ความสุขสูงสุด(ฉบับปีมะเส็ง)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 27 ตุลาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]



    <HR>ความสุขสูงสุด (ฉบับปีมะเส็ง)
    โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

    วัดป่าสุนันทวนาราม
    บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี


    ....................................................................

    ความสุขสูงสุด

    ธรรมชาติของจิตเรานี้
    คิดระแวด..... ระแวงไปทั่วสารทิศ
    คิดเร็ว..... ก็เร็วกว่าจรวด
    คิดไกล..... ก็ไปไกลกว่าดาวเทียมอีก

    คิดดี..... ก็จะคิดดีมากๆ
    คิดชั่ว..... ก็จะคิดชั่วมากๆ

    แผล็บเดียว..... ก็เพี้ยนได้

    น่ากลัว..... ก็น่ากลัวจริงๆ
    ใจดี..... คิดดี..... มีความสุขมากๆ..... เป็นสวรรค์
    ประมาทนิดเดียว..... ก็ตกนรก
    เมื่อจิตใจยังมีอกุศลมูล
    ความโลภ ความโกรธ ความหลง

    อย่าประมาท อย่าปล่อยจิตเลย
    จงพยายามรักษาจิต
    ฝึกจิต พัฒนาจิตกันเถิด
    ทุกข์เพราะไม่รู้ (ความจริง)
    คิดผิด
    พ้นทุกข์เพราะได้รู้ (ความจริง)
    คิดถูก


    รู้จักตน..... ตามที่เป็นจริง
    รู้แจ้งแทงตลอด
    ทำให้จิตใจของตนพ้นทุกข์
    เข้าถึงสันติสุขได้

    นตติ สนติ ปรมํ สุขํ
    ความสุขยิ่งกว่า ความสงบ ไม่มี


    ความรู้
    ที่ทำให้เราเป็นคนร่ำรวย..... เป็นเศรษฐี
    มีอำนาจวาสนา..... เป็นคนใหญ่โตในสังคม
    จบปริญญาตรี..... โท..... เอก..... เป็นดอกเตอร์
    อ่านจบพระไตรปิฎก กี่รอบๆ ก็ตามแต่

    แต่
    ถ้าเรายัง ร้องไห้ โกรธ น้อยใจ เสียใจอยู่
    เรียกว่าเรายังเป็น คนโง่..... ไม่รู้ (ความจริง)


    คิดผิดอยู่
    รู้แต่เปลือก..... รู้ภายนอก..... รู้ทางโลก
    แต่ยัง ไม่รู้ทางธรรม..... ไม่รู้ความจริง


    เคล็ดลับของความสุข เพียงแต่ให้รู้เท่านั้น
    ความรู้สึก ความคิด ความเข้าใจของเราที่ว่า
    เรากำลังกลุ้มใจ ทุกข์ใจเพราะว่าเราพบกับ
    ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ทุกข์

    เป็นความเข้าใจผิดทั้งนั้น
    ถ้าเรา..... รู้..... ตามที่เป็นจริงของมัน
    สิ่งเหล่านั้น ไม่สามารถทำให้เราทุกข์ได้

    เราทุกข์ เพราะไม่รู้
    ขอให้เราเพียงแต่กำหนดรู้เท่านั้น
    รู้ รู้ รู้ เท่านั้น
    รู้นิ่ง รู้สงบ รู้ปล่อย รู้วาง รู้ว่าง
    เราจะพบแต่ สุข สุข สุข
    ได้ในทุกข์สถานการณ์

    ถึงแม้ว่าทุกข์ก็เข้าใจทุกข์
    ทำใจได้
    เพียงแต่อาการของทุกข์
    ไม่ใช่ทุกข์ของเรา
    เกิดแล้วก็หายไป
    อดทนสักหน่อย

