ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ทำไมจึงได้ธรรมกายกันมาก ?










    ทำไม [ผู้ที่มาเข้ารับการอบรมที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย- วัดหลวงพ่อสดฯ จ.ราชบุรี] จึงได้ธรรมกายกันมาก ?

    เหตุปัจจัยที่ผู้เข้ามาศึกษาและฝึกปฏิบัติภาวนาธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และในโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ (ภูเขาทอง) ปฏิบัติได้ผลในอัตราที่ค่อนข้างสูง ก็เพราะว่า
    ผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมในสำนักนี้ เป็นผู้มีธาตุธรรมที่แก่กล้าดีพอสมควรเอง ด้วยบุญบารมีที่เขาได้สั่งสมอบรมมาดีแล้วพอสมควร (ปุพฺเพกตปุญฺญตา) เอง จึงได้เข้ามาสู่สำนักปฏิบัติธรรมที่มีนโยบาย วิธีการฝึกอบรม อุปกรณ์การศึกษาอบรม และสิ่งแวดล้อมที่สัปปายะ และได้พบกับครูอาจารย์ เพื่อนสหธรรมิก ที่เป็นกัลยาณมิตรที่แท้จริง อันเอื้ออำนวย และช่วยประคับประคองเกื้อหนุนให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดีในอัตราที่สูง
    สำนักปฏิบัติธรรมนี้คือสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในโครงการทั้ง ๒ นี้ ได้มีนโยบายหลักที่จะ “สร้างพระในใจคน” และ “สร้างพระวิปัสสนาจารย์และวิทยากรให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ” อย่างจริงจังมาตั้งแต่เริ่มสร้างสถาบันแห่งนี้ขึ้น จึงกำหนดและพัฒนาวิธีการฝึกอบรมแก่ผู้มาเข้ารับการศึกษาและฝึกปฏิบัติธรรมที่สำนักนี้ ให้ได้ผลตามนโยบายที่กำหนดไว้อยู่เสมอ
    1. วิธีการฝึกอบรมธรรมปฏิบัติที่กำหนดขึ้นไว้และได้รับการพัฒนาจนพิสูจน์ได้ว่า เอื้ออำนวยให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดีมากก็คือ
      1. เมื่อมีผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมเริ่มได้ผลดีพอสมควรที่จะให้ได้รับคำแนะนำต่อวิชชาให้สูงขึ้นได้เพียงใด ก็จะรีบช่วยให้คำแนะนำ ต่อธรรมให้ได้ถึงธรรมกาย และต่อวิชชาชั้นสูง ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้เต็มขีดความสามารถหรือตามระดับภูมิธรรมที่เขาสามารถปฏิบัติได้ โดยไม่ชักช้า และอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นว่า เมื่อมีผู้ปฏิบัติได้ถึงดวงปฐมมรรคหรือกายในกายที่ละเอียดๆ บ้างตามสมควร ก็จะรีบช่วยแนะนำต่อวิชชาให้ได้ถึงธรรมกายและให้ได้ถึง ๑๘ กาย แล้วให้ฝึกพิสดารกายซ้อนสับทับทวีสุดกายหยาบกายละเอียด เพื่อชำระธาตุธรรมให้ใสสะอาดอยู่เสมอ เมื่อผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ปฏิบัติจนชำนาญดีพอสมควรแล้ว ก็ให้คำแนะนำให้ฝึกวิธีการเจริญสติปัฏฐาน ๔ พิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็นทั้ง ณ ภายในและทั้ง ณ ภายนอก ทั้งโดยหลักปริยัติและหลักปฏิบัติ ทั้งสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อให้รู้วิธีรักษาใจ และรักษาธรรมของตนอย่างถูกวิธี ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญแก่การฝึกเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงอีกต่อไป เมื่อเห็นสมควรที่จะให้ฝึกต่อวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ ก็ให้เข้ารับการฝึกต่อไปให้ถึงที่สุดตามระดับภูมิธรรมของแต่ละท่าน เพื่อสะสางธาตุธรรมของตนให้สะอาดบริสุทธิ์จากธาตุธรรมของภาคมารหรืออกุสลาธัมมา และยังจะมีผลในการช่วยผู้อื่นได้อีกด้วย
      2. ผู้ที่ฝึกปฏิบัติภาวนาได้ผลพอสมควรแล้ว ที่มีอุปนิสัยในการแนะนำสั่งสอน ก็จะมอบหมายหน้าที่ให้ช่วยทำหน้าที่เป็นวิทยากรอีกต่อไป เพื่อช่วยแนะนำและควบคุมพระกัมมัฏฐานแก่ผู้มาเข้ารับการอบรมรายอื่นๆ ที่ยังล้าหลังอยู่หรือเพิ่งเข้ามาใหม่ โดยจะแยกผู้มาเข้ารับการอบรมตามระดับต่างๆ เป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อให้วิทยากรได้ช่วยให้คำแนะนำและควบคุมพระกัมมัฏฐานเป็นกลุ่มๆ โดยใกล้ชิด เป็นการช่วยเพิ่มพูนบุญบารมีแก่ผู้ทำหน้าที่วิทยากรนั้นเองอีกด้วย
      3. ส่วนผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมที่ได้ผลดี แต่ไม่มีอุปนิสัยในการแนะนำสั่งสอน หรือยังเป็นเด็ก ก็จะได้รับมอบหมายให้เจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงอยู่ตามกลุ่มต่างๆ เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระการทำวิชชาสะสางธาตุธรรม ณ ภายในของวิทยากรที่กำลังทำหน้าที่แนะนำสั่งสอนกลุ่มต่างๆ ซึ่งจะต้องถอยจิตหยาบออกมาเพื่อให้คำแนะนำลูกกลุ่มอีกทีหนึ่ง -- เป็นการเพิ่มพูนบุญบารมีของผู้ทำวิชชาชั้นสูงเองด้วยอีกโสดหนึ่ง
    โดยวิธีนี้ ยิ่งมีผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมได้ผลดีมากขึ้นเพียงใด ก็ย่อมจะยิ่งให้ผลดีทั้งในส่วนของการช่วยตนเองและช่วยผู้อื่นได้มากเพียงนั้น -- นี้ก็เป็นบุญต่อบุญบารมีต่อบารมี ธรรมกายต่อธรรมกาย
    1. อุปกรณ์การฝึกอบรมและสิ่งแวดล้อมอันสัปปายะ ที่เอื้ออำนวยแก่การศึกษาและปฏิบัติธรรมให้ได้ผลสูง ก็คือสำนักปฏิบัติแห่งนี้ คือสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญ วัดสระเกศ (ภูเขาทอง) เป็นที่รวมสรรพตำราธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายทุกระดับ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ถ่ายทอดไว้ให้แก่ศิษยานุศิษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผ่านมายัง พระเดชพระคุณ พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) รองเจ้าอาวาส และพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกคือเป็นศิษย์ผู้รับการบรรพชาอุปสมบทโดยตรงจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ในฐานะผู้ถือนิสสัย และในฐานะผู้เรียนธรรมจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านมาอย่างใกล้ชิด (ท่านได้รับความกรุณาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านได้จัดที่จำวัดให้อยู่ใกล้ชิดกับท่าน เพื่อสะดวกแก่การสั่งและสอนวิชชาธรรมกายชั้นสูงมาโดยตลอด) จึงทำให้ผู้ที่ได้เข้ามาศึกษาและฝึกปฏิบัติภาวนาธรรม ณ สำนักนี้ ได้มีโอกาสศึกษาและฝึกปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายทุกระดับอย่างกว้างขวางละเอียดลออ ให้สามารถปฏิบัติธรรมได้ถูกต้องและเที่ยงตรง ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านได้ถ่ายทอดเอาไว้ และสอดคล้องกันทั้งหลักปริยัติและวิธีการปฏิบัติ ช่วยขจัดความลังเลสงสัยได้เป็นอันมาก ด้วยว่าได้มีตำรับตำราคอยเป็นครูอยู่ใกล้ชิดและผู้ช่วยแนะนำที่เป็นกัลยาณมิตรคู่ใจ ยากที่จะได้รับจากที่อื่นใดในโลก
      เมื่อผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติภาวนาธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมนี้ ปราศจากความลังเลสงสัยทั้งในหลักปริยัติและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ย่อมมีโอกาสใช้เวลาที่ได้เสียสละมาเข้ารับการอบรมด้วยวิธีการอันถูกต้องได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ ไม่ต้องเสียเวลาในการคลำหาทางเปะๆ ปะๆ ไปเองโดยเปล่าประโยชน์ ก็ย่อมจะมีกำลังใจ มีสติปัญญาปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดีกันเป็นส่วนมากเป็นธรรมดา
    2. ครู อาจารย์ และเพื่อนสหธรรมิกสำนักนี้ ต่างมีใจเอื้อเฟื้อแก่ผู้มาเข้ารับการอบรมโดยทั่วหน้ากันว่า จะช่วยกันถ่ายทอดธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายนี้แก่ผู้อื่น จนเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ ตามระดับภูมิธรรมของผู้ถ่ายทอดและผู้รับการถ่ายทอด ด้วยความมุ่งหมายเพื่อที่จะให้สาธุชนผู้มาเข้ารับการอบรมทุกท่าน สามารถช่วยทั้งตนเองและผู้อื่นได้ด้วย โดยไม่ปิดบังวิชชา และไม่หวั่นวิตกว่าจะมีผู้อื่นใดเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในธรรมยิ่งกว่าตน เพราะนั่นเป็นความปรารถนาของเราทุกคน ที่มุ่งจะเผยแพร่พระสัทธรรมนี้ให้กว้างไกลออกไปทั่วประเทศและแม้ในต่างประเทศ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขแก่สาธุชนโดยส่วนรวมร่วมกัน
    ทั้งหมดนี้แหละคือเหตุปัจจัยที่สำคัญ อันเอื้ออำนวยให้ผู้เข้ามาศึกษาและปฏิบัติภาวนาธรรมที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ในโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และโครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ (ภูเขาทอง) จึงปฏิบัติได้ผลดีในอัตราที่สูง
    บัณฑิตผู้มีปัญญาใด รู้จักเหตุและได้สังเกตผลตามที่เป็นจริง และกอปรด้วยมุทิตาธรรม ย่อมจักเข้าใจได้ดี และท่านที่เป็นผู้มีอุปการะแก่กิจกรรมเผยแพร่ธรรมปฏิบัติของสำนักนี้ และทั้งอนุโมทนาในมหากุศลธรรมทานแห่งสำนักนี้ด้วย ย่อมเป็นมหานิสงส์ บุญราศีทับทวีแก่ท่านผู้นั้นแต่ส่วนเดียว ด้วยประการฉะนี้
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2010
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010104.wma[/MUSIC]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]


    ..........อาตมาเองก็เป็นคนงมงายมาก่อน ในกาลก่อนใครพูดเรื่องนิพพานไม่เชื่อ นิพพานมีสภาพสูญ เขาว่าอย่างนั้น ต่อมา หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเป็นอาจารย์ ท่านเห็นว่า เรามีสันดานชั่วละมั้ง ก็ส่งให้ไปหา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ไปเรียนกับหลวงพ่อสดประมาณ ๑ เดือน ก็ทำได้ตามสมควร เรียกว่าพื้นฐานมีอยู่แล้ว ต่อมาวันหนึ่งประมาณ เวลา ๖ ทุ่มเศษ หลังจากทำวัตร สวดมนต์ เจริญกรรมฐานกันแล้ว หลวงพ่อสดท่านก็คุยชวนคุย คนอื่นเขากลับหมด ก็อยู่ด้วยกันประมาณ ๑๐ องค์ วันนั้น ท่านก็บอกว่าฉันมีอะไรจะเล่าให้พวกคุณฟัง คือ พระที่ไปถึงนิพพานแล้ว มีรูปร่างเหมือนแก้วหมด ตัวเป็นแก้ว เราก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปมากแล้ว นิพพานเขาบอกว่ามีสภาพสูญ แล้วทำไมจะมีตัวมีตน

    แล้วท่านก็ยังคุยต่อไปว่า นิพพานนี้เป็นเมือง แต่ว่าเป็นทิพย์พิเศษ เป็นทิพย์ที่ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก มีพระอรหันต์มากมาย คนที่ไปนิพพานได้ เขาเรียกว่า พระอรหันต์ จะตายเมื่อเป็นฆราวาสจะตายเมื่อเป็นพระก็ตาม ต้องถึงอรหันต์ก่อน เมื่อถึงอรหันต์ก่อนแล้วก็ตาย ตายแล้วก็ไปอยู่ที่นั่น ร่างกายเป็นแก้วหมด เมืองเป็นแก้ว สถานที่อยู่แพรวพราวเป็นระยับ อาตมาก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปเยอะ ตอนก่อนก็ดี สอนดี มาตอนนี้ชักจะไปมากเสียแล้ว

    แต่ก็ไม่ค้าน ฟังแล้วก็ยิ้ม ๆ ท่านก็คุยต่อไปว่า เมื่อคืนนั้น ขี่ม้าแก้วไปเมืองนิพพาน (เอาเข้าแล้ว) แล้วต่อมาคุยไปคุยมาท่านก็บอกว่า (ท่านคงจะทราบ ท่านไม่โง่เท่าเด็ก เพราะพระขนาดรู้นิพพานไปแล้ว อย่างอื่นก็ต้องรู้หมด แต่ความจริงคำว่า รู้หมด ในที่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท ไม่ใช่รู้เท่าพระพุทธเจ้า แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ควรจะรู้ ก็สามารถรู้หมด)

    ท่านก็เลยบอกว่า เธอดูดาวงดวงนี้นะ ดาวดวงนี้สุกสว่างมาก ประเดี๋ยวฉันจะทำให้ดาวดวงนี้ริบหรี่ลง จะค่อย ๆ หรี่ลงจนกระทั่งไม่เห็นแสงดาว ท่านชี้ให้ดู แล้วก็มองต่อไป ตอนนี้เริ่มหรี่ ละ ๆ แสงดาวก็หรี่ไปตามเสียงของท่าน ในที่สุด หรี่ที่สุด ไม่เห็นแสงดาว ท่านถามว่า เวลานี้ทุกคนเห็นแสงดาวไหม ก็กราบเรียนท่านว่า ไม่เห็นแสงขอรับ ท่านบอกว่า ต่อนี้ไป ดาวจะเริ่มค่อย ๆ สว่าง ขึ้นทีละน้อย ๆ จนกระทั่งถึงที่สุด แล้วก็เป็นไปตามนั้น

    พอท่านทำถึงตอนนี้ก็เกิดความเข้าใจว่า ความดีหรือวิชาความรู้ที่เรามีอยู่ มันไม่ได้ ๑ ในล้านที่ท่านมีแล้ว ฉะนั้นคำว่านิพพานจะต้องมีแน่ ท่านมีความสามารถอย่างนี้เกินที่เราจะพึงคิด ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่ศึกษามาในด้านกรรมฐานก็ดีหรือที่คุยกันมาก็ดี นี่ท่านรู้จริง ท่านก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพาน คำว่านิพพานสูญท่านไม่ยอมพูด ไปถามท่านเข้าว่านิพพานสูญรึ ท่านนิ่ง ในที่สุดก็ไปถาม ๒ องค์ คือ หลวงพ่อปาน กับหลวงพ่อโหน่ง ถามว่านิพพานสูญรึ ท่านตอบว่า ถ้าคนใดสูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกว่านิพพานสูญ แต่คนไหนไม่สูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกนิพพานไม่สูญ ก็รวมความว่า นิพพานไม่สูญแน่

