ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    เกิดมา.....


    ว่าจะมาหาแก้ว

    พบแล้วไม่กำ ... จะเกิดมาทำไม

    สิ่งที่อยาก ก็หลอก

    สิ่งที่หยอก ก็ลวง

    ทำให้จิต เป็นห่วงเป็นใย

    เลิกอยาก ...ลาหยอก...

    เดินออกจากกาม

    เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป


    เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพาน ก็ได้<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Copy of Tam2.JPG
      Copy of Tam2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      34.9 KB
      เปิดดู:
      5,215
    • ปู่.JPG
      ปู่.JPG
      ขนาดไฟล์:
      10.6 KB
      เปิดดู:
      5,412
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2010
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]



    [​IMG]


    นำนั่งเบื้องต้น 55 นาที

    ( บางช่วงเสียงเงียบ คือ กำลังปล่อยให้ผู้ฝึกฯภาวนา เป็นช่วงๆไป )



    เสียงหลวงป๋า นำภาวนา
    http://www.dhammakaya.org/wma/wlps50120303.wma



    เสียงหลวงปู่สด


    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010101.wma[/MUSIC]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2010
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    Biography of the Venerable Phra Mongkok-Thepmuni (Sodh Candasaro)

    หลวงปู่สด วัดปากน้ำ ( ภาษีเจริญ )

    The Late Abbot of Wat Paknam Bhasicharoen


    The master of the Dhammakaya approach, the late Abbot of Wat Paknam, the Venerable Chao Khun Phra Mongkol-Thepmuni, is fondly known and revered throughout the land as Luang Phor Wat Paknam, or simply as “Luang Phor Yai,” meaning senior father or meditation master.
    [​IMG]Luang Phor was born October 10, 1884 (BE 2427) to a humble rice-merchant family of Supanburi Province as Sodh, the second child of Nai Ngern and Nang Sudjai Meekaewnoi. As was typical in those days, young Sodh received his education from the temples. At fourteen, when his father died, he became the chief breadwinner for the family. Successful as he was in rice trading, at age nineteen the compassionate young man resolved to become a monk (Bhikkhu) for life.
    Having made arrangements to ensure his mother’s welfare, the young man entered monkhood three years later, in July 1906 (BE 2449). At the age of twenty-two, he was ordained as Candasaro Bhikkhu at Wat Songpeenong, near his home. Phra Ajahn Dee of Wat Pratusarn, Supanburi, was his main Preceptor.
    The day after his ordination, Candasaro Bhikkhu began meditation practice and study of Pali scriptures in search of deeper and wider knowledge, he moved from Wat Song-peenong to Wat Bodhi (Wat Phra Chetupon Vimonmangkalaram) in Bangkok. There, he frequented the centers of meditation practice and Pali study.
    [​IMG]Soon, Luang Phor was recognized by his teachers, Phra Khru Yanavirati (Po) of Wat Bodhi and Phra Ajahn Singha of Wat Lakorn Tham, as an accomplished meditation instructor.
    During those early dry seasons, Luang Phor adopted Dhutangavatra, the Austere Practices for Purification such as wandering in solitude through the forest wilderness, staying in caves and practicing the Dhamma with piety.
    After ten years, Luang Phor set aside his informal study of the Pali Scriptures, having reached sufficiency to read the Mahasatipatthana Sutta. Thereafter he devoted himself totally to meditation practice.
    Luang Phor spent the next Buddhist Lent at Wat Bang Khoo Vieng, on Bangkok Noi Canal, where his benefactor, Phra Ajahn Choom, was the abbot. There, at nightfall on the full-moon day of September, in his twelfth year as a Bhikkhu, Luang Phor prepared himself for meditation in the uposatha. He invoked illumination and guidance, and made a vow dedicating his life to Buddhism. Luang Phor vowed not to rise from his seat in front of the Buddha statue until he was permitted to attain some understanding of the Dhamma as discerned by the Buddha.
    [​IMG]With his mind set and its components of vision, memory, thought and cognition all at rest at the center of his body, two “Anguli” (joints of the middle finger) above the navel, Luang Phor was able to penetrate the full depths of the Dhamma as it was revealed to and by the Buddha. That revelation of the Dhamma and ever more refined Dhammakayas (Dhamma bodies) was so profound that it was only possible when the mind was at rest at the body’s center. After lent, Luang Phor went to teach at Wat Bang Pla, where three monks and four laymen who followed his meditation procedure were also able to attain various degrees of insight. Thereafter, Luang Phor gradually became renowned throughout the land.
    Somdej Phra Vanarat, Head of Bhasicharoen Sangha District, spotted Luang Phor’s potential and requested him to assume the Abbotship of Wat Paknam Bhasicharoen. This was a neglected and deteriorating monastery erected five centuries earlier. Luang Phor wanted to decline this request, but he could not. With utmost patience and remarkable leadership, Luang Phor gradually rebuilt the monastery until it is today one of the largest and most important monasteries in the land. In 1949 (BE 2492), Luang Phor received the ecclesiastical rank of Phra Bhavanakosolthera. This was followed by the title Phra Mongkolrajmuni, and in 1957 (BE 2500) by the title Phra Mongkol-Thepmuni.

    Dhammakaya Meditation, the revelation of the Dhamma as attained by Luang Phor, was the heart of his teaching. His service to Buddhism can be seen from his regular routine:
    • Meditating day and night with Bhikkhus and Upasikas [nuns] in different sessions.
    • Leading Bhikkhus and Samaneras [novices] in the uposatha every morning and evening, paying homage to the Triple Gems and ending with a sermon.
    • Teaching public meditation practice every Thursday at 2:00 pm.
    • Delivering public sermons on holy days (Uposatha or Wan Phra) and Sundays.
    • Supervising the Pali Institute.
    Thus, Luang Phor devoted his time and effort almost exclusively to teaching meditation. His disciples multiplied into the thousands. It was not uncommon for revered bhikkhus in far corners of the country, who apparently never met Luang Phor, to know him well and to respect him as their mentor.
    His decease at the age of 75, on February 3, 1959 (BE 2502) was just a pause for the immortal master. His life should serve to remind other mortals to pursue their own obligations to the Noble Path carefully. Luang Phor’s teachings live on, manifesting the Ultimate Righteous Truth.





















    <HR>
    Written by Phra Bhavana-Kosolthera Veera Ganuttamo
    (Now Phrarajbrahmathera)
    Image Gallery

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)











    [​IMG]
    ชีวประวัิติสังเขป พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ

    [​IMG]


    ชาติภูมิ

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ องค์ปฐมบรมครูแห่งวิชชาธรรมกายในยุคปัจจุบัน เดิมชื่อ สด นามสกุล มีแก้วน้อย ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๒๗ ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายเงินและนางสุดใจ มีแก้วน้อย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา ๕ คน
    การศึกษาเมื่อเยาว์วัย
    ท่านเรียนหนังสือกับพระภิกษุน้าชายของท่าน ณ วัดสองพี่น้อง เมื่อพระภิกษุน้าชายลาสิกขาบทแล้ว ท่านก็ได้มาศึกษาอักษรสมัย ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ปรากฏว่าท่านเรียนได้ดีสมสมัย คือตั้งใจเรียนจริงๆ ไม่ยอมอยู่หลังใคร
    การอาชีพ
    เมื่อเสร็จการศึกษาแล้ว ออกจากวัดช่วยมารดาบิดาประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้าขาย โดยซื้อข้าวบรรทุกเรือล่องมาขายให้แก่โรงสีในกรุงเทพฯ บ้าง ที่นครชัยศรีบ้าง เมื่อสิ้นบุญบิดาแล้ว ได้รับหน้าที่ประกอบอาชีพสืบต่อมา เป็นคนรักงานและทำอะไรทำจริง ทั้งขยันขันแข็ง อาชีพการค้าจึงเจริญโดยลำดับ จนปรากฏในยุคนั้นว่า เป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง
    เมื่ออายุ ๑๙ ปี ระหว่างที่ทำการค้าอยู่นั้น ความคิดอันประกอบด้วยความเบื่อหน่ายเกิดแก่ท่าน โดยเกิดธรรมสังเวชขึ้นในใจว่า “การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมี ก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอาย ไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า” เมื่อได้โอกาส ท่านได้จุดธูปเทียนบูชาพระ อธิษฐานว่า “ขออย่าได้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต” ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ ๑๙ ปี หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์ เพื่อให้มารดาเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต
    อุปสมบท
    เดือนกรกฎาคม ๒๔๔๙ ต้นเดือน ๘ ขณะมีอายุย่างเข้า ๒๒ ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโร
    พระอาจารย์ดี วัดประตูศาล อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    และพระอาจารย์โหน่ง อินทสุวณโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ คู่สวดทั้งสองรูปอยู่วัดเดียวกัน คือวัดสองพี่น้อง
    [​IMG]
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านเริ่มปฏิบัติสมถวิปัสสนากับองค์อนุสาวนาจารย์นับแต่วันบวช เมื่อบวชแล้วพอรุ่งขึ้นอีกวัน หลวงพ่อก็เริ่มลงมือปฏิบัติพระกรรมฐานต่อกับพระอาจารย์เนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง ๑ พรรษา หลังจากออกพรรษาที่วัดสองพี่น้องแล้ว หลวงพ่อก็ได้เข้าพำนักประจำอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อแสวงหาความรู้ให้แตกฉานกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ
    สิบปีผ่านไปนับแต่หลวงพ่อเริ่มบวช ท่านมีความรู้ภาษาบาลีแตกฉานพอที่จะอ่านมหาสติปัฏฐานสูตรในคัมภีร์บาลีได้สมความตั้งใจแล้ว ท่านจึงวางธุระการศึกษาฝ่ายภาษาบาลีลง และใช้เวลากับวิปัสสนาธุระ เพื่อการเจริญพระกรรมฐานโดยเต็มที่
    บรรลุธรรมกาย
    ย่างเข้าพรรษาที่ ๑๒ ของท่าน ประมาณปี พ.ศ.๒๔๖๐ เมื่อหลวงพ่อได้กำหนดใจที่จะปฏิบัติสมถวิปัสสนาอย่างเต็มที่แล้ว ท่านได้กราบลาเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ ไปจำพรรษาที่ ๑๒ ณ วัดโบสถ์ (บน) บางคูเวียง ริมคลองบางกอกน้อย นนทบุรี อันเป็นสถานที่สงบวิเวก
    ท่านได้อยู่ประจำ ณ พระอุโบสถวัดโบสถ์ บางคูเวียง และปฏิบัติธรรมตลอดเวลาที่อำนวย จากเช้าตลอดค่ำคืน ครั้นย่างกึ่งพรรษา ท่านก็ได้ตรึกนึกถึงความตั้งใจครั้งแรกเมื่อได้ขอบวชจนตลอดชีวิต เวลาก็ล่วงมาถึง ๑๔ ปี บวชเป็นพรรษาที่ ๑๒ แล้ว ท่านยังไม่บรรลุ ยังไม่เห็นธรรม ดังที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาท่านได้ทรงตรัสรู้และทรงเห็นเลย ท่านจึงเริ่มกำหนดใจว่า จะเจริญพระกรรมฐานโดยสุดกำลังในครั้งนี้ แม้จะตายระหว่างปฏิบัติพระกรรมฐานก็จะยอม ด้วยมีค่ามากกว่าตายก่อนบวช หรือไม่ได้ปฏิบัติภาวนาเลย
    ท่านตั้งใจเด็ดขาดแล้วก็เข้าสู่พระอุโบสถวัดโบสถ์ บางคูเวียง แต่เย็นวันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ตั้งสัจจาธิษฐานมั่นคงมอบกายถวายชีวิตเพื่อพระรัตนตรัยอันประเสริฐสุดว่า เมื่อนั่งลงแล้ว หากมิได้บรรลุธรรม ดังที่พระพุทธองค์ทรงเห็นทรงตรัสรู้แล้ว ก็จะไม่ขอลุกขึ้นจากที่อีกจนตลอดชีวิต เมื่อใจท่านตั้งมั่นแล้ว ก็เริ่มปรารภนั่ง และกราบทูลอาราธนาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงโปรดประทานธรรมที่พระองค์ทรงเห็น ทรงตรัสรู้ แม้เพียงส่วนน้อยที่สุด ซึ่งแม้นหากการบรรลุธรรมนั้นแล้วจะเป็นโทษแก่พระศาสนา ก็ขออย่าได้ทรงประทานเถิด ท่านจะรับเป็นทนายแก้ต่างพระศาสนาต่อไปจนตลอดชีวิต
    เมื่อได้อธิษฐานในยอมสละชีวิตเป็นพุทธบูชาแล้ว ท่านก็ขัดสมาธิเข้าที่นั่งเจริญภาวนาพระกรรมฐาน เวลาผ่านไปจนดึก ใจของท่านหยุดสงบนิ่ง ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ เข้ามารวมหยุดที่จุดเดียวกัน ณ ศูนย์กลางกาย ได้ส่วนพอดีแล้ว ท่านได้เห็น ดวงปฐมมรรค หรือ ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอันเป็นดวงกลมโตใสบริสุทธิ์ ขนาดฟองไข่แดงของไก่ ที่ศูนย์กลางกาย ดวงยิ่งใสสว่างมากขึ้นและใหญ่ขนาดดวงอาทิตย์ สุกใสสว่างยิ่งนัก ได้เห็นดังนั้นแล้ว ท่านจำต้องตรึกว่า สมควรจะทำอย่างไรต่อไปอีก
    ขณะนั้น ท่านได้มาถึงจุดแห่งการเริ่มค้นพบพระสัทธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทางสายเอกสายเดียวสู่มรรคผลนิพพานแล้ว ในระหว่างที่ได้หยุดใจนิ่ง พิจารณาดวงปฐมมรรคนั้น ท่านใจบันดาลตรึกถึง มัชฌิมาปฏิปทาสายกลางขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา ที่ศูนย์กลางกลมใสสว่างนั้นปรากฏมีจุดเล็กเรืองแสงสว่างไสวยิ่งกว่า ท่านจึงได้เลือกดำเนินตามทางสายกลางและทุ่มความรู้สึกทั้งหมดเข้าไว้ในจุดศูนย์กลางดวงทันที จุดนั้นก็ขยายขึ้นมาแทนที่ดวงเดิมซึ่งหายไป ท่านจึงได้รวมความเห็น จำ คิด รู้ ดิ่งเข้าไปในกลางของกลางต่อไปอีก โดยอาการฉะนี้ ท่านก็ได้เห็นดวงเก่าหายไป มีดวงสุกใสยิ่งขึ้นหยุดจากศูนย์กลางกายนั้นขึ้นมาแทนที่ ประดุจฟองอากาศผุดจากน้ำขึ้นมาแทนที่กัน โดยต่อเนื่องไม่ขาดสายและยิ่งใสสว่างขึ้น
    โดยการหยุดในหยุดและเข้ากลางของกลางนี้ ท่านก็ได้เห็นดวงต่างๆ และกายผุดขึ้นมาโดยต่อเนื่องกันคือเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ และจึงเห็นกายมนุษย์ละเอียด ท่านเมื่อได้ทุ่มความรู้สึกเข้าไปในกลางของกลางต่อไปอีก ก็เห็นดวงทั้ง ๖ และกายของกายที่ละเอียดยิ่งขึ้น ปรากฏขึ้นมาเป็นลำดับในเบื้องต้นนั้นทั้ง ๑๘ กาย ได้แก่ กายในภพสามนี้ ๘ กาย คือ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม และกายอรูปพรหมละเอียด และกายที่พ้นภพสามหรือกายโลกุตตระ ๑๐ กาย คือ กายธรรม กายธรรมละเอียด กายพระโสดา กายพระโสดาละเอียด กายพระสกทาคา กายพระสกทาคาละเอียด กายพระอนาคา กายพระอนาคาละเอียด กายพระอรหัต และกายพระอรหัตละเอียด
    กายธรรม หรือ ธรรมกาย และกายโลกุตตระอื่นดังกล่าว ปรากฏขึ้นที่ศูนย์กลางกายของท่านนั้น เป็นองค์พระปฏิมาเกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์ยิ่งกว่าอัญมณีใดๆ งดงามหาที่ติมิได้ กายโลกุตตระล้วนเป็นกายที่ละเอียดยิ่งนัก และพ้นจากอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ เป็นวิสังขารแห่งความสุขที่แท้จริง
    ธรรมและของจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งหลวงพ่อได้ค้นพบ ได้รู้ ได้เห็น และเป็นในคืนวันเพ็ญสำคัญนี้ลึกซึ้งถึงปานนี้ เกินวิสัยของบุคคลจะคาดคิดคะเน แม้ใครยังตรึกนึกคิดอยู่ก็เข้าไม่ถึง หลวงพ่อได้สอนไว้ในภายหลังว่า “ที่จะเข้าถึงต้องทำให้รู้ตรึก รู้นึก รู้คิดนั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด ตรองดูเถิด ท่านทั้งหลาย นี้เป็นจริง หัวต่อมีเป็นอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้ก็ไม่มี ไม่เป็นเด็ดขาด
    การค้นพบได้รู้ได้เห็นได้เป็นพระสัทธรรมของท่านในคืนวันเพ็ญนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกต้องแท้จริงให้หลวงพ่อปฏิบัติแสวงหาที่สุดแห่งธรรม ท่านตรึกใจดิ่งลึกลงไปที่ศูนย์กลางกายธรรมที่สุดละเอียดอยู่ตลอดเวลา นับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมิได้มีการถอยกลับและหยุดยั้งอีกเลย ท่านยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งลึกซึ้งขึ้นทุกที
    เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    [​IMG]
    กลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าครั้งนั้นเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต เผื่อน ติสสทัตตมหาเถระ วัดพระเชตุพนฯ พระอาจารย์องค์หนึ่งของท่าน ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณพระศากยยุตติวงศ์ เจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ เล็งเห็นความเป็นผู้นำของหลวงพ่อ ซึ่งครั้งนั้นเป็นพระฐานานุกรมที่พระสมุห์สด จนฺทสโร เจ้าประคุณได้มอบหมายท่านให้จำต้องยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ ซึ่งเป็นพระอารามหลวงเก่าแก่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และในขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก เป็นกึ่งวัดร้าง มีพระประจำวัดอยู่เพียงสิบสามรูป
    [​IMG]
    ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ ตรงกับ ร.ศ.๑๔๐ เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระครูสมุห์สด จนฺทสโรก็ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูสมณธรรมสมาทาน ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ด้วยความเป็นผู้นำอย่างเยี่ยมยอดและความอดทนอย่างยิ่งยวด หลวงพ่อก็ได้ทำนุบำรุงวัดปากน้ำภาษีเจริญขึ้นใหม่จนเป็นอารามหลวงที่สำคัญและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง มีพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาที่อยู่ในความอุปการะของท่านที่วัดในระยะนั้นจำนวนเป็นร้อยเป็นพัน มีทั้งพระสงฆ์จากต่างประเทศ เช่นจากประเทศอังกฤษ มาบวชเรียนกับหลวงพ่อ สมจริงแล้วดังปณิธานของท่านที่ตั้งใจไว้ว่า “บรรพชิตที่ยังไม่มาขอให้มา ที่มาอยู่แล้ว ขอให้เป็นสุข
    ลุสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในปี พ.ศ.๒๔๙๐ อันเป็นปีที่ ๒ แห่งรัชกาล ท่านได้รับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๒ ได้รับพระราชทานตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระภาวนาโกศลเถร และอีกสองปีภายหลัง ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเสมอพระราชาคณะเปรียญ ถึงปี พ.ศ.๒๔๙๘ ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระมงคลราชมุนี ในปีฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พ.ศ.๒๕๐๐ ตรงกับ ร.ศ.๑๗๖ เป็นปีที่ ๑๒ แห่งรัชกาลปัจจุบัน ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพมีพระราชทินนามว่า พระมงคลเทพมุนี นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    ธรรมปฏิบัติวิชชาธรรมกาย
    [​IMG]
    วิชชาธรรมกาย ดังที่หลวงพ่อได้บรรลุ รู้ เห็น และเป็น นั้น ลึกซึ้ง คมกล้า ทางค่า ทรงคุณ และหิตานุหิตประโยชน์ใหญ่หลวงที่สุด วิชชาธรรมกายนี้แม้นดำรงอยู่ครั้งพุทธกาลและสืบทอดกันมาอีกระยะหนึ่ง แต่ก็ว่างเว้นไป มิได้มีผู้สอนวิชชานี้อีกนับเป็นระยะเวลายาวนาน จวบจนถึงสมัยที่หลวงพ่อได้บรรลุและนำมาเผยแผ่สอนใหม่ ให้มีผู้เข้าถึง รู้ เห็น และเป็น สืบพระพุทธศาสนากันต่อๆ ไปอีก อย่างถูกต้องโดยสัมมาทิฏฐิ ตรงตามความเป็นจริงและสัมฤทธิ์ผลโดยกว้างขวาง ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติจนเห็นธรรมนั้นย่อมจักต้องเห็นพระพุทธเจ้า ด้วยว่าธรรมกายนั้นคือพระพุทธเจ้า ผู้ใดเห็นพระพุทธเจ้าคือธรรมกาย ย่อมเห็นธรรม ตรงตามพระพุทธพจน์ว่า “โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ - ดูกรวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม” และดังพระพุทธพจน์ว่า “ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐ เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ - ดูกรวาเสฏฐะ ธรรมกายนี้เป็นชื่อของตถาคต” วิชชาธรรมกายจึงเป็นหัวใจของการสอนและปฏิปทาที่หลวงพ่ออุทิศให้แก่พระพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้ในวัตรปฏิบัติของท่านปรากฏเป็นจริยา
    [​IMG]
    ท่านจะดูแลกำกับการเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูงที่กระทำโดยต่อเนื่องนั้นอย่างใกล้ชิดมาก โดยอำนาจแห่งพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณประกอบกับเหตุปัจจัย ธรรมย่อมปราบอธรรมลงเสียได้ การกำจัดทุกข์ภัยไข้เจ็บ ของชนผู้สมาทานศีลอยู่ในธรรมย่อมจะพออยู่ในวิสัย การเจริญวิชชาธรรมกายนั้น จึงเป็นกิจเพื่อการปราบทุกข์เข็ญและยังสันติสุขให้งอกงามไพบูลย์จริง การประชุมกระแสจิตที่บริสุทธิ์อันแรงกล้าด้วยการเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูง จึงกระทำเพื่อช่วยผดุงชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และทวยราษฎร์ในทศพิธราชธรรมอันบริสุทธิ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    การเจริญวิชชานี้ดำเนินไปต่อเนื่องเป็นที่น่าอัศจรรย์ แม้ในภาวะมหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระเบิดตกลงมาลูกแล้วลูกเล่า เพื่อทำลายจุดยุทธศาสตร์ เช่น สะพานพุทธ บริเวณใกล้เคียงวัดปากน้ำ แต่หลวงพ่อและคณะศิษย์ผู้เจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูงมิได้ปลีกออกจากวัดเพื่อหลบภัยนั้นเลย ท่านกลับยิ่งเด็ดเดี่ยวกวดขันบัญชาการเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูงที่ห้องภาวนาที่ท่านเรียกใช้คำง่ายๆ ว่า โรงงาน นั้น ให้เร็วและแรงขึ้น และประเทศชาติก็ผ่านพ้นมหาภัยสงครามนั้นมาได้ด้วยดี
    หลวงพ่อของปวงชน
    การสั่งสอนและสืบบวรพระพุทธศาสนาของหลวงพ่อนั้น ท่านอุทิศให้หมดด้วยทั้งกาย วาจา ใจ เราย่อมสัมผัสได้ถึงความใสบริสุทธิ์ของกระแสธรรมเทศนาและปฏิปทาของท่านนี้ เป็นกระแสแห่งความสงบ สุข ร่มเย็น อบอุ่น ทรงพลังลึกซึ้ง หยั่งเข้าถึงใจจากองค์พระสมณะ ผู้พึงกราบสักการบูชา
    [​IMG]
    หลวงพ่อจะให้ความอุปการะแก่ผู้สมควรได้รับเสมอ ซึ่งท่านได้สอนถึงการอุปการะนี้ว่า “เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เมื่อกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์แล้ว ย่อมมีสิทธิใช้มรดกของพระพุทธเจ้าได้ และใช้ได้จนตลอดชาติ ถ้าไม่บริสุทธิ์แล้ว แม้จะเอาไปใช้ก็ไม่ถาวรเท่าไร” ความใจดี มีเมตตากรุณาอันเป็นธรรมค้ำจุนโลก ดังที่ท่านเจริญโดยตลอดเวลา ซึ่งเห็นและสัมผัสโดยง่ายนั้นเป็นอัธยาศัยหนึ่งที่คนทั้งหลายบูชาท่านนัก
    มรณภาพ
    หลวงพ่อถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.๒๕๐๒ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ตึกมงคลจันทสร เมื่อท่านมีอายุย่าง ๗๕ โดยปี รวมพรรษาได้ ๕๓ พรรษา กาลนั้นเปรียบเสมือนการพักชั่วครูของอมตบุรพาจารย์ และย่อมเป็นเครื่องมือเตือนจิตสะกิดใจแก่คนทั้งหลายผู้วันหนึ่งกาลกิริยาจะมาถึง มิให้ประมาทและให้ขวนขวายทำหน้าที่ต่อตนเองและผู้อื่นในอริยมรรค คำสอนของหลวงพ่อจะยังคงดำรงอยู่ประกาศสัจจธรรมฝ่ายบุญฝ่ายสัมมาทิฐิ โดยส่วนเดียวสืบไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2010
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]<TABLE onclick="pageTracker._trackPageview ('/outgoing/http_www_dhammakaya_org');" target="_blank" href="http://www.dhammakaya.org" <TBODY images hp_header.jpg);?><TBODY><TR height=48><TD height=84></TD><TD align=right><SCRIPT language=JavaScript type=text/JavaScript>var mm0 = new TMainMenu('mm0','horizontal');var pmMenu = new TPopMenu('เว็บเมนู','0','','','menu');var pmHome = new TPopMenu('หน้าแรก','','a','http://www.dhammakaya.org/','');var pmWat = new TPopMenu('วัดหลวงพ่อสดฯ','','','',''); var pmWindex = new TPopMenu('หน้าแรก','','a','http://www.dhammakaya.org/wat/',''); var pmContact = new TPopMenu('ติดต่อวัด','','a','http://www.dhammakaya.org/wat/wat_contact.php',''); var pmDonate = new TPopMenu('บัญชีรับโอนเงิน','','a','http://www.dhammakaya.org/wat/wat_donate.php',''); var pmMap = new TPopMenu('แผนที่ไปวัด','','a','http://www.dhammakaya.org/wat/wat_map.php','');var pmTeacher = new TPopMenu('บุพพาจารย์','','a','http://www.dhammakaya.org/teacher/','');var pmPractice = new TPopMenu('ธรรมปฏิบัติ','','','',''); var pmDhmk = new TPopMenu('ธรรมกาย','','a','http://www.dhammakaya.org/dhmk/',''); var pmVijja = new TPopMenu('วิชชาธรรมกาย','','a','http://www.dhammakaya.org/vijja/',''); var pmMeditate = new TPopMenu('ภาวนาเบื้องต้น','','a','http://www.dhammakaya.org/meditate/',''); var pmDhmq = new TPopMenu('ตอบปัญหาธรรม','','a','http://www.dhammakaya.org/dhmq/',''); var pmExpr = new TPopMenu('ประสบการณ์ผู้ปฏิบัติ','','a','http://www.dhammakaya.org/expr/','');var pmDhamma = new TPopMenu('ธรรมะ','','','',''); var pmDindex = new TPopMenu('หน้าแรก','','a','http://www.dhammakaya.org/dhamma/',''); var pmTesna = new TPopMenu('ธรรมเทศนา','','a','http://www.dhammakaya.org/dhamma/tesna/',''); var pmLecture = new TPopMenu('ปาฐกถาธรรม','','a','http://www.dhammakaya.org/dhamma/lecture/',''); var pmWma = new TPopMenu('เสียงธรรม','','a','http://www.dhammakaya.org/wma/',''); var pmMedia = new TPopMenu('สื่อธรรม','','','',''); var pmPoem = new TPopMenu('ร้อยคำธรรมกวี','','a','http://www.dhammakaya.org/dhamma/poem.php','');var pmNews = new TPopMenu('ข่าว กิจกรรม','','','',''); var pmNewsA = new TPopMenu('ข่าว','','a','http://www.dhammakaya.org/news/',''); var pmActv = new TPopMenu('กิจกรรม','','a','http://www.dhammakaya.org/activities/',''); var pmInterv = new TPopMenu('สัมภาษณ์','','a','http://www.dhammakaya.org/interview/',''); var pmFeedb = new TPopMenu('เสียงสะท้อน','','a','http://www.dhammakaya.org/news/feedback.php','');var pmSite = new TPopMenu('เว็บ','','','',''); var pmGuestb = new TPopMenu('สมุดเยี่ยม','','a','http://www.dhammakaya.org/guestb/',''); var pmForum = new TPopMenu('เว็บบอร์ด','','a','http://www.dhammakaya.org/forum/',''); var pmDownload = new TPopMenu('ดาวน์โหลด','','a','http://www.dhammakaya.org/download/',''); var pmFaq = new TPopMenu('คำถามที่ถามบ่อย','','a','http://www.dhammakaya.org/site/faq.php',''); var pmContact = new TPopMenu('ติดต่อ','','a','http://www.dhammakaya.org/site/mailform.php',''); var pmEmail = new TPopMenu('Email','','a','mailto:info@dhammakaya.org',''); var pmEmail = new TPopMenu('เว็บภาษาอังกฤษ','','a','http://en.dhammakaya.org/','');mm0.Add(pmMenu);pmMenu.Add(pmHome);pmMenu.Add(pmWat); pmWat.Add(pmWindex); pmWat.Add(pmContact); pmWat.Add(pmDonate); pmWat.Add(pmMap);pmMenu.Add(pmTeacher);pmMenu.Add(pmPractice); pmPractice.Add(pmDhmk); pmPractice.Add(pmVijja); pmPractice.Add(pmMeditate); pmPractice.Add(pmDhmq); pmPractice.Add(pmExpr);pmMenu.Add(pmDhamma); pmDhamma.Add(pmDindex); pmDhamma.Add(pmTesna); pmDhamma.Add(pmLecture); pmDhamma.Add(pmWma); pmDhamma.Add(pmMedia); pmDhamma.Add(pmPoem);pmMenu.Add(pmNews); pmNews.Add(pmNewsA); pmNews.Add(pmActv); pmNews.Add(pmInterv); pmNews.Add(pmFeedb);pmMenu.Add(pmSite); pmSite.Add(pmGuestb); pmSite.Add(pmForum); pmSite.Add(pmDownload); pmSite.Add(pmFaq); pmSite.Add(pmContact); pmSite.Add(pmEmail);mm0.SetPosition('absolute',690,55);if(_browser._name == "Konqueror"){ mm0.SetCorrection(11,10); mm0._pop.SetCorrection(3,-20);}else{ mm0.SetCorrection(1,-1); mm0._pop.SetCorrection(3,0);}mm0.SetCellSpacing(0);mm0.SetItemDimension(80,20);mm0.SetExpandIcon(true,'','6');mm0.SetBackground('#CC66FF','','','');//mm0.SetShadow(true,'#B0B0B0',3);mm0.SetItemText('#CC66CC','right','','','');mm0.SetItemBackground('#FFFFFF','','','');mm0.SetItemBorder(0,'buttonface','solid');mm0.SetItemTextHL('white','center','','','');mm0.SetItemBackgroundHL('','','','');mm0.SetItemBorderHL(0,'black','solid');mm0.SetItemTextClick('#990000','center','','','');mm0.SetItemBackgroundClick('white','','','');mm0.SetItemBorderClick(0,'black','solid');mm0.SetBorder(0,'navy','solid');mm0._pop.SetItemDimension(120,20);mm0._pop.SetPaddings(0);mm0._pop.SetBackground('#FFFFCC','','','');mm0._pop.SetSeparator(150,'right','black','');//mm0._pop.SetExpandIcon(true,'<+>',6);mm0._pop.SetBorder(0,'black','solid');mm0._pop.SetShadow(true,'#AAAAAA',5);mm0._pop.SetDelay(500);mm0._pop.SetItemBorder(0,'','');mm0._pop.SetItemBorderHL(0,'black','solid');mm0._pop.SetItemPaddings(1);mm0._pop.SetItemPaddingsHL(1);mm0._pop.SetItemText('black','','','','');mm0._pop.SetItemTextHL('red','','bold','','');mm0._pop.SetItemBackground('','','','');mm0._pop.SetItemBackgroundHL('#FFCC00','','','');mm0._pop.SetBorderRight(1,'black','solid');mm0._pop.SetBorderBottom(1,'black','solid');mm0.Build();</SCRIPT>


