•:*´¨`*:• : พระเครื่องทั่วไป Update ครับ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย adiosnkid, 9 มิถุนายน 2009.

  1. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    ภาพถ่ายหลังยันต์ หลวงปู่สรวง เทวดาเล่นดิน

    ปิดนอก web ครับ


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04936.jpg
      DSC04936.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.6 KB
      เปิดดู:
      85
    • DSC04937.jpg
      DSC04937.jpg
      ขนาดไฟล์:
      49.5 KB
      เปิดดู:
      62
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  2. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    ขึ้นไปทางสายภาคเหนือต่อนะครับ
     
  3. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง

    <hr> [​IMG]

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท


    วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย)
    ต.ยางคราม กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่



    ๏ อัตโนประวัติ

    “พระครูวรวุฒิคุณ” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท” หรือ “ครูบาฟ้าหลั่ง-ฟ้าลั่น” อมตะมหาเถราจารย์แห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ผู้สูงยิ่งด้วยศีล จริยาวัตร และพุทธาคม เชี่ยวชาญสรรพวิชาตามตำราโบราณล้านนา จนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ดังคำกล่าวของบรรดาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ว่า

    “ขอเธอจงไปกราบครูบาอินที่เชียงใหม่และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าสามารถมากจริงๆ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม บ้านบ้านเเค ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

    “ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว พระของครูบาอิน ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

    “จิตของครูบาอิน ประภัสสรยิ่งแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อชม วัดโป่ง จังหวัดชลบุรี

    “ครูบาอิน ท่านมีจิตมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งเลยทีเดียว” เป็นคำกล่าวของครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

    “หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งนั้น ดีที่หนึ่งเลย” เป็นคำกล่าวของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

    “ครูบาอินท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบนะ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต บ้านลูกกลอน ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ฯลฯ
     
  4. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ถือเป็นพระเถระสำคัญผู้เจริญด้วยพรรษาสูงแห่งเชียงใหม่ อีกทั้งยังเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรม ที่มีให้แก่ผู้เคารพนับถือตราบวาระสุดท้ายของชีวิต อันเป็นเหตุให้สมควรนำเถรประวัติและคำสอนของท่าน มาเผยแพร่เป็นสังฆบูชาสืบต่อไป

    พระครูวรวุฒิคุณ มีนามเดิมว่า อิน วุฒิเจริญ เป็นบุตรของนายหนุ่ม-นางคำป้อ เขียวคำสุข ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖ (ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ปีเถาะ) ณ บ้านทุ่งปุย ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (ปีที่ครองราชย์ พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) โดยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือ เจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์ (ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๒) ท่านได้เล่าชีวประวัติว่า ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คนด้วยกัน คือ

    ๑. นายแก้ว เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๒. พระครูวรวุฒิคุณ (มรณภาพแล้ว)
    ๓. นางกาบ ใจสิทธิ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๔. พ่อหนานตัน เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๕. นางหนิ้ว ธัญญาชัย (ถึงแก่กรรมแล้ว)

    พระครูวรวุฒิคุณ อธิบายถึงเรื่องที่ท่านใช้นามสกุลต่างไปจากบิดามารดาและพี่น้องว่า เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีการใช้นามสกุล เมื่อมาเริ่มใช้ในสมัยหลัง (รัชกาลที่ ๖) ต่างคนต่างก็ตั้งนามสกุลกันเอง ตัวท่านบวชอยู่ ท่านก็แต่งนามสกุลเองว่า “วุฒิเจริญ” เพื่อให้เป็นความหมายมงคลในความเจริญในพระพุทธศาสนา

    ท่านเล่าว่า ท่านเติบโตมาในครอบครัวชาวนา ชีวิตในวัยเด็กก็เรียบง่ายไม่ต่างไปจากเด็กสมัยนั้นโดยทั่วไป คือช่วยเหลือครอบครัวทำงาน พออายุได้ ๑๑-๑๒ ปี ก็ไปอยู่วัดเพื่อเรียนหนังสือ ท่านว่าสมัยก่อนเด็กอายุเท่านี้ก็ยังดูเป็นเด็กอยู่ ตัวไม่ใหญ่โต เนื่องจากสมัยก่อนเด็กกินนมแม่ ไม่ได้บำรุงด้วยนมวัวเช่นในปัจจุบัน เมื่อมีลูกศิษย์ถามถึงอุปนิสัยในวัยเด็กของท่านว่ามีแววอย่างไรบ้าง ถึงทำให้ท่านบวชอยู่ในพระพุทธศาสนานานจนถึงทุกวันนี้ ท่านตอบแต่เพียงว่าท่านก็มีความเมตตาเอ็นดูสัตว์ ไม่เคยทรมานสัตว์

    ๏ เป็นเด็กวัดทุ่งปุย

    ท่านกำพร้าพ่อก่อนที่จะเข้าไปอยู่ในวัดทุ่งปุย พ่อของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ยังหนุ่มอยู่ ท่านว่าอายุประมาณ ๕๐ ปี โดยมแม่จึงต้องรับพาระในการเลี้ยงดูบุตรธิดา โดยมีพี่ชายคนโตของท่านเป็นหลักช่วยครอบครัว ส่วนท่านเอง หลังจากเข้ามาเป็น “เด็กวัด” ที่วัดทุ่งปุย (วัดคันธาวาส) ตำบลยางคาม ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ประจำหมู่บ้าน แล้วท่านก็อยู่ในบวรพระพุทธศาสนามาโดยตลอด

    ชีวิตการเป็นเด็กวัดสมัยก่อน คือการอยู่วัด นอนวัด ช่วยทำงานในวัด อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ไปพร้อมๆ กับการศึกษาเล่าเรียน การเรียนเบื้องต้นจะเรียนตัวเมือง (ภาษาล้านนา) และเรียนสวดมนต์บทต่างๆ โดยมีพระภิกษุเป็นผู้สอน กิจวัตรประจำวันของเด็กวัดอย่างท่าน ตามที่ท่านได้เล่าให้ฟังก็คือ เช้าไหว้พระสวดมนต์ เสร็จแล้วก็ไปทวนหนังสือที่ศาลา สมัยก่อนเรียนด้วยกระดานดำ ครูเขียนให้ท่อง เมื่อจำได้แล้วก็ลบเพื่อต่อเรื่องใหม่ ทุกครั้งที่ต่อเรื่องใหม่ ครูผู้สอนจะให้ท่องของเก่าก่อน ถ้าท่องได้ถึงจะต่ออันใหม่ให้

    ที่จริงแล้วการเรียนภาษาล้านนาและบทสวดมนต์ต่างๆ ของเด็กวัด ก็คือพื้นฐานของการบวชเณร ธรรมเนียมปฏิบัติของคนล้านนาในอดีต นิยมบวชเณรมากกว่าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ คนที่จะบวชเณรได้จะต้องเป็นเด็กวัดก่อนสักหนึ่งหรือสองปี เพื่อศึกษาเตรียมตัว หลวงปู่ครูบาอินท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๐ โดยมีเจ้าอธิการยศ (ครูบามหายศ อินทปัญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดทุ่งปุย และอยู่ร่วมกับพระเณรรูปอื่นๆ ซึ่งในสมัยนั้น เณรจะมีมากกว่าพระ ซึ่งที่วัดทุ่งปุยมีเณรประมาณ ๑๐-๒๐ รูป

    ตอนที่เป็นสามเณร นอกจากเรียนภาษาล้านนาต่อแล้ว ท่านก็หัดสวดมนต์ ๑๕ วาร สวดแผ่เมตตาและอีกหลายๆ อย่าง ครูจะเขียนใส่กระดานให้ท่อง พอท่องได้ก็ลบต่อใหม่ การเรียนที่วัดช่วงค่ำค่อนข้างลำบากเพราะยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้น้ำมันจุดตะเกียงดูหนังสือ เด็กวัดและพระเณรแต่ละคนแต่ละรูปต้องหมั่นท่องจำบทสวดมนต์ต่างๆ ให้ขึ้นใจ ซึ่งวิธีการที่ครูบาอาจารย์จะตรวจสอบดูว่าเณรองค์ใดขยันหมั่นเพียรในการเรียนก็คือ อาจารย์จะจัดเวรให้เณรผลัดเปลี่ยนกันนำสวดมนต์ องค์ใดสวดช้า ติดขัด ครูอาจารย์จะฟาดหลังด้วยไม้เรียว เณรน้อยยังเป็นเด็ก ก็อดที่จะกลัวฤทธิ์ไม้เรียวไม่ได้

    ฉะนั้น เวลาครองผ้า เณรบางองค์จะแอบเอาอาสนะรองนั่งซุกไว้ทางด้านหลัง เอาจีวรครองทับแล้วรัดอกแน่นๆ เผื่อโดนฟาดจะได้ไม่เจ็บนัก แต่ครูบาอินท่านไม่เคยทำ ท่านเล่าว่าเวลาฟาดจะมีเสียงดัง ครูบาอาจารย์ท่านก็ทราบแต่ก็ยิ้มเสีย ไม่ว่าอะไร ครูบาอินเองท่านก็เคยโดยฟาดอยู่ครั้งหนึ่งเหมือนกัน

    ๏ การเรียนสมถกรรมฐาน

    การเรียนสมถกรรมฐานมีอยู่ทั่วไปทุกวัดในสมัยนั้น เมื่อท่านเป็นเณรอายุได้ ๑๕ ปี ท่านก็เริ่มปฏิบัติสมถกรรมฐาน แบบอานาปานสติใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” โดยมีท่านครูบามหายศ พระอุปัชฌาย์ของท่านเป็นผู้สอน หลังจากท่านปฏิบัติกรรมฐานแล้วก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง หลังจากดูหนังสือแล้วท่านก็ลุกมาอาบน้ำล้างหน้า และเอาข้าวมาถวายพระพุทธเจ้า กล่าวคำถวายว่า จะถวายชีวิตเป็นทาน วันนั้นไม่ฉันข้าวฉันแต่น้ำ และปฏิบัติตลอดหนึ่งวันกับหนึ่งคืน จนได้ความปิติเป็นพิเศษเกิดขึ้น

    ตามธรรมเนียมเมื่อเณรเรียนจบแล้ว ก็จะมีการปรึกษาหารือกันระหว่างเณรกับครูบาอาจารย์เจ้าอาวาสว่า เห็นสมควรจะอุปสมบทเป็นพระต่อหรือไม่ ถ้าอุปสมบทพ่อแม่ก็จะดีใจ ถ้าไม่อุปสมบท ก็จะลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตฆราวาส ผู้ที่ลาสิกขาจากการเป็นเณรไปเป็นฆราวาสจะมีคำเรียกนำหน้าชื่อว่า “น้อย” ต่างกับผู้ที่ลาสิกขาหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว จะเรียกว่า “หนาน” หรือคำว่าทิดในภาษากลาง

    ครูบาอินท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดทุ่งปุย โดยอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดป่าลาน ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. อายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ฉายาในตอนนั้นคือ พระอิน อินโท โดยมีเจ้าอธิการยศ (ครูบามหายศ อินทปัญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการกว้าง วัดสองแคว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการอ้าย วัดทุ่งปุย เป็นพระอนุสาวนาจารย์
     
  5. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    ในระหว่างที่เป็นพระภิกษุ ท่านเริ่มเรียนภาษาไทย จาก ก ข เรื่อยมาจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยการเทียบเนื่องจากยังไม่มีโรงเรียนจริงๆ เมื่อเรียนภาษาไทยกลางจบแล้ว ท่านก็ตั้งใจศึกษานักธรรมตรีต่อ การเรียนนักธรรมตรีต้องเดินไปเรียนที่วัดศรีแดนเมือง ซึ่งเป็นวัดเจ้าคณะตำบลยางคราม อำเภอจอมทอง (ในขณะนั้น) วัดนี้อยู่ห่างจากวัดทุ่งปุยประมาณ ๕ กิโลเมตร ต้องเดินไปตามคันนา การเรียนในสมัยนั้นถึงแม้จะมีการกำหนดให้ใช้หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชในสมัยนั้น แต่สภาพที่เป็นจริงทางวัดขาดแคลนครูที่สอน ขาดแคลนตำราอย่างเช่น ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ ท่านว่าไม่มีครูสอน ต้องศึกษาเองซึ่งไม่ค่อยจะมีตำราและไม่ค่อยเข้าใจ

