ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    หลวงพ่อสดนั้นไม่เคยกล่าวว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง




    ถามว่ามีหลักฐานอะไรที่บ่งชี้ว่าหลวงพ่อสดไม่ได้ว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง ?


    ที่ปรากฏเป็นหลักฐานทางเอกสาร มีดังนี้คือ:


    ๑. ท่านแนะนำให้หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฯ ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน (ทั้งที่ตอนนั้นหลวงพ่อสดท่านค้นพบวิชชาธรรมกายแล้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์กรรมฐานองค์แรกของหลวงพ่อ ((( ประชุมพระธรรมเทศนาและหลวงปู่สอนธรรม, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราช ทาน, ในงานพระราชทานเพลิงศพ, พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวรรณณเถร), เจ้าอาวาส วัดประดู่ฉิมพลี, ๒๕๔๒, กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒ หน้า. (หน้า ๑๔และหน้า ๖๑ ))) หลวงพ่อโหน่งนั้นเมื่อท่านมรณภาพปรากฏว่าศพท่านไม่เน่า หลวงพอปานวัดบางนมโคบอกว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นพระอรหันต์


    ๒. หลวงพ่อเขียนรับรองวิชาหนอว่าถูกต้องตรงร่องรอยสติปัฏฐาน ๔ (แต่ท่านละคำว่าต้องปฏิบัติอย่างเข้าใจจริง จึงจะถูกต้อง) ซึ่งได้มีกลุ่มบุคคลนำข้อความที่ท่านเขียนรับรองวิชาหนอในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาไปบิดเบือนเพื่อสนับสนุนวิชาของพวกตน ซึ่งจะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก


    ๓. แม้หลวงพ่อชา จะได้มาพักที่วัดปากน้ำ ๑ อาทิตย์ หลวงพ่อสดก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหลวงพ่อท่านทราบดีว่า หลวงพ่อชานั้นสร้างบารมีมาทางสายพระอาจารย์มั่น (ซึ่งหาอ่านได้ในประวัติหลวงพ่อชาบางเล่ม) เหมือนๆกับที่หลวงพ่อทราบว่าสมเด็จป๋าจะได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะว่าถ้าพระพิมลธรรมไม่ต้องคดีเสียก่อน สมเด็จป๋าจะไม่มีโอกาสขึ้นเป็นสมเด็จพระสังราชเลย เรียกปิดประตูตายทีเดียว


    ๔. หนังสือกรรมฐานชื่อ “สมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน” ซึ่งประพันธ์ โดยคุณโสภณ ชื่นชุ่ม เป็นศิษย์วิชชาธรรมกายรุ่นแรกๆ ของพระอาจารย์พระราชพรหมเถร วิ (วีระ คณุตฺตโม ) ต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้พระอาจารย์พระราชพรมเถรได้ตรวจทานอย่างละเอียด


    ***ในหนังหนังสือกรรมฐานเล่มดังกล่าวมีคำอธิบายกรรมฐานแบบไตรลักษณ์ กรรมฐานแบบโบราณ และสมถวิปัสสนาแบบธรรมกาย ***



    จากหลักฐานทั้ง ๔ ข้อนี้ สามารถใช้ยืนยันได้ว่า หลวงพ่อสดไม่เคยว่าการปฏิบัติกรรมฐานของไทยสายไหนไม่ดี



    จากคุณ : <!--MsgFrom=171-->CALAVERITE
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เหตุจากนิยายที่แต่งขึ้น เพื่อให้ความเท็จแก่หลวงปู่สด

    คิดไม่ถึง ไม่น่าเชื่อ เป็นได้ไง ! โปรดพินิจพิเคราะห์ตามกลักกาลามสูตร แล้วจะเห็นแจ้ง

    ท่านป่าม่วงVS นิยายตุ๊กตาผล VS บรรยายธรรมที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว เป็นดังนี้คือ:

    ๑.ท่านป่าม่วงเกิดเมื่อ ปี ๒๔๗๑ ที่สารขัณฑ์ประเทศ



    ๒.ท่านป่าม่วงอุปสมบทเมื่อ ปี ๒๔๙๑ ณ วัดพรหมบุรี สิงห์นคร ขณะที่มีอายุ๑๙ ปี ๘ เดือน (เพราะปี ๒๔๘๓ หายไป ๓ เดือน คือเดือน มกรคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม โดยทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ของประเทศไทยจากวันที่ ๑๓ เมษายน ไปเป็นวันที่ ๑ มกราคม ตามอย่างสากล โดยถือเอาปี ๒๔๘๔ เป็นปีแรก

    2.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี เพราะได้นับรวมอายุที่ในท้องแม่ประมาณ ๑๐ เดือน
    แต่คิดเพิ่ม ๑ ปี จึงเป็นมีอายุ ๒๐ปี ๘ เดือน



    ๓.ท่านป่าม่วงสำเร็จมัธยมปีที่๔จากโรงเรียนสุวิทดารามาส เมื่อ ปี ๒๔๘๗
    3.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าท่านป่าม่วงเรียนมัธยมปีที่ ๔ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ แต่ไม่ปรากฏชื่อโรงเรียนสวนกุหลาบในประวัติท่านป่าม่วง



    ๔. ศึกษาดนตรีไทย มีปี่พาทย์มอญ แตรวงเครื่องสาย การประพันธ์บทขับร้อง จากโยมบิดาและคุณหลวงธารา ต่อมาคุณปู่ พันตรี หลวงธารา ได้นำพระคุณเจ้าเข้าฝากตัวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าศึกษาโรงเรียนนายตำรวจ พระคุณเจ้าศึกษาอยู่ประมาณ ๑ เดือน จึงขอลาออกเนื่องจากไม่ถูกอัธยาศัยในวิชานี้

    4.แต่นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าเรียนดนตรีไทยกับหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ต่อมาหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้พาไปพบจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อขอให้ฝากเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ท่านป่าม่วงเรียนนายร้อยตำรวจเพียงสามเดือน ก็ขอลาออก โดยอ้างว่าโดนรุ่นพี่กลั่นแกล้ง

    ยิ่งกว่านี้นิยายตุ๊กตาผลยังบอกต่อไปว่า หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้พาไปเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม และบอกว่าจอมพล ป. พาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เพื่อเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ในประวัติท่านป่าม่วงไม่ได้เป็นศิษย์หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ดังนั้นเรื่องที่ว่าจอมพล ป. พาเข้าเฝ้า *สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเพื่อเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์นั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัย เป็นการไม่สมควร เป็นการอาจเอื้อมเบื้องสูง*



    ๕. ปี ๒๔๙๑ ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสสนากรรมฐาน (จากหนังสือเลื่อนสมณศักดิ์ชั้นเทพ)

    5.แต่ในหนังสือกฎแห่งกรรม...เล่ม ๑ บอกว่า ศึกษาพระธรรมวินัย เพียงอย่างเดียว



    ๖. ปี ๒๔๙๓ ศึกษากัมมัฏฐานกับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) อำเภอหนองโพธิ์
    จังหวัดนครสวรรค์

    6.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อเดิม ระหว่างปลายปี ๒๔๙๑ - ต้นปี ๒๔๙๒ เป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อเดิม และได้เรียนวิชาคชศาสตร์เป็นคนแรกและคนสุดท้าย”
    แต่มีข้อสังเกตนิดหนึ่งที่นิยายตุ๊กตาผล ไม่ได้กล่าวถึงกิจที่หลวงพ่อเดิม ท่านตื่นที ๔ เพื่อปฏิบัติกรรมฐานทุกวัน และมีหนังสือ๒ เล่มติดตัวหลวงพ่อเดิมอยู่ตลอดเวลาคือ ๑. มูลสมถะและทางวิปัสสนา และพระอภิธรรมภายใน(รัตนะและคณะ, ๒๕๔๖(?), พระอภิญญาเมืองสยาม, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฉัตรแก้ว,หน้า๑๘).



    ๗.ปี ๒๔๙๓ ศึกษาและ “ปฏิบัติสมถกรรมฐาน” วิชชาธรรมกาย กับพระภาวนาโกศลเถระ(สด จันฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (จากหนังสือเลื่อนสมณะศักดิ์ชั้นเทพ..... ๒๕๔๔)

    7.1ตรงกันกับที่ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้วเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ ว่ามาเรียนวิชชาธรรมกายกับหลวงพ่อวัดปากน้ำปี ๒๔๙๓และสำเร็จวิชชาธรรมกายในปีนั้นด้วย

    7.2 ตรงกับนิยายตุ๊กตาผลที่บ่งบอกว่า ท่านป่าม่วงเรียนวิชชาธรรมกาย กับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ครั้งแรก ปี ๒๔๙๓ แต่ต่างกันที่ตุ๊กตาผลไม่ได้บอกว่าท่านป่าม่วงสำเร็จวิชชาธรรมกายในปี ๒๔๙๓



    ๘. ในประวัติท่านป่าม่วงไม่พูดถึงหลวงปู่ศุขวัดมะขามเลย

    8. แต่นิยายตุ๊กตาผล บอกว่าไปเรียนวิชาอาคมกับหลวงปู่ศุขโดยตรง ทั้งๆที่หลวงปู่ศุขมรณภาพ

    ก่อนท่านป่าม่วงเกิดประมาณประมาณ๕ปีครึ่ง คือหลวงปู่ศุข มรณภาพ ปี ๒๔๖๖ .(ประเจียด คงศาสตรา,...๒๕๓๕(?) ,ประวัติ อภินิหาร คาถาอาคม และพระเครื่อง หลวงปู่ศุข วัดคลองมะขามเฒ่า, พิมพ์ครั้งที่ ๑ ,กรุงเทพฯ:สำนักงานนิตยสารโอม, หน้า๕๐) ส่วนท่านป่าม่วงเกิดปี ๒๔๗๑



    ๙. ปี๒๔๙๔ ศึกษาและปฏิบัติกรรมฐานกับพระสุทธิธรรมรังสี(หลวงพ่อลี ธมฺมโร) วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และท่านเจ้าพระคุณอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดข่อนแก่น
    9.นิยายตุ๊กตาผล บอกว่าเรียนสะเดาะกุญแจกับหลวงพ่อลี และติดตามหลวงพ่อลีไปวัดบางปิ้ง ทั้งที่ปี ๒๔๙๔ วัดอโศการามยังไม่เกิด นางกิมหงษ์และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินชื่อ “นามาขาว” เนื้อที่ประมาณ ๕๓ ไร่ เมื่อปี ๒๔๙๗ ได้ตั้งเป็นสำนักขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ (พระประวัติ พระสุทธิธรรมรังสัมภีรเมธาจารย์ ,๒๕๑๔, หน้า๙๔)

    ที่สำคัญท่านพ่อลีไม่เคยธุดงค์ผ่านถิ่นท่านป่าม่วง ท่านพ่อลีไม่สนใจเดรัจฉานวิชา ท่านสอนไม่ให้คนเชื่อผี ท่านมีบารมีด้านพระธาตุเป็นพิเศษ *โดยเฉพาะ ท่านเตรียมเดินทางไปทางประเทศตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ ออกเดินทางไปพม่าตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ แล้วเดินทางต่อไปจำพรรษาที่ประเทศอินเดีย ออกพรรษาแล้ว เดินทางกลับพม่า ท่านเดินทางกลับประเทศไทยในเดือน ธันวาคม ๒๔๙๔ และพักอยู่กับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน) ที่วัดบรมนิเวส ได้ตรึกตรองอยู่หลายวัน เกือบๆจะได้รับอนุญาตให้เดินทางจึงเดินทางไปพม่าอีก* ก็เผอิญมีบางเรื่องบางอย่างแทรกซึมเข้ามา ............ จึงได้เดินทางกลับไปเยี่ยมญาติโยมที่จังหวัดจันทบุรี อยู่มาจวนจะเข้าพรรษาก็ได้เดินทางจากจันทบุรี กลับมาพักอยู่ที่วัดบรมนิเวสตามเคย{ พระประวัติ พระสุทธิธรรมรังสัมภีรเมธาจารย์(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) ซึ่งท่านพ่อลีเล่าเอง พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๕ หน้า ๖๔ –๖๘ [หนังสือเล่มนี้ พลโท(ยศขณะนั้น) พงษ์ ปุณณกัณต์ เป็นประธานจัดพิมพ์] วัดอโศการาม โทร ๐๒ ๓๘๙-๒๒๙๙, ๐๒ ๓๙๕-๐๐๐๓ }

    จะเห็นว่าทั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ จนหมดปี ๒๔๙๔ ท่านพ่อลีไม่ว่าง จึงเป็นไปไม่ได้ที่ท่านป่าม่วงจะมีโอกาสพบท่านพ่อลีที่ถิ่นท่านป่าม่วง อีกประการหนึ่งท่านพ่อลีสอนกรรมฐานโดยใช้อานาปานสติ ซึ่งท่านป่าม่วงบอกว่ารู้สึกขยาดกรรมฐานอานาปานสติของหลวงพ่อพูน แล้วจะมาเรียนกรรมฐานกับท่านพ่อลีได้อย่างไร? ไม่เข้าใจว่าทำไมได้เขียนเรื่องแบบนี้ลงไปในประวัติของตนและในตุ๊กตาผล ทั้งๆเรื่องนี้สามารถพิสูจน์ทราบได้ไม่ยากว่าว่าเป็นไปไม่ได้ อยากให้ช่วยกันวิจารณ์ว่า อะไรเป็นเหตุให้เขียนเรื่องที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือเป็นว่าเป็นนโยบายที่บอกให้ใครๆทราบว่า ท่านป่าม่วงมีพระอาจารย์ดังทุกสาย



    ๑๐. ปี ๒๔๙๖ ท่านป่าม่วง ศึกษา *วิชาสมถวิปัสสนา* กับพระภาวนาโกศลเถร (สด จนฺทสโร) หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ อ.ภาษีเจริญ จ. ธนบุรี (หนังสือกฏแห่งกรรม.......... เล่ม ๑ ) เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ตรงกับข้อมูลหนังสือที่ระลึกในงานเลื่อนสมณะศักดิ์ชั้นเทพ ที่บอกว่า ปี ๒๔๙๓ ศึกษาและ*ปฏิบัติสมถกรรมฐาน* วิชชาธรรมกาย กับ พระภาวนาโกศลเถระ (สด จันทฺสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี
    10. ที่แปลกเอามาก ๆ ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ท่านป่าม่วงเขียนจดหมายเรียนเจ้าประคุณสมเด็จฯวัดปากน้ำว่าเคยมาเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อวัดปากน้ำในปี ๒๔๙๖ (หนังสือ..ชั้นเทพ หน้าโมทนาพจน์ ๓) ซึ่งแสดงว่าต้องมาเรียนวิชชาธรรมกายกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ๒ ครั้ง คือครั้งแรก ๒๔๙๓ และครั้งสอง มาเรียน ๒๔๙๖ น่าเสียดายที่ท่านป่าม่วงไม่ได้เรียนเจ้าประคุณสมเด็จฯวัดปากน้ำอย่างตรงไปตรงมา ว่าเคยมาเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อ ๒ ครั้ง คือครั้งแรกมาเรียนปี ๒๔๙๓ ครั้งที่๒ เรียนในปี ๒๔๙๖ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง



    ๑๑. ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ ว่ามาเรียนวิชชาธรรมกายเมื่อ ปี ๒๔๙๓ และบอกว่าตนได้ธรรมกายบนรถเมล์ขาว ในปีนั้นด้วย และบอกว่าเห็นคนสิงห์บุรี ๓* คน กำลังกราบหน้า พระรูปรัชการที่๑
    11.แต่ที่น่าสังเกต ในนิยายตุ๊กตาผลบอกว่าพอสำเร็จวิชชาธรรมกาย ก็มองว่าเห็นคนสิงห์บุรี ๑ *คน อยู่หน้าพระรูปรัชกาลที่๑ ทำไมจำนวนคนที่เห็นไม่เท่ากัน ในเมื่ออยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน นี้ต่างกันถึง ๒ คน
    นิยายตุ๊กตาผลนั้นบ่งชี้ว่าท่านป่าม่วงอ้างว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายในปี ๒๔๙๖ ไม่ใช่ปี ๒๔๙๓

    *ที่ว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายนั้น ขอบอกว่าไม่ใช่ การสำเร็จวิชชาธรรมกายนั้น จะต้องเดิน ๑๘ กายได้แบบทั้งรู้ทั้งเห็น จึงจะถือว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายตามคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ*

    แก้ไขเมื่อ 18 ส.ค. 49 17:44:04

    จากคุณ : ธารณธรรม - [ 18 ส.ค. 49 17:23:44 ]

    ----------------------------------------------------------



    ๑๒. ปี ๒๔๙๗ ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กับเจ้าคุณอาจารย์พระอุดมวิชาญาณเถระ วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนคร ต่อมาเป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าคณะภาค๙(พระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)

    12.นิยายมักกะลีผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงเรียนกรรมฐานกับท่านเจ้าคุณโชดกเมื่อ“เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม ๒๔๙๗” ดังนั้นท่านป่าม่วงต้องได้ฟังการเทศน์ลำดับญาณปลายเดือนตุลาคม ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่วัดระฆังเพื่อเรียนอภิธรรมที่วัดระฆังเป็นเวลา ๓ เดือน

    จึงเป็นไปไม่ได้ที่ท่านป่าม่วงจะได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี เพราะพระองค์ท่านทรงเริ่มปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ หลักสูตร ๑ เดือน ดังนั้นการบอกใครๆ เขียนในเว็บ หรือ**เขียนประกาศว่าฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี นั้นเป็นการอาจเอื้อมเบื้องสูงโดยแท้ ถ้ามีการเอาเรื่องนี้ขึ้นสู่โรงศาล คงมีคนต้องคดีหลายคน**

    *และเป็นไปไม่ได้ที่ได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่ถูกเกณฑ์ให้เรียนกรรมฐานแบบหนอเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ หลักสูตร ๑ เดือน เพราะท่านป่าม่วงออกจากวัดมหาธาตุไปแล้วประมาณ ๓-๔ เดือน เพราะการฟังเทศน์ลำดับญาณนั้น เขาฟังกันเฉพาะผู้ที่บรรลุญาณ ๑๖ ใหม่ ๆ ไม่ใช่จบไปตั้งนานแล้วกลับมาฟังพร้อมผู้เพิ่งจบ* ไม่มีสำนักปฏิบัติกรรมฐานแบบหนอที่ไหนเขาปฏิบัติกัน

    ***ดังนั้นเรื่องที่บอกว่าได้ฟังได้ยินเรื่องที่หลวงพ่อวัดปากน้ำพูดกับเจ้าคุณโชดก จึงเป็นไปไม่ได้ เป็นการจินตนาการเขียนเอาเอง***

    เป็นที่ทราบกันดีสำหรับพวกปฏิบัติกรรมฐานสายหนอ ว่าสำนักวิเวกอาศรม ชลบุรี สมัยที่พระอาจารย์อาสภเถระเป็นเจ้าสำนัก หลวงพ่อเดือนเป็นผู้ช่วยนั้น ทางสำนักวิเวกอาศรมไม่รับรองผู้ที่ต้นสำนักท่านป่าม่วงบอกว่าบรรลุญาณ ๑๖ เพราะเคยมีตัวอย่างที่ต้นสำนักรับรองสามเณรรูปหนึ่งเข้าใจว่าเป็นรูปแรกเพราะเห็นตื่นเต้นกันใหญ่ แต่พระอาจารย์อาสถเถระท่านคัดค้านว่าไม่ใช่ และเป็นดังที่ท่านอาจารย์อาสภเถระบอก เพราะสามเณรคนนั้นสึกแล้วเป็นขโมย

    มีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ทางสำนักเดิมรับรองว่าบรรลุญาณ๑๖ แล้ว ไปปฏิบัติธรรมที่สำนักวิเวกอาศรม เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นไม่ได้บรรลุญาณ ๑๖ จริง จึงคิดทำการใหญ่ อยากเป็นเจ้าสำนัก จึงรวมหัวกันทำร้ายพระอาจารย์อาสภเถระจนท่านสลบ โชคดีที่ท่านไม่มรณภาพ พวกบรรลุญาณ๑๖เทียม เลยเข้าคุกไปตามระเบียบ



    ๑๓.ปี ๒๔๙๘ ศึกษาพระอภิธรรม กับอาจารย์เตชิน(ชาวพม่า) วัดระฆังโฆษิตาราม จังหวัดธนบุรี
    ๓ เดือน
    13. นิยายตุ๊กตาผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงเรียนอภิธรรมที่วัดระฆังเมื่อ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ – มกราคม ๒๔๙๘



    ๑๔. กฎแห่งกรรม ......เล่มที่๕ ท่านป่าม่วงบอกว่าพบแม่ชุมศรีแม่ในอดีตชาติเมื่อ ๕ กุมภาพันธ์... และบอกว่าจำปีไม่ได้ (หมายถึงขณะที่กำลังเทศน์ ต้องกลับไปดูบันทึกจึงจะทราบ)
    14.โชคดีที่นิยายตุ๊กตาผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงได้พบแม่ในอดีตชาติเมื่อ“๕กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘”