    ทำไม..... เราไม่รู้ (ตนเอง)..... รู้ไม่ได้
    เพราะนิวรณ์ 5 ครอบงำจิตใจอยู่
    จึงไม่เห็น ไม่รู้ตนเอง ตามที่เป็นจริง
    เห็นอยู่ รู้อยู่ คิดอยู่ แต่เรื่องของคนอื่น
    สิ่งภายนอกเป็นส่วนใหญ่
    ดังที่ตาของเราไม่เคยเห็นหน้า เห็นหลัง ตนเอง

    ต้องฝึกจิต พัฒนาจิต..... ภาวนา
    ภาวนา มี 2 อย่าง
    สมถะกรรมฐาน ทำจิตให้สงบ
    วิปัสสนากรรมฐาน ทำจิตให้รู้แจ้ง
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]



    <HR>นั่ง

    โบราณาจารย์สอนว่า.....
    ลักษณะการนั่งที่เรียบร้อยนั้น
    ให้เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย
    ตั้งกายตรง พอเหมาะ พอดี พองาม
    ไม่ให้เอียงขาว เอียงซ้าย ไม่ก้มหน้าเกินไป
    และไม่เงยหน้าเกินไป

    ให้เอาท่านั่งพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง
    พยายามนั่งให้ตรง นั่งเก้าอี้ก็ได้
    สำคัญตรงที่ว่านั่งตรง ตั้งกายตรง ดำรงสติให้มั่น
    หายใจเข้าลึกๆ สุดๆ ยืดตัว แล้วก็ปล่อย
    หายใจออกยาวๆ สบาย
    ทำอยู่อย่างนี้ 3-4 ครั้ง แล้วค่อยๆ ปล่อย


    รักษาความรู้สึกตัว ชัดเจน ตลอดไป

    หายใจสบายๆ ธรรมดาๆ รู้กายนั่ง รู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    ทำใจให้เรียบร้อย มีความรู้สึกเป็นปกติ
    นั่งสบายๆ หายใจสบายๆ นั่นแหละดี และถูกต้อง

    ธรรมชาติของจิต ต้องทำงาน จะคิดนี่ คิดโน่น ฟุ้งซ่าน
    หายใจเข้าลึกๆ หน่อยๆ หายใจออกยาวๆ
    จิตก็จะหยุดคิด อยู่กับลมหายใจ
    มีสติสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม
    ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ถ้าอึดอัด ไม่สบายแล้ว
    ไม่ต้องกังวลกับหายลมใจ นั่งเฉยๆ ก่อน

    บางครั้ง นั่งเฉยๆ บางครั้ง หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
    บางครั้ง ปล่อยลมหายใจตามธรรมชาติ
    เพียงแต่กำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
    มีสติ มีสัมปชัญญะ จิตตั้งมั่นกับลมหายใจ

    หาจุดสบายๆ นั่งสบายๆ หายใจสบายๆ
    ให้จิตสงบ สบายๆ มีความรู้สึกทั่วพร้อม

    ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    ให้ติดกัน ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
     
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]



    <HR>ยืน

    ยืนสำรวม เท้าทั้งสองห่างกันพอสมควรประมาณ 20 เซนติเมตร
    เพื่อยืนได้อย่างมั่นคง ไม่ต้องจ้องอะไร
    กำหนดสายตาไว้ครึ่งๆ ระหว่างพื้นดินกับตัวของเราเอง
    หรืออาจกำหนดดูที่ปลายจมูกก็ได้
    หาที่สะดวกในการกำหนด
    ระลึกถึงลมหายใจออก ลมหายใจเข้า นั่นแหละ


    หายใจจากทางเท้า

    หายใจเข้าลึกๆ ยืดตัวหน่อยๆ
    หายใจออกสบายๆ ปล่อยลมลงตามตัวทางเท้า
    ตั้งกายตรง 3-4 ครั้ง หายใจเข้าเข้าลึกๆ
    หลังจากนั้นหายใจสบายๆ ธรรมดาๆ
    แต่ให้จิตระลึกถึงเท้าทุกครั้ง
    ทำความรู้สึกกว่าลมเข้า ลมออกทางเท้า
    วิธีนี้ช่วยทำให้ลมเข้า ลมออก ยาวขึ้น

