หัวใจพระพุทธศาสนา พระธรรมเทศนา ของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 14 มิถุนายน 2010.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    <TABLE class=alt1 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    จิตดวงเดียว แสดงเป็นสี่ดวง พระโสดาปัตติมรรค ก็จิตดวงเดียว พระสกิทาคามิมรรค ก็จิตดวงเดียว พระอนาคามีมรรค ก็จิตดวงเดียว พระอรหันตมรรค ก็จิตดวงเดียวนี้แหละ

    ที่ว่าเป็นสี่นี้ ว่าตามธาตุตามวิญญาณ ธาตุก็สี่ วิญญาณก็สี่ได้ชื่อว่า จิตตานุปัสสนา กับ จิต แยกออกจากกันไม่ได้ หูกับจิต ออกจากกันไม่ได้

    ส่วนตาไม่ใช่จิต เรียกว่า วิญญาณตา หู ก็ไม่ใช่ จิต เรียกว่า วิญญาณหู จมูกก็ไม่ใช่จิต เรียกว่า วิญญาณจมูก ปากก็ไม่ใช่จิต เรียกว่า วิญญาณปาก

    จิตเราจะไปไหน ไปทำบุญหรือทำบาป ก็ต้องอาศัยวิญญาณตา จะดูรูปก็ต้องอาศัยตา จะฟังเสียงร้องรำทำเพลงเพื่อให้เพลิดเพลิน ก็ต้องอาศัยวิญญาณหูเป็นผู้ฟัง ว่าจะเพราะพริ้งเพียงใด

    จิตเป็นผู้รู้ จะดมกลิ่นเหม็นกลิ่นหอม จิตเป็นผู้รู้ จึงใส่ชื่อว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานัง

    ตา กับ จิต ออกจากกันไม่ได้ ตายเมื่อใดพ้นเมื่อนั้น นี้แหละ ท่านทั้งหลาย

    ๑. จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตนั้นก็เป็นพระโสดาจิต สกิทาคามิจิต ก็เป็น อนาคามิจิต อรหันตจิต ก็เป็นพระพุทโธ จิตดวงเดียว

    ๒. จิตนั้นไม่ลักทรัพย์ จิตนั้นก็เป็นพระโสดา เป็นพระสกิทาคา เป็นพระอนาคา เป็นพระอรหันตา

    ๓. จิตออกบวช ขาดจากผัวจากเมียนั้น ก็เป็นพระโสดา เป็นพระสกิทาคา เป็นพระอนาคา เป็นพระอรหันตา

    ๔. จิตไม่ขี้ปด ไม่กล่าวมุสาวาท จิตนั้นก็เป็นพระโสดา เป็นพระสกิทาคา เป็นพระอนาคา เป็นพระอรหันตา

    ๕. จิตไม่กินเหล้า จิตก็เป็นพระโสดา เป็นพระสกิทาคา เป็นพระอนาคา เป็นพระอรหันตา

    อันนี้อธิบายเป็นพระสูตร ขอให้นักธรรม นักกรรมฐานทั้งหลาย จงดูทุกพระองค์เถิด

    ถ้าจะอธิบายเป็นพระปรมัตถ์ อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน

    ๑. จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคน ทุกพระองค์

    ๒. จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคน ทุกพระองค์

    ๓. จิตออกบวช ขาดจากผัวจากเมีย จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจทุกคน ทุกพระองค์

    ๔. จิตไม่ขี้ปด (มุสาวาท) จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจทุกคน ทุกพระองค์

    ๕. จิตไม่กินเหล้า จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจทุกคน ทุกพระองค์

    พุทโธ เป็น ศีล พุทโธ เป็น ฌาน พุทโธ ก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเรา ทุกคน ทุกพระองค์

    ธัมโม เป็น ศีล ธัมโม เป็น ฌาน ธัมโม เป็น นิพพาน อยู่ที่ใจของเรา ทุกคน ทุกพระองค์

    สังโฆ เป็น ศีล สังโฆ เป็น ฌาน สังโฆ เป็น นิพพาน อยู่ที่ใจของเรา ทุกคน ทุกพระองค์

    เมตตา เป็น ศีล เมตตา เป็น ฌาน เมตตา เป็น นิพพาน อยู่ที่ใจของ เราทุกคน ทุกพระองค์

    กรุณา เป็น ศีล กรุณา เป็น ฌาน กรุณา เป็น นิพพาน อยู่ที่ใจของเรา ทุกคน ทุกพระองค์

    มุทิตา เป็น ศีล มุทิตา เป็น ฌาน มุทิตา เป็น นิพพาน อยู่ที่ใจของเรา ทุกคน ทุกพระองค์

    จิตมีรูป จิตไม่รักรูป จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็น นิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคน ทุกพระองค์

    จิตมีเวทนา จิตไม่รักเวทนา จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคน ทุกพระองค์

    จิตมีสัญญา จิตไม่รักสัญญา จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคน ทุกพระองค์

    จิตมีสังขาร จิตไม่รักสังขาร จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคน ทุกพระองค์

    พระองค์เจ้าพระคุณคือใคร? เจ้าพ่อของเรา เจ้าแม่ของเรา

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทุกคน เกิดจากเจ้าคุณพ่อ หมายถึง พระเจ้าสุทโธทนะ เจ้าคุณแม่ หมายถึง พระนางเจ้าสิริมหามายา เป็นที่เกิดธรรมะอันประเสริฐ สูงสุด วิเศษสุด อยู่ที่ใจของเรา อันเกิดจากพระบิดา พระมารดา

    ถ้าใครไม่เชื่อ เอาหมูมาเป็นเมีย ปีกุน แปลว่า หมู หมูดีกว่ามนุษย์ มนุษย์สู้หมูไม่ได้

    หมูดีกว่ามนุษย์ ขาหมู มนุษย์ก็กิน แต่ขามนุษย์ไม่มีใครกิน หำหมูมนุษย์กิน แต่หำมนุษย์ไม่มีใครกิน หีหมู มนุษย์กิน หีมนุษย์ไม่มีใครกิน หีหมู คนปากไม่ชัด คือ ลิ้นไก่สั้นพูดอ้อแอ้ กินแล้วจะดีขึ้น

    น้ำมันหมูเป็นสินค้าทั่วราชอาณาจักรไทย เป็นอาหารทั่วไป ไม่เลือกชาติไหน กินกันทั้งนั้น แต่น้ำมันมนุษย์ ไม่มีใครกิน

    ขี้หมูเอามาทำปุ๋ยใส่นา ใส่ผัก ใส่สวน ได้ทั้งนั้น แต่ขี้มนุษย์ ไม่มีใครต้องการ

    หัวหมู ตับหมู มนุษย์กิน หัวคนตายไม่มีใครกิน หัวหมู จมูกหมู ลิ้นหมู มันสมองหมู ต้มกินได้ทุกชาติ ปากคน ลิ้นคน มันสมองคน หัวคน ไม่มีใครกิน

    ไส้หมู ทำเป็นไส้กรอกกินได้ ตับหมู พุงหมู กินได้ แต่ตับคน ไส้คน ไม่มีใครกิน

    ขาหมูเป็นสินค้า ทำแปรงทาสีได้ทั่วไป แต่ ขน ผม ของมนุษย์ ตัดทิ้งเสียเปล่าๆ ไม่มีใครต้องการ

    ผมของอุบาสก ต้องตัดเดือนละครั้งสองครั้ง เสียเงินครั้งละ ๔-๕ บาท ยิ่งเป็นผมของเจ้านายก็แพงขึ้นไปกว่านี้ แล้วก็ค่าน้ำมัน เดือนละขวด

    เมื่อจะหมดบุญก็ต้องเสียเงินหลายพันบาท เมื่อตายไปไฟกินหมด

    นี่แหละนักธรรมกรรมฐานทั้งหลาย ข้าพเจ้า พระอาจารย์ตื้อ หรือ หลวงปู่ตื้อ ขอถวาย ปัญญาวิปัสสนาญาณ ไว้ แสดงให้ ทั่วถึงกัน มีเจ้านาย ข้าราชการ อุบาสก อุบาสิกา เป็นต้น