    ครูผู้สอนก็เป็นพระภิกษุเข้าใจว่าจบนักธรรมโท พระครูวรวุฒิคุณเรียนจนจบนักธรรมตรี ท่านว่าด้วยการเทียบอีกเช่นกัน ไม่ได้ไปสอบ เพราะสมัยนั้นที่อำเภอจอมทองของท่านยังไม่มีสนามสอบ ต้องไปสอบที่กรุงเทพฯ ซึ่งการเดินทางก็ไม่สะดวก ไม่มีรถ การคมนาคมก็ลำบาก อีกประการหนึ่งท่านบอกว่าพระในสมัยก่อนไม่ใคร่ได้ให้ความสำคัญกับการได้เป็นนักธรรมเปรียญ ซึ่งจะช่วยให้ก้าวหน้าในสมณศักดิ์ การเรียนบาลี คือ “การเรียนเข้า” มาอยู่ในพระพุทธศาสนา ต่างจากในปัจจุบันที่ “เรียนออก” พอเรียนจบหางานทำได้ก็สึกออกไป

    ในด้านการปฏิบัติ ท่านยังคงปฏิบัติพุทโธต่อไป โดยเรียนกับครูบามหายศ อินทปัญโญ พระอุปัชฌาย์ของท่าน การปฏิบัติเมื่อตอนเป็นพระภิกษุนั้น ท่านว่ายิ่งต้องระวังในศีลมากขึ้นกว่าตอนเป็นเณร เนื่องจากศีลของพระภิกษุมีถึง ๒๒๗ ข้อ ส่วนเณรมีศีลเพียง ๑๐ ข้อเท่านั้น

    นอกจากการเรียนปริยัติและปฏิบัติแล้ว พระครูวรวุฒิคุณยังสนใจศึกษาหาความรู้จากตำราโบราณที่ครูบาอาจารย์จดไว้อยู่เสมอ เช่นเรื่องการทำตะกรุดชนิดต่างๆ ท่านมักกว่าวว่าท่านเรียนจากครูบาอาจารย์ ซึ่งหมายถึงตำรา กล่าวถึงเรื่องการทำตะกรุด ท่านเริ่มทำในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ญาติโยม ตะกรุดของท่านมีหลายแบบ ลักษณะแตกต่างกันตามแต่ท่านจะประสิทธิ์ประสาทพุทธาคม

    ๏ ปฏิบัติสมถกรรมฐานรุกขมูล

    หลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านมักจะไปออกรุกมูลที่ป่าช้า ท่านเล่าว่าสมัยก่อนนั้นการออกธุดงค์ไม่เป็นที่นิยมของพระทางเหนือนัก ต่างจากพระทางอีสานที่เดินธุดงค์กันเก่งตามแนวทางครูบาอาจารย์สายอีสาน สำหรับครูบาอาจารย์สายของท่านไม่ได้ออกเดินธุดงค์ ท่านจึงไม้ได้ออกธุดงค์ ถือวัตรปฏิบัติกรรมฐานและการเข้ารุกขมูลเพื่อแสวงหาวิเวกและโปรดเวไนยสัตว์ ซึ่งถือปฏิบัติกันมาเป็นแนวทางธรรมเนียมของพระภิกษุในแถบถิ่นล้านนา

    แต่กระนั้นก็มีพระทางเหนือที่ธุดงค์กันอยู่บ้าง องค์ที่สำคัญก็คือ ครูบาวัดป่าเหียงหรือครูบาขัตติยะ (พระอธิการแก้ว ขัตติโย) องค์พระอุปัชฌาย์ของพระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พรหมจักโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า รวมทั้งองค์ครูบาพรหมา พรหมจักโก เองก็นิยมการธุดงค์เช่นกัน

    พ่อหนานตันน้องชายของครูบาอินก็ชอบธุดงค์เช่นกัน โดยสมัยเมื่อบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดทุ่งปุยแล้ว พออายุได้ ๑๘ ปี พ่อหนานตันก็ออกเดินธุดงค์ไปพม่าเพียงองค์เดียว เมื่อถึงพม่าแล้ว ได้ข่าวจากพวกยาง (กะเหรี่ยง) ว่ามีพระภิกษุสายครูบาพรหมจักรจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแห่งหนึ่งในพม่า สามเณรตันจึงได้ไปพักด้วย เมื่อเห็นการปฏิบัติก็เกิดความเลื่อมใส ดังนั้นเมื่ออายุครบอุปสมบท จึงได้อุปสมบทที่พม่า โดยมีพระภิกษุรูปนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ (หมายเหตุ : หลวงปู่ครูบาอิน จำชื่อไม่ได้) พระภิกษุตันอยู่พม่าได้ ๒ พรรษาก็กลับมาเยี่มโยมแม่ที่เมืองไทย จากนั้นก็ได้ถือปฏิบัติธุดงควัตรตามแนวทางของครูบาวัดป่าเหียงและครูบาพรหมจักร ต่อมาภายหลังพระภิกษุตันได้ลาสิกขาไปเป็นทหารและมีครอบครัว


    ๏ บุญผ้าเหลือง

    ในภาคเหนือสมัยก่อน ความนิยมในการบวชเป็นพระภิกษุมีน้อย และในจำนวนน้อยนั้น องค์ที่จะมีบุญอยู่ในผ้าเหลืองนานๆ ก็มีน้อย เพราะมักจะสึกออกไปเมื่อหมดครบพรรษา เพื่อนพระภิกษุรุ่นเดียวกับท่านก็ได้สึกออกไปหมดในพรรษาแรก เหลือท่านอยู่องค์เดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวท่านเองจะมีความปิติสุขใจในเพศบรรพชิต แต่อีกใจหนึ่งก็อดเป็นห่วงโยมแม่ไม่ได้ เมื่อท่านบวชได้ ๕ พรรษา ท่านได้เล็งเห็นสังขารของโยมแม่ที่ร่วงโรยแก่เฒ่า เรี่ยวแรงที่จะทำไร่ไถนาก็อ่อนล้าลงไป ท่านจึงได้ปรารภกับโยมแม่ว่า “อยากลาสิกขา” แต่โยมแม่ของท่านก็ได้ทัดทานไว้ว่า “ตุ๊เหย อย่าไปลาสิกขาเลย อยู่กับวัดกับวาเต๊อะ ถ้าสิก (ลาสิกขา) ออกมาต้องตุ๊ก (ทุกข์) มายาก” นับตั้งแต่นั้นท่านก็ไม่เคยคิดเรื่องลาสิกขาอีกเลย

    ความที่ท่านครูบาอินเมื่อครั้งยังเป็นพระหนุ่ม เป็นผู้มีรูปร่างหน้าตาดี จึงได้มีลูกศิษย์ได้เรียนถามว่า เมื่อท่านยังหนุ่มได้มี “สีกา” มาแสดงทีท่าสนใจท่านบ้างหรือไม่ ท่านตอบตามความคิดของท่านว่า มันอยู่ที่การวางตัวของตุ๊เจ้า ท่านเองอยู่กับครูบาอาจารย์ สนใจแต่การปฏิบัติตนให้เจริญในธรรมตามครูอาจารย์ของท่าน ไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้เลย ท่านว่าคงเป็นเพราะท่านวางตัวเช่นนี้ก็เลยไม่มีใครมายุ่งกับท่าน

    ๏ ร่วมบุญกับครูบาเจ้าศรีวิชัย

    เรื่องที่หลวงปู่ครูบาอินท่านประทับใจและเล่าถึง คือ เรื่องการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย และเรื่องที่ท่านได้ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดมหาธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

    โดยเรื่องการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพของครูบาเจ้าศรีวิชัยนั้น ท่านเล่าว่า ครูบาศรีวิชัยได้รับความเคารพนับถือมากในสมัยนั้น เนื่องจากการปฏิบัติของท่านเป็นที่ศรัทธาของพระเณร ที่สำคัญคือการฉันเจและนั่งหนัก ครูบาเจ้าศรีวิชัยปฏิบัติธรรมโดยใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้น หลวงปู่ครูบาอินท่านได้เล่าว่า ตรงกับสมัยของพระยาพหลพลพยุหเสนา มีคนมาจากที่ต่างๆ มาช่วยกันสร้างถนน ทั้งพวกคนเมืองและพวกยาง พระเณรก็ไปด้วย แต่ละคนเอาขอบก (จอบ) ไปช่วยกัน บางคนก็เอามาถวายโดยไปซื้อมาจากตลาด เพื่อเป็นเครื่องมือในการแผ้วทางเส้นทางขึ้นดอยสุเทพ ร่วมบารมีกับครูบาเจ้าศรีวิชัย

    ชาวบ้านทุ่งปุยก็ได้ไปร่วมงานในครั้งนี้ด้วย คราวนั้น หลวงปู่ครูบาอินและโยมแม่ก็ไปช่วยด้วย การสร้างทางจะแบ่งกันทำเป็นตอนๆ ครูบาท่านเล่าว่า สนุกมาก กิน นอน อยู่กันที่นั่น นอนกันตามป่า โดยทำซุ้ม ทำตูบ (กระท่อม) นอนกัน กลางวันก็แผ้วถางเส้นทางตามสัดส่วนที่ได้รับมอบหมาย เหล่าพระภิกษุสงฆ์ที่มีความรู้ก็ทำชนวนจุดระเบิดหินตามแนวที่ถนนตัดผ่าน

    นอกจากนี้ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังมีดำริให้สร้างวัดตามรายทางขึ้นไป จนถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วัดศรีโสดา วัดสกิทาคา และวัดอนาคามี แต่ปัจจุบันเหลือเพียงแต่วัดศรีโสดาเพียงวัดเดียวเท่านั้น วัดอื่นๆ ก็เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา งานสร้างทางครั้งนี้เป็นมหากุศลที่ผู้คนในแผ่นดินล้านนาต่างอยากมีส่วนร่วม จึงทำให้มีผู้คนมากมาย จากทั่วทุกสารทิศมาร่วมบุญกันคนละเล็กละน้อย ตามระยะที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้กำหนดให้ หลวงปู่ครูบาอินท่านอยู่ช่วยชาวบ้านทุ่งปุยสร้างทางจนหมดช่วงของวัดทุ่งปุย ก็เดินทางกลับ

    ๏ ปฏิบัติวิปัสสนาธุระ

    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท เมื่อครั้งอายุได้ ๕๑ ปี ได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่งท่านได้เล่าถึงความแตกต่างระหว่างสมถกรรมฐานกับวิปัสสนาว่า สมถกรรมฐานคือการทำใจให้สงบ เป็นเรื่องของสมาธิ ส่วนวิปัสสนากรรมฐานเป็นเรื่องการฝึกสติ การฝึกตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ท่านได้ฝึกกับพระเทพสิทธิมุณี โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภเถระ) ซึ่งขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรม เป็นประธาน ครูบาอาจารย์จากทางเหนือที่ไปปฏิบัติวิปัสสนาในครั้งนั้นก็มี ครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า, ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง, พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล วัดร่ำเปิง (ปัจจุบันเป็นพระเทพสิทธาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร)

    เมื่อศึกษาสำเร็จกลับมาแล้วก็มาฝึกอบรมสั่งสอนพระภิกษุ สามเณร คณะศรัทธาญาติโยม ตามวิธีนี้ท่านว่าลูกศิษย์ของท่านปฏิบัติกันได้ผล บางองค์ได้ผลดีมาก แต่น่าเสียดายที่ลาสิกขากันไปหมด ปัจจุบันท่านไม่ได้สอนในลักษณะเป็น “สำนัก” แต่ถ้าใครไปถามธรรมะหรือเรื่องการปฏิบัติจากท่าน ท่านก็มักจะเมตตาให้ความกระจ่างอยู่เสมอ อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

