คิริมานนทสูตร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย มีแปปเดียว, 13 สิงหาคม 2010.

  1. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    คิริมานนทสูตร​
    เจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ​
    (จันทร์ สิริจนฺโท)

    เส้นทางเดินสายใด ก็ไม่เที่ยงแท้ ยั่งยืน เท่าเส้นทางเดินสายธรรม
    พิมพ์แจกเผยแพร่เป็นธรรมทาน เนื่องในโอกาสได้ไปร่วมงานถวายกฐินสงเคราะห์โลกแด่ หลวงตา มหาบัว
    ณ วัดป่าบ้านตาด อ​
    .เมือง จ.อุดรธานี
    เมื่อวันเสาร์ที่
    3 พฤศจิกายน พุทธศักราชที่ 2550

    อดิศักดิ์​
    , ฉัตรแก้ว, ไตรเทพ (อินทรทูต)

    สารบัญ​
    คิริมานนทสูตร ​
    .................................................................................................................................................... 3

    เจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ​
    (จันทร์ สิริจนฺโท) ......................................................................................................... 3

    ความเป็นมาของคิริมานนทสูตร ​
    ............................................................................................................................... 3

    คิริมานนท์อาพาธหนัก ​
    .......................................................................................................................................... 3

    ขอพระพุทธองค์สงเคราะห์ให้ทุกขเวทนาหาย ​
    ............................................................................................................. 3

    หลักคำสอนที่ ๑​
    ................................................................................................................................................... 3

    ละรูปนามเพราะเป็นของนอกกายและคุมไม่ได้​
    ...................................................................................................... 3

    หลักคำสอนที่ ๒ ​
    .................................................................................................................................................. 4

    ละอัตตาด้วยการพิจารณาอัฏฐิกสัญญา มรณสติ อสุภนุสสติ​
    ..................................................................................... 4

    เจริญอสุภกรรมฐาน เพื่อพ้นจากกิเลสตัณหา​
    ......................................................................................................... 5

    หลักคำสอนที่ ๓ ​
    .................................................................................................................................................. 6

    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางไปพระนิพพาน ​
    ............................................................................................................ 6

    การถึงพระนิพพาน คือการพ้นทุกข์​
    ..................................................................................................................... 6

    ผู้ปรารถนาพระนิพพาน ต้องศึกษาให้รู้แจ้ง​
    ........................................................................................................... 6

    ผู้ไม่รู้แจ้งในพระนิพพาน ไม่ควรสั่งสอนพระนิพพานแก่ผู้อื่น​
    ..................................................................................... 7

    ผู้ปรารถนาพระนิพพาน ต้องแสวงหาครูที่ดีที่รู้แจ้งพระนิพพานจริง​
    ............................................................................ 7

    บุคคลไม่รู้พระนิพพานไม่ควรเป็นครูสั่งสอนผู้อื่นจะเป็นบาปหนัก ​
    .............................................................................. 7

    ผู้รู้กับไม่รู้ ได้รับทุกข์เหมือนกัน หากทำบาป ส่วนผู้จะได้สุขในนิพพาน ต้องรู้เท่านั้น ​
    ..................................................... 8

    การรู้จัก นรก สวรรค์ แลพระนิพพาน ควรรู้ในเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่​
    ............................................................................... 8

    บุคคลที่ปรารถนาพ้นทุกข์ ได้สุข หรือพระนิพพาน ควรให้ได้เมื่อยังมีชีวิตอยู่​
    ............................................................... 8

    ทำตัวเราให้เหมือนแผ่นดินหรือปล่อยวาง จึงได้ชื่อว่าถึงพระนิพพานดิบ​
    ...................................................................... 9

    การปล่อยวางจิต คือ ให้ละโลภ โกรธ หลง​
    ............................................................................................................ 9

    จิตใจไม่ใช่ของเรา ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตใจคืนไว้ให้แก่โลกตามเดิม​
    ............................................................ 9

    ผู้ปฏิบัติอริยมรรคให้เต็มที่ จึงจะวางใจให้เหมือนแผ่นดินได้​
    .................................................................................... 10

    ผู้จะถือเอาความสุขในนิพพาน ต้องวางความสุขในโลกีย์ให้หมด​
    .............................................................................. 11

    ผู้จะถึงพระนิพพาน ต้องพ้นจากกุศลธรรมและอกุศลธรรม​
    ...................................................................................... 11

    จิตและตัณหาเป็นที่มาของสุขและทุกข์ ซึ่งต้องวางให้หมดจึงจะถึงนิพพานได้​
    ............................................................. 12

    อรหัต์หรือการเข้าถึงพระนิพพาน เป็นของมีไว้สำหรับโลก​
    ...................................................................................... 12

    กิเลสและตัณหาล่อลวงให้จิตไม่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร ​
    ........................................................................................... 13

    ผู้มีความรู้ความฉลาดสักปานใด ไม่ควรถือตัวว่าเป็นผู้ยิ่งกว่าผู้มีศีล​
    .......................................................................... 13

    การที่จะถึงพระนิพพาน ต้องละกิเลสเสียให้สิ้น​
    ..................................................................................................... 14

    การรักษาศีล บำเพ็ญภาวนา จะเกิดอานิสงส์จริง เมื่อจะยกตนให้พ้นจากกิเลส​
    ............................................................ 14

    การบวชเพื่อระงับกิเลสเท่านั้น จึงจะเป็นทางสู่พระนิพพาน ​
    .................................................................................... 15

    พาลชนสั่งสอนได้น้อย เพราะถือว่าตนดีแล้ว ​
    ....................................................................................................... 15

    ผู้ต้องการพระนิพพานแล้ว ไม่ควรจะถือว่าตัวรู้ตัวดี​
    .............................................................................................. 15

    ผู้มีปัญญาเลือกรักษาศีล ข้อวัตรแต่เล็กน้อย ก็ย่อมได้รับความสุขกายสบายใจ​
    ............................................................ 15

    ดับกิเลสตัณหาได้มากเท่าไร ก็เป็นบุญเป็นกุศลมากเท่านั้น​
    .................................................................................... 16

    บุญกุศล สวรรค์ และนิพพาน เกิดจากตัวเราเอง ไม่มีผู้ใดนำมาให้​
    ............................................................................ 16

    จะไปสวรรค์ พระนิพพาน ต้องไปด้วยตนเอง จะพาเอาคนอื่นไปด้วยไม่ได้​
    ................................................................. 17

    อยากรู้ว่าได้รับความสุขหรือทุกข์ ให้สังเกตที่ใจของเรา ในเวลาที่ยังไม่ตาย​
    ................................................................ 17

    สวรรค์ นิพพานต้องทำเอง ด้วยการดับกิเลสตัณหา พระพุทธเจ้าบอกให้รู้แต่ทางไปเท่านั้น ​
    ........................................... 18

    การตกนรกและขึ้นสวรรค์จะเอาตัวไปไม่ได้ เอาแต่จิตไป​
    ........................................................................................ 18

    สิ่งที่จะช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้มีแต่อำนาจแห่งกุศลผลบุญเท่านั้น​
    .............................................................................. 19

    สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ​
    ........................................................................................................................................... 19

    ผู้ที่รู้เห็นจิตใจของผู้อื่นได้นั้น มีแต่พระพุทธเจ้าแลพระอรหันต์เท่านั้น ​
    ....................................................................... 19

    หากดับกิเลสทั้งห้าได้ขาด คือ โลถะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ก็เข้าถึงพระนิพพาน​
    ................................................. 20

    เมื่อตนยังไม่หลุดพ้น ก็ไม่ควรจะสั่งสอนผู้อื่น​
    ....................................................................................................... 21

    คฤหัสถ์ก็ดี นักบวชก็ดี ที่กล่าวว่าตัวรู้ ตัวเห็น และพูดจากับผีได้ เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิภายนอกศาสนา ไม่ควรเชื่อถือเอาเป็นครู
    เป็นอาจารย์​
    ................................................................................................................................................ 21

    พระปาติโมกข์แลธุดงควัตรที่ทรงบัญญัติไว้ ก็เพื่อเป็นเครื่องดับกิเลสตัณหา​
    ............................................................... 22

    การดับกิเลสให้สิ้นเชิง ให้เลือกประพฤติตามความปรารถนา​
    ................................................................................... 22

    ในอนาคต กุลบุตรที่เลื่อมใสในพุทธศาสนาสามารถบวชได้ แม้ไม่มีพระภิกษุ​
    .............................................................. 22

    คิริมานนท์กำหนดรูปนามตามพระธรรมเทศนา จึงได้บรรลุอรหันต์........................................................................... 22
     
  2. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    คิริมานนทสูตร​
    เจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ​
    (จันทร์ สิริจนฺโท)

    เส้นทางเดินสายใด ก็ไม่เที่ยงแท้ ยั่งยืน เท่าเส้นทางเดินสายธรรม
    พิมพ์แจกเผยแพร่เป็นธรรมทาน เนื่องในโอกาสได้ไปร่วมงานถวายกฐินสงเคราะห์โลกแด่ หลวงตา มหาบัว
    ณ วัดป่าบ้านตาด อ​
    .เมือง จ.อุดรธานี
    เมื่อวันเสาร์ที่
    3 พฤศจิกายน พุทธศักราชที่ 2550

    อดิศักดิ์​
    , ฉัตรแก้ว, ไตรเทพ (อินทรทูต)

    สารบัญ​
    คิริมานนทสูตร ​
    .................................................................................................................................................... 3

    เจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ​
    (จันทร์ สิริจนฺโท) ......................................................................................................... 3

    ความเป็นมาของคิริมานนทสูตร ​
    ............................................................................................................................... 3

    คิริมานนท์อาพาธหนัก ​
    .......................................................................................................................................... 3

    ขอพระพุทธองค์สงเคราะห์ให้ทุกขเวทนาหาย ​
    ............................................................................................................. 3

    หลักคำสอนที่ ๑​
    ................................................................................................................................................... 3

    ละรูปนามเพราะเป็นของนอกกายและคุมไม่ได้​
    ...................................................................................................... 3

    หลักคำสอนที่ ๒ ​
    .................................................................................................................................................. 4

    ละอัตตาด้วยการพิจารณาอัฏฐิกสัญญา มรณสติ อสุภนุสสติ​
    ..................................................................................... 4

    เจริญอสุภกรรมฐาน เพื่อพ้นจากกิเลสตัณหา​
    ......................................................................................................... 5

    หลักคำสอนที่ ๓ ​
    .................................................................................................................................................. 6

    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางไปพระนิพพาน ​
    ............................................................................................................ 6

    การถึงพระนิพพาน คือการพ้นทุกข์​
    ..................................................................................................................... 6

    ผู้ปรารถนาพระนิพพาน ต้องศึกษาให้รู้แจ้ง​
    ........................................................................................................... 6

    ผู้ไม่รู้แจ้งในพระนิพพาน ไม่ควรสั่งสอนพระนิพพานแก่ผู้อื่น​
    ..................................................................................... 7

    ผู้ปรารถนาพระนิพพาน ต้องแสวงหาครูที่ดีที่รู้แจ้งพระนิพพานจริง​
    ............................................................................ 7

    บุคคลไม่รู้พระนิพพานไม่ควรเป็นครูสั่งสอนผู้อื่นจะเป็นบาปหนัก ​
    .............................................................................. 7

    ผู้รู้กับไม่รู้ ได้รับทุกข์เหมือนกัน หากทำบาป ส่วนผู้จะได้สุขในนิพพาน ต้องรู้เท่านั้น ​
    ..................................................... 8

    การรู้จัก นรก สวรรค์ แลพระนิพพาน ควรรู้ในเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่​
    ............................................................................... 8

    บุคคลที่ปรารถนาพ้นทุกข์ ได้สุข หรือพระนิพพาน ควรให้ได้เมื่อยังมีชีวิตอยู่​
    ............................................................... 8

    ทำตัวเราให้เหมือนแผ่นดินหรือปล่อยวาง จึงได้ชื่อว่าถึงพระนิพพานดิบ​
    ...................................................................... 9

    การปล่อยวางจิต คือ ให้ละโลภ โกรธ หลง​
    ............................................................................................................ 9

    จิตใจไม่ใช่ของเรา ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตใจคืนไว้ให้แก่โลกตามเดิม​
    ............................................................ 9

    ผู้ปฏิบัติอริยมรรคให้เต็มที่ จึงจะวางใจให้เหมือนแผ่นดินได้​
    .................................................................................... 10

    ผู้จะถือเอาความสุขในนิพพาน ต้องวางความสุขในโลกีย์ให้หมด​
    .............................................................................. 11

    ผู้จะถึงพระนิพพาน ต้องพ้นจากกุศลธรรมและอกุศลธรรม​
    ...................................................................................... 11

    จิตและตัณหาเป็นที่มาของสุขและทุกข์ ซึ่งต้องวางให้หมดจึงจะถึงนิพพานได้​
    ............................................................. 12

    อรหัต์หรือการเข้าถึงพระนิพพาน เป็นของมีไว้สำหรับโลก​
    ...................................................................................... 12

    กิเลสและตัณหาล่อลวงให้จิตไม่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร ​
    ........................................................................................... 13

    ผู้มีความรู้ความฉลาดสักปานใด ไม่ควรถือตัวว่าเป็นผู้ยิ่งกว่าผู้มีศีล​
    .......................................................................... 13

    การที่จะถึงพระนิพพาน ต้องละกิเลสเสียให้สิ้น​
    ..................................................................................................... 14

    การรักษาศีล บำเพ็ญภาวนา จะเกิดอานิสงส์จริง เมื่อจะยกตนให้พ้นจากกิเลส​
    ............................................................ 14

    การบวชเพื่อระงับกิเลสเท่านั้น จึงจะเป็นทางสู่พระนิพพาน ​
    .................................................................................... 15

    พาลชนสั่งสอนได้น้อย เพราะถือว่าตนดีแล้ว ​
    ....................................................................................................... 15

    ผู้ต้องการพระนิพพานแล้ว ไม่ควรจะถือว่าตัวรู้ตัวดี​
    .............................................................................................. 15

    ผู้มีปัญญาเลือกรักษาศีล ข้อวัตรแต่เล็กน้อย ก็ย่อมได้รับความสุขกายสบายใจ​
    ............................................................ 15

    ดับกิเลสตัณหาได้มากเท่าไร ก็เป็นบุญเป็นกุศลมากเท่านั้น​
    .................................................................................... 16

    บุญกุศล สวรรค์ และนิพพาน เกิดจากตัวเราเอง ไม่มีผู้ใดนำมาให้​
    ............................................................................ 16

    จะไปสวรรค์ พระนิพพาน ต้องไปด้วยตนเอง จะพาเอาคนอื่นไปด้วยไม่ได้​
    ................................................................. 17

    อยากรู้ว่าได้รับความสุขหรือทุกข์ ให้สังเกตที่ใจของเรา ในเวลาที่ยังไม่ตาย​
    ................................................................ 17

    สวรรค์ นิพพานต้องทำเอง ด้วยการดับกิเลสตัณหา พระพุทธเจ้าบอกให้รู้แต่ทางไปเท่านั้น ​
    ........................................... 18

    การตกนรกและขึ้นสวรรค์จะเอาตัวไปไม่ได้ เอาแต่จิตไป​
    ........................................................................................ 18

    สิ่งที่จะช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้มีแต่อำนาจแห่งกุศลผลบุญเท่านั้น​
    .............................................................................. 19

    สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ​
    ........................................................................................................................................... 19

    ผู้ที่รู้เห็นจิตใจของผู้อื่นได้นั้น มีแต่พระพุทธเจ้าแลพระอรหันต์เท่านั้น ​
    ....................................................................... 19

    หากดับกิเลสทั้งห้าได้ขาด คือ โลถะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ก็เข้าถึงพระนิพพาน​
    ................................................. 20

    เมื่อตนยังไม่หลุดพ้น ก็ไม่ควรจะสั่งสอนผู้อื่น​
    ....................................................................................................... 21

    คฤหัสถ์ก็ดี นักบวชก็ดี ที่กล่าวว่าตัวรู้ ตัวเห็น และพูดจากับผีได้ เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิภายนอกศาสนา ไม่ควรเชื่อถือเอาเป็นครู
    เป็นอาจารย์​
    ................................................................................................................................................ 21

    พระปาติโมกข์แลธุดงควัตรที่ทรงบัญญัติไว้ ก็เพื่อเป็นเครื่องดับกิเลสตัณหา​
    ............................................................... 22

    การดับกิเลสให้สิ้นเชิง ให้เลือกประพฤติตามความปรารถนา​
    ................................................................................... 22

    ในอนาคต กุลบุตรที่เลื่อมใสในพุทธศาสนาสามารถบวชได้ แม้ไม่มีพระภิกษุ​
    .............................................................. 22

    คิริมานนท์กำหนดรูปนามตามพระธรรมเทศนา จึงได้บรรลุอรหันต์​
    ........................................................................... 22

    คิริมานนทสูตร
    เจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ​
    (จันทร์ สิริจนฺโท)

    ต้นฉบับคิริมานนทสูตรนี้ อุบาสิกาทองดำกับอุบาสิกาทองย้อย ได้ไปฟังที่จังหวัด ​
    (คิดว่าทางภาคเหนือ) มีความชอบใจจึง
    ได้จ้างช่างให้จารึกเป็นหนังสือแปลร้อย ๑๒ ผูก ฝากเข้ามาให้เจ้าคุณอุบาลี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสในสมัยนั้น เจ้าคุณอุบาลี
    ได้อ่านแลตรวจดูตลอดเห็นว่าเป็นสุภาษิตจับใจ จึงได้แปลงจากไทยเหนือเป็นภาษาไทยกลาง เมื่อ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ เพื่อจะ
    ได้ฟังทั่วกันให้เป็นทาง รุ่งเรืองแห่งปัญญาต่อไป
    เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถียํ วิหรติ เชตวเน
    อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ตตฺร โข อายสฺมา คิริมานนฺโท อาพาธิโก โหตีติ

    ความเป็นมาของคิริมานนทสูตร​
    บัดนี้จักแสดงพระสูตรอันหนึ่ง อันโบราณาจารย์เจ้าหากกำหนดไว้ว่า คิริมานนทสูตรอ้างเนื้อความว่า ครั้งปฐมสังคายนา
    พระมหาสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลาย ๕๐๐ องค์ หย่อนโอกาสไว้ให้พระอานนท์องค์หนึ่ง ได้เข้ามาสู่ที่ประชุมพร้อมแล้ว คอยพระ
    อานนท์องค์เดียวกำลังเจริญสมถวิปัสสนาอยู่ ยังไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์ ครั้นพระอานนทเถรเจ้าได้สำเร็จพระอรหันต์แล้วก็เข้า
    จตุตถฌาน เอาปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ไปปรากฏบนอาสนะท่ามกลางสงฆ์ให้พระสงฆ์สิ้นความสงสัยในอรหันตคุณที่ถ้ำสัตตบัณณ
    คูหา ปฏิญานตนในอเสขภูมิด้วยประการฉะนี้แล้ว พระมหาสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน จึงได้อาราธนา
    เชื้อเชิญให้พระอานนท์ขึ้นนั่งเหนือธรรมาสน์แสดง พระสุตตันตปิฎก ยกคิริมานนทสูตรนี้ขึ้นเป็นที่ตั้งลำดับไว้อย่างนี้ พระมหากัสส
    ปะเถรเจ้าจึงถามพระอานนท์ว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ พระสูตรอันชื่อว่าคิริมานนทสูตรนั้น พระพุทธเจ้าแสดงแก่บุคคลผู้ใด แลตรัส
    เทศนา ณ ที่ไหน ปรารภอะไรให้เป็นเหตุจึงได้ตรัสเทศนา มีวิตถารพิสดารอย่างไร​
    ? ขอให้พระอานนท์เจ้าจงแสดงต่อไปในกาลบัดนี้

    คิริมานนท์อาพาธหนัก
    ขอพระพุทธองค์สงเคราะห์ให้ทุกขเวทนาหาย​
    อถ โข อายสฺมา อานนทฺโท ​
    ลำดับนั้น พระอานนท์เถรเจ้าผู้นั่งอยู่บนธรรมาสน์ได้โอกาส แต่พระสงฆ์แล้ว จึงวิสัชนาพระ
    สูตรนี้ มีคำปฏิญญาในเบื้องต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ ข้าพเจ้าผู้มีชื่อว่าอานนท์ หากได้สดับมาแต่พระอบแก้ว กล่าวคือ พระโอษฐ์
    แห่งพระพุทธเจ้าดำเนินความว่า เอกํ สมยํ สมัยกาลคาบหนึ่ง พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จสำราญพระอิริยาบถอยู่ ณ
    พระเชตะวันวิหาร อันเป็นอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายใกล้กรุงสาวัตถี ในกาลครั้งนั้น พระผู้เป็นเจ้าชื่อว่า คิริมานนท
    เถระ ผู้มีอายุ อาพาธิโก เกิดอาพาธหนัก เหลือกำลังที่จะอดกลั้น พระผู้เป็นเจ้าจึงให้เชิญข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าอานนท์เข้าไปยังสำนักแห่ง
    ตนแล้วจึงกล่าวว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าคิริมานนท์นี้ บังเกิดอาพาธหนักเหลือกำลังที่จะพึงอดกลั้น ไม่สามารถจะ
    ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ​
    ขอนิมนต์ท่านอานนท์นำเอาอาการอาพาธอันร้ายแรงแห่งข้าพเจ้าไปกราบทูลให้สมเด็จพระผู้
    มีพระภาคเจ้าทรงทราบ เพื่อทรงมหากรุณาสงเคราะห์ให้ทุกขเวทนาเจ็บปวด ซึ่งเบียดเบียนอยู่ในร่างกายของข้าพเจ้าผู้มี
    ชื่อว่าคิริมานนท์นี้ระงับอันตรธานหายเถิด
    ข้าพเจ้าผู้มีชื่อว่าอานนท์รับเถรวาทีแล้วก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูล
    อาการแห่งอาพาธแลทุกขเวทนาตามคำสั่งของพระคิริมานนท์ให้ทรงทราบทุกประการ

    หลักคำสอนที่ ๑​
    ละรูปนามเพราะเป็นของนอกกายและคุมไม่ได้​
    อถ โข ​
    ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อได้ทรงทราบอาการแห่งพระผู้เป็นเจ้าคิริมานนท์ดังนี้แล้วจึงตรัสแก่
    ข้าฯ อานนท์ว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ท่าน จงกลับคืนไปสู่สำนักของท่านคิริมานนท์โดยเร็ว แล้วพระองค์ตรัสต่อไปว่า วิสุทฺธ จิตฺเต
    อานนทฺ เทฺว สญฺญา สุตฺวา โส อาพาโธ ฐานโส ปฏิปสฺสมฺเภยฺย
    ดังนี้ ดูกรอานนท์ท่าน เมื่อท่านไปถึงสำนักพระคิริมานนท์แล้ว
    ท่านจงไปบอก ​
    สัญญา ๒ ประการคือ รูปสัญญา ๑, นามสัญญา ๑, คือว่ารูปร่างกาย ตัวตน ทั้งสิ้นก็ดี คือ นาม ได้แก่ จิต
    เจตสิก ทั้งหลายก็ดี ก็ให้ปลงลงธุระเสีย อย่าถือว่า รูป ร่างกาย จิตเจตสิก เป็นตัวตน แลอย่าเข้าใจว่า เป็นของของตน
    ทุกสิ่งทุกอย่างความจริงหากเป็นของภายนอกสิ้นทั้งนั้น

