คิริมานนทสูตร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย มีแปปเดียว, 13 สิงหาคม 2010.

  1. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ยกตัวอย่าง ลูกชายนายช่างทอง ที่บวชในสำนักของพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็ให้กรรมฐานที่ไม่ถูกกับจริตของลูกชายนายช่างทอง จึงพามาให้พระพุทธเจ้าทรงสอน พระพุทธเจ้าก็ให้เพ่งกสิณตามจริตของ ลูกชายนายช่างทอง

    เราขอถามท่านว่า....ถ้าเอากสิณมาให้ ท่านคิริมานนท์ เพ่ง จะได้ไหม
     
  2. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ก็ต้องขออภัยด้วยถ้าทำให้เข้าใจผิดว่า เรากำลังเถียงกันอยู่
    แต่สถิติคงวัดผลปฏิบัติที่แท้จริงไม่ได้หรอกนะครับ
    พระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากมาย ที่ลงอเวจีก็มากเหลือ
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    <TABLE border=0><TBODY><TR><TD>ส๎วากฺขาโต ภควตาธมฺโม,</TD><TD>พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว,</TD></TR><TR><TD>สนฺทิฏฺฐิโก,</TD><TD>เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง,</TD></TR><TR><TD>อกาลิโก </TD><TD>เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล,</TD></TR><TR><TD>เอหิปสฺสิโก,</TD><TD>เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด,</TD></TR><TR><TD>โอปนยิโก,</TD><TD>เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,</TD></TR><TR><TD>ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ติ.</TD><TD>เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.</TD></TR><TR><TD>ส๎วากฺขาโต ภควตา ธมฺโม,</TD><TD>พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว,</TD></TR><TR><TD>ธมฺมํ นมสฺสามิ.</TD><TD>ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.</TD></TR></TBODY></TABLE>.............................................................

    <CENTER>บทที่ ๓ พระธรรม</CENTER>

    ๑. โอวาทปาฏิโมกข์ <DD>โอวาทปาฎิโมกข์ หมายถึง คำสอนที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหมด คือคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้านั้นจะสรุปอยู่ที่หลัก ๓ ประการอันได้แก่ <DD>๑. สอนให้ละเว้นความชั่วทั้งปวง <DD>๒. สอนให้ทำความดีให้ถึงพร้อม <DD>๓. สอนให้ทำจิตให้บริสุทธิ์ขาวรอบ <DD>คำสอนเรื่องละชั่วและทำดีนั้นเป็นคำสอนระดับพื้นฐาน(ศีลธรรม)ซึ่งเป็นคำสอนง่ายๆสำเร็จรูป แม้ไม่ต้องใช้ปัญญาพิจารณาก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที เช่น คำสอนเรื่องการมีศีล, การให้ทาน, มีความขยันอดทน ,มีความเสียสละ,มีการให้อภัย เป็นต้น ซึ่งเอาไว้สอนแก่บุคคลทั่วๆไป ที่ยังมีสติปัญญาไม่มากนัก โดยมีผลเป็นความปกติสุขไม่เดือดร้อน(สันติสุขและสันติภาพ) <DD>คำสอนเรื่องการทำจิตให้บริสุทธิ์นี้เป็นคำสอนระดับสูง(ปรมัตถธรรม) ซึ่งเป็นการสอนที่เน้นไปที่เรื่องการดับทุกข์ โดยสรุปอยู่ที่เรื่องอริยสัจ ๔ ซึ่งจะเอาไว้สอนแก่คนที่ค่อนข้างมีปัญญาบ้างแล้ว โดยมีผลเป็นความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง(นิพพาน) ๒. ธรรมะกำมือเดียว

    <DD>คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นเรานิยมเรียกกันว่า ธรรม หรือ ธรรมะ ซึ่งก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะคำนี้เป็นคำกลางๆที่ศาสนาไหนเขาก็ใช้คำนี้ ถ้าจะให้รัดกุมควรใช้คำว่า พุทธธรรม ที่หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า <DD>พระพุทธองค์ทรงเคยตรัสเอาไว้ว่า สิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้นมีมากมายเหมือนใบไม้ทั้งป่า แต่ที่ทรงนำมาสอนนั้นมีเพียงเล็กน้อยเหมือนกับใบไม้เพียงกำมือเดียว คือสิ่งที่ทรงนำมาสอนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เร่งด่วนที่สุด อันได้แก่เรื่องการดับทุกข์ ส่วนเรื่องอื่นๆนั้นแม้จะมีมากมายก็ไม่สำคัญเท่าเรื่องการดับทุกข์. ๓. ลักษณะของพระธรรม

    <DD>คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นจะมีลักษณะดังนี้คือ <DD>สันทิฏฐิโก คือผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติจะพึงรู้แจ้งประจักษ์ได้ด้วยตนเอง <DD>อกาลิโก คือไม่เกี่ยวกับเวลา ถ้าปฏิบัติเมื่อไรก็ได้รับผลเมื่อนั้น <DD>เอหิปัสสิโก คือกล้าท้าให้ทุกคนมาพิสูจน์อย่างไม่กลัวการพิสูจน์ <DD>โอปนยิโก คือให้น้อมเข้ามาศึกษาและปฏิบัติภายในตัวเอง <DD>ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ คือเป็นสิ่งที่ผู้มีสติปัญญาและมีใจเป็นกลางจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยตนเอง ไม่สามารถรู้แจ้งแทนกันได้ <DD> <DD> หลักตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ

