รับตอบข้อสงสัยในการเจริญพระกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Xorce, 26 พฤศจิกายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    สาธุ อนุโมทนา พี่จะสู้ๆจ้ะ อุปสรรคที่เจอก็ต้องฟันฝ่า เมื่อคืนพี่ฝันว่าพระเจ้าอยู่หัวท่านเสด็จมา ท่านตรัสว่าจะมาสอนพุทธคุณให้จ้ะ

    และมีคนฝากพี่มาแต่พี่ตอบไม่ได้ ขอรบกวนถามหน่อย ฌาณ๔หยาบกับฌาณ๔ละเอียดมันต่างกันอย่างไรจ้ะ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าขณะนี้เราอยู่ในฌาณสี่หยาบ หรือฌาณสี่ละเอียด มีอะไรเป็นข้อสังเกต อธิบายให้ละเอียดด้วยนะจ๊ะ พี่จะได้ไปอธิบายให้เขาฟังได้จ้ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 มิถุนายน 2010
  2. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    มากันทีเดียวเป็นกองทัพเลยนะครับ

    ผมจะค่อยๆทยอยตอบให้ครับ

    ตอนนี้ผมจะจี้เฉพาะจุดที่ติดขัด และแนะนำวิธีแก้ไขให้

    แต่ในส่วนของเนื้อสมาธิโดยสมบูรณ์นั้น

    ผมจะยังไม่แนะนำจนกว่าผมจะทำการอัพเกรดวิชชาใหม่ทั้งชุดเสร็จสมบูรณ์นะครับ

    ดังนั้นขอเวลาให้ผมล้าง และปรับปรุงวิชชาใหม่ซักระยะนะครับ ให้เข้าที่เข้าทางเสียก่อน

    แล้วจะกลับมาลงพวกวิธีการเดินจิต อย่างละเอียด เป็นขั้นเป็นตอนอีกทีครับ



    เหตุที่ผมต้องมาปรับปรุงใหม่ทั้งหมดนั้น

    หากท่านใดมีฌาณญาณ ก็คงจะพอทราบเหตุผลดีอยู่


    ขอให้ท่านทั้งหลายเข้าใจว่า ส้ม 10 ลูก มีเน่าอยู่ 3 ลูก

    อีก7ลูกยังกินได้ ผมก็เก็บ7ลูกที่กินได้ เอาไว้กินเองและเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้อื่น

    ส่วนสามลูกที่เน่านั้น ผมจะตัดทิ้ง แล้วนำไปทำเป็นปุ๋ย เพื่อบำรุงเลี้ยงต้นส้มให้เติบใหญ่ต่อไป

    ผมจะไม่ยอมปล่อยให้ส้มที่เน่าสามลูกนั้น ทำอีก7ลูกให้เน่าไปด้วยเด็ดขาด

    ท่านใดเข้าใจแล้ว ก็ขอให้ท่านเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา

    ท่านใดที่ยังไม่เข้าใจ เมื่อท่านสมควรจะเข้าใจ ท่านก็จะเข้าใจเอง

    แต่ส้มต้นใหม่นี้ เมื่อได้รับปุ๋ยจากส้มที่เน่าสามลูกนั้นแล้ว

    จะต้องเติบโตขึ้นมาเป็นต้นส้มที่เจริญงอกงามมากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม

    จึงต้องขอให้ทุกๆท่าน อดทนรอซักระยะ

    เพื่อลองชิมผลส้มจากต้นใหม่ ซึ่งจะมีรสชาติที่หอมหวานยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม อย่างเทียบกันไม่ติด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2010
  3. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ saturday_rainy ครับ

    ผมมีข้อสงสัยเรื่องการรักษาระดับของสมาธิให้มั่นคงและสูงยิ่งขึ้นครับ
    เมื่อเรานั่งสมาธิไปจนจิตผ่อนคลาย ไม่สนใจคำภาวนา เคลิ้มๆเหมือนจะหลับไปแล้ว และต่อมาก็กลับมารู้ตัวอีกหน อันนี้เราจะทำอย่างไรต่อครับที่จะทรงสมาธิให้ก้าวหน้าขึ้น ผ่านจุดนี้ไปได้ง่ายๆ<!-- google_ad_section_end -->