    ดูกรอานนท์ ถ้าหากว่ารูปร่างกายเป็นตัวตนเราแท้ เมื่อเขาแก่เฒ่าชราตามัว หูหนวก เนื้อหนังเหี่ยวแห้ง ฟันโยกคลอน
    เจ็บปวดเหล่านั้น เราก็จักบังคับได้ตามประสงค์ว่า อย่าเป็นอย่างนั้น อย่าเป็นอย่างนี้ นี่เราบังคับไม่ได้ตามประสงค์ เขาจะเจ็บ จะไข้
    จะแก่ จะตาย เขาก็เป็นไปตามหน้าที่ของเขา เราหมดอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ เมื่อตายเราก็จะพาเอาไปสักสิ่งสักอันก็ไม่ได้ ถ้า
    เป็นตัวตนของเราแล้ว เราก็คงจะพาเอาไปได้ตามความปรารถนา ดูกรอานนท์ ถึงจิตเจตสิกเป็นของเรา ก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของของ
    ตน หากว่าจิตเจตสิกเป็นเรา หรือเป็นของเรา ก็จักบังคับได้ตามประสงค์ว่า จิตของเราจงเป็นอย่างนี้ จงเป็นอย่างนั้น จงสุขสำราญ
    ทุกเมื่อ อย่าทุกข์อย่าร้อนเลย ดังนี้ ก็จักพึงได้ตามความปรารถนา นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่ เขาจะคิดอะไรเขาก็คิดไป เขาจะอยู่จะไป ก็
    ตามเรื่องของเขา เพราะเหตุร่างกาย จิตใจเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของของตน ให้ปลงธุระเสีย อย่าเข้าใจ ถือเอาว่า
    เป็นตัวตน แลของของตนเถิด​
    ดูกรอานนท์ ท่านจงไปบอกซึ่งสัญญาทั้งสองประการ คือ รูปแลนาม นี้เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน แลไม่ใช่ของของ
    ตน ให้พระคิริมานนท์แจ้งทุกประการ เมื่อพระคิริมานนท์แจ้งแล้ว อาพาธ ความเจ็บปวด แลทุกขเวทนา ก็จักหายจาก
    สรีระร่างกาย ​
    แห่งพระคิริมานนท์สิ้นเสร็จหาเศษบ่มิได้ จักหายโดยรวดเร็วด้วย ถนฺเต อริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยกัสสปะผู้เป็น
    ประธานในสงฆ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ข้าฯ ผู้ชื่อว่าอานนท์ ด้วยประการดังนี้แล

    หลักคำสอนที่ ๒​
    ละอัตตาด้วยการพิจารณาอัฏฐิกสัญญา มรณสติ อสุภนุสสติ​
    ตทนสฺตรํ ​
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเทศนาแก่ข้าฯ สืบต่อไปว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ ตัวตนเราก็ดี ตัวตนแห่ง
    ผู้อื่นก็ดี ตัวตนแห่งสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายก็ดีก็มีอยู่แต่กองกระดูกสิ้นด้วยกันเสมอกัน ทุกตัวคนแลสัตว์ จะหาสิ่งใด เป็นแก้ว เป็น
    แหวน เป็นแท่งเงิน แท่งทอง แต่สักสิ่งสักอันก็หาไม่ได้ จะหาเอาอันใดเป็นตัวเป็นตน เป็นจิตเป็นเจตสิก แห่งบุคคลผู้ใดสักอันหนึ่ง
    ก็ไม่มี ล้วนเป็นอนัตตาหาแก่นสารมิได้ บุคคลหญิงชายคฤหัสถ์ นักบวชทั้งหลายมาพิจารณาเห็นแจ้งชัดในรูปนาม จิตเจตสิก โดย
    เป็นอนัตตาดังนี้แล้ว ก็จักมีอานิสงส์ ไม่มีส่วนที่จะพึงประมาณได้ เหมือนดังสุภัททสามเณร ท่านพิจารณาแต่คำว่า อฏฺฐิมิญฺชํ ท่าน
    ถือเอาเยื่อในกระดูกเท่านั้น หรืออัฏฐิกสัญญาอย่างเดียวเป็นอารมณ์ ก็ผ่องใส รุ่งเรือง เห็นแจ้งในร่างกายของตน จนได้บรรลุธรรม
    วิเศษ เหตุถือเอาอัฏฐิกสัญญาเป็นอารมณ์ เห็นอนัตตาแจ่มแจ้งด้วยประการดังนี้
    ดูกรอานนท์ มรณสัญญา พิจารณาความตายก็ดี อัฏฐิกสัญญา พิจารณากองกระดูกก็ดี ปฏิกูลสัญญา พิจารณาร่างกาย
    นี้โดยเป็นของพึงน่าเกลียด สะอิดสะเอียน เต็มไปด้วยหมู่หนอนแลสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก ตามลำไส้น้อยไส้ใหญ่ ตามเส้นเอ็น
    ทั่วไปในร่างกาย แลเต็มไปด้วยเครื่องเน่าของเหม็นมีอยู่ในร่างกายนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายนี้นับว่าเป็นของเปล่า ไม่มีอะไรเป็น
    ของเราสักสิ่งสักอัน เกิดมาสำคัญว่าเป็นสุข ความจริงก็หาสุขอย่างนั้นเอง ถ้าจะให้ถูกแท้ต้องกล่าวว่าเกิดมาเพื่อทุกข์ เกิดมาเจ็บ
    เกิดมาไข้ เกิดมาเป็นพยาธิเจ็บปวด เกิดมาแก่ เกิดมาตาย เกิดมาพลัดพรากจากกัน เกิดมาหาความสุขมิได้ ความสุขนั้นถ้า
    พิจารณา ดูให้ละเอียดแล้ว มีน้อยเหลือประมาณไม่พอแก่ความทุกข์ นอนหลับนั้นแลนับว่าเป็นความสุข แต่เมื่อพิจารณาดูให้
    ละเอียดแล้ว ซ้ำเป็นทุกข์ไปเสียอีก ถ้าผู้ใดพิจารณาเห็นตามดังเราตถาคตแสดงมานี้ เป็นนิมิตอันหนึ่ง ครั้นจดจำได้แน่นอนในตน
    แล้ว ก็เป็นเหตุให้ได้มรรคผลนิพพานในปัจจุบันนี้โดยไม่ต้องสงสัย
    ดูกรอานนท์ ​
    นักปราชญ์ทั้งหลายผู้ฉลาดด้วยปัญญา ท่านบำเพ็ญอสุภานุสสติกรรมฐาน ปรารถนาเอาพระ
    นิพพานเป็นที่ตั้งนั้น ท่านย่อมถือเอาอสุภะในตัว เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ถ้ายังเอาอสุภะภายนอกเป็นอารมณ์อยู่แล้ว
    ยังไม่เต็มทางปัญญาเพราะยังอาศัยสัญญาอยู่ ถ้าเอาอสุภะในตัวเป็นอารมณ์ของกรรมฐานได้ จึงเป็นที่สุดแห่งทางปัญญา
    เป็นตัววิปัสสนาญาณได้
    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ใดปรารถนาพระนิพพานจงยังอสุภกรรมฐานในตนให้เห็นแจ้งชัดเถิด ครั้นไม่เห็นก็
    ให้พิจารณาปฏิกูลสัญญาลงในตนว่า แม้ตัวของเรานี้ ถึงยังมีชีวิตอยู่ก็หากเป็นของน่าพึงเกลียด พึงเบื่อหน่ายยิ่งนัก ถ้าหากว่าไม่มี
    หนังหุ้มห่อไว้แล้ว ก็จะพึงเป็นของน่าเกลียดเหมือนอสุภแท้ หากมีหนังหุ้มห่อไว้จึงพอดูได้ อันที่แท้ตัวตนแห่งเรานี้ จะตั้งอยู่ได้ก็
    ด้วยลมอัสสาสะ ปัสสาสะเท่านั้น ถ้าขาดลมหายใจเข้าออกแล้ว ตัวนี้ก็จักเน่าเปื่อยผุพังไป แต่นั้นก็จักเป็นอาหารแห่งสัตว์ทั้งหลาย
    มีหนอน เป็นต้น จักมาเจาะไชกิน
    ส่วนลมหายใจเข้าออกซึ่งเป็นเจ้าชีวิตนั้นเล่า ก็เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ของของตัว เขาอยากอยู่ เขาก็อยู่ เขาอยากดับ
    เขาก็ดับ เราจะบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนา ถ้าขาดลมหายใจเข้าออกแล้ว ความสวยงามในตน แลความสวยความงามภายนอก
    คือ บุตรภรรยาแลข้าวของเงินทอง และเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งปวงก็ย่อมหายไปสิ้นด้วยกันทั้งนั้น เหลียวซ้ายแลขวา จะได้เห็น
    บุตรภรรยาแลนัดดาหามิได้ ต้องอยู่คนเดียวในป่าช้า หาผู้ใดจักเป็นเพื่อนมิได้
    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ใดมาพิจารณาเป็นอสุภกรรมฐาน ๓๒ โกฏฐาสเห็นซากผีดิบในตนเชื่อว่า ได้ถือเอาความสุขในทาง
    พระนิพพาน

    วิธีเจริญอสุภกรรมฐานตามลำดับ คือ
    ให้ปลงจิตลงในเกสา ให้เห็นเป็นอสุภะ แล้วให้สำคัญในเกสานั้นว่าเป็นอนัตตา
    แล้วให้เอาโลมาตั้งลง ปลงจิตให้เห็นเป็นอสุภะ เป็นอนัตตา
    แล้วเอานขา ทันตา ตั้งลงปลงจิตให้เห็นเป็นอสุภะ เป็นอนัตตา
    แล้วให้เอาตโจตั้งลงตามลำดับไป จนถึงมัตถเก มัตถลุงคังเป็นที่สุด พิจารณาให้เห็นเป็นอสุภะ เป็นอนัตตาโดยนัย
    เดียวกัน​
    ดูกรอานนท์ เราตถาคตแสดงมานี้โดยพิสดาร ให้กว้างขวางทั้งเบื้องต้นแลเบื้องปลาย แท้จริงบุคคลผู้มีปัญญารู้แล้ว ก็ให้
    สงเคราะห์ลงในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้น ​
    บุคคลผู้มีปัญญาจะเจริญอสุภกรรมฐาน ท่านมิได้เจริญแต่ต้นลำดับไปจนถึง
    ปลาย เพราะเป็นการเนิ่นช้า ท่านยกอาการอันใดอันหนึ่งขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านก็ย่อม
    ได้ถึงมรรคผลนิพพานโดยสะดวก

    เจริญอสุภกรรมฐาน เพื่อพ้นจากกิเลสตัณหา​
    การที่เจริญอสุภกรรมฐานนี้ ก็เพื่อจะให้เบื่อหน่ายในร่างกายของตน อันเห็นว่าเป็นของสวยของงาม ทั้งวัตถุภายนอกแล
    ภายในให้เห็นเป็นของเปื่อยเน่าผุพัง จะได้ยกตนให้พ้นจากกิเลสตัณหา ผู้มีปัญญารู้แล้วไม่ควรชื่นชมยินดีในรูปตนแลรูปผู้อื่น ทั้งรูป
    หญิงรูปชาย ทั้งวัตถุข้าวของดีงามประณีตบรรจงอย่างใดอย่างหนึ่งเลย เพราะว่าความรักทั้งปวงนั้นเป็นกองกิเลสทั้งสิ้น ​
    ถ้าห้ามใจ
    ให้ห่างจากกองกิเลสได้ จึงจะได้รับความสุขทั้งชาตินี้แลชาติหน้า
    ถ้าหากใจยังพัวพันอยู่ในกองกิเลสแล้ว ถึงแม้จะได้รับ
    ความสุขสบายก็เพียงชาตินี้เท่านั้น เบื้องหน้าต่อไปไม่มีทางที่จะได้เสวยสุข มีแต่ได้เสวยทุกข์โดยถ่ายเดียว ผู้มีปัญญาเมื่อได้เจริญ
    อสุภานุสสติกรรมฐาน เอาวัตติงสาการ ๓๒ เป็นอารมณ์ ก็ควรละกองกิเลสตัณหาให้ขาดสูญ เมื่อรู้แล้วปฏิบัติตาม จึงจะเป็นผลเป็น
    กุศลต่อไป เมื่อรู้แล้วไม่ปฏิบัติตามก็หาผลอานิสงส์มิได้ เพราะละกิเลสตัณหามิได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตกเข้าไปในกองเพลิง เมื่อรู้
    ว่าเป็นกองเพลิงก็รีบหลีกหนีออก จึงจะพ้นความร้อน ถ้ารู้ว่าตัวตกเข้าอยู่ในกองเพลิงแต่มิได้พยายามที่จะหลีกหนี จะพ้นจากความ
    ร้อนความไหม้อย่างไรได้ ข้ออุปมานี้ฉันใด
    บุคคลผู้รู้แล้วว่าสิ่งนี้เป็นโทษ แต่มิได้ละเสียก็มิได้พ้นจากโทษ เหมือนกับผู้ไม่พ้น
    จากกองเพลิงฉะนั้น

    ดูกรอานนท์ ผู้รู้แล้วและมิได้ทำตามนั้น จะนับว่าเป็นคนรู้ไม่ได้ เพราะไม่เกิดมรรคเกิดผลสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยเราตถาคต
    อนุญาตตั้งศาสนธรรมคำสอนไว้นี้ ก็เพื่อว่าเมื่อรู้แล้วว่าสิ่งใดเป็นโทษให้ละเสีย มิได้ตั้งไว้เพื่ออ่านเล่น ฟังเล่น พูดเล่น เท่านั้นเลย
    บุคคลทั้งหลายได้เสวยทุกข์ในมนุษย์แลในอบายภูมินั้น ไม่ใช่สิ่งอื่นเลย เป็นเพราะกิเลส ราคะ ตัณหา นั้นอย่างเดียว ถ้าบุคคลผู้ยัง
    ไม่พ้นจากกิเลส ราคะ ตัณหา ได้ตราบใด ก็ยังไม่เป็นผู้พ้นจากอบายทุกข์ได้จนตราบนั้น ​
    บุคคลผู้มิได้พ้นจากกิเลสราคะตัณหา
    นั้น จะทำบุญให้ทานสร้างกุศลอย่างแข็งแรงเท่าใดก็ดี ก็จักได้เสวยความสุขในมนุษยโลก แลเทวดาโลกเพียงเท่านั้น ที่จะ
    ได้เสวยสุขในพระนิพพานนั้นเป็นอันไม่ได้เลย ถ้าประสงค์ต่อพระนิพพานแท้ ให้โกนเกล้าเข้าบวชในพระศาสนา ไม่ว่า
    บุรุษหญิงชาย

    ถ้าทำได้อย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติใกล้ต่อพระนิพพาน เพราะว่าเมืองนิพพานนั้นปราศจากกิเลสตัณหา เมืองมนุษย์แลเมือง
    สวรรค์เป็นที่ทรงไว้ซึ่งกิเลส ตัณหา ไม่เหมือนเมืองพระนิพพาน ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาความสุขในพระนิพพาน จงออกบวชใน
    พระพุทธศาสนา แล้วตั้งใจเจริญสมถวิปัสสนา อย่าให้หลงโลกหลงทาง ถ้าไม่รู้ทางพระนิพพาน มีแต่ตั้งหน้าปรารถนาเอาเท่านั้น ก็
    จักหลงขึ้นไปในอรูปพรหม ชื่อว่าหลงโลกหลงทางไปในภพต่างๆ ให้ห่างจากพระนิพพานไป การทำบุญกุศลทั้งหลายนั้น มิใช่ว่าจะ
    ทำให้บุญนั้นพาไปในที่อื่น ทำเพื่อระงับกิเลสอย่างเดียว ​
    อย่าเข้าใจว่าทำบุญกุศลแล้ว บุญกุศลนั้นจักยกเอาตัวนำเข้าไปสู่พระ
    นิพพานเช่นนั้นหามิได้ ทำเพื่อระงับกิเลสตัณหา แล้วจึงจักไปพระนิพพานได้ กิเลสตัณหานั้นมีอยู่ที่ตัวของเรา ถ้าเราไม่
    ทำให้ดับ ใครจะมาช่วยดับได้ ต้นเหง้าเค้ามูลของกิเลสตัณหาอยู่ที่เรา ถ้าเราดับไม่ได้ ก็ไม่ถึงซึ่งความสุขในพระนิพพาน
    เท่านั้น

    หลักคำสอนที่ ๓​
    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางไปพระนิพพาน​
    ตทนนฺตรํ ​
    ในลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ นิพฺพานํ นครํ นาม อันชื่อว่าเมืองพระ
    นิพพานย่อมตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก โลกมีที่สุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ที่สุดเพียงนั้น พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่ เป็น
    ที่บรมสุข หาที่เปรียบมิได้ คำว่าที่สุดแห่งโลกนั้น จะถือเอาอากาศโลกหรือจักรวาลโลกเป็นประมาณนั้นมิได้ อากาศโลกแลจักรวาล
    โลกนั้นมีที่สุดเบื้องต่ำก็เพียงใต้แผ่นดิน แผ่นดินนี้มีน้ำรอง ใต้น้ำนั้นมีลม ลมนั้นหนาได้ ๙ แสน ๔ หมื่นโยชน์สำหรับรองน้ำไว้ ใต้
    ลมนั้นลงไปเป็นอากาศหาที่สุดมิได้ ที่สุดโลกเบื้องต่ำก็เพียงลมเท่านั้น อันว่าที่สุดแห่งจักรวาลโลกเบื้องขวางนั้น มีอนันตจักรวาล
    เป็นเขต นอกอนันตจักรวาลออกไปก็เป็นอากาศว่าง อยู่ จึงว่าโดยขวางมีอนันตจักรวาลเป็นที่สุด
    อันว่าที่สุดแห่งจักรวาลโลกเบื้องบนนั้นมีอรูปพรหมเป็นเขต เพราะอรูปพรหม ๔ ชั้นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นนิพพาน
    พรหมหรือนิพพานโลก ​
    นิพพานโลกนี้เป็นที่ไม่สิ้นสุด ส่วนว่านิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีนามว่า โลกุตรนิพพาน เป็น
    นิพพานที่สุดที่แล้ว
    ต่ออรูปพรหม ๔ ชั้นขึ้นไปก็เป็นแต่อากาศว่างๆ อยู่ จึงว่าที่สุดเบื้องบนเพียงอรูปพรหมเท่านั้น จะเข้าใจเอา
    เองว่า ลมรองน้ำ แลอนันตจักรวาลแลอรูปพรหมเป็นที่สุดของโลก เมืองพระนิพพานคงตั้งอยู่ในที่สุดของโลกเหล่านั้น ดังนี้
    พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสียว่า อย่าพึงเข้าใจอย่างนั้นเลย ที่ทั้งหลายเหล่านั้น ใครๆ ก็ไม่สามารถจักไปถึง ด้วยกำลังกายหรือด้วย
    กำลังพาหนะ มียานช้าง ยานม้าได้ อย่าเข้าใจว่า เมืองนิพพานตั้งอยู่ในที่สุดของโลกเหล่านั้น หรือตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นแห่งนี้ อย่า
    เข้าใจว่าตั้งอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเลย แต่ว่า
    พระนิพพานนั้น หากมีอยู่ในที่สุดของโลก เป็นของจริงไม่ต้องสงสัย ให้ท่านทั้งหลาย
    ศึกษาให้เห็นโลก รู้โลกเสียให้ชัดเจนก็จักเห็นพระนิพพาน พระนิพพานตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลกนั้นเอง
    การถึงพระนิพพาน คือการพ้นทุกข์
    ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายถึงที่สุดโลก ออกจากโลกได้แล้ว จึงชื่อว่า ถึงพระนิพพาน แลรู้ตนว่าเป็นผู้พ้นทุกข์
    แล้ว แลอยู่สุขสำราญบานใจทุกเมื่อ หาความเร่าร้อนโศกเศร้าเสียใจมิได้
    ถ้าผู้ใดยังไม่ถึงที่สุดโลก ยังออกจากโลกไม่ได้ตราบ
    ใด ก็ชื่อว่ายังไม่ถึงพระนิพพาน จะต้องทนทุกข์น้อยใหญ่ทั้งหลาย เกิดๆ ตายๆ กลับไปกลับมาหาที่สุดมิได้อยู่ตราบนั้น บุคคล
    ทั้งหลายเป็นผู้ต้องการพระนิพพาน แต่หารู้ไม่ว่าพระนิพพานนั้นเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน ชั้นแต่ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นทางจะ
    ไปสู่พระนิพพานก็ไม่เข้าใจ เมื่อไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจแล้ว จักไปสู่พระนิพพานนั้นก็เป็นการลำบากยิ่งนักหนา เปรียบเหมือนคน ๒
    คน ผู้หนึ่งตาบอด ผู้หนึ่งตาดี จะว่ายข้ามน้ำมหานทีอันกว้างใหญ่ ในคนทั้ง ๒ นั้นผู้ใดจักถึงฝั่งข้างโน้นก่อน คนผู้ตาดีต้องถึงก่อน
    ส่วนคนผู้ตาบอดนั้นจะว่ายข้ามไปถึงฝั่งฟากโน้นได้แสนยากแสนลำบาก บางทีจะตายเสียในท่ามกลางแม่น้ำ เพราะไม่รู้ไม่เห็นว่าฝั่ง
    อยู่ที่ไหน ข้ออุปมานี้ฉันใด คนไม่รู้ไม่แจ้งว่าพระนิพพานอยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร ทางจะไปก็ไม่เข้าใจ เป็นแต่อยากได้ อยากไป อยาก
    ถึงพระนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนั้น การได้การถึงของผู้นั้นก็ต้องเป็นของลำบากยากแค้นอยู่เป็นธรรมดา บางทีจะตายเสียเปล่า จัก
    ไม่ได้เห็นเงื่อนเค้าของพระนิพพานเลย
    ผู้ศึกษาพึงเข้าใจว่าพระนิพพานอยู่ที่สุดของโลก ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางไปพระ
    นิพพาน
    ถ้ารู้อย่างนี้ยังมีทางที่จะถึงพระนิพพานได้บ้าง แม้เมื่อรู้แล้วอย่างนั้น ก็จำต้องพากเพียรพยายามเต็มที่ จึงจะถึงเหมือน
    คนตาดีว่ายข้ามน้ำ ก็ต้องพยายามจนสุดกำลังจึงจะข้ามพ้นได้ มีอุปไมยเหมือนกันฉะนั้น

    ผู้ปรารถนาพระนิพพาน ต้องศึกษาให้รู้แจ้ง
    ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งลายผู้ปรารถนาพระนิพพาน ควรศึกษาให้รู้แจ้ง ครั้นรู้แจ้งแล้วจักถึงก็ตาม ไม่ถึงก็ตาม ก็
    ไม่เป็นทุกข์แก่ใจ ถ้าไม่รู้แต่อยากได้ย่อมเป็นทุกข์มากนัก ​
    เปรียบเหมือนบุคคลอยากได้วัตถุสิ่งหนึ่ง แต่หากไม่รู้จักวัตถุสิ่งนั้น
    ถึงวัตถุสิ่งนั้นจะมีอยู่ในที่จำเพราะหน้า ก็ไม่อาจถือเอาได้ เพราะไม่รู้ ถึงจะมีอยู่ ก็มีเปล่าๆ ส่วนตัวก็ไม่หายความอยากได้ จึงเป็น
    ทุกข์ยิ่งนัก ผู้ปรารถนาพระนิพพาน แต่ไม่รู้จักพระนิพพานก็เป็นทุกข์เช่นนั้น
    จะถือเสียว่าไม่รู้ก็ช่างเถอะ เราปรารถนาเอาคงจะ
    ได้ คิดอย่างนั้นก็ผิดไป ใช้ไม่ได้
    แม้แต่ผู้รู้แล้วตั้งหน้าบากบั่นขวนขวายจะให้ได้ ให้ถึง ก็ยังเป็นการยากลำบากอย่างยิ่ง บุคคลผู้
    ไม่รู้ไม่เห็นพระนิพพานและจะถึงพระนิพพาน จักมีมาแต่ที่ไหน อย่าว่าแต่พระนิพพานเลย แม้จะกระทำการสิ่งใดก็ดี เป็นต้นว่า
    ช่าง
    เงิน ช่างทอง ช่างเหล็ก ช่างไม้ ช่างวาดเขียนต่างๆ เป็นต้น ต้องรู้ด้วยใจหรือเห็นด้วยตาเสียก่อน จึงจะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ
    ได้ ผู้ปรารถนาพระนิพพานก็ต้องศึกษาให้รู้จักพระนิพพานไว้ก่อนจึงจะได้ จะมาตั้งหน้าปรารถนาเอาโดยความไม่รู้นั้น
    จะมีทางได้มาแต่ที่ไหน

