ธรรมะจากครูบาเจ้าบุญคุ้ม วัดโพธิสัตว์บรรพตนิมิต เรื่อง "แค่เพียงเห็น"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย จิม, 14 สิงหาคม 2010.

  1. จิม

    จิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +123
    ธรรมะจากครูบาเจ้าบุญคุ้ม วัดโพธิสัตว์บรรพตนิมิต
    เรียบเรียงโดย ครูบาคงสุข เรื่อง แค่เพียงเห็น


    เวลาภัตตาหารเพลเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ดีและเหมาะสมที่หลวงพ่อเลือกใช้แสดงธรรมเพื่ออบรมเหล่าพระภิกษุสามเณรในหัวข้อปรมัตธรรมต่างฯที่ท่านมักหยิบยกจากสิ่งรอบฯตัวท่านมาอธิบายหรือตั้งเป็นคำถาม ให้ทุกคนได้ใช้สมาธิสติปัญญา ขบคิดข้ออรร๔เชิงธรรมให้แตกฉานมากขึ้น เพื่อให้เกิดณาน "ภิญญา"หรือตัวปัญญาความรู้ทางธรรมะทั้งหลายไปใช้ในการปฎิบัติต่อไป
    หลวงพ่อท่านประสงค์ให้พระภิกษุสามเณรมีความเจริญทางปัญญามากกว่าไห้ทุกคนมุ่งเจริญภัตตาหาร ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ปฎิบัติเองภายหลัง
    การติดในรสอร่อยของอาหาร เป็นกิเลสแห่งอายตนะที่อาจทำให้บุคคลกลายเป็นผู้ที่มีความละโมบ ตะกละตะกลาม เห็นแก่ตัว ห่วงแต่กิน หวงแหนไม่ยอมแบ่งปันหรือมีนำใจกับผู้อื่น
    หลวงพ่อจึงสอนให้ลูกศิษย์เห็นว่า เรากินเพื่อประทังชีวิตเท่านั้น ไม่ได้กินเพื่อความอร่อยหรือความเพลิดเพลินเพราะมันเป็นกิเลส
    "ข้าวปลานั้นเป็นอาหารหล่อเลี้ยงกายา
    แต่ธรรมนั้นเป็นอาหารหล่อเลี้ยงจิตใจ"
    แล้วจะเกิดประโยชน์อะไร หากว่าร่างกายแข็งแรง แต่จิตใจกลับอ่อนแอ
    จิตใจผ่ายผอม ถูกโรคร้ายรุมเร้า มีอาการซึมเศร้าทรุดโทรม เพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น ใช่ จิตที่ขาดธรรมะเป็นจิตที่ไม่แข็งแรง อ่อนไหวและล้มป่วยง่าย หากจิตใดมีธรรม จิตนั้นจะแข็งแรงและอ่ออนโยน
    ธรรมะเป็นดั่งสารอาหารที่สำคัญที่ทำไห้สุขภาพจิตดีและเป็นตัวสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคร้ายที่มีสาเหตูมาจากการติดเชื้อทางกิเลสแก่จิตใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
    ด้วยเหตุนี้ ธรรมะจึงเป็นสิ่งที่สำคัญแก่ดวงจิตดวงใจของเรามากที่สุด
    ก่อนเริ่มฉันภัตตาหารเพลของวันหนึ่ง จู่ฯหลวงพ่อก็ฉวยครกมาวางตรงหน้าของท่าน ให้เกิดความสงสัยแก่ทุกฯคนว่า ท่านอาจจะให้ลูกศิษย์ตำส้มตำถวายหรือปล่าว จนพระบางรูปเอ่ยถามท่าน<O:p</O:p
    แทนคำตอบ ท่านคว่ำครกใบนั้นลง แล้ววางจานข้าวของท่านลงกับก้นครก<O:p</O:p