    น้อมจิตเข้ามาดูกายยืน ไม่ให้ส่งจิตออกไปข้างนอก
    ให้มีความรู้สึกตัวออกไปชัดๆ ทุกอย่าง
    ให้มันเป็นธรรมดาๆ รู้ชัดว่า กายกำลังยืน
    รู้ชัดว่าลมหายใจปรากฏอยู่
    ลมหายใจปรากฏอยู่อย่างไรก็รับรู้ รับทราบ
    กำหนดรู้ ระลึกรู้เฉยๆ

    มีหลักอยู่ว่า
    ความรู้สึกหายใจเข้าอยู่ที่ไหน จิตก็อยู่ที่นั่น
    เมื่อมีความรู้สึกในการยืน มีความรู้สึกตัวในกาย
    หายใจออก หายใจเข้า จิตจะสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน
     
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]



    <HR>เดิน

    เราจะฝึกเดินจงกรมแบบธรรมชาติที่สุด
    ให้เดินธรรมดาๆ แต่ช้ากว่าปกตินิดหน่อย
    ขวาก้าว... ซ้ายก้าว... ขวาก้าว... ซ้ายก้าว
    เดินไปเรื่อยๆ นั่นแหละ คือเดินจงกลม
    เดินเฉยๆ ธรรมดาๆ แต่ให้มีอาการสำรวมระวังในการเดิน
    มีสติ ระลึกรู้ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ทุกครั้ง

    เอากายมาเดิน เมื่อกายเดิน ให้ใจเดินด้วย
    ไม่ใช่ว่ากายเดิน ใจคิดไปเที่ยวในอดีต อนาคต
    หรือคิดเที่ยวไปทั่วทิศ
    อย่าให้กายกับใจทะเลาะกัน อยู่คนละทิศ
    คนละทาง ให้กายกับใจสามัคคีกัน รักกัน อยู่ด้วยกัน
    ให้มีสติสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    ในการเดิน และหายใจออก หายใจเข้า

    บางคนอาจไม่เคยชินกับการกำหนดลมหายใจขณะเดิน
    เพราะความรู้สึกที่เท้ากำลังก้าวอยู่
    ความรู้สึกที่ฝ่าเท้ากำลังถูกดิน
    ความรู้สึกตัวในการเดินเด่นชัด
    มากกว่าลมหายใจหลายเท่า หลายสิบเท่าก็เป็นได้


    ไม่ต้องสงสัยอะไร

    อะไรที่กำลังปรากฏอยู่โดยธรรมชาติ รับรู้ รับทราบหมด
    รู้ชัดว่ากายกำลังเดิน แต่ไม่ทิ้งลมหายใจ
    ให้มีความพยายามกำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    รู้นิดหน่อยว่าลมออก ลมเข้าเท่านั้น
    เบาขนาดไหนก็ช่างมัน แต่ให้มันรู้ติดต่อกัน
     
  5. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR>นอน

    เราสามารถฝึกอานาปานสติในอิริยาบถนอน
    ได้อย่างง่ายๆ สบายๆ โดยการนอนหงายสบายๆ ธรรมดาๆ
    อิริยาบถคล้ายการยืน วางแขนลงข้างลำตัว
    ฝ่ามือหงายขึ้นห่างจากกายพอสมควร ประมาณ 1-2 คืบ
    นอนเหยียดสบายๆ เหมือนคนตายที่ไม่รับรู้อะไร
    หากเราคุ้นเคยกับการนอนตะแคง ก็สามารถทำได้เช่นกัน

    จากนั้นให้สำรวจร่างกายทั้งหมด โดยเริ่มจาก
    ปลายเท้าขึ้นมา ผ่อนคลายกล้ามเนื้อของร่างกาย
    ทุกส่วน ไม่ให้มีกล้ามเนื้อส่วนใดเกร็งอยู่เลย
    จนกระทั่งมีความรู้สึกเบาเหมือนสำลี