    ดูกรอานนท์ ​
    บุคคลทั้งหลายควรจะศึกษาให้รู้แจ้งคลองแห่งพระนิพพานไว้ให้ชัดเจนแล้ว ไม่ควรประมาท แม้
    ปรารถนาจะไปก็ไป แม้ไม่ปรารถนาจะไป ก็อย่าไป ครั้งเห็นดีแล้ว จิตประสงค์แล้ว ก็ให้ปฏิบัติในคลองแห่งพระนิพพาน
    ด้วยจิตอันเลื่อมใสก็อาจจักสำเร็จ ไม่สำเร็จก็จักเป็นอุปนิสัยปัจจัยต่อไป
    ผู้ที่ไม่รู้ แม้ปรารถนาจะไปหรือไม่ไป อยู่ใกล้ที่นั้น
    บ่อยๆ ก็ไม่อาจถึง เพราะเข้าใจผิดคิดว่าอยู่ที่นั้นที่นี้ ก็เลยผิดไปจากจิตที่คิด หลงไปหลงมาอยู่ในวัฏสงสาร ไม่มีวันที่จะถึงพระ
    นิพพานได้

    ผู้ไม่รู้แจ้งในพระนิพพาน ไม่ควรสั่งสอนพระนิพพานแก่ผู้อื่น
    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่แจ้ง ไม่เข้าใจในพระนิพพาน ไม่ควรจะสั่งสอนพระนิพพานแก่ท่านผู้อื่น ถ้าขืนสั่ง
    สอนก็จะพาท่านหลงหนทาง จักเป็นบาปเป็นกรรมแก่ตน ​
    ควรจะสั่งสอนแต่เพียงคลองแห่งทางมนุษย์สุคติ สวรรค์สุคติ เป็นต้น
    ว่าสอนให้รู้จักทาน ให้รู้จักศีล ๕ ศีล ๘ ให้รู้คลองแห่งกุศลกรรมบถ ให้รู้จักปฏิบัติมารดาบิดา ให้รู้จักอุปัชฌาย์อาจารย์ ให้รู้จัก
    ก่อสร้างบุญกุศลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น เพียงเท่านี้ก็อาจจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พอสมควรอยู่แล้ว
    ส่วน
    ความสุขในโลกุตรนิพพานนั้น ผู้ใดต้องการจริง ต้องรักษา ศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีลปาติโมกข์เสียก่อน จึงชื่อว่าเข้าใกล้ทาง มี
    โอกาสที่จักได้ถึงโลกุตรธรรมนิพพานโดยแท้
    แม้ผู้เจริญคลองพระนิพพานนั้น ก็ให้รู้จักท่านผู้เป็นครูว่า รู้แจ้งทางพระนิพพาน
    จริง จึงไปอยู่เล่าเรียน ถ้าไปอยู่เล่าเรียนในสำนักของท่านผู้ไม่รู้แจ้ง ก็จักไม่สำเร็จโลกุตรนิพพานได้ เพราะว่าคลองแห่งโลกุตรธรรม
    นิพพานนี้ เล่าเรียนได้โดยยากยิ่งนัก ด้วยเหตุสัตว์ยินดีอยู่ในกามคุณอันเป็นข้าศึกแห่งพระนิพพานโดยมาก
    ภนฺเต อริยกสฺสป ข้า
    แต่พระอริยกัสสปะ ผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ด้วยประการดังนี้ ขอให้พระสงฆ์ทั้งหลายจงทราบด้วยพล
    ญาณแห่งตน ดังแสดงมานี้เถิด

    ผู้ปรารถนาพระนิพพาน ต้องแสวงหาครูที่ดีที่รู้แจ้งพระนิพพานจริง
    ตทนนฺตรํ ​
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลทั้งหลายผู้ปรารถนาซึ่งพระ
    นิพพานควรแสวงหาซึ่งครูที่ดี ที่อยู่เป็นสุขสำราญ มิได้ประมาทเพราะพระนิพพานไม่เหมือนของสิ่งอื่น อันของสิ่งอื่นนั้น เมื่อผิดไป
    แล้วก็มีทางแก้ตัวได้ หรือไม่สู้เป็นอะไรนัก เพราะไม่ละเอียดสุขุมมาก ส่วน
    พระนิพพานนี้ละเอียดสุขุมที่สุด ถ้าผิดแล้วก็เป็นเหตุ
    ให้ได้รับทุกข์เป็นหนักหนา ทำให้หลงโลก หลงทาง ห่างจากความสุข ทำให้เสียประโยชน์เพราะอาจารย์ ถ้าได้อาจารย์ที่
    ถูกที่ดี ก็จะได้รับผลที่ถูกที่ดี ถ้าได้อาจารย์ที่ไม่รู้ไม่ดีไม่ถูกต้อง ก็จักได้รับผลที่ผิด เป็นทุกข์ พาให้หลงโลกหลงทาง พาให้
    เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารสิ้นกาลนาน
    เปรียบเหมือนผู้จะพาเราไปที่ตำบลใดตำบลหนึ่ง แต่ผู้นั้นไม่รู้จักตำบลนั้น แม้เรา
    เองก็ไม่รู้ เมื่อกระนั้น ไฉนเขาจึงจะพาเราไปให้ถึงตำบลนั้นได้เล่า ข้ออุปมานี้ฉันใด อาจารย์ผู้ไม่รู้พระนิพพานและจะพาเราไปพระ
    นิพพานนั้น ก็จะพาเราหลงโลกหลงทางไปๆ มาๆ ตายๆ เกิดๆ อยู่ในวัฏสงสาร ไม่อาจจะถึงพระนิพพานได้ เหมือนคนที่ไม่รู้จัก
    ตำบลที่จะไปและเป็นผู้พาไปก็ไม่อาจจะถึงได้ มีอุปไมยฉะนั้น
    ผู้คบครูบาอาจารย์ที่ไม่รู้ดีและได้ผลที่ไม่ดี มีในโลกมิใช่น้อย
    เหมือนดังพระองคุลิมาลเถระไปเรียนวิชาในสำนักครูผู้มีทิฏฐิอันผิด ได้รับผลที่ผิด คือเป็นมหาโจร ฆ่าคนล้มตายเสียนับ
    ด้วยพัน
    หากเราตถาคตรู้เห็น มีความเวทนาสงสารมาข้องอยู่ในข่ายสยัมภูญาณ จึงได้ไปโปรดทรมานให้ละเสียซึ่งพยศอันร้าย เป็น
    การลำบากมิใช่น้อย ถ้าไม่ได้พระตถาคตแล้ว พระองคุลิมาลก็จักได้เสวยทุกข์อยู่ในวัฏสงสารสิ้นชาติเป็นอันมาก

    บุคคลไม่รู้พระนิพพานไม่ควรเป็นครูสั่งสอนผู้อื่นจะเป็นบาปหนัก​
    ดูกรอานนท์ ​
    บุคคลผู้ไม่รู้พระนิพพาน ไม่ควรเป็นครูสั่งสอนท่านผู้อื่นในทางพระนิพพานเลย ต่างว่าจะสั่งสอนเขา
    จะสั่งสอนว่ากระไร เพราะตัวไม่รู้ เปรียบเหมือนบุคคลไม่เคยเป็น ช่างวาด ช่างเขียน หรือช่างต่างๆ มาก่อนแล้ว และอยากเป็นครู
    สั่งสอนเขา จะบอกแก่เขาว่ากระไร เพราะตัวเองก็ไม่รู้ไม่เข้าใจ จะเอาอะไรไปบอกไปสอนเขา จะเอาแต่คำพูดเป็นครู ทำตัวอย่างให้
    เขาเห็นเช่นนั้นไม่ได้จะให้เขาเล่าเรียนอย่างไร เพราะไม่มีตัวอย่างให้เขาเห็นด้วยตา ให้รู้ด้วยใจ เขาจะทำตามอย่างไรได้
    ตัวผู้เป็น
    ครูนั้นแลต้องทำก่อน ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่ควรเป็นครูสอนเขา ถ้าขืนเป็นครู ก็จักพากันฉิบหาย หลงโลกหลงทาง เป็นบาป
    เป็นกรรมแก่ตัวหนักหนาทีเดียว
    พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ดังนี้แล

    ตทนนฺตรํ ​
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่า บุคคลผู้จะสอนพระนิพพานนั้น
    ต้องให้รู้แจ้งประจักษ์ชัดเจนว่า พระนิพพานมีอยู่ในที่นั้นๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้นๆ ต้องให้รู้แจ้งชัด จะกล่าวแต่เพียงวาจาว่า
    นิพพานๆ ด้วยปาก
    แต่ใจไม่รู้แจ้งชัดเช่นนั้น ไม่ควรเชื่อถือเลย
    ต้องให้รู้แจ้งชัดในใจก่อนจึงควรเป็นครูเป็นอาจารย์สอนท่าน ผู้อื่นต่อไป จะเป็น
    เด็กก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ตาม ถ้ารู้แจ้งชัดซึ่งพระนิพพานแล้ว ก็ควรเป็นครูเป็นอาจารย์ แลควรนับถือเป็นครูเป็นอาจารย์ได้
    แม้จะเป็นผู้ใหญ่สูงศักดิ์ สักปานใดก็ตาม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วไม่ควรนับถือเป็นครูเป็นอาจารย์เลย
    ผู้รู้กับไม่รู้ ได้รับทุกข์เหมือนกัน หากทำบาป ส่วนผู้จะได้สุขในนิพพาน ต้องรู้เท่านั้น

    ดูกรอานนท์ ถ้าอยากได้สุขอันใด ก็ควรรู้จักสุขอันนั้นก่อนจึงจะได้ เมื่ออยากได้สุขในพระนิพพาน ก็ควรรู้จักสุขในพระ
    นิพพาน อยากได้สุขในมนุษย์แลสวรรค์ ก็ให้รู้จักสุขในมนุษย์แลสวรรค์นั้นเสียก่อนจึงจะได้ ถ้าไม่รู้จักสุขอันใด ก็ไม่อาจยังความสุข
    อันนั้นให้เกิดขึ้นได้ ไม่เหมือนทุกข์ในนรก ​
    อันทุกข์ในนรกนั้นจะรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ถ้าทำกรรมที่เป็นบาปแล้ว ผู้ที่รู้หรือผู้ที่
    ไม่รู้นรกเหมือนกัน
    ถ้าไม่รู้จักนรกก็ยิ่งไม่มีเวลาพ้นจากนรกได้ ถึงจะทำบุญให้ทานสักปานใดก็ไม่อาจพ้นจากนรกได้ แต่มิใช่ว่า
    ทำบุญให้ทานไม่ได้บุญ ความสุขที่ได้แต่การทำบุญนั้นมีอยู่ แต่ว่าเป็นความสุขที่ยังไม่พ้นจากทุกข์ในนรก เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็นนรก
    ตราบใด ก็ยังไม่พ้นจากนรกอยู่ตราบนั้น ครั้นได้เข้าถึงนรกแล้ว เมื่อได้รู้ทางออกจากนรกได้แล้ว ปรารถนาจักพ้นจากนรกก็พ้นได้
    เมื่อไม่อยากพ้นก็ไม่อาจพ้นได้ ต้องรู้จักแจ้งชัดว่า นรกอยู่ในที่นั้นๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้นๆ แลควรรู้จักทางออกจากนรกให้แจ้ง
    ชัด
    ทางออกจากนรกนั้นคือ ศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีลพระปาติโมกข์ นั่นเอง เมื่อรู้แล้วอยากจะออกให้พ้นก็ออกได้ ไม่อยากจะออกให้
    พ้นก็พ้นไม่ได้ ผู้ที่รู้กับผู้ที่ไม่รู้ ย่อมได้รับทุกข์ในนรกเหมือนกัน
    ส่วนความสุขในมนุษย์แลสวรรค์ แลพระนิพพานนั้นต้องรู้จัก
    จึงจะได้
    ถ้าไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ได้เลย มีอาการต่างกันอย่างนี้

    การรู้จัก นรก สวรรค์ แลพระนิพพาน ควรรู้ในเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่​
    ดูกรอานนท์ ​
    เมื่ออยากรู้จักนรก สวรรค์ และพระนิพพาน ก็ควรให้รู้เสียในเวลาก่อนที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่ออยากพ้น
    ทุกข์ในนรก ก็รีบออกให้พ้นเสียแต่เมื่อยังไม่ตาย
    เมื่ออยากได้สุขในมนุษย์หรือในสวรรค์หรือในนิพพาน ก็ให้รีบขวนขวายหาสุข
    เหล่านั้นไว้ แต่เมื่อยังไม่ตาย จะถือว่าตายแล้วจึงจักพ้นทุกข์ในนรก ตายแล้วจึงจักไปสวรรค์ ไปพระนิพพานดังนี้ เป็นอันใช้ไม่ได้
    เสียประโยชน์เปล่า อย่าเข้าใจว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ สุขอย่างหนึ่ง เมื่อตายไปแล้ว มีสุขอีกอย่างหนึ่ง เช่นนี้เป็นความที่เข้าใจผิดโดยแท้

    เพราะจิตมีดวงเดียว เมื่อมีชีวิตอยู่ก็จิตดวงนี้ เมื่อตายไปแล้วก็จิตดวงนี้ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ได้รับทุกข์ฉันใด แม้เมื่อตายไป
    แล้วได้รับทุกข์ฉันนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่มีความสุขฉันใด แม้เมื่อตายไปแล้วก็ได้รับความสุขฉันนั้น ​
    ไม่ต้องสงสัย เมื่อยังมี
    ชีวิตอยู่ยังไม่รู้ไม่เห็นซึ่งความทุกข์แลความสุขมีสภาวะปานดังนี้ เมื่อตายไปแล้ว ยิ่งจะซ้ำร้าย จะมีทางรู้ทางเห็นด้วยอาการอย่างไร
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ด้วยประการฉะนี้

    ตทนนฺตรํ ​
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์

    บุคคลผู้ใดมิได้ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น ไว้สำหรับตัวเสียก่อนแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดอยากได้ความสุข แต่มิได้กระทำตนให้ได้รับความสุขไว้ก่อนแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เข้าใจเสียว่าตายไปแล้วภาย
    หน้าจึงจักได้รับความสุข เช่นนี้ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดอยากให้ตนพ้นทุกข์ แต่ไม่ได้กระทำตนให้พ้นทุกข์เสียแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ข้าใจเสียว่าตายไปแล้วจึงจักพ้น
    ทุกข์ดังนี้ ผู้นั้นก็เป็นคงหลง
    บุคคลผู้ใดที่ทำความเข้าใจว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้เป็นอย่างหนึ่ง ตายไปแล้วเป็นอีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดเข้าใจเสียว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ ไม่เป็น ก็ช่างเถิดไม่เป็นไร ตายไปแล้วภายหน้า หาก
    จักรู้ จักเห็นจักได้ จักเป็น ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดเข้าใจว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ สุขก็ช่างเถิด ตายไปแล้วหากจักได้สุข ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดถือเสียว่าเมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้ ทุกข์ก็ช่างเถิดไม่เป็นไรตายไปแล้วหากจักได้สุข ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดถือเสียว่าเมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ จะทุกข์ก็ดี จะสุขก็ดี จะชั่วก็ดี ก็ช่างเถิด ตายไปแล้วจักไปเป็นอะไรก็ช่าง
    เถิด ใครจักตามไปรู้ไปเห็น ผู้นั้นก็เป็นคงหลง
    บุคคลที่ปรารถนาพ้นทุกข์ ได้สุข หรือพระนิพพาน ควรให้ได้เมื่อยังมีชีวิตอยู่​
    ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายปรารถนาอยากพ้นทุกข์ หรือปรารถนาอยากได้สุขประการใด ก็ควรให้ได้ถึงเสียแต่ในชาตินี้
    ถ้าถือเอาภายหน้าเป็นประมาณแล้ว ชื่อว่าเป็นคนหลงทั้งสิ้น แม้ความสุขอย่างสูงคือพระนิพพาน ผู้ปรารถนาก็พึงรีบขวนขวายให้
    ได้ให้ถึงเสีย แต่เมื่อเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ ดูกรอานนท์ ​
    อันว่าความสุขในพระนิพพานนั้นมี ๒ ประเภท คือ ดิบ ๑ สุก ๑ ได้ความ
    ว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่ ได้เสวยสุขในพระนิพพานนั้น ได้ชื่อว่าพระนิพพานดิบ เมื่อตายไปแล้วได้เสวยสุขในพระ
    นิพพานนั้น ได้ชื่อว่าพระนิพพานสุก พระนิพพานมี ๒ ประการเท่านี้ นิพพานโลกีย์ นิพพานพรหม เป็นนิพพานหลง ไม่
    นับเข้าไปในที่นี้
    พระนิพพานดิบนั้นเป็นของสำคัญ ควรให้รู้ ให้เห็น ให้ได้ ให้ถึงเสียก่อนตาย ถ้าไม่ได้พระนิพพานดิบนี้แล้ว ตาย
    ไปจักได้พระนิพพานสุกนั้นไม่มีเลย ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจก็ยิ่งไม่มีทางได้ แต่รู้แล้ว เห็นแล้ว พยายามจะให้ได้ ให้ถึงก็แสนยากแสน
    ลำบากยิ่งนักหนา ผู้ใดเห็นว่าพระนิพพานมีอย่างเดียว ตายแล้วจึงจะได้ ผู้นั้นชื่อว่าคนหลง ส่วนพระนิพพานดิบนั้น จักจัดเอา
    ความสุขอย่างละเอียดเหมือนอย่างพระนิพพานสุกนั้นไม่ได้ แต่ก็เป็นความสุขอันละเอียดสุขุม หาสิ่งใดเปรียบมิได้อยู่แล้ว แต่หาก
    ยังมีกลิ่นรสแห่งทุกข์กระทบถูกต้องอยู่ จึงไม่ละเอียดเหมือนพระนิพพานสุก เพราะพระนิพพานสุก ไม่มีกลิ่นรสแห่งทุกข์จะมากล้ำ
    กราย ปราศจากสรรพสิ่งทั้งปวง แต่พระนิพพานดิบนั้นต้องให้ได้ไว้ก่อนตาย

    ทำตัวเราให้เหมือนแผ่นดินหรือปล่อยวาง จึงได้ชื่อว่าถึงพระนิพพานดิบ​
    ดูกรอานนท์ ​
    อันว่าพระนิพพานนั้น พึงให้ดูอย่างแผ่นดิน พระธรณี มีลักษณะอาการฉันใด ก็ให้ตัวเรามีลักษณะ
    อาการฉันนั้น ถ้าทำได้เช่นนั้น ก็ได้ชื่อว่าถึงพระนิพพานดิบ
    ถ้าทำไม่ได้ แต่พูดว่าอยากได้ จะพูดมากมายเท่าไรๆ ก็ตาม ก็ไม่
    อาจที่จะได้จะถึงเลย ถ้าปรารถนาจักถึงพระนิพพานแล้ว ต้องทำจิตใจของตนให้เหมือนแผ่นดินเสียก่อน ไม่ใช่เป็นของทำได้ด้วย
    ง่าย ต้องพากเพียรลำบากยากยิ่งนักจึงจักได้ จะเข้าใจว่าปรารถนาเอาด้วยปากก็คงจักได้ อย่างนี้เป็นคนหลงไป ใช้ไม่ได้ ต้องทำตัว
    ทำใจให้เป็นเหมือนแผ่นดินให้จงได้
    ลักษณะของแผ่นดินนั้นคนแลสัตว์ทั้งหลายจะทำร้ายทำดี กล่าวร้ายกล่าวดีประการใด
    มหาปฐพี นั้นก็มิได้รู้โกรธ รู้เคือง ที่ว่าทำใจให้เหมือนแผ่นดินนั้น คือว่าให้วางใจเสีย อย่าเอื้อเฟื้ออาลัยว่าใจของตน ให้
    ระลึกอยู่ว่า ตัวมาอาศัยอยู่ไปชั่วคราวเท่านั้น เขาจะนึกคิดอะไรก็อย่าตามเขาไป ให้เข้าใจอยู่ว่า เราอยู่ไปคอยวันตาย
    เท่านั้น ประโยชน์อะไรกับวัตถุข้าวของและตัวตน อันเป็นของภายนอก แต่ใจซึ่งเป็นของภายในและเป็นของสำคัญ ก็ยัง
    ต้องให้ปล่อย ให้วาง อย่าถือเอาว่าเป็นของๆ ตัว
    กล่าวไว้แต่พอให้เข้าใจเพียงเท่านี้โดยสังเขป

    การปล่อยวางจิต คือ ให้ละโลภ โกรธ หลง​
    ดูกรอานนท์ ​
    คำที่ว่าให้ปล่อยวางจิตใจนั้น คือว่าให้ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ปลงเสีย ซึ่งการร้ายและ
    การดีที่บุคคลนำมากล่าว มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ อย่ายินดี อย่ายินร้าย
    แม้ปัจจัย
    เครื่องบริโภค เป็นต้นว่า อาหารการกิน ผ้าผ่อน เครื่องนุ่งห่ม แลที่อยู่ที่นอน เภสัชสำหรับแก้โรค ก็ให้ละความโลภ ความหลงใน
    ปัจจัยเหล่านั้นเสีย ให้มีความมักน้อยในปัจจัย แต่มิใช่ว่าจะห้ามเสียว่า ไม่ให้กิน ไม่ให้นุ่งห่ม ไม่ให้อาศัยในสถานที่ ไม่ให้กินหยูก
    กินยา เช่นนั้นก็หามิได้ คือ
    ให้ละความโลเลในปัจจัยเท่านั้น คือว่า เมื่อได้อย่างดีอย่างประณีต ก็ให้บริโภคอย่างดีอย่าง
    ประณีต ได้อย่างเลวทรามต่ำช้า ก็ให้บริโภคอย่างเลวทรามต่ำช้า ตามมีตามได้ ไม่ให้ใจขุ่นมัวด้วยความโลภ ความโกรธ
    ความหลง อย่างนี้แล ชื่อว่าปล่อยวางใจเสียได้
    ถ้ายังเลือกปัจจัยอยู่ คือ ปล่อยให้ความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้าครอบงำ
    เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ชื่อว่ายังถือจิตใจอยู่ ยังไม่ถึงพระนิพพานได้เลย
    ถ้าละความโลภ โกรธ หลง ใน
    ปัจจัยนั้นได้แล้ว จึงชื่อว่าทำตัวให้เป็นเหมือนแผ่นดิน
    เป็นอันถึงพระนิพพานได้โดยแท้ มีคำสอดเข้ามาในนี้ว่าเหตุไฉนจึงมิให้
    ถือใจเมื่อไม่ให้ถือเช่นนั้น จะให้เอาใจไปไว้ที่ไหน เพราะไม่ใช่ใจของคนอื่น เป็นใจของตัวแท้ๆ ที่จะเป็นอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะมีใจนี้
    เอง ถ้าไม่มีใจนี้แล้วก็ตายเท่านั้น จะให้วางใจเสียแล้ว จะรู้จะเห็นอะไร
    ?