    จิตของคุณมีความสว่าง เหมาะแก่การเอาดีทางด้านกสิณ ญาณทัศนะต่างๆ

    แต่จุดที่จะต้องทำให้ได้ ก่อนที่จะไปฝึกกสิณ

    ก็คืออาณาปานสติแบบที่คุณฝึกอยู่นั่นแหละ มาถูกทางแล้ว ต้องทำให้สุดให้ได้ก่อน

    จุดที่ติดคือ จิตมันสบายมากเกินไปจนจะเคลิ้มหลับ

    ตอนนั้นผมแนะนำเอาไว้ไม่สมบูรณ์

    เราจะต้องผ่อนคลายให้ถึงที่สุดนั้นก็จริงอยู่

    แต่จิตจะต้องไม่เคลิบเคลิ้ม ไม่คล้อยลงสู่อาการขาดสติ

    เราจะต้องเอาจิตจับเอาไว้กับความนิ่งของจิต

    ลมหายใจในร่างกายนั้นยังมีอยู่ แต่จิตหยุดนิ่งจนพิจารณาไม่ได้ถึงลมหายใจ

    จิตจะต้องจับในความนิ่ง อาการที่หยุด เอาไว้

    เพราะถ้าไม่จับอะไรเอาไว้เลยผ่อนคลายอย่างเดียวมันจะเคลิ้ม

    หาอารมณ์ที่จิตหยุดให้เจอ เราเจออยู่แล้ว

    คราวนี้ให้เอาจิตจับมันเอาไว้ จับให้มั่นคง แต่อย่าหนักไป จับสบายๆ

    อาการที่เราใช้จิตจับความนิ่งนั้นเอาไว้ นั่นแหละคือสติ

    สติคืออะไร คืออาการของจิตที่ตื่น สว่างโพลง จะไม่ง่วง ไม่เคลิ้ม

    จิตจะสว่าง การรู้ตัวจะสมบูรณ์ ตัวนี่หมายถึงจิต การรู้จิตของเราเองมันจะสมบูรณ์

    ถ้าจิตจับอารมณ์ที่ หยุดนิ่ง ของจิตเอาไว้ไม่ได้ ก็คือเราขาดสติ

    จิตจะค่อยๆคล้อยลงสู่การตกภวังค์ในที่สุด

    แต่ถ้าเรามีสติ เราใช้จิต จับอารมณ์นิ่งเอาไว้ได้

    จิตจะค่อยๆ รวมตัว รวมตัวคือว่าร่างกายมันหายไป ตัวหาย

    จะเหลือแต่จิตของเราเท่านั้นโดยสมบูรณ์

    จะรู้สึกคล้ายเราเป็นดวงๆ ลอยอยู่

    แล้วจะค่อยดิ่งลึก ลงสู่ความสงบ ภายในร่างกายของเรา

    จะรู้สึกว่ามันค่อยๆดิ่ง ค่อยๆรวมตัว มันจะตัดความรู้สึกทางร่างกาย ทางภายนอกทั้งหมดออกไป พิจารณาไม่ได้ถึงการมีอยู่ของร่างกาย

    จิตจะเข้าไปสว่างโพลง ข้างในร่างกาย จะมีสติ ความง่วงจะสลายหายไปทั้งหมด

    นี่แหละคือ สติมันเต็ม

    ถ้าง่วง ถ้าเคลิ้ม ถ้าตกภวังค์ คือการเข้าสมาธิโดยขาดสติ

    พอขาดสติ แม้เราจะฝึกญาณทัศนะอย่างไร มันก็จะมั่ว มันก็จะไม่ชัด

    แต่ถ้าสติเราสมบูรณ์ ไปจับกสิณนิดเดียว ญาณรู้เห็นต่างๆมันก็มาแล้ว

    คราวนี้เราฝึกสมาธิทุกครั้งมันจะต้องตื่น ต้องสว่าง ต้องไม่มีความมืดมัว ความง่วงในจิตของเรา

    ในขั้นนี้ฝึกทำแบบนี้ให้ได้จนคล่องเสียก่อน

    แล้วค่อยกลับมาถามใหม่อีกรอบครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2010
  4. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    สู้ๆจ้ะน้องชัช
     
  5. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Maxzimon ครับ

    ขอบคุณที่แนะนำนะครับ เรื่องอุเบกขา แต่ผมเวลาเห็นคนอื่นที่เขาทำผิดแล้วมันห้ามไม่ค่อยได้ ผมก็จะว่าเขาเสมอ บางคนที่ดีผมก็ชื่นชมเขา
    ผมก็พอทราบว่าพื้นฐานคนแตกต่างกัน ทราบว่าคนทุกคนมีด้านดี ผมไม่รังเกียจที่จะคบใครเป็นเพื่อนผมรับได้ทุกคนอ่ะครับ