    ๑๕. ปี ๒๔๙๘ ศึกษาการพยากรณ์ จากสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) วัดสระเกศ จังหวัดพระนคร
    15. เป็นที่น่าสังเกตว่า นิยายตุ๊กตาผลเขียนว่า ท่านป่าม่วงประกาศว่าตนบรรลุญาณ ๑๖ แล้ว เป็นพระโสดาบัน เหมือนจบปริญญาตรีแล้ว หลังจากเรียนอภิธรรมวัดระฆัง ๓เดือนแล้วจึงกลับไปอยู่วัด

    ดังนั้นการศึกษาการพยากรณ์กับสมเด็จพระสังฆราชอยู่วัดสระเกศต้องหลังกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ไปแล้ว แต่อยากตั้งข้อสังเกตว่า การศึกษาวิชาโหราศาสตร์นั้นผิดวิสัยของพระอริยบุคคล เพราะวิชาโหราศาสตร์จัดเป็นสีลัพพตปรามาส นั้นหมายความว่าท่านป่าม่วงยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลเท่านั้นเอง สมจริงตามที่พระอาจารย์อาสภเถระไม่รับรองบุคคลที่ทางต้นสำนักของท่านป่าม่วงบอกว่าบรรลุญาณ ๑๖

    อ่านเพิ่มเติมจากเว็บ“พระอริยบุคคลเรียนวิชาโหราศาสตร์หรือไม่ ?” เพราะเหตุผลใด?
    http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4630777.html



    ๑๖. หนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม๕ เขียนว่า “ท่านป่าม่วงมีนิมิตกรรมฐานว่า เราก็รู้มาก่อนที่จะไปบ้านแม่...... ในนิมิตนี้ก็บอกว่า ไปรบทัพจับศึกกัน ยังรู้สึกว่าจำได้ว่ามันฟันอะไร เพราะอ้ายพม่ารามัญเตรียมจากธนบุรีตามลำน้ำ มันก็ขึ้นมาหมดแล้ว ไม่มีเหลือแล้ว และเราจำต้องไปรบกับพม่า ใช้เรือรบที่บางไทร ฆ่าพม่าตายมากมาย เลยพอดีโดนกลศึกวิธีคนไทยด้วยกัน ถีบเราหลุดตกน้ำถึงแก่ความตาย แล้วดาบนั้นพวกนี้เอาไป แล้วก็ซัดเซพเนจรไปเรื่อยๆ กระทั่งไปอยู่ถึงเชียงใหม่ แล้วล่องกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาตามเดิม แล้วเราก็นิมิตว่าเราตกน้ำตาย นี่อาตมาไม่ได้ดาบอาตมาตายไปแล้ว’ (กฏแห่งกรรม –ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๕ หน้า ๖๔-๖๕)
    16. แต่นิยายตุ๊กตาผล “...ส่วนตัวท่านป่าม่วงซึ่งเป็นแม่ทัพจะหนีเอาตัวรอดไม่ได้ จึงจำใจสู้แม้ขาดขวัญและกำลังใจ ด้วยฝีมือและชั้นเชิงในการรบ ท่านไม่มีวันแพ้พม่าได้ แต่ฝ่ายพม่าใช้แผนสกปรก ใช้กลศึกวิธีฆ่าท่านจนได้ เมื่อทหารนำศพท่านใส่เรือมาส่งที่ศาลาท่าน้ำ แม่........วิ่งร้องให้มาจากบนเรือน ผ้าผ่อนท่อนสไบหลุดลุ่ย หล่อนกอดศพท่านร่ำให้จนปิ่มว่าจะขาดใจ และในชาตินี้หล่อนก็ได้มาเกิดอีก รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนไป

    จะเห็นว่าเรื่องเดียวกัน เหตุการณ์เดียวกัน ท่านป่าม่วงไม่เคยเล่าตรงกัน นี่เป็นเรื่องน่าคิด ว่าเป็นเรื่องที่เห็นในนิมิตจริง ๆ หรือเป็นเรื่องยกเมฆ เพราะว่าถ้าเห็นจริงพูดร้อยครั้งก็ต้องเหมือนกันร้อยครั้ง

    ถามว่าแม่ทัพคนเก่งของอยุธยา ที่ไม่มีใครสู้ได้ แม่ทัพคนอื่นต่างพากันอิจฉา อยากได้ตำแหน่งของตน แต่ไร้ความสามารถ ไม่รู้จักวิชาทางน้ำเลยเชียวหรือ แค่ถีบตกน้ำก็ถึงแก่ความตาย และที่น่าสงสัยยิ่ง ที่บอกว่าสารขัณฑ์ประเทศจะต้องนำแม่ทัพคนอื่นไปแลกเปลี่ยน พม่าหรือจะโง่ยอมแลกแม่ทัพคนเก่งกับแม่ทัพที่ไร้ฝีมือ เว้นแต่ได้เกลี่ยกล่อมให้แม่ทัพเชลยศึกคนนั้นเป็นใส้ศึกเรียบร้อยแล้วจึงจะยอมให้แลกเปลี่ยน ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่เคยมีปรากฏในประวัติศาสตร์แห่งสารขัณฑ์ประเทศ และที่น่าสังเกตท่านเทศน์ดูถูกคนไทย แล้วชี้ที่ตัวเองว่าตนไม่ใช่คนไทย ...... พ่อเป็น........ แม่เป็น.......

    จึงใคร่เชิญชวนนักประวัติศาสตร์ หันมาพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่กลัวต่อคำว่าพระอรหันต์ จนไม่กล้าทำอะไร อย่างที่นักวิชาการควรกระทำ เพราะพระอรหันต์จริง ท่านยินดีสนับสนุนให้ผู้คนพิสูจน์สิ่งที่ท่านพูดว่าจริงหรือเท็จ ไม่มีโทษ มีแต่คุณสถานเดียว เว้นแต่อรหันต์เทียมเท่านั้นที่กลัวการพิสูจน์



    ๑๗. คุณแม่ท้วมเป็นนางสาวท้วม หุตานุกรม ไม่เคยแต่งงาน ท่านมาอยู่วัดปากน้ำตั้งแต่อายุ ๓๕ ท่านเป็นหัวหน้าอุบาสิกาวัดปากน้ำและหัวหน้าโรงครัว (วุฑฺฒสีล, ๒๔๙๗, ประวัติ “คุณแม่” ใน นวกะ อนุสรณ์ ๒๔๙๗, วัดปากน้ำ, ภาษีเจริญ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยพณิชยการ, หน้า ๗๑ –๗๘. )
    17. แต่นิยายตุ๊กตาผล เขียนว่าท่านป่าม่วงบอกว่าโยมท้วม ครั้นสามีตายและลูกเต้าออกเหย้าออกเรือนกันไปหมด แกจึงมาอยู่วัดอย่างถาวรตอนอายุหกสิบพอดิบพอดี ซึ่งไม่ทราบว่าเขียนมาได้อย่างไร ไม่กลัวเขาจับได้หรือว่าเป็นเรื่องไม่จริง เป็นการทำลายเครดิตตัวเองโดยแท้ คงเป็นเรื่องนึกไม่ถึงว่าจะมีคนมาค้นพบความจริงในภายหลัง เพราะว่าความลับไม่มีในโลก



    ๑๘. เรื่องพระเวสสันดรในนิยายตุ๊กตาผลนั้น บอกว่าพระอินทร์เนรมิตต้นตุ๊กตาผล ๑๖ ต้น ให้ออกผลเฉพาะวันที่พระนางมัทรีออกหาอาหาร เพื่อป้องกันฤาษีลามกไม่ให้ไปลวนลามพระนางมัทรี เปิดโอกาสให้ฤาษีลามกเก็บตุ๊กตาผลไปทำเมีย และบอกว่าป่าหิมพานต์ที่พระเวสสันดรอยู่มีหิมะปกคลุม
    18.ถ้าป่าที่พระเวสสันดรอยู่มีหิมะปกคลุมจริง ตุ๊กตาผลก็จะกลายเป็นตุ๊กตาหิมะ ใครจะเอามาทำเมียได้ ป่าที่พระเวสสันดรอยู่ไม่ใช่ป่าหิมพานต์ ถ้าเป็นป่าหิมพานต์จริง ก็ต้องมีต้นนารีผลโดยธรรมชาติ ไม่ต้องให้ใครเนรมิต และนารีผลนี้จะอยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น นานกว่านี้ก็จะเน่า และป่าที่พระเวสสันดรอยู่ ก็ไม่มีฤาษีลามกแม้แต่ตนเดียว มีพูดถึงฤาษีเพียงตนเดียวคืออจุตฤาษีซึ่งเป็นผู้บอกทางให้ชูชกไปพบพระเวสสันดร



    ๑๙. ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมส่วนแก้ว เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ เทศน์ว่า **“อาจารย์แม่ชีหวานใจ ( เจ้านักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว) จิตท่านงอก จิตท่านสดใส ใจสะอาดเหมือนดวงแก้ว กล่าวคือนิพพาน ปราศจากโลภโกรธหลง ไม่มีอะไร ฉุดให้พะวักพะวง อยู่ในดวงใจให้ขุ่นมัวอีก นึกเงินไหลหนองนึกทองไหลมา” **
    19.อาจารย์แม่ชีหวานใจ ชูกร เป็นศิษย์หลวงพ่อโดยตรง ท่านไปสร้างสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว ที่อำเภอจอมบึง ปฏิบัติกรรมฐานสมถวิปัสสนาวิชชาธรรมกายมาตลอด ท่านเขียน หนังสือ “วิชชาพระธรรมกาย (ปราบมาร) ดังนั้นถ้าท่านจะเป็นพระอริยบุคคล ท่านก็เป็นด้วยวิชชาธรรมกาย การที่ท่านป่าม่วงพูดแบบนี้ก็ถือว่ารับรองวิชชาธรรรมกายไปในตัว ว่าวิชชาธรรมกายก็ทำให้คนบรรลุพระอรหันต์ได้ ไม่เป็นการขัดแย้งกับที่ท่านป่าม่วงชอบพูดว่าวิชชาธรรมกายแก้ทุกข์ประจำไม่ได้หรือ

    จากคุณ : ธารณธรรม - [ 18 ส.ค. 49 17:24:52 ]
    ------------------------------------------------------------



    ความคิดเห็นที่ 2

    อ่านกระทู้ “จิตท่านงอก จิตท่านสดใส ใจสะอาด เหมือนดวงแก้ว กล่าวแล้วนิพพาน” ชาวพุทธเข้าใจว่าอย่างไร ? http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4622966.html

    การที่ท่านป่าม่วงพูดหรือเขียนบิดเบือนบอกว่าหลวงพ่อสดบอกว่าวิชชาธรรมกายแก้ทุกข์ประจำไม่ได้ แต่แก้ทุกข์จรได้ และยังให้ร้ายวิชชาธรรมกายอีกด้วยว่าเป็นวิชชามุ่งให้ความร่ำรวยเป็นที่ตั้ง ไม่ได้มุ่งไปนิพพาน และกล่าวหาศิษย์วัดปากน้ำว่าจะเผาตำราที่เรียนกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุทิ้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างยิ่ง เป็นเรื่องที่นึกไม่ถึงว่า ท่านป่าม่วงที่มีบางคนเข้าใจว่าเป็นอรหันต์กล้ากระการนี้ตามลำพัง


    จะพิสูจน์ทราบได้อย่างไรว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำปฏิบัติกรรมฐานแบบไหน ? http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4534507.html

    หลวงพ่อวัดปากน้ำเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบหนอจริงหรือเท็จ?
    http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4537078.html

    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้พยายามทำให้ความจริงปรากฏขึ้นมา เหมือนพลิกภาชนะที่คว่ำให้หายขึ้น จนมองเห็นกระจ่างว่ามีอะไรในภาชนะนั้นบ้าง สามารถพิสูจน์ได้ทุกขั้นตอน มีเอกสารอ้างอิงไม่ใช่นั่งเทียนเขียน


    เป็นพระโยชน์ต่อพระศาสนา เป็นประโยชน์แก่ชาวพุทธที่ต้องการทราบความจริง ช่วยให้ชาวพุทธไม่ต้องทำบาป โดยไม่ต้องนำความเท็จไปบอกต่อๆกันไป ส่วนที่มีโทษนั้นมี คือผู้บิดเบือนและคณะคงไม่ชอบใจเป็นแน่ แต่ถ้าเทียบกับส่วนที่ได้ประโยชน์นั้นเทียบกันไม่ติด ถือว่าน้อยมาก เป็นการป้องปรามไม่ให้ใครคิดเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เขียนบิดเบือนให้ร้ายผู้อื่นในทำนองนี้อีก


    เนื่องจากความลับไม่มีในโลก ดังนั้นจะต้องมีคนมาพิสูจน์ทราบความจริงได้ในที่สุด แม้ว่าจะต้องใช้เวลาเป็นสิบๆปีในการแสวงหาข้อมูลก็ตาม เชื่อว่าเรื่องนี้ต่อไปคงได้ใช้เป็นกรณีศึกษาวิจัย แล้วผลการวิจัยนั้นจะได้รับการบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ศาสนาแห่งสารขัณพ์ประเทศในศตวรรษที่สองพันหกเป็นแน่


    ***ข้อสังเกตที่สำคัญมากที่สุดอันหนึ่งคือ บุคคลหรือพระเถระสำคัญที่ท่านป่าม่วงเอ่ยถึง หรือนิยายตุ๊กตาผลอ้างถึง จะเป็นบุคคลหรือพระเถระที่เสียชีวิตไปแล้วทั้งนั้น ไม่มีโอกาสจะมาชี้แจงข้อเท็จจริง เป็นการปิดโอกาสไม่ให้ใครที่สงสัยไปสักถามข้อเท็จจริงได้ ***


    ขอชี้แจงเรื่องใน http://www.jarun.org/v5/th/lrule06h0501.html ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่คุณมะตาดที่กรุณาส่งให้อ่าน การที่เขียนชมวิธีการของหลวงพ่อวัดปากน้ำอันนี้เป็นเทคนิคลวงผู้คนให้ตายใจ ว่าตนเป็นคนกตัญญู แต่ขอยืนยันว่าวิชาหลวงพ่อที่เอาไปใช้นั้นดีจริงๆ


    ในเว็บนี้ยังบอกว่าไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อ ๒ ครั้ง แต่สายไปแล้ว คงเป็นการเขียนแก้เกมหลังจากมีคนเขียนไปต่อว่าถึงสำนักป่าม่วง เพราะว่าถ้าเป็นคนทำอะไรตรงไปตรงมาก็ต้องเรียนสมเด็จฯวัดปากน้ำแล้วว่า มาเรียน๒ ครั้ง แต่กลับเรียนสมเด็จว่ามาเรียนปี ๒๔๙๖ ทำไมไม่กล้าบอกสมเด็จฯ ว่ามาเรียนปี ๒๔๙๓ มาเขียนที่หลังจะได้ประโยชน์อะไร


    จากข้อความในเว็บดังกล่าวที่ว่า“ขอบูชาพระสักกำเถอะ จะนำไปแจกญาติ” ท่านบอก “ไม่ได้ ต้องเอาไปองค์เดียว” อาตมาก็ไม่ทราบว่านโยบายท่านทำไมให้องค์เดียว อาตมาก็ไปเซ้าซี้ถามท่าน ท่านก็ตอบออกมาคำหนึ่ง........
    “หลวงพ่อครับ ญาติผมเยอะนะ” ก็ยังไปเซ้าซี้กับท่านอีก วันสุดท้ายท่านบอก “ตามใจ”
    อาตมาก็บอกว่า “ตามใจ อย่าให้เป็นบาปนะหลวงพ่อนะ” **หยิบใส่ย่ามมา** จะเป็นบาปหรือไม่ก็ไม่ทราบ ได้มาตั้งแต่พ.ศ.๒๔๙๖ เดี๋ยวนี้ไม่มีเหลือติดย่ามสักองค์เดียว”


    ท่านป่าม่วงเป็นบุคคลพิเศษอะไร ? หลวงพ่อจึงอนุญาตให้ยิบพระใส่ย่าม และที่ตุ๊กตาผลอ้างว่าได้เป็นศิษย์ก้นกุฏิเพราะเป็นหลานหลวงธารา โดยอ้างว่าหลวงธาราเคยไปทอดกฐินที่วัดปากน้ำ ขออภัยต้องขอบอกไม่เคยได้ยินชื่อหลวงธาราเลย เป็นเรื่องที่พูดเอาเอง ศิษย์หลวงพ่อทุกคนทราบดีว่าหลวงพ่อเล็กเป็นศิษย์ก้นกุฏิ
    เป็นไปไม่ได้ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำจะอนุญาตให้หยิบพระใส่ย่าม เพราะอะไร เพราะว่าแม้แต่สมเด็จสังฆราชปุ่น วัดโพธิ์ฯ หลานหลวงพ่อ รับใช้หลวงพ่อตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก เป็นสามเณรจนเป็นพระภิกษุ ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชตามคำพยากรณ์ของหลวงพ่อ หลวงพ่อยังให้พระของขวัญเพียงองค์เดียว เพราะหลวงพ่อสร้างพระของขวัญขึ้นมาเพื่อแจกเป็นของขวัญแก่คนที่มาทำบุญเพื่อสร้างอาคารโรงเรียนปริยัติธรรมวัดปากน้ำตั้งแต่ ๒๕ บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะทำบุญเป็นพัน หรือเป็นหมื่นก็ให้องค์เดียว คือคนเดียวองค์เดียว ถ้าท่านมอบให้ใครเปล่า ๆ หลวงพ่อจะต้องเอาเงินส่วนตัวท่านออกแทน เพราะหลวงพ่อบอกว่าพระของขวัญท่านทำให้วัดไม่ใช่ของท่าน {สมเด็จพระสังฆราชปุ่น ครั้งมีสมณะศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต, ๒๕๒๙, ประวัติพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ)และอนุภาพธรรมกาย ใน พระมงคลเทพมุนี ประวัติหลวงพ่อ และคู่มือสมภาร. ๒๕๒๙ วัดปากน้ำ, ภาษีเจริญ, และสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, หน้า ๙๖}


    -->> หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านเป็นคนจริง พูดจริงทำจริง มีวาทะตรงกับใจ ไม่ชอบคนโกหก มีเมตตาธรรมสูง มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรมสูง มีความกล้าหาญ กล้าพูดกล้าสอน ไม่ครั่นคร้ามต่อใคร เมื่อเห็นดีอย่างไร ก็ปฏิบัติไปตามนั้น หลวงพ่อบอกว่าใครโกหกท่านเป็นคนหมดดี พระไม่ใช่ของท่าน มีหรือหลวงพ่อจะอนุญาตให้ท่านป่าม่วงยิบพระของขวัญใส่ย่าม โดยเฉพาะผู้มีบารมีอย่างหลวงพ่อ มีหรือจะไม่ทราบว่า ต่อไปในอนาคตท่านป่าม่วงจะให้ร้ายวิชชาธรรมกาย ดังที่กระทำอยู่ในปัจจุบัน


    และขอบคุณคุณมะตาดอีกครั้งหนึ่งที่ส่ง http://www.jarun.org/v5/th/lrule08h0102.html มาให้ ข้อความในเว็บที่ว่า “อาตมาได้ฟังเทศน์ลำดับญาณ โดยอาจารย์พม่ามาเทศน์และมีทูตมาแปลเป็นภาษาไทย ฟังพร้อมกับหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ เดิมทีอาตมาไม่ทราบว่าท่านมานั่งกรรมฐานที่วัดมหาธาตุฯ พอดีท่านเจ้าคุณอาจารย์ไปสอบอารมณ์ อาตมาก็ตามไปฟัง หลวงพ่อสดบอกอาตมาว่า เราเป็นขี้ข้าเขามาหลายสิบปี มีแต่นิมิตเครื่องหมายมากมาย และติดนิมิต พอกำหนด เห็นหนอ ๆ นิมิตธรรมกายหายไป ปัญญาเกิด และเข้าผลสมาบัติได้ถึง ๘๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นก็เข้านิโรธสมาบัติได้ด้วย อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว และท่านยังบอกอาตมาอีกว่า ถ้าเราอยู่เราจะสอนอย่างนี้ต่อไป แต่ถ้าเราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์”


    เป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างยิ่งหากศิษย์คิดล้างครู
    เป็นเรื่องที่ท่านป่าม่วงจินตนาการเอาเอง เพราะหลวงพ่อถูกเกณฑ์ให้เรียน ไม่ใช่มาเรียนเอง ท่านถูกเกณฑ์มาเรียน หลังท่านป่าม่วงเรียนจบไปแล้วประมาณ ๔ เดือน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ฟังเทศลำดับญาณพร้อมหลวงพ่อวัดปากน้ำ เป็นที่น่าสังเวชยิ่งที่เขียนว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำบอกตนว่า “เราเป็นขี้ข้าเขามาหลายสิบปี มีแต่นิมิตเครื่องหมายมากมาย และติดนิมิต พอกำหนด เห็นหนอ ๆ นิมิตธรรมกายหายไป ปัญญาเกิด และเข้าผลสมาบัติได้ถึง ๘๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นก็เข้านิโรธสมาบัติได้ด้วย อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว และท่านยังบอกอาตมาอีกว่า ถ้าเราอยู่เราจะสอนอย่างนี้ต่อไป แต่ถ้าเราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์” เป็นที่น่าสังเกตว่าท่านป่าม่วง ไม่กล้าเขียนว่าตนเรียนกับเจ้าคุณโชดกวันไหนเดือนไหน สำเร็จวันไหนเดือนไหน เพียงแต่บอกเรียนปี ๒๔๙๗


    เป็นข้อความที่ท่านป่าม่วงพูดไม่ตรงความจริงหรือไม่????

