วันคืนล่วงไป เรากำลังทำอะไรอยู่ ...พระอาจารย์ปสนฺโน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 28 กรกฎาคม 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [FONT=Courier New, Courier, mono] [/FONT][​IMG]
    [FONT=Courier New, Courier, mono]
    วันนี้เป็นวันที่ ๗ ของ การเข้ากรรมฐานของเรา เวลาผ่านไปตั้ง ๖ วันแล้ว ก็ได้เข้าวันที่ ๗ คือการ เข้ากรรมฐานของเรา ก็ได้ผ่านไปตั้งครึ่งกว่าๆ ค่อนแล้ว ให้เราระลึกถึง เวลาที่เหลือ เพื่อให้มันได้เกิดประโยชน์ กับเราเต็มที่ อย่างที่พระ พุทธเจ้าแนะนำ ผู้ปฏิบัติควรจะสำนึกเสมอ วันคืนล่วงไปๆ เรากำลังทำอะไร อยู่ คือวันคืนก็ล่วงไปจริงๆ เราก็เข้ามาอยู่ที่นี่ ตอนเราเริ่มกรรมฐาน จริงๆ เริ่มเข้ามา ก็จะรู้สึก ๑๐ วันจะถึงไหมหนอ โอ้ มันยาวเหลือ เกิน เดี๋ยวนี้มันเหลือไม่กี่วัน อาจจะรู้สึก เอ้อ เหลือไม่กี่วัน ยัง ปฏิบัติไม่ถึงไหนเลย ความรู้สึกมันก็เกิดอย่างนี้ต่างๆ อย่างไร ก็ตาม ก็ ให้ได้สำนึกไว้ เวลาเหลืออยู่ไม่กี่วัน ก็ขอให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด จะ ทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด มันก็ตามที่เราได้แนะนำ การที่จะได้ทำให้สติ บริบูรณ์ ให้ได้ตั้งอยู่ในฐานของสติปัฏฐาน ให้ได้ระลึกถึงกายหรือเวทนา หรือ จิตหรือธรรมด้วยสติและปัญญา และอาศัยการตั้งสติเพื่อพินิจพิจารณาในความไม่ เป็นตัวตน ความไม่เป็นแก่นเป็นสาร ในความว่าง ของกายกับใจที่เราชอบยึดไว้ เป็นตัวเรา ที่เราชอบยึดไว้เป็นความคิดนึก ความรู้สึก หรือความเห็น หรือ อารมณ์ต่างๆ ชอบยึดไว้เป็นตัวเรา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] แท้จริงก็ไม่ได้เป็น เราเลย มันสักแต่ว่า ปรากฏการณ์ของกายหรือเวทนาหรือจิตหรือธรรม ก็ขอให้ ได้น้อมใจของเราลงเข้าสู่ธรรมะ จิตใจจะได้เกิดความเยือกเย็นได้[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เวลาเรานึกถึงวันคืน ที่ล่วงไป ก็เป็นเหตุให้เกิดความไม่ประมาท ซึ่งเป็นธรรมะที่สำคัญ อย่างพระ พุทธเจ้าเอง ท่านก็เคยสอนพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตักเตือนพระเจ้าแผ่นดิน ถาม ในลักษณะว่า เออ ถ้าหากว่าเราอยู่ในวังของเรา ในวังก็มีคนมาจากทิศเหนือโดย มีข่าวว่าเทือกเขากำลังจะขยับขยายลงมาสู่เมืองสาวัตถี ซึ่งพระเจ้าปเสนทิ โกศลครองเมืองหลวงคือเมืองสาวัตถี ถ้ามีภูเขากำลังมาจากทิศเหนือ กำลัง มาหา เมืองสาวัตถี แล้วเป็นเทือกเขาอันใหญ่มหาศาล ทุกอย่างที่อยู่ข้างหน้า มัน มันจะบดขยี้ทำลายโดยสิ้นเชิง และระหว่างที่เพิ่งได้รับข่าวนั้น ยังมีคน วิ่งมาจากทางทิศตะวันตกโดยข่าวเช่นเดียวกัน ภูเขากำลังจะขยับขยาย มันใหญ่ มหาศาล กำลังจะทับทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง บ้านช่อง ผู้คน ชีวิตทุกชีวิตกำลัง จะถูกทำลาย ก็ยังไม่ทันได้ตั้งตัวให้ชัดว่าจะทำอย่างไร ก็ยังมีคนวิ่งมาบ อก เพิ่งได้ข่าวจากชนบททางทิศตะวันออกมันกำลังมีภูเขามาเช่นเดียวกัน และก็ มีมาจากทิศใต้ขึ้นมาหา มันกำลังเข้ามาหาเมืองสาวัตถีพร้อมๆกัน ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่ขวางหน้ามันถูกมันทำลายโดยสิ้นเชิง[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระพุทธเจ้าถามพระ เจ้าปเสนทิโกศลว่า ถ้า หากว่าได้ข่าวอย่างนั้น จะตั้งจิตไว้อย่างไร พระเจ้า ปเสน- ทิโกศลก็คิดพิจารณาแล้วก็ตอบ คือถ้าเราได้ข่าวอย่างนั้นจริงๆ ก็คงจะ ต้องมีความสำนึกว่า ไม่มีใครรอดหรอก อย่างไรก็ต้องตายแน่ ขอให้เราได้ตั้งใจ ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม ตั้งใจประพฤติสิ่งที่มีคุณธรรม เท่านั้น เพราะว่า ไม่มีอะไรอย่างอื่นที่จะอาศัยได้ในเวลานั้น[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระพุทธเจ้าฟังคำตอบ ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ได้อนุโมทนาว่า คำตอบนี้ก็ถูก ให้เราสำนึกเสมอ ว่า ที่เราพูดถึงภูเขาที่ขยับขยายเข้ามาทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ให้เราเข้า ใจว่าความตายก็กำลังจะขยับมาหาเราทุกวัน ทุกเวลา ทุกวินาที มันไม่ได้ยกเว้น ใคร ไม่ได้ยกเว้นอะไร มันมาจากทุกทิศทุกทาง และไม่มีใครสามารถขอร้องได้ มี แต่จะต้องตายกันทั้งนั้น มีแต่จะต้องถูกทำลายกันทั้งนั้น มีแต่จะต้องจาก สิ่งที่ตัวเองได้สะสมไว้ทั้งนั้น ความตายก็จะมาหาเราทุกคน ไม่มียกเว้น[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในเมื่อเป็นอย่าง นั้น ก็ให้ตั้งจิตเช่นเดียวกัน ให้ตั้งใจประพฤติสิ่งที่ดีงาม ประพฤติสิ่ง ที่เป็นบุญเป็นกุศล ประพฤติในสิ่งที่เป็นคุณธรรม ถ้าหากว่าเราอยู่อย่างนี้ มันไม่มีอะไรอย่างอื่น ที่จะเป็นที่พึ่งที่ดีกว่า คือการกระทำที่ดีงามของ เรา ความรู้ที่ถูกต้องของเราอย่างนี้[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ถ้าหากว่าเราตั้งสติ ไว้อย่างนี้ ตั้งความรู้สึกไว้อย่างนี้ จะได้เป็นผู้ไม่ประมาท เราจะได้มั่น ใจว่าเราอยู่ด้วยความไม่ประมาท ถ้าหากว่าเราอยู่ด้วยความไม่ประมาทเราจะได้ ไม่หวั่นไหวต่อความตายหรืออันตรายที่จะมาถึงเรา[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่เป็นส่วนที่พระ พุทธเจ้าได้สอนพระเจ้าปเสนทิ-โกศล ซึ่งก็เป็นคำสอนที่เหมาะสมสำหรับเราทุก คน ก็ให้เราพิจารณาถึงความตายที่จะมาถึงเราโดยไม่ยกเว้นใคร แล้วก็ไม่ได้แน่ นอนว่าจะถึงเมื่อไร แต่ว่าที่แน่นอนว่าจะต้องถึง ในที่สุดก็ต้องจากโลกนี้ ไป ในที่สุดเราก็จะต้องทิ้งซากศพไว้ในโลกนี้ให้ผู้ใดผู้หนึ่งจัดการ อันนี้ ที่แน่นอน[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่ว่าอีกแง่หนึ่งที่ แน่นอนคือจิตใจของเรา จะต้องมีที่พึ่ง จะต้องมีสิ่งที่ทำให้จิตใจนั้นมีความ มั่นคง มีความแจ่มใส มีความเบิกบาน ต้องอาศัยคุณงามความดี ต้องอาศัยสติ ปัญญา เพราะว่าชีวิตของเราก็แตกสลายไป แต่ว่าจิตนี้ก็ยังต้องเวียนว่ายตาย เกิดอยู่ ยังแสวงหาภพชาติอยู่ ยังจะได้หาที่เกิดใหม่ หาที่เกิดใหม่มันก็ ต้องอาศัยผลกรรมผลการกระทำ ถ้าได้ตั้งอยู่ในสิ่งที่ดี จิตใจก็มีความสว่าง เบิกบาน มีความอิ่มเอิบ มันก็ไปในทางที่ดี ไปหาภพหาชาติที่ดี ถ้าหากว่าจิต ใจวุ่นวายเศร้าหมอง มีความรู้สึกที่ตกต่ำ มันก็แสวงหาที่ตกต่ำ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เรื่องนี้ก็ไม่ได้ แปลกอะไร ก็คิดดู เรามีชีวิตอยู่ ถ้าหากว่าพัฒนาจิตใจ มีจิตใจที่ระลึกถึง คุณธรรม มันจะพาเราไปที่ไหน มันก็พาเราไปในที่ที่มีคนอื่นที่เป็นคนดี ไปใน ที่ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย ไม่วุ่นวายเพราะว่าจิตมันพอใจกับสิ่งที่สงบที่ ประกอบด้วยคุณธรรมจิตไม่ยินดีในความวุ่นวาย ไม่ยินดีในการเบียดเบียน ไม่ แสวงหาสิ่งที่จะได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่ถ้าหากว่าคนที่มี จิตใจที่ไม่ได้รักษาไว้ คือจิตนั้นก็พาไปในที่ที่เขาจะได้ประสบสิ่งที่ลามก ได้ประสบสิ่งที่สร้างความเดือดร้อนได้ เบียดเบียนซึ่งกันและกันได้ เอา เปรียบซึ่งกันและกันได้ อันนี้มันอาศัยจิตพาไป แม้แต่ในชาตินี้ ในเวลา นี้ ในปัจจุบันนี้ มันก็เห็นอยู่ มันไป มันไม่ได้แปลกอะไร คือ จิตใจเป็น สิ่งที่พาไปเกิดในที่สูงหรือในที่ต่ำ มันก็เป็นเรื่องธรรมชาติธรรมดา[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่เราก็ต้องอาศัยการฝึกหัดจิตใจ อาศัยการสร้างความมั่นคงในคุณงามความดี นั่นเป็นส่วนที่ต้องอาศัยการฝึกการหัด[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] มนุษย์เราสามารถ ฝึกหัดหลายๆ อย่างได้ แล้วแต่ความพอใจ พวกที่เล่นการพนัน บางทีก็อายุมาก แล้ว ยังต้องมีผู้ช่วยประคับประคองเข้าไปในที่เล่นการพนัน พอนั่งลงก็ไม่ ขยับเลย สมาธินิ่งเหลือเกิน บางทีไม่นึกถึงการกินข้าว เลย นั่ง ๕-๖ ชั่วโมง นั่งตลอดคืน ไม่มีป’ญหา ขอให้ได้เล่นการพนันให้ได้อัน นี้มันเป็นสมาธิ แต่เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าจะให้เป็นสัมมาสมาธิ นั่งลง ๕ นาที กระสับกระส่าย ขยับซ้ายขยับขวาแล้ว มันไม่สบายแล้ว แต่ว่าถ้าได้เล่นการ พนัน โอ้ แหมมันสบายใจแล้ว หรือเราเป็นวัยรุ่น ไปฟังคอนเสิร์ต แหม มันพอ ใจ ถึงฝนตก เปียกก็ช่าง ขอให้ได้ฟังล่ะ ถ้าวันธรรมดาๆ พอฝนตกก็ต้องหลบต้อง หลีก มันอาศัยความพอใจ เลยอันนี้มันขึ้นอยู่กับความพอใจของจิตใจ แล้วแต่จิต จะฝึกเอา เราผู้ปฏิบัติธรรมก็ให้ได้พอใจกับการที่จะฝึกกรรมฐาน ฝึกการนั่ง สมาธิ ฝึกการเดินจงกรม ก็ให้มันต่อเนื่อง[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] หลวงพ่อชาท่านเคยเล่า ให้ฟัง ท่านว่า เวลาอยู่ในป่าปฏิบัติกรรมฐาน คือมีโอกาสที่ทำคุณงามความ ดี มีโอกาสที่จะได้ทำตามแนวทางของพระพุทธเจ้าจริงๆ แต่พอนั่งสมาธิมันเจ็บ มันปวดหน่อยหนึ่ง มันปวดหลังเหลือเกินควรจะพักผ่อน หรือจะไปเดินจงกรม เดิน จงกรมหน่อยหนึ่ง ฝนเริ่มลงมากะปริบกะปรอย แหม ฝนตกแล้ว ต้องเข้าข้างใน แล้ว ท่านว่า เอ๊ะ ทำไมเวลาเราเป็นฆราวาส มันจำใจเหลือเกินที่จะต้อง ต่อสู้ ต้องตื่นแต่เช้า มันยังไม่หายเหนื่อยจริงๆ แต่ว่าจำเป็นต้องออกไปทำ นา ไปเตรียมทำงาน ถึงจะเจ็บจะปวดเท่าไหร่ ยังไม่หายเมื่อยจากวันก่อน ยัง ต้อง ออกไปทำ จะไปจับควาย ควายมันก็อยู่ในคอก บางที ก็เอาหางมาซัด ขี้ควาย ก็ติดด้วย มันยังต้องทนเอา[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในเวลาเราปฏิบัติ ธรรม เราก็ต้องอาศัยความอดทน อาศัยความต่อสู้ อาศัยความไม่ประมาท เพราะว่า เรารู้ ู หรือเราต้องพยายามสำนึกต่อธรรมชาติ ที่ว่าความตายมันก็จะมาถึง เรา โอกาสนี้แหละเป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่จะได้ภาวนา ที่จะได้ปฏิบัติให้ตั้ง อยู่ในคุณงามความดีได้ มันก็สมควรแล้ว[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] การตั้งอยู่ในความไม่ ประมาท เป็นธรรมะที่สำคัญ เวลาเราตั้งอยู่ในความไม่ประมาทแล้ว เราก็ควรจะมี ที่ตั้งแห่งสติ โดยเฉพาะกายของเรา กายานุปัสสนา-สติปัฏฐาน ฐานของการตั้ง สติที่ลงอยู่กับร่างกายของเรา พระพุทธเจ้าเคยยกเปรียบเทียบหรืออุปมาว่า การ ตั้งสติอยู่ที่กาย ก็เหมือนกับถ้าหากว่าเราดูมหาสมุทร เช่น เรายืนอยู่ที่ ฝั่งมหาสมุทร เราก็ดูอยู่ เราจะได้มีความมั่นใจว่า น้ำทุกสาย ไม่ว่าจะเป็น แม่น้ำใหญ่ก็ดี แม่น้ำเล็กก็ดี เป็นห้วยเล็กห้วยใหญ่ หรือลำธารน้อยๆ ก็ ดี ยังไงก็จะต้องมารวมอยู่ที่มหาสมุทร อันนี้ก็เช่นเดียวกัน เวลาเราตั้ง สติไว้ที่กาย เราจะมีความมั่นใจว่าการปฏิบัติก็ดี คุณธรรมทั้งหลายก็ดี ยัง ไงก็จะต้องมารวมอยู่ที่การตั้งสติไว้ที่กาย มันเป็นฐานที่ทำให้เรารู้ทั้ง กาย ทั้งส่วนอื่นๆที่เกี่ยวกับเวทนา จิตและธรรม คือมันจะปรากฏที่กาย เราจะ ต้องพิจารณาพิเศษก็จริง แต่มันก็ตั้งสติไว้ที่กาย เราจึงคอยสังเกตได้[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] การตั้งสติไว้ที่ กาย จึงเป็นวิธีที่เราควรจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ แต่ว่าอย่างว่า เราตั้งสติ ไว้ที่กาย บางครั้งเราก็เอาเฉพาะกาย แต่บางครั้งเราเอากายเป็นที่พาดพิง เพื่อจะได้เห็นเวทนาหรือจิตหรือธรรม อันนี้เป็นส่วนหนึ่ง เหมือนกับปักหลัก ให้อยู่เป็นที่ เราจะได้เห็นการไปการมาของสิ่งทั้งหลายหรือธรรมะทั้งหลาย มี นิทาน คือมีพระผู้ใหญ่องค์หนึ่ง พระองค์นี้ท่านเป็นนักปราชญ์ เชี่ยวชาญใน การเทศนาสั่งสอน แล้วก็มีความรู้ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาก ทีเดียวจน มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านก็มีภาระหน้าที่ในการสั่งสอน และท่านก็เป็นนัก ค้นคว้าในด้านคำสอน ท่านก็จดจำไว้มากทีเดียว เรียกว่าธรรมะรวมอยู่ที่ท่าน เหมือนกับเป็นตู้พระไตรปิฎก[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] มีครั้งหนึ่ง ท่านก็ ไปหาพระพุทธเจ้า ก็ไปกราบไหว้ ไปปรึกษาเกี่ยวกับการงาน เกี่ยวกับลูกศิษย์ ลูกหา และค่ำนี้พระพุทธเจ้าท่านก็ได้ทักแปลกหน้อย พอมาถึงท่านก็ตั้งชื่อ ว่า ตุจโฉโปฏฐิละ ใบลานเปล่า เอ้อมาแล้วหรือใบลานเปล่า ซึ่งไม่เคยเรียก ท่านอย่างนั้น ท่านก็สงสัย ระหว่างที่พูดกันก็ได้เอ่ยถึงท่าน ก็เรียกว่า เป็นใบลานเปล่า และเวลาลากลับ ก็กราบจะกลับ ท่านว่า เอ้อ จะกลับแล้วหรือใบ ลานเปล่า ท่านก็ไม่ได้ถามพระพุทธเจ้าเอง แต่ค่อนข้างจะสงสัยพระพุทธเจ้า ว่า อย่างนั้นทำไม ได้กลับไป ทำให้ตั้งข้อสงสัยและพิจารณาทบทวนด้วยตัวเอง ท่าน เรียกอย่างนั้นทำไม[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] คิดไปคิดมาแล้วท่านก็ ว่า ท่านคงจะตักเตือนเรา เพราะว่าจริงๆ แล้ว เราเป็นผู้ที่มีความรู้ก็ จริง แต่ว่าก็เหมือนกับใบลานเปล่า คือไม่ได้มีตัวแท้จริงอยู่ในนั้น ไม่ได้ มีการหลุดพ้น ความรู้ที่เรามีมันก็เป็นสิ่งที่เราจดจำเอา แล้วยังมีกิจงาน ที่ควรทำคือเราควรที่จะปฏิบัติภาวนาให้ได้เข้าถึงมรรคถึงผล อันนี้เราก็ยัง ไม่ได้ทำ มัวแต่ศึกษาเก็บความรู้ มัวแต่สั่งสอนให้ผู้อื่น ลูกศิษย์ลูกหาก็ มากมาย ลูกศิษย์ของเราได้รับการอบรมจากเรา ท่านเหล่านั้นก็เอาไปปฏิบัติ เอา ไปฝึกฝน ไปอยู่ในป่า ไปทำกรรมฐาน ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ได้เป็น พระโสดาบันก็มี เป็นพระสกทา-คามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นพระอรหันต์ก็ยัง มี แต่ตัวเราเองก็ยังไม่ได้เลย เราก็เหมือนกับใบลานเปล่า มันไม่บริบูรณ์[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ท่านก็เลยเกิดความ รู้สึกอายตัวเองและก็มีความ รู้สึกอยากจะรีบเร่งในการภาวนาในการปฏิบัติ จริงๆ ท่านก็บอกกับลูกศิษย์ว่า ต่อจากนี้ไปเราจะไม่สอน เราจะพักสักระยะ หนึ่ง จะมุ่งทำกรรมฐาน[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] พอท่านตั้งใจจะมุ่งทำ กรรมฐาน ท่านก็อยากจะอาศัยผู้ที่แนะนำให้ทำ ก็ขอกับครูบาอาจารย์ที่ท่าน รู้จัก แต่ที่จริงครูบาอาจารย์แถวๆ นั้นก็เคยเป็นลูกศิษย์ของท่าน ก็เกรง ใจ กลัว ไม่อยากจะรับภาระที่จะสอนอาจารย์ของตัวเอง ดูๆ ก็ไม่ควร ก็ถามไปถาม มา ในที่สุดก็มีสามเณรองค์หนึ่งได้รับอาสาที่จะสอน เพราะว่าตามที่พวกพระได้ ลือกันอยู่ ได้พูดกันอยู่ว่าสามเณรองค์นี้ก็เป็นอรหันต์เหมือนกัน ได้บรรลุ ตั้งแต่อายุยังน้อย ในเมื่อพระก็ไม่รับเป็นศิษย์ที่จะสอน ก็จำเป็นที่จะต้อง เอาสามเณรเป็นอาจารย์[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่ว่าสามเณรก็ยังไม่ เหมือนใครอีก บอกว่าถ้าจะมาศึกษากับเรา ท่านจะต้องยอมประพฤติปฏิบัติตามที่ เราสั่งสอนแนะนำ ถ้าท่านไม่ยอมที่จะปฏิบัติตาม เราก็หมดโอกาสที่จะสอนได้[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ตุจโฉโปฏฐิละ ร้อน อยู่ในใจ อายตัวเอง ตัวเอง ยังไม่ได้เข้าถึงธรรมะและไม่มีใครกล้าสอน เขาก็ คงเห็นว่าเรามีความรู้มาก เลยถือทิฏฐิมาก ถือความเห็นของเรามาก ถือความรู้ ของเรามาก เลยกำลังมีความรู้สึกถ่อมตน เห็นโทษในการเป็นนักปราชญ์ที่เชี่ยว ชาญ เลยยอมรับทำตามที่สามเณรบอก สามเณรก็มีอุบายเหมือนกัน จะได้ทดสอบว่า อาจารย์จะเชื่อฟังแค่ไหน เลยให้ห่มผ้าให้เรียบร้อย มีสระน้ำอยู่ใกล้ๆ บอก ให้เดินลงไปในสระ ถ้าหากว่ายังไม่บอกให้กลับมาก็ขอให้อย่าได้หยุดเลย ท่านก็ เดิน ลงไปในสระ มันก็เปียก มีขี้โคลน ยิ่งเป็นอาจารย์ใหญ่มันก็ขยะแขยงอยู่ ในตัว แต่ว่าก็อยากปฏิบัติ อยากได้คำแนะนำในธรรมะ ก็เลยบังคับตัวเองให้ทำ ตาม[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เณรก็ยังไม่บอกให้ กลับ เดินลงไปอีก ลึกเข้าไปอีกถึงเอว เณรก็ยังนิ่งอยู่ เดินลงไปถึงหน้าอก แล้ว กำลังสงสัย เอ เณรจะลืมเราหรือเปล่าหนอ เณรก็ไม่ว่ายังไง ลงไปเกือบ จะถึงบ่า ก็เอ จะเป็นยังไงหนอ เณรไม่ทำอะไร แต่ว่าสัจจะของตัวเอง เราเคย บอกว่าเราจะทำ ก็ต้องทำ เดิน ปากก็มุด จมูกแล้ว เดินลงไป ไม่ถอย ในที่สุดก็ ได้ยินเสียงสามเณร ว่า หยุดๆ กลับมา เณรก็มั่นใจว่าอาจารย์จะเชื่อฟัง จริงๆ ท่านก็กลับมา เณรก็ให้เช็ดตัวทำความสะอาดแล้วก็นั่งฟังธรรมะ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เณรจึงให้อุบายในธรรม ว่า ให้พิจารณา คือธรรมะอย่าให้มันมากนัก อย่าให้เรื่องเยอะ ให้ทำตัวเอง เหมือนกับเป็นจอมปลวก เราก็เป็นพรานที่ไปดูจอมปลวก คือมีตะกวดเข้าไปในจอม ปลวก จอมปลวกนั้นมันมีรู ๖ รู ตะกวดมันจะเข้าจะออก มันก็ไปได้สะดวก สบาย หน้าที่ของพรานที่จะจับตะกวด ต้องไปยัด ๕ รูให้มันปิดสนิท ให้มันเหลือ แค่รูเดียว แล้วก็นั่งเฝ้าอยู่ที่รูนั้น อย่ากระดุกกระดิกเลย อย่าไปทำอะไร อย่างอื่น นั่งเฝ้าอยู่[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] อธิบายว่า การปฏิบัติ ของเราก็จะต้องใกล้เคียงกัน ต้องเช่นเดียวกัน คือให้ตั้งสติไว้ที่กายให้ ดี ประตู ๕ ประตู ตา หู จมูก ลิ้น และกาย เฝ้าดูให้ดี เฝ้าดูในลักษณะ ว่า อย่าไปคะนอง อย่าไปเพลิดเพลิน อย่าไปมัวเมา ให้มันสำรวมให้มากที่ สุด แล้วก็ตั้งสติไว้ที่จิตใจ ประตูที่ ๖[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ถ้าปิดด้วยความ สำรวม ปิดด้วยสติสัมปชัญญะ อีก ๕ ทาง คือตะกวดมันออกไม่ได้ทางโน้น มัน ต้องออกมาทางจิตใจ แต่ว่าต้องตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดีที่กาย คือเราอย่าไป สนใจนักกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ว่าอย่าให้มันคึกคะนอง อย่าให้ มันเพลิดเพลิน อย่าให้มันวุ่นวายกับสิ่งเหล่านั้น แต่ว�ามาเฝ้าดูที่ จิต เฝ้าดูที่ธรรมารมณ์ ถ้าเฝ้าดูอย่างนั้น อย่างต่อเนื่อง ตั้งสติไว้ให้ดี ที่กาย เมื่อดูพิจารณาที่จิตใจ ก็จะต้องเห็นหลักธรรมให้ได้[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระอาจารย์องค์นั้นก็ ยอมปฏิบัติตาม ก็ได้ประสพความสำเร็จ ได้เห็นธรรม ไม่นานก็ได�บรรลุเป็นพระ อรหันต์ได้เพราะพื้นฐานคุณธรรมมี แต่ว่ามัวอยู่กับการงาน การสอน มัวอยู่กับ ภาระหน�าที่ภายนอก เลยไม่ได้เห็นธรรม เณรได้แนะนำสั่งสอนการเฝ้าดู ปิดไว้ ซึ่ง ๕ รู เหลือรูเดียว ยังไงก็จะต้องออกที่นั้นล่ะ เราจะจับให้ได้ จะได้ เห็นให้ชัด[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] การตั้งสติไว้ที่ กาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือรักษาสติไว้ที่กาย แต่ว่าเรายังต้องมีจิตไว้ เฝ้าดู ในลักษณะเพื่อเห็นธรรม เพื่อเห็นจิตใจ เพื่อเห็นทุกข์ที่เกิดและการ ดับทุกข์ เรื่องนี้คือตัวสำคัญ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] การรักษาสติไว้ที่ กาย ไม่ใช่เพื่อเฝ้าแต่กายอย่างเดียว คือเรามีความสำรวม มีการประคับ ประคอง แต่ว่ามันเป็นอุบายเพื่อให้เห็นจิตใจของเราชัดเจน เพื่อ เห็นธรรมะ ให้ชัดเจน[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] หลวงพ่อชาท่านเคยไป ที่เมืองอเมริกา แล้วก็มีลูกศิษย์ที่เคยบวชเป็นพระแล้วก็ลาสิกขาไป ได้เข้า ไปกราบท่านแล้วก็ติดตามท่าน ในระยะเวลาที่เขากลับมาที่อเมริกา เขาก็ได้ ปฏิบัติธรรมะในกลุ่มต่างๆ พวกเซ็นบ้าง ทิเบตบ้าง และก็กลุ่มอื่นๆ คือไม่ได้ ทิ้งการปฏิบัติน่ะ ความสงสัยก็เยอะแยะ เขาก็ตั้งคำถาม กับหลวงพ่อชา ว่าผู้ ปฏิบัติธรรมที่อเมริกา บางคนเขาก็บอกว่า เขาเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติ สมาธิ แต่ว่าเขาไม่จำเป็นที่จะต้องไปนั่งในห้องกรรมฐานหรอก เขาจะเอาสติมา ใช้ในเวลาเขาทำการงานบ้าง หรือเวลาเขาเล่นกีฬา เช่น เขายกตัวอย่าง พวกที่ ปีนภูเขา แล้วก็ขึ้นไปตามซอกหินต่างๆ เขาว่าเขาต้องมีสติมาก จิตใจต้องอยู่ กับที่ ต้องมีสมาธิ จิตใจต้องตั้งมั่นจริงๆ แล้วก็จิตใจเกิดความสงบเวลาเขา ทำ เพราะว่าจิตนิ่งอยู่ เป็นเอกัคคตาอารมณ์ เขาบอกว่า เขาปฏิบัติธรรมของ เขา เขาถามหลวงพ่อจะว่ายังไง การปฏิบัติของเขาถูกไหมจะเป็นหนทางไหม หลวง พ่อถามหน่อยหนึ่ง เอ ในระหว่างที่เขาปีนหิน จิตใจนิ่งอยู่ เขาพิจารณา เรื่องอริยสัจจ ๔ หรือเปล่า[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] คงจะไม่ เพราะว่าการ ปฏิบัติที่เราตั้งสติไว้ที่กาย อันนี้เป็นอุบาย เราฝึกสติก็จริงอยู่ให้มี สติต่อเนื่อง ให้จิตใจมีความแน่วแน่ แต่มันต้องเอามาใช้ให้ทำงาน มาพิจารณา ในหลักธรรม มาทำให้จิตใจคลี่คลายออกจากกิเลสและตัณหา ให้ได้เห็นชัดเจนว่า เราสร้างความทุกข์อย่างไร แล้วเราจะได้ดับความทุกข์อย่างไร ถ้าหากว่าตัวนี้ ยังไม่เห็น มันก็ยังไม่บริบูรณ์ การรักษาสติไว้ที่กายเป็นฐานของการตั้ง สติ แต่ว่าเราต้องรู้จักใช้ให้ดี แล้วก็เป็นอย่างที่พระพุทธเจ้าบอก เป็นที่ รวมของความรู้สึกทั้งหลาย เป็นที่รวมของธรรมะทั้งหลายได้ แต่หากว่าเราไม่ เอาใจของเราเอนเอียงโน้มน้าวไปสู่ธรรมะนั้น มันก็ไม่เห็นอยู่ดี[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เหมือนกับเรามีอาหาร รอบตัวเรา มันตั้งอยู่แต่ละจานๆ ก็เห็นอยู่ แต่หากว่าเราไม่เอาช้อนมาตักใส่ ปากเรา เราก็ไม่ได้ลิ้มรสของอาหารนั้น เพียงแต่เห็น[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] การตั้งสติไว้ที่กาย เป็นอุบายที่ดีเลิศ แต่ว่าเราก็ต้องทำให้มันบริบูรณ์ให้ได้ การรักษาความ สำรวมที่เราเรียกว่า อินทรียสังวร มันก็เป็นส่วนที่สำคัญในการฝึกสติไว้ที่ กาย อย่างที่ได้พูดถึงจอมปลวกที่มี ๖ รู[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่การอุปมาอีกอย่าง หนึ่งที่พระพุทธเจ้าเองได้ยกมาใช้ ท่านได้ยกอุปมามา คือท่านสมมุติว่า มี สัตว์ ๖ ประเภท เช่น ตัวอย่างก็มี จระเข้ ลิง นก งู หมา และหมาจิ้งจอก ถ้า หากว่าเราไปจับสัตว์ ๖ ตัวนี้มามัดเชือกไว้ มัดขามันไว้ด้วยกัน พอเรา ปล่อย สัตว์เหล่านั้นก็จะตะเกียกตะกายแย่งที่จะกลับบ้านของมัน กลับถิ่นของ มัน กลับที่ที่สบายของมัน จระเข้ก็จะวิ่งไปหาน้ำ ลิงก็จะวิ่งไปหาป่า งูก็จะ ไปหาจอมปลวก นกก็จะบินขึ้นฟ้า ขึ้นต้นไม้ หมามันก็จะอยากไปหมู่บ้าน หมา จิ้งจอกก็จะไปหาป่าช้า