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=777 align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG] ศูนย์กลางกาย

    [​IMG]

    ศูนย์กลางกายของมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลาย มีอะไร


    ที่ศูนย์กลางกาย ตรงระดับสะดือของสัตว์โลกทั้งหลาย คือ มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม นั้น เป็นที่ตั้งของ
    ธรรมชาติเหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่เองตามธรรมดา เมื่อจิตตั้งมั่น เป็นสมาธิ ย่อมสามารถรู้เห็นสิ่งเหล่านี้ได้ ดังพุทธดำรัสที่ว่า “เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง - สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ”
    [​IMG]
    ลักษณะของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย


    (ดวงปฐมมรรค)
    <TABLE style="VERTICAL-ALIGN: top" border=0 width="37%"><TBODY><TR><TD width="8%" align=left></TD><TD width="60%" align=left>
    ๑. ศูนย์ด้านหน้า​





    ๒. ศูนย์ด้านขวา​




    ๓. ศูนย์ด้านหลัง​




    ๔. ศูนย์ด้านซ้าย​




    ๕. ศูนย์กลาง​




    ๖. ศูนย์กลางของอากาศธาตุ ​


    </TD><TD width="32%" align=left>ธาตุน้ำ

    ธาตุดิน
    ธาตุไฟ
    ธาตุลม
    อากาศธาตุ
    วิญญาณธาตุ ​



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย


    สัตว์โลก ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ ทิพย์ (เทวดา) พรหม อรูปพรหม นั้น มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอยู่ มีลักษณะขาวใสบริสุทธิ์ ตามระดับความบริสุทธิ์ของจิตใจ <DL><DT>ขนาดของดวงธรรม
    เนื่องจากดวงธรรมของสัตว์โลกในระดับโลกิยะ ยังถูกอวิชชาห่อหุ้มอยู่ ดวงธรรมจึงยังไม่ขยายโตเต็มส่วน เต็มที่ ซึ่งตรงกันข้ามกับธรรมกาย ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายของธรรมกายนั้นขยายโตเต็มส่วน ปรากฏเห็นอยู่โดยรอบองค์ธรรมกาย เหมือนองค์ธรรมกายประทับนั่งอยู่ในดวงแก้วดวงใหญ่

    </DT></DL>
    ธาตุละเอียดทั้ง


    ธาตุละเอียดทั้ง ๖ นั้นก็ตั้งอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    • ธาตุละเอียดทั้ง ๖ ได้แก่ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ

    • ธาตุน้ำอยู่ด้านหน้า ธาตุดินอยู่ด้านขวา ธาตุไฟอยู่ด้านหลัง ธาตุลมอยู่ด้านซ้าย อากาศธาตุอยู่ตรงกลาง วิญญาณธาตุอยู่ตรงศูนย์กลางอากาศอีกทีหนึ่ง
    • ที่ศูนย์กลางของวิญญาณธาตุนั้น ก็ยังมีธาตุละเอียดของนามขันธ์ ๔ และธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด และ ธาตุรู้ ก็ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางซึ่งกันและกันเป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างในอีก
    • และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และ ดวงรู้ อันเป็นธรรมชาติรวม (๔ อย่าง) ของ “ใจ” ธรรมชาติ ๔ อย่างคือ เห็น จำ คิด รู้ นี้แหละที่ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ ๔ คือ เวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์) สัญญา (ความจำ) สังขาร(ความคิดปรุงแต่ง) และ วิญญาณ (ความรู้อารมณ์)
    ก็หมายความว่า กายในกาย ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดกายหยาบกายละเอียดนั้น ต่างก็เป็นกายที่มีชีวิตจิตใจ อีกด้วยนั่นเอง
    ธรรมชาติ ๓ ฝ่าย

    ธาตุทั้ง ๖ นั้น ยังเป็นที่ตั้งของ “ธรรม” คือ ธรรมชาติ ๓ ฝ่าย ได้แก่
    1. ธรรมชาติฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา) หรือ ฝ่ายดี ฝ่ายพระ หรือธรรมขาว ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส ดลจิตใจของสัตว์โลกให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทางกาย วาจาและใจ และให้ผลที่เป็นความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข
    2. ธรรมชาติฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) หรือฝ่ายชั่ว ฝ่ายมาร หรือธรรมดำ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่มัวหมอง

    1. ดลจิตใจของสัตว์โลกให้ประพฤติผิด รู้ผิด คิดผิด เห็นผิด ด้วยกาย วาจา และใจ และให้ผลเป็นความทุกข์เดือดร้อน​
    2. ธรรมชาติฝ่ายกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว (อัพยากตาธัมมา)
    ธรรมชาติทั้ง ๓ ฝ่ายนี้ต่างคอยเอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น ฯลฯ อยู่ในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของสัตว์ ให้ปฏิบัติตามอำนาจของแต่ละฝ่ายนั้น และปรุงแต่งสัตว์นั้นให้ดี เลว ประณีต หยาบ ละเอียด เป็นสุข เป็นทุกข์ ต่างๆ กันไปตามกรรม ตามธรรมชาติแต่ละฝ่ายดังกล่าว ที่ทำหน้าที่เป็นเหตุนำ เหตุหนุน อยู่ในธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ของสัตว์นั้นๆ <TABLE style="COLOR: #6666ff" border=2 cellSpacing=0 borderColor=#ccffcc cellPadding=0 width="44%" align=center><COLGROUP><COL align=middle width="33%"><COL align=middle bgColor=#b8b8b8 width="33%"><COL align=middle bgColor=#333333 width="33%"><TBODY><TR><TD>ดี</TD><TD>ไม่ดีไม่ชั่ว</TD><TD>ชั่ว</TD></TR><TR><TD>บุญ</TD><TD>กลางๆ</TD><TD>บาป</TD></TR><TR><TD>กุศล</TD><TD>อัพยากต</TD><TD>อกุศล</TD></TR><TR><TD>ธรรมขาว</TD><TD>ธรรมกลาง</TD><TD>ธรรมดำ</TD></TR><TR><TD>ภาคพระ</TD><TD>ภาคกลางๆ</TD><TD>ภาคมาร</TD></TR></TBODY></TABLE>ภพซ้อนภพ
    1. กายในกาย และธรรมในธรรม ณ ภายใน ที่มีศูนย์กลางกายตรงกัน ซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปจนสุดละเอียดนั้น จัดเป็น ภพเป็น ซึ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นปัจจุบันธรรม
    2. ส่วนมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก อันเป็นที่อยู่ ที่รองรับ ของ มนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก เทวดา พรหม ที่ประกอบด้วยพื้นดิน หิน บ้าง เป็นสถานที่มีวิมานอันเป็นทิพย์บ้าง เป็นต้นนั้น เป็นภพหยาบ เรียกว่า ภพตาย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2010
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]



    [​IMG]

    พระธรรมกาย
    [​IMG]

    “คมฺภีโรจายํ ธมฺโม ทุทฺทโส ทุรนุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย”
    “ธรรมนี้เป็นสภาพลึก เห็นได้ยาก ตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต คิดเดาด้วยเหตุผลธรรมดาไม่ได้ [หยั่งไม่ได้ด้วยตรรกะ] เป็นธรรมละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตเท่านั้นที่จะถึงรู้ได้” - พุทธภาษิต
    ธรรมกายคืออะไร
    ธรรมกาย คือกายในกายที่สุดละเอียดของสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม เป็นกายโลกุตตระ(คือพ้นโลก) พ้นจากกายในกายอันเป็นโลกิยะ (กายมนุษย์หยาบ-ละเอียด กายทิพย์หยาบ-ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ-ละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ-ละเอียด)
    ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนี้เอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน ของพระอรหันตสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
    พระพุทธลักษณะของธรรมกาย
    ผู้ที่ได้ปฏิบัติภาวนาธรรมจนได้เข้าถึง ได้รู้ ได้เห็นและได้เป็น ทุกท่าน ต่างเห็นพระธรรมกายมีพระพุทธลักษณะดังต่อไปนี้

    • ลักษณะเหมือนพระพุทธปฏิมาเกตุดอกบัวตูม
    • ขาวใส บริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งนัก
    • ครองจีวรม้วนลูกบวบเข้าใน คือม้วนขวาเท่านั้น ไม่ม้วนซ้าย
    • ประทับนั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย นิ้วชี้พระหัตถ์ขวาแตะนิ้วหัวแม่มือพระหัตถ์ซ้าย
    • ประทับอยู่บนองค์ฌาน มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ขาว ใส หนาประมาณ ๑ ฝ่ามือของธรรมกาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย อยู่โดยรอบ จึงเห็นเหมือนพระธรรมกายประทับนั่งอยู่ในดวงแก้วดวงใหญ่ ซึ่งต่างจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายโลกิยะ (กายของมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม)
    (สำหรับผู้ที่กำลังของสมาธิยังไม่มั่นคงพอ หรือความบริสุทธิ์ของใจในขณะนั้นยังไม่ละเอียดดีพอ อาจเห็นมีลักษณะที่คลาดเคลื่อนไปได้ เช่น เห็นพระธรรมกายห่มดองมีผ้ารัดอกด้วย เป็นต้น)
    รัตนบัลลังก์
    ในอายตนะนิพพาน อันเป็นที่ประทับอยู่ของธรรมกายธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผล คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ที่ทรงสภาวะนิพพานนั้น มีทั้งธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก ประทับอยู่
    ธรรมกายตรัสรู้ของพระอรหันตสาวกทั้งหลายคงประทับ อยู่บนองค์ฌาน เฉยๆ
    เฉพาะธรรมกายตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ล้วนประทับ อยู่บนรัตนบัลลังก์ อีกทีหนึ่ง ธรรมกาย มีหยาบมีละเอียดไปจนสุดละเอียด
    แม้จะเป็นธรรมกายเหมือนกัน เป็นกายโลกุตตระเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีหยาบละเอียด ขึ้นอยู่กับระดับความบริสุทธิ์ มีประเภทดังนี้

    1. ธรรมกายโคตรภู สำหรับผู้ได้โคตรภูญาณ มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ๔ วาครึ่ง
    2. ธรรมกายพระโสดา มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๕ วาขึ้นไป
    3. ธรรมกายพระสกทาคา มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๑๐ วาขึ้นไป
    4. ธรรมกายพระอนาคามี มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด ๑๕ วาขึ้นไป
    5. ธรรมกายพระอรหัต หรือธรรมกายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านี้เอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะพระนิพพานนั้น มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรมขนาด ๒๐ วาขึ้นไป เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ (ตาย) แล้ว พระนิพพานธาตุอันเป็นอมตธรรมนี้น ย่อมสถิตยั่งยืนอยู่ในอายตนะนิพพาน เข้านิโรธสงบตลอดกันหมด เป็นบรมสุข
    สภาวะของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผล
    • ธรรมกายนั้นเป็น กายอันประเสริฐเพราะเป็นอมตธรรมที่เที่ยงและเป็นบรมสุข
    • ธรรมกายเป็นกายที่บริสุทธิ์ คือเป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน
    • ธรรมกาย มีชีวิตจิตใจ แต่ก็มีใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ คือไม่ใช่เบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์ เป็นวิสุทธิขันธ์
    • ธรรมกาย ปราศจากตัณหาราคะใดๆ (วิราคธาตุ-วิราคธรรม)
    • ธรรมกาย เป็นวิสังขารธรรม ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง พ้นจากความปรุงแต่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นความปรุงแต่งด้วยผลของ บาปอกุศล หรือ บุญกุศล (คือเป็นอสังขตธาตุ-อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร)
      จึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์หรือสามัญญลักษณะ คือลักษณะที่เสมอกันของสังขาร คือ ความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) ความเป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และความเป็นของไม่ใช่ตน (อนตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน ที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (วิสังขาร) จึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแปรผันไปตามเหตุปัจจัยดังสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งเขาเป็นกัน นี้เอง ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว จึงมีสภาวะที่ตรงกันข้ามกับสังขาร โดยเหตุนี้จึงเป็นกายที่เที่ยง (นิจฺจํ) เป็นสุข (สุขํ) และเป็นกายที่เป็นตัวตนที่แท้จริง (โลกุตฺตรอตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุเป็นธรรมเป็น คือเป็น กายที่มีชีวิตจิตใจ แต่ก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ อย่างสัตว์โลกทั้งหลาย ซ้อนอยู่ในที่สุดละเอียด ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ณศูนย์กลางกายของสัตว์โลกทั้งหลาย
    • ธรรมกาย เป็น อมตธรรม คือธรรมที่ไม่ตาย จึงไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ และตาย อีก
    • ธรรมกาย มีความสุขที่เหนือความสุขทางโลกทั้งสิ้น ดังพระพุทธพจน์ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ - นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่สุขในนิพพานก็ไม่ใช่สุขเวทนาอย่างชาวโลก
    • ธรรมกาย เป็นกายที่ประมวลความบริสุทธิ์ ๓ ประการเข้าไว้ คือ
      • กายและหัวใจ เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก เป็น ปฐมมรรค [พระวินัยกลั่นออกมาเป็นกายและหัวใจ]
      • ดวงจิต เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระสุตตันตปิฎก เป็น มรรคจิต [พระสูตรกลั่นออกมาเป็นดวงจิต]
      • ดวงปัญญาเป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมหรือพระปรมัตถปิฎก เป็นมรรคปัญญา [พระอภิธรรมกลั่นออกมาเป็นดวงปัญญา]

    ฐานะ ความสำคัญ ของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว
    • ธรรมกายเป็น กายในกาย ที่สุดละเอียด ของมนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลาย ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน (เที่ยงและเป็นบรมสุข) ไว้
    • พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “ธรรมกาย” เป็นชื่อของพระองค์ - อหํ ธมฺมกาโย อิติปิ ก็คือ พระองค์เป็นธรรมกาย นั่นเอง
    • ธรรมกายทำหน้าที่ตรัสรู้อริยสัจ ๔ (กรณีพระอรหันตสาวก) และตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (กรณีพระพุทธเจ้า)
      • ธรรมกายจึงเป็นพระพุทธรัตนะ
      • ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายคือพระธรรมรัตนะ
      • ธรรมกายที่ละเอียดๆ ทั้งหลาย คือ พระสังฆรัตนะ
    ความอุบัติขึ้นของ "ธรรมกาย" เป็นของยาก
    ความปรากฏขึ้นของ “ธรรมกาย” แก่สัตว์โลก เป็นเรื่องที่สัตว์โลกมีได้ด้วยยาก แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยที่สัตว์โลกจะทำได้ เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี หรือพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ก่อนแต่จะตรัสรู้ ได้บรรลุพระอรหัตตผลหรือพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย “พระธรรมกาย” นั้น ก็เริ่มตั้งแต่ความเป็นมนุษย์ปุถุชนมาก่อนเหมือนกัน





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2010
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    กายพระพุทธเจ้าจักรพรรดิ

    มีข้อสังเกตว่า เมื่อปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายชั้นสูงไปจนสุดละเอียด ในท่ามกลางธรรมกายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า (กินความรวมถึงกายอื่นที่หยาบรองลงมาจนสุดกายหยาบคือกายมนุษย์ด้วย) ยังมีกายในกายซ้อนอยู่ต่อไปอีก คือ กาย “พระพุทธเจ้าจักรพรรดิ” หรือเรียกว่า “จักรพรรดิ” เฉยๆ ซึ่งเป็นกายภาคผู้เลี้ยง และเป็นประธานของรัตนะ ๗ และกายสิทธิ์ทั้งหลาย มีลักษณะเหมือนพระธรรมกายโดยทั่วไป แต่ “ทรงเครื่อง” เหมือนพระทรงเครื่อง (อย่างเช่น พระแก้วมรกตทรงเครื่อง) ขาวใสบริสุทธิ์ยิ่งนักอีกเช่นกัน

     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2010
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    เขมาเขมสรณาคมน์
    ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) <TABLE style="COLOR: #666666" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="33%" align=center><TBODY><TR><TD width="58%">พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ</TD><TD width="42%">ปพฺพตานิ วนานิ จ</TD></TR><TR><TD>อารามรุกฺขเจตฺยานิ</TD><TD>มนุสฺสา ภยตชฺชิตา</TD></TR><TR><TD>เนตํ โข สรณํ เขมํ</TD><TD>เนตํ สรณมุตฺตมํ</TD></TR><TR><TD>เนตํ สรณมาคมฺม</TD><TD>สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ</TD></TR><TR><TD>โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ</TD><TD>สงฺฆญฺจ สรณํ คโต</TD></TR><TR><TD>จตฺตาริ อริยสจฺจานิ</TD><TD>สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ</TD><TD>ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ</TD></TR><TR><TD>อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ</TD><TD>ทุกฺขูปสมคามินํ</TD></TR><TR><TD>เอตํ โข สรณํ เขมํ</TD><TD>เอตํ สรณมุตฺตมํ</TD></TR><TR><TD>เอตํ สรณมาคมฺม</TD><TD>สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>


    เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง เขมาเขมสรณทีปิกคาถา วาจาเครื่องกล่าวแสดงซึ่ง ที่พึ่งอันเกษมและไม่เกษมทั้ง ๒ สองอย่าง จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย จะชี้แจงแสดงเป็นทางปริยัติ เป็นทางปฏิบัติ เป็นทางปฏิเวธ ให้เป็นเหตุสอดคล้องต้องด้วยพุทธศาสนา เริ่มต้นจะแสดงทางปริยัติก่อน ในตอนหลังจะได้แสดงทางปฏิบัติต่อไป แล้วปฏิเวธก็จะรู้คู่กันไปในทางปฏิบัติ พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า จงเงี่ยโสตทั้งสองรองรับรสพระสัทธรรมเทศนา ดังอาตมาจะได้ชี้แจงแสดง ต่อไป ณ บัดนี้
    เริ่มต้นแห่งวาระพระบาลีว่า พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ เป็นอาทิว่า มนุษย์เป็นอันมาก อันภัยคุกคามเข้าแล้ว ย่อมถึงภูเขาทั้งหลายบ้าง ถึงป่าทั้งหลายบ้าง ถึงอารามและต้นไม้และเจดีย์ทั้งหลายบ้างว่าเป็นที่พึ่ง เนตํ โข สรณํ เขมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันเกษมไม่ เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันอุดมไม่ เนตํ สรณมาคมฺม ถ้าอาศัยอันนั้นเป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหาหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้ไม่ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ใดถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า ว่าเป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ทุกฺขทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ มาเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบ ทุกฺขํ คือทุกข์ ทุกขสมุปฺปาทํ คือ ตัณหาเป็นแดนให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ คือ การก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ คือหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึก ทุกฺขูปสมคามินํ ให้ถึงพระนิพพาน เป็นที่สงบระงับทุกข์ เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่ง อันอุดม เอตํ สรณมาคมฺม มาถึงอันนี้เป็นที่พึ่งได้แล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา
    ต่อแต่นี้จะแสดงเป็นปริยัติเทศนา ในเขมาเขมสรณาคมน์ต่อไป ปริยัติเทศนาว่า มนุษย์เป็นอันมาก ไม่ใช่น้อย หมดทั้งสากลโลก ชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกาย มีเท่าไรที่เป็นมนุษย์หรือทิพย์ก็ช่าง หรือรูปพรหม อรูปพรหม ก็ช่าง เมื่อพากันมาฟังธรรมเทศนาแล้ว นั่นแหละก็อยู่ในพวกมนุษย์นั่นทั้งนั้น มีมากน้อยเท่าใด มนุษย์ทั้งหลายมากด้วยกัน ภยตชฺชิตา อันภัยคุกคามเข้าแล้ว เมื่อคุกคามเข้าเช่นนั้น แล้วทำไง บางพวกไปถึงภูเขาใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงป่าใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงอารามใหญ่ๆ เช่น เชตวนาราม หรืออารามใหญ่ๆ กว่านั้นก็ช่าง หรือเล็กกว่านั้นก็ช่าง ที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น อย่างวัดโสธรอย่างนี้ พอถึงวัดเข้าไหว้แล้ว แต่ว่าไหว้กลัวฤทธิ์กลัวเดชพระยามาร อ้ายที่มีฤทธิ์มีเดชอยู่ที่นั่น ไม่ใช่เคารพต่อพระพุทธเจ้าโดยตรง เคารพในฤทธิ์เดชของพระยามารมัน กลัวพระยามารมัน อารามหรือต้นไม้เป็นเจดีย์ บัดนี้ก็ยังปรากฏอยู่นั่นแน่ เจริญพาสน์นั่นแน่ ต้นมะขามใหญ่ นั่นแน่ ไปถึงก็ต้องไหว้เชียว ต้องไหว้ กลัว กลัวใครละ กลัวฤทธิ์พระยามาร มันมีฤทธิ์มีเดช มันสิงมันทรงได้ มันบอกไหว้นบเคารพเสีย มันให้ความสุขความเจริญ ถ้าว่าไม่ไหว้นบ เคารพ นบบูชาแล้ว ก็ลงโทษต่างๆ นานา กลัวมัน ต้องไหว้มันอย่างนี้ ไปถึงอาราม หรือ ต้นไม้ เจดีย์เช่นนั้นเข้าแล้ว ก็ต้องไหว้ กลัวต้องภัยได้ทุกข์ ถึงอ้ายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ว่าเป็น ที่พึ่งทีเดียว
    นั่นพระพุทธเจ้าปฏิเสธแล้ว เนตํ โข สรณํ เขมํ ภูเขาก็ดี ป่าก็ดี อารามก็ดี ต้นไม้ก็ดี นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันผ่องใส ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด หรืออันอุดม ไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดมอันสูงสุด เนตํ สรณมาคมฺม อาศัยอันนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว น ปมุจฺจติ สพฺพทุกฺขา ย่อมหาหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะต้องติดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ อยู่นี่เอง จนไปนิพพานไม่ได้ เพราะเข้าถึงที่พึ่งไม่ถูก พลาดไปเรื่องนี้ เราเห็นอยู่ต่อตาทั่วๆ กัน ในประเทศไทยนี่ อะไรต่อมิอะไรกันไขว่เชียว เพราะเหตุอะไร ? เพราะเหตุว่า ไม่รู้จัก พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ น่ะซี พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ไม่ได้อยู่เรี่ยราดเช่นนั้น พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ อยู่ในตัวทุกคน กายเป็นชั้นๆ เข้าไป กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด นั่นแน่ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ นั่นแน่ กายธรรม-กายธรรมละเอียด กายธรรม นั่นแหละเป็น พุทฺโธ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเป็น พุทฺโธ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม นั่นแหละ เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ดวงนั้นแหละเป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม กายธรรมละเอียดอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย แต่ว่าใหญ่กว่ากายธรรม นั่นแหละเรียกว่า สงฺโฆ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเรียกว่า สงฺโฆ ถ้าตัวจริงละก้อ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละเป็นตัวจริงที่เราจะถึง จะไปถึงสิ่งอื่นไม่ได้ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง หรือถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ นั้นว่าเป็นที่พึ่ง
    เมื่อถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ต้องเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบที่ถูก ไม่ให้ผิดจากอริยสัจธรรมทั้ง ๔ อริยสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นธรรมสำคัญในทางพระพุทธศาสนา แต่เราไม่เดียงสาทีเดียวว่าอะไรเป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เราไม่เดียงสาทีเดียว ไม่เดียงสาอย่างไร ? ทุกขสัจน่ะคืออะไรล่ะ ? ความเกิดน่ะซีเป็นทุกขสัจจะ สมุทัยสัจล่ะ เหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นสมุทัยสัจ นิโรธสัจล่ะ ความดับเหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นนิโรธสัจ มรรคสัจ ข้อปฏิบัติหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึกให้ถึงพระนิพพานที่เป็นที่สงบระงับนั่นแหละ เป็นมรรคสัจ นี้เป็นตัวสำคัญนัก วันนี้มุ่งมาดปรารถนาจะแสดงในทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ นี้ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะแสดงทางปริยัติก่อน แล้วจึงย้อนไปแสดงทางปฏิบัติให้เข้าเนื้อเข้าใจชัดว่า ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ น่ะ อยู่ที่ไหน อะไรให้รู้กันเสียที
    เมื่อเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นที่พึ่งดีเช่นนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงรับสั่ง เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม อันผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ นี่ท่านแสดงย่อย่นสกลพุทธศาสนา ธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นที่ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ คือ สัจธรรมทั้ง ๔ รู้จริงรู้แท้ทีเดียวในสัจธรรมทั้ง ๔ นี้ ถ้าไม่รู้จริงรู้แท้ในสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นพระอรหันต์ก็ไม่ได้ เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ เป็นไม่ได้ทีเดียว นี่ธรรมสำหรับทำให้เป็นพระพุทธเจ้าทีเดียว สัจธรรมทั้ง ๔ นะ เพราะฉะนั้นวันนี้เราควรฟัง ที่แสดงมาแล้วนี้เป็นทางปริยัติ
    ถ้าจะแสดงโดยปฏิบัติ ให้แน่ชัดลงไปแล้วละก็ ในสัจธรรม ๔ นี่น่ะคือใคร ถ้ารู้จักพระพุทธเจ้าเสียก่อน
    • พระพุทธเจ้าน่ะคือใครที่ไปเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ น่ะ เห็นด้วยพระสิทธัตถกุมารหรือด้วยตาของพระสิทธัตถราชกุมาร ความเห็น ความรู้ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? ไม่ใช่
    • หรือเห็นด้วยกายละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร กายที่นอนฝันออกไปน่ะ ? ไม่ใช่ ไม่ได้เห็นด้วยตานั้นกายนั้น
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? กายที่ฝันในฝันออกไปนะ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยกายนั้นเป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ได้
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ถึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ? ไม่ใช่ ไม่เห็น เช่นนั้น เพราะสัจธรรมนี่เห็นขั้นท้ายไม่ใช่เห็นขั้นต้น เห็นด้วยตากายรูปพรหมหรือรูปพรหม ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ? เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ? ไม่ใช่
    • เห็นด้วยตากายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร เป็นกายที่ ๗ ที่ ๘ กระนั้นหรือ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยตากายนั้น มันอยู่ในภพ มันทะลุหลุดสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ มันยังติดภพอยู่
    ท่านเห็นด้วยตาธรรมกาย ธรรมกายที่เป็นโคตรภูนะ ยังหาได้เป็นพระโสดา-สกทาคาไม่ ยังหาได้เป็นโสดาปัตติมรรคผล สกทาคามิมรรคผล อนาคามิมรรคผล อรหัตมรรคผลไม่ เห็นด้วยตากายธรรม รู้ด้วยญาณของกายธรรม ไม่ใช่รู้ด้วยดวงวิญญาณ เพราะกายมนุษย์มีดวงวิญญาณ ญาณไม่มี กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด มีดวงวิญญาณทั้งนั้น ดวงญาณไม่มี กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี กายอรูปพรหม-อรูปพรหม ละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี พอถึงกายธรรมเข้า มีญาณทีเดียว
    ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ? ตาธรรมกายก็เหมือนรูปพระปฏิมาอย่างนี้แหละ เหมือนมนุษย์อย่างนี้แหละ แบบเดียวกันแต่ทว่าละเอียด แล้วมีญาณของกายธรรม ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? ดวงวิญญาณอยู่ในกลางกายมนุษย์นี่ เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายทิพย์ก็เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายมุนษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียด ก็แบบเดียวกัน หรือกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็มีดวงวิญญาณแบบเดียวกัน ดวงวิญญาณเท่านั้นไม่อาจจะเห็นอริยสัจได้ ต่อเมื่อใด ไปถึงกายธรรมเข้า ดวงวิญญาณจะขยายส่วนออกไปเป็นดวงญาณ หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ก็กว้างแค่นั้น ถ้าหน้าตักศอกหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางศอกหนึ่ง หน้าตักวาหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางวาหนึ่ง กลมรอบตัว ถ้าว่าหน้าตักธรรมกายนั้น ๒ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา กลมรอบตัว ขยายอย่างนั้น ถ้าหน้าตัก ๔ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๔ วา กลมรอบตัว แล้วแต่หน้าตักธรรมกาย หน้าตักธรรมกายโคตรภูนั่นไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ วาเล็กน้อย ถ้าเป็นพระโสดาจึงจะเต็ม ๕ วา ถ้ายังไม่ถึงพระโสดาหย่อนกว่า ๕ วา หน้าตักของธรรมกายนั่นโตเท่าไหน ดวงญาณก็โตเท่านั้น ดวงญาณนั้นแหละสำหรับรู้ละ นั่นแหละ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ เห็นตามปัญญาอันชอบ เห็นชัดๆ ทีเดียว ดวงญาณของธรรมกายขยายออกไป ดังนั้นเมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ธรรมกายจะเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรจสัจ มรรคสัจ ต้องเข้าสมาบัติ ธรรมกายต้องเข้าสมาบัติธรรมกายนั่งนิ่งเพ่งฌานทีเดียว ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย หยุดนิ่ง เมื่อนิ่งถูกส่วนเข้าแล้ว ที่ธรรมกายนั่งนั่นแหละเกิดเป็นดวงฌานขึ้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา ๘ ศอก กลมเป็นวงเวียน เป็นกงจักร กลมเป็นกงเกวียนทีเดียว เหมือนแผ่นกระจกหนาคืบหนึ่ง วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง รองนั่งของธรรมกายนั้นมาจากไหน ดวงฌานที่เกิดขึ้นน่ะมาจากไหน ที่มาของดวงฌานน่ะมีมาก มาจากกสิณก็เป็นดวงฌานได้ มาจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็เป็นดวงฌานได้ แต่ว่าเมื่อถึงธรรมกายแล้ว ใช้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเองเป็นปฐมฌาน ขยายส่วน เห็นใส เมื่อดูใสแล้วก็ขยายส่วนออกไป ขยายส่วนออกไป ๒ วา กลมรอบตัว แต่ว่าหนาคืบหนึ่ง กลมเหมือนยังกับกงจักรหรือกงเกวียน กลมเหมือนอย่างวงเวียนอย่างนั้น หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นแก้วผลึกทีเดียว รองนั่งของธรรมกาย ธรรมกายเมื่อเข้าถึงปฐมฌานเช่นนั้นนั่นแหละ พอถึงปฐมฌานเข้าเช่นนั้น ก็มีวิตก ความตรึก วิจาร ความ ตรอง ปีติ ชอบเนื้อชอบใจ วิตกว่าฌานนั้นมันมาจากไหน เห็นแล้วมันมาจากนั่น วิจาร ไตร่ตรองไป ตรวจตราไปถี่ถ้วน เป็นของที่ไม่มีที่ติ ปลื้มอกปลื้มใจ ดีอกดีใจ มีความปีติขึ้น ปลื้มอกปลื้มใจ เต็มอกเต็มใจ เต็มส่วนของปีติ มีความสุข นิ่งอยู่กลางฌานนั่น สุขในฌาน อะไรจะไปสู้ ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ สุขลืมสมบัตินั่นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้ สุขในฌานนะ สุขนักหนาทีเดียว เต็มส่วนของความสุขก็หนึ่ง เฉยวิเวกวังเวง เปลี่ยวเปล่า เรามาคนเดียวไปคนเดียวหมดทั้งสากลโลก คนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น ไม่มีคู่สองเลย จะเห็นว่าลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี ภรรยาสักคนหนึ่งก็ไม่มี ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด เป็นจริงอย่างนี้ ปล่อยหมด ไม่ว่าอะไร ไม่ยึดถือทีดียว เรือกสวนไร่นา ตึกร้านบ้านเรือน ก่อนเราเกิดเขาก็มีอยู่อย่างนี้ หญิงชายเขาก็มีกันอยู่อย่างนี้ เราเกิดแล้วก็มีอยู่อย่างนี้ เราตายไปแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ เห็นดิ่งลงไปทีเดียว เข้าปฐมฌานเข้าแล้ว เห็นดิ่งลงไปเช่นนี้ เมื่อเข้าปฐมฌานก็แน่นิ่งอยู่ ฌานที่ละเอียดกว่านี้มี พอนึกขึ้นมาเช่นนั้น ก็ อ้อ! ที่ละเอียดขึ้นมากว่านี้มีอยู่ ก็นิ่งอยู่กลางปฐมฌานนั่น กลางดวงปฐมฌานนั่นนิ่ง ใจของธรรมกายหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย นิ่งพอถูกส่วนเข้า ฌานนั่นเปลี่ยนแล้ว ปฐมฌานนั่นจางไป ทุติยฌานมาแทนที่รองนั่ง จะไปไหน ไปคล่องแคล่วยิ่งกว่าขึ้นเครื่องบิน ปฐมฌานเหมือนกัน ทุติยฌานเหมือนกัน พอเข้าฌานที่ ๒ ได้แล้ว ก็นึกว่าฌานที่ ๒ มันใกล้ฌานที่ ๑ มันเสื่อมง่าย ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอีก ถูกส่วนนิ่งเข้าอีก ทุติยฌานก็จางไป ตติยฌานมาแทนที่ นิ่งอยู่กลางตติยฌานนั่น พอถูกส่วนเข้าตติยฌานแล้ว ละเอียดกว่าตติยฌานนี่มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น ถูกส่วนเข้า เมื่อนึกถึงฌาน ตติยฌานก็จางไป จตุตถฌานเข้ามาแทนที่ ยังไม่พอแค่นั้น นิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี ว่าละเอียดกว่านี้มี จตุตถฌานก็จางไป อากาสานัญจายตนฌาน กลางของจตุตถฌานว่างออกไปเท่ากัน ดวงเท่ากัน ดวงเท่ากันนี้เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน ธรรมกายก็นั่งอยู่กลางของอากาสานัญจายตนฌาน เรียกว่า เข้าอากาสานัญจายตนฌาน แล้ว ใจก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น ถูกส่วนเข้าก็นึกว่าฌานนี้ คล่องแคล่วว่องไวดี แต่ว่าละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากาสานัญจายตนฌานก็จางไป วิญญาณัญจายตนฌานเข้ามาแทนที่ ดวงก็เท่ากัน นิ่งอยู่กลางดวงวิญญาณัญจายตนฌานนั่น ว่าละเอียดกว่านี้มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น แต่ว่าเพ่งฌาน นิ่ง พอถูกส่วนเข้า วิญญาณัญจายตนฌานจางไป อากิญจัญญายตนฌานเข้ามาแทนที่ รู้ละเอียด จริง นี่เป็นรู้ละเอียดจริง นิ่งอยู่อากิญจัญญายตนฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากิญจัญญายตนฌานจางไป เนวสัญญานาสัญญายตนะเข้ามาแทนที่ เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกนึกในใจทีเดียวว่า สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ นี่ละเอียดจริง ประณีตจริง นี่เข้าฌานดังนี้ นี่เขาเรียกว่า เข้าฌานโดยอนุโลม
    เข้าฌานโดยปฏิโลม ถอยกลับจากฌานที่ ๘ นั้น จากเนวสัญญานาสัญญายตนะเข้าหา อากิญจัญญายตนะ มาวิญญาณัญจายตนะ เข้าอย่างไรก็ออกมาอย่างนั้น มาถึงอากาสานัญจายตนะ ถอยจากอากาสานัญจายตนะ มาถึงจตุตถฌาน ถอยจากจตุตถฌาน มาถึงตติยฌาน ถอยจากตติยฌาน มาถึงทุติยฌาน ถอยจากทุติยฌาน มาถึงปฐมฌาน เข้าไปดังนี้อีก นี่เรียกว่าปฏิโลมถอยกลับ อนุโลมเข้าไปอีก ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ ไปอีก ถอยจากที่ ๘ มาถึง ที่ ๗ ที่ ๖ ที่ ๕ ที่ ๔ ที่ ๓ ที่ ๒ ที่ ๑ มาถึงอีก นี่เรียกว่า อนุโลมปฏิโลมไปอย่างนี้ พออนุโลมปฏิโลมถูกส่วนเข้าก็เห็นทีเดียวว่า อ้อ! สัตว์โลกนี่เป็น ทุกข์ละ เห็นทุกข์ละนะ นี่ทางปฏิบัติเห็นทุกข์ละ ตาธรรมกายเห็นอายตนะที่ดึงดูดของสัตว์โลก เขาเรียกว่า โลกายตนะ อ้อ! มนุษย์นี่เกิดขึ้นไม่ใช่อื่นเลย ความเกิดนี่ อายตนะของโลกเขาดูดนะ ก็เห็นอายตนะทีเดียว มนุษย์นี่ก็มีอายตนะอยู่อันหนึ่ง เราเคยค้นพบ เรารู้จักแล้ว อายตนะของมนุษย์ รู้จักกันทั่วแหละ อายตนะของมนุษย์ ที่เราติดอยู่ ก็ติดอายตนะนั่นแหละมันดึงดูด อายตนะอยู่ที่ไหน ? ที่บ่อเกิดของมนุษย์ อายตนะแปลว่าบ่อเกิด บ่อเกิดมันอยู่ที่ไหน ? นั่นแหละเป็นตัวอายตนะของมนุษย์ทีเดียว อายตนะของทิพย์ละ มันมีมากด้วยกันนี่ อายตนะกำเนิดของสัตว์มีถึง ๔ คือ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ สังเสทชะ เกิดด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ อายตนะที่ว่านี้เป็นชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ โอปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เอากันละคราวนี้ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ เป็ด ไก่ ทั้งนั้น เป็นอายตนะอันหนึ่ง สังเสทชะ เหงื่อไคลเป็นอายตนะอันหนึ่ง สำหรับเหนี่ยวรั้งใจให้สัตว์เกิดนั่น เป็นอายตนะสำหรับบ่อเกิด ชลาพุชะ มีน้ำสำหรับเป็นอายตนะให้เกิด โอปปาติกะ อายตนะของจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตตวสวัตตี นี่เป็นอายตนะของทิพย์ทั้งนั้น มีอายตนะดึงดูดให้เกิดเหมือนกัน ไม่ใช่เท่านั้น อายตนะที่ทรามลงไปกว่านี้ อายตนะให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คล้ายมนุษย์เหมือนกัน อายตนะให้เกิดเป็นอสุรกาย แบบเดียวกันกับมนุษย์ อายตนะเกิดเป็นเปรต แบบเดียวกับมนุษย์ อายตนะในอบายภูมิทั้ง ๔ สัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาฏะ โรรุวะ มหาโรรุวะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจีนรก นรกทั้ง ๘ ขุมใหญ่นี้ ขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรกเป็นบริวารล้อมรอบ ๔ ด้านๆ ละ ๔ ขุม เป็น ๑๖ ขุม แล้วมียมโลกนรก ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔ ทิศๆ ละ ๑๐ ขุม เป็น ๔๐ ขุม นรกทั้ง ๔๕๖ ขุมเป็นอายตนะดึงดูดสัตว์โลกทั้งนั้น เมื่อทำดีทำชั่วไปถูกส่วนเข้าแล้ว อายตนะของนรกก็ดึงเป็นชั้นๆ ดูดเป็นชั้นๆ ต้องไปติด ใครทำอะไรเข้าไว้ อายตนะมันดึงดูดไปติด ฝ่ายธรรมกายไปเห็นก็ อ้อ! สัตว์โลก มันติดอย่างนี้เอง ติดเพราะอายตนะเหล่านี้ อ้ายที่มาเกิดเหล่านี้ใครให้มาเกิดละ อ้ายที่มาเกิด เป็นอบายภูมิทั้ง ๔ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ ชั้นนี้ ใครให้เกิดละเห็นทีเดียวแหละ เห็นทีเดียว ทุกฺขสมุปฺปาทตณฺหา ตัณหานี่แหละเป็นแดนให้เกิดพร้อมทีเดียว
    ตัณหาคืออะไรล่ะ ? กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา แยกออกไปเป็น ๓ เห็นตัณหาอีก อ้อ! อ้ายเจ้ากามตัณหานี้ อยากได้กาม อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส นั่นเอง เจ้าถึงต้องมาเกิด เออ อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ไปตีรันฟันแทงกันป่นปี้ รบราฆ่าฟันกันยับเยินเปินทีเดียว เพราะอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ ไม่ใช่เรื่องอะไร เห็นชัดๆ อย่างนี้ว่า อ้อ ! อ้ายนี่เองเป็นเหตุให้เกิด กามตัณหานี่เอง อ้อ! นี่ อายตนะของกามตัณหาทั้งนั้น ในอบายภูมิทั้ง ๔ นรก อสุรกาย เปรต สัตว์ดิรัจฉานเหล่านี้ มนุษย์ สวรรค์ ๖ ชั้น นี่กามตัณหาทั้งนั้น อ้ายกามนี่เองเป็นตัวสำคัญเป็นเหตุ อ้ายนี่สำคัญนัก
    ไม่ใช่แต่กามตัณหาฝ่ายเดียว ไปดูถึงรูปพรหม ๑๖ ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐ รูปพรหม ๑๖ ชั้นนี่เป็น ภวตัณหา อ้ายนี่อยากได้รูปฌานที่เราดำเนินมานั่นเอง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อ้ายนี่เป็นรูปพรหม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อ้ายนี่ให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อ้ายนี่ติด อ้าย ๘ ดวงนี่เอง เมื่อไปติดเข้าแล้วมันชื่นมื่นมันสบายนัก กามภพสู้ไม่ได้ มันสบายเหลือเกิน มันสุขเหลือเกิน ปฐมฌานก็สุขเพียงเท่านั้น ทุติยฌานก็สุขหนักขึ้นไป ตติยฌานสุขหนักขึ้นไป จตุตถฌานสุขหนักขึ้นไป อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน สุขหนักขึ้นไป อากิญจัญญายตนฌานสุขหนักขึ้นไป เนวสัญญานาสัญญายตนฌานสุข หนักขึ้นไป มันพิลึกกึกการละ มันยิ่งใหญ่ไพศาลทีเดียว ส่วนรูปภพนั้นเป็นภวตัณหา อ้ายภวตัณหานี่เองเป็นเหตุให้เกิดในรูปภพทั้ง ๑๖ ชั้นนี่
    ฝ่ายอรูปภพทั้ง ๔ ชั้นนี่เป็นวิภวตัณหา เข้าใจว่า นี่เอง หมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บ หมดตาย เสียแล้ว เข้าใจว่า นี่เองเป็นนิพพาน เมื่อไม่พบศาสนาของพระบรมศาสดาจารย์ ก็เข้าใจว่า อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่เอง เป็นนิพพานทีเดียว เข้าใจอย่างนั้น ค้นคว้าหาเอาเอง นี่เป็นวิภวตัณหา ไปติดอยู่อ้ายพวกนี้เอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อ้าย ๓ ตัวนี่แหละสำคัญนัก ไปเห็นหมด เห็นรูปพรรณสัณฐาน ฌานก็เห็น กามตัณหาก็เห็น กามตัณหาทั้ง ๑๑ ชั้นนี่เห็น ภวตัณหาทั้ง ๑๖ ชั้นนั่นก็เห็น วิภวตัณหาทั้ง ๔ ชั้นน่ะ เห็นหมด เห็นปรากฏทีเดียว เอ! นี่จะทำอย่างไร ? ต้องละอ้ายพวกนี้ ต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ ถ้าละไม่ได้ละก้อ หลุดพ้นไปไม่ได้ละ ก็ทุกข์อยู่นี่ ไม่พ้นจากทุกข์ แน่นอนทีเดียว แน่นอนในใจของตัวทีเดียว เข้าสมาบัติดูอีก ตรวจทบไปทวนมาดูอีก ดูหนักเข้าๆๆ เห็นชัดหมดทุกสิ่งทุกประการแล้ว ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูไปดูมา อ้อ! เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี่ ถ้าว่าไม่ละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี่ให้ขาดเสียละก้อ เราจะต้องมีชาติไม่จบไม่แล้ว จะต้องทุกข์ไม่จบไม่แล้ว จะต้องหน้าดำคร่ำเครียดไม่จบไม่แล้ว จะต้องลำบากยากแค้นไม่จบไม่แล้ว เมื่อคิดดังนี้เข้าใจดังนี้แล้ว ตาธรรมกายก็มองเห็นแจ่ม เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ละอย่างไร ? วิธีจะละ ละอย่างไรนะ ? เออ ! วิธีจะละ ละท่าไหนกันนะ ? เห็นทางทีเดียวว่า อ้อ ! พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ที่เราเดินมาทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์มาถึงกายมนุษย์ละเอียด ในกายทิพย์มาถึงกายทิพย์ละเอียด ในกายรูปพรหมมาถึงกายรูปพรหมละเอียด ในกายอรูปพรหมมาถึงกายอรูปพรหมละเอียด จนกระทั่งมาถึงกายธรรมกาย ธรรมกายละเอียดนี้ เราต้องเดินในช่องทางของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่เอง ใจต้องหยุด ต้องหยุดทีเดียวถึงจะละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้ เริ่มต้นต้องหยุดเชียว พอหยุดกึ๊กเข้าก็ได้การทีเดียว อ้อ! พอหยุดกึ๊กเข้า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับหมด ถ้าว่าไม่หยุดละก้อ เป็นไม่ได้การทีเดียว ไปไม่รอดไม่พ้นทีเดียว
    หยุดอะไรละ ใจหยุดสิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ หยุดกลางของกลาง กลางของหยุด กลางที่หยุดนั่นแหละ ถ้าว่าถึงดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิ กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ พอหยุดแล้วก็กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว หยุดอยู่ศูนย์กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าก็เห็นกายพระโสดา เข้าถึงกายพระโสดา อ้อ! พอเข้าถึงกายพระ โสดารู้จักเชียว นี่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ไม่ใช่ไปทางอื่นเลย แต่พอเข้าถึงกายพระโสดาละเอียด ทำแบบเดียวกันอย่างนั้น หยุดอย่างเดียวกันนั่นแหละ หยุดอย่างนั้นแหละ พอหยุดเข้ารูปนั้นจริงๆ เข้าถึงกายพระสกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด ก็รู้รสชาติของใจทีเดียว พอเข้าถึงพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เข้าแล้วหลุดหมด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกฺขูปสมคามินํ อย่างนี้เอง ถึงพระนิพพานเป็นที่ดับแห่งทุกข์ พอถึงพระอรหัตก็เห็นนิพพานแจ่ม เข้านิพพานไปได้ทีเดียว นี้ไปอย่างนี้ ไปจริงๆ อย่างนี้ ก็ไปได้ เพราะเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว ก็เข้ามาคลุมสัจธรรมทั้ง ๔ ไว้ ยังไม่ปล่อยทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มั่นกับใจดูแล้วดูอีก ทบทวนแล้วทบทวนอีก แน่นอนในใจ พอแน่นอนในใจ เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ พอครบ ๔ เข้าเท่านั้นแหละ ได้บรรลุพระโสดาทันที พอพระโสดาเข้าสมาบัติ นิ่งอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมาๆ ตาธรรมกายของพระโสดาไปเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ รู้ด้วยญาณของพระโสดา พอครบรอบ ๔ เข้าเท่านั้น ได้บรรลุพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์หนักขึ้นไป ธรรมกายพระสกทาคาเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมา แบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม เห็นชัด พอถูกส่วนเข้า ก็ได้บรรลุพระอนาคา พระอนาคาเดินสมาบัติแบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมเข้าก็ได้บรรลุพระอรหัตทีเดียว หมดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานทีเดียว ถ้าหลักฐานเรียกว่า โสฬสกิจ เรียกว่าแค่นี้สำเร็จโสฬสกิจแล้ว โสฬสกิจแปลว่ากระไร ? กิจ ๑๖ ในเพลงที่เขาวางไว้เป็นหลักว่า เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา ทางพระอรหัตแค่นี้ นี้ทางปฏิบัติ เทศนาดังนี้เป็นทางปฏิบัติ ไม่ใช่ทางปริยัติ นี่ทางปฏิบัติอันนี้แหละ พระพุทธศาสนาในทางปริยัติ ดังแสดงแล้วในตอนต้น พุทธศาสนาในทางปฏิบัติดังแสดงแล้วในบัดนี้ แต่ปริยัติ ปฏิบัติ ที่เรียกว่าเข้าถึงปฏิบัติ เดินสมาบัติทั้ง ๘ นั้น เป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังนี้ นี่เป็นทางปฏิบัติแท้ๆ
    เมื่อกายธรรมเห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้เข้าเห็นพระโสดา บรรลุถึงพระโสดา นั่นปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว ได้เข้าถึงพระโสดาแล้ว ทั้งหยาบทั้งละเอียด เมื่อพระโสดา เดินสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์เข้าทั้งหยาบทั้งละเอียด ได้บรรลุพระสกทาคา
    เมื่อถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นเข้านั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดในสกทาคาเข้าแล้ว เมื่อพระสกทาคาเข้าสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหมเข้า เห็นในสัจจธรรมทั้ง ๔ ชัดอีก ได้บรรลุ พระอนาคา นี้ที่ได้เห็นตัวพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด และทั้งธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา นั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดเห็นจริงทีเดียว เห็นปรากฏทีเดียว
    เมื่อพระอนาคาเข้าสมาบัติ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดใน ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้บรรลุพระอรหัต
    เมื่อเห็นกายพระอรหัต ทั้งธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดทีเดียว นั่นเห็นชัดอันนั้นแหละได้ชื่อว่า เป็นปฏิเวธแท้ๆ เชียว รู้แจ้งแทงตลอด
    นี้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ศาสนามีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ถ้าว่านับถือศาสนา ปฏิบัติศาสนา เข้าปริยัติก็ไม่ถูก ปฏิบัติก็ไม่ถูก ปฏิเวธก็ไม่ถูก มันก็ไปต่องแต่งอยู่นั่น เอาอะไรไม่ได้ สัก ๑๐ ปี ๑๐๐ ปี ก็เอาอะไรไม่ได้ ถึงอายุจะแก่ปานใด จะโง่เขลาเบาปัญญาปานใด ถ้าเข้าถึงทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ไม่ได้ ไม่เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังแสดงมาแล้วนี้ จะปฏิบัติศาสนาเอาเรื่องราวไม่ได้ ถ้าว่าคนละ โมฆชิณฺโณ แก่เปล่า เอาอะไรไม่ได้ เอาเรื่องไม่ได้ เหตุนี้แหละทางพุทธศาสนาจึงนิยมนับถือนักในเรื่อง สัจธรรมทั้ง ๔ นี้
    ที่แสดงมานี้ก็เพื่อจะให้รู้สัจธรรมทั้ง ๔ เมื่อรู้จักสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว สัจจธรรมทั้ง ๔ นี้ใครเป็นคนรู้คนเห็น ธรรมกาย ธรรมกายโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นผู้เห็นเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เหล่านี้ นี้แหละเป็นธรรมสำคัญในพุทธศาสนา เมื่อได้สดับ ตรับฟังแล้ว พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า เมื่อรู้จักธรรมที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้ที่พึงอันเกษมผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้ที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ด้วยประการดังนี้ ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย เป็นไปในทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติใน เขมาเขมสรณาทีปิกคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็น สยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้. ​
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    <TABLE width="80%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffff00>
    ใจละเอียด กายละเอียด (ทำไมต้อง ๑๘ กาย) (1)​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ใจละเอียด กายละเอียด (ทำไมต้อง ๑๘ กาย)