    เป็นที่น่าเวทนาแบบสุด ๆ เป็นคำเท็จจับได้ง่ายมากว่าเป็นคำมุสา ดังข้อความว่า “เราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์” เพราะเป็นไปไม่ได้ที่คนบรรลุญาณ ๑๖ แล้ว กลับเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากผู้มากไปด้วยความเมตตา กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว คิดจะเอาตัวรอดคนเดียว ไม่คิดช่วยเหลือศิษย์ที่มีจำนวนเป็นแสนเป็นล้านให้บรรลุคุณวิเศษเหมือนตน ไม่สมกับผู้บรรลุญาณ ๑๖ เลย แปลกจริงหนอ ๆ ๆ ๆ


    สวรรค์มีตา จึงทำให้สามารถมองเห็นเจตนาของผู้กล่าวหาหลวงพ่อวัดปากน้ำ ว่าจะเลิกวิชชาธรรมกาย ฯลฯ

    ที่ท่านป่าม่วงบอกว่า “อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว” นี้เป็นเหลี่ยมคูของผู้คนที่สุจริตหรือไม่?

    เพราะถ้ามุสาแบบนี้ สมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำมีชีวิตอยู่คงทำไม่ได้ เพราะคนคงไปถามหลวงพ่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เด็ก เข้าถึงสมาธิแบบต่างๆ ทำให้มีตาทิพย์ หูทิพย์ อายตนะทิพย์ได้ง่าย
    ............... แต่ก็เสื่อมง่าย


    เด็ก มีสติ สัมปชัญญะอ่อน ถูกจูงรู้จูงญาณง่าย
    เมื่อเด็กยังไม่ได้ผ่านการอบรมฝึกฝนสติ-สัมปชัญญะให้กล้าแข็ง
    ด้วยการอบรมสติปัฏฐาน 4
    ถ้าใช้เด็กดูนอกลู่ นอกทางบ่อยเข้า......จิตจะค่อยๆออกศูนย์

    ถูกอกุศล ค่อยๆปนเป็นเข้ามา และธรรมกายที่บริสุทธิ์จะดับไป

    จะเหลือแต่ที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา.......พึงระวัง<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010104.wma[/MUSIC]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • สด.JPG
      สด.JPG
      ขนาดไฟล์:
      10.6 KB
      เปิดดู:
      410
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ดวงธรรม และ ธรรมกาย เป็นรูปหรือนาม ???? ช่วยตอบด้วย

    เมื่อสมัยเกือบ ๒๐ ปีมาแล้วก่อนท่านกับผมลาออกนิดหน่อย ท่านยังไม่ได้บวช ผมเคยถามปัญหาธรรมท่านอย่างหนึ่ง พอดีมีคนอื่นมาขัดจังหวะ ท่านเลยยังไม่ได้ตอบผม ปัจจุบันนี้อายุผมเกือบจะ ๗๐ แล้ว ก็ยังไม่ได้คำตอบ ผมจึงขอเรียนถามท่านเสียที่นี่อีกครั้งนะครับ ผมถามอย่างนี้ครับ ดวงธรรม และธรรมกายทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรม หรือรูปธรรมครับ ผมเรียนถามเท่านี้ละครับ ผมตีไม่แตกซะที

    เรื่องที่ถามไป ขอเจริญพรตอบสั้นๆ ไว้ก่อนว่า เฉพาะเรื่อง “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกายโลกิยะ (มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม) ส่วนที่รับรู้ เป็นนามธรรม ส่วนที่ถูกรับรู้เป็นรูปธรรม กล่าวคือ ส่วนที่ขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ ๔ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ นั้นก็คือ “ใจ” ซึ่งเป็นนามธรรมนี้ตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงกาย
    ซึ่งขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ซึ่งเห็นเป็นดวงใสอยู่ชั้นนอก และมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ตั้งอยู่ภายในดวงกายนั้นแหละ ส่วนนี้เป็นรูปธรรม และยังมีเจตสิกธรรมที่เป็นบุญกุศล, บาปอกุศลหรือกลางๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตที่เป็นกุศล/อกุศล/กลางๆ อีกด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็น “สังขารธรรม” ทั้งสิ้น จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นสังขตธรรมสังขตลักษณะคือความเกิดปรากฏ ๑ ความเสื่อมสลายปรากฏ ๑ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ วโย ปญฺญายติ ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)
    ส่วน “ธรรมกาย” ที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นธรรมธาตุที่บริสุทธิ์ (วิราคธาตุ) ล้วน ๆ ของพระอริยเจ้า-พระอรหันตเจ้าที่ยังมีชีวิต คือยังครองเบญจขันธ์อยู่ชื่อว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ที่เบญจขันธ์แตกทำลายแล้วชื่อว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” เฉพาะพระนิพพานธาตุของพระอรหันต์เป็น วิสังขารธรรม” ที่ไม่ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ มีสภาวะที่เป็นนิจจัง ปรมัง สุขังและธุวัง (ธุวํ-ยั่งยืน หรือ สสฺสตํ มั่นคง หรือ ตาทิ-คงที่) เป็นอมตํ ปทํ เป็นอสังขตธรรมที่มีอสังขตลักษณะคือไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย ๑ (และ) เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑ (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ น วโย ปญฺญายติ น ฐิตสฺส อญฺยถตฺตํ ปญฺญายติ) นี้แหละที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระปัญจวัคคีย์ผู้บรรลุพระโสดาบันบุคคลแล้ว ด้วยอนัตตลักขณสูตร มีความตอนหนึ่งว่า
    “รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส. นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย. ฯเปฯ ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว รูปํ อนตฺตา. ตสฺมา รูปํ อาพาธาย สวตฺตติ.”
    “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ.... ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูป[นี้]แลเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูป[นี้]จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ”
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เมื่อตอนแยกกลุ่มเริ่มปฏิบัติ ผมได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อพระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี ว่า วันนี้ถ้าผมมีบุญบารมีพอที่จะเข้าถึง รู้วิชชาธรรมกาย ขอให้ผมนึกเห็นดวงแก้วกลมใสในฐานที่ ๗ พร้อมกับนิมิตอื่นๆ อีกที่เป็นสัมมาทิฏฐิ แต่ถ้าไม่มีบุญบารมีพอ ผมก็จะขอหยุดไว้ก่อน เพื่อตั้งหลักครั้งใหม่ พอเริ่มปฏิบัติไป ก็ปรากฏเห็นดวงแก้วกลมใสพร้อมองค์พระที่ใสในขณะเดียวกัน อาการเช่นนี้เป็นอยู่นานพอสมควร ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผม ปรากฏว่าดีขึ้นเป็นอย่างมาก

    คำอธิษฐานนี้เสี่ยงไปหน่อยนะครับ เสี่ยงในข้อที่ว่า ท่านอธิษฐานว่า “แต่ถ้าไม่มีบุญบารมีพอ ผมก็จะขอหยุดไว้ก่อน เพื่อตั้งหลักครั้งใหม่”
    ตรงนี้เป็นการอธิษฐานที่ไม่ถูกต้อง เหตุที่ไม่ถูกต้องเพราะว่า ถ้าไม่มีบุญบารมี ก็ไม่ได้มาเรียนหรอกครับ คือทุกคนมีบุญบารมีด้วยกันทั้งนั้น ที่กระผมจะพูดหมายถึงอย่างนี้ แต่มีมากมีน้อย ไม่ใช่ไม่มีคือศูนย์ ไม่ใช่อย่างนั้น มีบุญบารมีด้วยกันทั้งนั้น
    พระคุณเจ้าเองก็มี แต่ถ้าบุญบารมียังน้อยอยู่ มันก็ยังไม่เห็น อย่าไปเอาเป็นอารมณ์มากนักในเรื่องของอธิษฐาน ไม่อย่างนั้นเสียเปรียบภาคมาร ภาคมารคอยสอดละเอียด หลอกเราแวบเดียว เราพลาดไปเลย
    บางท่านอธิษฐานสร้างบุญบารมี เพียงปกติสาวก ถ้าโดยนัยนั้นก็เหมือนว่า เราจะบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในระดับมาตรฐานเบื้องต้น คือระดับปกติสาวก
    มาตรฐานเบื้องต้นนั้น เมื่อได้บำเพ็ญบุญกุศลได้เต็มหนึ่งคืบของเจ้าของ บุญนั้นจะกลั่นตัวเองเป็นบารมี ได้ประมาณเท่าหนึ่งองคุลีมือ
    บำเพ็ญบารมีจนเต็มแก่กล้าได้หนึ่งคืบ จึงจะกลั่นตัวเองเป็นอุปบารมี เท่าหนึ่งองคุลีมือ
    แล้วก็บำเพ็ญอุปบารมีจนเต็มหนึ่งคืบ จึงจะกลั่นตัวเองเป็นปรมัตถบารมี ประมาณเท่าหนึ่งองคุลีมือ
    และถ้าบำเพ็ญปรมัตถบารมีได้เต็มหนึ่งคืบของตัวครบ หมดทั้ง ๑๐ ประการ (ทานบารมี, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา และอุเบกขาบารมี) ในภพชาติใด ภพชาตินั้น เมื่อบารมีเต็มก็เป็นอันว่าผู้บำเพ็ญบารมีนั้น มีพลวปัจจัยให้สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ หมายความว่า ถึงมรรคผลนิพพานได้
    เพราะฉะนั้นเรื่องบุญบารมี อย่าเอาไปใช้ในลักษณะพนันหรือท้าทายว่า ถ้าผมไม่มีบุญบารมี ก็หยุดไว้ก่อน อย่างนั้นผิด เพราะอะไร ? มันผิดตรงที่ว่าเราแน่ใจแล้วหรือว่าเรามีบุญบารมีกี่มากน้อย ? หากว่าเรามีบุญบารมียังไม่พอ ก็ยังไม่เห็น (ดวงธรรม)
    แต่เราต้องถามตัวเองก่อนว่า วิธีที่ให้ปฏิบัติอย่างนี้ผิดหรือถูก ? เราพิจารณาดูเสียก่อนว่า ปฏิบัติอย่างนี้ผิดหรือถูก ถ้าถูกแล้ว แม้ยังไม่เห็นก็ตั้งใจปฏิบัติไป สั่งสมบุญกุศลคุณความดีเรื่อยไป หยุดทำไม ? ถึงเวลาก็ได้เห็นเอง หยุดไปก็ถูกมารหลอก
    การอธิษฐานนี่ นิดเดียวก็ถูกมารหลอกแล้ว เห็นไหมล่ะ ไปอธิษฐานว่า ถ้าไม่เห็นก็แปลว่าไม่มีบุญบารมี จะหยุดเสียแล้ว ไปเอาข้อนี้มาเป็นเงื่อนไข
    บุญมีนะ แต่มันยังน้อยอยู่ หรือว่ามันมีเหตุปัจจัยอื่นๆ อะไรปิดบังอยู่ เราก็ไม่รู้ ไปตีความว่าเราไม่มีบุญเสียแล้ว จะหยุดปฏิบัติเสียแล้ว เหมือนกับเราจะขุดน้ำในบ่อ พอไปเจอรากไม้หน่อย โอ๊ย ไปไม่ได้แล้ว ก็จบกัน
    เพราะฉะนั้น เมื่อไปเจอรากไม้ตอไม้หรืออะไร เราก็พยายามขุดตัดออกอีกหน่อยก็ลงไปได้ แต่ต้องค่อยๆ ทำ ไม่ใช่ว่าขุดไปต้องให้เจอน้ำนะ ถ้าไม่เจอน้ำก็แปลว่าไม่มีน้ำ อย่างนี้ก็เสร็จกัน
    เราถามตัวเองก่อนว่า วิธีปฏิบัตินี้ ตามที่สอนไปนี้ผิดหรือถูก ให้คุณหรือให้โทษ ตรงนี้ต่างหากคือประเด็นที่ควรพิจารณา
    เผอิญท่านอธิษฐานแล้ว ท่านเห็น นี่เป็นการดี ท่านมีบุญบารมีอยู่แล้ว ไม่ต้องไปอธิษฐานอย่างนั้นก็เห็นได้ เกิดหากว่ามารสอดละเอียดให้ท่านไม่เห็นซะนี่ ทั้งๆ ที่ท่านมีบุญ เผอิญวันนี้มารสอดละเอียดท่านหน่อย เลยยังไม่เห็น ไม่เห็นท่านก็หยุดเสียแล้ว ทั้งๆ ที่มันใกล้จะเห็นอยู่แล้ว
    หรือว่าเหมือนกับขุดน้ำ มันจวนจะถึงน้ำอยู่แล้ว อะไรมาคั่นหน่อยเดียว บอกว่าถ้าไม่เห็น น้ำผมจะหยุดแล้ว ไปเห็นอุปสรรคอะไรขวางหน่อย ก็คิดว่าผมจะหยุดแล้ว เสร็จเลย ทั้งๆ ที่เลยไปอีกหน่อยเดียวก็เห็น
    นี่แหละให้ระวังเรื่องอธิษฐาน ให้ระวัง ! มีคนเคยเป็นแบบนี้มาแล้ว อาตมาบอกแล้วก็ไม่ยอมเชื่อเสียด้วย
    เพราะฉะนั้นเรื่องอธิษฐาน ต้องระวังให้ดี บางทีกลายเป็นการผูกมัดตัวเอง ไม่ใช่แต่เพียงเรื่องอธิษฐาน บางคนว่าฉันต้องรักษาวาจาสัตย์ พูดอะไรออกไปก็ต้องเป็นตามนั้นเสมอไป ถ้าพูดถูกแล้วเป็นตามนั้นก็สมควร แต่ถ้าพูดผิดด้วยอารมณ์ บางทีมันมีอารมณ์รัก โกรธ เกลียด ชอบ ชัง หลง กลัว อะไรๆ ก็แล้วแต่ พอเราพูดว่าต่อไปนี้ฉันจะไม่ยังงั้น ละฉันจะไม่อย่างงี้ละ หรือว่าต่อไปนี้ฉันจะทำอย่างนั้น ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ฉันก็จะไม่เป็นอย่างนี้
    บางทีเราหลงเข้าใจผิดแล้ว เลยอธิษฐานหรือพูดพลาดไปผิดๆ ถ้าไม่ระวังให้ดี หรือถ้ารู้ว่าอธิษฐานผิด/พูดผิดแล้วไม่แก้ให้ถูก ก็เสียผลอย่างใหญ่หลวงได้
    เพราะฉะนั้น การถือสัจจะหรืออธิษฐานนี่ ให้จำไว้ว่า เราจงทำในขณะที่เรามีสติสัมปชัญญะดี มีปัญญาแจ้งชัดดีแล้ว ถ้ายังไม่แจ้งชัดพอก็อย่าเพิ่งอธิษฐาน อย่าเพิ่งลั่นวาจา ตรงนี้สำคัญ...
    ถ้าลั่นวาจาแล้ว ภายหลังเรารู้ว่าไม่ถูก ไปพูดเข้าไปแล้ว เลยกลับคำไม่ได้ หรืออย่างเช่น การอธิษฐานนี่ บางท่านอธิษฐานกินเจ (มังสวิรัติ) ตลอดชีวิต บางรายก็เป็นโรคขาดสารอาหาร เลยแห้งเหี่ยว เพราะร่างกายต้องการสิ่งที่มีประโยชน์มาบำรุงพอสมควร แต่ไม่ใช่ว่าต้องรับประทานแต่อาหารที่ดีๆ เกินไป จนเกินเหตุ เราต้องมี “โภชเนมัตตัญญุตา” คือ รับประทานแต่พอควรถ้าอดอาหารจนร่างกายไม่มีกำลัง พระพุทธเจ้าทรงถือว่าเป็น “อัตตกิลมถานุโยค” เป็นการทรมานร่างกายจนเกินเหตุ ไม่ใช่ทางให้พ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางให้เกิดปัญญา ที่จะแทงตลอดอริยสัจได้ นี่ต้องระวัง เรื่องนี้สำคัญ
    บางทีไปอธิษฐานว่า ถ้าไม่เห็นไม่ยอมลุก บางทีเราตายเปล่านะ ผู้ที่อธิษฐานอย่างนี้ได้ อย่างหลวงพ่อท่านอธิษฐาน ข้อนี้ดีจริงนะ ไม่ใช่ไม่ดี พระพุทธเจ้าก็อธิษฐาน แต่นั่นท่านรู้ตัวท่านแล้วว่าบารมี ท่านแค่ไหน คือปฏิบัติไปจะรู้ตัว แต่ถ้าท่านผู้ใดรู้ตัวมีบารมีพอ จึงค่อยอธิษฐาน เอาเลย ! หรือว่ารู้ว่าสิ่งนี้ถูกต้องแน่ เราจะทำอย่างนี้ หรือจะไม่ทำอย่างนี้ ให้มันแน่นอนลงไปอย่างนั้นได้ แต่ถ้าเป็นไปด้วยอารมณ์ เป็นไปด้วยกิเลส เหตุนำเหตุหนุนให้พูดหรืออธิษฐาน ขณะมีความรัก โกรธ เกลียด ชอบ ชัง หลงอยู่ กลัวอยู่ อย่างนี้เป็นต้น ไปพูดตั้งสัตยาธิษฐานด้วยอาการอย่างนั้นละก็เสร็จเลย จะกลับคำก็ไม่ได้ กลับคำก็ถือว่าเสียสัจจะ นี่ไปยึดผิดๆ อย่างนั้น
    แต่ผมน่ะพระคุณเจ้า จะบอกโยมด้วย อาตมานี่ถ้าว่าจะตั้งใจทำอะไร ตั้งใจทำให้สำเร็จจริง แต่ถ้าเห็นมีอุปสรรค มีปัญหา หรือเห็นว่านี่เรามาผิดทางแล้ว เห็นว่าควรจะปรับปรุงแก้ไข ก็แก้ไข ไม่ใช่ว่าฉันตั้งสัตยาธิษฐานไว้แล้วว่าฉันจะเดินไปทางนี้ บางคนเดินไปแล้วมันจะชนเสา หัวก็ โขกเสาอยู่นั่น แต่ผมไม่ยอมชนเสาละ ผมหลีกนะ แต่ไม่ใช่ถือว่าเสียสัจจะ เพราะวัตถุประสงค์ของผมอยู่ที่ว่าจะไปให้ถึงจุดโน้น ไม่ใช่ว่าจะต้องเดินไปทางนี้ แม้จะตรงเสาก็ให้ชนเสาเพื่อไปถึงจุดโน้น ก็ย่อมไม่ถึง เพราะเสาไม่หลีกให้เรา เราก็ไปถึงจุดโน้นไม่ได้
    เพราะฉะนั้นเมื่อผมมีวัตถุประสงค์จะเดินให้ไปถึงจุดตรงนู้น แม้เมื่อไปทางนั้นจะชนเสาก็หลีกได้ ขอให้ไปถึงจุดที่ต้องการก็แล้วกัน
    การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ให้ถูกต้องตรงตามหลักการ เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ประสงค์ ไม่ใช่เป็นการเสียสัจจะ เพราะจุดประสงค์เรามุ่งที่จะถึงจุดตรงนู้น เข้าใจไหม ?
    เพราะฉะนั้นจะอธิษฐานอะไรต้องให้รอบคอบ โดยเหตุนี้ อาตมาจึงนำอธิษฐานเป็นคำกลางๆ แม้แต่การทำบุญกุศลก็จะนำอธิษฐานเพื่อไปมรรคผล นิพพาน เป็นคำกลางๆ และถูกต้องแน่นอนดี อธิษฐานเพื่อถึงมรรคผลนิพพานฝ่ายสัมมาทิฏฐิ
    ทีนี้มีคนถามเหมือนกันว่า “มรรคผล นิพพาน ฝ่ายมิจฉาทิฏฐิมีไหม หลวงพ่อ [พระภาวนาวิสุทธิคุณ] จึงได้กล่าวอธิษฐานอย่างนี้ ?”
    มันมีได้ด้วยความหลงเข้าใจผิด คิดว่าที่ตนเองเคยเรียนรู้มา (ผิดๆ) ว่ านั่นเป็นมรรคผลนิพพานจริงๆ แต่นั่นเป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่างนี้ก็มี
    เพราะฉะนั้นนี่แหละที่อาตมาบอกว่า นิพพานมิจฉาทิฏฐิของคนที่สอนสืบต่อๆ กันมาก็มีอยู่
    อาจมีคนค้านว่านิพพาน ต้องของจริงอย่างเดียวสิ บางครั้ง คนเกิดมาในยุคในสมัย หรือในครอบครัวหรือในสังคมที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ พูดเรื่องนิพพาน เราก็เห็นดีด้วย เราก็เลยตามดุ่ยเลย อย่าลืมว่ามิใช่ว่าสัตวโลกทุกผู้ทุกนาม ทุกชาติ ทุกศาสนา จะรู้เรื่องนิพพานแจ่มแจ้งดีแล้ว แท้ที่จริง ผู้รู้จริงก็มีแต่พระพุทธเจ้า พระอรหันตเจ้า และพระอริยเจ้า ในพระธรรมวินัยนี้ คือในพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น
    แต่สัตวโลกทั้งหลายมีความต้องการตามคุณสมบัติพระนิพพานที่จริงแท้ๆ นั่นแหละคือ ไม่อยากมีทุกข์ ไม่อยากแก่-เจ็บ-ตาย อยากจะมีแต่ความสุขอันถาวรนิตย์นิรันดร์
    มีใครอยากจะตายมั่ง มีมั้ย ? อยากจะเที่ยงกันทุกคน ใครอยากได้รับความทุกข์บ้าง มีไหม ? ก็ต้องการความสุขด้วยกันทุกคน
    ต้องการความเที่ยงเป็นสุข และต้องการยั่งยืน คือไม่รู้จักตาย ไม่ว่าสัตว์ดิรัจฉาน ไม่ว่ามนุษย์ ไม่ว่าเทวดา พรหม อรูปพรหม ล้วนต้องการคุณลักษณะของพระนิพพานแท้ๆ อย่างนี้ทั้งนั้น แต่ว่าไม่รู้จักพระนิพพานของจริงในพระพุทธศาสนา ทีนี้ ก็แล้วแต่ใครจะพูดจะแนะนำสั่งสอนอะไรไปผิดๆ ถูกๆ นี่แหละ “นิพพานมิจฉาทิฏฐิ” คือไม่รู้จัก พระนิพพาน ที่แท้จริง
    ที่อาตมาให้อธิษฐานแต่ละคำนั้น มีความหมายทั้งหมด ไม่ใช่ว่าพอดีพอร้าย ไม่ใช่ธรรมดา ไม่ใช่สักแต่พูด อาตมาจึงให้เน้นตรงนั้นตรงนี้ อย่างนั้นอย่างนี้ โปรดเข้าใจนะ
    สรุปว่า ถ้ามั่นใจว่าเรามีบุญบารมีพอ ก็อธิษฐานเช่นนั้นได้ แบบพระพุทธเจ้า แต่ถ้าไม่มั่นใจก็ไม่ต้องอธิษฐานอย่างนั้นหรอกครับ อธิษฐานอย่างที่หลวงพ่อท่านสอนให้อธิษฐานนั่นแหละ นี้แหละมันปลอดภัยที่สุด อธิษฐานตามนั้นแหละว่า
    “ขอบารมีทั้งหลายเหล่านั้น จงมาบังเกิดในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร”
    คืออย่างไร ? ก็คือมาเป็นตัวเรานั่นแหละ พูดกันง่ายๆ ขอบุญบารมีทั้งหลายเหล่านั้นมาเป็นตัวเรา บุญบารมีที่บริสุทธิ์ผ่องใส จะมาเป็นตัวเรา คือกายเนื้อนี้ได้อย่างไร เป็นไม่ได้ มาเป็นธรรมกายละก็ได้ เข้าใจไหม ?
    คำอธิษฐานของหลวงพ่อเป็นอย่างนี้ ทีนี้อาตมาก็เลยคิดว่า อาจจะมีโยมที่อาจจะไม่ค่อยรู้ความหมาย อาจจะมีพระไม่ค่อยรู้ เณรไม่ค่อยรู้ ก็เลยบอกให้ละเอียดลงไปหน่อยว่า “จงมาช่วยประคับประคองใจให้หยุดให้นิ่ง” เพราะถ้าใจไม่หยุดไม่นิ่งๆ ก็ไม่ถึงพระ ใจต้องหยุดต้องนิ่งจึงถึงพระ คือ ต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์ก่อน
    วิธีการปฏิบัติภาวนาให้ใจสงบ ให้หยุดให้นิ่งอย่างนี้ ผิดหรือถูกล่ะ เมื่อรู้ว่าถูกแล้วก็ไม่ต้องไปคิดมาก เดินหน้าอย่างเดียว ลุยอย่างเดียว ลุยไปจนตาย แล้วก็ได้เห็นเองเป็นเองเท่านั้นแหละ
    เราพิจารณาดูว่าทางปฏิบัตินั้นถูกมั้ย ถ้าถูกแล้วก็ทำไปเลย แต่ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นว่าทางนี้ไม่ถูก ถ้าไม่ถูกก็เปลี่ยนหรือปรับปรุงให้มันถูก ก็เท่านี้แหละ
    อาตมาใช้อย่างนี้ เพราะฉะนั้นหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านจึงสอนว่า “ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก ประกอบในเหตุ สังเกตในผล ทนเอาเถิด ประเสริฐดีนัก” ก็คือว่าปฏิบัติไปก็พิจารณาดูเหตุ ดูผลไป คอยประคับประคองใจของเราให้ถูกทางว่า ทำแล้วได้ผลไหม อย่างนี้ๆๆ ถ้าไม่ได้ผล เป็นเพราะเราไม่ถูกต้องตรงไหน เราก็ปรับตรงนั้นซะ
    จุดหมายปลายทาง ก็ต้องการให้ใจหยุด จะให้ใจหยุดตรงไหน ? ก็ให้หยุดตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม หยุดตรง นั้นแล้วได้อะไร ? หยุดแล้วถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    ถ้ามีคนถามว่านั่นนิมิตนี่ บอกเขาไปว่า คุณรู้จริงหรือเปล่าว่า นิมิตเป็นอย่างไร ?
    ถ้าเขาว่า นั่นปฏิภาคนิมิตยังไงล่ะ เห็นเป็นดวงใสเหมือนกัน ก็บอกเขาไปว่า “ใช่”
    แต่นี่เมื่อเห็นดวงใสตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น “ใจ” คือ เห็น จำ คิด รู้ (ที่ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#000000 vAlign=top rowSpan=2><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#000000 colSpan=2 align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#222244><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    ในวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2553 เป็นวันคล้ายวันหลวงพ่อวัดปากน้ำบรรลุธรรมกายครบ 94 ปีแล้ว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชาวโลกได้รู้จักหลวงพ่อวัดปากน้ำ และการค้นพบวิชชาธรรมกาย ณ อุโบสถวัดโบสถ์บน บางคูเวียง จังหวัดนนทบุรี