    พรหมวิหาร4 ต้องมีปัญญาประกอบ

    ไม่งั้นมันจะผิดพลาด<!-- google_ad_section_end -->

    จะใช้ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

    ให้เราใช้ปัญญาจับก่อน ขึ้นต้นด้วยปัญญาก่อนทุกครั้ง จำเป็นอย่างยิ่งยวด

    เราเห็นคนทำผิด เราต้องพิจารณาว่า

    ถ้าเราเตือน เราแนะนำเขา แล้วเขาจะฟังเรา อันนี้เราจึงควรแนะนำ ใช้ เมตตา และกรุณา

    แต่ถ้าเราเตือนไปแล้วเขา กลับย้อนมาโกรธเรา อันนี้เราควรจะอุเบกขาเสีย ไม่ควรจะสร้างภัยให้กับตน

    ความใจดี มีเมตตา เป็นเรื่องดี

    แต่อย่าให้กลายเป็นความใจอ่อน มันจะเป็นโทษ มันจะนำภัยให้กับเรา

    ซึ่งผมเชื่อว่าเคยมาแล้ว เราต้องเรียนรู้จากตรงนั้น

    เพราะมันคือโทษของการไม่เอาปัญญา วางไว้ข้างหน้าเมตตา

    เราเมตตาเฉพาะคน เฉพาะกรณี แม้คนเดียวกัน เราก็ไม่เมตตาทุกเรื่อง

    อุเบกขาก็เช่นกัน เราอุเบกขา เฉพาะกรณีไป ไม่อุเบกขามันซะทุกเรื่อง

    ต้องรู้จัก ทำให้ทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มันสมดุลกัน

    เมตตา คือ เรามีความรักต่อเขา อยากจะช่วยเหลือเขา

    ถ้าเมตตามากแต่ตัวอื่นไม่มี เราจะหลง จะงมงาย จะสงเคราะห์คนไม่เลือกหน้า

    ตรงนี้ของเรามากกว่าตัวอื่นสิ่งที่เราต้องทำคือ อย่าไปลดตัวนี้

    แต่ให้เติมตัวอื่นให้มันเสมอกัน

    โดยเฉพาะอุเบกขานี้ เติมมันเยอะๆ เติมมันเข้าไป เพราะพร่องมากกว่าตัวอื่นๆ

    จะเติมอุเบกขาได้ ต้องรู้จักใช้ปัญญา


    มันต้องสมดุล ถึงจะเป็นพรหมวิหาร4ได้

    ถ้ามันไม่สมดุล อย่างใดอย่างหนึ่งมากไป หรือน้อยไป

    มันไม่ใช่พรหมวิหาร มันคือการขาดปัญญา

    หากปล่อยเอาไว้มันจะนำภัยมาให้เราได้


    เอาปัญญาขึ้นก่อนจะใช้พรหมวิหาร4ทุกครั้งไป

    เวลาจะช่วยคน เราต้องคิดก่อน จะช่วยหรือไม่ช่วย ช่วยยังไง วิธีไหน เวลา จังหวะ การเลือกคำพูด
    ทำไปแล้วมันจะเกิดผลดีแบบนี้ๆ มันจะเกิดผลเสียแบบนี้ๆ

    ผลดี กับผลเสีย อันไหนมากกว่ากัน มันคุ้มไหม

    ช่วยผิดวิธีก็ไม่ได้ ช่วยผิดเวลา ผิดจังหวะก็ไม่ได้

    ช่วยเร็วไปเขาอาจจะตาย ช่วยช้าไขก็ตาย ต้องรู้จัก กาล รู้จักจังหวะ

    ดังนั้นให้เราตรองช้าๆ ใช้เวลาในการตัดสินใจ

    ก่อนที่เราจะเอ่ยปากรับจะช่วยคน

    อย่ารับในทันที

    ถ้าเอาเมตตาตั้งข้างหน้านี่ เราตายแน่

    เอาอุเบกขาตั้งข้างหน้าก็ไม่ถูก

    เอาสติ และปัญญาตั้งเอาไว้ข้างหน้า จึงจะถูก

    ปัญญานำไป พรหมวิหาร4 ตามหลัง

    แล้วเราจะเดินอย่างถูกทาง

    ธรรมะ ธรรมชาติ เป็นเรื่องของความสมดุลขององค์ประกอบ ทั้งทางกาย และจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2010
  6. Maxzimon