    ๏ สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

    เรื่องที่กระทบความรู้สึกของหลวงปู่ครูบาอิน คือ การที่ท่านสูญเสียญาติพี่น้องภายในปีเดียวกัน ในเวลาไล่เลี่ยกัน คือ พี่ชายท่านตาย เผาได้ ๓ วัน ลุงที่เจ็บอยู่และท่านนำมาดูแลพยาบาลที่วัดด้วยก็ตาย ต่อมาน้องหล้าและน้องที่เป็นหญิงก็ตายอีก สมัยก่อนยังไม่มีการเก็บเงินค่าฌาปนกิจศพเป็นรายหัวเพื่อช่วยกันอย่างในปัจจุบัน เป็นหน้าที่ของญาติพี่น้องที่ช่วยกันไป ปีนั้นหลวงปู่ครูบาอินมีอายุประมาณ ๖๐ ปี ท่านว่าอารมณ์เวทนาก็มีแต่รู้เท่านั้น หากท่านมิได้บวชประสบการณ์เช่นนี้คงทุกข์หนัก


    ๏ ลำดับงานปกครองและสมณศักดิ์

    ด้านกิจการพระศาสนา พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) ได้ปฏิบัติกิจของพระศาสนาเป็นอเนกประการ จนท่านได้รับตำแหน่งบริหารคณะสงฆ์และสมณศักดิ์ ดังนี้

    พ.ศ.๒๔๘๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งปุย

    พ.ศ.๒๔๙๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลยางคราม

    พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ.๒๕๐๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูอิน (พระครูประทวน)

    พ.ศ.๒๕๐๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวรวุฒิคุณ (พระครูสัญญาบัตร ชั้น ๑)

    พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้น ๒ ในราชทินนามเดิม

    หลวงปู่ครูบาอิน มีความผูกพันกับวัดทุ่งปุยนับตั้งแต่บวชครั้งแรก จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ และได้พัฒนาวัดให้เหมาะแก่กาลสมัย ทั้งการสร้างอาสนะสงฆ์ต่างๆ ขึ้นภายในวัด เมื่อวัดทุ่งปุยเจริญรุ่งเรืองแล้ว ทางการจึงได้ให้เปลี่ยนชื่อว่า “วัดคันธาวาส” ตามชื่อ ครูบาคันธา ผู้มาบูรณะวัดร้างทุ่งปุยเป็นองค์แรกเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕

    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๐ นายประหยัด ศรีนุ ครูใหญ่โรงเรียนแม่ขาน ได้มาอาราธนานิมนต์หลวงปู่ ไปเป็นประธานสร้างอาคารเรียนโรงเรียนแม่ขาน แบบตึกชั้นเดียว โดยท่านได้มอบเงินให้เป็นทุนก่อสร้างอีกเป็นจำนวนถึง ๙,๐๐๐ บาท และเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ ท่านได้ไปปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปเศียรขาดที่เป็นรูปหินแกะของเดิม ซึ่งประดิษฐานอยู่วัดร้างโรงเรียนแม่ขานในปัจจุบัน เมื่อเสร็จแล้วจึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “หลวงพ่อโต” แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในหอประชุมโรงเรียนแม่ขาน จนถึงปัจจุบัน


    ๏ รับนิมนต์สู่วัดฟ้าหลั่ง

    ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ จำนวนราษฎรในหมู่บ้านสันหินเพิ่มมากขึ้น จึงต้องการโรงเรียนสำหรับบุตรหลาน จึงได้ร่วมกันเข้าชื่อขออนุญาตใช้ที่ดินของกรมทางหลวงที่สงวนไว้มาสร้างโรงเรียน ซึ่งกรมทางหลวงก็ได้อนุญาต เมื่อเตรียมที่ทางแล้ว ชาวบ้านสันหิน (ฟ้าหลั่ง) โดยการนำของนายปั๋น เผือกผ่อง, นายจันทร์ ปัญญาไว, นายวัง โพธาติ๊บ และนายจันทร์ทิพย์ เรือนรักเรา (จันทร์ติ๊บจ้างซอ) ได้ร่วมกันไปอาราธนานิมนต์หลวงปู่ครูบาอิน อินโท (สมณศักดิ์ขณะนั้นเป็นพระครูอิน) มานั่งหนักเป็นประธานงานก่อสร้างโรงเรียน ซึ่งท่านก็ได้รับนิมนต์ และพอดีจะถึงฤดูเข้าพรรษา ทางคณะศรัทธาจึงช่วยกันแผ้วถางที่วัดร้างฟ้าหลั่ง สร้างเป็นอาราม และอาราธนาให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั้นเลย และขณะเดียวกันก็เตรียมการสร้างโรงเรียนต่อไป

    โรงเรียนวัดฟ้าหลั่งได้วางศิลาฤกษ์สร้างอาคารเรียน เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๕ ช่วงที่ออกพรรษาแล้ว อาคารเรียนที่ก่อสร้างนั้น เป็นอาคารเรียนตามแบบ ป ๑ ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นแบบตึกชั้นเดียว ๓ ห้องเรียน (เพิ่งรื้อไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ นี้เอง เครื่องไม้ที่ประกอบอาคารเรียนหลังนั้น ยังได้นำบางส่วนมาใช้สร้างศาลาการเปรียญหลังปัจจุบันนี้ด้วย) การสร้างโรงเรียนในครั้งนี้ ไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการเลย เกิดจากพลังศรัทธาของสาธุชนที่มีต่อองค์หลวงปู่ครูบาอินแทบทั้งสิ้น ท่านได้ใช้เวลาในการก่อสร้าง ๑ ปี ๖ เดือน จึงแล้วเสร็จ ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๗ ตั้งชื่อว่า “โรงเรียนวัดฟ้าหลั่ง”

    ส่วนทางวัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) ซึ่งเป็นวัดเดิมของท่าน ท่านก็ได้มอบให้พระบุญปั๋น ปัญโญ ผู้มีศักดิ์เป็นญาติผู้พี่ผู้น้อง และได้บวชหลังท่าน ๑ พรรษา รักษาการแทน ต่อมาท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ เรียกขานกันว่า ครูบาบุญปั๋น ปัญโญ และเพิ่งถึงแก่มรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ นี้

    ๏ วัดร้างฟ้าหลั่ง

    วัดฟ้าหลั่งก่อนที่พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) จะมาอยู่นั้นเป็นวัดร้าง ยังมีโบราณวัตถุ โบราณสถานเหลืออยู่ ที่ชื่อว่าวัดฟ้าหลั่งนั้น ตามคำบอกเล่าของคนโบราณที่สืบทอดกันมา ก็คือ “เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์มาก” กล่าวคือ หากปีใดฟ้าฝนแห้งแล้ง ไม่ตกต้องตามฤดูกาล พวกชาวบ้านจะพากันเอาข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน และนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีบวงสรวงเทวดาเพื่อขอฝน เมื่อทำพิธีถูกต้องจะปรากฏว่าบนท้องฟ้าจะมืดครึ้ม เต็มไปด้วยก้อนเมฆ แล้วฝนก็จะหลั่งลงมาจากฟ้าไม่ขาดสาย ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “วัดร้างฟ้าหลั่ง” เนื้อที่ของวัดตามแนวรากฐานกำแพง มีเนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่ และมีที่ดินนอกแนวกำแพงวัดอีกมาก ประมาณกว่า ๒๐๐ ไร่ เป็นป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ไม้เหียง ไม้ตึง ไม้แงะ และไม้เปา

    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๐ กรมทางหลวงแผ่นดิน ได้สร้างถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ผ่านที่ดินของวัด จึงทำให้ที่ดินของวัดฟ้าหลั่งแยกออกเป็นสองแปลง ส่วนที่เป็นโบสถ์ วิหารเก่า อยู่ตรงข้ามกับบริเวณวัดปัจจุบัน นอกจากนั้น กรมทางหลวงยังได้ปักหลักเอาที่ดินของวัดและป่าข้างๆออกไปอีกประมาณ ๒๐ ไร่ ประกาศเป็นที่ดินกองทางสงวน พอกรมทางหลวงสร้างถนนเสร็จ ราษฎรบ้านใกล้เรือนเคียงก็พากันมาจับจองแผ้วถางที่ดินสองฟากถนน เป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ประมาณ ๖๐ ครอบครัว

    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ โรงเรียนบ้านสามหลังเก่าถูกพายุพัดล้มทั้งหลัง นายทิพย์ มณีผ่อง ครูใหญ่ นำชาวบ้านไปขออาราธนาเอาท่านครูบาขาวปี มานั่งหนัก (เป็นประธาน) สร้างโรงเรียนสามหลังขึ้นมาใหม่ พอครูบาขาวปีสร้างโรงเรียนเสร็จแล้ว คณะกรรมการสร้างโรงเรียนโดยนายสมบูรณ์ ไชยผดุง (เจ้าน้อยสมบูรณ์) ได้อาราธนาให้ท่านอยู่นั่งหนัก (เป็นประธาน) สร้างวัดฟ้าหลั่งต่อ ท่านบอกว่าท่านไม่ใช่เจ้าของที่จะสร้าง ตัวเจ้าของมีแล้ว แต่ยังไม่ปรากฏเพราะยังไม่ถึงเวลา หากถึงเวลาเมื่อใดเขาจะมาสร้างเอง ขอให้เหล่าญาติโยมจงรอไปก่อน


    ๏ บูรณะวัดร้างฟ้าหลั่ง

    หลวงปู่ครูบาอินเล่าว่า ท่านมาอยู่วัดฟ้าหลั่งเมื่ออายุได้ ๕๗ ปี วัดฟ้าหลั่งยังเป็นป่าอยู่ ชาวบ้านเชื่อกันว่าที่นี้แรง บริเวณกำแพงวัดปัจจุบัน เป็นที่ที่ชาวบ้านมาเลี้ยงผีกัน เข้าใจว่าเป็นพวกผีตายโหง เมื่อท่านมาอยู่ชาวบ้านก็ได้สร้างกุฏิเป็นกระท่อมเล็กๆ ให้ท่านอยู่ ท่านก็ได้สอนให้ชาวบ้านแผ่เมตตาให้ดวงวิญญาณเหล่านั้นได้รับส่วนกุศล ท่านก็อยู่มาได้โดยไม่มีอะไรมารบกวน สภาพของวัดที่เห็นในปัจจุบัน ท่านค่อยๆ สร้างขึ้นทั้งสิ้น คติการสร้างของครูบาอินก็คือค่อยทำไป ท่านไม่บอกบุญให้ชาวบ้านต้องเป็นทุกข์ เดือดร้อน ท่านมักจะสั่งสอนลูกศิษย์เสมอว่า อย่าทำบุญให้ตนเองเดือดร้อน ให้ทำตามกำลัง

    เรื่องที่ครูบาขาวปีกล่าวถึงเจ้าของที่จะมาสร้างนั้น ครูบาอินท่านก็ได้ยินที่ครูบาขาวปีว่า “เจ้าเปิ้นมี เจ้าตึงมาสร้าง” เมื่อมีผู้เรียนถามท่านว่า ท่านใช่เจ้าของตามที่ครูบาขาวปีท่านกล่าวถึงหรือไม่ ท่านตอบแบหัวเราะๆ ว่า “ถ้าจะแม่แต้เน่อ หลวงปู่มาอยู่นี่นะ ทีแรกมาอยู่มีบ้านสักสิบสักซาว มุงคามุงต๋อง (ตองตึง) กะต๊อบหลวงปู่ ได้ซื้อข้าวสารมานึ่ง บอกเขาว่าสตางค์มีก่อซื้อข้าวสารมาไว้ เขาก่อซื้อมาหื้อหลายเตื้อ เอามาเตื้อถังๆ โอถ้าเป็นพระเณรสมัยนี้ มันก่อไปแล้วแล้วเน้อ บ่ออยู่ละ อยู่มาก็ดีขึ้นๆ บ้านก็หลายหลังขึ้น ก็เจริญขึ้น”
     
  6. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    ๏ วัตรปฏิบัติ

    พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) หรือที่เรียกติดปากว่า “ครูบาอิน” หรือ “หลวงปู่” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน” หรือ “ครูบาฟ้าหลั่ง” นั้นเป็นพระสุปฏิบันโน ซึ่งทำให้ผู้พบเห็นมีความชุ่มเย็นเสมอ ท่านแม้จะมีอายุมากแล้ว แต่ก็ยังแข็งแรง และปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของท่านมิได้ขาด คือการทำวัตรเช้า-เย็น พร้อมกับเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาในตอนเช้ามืดและก่อนนอน