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะพยายาม ขุดค้นปฏิบัติแสวงหาสัจธรรม จนได้ประสบผลสำเร็จพบ "วิชชาธรรมกาย" ใช้เวลากว่าครึ่งศตวรรษปลูกฝังสั่งสอนเผยแผ่ "วิชชาธรรมกาย" ขยายขอบเขตวงกว้างอย่างสุดประมาณ เทศนาสั่งสอนวิธีปฏิบัติ จนเกิดเป็นรากแก้วแก่นวิชชาธรรมกายหยั่งลึกลงสู่จิตใจ สาธุชนผู้ขวนขวายพากเพียรปฏิบัติตาม จนได้ธรรมกายเป็นจำนวนมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2010
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เป็นไปได้ไหม ที่จะดูอนาคตระหว่างการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ?



    เมื่อใดที่ท่านปฏิบัติได้ถึงดวงธรรมใส และรวมใจไว้ที่กลางของกลาง หยุดในหยุดนิ่ง กลางดวงธรรมใสนั้น ท่านจะเห็นช่องว่างเล็กๆ ขนาดประมาณเท่ารูเข็มหรือเล็กกว่า ขึ้นอยู่กับระดับการรวมใจของท่าน ยิ่งระดับสูงช่องว่างนั้นก็ยิ่งเล็ก ตรงกลางช่องว่างนั้น มีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมเป็นเส้นเล็กๆ ที่บางที่สุด บางมากจริงๆ และใส
    ให้รวมใจหยุดนิ่งที่กลางของกลาง อย่าสร้างภาพใดๆ รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดๆ เพื่อทำใจให้เป็นกลาง แล้วอธิษฐานจิตไปตามสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น เมื่อใจหยุดนิ่งศูนย์กลางก็จะขยายออก ท่านก็จะเห็นชีวิตของท่านระหว่าง ๕-๑๐ ปีข้างหน้า เป็นกายที่แก่นั้น แล้วก็รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุด ที่กลางของกลางศูนย์กลางกายนั้นเข้าไป ก็จะสามารถเห็นกายที่แก่มากขึ้น จนกระทั่งเห็นการตายของสังขารร่างกายของท่านเอง
    อาตมาแน่ใจว่าผู้ใดทำใจให้บริสุทธิ์และเป็นกลางอย่างนี้ หรือผู้ถึงธรรมกาย ก็จะสามารถหยั่งรู้ได้ว่าเขาจะตายเมื่อไรและอย่างไร เมื่อเห็นการตายของสังขารร่างกายของตนเอง ก็สามารถใช้ประสบการณ์นี้เป็นมรณสติได้
    และแม้ว่าเรารู้วันที่เราจะตายแน่นอน และจะตายด้วยอาการอย่างไร เรายังจะคลายความยึดมั่นถือมั่นในสังขารธรรมทั้งหลายได้ และจะเห็นแจ้งด้วยปัญญาของเราเองว่า กายและใจหรือขันธ์ ๕ ของเรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    ตราบเท่าที่ท่านยังมีตัณหา ท่านก็ยังจะมีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ต่อไป ในโลกมนุษย์ ทิพย์ พรหม หรืออรูปพรหม ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม แต่ธรรมกายนั้นหามีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมไม่ เพราะเป็นกายบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้เกิดภพชาติอีกต่อไป
    อย่างไรก็ตาม อาตมาใคร่จะแนะนำท่านว่า เมื่อท่านปฏิบัติได้ถึงระดับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นพระภิกษุ ไม่ควรบอกหรือโอ้อวดแก่ผู้ใด เพราะเป็นการผิดพระวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งสำหรับตน จึงใคร่จะเน้นว่า ตราบใดที่เรายังไม่ใช่พระอรหันต์ สิ่งที่เรารู้เห็นเหล่านี้ก็ยังไม่แน่นอน ๑๐๐% ดังนั้นการพิจารณาเช่นนี้จะต้องทำตลอดเวลา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งสำหรับตน (มิใช่เพื่อการโอ้อวดแก่ใคร)
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    กระผมเคยปฏิบัติตั้งสติกำหนดลมหายใจพุทโธภาวนา เวลานอน เวลาเอนกายลง นอนกายในกายคือกายทิพย์ ตามที่กระผมเข้าใจเอง มักจะแยกออกมา อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไรครับ ? หรือกระผมทำผิดครับ ?

    เรื่องกายทิพย์แยกหรือไม่แยก มันมีอยู่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ สำหรับผู้ที่จะนอนหลับ กำลังเคลิ้มหลับ จิตดวงเดิมตกศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ จิตดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมายังศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ถึงจะพุทโธๆ ก็ช่วยให้จิตสงบเร็วๆ
    มันไปสงบที่ไหน ไปสงบที่กลางพระนาภี พร้อมๆ กับเราเอนอยากจะหลับนั่นแหละ อาการของคนจะหลับกับอาการของคนมีสมาธิคล้ายกันมาก ต่างกันอย่างเดียวอาการของคนจะหลับนั้น สติสัมปชัญญะมันลดลงๆๆๆ หายไปเลย แต่คนมีสมาธิสติสัมปชัญญะ มันอยู่คู่กับใจที่ใสปลั่งอยู่เท่านั้นเอง
    ทีนี้ ในอาการ ๒ อย่างไปร่วมกันอยู่นั่นแหละ ถ้ากำลังจะเผลอสติ ดวงธรรมดวงเดิมจะตกศูนย์ไป แล้วดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกาย อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั่นแหละ กายทิพย์ปรากฏขึ้นมาด้วย ถ้าเคลิ้มหลับไปก็ฝันล่ะ ไปเห็นโน่นเห็นนี่ ก็มารายงานกายเนื้อ หลับแล้วก็ฝันไป แต่ว่าเวลาเราปฏิบัติภาวนาเราตั้งใจจริงไม่เผลอสติ ถ้าว่าปฏิบัติถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็เห็นกาย ณ ภายในที่สุดละเอียด สุดละเอียด ธรรมในธรรมไปแล้ว ก็เห็นกายในกาย ก็เห็นกันอย่างมีระเบียบ กายในกายก็ตั้งซ้อนกันอยู่ตรงกลางของกลางเข้าไปจนสุดละเอียด ตั้งอยู่ เห็นอยู่ ไม่แยกออกไปไหน ไอ้ที่จะแยกออกไปนั่น ก็เพราะจิตรวมหยุดเป็นจุดเดียวกันไม่สนิท ไม่อยู่กลางของกลาง เพราะสติเผลอ หรือไม่รู้วิธีรวมใจให้หยุดในหยุดกลางของหยุด เพราะไม่ได้รับการอบรมใจของตนให้เป็นสมาธิไปตามขั้นตอนที่เหมาะสม
    อันนี้มีพระคุณเจ้าระดับวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง เป็นเจ้าสำนัก ได้ยินว่าท่านนั่งเจริญภาวนาท่านนั่งไปเอง พุทโธๆ ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏขึ้นภายนอกกายหยาบ ท่านเห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่งอยู่ภายนอกกายหยาบ ท่านก็เลยเอากายละเอียดพิจารณากายหยาบ เอากายหยาบพิจารณากายละเอียดว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่เพียงเท่านั้นแหละ เลยไม่ได้ก้าวหน้าให้ถึงธรรมกาย ท่านก็พิจารณาไตรลักษณ์อยู่แค่นี้ครับ
    กระผมพยายามส่งเอกสารนิตยสารธรรมกายทั้งเทปไปถวาย ไม่ทราบว่าท่านได้ดูหรือเปล่า ถ้าว่าท่านได้ดู ท่านเดินวิธีปฏิบัติตามนิตยสารนั้น แป๊บเดียวท่านก็จะสามารถปฏิบัติถึงธรรมกายและถึงพระนิพพานอันเป็นธรรมชั้นสูงได้เร็ว เพราะท่านมีพื้นที่ดีอยู่แล้ว กายมนุษย์ละเอียดท่านเห็นอยู่แล้วเป็นประจำ นั่ง พิจารณาว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เพียงเท่านั้นเป็นประจำ ไม่ได้ปฏิบัติเข้ากลางของกลาง และดับหยาบไปหาละเอียดให้ไปถึงสุดละเอียด หลายท่านก็สอนกันว่านี่เป็นนิมิตหลอกนิมิตลวง ให้ปฏิเสธเสีย เพราะว่าเขาไม่รู้วิธีเข้ากลางของกลาง และดับหยาบไปหาละเอียดไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกายและไปถึงพระนิพพาน ก็เลยนึกว่านี่เป็นนิมิตหลอก ตัดทิ้งซะ ไม่เอาซะเลย เมื่อไม่เอา ก็ไม่มีฐานที่ตั้งของจิตที่มั่นคง จิตไม่มีฐานที่ตั้งที่จะเป็นสมาธิได้แนบแน่นมั่นคงเพื่อปฏิบัติเข้ากลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียดไปสุดละเอียดถึงธรรมกาย ไม่มีฐานอันมั่นคง เมื่อไม่มีฐานมั่นคงก็ไปไม่ถึงธรรมกาย ไม่ถึงพระนิพพาน แต่ว่าคุณธรรมของท่านบรรลุได้ ละกิเลสท่านก็ทำได้ แต่ว่าที่จะถึงธรรมกายไปถึงพระนิพพานท่านยังทำไม่ได้ เพราะท่านเห็นธรรมกายเมื่อไหร่ ก็ปฏิเสธว่าเป็นนิมิต ก็เท่ากับเลื่อยหรือตัดขาเก้าอี้ที่ตนนั่ง
    อีกท่านหนึ่งนั่นเป็นระดับลูกศิษย์ในสำนักหนึ่ง นั่งภาวนาทีไรเห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป เพราะอาจารย์ท่านสอนไว้ว่านั่นเป็นนิมิต เป็นนิมิตลวง นั่งไปอีกก็เห็นอีก ไม่เอาปฏิเสธเสีย ธรรมจึงไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร ไปติดอยู่แค่นั้น
    เพราะฉะนั้น เรื่องจริงๆ ก็มีอยู่นิดเดียวเท่านั้นละครับว่า บางท่านอาจจะถือกันมาผิดๆ จากเจตนาที่พระอาจารย์ท่านสอน จากประสบการณ์ จากที่เคยได้ยินได้ฟังมา พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ท่านได้เห็นดวงกสิณของท่านดวงใหญ่ พอท่านเห็นแล้ว ตอนแรกๆ ท่านก็ตามดูกสิณนั้นไป เห็นเข้าไปเรื่อยๆ ดูตามไปก็เห็นต่างๆ นานา เห็นเหมือนกับระลึกชาติ ไปเห็นชาติเก่าบ้าง ชาติใหม่บ้าง อนาคตบ้าง อะไรบ้าง ท่านก็ดูตามไปๆ เรื่อยๆ เห็นอะไรต่อมิอะไร หนักเข้าๆ ก็เห็นจะไม่ได้เรื่อง ท่านก็เลยบอกว่า โอ! นี่ไม่มีประโยชน์ นิมิตไม่มีประโยชน์ ท่านก็ตัดทิ้ง คือ ท่านปฏิเสธ ฟังให้ดี แปลว่าท่านปฏิเสธนิมิตลวงที่เห็นปรากฏอยู่ข้างนอก ซึ่งถูกต้อง ไม่ผิด ท่านปฏิเสธนิมิตลวง เพราะนั่นยังไม่ใช่ของจริง เพราะไม่ได้เข้ากลางของกลาง ณ ภายใน ต่อเมื่อภายหลังท่านปฏิบัติไปๆ เมื่อท่านได้ทำใจให้หยุดนิ่งสนิทจนใจสงบที่ศูนย์กลางกาย ท่านก็ได้ดวงพุทโธนะ ท่านเรียกว่า “ดวงพุทโธ” ได้เคยอ่านประวัติท่าน ได้เคยอ่านประวัติ ตอนที่ท่านไปอยู่ป่าเขา ชาวเขาถามท่าน (หลวงพ่อมั่น) ว่า “ตุ๊เจ้าเดินหาอันหยัง ?” เพราะตุ๊เจ้าเดินจงกรมอยู่เรื่อยๆ ท่านตอบว่า “หาดวงพุทโธ” ความจริงท่านก็เดินจงกรม ใจท่านหยุด ท่านก็รู้ พิจารณาไปข้างใน ทีนี้พวกชาวเขาก็ถามท่านว่า แล้วก็อย่างพวกเขานี่ เขาจะหาดวงพุทโธได้ไหม ? ท่านก็บอกว่า ได้ มาซิ แล้วท่านก็แนะนำกัมมัฏฐานให้ แต่จะได้เท่าไหร่ ได้ผลเท่าไรก็ไม่ได้เล่าให้ฟัง นี้เป็นประวัติของท่าน มีอยู่ในหนังสือ ท่านเรียกดวงธรรม ณ ภายในนั้นว่า “ดวงพุทโธ”
    เพราะฉะนั้น บรรดาระดับอาจารย์ที่ท่านเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูง เมื่อท่านเจริญอานาปานสติ ใจหยุดลมหยุดที่ศูนย์กลางกาย ก็เห็นเป็นดวงใสเหมือนกันหมดไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้นท่านจะสอนลูกศิษย์ลูกหาต่อไปว่า ให้เอามาพิจารณา ณ ภายใน อย่าให้อยู่ข้างนอก เหมือนกันหมด ท่านให้เอานิมิตมาพิจารณาข้างในทั้งนั้นนั่นแหละ แล้วผู้ปฏิบัติก็จะรู้ทางสายกลางไปเอง แต่สำหรับพระอริยเจ้าท่านไม่เอามาพูดมาก ก็เลยขอกราบเรียนพระคุณเจ้าไว้เพียงเท่านี้ว่า ไม่ได้แตกต่างกันหรอก เหมือนกันแหละ ทำไปเถอะ แล้วก็จะไปที่เดียวกันนั้นแหละ ไม่ไปไหนหรอก เพราะทุกคนก็มุ่งนิพพาน ซึ่งในทางปฏิบัติจักต้องผ่านทางสายเอก และทางสายกลาง ตรงกลางของกลางธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ ใจตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ของแต่ละกาย จากสุดหยาบไปจนสุดละเอียดทั้งสิ้น จะไปไหนรอด พอถึงจุดหนึ่งก็ไปทางเดียวกันนั่นแหละ แต่ทีนี้ลูกศิษย์ลูกหาบางท่านนี่แหละ ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด ตรงที่ว่า นิมิต(ลวง)ไม่ให้ถือ และยิ่งเมื่อเห็นอะไรเป็นนิมิตไปหมด ก็เลยปฏิเสธหมด เมื่อปฏิเสธหมด ก็ไม่มีฐาน ปฏิเสธนิมิต จิตก็ไม่มีฐานที่ตั้ง เหมือนยิงจรวดไม่มีฐานที่มั่นคง จะไปได้สักเท่าไร พระพุทธเจ้าได้ตรัสอยู่ในฉักกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า
    เมื่อภิกษุไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว จะยังสัมมาทิฏฐิ (คือความเห็นชอบ) แห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จะยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผล ให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลาย (คือหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง) ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้ เป็นได้เลย
    ทีนี้ เดี๋ยวพระคุณเจ้าหรือญาติโยมอาจจะสงสัยนิดหนึ่ง ตรงที่ว่า ตรงนี้พระพุทธองค์ ทรงแสดงว่าทำนิพพานให้แจ้งจะต้องละสังโยชน์ได้ทั้งหมด นั่นหมายถึงคุณธรรมพระอรหันต์ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมบอกว่า คนนั่งภาวนาถึงธรรมกาย ถึงนิพพานเห็นนิพพานได้ ? ตรงนี้เป็นวิกขัมภนวิมุตติ หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลสชั่วคราว และคำว่า “รู้แจ้ง” นั้น ถ้ายังไม่เป็นพระอริยเจ้าก็แจ้งน้อยกว่าพระอริยเจ้า แต่ก็ถึงประตูรู้เส้นทางจะไปแล้ว ได้สัมผัสทั้งสังขารและ วิสังขารแล้ว ว่ามีลักษณะหรือสามัญญลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ก็เพียรปฏิบัติไป เมื่อบารมีเต็มก็หลุดพ้นโดยสิ้นเชิงได้ เรื่องก็เป็นอย่างนี้ การเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายและพระนิพพาน แม้จะยังไม่หมดกิเลสโดยสิ้นเชิงก็หลุดพ้นได้ชั่วคราวด้วย “วิกขัมภนวิมุตติ” การหลุดพ้นมีตั้งหลายระดับ ระดับด้วยการข่มกิเลสทำได้ มีได้ แต่ว่าอวิชชาจะหมดหรือไม่หมดโดยสิ้นเชิง อวิชชาก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะจิตไม่สังขาร และเมื่อปฏิบัติภาวนาดับหยาบไปหาละเอียด ถูกเครื่องรู้เห็น คือ ทิพพจักษุ ทิพพโสตของกายทิพย์ ละเอียดยิ่งขึ้นไปจนถึงญาณทัสสนะของธรรมกายซึ่งเชื่อมต่อถึงกัน พอให้รู้ พอให้เห็น พอให้ได้สัมผัส พอเข้าใจสภาวะพระนิพพาน ได้ด้วยอาการอย่างนี้ แต่คำว่ารู้แจ้งหรือ “ทำนิพพานให้แจ้ง” ได้จริงๆ นั้น หมายเอาคุณธรรมพระอรหันต์ ท่านรู้แจ้ง ไม่มีอะไรปิดบังท่านในเรื่องของพระนิพพาน เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    มงคลกถา
    การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑
    ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๖


