" ความหมายของคำว่า "นิโรธ" หรือ "นิโรธสมาบัติ" "

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 24 ตุลาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    ตามความหมายของคำว่า "นิโรธ" หรือ "นิโรธสมาบัติ" นั้น เป็นการเข้าฌานสมบัติอันสูงส่ง เป็นฌานลำดับที่ 9 ดังนี้

    1. ปฐมฌาน ฌานที่ 1
    2. ทุติยฌาน ฌานที่ 2
    3. ตติยฌาน ฌานที่ 3
    4. จตุตถฌาน ฌานที่ 4
    5. ปัญจมฌาน ฌานที่ 5
    6. ฉัฏฐมฌาน ฌานที่ 6
    7. สัตตมฌาน ฌานที่ 7
    8. อัฏฐมฌาน ฌานที่ 8 และ
    9. นิโรธฌาน ฌานที่ 9 หรือนิโรธสมาบัติ

    เมื่อเข้าสู่องค์ฌานลำดับที่ 9 นี้ กายสังขารและจิตตสังขารจะระงับไป คือแทบไม่มีลมหายใจ ไม่มีความรู้สึกทางกายและทางใจ แต่ก็ไม่ใช่พระนิพพาน สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่สามารถเข้า "นิโรธสมาบัติ" ได้นั้น พระบาลีระบุว่า
    "ต้องเป็นพระอนาคามีและพระอรหันต์" เท่านั้น ต่ำกว่านั้นไม่สามารถเข้าได้
    พระบาลีหลายแห่งยังระบุอานิสงส์ของการเข้าฌานสมาบัติไว้อีกว่า
    "เป็นการพักผ่อนของพระอริยเจ้า" สามารถระงับทุกขเวทนาทางกาย ฌานสมาบัตินี้สามารถเข้าได้นานสุดเพียง 7 วัน เพราะร่างกายของคนเราจะทนอดทนกลั้นไม่กินข้าว ไม่หายใจ ไม่รับรู้อะไรเลยนั้น ฝืนธรรมชาติได้เพียง 7 วัน
    และเมื่อพระอริยบุคคลท่านนั้นออกจากฌานสมาบัติแล้ว ก็จะเกิดความหิวขึ้นมา (เพราะว่าอดข้าวมาหลายวัน) บุคคลผู้ใดได้ให้อาหารแก่พระอริยบุคคลผู้แรกออกจากฌานสมาบัติเช่นนี้ จะได้รับอานิสงส์ใหญ่หลวง เทียบเท่าระดับจักรพรรดิสมบัติ มีสวรรค์และพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า
    "นิโรธสมาบัติ" คือ "การดับสัญญาความจำได้หมายรู้และเวทนาการเสวยอารมณ์" เรียกชื่อเต็มว่า "เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ" ซึ่ง"พระอรหันต์"และ"พระอนาคามี"ที่ได้"ฌานสมาบัติ ๘" เท่านั้น ที่สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้
    และกิจนี้เป็นกิจที่พระอริยบุคคลในระดับโสดาบันและสกทาคามี/สกิทาคามี"มิอาจ"ที่จะกระทำได้ เนื่องจากท่านยังมิอาจละกามราคานุสัย อันเป็นกิเลสอย่างละเอียดอ่อนที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของการทำสมาธิในระดับสูงเช่นนี้ได้ ฉะนั้น พระอริยบุคคลทั้งสองระดับดังกล่าวจึงมิอาจเข้านิโรธสมาบัติได้