    จิตใจไม่ใช่ของเรา ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตใจคืนไว้ให้แก่โลกตามเดิม​
    มีคำวิสัชนาไว้ว่า ผู้ที่เข้าใจว่า ใจนั้นเป็นของๆ ตัวจริง ผู้นั้นก็เป็นคนหลง ความจริงไม่ใช่จิตของเราแท้ ถ้าหากเป็นจิตใจ
    ของเราแท้ก็คงบังคับได้ตามประสงค์ว่า อย่าให้แก่ อย่าให้ตาย ก็คงจะได้สักอย่าง เพราะเป็นของตัว อันที่แท้จิตใจนั้นหากเป็นลมอัน
    เกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเรา โลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับลม จิตใจ ณ กาลภายหลัง ถ้าหากว่า เป็น
    จิตใจของเรา เราพาเอามาเกิด ครั้น เกิดขึ้นแล้วจิตใจนั้นก็หมดไป ใครจะเกิดขึ้นมาได้อีก นี่ไม่ใช่จิตใจของใครสักคน เป็นของมีอยู่
    สำหรับโลก ผู้ใดจะเกิดก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้นได้แล้ว ก็เป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น ​
    ที่ว่าจิตใจของตนนั้นก็
    เพียงให้รู้ซึ่งการบุญ การกุศล การบาป การอกุศล และเพียงให้รู้ทุกข์ สุข สวรรค์ แลพระนิพพาน ถือไว้ให้ถึงที่สุดเพียง
    พระนิพพานเท่านั้น ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตใจคืนไว้แก่โลกตามเดิมเสียก่อน ถ้าวางไม่ได้ เป็นโทษ ไม่อาจถึง
    พระนิพพานได้
    มีคำแก้ไว้อย่างนี้
    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์
    บุคคลทั้งหลายที่หลงขึ้นไปบังเกิดใน
    อรูปพรหมอันปราศจากความรู้นั้น ก็ล้วนแต่บุคคลผู้ปรารถนาพระนิพพาน แต่ไม่รู้จักวางใจให้สิ้นให้หมดทุกข์นั้นเอง
    ไม่
    รู้จักวางจิตวิญญาณอันตนเข้ามาอาศัยอยู่ด้วยกับลมของโลก ทำความเข้าใจว่าเป็นจิตของตัว แลเข้าใจว่าพระนิพพานมีอยู่ในเบื้อง
    บนนั้น ตัวก็นึกเข้าใจเอาจิตของตัวขึ้นไปเป็นสุขอยู่ในที่นั้น ครั้นตายแล้ว ก็เลยพาเอาตัวขึ้นไปอยู่ในที่อันไม่มีรูป ตามที่จิตตนนึกไว้
    นั้น
    ดูกรอานนท์
    ผู้ที่หลงขึ้นไปอยู่ในรูปพรหมแล้ว แลจักได้ถึงโลกุตรนิพพานนั้นช้านานยิ่งนักเพราะว่าอายุของอรูป
    พรหมนั้นยืนนัก
    จะนับว่าเท่านั้นเท่านี้มิอาจนับได้ จึงชื่อว่านิพพานโลกีย์ต่างกัน แต่มิได้ดับวิญญาณเท่านั้น ถ้าหากดับวิญญาณ
    ก็เป็นพระนิพพานโลกุตรได้
    ส่วนความสุขความสำราญในพระนิพพานทั้ง ๒ นั้น ก็ประเสริฐเลิศโลกเสมอกันไม่ต่างกัน แต่
    นิพพานโลกีย์เป็นนิพพานที่ไม่สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อสิ้นอำนาจของฌาณแล้ว ยังต้องมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ร้ายแลดี คุณแล
    โทษสุขแลทุกข์ ยังมีอยู่เต็มที่
    เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะปรารถนานิพพานพรหมไม่มีเลย ย่อมมุ่งต่อโลกุตรนิพพานด้วยกัน
    ทั้งนั้น
    แต่ไม่รู้จักปล่อยวาง วิญญาณจึงหลงไปเกิดเป็นอรูปพรหม ส่วนโลกุตรนิพพานนั้นปราศจากวิญญาณ วิญญาณยังมีที่ใด
    ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็มีอยู่ในที่นั้น โลกุตตรนิพพานปราศจากวิญญาณ จึงไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย มีแต่ความสุข
    สบายปราศจากอามิส หาความสุขอันใดจะมาเปรียบด้วยพระนิพพานไม่มี ขึ้นชื่อว่า ความเกิด ความตาย ความร้าย ความดี บาป
    บุญ คุณ โทษ สุข ทุกข์ ความทุกข์ยาก ลำบาก เข็ญใจ ทุกข์ โศก โรค ภัย ไข้ เจ็บ สิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่มีในพระนิพพานเลย
    พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล
    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ปรารถนาพระนิพพานแต่ยัง
    ปล่อยวางใจไม่ได้ ยังอาลัยถึงความสุขอยู่ คิดว่าพระนิพพานอยู่ที่นั้นที่นี้ จะเอาจิตแห่งตนไปเป็นสุขในที่แห่งนั้น ครั้นจักปล่อย
    วางใจเสียก็กลัวว่าจะไม่มีอันใดนำไปให้เป็นสุข ถือใจอาลัยสุข เหตุนั้นจึงมิได้พ้นพระนิพพานพรหม ดูกรอานนท์ เราตถาคตแสดง
    ว่าให้ปลงใจ ให้วางใจนั้น เราชี้ข้อสำคัญเอาที่สุดมาแสดงเพื่อให้รู้ให้เข้าใจได้ง่าย
    การวางใจ ปลงใจนั้นคือ วางสุข วางทุกข์ วาง
    บาป บุญ คุณ โทษ วางโลภ โกรธ หลง วางลาภยศ นินทา สรรเสริญ ทั้งหมดทั้งสิ้นเหมือนดังไม่มีหัวใจ จึงชื่อว่าทำให้
    เหมือนแผ่นดิน ถ้ายังทำไม่ได้ อย่าหวังว่าจักได้โลกุตรนิพพานเลย
    ถ้าทำตัวให้เหมือนแผ่นดินได้ในกาลใด พึงหวังเถิดซึ่งโล
    กุตรนิพพาน คงได้คงถึงในกาลนั้น โดยไม่ต้องสงสัย พระนิพพานเป็นของได้ด้วยยากยิ่งนัก แสนคนจะได้แต่ละคนก็ทั้งยาก

    ผู้ปฏิบัติอริยมรรคให้เต็มที่ จึงจะวางใจให้เหมือนแผ่นดินได้​
    ดูกรอานนท์ ผู้มิได้กระทำอริยมรรคปฏิปทาให้เต็มที่ ยังเป็นปุถุชนหนาไปด้วยกิเลส หาปัญญามิได้ แลจักวางใจทำตัวให้
    เป็นเหมือนแผ่นดินนั้นไม่อาจทำได้เลย เหตุที่เขาวางใจไม่ได้ ก็เพราะเขายังถือตัว ถือใจอยู่ว่าเป็นของๆ ตัวแท้ จึงต้องทรมานทน
    ทุกข์อยู่ในโลก เวียนว่ายตายเกิดแล้วๆ เล่าๆ ไม่มีสิ้นสุด ดูกรอานนท์ ​
    ผู้ที่วางใจทำตัวให้เป็นเหมือนแผ่นดินได้นั้น มีแต่บุคคล
    ผู้เป็นนักปราชญ์ และเป็นสัตบุรุษจำพวกเดียวเท่านั้น เพราะท่านไม่ถือตนถือตัว ท่านวางใจเป็นเป็นเหมือนแผ่นดินได้
    ท่านจึงถึงพระนิพพาน
    ส่วนผู้ที่ถือตัวถือใจปล่อยวางมิได้นั้น ล้วนแต่เป็นคนโง่เขลาสิ้นเท่านั้น บุคคลที่เป็นสัตบุรุษ ท่านเห็นแจ้ง
    ชัดซึ่งอนัตตา ท่านถือใจของท่านไว้ ก็เพียงแต่ให้รู้บาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ แลไม่ใช่ประโยชน์ รู้ศีล ทาน การกุศล แลอกุศล รู้
    ทางสุข ทางทุกข์ ในมนุษย์ และสวรรค์ และพระนิพพานเท่านั้น ครั้นถึงที่สุด ท่านก็ปล่อยวางเสียตามสภาวะแห่งอนัตตา
    ส่วนคน
    โง่เขลานั้นถือตนถือตัว ถือว่าร่างกายเป็นอัตตาตัวตน จึงปล่อยวางมิได้

    ดูกรอานนท์ อันว่า​
    บุคคลที่ถือใจนั้น ย่อมเป็นคนมักโลภ มักโกรธ มักหลง บุคคลจำพวกใดที่ตกอยู่ในอำนาจแห่ง
    ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น จะเป็นนักบวชก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม ก็หาความสุขมิได้ เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็หา
    ความสุขในมนุษย์แลสวรรค์มิได้เลย
    ย่อมมีอบายเป็นที่ไป ณ เบื้องหน้าโดยแท้ ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลาย ผู้ปรารถนาเข้าสู่
    พระนิพพาน จงวางเสียซึ่งใจ อย่าอาลัยความสุข การวางใจก็คือการวางสุข วางทุกข์ แลบาป บุญ คุณ โทษ ร้าย ดี ซึ่งเป็นของ
    สำหรับโลกนี้เสียให้สิ้น สิ่งเหล่านี้สร้างไว้สำหรับโลกนี้เท่านั้น เมื่อต้องการพระนิพพานแล้ว ต้องปล่อยวางไว้ในโลกนี้สิ้นทั้งนั้น จึงจะ
    ได้ความสุขในพระนิพพานแล้ว ต้องปล่อยวางไว้ในโลกนี้สิ้นทั้งนั้น จึงจะได้ความสุขในพระนิพพาน ซึ่งเป็นความสุขอย่างยิ่ง เป็น
    ความสุขอันหาส่วนเปรียบมิได้

     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ผู้จะถือเอาความสุขในนิพพาน ต้องวางความสุขในโลกีย์ให้หมด​
    ดูกรอานนท์ เมื่อจะถือเอาความสุขในพระนิพพานแล้ว ก็ให้วางใจในโลกีย์นี้เสียให้หมดสิ้น อันว่าความสุขในโลกีย์ก็มีอยู่
    แต่อินทรีย์ทั้ง ๖ นี้เท่านั้น ในอินทรีย์ทั้ง ๖ นั้นยกเอาใจไว้เป็นเจ้า เอาประสาททั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นเป็นกามคุณทั้ง ๕
    ประสาททั้ง ๕ นี้เองเป็นผู้แต่งความสุขให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช​
    ประสาทตานั้น ​
    เขาได้เห็น ได้ดู รูปวัตถุสิ่งของอันดีงามต่างๆ ก็นำความสุขไปให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช

    ประสาทหูนั้น ​
    เมื่อเขาได้ยินได้ฟังศัพท์สำเนียงเสียงที่ไพเราะ เป็นที่ชื่นชมทั้งปวง ก็นำความสุขสนุกสนานไปให้แก่เจ้าพระยาจิต
    ตราช

    ประสาทจมูกนั้น ​
    เมื่อเขาได้จูบชมดมกลิ่นสุคันธรสของหอมต่างๆ ก็นำความสุขไปให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช

    ประสาทลิ้นนั้น ​
    เมื่อเขาบริโภคอาหารอันโอชารสวิเศษต่างๆ ก็นำความสุขสนุกสนานไปให้แก่เจ้าพระยาจิตตราช

    ประสาทกายนั้น ​
    เมื่อเขาได้ถูกต้องฟูกเบาะเมาะหมอนแลนุ่งห่มประดับประดาเครื่องกกุธภัณฑ์อันสวยงาม แลบริโภคกามคุณ ก็นำ
    ความสุขสนุกสนานไปให้แก่พระยาจิตตราช

    เจ้าพระยาจิตตราชนั้นก็คือใจนั้นเอง​
    ส่วนใจนั้นเป็นใหญ่ เป็นผู้คอยรับความสุขสนุกสนานอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนประสาททั้ง ๕ เป็นผู้สำหรับนำ
    ความสุขไปให้แก่ใจ ประสาททั้ง ๕ จึงชื่อว่ากามคุณ ส่วนความสุขในโลกนี้ มีแต่กามคุณทั้ง ๕ นี้เท่านั้น จะเป็นเจ้า
    ประเทศราชในบ้านน้อยเมืองใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเทวโลก ก็มีแต่กามคุณทั้ง ๕ เท่านั้น​
    ดูกรอานนท์ ​
    ผู้ที่จะนำตนไปให้เป็นสุขในพระนิพพาน ต้องวางเสียซึ่งความสุขในโลกีย์ ถ้าวางไม่ได้ก็ไม่ได้
    ความสุขในพระนิพพานเลย ถ้าวางสุขในโลกีย์มิได้ก็ไม่พ้นทุกข์ ด้วยความสุขในโลกีย์เป็นความสุขที่เจืออยู่ด้วยทุกข์
    ครั้น
    เมื่อถือเอาสุขก็คือถือเอาทุกข์นั้นเอง ครั้นไม่วางสุขก็คือไม่วางทุกข์นั้นเอง จะเข้าใจว่าเราจะถือเอาแต่สุข ทุกข์ไม่ต้องการดังนี้ไม่ได้
    เลย เพราะสุขทุกข์เป็นของเนื่องอยู่ด้วยกัน ถ้าไม่วางสุขเสียก็เป็นอันไม่พ้นทุกข์
    ดูกรอานนท์
    บุคคลทั้งหลายผู้ที่จะรู้ว่าสุขทุกข์ติดกันอยู่นั้นหายากยิ่งนัก มีแต่เราตถาคตผู้ประกอบด้วยทศพลญาณนี้
    เท่านั้น บุคคลทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชนคนโง่เขลานั้น ทำความเข้าใจว่า สุขก็มีอยู่ต่างหาก ทุกข์ก็มีอยู่ต่างหาก ครั้นเราถือเอาสุข เรา
    ก็ได้สุข เราก็ไม่ถือเอาทุกข์ ทุกข์ก็ไม่มี ดังนี้ เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ว่าสุขกับทุกข์ติดกันอยู่ เขาจึงไม่พ้นทุกข์ เมื่อผู้ใดอยากพ้นทุกข์ก็
    ให้วางสุขเสีย ก็เป็นอันละทุกข์วางทุกข์ด้วยเหมือนกัน
    ใครเล่าจะมีความสามารถพรากสุขทุกข์ออกจากกันได้ แม้แต่
    เราตถาคตก็ไม่มีอำนาจวิเศษที่จะพรากจากกันได้ ถ้าหากเราตถาคตพรากสุขแลทุกข์ออกจากกันได้ เรา
    จะปรารถนาเข้าสู่พระนิพพานทำไม เราจะถือเอาแต่สุขอย่างเดียว เสวยแต่ความสุขอยู่ในโลกเท่านั้น ก็
    เป็นอันสุขสบายพออยู่แล้ว นี่ไม่เป็นเช่นนั้น เราแสวงหาความสุขโดยส่วนเดียวไม่มีทางที่จะพึงได้ เราจึง
    วางสุขเสีย ครั้นวางสุขแล้ว ทุกข์ไม่ต้องวาง ก็หายไปเอง อยู่กับเราไม่ได้ เราจึงสำเร็จพระนิพพาน พ้นจาก
    กองทุกข์ ด้วยประการดังนี้

    ดูกรอานนท์ ​
    อันสุขในโลกีย์นั้น ถ้าตรวจตรองให้แน่นอนแล้วก็เป็นกองแห่งทุกข์นั้นเอง เขาหากเกิด
    มาเป็นมิตรติดกันอยู่ ไม่มีผู้ใดจักพรากออกจากกันได้ เราตถาคตกลัวทุกข์เป็นอย่างยิ่ง หาทางชนะทุกข์
    มิได้ จึงปรารถนาเข้าพระนิพพาน เพราะเหตุกลัวทุกข์นั้นอย่างเดียว
    พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้
    แล

    ผู้จะถึงพระนิพพาน ต้องพ้นจากกุศลธรรมและอกุศลธรรม​
    ตทนนฺตรํ ​
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาสืบต่อไปอีกว่า อานนดูกรอานนท์ กุศลธรรมและอกุศลธรรมนั้น
    ได้แก่กองกิเลส ๑
    ,๕๐๐ นั้นเอง อัพยากฤตธรรมนั้น คือ องค์พระนิพพาน ครั้งพ้นจากกองกุศลธรรมและอกุศลธรรมนั้น
    แล้ว จึงเป็นองค์แห่งพระอรหํ และพระนิพพานโดยแท้
    ถ้ายังไม่พ้นจากกุศลแลอกุศลตราบใด ก็ยังไม่เป็นอัพยากฤตตราบนั้น
    คือยังไม่เป็นองค์พระอรหํ ยังไม่เป็นองค์พระนิพพานได้ ดูกรอานนท์ กุศลนั้นได้กองสุข อกุศลนั้นได้แก่กองทุกข์ กองสุขแลกอง
    ทุกข์นั้น หากเป็นของเกิดติดเนื่องอยู่ด้วยกัน ไม่มีใครจักพรากให้แตกออกจากกันได้ ครั้นถือเอากุศลคือกองสุขแล้วส่วนอกุศลคือ
    กองทุกข์นั้น แม้ไม่ถือเอาก็เป็นอันได้อยู่เอง
    ดูกรอานนท์
    เมื่อบุคคลต้องการพระนิพพาน ก็ให้วางเสียซึ่งความสุขนั้นก่อน ความสุขในโลกีย์นั้นเอง ชื่อว่ากุศล
    จึงจักถึงพระนิพพาน ถ้าหากว่าไม่มีความสามารถ คือไม่อาจทำพระนิพพานให้แจ้งได้ ก็ให้ยึดเอากุศลนั้นไว้ก่อน พอให้
    ได้ความสุขในมนุษย์แลสวรรค์
    แต่จะให้พ้นทุกข์นั้นไม่ได้ เมื่อรู้อยู่ว่าตนจักพ้นทุกข์ไม่ได้ ก็ให้ยึดเอากุศลนั้นไว้เป็นสะพาน
    สำหรับไต่ไปสู่ความสุข ถ้ารู้ว่าตนยังไม่พ้นทุกข์ซ้ำมาวางกุศลเสียก็ยิ่งซ้ำร้าย เพราะเมื่อวางกุศลเสียแล้ว ตนก็จักเข้าไปกองอกุศล
    คือกองบาปเท่านั้น เมื่อตกเข้าไปในกองอกุศล อกุศลนั้นก็จักนำตัวไปทนทุกข์เวทนาในอบายภูมิทั้ง ๔ หาความสุขในโลกมิได้เลย
    เพราะเหตุนั้นเมื่อตนยังไม่ถึงพระนิพพานก็ให้บำเพ็ญบุญกุศลไว้พอจะได้อาศัยเป็นสุขสบายไปในชาตินี้แลชาติหน้า
    ภนฺเต ข้าแต่
    พระอริยกัสสปะ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้

    จิตและตัณหาเป็นที่มาของสุขและทุกข์ ซึ่งต้องวางให้หมดจึงจะถึงนิพพานได้​
    ตทนนฺตรํ ​
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ เราตถาคตจักแสดงในข้ออันเป็นที่
    สุดแต่โดยย่อๆ พอให้เข้าใจง่าย ที่สุดนั้นก็คือ จิตกับตัณหา
    จิตนั้นจำแนกออกไปเรียกว่ากองกุศลคือกองสุข ตัณหานั้น
    จำแนกออกไปเรียกว่า กองอกุศลคือกองทุกข์ ต้นเหง้าเค้ามูลแห่งกองทุกข์นั้น ก็คือจิตแลตัณหานั้นเอง จิตเป็นผู้คิดให้
    ได้เป็นดีมีสุขขึ้น ส่วนตัณหานั้นก็ให้เกิดตามเห็นตาม จิตมีความสุขมากขึ้นเท่าใด ตัณหานั้นก็ให้เกิดทุกข์ตามมากขึ้นไป
    เท่านั้น
    ดูกรอานนท์ แต่เบื้องต้นเมื่อเราตถาคตยังไม่รู้แจ้งว่า สุขแลทุกข์อยู่ติดด้วยกัน เราก็ถือเอากุศลจิตอันเดียวหมายจักให้เป็น
    สุขอยู่ทุกเมื่อ ส่วนทุกข์จักไม่ให้มา ก็ตั้งหน้าบำเพ็ญกุศลจิตเรื่อยไป เมื่อได้สุขเท่าใด ทุกข์พลอยเกิดมีเท่านั้น ครั้นภายหลังเรา
    พิจารณาด้วยญาณจักษุปัญญา แลเห็นแจ้งชัดว่าสุขแลทุกข์ติดอยู่ด้วยกัน ครั้นรู้แจ้งแล้วก็ตรึกตรองหาอุบายที่จะกำจัดสุขแลทุกข์ให้
    พรากออกจากันนั้น แสนยากแสนลำบากเหลือกำลัง จนสิ้นปัญญา หาทางไปทางมาไม่ได้ เราตถาคตจึงวางเสียซึ่งสุขคืนให้แก่ทุกข์
    คือวางใจให้แก่ตัณหา
    ครั้นเราวางใจให้แก่ตัณหาแล้วความสุขในพระนิพพานก็เลยเข้ามารับเราให้ถึงนิพพานดิบใน
    ขณะนั้น
    พร้อมกับด้วยเราวางใจไว้ให้แก่ตัณหา ดูกรอานนท์ เมื่อวางใจได้จึงเป็นอัพยากฤต จึงเรียกชื่อว่าถือเอาอัพยากฤตเป็น
    อารมณ์ เป็นองค์พระอรหํ คือได้เข้าตั้งอยู่ในพระนิพพานด้วยอาการดังนี้

    อรหันต์หรือการเข้าถึงพระนิพพาน เป็นของมีไว้สำหรับโลก​
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์สืบต่อไปอีกว่า ​
    อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าอรหํนั้น จะได้มีจำ
    เพราะแต่เราตถาคตพระองค์เดียวก็หามิได้ ย่อมมีเป็นของสำหรับโลก สำหรับไว้โปรดสัตว์โลกทั่วไปไม่ใช่ของแห่งเรา
    ตถาคตแลของผู้หนึ่งผู้ใดเลย
    ดูกรอานนท์ เราตถาคตเป็นผู้ไกลจากกิเลสแล้ว จึงได้ซึ่งพระอรหํ บุคคลผู้ใดปราศจากกิเลสแล้ว
    บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้ได้พระอรหํเสมอกันทุกคน บุคคลผู้ใดที่ยังไม่ปราศจากกิเลส ถึงแม้จักอ้อนวอนเราตถาคตว่า
    อรหํ อรหํ ดังนี้
    จนถึงวันตาย ก็ไม่อาจได้ซึ่งพระอรหํเลย เป็นแต่กล่าวด้วยปากเปล่าๆ เท่านั้น แลมาเข้าใจว่า การละกิเลสได้หรือไม่ได้นั้นไม่เป็น
    ประมาณ เมื่อได้อ้อนวอนหาซึ่งองค์พระอรหํเจ้าด้วยปากด้วยใจแล้ว พระอรหํเจ้าก็จักนำตนให้เข้าสู่พระนิพพาน เข้าใจเสียอย่างนี้
    ชื่อว่าเป็นคนหลงแท้ แม้เมื่อตนยังไม่พ้นลามกมลทินแห่งกิเลส แล้วไปอ้อนวอนพระอรหํที่หมดมลทินกิเลสให้มาตั้งอยู่ในตัวตนอัน
    แปดเปื้อนด้วยลามกมลทินแห่งกิเลส จักมีทางได้มาแต่ไหน เปรียบเหมือนดังมีสระอยู่สระหนึ่ง เต็มไปด้วยของเน่าของเหม็นสารพัด
    ทั้งปวงเป็นสระมีน้ำเน่าเหม็นสาบเหม็นคาวน่าเกลียดยิ่งนัก และมีบุรุษคนหนึ่งตกอยู่ในสระนั้น หากว่าบุรุษคนนั้นร้องเรียกให้
    อานนท์ลงไปอยู่ในสระน้ำเน่ากับเขาด้วย อานนท์จักไปอยู่ด้วยกับเขาหรือ ดูกรอานนท์ เราจักบอกให้สิ้นเชิง ถ้าอานนท์ลงไปอยู่ใน
    สระกับบุรุษผู้แปดเปื้อนด้วยน้ำเน่า ได้ดังนั้น องค์พระอรหํเจ้าก็อาจไปตั้งอยู่กับบุรุษผู้แปดเปื้อนด้วยกิเลสได้เหมือนกัน ถ้าอานนท์
    ลงไปอยู่กับบุรุษแปดเปื้อนไม่ได้ องค์พระอรหํเจ้าก็ไม่อาจไปตั้งอยู่กับบุคคลผู้แปดเปื้อนด้วยราคะกิเลสได้เหมือนกันเช่นนั้น
    ดูกรอานนท์ ท่านจะลงไปอยู่กับด้วยบุรุษแปดเปื้อนได้หรือไม่ มีพุทธฎีกาตรัสถาม ฉะนี้ ข้าฯ อานนท์จึงกราบทูลว่า ลงไป
    อยู่ด้วยไม่ได้ ถ้าท่านไม่ลงไป บุรุษผู้นั้นก็กล่าววิงวอนท่านอยู่ร่ำไป จะสำเร็จหรือไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์ไม่ลงไป
    บุรุษผู้นั้นก็ทำอะไรแก่ข้าพระองค์ไม่ได้ ความปรารถนาก็ไม่สำเร็จ เป็นแต่วิงวอนอยู่เปล่าๆ เท่านั้นเอง ดูกรอานนท์ ข้ออุปมานี้ฉัน
    ใด บุรุษผู้จมอยู่ในน้ำนั้นเปรียบเหมือนบุคคลผู้ไม่ปราศจากมลทินลามกแห่งกิเลส พระอรหํนั้นเปรียบเหมือนตัวของอานนท์ อานนท์
    ไม่ลงไปอยู่กับด้วยบุรุษแปดเปื้อนฉันใด พระอรหํท่านก็ไม่ไปอยู่กับบุคคลผู้แปดเปื้อนด้วยกิเลสฉันนั้น แม้จักวิงวอนด้วยปากด้วยใจ
    สักเท่าไรก็ไม่สำเร็จ พระอรหํท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้พ้นทุกข์แล้ว ท่านไม่น้อมเข้าไปหาบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเลย ครั้นบุคคล
    ผู้ใดปรารถนาความสุขแล้วจงน้อมตัวเข้าไปหาท่าน ท่านก็โปรดให้ได้ความสุขทุกคน จะเข้าใจว่าพระอรหํท่านเลือกหน้า
    เลือกบุคคล จักติเตียนอย่างนั้นไม่ควร ถ้าแลผู้ใดพ้นกิเลสกามแลพัสดุกามได้แล้ว ชื่อว่าน้อมตัวเข้าไปหาท่าน ท่านก็โปรด
    นำเข้าสู่พระนิพพานเสวยสุขอยู่ด้วย ท่านไม่เลือกหน้าเลือกบุคคลเลย เป็นแต่ผู้จมอยู่ด้วยกิเลสมาก ละกิเลสไม่ได้ ชื่อว่าไม่น้อมตัว
    เข้าไปหาท่านเอง
    ดูกรอานนท์ ถึงตัวเราตถาคตก็ต้องน้อมตัวเข้าไปหาท่าน ท่านจึงโปรดให้ตถาคตนี้ได้เป็นครูแก่โลกเห็นปานดังนี้ เพราะว่า
    พระอรหํท่านเป็นผู้ดี แลจักให้ท่านเข้าไปคบหาคนชั่วนั้นเป็นไปไม่ได้ แลผิดธรรมเนียมด้วย สมควรแก่ผู้เลวทรามต่ำช้าจะเข้าไปหา
    ท่านผู้ดีผู้สูงศักดิ์โดยส่วนเดียว ข้าแต่พระมหากัสสปะผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล

    ตทนนฺตรํ ​
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาสืบไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ปรารถนาซึ่งพระอรหํ ก็พึง
    ยกตัวแลห้ามใจให้ห่างไกลจากกองกิเลส เพราะพระ
    อรหํท่านเป็นผู้ไกลจากกิเลส จะบริกรรมแต่ด้วยปากด้วยใจว่า อรหํๆ แล้ว
    เข้าใจว่าตนได้พระอรหํ เห็นว่าเป็นบุญเป็นกุศล จักได้ความสุขในมนุษย์แลสวรรค์แลพระนิพพานจะทำความเข้าใจอย่างนี้ไม่สมควร
    พระนามชื่อว่าพระ
    อรหํนี้ เราบอกไว้ให้รู้ว่าผู้ไกลจากกิเลส จะถือเอาแต่พระนามว่าอรหํๆ แล้วเข้าใจว่าตนได้สำเร็จเช่นนี้ไม่ควร
    เพราะคำว่า
    อรหํ ใครๆ ก็กล่าวได้ จะมิเป็นพระอรหํกันเต็มโลกหรือ ดูกรอานนท์ พระอรหํก็คือเราตถาคตนี้เอง เหตุที่เราปราศจาก
    กิเลส ละกิเลสสิ้นแล้ว เราจึงได้ถึงที่สุดแห่งพระ
    อรหํ องค์พระอรหํกับเราตถาคตก็หากเป็นอันเดียวกัน จะร้องเรียกพระอรหํ ว่าเป็น
    เราตถาคตก็ไม่ผิด หรือจะร้องเรียกเราพระตถาคตเป็นพระอรหํก็ไม่ผิด ผู้ใดละกิเลสได้สิ้นเชิงแล้ว ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าถึงที่สุดแห่งพระ
    อรหํสิ้นด้วยกัน จะได้ถึงพระอรหํแต่เราตถาคตองค์เดียวหามิได้ จงเข้าใจองค์แห่งพระอรหํ ดังเราตถาคตแสดงมานี้เถิด ข้าแต่พระ

    มหากัสสปะผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล
     
  4. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    กิเลสและตัณหาล่อลวงให้จิตไม่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร​
    ตทนนฺตรํ ​
    ลำดับนั้น พระพุทธเข้าจึงตรัสเทศนาสืบไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ สิ่งที่ให้สัตว์โลกเวียนว่ายตายเกิดอยู่
    ในวัฏสงสารทรมานทุกข์อยู่ในนรกแลกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานแล้วๆ เล่าๆ ไม่รู้สิ้นสุดนี้ มิใช่สิ่งอื่น คือตัวกิเลสแลตัณหา

    ล่อลวงให้ดวงจิตของสัตว์ทั้งหลาย มิให้พ้นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร แลมิได้ถึงพระนิพพานได้ ถ้าผู้ใดมิได้รู้กองแห่งกิเลสแล้ว ผู้นั้นก็จัก
    ประสบภัย ได้รับทุกข์ในอบายภูมิทั้ง ๔ มิได้มีเวลาสิ้นสุด ดูกรอานนท์ ​
    จงจับตัวตัณหาให้ได้ ถ้าจับได้แล้ว เมื่อตัวต้องทุกข์ ก็
    จักเห็นได้ว่าตัวเป็นอนัตตา ถ้าจับไม่ได้ก็เห็นตัวเป็นอนัตตาไม่ได้
    บุคคลทั้งหลายที่มาเป็นสานุศิษย์แห่งพระตถาคตนี้ ก็มี
    ความประสงค์ด้วยพระนิพพาน การที่เราจะรู้ว่าดีหรือชั่วกว่ากัน ก็แล้วแต่กิเลสเป็นผู้ตัดสิน ด้วยว่าพระนิพพานเป็นที่ปราศจาก
    กิเลสตัณหา ถ้าผู้ใดเบาบางจากกิเลสตัณหา ผู้นั้นก็เป็นผู้ดียิ่งกว่า ผู้ยังหนาอยู่ด้วยกิเลสตัณหา
    ผู้ใดตั้งอยู่ในนิจศีล คือศีล ๕ ผู้
    นั้นชื่อว่ายังหนาอยู่ด้วยกิเลส แต่ได้ชื่อว่าเป็นผู้บางจากกิเลสได้ชั้นหนึ่ง ถ้าตั้งอยู่ในอุโบสถศีล คือศีล ๘ ได้ชื่อว่าบางจาก
    กิเลสได้ ๒ ชั้น ถ้ามาตั้งอยู่ในทศศีล คือศีล ๑๐ ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าบางจากกิเสสได้ ๓ ชั้น ผู้เข้ามาตั้งอยู่ในศีลพระปาติโมกข์
    คือศีล ๒๒๗ ผู้นั้นได้ชื่อว่าบางจากกิเลสได้ ๔ ชั้น
    ผลอานิสงส์ก็มีเป็นลำดับขึ้นไปตามศีลนั้น ผู้ที่มีศีลน้อย อานิสงส์ก็น้อย ผู้ที่มี
    ศีลมาก อานิสงส์ก็มากขึ้นไปตามส่วนของศีล บุคคลผู้ที่มิได้ตั้งอยู่ในศีล ๕ ถึงจะมีความรู้ความฉลาดมากมายสักเท่าใดก็ดี ก็ไม่ควร
    จะกล่าวคำประมาทแก่ผู้ที่มีศีล ๕ ผู้มีศีล ๕ ก็ควรยินดีแต่เพียงชั้นศีลของตน ไม่ควรที่จะกล่าวคำประมาทในท่านผู้ที่มีศีล ๘ ผู้ที่มีศีล
    ๘ ก็ควรยินดีแต่เพียงศีลของตนไม่ควรที่จะกล่าวคำประมาทในท่านที่มีศีล ๑๐ ผู้ที่มีศีล ๑๐ ก็ควรยินดีอยู่ในชั้นศีลของตน ไม่ควรจะ
    กล่าวคำประมาทในท่านที่มีศีลพระปาติโมกข์ ถ้าขืนกล่าวโทษติเตียนท่านที่มีศีลยิ่งกว่าตน ชื่อว่าเป็นคนหลง เป็นคนห่างจากทาง
    สุขในมนุษย์แลสวรรค์ และพระนิพพานแท้

    ผู้มีความรู้ความฉลาดสักปานใด ไม่ควรถือตัวว่าเป็นผู้ยิ่งกว่าผู้มีศีล​
    ดู
     
  5. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ผู้มีความรู้ความฉลาดสักปานใด ไม่ควรถือตัวว่าเป็นผู้ยิ่งกว่าผู้มีศีล​
    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ไม่มีศีล ปราศจากการรักษาศีล ไม่ควรกล่าวซึ่งคำประมาทแก่ท่านผู้มีศีล ตัวตั้งอยู่ภายนอกศีล แล้ว
    มาเข้าใจว่า ตัวเป็นผู้ดีกว่าท่านผู้มีศีล แล้วกล่าวคำสบประมาทดูหมิ่นในท่านผู้มีศีล บุคคลจำพวกนั้นชื่อว่าเป็นเจ้ามิจฉาทิฏฐิใหญ่
    ชื่อว่าเป็นคนหลงทาง เป็นผู้ห่างจากความสุขในมนุษย์ และสวรรค์ ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ตั้งอยู่ภายนอกศีลนั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้ตั้งอยู่
    ในระหว่างกองกิเลส ยังเป็นผู้หนาแน่นอยู่ด้วยกิเลส ​
    แม้จะเป็นผู้มีความรู้ความฉลาดมากมายสักปานใดก็ตาม ก็ไม่ควรจะถือ
    ตัวว่าเป็นผู้ยิ่งกว่าผู้มีศีล เหตุว่าผู้ที่ไม่มีศีลนั้นยังห่างจากพระนิพพานมาก
    ผู้ที่มีศีลชื่อว่าใกล้ต่อพระนิพพานอยู่แล้ว ถึงจะไม่รู้
    อะไร รู้แต่เพียงถือศีลเท่านั้น ก็ยังดีกว่าผู้ไม่มีศีลอยู่นั้นเอง เพราะท่านเป็นผู้บางจากกิเลส บุคคลผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส แม้จะ
    เป็นผู้รู้มากแตกฉานในข้ออรรถแลข้อธรรมประการใดก็ตาม ก็ควรจะทำความเคารพยำเกรงในท่านที่มีศีล จึงจะถูกต้องตามคลอง
    ธรรมที่เป็นทางพระนิพพาน ถ้าให้ผู้มีศีลเคารพยำเกรงในผู้ที่ไม่มีศีลแลเป็นผู้หนาแน่นด้วยกิเลส เป็นความผิด ห่างจากทางพระ
    นิพพานยิ่งนัก
    ดูกรอานนท์ จะถือเอาความรู้แลความไม่รู้เป็นประมาณทีเดียวไม่ได้ ต้องถือเอาการละกิเลสได้เป็น
    ประมาณ เพราะว่าผู้จะถึงพระนิพพานต้องอาศัยการละกิเลสโดยส่วนเดียว เมื่อละกิเลสได้แล้ว แม้ไม่มีความรู้มาก รู้แต่
    เพียงการละกิเลสได้เท่านั้น ก็อาจถึงพระนิพพานได้
    อันจักพ้นทุกข์ในนรก แลได้เสวยสุขในสวรรค์ และพระนิพพาน ก็เพราะละ
    เสียได้ซึ่งกิเลสอย่างเดียว สิ่งที่ให้คนเราได้รับสุขแลทุกข์อยู่ทุกวันนี้ก็เพราะกิเลส ครั้นระงับดับกิเลสได้แล้ว เป็นเหตุให้ได้ประสบสุข
    แลพ้นจากทุกข์ เมื่อละกิเลสไม่ได้ สุขก็ไม่ได้ ทุกข์ก็ไม่พ้น

    การที่จะถึงพระนิพพาน ต้องละกิเลสเสียให้สิ้น​
    ดูกรอานนท์ การที่จะได้ประสบสุขก็เพราะละกิเลสต่างหาก ที่มีความรู้แต่มิได้ละเสียซึ่งกิเลสย่อมไม่เป็นประโยชน์แม้แต่สิ่ง
    ใดสิ่งหนึ่ง แก่ผู้มีความรู้นั้น แม้จะรู้มากแสนพระคัมภีร์หรือมีความรู้หาที่สุดมิได้ก็ตามก็รู้อยู่เปล่าๆ จะเอาประโยชน์อันใดอันหนึ่ง
    ไม่ได้ แลจะให้เป็นบุญเป็นกุศล แลได้เสวยความสุขเพราะความรู้นั้นไม่มี ​
    เราตถาคตไม่สรรเสริญผู้ที่มีความรู้มากแต่ไม่มีศีล ผู้
    ที่มีความรู้น้อยแต่เป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล เราสรรเสริญแลนับถือผู้นั้นว่าเป็นเป็นคนดี
    ถ้าผู้ใดนับถือผู้มีกิเลสว่าดีกว่าผู้ไม่มีกิเลส
    บุคคลผู้นั้นชื่อว่าถือศีลเอาต้นเป็นปลาย เอาปลายเป็นต้น เอาสูงเป็นต่ำ เอาต่ำเป็นสูง ถ้าถืออย่างนี้ผิดทางแห่งพระนิพพาน เป็นคน
    มิจฉาทิฏฐิ
    การที่นับถือบุคคลผู้หนาไปด้วยกิเลสดีกว่าผู้ปราศจากกิเลส เราตถาคตไม่สรรเสริญเลย บุคคลจำพวกที่บาง
    เบาจากกิเลสใกล้ต่อพระนิพพาน เราตถาคตสรรเสริญ แลอนุญาตให้เคารพนับถือ การที่ทำบุญทำทาน ทำกุศล
    ปรารถนาเพื่อจะให้บุญกุศลนั้นพาตนเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าไม่รู้ว่าบำเพ็ญบุญกุศลเพื่อให้ช่วยระงับดับกิเลส ก็เป็นอัน
    บำเพ็ญเสียเปล่า ได้ชื่อว่าเป็นคงหลงโลก หลงทางแห่งพระนิพพาน
    การที่จะถึงพระนิพพานต้องละกิเลสเสียให้สิ้น ถ้ายังละ
    มิได้ก็ไม่ถึงพระนิพพานถึงจะรู้มากสักเท่าใดก็ตาม ถ้ายังละกิเลสไม่ได้ ก็รู้เสียเปล่าๆ
    เราตถาคตตั้งศาสนาไว้ไม่ได้หวังเพื่อให้
    บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งบำเพ็ญหาประโยชน์อย่างอื่น ตั้งไว้เพื่อประสงค์จะให้บุคคลบำเพ็ญภาวนา เพื่อให้ระงับดับกิเลสตัณหา
    เท่านั้น การบำเพ็ญภาวนาเมื่อไม่คิดว่าจะให้ระงับดับกิเลสตัณหาแห่งตนก็ได้ชื่อว่าเป็นคนหลงโลกหลงทาง

    การรักษาศีล บำเพ็ญภาวนา จะเกิดอานิสงส์จริง เมื่อจะยกตนให้พ้นจากกิเลส​
    ส่วนกุศลที่เกิดจากการบำเพ็ญภาวนานั้น จะว่าไม่ได้ไม่มีเช่นนั้นก็หาไม่ อันที่จริงเป็นบุญเป็นกุศลโดยแท้ แต่ว่าเป็นทาง
    หลงจากพระนิพพานเท่านั้น ​
    การกระทำความเพียร บำเพ็ญภาวนา ทำบุญ ทำกุศล อย่างใดอย่างหนึ่งมากน้อยเท่าใดก็ตาม
    ก็ให้รู้ว่าบำเพ็ญบุญกุศลแลเจริญภาวนาเพื่อระงับดับกิเลสตัณหาของตนให้น้อยลงให้พ้นจากกองกิเลสนั้น เช่นนี้ชื่อว่า
    เดินถูกทางพระนิพพานแท้ ดูกรอานนท์ จงพากันประพฤติตามคำสอนที่เราแสดงไว้นี้ ถ้าผู้ใดมิได้ประพฤติตามก็พึง
    เข้าใจว่า ผู้นั้นเป็นคนนอกพุทธศาสนา
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ดังนี้แล้ว จึงทรงแสดงต่อไปอีกว่า ดูกรอานนท์ เรา
    ตถาคตบัญญัติศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลพระปาติโมกข์ไว้หลายประเภทนั้น ก็เพราะอยากให้สัตว์ยกตนออกจากกองกิเลส ถ้าบุคคล
    จำพวกใดตั้งอยู่ในศีล ๕ บุคคลจำพวกนั้นก็บางจากกิเลสชั้นหนึ่ง ตั้งอยู่ในศีล ๘ ก็บางจากกิเลส ๒ ชั้น ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ ก็บางจาก
    กิเลส ๓ ชั้น ผู้ตั้งอยู่ในพระปาติโมกข์ ก็บางจากกิเลส ๔ ชั้น
    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้บำเพ็ญศีลน้อยศีลมากประเภทใดประเภท
    หนึ่ง ก็เพื่อให้รู้ซึ่งการละกิเลสแลยกตนให้พ้นจากกิเลส เมื่อไม่รู้เช่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนหลง
    ส่วนผลอานิสงส์ที่ได้บำเพ็ญศีล
    นั้น เราตถาคตได้กล่าวอยู่ว่ามีผลอานิสงส์จริงแต่ว่ามีอานิสงส์น้อยแลผิดจากทางพระนิพพาน
    ถ้าเข้าใจว่าการรักษาศีลเพื่อจะยก
    ตนให้พ้นจากกิเลส รักษาศีล ๕ ได้แล้ว จงเพียรพยายามรักษาศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลพระปาติโมกข์เป็นลำดับไป เพื่อจะยกตน
    ให้พ้นจากกองกิเลสทีละเล็กทีละน้อยตามลำดับ เมื่อเราตั้งอยู่ในศีลประเภทใดก็ตั้งใจรักษาโดยเต็มความสามารถ รู้ดังนี้
    จึงมีผลอานิสงส์มาก ไม่เป็นคนหลง แลตรงต่อทางพระนิพพานโดยแท้

    ดูกรอานนท์ กุลบุตรผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาเป็นศิษย์แห่งเราตถาคตนี้ ก็หวังเพื่อความระงับดับกิเลส ไม่อยากเกิด
    ในโลกสืบต่อไป เพราะกิเลสนั้นเป็นเชื้อสายสืบโลก บันดลบันดาลใจให้ยินดีไปในทางโลก ครั้นเกิดมาแล้วก็ให้เจ็บ ไข้ แก่ ตาย แล
    ให้ฉิบหาย พลัดพรากจากกัน ให้รัก ให้ชัง ให้อด ให้ดี ให้ด่า ให้อยาก ให้ทุกข์ ให้ยากเข็ญใจ อาการกิริยาแห่งกิเลสเป็นเช่นนี้ เรา
    ตถาคตจึงทรงอนุญาตให้บวช เพื่อความระงับดับกิเลส
    ไม่ให้เกิดมีเป็นเชื้อสายสืบโลกต่อไป เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ตั้งใจรักษาศีล
    เพื่อให้ดับกิเลส แลตรึกตรองหาอุบายเพื่อทำลายกิเลสอันเป็นต้นเค้าให้ขาดสูญ การรักษาศีลพระปาติโมกข์ก็ดี การรักษาข้อวัตรใน
    ธุดงค์ ๑๓ นั้นก็ดี ก็เป็นอันประมวลลงในศีลนั้นทุกอย่าง มิใช่ว่าจะรักษามากมายหลายสิ่งหลายอย่างจนสิ้นจนหมดหามิได้ รักษาศีล
    พระปาติโมกข์ก็ดี รักษาธุดงควัตร ๑๓ ก็ดี ก็ไม่มีเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เพื่อความระงับดับกิเลสอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อรู้ว่ากิเลส
    เป็นเค้าเงื่อนแห่งกองทุกข์ กองโทษ กองบาป กองกรรม เช่นนั้นแล้ว ข้อวัตรอันใดที่เป็นไปเพื่อจะยกตนออกจากกิเลสได้ ก็จง​
    กระทำข้อวัตรนั้นให้บริบูรณ์เถิด
     
  6. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    การบวชเพื่อระงับกิเลสเท่านั้น จึงจะเป็นทางสู่พระนิพพาน​
    การรักษาศีลพระปาติโมกข์ แลรักษาธุดงควัตรทุกอย่าง เมื่อมิได้เข้าใจว่า เพื่อความระงับดับกิเลส ก็ชื่อว่าเป็น
    การรักษาเปล่าๆ ​
    เมื่อเรารู้ว่ารักษาเพื่อระงับดับกิเลส ไม่ได้รักษาเพื่ออย่างอื่นแล้ว แม้จะรักษาแต่เล็กแต่น้อยโดยเอกเทศ ไม่ครบ
    ตามจำนวนในพระปาติโมกข์ ในจำนวนแห่งธุดงควัตร ก็ได้ชื่อว่าเป็นอันรักษาครบทุกอย่าง เพราะจับต้นจับรากเหล้าแห่งกิเลสได้
    แล้ว เปรียบดังบุรุษตัดต้นไม้ ถ้าตัดเหง้าตัดรากแก้วขาดแล้ว กิ่งก้านสาขาแม้ไม่ต้องตัดก็ตายเอง ถ้าไปตัดรอนแต่กิ่งก้านสาขา
    รากเหง้าไม่ได้ตัด ต้นไม้นั้นก็อาจงอกงามขึ้นได้อีก
    ดูกรอานนท์ บุคลที่บวชในพระพุทธศาสนานี้ก็เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดต้นไม้ฉะนั้น
    การบวชมิใช่ว่ามุ่งประโยชน์อย่าง
    อื่น บวชเพื่อระงับดับกิเลสเท่านั้น ถ้าไม่หวังเพื่อความดับกิเลสแล้ว ไม่ต้องบวชดีกว่า
    การที่บวชโดยที่ไม่ได้มุ่งเพื่อการ
    ดับกิเลส แม้จะมีความรู้วิเศษสักปานใด ก็ได้ชื่อว่ารู้เปล่าๆ แต่ว่าการที่เป็นผู้มีความรู้ความฉลาดนั้น เรามิได้ติว่าเป็นผู้
    ไม่รู้ ไม่ดี ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นกุศล ก็คงเป็นอันรู้อันดีเป็นบุญเป็นกุศลอยู่นั่นเอง แต่ว่าเป็นความรู้ที่ผิดจากทางพระ
    นิพพาน
    ดูกรอานนท์ เราตถาคตเทศนาไว้โดยอเนกปริยายนั้น ก็เพื่อจะให้หมู่ปุถุชนคนเขลาเห็นเป็นอัศจรรย์แลเพื่อให้
    ได้รับความเชื่อความเลื่อมใส

