35 เรื่อง...สู่ 35 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย piyaa, 1 กรกฎาคม 2010.

  1. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    <table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table width="100%" border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="middle" align="center">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" valign="baseline" align="left"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" align="center"> <table width="599" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" width="599" align="center"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" valign="baseline" align="left">การร่วมลงนามใน แถลงการณ์ว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 โดยมี นายโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีจีนกับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไทย เป็นผู้แทนของทั้งสองประเทศ</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td valign="top" align="center" height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> พูดไปก็อดสงสัย ไม่ได้ว่า เหตุใดไทย-จีนมีสัมพันธ์กันมาแค่ 35 ปี ทั้งๆ ที่มีลูกหลานเชื้อสายจีนในไทยสืบเชื้อสายกันมาแล้วหลายชั่วอายุคน ขณะที่เพื่อนบ้าน ทั้ง เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว กำหนดมุดหมายแห่งความสัมพันธ์กับจีนของพวกเขาจะเป็น 60 ปี 60 ปี 52 ปี และ 49 ปี ตามลำดับ

    ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรัฐบาลกำหนดนับจากการ “สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต” กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งราชอาณาจักรไทยลงนามร่วมกับจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 (ค.ศ.1975) จากนั้นมาจีนและไทยก็ได้กำหนดการรำลึกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกันในทุก 5 ปี 35 ปีแห่งความสัมพันธ์นั้น แสนสั้นนัก แต่การกำหนดเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากการถือฤกษ์นิมิตหมายแห่งมิตรไมตรีที่หวนคืนมาอีกครั้ง และเปิดยุคใหม่แห่งมิตรไมตรี ที่จะสถิตสถาพรสืบไป

    “มุมจีน” ขออาศัยวาระ “35 ปี” แห่งการเปิดยุคมิตรไมตรีใหม่ในวันลงนามสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยจีน วันที่ 1 กรกฎาคม 2518 เสนอเรื่องราวสัมพันธ์จีน-ไทย ที่มีมายาวนานหลากหลายด้านมุมอย่างยากที่จะกำหนดการเริ่มต้นที่ชัดเจน มีเรื่องราวมากมาย ทั้งมิตรไมตรี ความปรองดอง ความร้าวราน คละเคล้า แปรผันไปตามกระแสแห่งยุคสมัย จวบจนวันนี้ เพื่อได้ทบทวนทั้งความปรองดองกลมกลืน และบทเรียนความขัดแย้ง สร้างความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนด้านต่างๆอย่างเบ่งบานต่อไป

    1. แลเห็นสุวรรณภูมิ...ช่วง คริสตศวรรษที่ 1-3 หรือราว พ.ศ.500-800 จีนเริ่มแลเห็นสุวรรณภูมิ ระหว่างการเดินเรือผ่านอ่าวไทยไปยังอินเดียในยุคซีฮั่น หรือฮั่นตะวันตก ในยุคสามก๊กก็มีการส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากนั้น ก็มีบันทึกชิ้นหนึ่ง ที่กล่าวถึงแคว้น “จินหลิงกั๋ว” หรือสุวรรณภูมิ (ตอนกลางของประเทศไทยปัจจุบัน) เล่าว่า ประชาชนทำเหมืองเงินและชอบจับช้างกัน

    อาณาจักรทวาราวดี ส่งทูตไปฉางอัน เมืองหลวงจีนสมัยราชวงศ์ถัง พร้อมถวายของขวัญ อาทิ งาช้าง นกแก้วเผือก โดยราชวงศ์ถังได้มอบม้าพันธุ์ดีและระฆังทองแดงเป็นการตอบแทน

    ความสัมพันธ์ไทยจีนแน่นแฟ้นขึ้นในยุคอาณาจักรละโว้ (ลพบุรี) มีการเดินเรือสินค้าระหว่างละโว้และเมืองเฉวียนโจว มณฑลฝูเจี้ยน คาดว่าชาวจีนเข้ามาตั้งรกรากในไทย ทำการค้าขายกันแล้ว

    2. บรรณาการสานสัมพันธ์...ตั้งแต่ สมัยสุโขทัย ตรงกับปลายศตวรรษที่ 13-14 หรือราวพ.ศ. 1800-1900 สยามกับจีนมีความสัมพันธ์กันผ่าน “ระบบบรรณาการ” หรือ “จิ้มก้อง” อันเป็นประเพณีสัมพันธไมตรีของจีนกับประเทศอื่นๆ ในสมัยโบราณ เพราะจีนเชื่อมาช้านานว่าตนเป็นอาณาจักรกลาง (中国 - Middle Kingdom) เป็นศูนย์กลางของอำนาจและอารยธรรมโลก มองดินแดนอื่นๆ โดยรอบว่าด้อยกว่า และจะต้องมาสวามิภักดิ์ โดยการส่งเครื่องราชบรรณาการแก่จักรพรรดิจีนตามกำหนด เพื่อแลกกับความคุ้มครองรวมทั้งประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองจากจีน

    ส่วนฝ่ายสยามมิได้ยอมรับตามคตินิยมของจีน การส่งคณะทูตและพระราชสาส์นไปก็เพื่อเป็นการแสดงสันถวไมตรี มิได้แสดงว่าอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น ส่วนของกำนัลหรือเครื่องราชบรรณาการที่ส่งไปด้วยนั้นเป็นการแสดงไมตรีจิต และเป็นไป
    ตามธรรมเนียมจีน เพื่อแลกกับความสะดวกในการค้า

    ระหว่าง การติดต่อระหว่างราชสำนักหยวน และอาณาจักรสุโขทัย มีการแลกเปลี่ยนที่สำคัญได้แก่ คณะทูตสุโขทัยได้นำช่างจีนมาถ่ายทอดวิธีการทำเครื่องสังคโลกแก่ช่างไทย จนสุโขทัยได้ผลิตและส่งเครื่องสังคโลกเป็นสินค้าส่งออกสำคัญไปยังเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้

    </td> </tr> <tr> <td class="body" valign="baseline" align="left"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" align="center"> <table width="600" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" width="600" align="center"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td valign="top" align="center" height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> 3.สายธารสัมพันธ์แน่นแฟ้น... ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จวบจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งตรงกับช่วงปลายคริสตวรรษที่ 17 –ต้นคริสตศวรรษที่ 20 หรือ ราวพ.ศ.2200-2400 ไทยติดต่อไปมาหาสู่กับราชวงศ์ของจีนอย่างแน่นแฟ้น ราช สำนักหมิงถือกรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดที่สุดชาติหนึ่ง อีกทั้งจักรพรรดิจีนได้พระราชทาน “ตราแห่งกษัตริย์เสียนหลัว” (เสียนหลัว คือคำที่จีนใช้เรียกประเทศไทย) ให้แก่กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก

    รัชสมัยหย่งเล่อส่งขันทีเจิ้งเหอเดินเรือรอบโลก และในการเดินเรือครั้งที่สอง ได้ล่องมาตามลำน้ำเจ้าพระยาถึงกรุงศรีอยุธยา พร้อมนำสินค้าทองคำ ผ้าไหม และเครื่องเคลือบดินเผาแลกเปลี่ยนกับสินค้าไทย ทั้งมีการสำรวจสังคมชาวจีนในไทย
    สมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ส่งสินค้าไปขายยังจีนคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงราว 86% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทยในช่วงนั้น และเรือสินค้าจีนมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาเรือสินค้าต่างชาติทั้งหมดที่เข้า มาค้าขายในไทย พ่อค้าในไทยส่วนใหญ่ก็คือ ชาวจีน

    จน ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทยมีจำนวนเกือบ 1 ล้านคน ชาวจีนยังคงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสยามต่อเนื่องปีละนับหมื่นคน ทั้งมีความรักใคร่ปรองดองกับชาวไทย อันส่งผลดีแก่การพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างมาก