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    นิโรธสมาบัติ คือ การเข้าฌานเสวยความสุขอันประเสริฐ ระงับความทุกขเวทนาทางกายเป็นความสุขเหนือโลก คือ โลกุตตระสุขนิพพานของพระอนาคามี และพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลาย ผู้ได้สมาบัติ 8 เป็นกำลังของสมถะวิปัสสนาภาวนา สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 กับอรูปฌาน 4 รวมกันเป็นสมาบัติ 8 จุดประสงค์นอกจากความสุขอันประเสริฐ และระงับทุกขเวทนาทางกายแล้ว พระอรหันต์ พระอนาคามีเข้าสมาบัติ 8 หรือ นิโรธสมาบัติ เพื่อให้โลกคลายความเดือดร้อนวุ่นวายจากภัยอันตรายของธรรมชาติ ด้วยการแผ่เมตตาให้สัตว์ คน ไม่ขัดสนทุกข์ยากทรมานจากกฎของกรรม ผู้ใดได้ทำบุญกับพระที่ออกจากนิโรธสมาบัติ จะได้รับผลบุญทันทีทันใดในวันนั้น คือ ความร่ำรวยทางโลก ปรารถนาสิ่งใดได้ตามแรงอธิษฐาน พระท่านเข้านิโรธสมาบัติแล้วแต่ตามกำหนดเวลาของท่านตั้งแต่ 1 ชั่วโมง ถึง 7 วัน เป็นสิ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญเป็นบุคคลที่ควรได้รับความเคารพของเทวดา และมนุษย์ การต้อนรับอย่างดียิ่งเป็นเขตแห่งบุญอย่างยอดเยี่ยมของโลก สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ อารมณ์จิตของพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ หรือ พระอนาคามีระดับปฏิสัมภิทาญาณเท่านั้นที่มีจิตที่ว่างจากอารมณ์ทุกชนิด โดยจิตไม่ยอมรับรู้อารมณ์อะไรเลย แม้จะเป็นพระอรหันต์ระดับเตวิชโช หรือฉฬภิญโญ ก็ไม่สามารถทำจิตว่างจากอารมณ์ใดๆ ได้
    "นิโรธสมาบัติ"คือสมาบัติอย่างหนึ่ง จะเข้าสมาบัตินี้ได้ก็ผู้ที่ได้บรรลุเป็นพระอนาคามีหรือเป็นพระอรหันต์ที่ชำนาญในสมาบัติทั้ง ๘ มาก่อน เท่านั้น บุคคลอื่นๆไม่อาจจะได้สมาบัตินี้ได้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นิโรธสมาบัติ
    ลักษณะของสมาบัตินี้พิเศษกว่าสมาบัติอื่นๆคือ สมาบัติอื่นๆ ยังมีจิตและเจตสิกทำงานอยู่ แม้ในระดับสูงๆคือเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ยังมีจิตและเจตสิกทำงานแม้จะละเอียดมากก็ตาม, แต่ในสัญญาเวทยิตนิโรธ(นิโรธสมาบัติ) นั้น จิตและเจตสิกดับไปเลยชั่วคราว ในช่วงเวลาที่กำลังเข้าสมาบัตินี้อยู่ ท่านที่กำลังเข้าสมาบัตินี้อยู่จึงมีร่างนิ่งๆเหมือนหัวตอ ลมหายใจก็ไม่มี และมีความมหัศจรรย์มาก คือไม่มีอะไรมาทำอันตรายได้เลย หลังจากออกจากสมาบัติมาแล้ว หากบุคคลอื่นได้บำเพ็ญบุญกุศลกับท่าน เช่นถวายอาหารให้ท่านแม้สักนิดหน่อย ถ้าท่านที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัตินี้ ได้ฉันภัตตาหารนี้แล้ว อานิสงส์จะส่งผลแก่ผู้ถวายในเวลาไม่เกิน ๗ วัน