    ทีนี้ต่อมา หลวงพ่อสดท่านก็ยืนยันเอาจริงเอาจัง ต่อมาท่านก็สงเคราะห์คืนนั้นเอง ท่านก็สงเคราะห์บอกว่า เรื่องต้องการทราบนิพพาน เขาทำกันอย่างนี้ ท่านก็แนะนำวิธีการของท่าน รู้สึกไม่ยาก เพราะเราเรียนกันมาเดือนหนึ่งแล้ว ตามพื้นฐานต่าง ๆ ท่านบอกว่าใช้กำลังใจอย่างนี้ เวลาผ่านไปประมาณสัก ๑๐ นาที รู้สึกว่านานมากหน่อย ทุกคนก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพานมีจริง เห็นนิพพานเป็นแก้ว แพรวพราวเป็นระยับ พระที่นิพพานทั้งหมด เป็นแก้วหมด แต่ไม่ใช่แก้วปั้น เป็นแก้วเดินได้ คือแพรวพราวเหมือนแก้ว สวยงามระยับทุกอย่างที่พูดนี้ยังนึกถึงบุญคุณหลวงพ่อ สดท่านยังไม่หาย ท่านมีบุญคุณมาก

    รวมความว่า เวลานั้นเรายังเป็นคนโง่ อาจจะมีจิตทึมทึก แต่ความจริงขอพูดตามความเป็นจริงเวลานั้นจิตไม่ดำ จิตใสเป็นแก้ว แต่ความแพรวพราวของจิตไม่มีการใสเป็นแก้วนั้น เวลานั้นเป็นฌานโลกีย์ ฌานสูงสุด ใช้กำลังเฉพาะเวลานะ ฌานโลกีย์นี้เอาจริงเอาจังกันไม่ได้ จะเอาตลอดเวลานี้ไม่ได้ เพราะอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์ แล้วท่านก็สั่งว่า หลังจากนี้ต่อไป ทุก ๆ องค์ จงทำอย่างนี้จิตต่อให้ถึงนิพพานทุกวัน ตามที่จะพึงทำได้ อย่างน้อยที่สุด จงพบนิพพาน ๒ ครั้ง คือ ๑. เช้ามืด และประการที่ ๒. ก่อนหลับ หลังจากนี้ไป เธอกลับไปแล้ว ทีหลังกลับมาหาฉันใหม่ ฉันจะสอบ

    เมื่อได้ลีลามาอย่างนั้นแล้วก็กลับ มาหาครูบาอาจารย์เดิม คือ หลวงพ่อปาน พอขึ้นจากเรือก็ปรากฏว่าพบหลวงพ่อปานอยู่หน้าท่า ท่านเห็นหน้าแล้วท่านก็ยิ้ม ว่าอย่างไรท่านนักปราชญ์ทั้งหลาย เห็นนิพพานแล้วใช่ไหม ตกใจ ก็ถามว่า หลวงพ่อทราบหรือครับ บอก เออ ข้าไม่ทราบหรอก วะ เทวดาเขามาบอก บอกว่าเมื่อคืนที่แล้วมานี่ หลวงพ่อสดฝึกพวกเอ็งไปนิพพานใช่ไหม ก็กราบเรียนท่านบอกว่า ใช่ขอรับ ท่านบอกว่า นั่นแหละ เป็นของจริง ของจริงมีตามนั้น หลวงพ่อสดท่านมีความสามารถพิเศษในเรื่องนี้

    ก็ถามว่า ถ้าหลวงพ่อสอนเองจะได้ไหม ท่านก็ตอบว่า ฉันสอนเองก็ได้ แต่ปากพวกเธอมันมาก มันพูดมาก ดีไม่ดีพูดไปพูดมา งานของฉันก็มาก งานก่อสร้างก็เยอะ งานรักษาคนเป็นโรคก็เป็นประจำวัน ไม่มีเวลาว่าง ถ้าเธอไปพูดเรื่องนิพพาน ฉันสอนเข้าฉันก็ไม่มีเวลาหยุด เวลาจะรักษาคนก็จะไม่มี เวลาที่จะก่อสร้างวัดต่าง ๆ ก็ไม่มี ฉันหวังจะสงเคราะห์ในด้านนี้ จึงได้ส่งเธอไปหาหลวงพ่อสด ก็ถามว่า หลวงพ่อสดกับหลวงพ่อรู้จักกันดีรึ ท่านก็ตอบว่า รู้จักกันดีมาก เคยไปสอบซ้อมกรรมฐานด้วยกัน สอบกันไปสอบกันมาแล้ว ต่างคนต่างต้นเสมอกัน ก็รวมความว่ากำลังไล่เรื่อยกัน บรรดาท่านพุทธบริษัท นี่เป็นจุดหนึ่งที่อาตมาแสดงถึงควา
    มโง่กับครูบาอาจารย์์.........


    [b-wai][b-wai][b-wai]

    ขอขอบคุณคุณสอาด(http://konmeungbua.com/webboard/aspb....asp?GID=19058) ,เวบพระรัตนตรัย(http://praruttanatri.com/v1/special/...en/story06.htm) และทุกๆท่านที่ทำให้เราได้อ่านเรื่องดีๆในครั้งนี้ โมทนาครับ
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ดิฉันได้ยินผู้แนะนำธรรมปฏิบัติบางรายเขาว่า ถ้าจะปฏิบัติให้เห็นดวงปฐมมรรคได้เร็ว ก็ให้กำหนดนิมิตภายนอกตัวหรือที่ไหนๆ ก็ได้ ให้เห็นชัดเจนเสียก่อน แล้วจึงค่อยน้อมนำเข้าไปข้างในเมื่อไรก็ได้ เพราะถ้าปฏิบัติตามวิธีของหลวงพ่อวัดปากน้ำ แล้วรู้สึกว่าจะเห็นได้ยาก หลวงพ่อเห็นว่าดิฉันควรเปลี่ยนวิธีฝึกตามแบบเขาไหม จึงจะเห็นง่ายๆ ?

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านสอนให้น้อมใจเข้าไปตามฐานต่างๆ ในเบื้องต้น เพียงเพื่อให้รู้ทางเดินของจิตว่า เวลาจะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตนั้นเข้าออกทางไหน อย่างไร ในตอนแรกของการปฏิบัติภาวนานั้น ในการปฏิบัติคราวต่อๆ ไป ท่านให้เอาใจไปจรดที่ศูนย์กลางกายโดยตลอด ไม่ให้ส่งใจออกนอกเลย
    ในการน้อมใจไปตามฐานต่างๆ นั้น ท่านสอนให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสเท่าดวงตาดำ กลมใสดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ให้ปรากฏขึ้นที่ปากช่องจมูก (หญิง-ซ้าย/ชาย-ขวา) นี่ฐานที่ ๑ ให้ใจอยู่กลางดวงที่ใส และให้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหัง” ๓ ครั้ง แล้วก็ให้เลื่อนดวงแก้วนั้นเข้าไปหยุดนิ่งอยู่ที่หัวตาด้านใน (หญิง-ซ้าย/ชาย-ขวา) ให้หยุดนิ่งอยู่ที่หัวตาด้านในนั้น นี่ฐานที่ ๒ ให้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหัง” ๓ ครั้ง แล้วก็ให้เลื่อนไปหยุดที่กลางกั๊กศีรษะ เป็นฐานที่ ๓ แล้วก็เลื่อนไปหยุดที่ฐานที่ ๔ ช่องเพดานปาก ฐานที่ ๕ ปากช่องลำคอ, ฐานที่ ๖ เลื่อนลงไปตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ, แล้วก็เลื่อนกลับสูงขึ้นมาตรงๆ อีกประมาณ ๒ นิ้วมือ นี่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อันเป็นที่ตั้งของกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งของกาย เวทนา จิต และธรรม ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกาย และพระนิพพานอีกด้วย เวลาสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตดวงเดิมก็จะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ แล้วจิตดวงใหม่ซึ่งอยู่ท่ามกลางดวงธรรมของกายละเอียด ก็จะลอยเด่นมาที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้ก่อนจะทำหน้าที่ต่อไป จุดนี้จึงเป็นที่ตั้งถาวรของใจ
    ทีนี้ ก็ให้เอาใจจรดที่ตรงนี้เรื่อยไปตลอด ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ล่าง-บน นอก-ใน ไม่ไปทั้งนั้น ทำใจให้หยุดในหยุด กลางของหยุด ณ ที่ตรงนี้เรื่อยไป ไม่ถอยหลังกลับ เพราะการทำใจหยุดในหยุด กลางของหยุด ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้ จิตหยุดปรุงแต่ง (ไม่สังขาร) จึงถูกถิ่นทำเลของพระ (กุสลาธัมมา) แต่ถ้าใจออกนอกตัวก็จะปรุงแต่งด้วยอำนาจของกิเลสได้มาก จุดอื่นนอกจากตรงศูนย์กลางกายจึงเป็นถิ่นทำเลของภาคมาร (อกุสลาธัมมา) เพราะเหตุนี้ จึงให้เอาใจจรดตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ไว้เสมอ เวลาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นและถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และของกายอื่นๆ ตลอดถึงดวงธรรมของกายธรรมต่อๆ ไปจนสุดละเอียดที่แท้จริง จะได้ไม่ถูกหลอกด้วยนิมิตลวงที่จิตปรุงขึ้น (สังขาร)
    หลวงพ่อท่านจึงไม่ยอมให้ใครสอนโดยให้เอาใจไปไว้นอกตัว ให้เห็นดวงใสก่อน แล้วจึงค่อยน้อมเข้ามาภายใน เพราะแม้ว่าวิธีกำหนดนิมิตภายนอกตัวก่อนนั้นมันง่ายกว่าการเอาใจไปจรด ณ ที่ศูนย์กลางกายตั้งแต่เบื้องต้นก็จริง แต่การเห็นนิมิตนอกตัวนั้น แม้จะน้อมเข้ามา ณ ภายในได้ ก็เสี่ยงต่อการที่จิตจะเคลื่อนจากศูนย์ออกไปรับอารมณ์ภายนอกตัว อันเป็นเหตุให้เกิดกิเลสเข้ามาประสม แล้วปรุงแต่งจิตให้เห็นนิมิตที่จิตปรุงแต่งขึ้นในดวงกสิณภายนอกตัวนั้นได้มากทีเดียว แปลว่า อาจถูกกิเลสมารแทรกซ้อนให้เห็นนิมิตลวง (ไม่จริง) ได้ง่าย อันเป็นเหตุให้รู้ผิด เห็นผิด จึงคิดผิด พูดผิด ทำผิด ได้ง่ายมาก และนี่แหละคืออันตรายของการเห็นนิมิตนอกตัว
    ท่านจึงสอนให้ทำใจหยุด ณ ศูนย์กลางกายเลย เพื่อให้ติดเป็นนิสัยปัจจัยตั้งแต่ต้น และให้ทำไว้ในทุกอิริยาบถ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถ้าผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมใดที่เคยฝึกทำนิมิตหรือเพ่งกสิณนอกตัวก่อน ท่านจะสอนให้รีบนำใจเข้าไปหยุด ณ ภายใน ศูนย์กลางกายไว้เสมอ เวลาปฏิบัติภาวนาไม่ให้ส่งใจออกนอกตัว และไม่ให้ใช้นิมิตที่เกิดขึ้นหรือที่เห็นภายนอกตัวเลย เพราะฉะนั้น ถ้าประสงค์ของจริงในพระพุทธศาสนา เวลาเจริญหรือปฏิบัติภาวนา ต้องพยายามไม่ส่งใจออกนอกตัว และไม่ควรเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติภาวนาไปเป็นวิธีเอาใจออกนอกตัวเป็นอันขาด
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระธรรมเทศนา
    ของ
    พระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)



    รตนตฺตยคมนปณามคาถา
    ๖ มีนาคม ๒๔๙๒



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="65%"><TBODY><TR><TD width="30%"></TD><TD vAlign=top width="27%">อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ
    นานาโหนฺตมฺปิ วตฺถุโต
    เอกิภูตมฺปนตฺถโต
    ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต
    </TD><TD vAlign=top width="43%">พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ
    อญฺญมญฺญาวิโยคาว
    พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา
    สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส
    อิจฺเจกาพุทฺธเมวิทนฺติ.






    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    “ ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก

    อาตมาขอโอกาสแด่ท่านมหาชนทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบรรดามีศาสนาเป็นภารกิจ หวังปฏิบัติให้ถูกสนิทตามศาสนาของตนๆ จึงได้อุตส่าห์พากันทรมานร่างกายในเวลาทำกิจทางศาสนา ทุกๆ ศาสนาล้วนแต่สอนให้ละความชั่วประพฤติความดีสิ้น ด้วยกันทุกชาติทุกภาษา
    ส่วนในทางพระพุทธศาสนา เวลาเช้าเวลาเย็นไหว้พระบูชาพระ และสวดสังเวคกถา ปสาทกถา ตามกาลเวลาเสร็จแล้ว ที่มีกิจเรียนคันถธุระก็เรียนไป ที่มีกิจเรียนวิปัสสนาธุระก็เรียนไป ฝ่ายพระเถรานุเถระก็เอาใจใส่ตักเตือนซึ่งกันและกันตามหน้าที่ เพื่อจะได้รักษาเนติแบบแผนอันดีของสาธุชนในพุทธศาสนาไว้ ให้เป็นตำรับตำราสืบสายพระศาสนาไป
    บัดนี้ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย ฟังปณามคาถา ความนอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต อนาคต ปัจจุบัน และถึงเป็นที่พึ่ง โดยย่อ
    ความนอบน้อมมาจาก นโม“นโม” แปลว่า นอบน้อม เป็นบุคลาธิษฐาน คือ นอบน้อมด้วยกาย นอบน้อมด้วยวาจา นอบน้อมด้วยใจ นอบน้อมในพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์มีพระชนมายุอยู่ อุบาสกอุบาสิกาเข้าไปสู่ที่เฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือกราบพร้อมด้วยองค์ ๕ เข่าและศอกทั้ง ๒ ต่อกัน ฝ่ามือทั้ง ๒ วางลงให้เสมอกัน ก้มศีรษะลงให้หน้าจรดพื้นในระหว่างมือทั้ง ๒ นั้น หรือในระหว่างที่เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น คอยฟังพระโอวาทานุสาสนีของพระองค์ ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาออกในระหว่างที่พระองค์ทรงรับสั่งอยู่ เป็นการรบกวนพระองค์ด้วยวาจา ให้เป็นที่ระแคะระคายพระทัย
    อนึ่ง เมื่อเข้าไปสู่ที่เฝ้า ไม่นั่งให้ไกลนัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ ด้วยต้องออกพระกำลังเสียงในเวลารับสั่ง ไม่นั่งให้ใกล้นัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ด้วยกายอันเป็นของปฏิกูล จะเป็นที่รำคาญพระนาสิกในเวลากลิ่นกายฟุ้งไป ไม่นั่งในที่เหนือลม ด้วยเคารพพระองค์ กลัวจะลมพัดเอากลิ่นกายที่ฟุ้งออกไปมากระทบพระนาสิกของพระองค์ ไม่นั่งในที่ตรงพระพักตร์นัก กลัวจะเป็นที่รำคาญพระเนตรทั้งสองของพระองค์ ไม่นั่งในที่เบื้องหลังนัก เกรงว่าพระองค์จะต้องหันพระพักตร์มากไปในเวลาจะทรงรับสั่ง ต้องนั่งในที่สมควรนอกจากที่ๆ แสดงมาแล้ว ในเวลาอยู่ในที่เฝ้า ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาให้เป็นที่รำคาญพระทัยแด่พระองค์ ดังนี้แล นอบน้อมด้วยกายในพระองค์
    ในเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ยังเหลือแต่เจดีย์ ๔ เหล่า คือ บริโภคเจดีย์ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ พุทธศาสนิกชนไปถึงที่เช่นนั้นเข้าแล้ว ในเมื่อกั้นร่ม ควรลดร่มลง ห่มผ้าปิด ๒ บ่า ควรลดออกเสียบ่าหนึ่ง ในเมื่อสวมรองเท้าเข้าไป ควรถอดรองเท้าเสีย และเข้าไปในที่นั้นไม่ควรแสดงอึงคะนึงและไม่เคารพ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องแสดงเคารพอย่างจริงใจ ไม่ทิ้งของที่สกปรกลงไว้ เช่น ก้นบุหรี่ หรือชานหมาก น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่บริเวณนั้น เมื่อเข้าไปในที่นั้นเห็นรกปัดกวาดเสีย ถากถางเสีย เห็นไม่สะอาด ทำให้สะอาด เห็นผุพัง ควรแก้ไข ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ได้ก็ยิ่งดี ดังนี้เป็นความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคด้วยกาย โดยบุคลาธิษฐาน
    อนึ่ง นำเรื่องของพระรัตนตรัยไปสรรเสริญในที่นั้น แก่บุคคลนั้นอยู่เนืองๆ ดังนี้ ก็ชื่อว่า นอบน้อมด้วยวาจา
    และคิดถึงพระรัตนตรัยอยู่เนืองๆ ไม่ยอมให้ใจไปจรดอยู่กับอารมณ์สิ่งอื่นมากนัก คอยบังคับใจให้จรดอยู่กับพระรัตนตรัยเนืองๆ ดังนี้ ชื่อว่า นอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยใจ
    ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นองค์อรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายต้องว่าดังนี้ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายในเวลาทำศาสนกิจทุกครั้ง เช่น พระเถรานุเถระกระทำสังฆกรรม และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจะสมาทานศีล ก็ต้องว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” ถึง ๓ หน จะว่าแต่เพียงหนหนึ่งหรือสองไม่ได้ หรือได้เหมือนกันแต่ว่าไม่เต็มรัตนตรัยทั้ง ๓ กาล จะให้เต็มหรือถูกรัตนตรัยทั้ง ๓ กาลแล้ว ต้องว่าให้เต็ม ๓ หน หนที่ ๑ นอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต หนที่ ๒ นอบน้อมพระรัตนตรัยในปัจจุบัน หนที่ ๓ นอบน้อมพระรัตนตรัยในอนาคต ทั้งหมดต้องว่า ๓ หน จึงครบถ้วนถูกพระรัตนตรัยทั้ง ๓ กาล
    รัตนตรัยแบ่งออกเป็น ๒ คือ รัตนะ ๑ ตรัย ๑, รัตนะ แปลว่า แก้ว ตรัย แปลว่า ๓ รัตนตรัยรวมกันเข้า แปลว่า แก้ว ๓ พุทธรัตนะ แก้วคือพระพุทธ ธรรมรัตนะ แก้วคือพระธรรม สังฆรัตนะ แก้วคือพระสงฆ์ ทำไมจึงต้องเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาเปรียบด้วยแก้ว ที่ต้องเปรียบด้วยแก้วนั้น เพราะแก้วเป็นวัตถุทำความยินดีให้บังเกิดแก่เจ้าของผู้ปกครองรักษา ถ้าผู้ใดมีแก้วมีเพชรไว้ในบ้านในเรือนมาก ผู้นั้นก็อิ่มใจ ดีใจ ด้วยคิดว่าเราไม่ใช่คนจน ปลื้มใจของตนด้วยความมั่งมี แม้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเล่า เห็นแก้วเห็นเพชรเข้าแล้ว ที่จะไม่ยินดีไม่ชอบนั่นเป็นอันไม่มี ต้องยินดีต้องชอบด้วยกันทั้งนั้น ฉันใด รัตนตรัยแก้ว ๓ ดวง คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ นี้ ก็เป็นที่ยินดีปลื้มใจของเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย ฉันนั้น
    พระรัตนตรัยเป็นแก้วจริงๆ หรือเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปริยัติเข้าใจตามอักขระแล้ว เป็นอันเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปฏิบัติเข้าใจตามปฏิบัติแล้ว เป็นแก้วจริงๆ ซึ่งนับว่าประเสริฐ เลิศกว่าสวิญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะ ซึ่งมีในไตรภพ ลบรัตนะในไตรภพทั้งหมดสิ้น
    จะกล่าวถึงรัตนะในทางปฏิบัติ “ปฏิปตฺติ”
    แปลว่า ถึงเฉพาะ ผู้ปฏิบัติถึงเฉพาะซึ่งพระรัตนตรัย การถึงรัตนตรัยของผู้ปฏิบัติในยุคนี้ต่างๆ กัน ผู้ไม่ได้เล่าเรียนศึกษาก็ถึงรูปพระปฏิมาในโบสถ์วิหารการเปรียญ ถึงพระธรรมในตู้ในใบลาน ถึงพระสงฆ์สมมติทุกวันนี้ ผู้ได้เล่าเรียนศึกษา รู้พุทธประวัติ ก็ถึงพระสิทธัตถราชกุมารที่ได้ตรัสรู้ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ที่ได้มาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ถึงพระธรรมก็คือปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กับธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ให้ได้บรรลุมรรคผล ทั้งสิ้น ถึงพระสงฆ์ก็คือพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จนถึงสุภัททภิกษุซึ่งเป็นปัจฉิมสาวกเวไนย
    ผู้มีสติปัญญา เป็นผู้เฒ่าเหล่าเมธา เล่าเรียนศึกษามาก การถึงรัตนตรัยของท่านลึกล้ำ ท่านคิดว่า “พุทธ” ก็แปลกันว่า ตรัสรู้ ตรัสรู้เป็นภาษาเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านเป็นเจ้า จึงแปลว่า “ตรัสรู้” ภาษาสามัญก็แปลว่า “รู้” เท่านั้น ท่านก็ทำขึ้นในใจของท่านว่ารู้นั่นเอง เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ถึงความรู้ของท่านที่ถูกดี ถึงธรรมของท่านความดีไม่มีผิด ถึงสงฆ์ของท่าน “สงฺเฆน ธาริโต” พระสงฆ์ทรงไว้ ตัวของเรานี้เองที่รักษาความรู้ถูกรู้ดีไม่ให้หายไป เป็นสงฆ์
    การถึงพระรัตนตรัยดังแสดงมาแล้วนี้ก็ถูก เหมือนต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กะเทาะ ก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่เปลือกก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กระพี้ก็ถูกต้นไม้ ถูกแต่ กะเทาะ เปลือก กระพี้ เท่านั้น หาถูกแก่นของต้นไม้ไม่
    การถึงพระรัตนตรัย ต้องเอากาย วาจา ใจ ของเราที่ละเอียด จรดเข้าไปให้ถึงแก่นพระรัตนตรัยจริงๆ รัตนตรัยซึ่งแปลว่า แก้ว ๓ แก้วคือพระพุทธ ๑, แก้วคือพระธรรม ๑, แก้ว คือพระสงฆ์ ๑ ได้ในบทว่า สกฺกตฺวา พุทฺธรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือพุทธ สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือธรรม สกฺกตฺวา สงฺฆรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือสงฆ์
    การเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องใช้กายวาจาใจที่ละเอียด ที่หยาบเข้าไม่ถึง กายที่ละเอียดซึ่งได้กับกายสังขาร วาจาที่ละเอียดซึ่งได้กับวจีสังขาร ใจที่ละเอียดซึ่งได้กับจิตสังขาร กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกซึ่งปรนเปรอกายให้เป็นอยู่ วจีสังขารคือความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขารคือความปรุงของจิตสำหรับใช้ทางใจ กายสังขารหยุด วจีสังขารก็หยุด จิตสังขารก็หยุด เป็นจุดเดียวกัน อยู่ที่ตรงศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสดังกระจกส่องเงาหน้า กายวาจาใจที่ละเอียดจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมนั้น ก็หยุดพร้อมทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นับว่าหยุดเป็นจุดเดียวกัน ได้ชื่อว่าสังขารสงบ การสงบสังขารชนิดนี้ เด็กในท้องมารดาก็สงบ จึงอยู่ในที่แคบเป็นอยู่ได้ เทวดาใน ๖ ชั้นทำได้ รูปพรหมและอรูปพรหมทำได้ เด็กในท้องก็นับว่าสังขารสงบ เทวดาก็นับว่าสังขารสงบได้ รูปพรหมและอรูปพรหมก็นับว่าสังขารสงบได้ การสงบสังขารเสียเป็นสุข สมด้วยคาถา ๔ บาท ในบาทเบื้องปลายว่า “เตสํ วูปสโม สุโข” สงบสังขารเหล่านั้นเสียได้ นำมาซึ่งความสุข นี้สงบสังขารได้ตามสมควร เป็นทางทำตนให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    กายสังขารสงบคือลมหายใจหยุด วจีสังขารสงบคือความตรึกตรองหยุด จิตสังขารสงบคือใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ชื่อว่า สันติ ลมหยุดลงไป ในที่เดียวกันชื่อว่า อานาปาน ซึ่งแปลว่าลมหยุดนิ่งหรือไม่มี เมื่อสังขารทั้ง ๓ หยุดถูกส่วนเข้าแล้ว เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยส่วนหนึ่ง เมื่อสังขารสงบมีความสุขเกิดขึ้น เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตคิดว่าเป็นสุขเรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในเมื่อสติปัฏฐานทั้ง ๓ ถูกส่วนพร้อมกันเข้า เกิดเป็นดวงใสขึ้นเท่าฟองไข่แดง หรือเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทเหมือนกระจกส่องเงาหน้านั่นแหละ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงนี้บางท่านเรียกว่าพระธรรมดวงแก้ว โบราณท่านใช้แปลในมูลกัจจายน์ว่า “ปฐมมรรค” ธรรมดวง นี้แหละคือ ดวงศีล เพราะอยู่ในเหตุว่างของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ไม่มีราคี ตาของกายทิพย์เห็น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ตรงกลางของดวงศีลนั้น ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่ พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไปเห็นดวงสมาธิ เอาใจหยุดนิ่ง ลงไปที่กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงปัญญาที่อยู่ในกลางดวงสมาธินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ทำให้ใจหยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติ ก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะที่อยู่ในกลางดวงวิมุตตินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสะก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายมนุษย์ เห็นตัวของกายมนุษย์ฉะนั้น ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ แต่พอถูก ส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็ว่างออกไป ตาของกายรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายทิพย์เห็นตนของกายทิพย์เองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายอรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายรูปพรหมเห็นตนของกายรูปพรหมเองฉะนั้น ที่แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายธรรมก็เห็นกายของพระองค์เองอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายอรูปพรหม เห็นตนของตนเองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้เป็นวิธีที่ทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    เมื่อทำมาถึงกายธรรมหรือธรรมกายดังนี้แล้ว ก็รู้จักตัวตนชัดเจนโดยไม่ต้องสงสัย เพราะกายทั้ง ๕ บอกตัวของตัวเอง กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้ง ๔ กายนี้ บอกตัวเองอยู่ว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเป็นแต่สมมติเท่านั้น รู้ได้เองว่ากายมนุษย์มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ชั่วคราวตามอายุขัยและวัย สิ้นปัจจัยคือบุญและบาปแล้วก็แตกสลายไป รู้ได้จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่แต่รู้เห็นด้วยตาของตนทุกๆ คนด้วยกันทั้งนั้น
    ส่วนกายทิพย์ หรือ รูปพรหม อรูปพรหม สิ้นอำนาจของบุญกรรม และรูปฌาน อรูปฌานแล้ว ก็แปรไปเหมือนกายมนุษย์ ต่างกันแต่ช้าและเร็วเท่านั้น
    ส่วนกายธรรมหรือธรรมกายเป็นตัวยืนบอกความจริงว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว ส่วนกาย ทั้ง ๔ เป็นตัวยืนบอกเท็จว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เท็จต่อความจริงอย่างนี้ เมื่อไม่รู้เห็นจริง จะรู้เห็นเท็จได้อย่างไร ต้องรู้จริงเห็นจริงเสียก่อน จึงย้อนมารู้จักเท็จได้ดังนี้
    ธรรมกายนี้เองเป็นพุทธรัตนะ ซึ่งแปลว่าแก้วคือพุทธะ เมื่อรู้จักพุทธรัตนะแล้ว ก็ควรรู้จักธรรมรัตนะเสียทีเดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นธรรมรัตนะ แต่เป็นส่วนโลกีย์ ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั้นเป็นโคตรภู ต่อเมื่อใด ธรรมกายเลื่อนขึ้นไปเป็นพระโสดาแล้ว ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดานั้นเองเป็นโลกุตตระ
    ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม แลกายอรูปพรหมเป็นโลกียมรรค เพราะกายทั้ง ๔ นั้นเป็นโลกีย์ ธรรมจึงเป็นโลกีย์ไปตามกาย ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเป็นโลกุตตระ เพราะธรรมกายของพระโสดาเป็นโลกุตตระ ธรรมจึงเป็นโลกุตตระไปตามกาย ธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ นี้เอง เป็นธรรมรัตนะ ซึ่งแปลว่า แก้วคือธรรม เมื่อรู้จักธรรมรัตนะแล้วก็ควรรู้จักสังฆรัตนะเสียทีเดียว ธรรมกายหรือกายธรรมหมดทั้งสิ้น ยกธรรมกายของพระสัพพัญญู และธรรมกายของพระปัจเจกพุทธเจ้าออกเสีย นอกจากนั้นเป็นธรรมกายของสาวกพุทธทั้งสิ้น มีมากน้อยเท่าใดเป็นสังฆรัตนะ แก้วคือสงฆ์
    การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยที่ถูกแท้นั้น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์เท่าๆ ฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีเหมือนกันหมดทุกคน จำเดิมแต่อยู่ในท้องมารดา ใจของกุมารกุมารีจรดจี้หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมนั้นทุกคน ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมมีว่างอยู่ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร ใจของกุมารหรือกุมารีก็จรดอยู่ศูนย์กลางนั้น
    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก ขอผู้จงรักภักดีต่อตนของตนที่แท้แล้ว จงตั้งใจแน่แน่ว ให้ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เถิดประเสริฐนัก พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไปทางเดียวเหมือนกันทั้งหมด
    เพราะฉะนั้นพวกเราที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย จึงต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง ให้ตรงต่อทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ จึงจะถูกหลักฐานในพุทธศาสนา ทั้งถูกตำราของสัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดด้วย สัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดเข้าสิบไม่ถูก ก็ไม่ตกศูนย์ เมื่อไม่ตกศูนย์ก็ไปเกิดมาเกิดไม่ได้ ธรรมดาของเกิดแลตาย ต้องมีสิบศูนย์เป็นเครื่องหมายเหมือนกันทั้งหมด ทั้งในภพ และนอกภพ การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยก็เหมือนกัน ต้องเข้าสิบศูนย์เป็นชั้นๆ ไป จึงจะเข้าถึงพระรัตนตรัยได้ ดังแสดงมาตั้งแต่ต้นเป็นชั้นๆ มาแล้วทุกประการ
    รัตนะทั้ง ๓ นี้ เป็นแก้วจริงๆ จังๆ แก้วที่มีในไตรภพนี้มีคุณภาพไม่เทียมทัน ส่วนแก้วในไตรภพที่มนุษย์ใช้อยู่บัดนี้ เพชรเป็นสูงกว่า หรือแก้วที่มีรัศมีเป็นของหายาก ไม่มีใครจะใช้กันนัก แก้วชนิดอย่างนั้น มีสีต่างๆ ถ้าสีนั้นเขียว ใส่ลงไปในน้ำ น้ำก็เขียวไปตามสีแก้วนั้น ถ้าสีเหลือง น้ำก็เหลืองไปตาม ถ้าแดง น้ำก็แดงไปตามสีแก้ว ตกว่าแก้วสีอะไร น้ำก็เป็นไปตามสีแก้วนั้นๆ นี้เป็นรัตนะที่สูงในโลก สูงยิ่งกว่านี้ขึ้นไป ก็ต้องเป็นแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ์
    พระเจ้าจักรพรรดิ์มีแก้ว ๗ ประการคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว แก้ว ๗ ประการนี้เกิดขึ้นในโลกกาลใด มนุษย์ในโลกได้รับความสุข ปราศจากการไถและหว่าน สำเร็จความเป็นอยู่ อาศัยแก้ว ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ให้เป็นอยู่ได้โดยตลอดชีวิต ไม่ต้องทำกิจการใดๆ ทั้งสิ้น พระเจ้าจักรพรรดิ์สอนให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ไปบังเกิดในสุคติโดยส่วนเดียว ไม่มีตกไปอยู่ในทุคตติเลย
    แก้วทั้งหลายในโลกพิเศษถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่มีพิเศษเท่าแก้ว คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แก้วคือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั้น ถ้าผู้ใดเข้าไปได้เข้าไปถึงแล้ว ลืมแก้วลืมสวรรค์ลิบๆ ในโลกหมดทั้งสิ้น
    ผู้ที่จะเข้าไปได้ถึงแก้วทั้ง ๓ นี้ ต้องดำเนินไปตามต้น กาย วาจา ใจ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ดังแสดงมาแล้วในเบื้องต้น จนถึงธรรมกาย คือให้ดำเนินไปตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ตั้งต้นแต่ กาย เวทนา จิต ธรรม ไป แต่พอถึงธัมมานุปัสสนา ก็เห็นเป็นดวงใส ที่เรียกว่าดวงศีล ต่อแต่นั้นก็ถึงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งนับว่าเป็นที่รวมพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกรวมอยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ทั้งสิ้น เมื่อจับที่รวมของกายมนุษย์ได้แล้ว กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรม ก็เหมือน กันดังแสดงมาแล้ว
    ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ เป็นวิธีให้เข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอาการต่างๆ กัน ในเมื่อจับหลักยังไม่ได้ ต่อเมื่อจับหลักคือธรรมกายเสียได้แล้ว จะเห็นว่าไม่ต่างกัน เนื่องเป็นอันเดียวกันแท้ๆ สมด้วยกระแสบาลีในเบื้องต้นว่า “หมวด ๓ ของรัตนะนี้ คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ” แม้ต่างกันโดยวัสดุ แต่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน เป็นของเนื่องซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมพระสงฆ์ทรงไว้ พระสงฆ์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เนื่องเป็นอันเดียวกันเป็นบรรทัดฐาน ดังแสดงทุกประการ พอสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้.
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]