    4. แลกเปลี่ยนผสานภูมิปัญญา...ในช่วง นี้ ศิลปะวรรณคดีจีนแพร่หลายในประเทศไทย โดยช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา มีคณะอุปรากรจีนเข้ามาจากกวางตุ้งเข้ามาแสดงในงานเลี้ยงของขุนนาง รัชกาลที่ 1 ก็ทรงมีรับสั่งให้แปลวรรณคดีจีน เรื่องสามก๊ก จาก สมัยรัชกาลที่1 ถึงรัชกาลที่ 6 วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงของจีนได้รับการแปลเป็นฉบับพากษ์ไทย รวม 35 เล่ม ได้แก่ ไซฮั่น สามก๊ก เลียดก๊ก ห้องสิน ซ้องกั๋ง ไคเภ็ก ไซอิ๋ว บูเช็กเทียน เป็นต้น ในรัชกาลที่ 3 ยังมีการสร้างวัดด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีนอย่างแพร่หลาย และสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้สร้างพระที่นั่งรูปแบบจีนที่พระราชวังบางปะอิน


    </td> </tr> <tr> <td class="body" valign="baseline" align="left"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td valign="top" align="center"> <table width="200" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" width="200" align="center"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td valign="top" align="center" height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> 5.จัดระยะความสัมพันธ์... ต่อมาระบบบรรณาการเพื่อการค้านี้ได้เสื่อมลง เพราะไทยทำการค้ากับตะวันตกมากขึ้น ขณะที่ผลกำไรจากการค้าสำเภากับจีนลดลงตามลำดับ ในรัชสมัยจักรพรรดิถงจื้อ กรุงรัตนโกสินทร์ส่งทูตไปยื่นหนังสือขอยกเลิกธรรมเนียมการส่งเครื่อง บรรณาการ โดยไทยส่งทูตไปยังจีนเป็นครั้งสุดท้ายใน พ.ศ.2396 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ด้วยเพราะทรงไม่ประสงค์ให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ประเทศที่ติดต่อกับไทย

    6.กำแพงลัทธิชาตินิยม...เมื่อ จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบสาธารณรัฐในพ.ศ.2454 (ค.ศ.1911) ตรงกับรัชกาลที่ 6-8 ลัทธิชาตินิยมจีนได้แพร่กระจายไปทั่ว รวมทั้งแพร่เข้าสู่หมู่ชาวจีนในไทย ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยกับชาวจีนตึงเครียดขึ้น เกิดความรู้สึกไม่พอใจและต่อต้านชาวจีน ที่ไม่เพียงขยายการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ยังกุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยไว้มากขึ้น นำไปสู่การปลุกกระแสชาตินิยมในไทย และการดำเนินนโยบายที่ค่อนข้างเข้มงวดต่อชาวจีน ในสมัยรัชกาลที่ 6

    7.สัญญาสถาปนาความสัมพันธ์ฉบับแรก...อาจกล่าว ได้ว่าการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-จีน เกิดขึ้นก่อนความเข้าใจทั่วไปร่วม 30 ปี โดยหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงใน พ.ศ.2488 ไทยต้องการเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จึงหันไปผูกมิตรกับสาธารณรัฐจีนซึ่งเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง นำไปสู่การลงนาม “สนธิสัญญาแห่งพระราชไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐจีน” ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2489

    8.แลกเปลี่ยนทูตชุดแรก...หลัง จากไทย-จีนให้สัตยาบันต่อกันแล้ว สาธารณรัฐจีนได้แต่งตั้งให้ นายหลีเถี่ยเจิง (李铁铮) เป็นอัครราชทูตคนแรกประจำประเทศไทย ขณะที่รัฐบาลไทยได้ส่งนายสงวน ตุลารักษ์ ไปเป็นเอกอัครราชทูตไทยคนแรกประจำสาธารณรัฐจีนที่นานกิง ต่อมาเมื่อพรรคจีนคณะชาติ หรือกั๋วหมินตั๋ง ที่ชาวไทยมักเรียกก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นรัฐบาลสาธารณรัฐจีนพ่ายแพ้แก่พรรค คอมมิวนิสต์จีนและอพยพไปอยู่ไต้หวันในปี 2492 รัฐบาลไทยก็ยังคงรับรองจีนไต้หวันเรื่อยมา กระทั่งตัดสัมพันธ์ทางการทูตกันหลังพ.ศ.2518