    พระพุทธศาสนานั้น ใช่ว่าเราจะใช้สมองตรึกนึกตรองข้อธรรมต่างๆ แล้วจะเข้าใจแจ่มแจ้งได้ เราต้องปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมนั้นๆ สมาธิขั้นสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อใจสงบระงับมีกำลังจึงยกภูมิสูงขึ้นสู่ภาควิปัสสนา ภาควิปัสสนานั้นเราต้องมีรู้ญาณหรือมีญาณทัสสนะเห็นธรรมตามความเป็นจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในเรื่อง ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อริยสัจ ๔ ใช่ว่าเราจะใช้สมองคิดตรึกตรองแล้วจะเข้าใจสภาวธรรมเหล่านี้อย่างแจ่มแจ้งได้ เราต้องปฏิบัติให้รู้ให้เห็นจริงๆ ให้เกิดเป็นอธิจิต อธิปัญญา รู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง ​
    เวลาฝึกสมาธินั้นหลายท่านบอกว่าเราฝึกสมถะจนจิตสงบ พอออกจากสมาธิแล้วจะใช้ปัญญาคิดพิจารณาข้อธรรมต่างๆ แล้วเป็นวิปัสสนาได้หรือไม่ ชื่อว่าไม่ได้แน่นอน เพราะขั้นตอนของสมถะและวิปัสสนาต้องต่อเนื่องกันไปในขณะหลับตาทำสมาธิอยู่ เช่น เราต้องการพิจารณาขันธ์ ๕ เมื่อปฏิบัติสมาธิเบื้องต้นจนจิตสงบแล้วต่อไปก็ยกภูมิขึ้นสู่วิปัสสนา รู้เห็นขบวนการของขันธ์ ๕ รู้ญาณชนิดนี้เป็นรู้ญาณละเอียดขั้นอธิจิต อธิปัญญา จึงมีตาวิเศษ รู้เห็นขบวนการของขันธ์ ๕ อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เพียงแต่ว่าใจเราละเอียดอยู่ในระดับใด ถ้าละเอียดอยู่ในขั้นโลกีย์ก็ไม่สามารถรู้เห็นสภาพธรรมชั้นสูงในภาคโลกุตระได้ เพราะชั้นโลกีย์เราจะมีคุณธรรมคือ ระดับจิตได้แค่ มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม ซึ่งทั้ง ๔ ระดับนี้ พิจารณาได้แต่ธรรมแบบโลกีย์ เช่น มนุษยธรรมได้แก่ใจระดับที่มีหิริโอตตัปปะ เทวธรรมคือใจที่มีศีลห้าธรรมห้า(กุศลกรรมบถ ๑๐) พรหมธรรมได้แก่ ใจที่สำเร็จฌานโลกีย์ ๔ ระดับ หรืออย่างหยาบต้องมีพรหมวิหารธรรม ๔ อรูปพรหมธรรมได้แก่ ใจที่สำเร็จอรูปฌาน ๔ นี่คือรู้ส่วนเห็นนั้น ตาหยาบก็เห็นของหยาบ ตาละเอียดก็เห็นของละเอียด เหมือนนักวิจัยใช้กล้องส่องดูอนุภาคเล็กๆ ถ้ากล้องมีกำลังขยายสูงเราก็เห็นได้ละเอียด
    ตามนุษย์เรียกว่ามังสะจักษุ ตาเทวดา(ทิพย์)เรียกทิพจักษุ ตาพรหมเรียกว่าปัญญาจักษุ ตาอรูปพรหมเรียกว่าสมันตจักษุ ตาระดับโลกุตรภูมิเรียกว่าพุทธจักษุ
    เข้าถึงภูมิระดับใดใจก็มีตาระดับนั้น รู้เห็นได้ละเอียดกว่ากันเป็นชั้นๆ รู้และเห็นธรรมต่างๆ ทั้งโลกียธรรมและโลกุตรธรรมได้เป็นชั้นๆ ไป ตามแต่ภูมิธรรมที่เข้าถึง เมื่อใจละเอียดมีอย่างนี้แล้ว ก็เป็นธรรมดาที่ว่า มีใจที่ใดต้องมีกายครองที่นั่น ก็กายกับใจเป็นของคู่กัน เหมือนรูปกับนามเป็นของคู่กัน เมื่อมีรูปย่อมมีนาม เมื่อมีนามย่อมมีรูป เมื่อใจมีกายก็ต้องมารองรับ ใจละเอียดกายก็ละเอียด ใจหยาบกายก็หยาบ ใจหยาบช้าทำแต่กรรมชั่ว กายที่มารองรับก็อัปลักษณ์น่าเกลียดอย่างเช่น สัตว์นรก เปรต อสูรกาย และพวกสัตว์เดียรัจฉานต่างๆ นี่เพราะใจหยาบช้ากายก็หยาบช้า ถ้าใจละเอียดกายก็ละเอียดเป็นเครื่องรองรับกันเสมอ เช่น ทิพย์ พรหม อรูปพรหม เมื่อใจเรางามกายที่งามสมกับใจก็มารองรับซึ่งกันและกัน ตรงนี้เป็นผังสำเร็จ เป็นผังชีวิตที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ถ้าเราเข้าใจเรื่องกายกับใจเช่นนี้ได้ เราก็จะสามารถเข้าใจสภาวธรรมต่างๆ ได้ง่ายเข้า
    วิชชาธรรมกายสอนเรื่องกายละเอียดต่างๆ นั้นมิได้หมายเรื่องนิมิตหรือเห็นอะไรสักแต่เป็นนิมิต แต่นี้เป็นผังชีวิตของจริงที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านได้รู้ได้เห็น เพียงแต่ว่าต้องปฏิบัติจนเข้าถึงจึงจะหมดข้อสงสัย เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นของลุ่มลึกเกินวิสัยแห่งปุถุชนที่จะคาดเดาเอาเองได้ ต้องไปรู้ไปเห็นด้วยญาณทัสสนะอันละเอียดจึงจะเข้าใจ ที่พระองค์ไม่ทรงตรัสไว้โดยละเอียดเพราะเนื้อแท้แล้วพระองค์ต้องการให้เราปฏิบัติเพื่อเข้าถึงเองดีที่สุด พระองค์จึงตรัสบอกแต่วิธีการเข้าถึง เช่น ให้ปฏิบัติตามกัมมัฏฐาน ๔๐ วิธี หรือแบบอานาปานัสติ หรือสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เข้าถึง กาย เวทนา จิต ธรรม ที่ละเอียด เข้าถึงได้แล้วจะเข้าใจแหมดข้อกังขาเอง
    ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย ใจละเอียดมีตาละเอียด ตาละเอียดมีญาณทัสสนะที่ละเอียด รู้ได้เห็นได้อย่างละเอียดถึงรูปแบบและขบวนการของสภาวธรรมในระดับวิปัสสนาได้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อริยสัจ ๔ หรือธรรมขั้นโลกุตรใดๆ ก็รู้เห็นได้หมด เพียงขอให้เข้าถึงใจละเอียดเป็นอธิจิต อธิปัญญาเถิด แต่พิจารณาอย่างเดียวไม่พอต้องทำการสะสางธาตุธรรมภายในให้หมดกิเลสเป็นชั้นๆ ได้ด้วย เพระกิเลสอวิชชาเขาก็มีเป็นชั้นๆ ซ้อนอยู่ในกายและใจของเราที่เป็นชั้นๆ อยู่ ด้วยเหมือนกัน ชำระสะสางกิเลสให้หมดจากจิตใจได้จึงเชื่อได้ว่าหลุดพ้นจริง หมดภพหมดชาติ หมดการเวียนว่ายตายเกิดจริง
    ถ้าเรารู้จักกายมนุษย์หยาบกายนี้กายเดียวไม่มีทางกำจัดกิเลสเข้าไปเป็นชั้นๆ ได้ เพราะกิเลสระดับละเอียดเขามีอยู่ เขาก็อยู่ในชั้นละเอียดเข้าไป กายและใจมนุษย์ไม่สามารถรู้เห็นได้ ต้องใช้รู้ญาณทัสสนะที่ละเอียดเข้าไปจึงจะทำลายกิเลสให้หมดจนสุดหยาบสุดละเอียด
    หลวงพ่อวัดปากน้ำมีวิริยคติที่ว่า “บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าทรงรู้เห็น เราก็ยังไม่รู้เห็น สมควรที่เราจะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง” ในที่สุดหลวงพ่อเข้าถึงกายละเอียใจละเอียดเป็นชั้นๆ ซึ่งมีกายและใจละเอียดถึง ๑๘ ชั้น (วิชา ๑๘ กาย) จึงได้รู้เห็นผังของจริง เมื่อเรารู้เห็นเป็นชั้นๆ เข้าไป ต่อไปงานสะสางธาตุธรรมเป็นชั้นๆ เข้าไปจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ก็ทำได้ นี้จึงชื่อว่าเป็นเหตุเป็นผลรองรับกัน ฉะนั้นเราเข้าถึง กายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม กายธรรม ทั้งหลายและละเอียด ก็คือเรามีหนทาง(มรรควิธี)แห่งการกำจัดกิเลสอวิชชาเป็นชั้นๆ เข้าไป ตามที่กล่าวมาแล้วส่วนขั้นปฏิบัติจริงจังนั้นจะต้องว่ากันโดยละเอียดต่อไป...
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    <TABLE width="80%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffff00>
    ใจละเอียด กายละเอียด (ทำไมต้อง ๑๘ กาย) (2)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ใจละเอียด กายละเอียด (ทำไมต้อง ๑๘ กาย) (ต่อ)
    พระพุทธเจ้า สอนให้เราละกิเลส สอนให้เราละสังโยชน์ แปลว่า อย่าไปเพิ่มกิเลสให้มากขึ้น ของเก่าเรายังทำให้หลุดไปไม่ได้ อย่าไปเพิ่มพูนขึ้นใหม่อีกเลย

    ท่านทราบแต่ว่า กายมนุษย์ คือตัวท่าน ยังมีกิเลส เราเจริญภาวนารักษาศีลกันอย่างทุกวันนี้ เป็นการไม่เพิ่มพูนกิเลสใหม่เท่านั้น ส่วน “ของเก่า” คือกิเลสเดิมที่นอนเนื่องอยู่ใน “ใจ” นั้นมีอะไรบ้าง
    และกิเลสที่อยู่ในกายละเอียดของท่าน ท่านเข้าไปสืบทราบแล้วหรือยัง การจะไปดูกิเลสในกายละเอียดอื่นๆ ถ้าดูด้วยตามนุษย์ไม่เห็น จะต้องทำ “ธรรมกาย” เป็น และใช้รู้ใช้ญาณธรรมกายตรวจจึงจะเห็นได้ รู้ได้
    ฝ่ายอวิชชาได้เอากิเลสต่างๆ ตรึงติด “ใจ” ของสัตว์โลกไว้ ดังนี้
    ๑.กายมนุษย์ และกายมนุษย์ละเอียด(กายฝัน)
    อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
    ๒.กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด
    โลภะ โทสะ โมหะ
    ๓.กายรูปพรหมหยาบ กายรูปพรหมละเอียด
    ราคะ โทสะ โมหะ
    ๔.กายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมละเอียด
    กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย
    ๕.ธรรมกายโคตรภูหยาบ ธรรมกายโคตรภูละเอียด
    สักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส วิจิกิจฉา
    ๖.ธรรมกายพระโสดาหยาบ ธรรมกายพระโสดาละเอียด
    ธรรมกายพระสกิทาคามีหยาบ ธรรมกายพระสกิทาคามีละเอียด
    กามราคะ ปฏิฆะ
    ๗.ธรรมกายพระอนาคามีหยาบ ธรรมกายพระอนาคามีละเอียด
    รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
    ๘.ธรรมกายพระอรหัตต์หยาบ ธรรมกายพระอรหัตต์ละเอียด
    ไม่มีกิเลสใดเจือปน
    ข้อคิดเรื่องการสะสางกิเลส
    ๑. กายของท่าน ๑๘ กาย
    - ท่านเห็นได้กี่กาย
    - กายมนุษย์ คือ ตัวตนของท่าน ท่านเห็นอยู่แล้ว ถึงไม่บรรลุธรรมอะไร ก็เห็นกันอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร
    - กายฝันเป็นกายละเอียดต่อจากมนุษย์ มีกี่ท่านได้เห็นอย่างถูกวิธี ถ้าเห็นกายฝันเมื่อนอนหลับ ก็ได้เห็นกันทุกคนเพราะทุกคนเคยฝัน แต่ถ้าเห็นในขณะที่เรา “ไม่หลับ” คือ เห็นในขณะที่เราปฏิบัติธรรมมีใครบ้างที่ได้เห็น
    ถ้าถามว่า ใครเห็นกายฝันอยู่ในดวงวิมุตติญาณทัสสนะบ้าง อันเป็นการเห็นที่ถูกวิธี คงไม่มีใครเห็นเลย เว้นแต่ท่านที่ฝึกวิชชาธรรมกายเท่านั้น เมื่อไม่เห็นกายฝัน กายที่ละเอียดต่อจากนั้นไปเป็นอันไม่ต้องพูดถึง

    ๒.กายของเรา ๑๘ กาย ไม่มีกิเลส เพียง ๒ กาย
    - ท่านจะเห็นว่า กายของเรามี ๑๘ กาย ไม่มีกิเลสเพียง ๒ กายเท่านั้น คือธรรมกายพระอรหัตต์หยาบและธรรมกายพระอรหัตต์ละเอียด นอกนั้นมีกิเลสทุกกาย แต่ละกายมีชื่อกิเลสต่างกันออกไป ตั้งแต่กิเลสหยาบไปถึงกิเลสขั้นละเอียด ตามหลักฐานดังกล่าวนั้น
    - เพียงทำให้เห็นธรรมกาย ก็ยากแทบจะล้มประดาตายแล้ว เรายังต้องศึกษาความรู้สะสางกิเลสอีก ซึ่งงานสะสางกิเลสไม่ใช่งานที่ทำง่ายเลย

    วิธีทำกิเลสให้หมดหรือเรียกว่าการสะสางกิเลส
    - เราทราบแล้วว่า เรามีกิเลสหรืออวิชชาห่อหุ้ม “ใจ” ของเราอยู่ทุกกาย เป็นผลให้เราอยู่ในภาวะแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ไม่รู้จบ ไม่รู้สิ้น เพราะอานุภาพของกิเลสนั้นๆ
    - หน้าที่เรา ก็ต้องแก้ไขตัวเอง จะทำอย่างไรกิเลสและอวิชชาเหล่านั้น จึงจะหมดและสูญหายไปจากใจเรา
    ในเรื่องนี้ พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ได้แสดงไว้
    ในหนังสือ “ธรรมกาย” พิมพ์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๙๙ ที่โรงพิมพ์ไทยพาณิชยการ สีลมพระนคร เป็นหนังสือบรรณาการงานกฐินพระราชทาน วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๔๙๙
    ลิขสิทธิ์เรื่อง “ธรรมกาย” ของหนังสือนี้ เป็นของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ตั้งแต่หน้า ๑๐๓ ถึงหน้า ๑๒๙ ท่านได้แสดงวิธีทำให้กิเลสหมด กิเลสสูญ คือ
    อาราธนาธรรมกายพระอรหัตต์ในท้องของท่าน มาเดินสมาบัติเป็นอนุโลมปฏิโลม ๗ เที่ยว และดูอริยสัจ ๔ ที่ดวงธรรมของกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้งกายหยาบและกายละเอียด

    ๑. การดูอริยสัจ ๔ ดูเฉพาะกายโลกีย์ คือกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้งกายหยาบและกายละเอียด
    อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ทุกข์ มี ๔ ดวง ดวงเกิดเป็นดวงใส แปลว่าทุกข์ไม่จริง ดวงแก่สีน้ำตาลจนคล้ำ ถ้าดวงนี้โตมาก กายมนุษย์ก็ชรามาก ดวงเจ็บเป็นดวงดำ ถ้าดวงโตแปลว่าป่วยมาก ดวงตายเป็นดวงดำประดุจนิล ดวงนี้ถ้ามาจรดขั้วหัวต่อกายเมื่อไร ทำให้ขั้วหัวต่อกายขาดจากกัน เราจะตายทันที

    สมุทัย เป็นดวงดำ ๓ ดวงซ้อนกัน ดวงในประดุจนิล ดวงนอกดำเรื่อๆ สมุทัยนี้เป็นเหตุ ส่วนทุกข์คือความทุกข์ร้อนที่เรารู้สึกเป็นผล

    นิโรธ เป็นดวงใสสว่างโชติ เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ วาขึ้นไป เส้นผ่าศูนย์กลางของดวงแค่ไหน ก็เป็นเกณฑ์ของธรรมกายนั้น เช่นธรรมกายโคตรภู ดูอริยสัจ ๔ ของกายมนุษย์ ดูทุกข์เสร็จแล้วมาดูสมุทัย พอดูสมุทัยเสร็จ เกิดดวงนิโรธ เป็นดวงใสสว่างโชติ เส้นผ่านศูนย์กลางของดวง วัดได้ ๕ วา ขณะนั้นดวงทุกข์ดับ ดวงสมุทัยดับ จึงว่า “นิโรธ เป็นผู้ดับทุกข์และดับสมุทัย”
    พอนิ่งไปกลางดวงนิโรธ เกิดธรรมกายพระโสดาขึ้นทันที (หน้าตักกว้าง ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม)

    มรรค แปลว่าทางเดิน ได้แก่ดวงธรรมในท้องธรรมกาย ๖ ดวง ดวงธรรมเหล่านี้ เป็นทางเดินให้แก่กาย คือ กายธรรม อย่างเช่น กายธรรมพระโสดาจะไปหาพระสกิทาคามี ก็ต้องผ่านดวงธรรมในท้องของพระองค์ ๖ ดวง จึงจะถึงพระสกิทาคามี เป็นต้น
    ๒. จากนั้นอาราธนาธรรมกายพระโสดา ดูอริยสัจ ๔ ของกายทิพย์ ตามแนวที่กล่าวแล้ว พอเกิดดวงนิโรธ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของดวงนิโรธได้ ๑๐ วา เกิดกายธรรมพระสกิทาคามี พระสกิทาคามีดูอริยสัจ ๔ ให้กายรูปพรหม เกิดดวงนิโรธเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕ วา เกิดธรรมกายพระอนาคามี ธรรมกายพระอนาคามีดูอริยสัจ ๔ ให้แก่กายอรูปพรหม เกิดดวงนิโรธ เสั้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ วา เกิดธรรมกายพระอรหัตต์ ธรรมกายพระอรหัตต์เดินสมาบัติในธรรมกายโคตรภูเรื่อยไป
    ๓. การดูอริยสัจ ๔ ดูได้เฉพาะกายโลกีย์ ในกายธรรมไม่มีอริยสัจ ๔ ธรรมกายใหญ่เพียงเดินสมาบัติในธรรมกายเล็ก เพื่อให้กิเลสละเอียดในธรรมกายเล็กหมดไป สูญไป
    ๔. การเดินสมาบัติของธรรมกาย ได้แก่การเอาแผ่นใสที่รองรับของธรรมกายมาซ้อนกัน มาสับกัน เป็นผลให้กายใส ดวงธรรมก็ใสยิ่งขึ้น แผ่นใสนั้นก็คือ ฌาน มีลักษณะเป็นแผ่นใสกลมรอบตัว หนาคืบหนึ่ง
    จะเดินสมาบัติให้กายใด ก็ขยายดวงธรรมของกายนั้นให้ใหญ่กำหนดให้ถูกเอกายนมรรค คือ “กลาง” ตรงจุดใสเท่าปลายเข็ม พอจุดใสเท่าปลายเข็มว่าง ก็จะเห็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ของกาย ซึ่งดวงทั้ง ๔ ซ้อนกันอยู่ จะเห็นกิเลสซ้อนกันอยู่ในดวงทั้ง ๔ นั้น เมื่อธรรมกายพระอรหัตต์ละเอียดเดินสมาบัติ เป็นอนุโลม (เดินหน้า) และปฏิโลม (ถอยหลัง) แล้ว กิเลสเหล่านั้น จะหมดและสูญไป แต่ต้องขยันทำ หากทำบ้างไม่ทำบ้าง กิเลสก็เพียงเบาบางไป ส่วนอีกวิธีหนึ่ง ใช้เครื่องกำจัด เห็นว่ายากไปจึงไม่นำมาแสดงไว้ ไม่มั่นใจว่าท่านผู้ศึกษาจะเข้าใจได้แค่ไหน แต่ถ้าไปรับการฝึกจากวิปัสสนาจารย์ ท่านจะเข้าใจและทำได้ ไม่ยากอะไร
    หลักมีอยู่ว่า กายของเราทุกกาย ทั้งกายหยาบและกายละเอียด มีกิเลสเกือบทุกกาย
    เราเข้าถึงกายละเอียดของเราได้กี่กาย
    กายเหล่านั้น มีกิเลสอะไรบ้าง
    ท่านเข้าไปทำลายกิเลสในกายเหล่านั้นแล้วหรือยัง
    </OBJECT></LAYER><!-- google_ad_section_end -->
    __________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    <TABLE width="80%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffff00>
    ใจละเอียด กายละเอียด (ทำไมต้อง ๑๘ กาย) (3)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>การเรียนวิชชาธรรมกาย ไม่ทำให้งมเข็มในมหาสมุทร
    - มีกฎเกณฑ์การปฏิบัติ ทำสิ่งนี้ได้แล้วต่อไปจะทำอะไร ออกจากจุดนี้แล้ว ต่อไปจะไปจุดไหน จุดไหนให้ทำอย่างไร และทำอย่างไร ทำให้ได้อะไร มีลำดับ มีขั้นตอน มีวิธีการ มีปฏิบัติการ มีแนวปฏิบัติชัดเจน