    ทันใดนั้น พวกเราจึงได้เข้าใจว่า มันไม่ได้เป็นอย่างที่พวกเราคิด เพราะท่านต้องการเพียงต้องการใช้ก้นครกหนุนจานข้าวเพื่อที่จะทำไห้สะดวกในการฉันมากขึ้นเท่านั้นเอง<O:p</O:p
    พวกท่านเดาไม่ออกหรอก เพราะพวกท่านเดาไปในทางอื่นหมดแล้ว เห็นครกก็ว่าส้มตำ มะละกอเอย พริกเอย ปลาร้าเอย ปรุงรสอะไรให้วุ่นวายไปหมด ตำมาตำไป เดี่ยวไม่วายกระเด็นเลอะเทอะตัวเองอีก หลวงพ่อกล่าวขึ้น<O:p</O:p
    ข้าพเจ้าคิดตาม ก็เห็นว่ามันเป็นจริงอย่างที่ท่านพูด<O:p</O:p
    หลวงพ่อกำลังสอนธรรมะอยู่และปัญญาของพวกเราก็กำลังได้กินอาหารที่มีประโยชน์ไปด้วย<O:p</O:p
    คงปฎิเสธไม่ได้ว่า บางครั้งสิ่งที่เราเห็นก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด และหลายฯครั้งเราก็กลับคิดมากเกินกว่าสิ่งที่มันเป็นอยู่<O:p</O:p
    คิดดูดีฯ บางสิ่งมันก็ตั้งของมันอยู่อย่างนั้น หากเราไม่ไปหยิบฉวยแต่งเติมมันขึ้นมา มันก็ไม่เป็นเหตุแห่งทุกข์ ทั้งบนความขัดแย้งสับสนกับผู้อื่นและตนเอง<O:p</O:p
    แค่เพียงตาเรามองเห็นหูเราได้ยินจมูกเราได้กลิ่น ไม่ว่าจะเกิดความพึงพอใจหรือความไม่พอใจก็ตาม จิตของเราก็คิดปรุงแต่งไปได้มากมาย ให้หวาน เผ็ด ขม เปรี้ยว เค็ม จะเป็นรสใดก็ได้ตามใจปราถนา<O:p</O:p
    ลงเมื่อมีคำว่าชอบแล้ว ความคิดจะไม่หยุดแค่เพียงคิด แต่จะก่อตัวเป็นความอยากต่อไป ซึ่งพออยากได้ก็ต้องดิ้นรนไขว่ขว้าเพื่อการได้ลิ้มรส เสพสุข และครอบครอง<O:p</O:p
    ครั้นได้ลองก็เกิดอาการติดใจ อยากเสพความยินดี อยากปรีดีในอารมณ์ ปล่อยตัวปล่อยใจไห้ลอยล่องตามกระแสแห่งความถวิลใคร่เรื่อยไป<O:p</O:p
    จิตร้อนลุ่มกระวนกระวาย เวียนวน ยึดยื้อ ไม่ปราถนาให้สิ่งที่ตนรักใคร่ใฝ่ปองนั้นสูญสิ้น<O:p</O:p
    ด้วยความคิดจิตปรุงแต่งให้คนลุ่มหลงหรือเกลียดชังกันละกัน จึงทำให้คนเรานั้นไม่สามารถอยู่อย่างเป็นสุขและสงบนิ่งได้ เพราะต้องเหน็ดเหนื่อยวิ่งวนไปตามความทะยานอยากนานัปการ<O:p</O:p
    ทั้งฯที่ ความอยากหลายฯประการของคนเรานั้น ทำไห้พวกเขาต้องลิ้มรสชาติอันขมขื่นของความทุกข์โดยตรงแต่ก็ดูเหมือนว่าพวกเขาไม่เคยเข็ดหลาบกับอาการของความทุกข์ใดฯเลย<O:p</O:p
    คนเราหากไม่เบื่อ มันก็ไม่วาง หลวงพ่อสอนไว้อย่างนี้ ความหมายมันชัดเจนมาก เข้าทำนองเจ็บแต่ไม่เคยจำ รู้ว่าผิดแต่ก็กระทำใครจะห้ามใครจะปรามก็ป่วยการ<O:p</O:p
    เชื้อร้ายของกิเลสตัณหาคงลุกลาม ทำไห้เกิดอาการฝ้าฝางในปัญญา ดวงตาขุ่นมัว มองไม่เห็นว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก สิ่งใดควรละเว้น<O:p</O:p