    9. กำแพงลัทธิรานสัมพันธ์...กำแพง แห่งความสัมพันธ์ของไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อรัฐบาลไทยดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกาและฝักใฝ่ค่ายโลกเสรี จุดกระแสหวาดระแหวงภัยคุกคามจากระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์จีน หรือจีนแดง โดยไทยได้เข้าร่วม องค์การซีโต้ (SEATO) ในพ.ศ.2497 ซึ่งเป็นองค์การความมั่นคงร่วมกันระดับภูมิภาคที่สหรัฐอเมริกาตั้งขึ้นใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสกัดกั้นและขัดขวางการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์

    10. การแลกเปลี่ยนใต้เงากำแพง...แม้ ระหว่างความสัมพันธ์สองประเทศหยุดชะงักไปช่วงหนึ่ง แต่ก็ยังมีการแลกเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประชาชน ทั้งด้านการค้าขายระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนศิลปะวัฒนธรรม การศึกษา กีฬา ซึ่งขยายวงมากกว่าในอดีต ตลอดจนมีผลงานวรรณกรรมร่วมสมัยชิ้นสำคัญของจีน แปลออกเป็นฉบับพากษ์ไทย ได้แก่ “เรื่อง จริงของอาคิว” ของหลู่ซวิ่น “เรื่องสั้นของหลู่ซวิ่น” “เที่ยงคืน” ของเหมาตุ้น “บ้าน” “ฤดูใบไม้ร่วง” “ฤดูใบไม้ผลิ” ของปาจิน บทละคร “เหลยอี่ว์” ของเฉาอี่ว์ป็นต้น ต่อมา วรรณกรรมไทยที่มีการแปลเป็นจีน ได้แก่ “สี่ แผ่นดิน” ของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ “เรื่องสั้นของคึกฤทธิ์ ปราโมช ฉบับคัดสรร”, “ข้างหลังภาพ” และ “แลไปข้างหน้า” ของศรีบูรพา, “ปีศาจ” ของเสนีย์ เสาวพงษ์, “เขาชื่อกาน” ของสุวรรณี สุคนธา, “ตะวันตกดิน” ของกฤษณา อโศกสิน, “เรื่องธรรมดา” และ “คำพิพากษา” ของชาติ กอบจิตติ ฯลฯ

    11.จุดเปลี่ยน...จุด เปลี่ยนที่ทำให้ไทยกับจีนเริ่มกลับมาสานความสัมพันธ์ต่อกัน คือการมีโอกาสพบปะกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนไทย คือพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร (พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยขณะนั้น กับนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ในการประชุมกลุ่มประเทศเอเชีย-แอฟริกา ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนเมษายน 2498 (ค.ศ.1955)

    การ ได้พบปะพูดคุยกันในเวทีดังกล่าว ทำให้ไทยรู้ว่าจีนแดงไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และรัฐบาลกรุงปักกิ่งก็มีนโยบาย "อยู่ร่วมกันโดยสันติ" หรือ “หลักปัญจศีล” หลังจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนก็เริ่มเดินหน้าอีกครั้งอย่างลับๆ

    12.ปฏิบัติการหวนสู่สัมพันธ์...นายก รัฐมนตรีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เริ่มส่งคณะทูตใต้ดินเข้าไปตามคำแนะนำของนายสังข์ พัธโนทัย ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เริ่มจากคณะทูตใต้ดินชุดแรกที่เยือนจีนในปี 2498 นำโดยนายอารี ภิรมย์ พร้อมนายกรุณา กุศลาสัย ซึ่งมีโอกาสเข้าพบกับประธานเหมาเจ๋อตงด้วย

    13.เดินหน้า...หลัง จากนั้น ก็มีคณะส่งเสริมสัมพันธไมตรีไทย-จีน นำโดยนายเทพ โชตินุชิต คณะบาสเกตบอลแดงเหลือง นำโดยนายอดุลย์ ภุมรานนท์ คณะผู้แทนกรรมกรไทย โดยนายทองย้อย ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา โดยเฉพาะคณะผู้แทนศิลปินไทย นำโดยนายสุวัฒน์ วรดิลก ที่ไปในฐานะทูตเผยแพร่วัฒนธรรมไทยคณะใหญ่ที่สุด กลายเป็นข่าวเกรียวกราวและได้รับการต้อนรับทั่วประเทศจีน