    Maxzimon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +204
    สรุปคือต้องตั้ง ด้วย สติและปัญญา จึงทำให้เราใช้พรหมวิหาร4ได้อย่างถูกต้องใช่หรือไม่ครับ ใช่สติในการไตร่ตรองและใช้ปัญญาในการวิเคราะห์บุคคลที่ควรเมตตา และบุคคลที่ควรวางเฉย ประมาณนี้หรือปล่าวครับ
    แต่ท่านว่าไว้ว่ามหาโจรเมื่อวางดาบก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้มันก็มีอยู่ ผมเลยเตือนเขาครั้งนึงก่อนเสมอหน่ะครับ บางคนเขาก็อาจจะเบื่อหน้าผมหรือไม่ชอบหน้าไปเลย แต่บางคนเขาก็คิดได้ ผมเลยใช้วิธี เตือน1ครั้งตลอดอ่ะครับ การเตือนของผมนี่ไม่ใช่ไปว่าเขาแรงๆนะครับ ผมจะใช้คำพูดที่ดูไม่รุนแรงนัก (แต่บางคนเขาก็ยังไม่ชอบหาว่าเราหลอกด่าเขาอีก )
    ผมจะลองนำไปปฏิบัติต่อดูครับ หากมีที่ใดติดขัดผมคงต้องเข้ามารบกวนอีก^^
     
  7. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    ขอยืนยันเรื่องเมตตาของน้องชัชค่ะ เพราะตรงกับ พระท่านมาสอนปูในจิตว่า การจะใช้เมตตา ต้องดูบุคคล และวาระของบุคคลนั้น ว่าสมควรที่จะช่วยเขาไหม ไม่ใช่ทำโดยไม่พิจารณา เพราะการที่จะช่วยไปหมดไม่มีอุเบกขา ตัวเราจะเป็นผู้เดือดร้อนเอง จะทำอะไรต้องใจเย็น เบรกตัวเองก่อน แล้วค่อยพิจารณาดูให้รอบครอบค่ะ
     
  8. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ suthipongnuy ครับ

    ขอบพระคุณอาจารย์ชัดมากครับ ที่ช่วยกรุณาชี้แนะแนวทางให้กับผม
    ผมก็คิดอยู่เหมือนกันครับกับจริตนิสัยของผม คงไม่ใช่ทางสุขวิปัสสโกแน่นอน เพราะผมอยากรู้อยากเห็นนรกและสวรรค์ตั้งแต่เด็กแล้วครับ พอได้มาปฏิบัติธรรมในช่วงนี้ ก็เคยพยายามนะครับ เพ่งกสิณ จับภาพพระ แต่ไปไม่รอด เลยคิดว่าตัวเองยังไม่ดีพอ ก็เลยได้คำแนะนำจากอาจารย์ว่าให้จับอานาปานุสสติให้สุดเสียก่อน ก็พยายามทำเรื่อยมา ตอนแรกก็จับลมหายใจเข้าออก ผลปรากฏว่าเหลว คือแน่นหน้าอกและอึดอัด ก็เลยหันมาบริกรรมพุทโธ ซึ่งก็ได้ผลดีขึ้น ก็เลยทำเรื่อยมา แต่ก็เหมือนกับอาจารย์แนะนำมาคือ มันมาได้แค่นี้ จิตก็สงบบ้างฟุ้งบ้าง ฌานก็ติดๆดับๆ เรื่องวิปัสสนา โน้น...เหมือนอยู่ดาวอังคาร คงไม่มีวันไปถึง มีบางช่วงที่เหนื่อยและท้อ ทำให้การปฏิบัติไม่ต่อเนื่อง ทำบ้างไม่ทำบ้างครับ

    ครั้งนี้ได้รับคำแนะนำที่ไม่เคยมีใครบอกมาก่อน ทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติมากครับ ยิ่งตอนท้ายบอกว่าผมมีโอกาสที่จะไปพระนิพพานได้ในชาตินี้ ไม่ต้องรอชาติหน้า หรือชาติไหนๆยิ่งดีใจใหญ่เลยครับ แต่ผมคงไม่ประมาท บุญกุศลไหนที่ทำได้ ผมก็จะสะสมเอาไว้ก่อน เก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ กันเหนียวไว้ก่อนครับ