    อย่างเช่น บริกรรมจนเห็นดวงธรรมแล้ว ดำเนินดวงธรรมให้ครบ ๖ ดวง จะไปเห็นกายฝัน กายฝันทำดวงธรรม ๖ ดวง จะไปถึงกายทิพย์หยาบ…..ธรรมกาย…..ธรรมกายพระอรหัตต์ละเอียด เป็นต้น
    ไม่เป็นการงมเข็มในมหาสมุทร และเมื่อทำวิชชาเบื้องต้นเป็นแล้ว ก็ต้องเรียนวิชชาชั้นสูงต่อไป เป็นบท เป็นสูตร ต่อไปไม่มีจบสิ้น แต่จะทำได้มากหรือน้อย ขึ้นกับความตั้งใจจริง ของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ แปลว่าใจของท่านมีงานทำเป็นขั้นเป็นตอน ต่อกันเป็นลูกโซ่
    ท่านมีโอกาสได้เลื่อนชั้น ไม่ใช่นั่งบริกรรมกำหนดกันอยู่ทั้งปีทั้งชาติ โดยไม่เห็นฝั่งเห็นฝาอะไรกันเลย จะได้อะไร จะถึงอะไร เกจิอาจารย์ก็ไม่แจ้ง ได้แต่บอกว่าทางสำเร็จ จะหมดกิเลส ถ้าพบตำรับนี้ พบเกจิอาจารย์อย่างนี้ ผู้เรียนจะเกิดความเบื่อหน่าย
    ท่านจะพบว่า มีแต่งมเข็มในมหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่ มีแต่บริกรรมกันชั่วนาตาปี เมื่อไรก็เมื่อนั้น เลื่อนชั้นไม่ได้สักที เมื่อไรก็อยู่แต่ชั้นบริกรรมอยู่อย่างนั้น มีอาจารย์เก่งคนเดียว ลูกศิษย์ไม่เก่งเท่าท่าน จะพบเห็นแต่อย่างที่ว่านี้ แทบทั้งนั้น
    แต่การเรียนกัมมัฏฐานวิชชาธรรมกาย จะต้องแบ่งผู้เรียนเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นบริกรรม หมายความว่ายังทำปฐมมรรคไม่ได้ ถ้าทำได้แล้วจะเลื่อนไปเรียนวิชชาเบื้องต้น คือชั้นทำวิชชา ๑๘ กาย เมื่อทำวิชชา ๑๘ กายได้แล้ว ต้องเลื่อนไปเรียนวิชชาชั้นสูง แปลว่า ต้องมีวิทยากรอย่างน้อย ๓ คน จึงจะสู้งานนี้ได้
    แสดงว่ากัมมัฏฐานวิชชาธรรมกาย ท่านไม่มีโอกาสงมเข็มในมหาสมุทร ท่านมีโอกาสเลื่อนชั้น ท่านมีโอกาสได้เห็น “ธรรมกาย” เว้นแต่ท่านเกียจคร้านไม่ทำจริง และถ้าท่านไม่เอาจริง ท่านก็อยู่ชั้นบริกรรมเหมือนกัน เป็นที่น่ายินดี เรียนวันนี้ ทำธรรมกายเป็นวันนี้ ได้เรียนวิชชาชั้นสูงในเวลาไม่นาน กลับทำได้เก่งกว่าอาจารย์ ปฏิบัติได้เชี่ยวชาญกว่าอาจารย์ มีรู้ญาณแม่นกว่า ตัวอย่างนี้มีไม่น้อยเลย แปลว่าไม่ใช่อาจารย์เก่งคนเดียว วิเศษอยู่คนเดียว ศิษย์เก่งกว่าอาจารย์ มีตัวอย่างมาแล้ว เพราะอะไรจึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะเขาเอาจริง เขาทราบแนวทาง เขาทราบทางเดิน วิชชาธรรมกายเป็นสากล ทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับชั้น ใครขยันมาก ก็ได้มาก
    วิชชาธรรมกายนี้ เป็นที่พึ่งได้ ไม่ใช่การสร้างวิมานในอากาศ เรียนวันนี้ทำเป็นวันนี้ รุ่งขึ้นก็ใช้ความรู้ที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที ไม่ต้องรอไปถึงเมื่อโน้นเมื่อนี้ ไม่ต้องรอผลเอาชาติหน้า เอาผลเดี๋ยวนี้ อย่างสด ๆ ร้อน ๆ กันทีเดียว
    ท่านอยากเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะเคยแต่รู้สึก เหมือนหนึ่งเกิดอารมณ์ฌาณขึ้นแก่ใจ แต่ยังไม่เคยเห็นหน้าตา เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน พึ่งตำรา ตำราก็เขียนไว้สั้นๆ แล้วจะให้ท่านแจ้งอะไรได้
    เรื่องยากทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ อันได้แก่ บาป บุญ อริยสัจ ๔ ฌาน นรก สวรรค์ นิพพาน และอะไรต่อมิอะไร อันเป็นเรื่องยาก และเร้นลับ มันก็จะยากและลี้ลับต่อไป แต่ถ้าเราเรียนธรรมกายให้แก่กล้า เราก็จะเห็นและเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้ แต่การเห็นและเข้าใจนั้น ขึ้นอยู่กับความตั้งใจจริงแห่งการเรียนเป็นสำคัญ เพราะธรรมกายมีต้น มีกลาง มีปลาย มีอ่อน มีแก่ มีหยาบ มีละเอียด
    ตายแล้วสูญหรือตายแล้วเกิด ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ อันเป็นเรื่องที่นักปราชญ์ถกเถียงกันมานานแล้ว เรื่องนี้จะยุติเมื่อท่านเป็นธรรมกายระดับแก่กล้าแล้ว ขอแต่ว่าทำธรรมกายให้เป็นและให้แก่กล้าเท่านั้น ถ้าเราไม่เป็นธรรมกาย เราก็ขาดเครื่องมือค้นคว้า ต่างก็แสดงความเห็นอัตโนมัติกันทั้งนั้น ไม่เป็นประโยชน์อะไร
    วิชชาธรรมกายมีหลักสูตรให้เรียนมากมาย
    วิชชาธรรมกายมีหลักสูตรให้ท่านเรียนมากมาย ตามรายชื่อหนังสือที่จะได้กล่าวต่อไป ทั้งความรู้สมถะ (โลกิยะ) ความรู้วิปัสสนา (โลกุตระ) ครบถ้วน
    ท่านที่เป็นเด็กเล็ก นักเรียน ก็มีหลักสูตรให้เรียนพอควรแก่วัยและหน้าที่
    ท่านที่เป็นนักศึกษาเป็นนักค้นคว้าทดลอง ก็มีหลักสูตรให้เรียนตามสมควรแก่หน้าที่และเวลา
    ท่านที่เป็นผู้ครองเรือน ประกอบธุรกิจการค้า มีหลักสูตรให้เรียนตามความเหมาะสม แก่ผู้มีอาชีพนั้น
    ท่านที่เป็นข้าราชการ นักบริหาร มีหลักสูตรให้เรียนตามความรู้และความสามารถของท่าน
    ท่านพุทธบริษัทที่ต้องการบรรลุ โพธิญาณ และเรียนความรู้ขั้นปรมัตถ์ ระดับปุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ วิชชาธรรมกายระดับสูง ก็มีหลักสูตรให้เรียน อย่างครบครัน
    บัดนี้ มีผู้รู้ให้ความรู้แก่ท่านทุกหลักสูตรทุกระดับชั้น อย่างนี้แล้วคงเป็นที่พอใจท่าน ยังอยู่แต่เรา เราพร้อมที่จะเรียนหรือไม่ เราจะเอาจริงหรือไม่ วิปัสสนาจารย์พร้อมที่จะช่วยท่านอยู่แล้ว
    น่าเสียดายท่านที่มีกำลังวังชาดี อายุยังหนุ่มยังแน่น ปรารถนาบรรลุวิชชาวิเศษของพุทธศาสนา อ่านตำราแล้วได้แต่อยาก แต่ได้ใช้ความหนุ่มแน่นของเขาไปในเรื่องไร้สาระ ถ้าได้ใช้ความหนุ่มแน่นของเขาได้ใช้พลังใจอันเข้มแข็งของเขา ไปในเรื่องฝึกและปฏิบัติให้ถูกทาง เขาเหล่านั้นก็จะเป็นกำลังอันสำคัญของพระศาสนา
    </OBJECT></LAYER>
    </SPAN></STYLE></NOSCRIPT><!-- google_ad_section_end -->
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]


    พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต
    ๑ ตุลาคม ๒๔๙๖


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)


    <TABLE style="COLOR: #666666" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="65%"><TBODY><TR><TD width="24%"></TD><TD width="33%">ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา</TD><TD width="43%">จตุธา ปรมตฺถโต </TD></TR><TR><TD width="24%"></TD><TD width="33%">จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ </TD><TD width="43%">นิพฺพานมิติ สพฺพถา ติ</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    “ ​
    ...ปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา "




    ...ปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยปรมัตถเทศนา ซึ่งมีมาในพระปรมัตถปิฏก ยกอุเทศในเบื้องต้นขึ้นแสดงก่อน เพื่อจะได้เป็นอุทาหรณ์แนะนำแก่ท่านทั้งหลายสืบไปเป็นลำดับๆ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา เริ่มต้นแห่งปรมัตถปิฎกนี้ว่า
    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา ในพระอภิธรรมปิฏกนั้น กล่าวโดยความประสงค์แล้ว ถ้าจะกล่าวโดยอรรถอันลึกซึ้ง โดยปรมัตถ์ ก็จัดเป็น ๔ ประการ (๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน, ๔ ประการเท่านี้ พระพุทธศาสนามีปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ที่ท่านทั้งหลายได้เคยสดับตรับฟังแล้วโดยมาก ในพระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง ในพระปรมัตถ์ไม่ค่อยจะได้ฟังนัก วันนี้จะแสดงในพระปรมัตถปิฎก เพราะเวลานี้วัดปากน้ำกำลังเล่าเรียนพระปรมัตถปิฎกอยู่ ควรจะฟังพระปรมัตถปิฎกนี้ให้ชำนิชำนาญ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะได้จำไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงตรัส
    ในเริ่มแรกเริ่มเบื้องต้น ทรงตรัสในดาวดึงส์เทวโลก ได้ทรงตรัสพระปรมัตถปิฎกนี้ สนองคุณพระพุทธมารดา และแก่หมู่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่พากันมาสดับตรับฟัง ทรงตรัสอยู่ถ้วนไตรมาสสามเดือน เมื่อเวลารุ่งเช้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธนิมิตให้ตรัสพระอภิธรรมปิฎก พระบรมครูทรงไปแสวงหาอาหารบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป ไปฉันในป่าหิมพานต์ พระสารีบุตรเถรเจ้าไปปฏิบัติสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ วัน แล้วพระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกนั้นแก่พระสารีบุตร พระสารีบุตรก็นำเอาพระอภิธรรมปิฎกนั้นมาแก่มนุษย์ มนุษย์ทั้งหลายจึงได้สดับฟัง
    เมื่อพระองค์ทรงตรัสเทศนาจบพระปรมัตถปิฎกแล้ว เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในคราวนั้นพระองค์ทรงเปิดโลก ให้สัตว์นรก เทวดา มนุษย์ เห็นกันและกัน พร้อมกัน เห็นปรากฏเป็นมหัศจรรย์ ในครั้งนั้นพระพุทธาภินิหารเป็นมหัศจรรย์ สรรพสัตว์เหล่านั้นตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า อยากเป็นพระพุทธเจ้า จนกระทั่งมดดำแดง อยากเป็นพระพุทธเจ้ากันทั้งนั้น อันนี้เป็นความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้น ที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้สดับในเนื้อความของปรมัตถปิฎก ณ เวลาวันนี้ นับว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ดังจะแสดงต่อไป
    ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถาติ แปลว่า เนื้อความในพระปรมัตถปิฎกนั้น ถ้าจะกล่าวโดยเนื้ออันยิ่งใหญ่แล้ว กล่าวโดยปรมัตถ์ จัดเป็น ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ๔ ประการนี้เท่านั้นเรียกว่า พระปรมัตถปิฎก เป็นเนื้อความของพระปรมัตถปิฎกทีเดียว จำไว้ให้มั่น จิตถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง เจตสิก ถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๕๒ ดวง นี่ส่วนเจตสิก รูปถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง ๒๘ รูป มหาภูตรูป ๔, อุปาทายรูป ๒๔ รวมเป็น ๒๘ นิพพานแยกออกไปเป็น ๓ คือ กิเลสนิพพาน ขันธนิพพาน ธาตุนิพพาน นิพพานแยกเป็น ๓ ดังนี้
    วันนี้จะแสดงในเรื่อง จิต เป็นลำดับ จิต ๘๙ ดวง หรือจิต ๑๒๑ ดวง ท่านจัดไว้ดังนี้ อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง กามาวจรจิต ๒๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง และโลกุตตรจิต ๘ ดวง นี่เป็นจิต ๘๙ ดวง จำไว้เสียให้มั่น คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง อเหตุกจิต ๑๘ ดวง ๑๘ กับ ๑๒ รวมกันเป็น ๓๐ กามาวจร ๒๔ รวมกันเข้าเป็น ๕๔ ดวง รูปาวจรจิต ๑๕ รวมกันเข้าเป็น ๖๙ ดวง อรูปาวจรจิต ๑๒ รวมกันเข้า เป็น ๘๑ ดวง โลกุตตรจิต ๘ ดวง รวมเข้าเป็น ๘๙ ดวง ดังนี้ นี่โดยย่อ ถ้าโดยพิสดาร ต้องแยกโลกุตตรจิตออก ยกฌานขึ้นรับรองจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ คงเหลือจิต ๘๑ ดวง จิต ๘๙ ดวง ยกเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวงออกเสีย ยกฌานทั้ง ๕ ขึ้นเป็นที่ตั้ง จิตเดินในฌานทั้ง ๕ นั้น ฌานละ ๘ ดวง คูณกับ ๕ เป็น ๔๐ ดวง จิต ๘๑ ดวงเป็นโลกิยจิต ยกเอาโลกุตตรจิต ๔๐ ดวง มาบวกกันเข้า ๘ ก็รวมเป็นจิต ๑๒๑ ก็จิต ๘๑ ดวงนั่นเอง แต่ว่ายกเอาโลกุตตรจิต ๘ ดวง ออกเสีย ถ้าว่าเอาโลกุตตรจิตมาเพียง ๘ ดวง ก็เป็นจิต ๘๙ ดวง ถ้าหากว่าโลกุตตรจิต ๘ ดวงนั้นแยกพิสดารออกไปตามฌานทั้ง ๕ ก็เป็น ๑๒๑ ดวง นี่รู้จักแล้วว่าจิตมีเพียงเท่านี้ จะชี้แจงแสดงจิตเป็นลำดับไป ให้จำไว้เป็นหลักฐานเป็นประธาน
    ต่อไปนี้จะแสดงคัมภีร์ปรมัตถ์ที่เป็นหลักเป็นประธานให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว เพราะเป็นเนื้อธรรมจริงๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเข้าเนื้อเข้าใจแล้วนั้นยังไม่ถึงเนื้อธรรม เมื่อถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงล่ะ จงตั้งอกตั้งใจฟัง ยาก ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของละเอียดด้วย ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่อยู่กับคนที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ ต้องมีกิเลสบาง ปัญญาละเอียดทีเดียว จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจได้ ถ้าจะเทียบละก้อ ต้องเข็มเล็กๆ ด้ายเส้นเล็กๆ เย็บตะเข็บผ้าจึงจะละเอียดได้ ถ้าเข็มโตไป ด้ายเส้นโต จะเย็บตะเข็บผ้าให้เล็กลงไปไม่ได้ ฉันใดก็ดี ปรมัตถปิฎกนี้เป็นของละเอียด ต้องปัญญาละเอียดไปตามกัน จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจ เหตุนั้นจงตั้งใจฟังให้ดี
    ในอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้นั้น แบ่งออกเป็น ๓ จำพวก โลภมูล ความโลภ มี ๘ ดวง โทสมูล ความโกรธมี ๒ ดวง โมหมูล ความหลงมี ๒ ดวง ๘ กับ ๔ รวมเป็น ๑๒ ดวง นี้อกุศลจิต อกุศลจิตนี้แหละที่สากลโลก ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ที่จะทำความชั่วร้ายไม่ดีไม่งามก็เพราะอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้แหละ ไม่ใช่ทำด้วยอย่างอื่นเลย ทำด้วยอกุศลจิต ๑๒ ดวงนี้ทั้งนั้น ทำชั่วน่ะ เราต้องรู้ตัวเสีย ให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว คำว่าที่เรียกว่าจิตน่ะมันเป็นดวงๆ ที่จะจัดนี้มีถึง ๑๒ ดวง ดังนี้คือ

    จิตโลภ จัดเป็น ๘ ดวง
    1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความ เห็นผิด และเกิดขึ้นตามลำพัง นี่ดวง ๑
    2. จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือ ชักจูง นี้ดวง ๑
    3. จิตที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดโดยลำพังนี้ดวง ๑ นี้ดวงที่ ๓
    4. จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้น หรือชักจูง นี้อีกดวง ๑ รวมเป็น ๔ ดวง
    5. จิตที่เกิดประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้น โดยลำพัง นี้ดวง ๑ เป็นดวงที่ ๕
    6. จิตที่ประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑ เป็นดวงที่ ๖
    7. จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ลำพัง นี้ดวง ๑ เป็น ๗ ดวง
    8. จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑ เป็น ๘ ดวง
    นี้ชั้นหนึ่ง ๘ ดวงนี้เป็นส่วนโลภะ ความอยาก