คือสัตว�แต่ละชนิดมันก็จะมีถิ่นของมัน เรียกว่ามี บ้านของมันเอง แต่ในเวลาที่มันมัดด้วยกัน มันจะต�องลากหรือดึงสัตว์อื่นๆ ไป ด้วย คือมันจะแย่งกันอยู่ตลอด มันแล้วแต่ตัวไหนจะแข็งแรงกว่ากัน จะไปถึงตรง ไหน ตัวที่มีความแข็งแรงมากกว่า สามารถที่จะจูงไปมากกว่า มันจะไปตรงนั้ พระ พุทธเจ้ายกเปรียบเทียบ คือเหมือนกับอายตนะของ เรา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือในเวลาเราไม่มีสติ แล้วแต่อันไหนจะแข็ง แรงกว่ากัน มีความสนใจกว่ากัน ตื่นเต้นกว่ากัน มันจะชักลากอันอื่นๆ ให้ไป ตาม ถ้าหากว่าเราเห็นสิ่งที่น่าสนใจที่ตัวมีความพอใจ ส่วนอื่นๆ มันก็จะ ถูกลากไป ทั้งๆ ที่บางที เรากำลังทำการงานอื่นซึ่งเราสมควรที่จะตั้งสติ ไว้ แต่ว่าพอเกิดความสนใจในเรื่องอื่น เกิดตัณหาในเรื่องอื่น มันก็ไปทำ เรื่องอื่น[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เราเองก็คงจะเคยประสบ เหมือนกัน เช่น บางทีเรามีการงานที่เราควรทำ แต่พอได้ยินเสียง เอ้า มันก็ไป ละ ไปคิดเรื่องอื่นหรือดึงไปที่อื่น หรือเรามีสิ่งที่เราควรจะทำ มีหน้าที่ ที่ควรจะทำ พอเกิดท้องหิวขึ้นมาก็ทิ้งงานแล้วไปหาอะไรกินสักอย่าง นี่มันถูก ชักลากไปตามความพอใจ ความไม่พอใจ ความชอบ ความไม่ชอบ เพราะไม่มีหลัก มัน แล้วแต่ว่าใครจะแข็งแรงกว่ากัน แล้วแต่ใครสามารถที่จะแย่งเอาเพื่อนให้ ถูกลากตามไป[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระพุทธเจ้าจึงยก ว่า ถ้าหากว่าเราเอาสัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น แล้วแทนที่จะเอาเชือกมามัดไว้ที่ ขาแต่ละตัว แล้วมัดไว้ด้วยกัน เราเอาเสาที่แข็งแรงมาปักลงในดิน เอาเชือกมา มัดขาสัตว์แต่ละตัวแล้วมัดไว้ที่เสาหลักซึ่งปัก ลงไปในดินอย่างแน่น หากมัด เรียบร้อยแล้วก็ปล่อยไป มันก็ไปไหนไม่ได้ หรือจะไป มันก็วนอยู่แถวรอบบริเวณ เสา แล้วแต่เชือกมันจะยาวสั้นแค่ไหน[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ท่านก็ยกเปรียบ เทียบ เหมือนกับเราผู้ปฏิบัติ เราเอาสติปักลงอยู่ที่กาย กายคตาสติ ตั้งสติ ไว�ที่กายคือตาจะเห็นรูปก็ดี มันก็เห็นอยู่ แต่ว่าสติอยู่ที่กาย หูได้ยิน เสียงก็ดี ได้ยินอยู่แต่ว่าสติอยู่ที่กาย มันอยู่ที่กำหนดที่กายของตัว เอง แล้วก็มันมีสติต่อเนื่องอยู่กับกาย มันก็ได้มีความสำรวม จะมีความ สงบ อย่างไร สัตว์เหล่านั้นมันก็ต้องเหนื่อย มันอยากกลับบ้านของมันก็จริง อยู่ หมามันก็อยากไปในหมู่บ้าน หมาจิ้งจอก ก็อยากไปในป่าช้า นกก็อยากบิน ขึ้นฟ้า ลิงก็อยากไปในป่า จระเข้ก็อยากหาน้ำ งูก็อยากหาจอมปลวก มันก็อยากไป อยู่จริงอยู่ แต่ว่าไปไม่ได้เพราะว่า มันถูกรัดไว้ที่หลักอันนั้น[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ก็เหมือนกันล่ะ บางที ใจของเราก็อยากคะนองอยู่กับการเห็นรูปก็จริงอยู่ ได้ไปเพลิดเพลินกับ เสียง หรือกับเรื่องอื่นๆ ก็จริงอยู่ แต่ว่าสติปักไว้ที่กาย มีกายคตาสติ แน่นอยู่ มันก็จะต้องวนๆอยู่ มันไม่ไปไกลหรอก มันจะอยู่กับความสำรวม อยู่ กับอินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ แล้วความสงบมันก็ย่อมต้องเกิดขึ้น ความมีสติ ต่อเนื่องก็ย่อมต้องเกิดขึ้น เพราะว่าเราตั้งสติไว้ที่กาย เลยเป็นอุบายที่ พระพุทธเจ้าให้เราพิจารณา[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] การเอากายเป็นที่ตั้ง แห่งสติ เป็นเหตุอย่างที่พระพุทธเจ้าในสติปัฏฐานสูตร คือท่านได้บอกให้เรา ตั้งสติไว้ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ให้มีสติไว้ที่กาย จะไปเหยียด แขน จะเอาแขนเข้ามา จะก้าวข้างหน้า จะถอยหลัง มันก็มีสติไว้ จะพูดก็มีสติ ไว้ แม้จะรับประทานอาหารก็มีสติไว้ที่กาย แม้แต่จะเข้าห้องน้ำห้องส้วมก็ยัง มีสติไว้ที่กาย คือไม่พลาดโอกาสที่จะได้มีสติต่อเนื่อง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ กายเราขยับซ้ายขยับขวา จะลุก จะนั่ง จะนอน เราก็ตั้งสติไว้ให้ต่อเนื่อง[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] อันนี้เป็นการฝึกหัด ที่เรียกว่าตั้งไว้ที่กาย รู้กายของเรา รู้ลักษณะของกายแล้ว มันก็ช่วยให้ เราได้ เห็นจิตใจชัดเจนขึ้น เพราะว่าความสงบและความสำรวมที่มีทำให้มีความ สว่างในจิตใจพอที่จะไม่วุ่นวาย เพราะจิตใจของเราวุ่นวายจัง เราก็ต้องมี อุบายช่วย[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] การตั้งสติไว้ที่กาย คืออุบายที่ดีมาก เหมือนที่ได้ พูดตอนแรกๆ ที่พระพุทธเจ้าท่านยกอุปมา ถ้า เราเห็นมหาสมุทร เราก็เชื่อมั่นว่าเราได้เห็นน้ำจากทุกลำธาร ทุกสายน้ำ ทุก ห้วย ทุกแม่น้ำ มันก็ต้องหลั่งไหลมาสู่มหาสมุทร ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราตั้ง สติไว้ที่กาย มันมีความเชื่อมั่นว่าเราก็ต้องเห็นธรรมะอื่นๆ มันก็จะต้อง ปรากฏแน่นอน จะมีความคิดนึกก็ดี จะมีความรู้สึกก็ดี จะเป็นคุณธรรมก็ดี จะ ไม่เป็นคุณธรรมก็ดี มันก็จะค่อยปรากฏ ถ้าเรามีสติไว้ที่กาย ก็เป็นข้อคิด เป็นธรรมะสำหรับภาคเช้า ก็คงจะพอเอาไปพิจารณา พอเอาไปฝึกไปปฏิบัติ ก็ลอง นั่งสมาธิกันต่อจิตสงบสร้างกำลังใจ พวกเราได้เข้ามาภาวนา ได้ปฏิบัติธรรมกัน หลายวันแล้ว ปกติเวลาเราปฏิบัติ เราภาวนา ถ้าหากว่าเราปฏิบัติอย่างต่อ เนื่องก็จะมีกำลัง เหมือนจะสะสมกำลังไว้ พูดง่ายๆ ทำให้ จิตใจมีกำลังของ ศรัทธา กำลังของความสงบ กำลังของความพากเพียร กำลังของการพิจารณา ก็มักจะมี กำลังเพิ่มขึ้นเพราะการได้ ปฏิบัติได้ภาวนาอย่างต่อเนื่อง อยากให้เราสนใจใน การเอากำลังนั้นมาทำให้จิตใจสงบ ลองดูว่าจิตของเราจะสงบแค่ไหน ทดลองตัวเอง ว่าจะปล่อยให้จิตใจเกิดความสงบมากน้อยสักแค่ไหน เพราะโดยปกติจิตของเรามัน ชอบที่จะมีเรื่องแทรกซ้อนเข้าไปแล้วมันก็ขัดขวางกับความสงบ ยิ่งโดยเฉพาะ อย่างที่อาตมาได้อธิบายมาแล้ว เกี่ยวกับนิวรณ์ นิวรณ์เป็นสิ่งที่ขัดขวาง ต่อความสงบ เป็นสิ่งที่ขัดขวางต่อคุณงามความดีของเรา นิวรณ์มีกามฉันทะ เป็น ต้น ความพอใจในกามารมณ์ พยาบาท ความขัดเคือง ความไม่พอใจ ถีนมิทธะ ความ ง่วง เหงาหาวนอน ความหดหู่ ความสะลึมสะลือ อุทธัจจ-กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ คิดนี่คิดนั่น และวิจิกิจฉา ความโลเล ความสงสัย สงสัยในสิ่งที่ ถูก สงสัยในสิ่งที่ควร สงสัยในปลายทางในความมุ่งหมายว่าจะเป็นสิ่งที่จริง ไหม และสงสัยในตัวเอง ว่าถึงจะจริงแล้วตัวเองทำไหวหรือเปล่า[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] อยากให้เรากลับมา พิจารณาในแง่ของนิวรณ์ และการดับนิวรณ์ หรืออย่างน้อยให้เข้าใจและฝึกหัดกับ นิวรณ์ เพราะว่าอยู่ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นฐานของการตั้งสติไว้ ที่ พระพุทธเจ้าก็ได้ระบุไว้[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] นิวรณ์เหล่านี้เป็น สิ่งที่ทำให้เราไม่สามารถที่จะลิ้มรสของความสงบ การที่จะมีความชำนาญในการ แก้ไข และอย่างน้อยได้ระงับไว้สักระยะหนึ่ง ชั่วคราวก็ยังดี เพื่อเราได้ สามารถลิ้มรสของจิตใจที่เยือกเย็นปลอดโปร่ง เพราะถ้าหากว่าเราได้ลิ้มรสของ ความสงบเราก็จะมีกำลังใจในการปฏิบัติ คิดว่าส่วนใหญ่ของพวกเราและส่วนใหญ่ ของนักปฏิบัติทั้งหลายที่ได้ยังปฏิบัติอยู่ ที่ยังมีความอุตสาหะพยายามในการ ฝึกหัดตัวเอง