อานิสงส์ของการบวช คืออะไร ....ท่านพุทธทาสภิกขุ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เพลงเพลิง, 12 มิถุนายน 2010.

  1. เพลงเพลิง

    เพลงเพลิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +476
    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">เมื่อกล่าวถึงผลหรืออานิสงส์ของการบวชแล้วผู้บวชควรจะทำในใจถึงผลของการบวชให้กว้างออกไปเป็น3 ประการ เป็นอย่างน้อย อานิสงส์ของการบวชนั้นย่อมมีมากมายกว้างขวางเหลือที่จะกล่าวให้ครบถ้วนเป็นรายละเอียดได้แต่เราอาจจะประมวลเข้าด้วยกัน แล้วจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท กล่าวคือ

    อานิสงส์ที่จะพึงได้แก่ ตัวผู้บวชเอง
    อานิสงส์ที่จะพึงได้แก่ ผู้อื่น มีมารดา บิดาที่เป็นประธาน
    อานิสงส์ที่จะพึงได้แก่ พระศาสนา

    รวมเป็น 3 ประการด้วยกัน ดังนี้

    สำหรับ อานิสงส์ที่จะพึงได้แก่ตัวผู้บวชเองนั้น โดยส่วนใหญ่ ย่อมหมายถึงการพ้นไปจากการเผาผลาญของไฟกิเลสและไฟทุกข์ หรือที่เรียกว่า “ นิพพาน “ นี้เป็นที่ตั้ง หากไม่ได้ถึงนั้น ก็ย่อมได้รองลงมาในอันดับที่รองลงมา คือ มีไฟกิเลส และไฟทุกข์เผาผลาญแต่เพียงเบาบาง แล้วแต่ว่าตนจะสามารถประพฤติปฏิบัติธรรมวินัยได้ดีเพียงไร นี้กล่าวสำหรับผู้บวชตลอดไป
    ส่วนผู้ที่บวชเฉพาะกาลชั่วคราว ตามขนบะรรมเนียมประเพณีของบางประเทศนั้น ย่อมได้ผลโดยสรุปคือ จักได้เรียนรู้ศาสนาที่ตนนับถือได้อย่างใกล้ชิด จักได้ลองชิมการปฏิบัติธรรมะเป็นเครื่องพ้นทุกข์ดู เท่าที่ตนจะปฏิบัติได้ และในที่สุดจักได้กลับออกมาเป็นคนที่ดีกว่าเก่า เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำในครอบครัว
    ทั้งหมดนี้เรียกว่า อานิสงส์ที่ผู้นั้นจะพึงได้รับ เฉพาะตนและตนจะต้องทำให้ได้รับจริง ๆ อย่าให้เสียทีที่ได้บวชเลย