    พาลชนสั่งสอนได้น้อย เพราะถือว่าตนดีแล้ว​
    เมื่อพาลชนทั้งหลายไม่เห็นเป็นอัศจรรย์แล้ว ก็จักไม่มีความเชื่อ ความเลื่อมใสในคุณของพระตถาคต ถ้ากล่าว
    แต่น้อยพอเป็นสังเขปก็ไม่เข้าใจ ไม่เหมือนผู้ที่มีบุญมีวาสนา แม้จะกล่าวแต่เพียงเล็กน้อยก็เข้าใจ ได้มากมายหลายอย่าง
    หลายนัย ธรรมชาติผู้ที่มีปัญญาแท้ ไม่ต้องกล่าวอะไรเลย ก็รู้ได้ด้วยปัญญาของตนเอง ไม่ต้องให้กล่าวเป็นการลำบาก
    เราตถาคตได้รับความลำบากเพราะพาลปุถุชนเท่านั้น ว่ากล่าวสั่งสอนแต่เพียงเล็กน้อยก็ไม่เข้าใจ เพราะเขาถือว่าเขาดี
    เสียแล้ว แท้ที่จริงความรู้ของเหล่าพาลชน จะรู้ดีไปสักเท่าไร ก็ดีอยู่แต่เพียงมีลมอัสสาสะ ปัสสาสะเท่านั้น ถ้าลมอัสสาสะ
    ปัสสาสะขาดแล้ว ก็มีแต่เน่าเป็นเหยื่อหนอน นอนกลิ้งเหนือแผ่นดิน จะหาสาระสิ่งใดไม่ได้เลย มีแต่เครื่องอสุจิเต็มไปสิ้น
    ทั้งนั้น จะถือแต่ว่าตัวมีความรู้ความดี เมื่อมีความรู้ความดีแล้วจะไม่ตายหรือ จะมีความรู้มากรู้มายสักเท่าใดก็คงไม่พ้น
    ตายไปได้ จะมีความรู้ดีวิเศษไปเท่าไร ก็รู้ไป หากตายจะมีความรู้ดีไปเท่าไร ก็รู้อยู่บนแผ่นดิน จะรู้จะดีให้พ้นแผ่นดินไป
    ไม่ได้ เมื่อลมยังมีก็อยู่เหนือแผ่นดิน เมื่อลมออกแล้วก็คงอยู่เหนือแผ่นดินนั้นเอง จะพ้นจากแผ่นดินไปไม่ได้ แลจะมาถือ
    ตัวว่าตนอยู่นั้นเพื่อประโยชน์อะไร ส่วนของเน่าของเหม็นมีอยู่เต็มตัวก็ไม่รู้ไม่เห็น เห็นแต่ว่าตัวรู้ตัวดี ถือเนื้อถือตัวอยู่
    เราตถาคตเบื่อหน่ายความรู้ความดีของพาลปุถุชนมากนัก​
    ผู้ต้องการพระนิพพานแล้ว ไม่ควรจะถือว่าตัวรู้ตัวดี​
    ดูกรอานนท์ ​
    ธรรมดาบุคคลผู้ที่เป็นนักปราชญ์มีปรีชาทั้งหลายย่อมไม่ถือเนื้อถือตัวว่า เรารู้เราดีอย่างนั้นอย่างนี้
    ท่านจะมีความรู้มากมายเท่าไร ก็มิได้ถือเนื้อถือตัวเหมือนอย่างพาลปุถุชน
    พวกพาลปุถุชนที่เขาห่างไกลจากพระนิพพาน ก็
    เพราะเหตุที่เขาถือเนื้อถือตัว การถือเนื้อถือตัวมีมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ห่างไกลจากพระนิพพานมากเท่านั้น เหตุว่าประตูเมืองพระ
    นิพพานนั้นคับแคบนักหนา ผมเส้นเดียวผ่าออกเป็น ๓ เสี้ยว เอาแต่เสี้ยวเดียวไปแยงเข้าที่ประตูพระนิพพานก็ยังคับแคบเข้าไม่ได้
    เพราะฉะนั้น เมื่อท่านต้องการพระนิพพานแล้ว ไม่ควรจะถือว่าตัวรู้ตัวดี เป็นผู้ใหญ่เป็นผู้สูงศักดิ์กว่า
    ท่านยิ่งถือตนถือตัวขึ้น
    เท่าใด ก็ยิ่งให้คับประตูพระนิพพานเข้าเท่านั้น จึงว่าพาลปุถุชนทั้งหลายเป็นผู้ห่างไกลจากพระนิพพาน ด้วยเหตุที่เขามัว
    ถือเนื้อถือตัวว่าตัวรู้ตัวดีอยู่

    ผู้มีปัญญาเลือกรักษาศีล ข้อวัตรแต่เล็กน้อย ก็ย่อมได้รับความสุขกายสบายใจ​
    ดูกรอานนท์ บุคคลที่เข้ามาบวชเป็นลูกศิษย์ของพระตถาคตแล้ว ยังปล่อยให้ตนได้รับความทุกข์อยู่ ผู้นั้นเรากล่าวว่าเป็น
    พาลปุถุชนคือเป็นคนโง่เขลา ผู้ที่ไร้ปัญญาเช่นนั้น จะเรียกว่าเป็นศิษย์ของพระตถาคตยังไม่ได้ เมื่อบวชแล้วประพฤติตัวให้เป็นสุข
    อยู่ทุกเมื่อนั่นแล จึงจะเป็นลูกศิษย์ของพระตถาคตแท้ เราตถาคตหวังเพื่อความสุขจึงได้ออกบวช เมื่อบวชแล้วมาทำตนของตนให้
    เป็นทุกข์ บุคคลผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญาหาที่เปรียบมิได้ ถ้าบุคคลผู้มีปัญญาแล้วไม่ทำตัวให้เป็นทุกข์เลย บุคคลผู้ไม่มี
    ปัญญาจึงทำตัวให้เป็นทุกข์ ไม่เฉพาะแต่นักบวชจำพวกเดียว แม้คฤหัสถ์ถ้าหาปัญญามิได้ก็ได้รับความทุกข์ยากลำบากเหมือนกัน​
    ปราชญ์ผู้มีปรีชา เมื่อออกบวชแล้ว ท่านย่อมพิจารณาเห็นแจ้งซึ่งประโยชน์และสิ่งซึ่งมิใช่ประโยชน์ ท่านพิจารณาเห็น
    แจ้งซึ่งศีลและข้อวัตรที่หนักและเบาแล้ว ท่านไม่ต้องรักษามากมายหลายอย่าง หลายประการนัก เลือกรักษาแต่เล็กแต่
    น้อย ก็ย่อมได้รับความสุขกาย สบายใจ ผู้ที่โง่เขลาเบาปัญญานั้น ย่อมรักษามากมายหลายอย่างต่างๆ นานา เพราะเหตุ
    ที่ต้องรักษามากเกินไปจึงเป็นทุกข์​
    ผู้ที่มีปัญญาแล้ว ย่อมเลือกรักษาแต่สิ่งที่จริงที่แท้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็ย่อมนำมาซึ่งความสุข เปรียบเหมือนบุคคลผู้
    ฉลาด ไปตัดไม้ในป่ามาทำกิจอย่างหนึ่ง เมื่อตัดไม้แล้วก็ถากเปลือกและกระพี้ทิ้งเสีย เหลือไว้แต่ที่ต้องการ แล้ววัดตัดเอาแต่พอแก่
    การงานของตัวเท่านั้น ไม่ต้องลำบากแก่การแบกการหาม ส่วนบุคคลผู้ที่ไม่ฉลาด ไม่รู้เท่าต่อการงานที่พึงจะทำ เมื่อไปตัดไม้ได้แล้ว
    จะถากเอาแต่ที่ต้องการก็กลัวจะเสียเพราะตัวไม่เข้าใจการงาน ต้องแบกมาทั้งเปลือกทั้งกระพี้ทั้งส่วนยาว ได้รับความเหนื่อยหนัก
    อย่างทวีคูณ ก็เพราะความที่ตัวเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา​
    ดูกรอานนท์ การที่รักษาแก้วไม่ดีไม่มีราคา แม้จะรักษามากหลายพันดวง ก็สู้ผู้ที่รักษาแก้วที่ดีที่มีราคาดวงเดียว
    ไม่ได้ ​
    แก้วที่ไม่ดีไม่มีราคาจะขายก็ไม่ได้ จะเก็บไว้ก็ไร้ประโยชน์ ตกลงต้องรักษาไปเปล่าๆ ส่วนแก้วที่มีราคานั้น จะขายก็ได้เงิน
    มาก หากจะเก็บไว้ก็เป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ตน
    การเรียนมนต์แลเรียนคาถาที่ไม่ดีไม่ขลังแม้จะเรียนตั้งร้อยตั้งพันบทก็สู้
    มนต์คาถาที่ดีที่ขลังบทเดียวไม่ได้ แม้การที่รักษาพระวินัยบัญญัติแลข้อวัตรก็เหมือนกันเช่นนั้น เมื่อรู้ประโยชน์แห่งศีล
    และข้อวัตรแล้ว ก็ไม่ต้องรักษามาก
    เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจก็รักษาพร่ำเพรื่อไปจนไม่มีเขตแดน จึงต้องได้รับความลำบาก เหมือนผู้ที่
    ไม่รู้การงานต้องแบกเอาไม้ทั้งเปลือกทั้งกระพี้
    ผู้ที่มีปรีชาท่านรักษาวินัยและข้อวัตรไม่มาก แต่หากได้รับอานิสงส์เพียงพอ
    เหมือนอย่างผู้รักษาแก้วดีดวงเดียว หรือผู้ที่เรียนมนต์และคาถาที่ดีที่ขลังบทเดียวเท่านั้น ก็ให้สำเร็จประโยชน์ได้เต็มที่

    ฉะนั้น
     
  7. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ดับกิเลสตัณหาได้มากเท่าไร ก็เป็นบุญเป็นกุศลมากเท่านั้น​
    ดูกรอานนท์ การที่เราตถาคตต้องการให้บวชนั้นก็เพื่อจะให้ได้บุญและกุศล อะไรชื่อว่าเป็นตัวบุญตัวกุศล ตัวบุญตัวกุศล
    นั้นไม่ใช่สิ่งอื่นคือความดับเสียซึ่งกิเลส การรักษากิจวัตรแลพระวินัยอย่างไรก็ตาม ​
    ถ้าดับกิเลสได้มากก็เป็นบุญมาก ถ้าดับกิเลส
    ได้น้อยก็เป็นบุญน้อย ถ้าดับกิเลสไม่ได้ก็ไม่เป็นบุญเลย บาปอกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นคือตัวกิเลสนั้นเอง กิเลสก็คือตัวตัณหา
    นั้นเอง ดับกิเลสตัณหาได้เท่าใดก็เป็นบุญเท่านั้น ถ้าดับกิเลสตัณหาไม่ได้ก็เป็นอันไม่ได้บุญไม่ได้กุศลเลย
    ผู้ที่ไม่รู้จักบุญและบาปนั้นมาทำความเข้าใจว่าบวชรักษาข้อวัตรรักษาศีลเอาบุญ บุญนั้นมีอยู่นอกตนนอกตัว มี
    อยู่ที่ดินฟ้าอากาศเมื่อบวชได้รักษากิจวัตรแล้ว บุญนั้นจักเลื่อนลอยมาจากสถานที่ต่างๆ มีนภาลัย เวหากาศ เป็นต้น มา
    นำเอาตัวขึ้นไปสู่สวรรค์ และพระนิพพาน เห็นไปโดยผิดทางเช่นนี้ ล้วนแต่เป็นคนหลงทั้งสิ้น

    ดูกรอานนท์ ​
    ผู้ที่ไม่รู้จักบาป เข้าใจว่าบาปนั้นอยู่นอกตนนอกตัว เมื่อทำบาปแล้ว บาปนั้นก็จะลุกมาแต่นรกใต้
    พื้นดิน มาจับกุมคุมเอาตัวลงไปสู่นรก การทำความเข้าใจอย่างนี้ ย่อมเป็นคนหลงทั้งนั้น

    ดูกรอานนท์ ​
    สุขก็ดีทุกข์ก็ดี บาปบุญคุณโทษก็ดี ย่อมอยู่ที่เรา จะเข้าใจว่าบาปบุญอยู่ภายนอกตัว ทำบุญแล้วคอย
    ท่านบุญจักมานำเอาตัวไปสู่สุคติ คิดอย่างนี้ตั้งร้อยชาติแสนชาติก็ไม่อาจได้
    อันว่าบุญบาปสุขทุกข์ย่อมไม่มี ณ ภายนอกตัว
    บุญกุศลแลความสุขนั้นก็คือดวงจิต ส่วนบาปกรรมทุกข์โทษนั้นคือหมู่แห่งตัณหา ตัณหานั้นจักมี ณ ที่อื่น นอกจากตัวตนของเรา
    แล้วไม่มี
    ตัวบุญแลตัวบาปก็อยู่ที่ใจของเรา เมื่อตัวไม่ชอบทุกข์ อยากได้ความสุขก็จงพยายามแก้ใจของเรานั้นเถิด ถ้าเรา
    ไม่เป็นผู้แสวงหาความสุขและให้พ้นจากทุกข์แล้ว ใครเขามาช่วยตัวเราให้พ้นจากทุกข์ให้ได้รับความสุขได้เล่า เพราะสุข
    ทุกข์อยู่ที่ตัวของเรา เมื่อเราหามิได้แล้ว ใครคนอื่นที่ไหนเขาจะมาหาให้เราได้

    บุญกุศล สวรรค์ และนิพพาน เกิดจากตัวเราเอง ไม่มีผู้ใดนำมาให้​
    ดูกรอานนท์ ​
    บุคคลผู้ที่เข้าใจว่าบุญกุศล สวรรค์ แลพระนิพพานมีผู้นำมาให้ บาปกรรมทุกข์โทษ นรกและสัตว์
    ดิรัจฉานมีผู้พาไปทั้งสิ้น บุคคลผู้ที่เข้าใจอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้หลงโลก หลงทาง หลงสงสาร
    บุคคลจำพวกนั้น แม้จะทำบุญให้
    ทานสร้างกุศลใดๆ ที่สุดจนออกบวชในพระพุทธศาสนาก็หาความสุขมิได้ จะได้เสวยแต่ความทุกข์โดยถ่ายเดียว
    ดูกรอานนท์ บุญ
    กับสุข หากเป็นอันเดียวกัน เมื่อมีบุญก็ชื่อว่ามีความสุข บาปกับทุกข์ก็เป็นอันเดียวกัน เมื่อมีบาปก็ได้ชื่อว่าทุกข์ ถ้าไม่รู้
    บาปก็ละบาปไม่ได้ ถ้าไม่รู้จักบุญก็หาบุญไม่ได้
    เปรียบเหมือนเราอยากได้ทองคำ แต่เราหารู้ไม่ว่าทองคำนั้นมีรูปพรรณสัณฐาน
    อย่างไร ถึงทองคำนั้นมีอยู่แลเห็นอยู่เต็มตา ก็ไม่อาจถือเอาได้โดยเหตุที่ไม่รู้จักอยู่เต็มตา ก็ไม่อาจถือเอาได้โดยเหตุที่ไม่รู้จัก
    แม้
    บุญก็เหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักบุญก็หาบุญไม่ได้
    อย่าว่าแต่บุญซึ่งเป็นของไม่มีรูปร่างเลย แม้แต่สิ่งของอื่นๆ ที่มีรูปร่าง ถ้า
    หากว่าเราไม่รู้จักก็ถือเอาไม่ได้

    ดูกรอานนท์ ​
    บุคคลที่ไม่รู้จักบุญแลไม่รู้จักสุข ทำบุญจะไม่ได้บุญไม่ได้สุขเสียเลยเช่นนั้น ตถาคตก็หากล่าวปฏิเสธ
    ไม่ ทำบุญก็คงได้บุญแลได้สุขอยู่นั้นแล บุญแลความสุขก็บังเกิดอยู่ที่ตัวเรานั้นเอง แต่ทว่าตัวหากไม่รู้ไม่เข้าใจ จึงเป็น
    อันมีบุญแลสุขไว้เปล่าๆ
    ดูกรอานนท์ บุคคลจำพวกที่ไม่รู้จักบุญคือความสุข เมื่อทำบุญแล้วปรารถนาเอาความสุขน่า
    สมเพชเวทนานักหนา ตัวทำบุญก็ได้บุญในทันใดนั้นเอง มิใช่ว่าเมื่อทำแล้วนานๆ จึงจักได้ ทำเวลาใดก็ได้เวลานั้น แต่ตัว
    ไม่รู้ นั่งทับนอนทับบุญอยู่เปล่าๆ ตัวก็ไม่ได้รับบุญคือความสุข เพราะตัวไม่รู้จึงว่าเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ พบ
    พระพุทธศาสนา
    พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ด้วยประการดังนี้
    ข้าแต่พระมหากัสสปะผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า
    อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลที่เข้าใจว่าทำบุญไว้
    มากๆ แล้ว จะรู้แลไม่รู้ก็ไม่เป็นไร บุญหากจักพาไปให้ได้รับความสุขเองเช่นนี้ชื่อว่าเป็นคนหลงโดยแท้ เพราะเหตุไรบุญ
    จึงจักพาตัวไปให้ได้รับความสุข เพราะบุญกับสุขเป็นอันเดียวกัน เมื่อไม่รู้สุขก็คือไม่รู้บุญ เมื่อเรารู้สุข เห็นสุข ก็คือเรารู้
    บุญ เห็นบุญนั้นเอง จะให้ใครพาไปหาใครที่ไหน

    จะไปสวรรค์ พระนิพพาน ต้องไปด้วยตนเอง จะพาเอาคนอื่นไปด้วยไม่ได้​
    ดูกรอานนท์ สุขทุกข์นี้ใครจักช่วยใครไม่ได้ ใครจะพาใครไปนรก แลสวรรค์ แลพระนิพพานนั้นไม่ได้ ​
    จะไปนรกหรือจะไป
    สวรรค์และพระนิพพานต้องไปด้วยตนเอง จะพาเอาคนอื่นไปด้วยไม่ได้เป็นอันขาด
    ก็แลผู้ใดอยากพ้นนรกสุกในเมืองผีก็จง
    ทำตนให้พ้นจากนรกดิบ ในเมืองคนเรานี้เสียก่อน จึงจะพ้นจากนรกสุกในเมืองผีได้ ถ้าอยากได้ ความสุขในภายหน้า ก็จงทำตนให้
    ได้ให้ถึงสวรรค์ดิบในเมืองคนเรานี้เสียก่อน ถ้าไม่ได้สวรรค์ดิบในเมืองคนนี้ แม้เมื่อตายไปแล้ว ก็ไม่อาจได้สวรรค์สุกเลย ถ้าไม่ได้
    สวรรค์ดิบไว้ก่อนแล้ว ตายไปก็มีนรกเป็นที่อยู่โดยแท้ แม้ความสุขในสวรรค์ก็ยังไม่ปราศจากทุกข์ มิใช่ว่าจะมีทุกข์แต่สวรรค์ดิบใน
    เมืองคนเรานี้เท่านั้นก็หามิได้ ถึงสวรรค์สุกในชั้นฟ้าชั้นใดๆ ก็ดี สุขกับทุกข์ก็มีอยู่เสมอกัน เป็นความสุขที่ยังไม่ปราศจากทุกข์
    ไม่เหมือนพระนิพพานซึ่งเป็นเอกันตบรมสุข มีแต่สุขโดยส่วนเดียว ไม่ได้เจือปนด้วยทุกข์เลย

    ดูกรอานนท์ อันว่าสวรรค์ดิบในเมืองคนเรานี้ ก็คือความได้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ในสมบัติข้าวของ และเกียรติยศ
    บริวารยศและนามยศ ​
    เมื่อบุคคลผู้ใดได้เป็นเจ้าเป็นใหญ่เช่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้เสวยสุขในสวรรค์ดิบ ผู้ปรารถนาความสุขในภาย
    ภาคหน้า ก็จงให้ได้รับความสุข แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ อย่าเห็นแก่ความลำบากยากแค้น ในสวรรค์ชั้นใดๆ จะเป็นสวรรค์ดิบในเมืองคน
    หรือสวรรค์สุกในเมืองฟ้าทุกชั้น ย่อมเจือปนอยู่ด้วยทุกข์ทั้งนั้น ไม่แปลกต่างกัน และไม่มากไม่น้อยกว่ากัน ความสุขในสวรรค์ก็เป็น
    ความสุขจริง จะว่าไม่สุขนั้นไม่ได้ แต่ว่าเป็นสุขที่เจืออยู่ด้วยทุกข์ แม้ถึงกระนั้นก็คงดีกว่าตกอยู่ในนรกโดยแท้
    ดูกรอานนท์
    สวรรค์ดิบในชาตินี้กับสวรรค์สุกในชาติหน้า อย่าสงสัยว่าจะต่างกัน ถึงจะต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อย
    เมื่อต้องการความสุขเพียงใด ก็จงพากเพียรให้ได้แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ในเมืองคนนี้ จะนั่งจะนอนคอยให้สุขมาหานั้นไม่ได้
    ไม่เหมือนพระนิพพาน ความสุขในพระนิพพานนั้นไม่ต้องขวนขวาย เมื่อจับถูกที่แล้วนั่งสุขนอนสุขได้ทีเดียว
    ความสุขใน
    พระนิพพานจะว่ายากก็เหมือนง่าย จะว่าง่ายก็เหมือนยาก ที่ว่ายากนั้นเพระไม่รู้ไม่เห็นพาลปุถุชนคนตามืดทั้งหลายรู้ไม่ถูกที่ เห็น
    ไม่ถูกที่ จับไม่ถูกที่ จึงต้องพากเพียรพยายามหลายอย่าง หลายประการ และเป็นการเปล่าจากประโยชน์ด้วย ส่วนท่านที่มีปัญญา
    พิจารณาถูกที่จับถูกที่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรให้ยากหลายสิ่งหลายอย่าง นั่งๆ นอนๆ อยู่เปล่าๆ เท่านั้น ความสุขในพระนิพพานก็มา
    บังเกิดขึ้นแก่ท่านได้เสมอ เพราะเหตุฉะนั้นจึงว่า ความสุขในพระนิพพานไม่เป็นสุขที่เจือปนไปด้วยทุกข์
    อยากรู้ว่าได้รับความสุขหรือทุกข์ ให้สังเกตที่ใจของเรา ในเวลาที่ยังไม่ตาย
    ดูกรอานนท์
    เมื่ออยากรู้ว่า เราจะได้รับความสุขในสวรรค์หรือจะได้รับความทุกข์ในนรก ก็จงสังเกตดูใจของเรา
    ในเวลาที่ยังไม่ตายนี้
    ใจของเรามีสุขมากหรือมีทุกข์มาก ทุกข์เป็นส่วนนรกดิบ เมื่อตายแล้วก็ต้องไปตกนรกสุก สุขเป็นส่วนสวรรค์
    ดิบเมื่อตายแล้วก็ได้ขึ้นสวรรค์สุก
    เมื่อยังเป็นคนอยู่ มีสุขหรือมีทุกข์มากเท่าใด แม้เมื่อตายไปก็คงมีสุขและมีทุกข์มาก
    เท่านั้น ไม่มีพิเศษกว่ากัน บุคคลผู้ปรารถนาความสุขในภพนี้และภพหน้าแล้ว จงรักษาให้ได้รับความสุขส่วนตัวตน