    หลังจากได้คำแนะนำ ต่อไปนี้ผมก็จะพยายามทรงภาพพระให้ได้ครับ ทำแบบสบายๆ เห็นก็ช่างไม่เห็นก็ช่าง ทำไปเรื่อยๆ พร้อมๆกับบริกรรมพุทโธไปด้วย อาการที่เราตั้งใจมากเกินไป ผมได้บทเรียนมาแล้วครับ และคงจะไม่ยอมตกไปอยู่ในสภาพนั้นอีกมันทรมาน

    ขออนุโมทนากับคุณความดีที่อาจารย์ชัดได้กระทำในครั้งนี้ด้วยครับ<!-- google_ad_section_end -->

    จิตสว่างขึ้น

    ตั้งมั่นในภาพพระมากขึ้น

    ภาพพระท่านมีแสงสว่างส่องออกมาอยู่เสมอ แบบนี้ถือว่าดีขึ้นแล้วครับ

    รู้สึกได้ใช่ไหมครับ ว่าได้ผลมากกว่าเดิม

    คราวนี้ให้เรา เพิ่มเข้าไปอีก คือ ทรงภาพพระแล้วก็ จับลมหายใจควบคู่ไปด้วย

    มีสติระลึกรู้ในลมหายใจของเรา พร้อมๆกับประคองภาพพระเอาไว้

    ทำไปสบายๆ ความเต็มรอบของสติของเราจะมีเพิ่มมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม

    ส่วนอารมณ์ที่เราต้องการ จากการจับลมหายใจ คือ ฌาณ4

    ฌาณ4นั้น ร่างกายของเรายังหายใจอยู่

    แต่จิตของเรามีอาการที่ผ่อนคลาย หยุดนิ่ง มีสติ

    จิตนิ่งมากจนพิจารณาไม่ได้ถึงลมหายใจ

    จิตจะสว่างโพลง รู้สึกตื่นเต็มที่ จะไม่มีอาการง่วงหงาวหาวนอนทั้งหมด

    มีสติคือ ผนึกจิตเข้ากับร่างกาย รู้ตัว รับรู้ในการกระทำ การเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย อยู่ตลอดเวลา

    มีสติอยู่กับภาพพระ ก็คือ เราประคองภาพพระ ไม่ให้เคลื่อน ให้มีความสว่างไสวที่คงที่

    ผนึกจิตเข้ากับภาพพระ ใช้จิตจับเอาไว้กับภาพพระอยู่เสมอๆ

    ให้เราใช้สติ อาการรับรู้ของเรา จับทั้งการเคลื่อนไหวของร่างกาย และภาพพระเอาไว้เสมอๆ

    สังเกตุว่าพอจิตของเรา มีสติ จับนิ่งอยู่กับภาพพระ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย

    จิตจะมีอาการที่นิ่ง กระแสของความคิด ของความฟุ้งซ่านจะไม่มี

    จิตจะรวมตัวเป็นหนึ่ง จะสว่างโพลงอยู่ตลอดเวลา

    เป็นสติปัฏฐาน4

    โดยเราใช้ทั้งร่างกายและ ภาพพระเป็นการฝึกสติของเรา

    ให้ลองนำไปปฏิบัติดูครับ ถ้าสงสัยให้ถามทันที

    และเมื่อผมเห็นว่าทำได้ดีพอสมควรแล้ว จะแนะนำต่อไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2010
  9. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ ชินนา ครับ

    สวัสดีครับท่านเจ้าของกระทู้

    ผมได้ติดตามอ่านการถามตอบพระกรรมฐานมาพอสมควร แต่ยังไม่มีข้อคำถาม เพราะกำลังแก้ไขอารมณ์ของตัวเอง คือผมติดอารมณ์หนักมาเป็นเวลานานพอดู ตอนนี้ก็เริ่มจะดีขึ้นกว่าเก่าแล้วครับ (ผมฝึกอานาปานุสติครับ)


    กะว่าถึงช่วงไหนที่ติดขัดในการปฏิบัติก็จะถาม แต่พอดีเห็นว่าท่านเจ้าของกระทู้จะตอบทุกคนแบบจี้จุด ผมเลยสนใจที่จะถามถึงข้อปฏิบัติว่าตัวผมนี้จะสามารถเดินในแบบใดที่จะทำให้ถูกจริตที่สุดครับ

