พระพุทธศาสนาเสื่อมจากประเทศเนปาลได้อย่างไร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย hearsay, 28 กันยายน 2010.

  1. hearsay

    hearsay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +186
    เมื่อเอ่ยถึงพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล แน่นอนย่อมไม่พ้นจากการกล่าวถึงสมัย
    พุทธกาล เนื่องจากเป็นที่ประสูติของ พระพุทธเจ้า คือสวนลุมพินี และกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นพระราชธานี ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจมีคนไทยน้อยมากที่รู้ อย่างไรก็ตาม แม้เนปาลจะเคยเป็น แดนพุทธภูมิก็จริง แต่เคยมียุคที่เนปาลไม่มีพระสงฆ์เลย อันเป็นเรื่องที่น่าสนใจต้องศึกษาหาสาเหตุและ นามาเป็นข้อคิดเตือนใจ เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาและกระตุ้นให้ชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาใมิตรประเทศตระหนัก และคิดหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นในประเทศไทย
    ที่ตั้งของประเทศเนปาล

    ประเทศเนปาลเป็นประเทศเอกราชเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางทิศพายัพของประเทศไทย มีวัฒนธรรม คล้ายคลึงกัน ภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขา ภูเขาที่สูงสุด ๘ ยอด ใน ๑๐ ยอดของโลก จึงได้มีชื่อว่าเมือง แห่งภูเขา Kingdom of Himalayas ภูมิประเทศร้อยละประมาณกว่า ๘๐ เป็นเทือกเขาและเป็นป่ามากมายอาศัยอยู่ ภูมิอากาศส่วนใหญ่ มีสภาพหนาว มีชนเผ่าต่าง ๆ และมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขสูงสุดของประเทศ
    พระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับประเทศเนปาลเป็นอย่างมาก เพราะเป็นดินแดนประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านับตั้งแต่พระองค์ทรงประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก มีเนปาลเป็นประเทศเดียวในโลกที่พระพุทธศาสนาไม่เคยสูญหายไปจากประเทศ แต่พระพุทธศาสนาในเนปาลได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปจากเดิมมาก จนเป็นที่น่าสนใจศึกษาว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร และทำไมต้องมีการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย

    พระพุทธศาสนาในเนปาล
    ในคัมภีร์มูลสรวาสติวาทิน ทางพระพุทธศาสนามหายานได้กล่าวถึงพระสงฆ์สาวก ของ
    พระพุทธเจ้าได้เดินทางมาประกาศพระพุทธศาสนา ณ กรุงกาฐมาณฑุ (Kathmandu ) สมัยนั้นเรียก กรุงกาฐมาณฑุว่า เนปาล (Nepal) (Mr.Bhuwanlal Pradhan , ๒๐๔๕. ๓๐-๔๐) และกล่าวว่า พระเจ้าอโศกมหาราช นอกจากเสด็จมายังสวนลุมพินี และตั้งเสาศิลาจารึกว่า แล้ว ยังเสด็จมา ณ กรุงกาฐมาณฑุและเจริญสัมพันธไมตรี เป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้าด้วยการให้ เจ้าหญิงจารุมติ พระราชธิดาอภิเษกสมรสกับเทวปาล ผู้มีตระกูลของชาวเนปาล และประทับอยู่ที่เทวปตารกับพระสวามี ต่อมาได้ ออกบวชเป็นภิกษุณี จากนั้นได้สร้างเจดีย์ตามหัวเมืองต่าง ๆ ของกาฐมาณฑุและปริมณฑล ปัจจุบันเรียกว่าปาตา (Patan ) นั้น ยังได้เห็นกันอยู่จนปัจจุบันนี้ (เสถียร โพธินัทะ, ๒๕๔๓ : ๕๕-๕๗)