    ร่างกายข้างนอกนั้นไม่สำคัญ จักได้รับความสุขความทุกข์ประการใดก็ช่างเถิด เมื่อตายแล้ว ก็ทิ้งอยู่เหนือแผ่นดินหา
    ประโยชน์มิได้ ส่วนใจนั้นเป็นของติดตามตนไปในอนาคตเบื้องหน้าได้ เพราะจิตใจเป็นของไม่ตาย ที่ว่าตายนั้น ตายแค่
    รูปร่างกาย ธาตุแตก ขันธ์ดับเท่านั้น ถ้าจิตใจตายแล้วก็ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องตายต่อไปอีก กล่าวคือถึงพระนิพพาน
    ดูกรอานนท์ ในอดีตชาติ เราตถาคตก็ได้หลงท่องเที่ยวอยู่ในสงสารวัฏนี้ช้านาน นับด้วยร้อยด้วยพันแห่งชาติเป็นอันมาก
    ทำบุญทำกุศลก็ปรารถนาแต่จักให้พ้นทุกข์ให้เสวยสุขในเบื้องหน้า เข้าใจว่าตายแล้วจึงจะพ้นจากทุกข์ ครั้นเมื่อตายจริงก็ตายแต่
    ธาตุแต่ขันธ์เท่านั้น ส่วนใจนั้นไม่ตายจึงต้องไปเกิดอีก เมื่อไปเกิดอีกก็ต้องตายอีก เป็นเช่นนี้จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร ที่นิยมกันว่าตาย
    ก็คือตายเน่าตายเหม็นกันอยู่อย่างทุกวันนี้ ชื่อว่าตายเล่นตายไม่จริง ตายแล้วเกิดๆ แล้วตาย หาต้นหาปลายมิได้ ที่ตายแท้ ตายจริง
    คือตายทั้งรูปแตก ขันธ์ดับ ตายทั้งจิตทั้งใจ มีแต่พระพุทธเจ้ากับเหล่าพระอรหันตขีณาสพเท่านั้น ท่านเหล่านี้ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
    ดูกรอานนท์ ในอดีตชาติเมื่อเรายังไม่รู้ เข้าใจว่าตายแล้วจึงจะพ้นทุกข์ ทำบุญทำกุศลก็มุ่งเอาแต่ความสุขในเบื้อง
    หน้า ครั้นตายไปก็หาได้พ้นจากทุกข์ตามความประสงค์ไม่ มาในปัจฉิมชาตินี้ เราจึงรู้ว่า สวรรค์แลพระนิพพานนี้มีอยู่ที่
    ตัวนี้เอง เราจึงได้รีบเร่งปฏิบัติให้ได้ถึงแต่เมื่อยังเป็นคนอยู่ จึงพ้นจากทุกข์และได้เสวยสุขอันปราศจากอามิส เป็นพระ​
    บรมครูสั่งสอนเวไนยสัตว์อยู่ทุกวันนี้ ข้าแต่พระมหากัสสปะ ผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแกข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล
     
  8. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    สวรรค์ นิพพานต้องทำเอง ด้วยการดับกิเลสตัณหา พระพุทธเจ้าบอกให้รู้แต่ทางไปเท่านั้น​
    ตทนนฺตรํ ​
    ลำดับนั้น พระพุทธเข้าจึงตรัสเทศนาสืบไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ ความทุกข์ในนรกและความสุขใน
    สวรรค์และพระนิพพานนั้นใครจะช่วยใครไม่ได้ เมื่อใครชอบอย่างใดก็ทำอย่างนั้น แม้เราตถาคตก็ช่วยใครให้พ้นทุกข์ และช่วยใคร
    ให้ได้สวรรค์และพระนิพพานไม่ได้ ได้แต่เพียงสั่งสอนชี้แจงให้รู้สุขรู้ทุกข์ ให้รู้สวรรค์ ให้รู้พระนิพพาน ด้วยวาจาเท่านั้น
    อันกอง
    ทุกข์ โทษ บาปกรรมทั้งปวงนั้น ก็คือตัวกิเลสตัณหา ครั้นดับกิเลสตัณหาได้แล้ว ก็ไม่ต้องตกนรก ถ้าดับกิเลสตัณหาได้
    มาก ก็ขึ้นไปเสวยสุขอยู่ในสวรรค์ ถ้าดับกิเลสตัณหาได้สิ้นเชิง หาเศษมิได้แล้ว ก็ได้เสวยสุขในพระนิพพานทีเดียว เรา
    ตถาคตบอกให้รู้แต่ทางไปเท่านั้น ถ้าผู้รู้ทางแห่งความสุขแล้วประพฤติตาม ปฏิบัติตาม ก็ได้ประสบสุขสมประสงค์
    อย่าว่า
    แต่เราตถาคตเลย แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้วนับไม่ถ้วนก็ดี และจักมาตรัสรู้ในกาลภายหลังก็ดี จักมาช่วยพาเอาสัตว์
    ทั้งหลายไปให้พ้นจากทุกข์ แล้วให้ได้เสวยสุขเช่นนั้นไม่มี มีแต่มาแนะนำสั่งสอน ให้รู้สุข รู้ทุกข์ รู้สวรรค์ แลพระนิพพาน อย่าง
    เดียวกันกับเราตถาคตนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณ มีอาการเหมือนอย่างเราตถาคตนี้ทุกๆ องค์ บุคคลจำพวกใด
    เข้าใจว่า พระพุทธเจ้าต่างกันด้วยศีล ด้วยฌาน ด้วยญาณด้วยอิทธิ บุคคลจำพวกนั้นเป็นคนหลง
    ผู้ที่ได้นามว่าพระพุทธเจ้านั้น ต้องมีทศพลญาณสำหรับขับขี่เข้าสู่พระนิพพานด้วยกันทุกองค์ จะได้เป็นพระพุทธเจ้าแต่เรา
    เอง พระองค์เดียวนั้นหามิได้ ผู้ใดมีทศพลญาณ ผู้นั้นได้ชื่อว่า พระพุทธเจ้าด้วยกันทุกองค์ ไม่ควรจะมีความสงสัย ญาณ ๑๐
    ประการนั้นเป็นเครื่องหมายของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีญาณ ๑๐ ประการแล้ว จะรู้ดี มีอิทธิ ดำดิน บินบนได้อย่างไรๆ ก็ตาม ก็ไม่
    เรียกว่าพระพุทธเจ้า
    ถ้ามีญาณ ๑๐ ประการแล้ว จะไม่มีอิทธาศักดานุภาพ อย่างไรก็ตาม ก็ให้เรียกท่านผู้นั้นว่า
    พระพุทธเจ้า เพราะทศพลญาณ ๑๐ ประการเป็นเครื่องหมายของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีเครื่องหมายอย่างนี้ ผู้ใดมีฤทธิ์มี
    เดชขึ้น ก็จักตั้งตัวเป็นพระพุทธเจ้าเต็มบ้านเต็มเมือง ก็จักเป็นทางแห่งความเสียหายวายโลกเท่านั้น

    ดูกรอานนท์ ทศพลญาณ ๑๐ ประการนั้นเป็นของสำคัญตั้งอยู่สำหรับโลกไม่มีผู้ใดแต่งตั้งขึ้น เป็นแต่เราตถาคตเป็นผู้รู้ผู้
    เห็นก่อน แล้วยกออกตีแผ่ให้โลกเห็น ​
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายบำเพ็ญญาณ ๑๐ ประการได้แล้ว ก็ขับขี่เข้าสู่พระนิพพาน เมื่อถึง
    พระนิพพานแล้วก็ปล่อยวางญาณนั้นไว้ให้แก่โลกตามเดิมหาได้เอาตัวตนจิตใจเข้าสู่พระนิพพานด้วยไม่
    เอาจิตใจไปได้
    เพียงนรก แลสวรรค์ แลพรหมโลกเท่านั้น ส่วนพระนิพพานนั้น ถ้าดับจิตใจไม่ได้แล้วก็ไปไม่ได้ ถ้าเข้าใจว่าจักเอาจิตใจไปเป็นสุขใน
    พระนิพพานแล้ว ต้องหลงขึ้นไปเป็นอรูปพรหมเป็นแน่

    การตกนรกและขึ้นสวรรค์จะเอาตัวไปไม่ได้ เอาแต่จิตไป​
    ดูกรอานนท์ ​
    การตกนรกแลขึ้นสวรรค์จะเอาตัวไปไม่ได้ เอาแต่จิตไป จิตนั้นใครจะจับต้องลูบคลำไม่ได้ เป็นแต่
    ลมเท่านั้น เพราะจิตเป็นของละเอียด ใครจะจับถือไม่ได้ เมื่อจิตไปตกนรก ใครจะไปช่วยยกขึ้นได้ ถ้าจิตนั้นเป็นตัวเป็น
    ตนก็พอช่วยกันได้ บุคคลจำพวกใดคอยท่าให้ผู้อื่นมาช่วยยกตัวให้พ้นจากทุกข์ นำตัวไปให้ได้เสวยสุข บุคคลจำพวกนั้น
    เป็นคนโง่เขลาหาปัญญามิได้
    แต่เราตถาคตรู้นรกสวรรค์ ทุกข์สุขอยู่แล้ว แลหาอุบายที่จะพ้นจากทุกข์ให้ได้เสวยสุข ก็เป็นการ
    แสนยากแสนลำบาก จะไปพาจิตใจของท่านผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ได้อย่างไร ถึงแม้พระพุทธองค์จะตรัสรู้ในเบื้องหน้าก็เหมือนกัน มี
    แต่แนะนำสั่งสอนให้รู้สุข ทุกข์ สวรรค์ แลพระนิพพานเท่านั้น
    ผู้ที่ต้องการสุขทุกข์อย่างใดนั้น แล้วแต่อัธยาศัย แต่ต้องศึกษา
    ให้รู้แท้แน่นอนแก่ใจเสียก่อนว่า ทุกข์ในนรกเป็นอย่างนั้น สุขในสวรรค์เป็นอย่างนั้น สุขในพระนิพพานเป็นอย่างนั้น
    เมื่อรู้แล้วยังจักมีทางได้ทางถึงบ้าง คงจักไม่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารเนิ่นนานเท่าไรนัก ถ้าไม่รู้แจ้งแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็
    ไม่อาจจักพ้นได้เลยและได้ชื่อว่าเป็นผู้เกิดมาเสียชาติเป็นมนุษย์เสียความปรารถนาเดิม ซึ่งหมายว่าจะเป็นผู้เกิดมาเพื่อ
    ความสุข ครั้นเกิดมาแล้วก็พลอยไม่ให้ตนได้รับความสุข ซ้ำยังทำตนให้จมอยู่ในนรก ทำให้เสียสัตย์ความปรารถนาแห่ง
    ตนน่าสังเวชสลดใจยิ่งนัก
    ข้าแต่พระมหากัสสปะผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ดังนี้แล

    สิ่งที่จะช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้มีแต่อำนาจแห่งกุศลผลบุญเท่านั้น​
    อิโต ปรํ คิริมานฺทสุตตํ อนุสนุธี ฆเฏตฺว่า ภาสิสฺสามีติ ​
    เบื้องหน้าแต่นี้ จักแสดงคิริมานนทสูตรสืบต่อไป มีคำพระ
    อานนท์ปฏิญญาว่าดังนี้
    ภนฺเต อริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ภควา อันว่าพระผู้มีพระภาค
    เจ้า
    เทเสสิ ก็ตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ สืบต่อไปว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าความทุกข์แลความสุขนั้นก็มีอยู่แต่นรกแลสวรรค์
    เท่านั้น ส่วนพระนิพพานมีอยู่นอกสวรรค์แลนรกต่างหาก
    บัดนี้จักแสดงทุกข์แลสุขในนรกแลสวรรค์ให้แจ้งก่อน จิตใจของเรา
    นี้เมื่อมีทุกข์หรือมีสุขแล้ว ใครจะสามารถมาช่วยยกออกจากจิตของเราได้ อย่าว่าแต่ตัวเราเลย แม้ท่านผู้อื่นเราก็ไม่
    สามารถจะช่วยยกออกได้ มีอาการเหมือนกันทุกรูปทุกนาม ทุกตัวตนสัตว์บุคคล

    อนึ่ง เมื่อท่านมีทุกข์แล้ว จะนำทุกข์ของท่านมาให้เราก็ไม่ได้ เรามีทุกข์แล้วจะนำทุกข์ไปให้ท่านผู้อื่นก็ไม่ได้ แม้ความสุขก็
    มีอาการเช่นกัน สุขแลทุกข์ไม่มีใครจะช่วยกันได้ ​
    สิ่งที่จะช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้ มีแต่อำนาจแห่งกุศลผลบุญ มีการให้ทานแล
    รักษาศีลเป็นต้นเท่านั้นที่จะเป็นผู้ช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้ มนุษย์แลเทวดาอินทร์พรหมแลใครๆ จะมาช่วยให้พ้นทุกข์และ
    ให้ได้เสวยสุขนั้นไม่ได้ ที่สุดแม้เราตถาคตผู้ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณเห็นปานนี้ ก็ไม่อาจช่วยใครได้ ได้แต่เป็นผู้ช่วยแนะนำ
    ตักเตือนให้รู้สุข ทุกข์ แลสวรรค์นรกเท่านั้น ตัวต้องยกตัวเอง ถ้ารู้แล้วว่านรกแลสวรรค์อยู่ที่ตัว แล้วยกตัวให้ขึ้นสวรรค์
    ไม่ได้ ก็ชื่อว่าเกิดมาเสียชาติและเสียเวลาที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา น่าเสียดายชาติที่ได้เกิดเป็นรูปร่างกาย มี
    อวัยวะพรักพร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง ทั้งได้พบพระพุทธศาสนาด้วย สมควรจะได้สวรรค์แลพระนิพพานโดยแท้ เหตุไฉนจึง
    เหยียบย่ำตัวเองให้จมอยู่ในนรกเช่นนั้น น่าสังเวชนัก

    สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ​
    ดูกรอานนท์ ​
    สุขทุกข์นั้นให้หมายที่จิต จิตสุขเป็นสวรรค์ จิตทุกข์เป็นนรก จะเข้าใจว่านรกแลสวรรค์มีอยู่นอกจิต
    นอกใจเช่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนหลงนรกแลสวรรค์ บาปบุญคุณโทษย่อมมีอยู่ในอกในใจทั้งสิ้น อยากพ้นทุกข์ก็ให้รักษา
    จิตใจจากสิ่งที่เป็นบาปเป็นทุกข์เสีย ถ้าต้องการสวรรค์ก็ทำการงานที่หาโทษมิได้
    เพราะการบุญการกุศลนั้นเมื่อทำก็ไม่เดือดร้อน แลเมื่อทำแล้วระลึกถึง ก็ให้เกิดความสุขสำราญบานใจทุกเมื่อ
    เช่นนี้ชื่อว่าเราได้ขึ้นสวรรค์ แลถ้าอยากได้สุขในพระนิพพาน ก็ให้วางเสียซึ่งสุขและทุกข์ คือวางจิตใจ อย่าถือว่าเป็น
    ของๆ ตน ก็ชื่อว่าได้ถึงพระนิพพาน เพราะว่าใจเป็นใหญ่ เป็นประธาน สุขทุกข์ทั้งสวรรค์แลพระนิพพานสำเร็จแล้วด้วย
    ใจ คือว่ามีอยู่ที่จิตใจของเราทั้งสิ้น
    บุคคลจำพวกใดไม่รู้ว่าของเหล่านี้มีในตนแล้วไปเที่ยวค้นคว้าหาในที่อื่นบุคคลจำพวกนั้นชื่อว่าเป็นคนหลงคน
    เมา เป็นผู้หนาอยู่ด้วยกิเลสตัณหามืดมนอยู่ด้วยมลทินแห่งนรก

    ดูกรอานนท์ สัตว์ที่ตกอยู่ในนรกมากมายนับมิได้ แน่นอัดยัดเยียดกันอยู่ในนรก ดังข้าวสาร หรือเมล็ดถั่ว เมล็ดงาใน
    กระสอบ แต่ก็ไม่เห็นกันได้ ด้วยเขาไม่รู้ไม่เห็นซึ่งนรก ไม่รู้ สุข ทุกข์ บาป บุญ คุณ โทษ ไม่รู้ว่าจิตของตนเป็นทุกข์เป็นสุข มีแต่มัว
    เมาอยู่ด้วยตัณหากาม ราคะกิเลส จึงชื่อว่าตกอยู่ในนรกยัดเยียดกันดังข้าวสารหรือเมล็ดถั่วเมล็ดงาในกระสอบร้องเรียกหากัน ไม่
    เห็นกัน คือไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นสุข แห่งกันและกัน เท่านั้นเอง​
    ผู้ที่รู้เห็นจิตใจของผู้อื่นได้นั้น มีแต่พระพุทธเจ้าแลพระอรหันต์เท่านั้น​
    ดูกรอานนท์ จิตใจนั้นใครไม่แลเห็นของกันแลกันได้ ​
    ผู้ที่รู้เห็นจิตใจของผู้อื่นได้นั้นมีแต่พระพุทธเจ้าและพรอรหันต์
    เท่านั้นพระพุทธเจ้าที่จะรู้เห็นจิตใจของผู้อื่นได้
    ก็ด้วยญาณแห่งพระอรหันต์ ถ้าละกิเลสตัวร้ายมิได้ คุณความเป็นแห่งพระ
    อรหันต์ก็ไม่มาตั้งอยู่ในสันดาน จึงไม่อาจหยั่งรู้วาระจิตของสัตว์ทั้งปวงได้ แม้พระตถาคตจะหยั่งรู้วาระจิตของสัตว์ทั้งปวงได้ก็เพราะ
    ปราศจากกิเลส คือความเป็นไปแห่งพระอรหันต์
    บุคคลผู้ไม่พ้นกิเลส คือ ไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์และจะมาปฏิญญาว่า รู้เห็น
    จิตแห่งบุคคลนั้น จะควรเชื่อฟังได้ด้วยเหตุใด ถึงแม้จะรู้ด้วยวิชาคุณอย่างอื่น รู้ด้วยสมาธิคุณ เป็นต้น ก็รู้ไปไม่ถึงไหน
    แม้จะรู้ผิดๆ ถูกๆ ไปอย่างนั้น จะรู้จริงแจ้งชัด ดังที่รู้ด้วยอรหันตคุณนั้นไม่ได้ ถ้าบุคคลที่ยังไม่พ้นกิเลส มีความรู้ดียิ่ง
    กว่าเราตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์แล้ว
    การที่เราตถาคตสละบุตร ภรรยา ทรัพย์สมบัติอันเป็นเครื่อง
    เจริญแห่งความสุขออกบวชนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้โง่เขลากว่าบุคคลจำพวกนั้น
    เพราะเขายังจมอยู่ในกิเลส แต่
    มีความรู้ดียิ่งกว่าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ไกลจากกิเลส ข้อที่ละกิเลสไม่ได้ คือไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์ แล้วจะมีปัญญารู้
    จิตใจแห่งสัตว์ทั้งหลาย ยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ หรือจะมีปัญญารู้เสมอกันนั้นไม่มีเลย ผู้ที่ยังละกิเลสไม่ได้ คือยัง
    ไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์มากล่าวว่า ตนรู้เห็นจิตใจของสัตว์ทั้งหลายนั้น กล่าวอวดเปล่าๆ ความรู้เพียงนั้นยังพ้นนรก
    ไม่ได้ ไม่ควรจะเชื่อถือ ถ้าใครเชื่อถือก็ชื่อว่าเป็นคนนอกพระศาสนา ไม่ใช่ลูกศิษย์ของเราตถาคต แท้ที่จริงหากเอาศาสน
    ธรรมอันวิเศษของเรานี้บังหน้าไว้ สำหรับหลอกลวงโลกเท่านั้น บุคคลจำพวกนี้ แม้จะทำบุญกุศลเท่าไรก็ไม่พ้นนรก แม้ผู้
    ที่มาเชื่อถือบุคคลจำพวกนี้ก็มีทุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเหมือนกัน
    ดูกรอานนท์ บุคคลจำพวกที่อวดรู้อวดดีอย่างนี้แหละจะเป็นผู้เบียดเบียนศาสนาของเราให้เศร้าหมองเสื่อมทราม
    ลงไป เมื่อเขาเกิดมาแล้ว ก็จะมาเบียดเบียนพระมหาเถระและสามเณรน้อย ด้วยถ้อยคำอันไม่เจริญใจ ผู้มีปัญญาน้อย ใจ
    เบา ก็จะพากันแตกตื่น สึกหาลาเพศออกจากศาสนา พระศาสนาของเราก็จักเสื่อมถอยลงไป
    ดูกรอานนท์ บุคคลจำพวกใด หากเบียดเบียนเสียดสีหมิ่นประมาทในพระสังฆเถระแลภิกษุสามเณรที่เป็นศิษย์ของพระ
    ตถาคตโดยที่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นมีโทษ ไม่มีปาราชิกและบังคับให้สึกออกจากเพศพรหมจรรย์ หรือกระทำปัพพาชนียกรรมไปเสีย
    ก็ดี บุคคลจำพวกนั้นเป็นบาปยิ่งนัก ไม่อาจพ้นนรกได้
    บุคคลจำพวกใดมีความเชื่อความเลื่อมใสในคุณธรรมคำสั่งสอนของ
    เราตถาคต แล้วเชิดชูยกย่องไว้ให้ดี มิได้ดูถูกดูหมิ่น บุคคลจำพวกนั้นก็จะมีความเจริญด้วยความสุข ทั้งในโลกนี้แล
    โลกหน้า แม้ปรารถนาสุขอันใดซึ่งไม่เหลือวิสัย ก็อาจสำเร็จสุขอันนั้นได้ตามปรารถนา

    บุคคลที่ทำลายพระพุทธรูป พระสถูป พระเจดีย์ แลตัดไม้ศรีมหาโพธิ์ แลบุคคลจำพวกที่กล่าวหมิ่นประมาท เย้ย
    หยันแก่สานุศิษย์ของเราตถาคตที่มีโทษไม่ถึงปาราชิก บุคคลจำพวกนี้มีโทษหนักยิ่งกว่า จำพวกที่ทำลายพระพุทธรูปแล
    พระสถูปพระเจดีย์นั้นหลายเท่า บุคคลที่ทำลายพระพุทธรูป เป็นต้นนั้น เป็นบาปมากก็จริงอยู่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นการทำลาย
    พระพุทธศาสนา ผู้ที่กล่าวหมิ่นประมาทนั้น ได้ชื่อว่าทำลายพระพุทธศาสนาของพระตถาคต เพราะว่าผู้ที่มีความผิด โทษไม่ถึง
    ปาราชิกนั้น ยังนับว่าเป็นลูกศิษย์ของเราตถาคตอยู่ ต่อเมื่อเป็นปาราชิกแล้วจึงขาดจากความเป็นลูกศิษย์ของเรา ถ้าเป็นโทษ
    เช่นนั้น แม้จะลงโทษหรือกระทำปัพพาชนียกรรมก็หาโทษมิได้แลได้ชื่อว่าช่วยพระศาสนาของเราด้วย
    การทำลายพระพุทธรูปหรือพระสถูปพระเจดีย์นั้น ยังมีทางเป็นกุศลได้อยู่ ดังพระพุทธรูปไม่ดีไม่งาม แล้วทำลายเสีย
    แก้ไขให้งามให้ดีขึ้น แม้พระเจดีย์แลไม้ศรีมหาโพธิ์ก็เช่นกัน ต้นโพธิ์ที่ตั้งอยู่ในที่ไม่สมควร เช่น ตั้งอยู่ในที่ใกล้ถาวรวัตถุ อาจทำลาย
    ถาวรวัตถุนั้นได้ จะตัดเสียก็หาโทษมิได้ ถ้าทำลายเพื่อหาประโยชน์แก่ตน หรือทำลายโดยความอิจฉาริษยาเช่นนั้น ย่อมเป็นบาป
    เป็นกรรมโดยแท้ แม้ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นการทำลายศาสนา พวกที่หมิ่นประมาท ทำให้สงฆ์ที่มีโทษยังไม่ถึงอันติมะให้
    ได้รับความเดือดร้อนถึงแก่เสื่อมจากพรหมจรรย์ได้ชื่อว่าทำลายพระพุทธศาสนาโดยแท้ ข้าแต่พระมหากัสสปะ พระพุทธเจ้า​
    ได้ตรัสเทศนาแก้ข้าฯ อานนท์ ดังนี้
     
  9. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    หากดับกิเลสทั้งห้าได้ขาด คือ โลถะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ก็เข้าถึงพระนิพพาน​
    แล้วจึงตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ สิบต่อไปอีกว่า ​
    อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลที่ปรารถนาซึ่งสวรรค์และพระนิพพาน ก็จง
    รีบพากเพียรกระทำให้ได้ให้ถึงแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เพราะมีอยู่ที่ใจของเราทุกอย่าง จะเป็นการลำบากมากอยู่ก็แต่พระนิพพาน
    ผู้ที่
    ปรารถนาความสุขในพระนิพพาน จงทำตัวให้เหมือนแผ่นดินหรือเหมือนดังคนตายแล้ว คือ ให้ปล่อยความสุขแลความ
    ทุกข์เสีย ข้อสำคัญก็คือ ให้ดับกิเลส ๑
    ,๕๐๐ นั้นเสีย