    ครูบาอินมีความพอใจในชีวิตที่เรียบง่าย ท่านมักกล่าวอยู่เสมอว่า เป็นบุญของท่านที่อยู่มาจนทุกวันนี้ และไม่เคยล้มหมอนนอนเสื่อ ครูบาไม่เคยเรียกร้องต้องการอะไร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ ในวัยเกือบ ๙๐ ปีท่านยังทำความสะอาดกุฏิเอง ผู้ที่พบเห็นท่านมักจะเกิดศรัทธาและประทับใจในความเป็นพระแท้ของท่าน ท่านมีเมตตาต่อศิษย์โดยถ้วนหน้า พยายามให้ลูกศิษย์หาโอกาสปฏิบัติธรรมเสมอ ปกติแล้วครูบาจะไม่ค่อยพูด แต่ถ้าหากคุยธรรมะแล้วท่านจะคุยได้นาน หรือถ้าพบคนสูงอายุท่านจะชวนคุยด้วยนานๆ คนรุ่นเดียวกับท่านล่วงลับไปเกือบหมดแล้ว ท่านเล่าว่ามีเพื่อนรุ่นเดียวกับท่านเป็น “น้อย” (ผู้เคยบวชเป็นสามเณร) ยังเหลืออยู่เพียงคนเดียว

    ทางด้านสุขภาพของครูบาอิน ท่านว่าสังขารของท่านร่วงโรยไปตามอายุ เดี๋ยวนี้มีอาการอ่อนเพลีย และมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูง แต่ก็มีหมอคอยดูแลรักษาเป็นประจำ ท่านเองถ้าหากไม่อ่อนเพลียนัก ก็พยายามไปตามกิจนิมนต์อยู่เสมอด้วยเมตตาของท่าน แม้ลูกศิษย์จะห่วงใยและพยายามขอร้องให้พักผ่อนก็ตาม

    ท่านครูบาเป็นผู้ที่มีความอดทนสูงต่อเรื่องต่างๆ รวมทั้งเรื่องสุขภาพของท่านด้วย ท่านไม่ค่อยจะบอกเล่าอาการ หรือทุกขเวทนาให้ใครทราบ ได้แต่ห่วงใยทุกข์สุขของผู้อื่น ความมีเมตตาเอื้อเฟื้อของท่าน เผื่อแผ่ถึงสัตว์เลี้ยงภายในวัด ท่านไม่ยอมให้ใครนำไปปล่อยที่อื่น ท่านว่าข้าววัดพอมีเลี้ยงดูกันไปได้ ยามสัตว์เหล่านี้เจ็บป่วย ท่านก็พยายามจัดการให้มีการเยียวยาตามกำลัง พระภิกษุและสามเณรก็มีความรักสัตว์และมีความเมตตาเช่นท่านด้วย มีอยู่ครั้งหนึ่งมีลูกสุนัขของวัดเจ็บอยู่นาน ท่านเรียกมันว่า “ขาว” พอดีมีโอกาสที่จะนำตัวไปรักษาที่คลินิกสัตวแพทย์ลูกศิษย์ของท่าน ท่านเดินมาส่งถึงรถพร้อมกับกล่าวว่า “ขาวเอ๊ย ไปโฮงยานะลูก”

    ในเรื่องนี้ บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและฆาราวาสซึ่งมีทั้งชาวบ้านวัดฟ้าหลั่งและจากที่ต่างๆ ก็พยายามดูแลท่านตามกำลังความสามารถเพื่อถนอมท่าน ครูบาเองนั้นมีความเกรงใจทุกคน ท่านมักกล่าวเสมอว่า ไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ท่าน ท่านพอใจใสความเป็นอยู่ของท่านแล้ว แต่หมูลูกศิษย์ก็มีความห่วงใย จึงอดไม่ได้ที่จะจัดหาสิ่งต่างๆ ให้ท่านได้รับความสะดวกบ้าง รวมทั้งพยายามหาแพทย์มาดูแลสุขภาพของท่าน ให้ท่านอยู่กับพวกเราให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งๆ ที่รู้กันดีว่า ท่านไม่ยึดติดในสิ่งเหล่านี้

    พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) เป็นผู้มีสติระมัดระวังอยู่เสมอ ท่านรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนา มีผู้ไปถามความเห็นจากท่าน ท่านจะให้ข้อคิดที่ดี โดยยึดหลักธรรมะ ไม่เคยคิดซ้ำเติมผู้ใดด้วยอคติหรืออารมณ์ ในระยะหลังได้มีผู้มาพบเห็นและได้ข่าวปฏิปทาของท่านจนเกิดความเลื่อมใสในองค์ท่านมากขึ้นเป็นลำดับ จึงได้แวะเวียนไปกราบนมัสการท่านอยู่เนืองๆ และได้ทำบุญร่วมกับท่านโดยการก่อสร้างถาวรวัตถุในวัดฟ้าหลั่ง อาทิเช่น วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิ โรงครัว ตลอดจนห้องสุขา เป็นต้น จนวัดมีความเจริญดังที่ได้เห็นในปัจจุบัน

    วัตรปฏิบัติประจำวันของท่านครูบาอินเท่าที่ทราบ ท่านตื่นนอนตอนเช้าตีสี่ ไหว้พระทำวัตรสวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ เมื่อพระในวัดมาพร้อมกันที่กุฏิของท่าน ท่านครูบาก็จะเป็นผู้นำในการสวดมนต์ทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิแผ่เมตตาเป็นประจำ ท่านฉันประมาณ ๘ โมงเช้า โดยฉันเอกา คือฉันเพียงมื้อเดียว และตลอดทั้งวันจะไม่ฉันอย่างอื่นนอกจากน้ำ ประมาณ ๙-๑๐ โมงเช้า หากไม่ติดกิจนิมนต์ ท่านก็จะมีปฏิสันถารกับญาติโยมที่ไปกราบนมัสการหรือไปทำบุญ หลังจากนั้นท่านจะพักผ่อนเป็นการส่วนตัว เช่นอ่านหนังสือหรือทำกิจอื่นจนถึงเวลาประมาณบ่ายสองโมงท่านจึงออกรับแขกจนถึงเวลาประมาณห้าโมง

    จากนั้นท่านจึงสรงน้ำแล้วสวดมนต์ทำสมาธิจนถึงเวลาประมาณหนึ่งทุ่ม พระภิกษุสามเณรในวัดจึงมาพร้อมกันที่กุฏิของท่านเพื่อทำวัตรสวดมนต์เย็น ทำสมาธิ ซึ่งเสร็จประมาณสองทุ่ม หลังจากนั้นท่านครูบาอินจะมีปฏิสันถารกับพระในวัดตามสมควร แล้วพักผ่อน ซึ่งท่านจะเดินจงกรมและทำสมาธิก่อนจำวัดทุกคืน

    ๏ นมัสการพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์ประจำปีเกิด

    ตามปกติท่านครูบาอินเป็นผู้ที่ชอบอยู่กับที่มากกว่าจะเดินทางท่องเที่ยวหรือรับกิจนิมนต์ไปในที่ไกลๆ นอกจากกิจนิมนต์ที่จำเป็นจริงๆ ซึ่งในบางครั้งท่านไปด้วยความเมตตา แต่พอกลับมาแล้วมีอาการเจ็บป่วยเป็นที่ห่วงใยแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาเป็นอย่างมาก จนถึงกับขอเมตตาจากท่านครูบางดการรับกิจนิมนต์ลงบ้าง เพื่อจะได้อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่ลุกศิษย์ลูกหา และศรัทธาสาธุชนทั้งหลายไปนานๆ และพากันมีความหวังว่า ท่านทั้งหลายที่เลื่อมใสศรัทธาในท่านครูบาจะเข้าใจ และยินดีที่ลูกศิษย์ลูกหาใกล้ชิดมีความเป็นห่วงหลวงปู่เช่นนี้

    เท่าที่ทราบสถานที่อันเป็นความปีติของท่านในสมัยหลังที่ท่านได้มีโอกาสไปเยือนและกราบนมัสการ คือการไปกราบนมัสการพระธาตุแช่แห้ง ปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองน่าน ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงติ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อันเป็นคตินิยมของคนภาคเหนือ ถือกันว่าเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีเถาะ ซึ่งในชั่วชีวิตหนึ่งควรจะมีโอกาสไปนมัสการ ซึ่งครูบาอินท่านก็ได้ไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้ คือปี พ.ศ.๒๕๓๓ ในวันที่ท่านไปเป็นการพอดีกับประเพณีทำบุญของพระธาตุ ซึ่งยังความปีติแก่ท่านเป็นอันมาก
    ๏ การสร้างถาวรวัตถุและเสนาสนะ

    นับตั้งแต่หลวงปู่ครูบาอิน ได้รับอาราธนาให้มาเป็นประธานสร้างโรงเรียนวัดฟ้าหลั่งเป็นต้นมา มีเหตุการณ์และการก่อสร้างที่พอจะเรียงลำดับเวลาและอายุของหลวงปู่ ได้ดังนี้คือ

    พ.ศ.๒๕๐๔ อายุ ๕๘ ปี ได้มาพำนัก ณ วัดร้างฟ้าหลั่ง โดยคณะศรัทธาได้สร้างกุฏิถวาย และอาราธนาให้หลวงปู่ครูบาอิน อยู่จำพรรษาเป็นพรรษาแรก

    พ.ศ.๒๕๐๕ อายุ ๕๙ ปี เริ่มสร้างอาคารเรียน โรงเรียนวัดฟ้าหลั่ง เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๕

    พ.ศ.๒๕๐๖ อายุ ๖๐ ปี ก่อสร้างโรงเรียน (ต่อ)

    พ.ศ.๒๕๐๗ อายุ ๖๑ ปี อาคารเรียนเสร็จสมบูรณ์ ใช้เวลาก่อสร้าง ๑ ปี ๖ เดือน ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียน วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ในปีนี้เอง ได้เริ่มลงมือสร้างศาลาการเปรียญ เพื่อใช้แทนวิหารมีขนาดกว้าง ๙ เมตรยาว ๑๒ เมตร (เพิ่งรื้อลงและสร้างใหม่แทนเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๓๒)

    พ.ศ.๒๕๑๐ อายุ ๖๔ ปี เริ่มสร้างกำแพงด้านหน้า สร้างกุฏิเล็ก ทางทิศตะวันตกเรียงกัน ๒ หลัง และกุฏิใหม่อีก ๑ หลัง เป็นที่หลวงปู่ครูบาใช้รับแขกและประชุมสวดมนต์ทำวัตรเช้าและเย็น

    พ.ศ.๒๕๑๓ อายุ ๖๗ ปี สร้างกำแพงด้านเหนือและด้านใต้ (ด้านโรงเรียน)

    พ.ศ.๒๕๑๕ อายุ ๖๙ ปี สร้างกำแพงด้านตะวันตกพร้อมโรงครัว ๑ หลัง (เพิ่งรื้อลงและสร้างใหม่แทนที่เดิม ปี พ.ศ.๒๕๓๓)

    พ.ศ.๒๕๑๘ อายุ ๗๑ ปี ย้ายอุโบสถเดิม (มีปรากฏเพียงฐานอุโบสถแต่โบราณ) ซึ่งอยู่ตรงข้ามวัดในปัจจุบัน มาสร้างใหม่ เพื่อความสะดวกในการดูรักษาและปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย

    พ.ศ.๒๕๒๔ อายุ ๗๘ ปี สร้างหอระฆัง

    พ.ศ.๒๕๒๖ อายุ ๘๐ ปี เริ่มสร้างวิหาร การก่อสร้างเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากขาดทุนทรัพย์ ด้วยเหตุผลที่ว่าหลวงปู่ครูบาอินไม่เรี่ยไรบังคับให้คนทำบุญ

    พ.ศ.๒๕๒๗-๒๕๒๙ อายุ ๘๑-๘๓ ปี อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างวิหาร

    พ.ศ.๒๕๓๐ อายุ ๘๔ ปี มีการทอดกฐินสามัคคีเพื่อนำทุนทรัพย์สร้างวิหาร ในการทอดกฐินครั้งนี้ เพื่อเป็นฉลองศรัทธาผู้มาร่วมบำเพ็ญบุญกุศล คณะกรรมการฯ จึงได้อาราธนาพระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณสิทธาจารย์) สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์แสดงพระธรรมเทศนาสมโภชองค์กฐิน เพื่อยังประโยชน์สุขแก่สาธุชนทั้งหลายให้ถึงพร้อมด้วยทาน ศีล และภาวนา