    จิตโกรธ จัดเป็น ๒ ดวง
    1. จิตโกรธเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง ๑
    2. จิตโกรธเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง ๑
    จิตหลง ก็มี ๒ ดวง
    1. จิตหลงเกิดขึ้นโดยความสงสัย ดวง ๑
    2. จิตหลงเกิดขึ้นโดยความฟุ้งซ่าน ดวง ๑
    รวมเป็น ๑๒ ดวงด้วยกัน นี้เป็นอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านี้ ฟังยากไหมล่ะ ยากจริงๆ ไม่เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว ฟังเหมือนบุรุษคนหนึ่งนั่งกินข้าวอยู่ทีละคำๆ มันก็อิ่มเป็นลำดับขึ้นไป บุรุษคนหนึ่งนั่งกินลมอยู่เป็นคำๆ เข้าไป พอเลิกแล้วไม่อิ่มสักนิด อ้ายกินข้าวกินลมมันลึกซึ้ง อย่างนี้จริงไหม นี้ฟังเรื่องปรมัตถ์เหมือนกินลม ไม่มีเนื้อมีหนังเลย ไม่อิ่มไม่ออกเลยทีเดียว เห็นไหมล่ะ แต่รสชาติอัศจรรย์นักนะ อุตส่าห์ตั้งอกตั้งใจฟัง
    จิตดวงที่ ๑ ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก จิตดวงนี้เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นี่ต้องอย่างนี้ล่ะ จึงจะมีรส ค่อยมีรสหน่อย เราจะต้องพินิจพิจารณา หากว่าจิตของเราเองมันเกิดขึ้น มีความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง เออ อ้ายประกอบด้วยความเห็นผิดน่ะ เห็นอย่างไร ลักษณะเห็นผิดน่ะเหมือนเรายินดีมากในสิ่งที่ผิด เมื่อเราเห็นทรัพย์เข้าก้อนหนึ่ง ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของเขา ก็รู้เหมือนกันว่าเป็นของเขา แต่มันอยากได้เหลือทน ทรัพย์ก้อนนั้นมันใหญ่พอประมาณอยู่ ถ้าได้เข้าแล้วมันเลี้ยงชีพได้ตลอดสาย นับเป็นล้านๆ หรือนับเป็นแสนๆ ทีเดียว เมื่อไปเห็นทรัพย์เข้าเช่นนั้นแล้ว เราไม่ได้คิดไว้เลยว่าจะเอาทรัพย์ก้อนนั้น หรือจะขโมยหรือจะลักเขา ไม่ได้คิดเลย พอไปเห็นทรัพย์ก้อนนั้นเข้า ในที่ที่ควรจะได้ เจ้าของเผลอ พอเห็นทรัพย์เข้าเท่านั้น ใจมันปลาบปลื้มยินดีอย่างชนิดปล่อยชีวิตจิตใจทีเดียวอย่างนี้ ความยินดีมากมันเกิดขึ้นเองแล้ว จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมากนั่นแหละ นี่ทรัพย์ก้อนนี้เราหยิบเอาเสีย ธนบัตรสักแสนหนึ่งไม่เท่าไร ถ้าใบละหมื่นก็ ๑๐ ใบ เท่านั้น ใบละพันๆ ก็ ๑๐๐ ใบเท่านั้น เป็นแสนหนึ่งเสียแล้ว เอ นี่จะเอาหรือไม่เอา นี่ความเห็นผิดเกิดขึ้น เอาได้ เราก็รวย พอเห็นผิดเกิดขึ้นเช่นนั้น ไม่ต้องมีใครชักชวนกระตุ้นละก้อ คว้าเอาทรัพย์ของเขาเข้าทีเดียว คว้าทีเดียวซ่อนทีเดียว นี่สำเร็จสมความปรารถนาของตัวแล้ว เอาไปได้สำเร็จ สมเจตนาด้วย และไม่มีใครรู้เห็นด้วย ทำสนิททีเดียว นี่แหละจิตดวงนั้นแหละเกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิดด้วย มันเห็นว่าของเขา ไม่ใช่ของเรา นี่มันไปลักของเขานี้จะไม่ผิดอย่างไรเล่า มันก็ผิดนะซี่ เกิดขึ้นตามลำพังของตัว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูง ไม่ว่าในป่าหรือในที่ลับใดๆ หรือในที่มืดใดๆ ก็ตามเถอะ เอาทรัพย์ของเขามาได้สมเจตนา ไม่แต่เพียงแสนหนึ่งนะ สตางค์หนึ่งก็ดี สองสตางค์ก็ดี ถ้าว่าเป็นของเขาละก้อ แบบเดียวกัน อย่างนี้ทั้งหมด ถ้าว่าจิตเกิดขึ้นโดยความยินดีเช่นนั้น ถือเอาของเขามาเช่นนั้น นี่แหละโลภมูลดวงหนึ่ง นี้เป็นดวงต้นเกิดขึ้น เป็นอกุศลทีเดียว เราต้องไปนรกแน่ ต้องได้รับทุกข์แน่ เชื้อจิตดวงนี้ ต้องได้รับทุกข์แน่ รับบาปแน่ทีเดียว นี่ที่จะทำบาปลงไปชัดๆ มันปรากฏแก่ตนดังนี้ นี่ดวงหนึ่ง
    ดวงที่ ๒ ต่อไป จิตประกอบด้วยความยินดีมาก และเห็นผิดอีกเหมือนกัน คือ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง คราวนี้เห็นทองคำเข้าก้อนหนึ่ง หรือไปเห็นสายสร้อยเข้าเส้นหนึ่ง ราคานับแสนทีเดียว โดยเป็นของหลวงด้วย ราคานับแสนๆ ไม่ใช่ของราษฎร์ แต่ว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดเขาเอามาซ่อนไว้ ไปเห็นเข้า หรือตกหล่นอยู่ อย่างหนึ่ง อย่างใดก็ตามเถอะ ไปเห็นเข้า รู้ทีเดียวนี่ไม่ใช่ของธรรมดา ราคามากทีเดียว เมื่อไปเห็นเข้า เช่นนั้นไม่กล้า เพราะรู้ว่าเป็นของหลวง มันไม่กล้าลักของหลวง กลัวติดคุกติดตะรางขึ้นมาเสียแล้ว ก็มากระซิบกับเพื่อนกัน เออ! ข้าไปพบของสำคัญไว้ที่นั่นแน่ะทำอย่างไรนี่ อยู่ที่นั่นแน่ะ ข้าไปพบเข้าแล้วจะทำอย่างไร อ้ายเพื่อนก็ว่า ทำไมไม่เอาเสียล่ะ เพื่อนกระตุ้นเข้าแล้วว่าทำไมไม่เอาเสียล่ะ พอว่าเท่านั้นแหละก็แพล็บไปเอามาสมความปรารถนา นี่ถูกกระตุ้น หรือชักจูงเข้าแล้ว ไปเอาของของเขามาแล้ว โดนอกุศลเข้าอีกดวงหนึ่ง นี้เป็นอกุศลสำคัญ นี้แหละเป็นโลภมูล เกิดจากความโลภ เป็นอกุศลร้ายกาจอย่างนี้หนา นี้ว่าถึงลักถึงขโมย ไม่ใช่ ลักไม่ใช่ขโมยอย่างเดียว ที่ชั่วละก้อ ทั้งนั้นแหละ แบบเดียวกัน ชักตัวอย่างให้เข้าใจ ให้เข้าใจ ว่าดวงจิตดวงนี้มันเป็นอย่างนั้น ให้รู้จักหลักนี้
    ดวงที่ ๓ จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง ยินดีมากเมื่อไปเห็นสิ่งของของคนอื่นที่มีค่าเข้า ที่มีค่ามาก จะเป็นเงินทองหรือแก้วแหวนชนิดใดๆ หรือผ้านุ่งผ้าห่มชนิดใดๆ ก็ตามเถอะ เป็นวัตถุชนิดหนึ่งชนิดใดใช้ได้ จนกระทั่งสตางค์เดียวก็ใช้ได้ ใช้ได้ทั้งนั้น เมื่อไปเห็นเข้าแล้วก็รู้ว่าของนี่เจ้าของเขาพิทักษ์รักษาอยู่ เขาดูแลอยู่ เราไปพบทองเข้าหนักขนาดพันบาท นี่ก็มากอยู่หนักขนาดพันบาท แต่ว่าทองนี้ ถ้าเราเอาไปได้ เราก็ใช้ได้นาน ลงทุนลงรอนได้ ถ้าเราเอาไปไม่ได้เราก็จนอยู่แค่นี้ ถ้าเราเอาไปได้ละก้อ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เชียว ถ้าหากเขาจับเราได้ก็ต้องเข้าคุกตะรางไป ถ้าเขาจับเราไม่ได้ล่ะ เราก็ตั้งเนื้อตั้งตัวได้ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิดอะไร เห็นว่าถ้าเราเอาไปได้ก็เป็นประโยชน์แก่เรา เราไม่เอาไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เข้าใจว่าจะหลบหลีกพ้น แต่เราต้องได้รับผลชั่วเพราะเราขโมยเขา จะทำอย่างไรได้ ก็มันจนนี่ มันก็ต้องขอไปทีสิ คว้าทองนั้นเข้าก้อนหนึ่งโดยความยากจน มาเป็นของตัวแล้ว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูงเลย คิดตกลงในใจของตัวเอง เอาของของเขาไปดังนี้ แล้วก็รู้ด้วยว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นอกุศลเป็นโทษ เห็นก็ไม่ใช่เห็นผิด เห็นถูกนี่แหละเห็นว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นโทษ แต่ว่ามันจนเต็มที มันก็ต้องขอไปที ใจกล้าหน้าด้านเอาทีหนึ่ง มันก็เป็นอกุศลจิตเหมือนกัน อกุศลอีกนั่นแหละ ลักเขาขโมยเขาไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เห็นถูก นี้เป็นจิตอีกดวงหนึ่ง ดวงที่ ๓
    ดวงที่ ๔ ก็แบบเดียวกันอย่างนั้นอีก จิตที่ประกอบด้วยความอยากมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด แบบเดียวกันกับเห็นทองอย่างนั้นแหละ เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ทีนี้เราเห็นเพชรสักเม็ดหนึ่งราคานับล้านแต่ไม่ใช่ของเราแบบเดียวกัน เออ! เมื่อไปเห็นเพชรเข้าเช่นนั้นแล้ว จะตกลงใจอย่างไรล่ะ ราคามันมากขนาดนี้เมื่อไรจะพบกันล่ะ แต่ยังไม่กล้า ที่จะเอาเพชรเม็ดนั้นด้วยกลัวเกรงอันตรายหรือกลัวติดคุกติดตะราง นำเอาเรื่องไปบอกพวกเพื่อนๆ พวกเพื่อนๆ บอกว่าทำไมจึงไม่เอา เอ็งนี่มันโง่เกินโง่อย่างนี้นี่ พอเพื่อนว่าเข้าเท่านั้น ก็ไปลักเพชรเม็ดนั้นได้สมความปรารถนา เอาไปเก็บไว้สมเจตนาของตน นี้ต้องมีผู้กระตุ้น หรือชักจูงเป็นจิตดวงที่ ๔
    สี่ดวงนี้เป็นโลภมูลทั้งนั้น โลภมูลอีกสี่ดวงต่อมาเป็น ๘ ดวง
    ดวงที่ ๕ จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ แต่ว่าประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่มีความยินดีมากมายใหญ่โตนัก ได้ก็เอา ไม่ได้ก็แล้วไป พอสมควรแต่ว่ากิริยาแบบเดียวกัน นี่เป็นจิตดวงที่ ๕
    ดวงที่ ๖ จิตที่เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณแบบเดียวกัน และประกอบด้วยความเห็นผิด ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนา ก็แบบเดียวกันอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่ว่ามันไม่ยินดีมากนัก ดวงก่อนยินดีมาก ดวงหลังยินดีพอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นเพราะความอยากได้พอประมาณ เช่น ไปเห็นทองหรือเพชรดังกล่าวแล้วแบบเดียวกัน ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงจึงจะสำเร็จความปรารถนา นี้เป็นดวงที่ ๖
    ดวงที่ ๗ จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นมีความอยากได้พอประมาณ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ก็แบบเดียวกัน ดังอธิบายมาก่อน นี่เป็นดวงที่ ๗
    ดวงที่ ๘ จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความอยากได้พอประมาณ ไม่มีความเห็นผิด แต่ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนาแบบเดียวกันนั่นแหละ นี้เป็นดวงที่ ๘
    จิต ๔ ดวงก่อนกับ ๔ ดวงหลัง ไม่ได้ต่างจากกัน สี่ดวงก่อน จิตที่เกิดขึ้นด้วยความอยากมากยินดีมาก สี่ดวงหลังนี่ยินดีพอประมาณเท่านั้น เมื่อรู้จักจิต ๘ ดวงนี้แล้ว มันก็อยู่ในตัวของเรานี่เองเกิดขึ้นแก่เราเอง เราเคยพบมานี่ อ้ายพวกนี้ เคยพบเคยปะอยู่บ้าง แต่ว่าเราไม่รู้จักมัน วันนี้เราจะรู้จักมันล่ะ พอมีรสบ้าง แต่ว่ายังมีรสน้อยเต็มที กว้างกว่านี้ ยังจะมีรสมากว่านี้อีก แต่ว่าให้รู้จักเสียชั้นหนึ่งก่อนโดยย่อ
    จิตที่เป็นอกุศล จิตโทสะ มี ๒ ดวง
    จิตโทสะดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยลำพัง อ้ายนี่อกุศลจิต เกิดขึ้นโดยลำพังมันเป็นอย่างไร อกุศลจิตเกิดขึ้นโดยลำพัง เช่น เราไปในสถานที่ใดๆ ก็ช่าง อยู่ในบ้านก็ช่าง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีอะไรทั้งหมด ใจมันโกรธ จิตดวงนี้เป็นจิตโกรธ มันโกรธขึ้นไม่มีใครทำอะไรเลย อยู่ดีๆ มันก็พลุ่งพล่านโกรธขึ้นอย่างนั้น ไม่มีใครว่าไม่มีใครทำอะไรทั้งหมด โกรธขึ้นมาก็มีอาการต่างๆ ใครจะพูดกระทบกระเทียบเข้านิดๆ หน่อยๆ ไม่ได้ก็แปลบๆ ขึ้นมาทีเดียว นั่นมันเรื่องอะไร ไม่มีใครรู้เรื่องของตัวเลย มันโกรธอยู่ในใจอย่างนั้นแหละ นี่โกรธขึ้นโดยลำพัง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีว่ากล่าวกระทบกระเทียบเลย มันเกิดขึ้น มันพลุ่งพล่านอยู่ภายในของตัวเอง อ้ายนี้แหละเขาเรียกว่าโทสจริต นี่แหละโทสจริตมันเกิดขึ้นอย่างนี้แหละ เกิดขึ้นโดยลำพัง
    จิตโทสะดวงที่ ๒ มันเกิดขึ้นโดยมีคนชักจูงหรือกระตุ้นเตือน มีคนชักจูงหรือกระตุ้นขึ้น อ้ายนั่นมันยั่วให้โกรธน่ะซี สามียั่วให้ภรรยาโกรธบ้าง ภรรยายั่วให้สามีโกรธบ้าง หรือชาวบ้านยั่วให้โกรธบ้าง คนโน้นคนนี้ยั่วให้โกรธบ้าง ไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำพัง มีคนยั่วให้โกรธ เอารูปที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอาเสียงที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอากลิ่นที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอารสที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง ยั่วเข้ามันก็โกรธน่ะซี่ นั่นแหละมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงให้โกรธขึ้น
    จิต ๒ ดวงนี้ก็ร้ายเหมือนกัน จิต ๒ ดวงนี้เกิดขึ้นโดยลำพังดวง ๑ เกิดขึ้นโดยมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงดวง ๑ จิตเหล่านี้พออธิบายง่ายหรอก จิตโกรธนี่น่ะ
    จิตหลงนี่น่ะลึกซึ้งนัก จิตหลงมี ๒ ดวง
    จิตหลงดวงที่ ๑ เกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงใจ อ้ายนี่สำคัญอยู่ จิตหลงเกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงในใจ จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ในการครองเรือนของตนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง หรือไม่ได้ครองเรือนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ลังเล ไม่ตกลงในใจอย่างนั้นแหละร่ำไป อย่างนี้เขาเรียกว่าจิตหลง จะทำอะไรก็ไม่แน่นอนลงไป เข้าทำราชการก็ไม่แน่นอน แต่จะทำหรือไม่ทำก็ไม่แน่นอน ทำส่วนตัวก็ไม่แน่นอน ทำนา ทำไร่ ไม่แน่นอนทั้งนั้น ไม่ตกลงในใจ ถึงทำกิจการอันหนึ่งอันใดก็ไม่ตกลงในใจทั้งนั้น เมื่อสั่งการงานไม่ตกลงในใจอย่างนี้ มันลังเลอยู่เช่นนี้ มันก็ทำอะไรไม่ได้ มันก็หลงงมงายอยู่เช่นนั้น นี่เขาเรียกว่าจิตหลงมันเกิดขึ้น ลังเลไม่ตกลงในใจ สิ่งใดที่ลังเลไม่ตกลงในใจแล้ว พูดออกไปก็ดี ทำลงไปก็ดี มีผิดกับถูกสองอย่างเท่านั้น ถูกก็มี ผิดก็มี เพราะมันลังเล ไม่ตกลงในใจเสียแล้ว การที่จิตลังเลไม่ตกลงในใจน่ะ เช่น เรารักษาศีลอย่างนี้แหละไปเจอ ทรัพย์เข้าหรือสัตว์เข้าตัวใหญ่ๆ ที่ชอบอกชอบใจที่มีค่ามาก เราฆ่าลงไปเป็นอาหารของเราได้นาน เราลักเอาไป ก็เป็นอาหารได้นาน แต่เราไม่ตกลงในใจ เราจะรักษาศีลดี หรือรักชีวิตดี จะลักเขาดีหรือจะฆ่าเขาดี หรือว่าจะไม่ลักไม่ฆ่าเขาดี ถ้าไม่ลักไม่ฆ่าเขาเราก็อด เราก็จน ถ้าลักเขาฆ่าเขาได้ เราเลิกอดเลิกจน ลังเลไม่ตกลงในใจอย่างนี้ นี่เขาเรียกว่าจิตหลง มันระคนจิตหลงเข้าคละอยู่ด้วย ถ้าทำลงไปด้วยอำนาจจิตหลงอย่างนั้น ถ้าทำผิดมันก็ผิดไป ถ้าทำถูกมันก็ถูกไป แต่ว่าในที่นี้ประสงค์เอาที่ผิดเพราะว่าเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่กุศลจิต ประสงค์ที่ผิดฝ่ายเดียว เรียกว่าลังเลไม่ตกลงในใจ นี้เป็นจิตหลงดวง ๑
    จิตหลงดวงที่ ๒ อาการทำโดยฟุ้งซ่านน่ะ อ้ายนี่มันครึ่งบ้าครึ่งดี ลูกเต้าใกล้เคียง เหวี่ยงปึงลงไปให้ก็ตายเลย กำลังมันไม่สบายอกสบายใจ ทำโดยฟุ้งซ่าน ด้วยหลงเหมือนกัน เหมือนคนทำโดยฟุ้งซ่านทำมันแรงเกินไป ไม่ปรารถนาให้ตายหรอก มันไปตายเข้าก็เลยติดคุก นั่นเพราะทำด้วยจิตฟุ้งซ่าน นี้เป็นจิตหลงดวง ๑
    จิตหลง ๒ ดวงนี้สำคัญมาก ต้องคอยระแวดระวังสำคัญอยู่ ไม่ให้ไปทางถูก ให้ไปทางผิดร่ำไป
    นี้จิต ๑๒ ดวงนี่แหละมันควบคุมเราอยู่ ให้เราไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เราตกต่ำเลวทรามลงได้ด้วยประการใดๆ ก็เพราะจิต ๑๒ ดวงนี่เอง ต้องควบคุมไว้ให้ดี ต้องเล่าเรียนเสียให้ชัดทีเดียว ถ้าว่าเล่าเรียนเสียให้ชัดแล้ว รู้หน้ารู้ตารู้ขอบรู้เขตของมันแล้ว มันจะข่มเหงเราไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเสียแล้วมันก็จะข่มเหงเราตามชอบใจ ในตัวของเรานี้ไม่ใช่ที่อื่น นี่แหละมันเนื้อหนังปรมัตถ์ทีเดียว ฝ่ายความชั่วล่ะ เป็นเนื้อหนังของพระอภิธรรมปิฎกทีเดียว จิต ๑๒ ดวงนี่แหละ
    ที่แสดงวันนี้แสดงแต่เพียง ๑๒ ดวง เวลาไม่เพียงพอ แล้วต่อไปจะแสดงเป็นลำดับไป อเหตุกจิต กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรวิต พอหมดเรื่องจิตแล้วละก็จะแสดงรูป ๒๘ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ หมดรูปแล้วจะแสดงนิพพาน ให้เข้าเนื้อเข้าใจแตกฉานใน ๔ อย่างนี้ให้ได้ เพราะวัดปากน้ำเริ่มลงมือเล่าเรียนกันแล้วใน ๔ อย่างนี้ ภิกษุสามเณรเล่าเรียนกันแล้ว ที่แสดงนี้ก็เป็นอุปการะแก่ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาที่กำลังเล่าเรียนกันอยู่นี้ กำลังศึกษาอยู่ มีครูสอน พระทิพย์ปริญญาเป็นผู้สอนปรมัตถปิฎกนี้ ผู้สอนปรมัตถ์ ไม่ใช่เล่นๆ หนา ต้องมีภูมิพอ ต้องมีการศึกษาพอ ถ้าไม่มีการศึกษาพอละก้อ ลูกศิษย์สู้ครู ถามกันเจ๊งแน่ทีเดียว ไม่ต้องสงสัยละ เพราะเป็นของที่ลึกซึ้งมาก ถามเจ๊งแน่ ถามติดแน่ทีเดียว เพราะฉะนั้นอุบาสกอุบาสิกาควรตั้งอกตั้งใจศึกษาเถิด
    ปรมัตถปิฎกเป็นเนื้อหนังพุทธศาสนาจริงๆ ส่วนวินัยปิฎกเป็นข้อห้ามข้อปรามไม่ให้ทำชั่วด้วยกายด้วยวาจาเท่านั้น ส่วนสุตตันตปิฎก เป็นสายบรรทัด เป็นตัวอย่างว่าคนนั้นทำอย่างนี้เป็นสุขอย่างนี้ คนนั้นทำดังนี้ พ้นจากทุกข์ พ้นจากไตรวัฏ ไปสู่นิพพานอย่างนี้ นั่นเป็นหน้าที่ของสุตตันตปิฎก ไม่ใช่เนื้อหนังของธรรม ส่วนปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้


    จบเทศนา โดยหลวงปู่สดฯ เรื่อง พระปรมัตถปิฎก
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายเป็นอานาปานสติหรือไม่ ?