    กสิณสีเหลือง ทอง กสิณแสงสว่างสีเหลือง คือแสงต้องเป็นสีเหลือง

    กสิณภาพพระเนื้อทองเหลือง

    กสิณที่มีสีเหลืองเป็นส่วนประกอบ ต้องเป็นสีเหลืองที่สว่างๆด้วย

    [​IMG][​IMG]
    [​IMG]

    ให้ทรงภาพกสิณสีเหลืองเอาไว้ในใจ ใช้สติจับเอาไว้ตลอดเวลา

    พร้อมๆกับจับลมหายใจ จับอาณาปานสติแบบที่คุณทำอยู่แล้วไปด้วย

    จึงจะเกิดผล

    ให้เลือกเอาเอง ว่าจะเอากสิณสีเหลืองแบบไหน จะเป็นดวงกลม หรือจะเป็นภาพพระ

    หรือจะสลับแล้วแต่อารมณ์ก็ได้

    ให้ภาพกสิณสีเหลืองของเรานั้น

    มีแสง มีรัศมีสีเหลือง แผ่กระจายส่องสว่างออกไปเป้นระยะทางไม่มีประมาณ

    แผ่ออกไปได้มากเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น

    เมื่อเราทรงเอาไว้ได้ซักระยะหนึ่ง

    เราจะรู้สึกว่า ต้องการที่จะเปลี่ยน หรือภาพกสิณจะเปลี่ยนเองโดยอัตโนมัติ

    จากภาพกสิณสีเหลือง จะกลายเป็นดวงกสิณเนื้อเพชรใส ประกายระยิบระยับ แผ่รัศมีเพชรส่องสว่างออกไปเป้นปริมณพลกว้างขวาง

    ใช้สติจับภาพกสิณสีเหลือง และลมหายใจ เอาไว้ตลอดเวลา ทั้งยามตื่นยามหลับ

    ให้จิตของเรามีแสงสว่างสีเหลืองแผ่สว่างออกมาอยู่สม่ำเสมอ

    ทั้งอาณาปานสติ และภาพกสิณจะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน ทำให้จิตเป็นสมาธิดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

    ให้นำไปปฏิบัติก่อนครับ แล้วค่อยกลับมาถามอีกครั้ง


     
  10. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ Maxzimon ครับ

    อย่าไปคิดว่าการมีเมตตา เป็นสิ่งที่ไม่ดีครับ

    ดีแล้วครับที่เรามีเมตตา

    แต่ประเด็นคือ จะต้องมีปัญญาเข้ามาประกอบครับ

    เราทำดีแล้วครับ ที่มีเมตตา ที่ชอบช่วยคน

    แต่การเมตตาไม่เลือก ไม่เอาปัญญามาจับนั้น จะทำให้มีคนเดือดร้อนมากมายหลายคนครับ

    การเตือน1ครั้ง ในสายตาของคนที่ไม่ต้องการให้เตือน

    มีค่าเท่ากับการด่าเขาหนึ่งครั้งครับ

    การติหนึ่งครั้ง ในสายตาของคนที่ต้องการจะพัฒนาตัวเอง

    มีค่าเท่ากับการหยิบยื่นความห่วงใย ความจริงใจ และมิตรภาพ ให้เขา1ครั้งครับ

    ขอให้นำไปพิจารณาว่าจริงไหมครับ

    ถ้าพูดไปเขาก็ไม่ดีขึ้น ให้อุเบกขาครับ

    หากเราพูดไปตอนนี้แล้วเขาไม่ชอบเราขึ้นมา

    ในครั้งหน้าเราก็จะเตือนเขาไม่ได้อีก

    แต่หากครั้งนี้เราเงียบ

    แล้วรอโอกาสหน้า ที่เราพิจารณาแล้วว่าเตือนเขาได้

    เราก็จะได้ใจของเขาครับ

    เมื่อเราใช้ปัญญาค่อยๆพิจารณา เราจะรู้ถึงจังหวะได้เองครับ

    ซึ่งตรงนี้ก็เป็นการฝึกการใช้สมาธิ สติ และปัญญา ของเราครับ

    สมาธิ เพื่อให้จิตใจมีความเยือกเย็น ค่อยๆ ใช้สติระลึกรู้ถึงสภาวะของสถานการณ์

    ทั้งจิตใจของเรา จิตใจของเขา จิตใจของคนที่อยู่โดยรอบ

    และปัญญา ค่อยๆเลือกตัดสินใจอย่างถูกทางว่าจะเอาแบบไหนดี

    ให้เรายึดมั่นในเมตตาต่อไป แต่ให้เติมอุเบกขา สติ และปัญญาบารมี เข้ามา

    แล้วเราจะกลายเป็นคนที่มีความสุขุมลุ่มลึก ละเอียดรอบคอบ แยบคายในการวางแผน มากยิ่งขึ้น
     