    หายใจเข้า หายใจออก ให้กำหนดความรู้สึกเหมือน
    หายใจเข้า หายใจออกทางเท้า

    เมื่อหายใจออก ให้กวาดความรู้สึกไม่ดี ความเครียด
    ความกังวล ความรู้สึกเจ็บป่วย ความไม่สบายทั้งกาย
    และใจออกไปให้หมด โดยให้ไกลออกไปจากเท้าหลายเมตรก็ได้

    เมื่อเริ่มหายใจเข้า ตั้งสติไว้ที่เท้า
    ให้ความรู้สึกสะอาดบริสุทธิ์ผ่านเข้ามาทางร่างกาย
    จนถึงใบหน้าและจมูก หาจุดหายใจออกสบายๆ
    หายใจเข้าสบายๆ จิตใจสบายๆ
     
  6. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]



    <HR>
    นิทานเรื่องที่ 1

    ยักษ์ตัวใหญ่
    (จงทำใจให้สงบบ้าง)

    สมัยโบราณ วันหนึ่ง.....
    บุรุษผู้หนึ่งทำงานในสวน ขุดดินไปเรื่อยๆ
    จอบกระทบของแข็ง เกิดเสียงดังขึ้น
    บุรุษผู้นั้นเอะใจ จึงค่อยๆ ขุดดิน
    อย่างระมัดระวัง

    ตะเกียงเก่าๆ อันหนึ่ง ปรากฏแก่สายตา
    เอาผ้ามาเช็ดๆ ทำความสะอาด
    ยักษ์ตัวใหญ่ โผล่ขึ้นมาในอากาศ
    แล้วตะโกนเสียงดังด้วยความดีใจ
    และขอบคุณที่ทำให้เขาเป็นอิสระ
    ปวารณาตัวว่าจะรับใช้บุรุษผู้นั้นตลอดไป

    แต่มีข้อแม้ว่า...............
    ต้องมีงานให้ทำตลอด เพราะผมจะอยู่เฉยๆ ไม่ได้
    ถ้าไม่มีงานทำ ว่างจากงาน ผมจะกินท่านเป็นอาหาร
    บุรุษผู้นั้นก็พิจารณาดูแล้วว่า
    น่าจะดีหากมีใครสักคนคอยรับใช้เรา
    ยักษ์ย้ำอีกครั้งว่า ต้องมีงานให้ทำตลอดนะ

    ผมว่างงานเมื่อไร...............
    หมายถึงความตายของท่าน
    บุรุษผู้นั้นคิดแล้วคิดอีกว่า
    ไม่น่าจะมีปัญหา มั่นใจว่าสั่งงานให้ทำตลอดได้
    ไม่ยากอะไร จึงตกลงกัน

    .....ตั้งแต่วันนั้น
    บุรุษกับยักษ์ตัวใหญ่ก็กลายเป็นคู่ชีวิตกัน
    จวบจนทุกวันนี้..... ยักษ์ถามว่า ให้ทำอะไรก่อน.....
    บุรุษผู้นั้นอยากได้บ้านหลังใหญ่ๆ สักหลังหนึ่ง
    มานานหลายปี เลยสั่งว่า สร้างบ้านหลังใหญ่.....
    ยักษ์รับคำสั่งแล้วก็เนรมิตบ้านใหญ่ขึ้นมา
    ในเวลาพริบตาเดียว อ้าว สร้างบ้านใหญ่ๆ
    คิดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี

    ยักษ์ตัวใหญ่ถามว่า จะให้ทำอะไรต่อครับนาย
    อื้อ..... ขอสระน้ำใหญ่หลังบ้าน
    ยักษ์ตัวใหญ่เนรมิตสระน้ำในทันที
    ให้มีถนนใหญ่เข้าบ้าน แล้วสองข้างทางมีป่าใหญ่ร่มเย็น
    ยักษ์ตัวใหญ่ก็เนรมิตถนน สร้างป่า ขึ้นทันที

    ตั้งแต่วันนั้น บุรุษผู้นั้นคอยคิดสั่งงาน
    ตลอดทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน
    อยู่ในห้องน้ำ และแม้ว่ากำลังนอน

    ต้องสั่งงานตลอดว่า...............
    อยากได้... อยากมี... อยากเป็น... อย่างนี้... อย่างนั้น...