    <DD>ในปัจจุบันคำสอนของพระพุทธองค์ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก จนทำให้ผิดจากคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธองค์ ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงทราบดีดังนั้นจึงได้ทรงวางหลักในการตัดสินง่ายๆเอาไว้ให้เราได้ใช้ตัดสินว่าธรรมหรือคำสั่งสอนใดที่เป็นของพระพุทธองค์จริงและไม่ใช่ของพระพุทธองค์จริงโดยการนำหลักธรรมนั้นมาพิจารณาว่า <DD>ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดยินดี, เพื่อความประกอบทุกข์, <DD>เพื่อความสะสมกิเลส, เพื่อความอยากเป็นใหญ่, <DD>เพื่อความมักมาก, เพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ, <DD>เพื่อความเกียจคร้าน, เพื่อความเลี้ยงยาก <DD>ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา <DD>ส่วนธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัดยินดี, เพื่อความปราศจากทุกข์, <DD>เพื่อความไม่สะสมกิเลส, เพื่อสิ้นความอยากเป็นใหญ่, <DD>เพื่อความมักน้อย, เพื่อความสงัดจากหมู่, <DD>เพื่อความปรารภความเพียร, เพื่อความเลี้ยงง่าย <DD>ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสอนของพระศาสดา. <DD>หลักตัดสินธรรมวินัยทั้งหมดนี้นับเป็นวิธีง่ายๆที่จะใช้ควบคู่ไปกับหลักกาลามสูตร ซึ่งถ้าเรามีความจริงใจและยึดถือหลักเหล่านี้มาใช้ตรวจสอบหลักคำสอนหรือหลักการปฏิบัติของใครๆในปัจจุบัน เราก็จะทราบได้ว่าคำสอนใดผิด คำสอนใดถูก
    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 สิงหาคม 2010
  4. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    สัจจะ ๒ ประการ
    <DD>สัจจะ แปลว่า ความจริงแท้ ซึ่งความจริงแท้นี้ก็มีอยู่ ๒ ประเภท อันได้แก่ <DD>๑. สมมติสัจจะ ความจริงตามที่สมมติกันขึ้นมา <DD>๒. ปรมัตถสัจจะ ความจริงสูงสุดของธรรมชาติ <DD>สมมติสัจจะก็คือความจริงตามที่ชาวโลกเขาสมมติกันขึ้นมา เช่นชาย, หญิง, สวย, ขี้เหร่ ,รวย, จน, แมว, หมา,นาย ก, นาย ข เป็นต้นซึ่งเป็นการมองอย่างผิวเผินตามที่ตามองเห็น ส่วนปรมัตถสัจจะนั้นเป็นความจริงแท้ตามธรรมชาติที่มีอยู่ในทุกสิ่งซึ่งต้องใช้ปัญญามองจึงจะเห็น ซึ่งก็ได้แก่ความจริงอันเป็นพื้นฐานของทุกสิ่งในเรื่องที่ว่า “ทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง”(อนัตตา) คือสิ่งที่สมมติกันขึ้นมาทั้งหลายนั้นจริงๆแล้วมันเป็นเพียงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งหรือสร้างขึ้นมาจากธาตุตามธรรมชาติเท่านั้นไม่มี ดังนั้นสิ่งที่สมมติกันขึ้นมาทั้งหลายจึงไม่มีอยู่จริง หรือหาตัวจริงๆไม่มี <DD>การมองโลกนั้นถ้าเรามองอย่างผิวเผินไม่ลึกซึ้ง เราก็จะติดอยู่กับสมมติสัจจะ และต้องยินดีบ้างยินร้ายบ้างไปกับโลกแล้วก็ทำให้จิตใจของเราเป็นความทุกข์ แต่ถ้าเรามองโลกอย่างพินิจพิจารณาให้ลึกซึ้ง เราก็จะพบกับปรมัตถสัจจะ คือพบกับความจริงว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงได้ แล้วเราก็จะไม่มีความยินดีหรือยินร้ายกับโลก แล้วความทุกข์ของจิตใจเราก็จะไม่มี. </DD>
     
  5. emaN resU

    emaN resU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    2,944
    ค่าพลัง:
    +3,294
    อวตาร.<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3654829", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    ความเห็นก็คือ ไม่ใช่การตีแสกหน้า
    พระยาธรรมมิกสูตรนี้ มิใช่ว่าจะครอบคลุมได้ทุกพระสูตร พระสูตรหนึ่งๆก็เหมาะกับจริตของแต่ละบุคคล บุคคลไป ตามแต่เหตุและปัจจัยหนึ่งๆ แล้วยังงี้ถ้านำเอาพระสูตรอื่นมากล่าวในเหตุการณ์นี้ ก็จะขัดแย้งกันได้
    พระสูตรจะไปขัดแย้งกันเองได้ยังไง ในเมื่อออกมาจากเจตนารมย์เดียวกัน...
    แนวทางก็เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อรู้และเข้าใจความเป็นจริงของตนเองและสิ่งต่างที่อยู่รอบตนเอง
    ไม่ขัดแย้งกันเองแม้แต่อักษรเพียงตัวเดียว เพราะทุกอักษรออกมาจากเตนารมณ์เดียวกัน

    เรื่องราวในพระสูตรต่างๆ เหมือนกระแสน้ำในสายลำธารเดียวกัน เป็นเกลียวกลมกลืนไปในทิศทางเดียวกัน ต่างเพียงเรื่องราว ปัจจัย วาระสมัย กาลเทศะ... ไม่มีส่วนไหนขัดแย้งกันเองแน่นอน

    แต่การกล่าวอ้างถึงพระสูตรแล้วเหมาะสมกับสถานการณ์หรือเนื้อความในพระสูตรนั้นจะช่วยให้เกิดประโยชน์ทางปัญญาได้มากน้อยแค่ไหน เรื่องนี้มันอยูที่ระดับสติปัญญาของผู้ยกพระสูตรมาอ้างในสถานการณ์นั้นๆ



    พระธรรม 84000 พระธรรมขันธ์ นั้นเปรียบเหมือนสมุนไพรต่างๆรวม 84000 ชนิด เมื่อตรวจสอบแล้วว่าบุคคลใด ป่วยด้วยโรคใด ผู้รักษาก็จะนำสมุนไพรต่างๆมารวมกันอย่างถูกต้อง กับโรคนั้นๆ จึงจะเป็นยารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ใช่ว่าจะนำหม้อยานี้หม้อเดียวไปรักษาได้ทุกโรคเสียเมื่อไร
    ก็ยานี้มันเป็นยาบำรุงปัญญานี่ท่าน... มันก็รักษาโรคโง่ได้ทุกโรคนั่นแหละ อยู่ที่ว่าจะไปจิบดื่มได้ส่วนที่ถูกกับโรคโง่ของตนเองมากน้อยแค่ไหน
    บางที่หัวยามันนอนก้นท่านอาจต้องดื่มหางยาด้านบนไปพลางๆก่อน ก่อนที่จะได้สัมผัสรสหัวยา
    หม้อเดียวกัน ส่วนผสมก็เป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือรักษาโรคโง่ จิบๆกินๆไป เดี๋ยวมันก็เจอตัวยาในส่วนผสมที่เหมาะกับตัวเอง
    ถ้าจะตั้งแง่ไม่ลองจิบลองกิน เพียงเพราะคิดเห็นว่าส่วนนั้นไม่เหมาะ ส่วนนี้ไม่เหมาะ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าส่วนผสมไหนเหมาะหรือไม่เหมาะ เมื่อไม่ลองจิบลองกิน