    ซึ่งเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ชาวเนปาลได้นับถือและศรัทธาพระพุทธศาสนากันแล้วตั้งแต่สมัย พุทธกาล ถือว่าช่วงระยะนั้น มีพระพุทธศาสนารุ่งเรืองในประเทศเนปาลมาก เช่นในปีคริสตศักราช ๑๐๐-๘๗๙ (พ.ศ. ๖๔๓ - ๑๔๒๒) ในยุคของราชวงศ์ลิจฉวีแห่งเนปาล กษัตริย์ทุกพระองค์เป็นพุทธมามกะ และได้มีการสร้างวัดวาอารามและมีการตั้งวัดประจารัชกาล ของแต่ละพระองค์ด้วยวัดเหล่านี้ก็ยังมี หลักฐานให้ศึกษากันได้ในกรุงกาฐมาณฑุในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ประชาชนมากมายเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์น้อยใหญ่ อีกเป็นจำนวนมาก ความเจริญในด้านศิลป- สถาปัตยกรรมก็ได้เจริญถึงจุดสูงสุดเช่นกัน ปัจจุบันนี้ แม้จะพยายามอนุรักษ์ก็เป็นไปได้ยากเพราะมีจำนวนมาก

    นอกจากนี้
    ยังได้มีการขยายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังประเทศใกล้เคียง เช่นในประเทศทิเบตประมาณ พ.ศ. ๑๑๐๐ ตรงกับสมัย พระเจ้าอังศุวรมันแห่งเนปาล ได้ให้พระราชธิดา เจ้าหญิงภฤกุฎี อภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งทิเบต มีพระนาม ว่าสรองจันคัมโป พระนางเป็นอุบาสิกาที่มั่นคงในพระพุทธศาสนาอย่างมาก และเมื่อสมรสแล้ว พระองค์ก็นาพระพุทธศาสนาเข้าไปสู่ประเทศทิเบต จนทาให้ประเทศทิ เบตเป็นอาณาจักที่มั่นคงทาง พระพุทธศาสนาที่สุดในโลกมหายาน มาถึงทุกวันนี้ (พระภิกษุสุทัสสันมหาเถระ , ๒๕๔๐ : ๘)

    แต่ที่นี้มีปัญหาที่จะศึกษาอยู่ว่า พระพุทธศาสนา เคยมีความเจริญและรุ่งเรืองที่สุดในดินแดนนั้น ทำไมจึงขาด พระสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาไป และทำไมต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่ ๆ