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
    อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมนฺติ.



    ... หยุดนั่นแหละถูกต้อง ร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าไม่หยุดละก้อ เลอะล่ะ แต่ถ้าพอหยุดได้แล้ว ก็อย่าออกจากหยุดหนา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางหนักเข้าไปอย่าถอย ออก ถ้าถอยออกผิดความประสงค์ กลางของกลางเข้าไปนั่นแหละ ตั้งแต่ต้นจนถึงพระอรหัต ไม่ให้คลาดเคลื่อนความหยุดอันนี้ เมื่อเราไปพบประเทศอันสมควรเข้าเช่นนั้นแล้ว เราจะต้อง พึงปฏิบัติให้ถูกส่วน ประเทศที่สมควรเป็นประเทศกลาง กลางนั่นแหละที่ใจหยุดเป็นประเทศกลาง ...เหตุนี้แหละท่านทั้งหลายที่ได้มาประสบพบพระพุทธศาสนาต้องหยุดตรงนี้แหละ จับหลักอันนี้ให้ได้ ถ้าจับหลักตรงนี้ไม่ได้ก็ไม่ถูกร่องรอยทางพุทธศาสนา ถึงจะปฏิบัติศาสนา สัก ๕๐ พรรษา ๘๐-๙๐ พรรษา หรือแม้ว่าจะเป็นหญิงเป็นชายชนิดใดก็ช่าง เข้าทางนี้ไม่ถูก ก็เหลว ไม่ถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนา...
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงมงคลกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญ ดังนี้ เป็นข้อใหญ่ใจความ ในสากลโลกก็ต้องการความเจริญด้วยกันทั้งนั้น หลีกเลี่ยงหนีความเสื่อมสิ้นด้วยกันทั้งนั้น ความเสื่อมเป็นอนิฏฐผล ไม่เป็นที่ปรารถนาแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ความเจริญเล่าเป็นอิฏฐผล เป็นที่ปรารถนาแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าดุจเดียวกัน เหตุนั้นเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ก็ต้องการเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญดุจเดียวกัน เมื่อเป็นดังนั้น จงมนสิการกำหนดไว้ในใจ ในเวลาที่สดับตรับฟังพระธรรมเทศนาสืบต่อไป ในสัปดาห์ก่อนโน้น ได้แสดงตามวาระพระบาลีว่า อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานํ การไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต บูชาสิ่งที่ควรบูชา ๓ ข้อนี้เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญโดยแท้ ได้แสดงมาแล้ว
    วันนี้จะแสดงใน ปฏิรูปเทสวาโส เป็นลำดับไป การอยู่ในประเทศอันสมควร เรียกว่า ปฏิรูปเทสวาโส ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน อตฺตสมฺมาปณิธิ จ การตั้งตนไว้ชอบ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ๓ ข้อนี้เป็นเหตุเครื่องถึงความเจริญสูงสุด นี่ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป
    ปฏิรูปเทสวาโส การอยู่ในประเทศอันสมควรนั้น เราต้องรู้จักประเทศ คือประเทศที่เราอยู่ในบัดนี้เรียกว่าประเทศไทย มีประเทศอื่นอยู่รั้วรอบขอบชิด เรียกว่าประเทศใกล้ชิดติดกัน ประเทศอินโดจีนนี่ก็เป็นประเทศ ประเทศลาวก็เป็นประเทศ ประเทศพม่าก็เป็นประเทศ ต่อออกไปจากพม่าก็เป็นประเทศอินเดีย ประเทศลังกาต่อไปอีก ไปทางยุโรปมีมากประเทศทีเดียว ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส กว้างออกไปอีกคือประเทศเยอรมัน และประเทศเยอรมันนั้นเป็นประเทศลอกแลก ตายแล้วกลับฟื้นขึ้น เวลานี้ฟื้นขึ้นแล้ว ฟื้นขึ้นครึ่งประเทศ ยังไม่ฟื้นหมดประเทศ แปลก ประเทศก็รู้จักเป็นรู้จักตายเหมือนกัน เมื่อรู้จักหลักอันนี้ ประเทศนั้นแหละเป็นหลักอันสำคัญ ถ้าว่ามนุษย์อยู่ในประเทศใดไม่มีพุทธศาสนา ประเทศนั้นเป็นประเทศเรียกว่าไม่มีศาสนาแน่นอน ประเทศเหล่านั้นเรียกว่าประเทศโยกคลอน เพราะศาสนาเป็นตัวสำคัญของประเทศนัก ถ้าประเทศใดมีพุทธศาสนาที่แน่นอน ประเทศนั้นก็เป็นหลักฐาน เป็นประเทศที่เป็นหลักเป็นประธานของโลกทีเดียว ในบัดนี้ประเทศต่างๆ พุทธศาสนาง่อนแง่นคลอนแคลน ในแหลมทองนี้มีอยู่ ๕ ประเทศ ประเทศลาว มอญ พม่า ประเทศเขมร และประเทศไทย ๕ ประเทศนี้เป็นประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีศาสนาที่แน่นแฟ้น ไม่ยักเยื้องแปรผันไปตามใคร พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีคำสอนเป็น นิยยานิกธรรมจริงๆ นำสัตว์ออกจากไตรภพแท้ๆ เรียกว่า กระแสพระพุทธฎีกาสืบลำดับของโลกของธรรมมา พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกก็ขนเวไนยสรรพสัตว์ให้พ้นจากไตรวัฏ ๒๔ อสงไขยเศษๆ ทุกๆ พระองค์มา
    บัดนี้เราเกิดมาเป็นไทย เราได้อยู่ในประเทศไทย มีศาสนาปรากฏอยู่ในประเทศไทยนี้ เรียกว่าพุทธศาสนา เราเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตั้งอยู่ในพุทธศาสนาด้วย นี้เป็นปฏิรูปเทส ไม่ใช่อื่น ตรงนี้เป็นปฏิรูปเทส เมื่อครั้งพุทธกาลโน้น อินเดียเป็นปฏิรูปเทสแล้ว ต่อมาลังกาเป็นปฏิรูปเทส บัดนี้อินเดียไม่เป็นปฏิรูปเทสเสียแล้ว เท่ากับมิลักขประเทศที่มีศาสนาฟั่นเฟือนหมดแล้ว เราไม่สมควรจะไปประพฤติปฏิบัติ เวลานี้พุทธศาสนารุ่งโรจน์อยู่ในประเทศไทยแห่งเดียว ประเทศพม่า ประเทศเขมร ประเทศลาว เขาก็พอใช้ เขาก็ดีเหมือนกัน แต่ว่าแน่นแฟ้นสำคัญไม่รู้จักแยกแตกสลายละก้อต้องประเทศไทย เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ทีเดียว เรียกว่า อุปถัมภ์ศาสนาอย่างเลิศ พระเจ้าแผ่นดินเป็นศาสนูปถัมภ์ทีเดียว นี่เป็นปฏิรูปเทส ประเทศที่สมควรที่เราจะพึงประพฤติปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาได้ ดังนี้เป็นปฏิรูปเทส เรามาอยู่ในประเทศเช่นนี้แล้ว เราสมควรที่จะดำเนินให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา
    ที่จะดำเนินให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาน่ะ จะดำเนินอย่างไร ต้องแก้ไขใจของเราให้หยุดเสียก่อน หยุดที่ไหน ต้องหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กนั่น ตรงนั้น เวลาเรามาเกิด ใจเราต้องหยุดตรงนั้น เวลาเราหลับ ใจต้องไปหยุดตรงนั้น เวลาเราตาย ใจต้องไปหยุดตรงนั้น เวลาเราตื่นก็ต้องตื่นตรงนั้นแหละ จุดนั้นแหละเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น มีจุดเดียว ต้องเอาใจของเราไปจรดนิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ ทำใจให้หยุด แก้ไขใจให้หยุด ใจหยุดขณะใด ขณะนั้นถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าใจไม่หยุดละก้อ ไม่ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ทางพุทธศาสนา ถ้าใจหยุดละก้อ ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาแท้ ตรงกับกระแสพระโอษฐ์ของพระบรมศาสดาได้ทรงประทานให้นัยแก่องคุลิมาล จนองคุลิมาลละพยศ หมดพยศแล้ว ยอมจำนนแก่พระศาสดาแล้ว เปล่งวาจาว่า “สมณะหยุดๆ” พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มาแล้วตรัสว่า “สมณะหยุดแล้ว แต่ท่านไม่หยุด” นั่น หยุดอันนั้นเป็นกระแสพระดำรัสของพระบรมศาสดา หยุดนั่นแหละถูกต้อง ร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าไม่หยุดละก้อ เลอะล่ะ แต่ถ้าพอหยุดได้แล้ว ก็อย่าออกจากหยุดหนา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางหนักเข้าไปอย่าถอยออก ถ้าถอยออกผิดความประสงค์ กลางของกลางเข้าไปนั่นแหละ ตั้งแต่ต้นจนถึงพระอรหัต ไม่ให้คลาดเคลื่อนความหยุดอันนี้ เมื่อเราไปพบประเทศอันสมควรเข้าเช่นนั้นแล้ว เราจะต้องพึงปฏิบัติให้ถูกส่วน ประเทศที่สมควรเป็นประเทศกลาง กลางนั่นแหละที่ใจหยุดเป็นประเทศกลาง
    ที่กล่าวมาแล้วเป็นประเทศข้างนอก ประเทศข้างในต้องหยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดตรงนั้น จึงจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่สมควรทีเดียว หยุดตรงนั้นถูกมัชฌิมประเทศ ถูกมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค กับ อัตตกิลมถานุโยค เป็นมัชฌิมาปฏิปทาแท้
    เหตุนี้แหละท่านทั้งหลายที่ได้มาประสบพบพระพุทธศาสนาต้องหยุดตรงนี้แหละ จับหลักอันนี้ให้ได้ ถ้าจับหลักตรงนี้ไม่ได้ก็ไม่ถูกร่องรอยทางพุทธศาสนา ถึงจะปฏิบัติศาสนา สัก ๕๐ พรรษา ๘๐-๙๐ พรรษา หรือแม้ว่าจะเป็นหญิงเป็นชายชนิดใดก็ช่าง เข้าทางนี้ไม่ถูก ก็เหลว ไม่ถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนา
    ที่จะถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนาต้องอาศัย อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ถูก ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ถูก ตั้งกันอย่างไร ต้องรู้จักตนเสียก่อนหนา ถ้าไม่รู้จักตน จะไปตั้งเลอะๆ เทอะๆ ที่เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบไว้ถูกนั่นอะไร สุขทุกฺขํ อทตีติ อตฺตา สภาพอันใดรับสุขรับทุกข์ สภาพอันนั้นชื่อว่าตน ก็บัดนี้กายมนุษย์รับสุขรับทุกข์อยู่ สุขมันก็รู้ ทุกข์มันก็รู้ เมื่อรับสุขรับทุกข์อยู่ต้องตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งกันอย่างไร ขั้นต้น ต้องตั้งตนไว้ในทาน ตั้งตนไว้ในศีล ตั้งตนไว้ในการเจริญภาวนา นี่เป็นการตั้งตนไว้ชอบของกายมนุษย์หยาบ ส่วนการตั้งตนไว้ชอบของกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียดคือกายที่ฝันออกไป เอากายมนุษย์ละเอียดมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายมนุษย์หยาบ ที่หยุดที่นิ่งนั่นแหละ เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ แท้ เมื่อถูกหลักเช่นนี้แล้ว หยุดเป็นลำดับเข้าไป เมื่อกายมนุษย์ละเอียดหยุดนิ่ง ที่หยุดที่นิ่งนั่นแล้ว กายทิพย์ก็หยุดไปตามส่วนกัน กายทิพย์ละเอียดก็หยุดไปตามด้วย ตนของกายรูปพรหมก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายรูปพรหมละเอียด ก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายอรูปพรหมก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายอรูปพรหมละเอียด ก็ต้องหยุดให้ถูกส่วนกัน กายรูปพรหม อรูปพรหม ต้องหยุดให้ถูกส่วนกันดังนี้ ตลอดจนกระทั่งถึงกายธรรม พอถึงกายธรรมก็ต้องหยุดให้ถูกจุด นิ่งที่จุดหยุดนั้น หยุดนิ่งจุดอื่นไม่เอา จนกระทั่งถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมพระโสดา-พระโสดาละเอียด เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคา-พระสกทาคาละเอียด เข้าถึงกายพระอนาคา-พระอนาคาละเอียด เข้าถึงกายพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เมื่อเข้าถึงถูกต้องร่องรอยดังนี้ เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
    เมื่อตั้งตนไว้ชอบเช่นนี้ ทำอย่างไรจึงได้ชื่อว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน เพราะตนได้อบรมสั่งสมบารมีมาแล้วตั้งแต่อเนกชาติสมควร แล้วครบแสนกัปแล้ว มาพบพระพุทธศาสนาอาจได้สำเร็จมรรคผลทีเดียว เพราะบารมีพอแล้ว ทำอะไรที่เรียกว่าทำความดีน่ะ ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์อย่างนี้น่ะ ชาติก่อนที่แล้วๆ มา ได้อุตส่าห์ให้ทานตามความสามารถและตามกำลังของตน ตามส่วนที่จะพึงให้ได้ บำเพ็ญทานไปดังนี้แหละ ของนอกกายมีเท่าไรๆ ให้ไปให้หมด ไม่เหลือไว้เลย ดังนี้ เรียกว่า ทานบารมี เนื้อและเลือดก็ให้ได้ เว้นแต่ชีวิตเท่านั้น ให้ดังนี้เรียกว่า ทานอุปบารมี ให้ชีวิตเป็นทานก็ได้ นี้เรียกว่า ทานปรมัตถบารมี เมื่อให้ของนอกกายได้ตลอดถึงชีวิตและเลือดเนื้อเช่นนี้ ได้ชื่อว่า ตนได้บำเพ็ญทานของตน ไม่ใช่แต่ให้เท่านั้น ให้สูงยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ครบปัญจมหาบริจาค ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี ให้ได้เกินกว่านั้น เรียกว่า ปุตตบริจาค ให้ลูกเป็นทานก็ได้ ให้ผัวเป็นทานก็ได้ การให้อย่างนี้สูง ไม่ใช่ให้ง่ายๆ ไม่ใช่สละง่ายๆ สละยากนัก คนใจไม่มั่นหมายในทาน ให้ไม่ได้ ถ้ามั่นหมายในทานจึงจะให้ได้ เพราะฉะนั้น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ต้องทำความดีไว้ในปางก่อน ต้องบำเพ็ญทานให้มั่นหมาย ไม่ใช่บำเพ็ญง่อนแง่นคลอนแคลน ให้ทานเป็นของนอกกาย ให้ตลอดจนชีวิตและเลือดเนื้อ อย่างนี้เรียกว่า ให้ทานจริงจัง คนที่สร้างบารมีต้องสร้างกันอย่างนี้ เรียกว่าทำความดีไว้ในชาติปางก่อน เรียกว่า ทานบารมี
    ศีลบารมีอีกดุจเดียวกัน การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่มีเศร้าหมองด่างพร้อยอย่างหนึ่งอย่างใด ศีลบริสุทธิ์แท้ๆ แน่วแน่ทีเดียว แม้สมบัตินอกกายจะวอดวายอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่ยอมให้ศีลเป็นอันตราย เรียกว่า ศีลบารมี แม้เลือดเนื้อจะเป็นอันตรายไม่ยอมให้ศีลขาด เรียกว่า ศีลอุปบารมี แม้ชีวิตจะดับไปเดี๋ยวนี้ก็ไม่ยอมให้ศีลขาด เรียกว่า ศีลปรมัตถบารมี เมื่อสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยศีลเช่นนี้ เรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความดีที่ทำไว้ในชาติก่อน
    เจริญภาวนาเล่า ก็ดุจเดียวกัน เสียสมบัติภายนอกกายเว้นไว้แต่ชีวิตและเลือดเนื้อ ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา เนื้อและเลือดจะแห้งเหือดหมดไปก็ไม่ว่า ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา แม้ชีวิตจะดับไปก็ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา มั่นหมายในทางภาวนาทีเดียว อย่างนี้เรียกว่า ภาวนาบารมี ภาวนาอุปบารมี ภาวนาปรมัตถบารมี ดุจเดียวกัน บำเพ็ญให้มั่นหมายในขันธสันดาน เรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในชาติปางก่อน