    ประสพการณ์ผู้ปฏิบัติฯ


    รัศมีแห่งบุญ



    จีราภา เศวตนันท์
    วิทยากรสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย​
    เมื่อเรามีสิ่งของที่พอแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ เราก็อยากที่จะแบ่งปันให้แก่ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่เรารู้จักบ้าง การที่เราจะส่งสิ่งของหรือฝากของให้กับใครสักคน ยิ่งการฝากสิ่งของที่มองไม่เห็นให้กับบุคคลที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาแล้ว เรายิ่งอยากทราบว่าของฝากที่เราส่งไปให้นั้นถึงผู้รับหรือไม่ ของฝากที่ว่านี้ก็คือบุญ ส่วนผู้รับคือบุคคลที่ไม่สามารถมองเห็นได้ เพราะไม่ใช่มนุษย์
    เมื่อข้าพเจ้าทำบุญ นอกจากผลบุญย่อมเกิดขึ้นกับตัวข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าก็จะอุทิศบุญให้กับญาติพี่น้อง พ่อแม่ของข้าพเจ้าที่เสียชีวิตไปแล้วด้วย แต่บางราย ภพภูมิที่ท่านเหล่านั้นไปเกิดค่อนข้างลำบาก เนื่องจากเคยก่อกรรมทำบาปอกุศลหลายๆ อย่างเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เช่น การประพฤติผิดศีล ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความตระหนี่ในการที่จะทำบุญบริจาคทาน ไม่สนใจหรือเห็นคุณค่าของการรักษาศีล ยิ่งการภาวนาอบรมจิตใจแล้วแทบไม่รู้จักไม่สนใจเลย ทำให้มีสภาพความเป็นอยู่ในภพภูมิที่ลำบาก ร่างกายโทรมหมองคล้ำ อดอยาก แม้แต่เสื้อผ้าอาภรณ์ก็แทบจะไม่มี ข้าพเจ้าทำบุญแล้วก็ตั้งใจอุทิศส่วนบุญกุศลให้กับเขาเหล่านั้นไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ บอกเขาเหล่านั้นให้มารับส่วนบุญ ให้อนุโมทนาบุญ เมื่อเขาอนุโมทนาบุญที่เราอุทิศให้แล้ว ได้เห็นสภาพความลำบากที่ร่างกายหิวโหยทรุดโทรมในภพภูมิเดิมหายไป ร่างกายกลับเปลี่ยนไปตามภพใหม่ เป็นสุคติ เป็นกายทิพย์ มีรัศมีภายในกายสว่างขึ้น แต่งกายสวยงามพ้นจากความทุกข์ทรมานอย่างเห็นได้ชัด สิ่งนี้ทำให้ข้าพเจ้าดีใจที่การส่งของฝาก (คือ "บุญ") ให้สามารถส่งไปถึงมือผู้รับที่ไม่ใช่มนุษย์ได้ ซึ่งเป็นผลพลอยได้เพียงเล็กน้อยของการปฏิบัติธรรม ที่สามารถพิสูจน์ได้จริง นอกจากอุทิศส่วนบุญให้ญาติพี่น้องแล้ว ผู้ที่มาอนุโมทนาบุญกับเรานั้น ยังมีอีกมากมายนับไม่ถ้วน [หมายถึงผู้ที่ไม่ใช่มนุษย์] ตลอดเวลา อยู่เสมอๆ
    ข้าพเจ้าจะเล่าประสบการณ์บางส่วนที่ได้พบเห็นทุกครั้งที่มีการทำบุญ ที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี [ปัจจุบันคือ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม] ไม่ว่าจะเป็นการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระสงฆ์ การอบรมเยาวชน พิธีทอดกฐิน ผ้าป่า และการปฏิบัติธรรม ฯลฯ สิ่งที่ข้าพเจ้าเห็น คืออานุภาพของพระประธานที่ศาลาอเนกประสงค์ จะเห็น แสงสว่างพุ่งออกมาจากพระเศียรพระพุทธรูปประธาน สว่างไสวครอบคลุมพื้นที่บริเวณสถาบันพุทธภาวนาฯ เต็มไปหมด (ซึ่งต่อมาภายหลังได้ทราบว่า ที่เศียรของพระพุทธรูปประธาน ได้มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ นอกจากนี้ในองค์พระประธาน ได้บรรจุพระผงสมเด็จธรรมกาย พระหยก และวัตถุมงคลต่างๆ ไว้ด้วย)
    ในระหว่างงานบุญกุศลทุกครั้ง ได้มองเห็นเหล่าเทวดา นางฟ้า พรหม เต็มทั่วท้องฟ้า สว่างไสวระยิบระยับเต็มทั่วไปหมด มากมายเหลือคณนานับได้ มาร่วมอนุโมทนาบุญกับเรา แม้แต่พวกเปรต อสุรกาย ที่มีอุปนิสัยในกิจการบุญกุศลบ้าง ก็พลอยมาอนุโมทนา เหล่าเทพ พรหม ที่ปรากฏให้เห็นนั้นมีวรกายงดงาม มีรัศมีสว่างไสวระยิบระยับทั่วไปหมด กระทำทักษิณาวรรต ประคองอัญชลีเวียนขวา ด้วยอาการนอบน้อมในบุญกุศลเต็มสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย เต็มท้องฟ้า เต็มจักรวาล หลังจากที่เขาเหล่านั้นได้อนุโมทนาบุญแล้ว ผลบุญก็ส่งให้เห็นเป็นปัจจุบันธรรม กล่าวคือ วรกายและอาภรณ์ที่งามระยิบระยับนั้นก็เปล่งรัศมีสว่างไสวระยิบระยับไปทั่วท้องฟ้ามากยิ่งขึ้น ส่วนพวกเปรต อสุรกาย สัตว์นรก ที่ตกระกำลำบากอยู่ในความมืดมน หิวโหยทุรนทุราย หนาวเหน็บเจ็บปวด เมื่อเราแผ่เมตตาและบุญให้ พวกที่มีอุปนิสัยในบุญ เนื่องจากเคยได้กระทำมาบ้างแล้ว ก็พลอยเปลี่ยนภพภูมิดียิ่งขึ้น ผิวพรรณงามเปล่งปลั่งขึ้น ความทุกข์ทรมาน หิวโหย ก็พลันหายไป พวกที่มีบาปกรรมน้อยก็พลอยเปลี่ยนภพภูมิดีขึ้นเป็นเทวดาไปบ้างก็มี เป็นมนุษย์ก็มี
    การทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้ผู้อื่นได้อนุโมทนาบุญ หากยังไม่ได้สัมผัสด้วยตัวของท่านเองแล้ว ก็ยากที่จะอธิบายได้ แต่ขอให้ทุกท่านเชื่อว่า บุญที่ได้กระทำลงไปนั้นส่งผล นอกจากส่งผลถึงตัวท่านเองแล้ว ถ้าท่านยังมีโอกาสอุทิศส่วนบุญให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและอยู่ในภพภูมิอื่น ที่พอจะมีอุปนิสัยในบุญกุศล มาอนุโมทนาบุญกับเราอยู่ บุญกุศลที่เราได้อุทิศส่วนบุญให้ไปแล้ว และที่เขาได้อนุโมทนาบุญแล้วนั้น ย่อมส่งผลย้อนกลับมาสู่เราเป็นทับทวี ประดุจเรามีเทียนอันส่องสว่างไสวอยู่แล้ว ยังให้ผู้อื่นมาแต่เทียนกับเราอีก แสงเทียนที่มีผู้มาต่อจากเราเพิ่มขึ้นเพียงใด ย่อมยังความสว่าง คือเป็นบุญบารมีแก่เราเพิ่มมากขึ้นเป็นทับทวีแก่เราเพียงนั้น

    สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
    การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
    <!-- google_ad_section_end -->__________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก
    ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๖


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    <TABLE style="WIDTH: 449px; HEIGHT: 158px; COLOR: #666666" width=449><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">ภารา
    หเว ปญฺจกฺขนฺธา

    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก
    นิกฺขิปิตฺวา ครุ ํ ภารํ
    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห
    </TD><TD width="42%">ภารหาโร จ ปุคฺคโล
    ภารนิกฺเขปนํ สุขํ
    อญฺญํ ภารํ อนาทิย
    นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ ๕ นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ ๕ น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ ... แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด
    ” ​