    ความรุ่งเรืองและความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในเนปาล
    หลักธรรมของพระพุทธศาสนาข้อที่สาคัญก็คือ สามัญญลักษณะหรือไตรลักษณ ์ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นหลักคาสอนที่ไม่มีในศาสนาอื่นใด และสอนให้ยอมรับสภาพ ความเป็นจริงตามที่เป็นอยู่ พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาลก็เช่นกัน คือเคยมีความเจริญรุ่งเรืองและ เสื่อมไป และปัจจุบันก็กาลังฟื้นฟูด้วยความยากลาบาก ช่วงระยะเวลาที่พระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เจริญรุ่งเรือง ในประเทศเนปาลมากที่สุด คือในยุคของเจ้าลิจฉวี จากนั้น ราวปีคริสต์ศตวรรษที่
    (ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี หลังรัชสมัยพระเจ้าอังศุวมัน) ถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ เป็นเวลาแห่งความเสื่อมเสีย ของพระพุทธศาสนา คือประมาณคริสต์ศักราช ๘๒๐ มีนักสอนศาสนาพราหมณ์ คือท่านศังกราจารย์ จากประเทศอินเดียได้เข้ามาสู่ประเทศเนปาล (บริษัทการบินไทย จากัด พิมพ์แจก ๒๕๓๕ : ๑๓-๑๕) เมื่อ เห็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและนิสัยความเอื้ออารี เมตตา ต่อทุกหมู่เหล่า ซึ่งเป็น นิสัยของชาวพุทธโดยธรรมชาติ ทำให้ศังกราจารย์หาทางที่จะทาให้ศาสนาฮินดูที่เป็น รองอยู่ใน ขณ นั้นมีบทบาทมากขึ้น พยายามทุกวิถีทาง เช่น แสดงปาฐกถา เป็นแนวร่วมกับ รา ชการ ยังมีการ นาศาสนิกฮินดู จากประเทศอินเดียเข้ามาสอนศาสนาฮินดูในประเทศเนปาล ด้วยความที่จิตใจกว้าง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นิสัยชาวพุทธที่ว่า อย่างไรก็ได้ เขามาสอนเรา เป็นสิ่งที่ดี ไม่เคยสนใจและมีความคิดว่า ไม่มีทางที่พระพุทธศาสนาจะเสื่อมจากประเทศเนปาลได้ (เหมือนคนไทยปัจจุบันส่วนใหญ่คิดกันอยู่ อย่างนั้น )เพราะพระเจ้าแผ่นดินเป็นพุทธมามกะ และมีประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มี การสร้างเจดีย์มากมาย และยังมีพิธีกรรมต่าง ๆ ที่คนเนปาล ยึดถือในการดำเนินชีวิต ทีแรก ๆ การสอน ศาสนาของพวกฮินดู ก็เป็นแนวร่วมคือมีการประนีประนอมกับศาสนาพุทธแต่เมื่อชาวฮินดูมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นและมีจานวนศาสนิกเพิ่มขึ้น ความประนีประนอมต่อศาสนาพุทธก็ลดน้อยลง ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายต่อสังคม และชาวเนปาล ก็ยังนิ่งนอน ใจ ซึ่งเป็นสถานการณ์เดียวกันกับสังคมประเทศในปัจจุบันนี้ ผู้เขียนมีความรู้สึกว่า ชาวพุทธไทยจานวนน้อยมากที่กระตือรือร้นห่วงใยพระพุทธ- ศาสนา และพยายามติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาในประเทศไทย มีคนจานวนมากที่ยังไม่เข้าใจสถานการณ์ของThai

    ตามที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ได้บอกไว้ในหนังสือ Buddhism in The Buddhist World หน้าที่ ๑๑ จะเห็นว่า พระพุทธศาสนากับประเทศไทยนั้น เป็นพี่
    น้องกัน หมายถึงมาพร้อมกัน คือประวัติศาสตร์ไทยก็คือประวัติ ศาสตร์พระพุทธศาสนา (The History of the Thai nation is also the history of Buddhism.) มีพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เป็นพุทธมามกะ แม้ชาวไทยส่วนใหญ่ เป็นชาวพุทธ แต่...เป็นเรื่องถึงเวลาแล้วที่คนไทยควรที่จะหันมาใส่ใจสังคม พุทธหรือสังคมไทย ผู้เขียนไม่อยากให้เป็นเหมือนประเทศเนปาล คือหลังจากที่ท่านศังกราจารย์ ได้เข้า มาสอนศาสนา และเชิญผู้นาศาสนาพราหมณ์มาสอนในประเทศเนปาล และมีอานาจมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในทางการเมือง มีการออกกฎหมายต่าง ๆ ไม่ให้มีพิธีกรรมตามศาสนาพุทธ ได้ทาลายศาสนสถานและคัมภีร์ทางศาสนาพุทธมากมาย และมีการบังคับชาวพุทธมิให้ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาตาม วัดต่าง ๆ ทั้งได้มีการยึดศาสนสถานของพระพุทธ- ศาสนาให้เป็นศาสนสถานของฮินดูเป็นจานวนมาก ซึ่งยังมีให้ดูได้ในกรุงกาฐมาณฑุตามเทวาลัยเก่า ๆ ช่วงนี้ นับว่าเป็นช่วงที่พระพุทธศาสนาตกต่ำมากที่สุด ในประเทศเนปาล อันเป็นประเทศพุทธภูมิ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดลัทธิใหม่ ๆ ในพระพุทธศาสนา มี รูปแบบที่เป็นเฉพาะของตนและมีอยู่ เฉพาะในประเทศเนปาล ประเทศเนปาลเป็นประเทศเดียวในโลก ที่มีศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาประจาชาติ

    ผู้ปกครองที่มีส่วนทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมหลังจากที่ศาสนาพราหมณ์ได้มีอานาจทางการเมืองมากขึ้น โอบอ้อมอารี จิตใจที่กว้าง ใจดี ได้ทาลายสังคมพุทธ ที่มีจิตใจ
    ก็ถดถอยลงและมีบางสมัยก็ยัง มีกษัตริย์หลายพระองค์ได้สนับสนุนพระพุทธ ศาสนา และนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง และถึงแม้ไม่ให้กระทาพิธี กรรมตามวัดต่าง ๆ ก็จริง แต่ความนิยมทางสังคมยังเหลืออยู่และตรงกันข้าม ช่วงที่ศาสนา พราหมณ์เข้ามาเผยแพร่ศาสนา พยายามประนี ประนอมกับศาสนาพุทธ แต่ช่วงหลังชาวพุทธพยายามปรองดองกันกับศาสนาพราหมณ์ แต่ความปรองดองกันระหว่างศาสนาก็ถูกรบกวนแยกโดยกษัตริย์มีพระนามว่า ชัยสถิติมัลละ ผู้ซึ่งได้ ครองอานาจในปี ค .ศ. ๑๓๘๒ (พ.ศ. ๑๙๒๕) นำระบบวรรณะมาใช้ในการปกครองประเทศ และได้บังคับให้พระภิกษุในพระพุทธศาสนา ต้องสึกออกไป ถ้าหากไม่ยอมสึก ก็ต้องถูกฆ่า (บริษัท การบิน ไทย จากัด พิมพ์แจก, ๒๕๔๓, ๕ : ๑๖)

    นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ได้มีความทรมานมากที่สุดสาหรับพระภิกษุในดินแดนแห่งพุทธภูมิ และ ได้ร่างกฎระเบียบที่จะบังคับประชาชนขึ้น คือเนปาลราษฎรศาสตร์ ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญที่ลอก แบบหลักธรรมศาสตร์ของศาสนาฮินดูมาใช้ ซึ่งเป็นกฎระเบียบที่ตรงกับหลักการศาสนาของเขา ยุคนี้นับได้ว่าเป็นยุคมืดของพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาลทีเดียว และเป็นปีเดียวกับที่ดินแดนแห่งพุทธ ภูมิประเทศเนปาลนั้นขาดจากพระภิกษุสงฆ์ ไม่แน่อาจไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยที่เป็นเมืองผ้าเหลื อง จะกลายเป็นเมืองที่ขาดพระสงฆ์ ซึ่งแสดงให้เห็นจากความลดน้อยลงของพระสงฆ์ ในประเทศ ตามสถิติของกรมการศาสนาที่ทำวิจัยอยู่ทุกปี และงบประมาณก็แบ่งให้เท่าเทียม (แบ่ง ๕๐% ให้ศาสนาอื่น แม้จะมีประชากรหรือศาสนิกน้อย ) และยังสามารถศึกษาได้จากวิทยานิพนธ์ของท่าน พระมหาหรรษา เรื่อง "วิกฤติพระพุทธศาสนา : ศึกษากรณีการบรรพชาเป็นสามเณรในประเทศไทย (๒๕๒๓-๒๕๔๓)" จากห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับตั้งแต่ทางการเมืองให้พระสงฆ์สึก ออกไปทำให้พระพุทธศาสนา มีโอกาสน้อยมากที่จะเผยแพร่และต่อมามีหลายยุคหลายสมัยที่ทาลายพุทธสถานและคัมภีร์ต่าง ๆ คือหลังจากที่กษัตริย์ชัย สถิติมัลละบังคับให้พระสึกเป็นคฤหัสถ์มีจานวนมาก คฤหัสถ์จานวนมาก ที่ถือศีลและวัตรปฏิบัติ เหมือนพระและปฏิบัติมานาน แต่ความที่ไม่ชอบให้ศาสนาอื่นอยู่ด้วย และเพื่อให้รัฐของศาสนาของตน บริสุทธิ์ เหมือนที่ได้ทำลายพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ในประเทศอัฟกานิสถาน ที่บอกว่าทาลายเพื่อเป็นรัฐอิสลาม ซึ่งไม่สนใจคำขอร้องของประเทศใด ๆ แม้แต่ UN เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ สาหรับพวกเขา และประเทศใกล้เคียงแต่เรื่องที่แปลกก็คือศาสนาพุทธถูกทาลายมาตั้งแต่อดีตเช่นในประเทศอินเดีย และพระพุทธศาสนาก็ไม่เคยสร้างเวรสร้างกรรม ไม่ย้อนโทษให้ศาสนานั้น