    อุทาหรณ์ที่จะชักให้เห็นนั้นมีมาก ดังท่านผู้ปกครองประเทศ เช่น พระเจ้าแผ่นดิน ทำไมจึงเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้ได้สั่งสมความดีไว้ในชาติปางก่อน การเกิดเป็นกษัตริย์หรือเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ใช่ของเกิดยาก ดังเช่นทุคคตบุรุษ บุรุษทำการรับจ้างของอนาถปิณฑิกเศรษฐีในเมืองสาวัตถี ในครั้งกระนั้นเวลาทุคคตบุรุษเสร็จจากการรับจ้างกลับมา เป็นเวลาเย็น เป็นวัน ๘ ค่ำ แม่ครัวเขาก็หุงข้าวไว้ให้ แล้วก็ยกมาให้ทุคคตบุรุษ ทุคคตบุรุษจึงถามว่า “ท่านเจ้าข้า คนในบ้านเป็นอันมากเคยเอิกเกริกโกลาหล หายไปไหนเล่า เงียบเชียบไปหมด” แม่ครัวเขาก็บอกว่า “คนในบ้านนี้เวลาวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เขารักษาศีลกันทั้งหมดบ้าน เด็กเล็กก็ต้องรักษาศีลกันทั้งนั้น เขาไม่รับประทานอาหารเย็นกันดอก” ทุคคตบุรุษนึกแต่ในใจว่า “เอ๊ะ เรามาทำการรับจ้างในบ้านที่เขารักษาศีลกัน เราเป็นคนไม่รักษาศีล มันก็ขัดจังหวะกัน ไม่ได้นา ชอบกล ศีลก็เป็นของรักษาได้ยาก เขาเป็นคนมั่งมีถึงขนาดนี้ เขายังรักษาศีลกันทั้งบ้านทั้งช่อง เราจนถึงขนาดนี้ใจยังหยาบช้า กล้าแข็ง ไม่รักษาศีลกับเขาบ้างล่ะ” คิดดังนี้แล้วก็ถามแม่ครัวว่า “ฉันจะรักษาศีลบ้างได้ไหมล่ะ” แม่ครัวก็บอกว่า “ฉันจะไปถามนายดูก่อน” แม่ครัวก็รีบไปถามท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า “บุรุษทำการรับจ้างเขาจะรักษาศีลบ้างได้ไหมเจ้าค่ะ” ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็บอกว่า “ได้ซี แต่ว่าเป็นอุโบสถครึ่งวันนะ ไม่ได้เต็มวัน เพราะมันจะค่ำเสียก่อน หมดวันเสียแล้ว กึ่งวัน เท่านั้น รักษาได้ก็สมาทานอุโบสถทีเดียว” เมื่อสมาทานอุโบสถเรียบร้อยแล้ว พอค่ำๆ ตอน ดึกๆ หน่อย เอ้า ปวดท้องเข้าแล้ว เพราะอ้ายท้องมันหิว เพราะทำงานเหนื่อยมาก มันแสบท้อง มันหิวเต็มที แม่ครัวก็ไปบอกท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า บุรุษที่รักษาศีลปวดท้องเสียแล้วเพราะความหิว ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็บอกแก่แม่ครัวว่าทำน้ำอัฏฐบานให้ดื่มเสียซิ แม่ครัวก็จัดแจงทำน้ำอัฏฐบานมาให้ บุรุษนั้นไม่ยอมดื่ม แล้วกล่าวว่า “ท่านทำไม ไม่ดื่มบ้างล่ะ” “ฉันไม่ได้เป็นอะไรนี่ จะไปดื่มทำไมล่ะ” “ท่านเป็นโรค ดื่มน้ำอัฏฐบานเสียซี โรคปวดท้องจะได้หาย” บุรุษนั้นจะดื่ม ก็ศีลของตัวกึ่งวันเท่านั้น กลัวจะเป็นอันตรายแก่ศีล กลัวศีลจะไม่บริสุทธิ์ จึงพูดว่า “เมื่อท่านไม่ดื่ม ฉันก็ไม่ดื่ม ตายก็ตายไปเถิด เป็นอะไรก็เป็นไป ไม่ดื่มเหมือนกัน” ก็ทนต่อไป พอตกตอนดึกๆ เข้าก็ปวดท้องเต็มที พอรุ่งเช้าขึ้น เต็มทีจะตายอยู่แล้ว จวนตายเต็มที ก็พอดีพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จผ่านไปทางนั้น พอใกล้จะตายเห็นพระเจ้าปเสนทิโกศลนึกในใจว่า “ด้วยบุญกุศลของเราที่ได้รักษาศีลกึ่งวันนี้ ขอให้ได้ไปเกิดเป็นพระราชโอรสพระเจ้าปเสนทิโกศลเถิด” พออธิษฐานใจดังนั้นก็แตกกายทำลายขันธ์จากอัตภาพร่างกายเข้าไปอยู่ในศูนย์กลางกายของพระเจ้าปเสนทิโกศล ลูกไปเกิดในท้องพ่อ เข้าไปทางช่องจมูกขวา ไปอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล พอถึงเวลาพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ประกอบธาตุธรรมถูกส่วนอยู่ร่วมกับพระมเหสีถูกส่วนเข้า บังคับกายสัมภเวสีนั้นตกศูนย์ ก็ออกจากท้องพระเจ้าปเสนทิโกศลออกทางจมูกขวา เข้าทางจมูกซ้ายของมารดา ไปเป็นกลลรูปติดที่ขั้วมดลูกในท้องของพระมเหสี เหมือนกับอนาถปิณฑิกเศรษฐี อุ้มเด็กกุมารส่งให้ภรรยาเลี้ยงไว้ในท้อง พอเจริญครบ ๑๐ เดือน ก็ประสูติออกมาเป็นราชกุมารเป็นโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล รักษาศีลกึ่งวันเท่านั้นได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จสวรรคตแล้ว นี่เป็น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา อย่างนี้ เขาทำความดีไว้ เขาได้รักษาศีลจริงๆ ศีลบริสุทธิ์จริงๆ ยอมตายเพื่อไม่ให้ศีลเป็นอันตราย นี่เขาเรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ทำความดีอย่างนี้ ก็ได้เกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ปรากฏอย่างนี้
    ไม่ใช่แต่เท่านั้น เหมือนดังลาชเทวธิดาเฝ้าไร่ข้าวสาลี เมื่อเห็นพระมหาอริยกัสสปะเดินทางมา มีศรัทธาเลื่อมใส เข้าไปในท้องนา ไปเอาข้าวตอกที่ตัวเตรียมออกไปไว้สำหรับรับประทานในกลางวัน เอาออกมาคอยอยู่ พอพระคุณเจ้าพระมหาอริยกัสสปะมาใกล้ “ติฏฺฐถ ภนฺเต นิมนต์โปรดก่อนเจ้าค่ะ” พระมหาอริยกัสสปะก็รออยู่ นางก็เอาข้าวตอกยกมือขึ้นทูนศีรษะแล้วขออาราธนาพระคุณเจ้าเปิดบาตร พระคุณเจ้าก็เปิดบาตร นางก็ใส่ข้าวตอกลงไปครึ่งขัน ท่านก็ปิดบาตร พอครึ่งขันก็ปิดบาตรเสียแล้ว นี่เขาเรียกว่ารู้จักประมาณในการรับ เขาให้ละก็รับเรื่อยเปื่อยไปมันก็เดือดร้อนนะซิ เขาก็รับประทานเหมือนกัน ให้เขาครึ่ง เอาครึ่ง เอาข้าวตอกครึ่งเดียวปิดบาตรทันทีเสียแล้ว นางนั้นนั่งลง ยกมือขึ้นไหว้ว่า “ปรโลกสงฺคหํ ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดฉันในโลกหน้าเถิด โลกนี้อย่าโปรดเลย โปรดโลกหน้าเถิด” พระมหาอริยกัสสปะก็เปิดบาตร นางก็ใส่เข้าตอกหมด ดีอกดีใจ ปลื้มอก ปลื้มใจ พระมหาอริยกัสสปะท่านรับข้าวตอกแล้วท่านก็เลยไป เดินทางไปตามคันนา นางก็ตามส่งพระผู้เป็นเจ้ามหาอริยกัสสปะไปถึงคันนาตอนหญ้ารกปกคลุม อสรพิษมันอยู่ในที่นั้น พระมหาอริยกัสสปะเดินไปข้างหน้า มันก็ไม่ได้กัด เมื่อนางเดินผ่านไป มันก็ออกจากปล่อง ขบเอาแข้งนางล้มลง ณ ที่นั้น สุตฺตปฺปพุทฺโธ วิย ราวกับว่าตื่นจากหลับ สุวณฺณวิมาเน นิพฺพตฺติ ก็บังเกิดในวิมานทอง ห้อยย้อยไปด้วยสายข้าวตอกในชายวิมานงดงามยิ่งนักหนา เมื่อลมทิพย์พัดมาอ่อนๆ ดังประหนึ่งปัญจางคดุริยางค์ดนตรีไพเราะเสนาะสนานประสานเสียง นางก็นึกแต่ในใจว่า โอ! เรามาเกิดนี้ด้วยกุศลอันใด ก็รู้ว่าได้ถวายข้าวตอกแก่พระมหาอริยกัสสปะ จึงได้มาเกิด งูกัดเข้าล้มตายอยู่ตรงนั้น ซากศพยังปรากฏอยู่นั่น เราจะต้องแก้ไขสมบัติของเราให้ตั้งมั่นต่อไป ทำบุญนิดหนึ่งเท่านี้ได้สมบัติมากมายขนาดนี้ กลัวจะไม่ตั้งมั่นสิ้นกาลนาน คิดดังนั้นแล้ว เวลารุ่งเช้าของมนุษย์โลก นางก็ถือเอาถาดทองกระเช้าทองลงมาสู่วิหารที่อยู่ของพระมหาอริยกัสสปะ มาปฏิบัติปัดกวาดปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำใช้ น้ำฉันไว้เรียบร้อยสำหรับพระมหาอริยกัสสปะ พระมหาอริยกัสสปะกลับจากบิณฑบาต “เอ๊ะ นี่ใครมาปฏิบัติอยู่นี่ จะเป็นภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรหนอ” รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง นางก็มาทำดังนั้นอีก ทำเสร็จแล้วก็กลับไป “เอ นี่จะเป็นภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรหนอมาทำ” พอรุ่งขึ้น อีกวันหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าไปครึ่งเวลาเท่าที่เคยไป แล้วกลับมาดูที่วิหารมองไปในช่องดาน “โอ! สว่างโล่ง แสงสว่างอะไรน่ะ”
    นางลาชเทวธิดาตอบว่า “หม่อมฉันเอง พระเจ้าค่ะ” “หม่อมฉันเองน่ะ คือใครล่ะ”
    “หม่อมฉันคือลาชเทวธิดา ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระคุณเจ้า” “อุปัฏฐากของเราไม่มีนะ ลาชเทวธิดา”
    พอเปิดประตูเข้าไป พระคุณเจ้าก็ไต่ถามว่า “วานนี้เจ้ามาทำหรือ ? วานซืนนี้เธอก็มาทำหรือ” นางก็ตอบรับตามตรงทุกสิ่งทุกอย่าง
    “ต่อแต่นี้ไปไม่ได้หนา เราอยู่ผู้เดียว เจ้าถึงจะเป็นกายทิพย์ก็เป็นผู้หญิง ผู้หญิงกับผู้ชาย ทางพุทธศาสนามีวินัยบัญญัติห้ามนัก ถ้าว่าปฏิบัติกันสองต่อสองเช่นนี้ละก็ นานต่อไปในภายภาคเบื้องหน้า พระธรรมสังคีติกาจารย์ขึ้นธรรมาสน์ ถือพัดวาลวีชนี จะยกกัสสปะนี้ขึ้นเป็นตัวอย่างว่าทำชั่วร้ายในศาสนาหนา ผิดธรรมผิดวินัย ท่านจงออกไปเสียเถิด อย่าปฏิบัติเราเลย”
    “พระคุณเจ้าขอได้กรุณาหม่อมฉันเถิด ขอให้สมบัติของหม่อมฉันตั้งมั่นต่อไป สมบัติที่ได้นั้นเพราะอาศัยบุญบารมีของพระคุณเจ้า”
    “ไม่ได้ ออกไปเสียเถอะ จะเป็นตัวอย่างเสียหายในทางพุทธศาสนา”
    นางก็อยู่ไม่ได้ ก็ร้องไห้ เสียงร้องไห้ได้ยินเข้าไปในโสตของพระบรมศาสดา พระองค์ทรงสงเคราะห์ แสดงพระกายให้ปรากฏต่อหน้านางลาชเทวธิดานั้น นางจะเหาะไปทางไหน พระองค์ก็เทศนาเรื่อยไปต่อหน้านาง นางก็ได้ยินเรื่อยไป กำลังเหาะนั่นแหละฟังเทศน์เรื่อยไป นางได้สำเร็จมรรคผล สมมาดปรารถนาด้วยความเลื่อมใสศรัทธา นี่เป็น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา นางได้กระทำความดี ได้ถวายข้าวตอกแก่พระมหาอริยกัสสปะ แล้วงูกัดตาย ไปเกิดในดาวดึงส์เทวโลก ก็เพราะสำเร็จด้วยบุญที่ตัวได้กระทำในชาติก่อนภพก่อน อาศัยบุญที่ตัวได้กระทำไว้แล้วจึงได้ไปเป็นเทวธิดา ก็มุ่งมาดปรารถนาจะทำสมบัติให้ตั้งมั่น ก็ได้สมมาดปรารถนา อุตส่าห์ไปปฏิบัติพระมหาอริยกัสสปะ พระบรมศาสดาจึงได้ทรงอนุเคราะห์ให้ได้ สำเร็จมรรคผล สมปรารถนา
    ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนาก็ต้องอาศัย ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน จงอุตส่าห์พยายามทำความดีให้หนักขึ้นไป ให้เป็นบุญนิธิหนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีให้ทาน ก็ให้ทานหนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีรักษาศีล ก็รักษาศีลให้ หนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีการเจริญภาวนา ก็เจริญภาวนาให้หนักขึ้นไป จะทำได้ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่งก็จงอุตส่าห์พยายามทำให้สุดความสามารถของตน สิ่งที่เป็นที่ตั้งกองการบำเพ็ญกุศล พระบรมทศพลได้ทรงตรัสเทศนาไว้เป็นอเนกประการว่า
    1. ทาน การให้ ก็ได้ชื่อ “ทานมัย” บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    2. ศีล การรักษากายวาจา ได้ชื่อว่า “สีลมัย” บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    3. ภาวนา การทำให้มีให้เป็น ก็ได้ชื่อว่า “ภาวนามัย” บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    4. ประพฤติตกต่ำยำเกรงแก่ตระกูลผู้เจริญกว่า ก็ได้ชื่อว่า “อปจายนมัย” บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อม ตนต่อผู้ใหญ่หรือผู้เจริญกว่า
    5. การช่วยเหลือในกิจที่ชอบ เรียกว่า “เวยยาวัจจมัย” บุญสำเร็จ ด้วยการขวนขวายในกิจที่ชอบ
    6. การให้ความดีแก่ผู้อื่นได้ชื่อว่า “ปัตติทานมัย” บุญสำเร็จด้วย การให้ความดีแก่ผู้อื่น
    7. การอนุโมทนาความดี ไม่อิจฉาริษยาเขาที่เรียกว่า “ปัตตานุโมทนามัย” บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาบุญของผู้อื่น
    8. การสดับตรับฟังธรรมเทศนาของเราท่านในบัดนี้ เหมือนภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่ฟังอยู่ ณ บัดนี้ ได้ชื่อว่า “ธัมมัสสวนมัย” บุญ สำเร็จด้วยการสดับตรับฟังธรรมเทศนา
    9. บุญที่ได้ด้วยการแสดงธรรมให้แก่ ผู้อื่นฟังได้บุญกุศล เหมือนผู้เทศน์นี้ ได้ชื่อว่า “ธัมมเทสนามัย” บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรมให้แก่ผู้อื่น
    10. ทั้ง ๙ อย่าง ได้ชื่อว่าเป็น “ทิฏฐุชุกัมม์” เป็นการทำความเห็นให้ตรงถูกต้องร่องรอยตามความประสงค์ ของทางพุทธศาสนา เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นของตนให้ตรง
    สิ่งเป็นที่ตั้งของการบำเพ็ญบุญมีถึง ๑๐ ประการ ในวันหนึ่งๆ เราบำเพ็ญหลายประการ เหมือนเราท่านในบัดนี้ได้บำเพ็ญหลายอย่างด้วยกัน
    1. ทานมัย ให้ทาน
    2. แล้วก็มารักษาศีล เรียกว่า สีลมัย
    3. รักษาศีลแล้วก็ไปเจริญภาวนา เรียกว่า ภาวนามัย
    4. แล้วไปอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เรียกว่า อปจายนมัย
    5. การช่วยทำครัวเลี้ยงพระเจ้าพระสงฆ์อย่างนี้ก็เรียกว่า เวยยาวัจจมัย ให้คนโน้นเขาประเคนบ้าง ให้คนนี้เขาประเคนบ้าง
    6. สิ่งของของตนให้คนอื่น เขาให้ทานบ้าง เรียกว่า ปัตติทานมัย
    7. เห็นเขาดีก็อนุโมทนาเขา นั้นเรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย
    8. การสดับตรับฟังเช่นนี้ เรียกว่า ธัมมัสสวนมัย
    9. การแสดงธรรมให้บุคคลผู้อื่นฟัง จำได้เรื่องนั้น เรื่องนี้ก็นำไปแสดงให้ผู้อื่นฟังบ้าง เรียกว่า ธัมมเทสนามัย
    10. การทำความเห็นของตนให้ตรงต่อ ความประสงค์ทางพุทธศาสนา เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์
    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาในมงคลคาถาทั้ง ๓ ข้อนี้ ข้อต้นว่า อยู่ในประเทศอันสมควร ข้อที่ ๒ ว่า ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน และข้อที่ ๓ ว่า ได้ตั้งตนไว้ชอบ ประกอบด้วยองค์คุณ ทั้ง ๓ ประการนี้ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญอันสูงสุด นี้ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องปฏิการประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านพุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดาที่มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.​
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]


    [​IMG]<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ในขณะนั่งสมาธิ เมื่อจิตเข้าถึงจุดที่ทำให้ตัวเรารู้สึกเบาสบาย จะเกิดความรู้สึกว่าหายใจไม่ออก รู้สึกว่าลมหายใจเบามาก ไม่ทราบว่า ปฏิบัติถูกวิธีหรือไม่ ? และมีวิธีแก้ไขอย่างไร ?

    ขณะที่จิตกำลังจะสงบได้ที่นั้น ลมหายใจจะค่อยๆ ละเอียด ค่อยๆ แผ่วไป จนเหมือนกับว่าไม่ได้หายใจ แต่ความจริงยังมี "ปราณ" คือลมละเอียดหล่อเลี้ยงอยู่ภายในร่างกายอยู่เป็นอย่างดี (อย่างโยคี ฤๅษี ที่อินเดีย เข้าฌานสมาธิ โดยไม่หายใจเลย บางคนก็เอาศีรษะฝังอยู่ในดิน ก็อยู่ได้หลายๆ ชั่วโมง ไม่ตาย ก็ด้วยเหตุผลเดียวกัน)
    เมื่อถึงจุดนี้ บางท่านก็ "ถอนจิตออก" มาจากศูนย์กลางกาย มาเกาะที่ร่างกายภายนอก แล้วรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองไม่ได้หายใจ จึงถอนจากสมาธิเพราะกลัวตายก็มี พยายามหายใจให้แรงขึ้น ทำให้จิตเคลื่อนจากสมาธิก็มี
    เพราะฉะนั้น ในเบื้องต้นโยมปฏิบัติมาถูกทางแล้ว จิตเริ่มสงบแล้ว แต่พยายามให้ใจหยุดนิ่งที่จุดเล็กใสกลางดวงใสที่ศูนย์กลางกายตลอด และปล่อยวางสิ่งต่างๆ รวมทั้งสังขารร่างกาย (ที่ยึดกันว่าเป็น) ของเราเสียทั้งหมด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของหยาบ การจะเข้าถึงธรรมชาติละเอียดภายในนั้น ต้องละวางของหยาบภายนอกได้ (อย่างน้อยที่สุดก็คือในขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั้น)
    ดังเช่น เมื่อเห็นดวงใสแจ่มปรากฏขึ้นแล้ว ใจก็หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงนั้น ไม่ช้าศูนย์กลางดวงนั้นจะขยายออก ดวงใหม่ต่อๆ ไปจะปรากฏขึ้นอีก
    แล้วจะเห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏขึ้นมา ก็ต้องปล่อยวางหรือ "ละ" ความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นกายมนุษย์ละเอียดที่เห็นนั้น (เรียกว่า ดับหยาบไปหาละเอียด) ใจหยุดนิ่งศูนย์กลางกายนั้น จะเห็นดวงในดวงผุดขึ้นมา
    แล้วจะเห็นกายละเอียดๆ กว่าเดิม ปรากฏขึ้นมาอีก เราก็ดับหยาบไปหาละเอียดต่อไปอีก จนถึงธรรมกาย
    อ่านเพิ่มเติม ที่ "เคยได้ยินเขาพูดว่า นั่งสมาธินานๆ จะหมดลมหายใจไปเฉยๆ จะจริงหรือเปล่า ?"
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ถาม

    เคยได้ยินเขาพูดว่า นั่งสมาธินานๆ จะหมดลมหายใจไปเฉยๆ จะจริงหรือเปล่า ?