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยขันธ์เป็นภาระอันหนัก ตามวาระพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษา
    เพราะว่าเราท่านทั้งหลายเกิดมาหญิงชายทุกถ้วนหน้า ล้วนแต่แบกภาระขันธ์ ๕ ด้วยกันทั้งนั้น ขันธ์ ๕ เป็นของหนัก ไม่ใช่ของเบา หนักอย่างไร หนักตั้งแต่อุบัติตั้งแต่อยู่ในท้อง ตั้งแต่เกิดในท้องมารดา หนักเรื่อยมา นั่นบังคับให้มารดาผู้ทรงครรภ์นั้นหนักแล้ว ตัวเองก็หนักไปไหนไม่ค่อยไหว ติดอยู่ในอู่มดลูกนั่นเอง เจริญวัยวัฒนา เป็นลำดับๆ ไป เมื่อคลอดก็หนักถึงกับตายได้ ถ้าว่าขันธ์ที่เกิดนั้นไม่ตาย ขันธ์ของมารดาที่ให้เกิดนั้นถึงกับตายลำบากยากแค้นนัก หนักด้วย ลำบากด้วย ฝืดเคืองด้วย คับแค้นด้วย คับแคบด้วย ลำบากทั้งนั้น ขันธ์ ๕ เป็นของหนักจริงๆ ไม่ใช่ของเบา ไปไหนก็ไปเร็วไม่ได้ อุ้ยอ้าย เมื่อเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับแล้วก็ไปได้ด้วยตนของตนเอง แต่ว่าเป็นกายหนัก เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ไปเร็วไม่ได้ ต้องไปตามกาลสมัยตามกาลของขันธ์นั้น ไม่ใช่หนัก พอดีพอร้าย หนักกาย ต้องบริหารมากมาย
    ผู้เกิดมานั้นต้องบริหารขันธ์ ๕ นั้นด้วย ต้องดูแลรักษา ครั้นเจริญวัยวัฒนาตัวของตัว เมื่อหลุดจากมารดาบิดาบริหารรักษาแล้ว ตัวของตัวต้องรักษาตัวเองอีก ตัวของตัวเองรักษาตัวเองก็ไม่ค่อยไหว บางคนถึงกับให้คนอื่นเขารักษาให้ ต้องให้เขาใช้สอยไปต่างๆ นานา รักษาขันธ์ ๕ ของตัวไม่ได้ ต้องบากบั่นตรากตรำมากมาย ในการเล่าเรียนศึกษา กว่าจะรักษาขันธ์ ๕ ของตนเองได้ จนกระทั่งรักษาขันธ์ ๕ ของตนได้ พอรักษาขันธ์ของตัวได้ ขันธ์ ๕ ก็เก่าคร่ำคร่า หนักเข้าขันธ์ ๕ ของตัวเองก็พยุงตัวเองไม่ไหว พยุงตัวไม่ไหวต้องอยู่กับที่ ขยับได้บ้าง ไปโน่นมานี่ได้บ้าง แต่หนักเข้าก็ลุกไม่ขึ้น หนักเข้าก็หมดลมอัสสาสะปัสสาสะเข้าโลงไป ๔ คนนั่นแหละต้องหาม ๔ คนก็เต็มอึดเชียวหนา มันหนักขนาดนี้ หนักอย่างโลกๆ ไม่ใช่หนักอย่างธรรมๆ
    หนักอย่างทางธรรมน่ะนั่นลึกซึ้ง แบกขันธ์ทั้ง ๕ นำขันธ์ทั้ง ๕ ไปมากมายนัก ในมนุษย์โลกนี้แบกขันธ์ทั้ง ๕ ไปมากมายนัก ภาระคือ ขันธ์ ๕ นี้หนัก ไม่ใช่หนักแต่ในมนุษย์โลกนี้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็หนักอีก ไปเกิดเป็นพรหมก็หนักอีก ไปเกิดเป็นอรูปพรหมก็หนักอีก หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เบา ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์นรก หนักขึ้นไปกว่านั้นอีก ในสัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาตะ โรรุวนะ มหาโรรุวนะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจี หนักขึ้นไปกว่านั้น หรือไปเกิดในบริวารนรก รวมนรก ๔๕๖ ขุม ขุมใดขุมหนึ่ง หรือไปเกิดเป็นเปรตก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดเป็นอสุรกายก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็หนักอีกเหมือนกัน เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย ก็หนักทั้งนั้น ขันธ์ ๕ นี่เป็นของหนัก
    ท่านจึงได้ยืนยันตามพระบาลีว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนัก ภารหาโร จ ปุคฺคโล บุคคลผู้นำขันธ์ ๕ ที่หนักนั้นไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก การถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ นั้นหนัก เป็นทุกข์ในโลก ภารนิกฺเขปนํ สุขํ สละขันธ์ ๕ ปล่อยขันธ์ ๕ วางขันธ์ ๕ ทิ้งขันธ์ ๕ เสียได้เป็นสุข นิกฺขิปิตฺวา ครุ ํ ภารํ การทิ้งภาระที่หนักอันนั้นเสียได้แล้ว อญฺญํ ภารํ อนาทิย ไม่ถือเอาของหนักอื่นอีกต่อไป สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ชื่อว่าเป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้ นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต หมดกระหาย ไปนิพพานได้ หมดกระหาย หมดร้อน หมดกระวนกระวาย ไปนิพพานได้ ให้ทิ้งขันธ์ ๕ เสีย ทิ้งขันธ์ ๕ เสียได้แล้ว ได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้
    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ ๕ นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ ๕ น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ ๕ ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ ๕ ของสามีภรรยากันล่ะ เอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปอย่างไรล่ะ เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด
    เมื่อรู้ชัดดังนี้ วิธีจะละขันธ์ ๕ ถอดขันธ์ ๕ ทิ้ง วิธีจะถอดสละขันธ์ ๕ วางขันธ์ ๕ นั้น ต้องเป็นผู้ตั้งอยู่ในสังวรกถา ที่จะตั้งอยู่ในสังวรกถาได้ ต้องอาศัยมีความรู้ความเห็นแยบคาย เห็นแยบคายอย่างไร ? รู้เห็นแยบคาย ความยินดีในรูปในอารมณ์นั้นๆ ต้องปล่อยวาง ต้องละต้องทิ้งความยินดีในอารมณ์นั้นๆ ถ้ายังยึดความยินดีในอารมณ์อยู่ ปล่อยขันธ์ ๕ ไม่ได้ การยึดอารมณ์ยินดีในอารมณ์ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้เป็นเนติแบบแผน เป็นภาษามคธว่า <TABLE style="COLOR: #0000ff" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุ ํ
    ตํ เว ปสหตี มาโร
    </TD><TD width="42%">อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
    กุสีตํ หีนวีริยํ
    วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แปลเป็นสยามภาษาว่า สุภานุปสฺสึ ผู้ที่เห็นอารมณ์งาม รูปารมณ์ก็ดี สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ผู้เห็นอารมณ์งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นแหละเรียกว่า สุภานุปสฺสึ ผู้เห็นอารมณ์งามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเกียจคร้าน กุสีตํ จมอยู่ในอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด หีนวิริยํ มีความเพียรเลวทราม ตํ เว ปสหตี มาโร มาร ย่อมประหารบุคคลผู้นั้นได้ วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ เหมือนลมประหารต้นไม้ อันมีกำลังทุพพลภาพได้ฉันนั้น นี้พระคาถาต้น คาถาสองรองลงไป <TABLE style="COLOR: #0000ff" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุ ํ
    ตํ เว นปฺปสหตี มาโร /td>
    <TD width="42%">อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
    สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
    วาโต เสลํ ว ปพฺพตํ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผู้ที่เห็นอารมณ์อันไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารหรือโภชนาหาร มีความเชื่อ ปรารภความเพียรอยู่ มารย่อมประหารบุคคลผู้นั้นไม่ได้ เหมือนอย่างลมประหารภูเขาอันล้วนแล้วด้วยศิลาเขยื้อนไม่ได้ ฉันนั้น <TABLE style="COLOR: #0000ff" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="30%">จกฺขุนา สํวโร สาธุ
    ฆาเนน สํวโร สาธุ
    กาเยน สํวโร สาธุ
    มนสา สํวโร สาธุ
    สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ
    </TD><TD width="42%">สาธุ โสเตน สํวโร
    สาธุ ชิวฺหาย สํวโร
    สาธุ วาจาย สํวโร
    สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
    สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แปลเนื้อความว่า สำรวมตาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมวาจาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมในที่ทั้งหมดปรากฏว่า ยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ผู้ศึกษาธรรมวินัยเป็นผู้สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายในอินทรีย์ทั้งสิ้น เมื่อสำรวมได้เช่นนี้ตัดสินว่า สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปด้วยประการดังนี้ นี่สังวรกถา แสดงการสำรวม
    แต่ว่าที่กล่าวมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ถ้าจะอรรถาธิบายขยายความในการที่ปล่อยขันธ์ ๕ เป็นลำดับไป ขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราแบ่งเป็นภาระหนักอยู่ในบัดนี้ แล้วอวดดีด้วยนะ ภาระของตัวหนักพออยู่แล้ว ยังอวดดีไปแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าอีกด้วย เอากันละตรงนี้ อวดดีแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าด้วย ไม่ใช่แบกน้อยด้วย บางคนแบกหลายๆ ขันธ์ แอบไปแบกเข้า ๕ ขันธ์อีกแล้ว หญิงก็ดีชายก็ดีแอบไปแบกเข้าอีก ๕ ขันธ์ แล้วรวมของตัวเข้าเป็น ๑๐ ขันธ์ แล้วหนักเข้า ก็หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์ เป็น ๑๕ ขันธ์ แล้วแบกเอาไป แบกเข้าไปเฮอะ เอ้าหนักเข้าๆ หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์แล้ว เป็น ๒๐ ขันธ์แล้ว นานๆ หลายๆ ปีเข้า หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์ แล้วเป็น ๒๕ ขันธ์ นานๆ หลุดออกมาอีก ๕ ขันธ์แล้ว เอ้าเป็น ๓๐ ขันธ์ ดังนี้แหละ บางคนแบก ถึง ๔๐-๕๐-๖๐-๗๐-๘๐-๙๐ บางคนถึง ๑๐๐ ขันธ์ สมภารแบกตั้ง ๑,๐๐๐ ขันธ์เชียวนา ไม่ใช่น้อยๆ นั่นอวดดีล่ะ ถ้าอวดดีอย่างนี้ต้องหนักมาก เขาจึงได้ชื่อว่าสมภาร สัมภาระ แปลว่าหนักพร้อม หนักรอบตัว พ่อบ้านแม่บ้าน พ่อครัวแม่ครัว ก็เหมือนกัน หนักใหญ่อีกเหมือนกัน หนักรอบอีกเหมือนกัน เพราะแบกขันธ์ทั้งนั้น ที่ทุกข์ยากลำบากกันหนักหนา ทีเดียว เพราะแบกขันธ์เหล่านี้แหละต้องปลูกบ้านเป็นหย่อมๆ เป็นหลังเป็นพืดไป นั่นเพราะอะไร บริหารขันธ์แบกขันธ์ทั้งนั้น แบกภาระที่หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เล็กน้อย ไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะเหตุดังนั้น การแบกภาระของหนักนี่แหละ ถ้าปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ละก้อ เป็นทุกข์หนักทีเดียว บุคคลผู้แบกของหนักไป บุคคลผู้แบกขันธ์ ๕ ที่หนักไป ถ้าว่าปล่อยวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ ก็เป็นทุกข์แท้ๆ ถ้าปล่อยวางขันธ์ ๕ เสียได้ก็เป็นสุขแท้ๆ เหมือนกัน ตรงกันข้ามอย่างนี้
    แต่ว่า วิธีปล่อยขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของเล็กน้อย ไม่ใช่เป็นของปล่อยง่าย ถ้าปล่อยไม่ได้ ก็เป็นทุกข์ ปล่อยได้ก็เป็นสุข แต่ขันธ์ ๕ จริงๆ เราก็ไม่รู้จักมันเสียแล้วนะ ปล่อยมันอย่างไร รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณน่ะ เอาเถอะ แก่เฒ่าอยู่วัดอยู่วาไปตามกัน บวชแล้วก็ตาม ไม่บวชก็ตาม ถามจริงๆ เถอะว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จริงๆ น่ะคืออะไร เอาละอึกอักกันทีเดียว ไม่เข้าใจตัวของตัวแท้ๆ ไม่เข้าใจ รูปน่ะคือร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกันอยู่นี้ ถ้าว่าแยกออกไปก็เป็น ๒๘ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ เป็นรูป ๒๘ ประการดังนี้ นี่แหละมีรูปเท่านี้ เป็นเบญจขันธ์นี้ รูป ๒๘ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นามขันธ์ ๔ โดยย่อ สังขาร ๓ วิญญาณ ๖ เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ สังขาร ความคิด วิญญาณ ความรู้ เป็นดวงสีต่างๆ กัน ส่วนเวทนาก็เป็นดวง ถ้าสุขเวทนาก็ใส ถ้าทุกขเวทนาก็ขุ่น ดังนี้ เป็นดวงๆ ดังนี้ สัญญา ความจำก็เป็นดวงเหมือนกัน เป็นดวงต่างกัน ดีชั่วหยาบละเอียดเลวประณีต สังขาร ความคิดดีคิดชั่ว คิดไม่ดีไม่ชั่ว นี่ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน วิญญาณ ความรู้ ความรู้ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน ต้องรู้จักพวกนี้ ให้เห็น พวกนี้เสียก่อน ให้เห็นขันธ์ทั้ง ๕ เสียก่อน ให้เป็นปฏิบัติ
    ที่แสดงแล้วนั่นเป็นปริยัติ ถ้าปฏิบัติ ต้องเห็น เห็นขันธ์ทั้ง ๕ นั่น รูปเป็นดังนั้นโตเล็กเท่านั้น สัณฐานอย่างนั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเห็นเบญจขันธ์ทั้ง ๕ แล้ว ก็ดูความจริงของมัน ขันธ์ ๕ เหล่านี้น่ะ ถ้าแม้ว่า ขืนไปยึดถือมันเข้าไว้ละก้อ เป็นทุกข์ ท่านถึงได้วางตำราเอาไว้ว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ยึดถือมั่นในเบญจขันธ์ ๕ นั่นเป็นทุกข์ ถ้าหากว่าปล่อยเบญจขันธ์ ๕ เสียได้ก็เป็นสุข แต่ว่าปล่อยไม่ใช่ได้ง่าย ปล่อยไม่ได้ง่ายเหมือนอะไร ปล่อยไม่เป็น ถ้าปล่อยเป็นปล่อยได้ง่าย ปล่อยไม่เป็นปล่อยได้ยาก ปล่อยไม่เป็นเหมือนอะไร เหมือนเด็กๆ กำไฟเข้าไว้ ยิ่งร้อนหนักเข้า ยิ่งกำหนักแน่นหนักเข้า ร้องใจหายใจคว่ำก็ร้องไป ปล่อยไม่เป็น คลายมือไม่เป็น ถ่านก้อนที่กำเข้าไว้น่ะ เมื่อเด็กกำเอาเข้าไว้แล้ว กำเสียดับเลยทีเดียว กำเสียมิดทีเดียว มือก็ไหม้ เข้าไปรูหนึ่งแล้ว นั่นเพราะอะไร เด็กมันปล่อยถ่านไฟไม่เป็น ปล่อยไม่เป็นหรือมันไม่ปล่อย ปล่อยไม่เป็นจริงๆ ถ้าปล่อยเป็นมันก็ปล่อยเหมือนกัน
    เหมือนพวกเรานี่แหละยึดมั่นเอาเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เข้าไว้ ปล่อยไม่เป็น ไม่รู้จะปล่อยท่าไหน วางท่าไหนก็ไม่รู้ วางไม่ออก ปล่อยไม่ออก ปล่อยไม่เป็น วางไม่เป็น หรือปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ ไอ้ที่ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ อีกพวกหนึ่ง ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง
    ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้น่ะ รู้แล้วว่าปล่อยเท่านั้นวางเท่านั้น ไม่ยอมปล่อย ไม่อยากปล่อย เพราะอะไร เสียดายมัน นั่นอีกพวกหนึ่ง ไม่อยากปล่อยขันธ์ ๕ อยากจะได้ขันธ์ ๕ ให้มากขึ้น นั่นพวกหนึ่ง
    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง ไม่ได้เล่าเรียนศึกษา ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้า ไอ้พวกนั้นปล่อยไม่เป็น
    ไอ้พวกที่ได้ฟังแล้วจะปล่อยก็เป็น แต่ว่าเสียดายไม่ยอมปล่อย อีกพวกหนึ่งตั้งใจปล่อยจริงๆ แต่ปล่อยไม่ได้ ไอ้ที่ไม่อยากปล่อยน่ะ เหมือนอะไรล่ะ เหมือนพรานวางเบ็ด เมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว ถ้าปลาตัวเล็กๆ พอจะปลดปล่อยได้ ถ้าปลาถึงขนาดเข้าปล่อยไม่ได้ เสียดาย ต้องใส่เรือของตัวไป ไอ้อยากปล่อยแต่ปล่อยไม่ได้น่ะเหมือนอะไร เหมือนนกติดแร้ว อยากปล่อย แต่เครื่องติดมันมี มันมีเหมือนอะไรล่ะ นี่แหละเหมือนอย่างเราครองเรือน อย่างนี้แหละ อยากจะปล่อยมัน แต่ว่าเครื่องติดมันมีเลยปล่อยไม่ได้ เสียดาย มันปล่อยไม่ได้ มันติดอยู่ดังนั้นแหละ ปล่อยไม่ถนัด เพราะเหตุฉะนี้แหละเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ต้องถอดกัน ไม่ถอด ปล่อยไม่ได้
    วิธีถอดเบญจขันธ์เบื้องต้นต้องสำรวม ที่จะสำรวมน่ะ ต้องพิจารณาเบญจขันธ์ทั้ง ๕ เสียก่อนว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นของไม่ดีไม่งามนะ เป็นของหนักจริงๆ นะ รู้ว่าเป็นของหนักแล้ว เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักละก็เริ่มต้นสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยทีเดียว สำรวมระวังไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มากระทบ คอยระวังไว้สำรวมไว้ให้ดี เมื่อระวังให้ดีแล้วสละความยินดียินร้ายไม่ให้มากระทบ ไม่ให้ความชอบความไม่ชอบซึ่งเป็นกิเลสหยาบเข้ามากระทบได้ สละเสีย เมื่อสละเช่นนั้น ถ้าว่าเกียจคร้านไม่ได้นะ ต้องหมั่นขยันทีเดียว ต้องมีความเชื่อมั่นว่าปล่อยได้จริง แล้วขยันหมั่นเพียรจริงๆ นั่นแหละจึงจะปล่อยได้ ถ้าไม่สำรวมระวังปล่อยพลั้งเผลอละก้อ เหมือนดังคนเกียจคร้านมีปัญญาเลวทราม ก็ต้องรัดรึงตรึงตราอยู่ในเบญจขันธ์ทั้ง ๕ ก็บุคคลมีศรัทธา มีความเพียรดี มีความเพียรหมั่นขยัน กลั่นกล้านั้นแหละอาจปล่อยขันธ์ ๕ ได้ล่ะ แต่ว่าวิธีจะปล่อย ท่านชี้แจงแสดงย่อยออกไปเป็นตำรับตำราออกไปเป็นส่วนๆ ให้เป็นตำรับตำราออกไปว่า จกฺขุนา สํวโร สาธุ สำรวมตาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ อย่างไร ความติดมั่นในรูปารมณ์ก็ไม่มี สำรวมหูได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำเร็จอย่างไร ความติดมั่นในสัททารมณ์ก็ไม่มี หยุดไปได้ สำรวมจมูกได้ ความติดมั่นถือมั่นในกลิ่นก็ไม่มี หลุดไปได้ สำรวมในลิ้นได้ ก็ไม่ติดในรส สำรวมในกายได้ ความสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ก็หลุดไป ยังประโยชน์ให้สำเร็จดังนี้ เมื่อสำรวมกายได้ สัมผัสก็หลุดไป สำรวมวาจาได้ ที่จะมีโทษทางวาจาก็ไม่มี หลุดไป สำรวมใจได้ โทษทางใจก็ไม่มี ยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นชั้นๆ ไป ดังนี้ ความสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นแหละ ทั้ง ๖ อย่างสำรวมได้แล้ว ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ทั้งหมด ปรากฏว่าผู้ศึกษาพระธรรมวินัยต้องเป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้ เมื่อมีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้แล้ว ได้ชื่อว่าสำรวมดีในสิ่งทั้ง ๖ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวมใจดีแล้วหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้จริงๆ นะ
    เขาทำกันอย่างไร ต้องทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ที่เคยแสดงอยู่เสมอๆ เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ดี ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ เป็นลำดับไป เมื่อเข้ากลางของกลางเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์หยาบหลุด หยุดอยู่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เข้ากลางของกลาง หยุดเรื่อยไป ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์หยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหม กายทิพย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรม กายอรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    นี่หลุดไป ๘ กายแล้ว
    • เข้าถึงกายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมโคตรภูหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบันหยาบ กายธรรมโคตรภูละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด กายพระโสดาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาหยาบ กายพระโสดาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด กายพระสกทาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาหยาบ กายพระสกทาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด กายพระอนาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตหยาบหรือพระอรหัตตมรรค กายพระอนาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียดหรืออรหัตตผล กายพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคก็หลุดไป
    • พอเข้าถึงอรหัตตผล เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เรียกว่าเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดจากธรรมที่ปะปนด้วยกิเลส สราคธาตุสราคธรรม หลุดหมด เบญจขันธ์ทั้ง ๕
    • ขันธ์ ๕ ของมนุษย์ ขันธ์ ๕ ของกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว ก็หลุด
    • ขันธ์ ๕ ของกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ก็หลุด,
    • ขันธ์ ๕ กายของรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด เข้าถึงอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็หลุด, หลุดหมด หลุดเป็นชั้นๆ ไป
    ขันธ์ ๕ ของกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรมเสียแล้ว ก็หลุด, ถึง กายธรรมพระโสดา ขันธ์ ๕ ของกายธรรมโคตรภูหยาบ-โคตรภูละเอียด หลุด, เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาแล้ว กายธรรมของโสดา-โสดาละเอียดหลุด, เข้าถึงกายธรรมของ พระอนาคาหยาบ-อนาคาละเอียดแล้ว กายธรรมของพระสกทาคาหยาบ-สกทาคาละเอียด หลุดออกไปเช่นนี้ เป็นชั้นๆ เช่นนี้เรียกว่ารู้จักสำรวมถูกส่วนเข้าแล้วหลุดเป็นชั้นๆ ไปดังนี้ เมื่อหลุดออกไปได้แล้วเห็นว่าหลุดจริงๆ ไม่ใช่หลุดเล่นๆ ถ้าว่าโดยย่อแล้วละก็ พอถึง กายธรรมหยาบละเอียดเท่านั้นไปนิพพานได้แล้ว แต่ว่าหลุดดังนี้เป็นตทังควิมุตติ ประเดี๋ยวก็ กลับมาอีก พอหลุดแค่พระโสดา นั่นเป็นโลกุตตระ ข้ามขึ้นจากโลกได้แล้ว เป็นอริยบุคคลแล้ว แต่ว่าไม่พ้นจากไตรวัฏฏ์ ต้องอาศัยไตรวัฏฏ์ เพราะยังไปนิพพานไม่ได้ ต้องอาศัยกามภพ รูปภพอยู่ แต่ว่าอาศัยอยู่แต่เปลือกนอก ข้างในล่อนจากเปลือกนอกเสียแล้ว อย่างนั้นก็พอ ใช้ได้ แต่ว่ายังไม่ถึงที่สุด ต้องถึงที่สุดคือพระอรหัตตผลนั่นแหละจึงจะพ้นขาดเด็ดเป็น วิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดได้จริงๆ เช่นนี้ อย่างนี้เอาตัวรอดได้ อย่างนี้ เมื่อรู้จักหลัก ความหลุดพ้นเช่นนี้แล้วก็ตั้งใจให้แน่วแน่ ต้องมีความสำรวมเบื้องต้น ที่ท่านได้ชี้แจงแสดงไว้ใน อารมณ์ที่ไม่งาม แล้วสำรวมระวังให้ดี รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเพียร มีศรัทธา กล้าหาญไม่ย่อท้อ นั่นแหละคงจะไปถึงที่สุดได้ ทว่าย่อท้อเสียแล้วถึงที่สุดไม่ได้ง่าย ให้เข้าใจ หลักอันนี้ หลักที่แสดงแล้ว ที่แสดงในทางขันธ์ ๕ เป็นของหนักแล้ว คิดสละขันธ์ ๕ นั่นได้ ด้วยความสำรวมระวัง นี้เป็นทางปริยัติ เป็นลำดับไปจนเข้าถึงถอดกายเป็นชั้นๆ ออกไปแล้ว จนกระทั่งถึงพระอรหัต ถึงวิราคธาตุวิราคธรรม กายพระอรหัตหยาบ-พระอรหัตละเอียดนั้น ในแนวนั้นเป็นทางปฏิบัติ ปฏิเวธก็เป็นชั้นๆ เคยแสดงแล้ว
    กายมนุษย์เมื่อปฏิบัติถูกส่วนเข้าแล้วเห็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นเป็นนิโรธ เป็น ปฏิเวธ รู้แจ้งแทงตลอดของกายมนุษย์ เมื่อกายมนุษย์ละเอียดเข้าถึงกายทิพย์ ก็เป็นปฏิเวธ ของกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์เมื่อเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายทิพย์ รู้จักกายทิพย์ละเอียดแล้ว เมื่อกายทิพย์ละเอียดเข้าถึงกายรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหมเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม, กายรูปพรหมละเอียดเข้าถึงกายอรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหมหยาบเห็นกายอรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมหยาบ, กายอรูปพรหมละเอียดเห็นกายธรรม ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรมเห็นกาย ธรรมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมหยาบ, กายธรรมละเอียดเห็นกายธรรมพระโสดา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมละเอียด, กายธรรมพระโสดาเห็นกายธรรมพระโสดาละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาหยาบ, เมื่อกายธรรมของพระโสดาละเอียดเห็นกายธรรม ของพระสกทาคา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาละเอียด, กายธรรมพระสกทาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคา, กายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเห็นกายธรรมพระอนาคาหยาบ ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคาละเอียด, กายธรรมพระอนาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระอนาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคา, กายธรรมของพระอนาคาละเอียดเห็นกายธรรมของพระอรหัต ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคาละเอียด, กายธรรมของพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคเข้าถึงกายธรรมของพระอรหัตละเอียดหรือพระอรหัตตผล ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอรหัต นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นมาลำดับอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักดังนี้ละก็ การเล่าเรียนในทางพุทธศาสนา การแสดงก็ดี การสดับตรับฟังก็ดี ให้รู้จักทางปริยัติ ทาง ปฏิบัติ ทางปฏิเวธ จึงจะเอาตัวรอดได้ ถ้ารู้จักแต่เพียงทางปริยัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิบัติ ต้องให้เข้าถึงทางปฏิบัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิเวธ ให้เข้าถึงทางปฏิเวธนั่นแหละจึงจะเอาตัว รอดได้ ด้วยประการดังนี้ ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติ ธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความด้วยเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ศูนย์ของภพต่างๆ ศูนย์ของเครื่องต่างๆ ที่เป็นเครื่องควบคุม
    ใหญ่ของภพ หรือเครื่องย่อยๆ ตลอดจนเครื่องย่อยที่ควบคุมอยู่
    ในธาตุธรรมทั่วกายมนุษย์ แต่ละคนก็มีศูนย์อยู่ตรงกัน (ดังนั้น
    ถ้าสามารถเข้าสู่ศูนย์กำเนิดเดิมของตัวเราเองได้ เราจะสามารถ
    เข้าสู่ศูนย์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ จะสามารถรู้เห็นสรรพสิ่งนานา
    ตลอดไตรโลกธาตุนานาจักรวาลอนันตจักรวาลนี้ได้