    ยาทิพย์ ยาบำรุงสติปัญญา... กินได้ทั้งหม้อ กินได้ทุกคน กินได้ทุกเวลา หม้อเดียวแท้จากรสธรรมชาติ ไม่ขัดแย้ง กลมกลืน กลมเกลียว
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
  7. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    พระพุทธเจ้าได้ทรงแบ่งจริตของคน ไว้ทั้งหมด 6 จริต กรรมฐาน ๔๐ ท่านให้ใช้ให้เหมาะกับจริตของแต่ละคน
    พระอรหันต์ที่จะกับไปเผยแพร่พระศาสนาที่บ้านเกิดที่เป็นชาวประมง พระพุทธเจ้าก็ทรงให้ท่านไปสอนเพียง สังคหวัตถุ อย่าสอนเรื่องศีล
     
  8. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,713
    ค่าพลัง:
    +51,941
    <DD>ขอต่อเติมนิดหน่อย
    <DD>
    <DD>- " หนุมาน ผู้นำสาร "
    </DD>
     
  9. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,713
    ค่าพลัง:
    +51,941
    *** การทำความดี การตัดลดกิเลสนิสัย ****

    สั่งสอน ให้เขาทำในสิ่งที่เขาพอที่จะทำได้จริง
    แต่ให้เขาพยายามทำด้วยความจริงจัง คือ ทำด้วยสัจจะ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  10. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา (ทุกสิ่งที่รับรู้ผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ล้วนไม่มีตัวตนที่แท้จริง)
    </DD>
     
  11. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระหลายรูป อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนคร
    พาราณสี. ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น ถือลูกดาลเข้าไปสู่วิหาร ได้กล่าว
    กะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ขอท่านพระเถระทั้งหลาย จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระ
    ทั้งหลาย จงพร่ำสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลาย จงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผม
    จะพึงเห็นธรรมได้.
    [๒๓๒] เมื่อพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระฉันนะ
    ว่า ดูกรท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณ
    ไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณ
    เป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา. ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะเกิดความ
    คิดนี้ว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ
    วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเรา
    ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละ
    คืนอุปธิทั้งปวง ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ ในนิพพาน ความสะดุ้งกลัวและอุปาทาน
    ย่อมเกิดขึ้น ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรเล่าเป็นตนของเรา. แต่ความคิดเห็น
    อย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม (สัจจธรรม ๔) ใครหนอจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เราจะพึงเห็นธรรม
    ได้.
    [๒๓๓] ลำดับนั้นเอง ท่านพระฉันนะได้มีความคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้อยู่ ณ โฆสิตาราม
    ใกล้เมืองโกสัมพี ท่านพระอานนท์ผู้ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและทรงยกย่องแล้ว ย่อมสามารถ
    แสดงธรรมแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญ และสามารถจะแสดงธรรมแก่เรา โดยที่เรา
    จะพึงเห็นธรรมได้ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านพระอานนท์อยู่มาก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้า
    ไปหาท่านพระอานนท์เถิด. ลำดับนั้น ท่านพระฉันนะก็เก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้า
    ไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้น
    ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่าน
    พระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี
    ครั้งนั้น ผมออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น ถือลูกดาลเข้าไปสู่วิหาร ทางวิหารแล้ว ได้กล่าวกะ
    ภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ขอท่านพระเถระทั้งหลาย จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลาย
    จงพร่ำสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลาย จงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็น
    ธรรมได้. เมื่อผมกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะผมว่า ท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง
    ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรม
    ทั้งปวงเป็นอนัตตา ดังนี้ ผมนั้นได้มีความคิดว่า แม้เราก็มีความคิดเห็นอย่างนั้นว่า รูปไม่เที่ยง
    ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรม
    ทั้งปวงเป็นอนัตตา ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น
    ในธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ในการสละคืนอุปธิทั้งปวง ในความสิ้นตัณหา ในวิราคะ ในนิโรธ
    ในนิพพาน ความสะดุ้งกลัวและอุปาทานย่อมเกิดขึ้น ใจก็ถอยกลับอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น
    อะไรเล่าเป็นตนของเรา. แต่ความคิดเห็นอย่างนี้ไม่มีแก่ผู้เห็นธรรม ใครหนอ จะแสดงธรรมแก่เรา
    โดยที่เราจะพึงเห็นธรรมได้. อาวุโส ผมนั้นได้มีความคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้ อยู่ ณ โฆสิตาราม
    ใกล้เมืองโกสัมพี ท่านพระอานนท์ผู้ซึ่งพระศาสดาทรงสรรเสริญและยกย่อง ย่อมสามารถแสดง
    ธรรมแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญ และสามารถจะแสดงธรรมแก่เราโดยที่เราจะพึงเห็น
    ธรรมได้ อนึ่ง เราก็มีความคุ้นเคยในท่านพระอานนท์อยู่มาก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปหา
    ท่านพระอานนท์เถิด ขอท่านพระอานนท์ จงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระอานนท์ จงพร่ำสอน
    ผมด้วย ขอท่านพระอานนท์ จงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้.
    [๒๓๔] ท่านพระอานนท์กล่าวว่า แม้ด้วยเหตุเท่านี้ ผมก็ดีใจด้วยท่านพระฉันนะ ทั้ง
    ได้รำพึงกันมาแต่แรก ท่านพระฉันนะได้กระทำข้อนั้นให้แจ่มแจ้งแล้ว ทำลายความดื้อดึงได้แล้ว
    ท่านพระฉันนะ ท่านจงเงี่ยโสตลงฟัง ท่านเป็นผู้สมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง. ลำดับนั้น
    ความปีติและความปราโมทย์อย่างโอฬาร ก็บังเกิดมีแก่ท่านพระฉันนะ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้นว่า
    เราเป็นผู้สมควรจะรู้ธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง.
    อา. ท่านพระฉันนะ ผมได้สดับคำนี้มาเฉพาะพระพักตร์ รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์
    พระผู้มีพระภาค ผู้ตรัสสั่งสอนภิกษุกัจจานโคตรอยู่ว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน
    ๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑. ก็เมื่อบุคคลเห็นเหตุเกิดแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
    เป็นจริงอยู่ ความไม่มีในโลกย่อมไม่มี. เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตาม
    ความเป็นจริงอยู่ ความมีในโลกย่อมไม่มี โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายเป็นเหตุถือมั่นและ
    ความยึดมั่น แต่อริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ ซึ่งอุบายเป็นเหตุถือมั่น มีความ
    ยึดมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยว่า อัตตาของเรา ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ
    เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่
    ต้องเชื่อผู้อื่นเลย. ดูกรกัจจานะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ. ดูกรกัจจานะ
    ส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี. ตถาคตแสดงธรรมโดย
    สายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขาร
    เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. เพราะ
    อวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
    ฉ. ดูกรท่านอานนท์ ท่านเหล่าใด มีการกล่าวสอนอย่างนี้ ท่านเหล่านั้น เป็นผู้อนุเคราะห์
    มุ่งประโยชน์ กล่าวสอนและพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ก็แลผมเองได้ฟังธรรมเทศนานี้
    ของท่านอานนท์แล้ว เข้าใจธรรมได้อย่างแจ่มแจ้ง.
     