    พ.ศ.๒๕๓๑ อายุ ๘๕ ปี มีการทอดกฐินสามัคคีโดย ห.ส.น.เวชพงษ์โอสถ และบริษัทอุตสาหกรรมผึ้งไทย นำทุนทรัพย์สมทบสร้างวิหารจนแล้วเสร็จ

    พ.ศ.๒๕๓๒ อายุ ๘๖ ปี วันที่ ๒๒-๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ มีการฉลองวิหารและสมโภชพระประธาน ซึ่งคุณวีระ-คุณยุวดี อุชุกานนท์ชัย พร้อมครอบครัว และ ผศ.ดรุณี ศมาวรรตกุล เป็นเจ้าภาพผู้ศรัทธา และทำบุญอายุครบ ๘๖ ปี หลวงปู่ครูบาอิน ในครั้งนั้น ท่านได้เป็นประธานองค์ผ้าป่าทอดถวายบำรุงเสนาสนะสำนักสงฆ์ถ้าผาปล่อง ซึ่งพระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) แสดงพระธรรมเทศนาสมโภชวิหารใหม่ด้วย หลังจากออกพรรษา ครอบครัวคุณวีระ-คุณยุวดี อุชุกานนท์ชัย ได้เป็นประธานทอดกฐินสามัคคี นำทุนทรัพย์เริ่มก่อสร้างศาลาการเปรียญแทนหลังเก่าซึ่งทรุดโทรมแล้ว และมีอายุการใช้งานนับได้ถึง ๒๖ ปี และได้มีคณะศรัทธาศิษยานุศิษย์บริจาคทุนทรัพย์สมทบจนแล้วเสร็จ

    พ.ศ.๒๕๓๓ อายุ ๘๗ ปี อาจารย์รัตนา หิรัญรัศ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมญาติมิตรสหาย ได้เป็นเจ้าภาพสร้างกุฏิต่อเติมออกไปจากกุฏิเดิม เพื่อให้หลวงปู่ครูบาได้พักอาศัยให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ ในช่วงก่อนเข้าพรรษา (เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) ได้มีการปรับถมที่บริเวณวัดด้านทิศเหนือของพระอุโบสถให้ได้ระดับเดียวกับหน้าลานวิหาร และได้มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างกุฏิกรรมฐานจำนวน ๕ หลัง แล้วเสร็จทันเวลาให้พระภิกษุได้เข้าพักในเวลาพรรษาพอดี ครั้นเมื่อออกพรรษาครอบครัวของอาจารย์รัตนา หิรัญรัศ พร้อมญาติมิตรสหาย โดยคุณแม่ลัดดา หิรัญรัศ และคุณป้าถาวร ทองลงยา เป็นประธานทอดกฐิน ณ วัดฟ้าหลั่ง คณะกรรมการได้นำทุนทรัพย์จากการทอดกฐินในครั้งนี้สมทบกับทุนเดิมที่มีอยู่ เริ่มสร้างโรงครัว หอฉัน แทนที่โรงครัวเดิม ซึ่งมีอายุการใช้งานมานานถึง ๑๙ ปี

    พ.ศ.๒๕๓๔ อายุ ๘๘ ปี สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี สมทบสร้างโรงฉัน โรงครัว คณะศิษยานุศิษย์จัดทำบุญอายุครบรอบ ๘๘ ปี และมีงานฉลองสมโภชกุฏิ ศาลาการเปรียญ โรงฉัน โรงครัว ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ตามลำดับ ฯลฯ

    หลังจากนั้นในแต่ละปี ก็ได้มีการจัดงานบุญทอดผ้าป่า กฐิน และทำบุญอายุของหลวงปู่ครูบาอินประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ทุกๆ ปี ซึ่งก็จะมีศิษยานุศิษย์ และคณะศรัทธาทั้งใกล้และไกลจำนวนมากเข้าร่วมงาน ซึ่งรวมทั้งคณะลูกศิษย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, กองบิน ๔๑, และคณะศรัทธาจากกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ เข้าร่วมงานจนแน่นวัดทุกๆ ปี

    ๏ กลับวัดทุ่งปุย

    ภายหลังจากที่หลวงปู่ครูบาอินได้ไปสร้างความเจริญ ที่วัดฟ้าหลัง ร่วม ๓๐ ปี จนวัดฟ้าหลั่งมีความสวยงามและรุ่งเรืองยิ่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนแล้ว เมื่อกาลล่วงมาถึงปี พ.ศ.๒๕๔๓ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๓ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ก็ได้หวนกลับมาสู่ “บ้านเกิด” ที่วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของหลวงปู่ที่เคยเป็นเด็กวัด และได้บรรพชาเป็นสามเณร อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และเคยเป็นเจ้าอาวาสที่นี่มาก่อน และได้เป็นเจ้าคณะตำบลยางคาม มาตามลำดับ

    มูลเหตุสำคัญ เนื่องจากวัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) กำลังพัฒนาเสนาสนะสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ทรุดโทรมไปตามกาลสมัย อย่างเช่น กุฏิ ศาลา กำแพง เป็นต้น อีกทั้งการกลับมาของท่านด้วยอายุที่สูงถึง ๙๘ ปี ด้วย “วุฒิ” อัน “เจริญ” จนถึงขั้นสูงสุด หาใดเปรียบมิได้อย่างเต็มภูมิ เป็นการกลับมาของท่านในวัยชรามากแล้ว ได้กลับมาอยู่ใกล้ลูกหลาน ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน

    นับว่าหลวงปู่ครูบาอิน เป็นปูชนียบุคคลที่ควรเคารพบูชาอย่างยิ่ง ถึงแม้นจะไปอยู่ที่อื่น ไปสร้างที่อื่นให้เจริญรุ่งเรืองแล้ว แต่ท่านก็ยังไม่ลืมบ้านเดิมถิ่นฐานบ้านเกิดของท่าน คงเป็นเพราะบุญกุศลที่ศรัทธาญาติโยมได้มาร่วมกันทำกับหลวงปู่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศาลาการเปรียญ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ การสร้างกำแพง ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ และการสร้างกุฏิวรวุฒิคุณ เพื่อเป็นที่พำนักของหลวงปู่ ในปีเดียวกัน ในแต่ละวันจึงมีผู้คนมากราบนมัสการเยี่ยมเยียนหลวงปู่ไม่ขาดสาย ถึงแม้นว่าท่านจะอาพาธ นอนพักรักษาตัวอยู่ที่วัดหรือที่โรงพยาบาล ท่านก็ยังเมตตาให้ศรัทธาญาติโยมที่มานั้นได้เข้าไปกราบไหว้จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต

    ๏ ปัจฉิมวัยและการมรณภาพ

    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ได้เพียรอุทิศตนไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ให้แก่ศาสนจักร คือ การสร้างถาวรวัตถุ สร้างวัดวาอาราม ให้ความช่วยเหลือไว้หลายวัด ฝ่ายอาณาจักรท่านก็ได้สร้างอาคารสถานที่ และสาธารณประโยชน์แก่ทางราชการบ้านเมืองอย่างมากมายมาโดยตลอด ใครมาขอให้ท่านช่วยสร้างอะไร ท่านก็เมตตาให้ ท่านทำแบบเงียบๆ ใช้ชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย ไม่ค่อยจะพูดจามากนัก หลวงปู่ท่านมีข้อวัตรปฏิบัติที่เสมอต้นเสมอปลาย ทำให้ผู้ที่ได้มาพบเห็นกราบไหว้ เห็นปฏิปทาการปฏิบัติของท่านแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่

    ช่วงสุดท้ายของชีวิต ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านไม่แข็งแรงซึ่งเป็นไปตามอายุขัย อาพาธบ่อย หลวงปู่ท่านมีความอดทนสูงมาก มีสติและสมาธิความจำที่ดีเลิศอยู่เสมอ ยามเจ็บไข้เกิดทุกขเวทนาท่านจะไม่ยอมบอกใครง่ายๆ ท่านเกรงใจ ไม่อยากให้เป็นภาระแก่ลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ และญาติโยม

    ยามเมื่อท่านไม่สบายพักรักษาตัวอยู่ที่วัด ต้องให้ออกซิเจนอยู่เป็นระยะ เมื่อมีญาติโยมมากราบนมัสการท่าน ท่านก็ให้เข้าพบ พร้อมกับให้พรอันยาวนานตามปกติของท่าน จนญาติโยมที่มากราบไหว้รับพรจากท่านนั้นเหนื่อยแทน ขอร้องท่านให้พรสั้นๆ เพราะกลัวท่านเหนื่อย ท่านก็ไม่ยอม ลุกขึ้น ไม่นอนให้ศีลให้พรแก่ญาติโยม ไหว้พระสวดมนต์อยู่ตลอด ท่านบอกว่าไม่เหนื่อย

    หลวงปู่เข้าโรงพยาบาลครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๕ หมอวินิจฉัยว่าท่านติดเชื้อในปอด และน้ำท่วมหัวใจ พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๘ เมษายน ก็กลับมาพักรักษาตัวอยู่ที่วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) อาการดีขึ้น

    วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ นิมนต์หลวงปู่ขึ้นอยู่บนกุฏิหลังใหม่ (กุฏิวรวุฒิคุณ) ที่คณะศรัทธาญาติโยม ลูกศิษย์ลูกหา สร้างถวาย

    วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ คณะศรัทธาศิษยานุศิษย์ ทำบุญฉลองอายุ ๑๐๑ ปี ถวาย

    หลวงปู่เข้าโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๑๓.๑๕ น. อาการเริ่มทรุดลงเรื่อยๆ จนถึงเวลา ๑๙.๔๐ น. ท่านก็จากไปอย่างสงบ ปัจจุบันนี้ได้ตั้งสรีระของท่านไว้บำเพ็ญกุศล ณ วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) จังหวัดเชียงใหม่

    ข้อมูลจาก
     
  7. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    เหรียญหลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง (3)


    วัดฟ้าหลั่ง ปี 2539


    200 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04944.jpg
      DSC04944.jpg
      ขนาดไฟล์:
      97.9 KB
      เปิดดู:
      69
    • DSC04949.jpg
      DSC04949.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98 KB
      เปิดดู:
      84
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  8. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    [​IMG]

    ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย


    ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๙ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ ที่บ้านปิงน้อย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนสุดท้องของโยมพ่อสุข โยมแม่จำนงค์ อุ่นต๊ะ
    ในวัยเยาว์ท่านมีผิวพรรณผุดผ่องมีสติแญยาเฉลียวฉลาดกว่าเด็กใน วัยเดียวกัน เรียนหนังสือเก่งมีผลการเรียนอยู่ในระดับดีเด่นและมีนิสัยสงบรักสันโดษไม่เบียดเบียนสัตว์และมักจะนำดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูป องค์ใหญ่ องค์เล็กอยู่เสมอจนเพื่อนท่านล้อท่านเล่นว่าเป็นตุ๊เจ้าบ้างก็มี ท่านชอบไปวัดฟังธรรม การชอบไปวัดนี่เองทำให้ ครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส อดีตเจ้าอาวาส วัดชัยชนะ ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนได้มองเห็นแววของเด็กชายอริยชาติ ว่าเป็นผู้มีบุญบารมีวาสนาดี สมควรสืบสานต่ออายุพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสถาพร ในวันข้างหน้า ท่านจึงถ่ายทอดวิชาความรู้ต่าง ๆ ให้ โดยเฉพาะอักษรล้านนาและเด็กชายอริยชาติ ท่านก็สามารถเรียน อ่านเขียนได้อย่างรวดเร็วเพียง 1-2 วันเท่านั้นสร้างความดใจยิ่งนัก ครูบาจัทร์ติ๊บซึ่งเป็นผู้สืบทอดวิชาเวทย์มนต์ คาถาอาคม อยู่ยงคงกระพันต่าง ๆ จากครูบาชุ่ม โพธิโก อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล (วังมุย) ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จึงถ่ายทอดวิชาเวทย์มนต์อาคมต่าง ๆ ให้ เด็กชายอริยชาติ ก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วสามารถ จารอักขระเลขยันต์แทน ครูบาจันทร์ติ๊บได้ ในระยะเวลาต่อมาเมื่อครูบาจันทร์ติ๊บ ชราภาพลงมากการทำตะกรุด วัตถุมงคลต่าง ๆ เด็กชายอริยชาติได้ เป็นผู้ที่ทำเองปรากฏว่าเกิดประสบการณ์ต่าง ๆ ในความแคล้วคลาด ปลอดภัย เป็นที่อัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง

    เมื่อท่านอายุได้ 17 ปี ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 4 ท่านก็ได้ตั้งแรงปรารถนาที่แรงกล้าหันหน้าเข้าสู่ร่มกาสวพัตร ์ในพระพุทธศาสนา พอดีท่านได้มีโอกาสไปกราบนมัสการครูบาวัดบ้านเด่น ครูบาวัดบ้านเด่นได้แนะนำให้บวชมองดูแล้ว คล้ายคนมีบุญวาสนาบารมี ในพระพุทธศาสนาไม่ช้าก็เร็วจะได้บวชแน่นอน ครูบาอริยชาติก็ตอบรับทันที และนำเอาคำพูดของ ครูบาวัดบ้านเด่นมาปรึกษา กับพ่อแม่ ทางพ่อแม่ของท่านก็อยากให้ท่านเรียนหนังสือต่อไป เพื่อเรียนจบออกมาจะได้ทำงาน ทำคุณประโยชน์ให้กับโลกให้กับสังคมต่อไปอย่างไรก็ตาม ดังความปรารถนาที่ท่านมีอยู่จึงตัดสินใจครั้งสุดท้ายเข้าไปกราบเท้าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด พร่ำพรรณนาว่าบุญคุณของแม่นั้น ใหญ่กว่าฟ้าล้นเลิศกว่ามหาสมุทรอันคุณพ่อนั้นเล่ามีคุณมากว่าพื้นพสุธา เป็นผู้ให้กำเนิดเกิดมาให้เลือดเนื้อ และชีวิต แต่ตามแนวความคิด ของตนเองปรารถนาความสงบสุขอยู่ในร่มเงาของพระพุทธศาสนา เมื่อพ่อและแม่ไม่อาจทัดทานได ้จึงอนุญาตบวช ตามความปรารถนาของลูกทำให้ท่านเกิด เป็นปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งหาที่แล้วก็จะขอเอาผ้ากาสวพัตร์เป็นเรือนตายที่จะห่อหุ้มกายไปตลอดชีวิต จะขอศึกษาพระธรรมวินัยขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าจนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ลึกซึ้งจนกว่าจะ หมดลมหายใจ สมกับที่ได้เกิดมาเป็นพุทธบุตรแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคตมะผู้ประเสริฐ จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรกับ ครูบาเทือง นาถสีโล วัดเด่นสลีเมืองแกน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นครูบาอาจารย์ที่เคารพเป็นอย่างยิ่งจนมี ความเข้าใจถ่องแท้เมื่อศึกษาอยู่กับ ครูบาเทืองเป็นเวลานานพอสมควรจึงแสวงหาความรู้ในด้านอื่นเช่น ด้านเวทย์มนต์คาถาอาคมต่าง ๆ เพิ่มเติมจากเคยร่ำเรียนมาจาก ครูบาจันทร์ติ๊บ ในสมัยยังไม่ได้บรรพชา จนถือได้ว่าในเรื่อง วิชาอาคมมิได้เป็นรองใคร แต่ครูบาท่านยังไม่ย้อท้อในการเรียนรู้ยังหาความรู้ ทางด้าน วิชาคาถาอาคมอีกพระอาจารย์ ที่ครูบาอริยชาติให้ความเคารพนับถือ คือครูบาอินตา วัดห้วยไทร อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ครูบาอินตา วัดวังทอง จังหวัดลำพูน โดยเฉพาะครูบาอินตา วัดวังทอง ท่านมีเมตตาสูงและเก่งในเรื่องโภคทรัพย์ โชคลาภ ท่านมักจะบอกญาติโยมเสมอว่าให้มา นมัสการครูบาอริยชาติถือว่าท่านมี วิชาคาถาอาคมที่แก่กล้าไม่เป็นรองจนกระทั่งชื่อเสียงของท่าน ดังกระฉ่อนไปทั่วภาคเหนือ จึงมีศิษยานุศิษย์จากจังหวัดน่านมานิมนต์ ให้ท่านไปโปรดญาติโยมทางจังหวัดน่านและที่จังหวัดน่านนี่เอง ได้สร้างเกียรติคุณ ให้ท่านเป็นอย่างมากในการใช้สรรพวิชาทั่งหลาย์แก่บรรดาญาติโยมผู้ได้รับความทุกข์ร้อนหลายสิบรายจนชื่อเสียง กว้างไกล มีผุ้ยกย่องขนานนามว่า หลวงพ่อเณร วัตถุมงคลที่ท่านสร้างและมีชื่อเสียงมากเช่น ปรอท ดาบ เป็นต้น โดยเฉพาะตะกรุดและปรอท มีผุ้ประสบเกตุแล้วทะเลาะกัน ผู้เป็นพ่อบันดาลโทสะจึงเอามีดฟันตรงหลังลูกชายปรากฏว่าฟันถึง 3 ที ไม่เข้าสืบไปสืบมาพบว่ามี ปรอทศักดิ์สิทธิ์ของครูบาอริยชาติที่ท่านสร้างรุ่นแรกอยู่ มีชื่อเสียงทางด้านคงกระพันดังขจรไกลทั่วไป

    ต่อมาเมื่ออายุครบ 20 ปีจึงได้ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดพัทธสีมาชัยมงคล (วังมุย) ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีพระครูภัทรปัญญาธร วัดศรีสุพรรณ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า อริยจิตฺโต ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ได้จำพรรษาอยู่วัดพัทธสีมาชัยมงคล(วังมุย) ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน หลังจากที่ท่านได้ ้อุปสมบทแล้วท่านได้มุ่งเน้น ในการปฏิบัติธรรมเป็นหลักสำคัญ แต่ญาติโยมผู้ที่ได้รับประสบการณ์ในวิชาคาถาอาคม ความแคล้วคลาด ปลอดภัยเมตตามหานิยมก็หลั่งไหล มาเป็นลูกศิษย์ไม่ขาดสาย จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ต่อมาท่านได้รับอาราธนาจากญาติโยม อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มาจำพรรษา ณ วัดพระธาตุดงสีมา ดำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เมื่อครูบาอริยชาติ ได้มาจำพรรษาอยู่ท่านก็ได้นำการบูรณะก่อสร้างอย่างรุดหน้า อย่างไรก็ตามถาวรวัตถุอื่น ๆเช่น องค์พระธาตุซึ่งเก่าแก่ ทรุกโทรมเอียงลงมาก และพระอุโบสถิหารกำลังเริ่มลงรากฐานในการก่อสร้าง ต้องใช้ทุนทรัพย์ เป็นจำนวนมากในการก่อสร้าง บูรณปฏิสังขรณ์ แต่ครูบาอริยชาติท่านได้ยึดหลักการตามปฏิบัติตามเจโตปฏิธานที่ได้ตั้งไว้ในการ มอบกายถวายชีวิตให้กับพระพุทธศาสนา ท่านก็จะพยายามนำญาติโยมศรัทธาผู้ใจบุญบูรณะก่อสร้างตามกำลังแห่งศรัทธา พร้อมทั้ง ได้นำในการประพฤติปฏิบัติธรรมของศรัทธาสาธุชน โดยทั่วไปจึงมีผู้คนทุกทิศานุทิศต่างหลั่งไหลมาไม่ขาด ในแต่ละวันจะมีเข้ามา กราบนมัสการไม่น้อยกว่า 10 คณะ ส่วนใหญ่ครูบาอริยชาติ จะอบรมสั่งสอนญาติโยมที่มากราบนมัสการตามพระธรรมคำสอนของ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลัก อย่างไรก็ตามชื่อเสียงในด้านเวทย์มนต์คาถา เครื่องรางของขลังในสมัยที่เป็นสามเณรยังลือเรื่องโดยเฉพาะการทายทัก บางครั้งหากญาติโยมมีความทุกข์ร้อนใจในเรื่องราวปัญหาต่าง ๆ ครูบาอริยชาติท่านก็จะช่วยทำนายทายทักสงเคราะห์ เป็นการช่วยขจัดปัดเป่าแก้ไขให้ผ่อนคลายสบายใจจากหนักเป็นเบาลงซึ่งส่วนใหญ่ เป็นนักการเมือง คหบดี นักธุรกิจ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนต่าง ๆ ทราบข่าวและเลื่อมใสศรัทธาท่านมาจำพรรษาอยู่วัดพระธาตุดงสีมา ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายนี้ชาวแม่สรวยต่างมีประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดมาแล้วมีคนขับมอเตอร์ไซด์ถูกรถเฉี่ยวชน ปรากฏว่าไม่บาดเจ็บอะไรมีสายสิญจน์ที่ท่านผูกที่ข้อมือให้ มีครั้งหนึ่งเกิดอุบัติเกตุหมู่รถสิบล้อชนรถตู้รับส่งนักเรียนซึ่งมีนักเรียน นั่งโดยสารมามาณสิบกว่าคน ปรากฏว่ามีนักเรียนจำนวนหนึ่ง ไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรเพราะมีสายสิญจน์ และมีตะกรุดของครูบา และนักเรียนบางคน บาดเจ็บหนักมากต้องนำส่งโรงพยาบาลจังหวัดตาทุกคนกลับรอดทั้งหมด ผู้คนที่พบเห็นสภาพรถที่ถูกชนแล้ว บอกตรงกันว่ารอดยาก ตอนนี้เองทำให้ ผู้คนหลั่งไหลมาขอบูชาตะกรุดและสายสิญจน ์ของครูบาจำนวนมาก และมีฐาติโยมท่านหนึ่ง ได้เล่าให้ฟังว่าท่านไปพบท่านครูบาอริยชาติในงานบุญ วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน ท่านกำลังแจกวัตถุมงคลพอดีโยมท่านอื่ได้มา โยมท่านนั้นก็อยากได้แต่ก็ไม่กล้าเข้าไปก็นึกในใจอยากได้พอสักพักหนึ่งครูบาอริยชาติท่านก็เรียกโยมท่านนี้ซึ่งนั่งไกลพอสมควร เมื่อเรียกเข้าไปท่านก็มอบวัตถุมงคลให้โดยไม่ต้องขอหรือถามใด ๆ โยมท่านนี้เกิดเป็นปีติเป็นอันมาก ประสบการณ์ทางด้านโชคลาภ บางคนมาทำบุญขอให้ครูบาช่วยแผ่เมตตาจิตอธิษฐาน ขอให้กิจการรุ่งเรืองก้าวหน้า ปรากฏว่าทำมาค้าขายดีเศรษฐกิจรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ข่าวคราวแพร่หลายออกไป จึงมีผู้คนเข้ามากราบนมัสการตลอด