    ความรู้เรื่องธาตุธรรม 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายขาว (บุญ) ฝ่ายกลาง
    ๆ และฝ่ายดำ (บาป), เรื่องการแย่งกันสอดวิชชาของฝ่าย
    ต่างๆ เข้าปนเป็นในธาตุธรรมของสัตว์โลก เพื่อแย่งกันปกครอง
    บังคับบัญชาสัตว์โลกให้เป็นไปตามปิฎกของตน, เรื่องของภพ
    และการปกครองภพ, เรื่องของเครื่องควบคุมภพ และควบคุม
    สัตว์ให้เป็นไปตามความประสงค์ของฝ่ายตน ตลอดจนเรื่อง
    ของการเกิดดับของสัตว์โลกในภูมิต่างๆ ทั่วไปทั้งหมด และ
    อื่นๆ อีกมากมายซึ่งเปรียบได้กับใบไม้ในป่าที่ได้เพิ่มเติมขึ้นไป
    อีก จากใบไม้ในกำมือ (ที่หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับความจำ
    เป็นเพื่อการพ้นทุกข์)

    วิชชาที่จะชี้แนวทาง หรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เราได้รู้เห็น และ
    เข้าถึงศูนย์กำเนิดเดิมของ มนุษย์คือตัวเราเองได้นั้นที่เห็น
    ชัดเจนที่สุดในขณะนี้ก็คือ วิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ที่
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำพระมงคลเทพมุนี (สด จัน
    ทสโร) ได้ค้นพบ และนำมาสั่งสอน ถ่ายทอดสืบกันมานั่นเอง
    วิชชานี้สอนให้ตั้งจิตในการทำสมาธิไว้ ณ ศูนย์กลางกายซึ่ง
    ตรงกับศูนย์กำเนิดเดิม เมื่อจิตหยุดนิ่ง และละเอียดพอก็จะ
    สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาได้ตามความสามารถในการ
    ปฏิบัติของเราเอง ที่สำคัญคือ ต้องสามารถทำจิตให้หยุด ให้
    เห็น จำ คิด รู้ ของเราหยุดนิ่งเป็นจุดเดียวกัน ณ ศูนย์กลางกาย
    ได้หยุดเป็นตัวสำเร็จ ต้องหยุดนิ่งได้ดีจึงจะสำเร็จ

    ในเบื้องต้นเมื่อจิตหยุดได้ถูกส่วนพอดีจะเห็นดวงธรรมที่
    หลวงพ่อเรียกว่าดวงปฐมมรรค หรือดวงธรรมของกายมนุษย์
    ถ้าจิตสามารถหยุดนิ่งได้ยิ่งขึ้น จิตละเอียดยิ่งขึ้นจะสามารถเห็น
    กายต่างๆ ผุดซ้อนกันขึ้นมาตามลำดับจนถึงกายธรรม หรือที่
    หลวงพ่อเรียกว่า “ธรรมกาย” ซึ่งพระเดชพระคุณท่านได้นำมา
    เป็นชื่อวิชชาธรรมกายนั่นเอง ถ้าสามารถปฏิบัติได้แค่ เพียง
    ระดับขั้นต้นนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้อำนาจสมาธิที่เพียงพอที่จะ
    ปฏิบัติต่อทางวิปัสสนาได้เป็นอย่างดี หากปรารถนาเพียงแต่พ้น
    ทุกข์ได้เหมือนกับการฝึกสมาธิโดยวิธีการอื่นๆ เช่นการกำหนด
    กสิณ หรือการกำหนดลมหายใจเพื่อให้จิตเกิดสมาธิก่อนแล้วทำ
    วิปัสสนาในภายหลัง ไม่มีอะไรแตกต่างกัน ถ้าเราจะต้องการได้
    แค่ใบไม้เพียงกำมือเดียวเท่านั้น

    ที่แตกต่างกันคือ ในวิชชาธรรมกาย หลวงพ่อได้สอนและชี้
    ช่องทางวิธีที่จะไปเก็บใบไม้ในป่าไว้ให้อีก ในขั้นตอนวิธีการ
    ปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายระดับสูงๆ ขึ้นไป โดยการฝ่าย
    ทางศูนย์กลางกำเนิดเดิมนี้ไปสู่มหาหิมพานต์ เพื่อให้เราเก็บ
    ใบไม้ของความรู้ต่างๆ ของเรื่องราวในอนันตโลกธาตุ


    ไม่เพียง
    แต่ได้รู้เห็นเท่านั้น เราอาจที่จะเป็นผู้เข้าไปบังคับบัญชาควบคุม
    เครื่องบังคับต่างๆ เสียด้วยตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามความ
    ประสงค์ของตัวเราเองเป็นการแก้ไขเหตุของตัวเองด้วยตนเอง
    แต่จะสามารถทำได้เท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับบารมีของแต่ละคน เป็น
    หนทางที่ทำให้เราได้เห็นได้รู้เหตุ และผลที่อยู่เบื้องหลังของ
    เรื่องราวของสรรพสิ่ง ที่เราจะได้นำมาแก้ไขตนเองให้ดีถึงที่สุด
    ได้ต่อไป วิชชาธรรมกายจึงนับว่าเป็นสุดยอดวิชชาของพระ
    พุทธเจ้าฝ่ายขาวบริสุทธิ์วิชชาหนึ่ง ที่นอกจากจะช่วยให้เราหลุด
    พ้นจากการเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะทุกข์แล้ว ยังจะช่วยให้เราหลุด
    พ้นเป็นอิสระอย่างไพบูลย์ถึงที่สุดได้อีกด้วย
    รวมทั้งสามารถที่
    จะนำมาช่วยผู้อื่นที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายได้อย่างดี
    ยิ่ง



    <CENTER>
    มวลมนุษย์พึงสังวร สิ่งที่ได้ สิ่งที่เป็น
    ใครให้สมบัติ ใครให้อำนาจ ใครให้ฤทธิ์
    อายตนะต่ออายตนะ
    ภพต่อภพ
    เหตุต่อเหตุ
    คือขาว หรือกลาง หรือดำ
    </CENTER>
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ....ที่มาของหลวงปู่สด...ยากที่ใครจะรู้