  12. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ดูกรกัจจานะ
    ส่วนสุดที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี. ตถาคตแสดงธรรมโดย
    สายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขาร
    เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. เพราะ
    อวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.


    ส่วนสุดที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี.....เมื่อสิ่งทั้งปวงไม่มีก็เป็นอนัตตา เมื่อเป็นส่วนสุดที่ ๒ ทำไม่สิ่งทั้งปวงไม่มี(อนัตตา) พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่าเป็นส่วนสุด
     
  13. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    สุดในที่นี้คือสุดโต่ง2อย่าง
    คือฝ่ายสัสสตทิฏฐิ
    และฝ่ายอุจเฉททิฏฐิ
    ตถาคตแสดงธรรมโดย
    สายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขาร
    เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. เพราะ
    อวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.



     
  14. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    อ่าน: 571
    ความเห็น: 0
    [​IMG]
    ทรรศนะสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิในอินเดีย ที่แตกต่างจากทรรศนะเรื่องกรรมและสังสารวัฏในพุทธปรัชญาเถรวาท <SUP></SUP>



    ทรรศนะสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิในอินเดีย
    ที่แตกต่างจากทรรศนะเรื่องกรรมและสังสารวัฏในพุทธปรัชญาเถรวาท

    ทรรศนะสัสสตทิฏฐิ

    แนวความคิดแบบสัสสตทิฏฐิที่เชื่อว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ (อัตถิกทิฏฐิ) เป็นความเชื่อว่า ภายในตัวมนุษย์มีแก่นสารที่เป็นอมตะไม่รู้จักการเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลาย แก่นสารที่ว่านี้จะดำรงอยู่ตลอดเวลา แม้ว่ามนุษย์นั้นจะตายไปก็ตาม ทรรศนะแบบสัสสตทิฏฐิเชื่อว่า มนุษย์มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ส่วนแรกคือร่างกายเป็นสสาร และส่วนที่สองคือแก่นสารที่เป็นอมตะ ร่างกายที่เป็นสสารเปลี่ยนแปลงได้ไปตามกาลเวลา แต่แก่นสารที่เป็นอมตะนั้นหาได้ตายไปพร้อมกับร่างกายไม่ แก่นสารที่ว่านี้จะเป็นตัวไปสร้างภพใหม่ต่อไป การตายไม่ใช่จุดสุดท้ายของชีวิต

    สัสสตทิฏฐิมักมองมนุษย์ในแง่ที่เป็นแก่นสารที่เป็นอมตะ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวนำไปสู่การอธิบายว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีอยู่ แก่นสารที่เป็นอมตะนี้เรียกชื่อแตกต่างกันไป ศาสนาพราหมณ์เรียกว่า อาตมัน ศาสนาเชนเรียกว่า ชีวะ นักปรัชญาตะวันตกเรียกว่า วิญาณ (soul) อย่างไรก็ตาม ซึ่งอาจจะเรียกต่างกัน แต่ความหมายอันเดียวกันคือ เป็นแก่นสารที่เป็นอมตะไม่รู้จักตาย ในสมัยพุทธกาลศาสนาที่มีแนวความคิดแบบสัสสตทิฏฐิที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาเชน

    ศาสนาพราหมณ์เชื่อว่า มนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ร่างกายและอาตมัน ร่างกายนั้นเป็นสสาร ส่วนอาตมันเป็นอสสาร ทั้ง 2 ส่วนนี้มีความแตกต่างกัน ร่างกายเป็นสสารที่รู้จักการเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลาย แต่อาตมันนั้นเป็นอมตะไม่รู้จักการเปลี่ยนแปลงถึงแม้ว่ามนุษย์จะตายไปก็ตาม ร่างกายเท่านั้นตาย แต่อาตมันตัวนี้จะดำเนินการสร้างภพใหม่ชาติใหม่เหมือนคนถอดเสื้อชุดเก่าแล้วสวมเสื้อชุดใหม่

    ศาสนาเชนเชื่อว่า มนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนแรกคือร่างกายส่วนที่สองคือชีวะ ร่างกายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลง แต่ชีวะเป็นอมตะไม่รู้จักการเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลาย ชีวะตัวนี้เป็นแก่นสารเป็นตัวถาวร และมีอยู่เองตามธรรมชาติไม่มีผู้สร้าง ชีวะของเชนจึงแตกต่างจากอาตมันของพราหมณ์ อาตมันของพราหมณ์นั้นมีผู้สร้าง ดังนั้น เชนจึงไม่นับถือพระเจ้า แต่แนวความคิดของ เชน ชีวะเป็นตัวเดียวกันที่ไปสร้างภพใหม่ชาติใหม่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้แนวความคิดของเชนกลายเป็นทรรศนะสัสสตทิฏฐิด้วย
    ทรรศนะศาสนาพราหมณ์