    นอกจากนี้ครูบาอริยชาติท่านเป็น ผู้อนุรักษ์โบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา ให้ยั่งยืนสืบต่อดังที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้กระทำมา ท่านจึงได้บูรธพระธาตุเจดีย์ โดยเฉพาะพระธาตุปางบวกแก้ว ตำบลแม่พริก อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพระธาตุท ี่ศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่มากปูนเก่ามากเสื่อมสภาพหมดท่านบูรณะใหม่ โบกฉาบ เรียบร้อยทาสีขาว หุ้มทองจังโก้ปิดทองคำเปลวจนถึงคอระฆังเปลี่ยนยอดฉัตรใหม่ให้เวลาเพียงแค่หนึ่งเดือนเศษ การบูรณะก็สำเร็จลุล่วง ทั้งนี้ก็เพราะบารมีของบวกแก้ว และครูบาอริยชาติรวมทั้งแรงศรัทธาของบรรดาญาติโยม ที่มาร่วมทำบุญที่พระธาตุปางบวกแก้ว นี่เอง ครั้งแรกที่ผู้เขียนได้ไป ส่งท่าน กราบองค์พระธาตุพร้อมกับญาติโยมอีกจำนวนหนึ่ง ท่านก็จะอธิษฐานในการบูรณะก่อสร้าง และกรวดน้ำแผ่เมตตา ให้เทพยดา ครูอาจารย์และสรรพสัตว์อยู่ ปรากฏว่ามีสายฝนโปรยปราย ลงมาพอประมาณเป็นที่อัศจรรย์ แก่ผู้ที่อยู่ในพิธียิ่งนัก ครูบาอริยชาติท่านเป็นผู้ที่มีเมตตาสูง ชาวเขาต่างก็ให้ความเคราพเลื่อมใส ท่านได้ไปช่วยสงเคราะห์แจกจ่ายผ้าห่ม เครื่องกันหนาว และของใช้รวมั้งช่วยเหลือในการก่อสร้างพระวิหารที่วัดป่าม่วง ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ทั้งนี้ท่านก็บอกว่า เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้กับชาวเขา
    นอกจากนั้นท่านยังได้ส่งเสริม ด้านการศึกษา โดยให้ทุนการศึกษาแก่เด็กเยาวชน เพื่อช่วยเหลือสร้างสรรค์การศึกษาแก่เด็กที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์การปฏิบัติ ิเช่นนี้ก็เพราะว่าครูบาอริยชาติท่านยึดถือจารีตปฏิบัติตามครูบาอาจารย์อีกด้วย นอกจากนี้จะเห็น ได้จากประเพณีใน การทำบุญต่าง ๆ ท่านจะอนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม การจัดไทยทานก็ดี การจัดงานต่าง ๆ ก็ดีเป็นระเบียบแบบแผน มีความเรียบร้อยตามพื้นบ้าน ล้านนาไทย แต่โบราณ ในกุฏิท่านมีแต่ สิ่งจำเป็นของสมณะบริโภคสมถะเรียบร้อย น่ากราบไหว้บูชา การขบฉันของท่านก็จะฉันไม่มาก เน้นแต่ผักผลไม้ เป็นหลักเท่านั้น ท่านเคยฉันมังสาวิรัติ มาตลอดเมื่อมา จำพรรษา ที่ วัดพระธาตุดงสีมา ท่านก็ฉันตามแต่ที่ญาติโยมนำมาถวายจาะจงฉันมังสาวิรัติอย่างเดียวก็สงสารญาติโยม ที่จะต้องขวานขวายหามาถวาย ด้วยความมีเมตตาท่านจึงฉัน ตามสิ่งที่มีอยู่ที่ คณะศรัทธานำมาถวายท่านจึงไม่ยึดติดอยู่กับสิ่ง ๆ ใด
    ปัจจุบันท่านได้มาสร้างวัดแห่งใหม่ ชื่อว่าวัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ บนพื้นที่เนินเขาที่สวยงามที่บ้านป่าตึง ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายซึ่งเป็นเนินเขาที่สามารถมองเห็น ตัวอำเภอแม่สรวย เกือบ 180 องศา ห่างจากถนนสายเชียงใหม่ – เชียงรายประมาณ 2 กิโลเมตร เหมาะสำหรับเป็นที่ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญภาวนาตามความตั้งใจ ของครูบาอริยชาติ โดยวางศิลาฤกษ์และเริ่มก่อสร้างเมื่อ วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ตรงกับ เดือนแปดเป็งของล้านนา ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก
     
  9. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    เหรียญโภคทรัพย์ + ตะกรุดกาสะท้อน ครูบาอริยชาติ

    ในฝ่ายล้านนาเชื่อกันว่า ท่านเป็นขวัญหน้าของครูบาศรีวิชัย
    ตะกรุดเก่าผ่านการใช้นะครับ

    ปิดนอก web ครับ



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04952.jpg
      DSC04952.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.1 KB
      เปิดดู:
      73
    • DSC04953.jpg
      DSC04953.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.5 KB
      เปิดดู:
      83
    • DSC04954.jpg
      DSC04954.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79.9 KB
      เปิดดู:
      60
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  10. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    เหรียญพระแก้วมรกต 2523 (จัดสร้างโดยคุณสุธันย์ สุนทรเสวี และคณะ)



    จัดสร้างทั้งหมด 3 เนื้อ คือ

    เนื้อเงิน จำนวน 19 เหรียญ

    เนื้อนวโลหะพิเศษ จำนวน 56 เหรียญ

    และเนื้อทองแดง จำนวนประมาณ 3,999 เหรียญ
    สำหรับรายละเอียดของครูบาอาจารย์ที่ได้อธิษฐานจิตเหรียญพระแก้วมรกต รุ่น "หมดห่วง" ครับ



    เริ่มต้นจากนำเข้ามหาพิธีพุทธาภิเษก 2 ครั้ง ณ วัดเฟื้อสุธรรม จ.เพชรบุรี และ วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่



    จากนั้นคณะผู้จัดสร้างจึงเริ่มนำเหรียญพระแก้วมรกต "หมดห่วง" ถวายครูบาอาจารย์อธิษฐานจิตเดี่ยวตามอัธยาศัย โดยเริ่มต้นจาก



    1. พระครูเนกขัมมาภินันท์ (บุญทา) วัดดอนตัน / จ.น่าน

    2. พระครูพุทธมนต์โชติคุณ (ยศ) วัดศรีบุญเรือง / น่าน

    3. พระเทพวงศาจารย์ (อินทร์) วัดยาง / เพชรบุรี

    4. พระครูภาวนาวัชโรภาส (แผ่ว) วัดโตนดหลวง / เพชรบุรี

    5. พระครูณานาภิรัติ (ฉิน) วัดชำอำคีรี / เพชรบุรี

    6. พระครูไท สุนทโร วัดบางทะลุ / เพชรบุรี

    7. พระครูมงคลธรรมสุนทร (เส่ง) วัดบางนา / ปทุมธานี

    8. หลวงปู่แก้ว สุทโธ วัดดอยโมคคัลลาน์ / เชียงใหม่

    9. หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก / พระนครศรีอยุธยา

    10. หลวงปู่สี พิณทสุวัณโณ วัดสะแก / พระนครศรีอยุธยา

    11. พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศน์เทพวราราม / กรุงเทพฯ

    12. พระมหาเมธังกร (รส) วัดหนองม่วงไข่ / แพร่

    13. ครูบาแก้ว อินทจักโก วัดเขื่อนคำลือ / แพร่

    14. พระครูบริรักษ์ธรรมการ (บุญเทียม) วัดลาดหลุมแก้ว / ปทุมธานี

    15. พระครูสุวรรณศีลาจารย์ (ทอง) วัดก้อนแก้ว / ฉะเชิงเทรา

    16. พระเทพวราลังการ (ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส / เลย

    17. หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ / เลย

    18. พระครูญาณทัสสี (คำดี) วัดถ้ำผาปู่นิมิตร / เลย

    19. หลวงปู่กินรี จันทิโย วัดกัณฑศีลาวาส / นครพนม

    20. พระครูสังวรพุฒิคุณ (ทองสุข) วัดอัมพวัน / นครพนม

    21. พระครูพนมสมณกิจ (บัว) วัดหลักศิลามงคล / นครพนม

    22. พระอาจารย์สนธิ์ เขมิโย วัดอรัญญานาโพธิ์ / นครพนม

    23. พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดสันติสังฆาราม / สกลนคร

    24. หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต / ขอนแก่น

    25. หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดสระแก้ว / นครราชสีมา

    26. พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน / นครราชสีมา

    27. พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม / นครราชสีมา

    28. พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์) วัดบูรพาราม / สุรินทร์

    29. หลวงปู่สาม อกิญจโณ วัดป่าไตรวิเวก / สุรินทร์

    30. พระโพธิญาณเถร (ชา) วัดหนองป่าพง / อุบลราชธานี

    หลวงปู่เกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ / ลำปาง 10 ครั้ง 10 วาระ

    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง / เชียงใหม่ 3 ครั้ง 3 วาระ

    พระครูพรหมจักรสังวร (พรหมา) วัดพระพุทธบาทตากผ้า / ลำพูน 3 ครั้ง 3 วาระ

    หลวงพ่อแช่ม ฐานุสโก วัดดอนยายหอม / นครปฐม 10 ครั้ง 10 วาระ

    (ปิดครับ)


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04875_1.jpg
      DSC04875_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101 KB
      เปิดดู:
      82
    • DSC04876.jpg
      DSC04876.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.7 KB
      เปิดดู:
      90
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2010
  11. JS1213

    JS1213 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +5,349

    องค์นี้ยังอยู่ไหมค่ะ ถ้ายังอยู่ขอจองค่ะ
     
  12. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    ยังอยูครับ รับทราบการจอง

    ขอบคุณครับ :d:d:d

    <table id="post3493800" class="tborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"><tbody><tr valign="top"><td class="alt2" style="border-width: 0px 1px; border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255);" width="175">JS1213<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_3493800", true); </script>
    สมาชิก

    วันที่สมัคร: Sep 2008
    ข้อความ: 24
    Groans: 0
    Groaned at 0 Times in 0 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 0
    ได้รับอนุโมทนา 137 ครั้ง ใน 26 โพส
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG][​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_3493800" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <!-- google_ad_section_start --> อ้างอิง:
    <table width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ adiosnkid [​IMG]
    หลวงพ่อ ทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง พระผงแหวกม่าน
    (300 บาท)

    หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง พระผงแหวกม่าน องค์นี้พิเศษสุดๆครับ มีเส้นเกศาหลวงพ่อชัดเจน (3 เส้น) แถมมีรอยจารจากหลวงพ่อด้วยครับ (เจ้าขอเดิมรับมากับมือเอง พร้อมเชือกคาดเอว)
    (ถ่ายภาพผ่านแว่นขยาย อาจผิดสัดส่วนบ้าง)
    </td> </tr> </tbody></table>

    องค์นี้ยังอยู่ไหมค่ะ ถ้ายังอยู่ขอจองค่ะ
    </td></tr></tbody></table>
     
  13. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    พระปิดตาคลุกรัก หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย จ.นนทบุรี


    ตะกรุดโทนท่าน ดังมาก สร้างวัดได้เลยครับ

    ปิดนอก web ครับ

    <!-- google_ad_section_end --> ​
    <fieldset class="fieldset"> <legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG] [​IMG]
    </fieldset>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  14. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    วัวธนู 9 มหามงคล หลวงปู่โทน วัดเขาน้อยคีรีวัน จ.ชลบุรี
    ที่ชลบุรี ต้องมีชื่อท่านเกือบทุกงานครับ
    อีกองค์ก็ หลวงพ่อจ้อย วัดหนองน้ำเขียว

    ปิดแล้วครับ

    <!-- google_ad_section_end --> <fieldset class="fieldset"> <legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG]
    </fieldset>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  15. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    สิงห์เล็กมหาอำนาจ หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร เมตตา ปี49


    สิงห์เล็กมหาอำนาจ 3 กษัตริย์
    สายหลวงพ่อเดิมครับ มีดหมอท่านเป็นที่หากันมาก


    ปิดนอก web ครับ

    <!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --> <!-- attachments --> ​
    <fieldset class="fieldset"> <legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG] [​IMG]
    </fieldset>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  16. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    <hr align="center">
    [​IMG]


    หลวงปู่เจียม อติสโย

    วัดอินทราสุการาม (วัดหนองยาว)
    ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์



    ๏ อัตโนประวัติ

    “พระครูอุดมวรเวท” หรือ “หลวงปู่เจียม อติสโย” พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองสุรินทร์ เป็นพระที่มีศีลาจารวัตรดีงาม ไม่บกพร่องเสื่อมเสีย ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด กอปรด้วยวิทยาคม มีลูกศิษย์ลูกหามากมายให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก

    หลวงปู่เจียม มีนามเดิมว่า เจียม นวนสวัสดิ์ (เดือมดำ) เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 2 ปีกุน สายเลือดกัมพูชา ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านดองรุน ต.ประเตียเนียง อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน ท่านเป็นบุตรคนโต


    ๏ การศึกษาเบื้องต้น

    ในเยาว์วัย เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ศึกษาภาษาเขมรและภาษาฝรั่งเศส ตามหลักสูตรที่รัฐบาลกัมพูชากำหนดไว้

    เมื่อเรียนจบในระดับชั้นประถมศึกษา ได้สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนในจังหวัดพระตะบอง แต่เรียนได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น มีเหตุให้ต้องลาออกจากโรงเรียนกลางคัน เนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน อีกทั้งได้รับผลกระทบจากสภาวะสงครามภายในประเทศ เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ได้ประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย เช่น ค้าข้าว ค้าวัว รวมทั้งเป็นช่างไม้ เป็นต้น ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น ครั้นเมื่ออายุ 26 ปี ท่านได้สมรสกับหญิงสาวในหมู่บ้านเดียวกัน มีบุตรธิดารวมทั้งหมด 4 คน