    เป็น และหลวงพ่อก็แนะนำสั่งสอน มีอยู่ในพระธรรมเทศนาของท่าน แต่ท่านไม่พูดเรื่องนี้มาก ที่อาตมาจะกล่าวต่อไปนี้ โปรดเข้าใจว่าการเจริญภาวนาธรรมตามแนวนี้มีวิธีปฏิบัติในขั้นสมถะหลายอย่างรวมกัน
    นับตั้งแต่เอาผลในระดับอุคคหนิมิตของอาโลกกสิณคือกสิณแสงสว่าง เอามาใช้เป็นเบื้องต้นของพระกัมมัฏฐาน คือให้นึกถึงดวงแก้วใส ณ ศูนย์กลางกาย นี้ก็เป็นอาโลกกสิณ ซึ่งผู้เพ่งกสิณแสงสว่าง เมื่อได้ประมาณอุคคหนิมิต จะเห็นเป็นดวงใส หลวงพ่อเอาผลของอาโลกกสิณในระดับนี้ เอามาเป็นเบื้องต้น เป็นบริกรรมนิมิต นึกให้เห็นดวงใส เพื่อให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวได้โดยง่าย เพราะเมื่อนึกเห็นอยู่ที่ไหน ใจก็อยู่ที่นั่น
    ใจประกอบด้วยธรรมชาติ ๔ อย่าง ภาษาพระเรียก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยธรรมปฏิบัติหลวงพ่อเรียก เห็น จำ คิด รู้ จริง ๆ แล้ว มีลักษณะเป็นดวงใสซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างใน ศูนย์กลางตรงกัน ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ ๔ คือ เวทนาขันธ์ ขยายออกเป็น “ดวงเห็น” ขนาดประมาณเท่าเบ้าตา “ดวงจำ” ประมาณเท่าลูกตาทั้งหมด ขยายส่วนหยาบออกมาจากสัญญาขันธ์ “ดวงคิด” ประมาณเท่าลูกตาดำแต่ใส ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ขยายส่วนหยาบออกมาจากสังขารขันธ์ “ดวงรู้” ประมาณเท่าแววตา ใสบริสุทธิ์ อยู่กลางเห็น จำ คิด นั่นขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของวิญญาณขันธ์ รวมเป็นนามขันธ์ ๔ ธาตุละเอียดของนามขันธ์ ๔ นี้ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน ตรงกลางรูปขันธ์ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม
    ทีนี้ เมื่อใจเห็น ท่านเลยเรียกว่า “ดวงเห็น” เพราะเห็นด้วยใจ ธาตุเห็นอยู่ในท่ามกลางนั้น ใจเห็นดวงแก้ว จำอยู่ที่ดวงแก้ว คิดตรึกนึกอยู่ที่ดวงแก้ว รู้อยู่ที่ดวงแก้วกลางของกลางนั้น รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ใจจะเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงเร็ว และเป็นที่เกิดที่เจริญของทิพพจักขุ ทิพพโสต นี่วิธีปฏิบัติขั้นสมถะประการหนึ่งที่สำคัญ ที่ท่านเอามาไว้ให้เหมาะกับจริตอัธยาศัยของบุคคลทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทที่มักฟุ้งซ่านเสมอ
    นอกจากนั้น ยังเอาพุทธานุสติมาเป็นบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหังๆ” ซึ่ง “สัมมา” มาจาก “สัมมาสัมพุทโธ” แปลว่า พระผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ หมายเอาพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า “อรหัง” แปลว่า พระผู้ไกลจากกิเลส หมายเอาพระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า ท่านให้ท่อง สัมมาอะระหัง ๆ นั่นเป็นพระนามใหญ่ของพระพุทธเจ้า ควบพระพุทธคุณในข้อปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เป็นพุทธานุสติ ซึ่งก็ควบเอาธัมมานุสติ สังฆานุสติเข้าด้วยกัน ธัมมานุสติก็คือธรรมฝ่ายบุญฝ่ายกุศล ใจสะอาดบริสุทธิ์ด้วยธรรมฝ่ายบุญฝ่ายกุศล นั่นแหละ “สัมมาอะระหัง” ควบตั้งแต่พุทธานุสติ ธัมมานุสติ ถึงสังฆานุสติ คือน้อมพระพุทธคุณมาสู่ใจเรา ผู้ปฏิบัติผู้รักษาพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า ถ้ารู้จักวิเคราะห์จะเห็นเลย สัมมาอะระหัง คำเดียว จึงศักดิ์สิทธิ์ด้วย ใครทำบ่อยๆ ใจใส ใจหยุด ใจนิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ คือสำเร็จได้ด้วยใจ ตรึกอธิษฐานใดๆ โดยชอบ ย่อมสำเร็จตามระดับภูมิธรรมของตน นี่สัมมาอะระหังดีอย่างนี้ เป็นพระนามใหญ่ของพระพุทธเจ้า นี่เอามา ๒ เรื่อง อาโลกกสิณ กับพุทธานุสติ ซึ่งควบเอาธัมมานุสติ สังฆานุสติ เข้าไว้ อันนี้เหมาะกับผู้มีจริตอัธยาศัยชอบวิตกวิจารณ์ คือไม่ค่อยเชื่ออะไรง่ายๆ น้อมเอาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเข้ามา ก็ทำให้ใจอ่อนโยนได้ ให้นึกถึงบุญกุศลของตัวด้วย นี่ ๒ อย่าง
    อย่างที่ ๓ ก็คือ ให้ตั้งใจไว้ตรงกลางกายซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อกำหนดฐานที่ตั้งใจไว้สำคัญนัก เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งของธรรมในธรรมฝ่ายบุญฝ่ายกุศล และก็กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต คือ ทั้งธรรม และกายและใจตั้งอยู่ตรงนั้น ณ ภายในมีเท่าไร สุดละเอียดเพียงไหน อยู่ตรงนั้นถึงนิพพานทีเดียว
    เพราะฉะนั้น ท่านให้เอาใจไปจรดไว้ตรงนั้นที่นี้ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อยู่เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ ถ้าท่านหายใจเข้าออก ท่านจะพบว่าลมหายใจเข้าไปจนสุดนั้น สุดตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี และก็ตั้งต้นหายใจออกตรงนั้น เป็นต้นทางลมและก็เป็นปลายทางลมหายใจเข้าออก ตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี ใจหยุดก็ต้องไปหยุดตรงนั้น เขาเรียกว่า “กลางพระนาภี”
    พระพุทธเจ้าทรงสอนอานาปานสติ เมื่อลมหยุดก็ไปหยุดกลางพระนาภี ถึงให้กำหนดใจกี่ฐานๆ ก็แล้วแต่ สำหรับผู้ทำอานาปานสติกำหนดที่ตั้งสติลมหายใจผ่านเข้าออก ทางปากช่องจมูกหรือปลายจมูก ที่ลำคอ และที่กลางพระนาภี นี่อย่างน้อย ๓ ฐาน เขามักจะกำหนดกันกำหนดอานาปานสติ ๓ ฐาน เป็นอย่างน้อย กำหนดอะไร กำหนดสติรู้ลมหายใจเข้าออกกระทบอย่างน้อย ๓ ฐาน นี้สำหรับผู้ปฏิบัติทั่วไป แต่เมื่อลมละเอียดเข้าไปๆ ๆ แล้ว โดยธรรมชาติลมหายใจมันจะสั้นเข้าๆ ๆ ละเอียดเข้า
    ทรงสอนว่า ลมหายใจเข้าออกพึงมีสติรู้ ลมหยาบ ลมละเอียด ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น พึงรู้ มีสติรู้ จนถึงลมหยุด หยุดที่ไหน ? หยุดที่กลางพระนาภี หยุดกลางพระนาภี ก็คือศูนย์กลางกายนั่นแหละ ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก หรือที่ตั้งต้น หรือจะเรียกว่าต้นทางลม หรือปลายทางลมก็แล้วแต่จะเรียก จริงๆ แล้ว อยู่ตรงกลางกายตรงระดับสะดือพอดี ที่หลวงพ่อเรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖
    แต่ว่า ถ้าว่าเอาใจไปจรดตรงนั้นนะ จะไม่เห็นธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้ชัด เพราะเหมือนอะไร เหมือนเอาตาแนบกระจก ไม่เห็นเงาหรือภาพข้างใน ฉันใด หลวงพ่อก็เลยให้ขยับเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ที่ตั้งเห็น จำ คิด รู้ ให้สูงขึ้นมาเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ เหมือนเราขยับสายตาเราห่างจากกระจก เราจะเห็นเงาได้ชัดเจน ประกอบกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายและใจมีธรรมชาติหรืออาการเกิดดับตามระดับจิตหรือภูมิของจิต คือเมื่อจิตสะอาดยิ่งขึ้นจากกิเลส จิตดวงเดิมก็ตกศูนย์จากศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ลงไปสู่ศูนย์กลางฐานที่ ๖ ธรรมในธรรม ที่ใสบริสุทธิ์ซึ่งมีจิต หรือจิตในจิตซ้อนกันอยู่ ที่ใสบริสุทธิ์กว่า ก็ลอยเด่นขึ้นมาศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้วก็ทำหน้าที่ของตนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เพื่อทำหน้าที่ต่อไป
    ตรงนี้นักปริยัติบางท่านก็เข้าใจว่า จิตเกิดดับ แต่เกิดดับอย่างไรไม่รู้ เพราะไม่เคยเห็น และยังมีบางท่านที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีก บอกว่าจิตเดิมแท้ๆ ไม่ได้เกิดดับนะ ที่เกิดดับนั้น มันเฉพาะอาการของจิตที่มีกิเลสของจรมาผสม หรือว่ามีบุญเข้ามาชำระกิเลสนั้น จิตก็เปลี่ยนวาระ เป็นอาการของจิต คือถูกทั้งนั้น แต่ว่าอาการของจิตที่เกิดดับตรงนั้น มันมาปรากฏตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หลวงพ่อก็เลยกำหนดที่เหมาะๆ สำหรับที่ควรเอาใจไปหยุดไปจรดไปนิ่งตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่ตั้งของกายในกาย จิตในจิตและธรรมในธรรม อาตมาพูดจิตในจิต ให้พึงเข้าใจว่า รวมทั้งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเข้าด้วยกัน นี้เป็นเรื่องที่ ๓ ที่หลวงพ่อกำหนดไว้เพื่อให้เข้าพิจารณาเห็นกาย เวทนา จิตธรรม ณ ภายในไปสุดละเอียด เป็นตัวสติปัฏฐาน ๔ ไปจนถึงนิพพาน และเป็นตัวชำระ กิเลส ณ ที่ตรงนั้น ด้วยหยุดในหยุดกลางของหยุด เพราะถูกกลางของกลางธรรมในธรรม ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป เป็นการละหรือปหานอกุศลจิตเรื่อยไป จึงมีสภาวะที่เป็น “นิโรธ” ดับสมุทัย
    ทีนี้ มีธรรมชาติสำคัญอันหนึ่ง เมื่อกี้กล่าวมาถึงว่า เมื่อใจหยุดนิ่งจะตกศูนย์เองโดยธรรมชาติ ณ ที่ตรงนั้น ลอยเด่นขึ้นมาก็ตรงนั้น กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม เมื่อผู้เจริญภาวนากระทำอานาปานสติหรือเจริญอานาปานสติ ถึงจะตั้งสติไว้ตรงไหนฐานไหนก็ตาม ถ้าว่าจิตละเอียด ลมหายใจจะสั้นเข้าๆ ๆ สติสัมปชัญญะก็อยู่ตรงนั้น รู้ตรงนั้น ลมหายใจไม่ได้ไปอยู่ตรงแม่เท้าหรือหัวเข่า หรืออยู่บนกลางกระหม่อม ก็ไม่ใช่ทั้งนั้นนะ ลมหายใจมันละเอียดไปๆ ไปหยุดตรงกลางพระนาภี เพราะฉะนั้นหลวงพ่อก็เลยให้ตั้งใจไว้ตรงนั้น ที่แท้ก็คือเป็นตัวอานาปานสตินั้นเอง เป็นอยู่แล้ว แต่ว่าหลวงพ่อไม่เพ่งเล็งเรื่องให้สาวลมหายใจเข้าออก เพราะอะไร เพราะรู้ว่าธรรมชาติของใจมันจะหยุดนั้น ให้สังเกตดูว่าหลวงพ่อเอาอะไรมาประกอบการเจริญภาวนา ท่านจะเอาผลอย่างน้อยส่วนหนึ่งหรือขั้นหนึ่งเอามาเป็นเหตุเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการปฏิบัติ ในเมื่อผลของอานาปานสติ ใจหยุดตรงกลางพระนาภี ก็เลยให้กำหนดใจอยู่ตรงนั้น สติรู้ลมหายใจเข้าออกจึงอยู่ตรงนั้น จะได้ไม่ต้องสาวไปสาวมา ผู้ที่ไม่รู้เหตุรู้ผลของอานาปานสติ จะสาวลมหายใจเข้าออกอยู่นั้นแหละ จิตก็หยาบ คือจะละเอียดได้ครึ่งหนึ่ง แต่จะไม่ละเอียดที่สุด เพราะหยาบ ต้องสาวลมหายใจเข้าออก ลมจึงไม่ละเอียดที่สุดและก็ไม่สามารถที่จะหยุดนิ่งเป็นเอกัคคตารมณ์ที่แท้จริงได้ เลยไม่ได้ถึงผลของอานาปานสติที่แท้จริงตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ก็ได้ผลส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ไม่ได้เลย แต่ผู้ที่รู้ผู้ที่ปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน รู้เรื่องอานาปานสตินี่ เขารู้นะว่าลมหายใจเข้าออกยาว แล้วค่อยๆ สั้นเข้าๆ ค่อยๆ ละเอียด ไปหยุดอยู่ตรงกลางพระนาภี รู้ทุกท่าน พระอริยเจ้ารู้ทุกท่าน เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนว่า ให้นำนิมิตไปพิจารณาที่ศูนย์กลางกาย
    เพราะฉะนั้น เรื่องอานาปานสตินี้ วิชชาธรรมกายมีอยู่ เป็นอยู่แล้ว และหลวงพ่อพูดและสอนถึงอยู่เสมอ แต่มิให้ไปกังวลเรื่องการสาวลมหายใจเข้าออก ซึ่งจะทำให้ใจไม่ละเอียดที่สุด คือละเอียดได้ส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ถึงที่สุด เพราะฉะนั้น จึงให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ที่ศูนย์กลางกายอันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่สุดเป็นที่ตั้งต้นลมหายใจเข้าออก ให้มีสติรู้ตรงนั้น เมื่อจิตละเอียดก็หยุดตรงนั้นเอง
    บางครั้งกำหนดนิมิตดวงแก้วใส นึกไม่เห็น ก็จะมีอุบายบอกว่า ทำใจให้สว่างเหมือนกลางวัน นึกให้เห็นดวงแก้ว เหมือนกับว่ามีอยู่แล้วในท้องของเรา นึกให้เห็นลมหายใจเข้าออกกระทบดวงแก้ว ก็แปลว่าให้สติอยู่ตรงศูนย์กลางดวงแก้ว เห็นลมหายใจเข้าออก นี้เป็นตัวอานาปานสติ แต่ไม่ต้องสาวลมหายใจเข้าให้จิตละเอียดเร็วขึ้น หยุดเร็วขึ้นกว่าเห็น พอนึกเห็นลมหายในเข้าออกกระทบดวงแก้วได้ที่แล้ว ปล่อยความสนใจในลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตละเอียดยิ่งขึ้นและหยุดได้เร็วตรงนั้น นี่ก็เป็นอุบายและเป็นตัวอานาปานสติจริงๆ ด้วย ให้เข้าใจนะว่า หลวงพ่อท่านสอน แต่ไม่สอนให้สาวลมหายใจเข้าออก ให้มีสติรู้อยู่ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมแห่งเดียว เพื่อจิตจะได้หยุดเร็ว หยุดถูกที่ เร็วด้วยและก็ถูกที่ด้วย ถูกที่อะไร? ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ถูกกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ตรงนั้นเป็นตัวอานาปานสติ และเข้าสติปัฏฐาน ๔ ตรงนั้นเลย มีสติเห็นคือเห็นจริงๆ ไม่ใช่นึกเห็น เพราะใจหยุด มันไม่ได้นึกหรอก สิ่งที่เห็นนั้นไม่เคยนึกเห็นได้มาก่อน อย่างเช่นกายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหมนี้ไม่ได้เคยไปนึกเห็นกายละเอียดมาก่อนว่า สวยอย่างนั้น ละเอียดอย่างนั้น มีไอ้โน่น มีไอ้นี่ ไม่รู้หรอก แต่พอใจเข้าถึง ก็เห็นด้วยใจอย่างนั้น
    เพราะฉะนั้น คนไม่ทราบมักจะวิจารณ์ว่าการปฏิบัติแบบเรานี้เป็นวิปัสสนึก คือนึกเอา ที่แท้ไม่ได้นึก ก็ให้หยุดๆ นึกที่ไหนเล่า ใจหยุด ไม่ใช่ใจนึก นึกตอนแรกเพื่อให้ใจมารวมกัน คือ เห็น จำ คิด รู้มารวมกัน พอใจหยุดแล้ว ก็หยุดในหยุดกลางหยุด ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อย สิ่งที่เห็นก็จึงเป็นของจริงโดยสมมติ ถ้าสิ่งที่เห็นนั้นยังอยู่ในระดับโลกิยะ ถ้าสุดละเอียดไปเมื่อถึงโลกุตตรธรรมจึงเป็นของจริงโดยปรมัตถ์
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ศูนย์ของภพต่างๆ ศูนย์ของเครื่องต่างๆ ที่เป็นเครื่องควบคุม
    ใหญ่ของภพ หรือเครื่องย่อยๆ ตลอดจนเครื่องย่อยที่ควบคุมอยู่
    ในธาตุธรรมทั่วกายมนุษย์ แต่ละคนก็มีศูนย์อยู่ตรงกัน (ดังนั้น
    ถ้าสามารถเข้าสู่ศูนย์กำเนิดเดิมของตัวเราเองได้ เราจะสามารถ
    เข้าสู่ศูนย์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ จะสามารถรู้เห็นสรรพสิ่งนานา
    ตลอดไตรโลกธาตุนานาจักรวาลอนันตจักรวาลนี้ได้

    ความรู้เรื่องธาตุธรรม 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายขาว (บุญ) ฝ่ายกลาง
    ๆ และฝ่ายดำ (บาป), เรื่องการแย่งกันสอดวิชชาของฝ่าย
    ต่างๆ เข้าปนเป็นในธาตุธรรมของสัตว์โลก เพื่อแย่งกันปกครอง
    บังคับบัญชาสัตว์โลกให้เป็นไปตามปิฎกของตน, เรื่องของภพ
    และการปกครองภพ, เรื่องของเครื่องควบคุมภพ และควบคุม
    สัตว์ให้เป็นไปตามความประสงค์ของฝ่ายตน ตลอดจนเรื่อง
    ของการเกิดดับของสัตว์โลกในภูมิต่างๆ ทั่วไปทั้งหมด และ
    อื่นๆ อีกมากมายซึ่งเปรียบได้กับใบไม้ในป่าที่ได้เพิ่มเติมขึ้นไป
    อีก จากใบไม้ในกำมือ (ที่หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับความจำ
    เป็นเพื่อการพ้นทุกข์)

    วิชชาที่จะชี้แนวทาง หรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เราได้รู้เห็น และ
    เข้าถึงศูนย์กำเนิดเดิมของ มนุษย์คือตัวเราเองได้นั้นที่เห็น
    ชัดเจนที่สุดในขณะนี้ก็คือ วิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ที่
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำพระมงคลเทพมุนี (สด จัน
    ทสโร) ได้ค้นพบ และนำมาสั่งสอน ถ่ายทอดสืบกันมานั่นเอง
    วิชชานี้สอนให้ตั้งจิตในการทำสมาธิไว้ ณ ศูนย์กลางกายซึ่ง
    ตรงกับศูนย์กำเนิดเดิม เมื่อจิตหยุดนิ่ง และละเอียดพอก็จะ
    สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาได้ตามความสามารถในการ
    ปฏิบัติของเราเอง ที่สำคัญคือ ต้องสามารถทำจิตให้หยุด ให้
    เห็น จำ คิด รู้ ของเราหยุดนิ่งเป็นจุดเดียวกัน ณ ศูนย์กลางกาย
    ได้หยุดเป็นตัวสำเร็จ ต้องหยุดนิ่งได้ดีจึงจะสำเร็จ

    ในเบื้องต้นเมื่อจิตหยุดได้ถูกส่วนพอดีจะเห็นดวงธรรมที่
    หลวงพ่อเรียกว่าดวงปฐมมรรค หรือดวงธรรมของกายมนุษย์
    ถ้าจิตสามารถหยุดนิ่งได้ยิ่งขึ้น จิตละเอียดยิ่งขึ้นจะสามารถเห็น
    กายต่างๆ ผุดซ้อนกันขึ้นมาตามลำดับจนถึงกายธรรม หรือที่
    หลวงพ่อเรียกว่า “ธรรมกาย” ซึ่งพระเดชพระคุณท่านได้นำมา
    เป็นชื่อวิชชาธรรมกายนั่นเอง ถ้าสามารถปฏิบัติได้แค่ เพียง
    ระดับขั้นต้นนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้อำนาจสมาธิที่เพียงพอที่จะ
    ปฏิบัติต่อทางวิปัสสนาได้เป็นอย่างดี หากปรารถนาเพียงแต่พ้น
    ทุกข์ได้เหมือนกับการฝึกสมาธิโดยวิธีการอื่นๆ เช่นการกำหนด
    กสิณ หรือการกำหนดลมหายใจเพื่อให้จิตเกิดสมาธิก่อนแล้วทำ
    วิปัสสนาในภายหลัง ไม่มีอะไรแตกต่างกัน ถ้าเราจะต้องการได้
    แค่ใบไม้เพียงกำมือเดียวเท่านั้น

    ที่แตกต่างกันคือ ในวิชชาธรรมกาย หลวงพ่อได้สอนและชี้
    ช่องทางวิธีที่จะไปเก็บใบไม้ในป่าไว้ให้อีก ในขั้นตอนวิธีการ
    ปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายระดับสูงๆ ขึ้นไป โดยการฝ่าย
    ทางศูนย์กลางกำเนิดเดิมนี้ไปสู่มหาหิมพานต์ เพื่อให้เราเก็บ
    ใบไม้ของความรู้ต่างๆ ของเรื่องราวในอนันตโลกธาตุไม่เพียง
    แต่ได้รู้เห็นเท่านั้น เราอาจที่จะเป็นผู้เข้าไปบังคับบัญชาควบคุม
    เครื่องบังคับต่างๆ เสียด้วยตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามความ
    ประสงค์ของตัวเราเองเป็นการแก้ไขเหตุของตัวเองด้วยตนเอง
    แต่จะสามารถทำได้เท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับบารมีของแต่ละคน เป็น
    หนทางที่ทำให้เราได้เห็นได้รู้เหตุ และผลที่อยู่เบื้องหลังของ
    เรื่องราวของสรรพสิ่ง ที่เราจะได้นำมาแก้ไขตนเองให้ดีถึงที่สุด
    ได้ต่อไป วิชชาธรรมกายจึงนับว่าเป็นสุดยอดวิชชาของพระ
    พุทธเจ้าฝ่ายขาวบริสุทธิ์วิชชาหนึ่ง ที่นอกจากจะช่วยให้เราหลุด
    พ้นจากการเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะทุกข์แล้ว ยังจะช่วยให้เราหลุด
    พ้นเป็นอิสระอย่างไพบูลย์ถึงที่สุดได้อีกด้วย รวมทั้งสามารถที่
    จะนำมาช่วยผู้อื่นที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายได้อย่างดี
    ยิ่ง


    <CENTER>
    มวลมนุษย์พึงสังวร สิ่งที่ได้ สิ่งที่เป็น
    ใครให้สมบัติ ใครให้อำนาจ ใครให้ฤทธิ์
    อายตนะต่ออายตนะ
    ภพต่อภพ
    เหตุต่อเหตุ
    คือขาว หรือกลาง หรือดำ
    </CENTER><!-- google_ad_section_end -->
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534

    เจริญภาวนา สำหรับผู้เริ่มต้น
    การฝึกภาวนานั้นมีคุณค่ามหาศาล ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ และมนุษยชาติ เพราะเป็นหนทางเดียวเท่านั้น ไม่มีทางอื่น ที่จะให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์ทั้งหมดได้อย่างถาวร แม้ยังไม่สามารถทำตนให้หมดทุกข์ได้ในชาตินี้ ก็ยังมีอานิสงส์ มีประโยชน์นานัปการแก่ผู้เพียรปฏิบัติด้วยความสม่ำเสมอ ไม่ย่อท้อ
    เช่น นอกจากจะช่วยลดความเครียดแล้ว ผู้ที่มีสมาธิจะมีจิตใจเข้มแข็ง ทำงานได้มากและมีประสิทธิภาพสูง ทุกนาทีที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ต้องมีหน้าที่ต้องพินิจพิจารณาและวิเคราะห์ปัญหา ป้องกันและแก้ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงนั้น ถ้าได้กระทำด้วยจิตใจที่มีสมาธิแน่วแน่มั่นคงแล้ว จะได้ผลดีมาก เมื่อกำลังใจเข้มแข็ง เราก็ทำงาน ได้มากเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นผู้ที่สมาธิจิต เป็นคนที่มีทั้งความรู้ความสามารถ และทั้งคุณธรรม ที่จะเกิดประโยชน์แก่ชีวิตตนแก่ครอบครัวและแก่สังคมได้มาก
    ผู้ที่ฝึกอบรมภาวนาสมาธิบ่อยๆ จะเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันทาง เจริญทางเสื่อม รู้ทางผิดทางถูก รู้บาป-บุญคุณโทษ ก็จะเป็นผู้ที่รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่ลุแก่ราคะ โลภะ หรือตัณหา ไม่ลุแก่โทสะพยาบาท และความหลงใดๆ และเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะมีแต่ความ สันติสุขและร่มเย็นในชีวิต ในกาลทุกเมื่อ เพราะว่าผู้ที่มีความทุกข์เดือดร้อนกันมากๆ ก็คือ ผู้ที่ขาดสติสัมปชัญญะ มักลุแก่โทสะบ้าง ราคะบ้าง โลภะบ้าง ตัณหาบ้าง โมหะบ้าง เป็นต้น ดังที่ เห็นๆ กันอยู่ในสังคมปัจจุบัน นั่นเอง
    เริ่มนั่งท่าขัดสมาธิ
    การฝึกภาวนาทำใจให้สงบนิ่งนั้น นิยมใช้ท่านั่งขัดสมาธิ เพราะเป็นท่าที่สงบ มั่นคง ร่างกายได้รับความสบายพอควร ไม่มากไม่น้อยเกินไป ช่วยให้การฝึกสมาธิได้ผลดี นั่งได้นาน (แรกๆ บางท่านอาจปวดเมื่อยบ้าง) แต่ถ้าไม่สะดวกหรือไม่ถนัด จะนั่งในท่าพับเพียบ หรือนั่งบนเก้าอี้ก็ได้ หรือท่าใดๆ ก็ได้ ที่รู้สึกสบายพอควร แต่อย่านั่งพิง เพราะถ้าสบายเกินไปอาจทำให้เผลอสติ เผลอหลับได้
    [​IMG]
    ให้ผู้ฝึกปฏิบัตินั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ปลายนิ้วชี้มือขวาแตะพอดีหัวแม่มือซ้าย ตั้งตัวให้ตรงพอควร แต่อย่าเกร็ง เพราะจะทำให้เมื่อยเร็ว ทิ้งน้ำหนักส่วนบนของร่างกายลงบนก้นทั้งสองข้างพอดีๆ ยึดอกขึ้นเล็กน้อย ลำตัวไม่เอียงซ้ายเอียงขวา หรือแอ่นหลังงอหลัง ข้อศอกไม่กาง
    ผ่อนคลายร่างกาย
    หลับตาลงเบาๆ ไม่ต้องเม้มเปลือกตาให้แน่น หายใจลึกๆ พอสบาย แล้วปล่อยกายตามสบาย ไม่ต้องเกร็ง เหมือนกับว่าเรากำลังนั่งพักผ่อนกายและใจของเรา ให้เกิดความสุข สงบ สะอาด สว่าง ในชีวิต แม้ชั่วขณะหนึ่งนี้
    ปล่อยวาง เอาใจไว้ภายใน
    ปล่อยวางเรื่องราวต่างๆ ภายนอกเสียทั้งหมด แม้แต่ร่างกายนี้ก็ไม่ต้องสนใจว่ารู้สึกอย่างไร จะเย็นร้อนอ่อนแข็ง ถ้าเกิดความรู้สึกอะไรขึ้นมา ก็เพียงแต่รู้ไว้เฉยๆ ไม่ต้องยินดียินร้าย

    [​IMG]
    กำหนดศูนย์กลางกาย
    ขณะที่หลับตาอยู่นั้น นึกเห็นเส้นตรงขาวใส อยู่เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ ลากจากหน้าท้อง ไปทะลุหลัง อีกเส้นหนึ่งลากจากสีข้างซ้ายไปจรดสีข้างขวา จุดที่เส้นตรง ๒ เส้นนั้นตัดกัน คือ จุดศูนย์กลางกาย ให้ใจของเราสงบ หยุด นิ่ง อยู่ ณ ที่นั้น จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญ

    [​IMG]
    กำหนดดวงแก้ว ณ ศูนย์กลางกาย
    ณ จุดศูนย์กลางกายที่เส้นตรง ๒ เส้นตัดกันนั้นเอง นึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสเหมือนเพชร ไม่มีขนแมว (รอยขีดข่วน) ขนาดเท่าแก้วตา เหมือนกับว่าในท้องของเรา มีดวงแก้วใสสว่างลอยนิ่งอยู่ ตลอดเวลา ไม่ว่าเราจะยืน เดิน นั่ง นอน (โดยธรรมชาติ ก็เป็นเช่นนั้นจริง)
    ในเบื้องต้นนี้ ยังเป็นการเพียงนึก ยังไม่ใช่ของจริง ภาพที่นึกนั้นอาจจะเห็นชัดหรือไม่ชัดก็ได้ เพราะฉะนั้น อย่าพยายามเพ่ง หรือ บังคับใจ บังคับลูกนัยน์ตา ให้เห็นชัด เพราะจะไม่เห็น และผิดวิธี
    การนึกดวงแก้วเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อเรานึกถึงสถานที่ สิ่งของต่างๆ ที่เราเคยเห็นมาแล้ว เราสามารถนึกได้ง่ายๆ โดยไม่เกร็ง ไม่เครียด และไม่ต้องใช้ตาเนื้อช่วย การนึกดวงแก้วก็เป็นการนึกแบบเดียวกัน และเห็นได้เท่าๆ กัน
    แต่ที่จะเห็นชัดเจนแจ่มแจ้งเหมือนเห็นด้วยตาเนื้อนั้น ในขณะนั้น จิตใจต้องสงบพอควร เพราะฉะนั้น อย่าวิตก กังวล หรือหงุดหงิด ถ้ายังไม่เห็น หรือเห็นไม่ชัด นั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา
    <TABLE style="COLOR: rgb(102,102,102)" cellSpacing=0 cellPadding=10 width=461 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=451 bgColor=#ecffec>การนึกดวงแก้วในเบื้องต้นเป็นวิธีทำใจให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับคนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นได้แค่การ “นึก” ยังไม่ใช่ “เห็น” (ยกเว้นไม่กี่คนที่ครั้งแรกนึกแล้ว “เห็น” เลย)
    เมื่อเพียรพยายาม “นึก” อยู่เรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ ได้รับการฝึกให้เชื่อง ความฟุ้งซ่านจะลดลง ได้สัมผัสความ “สันติสุข” จากการที่ใจเริ่มสงบบ้างโดยที่ยังไม่เห็นอะไรนั้น เมื่อถึงจุดที่จิตสงบพอดี หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ก็จะ “เห็น” นิมิตแสงสว่างหรือดวงแก้วปรากฏขึ้น ซี่งเป็นไปด้วยอำนาจของความสงบใจ ไม่ใช่ด้วยอำนาจของการ “นึก”
    เพราะฉะนั้น หากเข้าใจธรรมชาติของจิตว่าเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะไม่บังคับใจ บังคับตา ของเราให้เห็น เราจะไม่ใจร้อนหงุดหงิดเมื่อยังไม่เห็น เราจะไม่พากเพียรจัดเกินไป ด้วยความ “อยาก” เห็น
    แต่เราจะวางใจเป็นกลางๆ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืนเดินนั่งนอน เพราะเรามีความสงบสุขทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ บุญบารมีของเราเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ สติสัมปชัญญะดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯt>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่อง “สัมมาอรหัง”
    ขณะที่ตรึกนึกให้เห็นดวงที่ใส ใจอยู่ในกลางดวงที่ใส ที่ศูนย์กลางกาย อยู่นั้น ให้ท่องในใจว่า “สมฺมาอรหํ” (อ่านว่า สัมมาอะระหัง) ดังออกมาจากศูนย์กลางกาย ท่องให้ต่อเนื่อง เหมือนกระแสน้ำที่ไหลไปไม่ขาดสาย เพื่อช่วยให้ใจที่มักฟุ้งซ่านออกไปนอกตัว สงบ หยุดนิ่งได้เร็วขึ้น
    พยายามนึกดวงแก้วและ “สมฺมาอรหํ” นี้ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้มีสติอยู่ที่ศูนย์กลางดวงแก้วศูนย์กลางกายไว้เสมอ ใจจะสงบและละเอียดขึ้น แม้จะยังไม่เห็นดวงแก้วชัดเจนก็ตาม
    เมื่อเห็น “นิมิต” ชัดขึ้นแล้ว ไม่ต้องท่อง “สมฺมาอรหํ”
    เมื่อประคับประคองใจไว้ที่ศูนย์กลางกายไว้ ในไม่ช้า ใจจะค่อยๆ หยุดนิ่ง เป็นจุดเดียว และค่อยๆ เห็นภาพดวงแก้วที่ศูนย์กลางกายชัดเหมือนเห็นด้วยตาเนื้อ ก็อย่าตื่นเต้นดีใจ ทำใจเป็นกลางๆ และไม่ต้องท่องในใจว่า “สมฺมาอรหํ” อีก (บางท่านก็จะลืมว่า “สมฺมาอรหํ” ไปเอง ในขณะที่ใจหยุดนิ่งนั้น) เพ่งเบาๆ ที่ศูนย์กลางดวงแก้วนั้น
    เมื่อใจหยุดนิ่งสนิท จะเห็นจุดเล็กใสที่ศูนย์กลางดวงแก้วด้วย ดวงชัดและใส สว่าง ขึ้น เมื่อเห็นดวงแก้วชัดขึ้นมาแล้ว
    แล้วให้แตะใจเบาๆ ที่ศูนย์กลางดวงแก้วนั้น อย่าเพ่งดวงแก้วแรงเกินไป เพราะจะทำให้ดวงเคลื่อนและ/หรือหายไป ให้แตะใจเพียงแผ่วๆ ลงไปที่ศูนย์กลางดวงแก้วนั้น พอใจหยุดได้ถูกส่วนเข้า ดวงเดิมก็จะว่างหายไป แล้วปรากฏดวงใหม่ใสแจ่มบังเกิดขึ้นแทนที่ มีรัศมีสว่างกว่าที่เคยนึกทีแรกเสียอีก และถ้าหยุดนิ่งถูกส่วน ยิ่งนิ่งสนิท ดวงใสจะขยายโตขึ้น ให้ปล่อยใจให้ดิ่งลงไป ณ ศูนย์กลางดวงแก้วนั้นไว้เรื่อย ไม่ถอยใจออกมา
    ไม่ช้าก็จะเห็นกายในกายภายใน ก็ให้เดินดวงเดินกาย คือ เห็นดวงก็เอาใจจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวง เห็นกายก็เอาใจจรดเข้าที่ศูนย์กลางกาย ไม่มีถอยออก ใจละเอียดหยุดนิ่งเท่าไร กายในกายยิ่งใสสว่าง ใตใหญ่ขึ้นเท่านั้น.
    [​IMG]
    หมั่นทำทุกอิริยาบถ
    แล้วต้องทำทุกอิริยาบถ คือเดิน ยืน นั่ง และนอน ทำบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ละเว้นเสียกลางคัน ด้วยใจรัก ด้วยความเพียร ด้วยความต่อเนื่อง ยามเมื่อว่างจากภารกิจการงาน ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางของกลาง ตรงจุดเล็กใส ท่องในใจว่า "สัมมาอรหังๆๆ" ไว้มากๆ ต่อเนื่องไปมากๆ ใจก็จะหยุดนิ่งได้โดยง่าย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนนอน ก็พยายามกำหนดนิมิต และสัมมาอรหังคู่กันไปจนหลับ ก่อนจะหลับ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาใส ท่านสามารถจะเห็นได้โดยง่าย และอาศัยอารมณ์เช่นนั้น ก่อนจะหลับ
    ก่อนจะตื่นเหมือนกัน ถ้าเคยตื่น ๖ โมงเช้า ลองตื่นตีห้าครึ่ง พอตื่นแล้วยังไม่ต้องลุกขึ้นทันที ตายังหลับอยู่ แต่ใจเราตื่น ดูไปที่ศูนย์กลางกายจะเห็นดวง พอเห็นแล้วเราเอาอารมณ์นั้นมาสู่ใจเรา ทำบ่อยๆ ก็จะเป็น เมื่อถึงเวลาก็เป็นเอง
    แม้ขณะเดิน นั่ง ปกติธรรมดา ถ้าอารมณ์สบาย ใจเป็นบุญเป็นกุศล ใจก็สบาย พอใจสบายก็จะเห็นได้ บางทีอาจเห็นธรรมกายใหญ่มากก็มี
    [​IMG]
    เมื่อเห็นดวงชัดพอควรแล้ว หรือเห็นกายในกายแล้วก็ตาม ให้รีบมาต่อวิชชาธรรมกาย ที่ ​