    1. ทรรศนะเรื่องกรรมในศาสนาพราหมณ์

    ความเชื่อเรื่องกรรมมนทรรศนะศาสนาพราหมณ์ เริ่มปรากฏในคัมภีร์พระเวท การแสดงออกของมนุษย์ในยุคพระเวทนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อเรื่องกรรม ศาสนาพราหมณ์เชื่อว่า การทำความดีนำไปสู่อมฤตภาพ ความทุกข์ยากลำบากในชาตินี้เป็นผลของกรรมชั่วในชาติก่อน ในยุคพระเวท ศาสนาพราหมณ์ยอมรับคัมภีร์พระเวทว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และคัมภีร์พระเวทมีอยู่ 4 คือ ฤคเวท ยุชรเวท สามเวท และอถรรพเวท ในเนื้อหาของพระเวทนี้ได้ระบุถึงเทพเจ้าประจำธรรมชาติต่าง ๆ

    ได้แก่ พระอัคนี (ไฟ) พระวายุ (ลม) พระวรุณ (ฝน) การที่มนุษย์ทำให้เทพเจ้ามีความพึงพอใจจะได้รับตอบสนอง ดังนั้น ในคัมภีร์ภควัทคีตา ได้กล่าวถึงการบูชายัญหรือบวงสรวงเทพเจ้า ไว้ดังนี้

    อิษฏสนฺโภคานฺทิ โว เทวา
    ทาสฺยนฺเต ยชฺญฺภาวิตาะ
    ไตรฺทตฺตานปฺราทาไยภฺย
    โยภฺงฺเก สฺเตน เอว สะ
    ยชฺญคิษฺฏาคิหนะ สนฺโต
    มุจฺยนฺแต สรฺวกิลฺพิไษ
    ภุญชเต เต ตามิ ปาปา
    เย ชจนฺตยาคฺมการญาตฺ

    เพราะเทพเจ้าทั้งหลายถูก
    ท่านบำรุงด้วยยัญพิธี จะสนอง
    ท่านด้วยโภคะที่น่าปรารถนา ผู้
    ที่บริโภคโภคะอันเทพเจ้านั้น
    ให้แล้ว แต่ไม่สนองตอบแด่
    เทวดา เหล่านั้นมันคือขโมยแท้ ๆ
    สาธุชนผู้บริโภคโภคะ อัน
    เหลือจากยัญพิธี ย่อมปลด
    เปลื้องจากบาปทั้งมวล ส่วน
    ผู้ลามกบริโภค เพราะเห็นแก่
    ตัวเอง ย่อมบริโภคเอาบาปเข้า
    ไปด้วย

    (กฤษณะไทวปายนวฺยาส, ศรีมัทภควัทคีตา, แปลโดย ศาสตราจารย์ ร.ต.ท. แสง มนวิฑูร, พิมพ์ครั้งที่ ๓ , หน้า ๔๙.)

    ในคัมภีร์ภควัทตีตา กล่าวถึงบุคคลจะบรรลุโมกษะได้ด้วยการกระทำดีกล่าวคือ การกระทำตามหน้าที่ของตนและความไม่เห็นแก่ตัว “คนที่เห็นแก่ตัว เป็นการกระทำที่สร้างพันธะในตนเองต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ต่อไปในโลก คนที่บรรจุโมกษะได้ก็คือ ไม่มีความเห็นแก่ตัวนั่นเอง คำว่าโมกษะหมายถึงสถานที่มีความสุขนิรันดรหรือในสวรรค์” ตามขบวนการที่หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ในคัมภีร์ภตวัทคีตาได้กล่าวไว้ว่า “จงถืออุปนิษัทเป็นคันธนู วางลูกธนูบนคันธนูนี้ ทำลูกธนูให้แหลมด้วยการเสียสละแล้วใช้ความคิดถึงลูกธนูและสายธนูให้ตึง เล็งแล้วยิงตรงไปยังเป้า คือพรหม โอมคือคันธนูอาตมันคือลูกธนู”

    (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุเมธ เมธาวิทยากูร, ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า ๒๐๐.)

    สาเหตุที่ทำให้เกิดกรรมหรือการกระทำนั้นมี 3 อย่างคือ ความรู้ วัตถุที่เรารู้และตัวเราผู้รู้ และมีอีก 3 อย่างเป็นตัวประกอบได้แก่ ตัวผู้กระทำ การกระทำและอวัยวะที่ใช้กระทำ ในคัมภีร์ภควัทคีตา ได้กล่าวถึงสาเหตุแห่งกรรมไว้ดังนี

    ชฺญานิ เขยยิ ปริชฺญาตา
    ตฺริวิธา กรฺมโจทนา
    กรณํ กรฺม กรฺเตติ
    คฺริวิธะ กรุมสิคฺรทะ

    ความรู้ ข้อรู้ ผู้รู้ สามอย่าง
    นี้สะกิดให้เกิดกรรม เครื่องทำ
    (เครื่องมือ) การทำ ผู้ทำ สาม
    อย่างนี้สงเคราะห์ให้เกิดกรรม

    อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดกรรมได้แก่ อวิทยา (อวิชชา) คือความไม่รู้แจ้งอวิทยาปิดบังปัญญาทำให้อาตมันต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ

    ในยุคอุปนิษัท ได้พัฒนาเรื่องหลักกรรมในยุคพระเวทเพื่อเป้าหมายคือการเข้าสู่ปรมาตมันโดยอาศัยวิธีการ 3 ประการ คือ กรรมโยคะ ภักติโยคะ และชญาณ โยคะ คำว่า กรรมโยคะ (กรรม+โยคะ) หมายถึงการกระทำอะไรก็ตามที่จะนำไปสู่ความดีความชอบและมีผลตามความต้องการ คำว่า ภักติโยคะ (ภักติ+โยคะ) หมายความถึงความศรัทธา ความจงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า คำว่า ชญาณโยคะ (ชญาณ+โยคะ) หมายถึงตัวความรู้ชั้นบรมสัจจะ มิใช่ความรู้อื่นที่นำไปสู่สภาวะดังกล่าว สภาวะเช่นนี้จะเกิดได้จากการที่คนเราสามารถหยั่งรู้สภาวะอันแท้จริงของตนเองว่ามันมีสภาวะจริง ๆ เป็นเช่นไร