    เนื่องจากขณะนั้นประเทศกัมพูชาตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส ท่านเป็นคนหนึ่งที่มีความรักชาติรักแผ่นดิน ต้องการให้ประเทศชาติบ้านเมืองเป็นเอกราช จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มชาวเขมรที่รักชาติ จัดตั้งกองกำลังเขมรเสรีเพื่อกอบกู้ประเทศชาติ โดยสู้รบกับทหารฝรั่งเศสอยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และต่อมากองกำลังเขมรเสรีถูกปราบปรามอย่างหนัก จนต้องหลบหนีเข้ามายังเขตประเทศไทย โดยหวังว่าจะรวมตัวกันกลับเข้าไปต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชอีกครั้งหนึ่ง

    พ.ศ.2485 จึงตัดสินใจอพยพครอบครัว มุ่งหน้าเข้าสู่แนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ โดยเดินทางมากับพระสงฆ์ชาวเขมรชื่อ พระครูดี ใช้วิธีเดินทางรอนแรมมาเรื่อยๆ ค่ำไหนก็พักนอนที่นั่น แล้วออกตระเวนรับจ้างชาวบ้านในพื้นที่อำเภอสังขะ เพื่อหาเลี้ยงชีพไปตามอัตภาพ ในที่สุดได้แวะพักที่วัดทักษิณวารี (วัดทักษิณวารีสิริสุข) บ้านลำดวน ต.ลำดวน อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ พร้อมทั้งได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวาง ธัมมโชโต ที่วัดแห่งนี้ ซึ่งท่านได้ประพฤติปฏิบัติตนรับใช้หลวงพ่อวางอย่างดียิ่ง จนทำให้บรรดาโยมอุปัฏฐากของหลวงพ่อวาง เกิดความรักความศรัทธา จึงขอเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ ในขณะที่ท่านมีอายุได้ 47 ปี


    ๏ การอุปสมบท

    เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2501 ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดทักษิณวารี ต.ลำดวน อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ โดยมี หลวงพ่อวาง ธัมมโชโต พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเรืองวิทยาคม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า “อติสโย”


    ๏ ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวาง-หลวงพ่อเปราะ

    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านสมัครใจอยู่จำพรรษา ณ วัดทักษิณวารี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน เรียนภาษาไทย และอุปัฏฐากปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อวาง ธัมมโชโต พระอุปัชฌาย์ จนเป็นที่ยอมรับไว้เนื้อเชื่อใจ พร้อมกับฝากตัวเป็นลูกศิษย์ขอรับการถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ อาทิ การเสกน้ำมนต์ เขียนแผ่นทอง เป็นต้น

    รวมทั้ง ในแต่ละพรรษา หลวงปู่เจียมได้มีโอกาสแวะเวียนไปนมัสการ หลวงพ่อเปราะ พุทธโชติ วัดสุวรรณรัตนโพธิวนาราม อ.ลำดวน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกรูปหนึ่ง เพื่อปรนนิบัติรับใช้และได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ขอรับถ่ายทอดวิทยาคม อาทิ การเขียนอักขระลงแผ่นทอง ทำตะกรุด วิชาเสริมสิริมงคล ฯลฯ ให้อย่างครบถ้วน เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์ภัยให้ชาวบ้านในถิ่นจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีผู้เจ็บป่วยด้วยวิชาไสยศาสตร์มนต์ดำเป็นจำนวนมาก

    นอกจากนี้แล้ว ท่านยังวนเวียนออกเดินธุดงค์ ปลีกวิเวก ไปตามถ้ำและป่าเขาลำเนาไพรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชายแดนประเทศลาว โดยยึดป่าเขาเป็นสถานศึกษา ได้พบกับพระอาจารย์หลายท่านในระหว่างเดินธุดงค์ ได้สนทนาธรรมและเรียนรู้วิธีการปฏิบัติสมาธิภาวนาจากพระอาจารย์เหล่านั้น เป็นเวลายาวนานถึง 13 ปี แล้วกลับมาเข้าพรรษาที่วัดทักษิณวารี


    ๏ สร้างวัดอินทราสุการาม (วัดหนองยาว)

    ภายหลังกลับจากเดินธุดงค์ปลีกวิเวกแล้ว เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2513 กลุ่มคณะศรัทธาญาติโยมชาวบ้านหนองยาง ได้มานิมนต์หลวงปู่เจียมให้ไปสร้างวัดในเขตพื้นที่บ้านหนองยาว ถ.โชคชัย-เดชอุดม ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ โดยตอนแรกตั้งเป็นเพียงสำนักสงฆ์ ด้วยการสร้างกุฏิเล็กๆ สำหรับการปฏิบัติธรรม หลวงปู่เจียมจึงได้มาอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์แห่งนี้ตลอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ต่อมาสำนักสงฆ์แห่งนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวัดตามกฎหมายโดยสมบูรณ์ นามว่า “วัดอินทราสุการาม”

    ขณะเดียวกัน ท่านก็เพียรอุทิศตนเผยแผ่พระพุทธศาสนา คอยเทศน์อบรมบรรยายธรรมให้แก่คณะศรัทธาญาติโยมและชาวบ้าน หมั่นให้ทาน รักษาศีล และปฏิบัติธรรม


    ๏ การสร้างวัตถุมงคล

    ต่อมา หลวงปู่เจียมได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นครั้งแรก เป็น “ตะกรุดโทน” ลักษณะม้วนแผ่นทองสอดสายยางร้อยกับสายร่ม และผูกห้อยพระแก้วมรกตและเหรียญรูปเหมือน เป็นต้น

    ปรากฏว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลหลวงปู่เจียมไว้ในครอบครอง มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์นานัปการ ทำให้มีฝูงชนแห่แหนไปร่วมทำบุญกันอย่างเนื่องแน่น โดยมีชาวบ้านบางส่วนนิยมนำยานพาหนะส่วนตัว ตลอดทั้งรถยนต์โดยสารในท้องถิ่นสุรินทร์ หรือต่างจังหวัด ผูกห้อยตะกรูดโทนของหลวงปู่เจียม เพื่อความเป็นสิริมงคล

    ขณะเดียวกัน ในแต่ละวันจะมีฝูงชนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลไปกราบขอให้หลวงปู่เจียม เสริมสิริมงคล ถอดถอนคุณไสย ด้วยการอาบน้ำมนต์

    นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้ไปกราบนมัสการขอให้เขียนตะกรุดโทนแขวนคอ ลงเหล็กจารในแผ่นทองกับมือของท่าน เพื่อสวมใส่เป็นขวัญกำลังใจ ในการออกไปรับใช้ชาติในต่างแดน อาทิ เวียดนาม ลาว และเขมร จนได้รับการกล่าวขานเลื่องลือระบือไกล ด้วยพุทธคุณเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดภยันตราย

    พ.ศ.2515 หลวงปู่เจียมอนุญาตให้คณะศิษยานุศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคลกริ่งรูปเหมือน รุ่น 1 จำนวน 7,000 องค์ เหรียญรูปเหมือน รุ่น 1 จำนวน 7,000 เหรียญ พร้อมตะกรุดแขวนคอชุดใหญ่ จำนวน 7,000 เส้น

    พ.ศ.2537 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมหลวงปู่เจียม ที่วัดอินทราสุการาม เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อสนทนาธรรม ในโอกาสนี้ หลวงปู่เจียมได้ทูลเกล้าฯ ถวายวัตถุมงคลพระกริ่งรูปเหมือน รุ่นรับเสด็จ ตะกรุด เป็นที่ระลึกด้วย

    พ.ศ.2546 หลวงปู่เจียมอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นมูลนิธิอติสโย เป็นวัตถุมงคลหล่อโบราณรูปเหมือน (เททองในวัด)

    สรุปรวมวัตถุมงคล ทั้งวัดจัดสร้าง ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนจัดสร้าง รวมทั้งสิ้นประมาณ 50 รุ่น ทั้งนี้ เพื่อรวบรวมปัจจัยนำไปสร้างถาวรวัตถุมากมายและจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม


    ๏ สมณศักดิ์ที่ได้รับ

    พ.ศ.2527 หลวงปู่เจียมได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ “พระครูอุดมวรเวท”


    ๏ พระนักพัฒนา

    นอกจากมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคม ท่านยังเป็นพระนักพัฒนา ได้ช่วยสร้างวัดที่อำเภอบัวเชด จ.สุรินทร์ 2 แห่ง สร้างสถานีอนามัยที่บ้านหนองยาว มอบครุภัณฑ์ให้โรงพยาบาลสุรินทร์ สร้างศาลาประชาคม 61 แห่ง รวมทั้งสาธารณประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย


    ๏ การมรณภาพ

    ย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงปู่เจียมเริ่มมีอาการเหน็ดเหนื่อย สายตาพร่ามัว ประสาทหูฟังไม่ค่อยชัด คณะศิษยานุศิษย์ได้นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ ครั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาล หลวงปู่เจียมก็ยังต้องรับกิจนิมนต์จากชาวบ้านญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขไม่เว้นแต่ละวัน บ้างต้องไปนั่งประพรมน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้ลูกศิษย์ลูกหาสม่ำเสมอ

    กระทั่งเมื่อเวลา 16.59 นาฬิกา ของวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2549 คณะศิษยานุศิษย์วัดอินทราสุการาม ได้ตีระฆังรัวกลองเป็นชุด เพื่อแจ้งเหตุว่า บัดนี้ชาวเมืองสุรินทร์ได้สูญเสียปูชนียสงฆ์รูปสำคัญ คือ หลวงปู่เจียมได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคไตวาย ภายในกุฏิวัดอินทราสุการาม หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการอาพาธจากโรคไตมาเป็นเวลานาน ประกอบกับวัยที่ชราภาพมาก สิริอายุรวม 96 พรรษา 47 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้าน และพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เคารพนับถือเป็นยิ่งนัก

    ข้อมูลจาก
    http://www.dhammajak.net
     
  17. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    เหรียญ หลวงปู่เจียม อติสโย จ.สุรินทร์


    100 บาท

    <!-- google_ad_section_end --> <fieldset class="fieldset"> <legend>รูป ขนาดเล็ก</legend> [​IMG] [​IMG]
    </fieldset>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2010
  18. vit.....@

    vit.....@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +399
    หลวงปูหมุน พระบูชา5 นิ้ว ฐานภูเขา
    ล็อกเก็ตรูปเหมือนสี่เหลี่ยม (เจริญลาภ) สร้าง 999 องค์
    รูปหล่อลอยองค์ หลวงปุ่หมุน รุ่นสมปราถนา

    อยากทราบราคาครับ รบกวนด้วยครับ
     
  19. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    PM ราคาพิเศษ ไปให้แล้วนะครับ

    ขอบคุณมากครับ :d:d:d

    <table id="post3494290" class="tborder" width="100%" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0"><tbody><tr valign="top"><td class="alt2" style="border-width: 0px 1px; border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255);" width="175">คุณพ่อลูก2<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_3494290", true); </script>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jun 2010
    ข้อความ: 5
    Groans: 0
    Groaned at 0 Times in 0 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 7
    ได้รับอนุโมทนา 13 ครั้ง ใน 4 โพส
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_3494290" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <!-- google_ad_section_start -->หลวงปูหมุน พระบูชา5 นิ้ว ฐานภูเขา
    ล็อกเก็ตรูปเหมือนสี่เหลี่ยม (เจริญลาภ) สร้าง 999 องค์
    รูปหล่อลอยองค์ หลวงปุ่หมุน รุ่นสมปราถนา

    อยากทราบราคาครับ รบกวนด้วยครับ
    </td></tr></tbody></table>
     
  20. adiosnkid

    adiosnkid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2009
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +700
    ผ้ายันต์ แมงมุม + สายรัดข้อมือ 18 มงกุฏเพชร หลวงปู่สุภา

    ผ้ายันต์แมงมุมมหาลาภ ขนาดประมาณกระดาษ A4
    สายรัดข้อมือ 1 เส้น

    ปิดนอก web ครับ


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC04965.jpg
      DSC04965.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.5 KB
      เปิดดู:
      65
    • DSC04966.jpg
      DSC04966.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.4 KB
      เปิดดู:
      87
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...