    สำหรับอานิสงส์ที่ได้พึงได้แก่ผู้อื่น มีมารดาบิดาเป็นต้นนั้น ข้อนี้ย่อมหมายถึงการมุ่งตอบแทนบุญคุณของผู้มีบุญคุณ เป็นที่ตั้ง มีมารดาบิดาเป็นประธานของบุคคลเหล่านั้น ๆ คนเราพอสักว่าเกิดมาในขณะนั้น ยังไม่ทันจะลืมตาดูโลกได้ก็เป็นหนี้บุญคุณแก่คนทั้งหลาย อย่างมากมายเหลือที่จะกล่าวได้เสียแล้ว สำหรับมารดาบิดานั้นไม่ต้องกล่าวเพราะว่าท่านมีบุญคุณเหนือเศียรเกล้าของบุตรเพียงไรนั้น ย่อมเป็นที่ประจักษ์กันดีแล้ว
    ส่วนที่ว่า “ เป็นหนี้บุญคุณผู้อื่นอีกมากมายเสียตั้งแต่ยังไม่ทันลืมตาดูโลก “ นั้น ข้อนี้หมายความว่า พอเด็กคลอดออกมาก็ต้องอาศัยสติปัญญาวิชาความรู้ของผู้ที่เป็นแพทย์ เป็นหมอ ของผู้ที่รู้จักคิดรู้จักทำเครื่องนุ่งห่มขึ้นในโลก และของผู้ที่ทำการช่วยเหลือแวดล้อมทุกอย่างทุกประการโดยไม่รู้สึกตัว จนอาจจะสรุปได้ว่า พอเกิดมาก็เป็นหนี้บุญคุณคนทั้งโลกทีเดียว
    เพราะฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคนดี ที่จะต้องตอบแทนบุญคุณของผู้มีบุญคุณทั้งหลาย ซึ่งมีมารดาบิดาเป็นประธาน
    ในการตอบแทนบุญคุณนั้น บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวไว้ว่า ไม่มีอะไรที่จะตอบแทนดียิ่งไปกว่าการทำให้ผู้มีบุญคุณนั้น ๆ ได้รับความดี ความงามอันสูงสุด สำหรับความดีความงามอันสูงสุดนั้น ก็ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า การได้พ้นไปจากความทุกข์ หรือพ้นไปจากการถูกเผาผลาญของไฟกิเลสและไฟทุกข์
    เพราะเหตุฉะนี้แหละ บุตรที่จะต้องตอบแทนมารดาบิดาจักต้องสำนึกถึงการทำให้มารดาบิดาเป็นต้นนั้น ได้รับความดีความงามเป็นความพ้นทุกข์ก่อนสิ่งอื่นใดทั้งสิ้นท่านผู้รู้ได้กล่าวเปรียบความข้อนี้ไว้ว่าแม้หากจะทำได้ถึงกับว่าให้มารดาบิดาทั้งสองอยู่บนบ่าของบุตร แล้วฟูมฟักรักษามารดาบิดานั้น ไม่ให้อนาทรร้อนใจด้วยการกินอยู่เป็นต้น บนบ่าโดยไม่ต้องลงสู่พื้นดินเลย เป็นเวลาตลอดกัปป์ตลอดกัลป์ ก็ยังหาจัดว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณมารดาบิดา ได้เพียงพอหรือเหมาะสมกันไม่ แต่ท่านได้กล่าวไว้สืบไปว่า ถ้าหากบุตรคนใดได้ทำมารดาบิดา ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือว่าทำมารดาบิดาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ให้เป็นสัมมาทิฏฐิยิ่งขึ้น จนถึงกับออกจากทุกข์ได้หมดจนสิ้นเชิง นี้แหละ ก็คือการตอบแทนบุญคุณของมารดาบิดาได้อย่างสมกัน
    เราจึงเห็นได้ชัดว่า โอกาสแห่งการตอบแทนบุญคุณของมารดาบิดานั้น นับว่ามีมากที่สุดในการบวช คือว่าด้วยการบวชนั้น จักทำให้มารดาบิดาเป็นต้นนั้น มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น ได้เป็นผู้ใกล้ชิด หรือเป็นญาติในพระศาสนายิ่งขึ้น ได้ใกล้ชิดการประพฤติปฏิบัติธรรมวินัยยิ่งขึ้นได้มีความรู้ความเข้าใจในธรรมอันลึกซึ้งยิ่งขึ้นหรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นผู้มั่นคงไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย จนเป็นที่รับประกันได้ว่า ไม่มีทางที่จะตกไปสู่อบายได้เลย ดังนี้เป็นต้น
    จึงนับว่า การบวชที่ถูกต้องนี้เป็นโอกาสที่จะตอบแทนบุญคุณมารดาบิดาได้จริง ๆ แต่ทั้งนี้ ย่อมหมายถึงว่า ผู้นั้นจะต้องบวชจริง ศึกษาเล่าเรียนจริง ประพฤติปฏิบัติจริง ๆ ได้รับผลแห่งพรหมจรรย์นี้จริง ๆ แล้วตั้งหน้าตั้งตาสอนผู้อื่นจริง ๆ ล้วนแต่เป็นการทำจริงไปทั้งหมดดังนี้ จึงจะมีผลเป็นการตอบแทนบุญคุณมารดาบิดาเป็นต้น อันเป็นที่รักที่เคารพจริงอย่างเหมาะสมกันได้
    ขอให้ผู้บวชแล้วทั้งหลาย จงอ้างเอาคุณมารดาบิดาเป็นที่ตั้ง โดยมีความสำนึกว่า ท่านเหล่านั้นได้มีบุญคุณแก่เรามาก่อนแล้ว เป็นฝ่ายที่ทำแก่เราก่อน เรากำลังเป็นหนี้บุญคุณของท่านอยู่แล้ว แล้วตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมวินัย ด้วยการทำจริง ดังกล่าวมา ให้เป็นการตอบแทนบุญคุณมารดาบิดาอย่างเหมาะสมกัน อย่าให้เป็นขบถหรือหลอกลวงต่อความหวังของมารดาบิดาแต่ประการใดเลย อันนี้แลเรียกว่า อานิสงส์ของการบวชที่จะพึงได้แก่ผู้มีบุญคุณทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้น