    ถ้าไม่จริงอย่างหลวงปู่ว่า ขอให้อมขี้มาเป่าหน้าเถิด

    หนึ่ง ผู้เจริญฌานให้รู้จักฌาน ถ้าไม่รู้จักฌานจะนั่งเอาฌาน จนเอวหัก ก็ไม่ได้นิพพาน ตามความปรารถนา เมื่อจะหมดบุญก็ต้อง เสียเงินหลายพันบาท เมื่อตายไปไฟกินหมด

    นี่แหละนักธรรมกรรมฐานทั้งหลาย ข้าพเจ้า พระอาจารย์ตื้อ หรือ หลวงปู่ตื้อ ขอถวาย ปัญญาวิปัสสนาญาณ ไว้ แสดงให้ ทั่วถึงกัน มีเจ้านาย ข้าราชการ อุบาสก อุบาสิกา เป็นต้น

    ถ้าไม่จริงอย่างหลวงปู่ว่า ขอให้อมขี้มาเป่าหน้าเถิด

    หนึ่ง ผู้เจริญฌานให้รู้จักฌาน ถ้าไม่รู้จักฌานจะนั่งเอาฌาน จนเอวหัก ก็ไม่ได้นิพพาน ตามความปรารถนา

    สอง ผู้เจริญฌานให้รู้จักฌาน จึงจะได้นิพพาน เพราะฌาน กับนิพพานเป็นคู่กัน จะแยกออกจากกันไม่ได้ เหมือนเดือนกับ ดาว เดือนอยู่ที่ไหนดาวอยู่ที่นั่น

    ที่ว่าการไม่รู้จักฌาน ไม่รู้จักนิพพาน เป็นอาการของจิต เรียกว่า โลกิยจิต

    โลกุตตรจิต จิตจะรู้ฌาน เพราะ

    โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลเป็นฌานที่ ๑

    พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผลเป็นฌานที่ ๒

    พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล เป็นฌานที่ ๓

    พระอรหันตมรรค พระอรหันตผล เป็นฌานที่ ๔

    ฌานเป็นที่อยู่ของพระพุทธเจ้า พระนิพพานได้แก่ใจของพระอรหันตเจ้า นั้นแล

    ฌาน เหมือนเค้าต้นของผม นิพพาน เหมือนเส้นผม จึงจะ สมกันนะ

    ที่หนึ่ง บริกรรม พุทโธ พุทโธ เป็น ศีล พุทโธ เป็นฌาน พุทโธเป็นนิพพาน

    ที่สอง อุปจาระเป็นที่อยู่ของจิต ธัมโม เป็น ศีล ธัมโม เป็น ฌาน ธัมโม ก็เป็นนิพพาน

    ที่สาม สังโฆ เป็น ศีล สังโฆ ก็เป็น ฌาน สังโฆ เป็น นิพพาน

    ที่สี่ อนุโลมญาน จงดูลมหายใจเข้าออก โทสะ ทิฏฐิ ใจขี่โมหะ ทิฏฐิก็หมดไป ใจขี่โทสะ ใจเป็นอรหันต์ ใจขี่โมหะใจเป็นอรหันต์ ใจขี่ทิฏฐิ ใจนี้เป็นอรหันต์

    ที่ห้า โคตระ อยู่ในรูปไม่ผิดรูป อยู่ในเวทนา ไม่ผิดเวทนา อยู่ในสัญญา ไม่ผิดสัญญา อยู่ในสังขาร ไม่ผิดสังขาร อยู่ในวิญญาณไม่ผิดวิญญาณ ใจเราก็เป็นพระนิพพาน

    ที่หก โสดาปัตติมรรคก็ใจ โสดาปัตติผลก็ใจ สกิทาคามิมรรคก็ใจ สกิทาคามิผลก็ใจ อนาคามิมรรคก็ใจ อนาคามิผลก็ใจ อรหันตมรรคก็ใจ อรหันตผลก็ใจ

    ละ อุปาทิเสสะนิพพาน กิเลสขาดจากสันดานหมดไป โมหะหมดไป ทิฏฐิกิเลสหมดไป ยังเหลือแต่ใจสะอาด ปราศจากกิเลส ขาดจาก สันดานหมด พระจันทร์เดินอยู่บนท้องฟ้านภากาศ ไม่มีอะไรทำลายได้

    วาโยธาตุ แปลว่า ลม จากทิศทั้ง ๔ จะทำลายพระจันทร์ไม่ได้ ลมก็เป็นลม พระจันทร์ไม่แตกไม่ดับ พระจันทร์ก็อยู่อย่างนั้นแหละ

    อาโปธาตุ แปลว่า น้ำ ฝนตกลงมา เม็ดเล็กเม็ดน้อยใหญ่ จะทำลายพระจันทร์ไม่ได้ เปรียบเหมือนที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ดังเช่น เปรียบกันได้กับใบบอนนั้น น้ำชำแรกแทรกไปในใบบอนย่อมไม่ได้ ถึงฝนจะตกลงมา ถูกต้องใบบอนสักเพียงไร น้ำฝนก็มิอาจแทรกซึม เข้าไปในใบบอนได้ฉันนั้น เพราะใบบอนไม่ดูดเอาน้ำเข้าไปเลย

    เหมือนดังกับพระจันทร์ พระจันทร์เดินไปเมืองม่าน (พม่า) พวกม่านทั้งหลาย ทั้งน้อยและใหญ่พากันกราบไหว้พระจันทร์ พระจันทร์ก็เฉยๆ ไม่รับรองลิ้นของพม่า มาเป็นสรณะแต่อย่างใด

    ไปเมืองมอญ พระจันทร์ก็เฉยเสีย พวกมอญจะติฉินนินทา ด่าว่าสิ้น ทั้งบ้านเมืองมอญ พระจันทร์ก็เฉยเสีย

    นี่แหละนักธรรม นักกรรมฐานเจ้าทั้งหลาย จึงเรียกได้ว่า จบพรหมจรรย์ คือ

    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ เรียกพุทธพรหมจรรย์

    ๒. ไม่ลักทรัพย์ พุทธพรหมจรรย์

    ๓. ไม่เสพกาม เรียกว่า พุทธพรหมจรรย์

    ๔. ไม่ขี้ปด คือ กล่าวมุสาวาท เรียกว่า พุทธพรหมจรรย์

    ๕. ไม่กินเหล้า - สุรา เรียกว่า พุทธพรหมจรรย์

    เปรียบเสมือนดวงจันทร์นั่นแหละ พระจันทร์ไม่ฆ่าสัตว์ พระจันทร์ไม่ลักทรัพย์ พระจันทร์ไม่เสพกาม พระจันทร์ไม่กล่าวมุสาวาท พระจันทร์ไม่ดื่มสุรา เรียกว่า จบพรหมจรรย์

    เสียง จันทร์ กับ จรรย์ ออกเสียงเหมือนกัน จึงเอาเปรียบเทียบ เช่นนี้

    พระอรหันตเจ้าทั้งหลาย นั่งก็นั่งอยู่ในนิพพาน นอนก็นอนอยู่ใน นิพพาน เดินก็เดินอยู่ในนิพพาน กินก็กินอยู่ในนิพพาน แต่ขันธ์ห้า ที่เป็นอุปาทานยังไม่ดับ

    พระอรหันตเจ้าสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย จึงพาขันธ์ห้า ของคุณตาคุณยาย สะพายบาตรประกาศพระศาสนาอยู่ ๔๕ ปี เรียกว่า อุปาทิเสสะ เข้าพระนิพพานพ้นจากชาติกันดาร ไม่ต้องมี การเกิดอีกต่อไป

    เตสัง วูปะสะโม สุโข เวทนาแตก เวทนาตาย สัญญาแตก สัญญาตาย สังขารแตก สังขารตาย วิญญาณแตก วิญญาณตาย

    พระพุทธโคตมะไม่ได้ฆ่ารูป รูปก็แก่เฒ่า เวทนาก็แก่เฒ่า สัญญาก็ แก่เฒ่า วิญญาณก็แก่เฒ่า ใจเราเท่านั้นที่ไม่แก่เฒ่า

    รูปัง อนิจจัง รูปเกิดขึ้นมาเป็นของไม่เที่ยง ยักย้ายผันแปรแตกต่าง กันไปมาเป็นธรรมดา จิตจะร้องขออย่างไร ก็ไม่รับฟัง