    </td> </tr> <tr> <td class="body" valign="baseline" align="left"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" align="center"> <table width="380" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" width="380" align="center"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" valign="baseline" align="left">กลุ่มเพื่อนทุกข์ เพื่อนยากที่ปรารถนาจะสร้างสายสัมพันธ์กับจีนในช่วงที่การเมืองไทยต่อต้าน คอมมิวนิสต์อย่างหนัก (ภาพจากหนังสือ ''ชีวิตที่เลือกไม่ได้'' โดย ดร.กรุณา กุศลาสัย ) จากซ้ายไปขวา สังข์ พัธโนทัย อุทธรณ์ พลกุล อิศรา อมันตกุล สุวิทย์ เผดิมชิต กรุณา กุศลาสัย และอารี ภิรมย์ ถ่ายร่วมกันขณะอยู่ในคุกลาดยาว</td></tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td valign="top" align="center" height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> 14. ยุค “ล่าผีคอมมิวนิสต์”...จน ถึงการเดินทางไปเยือนจีนในปี 2501 ของคณะผู้แทนราษฎรไทย นำโดยนายสอิ้ง มารังกูล และคณะผู้แทนนักประพันธ์ไทย นำโดยนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ระหว่างนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจอมพล ป. พร้อมออกหมายจับทุกคนที่ร่วมอยู่ในคณะฯ ข้อหาฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ นายกุหลาบ นายสอิ้ง นายสุชาติ ภูมิบริรักษ์ จึงตัดสินใจลี้ภัยอยู่ในจีน ซึ่งได้รับการดูแลอย่างดีจากรัฐบาลจีน

    15. สัมพันธ์ขาดสะบั้น...สมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง เพราะจอมพลสฤษดิ์ ผูกสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นแฟ้น ดำเนินนโยบายต่อต้านและปราบปรามลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ถึงขนาดออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 53 ลงวันที่ 17 มกราคม 2502 ห้ามการติดต่อค้าขายกับสาธารณรัฐประชาชนจีนโดยเด็ดขาด ความสัมพันธ์ไทย-จีนสดุดหยุดลงอีกครั้ง

    16. จีนแสวงหามิตร...ทว่า หลังจากที่จีนปะทะกับสหภาพโซเวียตตามแนวพรมแดน บริเวณพื้นที่ขัดแย้งแถบแม่น้ำ Ussiri ในปี พ.ศ.2512 เป็นผลให้จีนเร่งสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับหลายประเทศในทุกทวีปรวมทั้ง ไทย เพื่อป้องกันมิให้สหภาพโซเวียตตีกรอบล้อม โดดเดี่ยวจีน

    17.โลกเริ่มอ้าแขนรับจีนแดง...จุด เปลี่ยนที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การที่สาธารณารัฐประชาชนจีนได้กลับเข้าเป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสห ประชาชาติ (UN) แทนไต้หวัน ในเดือนตุลาคม 2514 (ค.ศ.1971)

    18.มองการณ์ไกลสู่สานสัมพันธ์...ผู้ ที่มองการณ์ไกลในขณะนั้นว่าต้องปรับความสัมพันธ์กับจีนแล้วคือ พันเอก ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยที่ไปร่วมประชุมยูเอ็น จึงมอบหมายภารกิจลับให้กับทูตไทยประจำยูเอ็นในตอนนั้น คือ นายอานันท์ ปันยารชุน ให้เริ่มติดต่อกับทูตจีนที่ยูเอ็นก่อน

    19.มหาอำนาจจับมือจีน...ส่วน สหรัฐอเมริกาที่พ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม เริ่มลดบทบาทในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และหันมาฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนได้เป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ.2515

    20.บุกเบิกสัมพันธ์ใหม่ด้วยลูกปิงปอง...เมื่อ แนวทางของไทยกับจีนสอดคล้องต้องกัน ที่จะสกัดกันอิทธิพลของโซเวียตและเวียดนามในภูมิภาคนี้ จึงนำไปสู่ “การทูตปิงปอง” เช่นเดียวกับที่สานสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ สำเร็จมาแล้ว โดยไทยได้ส่งคณะนักปิงปองไปร่วมแข่งที่จีนตามคำเชิญของสหภาพปิงปองแห่ง เอเชีย ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 7 กันยายน 2515