    ทรรศนะเรื่องกรรมในศาสนาพราหมณ์นี้ ชี้ให้เห็นว่ากรรมเป็นเครื่องปรุงแต่งสัตว์ทั้งหลาย กรรมเป็นเครื่องผูกพันให้มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิด มนุษย์ทุกคนตกอยู่ในอำนาจของกฎแห่งกรรมที่เขาทำไว้จะหลีกหนีไม่พ้น คือทำกรรมใดไว้ก็จะได้รับผลแห่งกรรมนั้น ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วก็ย่อมได้รับผลชั่ว

    2. สังสารวัฏในทรรศนะของศาสนาพราหมณ์

    เรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมย่อมเกี่ยวกันกับการเกิดใหม่เสมอศาสนาพราหมณ์มีแนวคิดเดียวกัน ศาสนาพราหมณ์เชื่อว่า ร่างกายกับอาตมัน (body and soul) มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ร่างกายเป็นเพียงวัตถุ (สสาร) ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ชำรุด และแตกดับได้ ส่วนอาตมันเป็นอมตะ ไม่เปลี่ยนแปลง อาตมันนี้เองเป็นตัวที่จะต้องสร้างภพใหม่ชาติใหม่ต่อไป การที่ศาสนาพราหมณ์เชื่อว่าอาตมันดวงเดิมนั้นไปเกิดใหม่เป็นการยืนยันว่า ผลของกรรมที่ตอบสนองนั้นตรงกับแนวคิดของคนทั่วไป ตัวอย่างเช่น นายบี ปัจจุบันอายุ 70 ปี ร่างกายของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ร่างกายที่เคยแข็งแกร่งกลับอ่อนแอ ผมที่เคยดำสนิทเปลี่ยนเป็นสีขาว เนื้อที่เคยเต่งตึงกลับเหี่ยวย่น ร่างกายของเขาเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่นั้นเขาได้ประกอบความดีเสมอครั้นตายไป อาตมันของเขาจะไปเกิดใหม่ เป็นเด็กชายประเสริฐ เด็กชายประเสริฐในปัจจุบันก็คือนายบีในชาติก่อนนั่นเอง และกรรมที่นายบีได้กระทำมาในชาติก่อนนั้นก็ได้ตอบสนองเด็กชายประเสริฐ เป็นการยุติธรรมและทรรศนะดังกล่าวนี้ก็ได้ตรงกับความนึกคิดของคนทั่วไปอีกด้วย


    แนวคิดของศาสนาพราหมณ์เชื่อว่า อาตมันเท่านั้นที่เป็นแก่นสารของชีวิตและเป็นสิ่งที่อมตะไม่ตายไปพร้อมกับร่างกาย ในคัมภีร์ภควัทคีตาได้อุปมาไว้ว่าร่างกายเหมือนเสื้อผ้า ส่วนอาตมันเหมือนคนที่สวมใส่เสื้อผ้า เมื่อคนเราตายอาตมันจะออกจากร่างกายไปแสวงร่างใหม่

     
  15. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    คัมภึร์อุปนิษัทเป็นคัมภีร์ของฮินดู ยืมหลักการของพุทธไปบางส่วนเพื่อโค่นล้มพุทธ
     
  16. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    <B>ผู้วิจัย : นางวนิดา เศาภายน<TABLE border=0 width="100%" height=36><TBODY><TR><TD vAlign=top width="80%"><B><BIG><BIG>ความหมายของอุจเฉททิฏฐิ </BIG></BIG></B></TD><TD vAlign=top width="20%" noWrap align=right>[​IMG] [​IMG] <!--InformVote=0--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[0], 0);</SCRIPT>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></B>

    ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา)



    คำว่า “อุจเฉททิฏฐิ”ประกอบมาจากคำสองคำคืออุจเฉทะ(ขาดสูญ, ขาดสิ้น, ตัวขาด)และทิฏฐิ(๑) (ความเห็น, การเห็น, ลัทธิ, ทฤษฎี, ทัศนะ) อุจเฉททิฏฐิ หมายความว่าทัศนะที่เชื่อว่าอัตตาและโลกขาดสูญ ในความเห็นว่าขาดสูญ หมายความว่า เห็นว่าหลังจากตาย อัตตาและโลกจะพินาศสูญหมด กล่าวคือ หลังจากตายแล้ว อัตตาทุกประเภท ไม่มีการเกิดอีก(๒)


    ในคัมภีร์ธรรมสังคณี อภิธรรมปิฎก นิยามความหมายของอุจเฉททิฏฐิไว้ว่า อุจเฉททิฏฐิ คือ แนวคิดที่ถือว่า อัตตาและโลกขาดสูญ(๓)


    อีกนัยหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิ หมายถึง การปฏิเสธความไม่มีแห่งผลของการกระทำทุกอย่าง คือ ไม่ยอมรับว่ามีผลย้อนกลับมาถึงตัวผู้ทำ ทุกอย่างจบสิ้นเพียงแค่เชิงตะกอน ดังข้อความต่อไปนี้



    ๑. หลังจากตายแล้ว อัตตาขาดสูญ

    . . .หลังจากตายแล้ว อัตตาย่อมขาดสูญ เพราะองค์ประกอบของคนเรานี้ เป็นแต่เพียงการประชุมของมหาภูตทั้งสี่ หลังจากตายแล้ว ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม สิ่งต่างๆย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕ ที่จะหามเขาไป ร่างกายจะปรากฏอยู่แค่ป่าช้า หลังจากนั้นก็จะกลายเป็นกระดูกที่มีสีดุจสีนกพิราบ. . .เมื่อสิ้นชีวิตไม่ว่าคนเขลาหรือคนฉลาด ย่อมขาดสูญไม่มีเกิดอีก. . .(๔) อัตตาของมนุษย์. . . อัตตาที่เป็นทิพย์ ชั้นกามาพจร(๕) . . .อัตตาที่เป็นทิพย์มีรูปสำเร็จทางใจ. . . อัตตาที่เป็นอากาสานัญจายตนะ(๖) . . อัตตาที่เป็นวิญญานัญจายตนะ(๗) . . ….อัตตาที่เป็นอากิญจัญยายตนะ(๘) . . . อัตตาที่เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ(๙)หลังจากตายแล้ว ย่อมขาดสูญ(๑๐)