    อกาลิโก อากาศธาตุ เขาเป็นอยู่อย่างนั้น

    จักขุนทะริยัง ดูตาของเราซิ ตามันแตก ตามันลาย จะห้ามตาไว้ไม่ได้

    โสตินทะริยัง ดูหูของเรา หูมันจะเฒ่า หูมันจะตาย ห้ามหูไว้ไม่ได้

    ฆานินทะริยัง ดูรูดัง (จมูก) ของเรา จมูกจะเป็นหวัด คัดจมูก หรือ เป็นริดสีดวงจมูก เราจะห้ามไว้ก็ไม่ได้

    ชิวหินทะริยัง ดูลิ้นของเรา ปากและลิ้น ก็เป็นหวัดเป็นไอ เดินก็ไอ กินข้าวก็ไอ กินน้ำก็ไอ ไอไปไอมา

    อานาปานะ เป็นภาษาบาลี ภาษาไทย เรียกว่า ลม รูปก็เป็นลม เวทนาก็ลม สัญญาก็ลม สังขารก็ลม วิญญาณก็ลม หมดลมแล้ว เรียกว่า ตาย มีเงิน มีคำ มีแก้วก็ตาย ละเสียจากเงินทองเหล่านั้น มีลูกสาวก็ตายจากลูกสาว มีลูกชายก็ตายจากลูกชาย มีผัวก็ตายจากผัว มีเมียก็ตายจากเมีย มีพ่อก็ตายจากพ่อ มีแม่ก็ตายจากแม่

    ถ้าเรามีเงินถึงแปดหมื่น เก้าหมื่น ก็เป็นแต่ของกลางเท่านั้น ที่มี อยู่ในโลก เราตายเสียแล้ว ก็ทิ้งหมด

    ถ้าเมื่อเรายังไม่ตาย จงมาพากันสร้างบุญ สร้างกุศลให้พอ เมื่อเรา ตายไปแล้ว บุญนั้นก็จะเป็นที่พึ่งของเรา เป็นที่อาศัยแก่เรา

    บุญเกิดทางกายนั้นประการใด จะขยายให้เป็นพระสูตร

    อะนะวัชชานิ กัมมานิ บุคคลเกิดมาในโลกนี้ ทำการงานปราศจาก โทษ มีแต่ประโยชน์ทั้งชาตินี้และชาตหน้า เป็นปัจจัยแก่เราผู้สร้างบารมี

    หนึ่ง สร้างพระพุทธรูป สร้างพระเจดีย์ สร้างวัดวาอาราม โบสถ์ วิหารไนพระศาสนา ผู้ใดหากทำได้แล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ประเสริฐ ไม่เสียที่ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา

    ฉายาวะ เปรียบเสมือนเงาที่ติดตามตัวเราตลอดเวลา ตามธรรมดา เรานั่งเงาก็นั่ง เรานอนเงาก็นอน เราเดินเงาก็เดิน บุญกุศลที่เราสร้าง เอาไว้ ก็ห่อหัวใจของเราไว้

    เรารับศีลห้าไว้ เรานั่งเราก็นั่งในศีลห้า เรานอนเราก็นอนในศีลห้า เราเดินเราก็เดินในศีลห้า

    เรารับศีลแปด เราจะยืน เดิน นั่ง นอน ไปไหนๆ ก็ไปด้วยศีลแปด ทั้งสิ้น ศีลสิบก็เหมือนกันนั่นแหละ

    ถ้าเรารับศีล ๒๒๗ นอนก็นอนในศีล ๒๒๗ เราจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็อยู่ในศีล

    เมื่อได้ พุทโธ แล้ว นั่งก็นั่งพุทโธ นอนก็นอนพุทโธ เดินก็เดินพุทโธ

    ธัมโม เมื่อได้แล้ว นั่งก็นั่งธัมโม นอนก็นอนในธัมโม เดินก็เดิน ในธัมโม

    สังโฆ ก็เหมือนกัน

    เตสัง ตายแล้วทิ้งหมด เกสา ผมก็ไฟไหม้ เอามันไปไม่ได้ โลมา ขนก็ไฟไหม้ นขา เล็บตีน เล็บมือ ไฟก็ไหม้หมด ทันตา เขี้ยวครกตำหมาก สากตำน้ำพริก ไฟกินหมด ตะโจ กระดูกสามร้อยท่อน กระดูกแข้ง กระดูกขา กระดูกแขน กระดูกข้าง กระดูกคอ กระดูกคาง กระดูกเขี้ยว กระโหลกหัว ไฟก็กินหมด จะเป็นของเรานั้นไม่ได้สักอย่าง

    นี้แหละนักธรรม นักกรรมฐานเจ้าทั้งหลาย ผู้ชายก็นักธรรม ผู้หญิง ก็นักธรรม ให้หมั่นพิจารณาว่า ถ้าทำบุญก็ได้บุญ ทำบาปก็ได้บาป ทำนาก็ได้ข้าวกิน เอาผัวเอาเมียก็ได้ลูกชายลูกสาว ค้ำชูพระพุทธศาสนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้แหละ

    นักธรรม นักกรรมฐานทั้งหลาย โอปะนะยิโก ให้น้อมมาดู ดูอะไร ดูใจของเราทุกคน เมื่อได้พุทโธจริง ที่อยู่ของพุทโธคือ สวรรค์

    สวรรค์ ๖ มีชั้นจาตุมหาราชิกา ชั้นตาวะติงสา ชั้นยามา ชั้นดุสิตา ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวะสวตี

    สวรรค์ ๖ ชายพุทโธ หญิงพุทโธ อยู่ชั้นไหนได้ตามความปรารถนา

    พรหมปาริสัชชา ถึง อกนิษฐาพรหม คือ พรหม ๑๖ อยู่ได้ตาม ความปรารถนา

    ชายสังโฆ หญิงสังโฆ ที่อยู่ของพระสังโฆ คือ ชั้นสุทธาวาส

    อนาคามิมรรค อนาคามิผล สิ้นชีพวายชนม์ เข้าสู่พระนิพพาน เอตัง พุทธสาสนันติฯ

    พุทธคุณคาถา ที่อาตมาได้นำกล่าวเป็น พุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆบูชา แก่พระคุณเจ้าทั้งหลาย ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ที่ว่ามานี้ หากข้าพเจ้าผิดเผลอบ้างประการใด ขอให้พระคุณเจ้า ทั้งหลาย พร้อมทั้งอุบาสก อุบาสิกา พระคุณเจ้าทุกพระองค์ จงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าเถิด

    ถ้าหากพระธรรมเทศนาที่ข้าพเจ้าได้อธิบายมานี้ เป็นที่ถูกต้อง ตามพระบัญญัติ ไม่ขัดกับหลักแห่งพระสงฆ์ไทย ก็ขอให้พระคุณเจ้า ทั้งหลาย จงอนุโมทนาสาธุการด้วยเถิด

    และจงน้อมนำเอาพระธรรมคำสอน ที่ข้าพเจ้าได้อธิบายมานี้แล้วนั้น ปฏิบัติลงที่กาย วาจา ที่ใจของท่านทั้งหลาย ทั้งอุบาสก อุบาสิกา

    นิพพานัง ปะระมัง สุขัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ ข้าพเจ้าขออธิบาย ถึงผู้ที่เข้าสู่พระนิพพาน จากชาติกันดารไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ซึ่งเรียกว่า วิมุตติสุข อันพ้นจากโลกนี้ไป

    พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ให้แก่พวกเรา นักธรรม นักกรรมฐานผู้ตั้งใจ เอาพระนิพพานให้รู้แจ้ง ขาดจากความสงสัย อุปะสะมานุสสติ ให้ระลึกถึงคุณพระนิพพาน พระนิพพานก็อยู่ที่ใจของเรา

    ใจไม่ฆ่าสัตว์ ใจดี เป็นศีล เป็นฌาน ใจก็เป็นนิพพาน

    ใจไม่กินเหล้า ไม่กินสุรา ใจ ก็เป็น ศีล เป็นฌาน ใจก็เป็นนิพพาน

    ใจไม่ตีฆ้อง ตีกลอง ดีดสีตีเป่า ใจก็เป็นศีลเป็นฌาน ใจก็เป็น นิพพาน

    ใจไม่ลูบไล้ชโลมทาของหอมอย่างชาวบ้าน ใจก็เป็นศีลเป็นฌาน ใจก็เป็นนิพพาน

    ใจไม่เอนนอนมายังที่นอน ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลีอันสูงใหญ่ เหมือนพระราชามหากษัตริ์ ใจก็เป็นศีลเป็นฌาน ใจก็เป็นนิพพาน