    21. ‘คิสซิงเจอร์เมืองไทยเปิดประตูเมืองจีน’ นาย ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ได้ร่วมเดินทางไปจีนกับคณะนักกีฬาปิงปองไทยด้วยในฐานะ ''ที่ปรึกษาทีม'' แต่เบื้องหลังเขาคือผู้แทนรัฐบาลไทยที่ไปเจรจาปรับความสัมพันธ์กับโจวเอิน ไหล วีรกรรมของนายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ในการทูตปิงปองเปรียบได้กับปฏิบัติการลับของ เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ที่ปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้ปูทางให้แก่การปรับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนในช่วงเวลาไล่ เลี่ยกัน จนเขาได้รับการยกย่องให้เป็น ‘คิสซิงเจอร์ แห่งประเทศไทย ผู้เปิดประตูเมืองจีน’

    22.สัมพันธ์การค้าหวนคืน...เมื่อ เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันขึ้น ในเดือนธันวาคม 2517 รัฐบาลไทยประกาศยกเลิกกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าจากจีน และส่งพล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยนายเตช บุนนาค หัวหน้ากองเอเชียตะวันออกขณะนั้น ไปยังจีนเพื่อเจรจาขอซื้อน้ำมันดิบจำนวน 30,000 ตัน

    </td> </tr> <tr> <td class="body" valign="baseline" align="left"> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" align="center"> <table width="440" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" width="440" align="center"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" valign="baseline" align="left">(ซ้าย) เหมาเจ๋อตุง สัมผัสมือต้อนรับม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีจากประเทศไทย (ขวา) นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ให้เกียรติมาต้อนรับม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แม้ขณะนั้นท่านจะป่วยเป็นมะเร็งในขั้นลุกลามแล้วก็ตาม</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td valign="top" align="center" height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> 23. “คึกฤทธิ์” ไปจีนแดง...ภาย หลังคณะของนายอานันท์ ปันยารชุนกลับจากไปติดต่อเจรจาขอปรับความสัมพันธ์กับทางการจีนแล้ว คณะผู้นำของไทยนำโดยนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เดินทางจากท่าอากาศยานกรุงเทพ โดยสารการบินไทย ชื่อ ‘สุดาวดี’ ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2518 แวะพักที่ท่าอากาศยานฮ่องกงหนึ่งคืน แล้วจึงเข้าสู่เขตประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในเช้าวันรุ่งขึ้น

    24.จรดหมึกสถาปนาสัมพันธ์...วัน ที่ 1 กรกฎาคม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้เข้าพบกับประธานเหมาเจ๋อตงในช่วงเช้า ก่อนที่พิธีลงนามแถลงการณ์ร่วมการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราช อาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนจะจัดขึ้นในช่วงบ่ายที่โรงพยาบาล อันเป็นที่รักษาตัวของนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ซึ่งเวลานั้นป่วยหนักด้วยโรคมะเร็ง

    25.การทูตลุล่วง...นาย ไฉเจ๋อหมิน (柴泽民) เป็นเอกอัครราชทูตจีนคนแรกประจำประเทศไทย ขณะที่ ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี เป็นเอกอัครราชทูตไทยคนแรกประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ กรุงปักกิ่ง

    26.เติ้งเสี่ยวผิงเยือนไทย...ต้น เดือนพฤศจิกายน 2521 เติ้งเสี่ยวผิงได้เดินทางมาเยือนไทยเพื่อกระชับความสัมพันธ์ จากนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศที่ริเริ่มโดยเติ้งเสี่ยวผิง ได้มีการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นแห่งแรกที่เซินเจิ้น โดยบริษัทเจียไต๋ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นบริษัทไทยแห่งแรกและบริษัทต่างชาติแห่งแรกที่เข้าไปลงทุนในแผ่นดินใหญ่ ปี พ.ศ.2523 โดยได้รับใบอนุญาตทำการค้าในจีนหมายเลข 001

    27.ทรงมองการณ์ไกล...ใน พ.ศ.2523 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงคิดจะเรียนภาษาเยอรมัน เมื่อทรงปรารภถึงพระราชดำริดังกล่าว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบราราชินีนาถทรงฟังแล้ว กลับรับสั่งว่า “เรียนภาษาจีนสิ เรียนให้ได้นะ” ทำให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงตัดสินพระราชหฤทัยที่จะเรียนภาษาจีนให้ได้ดีนับแต่นั้นเป็นต้นมา