    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1>ผู้สำเร็จธรรม ในฝ่ายบุญภาคปราบล้วนทั้งลับและเปิดเผย ลงมาทำหน้าที่ใน
    สมัยศาสนาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระพุทธโคดม


    ตั้งปรารถนาจิตว่า "ข้าพเจ้าจะเป็นทนายแก้ต่างให้ศาสนาพระโคดม" ได้รับโองการจากผู้เป็นใหญ่จากธรรมภาคขาว ลงจุติยังโลกมนุษย์เพื่อดับทุกข์เข็ญในยุคก่อนกึ่งพุทธกาล

    งานที่ได้รับมอบหมายก็คือ
    1. ประกาศวิชชาธรรมกาย ซึ่งเป็นพระสัทธรรม ดั้งเดิมของพระบรมศาสดาทั้งส่วนของ
    พระอริยสาวก และส่วนของพระโพธิสัตว์
    2. แก้ไขภัยพิบัติต่าง ๆ ของโลก และของสัตว์โลก
    3. รักษาสืบทอดอายุพระศาสนา ปลดเปลื้องสัตว์โลก ให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรม บ่วงมาร
    และวัฏสงสาร

    **********************************************************

    ในส่วนมรรคผลนิพพาน แห่ง อริยะสาวก ในตัววิชชาธรรมกายก็มีอยู่

    คือ สติปัฏฐาน4 ,อริยสัจจสี่,นิวรณ์5,อายตนะ 12,ปฏิจจสมุปปบาท 12
    ธาตุ 18 ฯลฯ
    พึงเจริญตามกำลังแห่งอิทธิบาท4 ของแต่ละท่านเถิด
    เป็นวิชชา 3 ,ไปจนถึงอภิญญา 6

    ----------------------

    ในส่วนการบำเพ็ญโพธิสัตว์บารมีก็มีอยู่ เป็นวิชชาเพื่อสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า บารมีแก่ๆแบบต้นนิพพานนั้นมีอยู่

    -----------------------------------

    เลือกตามอัธยาศัยเทอญ สาธุชน<!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    วิชชาธรรมกาย

    มีการพัฒนา และค้นวิชชาเข้าไปในกายเรื่อยๆไม่หยุด

    มีใบไม้ในกำมือ คือ อาศัยสติปัฏฐานเป็นหลักกำจัดกิเลส
    มีการค้นวิชาเพิ่ม ตามวิสัยแห่งฌาณ วิชชา ปัญญา อันเป็นคุณสมบัติพิเศษ ของแต่ละท่าน ละคน ที่ตั้งอฐิษฐานบารมีไว้ต่างกัน
    โดยค้นเข้าไปตามสายธาตุธรรมภาคขาว บุญกุศลสัมมาทิฐิล้วนๆ
    อันเป็นวิชาเดิมของตน จึงมีการพัฒนาไม่อยู่กับที่ในด้านความแตกฉาน

    อันเป็นวิสัยที่เป็นอจินไตย


    หมายเหตุ. แต่ถ้าเฉออกนอกสัมมาปฏิบัติ คือ ไม่เป็นไปเพื่อกำจัดกิเลส ตัณหา อวิชชา มากขึ้นๆเมื่อใด ธรรมกายบริสุทธิ์ก็ค่อยๆดับโดยไม่รู้ตัว มีธรรมปลอมเข้าครอบงำ สอดแทรก ซึมซาบ เข้าไปเป็นเนื้อของดวงจิต ดวงใจ ญาณรู้ก็เฉออกไปเรื่อยๆ<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    หัวข้อสำรวจตนเอง
    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว



    เป็นเพียง หัวข้อ เบื้องต้น และ เบื้องกลาง คือ คือมหาสติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกายเท่านั้น

    ยังมีข้อมูลสำรวจอีกมาก จะแจกแก่ผู้ไปต่อวิชชาขั้นสูงกับ พระราชพรหมเถระ ( วีระ คณุตตโม ) ผู้สืบทอดวิชชาธรรมกายตรงจากหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ ) และ
    เป็น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ฯ หรือ ต่อวิชชาฯกับท่านเจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ ราชบุรี
    หรือ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ(ภูเขาทอง) โดยตรง


    เบื้องต้น

    1. ปั่จจุบันนี้ ท่านเห็นธรรมกายใสและชัดเจนเพียงใด?
    ( ) ใสชัดดีมาก ( ) ใสชัดพอประมาณ
    ( ) ใสชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ( ) ไม่ชัดเลย

    2. เคยได้รับการต่อ 18 กาย เมื่อใด

    ( ) วันที่........................ ( ) ไม่เคย

    3. เคยรับการฝึกพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วทำตามทันได้หมด ( ) เคยแล้ว แต่ทำตามไม่คล่อง

    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    4. เคยฝึก พิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เป็น เถา ชุด ชั้น
    ตอน ภาค พืด แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้ว ทำตามได้หมด ( ) เคยแล้ว ทำตามได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    5. เคยฝึกพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นณ ภายในและภายนอกโดยส่วนรวม โดยน้อมเข้าสู่ " อตีตังสญาณ" ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นในอดีต และ น้อมเข้าสู่ อนาคตังสญาณ ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นไปจนถึงวันตาย เพื่อให้เห็น " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
    และเป็น มรณัสสติ เครื่องเตือนใจหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามทันหมด ( ) เคยแล้วเห็นตามทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    7. เคยฝึกพิจารณาเห็นธรรมในธรรมต่อไปนี้หรือไม่ ( กาตรงที่เคย)


    ( ) ขันธ์ 5 ( ) อายตนะ 12 ( ) ธาตุ 18 ( ) อินทรีย์ 22

    ( ) อริยสัจจ์ 4 ( ) ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    8. เคยฝึก " เจริญฌาณสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์ 4 " แล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้ว ทำตามทันหมด ( ) เคยแล้วทำตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ทำไม่ได้


    9. ท่านทราบพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ให้เจริญภาวนา อบรมมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วหรือยัง ?

    ( ) ทราบ คือ.......................................................

    ( ) พอทราบ คือ.....................................................

    ( ) ไม่ทราบ





    ************จบการสำรวจเบื้องต้น*******


    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เบื้องกลาง




    1 . เคยฝึก เห็นจิตในจิต ( ว่ามีสมาธิหรือไม่มี ) และ
    เห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ 5 แล้วเจริญ

    ภาวนาสมาธิเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิตก วิจาร ปิติ
    สุข และ เอกกัคคตารมณ์ เพื่อกำจัดนิวรณ์อันเป็นเบื้องต้น
    ของรูปฌาณ หรือยัง?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคยหรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน

    2. เคยฝึกพิจารณาเห็น " ธาตุ " ละเอียดทั้ง 6
    และ " ธรรม " ( กลาง ขาว ดำ ) และ ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด
    ดวง รู้

    และฝึกพิจารณาเห็นกิเลส ( ธรรมภาคขาว และภาคดำ )

    ที่เข้ามาผสมให้สีน้ำเลี้ยงของจิตขุ่นมัวอย่างไรหรือยัง?

    3. เคยฝึกพิจารณา เห็นกายในกาย ในส่วนที่เป็น กายคตาสติ

    เพื่อพิจารณาเห็นส่วนต่างๆของรางกาย (ธาตุหยาบ) ทั้ง ณ ภายใน (ของตนเอง) และภายนอก(คนอื่น) ให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงว่าเป็นสิ่งที่ไม่งาม ( อสุภะกรรมฐาน ) หรือยัง?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้บ้างไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    4. เคยฝึกพิจารณา เห็นจิตในจิต เป็นทั้ง ณ ภายในและภายนอก กล่าวคือ พิจารณาเห็น " อนุสัยกิเลส" ( ปฏิฆานุสัย ) ในเห็น จำ คิด รู้ ของแต่ละกายโลกียะ
    แล้วพิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เพื่อดับ(อนุสัยกิเลส) สมุทัยแล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็น ตามได้บ้างไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน


    5. เคยฝึก ตรวจดูภพ ตรวจจักรวาล ( ดูอรูปพรหม รูปพรหม
    เทพยดา และเปรต สัตว์นรก อสุรกาย ถึงสัตว์ในโลกันตร์ ) เพื่อพิจารณาเห็น ................................ ความปรุงแต่งของสังขารชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร - อปุญญาภิสังขาร และ อเนญชาภิสังขาร...............

    ของสัตว์โลกทั้งหลายที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ทั้งหลาย

    แ ล้วพิจารณาเข้าสู่ " ไตรลักษณ์ " คือพิจารณาให้เห็นสภาวะของสังขารขันธ์ทั้งหลายในภพสามนี้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร

    หรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วแต่เห็นตามไม่หมด
    ( ) เคยแล้วแต่เห็นตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคยหรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน


    ฯล ฯ


    ข้อมูลสำรวจตน ฯ มากกว่านี้จะแจกเพื่อสำรวจสำหรับผู้ไปต่อวิชชาฯ

    ซึ่งยังไม่อาจเปิดเผยมากกว่านี้

    นำมาเปิดเผยบางส่วน เพื่อให้ทราบว่า การเจริญธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย มีเนื้อหาที่เป็นทั้งสมถ-วิปัสสนา

    ..................................เจริญธรรมทุกท่าน..............................<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]


    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    วิธีเจริญพรหมวิหาร ๔





    ๑. เหตุผลที่บุคคลควรเจริญพรหมวิหาร ๔
    การเจริญพรหมวิหาร ๔ อันได้แก่ เมตตาพรหมวิหาร คือ การคิดให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วกันหมด กรุณาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่เป็นทุกข์อยู่ ให้พ้นจากทุกข์ทั้งสิ้น มุทิตาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่ได้สุขสมบัติหรือคุณสมบัติแล้ว จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติหรือคุณสมบัติของตน อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติหรือคุณสมบัติที่ตนได้แล้ว และ อุเบกขาพรหมวิหาร มีความเพิกเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ในสัตว์ทั้งหลายที่ได้สุขหรือได้ทุกข์
    ในการดำเนินชีวิตประจำวัน หากบุคคลใดมีพรหมวิหารธรรมเป็นคุณธรรมประจำตนแล้ว ก็นับว่าผู้นั้นมีคุณธรรมของ “ผู้ใหญ่” หรือ “ผู้ปกครอง” อย่างสมบูรณ์ จะเป็นผู้นำชุมชนใด ก็จะเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรหรือเป็นที่พึ่งที่อาศัยของผู้น้อยหรือผู้อยู่ใต้ความปกครองได้เป็นอย่างดี
    อนึ่ง พรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายพึงเจริญ ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า หมู่สัตว์หรือปุถุชนผู้ที่ยังมากด้วยกิเลสหยาบ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หรือ กิเลสกลางๆ คือ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น มักต้องเวียนอยู่ในไตรวัฏ คือ กิเลสวัฏ ความมีกิเลสดังกล่าว แล้วก็ กรรมวัฏ คือมีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม อันมีลักษณะที่เป็นความผูกโกรธ พยาบาท จองเวร เบียดเบียน ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน เพราะความหลงผิด ยึดมั่น ถือมั่น เห็นแก่ตัวตน และพวกพ้อง หมู่เหล่า เป็นการสร้างภพ สร้างชาติ อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์แก่ตนเองเป็นทับทวี เรียกว่า วิปากวัฏ ยากแก่การปฏิบัติธรรมโดยมัชฌิมาปฏิปทา คือ ศีล สมาธิและปัญญา อันเป็นเครื่องช่วยให้พ้นทุกข์เป็นการถาวรได้
    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนผู้ใคร่จะพ้นทุกข์ ประกอบจิตใจของตนให้อยู่ในพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้จิตใจสงบระงับจากอุปกิเลสหรือนิวรณธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่องขวางกั้นการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ให้บรรเทาเบาบางหรือหมดสิ้นไป ก็จะสามารถเปิดทางให้แก่สาธุชนผู้เจริญพรหมวิหารธรรมนั้น สามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ตามความเป็นจริง เมื่อปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมเจริญขึ้น ก็สามารถจะปหานกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายให้หมดสิ้นไปได้เป็นลำดับ
    นอกจากนี้ พระอริยบุคคลผู้ที่จะบรรลุอรหัตตผล ตัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิงก็ดี, ที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ดี จักต้องเจริญพรหมวิหารธรรมนี้ จนเมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี ซึ่งเป็น ๒ ประการในบารมีสิบทัศ สูงถึงขั้น อุปบารมี และ ปรมัตถบารมี ได้เต็มส่วน จึงจะบรรลุอรหัตตผล หรือตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้
    พรหมวิหารธรรม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปฏิบัติธรรมจักต้องเจริญอยู่เสมอ เพื่อให้จิตใจปลอดจากนิวรณธรรม อุปมาดั่งการใช้ “ด่าง” เป็น “กลาง” ไม่เป็นโทษหรือเป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองหรือผู้อื่นอีกต่อไปนั่นเอง
    เมื่อท่านทั้งหลายเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเจริญพรหมวิหารธรรมดังนี้แล้ว จงตั้งใจศึกษาวิธีการเจริญพรหมวิหารธรรม ทั้งในทางอรรถและโดยธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ และหมั่นเจริญอยู่เสมอ
    การเจริญเมตตาพรหมวิหารนั้น เริ่มแรก สาธุชนพึงพิจารณาเหตุผลให้เข้าใจเสียก่อนว่า เมตตาพรหมวิหารนี้เป็นธรรมคู่แข่งหรือธรรมที่จะใช้ระงับกิเลสประเภทใด นี้ข้อหนึ่ง, โทษของการมีกิเลสประเภทที่ว่านั้นมีอย่างไรบ้าง หรือร้ายแรงเพียงใด นี้ข้อหนึ่ง, คุณค่าของการข่มหรืออดกลั้นต่อกิเลสประเภทนี้ ข้อหนึ่ง, กับ ความสันติสุขอันเกิดแต่ความปลอดภัยจากกิเลสที่ว่านี้อันตนได้รับอยู่ นี้อีกข้อหนึ่ง จึงจะมีความรู้สึกปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นได้รับความสุขเช่นที่ตนเองได้รับด้วยอย่างได้ผลสมบูรณ์
    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว จึงจะนับว่าเป็นผู้มีเมตตาธรรมอย่างแท้จริง และสามารถจะแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ไปยังผู้อื่นและสัตว์อื่นได้อย่างเป็นผล ไม่ใช่สักแต่ว่าท่องจำคำแผ่เมตตาได้ แล้วก็ว่าออกไปๆ โดยที่จิตใจของตนเองยังแข็งกระด้างอยู่ด้วยกิเลสประเภทหยาบๆ หรืออย่างกลางอันหนาแน่น แกะไม่ออก การแผ่เมตตานั้นก็ได้ผลน้อย
    ลักษณะของกิเลสอันเป็นคู่แข่งของเมตตาพรหมวิหาร หรือที่จะต้องได้รับการปราบด้วยพรหมวิหารธรรมนั้น คือ โทสะ เป็นกิเลสตระกูลใหญ่ ซึ่งมีลักษณะรุ่มร้อนประดุจไฟที่สามารถจะเผาผลาญสิ่งต่างๆ ให้พินาศลงได้
    กิเลสตระกูลโทสะนี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่ความไม่พอใจในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า อรติ ความไม่พอใจ นี้ หากไม่ระงับลงแล้ว ก็จะกลายเป็นความขัดเคืองใจ ที่เรียกว่า ปฏิฆะ คืออาการของจิตที่เก็บอารมณ์นั้นไว้ กรุ่นอยู่ ไม่อาจลืมได้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบขึ้น กลายเป็นความเดือดดาล หรือที่เรียกว่า ความโกรธ หรือ โกธะ นั่นเอง ทีนี้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบมากขึ้นอีก กลายเป็นความคิดประทุษร้ายด้วยกาย วาจา และใจ เรียกว่า โทสะ หากโทสะนี้ไม่ระงับลงอีก ก็จะกำเริบเสิบสาน กลายเป็นความ พยาบาท หรือความผูกใจเจ็บแค้น คือคิดหาทางที่จะแก้แค้นหรือมุ่งร้ายเขาต่อไป เมื่อได้แก้แค้นแล้วความโกรธก็หายไป แต่บางรายยังไม่หาย ไม่ระงับ กลับผูกใจเจ็บที่จะจองล้างจองผลาญต่อๆ ไปอีก ก็เรียกว่า ผูกเวร นี่แหละร้ายนัก เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดโทษทุกข์ต่อๆ กันไป ไม่สิ้นสุด
    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนหมั่นประกอบจิตใจของตนเองให้อยู่ใน “ขันติธรรม” และ “พรหมวิหารธรรม” อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมตตาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้สามารถข่มโทสะให้คลายลง และให้สามารถอดกลั้นต่ออนิฏฐารมณ์ ไม่เบียดเบียนหรือเป็นโทษภัยแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น
    สาธุชนจึงพึงต้องพิจารณาให้เห็นโทษภัยของกิเลสตระกูลโทสะนี้อยู่เสมอ แล้วเพียรพยายามระงับด้วยเมตตาพรหมวิหาร และกำจัดให้หมดเด็ดขาดได้ด้วยปัญญา ถ้าหากสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมและประเทศชาตินี้ มีความอดกลั้น คือขันติต่ออารมณ์ที่ขัดเคืองซึ่งกันและกัน อภัยให้ซึ่งกันและกัน ไม่คิด ไม่พูด หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการประทุษร้ายต่อกัน และไม่จองเวรซึ่งกันและกันแล้ว ตนเองและสังคม ประเทศชาติ ก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ไม่เดือดร้อนวุ่นวาย ดังที่ได้ยินได้ฟังข่าวร้ายๆ อยู่เสมอ เช่นในปัจจุบันนี้