    ชาตะรูปะรัชชะตะ เงินรูเปีย หรือกระดาษเศษที่นักปราชญ์เขาทำกัน ออกมาใช้ทุกวันนี้ เป็นทรัพย์ของพระราชา อเมริกาเป็นผู้ทำ ช่วยประเทศไทยให้เจริญ มีก็ใช้ไม่มีก็ไม่ใช้ ใจเราก็เป็นศีลเป็นฌาน ใจก็เป็นนิพพาน

    นี้แหละนักธรรม นักกรรมฐาน วิปัสสนาจารย์ทั้งหลาย จงรู้ด้วยใจเถิด พาลฆ่าสัตว์ไม่มีแก่ใจ พาลลักทรัพย์ไม่มีแก่ใจ พาลขี้ปดไม่มีแก่ใจ พาลเสพกามไม่มีแก่ใจ พาลกินเหล้าไม่มีแก่ใจ พาลกินข้าวเย็นไม่มีแก่ใจ พาลตีฆ้องตีกลองดีดสีตีเป่าไม่มีแก่ใจ ใจไม่พาลหาของหอมไม่มีแก่ใจ ใจไม่พาลนอนบนที่นอนอันยัดด้วยนุ่นและสำลีอันสูงใหญ่ไม่มีแก่ใจ พาล ชาตะรูปะรัชชะตะ รูเปีย เงินตราไม่มีแก่ใจ จึงจะเป็นนิพพาน

    เตสัง วูปะสะโม สุโข รูปแตก รูปตาย ตั้งแต่หัวถึงตีน ตั้งแต่ตีน ถึงหัว

    ธาตุดิน คือ กระดูก กับเนื้อ ชิ้น ไม่ใช่พระนิพพาน

    เตสัง ธาตุน้ำ ๑๓ ไมใช่พระนิพพาน เตสัง สัญญา ลมหายใจเข้า ออก รูลม รูจมูก ลมเข้าลมออก จะห้ามลมไว้ไม่ได้ รูปาก รูคอ เป็นที่อยู่ของลม รูทวารหนัก ทวารเบาถ่ายปัสสาวะ ทวารหนักถ่ายอุจจาระออก จะห้ามลมไว้ไม่ได้

    เตสัง สังขารเบื้องต่ำ ได้แก่ ขา จะห้ามขาไว้ไม่ให้แก่ไม่ได้ สังขารท่ามกลาง ได้แก่ แขน บน ได้แก่ ศรีษะหรือหัว จะห้ามไว้ ไม่ให้แก่ไม่ได้

    นี่แหละ นักธรรม นักกรรมฐาน จิตเป็นของไม่ตาย ตัวตายนั้น คือ รูป เป็นตัวตาย ตัวตายตัวเวทนา ตัวตายตัวสัญญา ตัวตายคือตัวสังขาร ตัวตายตัววิญญาณ

    ตัวไม่ตาย ได้แก่ จิตที่เป็นนิพพาน

    อสังขตธรรม ได้แก่ รูปธรรม เวทนาธรรม ไม่มีแก่จิต

    อสังขตธาตุ เวทนาธาตุ ไม่มีแก่จิต อสังขตปัจจัย

    ใจพ้นจากรูป ใจพ้นจากเวทนา ใจไม่มีเวทนา ใจพ้นจากสัญญา ใจไม่มีสัญญา ใจก็พ้นจากสัญญา ใจไม่มีสังขาร ใจก็พ้นจากสังขาร ใจไม่มีวิญญาณ ใจพ้นจากวัญญาณ ใจก็นิพพานนั่นแหละ

    เมื่อใจเป็นนิพพานแล้ว ชาติ ความเกิดไม่มีแก่ใจ ชรา ความแก่ ไม่มีแก่ใจ พยาธิ ความเจ็บไข้ ตัวร้อน ไม่มีแก่ใจ มรณะ ความตาย ความเกิดไม่มีแก่ใจ ใจก็เป็นพระนิพพาน พ้นจากความเกิด ความแก่ ความตาย ไม่ต้องกลับมาเกิด ให้มันทุกขื มันยากลำบากในโลกนี้

    ในคัมภีร์นิพพานสูตร พระอนุรุทธาจารย์ องค์การเผยแพร่ที่เผา กระดูกของพระพุทธเจ้า และแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุ ๑๖ พระนคร ที่มาในเมืองไทยเรา คือ กรุงกัมพูชา หรือ นครจำปาศักดิ์

    ทางเหนือมีเมืองหลวงพระบาง เมืองเชียงขวาง เชียงคำ

    อูเหนือถึงเมืองเชียงรุ่ง อูใต้ถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ แว่น(เขต, แคว้น) หลวงเมืองอาภัสสรา

    เวลานี้ แว่นอาภัสสรา หาย กลายมาเป็น จังหวัดสกลนคร หายหนที่สอง ใส่ชื่อจังหวัดนครพนม ธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า ธาตุหัวนมก้ำขวา ๑๓ องค์ ธาตุหัวนมก้ำซ้าย ๑๒ องค์ พระอรหันต์กัสสปะ เป็นผู้นำมาบรรจุไว้ จึงตั้งชื่อว่า ธาตุพนม ในสมัย พระเจ้าคะมัง ผู้เป็นใหญ่ในแว่นนี้ (แคว้นนี้)

    แปลเป็นภาษาไทย นิพพานัง ปะระมัง สุญญัง คือ รูปสูญ เวทนาก็สูญ สัญญาก็สูญ สังขารก็สูญ วิญญาณก็สูญ

    จิตยังมีอยู่ นักขัตตะโต วา มะนุสสะโต วา เหมือนดังดาวนักขัตฤกษ์ คือ ดาวมีอยู่ในอากาศ มนุษย์ผู้มีจักษุประสาท คือ ตา แหงนหน้าขึ้นไปในอากาศ เห็นเดือนดาวเต็มอยู่ในท้องฟ้า ตั้งฟ้าตั้งแผ่นดินมา

    พระพุทธเจ้ากกุสันโธ สร้างบารมีอายุยืนหกหมื่นปี เพราะท่านสร้างบารมีถึงสิบหกอสงไขย แสนมหากัป ก็ได้เข้านิพพานไปแล้ว ได้ไว้ศาสนาหกหมื่นปีเท่าอายุ รวมเป็นหนึ่งแสนสองหมื่นปี เดือนก็ไม่ตาย ดาวก็ไม่ตาย ยังมีอยู่อย่างนี้

    พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง มีพระนามว่า โกนาคะมะโน

    องค์ที่สาม พระพุทธเจ้ากัสสปะ สร้างบารมีเจ็ดอสงไขย แสนมหากัป บารมีแก่กล้า แล้วมาเกิดในโลกนี้ อายุยืนหมื่นปีก็นิพพาน ได้ไว้ศาสนาหนึ่งหมื่นปี รวมศาสนาได้สองหมื่นปีก็นิพพาน แล้วเดือนไม่ตาย ดาวไม่ตาย ยังมีอยู่อย่างนี้

    องค์ที่สี่ พระพุทธเจ้าโคตโม สร้างบารมีสี่อสงไขย แสนมหากัป มาอุบัติเกิดขึ้นในโลก สอนมนุษย์ และเทวดา อุบาสก อุบาสิกา เอาลูกชายมาถวายเป็นลูกศิษย์ชั้นที่หนึ่ง พระยาอำมาตย์หกหมื่นสี่พัน ได้เป็นพระอรหันต์ และนางสาวพรหมจารีย์บวชเป็นสามเณรีเมื่อ อายุครบ ๒๐ ก็มอบให้พระนางโคตมี ผู้เป็นแม่น้าของพระนาง ยโสธราพิมพา เป็นอุปัชฌาย์ บวชเป็นนางภิกษุณีทั่วไปในสิบพระนคร ได้เป็นพระอรหันต์ก็มาก