    หรือบางทีพวกเขาอาจจะรู้ แต่แกล้งทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น และไม่ยอมรับ <O:p</O:p
    เพราะเหตุนี้ คนเราจึงต้องจองจำตัวเองอยู่กับความทุกข์ทรมานใจซ้ำแล้วซ้ำเล่าดั่งระลอกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง ด้วยไม่เคยเข้าใจในต้นตอของทุกข์อย่างแท้จริง<O:p</O:p
    เมื่อไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ หลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตของพวกเขาจึงดูยุ่งยาก ยุ่งเหยิง และวกวน ราวกับคนเดินทางอยู่ในป่าลึกหาทางออกไม่เจอ<O:p</O:p
    เมื่อวกวนในความคิด ชีวิตจึงต้องเรรวนไปด้วย ที่คนเราเป็นทุกข์กันมากก็เพราะความคิดของพวกเขาเองเรามักสร้างภาพความคิดต่างฯขึ้นมาอันเกิดมาจากอายตนะภายนอกทั้งหลายได้แก่ รูป รส เสียง กลิ่น สัมผัส แล้วปล่อยจิตทอดใจให้เสวยรสอารมณ์ของรัก โลภ โกรธ หลงที่เกิดขึ้นจากการสนองตอบในอายตนะเหล่านั้น โดยมิได้ใคร่ครวญตรึกตรองเลยว่ามันจะก่อความทุกข์ ความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นหรือตนเองหรือเปล่า<O:p</O:p
    มักเพียงคิดว่า ฉันอยากทำแบบนั้ ฉันก็จะทำ ใครจะทำไม หรือฉันสุขของฉันแบบนี้ อย่างอื่นฉันไม่สน<O:p</O:p
    ด้วยอำนาจของกิเลสคงบันดาลให้พวกเขาหลงลืมไปว่า ใดฯในโลกนี้ล้วนไม่แน่นอน<O:p</O:p
    คนเรามักถลำตัวถลำใจไปตามอารมณ์เสมอ จนไม่เคยเฉลียวว่าอะไรฯอาจยอกย้อนเปลี่ยนแปลง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แรกก็ว่าหวาน พอนานวันกลับฝาดเฝื่อน กล้ำกลืน<O:p</O:p
    ความระรื่นอาจแปรเปลี่ยนเป็นล้มทั้งยืน<O:p</O:p
    รอยยิ้มอาจกลายเป็นรอยช้ำ<O:p</O:p
    หยิ่งผยอง ลำพองว่าตัวมีชัย คราวต่อไปอาจเป็นผู้พ่ายแพ้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าเป็นแบบนี้ มั่นใจไหมว่าจะทำใจได้ จะไม่โมโห ไม่ริษยา ไม่ร้องไห้ อาลัยอาวรณ์ คร่ำครวญ หากเพียงพรั้งเผลอไป ยังพอถอนตัวได้ แต่หากฝังใจ มันก็ยากเต็มที<O:p</O:p
    จะโทษใครดี ก็เราคิดเอง กำเอง แบกแอง เป็นทุกข์เอง<O:p</O:p
    ลองกำมือของเราเองดูสักพักแล้วแบมือออก เราจะเห็นธรรม หลวงพ่อสอนเอาไว้<O:p</O:p
    ท่านยังบอกอีกว่า นิพพานก็อยู่ที่นี่ อยู่ที่การมองเห็นการกำและการรู้จักการแบคิดดู หากเราเอาแต่กำ มัวแต่แบกตัณหาอุปทานกันไว้ มันก็มีแต่หนักเท่านั้น มันต้องมาเรียนรู้การแบ การปล่อยวางดูบ้าง มันจึงจะเกิดปัญญา มองเห็นวิธีระงับและวิธีกำจัดทุกข์ได้<O:p</O:p
