙ ชั้น (๑๖ ภูมิจิต) ตลอดไปจนถึงกามภพ ทั้งสวรรค์ ๑๖ ชั้น และ นรก ๘ ขุมใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้เขาพระสุเมรุลงไป ให้รู้เห็นความเป็นไปโดยตลอด หากประสงค์จะทราบบุพพกรรมคือกรรมเก่าที่กระทำไว้ในภพก่อนอย่างไร จึงได้มาเสวยผลบุญหรือผลบาปอยู่ในขณะนี้ ก็ไต่ถามดูได้
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...