    รัฐบาลเผด็จการรุกรานพระพุทธศาสนา ในปี ค .ศ. ๑๙๒๕ (พ.ศ. ๒๔๖๘ ) เป็นปีแห่งยุคเผด็จการของประเทศเนปาล เป็นยุคที่พระพุทธ ศาสนาเสื่อมโทรมลงอีกครั้ง เมื่อนายกรัฐมนตรีคนแรกของยุคเผด็จการคือ จังพาหาดูร์ รานา (Jung Bahadur Rana ) ได้ทาลายวัด และทำลายคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาเป็นจานวนมาก พร้อมกันนั้นได้เนรเทศพระลามะ คือพระทางมหายาน ที่นับถือพระพุทธศาสนาแบบทิเบต ๔ รูป ในข้อหาเปลี่ยนศาสนาฮินดูเป็นศาสนาพุทธ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีคนต่อมาก็ยังได้สืบทอดเจตนารมณ์ของายกรัฐมนตรีคนแรก ๆ โดยห้ามไม่ให้มีการสวดมนต์ การเทศน์ และการบูชาทางพระพุทธศาสนาอย่างเด็ดขาด จนถึงกับมีการ จับผู้ฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าวเข้าคุกหลายต่อหลายคน ในปี ค.ศ. ๑๙๔๒ (พ.ศ. ๒๔๘๕) ในยุคแห่งเผด็จการตอนหลัง ๆ มีชาวพุทธส่วนหนึ่งได้สนใจพระพุทธศาสนาแล ะพยายามเผยแพร่แต่หาสาเร็จไม่ เพราะไม่ให้มีการสั่งสอน นอกจากนี้ชาว พุทธบางคนถูกจับ บางคนถูกจา และบางคนก็ถูกเนรเทศ ในข้อหาแจกจ่ายใบปลิวและข้อหาออกบิณฑบาต ซึ่งในครั้งนั้น ท่านพระสังฆมหานายกปรัชญานัทะมหาเถระ กลับประเทศเนปาล ในเพศบรรพชิตและออกโปรดญาติโยมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ต่อมา ในปี ค.ศ. ๑๙๔๔ (พ.ศ. ๒๔๘๗) มีการออกคำสั่งใหม่ โดยท่านนายกรัฐมนตรีเผด็จการ จุทธสัมเศร์ รานา ได้ประกาศห้ามการออกบวช ในพระพุทธศาสนา ห้ามการพิมพ์หนังสือพระพุทธศาสนา ครั้งนี้ก็มีการเนรเทศพระภิกษุอีกถึง ๘ รูป และหนึ่งในนั้น คือท่านพระภิกษุปรัชญานัทะมหาเถระ ซึ่งเป็นผู้กล้าหาญและอดทน หลังจากนั้นไม่ นาน ความพยายามของท่าน ก็เป็นเหตุให้สามารถฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาลได้ เป็นครั้ง แรก (Bhikkhu Amritananda , ๑๙๘๒) และมีสมาคมต่าง ๆ เกิดขึ้นเช่น ธรรโมทัยสภา พร้อมกันนั้น พระพุทธศาสนาก็เจริญและพัฒนามาจนถึงบัดนี้

    ความหวังในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล
    ปัจจุบันมีพระภิกษุสามเณรฝ่ายเถรวาทรวมจานวนเป็น ๑๙๐ กว่ารูปในประเทศและ
    ต่างประเทศ เฉพาะในประเทศไทย พระภิกษุสามเณรที่ศึกษาอยู่มี ๑๘ รูปตามวัดต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ส่วนแม่ชี ก็มี ๖ คนด้วยกัน พระภิกษุที่ได้ สาเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย แล้วกลับไปเป็นเจ้าอาวาสวัด และ สั่งสอนพระพุทธศาสนาให้แก่ชาวเนปาลอีกจานวนหนึ่งด้วย สถิติล่าสุดทราบว่าทั่วประเทศเนปาลนั้น มีวัดพุทธเถรวาทมากถึง ๘๘ แห่ง แต่ขาดพระสงฆ์

    สรุป
    แม้ปัจจุบันพระพุทธศาสนาได้กลับคืนมาสู่ประเทศเนปาลแล้วก็จริง แต่ผู้เขียนมีความเห็นว่า นอกจากความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในเนปาลแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศที่เคยเป็นพระพุทธศาสนา มาก่อนแล้วได้เปลี่ยนเป็นศาสนาอิสลามบ้าง ศาสนาคริสต์บ้าง ศาสนา ฮินดูบ้าง แต่ยังไม่กลับมาสู่ ชาวพุทธต้องลุกขึ้นมารักษา
    สภาพเดิม ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวพุทธควรศึกษาและพยายามตระหนักว่าพระพุทธ ศาสนาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะชาวไทยซึ่งถือว่าพระพุทธศาสนาคู่กับประเทศมาช้านาน พร้อม กับเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ และไม่ประมาทที่จะทาให้ พระพุทธศาสนาอันเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทยอยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป

    หนังสืออ้างอิง
    ๑. ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล, บริษัทการบินไทยพิมพ์แจก, ๒๕๓๕ ๒. พระภิกษุสุทัสสนะมหาเถระ, พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ (ภาษาเนปาลี), แปลโดยธรรมรัต

    ศากยะ, Bagmati Chapakhana, La litpur, Nepal, ๒๕๔๐ ๓. เสถียร โพธินัทะ, เนปาล ชาติภูมิของพระพุทธเจ้า, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ ๒๕๔๓ ๔. Buddha Jayanti Celebtation Committee, 2545 AO Buddhajayanti Smarika (Souvenir
    A.D. 2001), Anandakuti Vihar, Kathmandu, Nepal. ๕. Pavitra Bahadur Ba jracharya a tribute to his life & work (A commemorative Volume), Kathmandu, Nepal, 2002 ๖. John C. maraldo, Buddhism in the modem world, New York, 1976.
    ๗. Bhikkhu Amritananda, A short History of Therawada Buddhism in Nepal.
    Anandakuti, Kathmandu, Nepal, 1982

    ๘. Bhuwanla l Pradhan, Nepalama Buddhadharma (Nepali version). Arwat press
    kathmandu, 2045 (Nepal era) ๙. Phra Rajavaramuni, Thai Buddhism in the Buddhist World (5th printing), Mahachula longkorn University, Bangkok, Thailand, 1990
    --------------------------------*พระภิกษุชาวเนปาล นิสิตปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย http://202.28.52.4/article/article_file/buddhism_del.html


    บทความนี้เป็นของท่านพระสุชน สุชโน

    ที่มา : พระพุทธศาสนาเสื่อมจากประเทศเนปาลได้อย่างไร


    เมื่ออ่านบทความนี้จบแล้วลองถามตัวท่านเองว่าถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะทำอะไรเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาหรือจะปล่อยให้เสื่อมลงไปเรื่อยอย่างที่ หลายคนคิด จริงอยู่ที่ว่าเมื่อมีเกิดก็ต้องมีดับแต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่ที่การกระทำของ เราเองดังที่พระพุทธองค์ท่านได้ตรัสไว้ วันนี้เราได้สูญเสียพระภิกษุณีไปแล้ว หรือเราต้องรอให้ไม่มีพระภิกษุเสียก่อนจึงค่อยทำอะไร