    ๒. หลังจากตายแล้ว อัตตาและโลกไม่เกิดอีก

    . . . ปุถุชนผู้มิได้สดับ (ยังไม่ทราบถึงความจริง) อาจไม่มองรูปว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองเวทนาว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองสัญญาว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองสังขารว่าเป็นอัตตา อาจไม่มองวิญญาณว่าเป็นอัตตา ทั้งอาจไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า เรานั้น คือ อัตตา เรานั้นคือโลก เรานั้นตายไปแล้ว จะยังคงเที่ยงแท้ถาวรไม่แปรเปลี่ยน กระนั้นก็ตาม เขาก็อาจมีความเห็นอย่างนี้ว่า ตัวเราไม่ควรมี โลกของเราไม่ควรมี ตัวเราจักไม่มี โลกของเรา จัก ไม่มี. . . นี้คือ อุจเฉททิฏฐิ(๑๑)

    เท่าที่ได้อธิบายมาเพียงแสดงให้เห็นถึงคำนิยาม ซึ่งยังไม่ปรากฏข้อความใดที่อธิบายคำนิยามอย่างที่ว่าอัตตาและโลกไม่มีเกิด ดังนั้น ผู้วิจัยจะได้อธิบายให้เห็นในส่วนนี้

    ว่าด้วยทัศนะของชาวอุจเฉททิฏฐิที่เชื่อว่ามนุษย์คือกลุ่มก้อนของสสาร สิ่งที่เรียกว่า อัตตาเป็นผลผลิตของสสาร ในขณะที่คนตาย สสารที่มารวมกันแยกกระจายจากกัน อัตตาซึ่งเป็นผลของการรวมตัวกันอย่างเหมาะสมของสลารก็ดับสลายไป ในกรณีเช่นนี้ทำให้เห็นว่า สิ่งที่ดับสูญไปมีเพียงอัตตาเท่านั้น ส่วนโลกซึ่งหมายถึงสสารหรือวัตถุธาตุที่ประกอบกันเป็นร่างกายและวัตถุต่าง ๆ รอบตัว มิได้ดับไปด้วย ดังจะเห็นจากข้อความที่ อชิตะเกสกัมพล ได้กล่าวไว้ สรุปได้ว่า เมื่อมนุษย์ตายไปแล้ว ธาตุ ๔ ก็กลับคืนเข้าสู่ธาตุ ๔ ธาตุเหล่านี้มิได้หายไปไหน

    เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเชื่อว่าโลกขาดสูญ โลกในความหมายว่าคือสสารหรือธาตุสี่ที่ประกอบกันขึ้นเป็นวัตถุในจักรวาล ก็อาจไม่ใช่ความหมายของอุจเฉททิฏฐิ แต่โดย ความจริง โลกก็ยังมีความตามเดิมนั้น



    ๓. ปฏิเสธความ “มีอยู่” ทุกอย่าง

    . . . การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้ คนเขลาบัญญัติไว้ คำที่คนบางพวกย้ำว่า มีผลนั้นว่างเปล่า เท็จ ไร้สาระ(๑๒). . .ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี คุณของมารดาไม่มี คุณของบิดาไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ที่บรรลุธรรมซึ่งเป็นผู้กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้คนอื่นรู้ตาม ไม่มี ในโลก. . .(๑๓)

    ....................................................................................................................................................

    บรรณานุกรม


    ๑ ทิฏฐิ หมายถึง ลัทธิ คือ คติความเชื่อถือ ความเห็น มีความหมายเป็นกลาง ไม่ดี ไม่ชั่ว ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประสมกับคำอื่น เช่น ใช้กับ “มิจฉา” เป็น มิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นผิด ใช้กับ “สัมมา” เป็น สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริง แต่ทิฏฐิในที่นี้ หมายถึง ความเห็นผิด (สํ.สฬา.(ไทย) ๑๘/๓๖๕/๔๓๘).

    ๒ อภิ.สง.(ไทย) ๓๔/๑๓๒/๒๙๘.

    ๓ อภิ.สง.(ไทย) ๓๔/๘๔๗.

    ๔ ที.สี.(ไทย) ๙/๑๗๐–๑๗๒/๕๑–๕๗.

    ๕ หมายถึง อัตตาของเทวดาในสวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์ (๓) ชั้นยามา (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี (ที.ม.อ.(บาลี) ๒/๑๒๗/๑๐๙, ที.สี.อ.(บาลี) ๘๖/๑๑๑).

    ๖ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นอากาสานัญจายตนะ หลังจากตายแล้วไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นอากาสานัญจายตนภูมิ ที. ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖., องฺ.นวก.(ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐).

    ๗ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นวิญญาณัญจายตนะ หลังจากตายแล้ว ไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นวิญญาณัญจายตนภูมิ (ที.ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา (ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖, องฺ.นวก. (ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐).

    ๘ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นอากิญจัญญายตนะ หลังจากตายแล้ว ไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นอากิญจัญญายตนภูมิ (ที.ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖, องฺ.นวก. (ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐).

    ๙ หมายถึง อัตตาของผู้ที่ได้อรูปฌานขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ หลังจากตายแล้วไปเกิดเป็นอรูปพรหมชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ที.ม.(ไทย) ๑๐/๑๒๗/๗๒–๗๓, ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๓๒/๓๓๕–๓๓๖, องฺ.นวก.(ไทย) ๒๓/๒๔/๔๘๑–๔๘๒, ที.ม.อ.(บาลี) ๑๒๗/๑๐๙,๔๔–๔๕/๑๘๐, ที.สี.อ.(บาลี) ๘๔/๑๑๐).

    ๑๐ ที.สี.อ.(บาลี) ๑/๘๔/๑๑๐.

    ๑๑ สํ.ข.(ไทย) ๑๗/๑๘๐/๑๓๓.

    ๑๒ ที.สี.(ไทย) ๙/๑๗๐–๑๗๒/๕๑–๕๗.