    เมื่อพระพุทธองค์ เสด็จปรินิพพานไปแล้วได้ ๓ พรรษา พระมหากัสสปะ ได้นิมนต์ พระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ให้ชาวไทยเรา ที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

    เวลานั้น พระเจ้าพระยาจันทร์ เป็นเจ้าเมืองสกลฯ ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ตอนนั้นมีโยมผู้หญิงคนหนึ่งอายุได้ ๑๘ ปี ได้ไปบวชเป็นนางชี หรือแม่ขาว สมัยก่อนนั้นคุณพ่อของแก ได้ไปบวชเป็นลูกศิษย์ของ พระกัสสปะ ได้ไปถึงพระอนาคา

    คุณพ่อของแกได้ไปเกิดเป็นพรหม ส่วนลูกสาวอยู่สวรรค์ชั้นหก เมื่อเสื่อม ถึงเวลาจุติ ได้ลงมาเกิดในเมืองเก่า (ที่เดิม) เกิดมาชาตินี้ ได้เป็นพี่สาวใหญ่ มีน้องสาว ๕ คน น้องชาย ๕ คน

    ส่วนพี่สาว รักษาศีลแปด เป็นประจำตลอดชีวิต ธรรมของเก่ายัง ไม่ลืม คัมภีร์รัตนสูตร อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง มงคลสูตร เรียกว่า มาตาปิตุฯ ธรรมจักร สวรรค์หก พรหมสิบหก

    เวลานี้คุณยายก็ตายไปแล้ว เมื่อคุณยายยังไม่ตาย คุณยายเคยเข้าฌาน แล้วคุณพ่อที่เป็นพระอนาคา อยู่ชั้นสุทธาวาส ส่งวิญญาณทิพย์ จิตทิพย์ลงมาสอนลูกสาวได้ ส่วนลูกสาวก็มีตาทิพย์ หูทิพย์ ใจทิพย์ ก็รับกันได้

    นี่แหละ นักธรรม นักกรรมฐาน ผู้ที่ปฏิบัติจริงทำจริง แล้วย่อมเห็น อยู่ที่ใจของตนเอง

    ตรงกับที่พระองค์ตรัสไว้ในข้อที่ว่า มะโนปุพพังคะมาธัมมา มะโนเสฏฐา มะโนมะยาฯ ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน วิญญาณ คือ ใจ เป็นรากฐานของสิ่งทั้งปวง

    คนที่สอง แม่ของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ พอถึงวันแปดค่ำ ก็นุ่งขาวห่มขาว แต่วันธรรมดาก็นุ่งดำเหมือนชาวบ้าน เมื่อจะถึงแก่กรรม ได้ภาวนาอยู่ในห้อง จำศีลภาวนาอยู่ตลอดวัน ได้ยินทางหูว่า "อีนายขึ้นมาเถิด"

    คุณยายก็ตอบว่า "รอก่อน รอก่อน" อยู่อย่างนี้ พูดอยู่คนเดียว ฝ่าย ลูกสาวสงสัย จึงให้หลานสาวไปกราบเรียนถามท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็บอกความให้หลานสาวไปหาน้องชายหล้า (น้อง สุดท้อง) คือ ท่านเจ้าคุณศีลวรคุณ

    เมื่อท่านเจ้าคุณศีลวรคุณได้ทราบแล้ว ก็จุดธูปเทียนไหว้ พระพุทธรูป ไหว้พระธาตุ ตั้งสัจจะอธิษฐาน ขอบุญกุศลไปช่วยคุ้มครองรักษาวิญญาณ ของคุณแม่ เสร็จแล้วจึงออกจากวัดไป

    เมื่อไปถึงแล้วก็ถามตามภาษาอีสานว่า "แม่ออกเว้าอีหยัง เว้ากับไผ กางคืนมาเว้าอุ่มๆ อยู่ผู้เดียว บ่แม่นแม่ออกเผอบ๊อ" (ตอนกลางคืนคุณแม่ พูดกับใคร เห็นพึมพำอยู่คนเดียว คุณแม่หลงไปไม่รู้สึกตัวใช่ไหม)

    ส่วนแม่ก็ตอบว่า "เจ้าคุณฯ ลูกเอ๊ย แม่ออกบ่เผอดอก แม่ออกเว้า กับแม่เฒ่าใหญ่ คือ นางสุชาดา และนางสุธรรมา จะเอาอู่มารับเอาออกแล้ว"

    พอถึงเดือนสิบเอ็ด ออกห้าค่ำ คุณยายก็อาบน้ำชำระกายนุ่งขาวห่มขาว รับอาหารข้าวต้มประมาณ สี่ ช้อน ห้าช้อน เรียบร้อยแล้ว ก็เข้าภาวนา ใจก็ไปสวรรค์ ขันธ์ทิ้งไว้ พอถึงวันแปดค่ำ ก็เอาเศษของคุณยาย ไปเผาจี่เรียบร้อย

    ส่วนโยมพ่อของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็นุ่งขาวห่มขาวไปเผาศพของ คุณยายด้วย พอกลับมาสามทุ่มเศษ ท่านก็สั่งว่า "ลูกหลานเอ๊ย แม่เฒ่า สูไปแล้ว กูจะไปตามแม่เฒ่าสูเน้อ"

    พวกลูกหลานก็ถาม "พ่อเฒ่าจะไปที่ไหน" ตอบว่า "กูจะไปอยู่ป่าช้า คือ ตายละสู ไปคืนนี้แหละ"

    พวกลูกหลานก็ว่า "บ่แม่นพ่อเฒ่า เว้าเล่นบ่ หรือเว้าหยอกหลานสาวบ่"

    พ่อเฒ่าย้ำว่า "กูบ่เคยบอกสูว่าอย่างนั้น"

    พอแจ้งสว่างขึ้น ลูกหลานไปดูก็เห็นพ่อเฒ่านั่งในท่าภาวนาหมอบติด อยู่กับหมอน

    เดือนสิบเอ็ด ออกห้าค่ำ ถ้าจะว่าตามโลก เรียกว่า ตายเอาใจไปสวรรค์ แต่ขันธ์ตัวพ่อของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ตายวันแปดค่ำ แต่ใจไปสวรรค์

    ความอันนี้ ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านเป็นผู้เล่าให้อาตมาฟังเอง

    มารดาของครูอาจารย์มั่น ปฏิบัติศีลแปดอยู่กับท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ นั่งก็ภาวนา นอนก็ภาวนาได้สามวันสามคืน ท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ก็เข้าฌานช่วยฤทธิ์ของมารดา ก็กลับคืนมาได้

    ท่านอาจารย์มั่น จึงถามมารดา มารดาตอบว่า นางภิกษุโคตมี นางอุบลวรรณาเถรีภิกษุณี นางยโสธราพิมพาภิกษุ ได้มาเยี่ยม นับตั้งแต่นี้ไปอีก ๒๐ วัน แม่ออกจะได้ละขันธ์

    พอถึงเวลานั้น พอครบวันที่ยี่สิบ แม่ออกของท่านอาจารย์ก็ทิ้งขันธ์ ตามที่แม่ออกกล่าวไว้จริงๆ

    อันนี้จึงเป็นเครื่องแสดงว่า แม่ออกของท่านอาจารย์ ยกจิตขึ้นไป สู่สันติสุข พ้นจากทุกข์ในสงสาร

    เรื่องนี้ ท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านก็เล่าให้อาตมาฟังด้วย เหมือนกัน

    ในคัมภีร์พระพุทธศาสนานั้น เคยมีเรื่องเล่าไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้นจึงขอให้พวกนักปราชญ์ และนักธรรม นักกรรมฐาน จงยกใจ ของตนเองทุกๆคน ให้เป็นพระพุทโธ ให้เป็นพระธัมโม พระสังโฆ

    เมื่อใจของพระคุณเจ้าทั้งหลายได้พระพุทโธ ชั้นสุทธาวาส เกิดจากพระสังโฆ ที่สุดวิญญาณดับแล้ว (หมายถึง จิตสิ้นกิเลส อุปาทาน) ก็เข้าพระนิพพาน

    ข้าพเจ้า อาตมาภาพ พระอาจารย์ตื้อ พุทธคุณ ธัมมคุณ สังฆคุณ ขอถวายไว้เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทุกพระองค์

    พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์จะเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพาน ได้บัญญัตติศีลห้า บัญญัตติศีลแปด บัญญัติศีลสิบ บัญญัติศีลสองร้อยยี่สิบเจ็ด บัญญัติสวรรค์หก พรหมสิบหก พระไตรสรณคมณ์ ไว้ให้แก่อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธาทั้งชายทั้งหญิง ทั้งน้อย ทั้งใหญ่ ทั้งบ่าวทั้งสาว

    บุคคลผู้ใดรับศีลห้าได้ ก็เป็นญาติของพระพุทธเจ้า ถ้าหากรับไม่ได้ ก็เป็นธรรมดา ยังอยู่ในโคตรของปุถุชน

    ถ้าผู้ใดรับศีลแปด ก็เป็นโยมของพระพุทธเจ้า ถ้าหากผู้ใดไม่ได้รับ ก็เป็นธรรมดา

    ถ้าผู้ใดรับศีลสิบได้ ต้องมีครูมีอาจารย์ จะบวชเป็นสามเณร ต้องบวช โดยมีครูอาจารย์ บวชเป็นพระภิกษุจะต้องมีอุปัชฌาย์ กรรมวาจาจารย์

    ถ้าเราบวชคนเดียวนั้นไม่ได้ จะสึกเอาคนเดียวอีกก็ไม่ได้ ต้องลา สิกขาเพศ ลาครูบาอาจารย์เสียก่อน จึงสึกได้และถูกต้องตาม พระบัญญัติ

    ถ้าสึกคนเดียว บวชคนเดียว ท่านว่าจะไปเป็นเสี่ยวกับเทวทัต จะไปอยู่อเวจีมหานรก ไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์

    เป็นมนุษย์นี้ดีที่สุด เราต้องการอะไรได้ทั้งนั้น อยากกินข้าวก็มีกิน อยากกินน้ำก็มีกิน เราอยากทำบุญหรือทำบาปก็ได้ทั้งนั้น

    ถ้าเราไปอเวจีมหานรกแล้ว ไม่มีข้าวมีน้ำ กินแต่ไฟ คือ ไฟราคะ โทสะ โมหะ เป็นอาหาร เมื่อกินไฟลุกไหม้อยู่ตลอดเวลา ไม่มีวันที่จะดับ ลงได้ ภาษาบาลีว่า กุปฺปธมฺโม อกุปฺปธมฺโม เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด อยู่อย่างนี้ในโลกิยะ อันนี้นับล้านนับแสนปีก็ยังหลุดพ้นไม่ได้

    ในคัมภีร์มหาปัจจรึก กล่าวไว้ว่า นางเทพยดามาชมดอกปาริชาต เผลอพลาดตกลงมาเกิดเป็นมนุษย์ ในเมืองมนุษย์ คือ เมืองลังกาทวีป เป็นลูกสาวเศรษฐีธนันชัย เศรษฐีใหญ่

    เมื่อเติบโตแล้วได้สามีอย่างมนุษย์เรา ได้ลูกสาว ๕ คน ลูกชาย ๕ คน เมื่อใหญ่แล้ว ได้พร้อมกับลูกสาวลูกชายสร้างวัดขึ้นใหม่ ใส่ชื่อว่า เชตวนาราม บวชลูกบวชหลาน

    อายุคุณยายนั้นได้ถึงร้อยปี เอาวิญญาณไปสวรรค์ถึงต้นไม้ปาริชาต หาเทพยดาเจ้า ก็ถามนางว่า คุณพี่ไปไหนมา คุณยายก็ตอบว่า ไปลังกาทวีป ไปลังกาทวีปอายุได้ร้อยปีแล้วจึงขึ้นมา

    ๑๐๐ ปี ของมนุษย์เป็น ๑ ชั่วโมงของสวรรค์

    ๑,๐๐๐ ปีของมนุษย์ เป็น ๑๐ ชั่วโมงของสวรรค์

    นี่แหละนักธรรมเจ้าทั้งหลาย พระศาสดาของเราว่าอย่างนี้ ได้บัญญัติ พระศาสนาไว้ห้าพันปี แต่เทศนาสั่งสอนมนุษย์อยู่ ๔๕ ปี รวมโลกิยมนุษย์

    เมื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินโลกุตรมนุษย์ ได้เป็นอรหันต์เข้าพระนิพพาน ไปแล้ว พระนิพพานก็มีอยู่ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้านิพพานก็มีอยู่ใน พระนิพพานไปแล้ว

    พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร พระอนุรุทธะ และ พระอานนท์ เข้านิพพาน ก็มีอยู่ในพระนิพพานนั้นแล

    นางภิกษุณีทั้งหลายได้บวชกาย วาจา ใจ ใจก็เป็นพระนิพพาน แล้ว เข้าพระนิพพานได้ด้วย

    เหมือนกับพระจันทร์ พระจันทร์ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ พระจันทร์ไม่มีเจ็บ พระจันทร์ไม่มีร้อน ไม่มีหนาว ดาวไม่มีเกิด ไม่มีตาย

    คนเรานี้เป็นบอเป็นบ้า คอยาว ตาขาว ลิ้นยาว ใช้ไม่ได้

    ส่วนพระธรรมคำสั่งสอน เกิดจากหัวใจของพระพุทธเจ้า เกิดจากหัวใจ ของพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ทำไมพวกเราและท่านทั้งหลายจึงไม่รู้ ทำไมเราทั้งหลายจึงไม่เห็น

    ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ เป็นพระโสดาบัน เป็นพระอนาคา เมื่อใด ก็เมื่อนั้นแหละ จึงจะเห็น จึงจะรู้ที่อยู่ของพระพุทธเจ้า ที่อยู่ของ พระอรหันตเจ้าทั้งหลาย

    เมื่อเป็นมนุษย์ ตาก็เป็นมนุษย์ หูก็เป็นมนุษย์ รูจมูกก็เป็นมนุษย์ ปากก็เป็นมนุษย์ กายก็เป็นมนุษย์ ตาเป็นมนุษย์ เห็นเงินก็อยากได้เงิน เห็นคำก็อยากได้คำ (ทอง) เห็นแก้วก็อยากได้แก้ว เห็นแหวนก็อยากได้แหวน เห็นลูกสาวก็รักลูกสาว เห็นหลานรักหลาน ตลอดถึงเหลน ไม่มีสิ้นสุด

    เป็นมนุษย์ฟังเสียงขับ เสียงลำ เสียงแคน เสียงแสดงธรรมเทศนา ถ้าขัดคอก็ผิดผีปู่ย่า หูขวา หูซ้าย เป็นของผีตาผียาย โกรธง่ายหายเร็ว

    พุทโธ ก็อยู่ที่มนุษย์ ธัมโม สังโฆ ก็อยู่ที่มนุษย์ทั้งนั้น เราจะทำ อย่างไร จึงจะไม่มองข้ามตัวมนุษย์นี้ไป ถ้าเรามองข้ามไป เราก็ไม่พบ มนุษย์พุทโธ ไม่พบมนุษย์ธัมโม ไม่พบมนุษย์สังโฆได้

    คัดลอกจาก
    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/lp-tue-01.htm
     
  2. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ท่านหลวงปู่เทศน์ซะยาว ลูกหลานอ่านแล้วเกิดความเบื่อหน่ายมาก ๆ สาธุครับ ....
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    555 ดีครับ รู้สึกแบบนั้นแล้ว ซื่อสัตย์ ต่อความรู้สึกตน
     
  4. fullmoonsun

    fullmoonsun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +2,321
    Anumothana Sathu
     
  5. chai9000

    chai9000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +591
    ธรรมะของหลวงปู่ตื้อ หาอ่านหาฟังไม่ใช่ง่าย อ่านแล้วได้ประโยชน์มากเลย ขอบคุณ และอนุโมทนาบุญ ด้วยจ๊ะ สาธุ ธุ ธุ(f):VO
     