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2010
  2. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    กรรมของสัตว์โลกจริงๆ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
     
  3. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    กษัตริย์ขลาด ขาดทศพิศราชธรรม เมื่อผู้นําไม่ฝักใฝ่ ผู้ตามก็เกรงพระราชอํานาจ
     
  4. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    เป็นธรรมดาของทุกสรรพสิ่ง
     
  5. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    ที่จริงแล้ว พุทธศาสนาเสื่อมไปมากทุกประเทศ
    สมัยพระพุทธองค์ตรัสรู้และประกาศศาสนาในอินเดีย
    สมัยนั้น พระสาวก(เก่งมากๆ)ที่ช่วยสานต่องานพระศาสนาทำให้ศาสนารุ่งเรือง
    ไปทั้งตะวันออกกลาง แล้วข้ามมาเอเชีย
    ทั้งประเทศจีน และดินแดนสุววรรณภูมิ
    ถ้าใครเคยดูสารคดีเส้นทางสายไหม จะเห็นว่าอาณาศรีวิชัยพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก

    แม้นแต่ดินแดนของขอม พระสุริยชัยวรมัน (ประมาณนั้น) ก็รุ่งเรืองอย่างมาก ทั้งประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไปถึงเวียดนาม พม่า ลาวไทย ฯลฯ
    ศาสนาพุทธเข้ามามีบทบาท และเสื่อมไปตามกาล

    ไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์มาก แต่ดูสารคดีมา
     
  6. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ผมเข้าใจว่า พุทธที่ว่านี้ น่าจะหมายถึง พุทธวัชรยาน ครับ
    เพราะอาณาจักรขอม (เขมร) อาณาจักรจาม (เวียตนาม) อาณาจักศรีวิชัย (อินโดนีเซีย) ล้วนแล้วแต่เป็นพุทธวัชรยานทั้งสิ้น ไม่ใช่พุทธเถรวาทครับ แต่ก่อนที่จะพุทธวัชรยานจะเข้ามาในดินแดนแห่งนี้ ก็มีนิกายไศวะเข้ามาก่อน ตามด้วยนิกายไวณพ จากนั้นนิกายวัชรยานตามมาภายหลัง

    ตามความจริงจะเรียกว่าศาสนาพุทธ ก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะวัชรยานถูกนำมาผนวกกับนิกายพุทธมหายานในภายหลัง เพื่อแก่งแย่งศรัทธากับนิกายพุทธเถรวาท
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    วัชระยาน เป็นพุทธศาสนานิกายมหายานนิกายหนึ่ง......ซึ่งต้นกำเนิดนั้นคือ ตันตระยาน.......

    ซึ่งตันตระยาน มีสองส่วนคือ ตันตระยานฝ่่ายพราหมณ์ (ไศยวะนิกาย) ตันตระยานฝ่ายพุทธ....อาจกล่าวได้ว่าภิกษุในสมัยนั้นต้องการป้องกันการถูกโจมตีจากศาสนาพราหมณ์ และอีกเหตุผลหนึ่งคือต้องการดึงคนในศาสนาพราหมณ์มานับถือพุทธศาสนา....แล้วต่อมาก็นับถือเป็นวัชระยาน......

    เพื่อนเนปาลเคยบอกว่าพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์นั้นก็คืออันเดียวกัน......วัดพราหมณ์กับวัดพุทธก็ติดกัน.....บางครั้งพิธีกรรมนี้แยกกันไม่ออกระหว่างพราหมณ์กับพุทธ.....และความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นองค์นารายอวตาลนั้นก็ยังมีอยู่มากในเนปาล....
     
  8. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    เห็นด้วยครับ อนุโมทนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...