    สำหรับอานิสงส์อันจะพึงได้แก่พระศาสนาเอง เป็นประการสุดท้ายนั้น ข้อนี้หมายความว่า แม้พระศาสนาก็เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง อาจจะเสื่อมสูญไปได้ ถ้าหากไม่มีการปรุงแต่งสืบต่ออายุเอาไว้
    เพราะฉะนั้น การบวชของพวกเรา จึงมีความมุ่งหมายให้เป็นการสืบอายุพระศาสนาไปด้วยอีกส่วนหนึ่ งเราที่ได้บวชนี้ก็เพราะมีพระพุทธศาสนา ถ้าหากไม่มีพระศาสนา เราจะบวชได้อย่างไร เป็นสิ่งที่เข้าใจกันได้อยู่ดีแล้ว บุญคุณของพระศาสนานั้นเองที่ทำให้เราได้บวช เพราะฉะนั้นเราจักตอบแทนคุณของพระศาสนา
    ถ้ากล่าวให้ยืดออกไปกว่านี้อีก คือ เราต้องรำลึกถึงคุณอุปัชฌาย์อาจารย์ ที่ได้สืบอายุพระศาสนากันมาเป็นลำดับ ๆ นับตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาจนถึงบัดนี้ จนทำให้เราได้บวช เราต้องสำนึกถึงบุญคุณของอุปัชฌาย์อาจารย์เหล่านั้น ซึ่งแต่ละท่านล้วนแต่หวังว่า เราผู้เป็นลูกศิษย์ชั้นหลัง ๆ จักช่วยกันสืบอายุพระศาสนาให้เป็นช่วง ๆ รับมอบกันไปอย่าให้ขาดสายได้ นี้เป็นเหตุให้เราต้องคิดตอบแทนคุณอุปัชฌาย์อาจารย์เหล่านั้น ด้วยการสืบอายุพระศาสนาไว้ให้ได้จริง ๆ ถ้าจะกล่าวให้ยืดออกไปกว่านั้นอีก เราจะต้องรำลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นต้นกำเนิดของพระศาสนา ในข้อที่พระองค์ได้ทรงเสียสละ ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากในการประดิษฐานพระศาสนาซึ่งเมื่อเราได้ศึกษาประวัติอันประเสริฐของพระองค์แล้วเราจะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงบากบั่นในการประดิษฐานและเผยแพร่พระศาสนานี้ จนถ้าจะกล่าวโดยโวหารธรรมดาก็กล่าวได้ว่า “ ตายคาที่บนแผ่นดินกลางทางเดิน ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง “ ไม่ได้ตายบนกุฏิเหมือนเราท่านทั้งหลายโดยมาก