    </td> </tr> <tr> <td class="body" valign="baseline" align="left"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" align="center"> <table width="232" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" width="232" align="center"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td valign="top" align="center" height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> 28.“ย่ำแดนมังกร” …เป็น พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการเสด็จพระราชดำเนินเยือนจีนครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2524 ตามมาด้วยพระราชนิพนธ์อีกหลายเล่มที่เกี่ยวกับจีน ได้แก่ มุ่ง ไกลในรอยทราย, เกล็ดหิมะในสายหมอก , ใต้เมฆที่เมฆใต้, เย็นสบายชายน้ำ, คืนถิ่นจีนใหญ่ ,เจียงหนานแสนงาม ,เมื่อข้าพเข้าเป็นนักเรียนนอก ,หวงเหออู่อารยธรรม และ ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย ฯลฯ ขณะที่พระราชนิพนธ์บางเล่มของพระองค์ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาจีนคือ แก้วจอมแก่น และ เพลงแห่งหญ้าน้อย

    29.รางวัลมิตรภาพ...เพื่อ เป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้ทรงเป็นทูตสันถวไมตรีในการแลกเปลี่ยนวัฒธรรมไทย-จีน กระทรวงศึกษาธิการจีนได้ถวาย “รางวัลมิตรภาพแห่งภาษาและวัฒนธรรมจีน” แด่พระองค์ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2543

    30.จีนเริ่มเที่ยวไทย...รัฐบาล จีนเริ่มอนุญาตให้ชาวจีนออกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านได้เมื่อปี 2535 โดยประเทศกลุ่มแรกที่จีนอนุญาตคือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย

    31.เสด็จเยือนจีน ฉลอง 25 ปีแห่งสัมพันธ์...สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนครั้งแรก เนื่องในวาระครบรอบ 25 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–จีน พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในเดือนตุลาคม 2543 โดยทรงนำคณะนางแบบชื่อดังของไทยไปเดินแบบแสดงผ้าไทยด้วย

    32.เจ้าฟ้านักดนตรี เดี่ยวกู่เจิง...ปี ถัดมา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเดี่ยวกู่เจิง เครื่องดนตรีจีนโบราณ ในงานแสดงดนตรีและวัฒนธรรม ‘สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน’ ครั้งแรกที่เมืองไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับจีน และเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิจุฬาภรณ์

    33.เปิดยุคค้าเสรี...ไทย-จีน มีข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน (FTA) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 โดยเริ่มจากการยกเว้นภาษีนำเข้าผัก-ผลไม้

    </td> </tr> <tr> <td class="body" valign="baseline" align="left"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td valign="top" align="center"> <table width="300" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" width="300" align="center"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" valign="baseline" align="left">แพนด้ายักษ์ หลินฮุยและช่วงช่วง ทูตสันถวไมตรีไทย-จีน</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td valign="top" align="center" height="5">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> 34.ทูตแพนด้าประจำการในไทย... สวนสัตว์เชียงใหม่ต้อนรับสมาชิกใหม่ หมีแพนด้า อันเป็นสมบัติล้ำค่าที่จีนแสนหวงแหน ชื่อ“ช่วงช่วง-หลินฮุ่ย” เมื่อเย็นวันที่ 12 ตุลาคม 2546 เพื่อทำหน้าที่เป็นทูตสันถวไมตรีระหว่างไทยกับจีนเป็นเวลา 10 ปี

    35.มหามิตร...สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยือนจีนครบทุกมณฑลในปี 2547 และในวาระฉลองครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ทรงได้รับการลงคะแนนเสียงจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 56 ล้านเสียงให้เป็น “หนึ่งในสิบมิตรที่ดีที่สุดในโลกของชาวจีน” เมื่อเดือนธันวาคม 2552.


    คลิกอ่าน...

    คอลัมน์พิเศษ 30 ปี สัมพันธ์ไทย-จีน</td></tr></tbody></table>
     
  2. ิbilliboy

    ิbilliboy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    500
    ค่าพลัง:
    +273
    ขอบคุณข้อมูลดีๆ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...