กำลังใจในการฝึกหัดมันก็เกิดจากการที่ได้เคยมีความสงบ ถึงอาจ จะไม่มาก ก็ได้อยู่ แต่อย่างน้อยมันได้ลิ้มรสและได้เห็นสมรรถภาพของจิตใจ ซึ่งมีความสามารถ ที่จะสงบจริง ที่จะปลอดโปร่งจริง[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] อาตมาเองก็เช่นเดียว กัน ที่ได้ตั้งใจบวชและตั้งใจปฏิบัติต่อไปและในที่สุดได้บวช แรงจูงใจก็คือ ความสงบ คือปรัชญามันไม่เพียงพอหรอกที่จะทำให้เราตั้งใจปฏิบัติตั้งใจ ฝึกหัด ความคิดความเห็นมันก็ไม่พอ แต่ถ้าหากว่าเราเคยได้ลิ้มรสของความ สงบ กำลังใจย่อมมี เรายินดีที่จะฝึกฝนตัวเอง ยินดีที่จะผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ได้ เพราะว่าเราได้สัมผัสด้วยตัวเอง ว่าความสงบเป็นสิ่งที่จิตใจของมนุษย์ สามารถที่จะสัมผัสได้ สามารถที่จะดำรงไว้ในชีวิตได้ ถ้าเรามีความตั้งใจที่ จะภาวนา อย่างไรเราก็ต้องเจออุปสรรค อุปสรรคก็คือพวกนิวรณ์ ซึ่งก็ย่อมมี อยู่ในใจทุกคน แต่ว่าส่วนที่แก้ไขก็มี อยากเสนอให้เราพิจารณาคุณธรรมที่จะ แก้ไขนิวรณ์ต่างๆ ที่อยากยกเป็นประเด็นขึ้นมา ก็คือคุณสมบัติของฌาน ที่ ๑ เวลาจิตใจของเราเข้าฌาน คือจะมีลักษณะของจิตสงบอยู่แล้ว เป็นภาวะของ ความเบาปลอดโปร่ง เป็นสมาธิ ส่วนประกอบของฌานที่ ๑ ก็เป็น วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ๕ ประการ มี[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] วิตก เราต้องเข้า ใจ วิตกภาษาบาลี ไม่เหมือน กับวิตกภาษาไทย บางครั้งก็สับสนเหมือนกัน ภาษา ไทยกับภาษาบาลี ภาษาไทยก็เอามาทับ เอาศัพท์จากภาษาบาลีมาใช้ แต่ว่าความหมาย ไม่เหมือนกับภาษาบาลี อย่างวิตกในภาษาไทยก็กลายเป็นเรื่องความ กังวล ห่วง คิดเรื่องนี้เรื่องนั้น วิตก[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่ว่าภาษาบาลี วิตก แปลว่า ความคิดที่ยกอารมณ์ขึ้นมาสู่ใจ วิตกเป็นการเริ่มคิด เป็นการเริ่มใช้ จิตใจ หรือใช่การพิจารณาขึ้นมา มันยกอารมณ์ขึ้นมาสู่ใจ จะเป็นความรู้สึกก็ ดี เป็นการคิดนึกก็ดี อันนี้เรียกว่าวิตก ยกขึ้นมาสู่ใจ ยกอารมณ์ ขึ้นมาสู่ ใจ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] วิจาร คือการใคร่ครวญ ในอารมณ์นั้น คือยกขึ้นมาสู่ใจแล้วเราก็วิจาร มาพิจารณา มาสังเกต มันจะ สร้างความถี่ถ้วนในความรู้ ในความรู้สึกอันนั้นหรือความคิดอัน นั้น ปีติ คือ ความอิ่มเอิบ สุข คือ ความสุข นั่นละ เอกัคคตา คือ จิตเป็น หนึ่ง จิตมีอารมณ์ดียว วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ก็เป็นลักษณะ ของฌาน ที่ ๑ และเป็นสิ่งที่เราควรจะใช้ฝึกหัดใจของเรา เพื่อให้ได้เข้าสู่ความ สงบ อย่างเมื่อคืนเวลาเราสวดอริยมรรค ๘ ก็จะระบุอยู่ในหมวดสัมมาสมาธิ คือ พื้นฐานของจิตที่เริ่มเข้าฌาน คือเราจะมีความวิเวกแล้วจากกามทั้งหลาย วิเวก แล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จิตไม่ได้ฟุ้งซ่านปรุงแต่งในอารมณ์ที่วุ่นวาย มัน เริ่มที่จะเอาแต่ธรรมะขึ้นมาสู่ใจ ที่เราอธิบายเรื่องวิตก วิจาร ใช้ความ คิด มันไม่ได้คิดในแง่กาม ไม่ได้คิดในแง่อกุศล มันสละหรืออย่างน้อยก็ได้ วางเอาไว้ ไม่แตะต้องแล้ว เพราะเห็นโทษของมัน เราก็อยากให้จิตเยือกเย็นโดย คุณธรรม จิตมันจะสละหรือจะห่างหรือจะวิเวกจากกามและอกุศล[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] วิตกคือเรายกอารมณ์ขึ้นมาสู่ใจ คือจะเป็นความรู้สึกของลมหายใจเข้าลมหายใจ ออก มันก็เป็นวิตก คือเรายกความรู้สึกขึ้นมาเป็นวิตก ยกความรู้สึกขึ้น มา แล้วก็รักษาอารมณ์นั้นไม่ให้มันไขว้เขว ก็อาศัยวิตก แล้วก็อาศัยวิจารคอย พิจารณา คอยเห็นความเปลี่ยน ของมัน ประคับประคองเพื่อเห็นชัดยิ่งขึ้น เป็น ความรู้สึกต่อลมหายใจเข้า คือวิตก มันก็ได้ความรู้สึกลมหายใจเข้า วิจารก็จะ ตามจับความรู้สึกอันนั้นให้มันชัด มันจะได้ติดตามคอยสังเกตดู คอยเกิดความ ติดตามที่ใกล้ชิด จะเห็นชัดเจน วิตกวิจารมันอยู่ด้วยกัน มันช่วยกัน[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] วิตกคือยกอารมณ์ขึ้นมาสู่ใจ วิจารก็ได้ทำให้เราพิจารณาตาม เราก็ได้ติดตามอารมณ์และความรู้สึกอันนั้น เพื่อให้มันชัดเจนได้[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] วิตกวิจารมันจะอยู่ด้วยกัน เวลาเราฝึกหัดภาวนา ถ้าหากว่าเราพิจารณาตาม สติ ก็คอยเลอะเลือนไปคิดเรื่องอื่น พอรู้สึกว่าไปคิดเรื่องอื่นแล้ว ก็อาศัยวิตก ยกอารมณ์ขึ้นมาสู่ใจใหม่ แล้วก็วิจารตาม คือมันจะกี่ครั้งกี่หนเวลาเราทำ กรรมฐาน ก็สุดแล้วแต่ เราก็ได้ ไปคิดเรื่องอื่น อันนั้นก็ไม่ได้แปลก อะไร แต่ว่าขอให้เรามีวิตก คือยกอารมณ์ขึ้นมาสู่ใจอีก ยกกรรมฐานขึ้นมาสู่ ใจ และก็มีวิจารติดตาม ซึ่งอันนี้เราจะอาศัยความรู้สึกของลมเข้าลมออกก็ ดี เราจะอาศัยการพิจารณาความไม่เที่ยงก็ได้เช่นเดียวกัน[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เช่นเรายกอารมณ์ของความไม่เที่ยงเป็นประเด็น เราก็วิจารก็คอยสังเกตในความ ไม่เที่ยงของอารมณ์นั้น ความรู้สึกนั้น เลยเป็นวิธีการของการประคับประคอง จิตใจให้อยู่ในกรรมฐาน ให้อยู่ในการปฏิบัติหรือฝึกหัดต่อเนื่องในสติของเรา[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เวลาจิตใจของเรามีการต่อเนื่องของอารมณ์ แล้วก็เห็นให้มันชัดเจนยิ่ง ขึ้น โดยอาศัยความวิเวกจาก กามและอกุศล คุณธรรมและคุณงามความดีในจิตใจ มัน ก็ย่อมรวบรวมมีกำลัง ก็จะมีปีติเกิดขึ้น คือความอิ่มเอิบ ซึ่งก็อาจจะไม่ได้ แสดงออกอย่างน่าอัศจรรย์หรือรุนแรงอะไรมากนัก แต่ว่าก็จะมีอาการของ ปีติ เช่นเวลาเรานั่งสมาธิ ได้สติต่อเนื่อง เริ่มที่จะรู้สึกว่าติดตาม อารมณ์ได้ใกล้ชิดได้และรู้สึกเบา เช่นร่างกายเริ่มเบา อันนั้นก็เป็นอาการ ของปีติ เราได้รู้สึกเบา สว่าง เช่นเวลาเรานั่ง ปีติเริ่มเกิดขึ้น เช่นเวลา เรานั่งสมาธิ แล้วสติไม่ค่อยแก่กล้าปีติไม่เกิด นั่งสมาธิมันชอบ จะหดๆๆเข้า อย่างนี้ แต่ถ้าปีติเกิดมันเหมือนกับมัน ทำให้สันหลังตรง ร่างกายมันค่อย สมดุลพอดี มันมีกำลังเบา ปลอดโปร่งทั้งกายทั้งใจ แต่ว่ามันเป็นลักษณะที่ แสดงออกทางกาย อย่างว่าละ คือท่านั่ง ค่อนข้างจะนั่งได้ตรงขึ้น แล้วก็เลือด ลมจะวิ่งได้ดี ความเหน็บชาก็มักจะหาย อาศัยปีตินี่แหละเป็นเหตุ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] อาการบางอย่างของปีติ เวลามีปกติบางครั้ง ร่างกายมีความสะดุ้งก็มี บางทีโยก ไปโยกมาก็มี แต่โดยปกติการโยกไปโยกมาของร่างกายไม่ใช่ปีติ คือมันง่วงเหงา หาวนอนขาดสติ โดยมากเป็นอย่างนั้น มันเป็นอาการที่เป็นได้ คือเราไม่ควรจะ ตกใจ ถ้าหากว่าจิตใจปลอดโปร่ง แต่ว่ามีอาการทางร่างกายแสดงออกบ้าง มันก็ไม่ น่าตกใจ มันเป็นลักษณะของปีติบางอย่าง มันเป็นอย่างนั้น บางทีปีติมันก็เกิด ขึ้นในลักษณะขนลุก น้ำตาไหล นึกถึงคุณธรรมนึกถึงครูบาอาจารย์ นึกถึงพระ พุทธเจ้า มันตื้นตันใจ นี่เป็นลักษณะของปีติ และเป็นสิ่งที่ให้ความสบายแก่ จิตใจ และความสุข คือปีติมักจะแสดงออกที่จิตใจในลักษณะ ความตื่นเต้นของจิต ใจ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เวลามีความสุข ความตื่นเต้นจะน้อยลง แต่ ความรู้สึกสบาย สบายทั้งกายสบาย ทั้งใจก็เกิดขึ้น ที่จริงมันก็คล้ายๆปีติ แต่มันจะลึกกว่ากัน หนักแน่นกว่า กัน