    สรุปข้อความนี้ว่า พระองค์ทรงมีความพยายามและความหวังอย่างยิ่ง ที่จะประดิษฐานพระศาสนาของพระองค์ให้มั่นคงอยู่ในโลกนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายรวมทั้งพวกเราด้วย เพราะเหตุฉะนั้นแหละเราจะต้องบากบั่นในการสืบอายุพระศาสนา ให้สมกับตัวอย่างที่พระองค์ได้ทรงกระทำไว้และให้สมกับบุญคุณอันใหญ่หลวงที่พระองค์ทรงกระทำไว้แก่สัตว์ทั้งหลายรวมทั้งพวกเราด้วย เพื่อจะให้เป็นการสืบอายุพระศาสนาได้สมจริงนั้น ย่อมมีอยู่แต่ทางเดียวเท่านั้น คือ
    เราจะต้องบวชจริง ศึกษาเล่าเรียนจริง ประพฤติปฏิบัติจริงให้ได้รับผลของพรหมจรรย์นี้จริง แล้วพยายามสั่งสอนผู้อื่นต่อกันไปจริง จึงจะเป็นการสืบอายุพระศาสนาเป็นเครื่องบูชาตอบแทนพระคุณของพระองค์ได้จริง
    เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายควรจะรำลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพระคุณของอุปัชฌาย์อาจารย์ ที่ได้สืบอายุพระศาสนา สืบต่อกันลงมาจนถึงพวกเรา และรำลึกถึงคุณของพระศาสนา ซึ่งเป็นเครื่องบำบัดความทุกข์ของสัตว์ได้จริง แล้วตั้งหน้าตั้งตาตอบแทนคุณพระศาสนา คุณอุปัชฌาย์อาจารย์และคุณพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการเรียนจริงปฏิบัติจริงเป็นต้น ดังกล่าวแล้ว
    นี้เรียกว่า อานิสงส์ของการบวชอันจะพึงได้แก่ ตัวศาสนาเอง ซึ่งในที่สุดอานิสงส์อันนั้นก็จะแผ่ไปในทุก ๆ โลก ทั้งมนุษยโลกและเทวโลกเป็นเหมือนร่มโพธิ์ร่มไทรที่คุ้มครองสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายให้เยือกเย็นอยู่ภายใต้ร่มเงาของพระศาสนาตลอดกาลนาน

    รวมอานิสงส์ ทั้ง 3 ประการเข้าด้วยกัน คือ
    อานิสงส์ที่พึงจะได้แก่ ตัวผู้บวชเอง
    อานิสงส์ที่จะพึงได้แก่ ผู้มีบุญคุณทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นประธาน
    และอานิสงส์ที่จะพึงได้แก่ ตัวพระศาสนา
    ดังนี้แล้ว ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการเพียงพอแล้ว ที่เราจะต้องเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยการอดกลั้นอดทนเพื่อให้เกิดการบวชจริง เรียนจริง ปฏิบัติจริง ได้รับผลจริง แล้วสั่งสอนสืบต่อกันไปจริง ซึ่งอาจจะกล่าวได้ด้วยความมั่นใจว่า ไม่มีการกระทำอย่างใดที่จะดียิ่งกว่าการกระทำอันนี้ ซึ่งถือว่าเป็นอานิสงส์ของการบวชที่พวกเราจะพึงได้รับ

    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ผมเองก็เป็นผู้เคยบวช ยังซึ้งใจอยู่ ปลื้มใจอยู่ เมื่อนึกถึงวันเวลาเหล่านั้น

    รู้สึกว่าได้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า รู้สึกได้ว่าเป็นลูกศิษย์ของท่านพระศาสดาจริงๆ

    ถึงวันเวลาผ่านไปแล้ว สึกมานานแล้ว

    แต่ใจของผมไม่เคยสึก! จากการเป็นศิษย์ของพระพุทธองค์เลย

    ผมว่าอานิสงส์ของการบวชคือ

    ทำให้ผู้บวชและเหล่าญาติได้เข้าใกล้ความดับทุกข์มากขึ้น

    เข้าใกล้พระนิพพานมากขึ้นนั่นเอง



    ขอพระธรรมจงคุ้มครองเหล่าสหธรรมิกทุกท่าน
    มีพระธรรมส่องทางส่องจิต เพื่อเดินให้ถึงซึ่งพระนิพพานด้วย เทอญ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...