  6. somkiatdhana

    somkiatdhana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +619
    พุทธวจน สุภาษิต ( คำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ) โดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตถิผโล วัดนาป่าพง ถ.ลำลูกกา คลอง 10 จ.ปทุมธานี<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    1 “ เธอย่อมยุบ - ย่อมไม่ก่อ ; ย่อมขว้างทิ้ง – ย่อมไม่ถือเอา ; ย่อมทำให้กระจัดกระจาย - ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ; ย่อมทำให้มอด - ย่อมไม่ทำให้โพลง ซึ่งขันธ์ทั้งห้า ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2 “ ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ; ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น ”<o:p></o:p>
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕ (อ/๖๘๓)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3 “ ไม่มั่นหมายซึ่งสิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมายในสิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมายโดยความเป็นสิ่งทั้งปวงไม่มั่นหมายสิ่งทั้งปวง ว่าของเรา.”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4 “ อารมณ์อันเกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต) เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺน) ; แต่มีสิ่งโน้นซึ่งระงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5 “ เมื่อเห็นสิ่งทั้งปวงถูกต้องตามเป็นจริง ว่าเป็นเพียงการเกิดขึ้นของธรรมชาติล้วน ๆ ว่าเป็นเพียงการสืบเนื่องกันเป็นสาย ของสิ่งที่มีปัจจัยปรุงต่อ ๆ กันมาล้วน ๆ , แล้วความกลัวย่อมไม่มี “.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6 “ เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นกายอย่างหนึ่ง ๆ ในบรรดากายทั้งหลาย “ อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕/๒๘๙ (อ/๑๑๙๘)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    7 “ บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัยในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้วควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน “ อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๗/๖๕๙ (อ/๑๑)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    8 “ เราย่อมกล่าวว่า การทำในใจเป็นอย่างดี ถึงลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่านั่นเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ๆ ในบรรดาเวทนาทั้งหลาย “ อุปริ. ม. ๑๔/๑๙๕/๒๘๙ (อ/๑๑๙๙)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    9 “ เราไม่กล่าวว่าอานาปานสติเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    10 “ เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อรักษาตน ก็เป็นการรักษาผู้อื่น : เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อรักษาผู้อื่นก็เป็นการรักษาตนด้วย “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    11 “ สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี, สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้น ปรารภแล้ว “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    12 “ ผู้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งคาถาแม้เพียงสี่บท แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นแหละควรจะเรียกว่า เป็น พหุสูตผู้ทรงธรรม “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    13 “ สมถะเมื่ออบรมแล้ว … จิตจะเจริญ. จิตเจริญแล้ว … จะ ละราคะได้. วิปัสสนาเมื่อเจริญแล้ว … ปัญญาจะเจริญ. ปัญญาเจริญแล้วจะ ละอวิชชาได้ “ ทุก.อํ ๒๐/๗๗/๒๕๗.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    14 “ เราขอกล่าวกะเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษสุดท้ายของเราเลย “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    15 “ บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน เกลื่อนกล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์, และย่อมทำประโยชน์ตนอันใหญ่หลวงให้เสื่อมสิ้น “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    16 “ ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข , สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย เป็นอยู่ด้วย , และย่อมทำประโยชน์ตนอันใหญ่หลวงให้บริบูรณ์ด้วย “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    17 “ พวกเธอทั้งหลาย พึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่ได้เข้าถึง เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เถิด. “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    18 “ จงมาเถิด บุรุษผู้เป็นวิญญูชน ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา มีสัญชาติแห่งคนตรง, เราพร่ำสอนอยู่, แสดงธรรมอยู่, เธอปฏิบัติตามอยู่อย่างที่เราสอน ก็จักทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ( คืออรหัตตผล ) อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่าได้ต่อการไม่นาน “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    19 “ สิ่งใดไม่ใช่ของเธอ เธอจงละมันเสีย สิ่งเหล่านั้นอันเธอละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เธอ “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    20 “ นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง. พวกเธอจงเพียรเผากิเลส. อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    21 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า … หายใจออก ”.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    22 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า … หายใจออก ”.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    23 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความไ่ม่เที่ยง หายใจเข้า … หายใจออก ”.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    24 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความจางคลาย หายใจเข้า … หายใจออก ”.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    25 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความดับไม่เหลือ หายใจเข้า … หายใจออก ”.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    26 เธอพึงทำศิกษาว่า “ เราจักเป็นผู้มองเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า … หายใจออก ”.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    27 ถ้าเธอหวังว่า ความครุ่นคิดอันเกี่ยวข้องไป ทางเหย้าเรือนของเรา จงหายไปอย่างหมดสิ้น ดังนี้แล้ว ; เธอนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    28 “ ผู้เป็นธรรมวาที ย่อมไม่กล่าวขัดแย้งกับใคร ๆ ในโลก “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๖๙/๒๓๙ (พ/๒๘๕)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    29 เมื่อใดเห็นด้วยปัญญา ว่า “ โลกนี้ไม่มีค่าอะไรมากไปกว่า เศษหญ้าเศษไม้ , เมื่อนั้นเขาย่อมไม่ปรารถนาสิ่งใด ๆ นอกจาก สิ่งที่ไม่มีการเกิดใหม่อีกต่อไป “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    30 “ บุคคล...ไม่ควรที่จะตายก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    31 “ บุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “ นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา “ อ/๙๘๑<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    32 “ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ , สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา , สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    33 “ เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งตา …หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิ ย่อมละไป “ อ/๙๗๘<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    34 “ ความเป็นปฏิกูลในผัสสะ ย่อมปรากฎ แก่บุคคลผู้ตามเห็นอยู่ซึ่งความไม่เที่ยงใน ผัสสายตนะหก “ ปญฺจก.อํ. ๒๒/๓๒/๓๐. (อ/๙๙๖)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    35 “ สมาธิที่ได้ในขณะแห่งการเดิน ย่อมตั้งอยู่ได้นาน “ - ปฌจก อ ๒๒/๓๑/๒๙<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    36 “ ความเกิดแล้วเกิดอีกเป็นอเนกชาติ . ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไปทุกชาติ.”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    37 “ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตนและท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    38 “ ท่านจะพึงรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้ ก็ต่อเมื่อท่านละความเพลิดเพลินและความกำหนัด ในอุปาทานนักขันธ์ทั้งห้าเสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุของท่าน “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    39 “ พวกเธอทั้งหลาย เมื่อฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียวอยู่จักรู้สึกความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย มีความเบากายกระปรี้กระเปร่ามีกำลัง และมีความผาสุกด้วย “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    40 เธอก็เดินด้วยการตั้งจิตว่า “ บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคือ อภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้เดินอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ “ อุปริ. ม. ๑๔/๒๓๖/๓๔๗<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    41 “ ในกาลก่อนก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม เราบัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น “ . มู.ม. ๑๒/๒๗๘/๒๘๖ (พ/๒๘๗)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    42 “ เรากล่าววิญญาณ ว่าเป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม ( สิ่งที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น ) “<o:p></o:p>
    มู.ม. ๑๒/๔๗๕/๔๔๒ (อ/๑๐๐๗)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    43 “ สิ่งที่เรียกกันว่า " จิต " ก็ดี " มโน " ก็ดี ว่า " วิญญาณ " ก็ดี นั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน. “ นิทาน.สํ. ๑๖/๑๑๕/๒๓๒. (อ/๑๐๑๕)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    44 “ บุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย “.<o:p></o:p>