    ๑๓ ม.ม.(ไทย) ๑๓/๙๔–๙๕/๙๗–๙๙, ม.อุ.อ.(บาลี) ๓/๑๔๓/๙๗. <!--MsgFile=0--><TABLE border=0 cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=bottom width="10%">จากคุณ</TD><TD>: <!--MsgFrom=0-->สมถะ [​IMG] [​IMG] </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom width="10%">เขียนเมื่อ</TD><TD vAlign=bottom>: <!--MsgTime=0-->23 ก.ค. 53 12:16:11 <!--MsgIP=0-->[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    2ทิฎฐินี้ไม่เข้าใจในหลักปฎิจจสมุปปาท
    ปฏิจสมุปบาท

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodytext --><TABLE style="BORDER-BOTTOM: #060 1px solid; TEXT-ALIGN: center; BORDER-LEFT: #060 1px solid; MARGIN: 0px 0px 1em 1em; FLOAT: right; BORDER-TOP: #060 1px solid; BORDER-RIGHT: #060 1px solid" id=WSerie_Buddhism class=toccolours cellSpacing=0 cellPadding=1 width=170><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 100%" colSpan=2><SMALL>ส่วนหนึ่งของ</SMALL>
    พุทธศาสนา

    [​IMG] สถานีย่อย
    <HR>[​IMG]
    ประวัติพุทธศาสนา
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ศาสดา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระโคตมพุทธเจ้า
    (พระพุทธเจ้า)
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>จุดมุ่งหมาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>นิพพาน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ไตรรัตน์</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
    </TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ความเชื่อและการปฏิบัติ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
    สมถะ · วิปัสสนา
    บทสวดมนต์และพระคาถา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>คัมภีร์และหนังสือ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>พระไตรปิฎก
    พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>หลักธรรมที่น่าสนใจ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ไตรลักษณ์
    อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>นิกาย</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>สังคมพุทธศาสนา</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>การจาริกแสวงบุญ</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%">พุทธสังเวชนียสถาน ·
    การแสวงบุญในพุทธภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #8a9e49; COLOR: #ffffff; FONT-SIZE: 95%" colSpan=2>ดูเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%" colSpan=2>ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
    หมวดหมู่พุทธศาสนา</TD></TR></TBODY></TABLE>ปฏิจสมุปบาท <SUP>/ปะติดจะสะหฺมุบบาด/</SUP> (สันสกฤต:ปรตีตยสมุปปาทะ) เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน,การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้น
    การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์หรือหัวข้อ 12 ดังนี้ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ
    ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
    <TABLE id=toc class=toc><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>[แก้] อนุโลม-ปฏิโลม

    การเทศนาปฏิจสมุปบาท ดังแสดงไปแล้วข้างต้น เรียกว่า อนุโลมเทศนา
    หากแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น จากผลไปหาเหตุปัจจัย เช่น
    ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารมีเพราะอวิชาเป็นปัจจัย
    ดังนี้เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา
    [แก้] ลำดับแห่งปฏิจสมุปบาทฝ่ายดับทุกข์

    ความทุกข์ จะดับไปได้เพราะดับ ชาติ (การเกิดอัตตา"ตัวตน"คิดว่าตนเป็นอะไรอยู่)
    ชาติ จะดับไปได้เพราะดับ ภพ (การมีภาระหน้าที่และภาวะทางใจ)
    ภพ จะดับไปได้เพราะดับ อุปาทาน (ความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ)
    อุปาทาน จะดับไปได้เพราะดับ ตัณหา (ความอยาก)
    ตัณหา จะดับไปได้เพราะดับ เวทนา (ความรู้สึกในทางทุกข์หรือสุขหรือความรู้สึกเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์)
    เวทนา จะดับไปได้เพราะดับ ผัสสะ (การสัมผัสด้วยประสาทต่าง ๆ)
    ผัสสะ จะดับไปได้เพราะดับ อายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
    อายตนะ จะดับไปได้เพราะดับ นามรูป (ร่างกายและจิตใจ)
    นามรูป จะดับไปได้เพราะดับ วิญญาณ (การรับรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
    วิญญาณ จะดับไปได้เพราะดับ สังขาร (การนึกคิดหรือการปรุงแต่งของใจ)
    สังขาร จะดับไปได้เพราะดับ อวิชชา (ความโง่เขลาหรือความไม่รู้:ไม่รู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง)
    [แก้] สมุทยวาร-นิโรธวาร

    การแสดงหลักปฏิจสมุปบาท เป็นการแสดงให้เห็น ความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจจ์ข้อที่สอง (สมุทัยสัจจ์) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจสมุปบาทที่แสดงแบบนี้เรียกว่า อนุโลมปฏิจสมุปบาท
    (ดังแสดงสองตัวอย่างที่ผ่านไป เป็น อนุโลมเทศนา และ ปฏิโลมเทศนา ของอนุโลมปฏิจสมุปบาท ตามลำดับ)
    การแสดงตรงกันข้ามกับข้างต้นนี้ เรียกว่า นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจจ์ข้อที่สาม (นิโรธสัจจ์) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจสมุปบาท แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย สืบทอดกันไป เช่น
    เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติ ดับชรามรณะ (จึงดับ) ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
    ดังนี้เรียกว่า อนุโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจสมุปบาท
    ส่วนปฏิโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจสมุปบาท ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรามรณะเป็นต้น ดับเพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารดับเพราะอวิชชาดับ
    [แก้] อิทัปปัจจยตา ธรรมนิยาม ปัจจยาการ

    ปฏิจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา(ภาวะที่มีอันนี้ๆเป็นปัจจัย) และปัจจยาการ (อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน)
    [แก้] ข้อความอ้างอิง

    <SMALL>จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐</SMALL>
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ...
    ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ
    <SMALL>จาก ปัจจัยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖</SMALL>
    ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจสมุปบาท
    <SMALL>(ภิกฺขเว ยา ตตฺร ตถตา อวิตถตา อนฺถตา อิทปฺปจฺจยตา อย วุจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท)</SMALL>
    <SMALL>(ถ้าเขียนทับศัพท์จะได้ว่า -ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา หลักอิทัปปัจจยตา ดังพรรณนามาฉะนี้แล เรียกว่าปฏิจสมุปบาท)</SMALL>
    [แก้] อ้างอิง

    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

     
  18. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    แล้วการพิจารณาขันธ์๕ และสิ่งทั้งปวง ว่าเป็นอนัตตา ไม่เข้าเกณฑ์ ขาดสูญหรือ
     
  19. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา (ทุกสิ่งที่รับรู้ผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ล้วนไม่มีตัวตนที่แท้จริง)........ ลองเปรียบเทียบกับ “อุจเฉททิฏฐิ”หน่อย
     
  20. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 สิงหาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...