    จนในที่สุด เสมือนว่าเป็นทาสของยักษ์แล้ว เป็นทุกข์จริงๆ
    วันหนึ่งฉุกคิดได้สั่งว่า ตั้ง เสาต้นหนึ่ง สูงๆ หน่อยๆ
    แล้วให้ยักษ์ตัวใหญ่ค่อยๆ ปีนขึ้นจนถึงยอด
    ยักษ์ตัวใหญ่ตะโกนถามว่า ให้ทำอะไรต่อ...............

    สั่งไปว่า ค่อยๆ ลง ไม่ต้องรีบร้อนอะไร ค่อยๆ
    ขึ้น..... ค่อยๆ ลงอยู่อย่างนั้น
    ตั้งแต่วันนั้น บุรุษผู้นั้นก็มีเวลาพักผ่อนสมอง
    สงบ สบาย สบายใจ มีความสุข

    ยักษ์ตัวใหญ่ คือ ความคิด
    เสาสูงๆ หมายถึง ลมหายใจ
    ลมหายใจเข้ายาว ลมหายใจเข้ายาว.....
    ให้มีสติสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    ลมหายใจออกยาว ลมหายใจเข้ายาว
    ให้ติดต่อกัน ต่อเนื่องกัน
    เมื่อจิตใจสงบปราศจากนิวรณ์แล้ว
    เราสามารถรู้แจ้ง เห็นจริง ตามที่เป็นจริงได้
     
  7. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]



    <HR>
    นิทานเรื่องที่ 2
    ดูลิงป่าเล่นกัน
    (เมื่อใจฟุ้งซ่านก็ให้ปฏิบัติถูกต้อง)


    นึกมโนภาพ เรากำลังนั่งอยู่ในป่า
    มีต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง มีลิงป่าหลายตัว
    กระโดดไปมาระหว่างกิ่งไม้ถึงกิ่งไม้ สนุกสนาน
    ตามประสาสัตว์ป่า เราก็นั่งพิงโคนไม้นิ่งอยู่
    ดูลิงป่าเล่น ด้วยความสบายอารมณ์
    ระวัง อย่าเป็นลิงเสียเองนะ

    ลิง คือ ความคิดฟุ้งซ่าน
    เรา คือ สติ
    ต้นไม้ ลมหายใจ คือ อารมณ์กรรมฐาน


    เมื่อจิตใจไม่สงบมากๆ
    ก็ให้ปฏิบัติถูกต้องกับความไม่สงบ
    บางครั้งจิตใจของเราไม่ต้องการสงบ
    ฟุ้งซ่านมากๆ ยิ่งพยายามหยุดคิด
    ทำใจให้สงบ ก็ยิ่งรำคาญมากขึ้น
    เมื่อเป็นเช่นนั้น ตั้งหลักใหม่
    ไม่ต้องตั้งใจจะหยุดคิดให้สงบ
    ศึกษาความไม่สงบ

    เสียใจเพราะจิตไม่สงบ ก็ผิด
    ดีใจเพราะจิตสงบ ก็ผิดเหมือนกัน

    เราต้องไม่ยินดี ยินร้าย
    ด้วยจิตใจเป็นกลางๆ สงบๆ สบายๆ
    เรา ความรู้สึกตัวก็มีอยู่ รู้อยู่ว่าไม่สงบ
    หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ
    รู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    พร้อมกับรู้อยู่ว่าใจไม่สงบ

    แต่พยายาม รู้เฉยๆ รู้อยู่เฉยๆ
    ไม่สงบ ไม่เป็นไร รู้เฉยๆ รู้เฉยๆ
    อย่ายินดี..... อย่ายินร้าย.....
    อย่ายึดมั่นถือมั่น.....