เลยเป็นลักษณะของจิตใจที่เห็นธรรมะและเริ่มที่จะมีการรวบรวมกำลังที่ อารมณ์เดียว ที่เราเรียกว่าเอกัคคตา เอกัคคตาอารมณ์ จิตเป็นหนึ่ง มี อารมณ์ เดียว ไม่แส่ส่ายไปตามการคิดนึกความรู้สึกต่างๆ [/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] มันก็เป็นเรื่องแปลกเหมือนกันที่ว่า จิตสงบ จิตเป็นฌาน มีอารมณ์เดียว จิต เป็นหนึ่ง แล้วทำไมมันพะรุงพะรังกับเรื่อง วิตก วิจาร ปีติ สุข มัน อารมณ์ เดียวอยู่ที่ไหน เพราะว่ามีเรื่องอื่นอยู่ คืออันนี้ก็ไม่แปลก หรอก ในลักษณะที่เราเรียกว่าอารมณ์เดียว คือเป็นอารมณ์ที่มีความสำรวมไว้ที่ ธรรมะ มีความสำรวมไว้ที่กุศลธรรม ถึงจะมีการเคลื่อนไหว มันก็ไม่หนีออกจาก ธรรมะ ไม่หนีออกจากกุศลธรรม มันไม่หนีเข้าไปสู่ความตกต่ำที่ไหน มันจึงมี อารมณ์เดียวในลักษณะว่าเยือกเย็น สงบ เป็นธรรมะ เป็นกุศลธรรม[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่เป็นการเริ่มต้นของฌานซึ่งจะมีความละเอียดกว่ากันในเวลาเราฝึกต่อไป แต่ ว่าอาตมาจะไม่พูดอะไรมากนักในแง่นั้น มันเป็นส่วนที่เราจะพัฒนากันต่อไป ขอ ให้เราเข้าเหมือนกับเข้าประตูถูก เข้าช่องถูก ถ้าเราเข้าช่องถูกเราก็ค่อย ปฏิบัติเองได้ ค่อยฝึกฝนด้วยตัวเองได้ ยิ่งโดยเฉพาะการทำให้จิตสงบที่เป็น พื้นฐาน ที่อาศัยวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา มันเป็นส่วนที่สำคัญในการฝึก จิต เพราะว่าโดยปกติความคิดของคนหรือความเห็นของคน มักจะพยายาม ไม่ให้มีการ คิด แต่ที่จริงในแง่การใช้ความคิดตามลักษณะของวิตกวิจาร มันเป็นสิ่งที่ช่วย ให้จิตสงบ เพราะว่าอาศัยหลักธรรม แล้วก็จิตจะต้องมีงานทำ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] มันยกอารมณ์ขึ้นมาสู่ใจและก็มาวิตก แล�วก็มีการใคร่ครวญในอารมณ์นั้นในความ รู้สึกนั้นในความคิดอันนั้น ก็เป็นวิจาร ถ้าปรุงแต่งออกไปขาดสติไป ก็เอา วิตกขึ้นมาใหม่ แล้ววิจารต่อ อาศัยวิตกวิจารคอยประคับประคองจิตใจให้สติต่อ เนื่อง ให้อารมณ์ของธรรมะต่อเนื่อง ให้กรรมฐานของเราต่อเนื่อง จิตมันจะค่อย มีความละเอียดมากขึ้น เป็นการฝึกจิตใจที่ถูกต้อง[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เพราะว่าถ้าเรานั่งลง แล้วก็มีแต่จะผลักออกซึ่งความรู้สึกก็ดี การคิดนึกก็ ดี มีแต่ผลักออก สาเหตุที่เราผลักออกนั้นมักจะเป็นด้วยความกลัวอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นอกุศล กลัวความคิด ไม่อยากให้มี และเกลียด เรารังเกียจความคิด เรา ไม่อยากให้มีความคิด เลยมันก็เป็นอกุศล ฐานของจิตเป็นอกุศล เพราะว่า ความ เกลียดก็ดี ความกลัวก็ดี มันก็เป็นอกุศลอยู่ดี จะทำให้จิตสงบโดยเอา อกุศลเป็นฐานมันก็เป็นไปไม่ได้ คือมันขัดกันอยู่[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เราจำเป็นที่จะต้องกลับมาทบทวน ทำยังไงถึงจะได้ให้จิตวิเวกจากกามทั้งหลาย วิเวกจากอกุศลทั้งหลาย แล้วก็ได้ฝึกฝนในการประคับประคองให้ได้สติต่อ เนื่อง แล้วเอกัคคตาจิตค่อยเกิดขึ้น[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เวลาเราฝึกอยู่ คุณสมบัติของฌานที่ ๑ ที่จริงก็เป็นการแก้ไขต่อนิวรณ์โดย ตรง เช่น วิตก การยกอารมณ์ขึ้นมาสู่ใจ ถ้าหากว่าเราดูว่ามันจะแก้นิวรณ์อะไร บ้าง คือมันเกิดถีนมิทธะ เวลาเรายกอารมณ์ขึ้นมาสู่ใจ มันก็มีความชัดเจน ถีน มิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ความสะลึมสะลือ ความหดหู่ มันก็ถอยออกไป มันอยู่ ไม่ได้[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] บางทีเราก็มีความรู้สึกง่วงหรือจิตใจไม่ค่อยชัดเจน เวลาเราภาวนา เราก็ต้อง เอาวิตกขึ้นมา ยกอารมณ์อันใดอันหนึ่งขึ้นมาสู่ใจ จึงจะได้แก้ไขความง่วงอัน นั้น หรือความไม่ชัดเจนอันนั้น เราอาศัยวิตกเพื่อแก้ไขความง่วง มันเป็น ปฏิปักษ์กัน เวลาวิตกอยู่ความง่วงก็อยู่ไม่ได้ ถีนมิทธะเข้ามาไม่ได้ เราก็ ต้องขยันในการยกอารมณ์ของกรรมฐานขึ้นมาสู่ใจ ยกอารมณ์ของการพิจารณาเข้ามา สู่ใจ เวลาทำอย่างนั้น ความง่วงก็เข้ามาไม่ได้ ปัญหาเวลาความง่วงหรือจิตใจ คลาย มันก็ลอยออกไป คือการวิตกไม่อยู่กับใจ คือมันคลายออกจากกัน ยกขึ้นมา สู่ใจ มันก็เลยไม่ชัด เวลาจิตใจไม่ชัดนิวรณ์ก็เข้ามาแทน อันนี้เราก็ต้อง ค่อยฝึกกันค่อยหัดกัน เราก็ยกอารมณ์ขึ้นมาสู่ใจ อาศัยวิตกเป็นการงานหรือการ กระทำของเราวิจาร วิจารก็จะแก้วิจิกิจฉา ความโลเลสงสัย เวลาเราวิจารติดตาม อย่างต่อเนื่อง คือเรายกอารมณ์ขึ้นมาสู่ใจแล้วเราติดตามในอารมณ์นั้น โอกาส ที่ความ โลเลสงสัยจะเกิดขึ้นไม่มีเพราะว่าจิตปักหลักอยู่กับความรู้สึกอัน นั้น การกระทำอันนั้น เลยไม่เกิดความสงสัย[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เวลาเราใช้วิจารในการภาวนา ถ้ายกเป็นรูปธรรมขึ้นมา เหมือนกับเรายกนาฬิกาอัน นี้ขึ้นมาดู ยกขึ้นมาก็เป็นวิตก วิจารคือเราจะสังเกต มีลักษณะอะไรบ้าง สี ของมันบ้าง มันแดงขาวมันเป็นยังไงบ้าง มันประกอบด้วยอะไรบ้าง เราก็ดูให้มัน ละเอียด[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ถ้าหากว่าเราหมดความสนใจของมัน แล้วก็ไปคิดเรื่องอื่น เราก็ต้องยกขึ้นมาดู อีก วิตก วิจาร มาดูให้มันรอบคอบ ดูให้มันชัด ดูให้มันเห็น สังเกตให้มัน รอบคอบจริงๆ ถี่ถ้วน ตัวนี้เป็นวิจาร[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เวลาเราดูอย่างละเอียดอย่างนั้น เราก็ไม่สงสัย ไม่ได้โลเลเพราะว่าจิตติดตาม กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ มันเลยแก้ไขนิวรณ์ที่เป็นความโลเลสงสัย วิจิกิจฉา[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ปีติ เวลาเกิดปีติ มักจะแก้ไขความรู้สึกที่เป็นความพยาบาท ความขัด เคือง ประกอบด้วยโทสะ ไม่พอใจ เวลาปีติเกิดขึ้น คือมีความอิ่ม เอิบ ภูมิใจ จิตใจเบิกบานอยู่ ความรู้สึกที่ไม่พอใจ หงุดหงิด มีความขัด เคืองอยู่ในใจโดยอำนาจโทสะ มันก็อยู่ไม่ได้ปีติมันจะทำลาย ความรู้สึกก็จะ พลิก มันก็เหมือน ไฟกับน้ำ มันอยู่ในที่เดียวกันไม่ได้ ถ้าหากว่าไฟมันร้อน เกินไป น้ำก็อยู่ไม่ได้ คือถ้าโทสะมากไปปีติอยู่ไม่ได้ ถ้าหากว่าเราให้ความ สำคัญกับปีติ เหมือนกับถ้าน้ำอยู่มากๆ ไฟก็อยู่ไม่ได้ ไฟก็ต้องดับไป[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] เหมือนกับถ้าเรามีปีติเกิดขึ้น ปีติมากขึ้น โทสะก็อยู่ไม่ได้ คืออยู่ด้วย กันไม่ได้ เลยเป็นส่วนที่เราให้ความสนใจและความสำคัญกับปีติเพื่อจะได้ล้าง โทสะและความขัดเคืองออกจากจิตใจ อย่างน้อยก็ในเวลานั้น อย่างน้อยในเวลาที่ เราภาวนาหรือที่เราฝึกสมาธิอยู่ ก็จะได้ลิ้มรสของจิตใจที่ปราศจากโทสะ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ความสุข เป็นสิ่งที่แก้ไขอุทธัจจกุกกุจจะ ความ ฟุ้งซ่าน ถ้าหากว่าเรามีความ สุข คือเราไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญ ไม่วุ่นวาย ถ้ามีความสุข สุขกายสุขใจ เราก็ ยินดีที่จะอยู่กับอารมณ์และความรู้สึกและสถานการณ์ที่เรากำลังจะสัมผัสใน เวลานี้ เลยเป็นสิ่งที่ทำลายนิวรณ์ที่เป็นความฟุ้งซ่าน และเป็นส่วนที่เราก็ ต้องให้ความสนใจ เพราะว่าเรายอมให้ความสุขเกิดขึ้น ก็อย่างที่ได้อธิบาย แต่ ว่าควรย้ำเหมือนกัน คือ ความสุขในแง่นี้เป็นความสุขที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ กุศลกรรม ความสุขที่เกิดจากธรรมะ ความสุขที่เกิดจากความดีงาม เป็นความสุข ที่ไม่มีพิษมีภัย เป็นความสุขที่หล่อเลี้ยงกำลังของจิตใจ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในอนาคต ต่อไปเวลาเราฝึกให้ละเอียดขึ้น เราก็จะต้องสละเหมือนกัน แต่ในเวลา นี้ก็ควรที่จะสนับสนุนให้เกิดขึ้นเพื่อจะได้ลิ้มรสของความสงบในระดับ นี้ เพราะถ้าหากว่าเรายังไม่ได้ลิ้มรสความสงบในระดับนี้ เรื่องความสงบและ ความประณีตของจิตใจที่ต่อไป มันก็กลายเป็นเรื่องที่คาดคะเน เดาเอา แล้วก็ ไม่ได้ลิ้มรสเลย ไม่ได้สัมผัสเลย ไม่มีโอกาส เลยเป็นสิ่งที่เราก็คงจะสงสัย ว่ามีหรือเปล่า [/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] จำนวนไม่น้อยในโลกนี้ ไม่ยอมสละความสุขของกามคุณเพื่อได้ความสุขของ คุณธรรม นี่พูดถึงคนส่วนใหญ่ก็อย่างนี้แหละ ก็ยังพึ่งความสุขในกามคุณ ใน ความเพลิดเพลิน ความตื่นเต้นในโลก คาดไม่ถึงว่ามีความสุขที่ละเอียดกว่า นั้น คาดไม่ถึงว่าความสุขที่ไม่วุ่นวายนั้นมี มันเป็นความสุขที่เกิดจาก คุณธรรม จากการฝึกใจ ความสุขของความสงบ มันเป็นสิ่งที่เราต้องลิ้มรสเอง[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] บางทีตัวเราเองก็อาจสงสัย แต่ที่แน่นอนในโลกนี้ คนมากมาย เขากลัวว่าถ้าจะ ต้องถอยออกจากความสุขที่มีอยู่เพื่อได้ความสุขของความสงบ เขาก็มองไม่ เห็น ไม่ได้สัมผัส ก็เลยจะยึดไว้ซึ่งความสุขในโลก แต่ความสุขนั้นมันเป็น ความสุขที่มักจะวุ่นวาย มักจะมีความฟุ้งซ่านอยู่ มักจะมีสิ่งที่ทำให้เรายัง กระหาย ถึงได้ มันก็เบื่อ คิดดู เราทุกคนที่ปฏิบัติกันมา อาตมาก็เชื่อว่า เราก็เคยมีความสุขพอสมควรในโลก แต่ว่าความสุขนั้น มันไม่สามารถที่จะให้ความ อิ่มกับเราจริงๆ ไม่สามารถ ที่จะให้ความรู้สึกว่าพอ และมีความรู้สึกว่าเต็ม บริบูรณ์ มันได้แล้ว มันก็ยังรู้สึกว่ายังขาดอยู่ หรือได้แล้วสักมากน้อยแค่ ไหน มันก็เบื่อ จึงเป็นแง่ของการพิจารณา[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ความสุขที่เราฝึกในการภาวนา เป็นความสุขที่ทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน จะเยือก เย็น ปลอดโปร่ง จึงแก้นิวรณ์ความฟุ้งซ่าน อุทธัจจะกุกกุจจะ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] อันสุดท้าย เอกัคคตา คือจิตใจรวมเป็นหนึ่ง จิตใจมีอารมณ์เดียว เป็นสิ่งที่ ล้างหรือชำระกามฉันทะ เพราะว่ากามฉันทะโดยลักษณะมันก็หลากหลาย อยู่กับ เรื่องเดียวไม่ได้ เดี๋ยวก็ชอบลิ้มรสอันนี้ เดี๋ยวก็ชอบสัมผัสอัน โน้น เดี๋ยวชอบที่จะได้ตื่นเต้นทางโน้น มันก็ไปเรื่อยๆ มันจึงรู้สึกไม่อิ่ม สักที[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] หลวงพ่อชาท่านเคยใช้สำนวน กามฉันทะ หรือความพอใจในกาม เหมือนกับคนอ้าไม่ งับ มันอ้าไว้อยู่ตลอด จะรับเอากินเอาทั้งหมด มันงับไม่อยู่ เพราะว่ามันหา ความอิ่มไม่ได้ หาความรู้สึกพอไม่ได้ เลยมันก็อยู่อย่างนั้นแหละ คิดดู คน ติดในกามฉันทะ มันก็น่าสงสาร เหมือนกับคนไปไหนแล้วอ้าไม่งับ ดูๆ แล้ว แหม น่าสงสารจัง แล้วก็มันไม่ได้ดูงดงามอะไรเลย นี่เป็นส่วนเอกัค คตา มันจะแก้ไขตัวกามฉันทะ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] คุณธรรม ๕ อย่างนี้ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นส่วนที่แก้ไขและเป็น ปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็ ขอให้เราใช้เป็นอุบายในการยกขึ้นมา มาฝึกหัด มาทดแทน มาลบล้าง มาต่อสู้ จะ ได้ให้กำลังใจในแง่คุณธรรม ให้คุณธรรมภายในจิตใจเราค่อยมีกำลัง เราจะได้รับ และลิ้มรสความสงบ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] การอุปมาที่พระพุทธเจ้าให้กับฌานที่ ๑ ก็เป็นภาพที่เราเองก็อาจจะไม่เคยเห็น ในสมัยนี้แต่พอนึกออกได้คือ พระพุทธเจ้าพูดถึงคนที่เวลาไปอาบน้ำในสมัย พุทธกาล คือจะเอาผงที่อาจจะทำด้วยดิน ทำด้วยน้ำหอม ทำด้วยสิ่งอื่นๆ แล้วเอา น้ำใส่ แล้วก็คอยขยี้บดให้มันได้ที่ คือถ้าใส่น้ำมากไป ก็จะเหลว ไหลออกไป เลย ถ้ามันเป็นผง มันก็แห้ง มาถูตัวก็ไม่ได้ ก็ไม่ดี หรือเราก่อนที่จะอาบ น้ำ คือเอามาใส่ในมือ เราก็ใส่น้ำเอาไว้ แล้วเราบดอยู่เราผสมอยู่จนกว่า มัน จะเป็นก้อนที่พอดี เรียกว่าไม่เหลวเกินไป ไม่แห้งเกินไป จนเป็นผงหาย ไป ตามความรู้สึกของอาตมา ที่สำคัญ คือ ที่จะได้ความพอดีของสบู่นั้น คือจะ ต้องใส่น้ำบ้าง แล้วก็จะต้องมาบด แล้วก็จะต้องใช้มือของเรามาขยี้ๆๆ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] มันก็คล้ายๆ ลักษณะเวลาเราฝึกใจของเรา ไม่ใช่ว่าปุบปับนิ่งทีเดียวหรอก คือ เราจะต้องเอาวิตก วิจาร ยกขึ้นมาแล้วก็เรามาพิจารณา แล้วก็ปีติก็เกิด ขึ้น เราก็เอาวิตกเข้ามา วิจารก็ประคับประคอง มันก็ค่อยๆตะล่อมอยู่ ค่อยๆ ฝึกอยู่ ค่อยๆ ให้จิตใจของ เราผสมโดยความพอดีของกุศลธรรม อกุศลธรรมก็ค่อย สลาย ค่อยๆ จากความรู้สึก แล้วก็คอยประคับประคองเรื่อยๆ ในที่สุด ตามที่พระ พุทธเจ้าอุปมา ในที่สุดจะได้เป็นสบู่ที่ใช้ได้ดี ถูตัวได้ทำอะไรได้ตามที่ เราต้องการ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] การอุปมาอื่นๆ ของพระพุทธเจ้าในการฝึกสมาธิ ก็จะมีความรู้สึกเช่นเดียว กัน คือประคับประคอง เช่นช่างทอง ช่างทองเขาจะต้องเอาทองมาใส่ภาชนะ แล้วเขา จะต้องใส่ไฟ ซึ่งเขาก็...ไม่รู้เขาเรียกอะไร...ที่เขาบีบอย่างนี้ อากาศมัน จะค่อยโผล่ออก นึกไม่ออกว่าใช้ชื่ออะไร แต่มันเป็นสิ่งที่เป่าอากาศเข้าไปใน ไฟ เขาจะเป่าอากาศใส่ในไฟ[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] คือถ้าหากว่าเป่าไปแล้ว ไฟมันร้อนเกินไป มันก็ไม่ดี ถ้ามันน้อยเกินไป มันก็ ไม่ละลาย มันก็ต้องคอยประคับประคองดู เป่าแล้วก็ต้องดูไฟ ถ้ามันแรงเกินไปก็ ไม่ดี เบาเกินไปก็ไม่ดี ไฟก็ต้องพอดี หรือถ้าหากว่ามันเริ่มจะร้อนเกินไป ก็ ต้องสังเกต เอาน้ำมาสาดสักหน่อยหนึ่งให้มันเย็นลง แล้วก็คอยประคับ ประคอง เวลาทองมันค่อยละลาย ก็ยังต้องตักส่วนเศษส่วนที่ไม่สะอาดออกเอาไป ทิ้ง เหลือแต่ทองอย่างเดียว คือมันเป็นการประคับประคองอยู่ตลอด ต้องดูไฟให้ มันพอดี เดี๋ยวไฟก็กำลังจะน้อยลงเราก็ต้องเป่าให้มันร้อนขึ้น มันร้อนขึ้น เราก็ต้องหรี่สักหน่อย ต้องถอยสักหน่อย หรือต้องเอาน้ำมาสาดสักหน่อย นึง แล้วถ้าหากว่าตะกอนที่ไม่เป็นทองแท้เราก็ค่อยตักออก ในที่สุดก็จะได้ เป็นทองล้วนๆ จะเอามาทำสร้อยทำแหวนทำอะไรก็ได้สิ่งที่สวยงาม[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] การฝึกจิตใจของเราก็เช่นเดียวกัน เราก็ต้องดูความพากความเพียรของเรา ความ อุตสาหะพยายามของเรา ถ้ามันมากไป บางทีมันทำให้ไหม้เสียเลย ถ้าหากว่ามัน น้อยไปมันก็ไม่ร้อนพอ เหมือนกับในจิตใจของเรา ถ้าเร่งมันมากไปจิตใจอึดอัด ฟุ้งซ่าน ถ้าหากว่ามันน้อยไป เดี๋ยวก็ง่วงไปเลย จิตใจไม่ได้ชัดเจน เราก็ ต้องสังเกต มีตะกอนในทองยังไง คอยตักออก ถ้าเราสังเกตเห็นอกุศลธรรมอย่างใด อย่างหนึ่งเราก็ต้องคอยแก้ไข คอยคัดออกจากใจของเราให้ได้ ค่อยคัดไปค่อยฝึก ไป สิ่งที่เหลือก็จะเป็นจิตใจที่บริสุทธิ์ ผุดผ่อง สงบ เยือกเย็น อันนี้ เป็นลักษณะของการฝึกจิตใจ ซึ่งเราก็เรียกว่าอาศัยวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัค คตา เพื่อแก้