    ผู้ที่มีความชำนาญแคล่วคล่องในฌานและอบรมเจริญวิปัสสนา สามารถประจักษ์แจ้งอริยสัจจธรรมพร้อมกับฌาน โดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ขององค์ฌาน แทนอารมณ์
    สมถกรรมฐาน โลกุตตรจิตเกิดร่วมกับองค์ฌานขั้นต่าง ๆ ตามการสะสม ในมัคควิถีซึ่งรู้แจ้งอริยสัจจธรรมนั้น ผลจิตเกิดต่อจากมัคคจิตทันที เมื่อผลจิตดับแล้ว มัคควิถีจิตก็สิ้นสุดลง มัคคจิตนั้นจะไม่เกิดอีกเลย แต่ผลจิตอาจจะเกิดอีกได้หลายครั้งในชาตินั้น และมีนิพพานเป็นอารมณ์ขององค์ฌานที่เกิดกับผลจิตนั้น
    ผู้ที่บรรลุฌานที่สี่คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และเป็นพระอนาคามีบุคคลหรือพระอรหันตบุคคล สามารถเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติซึ่งดับจิตและเจตสิกได้ชั่วคราว ผู้ที่เข้า นิโรธสมาบัติต่างกับร่างที่สิ้นชีวิตแล้ว
    ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหาเวทัลลสูตร มีข้อความว่า
    <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#666666 cellSpacing=0 cellPadding=15 width="80%" bgColor=#e0d9c9 border=2><TBODY><TR><TD>ท่านพระมหาโกฏฐิกะถามปัญหาท่านพระสารีบุตรหลายข้อ ท่านถามเรื่องความต่างกันของร่างที่สิ้นชีวิตแล้วและผู้เข้านิโรธสมาบัติ ท่านพระมหาโกฏฐิกะถามว่า
    "ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรมเท่าไรละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่งเหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากความรู้สึก"
    "ดูกรผู้มีอายุ ในเมื่อธรรม 3 ประการคือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา"
    "สัตว์ผู้ตายทำกาละไป กับภิกษุผู้เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธมีความแปลกกันอย่างไรฯ"
    "สัตว์ผู้ตายทำกาละไป มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับระงับไป มีอายุหมดสิ้นไป มีไออุ่นสงบ มีอินทรีย์แตกทำลาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับระงับไป แต่มีอายุยังไม่หมดสิ้น มีไออุ่นยังไม่สงบ มีอินทรีย์ผ่องใส สัตว์ผู้ตายทำกาละไปกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธมีความแปลกกันฉะนี้"
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติ จิตขณะแรกที่เกิดเป็น ผลจิต (โลกุตตรวิบากจิต) มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าเป็นพระอนาคามีบุคคลก็เป็นอนาคามิผลจิต ถ้าเป็นพระอรหันต์บุคคลก็เป็นอรหัตตผลจิต
    ในวิสุทธิมัคค์ ปัญญาภาวนา สังสนิทเทส แสดงว่า จิตของบุคคลเหล่านี้คล้อยไปในพระนิพพาน ข้อความมีว่า
    <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#666666 cellSpacing=0 cellPadding=15 width="80%" bgColor=#e0d9c9 border=2><TBODY><TR><TD>คำว่า จิตของท่านผู้ออกแล้วน้อมไปสู่อะไร ความว่าน้อมไปสู่นิพพานฯ สมดังท่านกล่าวไว้ว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ จิตของพระภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ น้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค จูฬโคสิงคสาลสูตร มีข้อความว่า
    <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#666666 cellSpacing=0 cellPadding=15 width="80%" bgColor=#e0d9c9 border=2><TBODY><TR><TD>พระผู้มีพระภาคเสด็จไปหาท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ขณะที่ท่านเหล่านั้นพำนักอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พระผู้มีพระภาคตรัสถามถึงความเป็นอยู่ของท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นบรรลุรูปฌานและอรูปฌาน และสามารถเข้าฌานได้ตามความปราถนา พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    "ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือฯ"
    "เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา อาสวะของท่านผู้นั้นย่อมหมดสิ้นไป อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ได้บรรลุแล้ว พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้ฯ"
    "ดีละ ดีละ อนุรุทธ ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้หามีไม่ฯ"
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
     
  2. CM1217

    CM1217 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +79
    อนุโมทนาครับ อยากรู้ความหมายมานานแล้ว
    ตั้งแต่อ่านหนังสือของหลวงพ่อฤาษีลิงดำแล้วเจอคำๆนี้ถามพ่อแม่ก็ไม่รู้
    เพิ่งมารู้วันนี้นี่แหละครับ
     
  3. ohogamez

    ohogamez เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +2,327
    นิโรธ ในการทำวิชชาฯ หมายถึง การหยุดในหยุด กลางของกลาง
    เป็นผลให้สมุทัยดับ เป็นอาการของอริยสัจสี่


    หรือ ไม่ว่าสายไหน ที่จิตมีกำลัง มีปัญญา ละสมุทัยคือ ไม่ยินดี ยินร้าย
    ติดใจ ( ภวตัณหา วิภวตัณหา กามตัณหา )