  11. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    ขอบพระคุณมากๆ ครับ สำหรับข้อปฏิบัติที่แนะนำมา

    โมทนาบุญด้วยครับ
     
  12. KOKOKING_<<0>>

    KOKOKING_<<0>> เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    813
    ค่าพลัง:
    +1,373
    ยังไปฝึกได้ไม่ค่อยดีเลยไม่กล้าถามท่านอ.ชัชเลยครับ ฌาน4 ละเอียดนี่แบบว่าลึกไปเลยไหมครับ งง กะอารมณ์ที่เกิดขึ้นอะครับ ถ้าคืบหน้าจะกลับมารบกวนถามท่านอ.ชัชใหม่นะครับบ
     
  13. chaplu

    chaplu สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +6
    สอบถามค่ะ
    คือ พึ่งเริ่มหัดนั่งสมาธิ พอนั่งได้ซักพักนึงแล้วรู้สึกว่าตัวเบาแล้วเหมือนตัวเองจะหยุดหายใจไปแต่ก็ภาวนา พุทโธอยู่ เลยรีบออกจากสาธิ อยากทราบว่าอาการนี้คืออะไรค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
     
  14. อวทม45

    อวทม45 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +1,832
    จากการจับลมหายใจ คือ ฌาณ4

    ฌาณ4นั้น ร่างกายของเรายังหายใจอยู่


    แต่จิตของเรามีอาการที่ผ่อนคลาย หยุดนิ่ง มีสติ


    จิตนิ่งมากจนพิจารณาไม่ได้ถึงลมหายใจ(จากกระทู้วัีนที่ 25มิย.)

    ผมอ่านตำราและพระอาจารย์สอน ท่านบอกฌาน ๔ ลมหายใจระงับแล้วครับ ไม่ได้มาดิสเครดิต แต่เห็นว่าเผยแพร่ผิด ๆ ก็มาเตือนกัน

    ไม่รู้มีผิดอีกหลายที่หรือเปล่า ไม่มีเวลาอ่านมาก


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มิถุนายน 2010
  15. อวทม45

    อวทม45 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +1,832
    ลมหายใจจะมีแต่แผ่ออกมาทางรูขุมขนแทนครับ
     
  16. อวทม45

    อวทม45 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    330
    ค่าพลัง:
    +1,832
    ขอถามด้วยครับ ว่ากรรมฐานอย่างไหนจะทำให้ผมถึงระดับอัปนาได้ เพราะทำมาหลายอย่างแล้ว ก็ดีหมดทุกอย่างน่ะครับ แต่มันไปไม่สุดทาง
     
  17. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    เท่าที่ผมรู้และเคยปฏิบัติ คือถ้าเป็นฌาน4ลมหายใจยังคงมีอยู่ แต่น้อยมากจนเกือบจะไม่มี
    และที่ว่าจิตพิจารณาไม่ได้ถึงลมหายใจ ก็เพราะว่า จิตไม่ได้สนใจกับลมหายใจ
    ถ้าจิตสนใจลม หรือรู้ว่าลมยังมีเมื่อไหร่ ก็ตกจากฌาน4 นั่นคือจิตต้องไม่ไปสนใจหรือพิจารณาลมเด็ดขาด เพราะผมเองก็ติดขัดเรื่องนี้มานาน เลยพอจะอธิบายได้คร่าวๆครับ
     
  18. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำของอาจารย์ชัดครับ (ไม่ทราบว่าชื่อ ชัด หรือ ชัช กันแน่) ที่กรุณาให้คำแนะนำกับผม แม้จะไม่เคยเห็นหน้าตา เคยได้ฟังแต่เสียง ก็พอทราบได้ว่าอาจารย์น่าจะใจดีและมีเมตตาครับ ฟังจากน้ำเสียงที่สอนสมาธิ อายุน่าจะ 25-35 ปี ครับ อันนี้พูดไปตามประสาคนไม่มีพลังพิเศษใดๆ คงได้แค่เดาเอา