    ๒. วิธีเจริญพรหมวิหาร ๔ โดยทั่วไป และอานิสงส์
    ก) วิธีเจริญเมตตาพรหมวิหาร
    คำว่า “เมตตา” นี้หมายถึงความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
    การเจริญเมตตาพรหมวิหาร หรือในกรณีเจริญภาวนา บางทีก็เรียกว่า การแผ่เมตตานั้น จะได้ผลเพียงใดย่อมขึ้นอยู่ที่วิธีการปฏิบัติภาวนาและความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ ของผู้เจริญภาวนา วิธีปฏิบัติภาวนาเจริญเมตตาพรหมวิหารที่จะให้ได้ผลดีนั้น มีดังต่อไปนี้
    ก่อนอื่นให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอดกลั้นต่อโทสะกิเลส แล้วจึงตั้งตนเองเป็นพยานไว้ก่อนว่า ตนเองประสงค์แต่ความสงบสุข ความร่มเย็น เกลียดชังความทุกข์อันเนื่องแต่ความเบียดเบียนหรือประทุษร้ายจากผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการประทุษร้ายต่อร่างกาย ต่อทรัพย์สิน หรือต่อชื่อเสียงเกียรติคุณความดีด้วยประการต่างๆ ฉันใด สรรพสัตว์หรือบุคคลอื่นทั้งหลายก็รักความสันติสุข และไม่ประสงค์ความทุกข์ ฉันนั้นเหมือนกัน
    เมื่อเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นดังนี้จากใจจริงแล้ว ก็อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกาย ก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาธรรม หรือในขณะใดๆ ก็ตาม แผ่ความปรารถนานั้นไปยังมนุษย์หรือสรรพสัตว์อื่น เริ่มตั้งแต่ผู้ที่ตนรักเสียก่อน เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่เมตตาพรหมวิหารหรือความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนรักมีความสุขอย่างเต็มใจแล้ว จึงค่อยตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนรู้สึกเฉยๆ คือไม่รักไม่ชัง เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนก็มิได้รักมิได้ชังจนเปี่ยมใจแล้ว ก็จึงตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนเกลียดชัง จนจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้เขามีความสุขจนเปี่ยมใจแล้ว จึงตั้งความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่มีเวรต่อกันเป็นสุขปราศจากทุกข์ภัย อีกต่อไป จงแผ่ความเมตตานี้ไปยังบุคคลหรือสรรพสัตว์เหล่านี้ให้เปี่ยมใจหมดตลอดทั้งสี่ ๔ เหล่า ฝึกเจริญภาวนาบ่อยๆ เข้าก็จะค่อยๆ ชำนาญไปเอง จิตใจก็จะมีแต่เมตตาธรรม พร้อมที่จะให้อภัยแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ผูกโกรธหรือผูกเวรอันเป็นการสร้างภพสร้างชาติต่อไปอีก
    สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายหรือได้ดวงปฐมมรรคแล้ว เมื่อตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายแผ่เมตตาธรรมนั้น ดวงธรรมของทุกกายก็จะใสสะอาดขึ้น และแผ่ขยายกว้างออกไปยิ่งขึ้น หากธรรมแก่กล้าสามารถเจริญเมตตาภาวนาในระดับฌานได้ ข่ายของญาณพระธรรมกายก็จะขยายออกไปได้จนสุดภพ และขยายออกไปอย่างกว้างขวางตลอดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ การเจริญเมตตาภาวนาก็ยิ่งจะเป็นผลมาก แล้วให้ผู้ปฏิบัติจงหมั่นพิจารณาเหตุสังเกตที่ผลของการเจริญภาวนาอยู่เสมอ ก็จะได้ทราบผลด้วยตนเอง
    อนึ่ง การเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ ไม่เฉพาะแต่จะปฏิบัติอย่างเป็นทางการก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาเท่านั้น หากแต่พึงกระทำทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นขณะเดิน ยืน นั่ง หรือ นอน กล่าวคือ
    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความสันติสุข ไม่ว่าจะเป็นความสุขทางโลกิยะหรือโลกุตตระ ย่อมปีติยินดีในความสุขนั้นเพียงใด ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความสุขนั้นไปยังผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น จงประสบหรือได้รับความสุขเช่นที่ตนได้รับอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน
    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความทุกข์หรือภัยต่างๆ เราไม่ชอบและไม่ปรารถนาความทุกข์หรือภัยพิบัติเหล่านั้นฉันใด ผู้อื่นก็ย่อมไม่ปรารถนา ฉันนั้น ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความเมตตาไปยังบุคคลอื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ขออย่าได้ประสบกับทุกข์ภัย การเบียดเบียนหรือจองเวรซึ่งกันและกัน และอย่าได้ลำบากกายลำบากใจเลย ขอจงให้มีแต่ความสุขกายสุขใจ และรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายเถิด
    จงแผ่ความปรารถนาดี ด้วยจิตใจอันอ่อนโยน เปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหารนี้ ไปยังมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายหมดทั้ง ๔ เหล่า คือ ทั้งผู้ที่ตนรักหรือเคารพนับถือ ผู้ที่ตนมิได้รักมิได้ชัง ผู้ที่ตนเองเคยเกลียดชัง และผู้ที่เคยมีเวรต่อกัน พยายามแผ่ให้กว้างออกไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ตลอดทั่วทั้งภพและจนหมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ แล้วท่านก็จะทราบผลจากการปฏิบัตินี้ด้วยตนเอง
    และใคร่จะขอแนะนำว่า การแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ทุกครั้งให้อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อยู่เสมอ เพราะศูนย์กลางกายนี้ตรงกัน อยู่ในแนวเดียวกันกับโอกาสโลก (โลกคือแผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลก มีมนุษย์โลกเป็นต้น) สังขารโลก (โลกคือสังขาร) สัตว์โลก (โลกคือหมู่สัตว์ทั้งหลาย มีมนุษย์ เทพยดา รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น) อายตนะนิพพาน (ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุที่ดับขันธ์แล้ว) ภพ ๓ (กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) และอายตนะโลกันต์ ทั้งของจักรวาลนี้และจักรวาลอื่นทั้งหมด จึงเป็นผลมาก คือมีอานิสงส์และอานุภาพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว จะสามารถเจริญเมตตาภาวนาได้ผลดีมาก เพราะใจตั้งมั่นอยู่ ณ ศูนย์กลางกายดีแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย หากปฏิบัติดังกล่าวนี้เนืองๆ ก็จะช่วยให้สมาธิตั้งมั่นได้เร็วขึ้น เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ตามลำดับ เพราะเมตตาภาวนานี้ เป็นเครื่องชำระนิวรณธรรมคือ โทสะและพยาบาทให้ระงับลง จิตใจก็อ่อนโยน สามารถที่จะรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวได้ง่าย
    การเจริญเมตตาภาวนานี้ มีอานิสงส์มาก ดังพระพุทธดำรัส ซึ่งแสดงไว้ว่า มีมากกว่าอานิสงส์ของการสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ และไตรสรณคมน์ หรือการสร้างวิหารถวายแก่สงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ หรือการถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเสียอีก (อํ.นวก.๒๓/๒๒๔/๔๘๐) นับได้ว่ามีอานิสงส์เป็นที่สองรองจากการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานทีเดียว
    คุณค่าของการเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ เท่าที่เห็นๆ คือว่า หากมนุษย์ซึ่งเป็นแต่ละหน่วยของสังคมและประเทศชาติ มีเมตตาพรหมวิหารต่อกันมากเพียงใด มนุษย์ก็จะยิ่งมีแต่ความสันติสุขและร่มเย็นเพียงนั้น นอกจากนี้ การเจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ ยังเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติได้รับผลดีในการดำเนินชีวิตอีกมาก จะหลับอยู่ก็เป็นสุข จะตื่นอยู่ก็เป็นสุข เพราะไม่มีเวรภัยกับผู้ใด จึงไม่ต้องวิตกกังวลใดๆ ทั้งสิ้น จะฝันก็เป็นมงคล ย่อมเป็นที่รักใคร่ ยินดี ของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมเป็นต้น ปลอดจากอัคคีภัย ภัยจากยาพิษ หรือสัตว์ที่มีพิษทั้งหลาย ศัสตราวุธต่างๆ ย่อมไม่อาจประทุษร้าย หรือทำอันตรายแก่กายและชีวิตได้ สีหน้าย่อมผ่องใส เมื่อจะตาย ย่อมได้สติ ไม่หลงตาย หากยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล เมื่อละโลกไปแล้ว ย่อมไปสู่สุคติภพ มีโลกมนุษย์หรือเทวโลกเป็นต้น และหากยังไม่เสื่อมจากฌาน ย่อมไปบังเกิดในพรหมโลกดังพระพุทธดำรัสที่ทรงแสดงไว้ว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ ๑๑ ประการเป็นไฉน ? คือ ย่อมหลับเป็นสุข ๑ ย่อมตื่นเป็นสุข ๑ ย่อมไม่ฝันลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย ๑ ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย ๑ เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่กล้ำกรายได้ ๑ จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว ๑ สีหน้าย่อมผ่องใส ๑ เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ ๑ เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก ๑
    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้แล.” (อํ.เอกาทสก.๒๔/๒๒๒/๓๗๐-๓๗๑)
    ข) วิธีเจริญกรุณาพรหมวิหาร
    ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์ ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ให้พิจารณาถึงความทุกข์ โศกหรือโรคภัยที่ตนเองหรือผู้อื่นได้รับอยู่ก็ดี หรือแม้แต่ภัยในวัฏฏะ ได้แก่ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ ที่เห็นมีอยู่ในสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล นิพพานก็ดี เราก็ตั้งตนไว้เป็นพยานว่า เราปรารถนาที่จะพ้นทุกข์และภัยเช่นนั้น ก็ขอให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นทั้งหลายซึ่งเป็นที่รัก ที่ไม่รักไม่ชัง ที่เคยชัง และที่เคยมีเวรต่อกัน ขอให้เขาเหล่านั้นจงพ้นจากความทุกข์ โศก โรค และเวรภัย ตลอดทั้งภัยจากวัฏฏะเสียทั้งสิ้น โดยตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งความปรารถนาดังกล่าวลงไป ณ ศูนย์กลางกายนั่นไว้เสมอ สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายแล้ว และได้เจริญภาวนาจนปัญญาเจริญขึ้น จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น อริยสัจ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ เพียงใด ก็จะยิ่งเจริญเมตตาและกรุณาภาวนานี้ได้ผลมากและลึกซึ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเพียงนั้น
    ค) วิธีเจริญมุทิตาพรหมวิหาร
    ให้พิจารณาถึงสุขสมบัติและคุณสมบัติ ทั้งในระดับโลกิยสมบัติและโลกุตตรสมบัติ ตนไม่ประสงค์จะพลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้นเพียงใด และปรารถนาที่จะให้เจริญรุ่งเรืองในสุขสมบัติและคุณสมบัติ ตั้งแต่โลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติยิ่งๆ ขึ้นไป จนตราบเท่าบรรลุมรรค ผล นิพพาน เพียงใด ก็ตั้งความปรารถนานั้น แผ่มุทิตาจิตไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลาย จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น และขอจงให้มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไปจากโลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติ ดังเช่นที่ตนเองปรารถนาเช่นเดียวกันด้วยกันหมดทั้งสิ้น
    ง) วิธีเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร
    เมื่อตั้งความปรารถนา แผ่เมตตา กรุณา และมุทิตา อันได้แก่ ความปรารถนาที่จะให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเป็นสุข และอย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้น ขอจงปราศจากทุกข์ โศก และโรคภัย และขอจงรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายแล้ว ก็พิจารณาต่อไปอีกว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย ผู้ประกอบกรรมอันใดไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ย่อมต้องได้รับผลกรรมนั้นเอง เมื่อพิจารณาเห็นความจริงตามกฎแห่งกรรมดังนี้แล้ว จิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา และมุทิตา แต่ยังต้องกระเพื่อมฟุ้งอยู่ ด้วยความรู้สึกสงสารผู้อื่นหรือสัตว์อื่นที่กำลังได้รับความทุกข์เดือดร้อนอยู่ ซึ่งตนหมดหนทางที่จะช่วยเหลือได้อีกต่อไปแล้วก็ดี หรือความกระเพื่อมฟุ้งเพราะความยินดีอย่างมากที่เห็นผู้อื่นได้ดีมีสุขก็ดี จะค่อยๆ ระงับลงด้วยปัญญาหยั่งรู้ในกฎแห่งกรรมตามธรรมชาติ จิตใจก็จะมัธยัสถ์ เป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในความทุกข์และความสุข ของทั้งตนเองและผู้อื่น นี้เรียกว่าการเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร

    จะขอเน้นว่า เพื่อให้การเจริญพรหมวิหารธรรมนี้เป็นผลดียิ่งขึ้น เริ่มแรกให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอด<!-- google_ad_section_end --> ​
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET> <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูป</LEGEND>[​IMG]
    </FIELDSET> <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูป</LEGEND></FIELDSET>
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...