    นิทาน.สํ. ๑๖/๑๑๖/๒๓๑. (อ/๑๐๑๕)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    45 “กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคล เหล่าอื่น “ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    46 “ มาเถิด , แม้พวกเธอทั้งหลาย ก็จงฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว ( คือ ฉันหนเดียวลุกขึ้นแล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น ) “ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    47 “ เพราะสิ่งนี้มี , สิ่งนี้จึงมี ; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ , สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี , สิ่งนี้จึงไม่มี ; เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ , สิ่งนี้จึงดับไป “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    48 “ สิ่งใด ที่เป็นอนัตตา พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ “ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    49 “ เหตุเกิดของเวทนา เป็นทางดำเนินไปสู่ ตัณหา อต้น “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    50 “ ความดับแห่งทุกข์ย่อมมี เพราะความดับแห่งนันทิ “ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    51 “ ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ; ข้อนี้เป็นความเจริญในอริยวินัยของผู้นั้น “<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    52 “ ความพอใจในการสมาทานการปฎิบัติ ในศีลอันยิ่ง ของเธอต้องเข้มงวดเสมอ “ <o:p></o:p>
    ติก. อํ. ๒๐/๒๙๔/๕๒๑ (ข/๒๑๒)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    53 “ ความพอใจในการสมาทานการปฎิบัติ ในจิตอันยิ่ง ของเธอต้องเข้มงวดเสมอ “ <o:p></o:p>
    ติก. อํ. ๒๐/๒๙๔/๕๒๑ (ข/๒๑๒)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    54 “ ความพอใจในการสมาทานการปฎิบัติ ในปัญญาอันยิ่ง ของเธอต้องเข้มงวดเสมอ “ <o:p></o:p>
    ติก. อํ. ๒๐/๒๙๔/๕๒๑ (ข/๒๑๒)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    55 “ ความหวั่นไหว ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว “ <o:p></o:p>
    อุ.ขุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑ (ป/๖๕๙)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    56 “ กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้เพียงตั้งไว้เนือง ๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี “ สฬา. สํ ๑๘/๒๔๘/๓๕๐ (อ/๑๒๓๖)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    57 “ ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ “ มหา.สํ. ๑๙/๓๙๙/๑๓๒๒ (อ/๑๒๕๘)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    58 “ หนัง เอ็น กระดูกจักเหลืออยู่ เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที ประโยชน์ใดอันบุคคลจะลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่นของบุรุษ หากยังไม่บรรลุถึงประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรนั้นเสีย เป็นไม่มีเลย “ ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑ (พ/๑๑๒)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    59 “ ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง, ความสันโดษ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง, ความคุ้นเคยกันเป็นญาติอย่างยิ่ง, นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง ” ธ. ขุ ๒๕/๔๒/๒๕ (อ/๔๗๐)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    60 “ เมื่อใด ‘เธอ’ ไม่มี; เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้, ไม่ปรากฏในโลกอื่น, ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั้นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ละ ” อุ. ขุ. ๒๕/๘๓/๔๙ (อ/๔๔๑)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    61 “ สมถะและวิปัสสนา เหล่านี้แล อันเธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก ” ม. ม__________. ๑๓/๒๕๘/๒๖๐ (อ/๔๙๕)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    62 “ เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว ” มู. ม. ๑๒/๑๓๕/๑๕๘ (อ/๕๑๓<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    63 “ สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ” สฬา. สํ. ๑๘/๖๒/๙๖ (ป/๒๘๙)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    64 “ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแหละ คือหนทางให้ถึงซึ่งอมตะ ”<o:p></o:p>
    มหาวาร. สํ ๑๙/๑๐/๓๒ (อ/๘๓๙)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    65 “ หนทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ซึ่งผู้ปฏิบัติตามแล้ว จักรู้ได้เอง เห็นได้เอง ” <o:p></o:p>
    สี. ที. ๙/๒๐๙/๒๖๕ (อ/๘๖๔)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    66 “ เมื่อความหวั่นไหวไม่มี, ปัสสัทธิ ย่อมมี ” อุทาน.ขุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑ (ป/๖๕๙)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    67 “ เมื่อมีปัสสัททิ , ความน้อมไป ย่อมไม่มี ” อุทาน.ขุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑ (ป/๖๕๙)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    68 “ เมื่อความน้อมไปไม่มี , การมาและการไป ย่อมไม่มี ” <o:p></o:p>
    อุทาน.ขุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑ (ป/๖๕๙)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    69 “ เมื่อการมาการไปไม่มี , การเคลื่อนและการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี ”<o:p></o:p>
    อุทาน.ขุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑ (ป/๖๕๙)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    70 “ เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้นไม่มี , อะไร ๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ ” อุทาน.ขุ. ๒๕/๒๐๘/๑๖๑ (ป/๖๕๙)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    71 “ เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้น ก็เป็นภัย ( น่ากลัว ) ; เขากลัวต่อสิ่งใดสิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์. ” อุ.ขุ ๒๕/๑๒๑/๘๔ (ป/๘๐๓)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    72 “ พึงพิจารณาใคร่ครวญ โดยประการที่เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอยู่แล้ว วิญญาณ ( จิต ) ของเธอนั้น ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอกด้วย ไม่ตั้งสยบอยู่ในภายในด้วย ” <o:p></o:p>
    อุปริ. ม. ๑๔/๔๑๑/๖๓๙ (ป/๒๙๔)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    73 “ เมื่อบุคคลมีสัมมาทิฏฐิแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นและกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์โดยยิ่ง ” เอก. อํ ๒๐/๔๐/๑๘๒ (อ/๑๐๐๐)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    74 “ กามทั้งหลายให้เกิดความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในเพราะกามนั้น มีเป็นอย่างยิ่ง ” มู. ม. ๑๒/๑๘๐/๒๑๑ (อ/๑๐๓๗)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    75 “ เมื่อเธอตรึกตาม ตรองตามถึงอารมณ์ใด ๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้น ๆ ”<o:p></o:p>
    มู. ม. ๑๒/๒๓๒/๒๕๒ (อ/๑๐๓๙)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    76 “ สิ่งใด มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก, ตัณหานั้นเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในสิ่งนั้น ” นิทาน. สํ. ๑๖/๑๓๐/๒๕๔ (ป/๓๐๘)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    77 “ จงเห็นสิ่งซึ่งมีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นสภาพมิใช่ตัวตน, เป็นของเสียบแทง, เป็นภัยน่ากลัว ” นิทาน. สํ. ๑๖/๑๓๐/๒๖๒ (ป/๓๑๕)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    78 “ เมื่ออะไรมีอยู่หนอชรามรณะ จึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ? “ <o:p></o:p>
    นิทาน.สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๐ (ป/๔๖๒)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    79 “ โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์ ย่อมเป็นไปตามกรรม , สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นเครื่องรึงรัด เหมือนลิ่มสลักขันยึดรถที่กำลังแล่นไปอยู่ ” สุ.ขุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒ (ป/๑๓๗)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    80 “ บัณฑิตทั้งหลายย่อมเห็นซึ่งกรรมนั้น ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ , ชื่อว่าเป็นผู้เห็นซึ่งปฏิจจสมุปบาท เป็นผู้ฉลาดในเรื่องวิบากแห่งกรรม ” สุ.ขุ. ๒๕/๔๕๗/๓๘๒ (ป/๑๓๗)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    81 “ วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป ย่อมไม่เลยไปอื่น ”<o:p></o:p>
    นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๑ (ป/๔๖๓)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    82 “ จิตนี้เป็นธรรมชาติประภัสสร แต่จิตนั้นแล เป็นจิตพ้นวิเศษจากอุปกิเลสอันเป็นอาคันตุกะจรมานั้นได้ ” ทุก. อํ. ๒๐/๑๑/๕๑ (อ/๑๓๑๐)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    83 “ ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ความรัก, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ความรัก เมื่อพ้นแล้วจากความรัก , ความโศกย่อมไม่มี, แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า ” ธ. ขุ. ๒๕/๔๓/๒๖ (อ/๓๖๗)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    84 “ ความชรา มีอยู่ในความหนุ่ม, ความเจ็บไข้มีอยู่ในความไม่มีโรค, ความตายมีอยู่ในชีวิต ” <o:p></o:p>
    มหา.สํ.๑๙/๒๘๗/๙๖๔ (พ/๕๕๔)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    85 “ ในธรรมวินัยนี้ , เธอผู้ใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว จักละชาติสงสาร ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ” <o:p></o:p>
    มหา. ที. ๑๐/๑๓๙/๑๐๖ (พ/๕๖๕)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    86 “ พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลเป็นอย่างดี มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด ” มหา. ที. ๑๐/๑๓๙/๑๐๖ (พ/๕๖๕)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    87 “ ภิกษุทั้งหลายพึงอยู่โดยชอบเถิด โลกก็จะไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ”<o:p></o:p>
    มหา. ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘ (พ/๕๗๓)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    88 “ พวกเธอจงเป็นผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด ”<o:p></o:p>
    ------------------------------------------------------------------
    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ
     
  7. namotussa

    namotussa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,470
    อนุโมทนาสาธุครับ<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  8. Nok Nok

    Nok Nok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +3,297
    [​IMG]โมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ ^_^
     

แชร์หน้านี้

Loading...