    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี​

    ทุกวันอาทิตย์ และในช่วง อบรมพระกัมมัฏฐาน ๑-๑๔ พ.ค. และ ๑-๑๔ ธ.ค. ของทุกปี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2010
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    วิธีเจริญวิชชา ๓




    ๑.อาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า: วิชชา ๓
    เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เภสกฬมิคทายวัน เขตนครสุงสุมารคิระ ในภัคคชนบท ได้รับอาราธนาของโพธิราชกุมารไปรับภัตตาหารและเสวย ณ โกกนุทปราสาทของโพธิราชกุมาร ครั้นเสวยเสร็จแล้ว สมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ตรัสสนทนากับโพธิราชกุมารว่า
    ทรงบรรลุฌาน ๔
    “ครั้นเราบริโภคอาหารหยาบ มีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.
    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขผู้ได้ฌานเกิดแต่สมาธิอยู่.
    มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ตติยฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข.
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.”
    ทรงบรรลุวิชชา (ญาณ) ๓
    “เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อ “ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ” เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เรานั้นย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้. ราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่ ๑ ที่ เราได้บรรลุแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี. อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.
    เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อ “จุตูปปาตญาณ” รู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพพจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ด้วยประการฉะนี้. ราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่ ๒ ที่เราได้บรรลุแล้ว ในมัชฌิมยามแห่งราตรี. อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.
    เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อ “อาสวักขยญาณ” ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ เหล่านี้อาสวสมุทัย เหล่านี้อาสวนิโรธ เหล่านี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่ ๓ ที่อาตมภาพได้บรรลุแล้ว ในปัจฉิมยามแห่งราตรี. อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.
    ราชกุมาร เรานั้นได้มีความคิดเห็นว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึก ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบระงับ ประณีต อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง.
    ม.ม.๑๓/๗๕๕-๗๕๗/๖๘๖-๖๘๘
    ๒. วิธีเจริญวิชชา ๓ ถึงมรรคผลนิพพาน
    สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีจนสุดกายหยาบกายละเอียด แล้วเดินฌานสมาบัติ ๘ โดยอนุโลม ปฏิโลม ๗ เที่ยว ปล่อยกายตกศูนย์เข้าอายตนะนิพพานถอดกาย แล้วก็ซ้อนกายกลับ เดินฌานสมาบัติ ๘ อีก ๗ เที่ยว หรือทำนิโรธ ปล่อยกายตกศูนย์เข้าอายตนะนิพพานถอดกายและนิพพานเป็น ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ที่แก่ๆ ต่อไปจนสุดละเอียดแล้ว
    ให้รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด รวมดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ให้หยุดในหยุดนิ่งลงไปที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ณ ศูนย์กลางกายนั้นแหละ มีที่หมายตรงต้นสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นเป็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ก็ให้หยุดในหยุดกลางของหยุด แล้วอธิษฐานให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของตนเองถอยหลังสืบต่อไปถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว, เดือนที่แล้ว, ปีที่แล้ว, ลงไปจนถึงตอนที่เป็นเด็ก ให้รวมใจ คือความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ให้หยุดในหยุดลงไปที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ของกายเดิมที่เห็นครั้งสุดท้ายต่อไปเรื่อยๆ จากที่เป็นเด็ก ก็ไปถึงสภาพที่เป็นเด็กแดงๆ, แล้วก็ถอยหลังสืบเข้าไปตามสายธาตุธรรมเดิม ถึงที่เป็นเด็กทารกในครรภ์ของมารดา, แล้วก็ไปถึงในขณะที่ตั้งปฏิสนธิวิญญาณ เป็นกลลรูป, ถอยสืบเข้าไปถึงในขณะที่มาปฏิสนธิในครรภ์มารดา ด้วยกายมนุษย์ละเอียดหรือกายทิพย์
    แล้วก่อนที่จะมาปฏิสนธิก็เป็นกายละเอียดมาตกศูนย์ พักอยู่ ณ ศูนย์กลางกายบิดาชั่วคราว
    อธิษฐานให้เห็นสภาพของตนเองตามสายธาตุธรรม สืบถอยหลังไปถึงตอนที่จุติคือเคลื่อนจากสังขารร่างกายเดิมของชาติที่แล้ว นี้นับเป็นชาติหนึ่ง, เมื่อเห็นชัดดีแล้ว ก็รวมเห็นจำคิดรู้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อธิษฐานให้เห็นอัตตภาพและความเป็นไปของตนเองให้ชัดว่ามีสภาพความเป็นมาอย่างไร ในชาตินั้นตนเองเกิดเป็นอะไร มีเทือกเถาเหล่ากออย่างไร มีทุกข์มีสุข มั่งมีหรือยากจนขัดสนกันดารอย่างไร เพราะผลบุญหรือผลบาปอะไร พยายามน้อมใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ให้หยุดนิ่ง ในกลางของกลางๆๆ ไปเรื่อย ก็จะเห็นได้ชัดเจนและแม่นยำ แล้วก็ดำเนินไปในแบบเดิม อธิษฐานดูอัตตภาพและสภาพความเป็นไปของตนเอง ถอยหลังสืบเข้าไปทีละชาติๆ เมื่อกระทำชำนาญเข้าก็จะสามารถระลึกชาติได้เร็วขึ้น แต่จะต้องหยุดในหยุดลงไปที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตามสายธาตุธรรมเดิม ถอยหลังสืบต่อเข้าไปเสมอ จึงจะแม่นยำ มิฉะนั้นการรู้เห็นอาจจะเล่ห์คือผิดพลาดได้ เมื่อจะหยุดพัก ก็ให้อธิษฐานกลับตามสายธาตุธรรมเดิมจนมาถึงชีวิตปัจจุบันอีกเช่นกัน
    นี้เป็น วิชชาที่ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    ต่อไป ให้ฝึกระลึกให้เห็นอัตตภาพและสภาพความเป็นไปของตนเองต่อไปในอนาคต ก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกัน คือรวมใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้ ให้หยุดเป็นจุดเดียวกัน ณ กำเนิดธาตุธรรมเดิมของกายปัจจุบัน ตั้งจิตอธิษฐานให้เห็นความเป็นไปหรือสภาพของตนเองในวันรุ่งขึ้น, ในสัปดาห์หน้า, ในเดือนหน้า, ในปีหน้า, ในห้าปีข้างหน้า, ในสิบปีข้างหน้า, ต่อๆ ไปจนกระทั่งถึงวันที่ตนเองจะกระทำกาลกิริยาคือตาย ดูความเป็นไปสืบต่อไปข้างหน้าให้เห็นสภาพความเป็นไปในชีวิตของตนเอง พร้อมด้วยอธิษฐานให้เห็นวิบากกรรมว่าเป็นด้วยผลบุญกุศลหรือผลบาปอกุศลกรรมใด ที่จะเป็นผลให้ได้รับความสุขหรือความทุกข์เดือดร้อนในชีวิตแต่ละช่วงที่ได้พบเห็นนั้น เป็นตอนๆ ไป จนกระทั่งจุติละจากโลกนี้ไป
    ในกรณีที่ประสงค์จะระลึกชาติของผู้อื่นก็ดี หรือจะดูปัจจุบันและอนาคตของผู้อื่นก็ดี ก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกัน คือเพียงแต่น้อมเอาธาตุธรรมของผู้ที่เราประสงค์จะทราบอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตของผู้นั้น มาตั้งที่ศูนย์กลางกายของเราเอง แล้วรวมเห็นจำคิดรู้ของเราและของเขาให้หยุดรวมกันเป็นจุดเดียวตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของเขา แล้วอธิษฐานระลึกให้เห็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตของผู้นั้นไปตามสายธาตุธรรมเดิมของเขา ก็จะสามารถรู้เห็นได้เช่นเดียวกัน
    เมื่อประสงค์จะทราบว่าสัตว์หรือมนุษย์ที่ละหรือตายจากโลกนี้ไปแล้ว จะไปบังเกิดในภพภูมิใด ด้วยผลบุญกุศลหรือผลบาปอกุศลใด ก็ให้ปฏิบัติไปตามวิธีที่ได้เคยแนะนำไปแล้ว คือ
    เมื่อซ้อนสับทับทวีจนสุดกายหยาบกายละเอียด แล้วเจริญสมาบัติ 8 โดยอนุโลมปฏิโลม7 เที่ยว ปล่อยกายตกศูนย์เข้าอายตนะนิพพาน ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ที่ละเอียดๆ จนสุดละเอียด จนธาตุธรรมใสสะอาดบริสุทธิ์และมีสมาธิตั้งมั่นดีแล้ว ก็รวมใจของทุกกายให้หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด หยุดตรึกนิ่ง ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายพระอรหัตให้โตจนเต็มภพ ๓ แล้วจึงน้อมเอาภพ ๓ เข้ามาเป็นกสิณ คือเอามาตั้งไว้ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตนั้นแหละ อาศัย “ตา” หรือ “ญาณ” พระธรรมกายตรวจหาดูจนตลอดภพ ๓ ว่าผู้ที่ตายไปแล้วได้ไปบังเกิดในภพภูมิใด ก็จะสามารถเห็นได้
    ถ้าในภพ ๓ ยังไม่เห็น ก็ให้ตรวจดูไปถึงอายตนะโลกันต์ ซึ่งอยู่นอกภพ ๓ ออกไป ในขณะที่ตรวจดูคติใหม่ของผู้ตายไปตลอดภพนี้ ให้น้อมใจเข้าสู่กลางของกลางๆๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ธาตุธรรมใสสะอาดและสมาธิตั้งมั่นดี การรู้เห็นจึงจะแม่นยำ เมื่อพบแล้ว ก็ไต่ถามถึงบุพพกรรมที่ทำให้เขามาเสวยวิบากกรรมคือผลบุญกุศลหรือผลบาปอกุศลในภพใหม่นี้ ก็จะทราบได้ นี่หมายเฉพาะสัตว์หรือมนุษย์ที่ยังไม่บรรลุพระอรหัตตผล ก็จะเห็นเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ ๓ หรืออายตนะโลกันต์นี้
    แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วย “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” แล้ว ก็จะพบธรรมกายของท่านประทับอยู่ในนิพพาน
    นี้เป็นการน้อมเข้าสู่ “จุตูปปาตญาณ” อย่างง่าย หากกระทำชำนาญแล้วก็จะสามารถรู้เห็นได้เร็ว
    ยังมีวิธีที่ละเอียดพิสดารต่อไปอีก ซึ่งสามารถให้รู้เห็นทั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็นทั้งภายในและภายนอก
    วิธีปฏิบัติ ก็ให้น้อมเอาธาตุธรรมของผู้ที่ตายไปแล้วมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกาย แล้วรวมเห็น จำ คิด รู้, ธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้, ที่ตั้ง/เห็น จำ คิด รู้ ของเราให้ตรงกันกับของเขา เป็นจุดเดียวกัน ตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม แล้วอธิษฐานให้เห็นจุติและปฏิสนธิของเขาเป็นขั้นๆ ไป นับตั้งแต่ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เริ่มจะดับ หรือในขณะที่จิตกำลังเข้าสู่ “มรณาสันนวิถี”* นั้น ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายของสัตว์หรือมนุษย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอากาศโลก ขันธโลก และสัตว์โลก ได้แก่ เห็น จำ คิด รู้ ของสัตว์นั้น จะดับคือตกศูนย์ลงไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ตรงระดับสะดือพอดี แล้วดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายละเอียดหรือกายทิพย์ ซึ่งจะทำหน้าที่สืบต่อไปใหม่นั้น จะผุดลอยขึ้นมายังศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เหนือระดับสะดือสองนิ้วมือ แล้วกายละเอียดหรือกายทิพย์นั้นก็จะผ่านไปยังศูนย์ต่างๆ กล่าวคือ ฐานที่ ๖, แล้วก็ฐานที่ ๕ ตรงปากช่องลำคอ, ฐานที่ ๔ ตรงเพดานปาก, ฐานที่ ๓ ตรงกลางกั๊กศีรษะ, ฐานที่ ๒ ตรงหัวตาด้านใน (หญิงทางด้านซ้าย ชายทางด้านขวา), แล้วก็ออกไปทางฐานที่ ๑ คือช่องจมูก (หญิงทางด้านซ้าย ชายทางด้านขวา) เพื่อไปเกิดในภพภูมิใหม่ตามผลบุญหรือผลบาปที่กำลังให้ผลอยู่ในขณะนั้นต่อไป
    กายที่กำลังไปแสวงหาที่เกิดนี้เรียกว่า “กายสัมภเวสี” ส่วนกายที่ได้ปฏิสนธิหรือเกิดแล้ว เรียกว่า “กายทิพย์”
    มีข้อสังเกตว่า ในขณะที่กาย ใจ จิต วิญญาณ หรือขันธ์ทั้ง ๕ ของสัตว์หรือมนุษย์กำลังจะแตกดับหรือตายนั้น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย อันเป็นที่ตั้งของดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ของกายเดิมจะดับ คือตกศูนย์ลงไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ตรงระดับสะดือพอดี นั้นเอง ที่สัตว์หรือมนุษย์ซึ่งกำลังใกล้จะตายนั้นมีอาการสยิ้วหน้า บิดตัวหรือไขว่คว้าเมื่อเวลาใกล้จะตาย เพราะแรงดึงดูดของอายตนะภพใหม่ที่จะทำให้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายละเอียดหรือกายทิพย์ แยกขาดออกจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย (เนื้อ) ของมนุษย์หรือสัตว์ผู้ที่กำลังจะตายนั้นเอง
    ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ ญาณพระธรรมกายจะช่วยให้เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์หรือสัตว์นั้น และจิตของสัตว์นั้นเอง “ดับ” แล้วก็ “เกิด” ใหม่อีก เป็นช่วงๆ ตามผลบุญกุศลหรือบาปอกุศล กล่าวคือ
    ถ้าขณะใกล้ตาย คือในระหว่างที่จิตเข้าสู่มรณาสันนวิถีนั้น จิตเป็นกุศล แต่บุญบารมียังไม่พอที่จะหลุดพ้นจากกิเลสได้โดยสิ้นเชิง อายตนะของสุคติภพ ได้แก่ โลกมนุษย์ เทวโลก หรือพรหมโลก ก็จะดึงดูดกายละเอียดหรือกายทิพย์นั้นไปบังเกิดในภพหรือภูมิด้วยแรงกุศลกรรม ตามกำลังแห่งบุญบารมีของผู้นั้นต่อไป กิริยาที่กาย ใจ จิต และวิญญาณดับเกิดๆๆ เพื่อเปลี่ยนจากภพหรือภูมิหนึ่ง ไปสู่ภพหรือภูมิที่สูงกว่าทีละขั้นๆ ไปจนกว่าจะถึงภูมิที่พอดีกับกำลังบุญกุศลที่ให้ผลอยู่นั้น อุปมาดั่งงูลอกคราบ หรือดั่งบุคคลถอดแบบฟอร์มเครื่องแต่งตัวจากฟอร์มหนึ่งไปสู่ฟอร์มที่สวย ละเอียด ประณีตกว่าฉะนั้น
    แต่ถ้าจิตในขณะใกล้จะตาย เป็นอกุศล หรือสิ้นวาสนาบารมี อายตนะทุคคติภพ ได้แก่ อายตนะภพของเปรต, อสุรกาย, สัตว์นรก, หรือสัตว์เดรัจฉาน ก็จะดึงดูดดวงธรรมและกายละเอียดของผู้นั้นให้ไปบังเกิดในภพหรือภูมินั้นด้วยแรงอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ ตามส่วนแห่งอำนาจของผลบาปอกุศลที่กำลังให้ผลต่อไป
    ญาณหยั่งรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์นี้ เรียกว่า “จุตูปปาตญาณ” ให้ฝึกฝนปฏิบัติให้ชำนาญ ในระยะเริ่มแรกจะต้องกระทำเป็นขั้นตอนตามสายธาตุธรรมเดิมเสมอไป แม้จะติดขัดบ้างก็จะเป็นแต่เพียงในระยะต้นๆ หรือที่จิตยังไม่ละเอียดดีพอ ต่อไปก็จะค่อยๆ ชำนาญไปเอง
    แต่มีหลักสำคัญอยู่ว่า เมื่อรู้เห็นแล้วก็อย่าคะนองใจว่าตนเก่งกล้าแล้ว พยากรณ์ให้แก่ผู้อื่นฟัง หรือโอ้อวดในคุณธรรมของตน อันจะเป็นทางเสื่อมอย่างยิ่ง
    อนึ่ง การน้อมเข้าสู่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เพื่อดูขันธ์ของตนเองและของผู้อื่นในชาติภพก่อนๆ ก็ดี หรือการน้อมเข้าสู่จุตูปปาตญาณเพื่อดูจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายก็ดี หากได้ยกวิปัสสนาญาณขึ้นพิจารณาทบไปทวนมาด้วยแล้ว ย่อมมีลักษณะที่เป็นสติปัฏฐาน ๔ ไปในตัวเสร็จ กล่าวคือ
    การพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง เป็นภายนอกบ้าง, เป็นทั้งภายในและภายนอกบ้าง ดังที่กล่าวมาแล้วเนืองๆ อยู่ ก็จะเห็นชัดในสามัญญลักษณะ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาของสังขารธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างชัดแจ้ง จนเห็นเป็นธรรมดาในความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของสังขารของสัตว์ทั้งหลาย ช่วยให้เกิดธรรมสังเวชสลดใจในการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลายที่ยังติดอยู่ในสังสารจักรและไตรวัฏฏะ คือ กิเลสวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ และวิปากวัฏฏะ อยู่ในภพ ๓ นี้ไม่มีที่สิ้นสุด ไปนรกบ้าง สวรรค์บ้าง มนุษย์บ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง เปลี่ยนแปลงไปต่างๆ น่าสะพรึงกลัวและน่าเบื่อหน่ายยิ่งนัก ต้องทิ้งสมบัติพัสถาน บุตร ภรรยา และบิดามารดาแต่เก่าก่อน หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามเครื่องล่อเครื่องหลง ดุจดังว่าความฝัน เอาเป็นของเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ เป็นอย่างนี้หมดทั้งตัวเราเองและสัตว์อื่น เหมือนกันหมด ทุกรูปทุกนาม แล้วให้ยกวิปัสสนาญาณทั้ง ๑๐ ประการ ขึ้นพิจารณา ทบไปทวนมา ทับทวีให้มากเข้า ก็จะเห็นภัยในวัฏฏสงสาร บังเกิดธรรมสังเวชสลดจิตคิดเบื่อหน่ายในสังขารและนามรูป เมื่อปัญญารู้แจ้งสว่างชัดขึ้น ทำลายอวิชชาเป็นมูลรากฝ่ายเกิดดังนี้ ตัณหาและทิฏฐิก็เบาบางหมดไปตามระดับคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ สามารถปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ยิ่งขึ้น สิ้นรัก สิ้นใคร่ สิ้นอาลัยยินดีในการครองขันธ์และทำนุบำรุงขันธ์เกินความจำเป็น เมื่อรู้เห็นเช่นนี้ แม้อยากจะไปเสียให้พ้นจากสังขารนี้ ก็ยังไม่อาจจะกระทำได้ เหมือนดังนกที่ติดอยู่ในกรง หรือปลาที่ติดเบ็ด จึงได้แต่วางเฉย เพิกเฉยในสังขาร เป็น สังขารุเปกขาญาณ
    แล้วจึงยกจิตนั้นขึ้นให้บริสุทธิ์ ใสสะอาดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย โดยน้อมไปเพื่อ อาสวักขยญาณ พิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม อันมีนัยอยู่ในอริยสัจ ให้เห็นทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ และหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อกระทำอาสวะให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เป็นพระอรหันตขีณาสพผู้มีอาสวะสิ้นแล้วต่อไป ด้วยการนำเอาญาณทั้ง 2 ในเบื้องต้น คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ นั้นมาเป็นอุปการะให้สิ้นดังนี้
    เมื่อธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคปรากฏขึ้นละสัญโญชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้แล้ว จะตกศูนย์ ปรากฏเป็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลบังเกิดขึ้นเต็มส่วน ขนาดหน้าตัก ความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ๕ วาเต็ม ขาว ใส บริสุทธิ์ มีรัศมีปรากฏ เห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา และก็จะมีญาณหยั่งรู้ถึงการบรรลุพระโสดาปัตติผลนั้น
    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นละกิเลสจนเหลือโลภะ โทสะ และโมหะ ที่เบาบางลงมากแล้ว จะตกศูนย์ ปรากฏเป็นธรรมกายพระสกิทาคามิผล มีขนาด ๑๐ วา ขาว ใสบริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งขึ้นไปอีก จนผู้ปฏิบัติธรรมนั้นเห็นชัดเจนอยู่ตลอดเวลา ก็จะมีญาณหยั่งรู้ถึงการบรรลุพระสกิทาคามิผลนั้น
    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นละสัญโญชน์เบื้องต่ำได้อีก ๒ คือ ปฏิฆะและกามราคะแล้ว จะตกศูนย์ และจะปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผลขึ้น เต็มส่วน ๑๕ วา ขาว ใสบริสุทธิ์ มีรัศมีปรากฏยิ่งขึ้นไปอีก จนเห็นธรรมกายพระอนาคามิผลของตนเองชัดเจนอยู่ตลอดเวลา ก็จะมีญาณหยั่งรู้การบรรลุพระอนาคามิผลนั้น
    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรคปรากฏขึ้นละสัญโญชน์เบื้องสูงอีก ๕ ประการ ได้แก่ รูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจะ มานะ และ อวิชชา ได้แล้ว จะตกศูนย์ ปรากฏเป็นธรรมกายพระอรหัตตผล ขยายโตเต็มส่วน มีขนาดหน้าตัก ความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ๒๐ วา ขาว ใสบริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งนัก เห็นธรรมกายพระอรหัตตผลชัดเจนอยู่ตลอดเวลา แล้วก็จะมีญาณหยั่งรู้การบรรลุพระอรหัตตผลนั้น
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    คนไม่ทราบมักจะวิจารณ์ว่าการปฏิบัติแบบวัดปากน้ำภาษีเจริญนี้
    เป็นวิปัสสนึก คือนึกเอา ที่แท้ไม่ได้นึก


    ก็ให้หยุดๆ นึกที่ไหนเล่า ใจหยุด ไม่ใช่ใจนึก นึกตอนแรกเพื่อให้ใจมารวมกัน คือ เห็น จำ คิด รู้มารวมกัน

    พอใจหยุดแล้ว ก็หยุดในหยุดกลางหยุด ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อย สิ่งที่เห็นก็จึงเป็นของจริงโดยสมมติถ้าสิ่งที่เห็นนั้นยังอยู่ในระดับโลกิยะ

    ถ้าสุดละเอียดไปเมื่อถึงโลกุตตรธรรมจึงเป็นของจริงโดยปรมัตถ์
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...