    เป็นการละสมุทัย ย่อยๆเป็นขณะไป ก็เป็นสภาวะนิโรธ เล็กๆไป



    ส่วนนิโรธสมาบัตินั้น คุณวัชรพล เจ้าของกระทู้ ได้นำมาให้อ่านแล้ว
     
  4. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,983
    คนเฒ่าคนแก่เคยบอกผมนะครับ

    ว่าทำบุญกับพระอรหันต์ที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ จะได้บุญแรงมาก.. จะร่ำรวยในชาตินี้เลยทีเดียว

    ...
    ส่วนความหมายของคำว่านิโรธสมาบัตินี่ไม่ค่อยรู้แน่นอน..ก็อาศัยการตีความกันไปแล้วกันนะครับ อิอิ
     
  5. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,983
    แต่ที่แน่ๆ น่าจะเป็น นิโรธ คือ ความดับทุกข์
    สมาบัติ คือ การทรงอยู่

    ความหมายน่าจะอยู่เทือกๆนี้ครับ... คือ การระงับ ดับทุกข์
     
  6. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ....นิโรธสมาบัติ

    ...นิโรธ+สมาบัติ

    ....ทำให้ทุกข์(กาย)ระงับดับไป ด้วยกำลังแห่งสมาบัติ (หากยังมีกายอยู่ ทุกข์ทางกายยังมีอยู่)

    ....ต้องได้สมาบัติ8 และเป็นพระอริยะอนาคามีขึ้นไป (จิตจะไม่สนใจเกี่ยวกับกายทั้งหมดไม่รับรู้เกี่ยวข้องใดใดไม่ว่าอดีตอนาคตปัจจุบันไม่ผูกพันธ์เกี่ยวเนื่อง)
     
  7. nippitarnit

    nippitarnit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +182
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ ข้าฯ พระพุทธเจ้าผู้ต่ำต้อย ขอยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ...

    ___________________________
    สังเพ สังขารา อะนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
     
  8. yaka

    yaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2010
    โพสต์:
    647
    ค่าพลัง:
    +1,384
    ขออนุโมทนาสาธุค่ะ โง่ตั้งนานเดาไปต่างๆนาๆผิดหมดเลยค่ะ พึ่งกระจ่างก็วันนี้สาธุๆๆ
     
  9. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ผมถามว่า
    หากเข้าไปได้และออกมาได้
    แต่ไม่เคยเขียนไว้
    ว่า
    กายเป็นอย่างไร
    เวทนาเป็นอย่างไร
    จิตเป็นอย่างไร

    และหากยึดอยู่บนสมาบัตินี้แล้ว
    เรื่องทางโลกคือเกิดอะไรขึ้นกับเรื่องทางโลก

    เกิดอะไรขึ้นกับกาย
    เกิดอะไรขึ้นกับเวทนา
    เกิดอะไรขึ้นกับจิต

    เพราะตายคือวิญญานหลุดกาย
    เวทนาตายคือวิญญานไม่ก่อ
    จิตประภัสรไม่ต้องกล่าว

    หากเข้าไปได้หลุดออกมาได้

    แล้วมีปัญหาทางโลกคือกายเริ่มต้น

    จะหาวิธีแก้ได้อย่างไรเพื่อมีชีวิตอยู่เหมือนคนปกติ

    ทำไมไม่มีข้อมูลเรื่องนี้ครับ
    มีแต่ว่าเข้าไปได้แล้วออกมาปกติ

    ผมถามว่าพุทธองค์คงทรงเกรงใจผู้อื่นมากที่สุด
    เพราะกลัวเป็นหนี้บุญคุณใครก็ตาม
    แล้วที่สุดแล้วเมื่อละสังขารแล้วไม่หลุด
    คือต้องมีหนี้บุญนั้นติดตัว
    แต่พุทธองค์ให้พระอานนท์ไปตักน้ำให้ครับ
    เป็นสิ่งหนึ่งหรือไม่ว่าพระองค์ช่วยเหลือตัวเองไม้ได้หรืออย่างไรครับ

    ขอท่านเจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...