    จิตใจของเราจะบางเบาไม่ได้เลยเพราะน้ำหนักของกิเลสที่เราแบกหามกันไว้นั้นกดทับอยู่ หากเราไม่มีสติ รู้ทันกิเลสที่คอยแวะเวียนแทรกซึม รบกวนจิตใจของเราให้งุ่นง่าน กระสับกระส่าย จิตของเราจึงเป็นทุกข์ไม่มีความสุขสบาย และไม่มีคำว่าพอดี หลวงพ่อสอนและย้ำเตือนแก่ลูกศิษย์เช่นนี้เสมอ<O:p</O:p
    ความพอดี คือ ความเป็นกลาง ไม่น้อยจนเกินเหตุ ไม่มากจนเกินงาม<O:p</O:p
    ไม่ใช่ว่าชอบก็ลุ่มหลง หัวปักหัวปำ ไม่ฟังใคร และพอไม่ชอบก็มีทิฐิมานะ มีอคติ คิดไม่ซื่อหรือทำลายกัน อันนี้ก็ไม่ควร เพราะมันเป็นกิเลสทั้ง2ฝ่าย ท้ำใจเกิดความเอนเอียง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ไม่สงบสุข<O:p</O:p
    การที่เราติดพันอยู่กับสุขหรือทุกข์นั้นเรียกว่าจิตตกอยู่ในห้วงเวทนา จึงเกิดเป็นสัญญาผูกมัด ทำให้จิตหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่เราหมายมั่น จึงทำไห้คนเรานั้นมีนิวรณ์ ไม่สามารถหลุดออกจากความเศร้าโศกรำพัน ความอาฆาตจองเวร หรือความหลงใคร่ได้มีไปได้ จิตจึงไม่สงบ ชาติภพจึงไม่อาจจบสิ้น เพราะจิตไม่สามารถคลายหรือถอนความยึดมั่นถือมั่นในอุปทานออกไปจากตัวได้<O:p</O:p
    สิ่งรุมเร้าต่างฯที่เข้ามากระทบกับตา หู จมูก ปาก กาย และใจของเรา เราต้องรู้จักระมัดระวังให้เกิดความพอดี กับตัวเองบ้าง ไม่ควรที่จะเลยเถิดเปิดเปิงตามใจตัวเอง ทำอะไรไม่ดูเหตุดูผลอย่างเดียว ต้องหัดควบคุมจิตใจตัวเอง ไม่ให้แต่งเติมเสริมสีจนเกินความพอดีไป จะคิด จะพูด จะทำสิ่งใด ให้ลองนึกถึงผลที่จะตามมาดูบ้าง ว่ามันจะดีเลว ประการใด ไม่ใช่จะเอาแต่ใจฝ่ายเดียว<O:p</O:p
    ความถูกใจตนเองมันคงไม่ไช่ความถูกต้องเสมอไป<O:p</O:p
    แค่เพียงเห็นก็คิดอยาก อยากได้ก็ทุกข์ มีแล้วก็ทุกข์ พอจะเสียแล้วก็ทุกข์อีก เหตุทุกข์ทั้งหลายจึงเกิดจากความอยากทั้งสิ้น<O:p</O:p
    คำสอนของหลวงพ่อก็คือ ให้รู้จักพอ อย่าเป็นคนโลภ อย่าไปหลงใหลกับอะไรที่ไม่เป็นสาระ ขอจงมีเมตตาธรรมเอื้อเฟื้อจุนเจือแก่ผู้อื่น จงอย่ายึดติดกับสิ่งใดแล้วเราจะไม่เป็นทุกข์ เพราะสุดท้ายทุกสิ่งล้วนเป็นอนัตตาไม่มีความจีรังยั่งยืนอันใด<O:p</O:p
    บางทีสิ่งเรามีอยู่หรือชีวิตที่เราดำเนินอยู่มันอาจพอดีอยู่แล้วก็ได้ ถ้าเราไม่ดิ้นรนไขว่ขว้าอะไรจนเกินตัว เหตุที่เรายังคงมีความเร่าร้อนกันอยู่ นั่นเพราะเรายังอยากมากเกินไปอยู่จนทำให้เรามองไม่เห็นตาชั่งแห่งความพอดีในตัวของเรา<O:p</O:p
    คนเราควรพอเท่าที่มี ดีเท่าที่ได้ แล้วจะกลายเป็นสุข<O:p</O:p
    เราต้องค้นหาความพอดีให้พบ ใจจึงประสบกับความสมดุล<O:p</O:p