    สิ่งที่เราพยายาม คือ ระลึกรู้ลมหายใจ
    รู้เฉยๆ ด้วยใจดี ใจเมตตา

    เอาระบบ ดูเล่นๆ ดูลิงป่า
    หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
    หน้าที่คือการเจริญสติ
    ไม่ต้องทำอะไรกับจิตไม่สงบ
    วางเฉยกับความไม่สงบ
    สติเกิดเมื่อไร ความไม่สงบก็หายไปเอง
     
  8. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR>
    นิทานเรื่องที่ 3
    คนเลี้ยงควาย
    (การรักษาจิตคล้ายดูแลควาย)


    เวลาเลี้ยงควาย เราปล่อยควายให้เดินไปตามถนน
    เจ้าของก็เดินตามหลังควาย สบายๆ.....
    สองข้างทางเป็นไร่นา บางครั้งควายเดินออกนอกถนน
    ไปกินข้าวในนาของเพื่อนบ้าน เจ้าของก็ต้องตีบ้าง
    กระตุกเชือกบ้าง ให้ควายกลับขึ้นมาบนถนนใหม่

    เมื่อควายเรียบร้อย
    เดินบนถนนก็เดินตามหลังควายสบายๆ
    เมื่อควายเข้าไปในนากินต้นข้าว
    รีบดึงควายให้กลับออกมาบนถนน
    ทำอยู่อย่างนั้นเรื่อยๆ ไป

    เจ้าของควาย คือ สติ
    ควาย คือ จิต
    ถนน คือ ลมหายใจ
    ถนนยาวๆ คือ ลมหายใจยาวๆ
    ต้นข้าว คือ นิวรณ์ 5


    เอาสติผูกจิตไว้กับลมหายใจ
    พยายามกำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    ติดต่อกันสม่ำเสมอ
    เหมือนเอาสติผูกจิตไว้กับลมหายใจ
    ความรู้สึกอยู่ที่ไหน จิตก็อยู่ที่นั่น

    เมื่อสติรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า จิตก็อยู่ที่นั่น
    ขาดสติเมื่อไร จิตก็คิดไปต่างๆ นานา
    ตามกิเลส ตัณหา ตามนิวรณ์..... ก็รีบต่อสติ
    กำหนดรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า


    อานาปานสติ ขั้นที่ 1-2

    เมื่อจิตคิดออกไป รีบเรียกมาอยู่ที่ลมหายใจออกยาว
    ลมหายใจเข้ายาว หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ
    การเจริญอานาปานสติเหมือนกับคนเลี้ยงควาย
    คอยควบคุมควายให้เดินบนถนน
    หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ
    มีสติรู้อยู่กับลมหายใจ ให้ติดต่อกันตลอดสาย
     
  9. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]



    <HR>
    นิทานเรื่องที่ 4
    รีดผ้า
    (ทำให้จิตใจเป็นสมาธิ)


    การรีดผ้า ไถเตารีดกลับไปกลับมา
    ผ้า เตารีด มือ สัมผัส สนิท ไม่เบาไม่หนัก
    ไม่ให้ห่างกัน แม้แต่กระเบียดเดียว

    ผ้า คือ ลมหายใจ
    เตารีด คือ จิต
    มือ คือ สติ


    ทำจิตตั้งมั่นกับลมหายใจ อุปมาเหมือนรีดผ้า
    เมื่อเริ่มมีสติ ระงับความฟุ้งซ่าน ความคิดต่างๆ นานา ได้
    แต่ถ้าเราสังเกตละเอียดแล้วก็เห็นได้ว่า
    จิตยังวอกแวกๆ รับรู้สัญญาต่างๆ เช่น คำพูด
    รูปภาพต่างๆ รับรู้เสียง ความรู้สึกต่างๆ อยู่อย่างนั้น
    เรียกว่า ฟุ้งซ่านภายใน หรือฟุ้งซ่านละเอียด