    ในส่วนของการจับภาพพระ ที่พอจะเห็นผลแตกต่างไปจากวิธีเดิมที่เคยปฏิบัติ อันนี้ยอมรับว่ายังไม่เห็นผลแตกต่างที่ชัดเจนครับ อาจเป็นเพราะผมทำไม่ถูกวิธี หรือไม่ก็ยังไม่มีความเพียรเพียงพอก็เป็นได้ แต่ถ้าถามว่ารู้สึกแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ อันนี้พอบอกได้ว่าแตกต่างไปจากเดิมครับ เพราะผมลองทบทวนการปฏิบัติที่ผ่านมา ก็เคยทรงภาพพระ หรือไม่ก็จับกสิณในตอนที่นั่งสมาธิ ก็รู้สึกได้ว่าจิตนิ่งเป็นสมาธิเร็วว่าบริกรรมพุทโธ ตอนนี้กำลังพยายามระลึกถึงอารมณ์ในช่วงนั้นอยู่ เคยได้ฟังไฟล์เสียงของหลวงพี่เล็กเรื่องสมาธิท่านบอกให้มองย้อนเข้ามาในตัวเอง อย่ามองออกไปข้างหน้า มองย้อนจากลูกตา ย้อนมาในศรีษะ ย้อนลงไปให้อก ในท้อง ตอนนี้ก็กำลังฝึกแบบนี้อยู่ครับ เพราะตอนจับภาพพระครั้งก่อน ผมวางไว้ด้านหน้า ทำให้บางครั้งรู้สึกเหมือนเพ่งด้วยลูกตา ทำให้ปวดตา รู้ว่าผิดแต่ก็แก้ไม่หาย พออาจารย์บอกให้จับภาพพระ ก็เลยวุ่นกับการวางตำแหน่งภาพพระอยู่ครับ เพราะกลัวว่าจะทำผิดไปเหมือนครั้งก่อน ทั้งๆที่จริงเราแค่นึกหรือจินตนาการเอา ว่านึกเห็นภาพพระ แต่ผมก็ดันไปจัดวางตำแหน่งซะว่า ภาพพระนั้นอยู่ตรงไหน ด้านหน้า ในสมอง ในศรีษะ บนศรีษะ หน้าอก หรือว่าตรงท้อง ....
    หลังจากได้คำแนะนำมาปฏิบัติ ผมก็มาถึงขึ้นนี้เองครับ วุ่นกับภาพพระ เพราะกลัวว่าภาพจะไม่ชัดเจน เห้อ... คงต้องทำใจให้สบายก่อนละครับ เพราะรู้สึกว่าเริ่มเครียดอีกแล้ว อิอิ


    ขออนุโมทนากับอาจารย์ชัด กับคุณความดีที่ได้ทำในครั้งนี้ด้วยครับ
     
  19. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถึงคุณ suthipongnuy ครับ

    ของคุณให้ทรงภาพพระไว้ลอยเหนือศรีษะ หรือ ในอกครับ

    แต่แนะนำให้ในอกมากกว่า จะพิจารณาได้ถึงอารมณ์ของความอุ่นใจ และความปลอดภัยจากภัยอันตราย

    และให้ฐานพระอยู่บริเวณเหนือสะดือสองนิ้วครับ

    จะเป็นจุดที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการทำสิ่งต่างๆ

    อกุศลจะมีกำลังลดลง กุศลจิตจะมีกำลังมากขึ้น

    สมาธิจะตั้งมั่นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
     
  20. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    กรรมฐาน40ของหลวงพ่อฤาษีท่านนะครับ

    ฌาน ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้
    ๑. จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามี
    ลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่าลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ท่านว่า
    ลมหายใจนั้นมี
    แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ
    ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มี
    ลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา
    ๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจนในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ
    ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔
    ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติหลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวาย
    บอกว่าไม่เอาแล้ว เพราะเกรงว่าจะตายเพราะไม่มีลมหายใจ บางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อย
    ก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจ
    ที่ปรากฏอยู่กับปลายจมูกนั่นเอง
    ๒. อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ภายนอกจริง ๆ
    ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มีอารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่า
    ฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัด
    อันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้
    กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริง
    ร่างกายนี้จำเป็นมากในเรื่องหายใจ เพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป
    แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกายก็ยัง
    ไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการทรงอยู่ของร่างกาย
    ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมีตามปกติ ที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะ
    ว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการของร่างกายเลย
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...