    ตอบ

    ไม่จริงนะ แต่ว่ามีอาการเหมือนไม่ได้หายใจ เพราะนี้เป็นธรรมชาติ ใจยิ่งหยุดนิ่งเข้าไปแล้ว กายสังขารระงับ คือองค์บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆๆ จะค่อยๆ เลือนไปๆ นิ่งๆ จนไม่สนใจ มันค่อยหายไป นี้กายสังขารระงับ ก็คือลมหายใจละเอียดๆ เข้าไปๆ สั้นเข้าๆ ละเอียดๆ แล้วหยุดนิ่ง ใจหยุดนี้ไม่ใช่ไม่หายใจเลยนะ มีอ่อนๆ แต่ละเอียด ลมละเอียดนั้นเขาเรียกว่า “ปราณ” ปราณนั่นแหละธาตุลม ที่เขาทำหน้าที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะตาย ไม่ต้องกลัวนะ เด็กทารกอยู่ในท้องหายใจหรือเปล่า ? หายใจไหม ? ไม่ได้หายใจหรอก เด็กทารกในครรภ์ไม่ตาย คนดำน้ำหายใจหรือเปล่า ? โดยทั่วไปคนดำน้ำก็ไม่ได้หายใจ กลั้นใจไว้นานๆ ไม่ได้หายใจไม่ตาย คนอยู่ฌานสมาบัติลึกๆ ใจยิ่งละเอียด “ปราณ” คือ ธาตุลมที่ทำหน้าที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย ให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะนี้สบายไปเลยนะ เพราะฉะนั้นอาการที่ใจจะเป็นสมาธิ คือ กายสังขารระงับ คือ ลมหายใจจะสั้นเข้าๆ แล้วละเอียด เหมือนกับไม่ได้หายใจ แต่ที่แท้มีลมหายใจอยู่ และปราณก็ทำหน้าที่อยู่แล้ว วจีสังขารระงับ คือ องค์บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆๆ หรือพุทโธก็ได้นะ จะค่อยเลือนหายไป ในขณะที่ใจสงบระงับนั้น มโนสังขารระงับ คือ ใจค่อยๆ หยุดนิ่ง เป็นธรรมดาแต่ไม่ตาย ไม่ต้องกลัว ไม่ตายหรอก สัมมาสมาธิน่ะ สติสัมปชัญญะต้องอยู่ตลอด ไม่ใช่สมาธิตัวแข็งทื่อ ไม่รู้เรื่องอะไร สมาธิอย่างตัวแข็งทื่อนั้นไม่เอานะ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2010
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    การปฏิบัติกรรมฐานโดยทั่วไป

    เมื่อเราจะเริ่มฝึกหัดเจริญกรรมฐานใหม่ๆ ท่านอาจารย์มักสอนให้เรากำหนดลมหายใจ บางทีก็ให้บริกรรมภาวนาด้วย การกำหนดลมหายใจนี้ เรียกว่า อานาปานสติ

    แต่การเจริญอานาปานสติที่แท้นั้น ใช้ วิธีนับลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ จนแลเห็นลมหายใจเข้าออกเป็นดวงๆ ต่อจากนั้น ก็บำเพ็ญเพียรต่อไปจนบรรลุขั้นรูปฌาน เช่นเดียวกับสมถกรรมฐานอื่นๆ นอกจาก อาโลกกสิณ และ อากาศกสิณ การเจริญอานาปานสติ ไม่อาจประกันได้ว่า ผู้ปฏิบัติจะมีความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาอย่างจริงใจ เพราะเมื่อถึงอุปจารสมาธิ กรรมฐานจะเข้าสู่ทางหลายแพร่ง


    เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สานุศิษย์มีจิตใจแปรเปลี่ยนไป ในทางที่จะตัดหนทางขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐาน ในโอกาสข้างหน้า สำนักต่างๆ จึงแนะนำให้ใช้คำบาลีที่มีความหมายถึงพระบรมศาสดา หรือ พระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ กล่าวคือ พุทโธ บ้าง อรหัง บ้าง นะโมพุทธายะ และ ยะธาพุทโมนะ บ้าง ด้วยเหตุนี้ การเจริญกรรมฐานโดยมาก จึงเป็นพุทธานุสติกลาย ๆ


    ด้านพุทธานุสติ มีผู้เข้าใจว่า อริยบุคคลจึงจะเจริญพุทธานุสติได้ถึงขั้นอุปจารสมาธิ ไม่อาจจะเจริญให้สูงขึ้นไปถึง อัปปนาสมาธิ ได้

    ในทางปฏิบัติ เมื่อได้ดวงแล้ว สมาธิจะยึดวัณณกสิณ หรือ อาโลกกสิณเป็นอารมณ์ แล้วเข้าถึง อุปจาระ และ อัปปนาได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นอริยบุคคล เมื่อถึงขั้นอุปจารสมาธิ อาจารย์อาจแนะนำให้อธิษฐาน จิต หันไปยึดเอาสัญลักษณ์ ของพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูปเป็นอารมณ์กรรมฐาน


    มีผู้เข้าใจผิดเหมือนกันว่า การภาวนาว่า พุทโธ หรือ อรหัง เป็นอารมณ์ ไม่อาจเจริญกรรมฐานได้ถึงขั้นวิปัสสนา อันที่จริง เมื่อปฏิบัติได้ปฏิภาคนิมิตแล้ว ก็ไม่ต้องภาวนา พุทโธ หรือ อรหัง อีกต่อไป เมื่อชำนาญในปฏิภาคนิมิต อุปจารสมาธิก็เกิด ที่จุดนี้เอง เป็นจุดที่จะนำสมาธิไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปใช้ในการเจริญวิปัสสนา



    ถ้าผู้ใดเจริญ ได้ถึงอัปปนาแล้ว ก็จำต้องถอยลงมาที่อุปจารสมาธินี้เช่นเดียวกัน การขึ้นวิปัสสนาของสมาธิ อาจกระทำได้ 3 ทางด้วยกัน คือ

    1. น้อมใจไปเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์

    2. เจริญฌานสมาบัติ โน้มใจเข้าสู่มรรคผล ตามแบบของ วิปัสสนา แบบโบราณ

    3. เจริญสมาธิให้ได้ รูปฌาน และ อรูปฌาน แล้วถอยลงมา ขั้น อุปจารสมาธิ แล้วขยายนิมิตให้ใหญ่ขึ้นๆ จนมอง ไปทางซ้าย ขวา ก็ยังไม่สุดองค์พระ นิมิตในตอนนี้มีสองอย่าง คือ เป็นสีเหลืองอย่างหนึ่ง กับ สีขาวอีกอย่างหนึ่ง สีเหลืองเป็นนิมิตของผู้มีศรัทธาจริต สีขาวเป็นนิมิตของผู้มีอภิญญา ต่อจากนี้ ผลของการปฏิบัติคล้ายกับ สำนักวิปัสสนาแบบธรรมกาย ก่อนจะผ่านข้อนี้ไป ขออธิบายว่า ฌาน นั้นมีความหมายอยู่สองประการ เป็นการเพ่ง ประการหนึ่ง เป็นการดับกิเลสหรือดับทุกข์ ชั่วครั้งคราว
    </PRE>

    อีกประการหนึ่ง สฌาน นั้นแปลว่า ปัญญา ฌานสมาบัติ มีชื่อเรียกอีกประการหนึ่งว่า อุปจารฌาน
    </PRE><CENTER></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2010
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    การเจริญกรรมฐานสมัยกรุงเทพฯ

    ในรัชกาลที่ 1 ได้ทรงนิมนต์พระภิกษุสุกจาก วัดท่าหอย
    ริม คลองคูจาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มากรุงเทพฯ ทรงตั้ง
    เป็นที่พระญาณสังวรเถระ และทรงสร้างวัดราชสิทธาราม (วัด
    พลับ) ถวาย พระสุกรูปนี้เมื่อครั้งเป็นฆราวาส เป็นผู้ปราด
    เปรียวชอบเที่ยวเข้าป่าเข้าดง จึงได้สมญาว่าไก่เถื่อน ต่อมา
    เมื่อบวชเป็นพระแล้ว ก็เล่าเรียนสมถวิปัสสนาจนเชี่ยวชาญ จน
    ถึงกับแผ่เมตตาให้ไก่เถื่อนเชื่องได้ จึงได้สมญาว่า ไก่
    เถื่อน เมื่อตอนเป็นพระภิกษุอีกด้วย

    ต่อมาในรัชกาลที่ 2 ได้ทรงสถาปนาให้เป็นสมเด็จ
    พระญาณสังวร เมื่อพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรง
    สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร เป็น สมเด็จพระสังฆราชสถิต
    วัดมหาธาตุ ประชาชนชอบเรียก พระสังฆราชองค์นี้ตาม
    เกียรติคุณในทางแผ่เมตตาว่า สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน
    สมเด็จพระสังฆราชประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุได้ 1 ปีก็สิ้นพระ
    ชนม์ พระชันษาได้ 90 ปี ข้อความข้างต้นนี้ ได้มาจากคำนำ
    ของคุณหลวงวิศาลดรุณกร ในหนังสือสมถวิปัสสนากรรมฐาน
    ของสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

    สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนเป็นพระอาจารย์ของ
    สมเด็จวัดระฆัง ด้วยเหตุนี้ วัดพลับ วัดระฆัง และวัดมหาธาตุ จึง
    เป็นวัดที่มีสำนักกรรมฐานมีชื่อรุ่นแรกของกรุงเทพฯ วัดระฆัง
    และวัดพลับ ยังคงมีชื่อในทางกรรมฐาน ในสมัยหลังจากสมเด็จ
    พระสังฆราชไก่เถื่อน แต่ในตอนหลังความสนใจทางกรรมฐาน
    ทางวัดระฆังมีน้อยลง ชื่อเสียงของวัดระฆังแทนที่จะมีคู่กับวัด
    พลับดังเก่าก่อน กลับไปมีชื่อคู่กับวัดมะขามเฒ่า ไม่ใช่ในด้าน
    กรรมฐาน แต่ในด้านเวทมนต์คาถาและพระเครื่อง และวัดระฆัง
    ได้กลายเป็นสำนักอภิธรรมในโอกาสต่อมา ส่วนทางวัดพลับ
    แม้ความรุ่งเรืองจะลดน้อยลง ก็ยังคงรักษาความเป็นสำนัก
    กรรมฐานอยู่ได้จนถึงบัดนี้ แต่ก็เริ่มทำท่าว่าจะไม่มีอาจารย์สืบ
    งานสอนกรรมฐานต่อไป เคราะห์ดีที่ทางราชการได้เข้าพัฒนา
    วัดนี้ให้เป็นวัดตัวอย่าง หวังอย่างเอาใจช่วยว่า สำนัก
    กรรมฐานวัดนี้คงจะรุ่งเรืองอีกครั้งในไม่ช้า
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    สมถวิปัสสนากรรมฐานแบบไตรลักษณ์


    มีหลายท่านที่จะพยายามยกย่อง การเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ว่า เป็นการเจริญวิปัสสนา แบบสติปัฏฐาน


    การยกย่องเช่นนี้รู้สึกว่า ออกจะมีนโยบายรุกรานมากไปสักหน่อย ทั้งนี้เพราะ

    พระพุทธองค์ทรงประทานมหาสติปัฏฐานสูตรแก่ชาวโลก ในฐานะเป็นของกลาง

    ไม่ว่าวิปัสสนาแบบไหน ก็มีโอกาสได้แอบอิงมหาสติปัฏฐานสูตรได้ทุกประเภท


    การเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์เป็นการเจริญกรรมฐาน เพื่อหวังปัญญาวิมุตติ สามารถบรรลุมรรคผลได้ง่ายกว่า การเจริญวิปัสสนาแบบอื่น แต่ก็ได้เพียงผลอันสืบมาแต่ปัจจัยภายนอก ไม่มีความสามารถกระจุ๋มกระจิ๋มที่เรียกว่า อภิญญา ไว้ประดับสติปัญญา นอกเสียจากว่า จะกลับมาเจริญกรรมฐาน เพื่อหวังเจโตวิมุตติอีกครั้ง



    โดยทั่วไป การเจริญวิปัสสนามีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
    1. เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
    2. เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
    3. เจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา


    วิปัสสนาแบบไตรลักษณ์นี้ อาจอธิบายวิปัสสนาได้สองนัย

    นัยหนึ่งอธิบายโดยแสดงการเจริญอย่างมีสมถะเป็นเบื้องต้น
    และอีกนัยหนึ่งอย่างมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น


    แต่ในที่นี้ จะอธิบายทั้งสองนัยนี้พร้อมกัน ในแง่การปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ มีวิปัสสนาญาณอยู่ 16 ญาณ ญาณทั้ง 16 นี้ใกล้ชิดกันมาก ยากต่อการอธิบาย ฉะนั้น จึงปรากฏว่า ไม่ว่าตำราไหนก็ตำรานั้น พากันลอกวิสุทธิมรรคกันมาเป็นแถวๆ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะกลัวจะถูกหาว่าเก่งกว่าพระอรหันต์ มีแต่ตำราของพระสังฆราชไก่เถื่อน และ แบบเวียงจันทน์เท่านั้น ที่อธิบายความเข้าใจ แต่ก็อธิบายไว้สั้นๆ อ่านไม่ค่อยเข้าใจ



    การกำหนดอิริยาบถและสัมปชัญญะเพื่อเจริญวิปัสสนานั้น ไม่มีอะไรดีไปกว่าการกำหนดเสียง เพราะถ้ากำหนดด้วยสัมผัสอย่างอื่น อาจมีอารมณ์ลวงเกิดขึ้นได้



    วิปัสสนา 16 ญาณ ได้แก่
    1. นามรูปปริจเฉทญาณ คือการกำหนดรู้หรือเห็นว่า กายนั้นอยู่ส่วนหนึ่ง จิตนั้นอยู่อีกส่วนหนึ่ง

    2. นามรูปปัจจยปริคคหญาณ คือการกำหนดรู้หรือเห็นว่ากายนั้นเป็นผู้ทำการเคลื่อนไหว ส่วนจิตเป็นผู้บังคับบัญชาการเคลื่อนไหวของกาย หรืออีกนัยหนึ่ง เห็นหรือกำหนดรู้ว่ากายนั้นเป็นอนิจจัง ส่วนจิตซึ่งขณะนี้ยังนับเนื่องในวิญญาณนั้นคงที่ ไม่ว่ากายจะเป็นรูปมนุษย์และสัตว์ เห็นและกำหนดรู้ว่า การมีกายนี้เกิดขึ้นทำให้มีความทุกข์ และกายไม่ใช่ตัวตนของเรา เป็นเพียงผลของตัณหาและกรรม

    3. สัมมสนญาณ คือการกำหนดรู้และเห็นกายและจิตได้ตามความเป็นจริง และกำหนดรู้เห็นว่ากายและจิต สามารถแยกจากกันได้ การปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ จะกำหนดรู้ญาณนี้ได้ว่า กายภายในนั้น เปรียบเหมือนถ้ำที่กักขังจิตไว้ ส่วนจิตดิ่งอยู่ตรงกลางถ้ำกายภายใน ตามความเป็นจริงนั้นเป็นรูปถุง ปากถุงอยู่ตรงส่วนบนของลิ้นปี่ แล้วโค้งตามชายโครงไปตามสีข้าง แล้วโค้งตามลำตัวห่างจากสีข้างเข้าไปประมาณครึ่งนิ้ว ลงไปยังท้องน้อย บรรจบกันเป็นรูปถุง ส่วนจิตนั้นลอยอยู่ตรงกลาง จิตตามความเป็นจริงในที่นี้คือ มหาภูตรูป พร้อมด้วยจิตและวิญญาณและดวงอากาศธาตุ ตรงจุดนี้เป็นจุดที่วิชชาธรรมกายเริ่มต้น โดยเดินไปคนละทิศ คือเดินไปทางทิศตรงกันข้าม การแทงตลอดลึกเข้าไปในปัจจัยภายใน ตามวิธีปฏิบัติในวิชชาธรรมกายมากเท่าใด วิปัสสนาญาณเช่นที่เกิดในวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ก็เกิดสูงขึ้นเท่านั้นพร้อมกันไปด้วย นักปฏิบัติตามแบบของวิชชาธรรมกาย จะสามารถเห็นญาณนี้ ได้โดยละเอียด ญาณนี้แปลกกว่าญาณอื่นอีก 13 ญาณถัดไป กล่าวคือ ญาณนี้ต้องเห็นเสียก่อน จึงจะกำหนดรู้ได้อย่างละเอียด ญาณทั้งสามญาณที่กล่าวมาแล้วนี้ เห็นและกำหนดรู้พร้อมกัน ด้วยเหตุนี้ นักปฏิบัติโบราณจึงกำหนดว่า วิปัสสนาญาณเริ่มตั้งแต่ สัมมสนญาณ สมมุติว่าในขณะปฏิบัติอยู่นั้น เกิดปวดฟันขึ้นมา และได้หันไปกำหนดที่การปวดฟันนั้น จะรู้สึกว่าฟันและการปวดออกไปอยู่ทางหนึ่ง จิตอยู่อีกทางหนึ่ง ความเจ็บปวดไม่เกาะอยู่ที่จิต คือไม่มีความเจ็บเลย นี่เป็นการกำหนดรู้เวทนาในเวทนา เป็นการกำหนดรู้ทั้งเวทนาภายในและเวทนาภายนอก การกำหนดที่การปวดฟันนี้ ต้องมีตัวรู้ตามไปด้วยทุกขณะ มิฉะนั้นจะปวดมากขึ้น นิมิตวิมาน ปราสาท เทพ พรหม และสิงสาราสัตว์ที่ได้เคยก่อกรรมทำเข็ญไว้ ถ้าจะปรากฏให้เห็น ก็จะปรากฏนอกขอบถุง ในทางปฏิบัติจะต้องสละคืนนิมิตเหล่านี้ และสละคืนตัวถุงด้วย ให้ความรู้สึกเกาะอยู่ที่จิตอย่างเดียว นิ่งอยู่ได้สำเร็จ ญาณต่อไปก็เกิดขึ้น

    4. อุทยัพพยญาณ คือ ญาณกำหนดรู้การเกิดดับของกายและจิต ได้แก่ จิตเต้นถี่เร็วเข้าๆ คล้ายกระแสความถี่ของวิทยุ หรือคล้ายฝนตกจั้กๆ ทำท่าจะดับ ว่างเปล่าไป ญาณนี้ทางสมถะก็อาจปฏิบัติได้ แต่ ที่ไม่เป็นวิปัสสนาก็เพราะ ไม่ได้เห็นกายและจิต จึงไม่มีเชื้อของ นิพพิทาญาณ

    5. ภังคญาณ คือ ญาณกำหนดรู้ความดับ หรือ แตกสลายของกายและจิต เมื่อจิตเต้นถี่เร็วๆเข้า กายก็ดับว่างเปล่าไป ญาณนี้เป็นที่เริ่มต้นของคำว่า จิตว่าง ไม่มีการเห็นตั้งแต่ญาณนี้เป็นต้นไป กล่าวคือ แต่ญาณนี้เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ มีข้อสังเกตว่า กายหรือรูปได้ดับไปแล้วอย่างเด็ดขาด วิปัสสนาญาณต่อไป จะไม่มีอาการที่สืบมาแต่กาย โดยกายเป็นใหญ่เกิดขึ้นเลย ถ้ามีอาการเกี่ยวกับกาย โดยกายเป็นใหญ่เกิดขึ้น อาการนั้นเป็นอาการของปีติ ไม่ใช่วิปัสสนาญาณญาณต่อไป เป็นการแยกนาม หรือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ออกจากมหาภูตรูป จิตจึงเริ่มมีความหมายใหม่ ว่า นามรูป

    6. ภยตูปัฏฐานญาณ คือการกำหนดรู้ว่านามรูปเป็นภัยที่น่ากลัว ได้แก่ อาการรู้สึกกระสับกระส่ายอย่างแรง ญาณนี้เป็นญาณแรกใน 6 ญาณ ที่แสดงอาการของทุกข์ในวิปัสสนา ญาณนี้จะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    7. อาทีนวญาณ คือการกำหนดรู้โทษของนามรูป เนื่องจากอาการกระสับกระส่ายของญาณที่ 6 ผู้ปฏิบัติจะมีความรู้สึกอึดอัด คล้ายถูกขังอยู่ในห้องเล็กๆ ที่มีอากาศน้อย ญาณนี้เป็นญาณที่สองที่แสดงอาการของทุกข์ และจะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    8. นิพพิทาญาณ คือการกำหนดรู้ความเบื่อหน่ายในสังขาร ได้แก่ ความรู้สึกเบื่อหน่ายในชีวิต พร้อมกับรู้สึกว่าชีวิตเราเกิดมานี้ เป็นอนิจจัง ไม่มีความแน่นอนเป็นแก่นสารอะไรเลย มีแต่ความทุกข์ ถ้าไม่ต้องเกิดเสียได้ ก็จะไม่มีทุกข์อีกต่อไป เป็นการรู้ว่าจิตมีธรรมอื่นๆยิ่งกว่า หรือเป็นการกำหนดรู้จิตในจิต ในเที่ยวที่สอง ญาณนี้จะปรากฏขึ้นระหว่างอาการของทุกข์แวบเดียว เพื่อให้กำหนดรู้ สมุทัย ญาณนี้เป็นญาณที่สาม ที่แสดงอาการของทุกข์ ญาณนี้จะกำหนดรู้ ปฏิจจสมุปบาทธรรม รวมทั้งรู้ว่า ถ้าดับตัณหาและอุปทานเสียได้ ก็จะเป็นการดับทุกข์