    อานาปานสติ ขั้นที่ 3

    สติระลึกรู้ลมหายใจ 20-30 % เท่านั้น
    จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิกับลมหายใจจริงๆ
    ให้สติที่ระลึกรู้ลมหายใจติดต่อกัน
    รู้ลมหายใจออกตลอดสาย ลมหายใจเข้าตลอดสาย
    สติติดต่อกันแล้ว ก็จะเป็นสมาธิ
    การกำหนดลมหายใจก็เช่นเดียวกัน
    ในที่สุด สมาธิก็จะเกิด จิตตั้งมั่นกับลมหายใจตลอดสาย
     
  10. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]



    <HR>
    นิทานเรื่องที่ 5
    อาบปีติ
    (ทำให้จิตเต็มไปด้วยปีติสุข)


    บุรุษผู้หนึ่งท่องเที่ยวไปในป่าน้อยใหญ่
    วันหนึ่ง ได้พบบ่อน้ำทิพย์ เมื่อลงไปอาบ ปีติ สุข ได้เกิดขึ้น
    การเจริญอานาปานสติ
    เมื่อจิตเป็นสมาธิ ปีติ สุขที่มีอยู่ไม่มากก็น้อย
    ยกเอาความรู้สึก ปีติ เป็นอารมณ์กรรมฐาน
    สร้างกำลัง สติ สมาธิ ปัญญา โดยควบคุมปีติ

    เมื่อต้องการเพิ่มปีติ ก็เพิ่มให้มากขึ้นๆ ๆ
    เมื่อมากจนจิตใจของเราเต็มไปด้วยปีติแล้ว
    ค่อยๆ ลดลงจนเหลือแต่สุข
    เมื่อเรามีกำลัง สติ สมาธิ ปัญญา เพิ่มขึ้น
    มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพดีแล้ว ก็จะควบคุมเวทนาได้
    รักษาจิตให้อยู่ เหนือเวทนาได้

    เมื่อเราปฏิบัติจุดนี้ จนได้ผล
    ผลที่ปล่อยออกมา คือ อาคันตุกะทุกข์ต่างๆ
    น้อยใจ เสียใจ กลัว โกรธ ฯลฯ จะหมดไป
    เพราะทุกข์เกิดขึ้น ไม่ได้ตั้งอยู่นาน
    เราสามารถทำให้เกิดความรู้สึกดีได้ทันที
    โทสะก็จะหมดไป ใจดี ใจเมตตา ก็จะเข้ามาแทน


    อานาปานสติ ขั้นที่ 5-6

    ทุกครั้งที่ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    จิตจดจ่อ จิตตั้งมั่น กับความรู้สึก ปีติ สุข
    ระมัดระวัง ประคับประคอง
    รักษา ความรู้สึกดีๆ ปีติ สุข เอาไว้


    จะเพิ่ม

    ก็หาวิธีอุบายเพิ่ม อาศัยกำลังสมาธิ กำลังปัญญา
    เหมือนกับน้ำที่มีอยู่ในใต้ดิน
    ปีติ สุข ก็มีอยู่ในจิตใจของทุกคน
    เรามีหน้าที่ค้นหาจุด น้ำพุ ปีติ สุข
    เมื่อเจอ เอาขันน้ำมาตักอาบเลย อาบปีติ สุข
    ทุกครั้งที่หายใจออก..... หายใจเข้า
    จนเรียกว่าจิตใจของเราเต็มไปด้วยปีติ สุข


    เมื่อต้องการลด

    เอาน้ำใส่มาทำให้จางๆ หน่อยก็ได้ตามใจชอบ
    จิตใจของเราก็จะอิสระจากเวทนาที่เป็นอกุศล
    คือ ทุกข์ใจ เดือดร้อนใจ และกิเลส
     