    พอ คือ ดี<O:p</O:p
    ไม่พอ คือ ไม่ดี<O:p</O:p
    อยากได้ดีก็ต้องพอ เมื่อไม่พอก็ไม่พบวันที่มี”<O:p</O:p
    ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม หากแบกมาก หามมาก ก็ทั้งหนักทั้งเสียดาย ไม่อยากทิ้ง หนักเข้าของเก่ายังไม่หาย ยังไม่วาย ขยันหาของไหม่มาเติมอีก<O:p</O:p
    หากขยันหาธรรมะมาเพิ่มพูนปัญญาเพื่อดับทุกข์มันก็ดีไป แต่การขยันหาความทุกข์มาพอกพูนจนท่วมหัวใจมันเป็นการทำลายตัวเอง<O:p</O:p
    ข้าวปลาอาหารหากกินเพียงอิ่ม เราก็สบาย ถ้าเราติดใจเกิดเสียดาย กินมากเกินไป อาหารอาจไม่ย่อย และเราอาจท้องอืดหรือท้องเสียก็ได้<O:p</O:p
    ตรงกันข้าม หากผู้ใดยิ่งมีธรรม ยิ่งให้ ยิ่งใช้ ใจใม่มีเสีย ธรรมะยิ่งใช่ปัญญาบดเคี้ยวแล้วย่อยเข้าสู่จิตใจมากเท่าไรก็ยิ่งอิ่มเอมหัวใจมากขึ้น<O:p</O:p
    จิตของเราจะไม่หนักหรือหิวโหยเลย หากเราเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดธรรม<O:p</O:p
    ธรรมะช่างน่าอรรศจรรย์จริง แก่ผู้มองเห็นและผู้สดับรับฟัง <O:p</O:p
    พระอริยสงฆ์เช่นหลวงพ่อน่าอัศจรรย์จริง ที่ท่านมีตาทิพย์อันแสนวิเศษซึ่งสามารถมองทะลุสรรพสิ่งได้กระจ่างชัด และสามาถนำสิ่งนั้นมาเป็นอุบายสอนธรรมได้อย่างแยบคาย<O:p</O:p
    แค่เพียงเห็นครกใบเดียวตาของท่านสามารถมองเห็นกลวิธีสอนใจคนได้ขนาดนั้น<O:p</O:p
    ตาทิพย์ที่ว่าหาใช่ตาที่มองเห็นผีเห็นเทวดา แต่หากเป็นตาปัญญานั่นเอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p





    ถ้าผู้ใดสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัด งานพิธีต่างๆ ธรรมะที่หลวงพ่อเทศ ลองคลิกเข้าไปดูนะ ครับ http://krubachaoboonkhoom.com/<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2010
  2. สายชล 127

    สายชล 127 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +105
    ขออนุโมทนาสาธุเป็นอย่างสูงค่ะ

    เป็นคำสอนธรรมะที่ดีมากเลยค่ะ " คนเราหากไม่เบื่อ มันก็ไม่วาง "

    จริงแท้แน่นอนที่สุด ........สาธุ สาธุ สาธุ..:cool:
     
  3. yaka

    yaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2010
    โพสต์:
    647
    ค่าพลัง:
    +1,384
    ยิ่งเข้ามาอ่านยิ่งรู้ว่าแท้จริงแล้วตัวเรานี้ยังมีกิเลสตัญหา(ความอยาก)อยู่มากนัก มีอะไรกระทบใจหน่อยก็ร้อนรุ่มในอกดังไฟเผา น่าเวทนาตัวเองนักเฮ้อออออออไม่รู้จักปลงเอาซะเลย โมทนาสาธุกับธรรมมะดีๆค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...