    ที่มา http://www.ruendham.com/book_detail...%A1%D3%C5%D1%A7%B7%D3%CD%D0%E4%C3%CD%C2%D9%E8


    [/FONT]ประวัติและปฏิปทา
    พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ


    วัดป่าอภัยคีรี
    มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา



    ๏ นามเดิม

    รีด แพรี่ (Reed perry)


    ๏ เกิด

    เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ประเทศแคนาดา


    การศึกษา

    ปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์


    ๏ การอุปสมบท

    พระอาจารย์มีความสนใจในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งเป็นนักศึกษา เมื่อจบการศึกษาแล้ว ท่านได้เดินทางไปหาประสบการณ์ชีวิตในหลายประเทศ จนกระทั่งปี ๒๕๑๖ ท่านได้เดินทางมายังประเทศไทย และเกิดความสนใจในการทำสมาธิภาวนา จึงได้ไปฝึกปฏิบัติที่วัดเมิงมาง จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเพลงวิปัสสนา แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗

    [​IMG]
    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)


    ๏ ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อชา สุภทฺโท

    ในพรรษาแรกนั่นเอง ท่านได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ของ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง บ้านพงสว่าง ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยการแนะนำของพระอุปัชฌาย์ของท่าน โดยได้พำนักที่วัดหนองป่าพงและวัดสาขาอื่นๆ ตามโอกาสอันสมควร

    ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี และได้ปฏิบัติหน้าที่นี้เป็นเวลา ๑๕ ปี จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๙


    ๏ การสร้างวัดป่าอภัยคีรี

    ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ ได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ เพื่อมาก่อตั้งวัดป่าอภัยคีรี และเป็นเจ้าอาวาสร่วมกับพระอาจารย์อมโร ภิกขุ

    วัดป่าอภัยคีรี เป็นวัดปฏิบัติในสายพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) แห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซานฟรานซิสโก มีเจ้าอาวาสร่วมกัน ๒ รูป คือ พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จ.อุบลราชธานี และ พระอาจารย์อมโร ภิกขุ อดีตรองเจ้าอาวาสวัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

    “อภัยคีรี” เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า “ขุนเขาแห่งความปลอดภัย” ซึ่งเป็นชื่อวัดโบราณในประเทศศรีลังกา ที่ต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ต่างนิกายมาปฏิบัติธรรมร่วมกัน ด้วยความสมัครสมานสามัคคี ด้วยความเชื่อว่า “ทุกชีวิตมีสิทธิ์ในการทำทุกข์ให้สิ้นได้เท่าๆ กัน”

    ปัจจุบัน “วัดป่าอภัยคีรี” ในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ไม่แตกต่างกันนักคือ ได้เปิดโอกาสให้สาธุชนผู้มีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ รักในสติ รักในปัญญา ได้เข้าถึงความสงบ สัปปายะ เป็นธรรมชาติตามแนววัดป่าฝ่ายเถรวาท ไม่ว่าผู้นั้นจะนับถือศาสนาใด นิกายไหน มีสีผิวอย่างไร ไม่เลือกเชื้อชาติ เพศ และอายุ

    [​IMG]
    พระอาจารย์อมโร ภิกขุ


    ๏ สาขาแรกของวัดหนองป่าพงในอเมริกา

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ หลวงพ่อชาได้รับนิมนต์ไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อแสดงธรรมและอบรมกรรมฐานแก่ญาติโยมชาวไทยและชาวตะวันตก ในครั้งนั้นผู้มีศรัทธาได้ปรารภกับหลวงพ่อถึงการเปิดสาขาวัดหนองป่าพงใน อเมริกา หลวงพ่อชาตอบว่า “รอไปเถอะอีก ๒๐ ปีจะมีสาขาในอเมริกา”

    พ.ศ. ๒๕๒๗ ท่านพระอาจารย์สุเมโธ (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ) เจ้าอาวาสวัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ) ศิษย์ชาวต่างชาติรูปแรกของหลวงพ่อชา ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมและอบรมกรรมฐานแก่ชาวเมืองซานฟรานซิสโก และมีผู้ศรัทธาเป็นจำนวนมาก จึงได้รวมตัวกันก่อตั้งมูลนิธิสังฆปาละ ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เพื่อจัดหาสถานที่เหมาะสมแก่การสร้างวัดป่าที่ไม่ไกลจากซานฟรานซิสโก

    จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ คณาจารย์ Hsuan Hua เจ้าอาวาสวัดพระพุทธรูปหมื่นองค์ (The City of Ten Thousand Bhuddhas) ฝ่ายมหายาน ได้เมตตามอบที่ดินจำนวน ๑๒๐ เอเคอร์ ใกล้วัดของท่าน ให้กับคณะศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อชา สุภทฺโท ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ คณาจารย์ Hsuan Hua ได้เคยมาปฏิบัติธรรมในประเทศไทย และประทับใจในแนวทางปฏิบัติฝ่ายเถรวาท มีความปรารถนาที่จะเห็นการปฏิบัติธรรมร่วมกันของพระภิกษุฝ่ายมหายานกับฝ่าย เถรวาทอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อท่านได้พบกับท่านพระอาจารย์สุเมโธ ท่านทั้งสองมีความเคารพนับถือซึ่งกันและกันเป็นอันมาก

    ที่ดินดังกล่าวมีลักษณะเป็นป่าบนภูเขา มีความสงบร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม แต่ไม่มีทางเข้า-ออก ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ มูลนิธิสังฆปาละ คณะศิษย์ชาวไทยและต่างประเทศ จึงได้รวบรวมทุนจัดซื้อที่ดินที่มีทางเข้าออก พร้อมบ้านและโรงรถ พอที่จะดัดแปลงให้เป็นที่อยู่อาศัยได้ชั่วคราว ทำให้มีที่ดินรวมทั้งหมด ๒๕๐ เอเคอร์

    วัดป่าอภัยคีรี จึงเป็นสาขาแรกของวัดหนองป่าพง ในสหรัฐอเมริกา และเป็นที่น่าประหลาดใจว่า นับเป็นเวลาได้ ๒๐ ปีพอดี จากวันที่หลวงพ่อชาไปเยือนอเมริกา

    หลวงพ่อชาได้ให้หลักการไว้ว่า “ให้มุ่งสร้างวัดภายใน” เสียก่อน คือ สร้างกายวาจาใจ ที่มีวัตรปฏิบัติดี ท่านเคยกล่าวด้วยว่า “ให้พระสร้างคน แล้วคนจะสร้างวัด”

    [​IMG]
    พระราชสุเมธาจารย์ (ท่านพระอาจารย์สุเมโธ)


    พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ และพระอาจารย์อมโร ภิกขุ ดำเนินตามแนวทางของหลวงพ่อชา ในการอบรมถ่ายทอดความรู้ และสอนการปฏิบัติธรรมให้แก่บุคคลทั่วไป และผู้ปรารถนาจะใช้ชีวิตอย่างสมณเพศ ต่อมาท่านอาจารย์ปสันโน ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ เพื่อความสะดวกในการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรใหม่ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผู้สนใจบวชเป็นภิกษุได้จะต้องถือศีล ๘ เป็นผ้าขาว ๑ ปี บรรพชาเป็นสามเณร อีก ๑ ปี จึงจะได้รับการพิจารณาให้บวชเป็นพระภิกษุ

    ในปีแรกๆ ระหว่างรอการอนุญาตจากเทศบาลมลรัฐให้สร้างวัด ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดมีศรัทธามาช่วยสร้างกุฏิหลังเล็กๆ โดยซื้อเศษไม้ราคาถูกมาประกอบ และดัดแปลงรถนอนที่ได้รับบริจาคให้พออยู่ได้ หากคราวใดกุฏิไม่พอ ก็ใช้กางเต๊นท์เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุ สามเณร และอานาคาริกะ (ปะขาว) ไปชั่วคราว

    ต่อมาเมื่อได้รับอนุญาตให้สร้างเป็นวัด ทางเทศบาลของมลรัฐกำหนดให้รื้อถอนกุฏิที่พระและญาติโยมสร้างกันเองออก รถนอนและเต๊นท์ก็ห้ามใช้อีกด้วย เทศบาลยังกำหนดเคร่งครัดว่า จะให้พักที่วัดได้ไม่เกินครั้งละกี่คน ทั้งนี้เพราะบางส่วนของวัดอยู่ในเขตที่มีแผ่นดินไหว จึงต้องเคร่งครัดเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้กุฏิจึงมีไม่เพียงพอ กับจำนวนพระภิกษุที่จำพรรษาอยู่ และไม่สามารถบวชภิกษุสามเณรใหม่ หรือรองรับผู้ปฏิบัติธรรมได้ จึงมีการสร้างเสนาสนะต่างๆ ให้กับวัดป่าอภัยคีรี เพิ่มขึ้น

    ปัจจุบันพระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ ท่านยังคงเดินทางมาประเทศไทยเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ และอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ตามโอกาสอันควร

    [​IMG]
    พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    1. หนังสือ “ง่ายกว่าที่คิด”
    http://www.dharma-gateway.com/
    2. หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 7 กรกฎาคม 2548
     
  2. สุทธิมา

    สุทธิมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2010
    โพสต์:
    784
    ค่าพลัง:
    +2,119
    กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ด้วยเศียรเกล้าค่ะ
    เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
     
  3. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    พระท่านรู้ ท่านเห็น ท่านเพียรพร่ำสอน ด้วยเมตตา

    แต่ก็เปล่า คนเราส่วนใหญ่ทุกวันนี้ยังเต็มไปด้วยกิเลส

    และไม่พยายามเพียร เพื่อลดกิเลสกันเลย

    มีแต่สะสมกิเลสกันมากขึ้นๆ .. เรื่อยๆ

    สะสมวัตถุ บูชาวัตถุ แต่จิตใจไม่ขัดเกลา

    ..เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ

    สนุกหลงเพลิน ไปวันๆ ไม่สำเนียกในตนเลย

    ความตายอยู่ใกล้จมูก แต่ทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น

    หลอกตัวเองไปวัน วัน..เมื่อวันตายมาถึง

    บอกได้เพียงคำเดียว ว่า ...สายไปเสียแล้ว...


    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ด้วยครับ
     
  4. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    แม้ตัวจะตาย แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่ยังหลงเหลือไว้เป็นที่กล่าวขานให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้รับรู้ นั่นคือคุณงามความดีที่ได้สร้างสมตอนมีชีวิตอยู่ แค่นี้ก็พอใจแล้วค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...