  11. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]


    นิทานเรื่องที่ 6
    ลิงปอกหอมใหญ่
    (วิปัสสนาคือการทิ้งปล่อยวางทุกอย่าง)


    เราเอาหอมใหญ่ให้ลิง 1 ลูก
    ลิงก็ปอกเปลือกออกทีละชั้นๆๆ
    นี่ไม่ใช่... ทิ้ง... นี่ไม่ใช่... ทิ้งไป...
    นี่ก็ไม่ใช่... ทิ้งไป นี่กินไม่ได้... นี่กินไม่ได้
    จนในที่สุดมันก็รู้ว่าไม่มีอะไรกินได้
    นี่ก็ไม่ใช่..... นี่ก็ไม่ใช่.....
    ในที่สุด... ปล่อยวาง... ทุกสิ่งทุกอย่าง

    ขันธ์ 5 มันเป็นของหนัก
    เราก็แบกขันธ์ 5 ไปๆ มาๆ อยู่อย่างนั้น
    เพราะเรามีอุปทานในขันธ์ 5
    มองไปจุดไหน มองไปที่อะไร ก็มีแต่ตัวตน

    มีแต่เรา มีแต่ของเราทั้งนั้น
    เรารู้สึกว่าขันธ์ 5 เป็นเรา
    เป็นของเรา.....
    หนักใจ เครียด ร้องไห้กันอยู่ทุกวันนี้
    เพราะอุปทานยึดมั่นถือมั่น

    ผู้เจริญวิปัสสนาก็เหมือนกัน
    สิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นเรา เป็นของเรา
    เป็นตัวเป็นตนของเรา


    อานาปานสติ ขั้นที่ 13-16

    เมื่อเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฎฐาน
    เราก็เข้าไปดูๆ ก็เห็นว่า
    อ้อ..... นี่ก็ไม่ใช่ของเรา นี่ก็ไม่ใช่ของเรา
    นี่ก็ไม่ใช่ของเรา.....
    เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ปล่อยวางไป
    ยึดเห็นชัดๆ แล้วปล่อยไป
    ปล่อยไป... ปล่อยไป... ปล่อยไป...

    จิตใจของเราจะเข้าถึงพุทธภาวะ
    ภาวะแห่งการรู้อยู่ ตื่นอยู่ เบิกบานใจ

    สพเพนาลํ อภินิเวสาย
    สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
    ไม่มีตัว ไม่มีตน เป็นสุญญตา
     
  12. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    :cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • story5_189.gif
      story5_189.gif
      ขนาดไฟล์:
      107 KB
      เปิดดู:
      108
    • sit2_121.gif
      sit2_121.gif
      ขนาดไฟล์:
      24.6 KB
      เปิดดู:
      110
    • stand1_656.bmp
      ขนาดไฟล์:
      14.3 KB
      เปิดดู:
      84
    • walk_443.bmp
      ขนาดไฟล์:
      9.3 KB
      เปิดดู:
      72
    • sleep_113.bmp
      ขนาดไฟล์:
      16.4 KB
      เปิดดู:
      82
    • story1_521.gif
      story1_521.gif
      ขนาดไฟล์:
      18.4 KB
      เปิดดู:
      100
    • story2_171.gif
      story2_171.gif
      ขนาดไฟล์:
      194.2 KB
      เปิดดู:
      110
    • story3a_249.gif
      story3a_249.gif
      ขนาดไฟล์:
      97.2 KB
      เปิดดู:
      104
    • story4a_129.gif
      story4a_129.gif
      ขนาดไฟล์:
      340.2 KB
      เปิดดู:
      73
    • story5a_327.gif
      story5a_327.gif
      ขนาดไฟล์:
      175.7 KB
      เปิดดู:
      102
    • 1019.gif
      1019.gif
      ขนาดไฟล์:
      61.1 KB
      เปิดดู:
      108

แชร์หน้านี้

Loading...