    กิเลส ๑​
    ,๕๐๐ นั้น เมื่อย่นลงให้สั้นแล้วก็เหลืออยู่ ๕ เท่านั้น คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑
    ทิฏฐิ ๑

    โลภะนั้น คือ ความทะเยอทะยานมุ่งหวังอยากได้กิเลสกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๑
    อยากได้วัตถุกาม คือ สมบัติข้าวของซึ่งมีวิญญาณแลหา วิญญาณมิได้ ๑ เหล่านี้ชื่อว่า โลภะ
    โทสะนั้น ได้แก่ความ เคือ งแค้น ประทุษร้าย เบียดเบียนท่านผู้อื่น ชื่อว่าโทสะ
    โมหะนั้น คือ ความหลง มี หลงรัก หลงชัง หลงลาภ หลงยศ เป็นต้น ชื่อว่าโมหะ
    มานะนั้น คือ ความถือตัว ถือตน ดูถูก ดูหมิ่น ท่านผู้อื่น ชื่อว่ามานะ
    ทิฏฐินั้น คือ ความถือมั่นในลัทธิอันผิด เห็นเป็นอุจเฉททิฏฐิ แลสัสสตทิฏฐิไป ปล่อยวา ความเห็น
    ผิดไม่ได้ ชื่อว่าทิฏฐิ​
    ถ้าดับกิเลสทั้ง ๕ นี้ได้แล้วก็ชื่อว่าดับกิเลสได้สิ้นทั้ง ๑​
    ,๕๐๐ ถ้าดับกิเลสทั้ง ๕ นี้ไม่ได้ ก็ชื่อว่าดับกิเลสไม่ได้เลย

    ดูกรอานนท์ ปุถุชนคนหนาทั้งหลายที่ปรารถนาพระนิพพานได้ด้วยยากนั้น ก็เพราะเหตุที่ไม่รู้จักดับกิเลสตัณหา เข้าใจ
    เสียว่าทำบุญทำกุศลให้มากแล้ว บุญกุศลนั้นจักเลื่อนลอยมาจากอากาศเวหา นำตัวขึ้นไปสู่พระนิพพาน ส่วนว่าพระนิพพานนั้นจะ
    อยู่แห่งหนตำบลใด ก็หารู้ไม่ เป็นแต่คาดคะเนเอาอย่างนั้น จึงได้พระนิพพานด้วยยาก ​
    แท้ที่จริงพระนิพพานนั้นไม่มีอยู่ในที่อื่น
    ไกลเลย หากมีอยู่ที่จิตใจนั้นเอง ครั้นดับ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิได้ขาดแล้ว ก็ถึงพระนิพพานเท่านั้น ถ้าไม่รู้แลดับ
    กิเลสตัณหายังไม่ได้เป็นแต่ปรารถนาว่าขอให้ได้ พระนิพพานดังนี้ แม้สิ้นหมื่นชาติแสนชาติก็ไม่ได้พบประเลย เพราะ
    กิเลสตัณหาทั้งหลายย่อมมีอยู่ที่ตัวตนของเราทั้งสิ้น เมื่อตัวไม่รู้จักระงับ กิเลสตัณหาที่มีอยู่ให้หมดไป ก็ไม่ได้ไม่ถึง
    เท่านั้น จะคอยท่าให้บุญกุศลมาช่วยระงับดับกิเลสของตัว เช่นนี้ ไม่ใช่ฐานะที่จะพึงคิด บุญกุศลนั้นก็คือตัวเรานี้เอง เรานี่
    แหละจะเป็นผู้ระงับดับกิเลสให้สิ้นไป หมดไป จึงจะสำเร็จได้สมประสงค์

    ดูกรอานนท์ ​
    ปุถุชนคนเขลาทั้งหลายที่ได้ถึงพระนิพพานด้วยยากนั้น เพราะเขาปรารถนาเปล่าๆ จึงไม่ได้ไม่ถึง
    เขาไม่รู้ว่าพระนิพพานอยู่ที่ในใจเขา มีแต่คิดในใจว่าจะไปเอาในชาติหน้า หารู้ไม่ว่านรก แลสวรรค์ และพระนิพพานมีอยู่
    ในตน เหตุฉะนั้นจึงพากันตกทุกข์ได้ยากลำบากยิ่งนัก พากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนี้ ถือเอากำเนิดในภพ

    น้อยภพใหญ่อยู่ไม่มีที่สิ้นสุด
    ข้าแต่พระมหากัสสปะ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ด้วยประการดังนี้
     
  10. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    เมื่อตนยังไม่หลุดพ้น ก็ไม่ควรจะสั่งสอนผู้อื่น​
    แล้วจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า ​
    อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลผู้มีปัญญาพึงคิดถึงตนแล้วปราบใจของตนให้พ้นจากทุกข์
    แลความลำบาก แลให้ออกจากบ่วงแห่งกิเลสมารให้ได้เถิด ถ้าไม่คิดอย่างนี้ แม้จะมีปัญญาก็มีเสียเปล่า ไม่นับเข้าใน
    จำนวนที่มีปัญญา กิริยาที่พ้นทุกข์พ้นยาก แลพ้นออกจากบ่วงแห่งกิเลสมารได้ ก็คือพ้นจากกิเลสตัณหาของเรา เมื่อพ้น
    จากกิเลสตัณหาได้เช่นนั้น ก็ได้ชื่อว่า พ้นจากความทุกข์ความยากโดยสิ้นเชิง
    ถ้ายังไม่พ้นก็ได้ชื่อว่า ยังไม่พ้นจากความทุกข์
    ความยาก
    เมื่อตนยังไม่หลุดไม่พ้น ก็ไม่ควรจะสั่งสอนผู้อื่น เพราะตัวยังไม่พ้น จะสั่งสอนผู้อื่นให้พ้นได้ด้วยอาการอย่างไร
    เปรียบเหมือนบุคคลจะข้ามแม่น้ำ ถ้าตัวของเราข้ามไปถึงฝั่งฟากโน้นแล้ว จึงร้องบอกให้ท่านผู้อื่นตามตนเช่นนี้ สมควร
    แท้
    เมื่อเราร้องบอกเขาแล้ว เขาจะพอใจ ไปหรือไม่ ก็แล้วแต่ใจเขา ส่วนตัวของเราข้ามไปได้สมประสงค์แล้ว ข้ออุปมานี้ฉันใด ผู้ที่
    จะเป็นครูเป็นอาจารย์สอนให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ ก็ต้องทำตัวให้พ้นจากทุกข์เสียก่อน จึงสมควรจะสอนผู้อื่น
    มีอุปไมย
    เหมือนผู้ที่จะพาข้ามแม่น้ำฉะนั้น บุคคลที่เปลื้องตัวให้พ้นออกจากกองกิเลสยังไม่ได้ แลจะไปเปลื้องปลดสัตว์ในป่าช้าผีทั้งหลาย เขา
    จะหัวเราะเยาะเย้ยว่า
    อโห โอหนอ ตัวของท่านก็ยังไม่พ้นทุกข์ แล้วจะมาพาเอาพวกข้าพเจ้าออกจากทุกข์ได้อย่างไร ตัวของท่าน
    และพวกข้าพเจ้าก็ยังไม่พ้นจากนรกอยู่เหมือนกัน จะมาพาพวกข้าพเจ้าให้พ้นจากนรกได้ด้วยอาการอย่างไร


     
  11. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    คฤหัสถ์ก็ดี นักบวชก็ดี ที่กล่าวว่าตัวรู้ ตัวเห็น และพูดจากับผีได้ เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิภายนอกศาสนา ไม่ควรเชื่อถือเอา
    เป็นครู เป็นอาจารย์​
    ดูกรอานนท์ บุคคลจำพวกใดที่ให้ผีในป่าช้าหัวเราะเยาะเย้ยเล่นเช่นนี้ บุคคลจำพวกนั้นถ้ามีขึ้น ก็เป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้
    เจ็บอันตรายต่างๆ หาความสุขความเจริญไม่ได้ ดูกรอานนท์ ​
    คฤหัสถ์ก็ดี นักบวชก็ดีมากล่าวว่าตัวรู้ ตัวเห็น แลได้พูดจากับ
    ด้วยผี ดังนี้ ก็พึงให้รู้ว่าคนจำพวกนั้นไม่ใช่ลูกศิษย์ของเราตถาคตเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิภายนอกพระศาสนาไม่ควรเชื่อถือ
    เอาเป็นครูเป็นอาจารย์ เพราะเขาเป็นคนเจ้าอุบาย เจ้าเล่ห์เจ้ากลเท่านั้น ที่มีความรู้จริง เห็นจริง พูดจาสนทนากับผีได้ มี
    แต่พระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์เท่านั้น นอกนั้นไม่มีใครรู้จริงเห็นจริง เป็นคนอุตริทั้งนั้น

    ดูกรอานนท์ ​
    เราจะทำนายไว้ให้เห็น ในอนาคตกาลข้างหน้า จักเกิดพวกมิจฉาทิฏฐิภายนอกพระศาสนา อวดอ้าง
    ว่าตัวรู้ ตัวเห็นผีได้ พูดจากับด้วยผี ครั้นบุคคลจำพวกนั้นเกิดขึ้นแล้ว ก็จักเบียดเบียนพระศาสนาของเราให้เสื่อมถอยลง
    ไป
    ด้วยวาทะถ้อยคำเสียดสีต่างๆ พระสงฆ์สามเณรก็จักเกิดระส่ำระสาย หาความสบายมิได้ เขาจักสอนทิฏฐิวัตรอย่างเคร่งครัด ถือ
    อรัญญิกธุดงค์อย่างพระเทวทัต ภายหลังก็จักเกิดพระบ้านพระป่ากันขึ้น แล้วก็จักแตกกันออกเป็นพวกๆ ไม่สามัคคีกัน ต่างพวกก็
    ถือแต่ตัวดี ศาสนาของเราก็จักเสื่อมถอยลงไป เพราะพวกมิจฉาทิฏฐิ เห็นแก่ลาภยศ หาความสุขมิได้ มรรคผลธรรมวิเศษก็จักไม่
    เกิดขึ้นแก่เขา เขาจักเรียนเอาแต่วิชาศีลธรรม อันพวกมิจฉาทิฏฐิสอนให้รู้อะไรกันขึ้นเล็กน้อย ก็อวดดีกันไป แท้ที่จริงความรู้
    เหล่านั้นล้วนแต่รู้ดีสำหรับไปสู่นรก เขาจักไม่พ้นจตุราบายได้เลย ดูกรอานนท์ ในอนาคตกาลภายหน้า จักมีอย่างนี้ไม่ต้องสงสัย ถ้า

    ผู้ใดรู้ลัทธิทิฏฐิอย่างนี้ไว้แล้ว เมื่อได้เห็นก็จงเพียรพยายามละเว้น ก็จักได้ประสบความสุข
     
  12. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    การที่จะระงับดับกิเลสก็ให้ระงับ
    บริโภค ๒ ประการให้เบาบางลง บริโภค ๒ นั้น คือ จีวรปัจจัยแลเสนาสนปัจจัย สองอย่างนี้ชื่อว่าบริโภคภายนอก นับเป็น
    อย่างหนึ่ง บิณฑบาตปัจจัยแลคิลานปัจจัย สองอย่างนี้ชื่อว่าบริโภคภายใน นับเป็นอย่างหนึ่ง
    บริโภคทั้ง ๒ นี้เป็นตัวกิเลส ตัวทุกข์ ตัวสุขสิ้นทั้งนั้น ถ้าบริโภค ๒ นี้มากขึ้นเท่าใด ทุกข์ก็มากขึ้นไปตามเท่านั้น
    ถ้าบริโภค ๒ อย่างนี้น้อยลง ทุกข์ก็น้อยลง ความสุขก็มากขึ้น คือว่าบาปน้อยลงเท่าใด บุญกุศลก็มากขึ้นเท่านั้น อันบุญ
    กุศลก็มีอยู่ที่ตัวบุคคลทั้งสิ้น ผู้ที่ละบริโภค ๒ นั้นได้แล้ว นรกก็พ้น สวรรค์ แลพระนิพพานสิ่งใดๆ ก็ได้ในที่นั้น
    พระปาติโมกข์แลธุดงควัตรที่ทรงบัญญัติไว้ ก็เพื่อเป็นเครื่องดับกิเลสตัณหา​
    ดูกรอานนท์ ​
    บุคคลที่บวชเข้าแล้ว ไม่รู้จักระงับดับกิเลสคือบริโภค ๒ ให้เบาบาง เข้าใจว่าบวชรักษาศีล ถือคลอง
    วัตรเอาบุญ ไม่หาอุบายระงับดับกิเลสแลบริโภค ๒ จะได้บุญได้ความสุขมาแต่ที่ไหน ถ้าคิดอย่างนั้น แม้จะรักษาศีล
    ตลอดพระปาติโมกข์แลธุดงควัตร ก็เป็นอันรักษาเปล่า รักษาให้เหนื่อยยากลำบากกายเปล่า ไม่อาจเป็นบุญเป็นกุศลได้
    พระปาติโมกข์แลธุดงควัตรทั้งหลายที่ทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้นั้น ก็เพื่อให้เป็นเครื่องระงับดับกิเลสตัณหา
    คือ บริโภคทั้ง ๒
    ถ้าระงับไม่ได้ก็ไม่เป็นบุญเป็นกุศล ผู้ที่ทำความเข้าใจว่าพระปาติโมกข์แลธุดงควัตรจะช่วยยกตัวให้ขึ้นไปสู่สวรรค์แลพระนิพพาน
    เช่นนี้ เป็นความเห็นของคน ที่โง่เขลาเบาปัญญา จักไม่พ้นทุกข์เลย
    บริโภคทั้ง ๒ นั้นได้ชื่อว่าปลิโพธ ๒ ที่แปลว่าความกังวล
    การรักษาพระปาติโมกข์แลธุดงควัตร ก็เพื่อจะตัดปลิโพธ ความกังวลให้เบาบางลง ถ้าเบาบางลงได้เท่าใด ก็เป็นบุญเป็น
    กุศล เป็นสวรรค์ แลพระนิพพานขึ้นไปเท่านั้น พระพุทธเจ้าย่นโอวาทคำสั่งสอนลงสู่ปลิโพธ ๒ ว่าเป็นที่สุดโดยสิ้นเชิง คือ
    ว่า นรกสวรรค์และพระนิพพานมีอยู่ที่ปลิโพธ ๒ ครบบริบูรณ์ ผู้ศึกษาเล่าเรียนจะรู้มากรู้น้อยเท่าไร ไม่นิยมรู้มากหรือรู้
    น้อย ถ้าระงับปลิโพธนั้นได้ก็เป็นดี จะอยู่วัดบ้านหรือวัดป่าประการใดก็ตาม ถ้าระงับปลิโพธ ๒ นั้นได้ ย่อมเป็นความดี
    ทั้งสิ้น
    พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาเป็นใจความอย่างนี้

    การดับกิเลสให้สิ้นเชิง ให้เลือกประพฤติตามความปรารถนา​
    อันดับนั้นจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า ​
    อานนฺท ดูกรอานนท์ ธรรมนี้ชื่อว่า พระยาธรรมมิกราช เพราะเป็นใหญ่
    กว่าธรรมทั้งหลาย ข้อที่เราตถาคตได้ตรัสไว้แล้วในธรรมหมวดนี้คือ ได้ชี้นรก แลสวรรค์ แลพระนิพพาน
    กิเลสตัณหาโดยจะแจ้งสิ้นเชิง เมื่อผู้ใดได้ฟังแล้วปรารถนาสุขทุกข์ประการใด ก็จงเลือกประพฤติตาม
    ความปรารถนา

    ในอนาคต กุลบุตรที่เลื่อมใสในพุทธศาสนาสามารถบวชได้ แม้ไม่มีพระภิกษุ​
    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสฉะนี้แล้วจึงซ้ำตรัสอนุญาตปัจฉิมบรรพชาไว้แก้ข้าฯ อานนท์ว่า ​
    อานนฺท ดูกรอานนท์ แม้ในปัจฉิม
    กาล เมื่อหาพระสงฆ์ครบคณะบรรพชาไม่ได้ โดยที่สุดแม้มีภิกษุองค์เดียว เมื่อกุลบุตรมีศรัทธาเลื่อมใสในคุณแห่งเราตถาคต
    อยากจะบวชเป็นภิกษุในสำนักแห่งภิกษุองค์เดียว ก็จงบวชเถิด
    โดยที่สุดลงไปอีก แม้จะหาพระภิกษุสักองค์เดียวไม่ได้ กุลบุตรผู้มีศรัทธาใคร่จะบวชสืบศาสนาแห่งเราตถาคตก็ให้ศึกษา
    จตุตถปาราชิกแลบริโภค ๒ นั้นให้เข้าใจ แล้วเข้าสู่เฉพาะพระพุทธรูป หรือพระสถูป หรือพระเจดีย์ หรือแม้หาที่ควรเคารพเช่นนั้น
    ไม่ได้ ก็ให้ระลึกถึงเราตถาคต แล้วบวชเป็นพระภิกษุเถิด ให้ตั้งใจสมาทานว่า
    อิมํ ปพฺพชฺชํ สมาทิยามิ ทุติยมฺปิ ตติยมฺปิ อิมํ
    ปพฺพชฺชํ สมาทิยามิ
    แล้วให้สมาทานจตุตถปาราชิกว่า ปฐมํ ปาราชิกํ สมาทิยามิ ทุติยํ ตติยํ จตุตฺถํ ปาราชิกํ สมาทิยามิ แล้ว
    บวชเป็นภิกษุเถิด
    ถ้าหากพระสงฆ์ยังมีอยู่อย่างน้อยเพียงองค์เดียวแล้ว จะบวชโดยลำพังไม่ได้ ถ้าขืนบวชชื่อว่า ดูถูกดูหมิ่นพระศาสนา เป็น
    บาปยิ่งนัก อย่าทำเลย เมื่อบวชโดยวิธีนี้ ผู้ใดคัดค้านว่าไม่ควรจักเป็นบาปเป็นกรรม ยิ่งนักเราอนุญาตไว้สำหรับคราวอันตรธาน
    ต่างหาก ข้าแต่พระมหากัสสปะ พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้ ขอพระอริยสงฆ์ทั้งหลายจงทราบด้วยพลญาณของ
    ตน โดยนัยดังข้าพเจ้าอานนท์แสดงมานี้เทอญ แล้วพระองค์ก็หยุด ไม่ทรงตรัสเทศนาอีกต่อไป

    คิริมานนท์กำหนดรูปนามตามพระธรรมเทศนา จึงได้บรรลุอรหันต์​
    ข้าพเจ้ากราบถวายบังคม แล้วก็กลับไปสู่สำนักท่านคิริมานนท์ แสดงสัญญาทั้ง ๒ ประการคือ รูปสัญญา นามสัญญา ให้
    พระผู้เป็นเจ้า ฟังโดยพุทธบริหารทุกประการ ท่านคิริมานนท์กำหนดตามพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล ในขณะที่วาง
    ธุระในรูปในนาม โรคภัยของท่านที่เจ็บปวด เวทนา ก็อันตรธานหายไปในขณะนั้น ข้าแต่พระมหากัสสปะผู้มีอายุ พระสูตรนี้จะได้ชื่อ
    ว่า ​
    พระยาธรรมมิกสูตร ตามรับสั่งนั้นก็จะเสียนิมิตไป เพราะอาศัยพระผู้เป็นเจ้าคิริมานนท์เป็นนิมิต พระสูตรนี้พระพุทธเจ้าตรัส

    เทศนาที่วัดเชตวนาราม ปรารภพระคิริมานนท์เกิดอาพาธให้เป็นเหตุ จึงได้ชื่อว่า
    คิริมานนทสูตร มีเนื้อความ ดังแสดงมานี้แล
     
  13. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    พระยาธรรมมิกสูตรนี้ตีแสกหน้าพวกท่านหรือไม่ อยากทราบความเห็น
     
  14. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,706
    ค่าพลัง:
    +51,936
    โลกุตตระ ย่อการปฏิบัติให้เป็นหนทางหลุดพ้น
    คือ สัจจะ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  15. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ความเห็นก็คือ ไม่ใช่การตีแสกหน้า พระยาธรรมมิกสูตรนี้ มิใช่ว่าจะครอบคลุมได้ทุกพระสูตร พระสูตรหนึ่งๆก็เหมาะกับจริตของแต่ละบุคคล บุคคลไป ตามแต่เหตุและปัจจัยหนึ่งๆ แล้วยังงี้ถ้านำเอาพระสูตรอื่นมากล่าวในเหตุการณ์นี้ ก็จะขัดแย้งกันได้ พระธรรม 84000 พระธรรมขันธ์ นั้นเปรียบเหมือนสมุนไพรต่างๆรวม 84000 ชนิด เมื่อตรวจสอบแล้วว่าบุคคลใด ป่วยด้วยโรคใด ผู้รักษาก็จะนำสมุนไพรต่างๆมารวมกันอย่างถูกต้อง กับโรคนั้นๆ จึงจะเป็นยารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ใช่ว่าจะนำหม้อยานี้หม้อเดียวไปรักษาได้ทุกโรคเสียเมื่อไร
     
  16. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    โปรดกรุณายกตัวอย่างพระสูตรอื่นที่ขัดแย้งกับพระสูตรนี้ตามความเห็นของท่านเพื่อเป็นวิทยาทาน
     
  17. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    พระยาธรรมมิกสูตร พระพุทธเจ้าได้โปรด ท่านคิริมานนท์ ที่อาพาธ จึงได้ให้พระอานนท์ แจ้งต่อท่านคิริมานนท์ โดยให้ธรรมคือ สัญญา ๑๐ ประการ
    ส่วนที่
    เจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์
    (จันทร์ สิริจนฺโท)
    ท่านทรงกรุณาแจกแจงให้กว้างขวางขึ้นนั้น เป็นการอธิบายเรื่องพระนิพพาน และครูที่ดี
    ส่วนที่จะให้นำพระสูตรอื่นมาเทียบเคียงนั้น คงต้องใช้เวลาค้นหา ซึ่งเราคงไม่ถนัดนักกับการใช้เวลาค้นหา เราจะอธิบายพอสังเขปเท่าที่จำได้ในพระสูตรต่างๆ แต่ที่จะบอกนั้นคือต้องการให้ทราบว่า พระสูตรหนึ่งๆ ก็ไม่เหมาะกับ บุคคลหนึ่งแต่เหมาะกับอีกบุคคลหนึ่ง
    เอาเป็นว่าถามปัญหามาเป็นข้อๆดีกว่า แล้วจะตอบให้
     
  18. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,706
    ค่าพลัง:
    +51,936
    *** สิ่งที่ข้าพเจ้าสรุปได้ ****

    สิ่งที่ได้จากศาสนาพุทธ
    - อยู่ด้วยเมตตา
    - พยายามอยู่ด้วยหลักตนพึ่งตน
    - พยายามตัดลดกิเลสนิสัยทิฐิมานะตนเอง
    - มปฏิบัติตนด้วยสัจจะ ตัดลดนิสัย

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  19. แสวงหาความจริง

    แสวงหาความจริง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    509
    ค่าพลัง:
    +5,163
    อนุโมทนาธรรมทานครับ ใครคัดลองมาอนุโมทนาด้วยขยันจริงๆ
    แต่จะไปเถียงกันทำไมครับ ดูว่าคุณควรดูสถิติก่อนจะสนใจ

    วันที่สมัคร: Dec 2009
    ข้อความ: 4
    Groans: 0
    Groaned at 0 Times in 0 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 0
    Thanked 1 Time in 1 Post
    พลังการให้คะแนน: 0
     
  20. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ผมได้ถามท่านแล้วครับ ว่าพระสูตรนี้ขัดแย้งกับพระสูตรใด
    กำลังรอคำตอบจากท่านอยู่นะครับ
    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าในความกรุณาจากท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...