    9. มุญจิตุกัมยตาญาณ คือการกำหนดรู้ความปรารถนา ใคร่จะหลุดพ้นไปจากทุกข์ เมื่อผู้ปฏิบัติรู้สึกอึดอัด จิตนั้นก็เริ่มพยายามดิ้น เพื่อจะออกไปนอกตัว คล้ายปลาที่อยากออกไปจากแห ญาณนี้เป็นญาณที่สี่ ที่แสดงอาการของทุกข์ จะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    10. ปฏิสังขาญาณ คือการกำหนดรู้ความพยายามจะให้พ้นไปจากทุกข์ ได้แก่การกำหนดรู้ว่า เมื่อพยายามอย่างนิ่มนวลไม่สำเร็จ จิต ก็ดิ้นแรงขึ้น แต่ภังคญาณเป็นต้นมา กายได้ดับลงสนิทแล้ว จิตจึงมีความเป็นใหญ่ ฉะนั้น เมื่อจิตดิ้นกายก็ดิ้นตามไปด้วย การดิ้นของจิต เพื่อหนีจากทุกข์นี้ มีความรุนแรงถึงกับดิ้นปัดๆ ในอาการเช่นเดียวกับปลาติดแหแล้วดิ้น และจะมีกลิ่นสาบออกมาจากตัวด้วย ญาณนี้เป็น ญาณที่ห้า ที่แสดงอาการของทุกข์ จะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    11. สังขารุเปกขาญาณ คือการกำหนดรู้การวางเฉยของนามรูป เมื่อพยายามจะออกไปจากกองทุกข์นี้ไม่สำเร็จ ก็ปล่อยไปตามเรื่อง หรือวางเฉยเสีย บางท่านว่าเหมือนความรู้สึกต่อสตรี ที่ได้หย่าขาด จากกันแล้ว นี่เป็นการรู้นิโรธในความหมายว่าเป็นการดับทุกข์ ในทางปฏิบัติจะเห็นญาณนี้แวบเดียว แต่ก็สามารถทำให้ทุกข์มหาศาลในวิปัสสนาดับลงได้โดยฉับพลัน ญาณนี้ เป็นญาณสุดท้าย ที่แสดงอาการของทุกข์ จะกำหนดรู้ได้ในเที่ยวที่สอง นิโรธในวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ มีความหมายแต่เพียงว่าเป็นการดับทุกข์ ส่วนนิโรธในความหมายว่า ทำให้แจ้งแห่งสภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ตามสัจจกถาปฏิสัมภิทามรรคนั้น มีอยู่แต่ในวิชชาธรรมกาย และ วิปัสสนาแบบโบราณเท่านั้น

    12. อนุโลมญาณ คือการปล่อยไปตามวิถีแห่งอารมณ์นิพพาน จะมีปัญญาแนะให้รู้ว่า มีญาณวิถีเกิดขึ้น เพื่อจะช่วยให้ข้ามไปยังฐานะใหม่ พ้นไปจากทุกข์ของโลกนี้ ถ้าผู้ปฏิบัติยังเสียดายโลกียวิสัย ก็จะไม่กล้าเกาะญาณวิถีนี้ไป แต่ถ้าเบื่อหน่ายชีวิตในสภาพปัจจุบันนี้ ก็จะ มีปัญญา แนะให้ยอมเป็น ยอมตาย เกาะญาณวิถีนี้ไป สำหรับผู้เคยปฏิบัติทางสมถะมาก่อน ญาณวิถีที่เกิดขึ้นในตอน นี้ จะมีอาการดูดหนุบๆ ถ้ามีสติไม่ตกใจมาก ก็จะชะงักอยู่นิดหนึ่ง แล้วข้ามโคตรปุถุชนไป ถ้าตกใจมากก็ไม่อาจจะข้ามไปได้

    13. โคตรภูญาณ คือการกำหนดรู้การข้ามโคตรปุถุชน เมื่อ ตัดสินใจ เกาะญาณวิถีต่อไป ญาณวิถีจะพากระโดดข้ามโคตรปุถุชน

    14. มัคคญาณ ได้แก่ ระยะทางจากจุดที่เริ่มตัดสินใจเกาะญาณวิถี กระโดดข้ามโคตรปุถุชน มาถึงจุดที่ญาณวิถีกระโดดมาถึงที่หมาย อาการของมรรคที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ มีผู้นำไปผูกเป็นสำนวนว่า เป็นการข้ามไปยังฝั่งขวา ที่ระบุว่าเป็นฝั่งขวา เพราะในพระพุทธศาสนานิยมการเวียนขวา

    15. ผลญาณ คือการกำหนดรู้ จุดที่ญาณวิถีกระโดดข้ามมาถึงที่หมาย การปฏิบัติแบบวิชชาธรรมกาย จะทำให้สามารถเห็นผลญาณ คือ อายตนะนิพพาน อีกด้วย


    16. ปัจจเวกขณญาณ ต่อจากผลญาณ จะมีภวังค์คั่นอยู่หน่อยหนึ่ง แล้วจะมีญาณบอกให้รู้ว่า มีปัญญาได้อะไรมาแล้วบ้าง การปฏิบัติในเที่ยวแรก วิปัสสนาญาณจะเกิดแต่สัมมสนญาณขึ้นมาตามลำดับ จนถึงภังคญาณ ข้ามไปกำหนดรู้นิพพิทาญาณ แล้วก็อนุโลมญาณ ต่อไป ก็บรรลุมรรคผล เป็นการได้ อนิจจสัญญา ในเที่ยวนี้จะกำหนดรู้สมุทัยและมรรคได้ชัดเจน มีข้อสังเกตว่าการปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์นี้ จะต้องมีศีล ต้องสละคืนสมาธิ ต้องมีสติอยู่เสมอ คือให้มีตัวรู้ตามติดญาณไปทุกขณะ แล้วตัวรู้นี้จะกลายเป็นปัญญา


    ระวังอย่าหลงอยู่ใน วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งจะเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติ


    การจะเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์เที่ยวสองได้ นิพพิทาญาณจะต้องมีกำลังถึงกับแผ่เป็นวงกลม ออกไปนอกตัว ราว 1 ศอก กำลังสมาธิในตอนนี้ เท่ากับกำลังสมาธิขั้น อรูปฌาน นิพพิทาญาณหรือ ตัวอนิจจัง หรือ สมุทัยนี้ จะเป็นพื้นของวิปัสสนาญาณตลอดการปฏิบัติในเที่ยวสอง การปฏิบัติจะเจริญขึ้น ตามลำดับ จนถึงภังคญาณ แล้วก็จะกำหนดรู้ทุกข์ใน ภยตูปัฏฐานญาณ และ อาทีนวญาณ จะกำหนดรู้ นิพพิทาญาณ นิดหนึ่ง แล้วก็จะรู้อาการของทุกข์ ต่อไป ในมุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ และ สังขารุเปกขาญาณในที่สุด ซึ่งแสดงว่าทุกข์ในวิปัสสนานั้นใหญ่หลวงนัก ต้องใช้ญาณถึง 6 ญาณ จึงจะกำหนดรู้อาการของทุกข์ได้ครบ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวญาณ และ นิพพิทาญาณ เป็นการกำหนดรู้ทุกข์ ส่วน มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ และ สังขารุเปกขาญาณ เป็นการกำหนดรู้ความพยายามให้พ้นทุกข์ อาการของทุกข์เป็นสภาวะที่ไม่อาจจะทนทานได้ทีเดียว จะระงับอย่างไรก็ไม่ได้ แม้จะพยายามใช้สมาธิระงับก็เข้าไม่ถึง พอทุกข์แรงจนถึงขีดสุด ก็จะกำหนดรู้นิโรธใน สังขารุเปกขาญาณ แล้วก็อนุโลมไปตามญาณวิถี ต่อจากนั้นก็จะกำหนดรู้อนัตตา ในความหมายว่าไม่ใช่ตัวตนของเรา และ ทุกข์เป็นสภาพที่ไม่อาจบังคับบัญชาได้ ซึ่งเท่ากับเป็น ปัญญาผ่าน มัคคญาณ ผลญาณไปด้วยในตัว และเป็นการปรากฏของ อนัตตสัญญา มีข้อสังเกตว่า จะต้องผ่านการปฏิบัติในเที่ยวแรกเสียก่อน จึงจะสามารถกำหนดรู้พระไตรลักษณ์ได้ชัดเจน และ ในเที่ยวที่สองนี้ จะได้ผ่านอริยสัจ 4 อีกครั้ง ทำให้สามารถกำหนดรู้อริยสัจ 4 ได้ชัดขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเห็นธรรมในธรรม นิโรธมีอยู่แล้วที่สังขารุเปกขาญาณ และ นิพพิทาญาณ แต่นิโรธทั้งสองแห่งเป็นนิโรธที่ยังหยาบอยู่ สำหรับการปฏิบัติในเที่ยวสาม ท่านผู้รู้แนะให้แต่เพียงว่า นิพพิทาญาณ จะเป็นเจ้าเรือนอยู่ตามเดิมตามที่อธิบายมาข้างต้นว่า การปฏิบัติในเที่ยวแรก ได้ข้ามวิปัสสนาญาณไปสองแห่ง ไม่ได้กำหนดรู้วิปัสสนาญาณรวม 5 ญาณนั้น ไม่ได้หมายความว่า ญาณนั้นๆไม่ได้เกิดขึ้น ถ้าอาจารย์ผู้ควบคุมตรวจสอบอารมณ์กรรมฐานดู จะรู้ว่า อันที่จริง ญาณนั้นเกิดขึ้นแต่ไม่ชัด ผู้ปฏิบัติจึงไม่อาจรู้ได้ ต้องปฏิบัติเที่ยวที่หนึ่ง สามารถกำหนดรู้สาเหตุแห่งทุกข์ได้แล้ว จึงสามารถรู้ทุกข์ได้ชัด ผู้ที่ผ่านการปฏิบัติสมถภาวนามาแล้วอย่างโชกโชน ย่อมผ่านอาการกายดับ จิตว่างมาแล้วอย่างนับครั้งไม่ถ้วน ถ้ามีอะไรผิดสังเกต จิตจะรีบกลับไปนิ่งอยู่ที่ศูนย์ที่ตั้งจิตโดยอัตโนมัติทันที ส่วนมากเห็นกายในกายและ จิต หรือ สัมมสนญาณแล้ว การที่ไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ ก็เพราะไปอธิษฐานจิตเสีย ถ้าเผอิญเกาะจิตนิ่งอยู่ ไม่คิดอะไรเลย ได้นานพอเพียง ก็อาจบรรลุมรรคผลได้ ในกรณีพระสาวกที่บรรลุมรรคผลได้โดยฉับพลันก็เช่นเดียวกัน ในขณะที่เลื่อมใสพระธรรมข้อหนึ่งข้อใดนั้น ศรัทธาในพระธรรมเอิบอาบซาบซ่านไปทั่วกายอย่างลึกซึ้ง จนทำให้ความรู้สึกย้อนกลับมาดูกายและจิตทันที เมื่อนิ่งอยู่ที่นั่น อุทยัพพยญาณ และ ภังคญาณ หรืออาการจิตว่างก็เกิด แล้วนิพพิทาญาณก็จะเกิดตามมาโดยรวดเร็ว ถ้าจิตละเอียดมากอยู่แล้ว ก็อาจบรรลุมรรคผลขั้นต่ำ สำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติสมถภาวนามาบ้าง ถ้าเปลี่ยนศูนย์ที่ตั้งจิตมาตั้งอยู่ที่เหนือสะดือสองนิ้ว แล้วหยุดอธิษฐานจิต อาจจะบรรลุมรรคผลได้เร็วกว่าการตั้งจิตอยู่ที่ศูนย์อื่น ถ้าเริ่มปฏิบัติสมถกรรมฐานมาก่อน แล้วหันมาปฏิบัติวิปัสสนา เรียกว่า เป็นการเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ถ้าเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาโดยตรงแล้ว ความสามารถทางสมถะเกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้ เรียกว่า การเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น



    เมื่อได้ อุทยัพพยญาณ แล้ว จะมี วิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น 10 ประการ คือ1. โอภาส เห็นแสงสว่างมากผิดปกติ สามารถเห็นที่ ต่างๆได้ ถ้าได้ปัญจมฌานแล้ว อาจ เห็นได้ถึงพรหม2. ปีติ ขนลุก และ รู้สึกวาบๆไปทั่วตัว ลมพัด ไปทั่ว กายเป็นละลอก มีอาการตัวจะ ลอยขึ้น และ มีความเย็นเยือกวาบลงไป กลางกาย แล้วแผ่ไปทั่วตัว คล้ายน้ำ โกรกชะโงกผา3. ปัสสัทธิ รู้สึกว่าร่างกายโปร่ง เบา สงบมาก มีความเย็นอย่างละเอียดเนียนๆ4. อธิโมกข์ มีศรัทธาแก่กล้า อยากให้คนทั้งโลกมา เจริญวิปัสสนา5. ปัคคหะ มีความเพียรอยากปฏิบัติวิปัสสนา อย่าง หามรุ่ง หามค่ำ6. สุข เป็นอุปกิเลสที่เกิดต่อจากปัสสัทธิ คือ เมื่อสงบแล้ว ก็มีความรู้สึกเป็นสุข ชนิด ที่ไม่อาจจะหาได้ในโลกนี้7. ญาณ ทำวิปัสสนาญาณได้คล่องผิดกว่าปกติ8. อุปัฏฐาน กำหนดสติได้คล่องแคล่วทุกอิริยาบถ9. อุเบกขา วางเฉยไม่ยินดียินร้ายในเรื่องอะไรเลย10. นิกันติ ความอยาก หยุดเพียงอุปกิเลสอย่าง หนึ่งอย่างใด ก็ตาม ที่กล่าวมาข้างต้นวิปัสสนูปกิเลสนี้ อาจทำให้สำคัญผิดไปว่า ตนได้บรรลุมรรคผลแล้ว หรือไม่ ก็หลงเพลิดเพลิน อยู่ในอารมณ์เหล่านี้ จนไม่เป็นอันปฏิบัติสืบต่อไปตามมติของสำนักวัดมหาธาตุ ผู้ปฏิบัติได้ญาณ 16 ญาณนี้ครั้งหนึ่งจะบรรลุมรรคผลขั้นโสดาบัน ถ้าได้สองครั้งจะบรรลุมรรคผลขั้นสกิทาคามี ถ้าสามครั้งได้อนาคามี สี่ครั้งได้อรหัตผล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บรรลุมรรคผล โดยการเจริญวิปัสสนาแบบนี้ อาจจะกล่าวได้ว่า มีดังต่อไปนี้1. ต้องมีศีล2. ต้องสละคืนสมาธิ3. ต้องมีสติอยู่เสมอ คือ ให้มีตัวรู้ ตามติดญาณไป ทุกขณะแล้วตัวรู้นี้ จะกลายเป็น ปัญญา4. ต้องพยายามพิจารณา อุทยัพพยญาณ ให้เห็น ลักษณะของ อนิจจัง ทุกขัง หรือ อนัตตา5. ระวังอย่าหลงอยู่ใน วิปัสสนูปกิเลส (ข้อนี้ใช้เฉพาะการปฏิบัติในครั้งแรกเท่านั้น)



    เมื่อครั้งพุทธกาล มีการบรรลุมรรคผลกันโดยฉับพลันเป็นจำนวนมาก ถ้าพิจารณาดูให้ดี จะเข้าใจว่าผู้บรรลุมรรคผลได้โดยฉับพลันเหล่านั้น มีเงื่อนไขอยู่หลายประการ เช่น1.ด้วยอภินิหารของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า2.ตนเองได้สร้างบุญบารมี หรือ มีนิสัยมาแล้วในชาติก่อน อย่างแก่กล้า3.บุคคลชั้นกษัตริย์และพราหมณ์ ได้เจนจบไตรเพทมาแล้ว ส่วนมากได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ถ้าได้คำแนะนำที่ถูก ต้องอาจบรรลุอาสวักขยญาณได้ทันที4.พระพุทธองค์สามารถทราบได้ว่า ในชาติก่อนบุคคลเหล่า นั้นได้เคยมีความสลดใจในอาการอย่างไร หรือ เคยใช้ อารมณ์อะไรมาเป็นกรรมฐาน จึงต่อกรรมฐานให้แก่บุคคลผู้ นั้นในอารมณ์เดียวกับที่ได้เคยมีมาในกาลก่อน5.เป็นผู้ที่ได้ประสบกับความไม่เที่ยง และ ความทุกข์อย่าง รุนแรงในโลกนี้ เพียงแต่แนะให้เข้าใจ ลักษณะอนัตตา ก็อาจหลุดพ้นได้




    ด้วยเหตุนี้ ผู้บรรลุมรรคผลโดยฉับพลัน จึงมีหลายประเภท บางท่านก็เป็น สุกขวิปัสสก คือ บรรลุปัญญาวิมุตติ บางท่านบรรลุ เจโตวิมุตติ บางท่านก็บรรลุทั้งสองทางหรือประกอบด้วย จตุปฏิสัมภิทา ผู้สำเร็จมรรคผล ชั้นโสดาบัน สามารถอดทนต่อความทุกข์ยากได้ดี อย่างน้อยจะรู้สึกตนว่าโชคดี ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา บัดนี้ตนเองได้ประสบชัยชนะต่อทุกข์แล้ว เป็นอันหวังได้ว่า ชีวิตในชาติหน้า ไม่มีทางจะตกต่ำ พระโสดาบันอาจทำความผิดเล็ก น้อยได้ ถ้าเป็นผู้เห็นทุกขลักษณ์ชัด จะมีกามราคะเบาบางมาก แต่ความรู้สึกทางอารมณ์ยังมีอยู่ ส่วนผู้ที่เห็นชัดในด้านอนิจจัง และอนัตตา อาจมีชีวิตครองเรือนบ้าง เพราะกามราคะถูกตัดไปไม่มากกามราคะของพระสกิทาคามี จะเบาบางลงไปอีก ขนาดมองเห็นของสวยของงาม โดยจิตใจไม่เคลื่อนที่ แต่ความรู้สึกทางอารมณ์ยังมีอยู่บ้างในยามเผลอ ถ้าได้มรรคผลทางทุกขลักษณ์ ความรู้สึกทางอารมณ์จะสงบลงไป แต่ยังอาจเกิดขึ้นได้ ต้องบรรลุมรรคผลชั้นอนาคามี กามราคะจึงจะหมดไปอย่างเด็ดขาด ในปัจจุบันนี้มักจะมีการพูดกันอย่างหนาหูว่า มนุษย์ผู้หญิงหรือผู้ชายก็คือ โครงกระดูกที่หุ้มด้วยหนัง หรือ ถุงที่บรรจุสิ่งปฏิกูล ฟัง ๆ ดูอาจเข้าใจไปได้ว่า ผู้พูดเป็นผู้ปลงตกแล้ว เพราะสำนวนนี้ถอดมาจากวิสุทธิมรรค ขอแนะนำว่าอย่าได้ไปหลงลมเป็นอันขาด จะเสียตัว อารมณ์ของผู้ละกามราคะได้อย่างแท้จริงนั้น คือ ผู้ที่มองเห็นความงามอ่อนช้อย หรือ ความงามที่บาดตา มองเห็นความงามที่เยือกเย็น หรือความงามที่ยั่วยวน ด้วยอารมณ์อันว่างเปล่า ถ้าเห็นมนุษย์เป็นโครงกระดูกได้จริงๆ ก็เป็นเพียงผู้มีความสามารถทางสมาธิสูงเท่านั้น เมื่อใดกามราคะเกิดขึ้น ตัณหาจะรุนแรงยิ่งกว่าคนธรรมดา คนจำพวกนี้แหละที่สำคัญนัก ต้องนำโครงกระดูกมาพิจารณา ให้เกิดความสังเวชสลดใจใน อนิมิตตสมาธิ กามวิตก พยาบาทวิตก และ วิหิงสาวิตก จึงจะหลุดพ้นไปได้ หรือ ถ้าบุญบารมีถึง อาสวกิเลสอาจสิ้นไปด้วย อาการหลุดพ้นจาก กามวิตก เสมือนความโล่งใจ เมื่อสามารถถอดแหวนที่คับนิ้วออกมาได้ หากแต่ในกรรมฐาน เป็นความเบาระคนไปด้วยความสุขสงบ เมื่อพ้นมาจากพันธนาการของตัณหา<CENTER></CENTER>
    </PRE>
    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2010
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...