พระจักษุ 5

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธัมมนัตา, 7 พฤษภาคม 2010.

แท็ก: แก้ไข
  1. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    ได้พบความหมายของพระจักษุ 5 ของพระพุทธองค์มีความหมายลึกซึ้ง ละเอียด ตามพระไตรปิฎก ดังนี้


    พระจักษุ ๕<O:p</O:p

    [๗๒๗] คำว่า ได้ทรงแสดง ในคำว่า พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้งได้ทรงแสดง ความว่า ได้ทรงแสดง แสดงรอบ ตรัสบอก เทศนาบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้ทรงแสดงแล้ว. คำว่า ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ความว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพระจักษุ ๕ ประการ คือ
    มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยมังสจักษุ
    มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักษุ
    มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยปัญญาจักษุ
    มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยพุทธจักษุ
    มีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยสมันตจักษุ.
    <O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยมังสจักษุอย่างไร?
    สี ๕ อย่าง คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีดำ และสีขาว มีอยู่ในพระมังสจักษุของพระผู้มีพระภาค. ขนพระเนตรทั้ง หลายตั้งอยู่เฉพาะในที่ใด ที่นั้นมีสีเขียว เขียวสนิท น่าชม น่าดู เหมือนดอกผักตบ. ต่อจากที่นั้น มีสีเหลือง เหลืองนวล สีเหมือนทองคำ น่าชม น่าดู เหมือนดอกกรรณิการ์. เบ้าพระเนตรทั้ง ๒ ของพระผู้มีพระภาค มีสีแดง แดงงาม น่าชม น่าดู เหมือนสีปีกแมลงทับ.ที่ท่ามกลางพระเนตร มีสีดำ ดำงาม ไม่หมองมัว สนิท น่าชม น่าดู เหมือนสีสมอดำ(อิฐแก่ไฟ). ต่อจากที่นั้น มีสีขาว ขาวงาม เปล่งปลั่ง ขาวนวล น่าชม น่าดู เหมือนสีดาวประกายพฤกษ์. พระผู้มีพระภาคมีพระมังสจักษุนั้นเป็นปกติ เนื่องในพระวรกาย เกิดขึ้นเพราะสุจริตกรรมในภพก่อนจึงทรงเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบทั้งกลางวันทั้งกลางคือ แม้เมื่อใด มีมืดประกอบด้วยองค์ ๔ คือพระอาทิตย์อัสดงคตไป ๑ วันอุโบสถมีในกาฬปักษ์ ๑ แนวป่าทึบ ๑ อกาลเมฆใหญ่ตั้งขึ้น ๑ เมื่อนั้น พระผู้มีพระภาคก็ทรงเห็นตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ ในที่มืดประกอบด้วยองค์ ๔ แม้เห็นปานนี้. ที่หลุมก็ดี บานประตูก็ดี กำแพงก็ดี ภูเขาก็ดี กอไม้ก็ดีเถาวัลย์ก็ดี เป็นเครื่องบังการเห็นรูปทั้งหลายย่อมไม่มี. หากว่า บุคคลพึงเอางาเมล็ดหนึ่งทำเป็นเครื่องหมายใส่ลงในเกวียนบรรทุกงา พระผู้มีพระภาคก็พึงทรงหยิบเอาเมล็ดงานั้นแหละขึ้นได้.พระมังสจักษุเป็นปกติของพระผู้มีพระภาคบริสุทธิ์อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยมังสจักษุอย่างนี้.<O:p</O:p

    พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างไร?
    พระผู้มีพระภาคย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิยึดถือการทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสรรค์ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ และทรงทราบหมู่สัตว์ผู้ไปเป็นตามกรรมด้วยประการดังนี้. ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเมื่อทรงประสงค์ พึงทรงเห็นแม้โลกธาตุหนึ่ง แม้โลกธาตุสอง แม้โลกธาตุสาม แม้โลกธาตุสี่ แม้โลกธาตุห้า แม้โลกธาตุสิบ แม้โลกธาตุยี่สิบแม้โลกธาตุสามสิบ แม้โลกธาตุสี่สิบ แม้โลกธาตุห้าสิบ แม้โลกธาตุพันหนึ่งเป็นส่วนเล็กแม้โลกธาตุสองพันเป็นส่วนปานกลาง แม้โลกธาตุสามพัน แม้โลกธาตุหลายพัน. หรือว่าพระผู้มีพระภาคทรงพระประสงค์เท่าใด ก็พึงทรงเห็นเท่านั้น. ทิพยจักษุของพระผู้มีพระภาคบริสุทธิ์อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยทิพยจักษุอย่างนี้.
    <O:p</O:p

    พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างไร?
    พระผู้มีพระภาคทรงมี พระปัญญามาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญารื่นเริง มีพระปัญญาแล่นไป มีพระปัญญาเฉียบแหลม มีพระปัญญาชำแรกกิเลส ทรงฉลาดในประเภทปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุเวสารัชญาณ ๔ ทรงทสพลญาณ ทรงเป็นบุรุษผู้องอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไปเป็นปกติ มีพระญาณหาที่สุดมิได้ มีพระเดชหาที่สุดมิได้ มีพระยศหาที่สุดมิได้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีปัญญาเป็นทรัพย์ เป็นผู้นำ เป็นผู้นำไปโดยวิเศษ นำเนืองๆ ผู้ให้รู้จักประโยชน์ผู้ให้เพ่งพิจารณา ผู้เห็นประโยชน์ ผู้ให้แล่นไปด้วยปสาทะ. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ให้มรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดขึ้นพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้ซึ่งมรรค ทรงทราบซึ่งมรรค ทรงฉลาดในมรรค. ก็แหละในบัดนี้ พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้ดำเนินตามมรรค เป็นผู้ประกอบด้วยศีลาทิคุณในภายหลัง. พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น มีพระจักษุ มีธรรม มีญาณ มีพรหมธรรม ผู้ตรัสบอก ทรงแนะนำ ทรงนำออกซึ่งอรรถ ทรงประทานอมตธรรม เป็นธรรมสามี เป็นพระตถาคต. สิ่งที่ไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ทรงทำให้แจ่มแจ้ง ไม่ทรงถูกต้องด้วยปัญญา ย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น. ธรรมทั้งปวง รวมทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบันย่อมมาสู่คลองแห่งพระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว โดยอาการทั้งปวง. ชื่อว่าประโยชน์ที่ควรแนะนำทุกๆ อย่างที่ควรรู้มีอยู่ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ ประโยชน์ที่ปกปิด ประโยชน์ที่ควรแนะนำ ประโยชน์นำไปแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษ ประโยชน์ที่ไม่มีกิเลส ประโยชน์อันผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่างยิ่งประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ. พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว มีพระญาณไม่ขัดข้องในอดีต มีพระญาณไม่ขัดข้องในอนาคต มีพระญาณไม่ขัดข้องในปัจจุบัน กายกรรมวจีกรรม มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว บทแห่งธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทแห่งธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้นพระญาณมีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควรแนะนำมีส่วนสุดรอบแห่งพระญาณ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทแห่งธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน. เมื่อชั้นผะอบทั้งสองปิดกันสนิทพอดี ชั้นผะอบข้างล่างก็ไม่เกินชั้นผะอบข้างบน ชั้นผะอบข้างบนก็ไม่เกินชั้นผะอบข้างล่างชั้นผะอบทั้งสองชั้น ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็ดีพระญาณก็ดี ของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุดรอบแห่งธรรมที่ควรแนะนำ บทแห่งธรรมที่ควรแนะนำก็มีส่วนสุดรอบแห่งพระญาณ พระญาณไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้น ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกันฉันนั้น พระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมเป็นไปรอบในธรรมทั้งปวง. ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วยความนึก เนื่องด้วยความหวังเนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท ของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว. พระญาณของพระผู้มีย่อมเป็นไปรอบในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุศัย จริต อธิมุตติพระภาคผู้ตรัสรู้แล้วแห่งสัตว์ทั้งปวง ย่อมทรงทราบเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสธุลีน้อย ในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ปลาและเต่าทุกชนิด รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละและ ปลาติมิติมิงคละ โดยที่สุด ย่อมเป็นไปภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้น นกทุกชนิดรวมทั้งครุฑเวนไตรโคตร โดยที่สุดย่อมเป็นไปในประเทศอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอด้วยพระสารีบุตรเถระโดยปัญญา ย่อมเป็นไปในประเทศแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้น. พระพุทธญาณย่อมแผ่ปกคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. พวกบัณฑิตที่เป็นกษัตริย์พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ เหมือนนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวไปดุจทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้น ปรุงแต่งปัญหาแล้วเข้ามาเฝ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหา. ปัญหาเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคตรัสย้อนถามและตรัสแก้แล้วเป็นปัญหามีเหตุที่ทรงแสดงออก และทรงสลัดออก บัณฑิตเหล่านั้นย่อมเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคย่อมทรงไพโรจน์ยิ่งด้วยพระปัญญาในที่นั้นโดยแท้แล. พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยปัญญาจักษุอย่างนี้.<O:p</O:p


    พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างไร?
    พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่. ในกอบัวเขียวก็ดีในกอบัวแดงก็ดี ในกอบัวขาวก็ดี ดอกบัวเขียวก็ดี ดอกบัวแดงก็ดี ดอกบัวขาวก็ดี บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเขียวก็ดี ดอกบัวแดงก็ดี ดอกบัวขาวก็ดี บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ตั้งอยู่เสมอน้ำ ดอกบัวเขียวก็ดี ดอกบัวแดงก็ดี ดอกบัวขาวก็ดี บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ น้ำมิได้ติด แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดีมีอาการทราม ผู้แนะนำได้โดยง่าย ผู้แนะนำได้โดยยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลก ฉันนั้น. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้เป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นโทสจริตบุคคลนี้เป็นโมหจริต บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต บุคคลนี้เป็นญาณจริต. พระผู้มีพระภาคย่อมตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต. ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต. ย่อมทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเรียน ในการไต่ถามในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ในการอยู่ร่วมกับครู. ย่อมตรัสบอกอานาปาณสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต. ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลายของตน อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต. ย่อมตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.สมจริงดังประพันธคาถาว่า<O:p</O:p
    บุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลา พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ แม้ฉันใด ข้าแต่<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคผู้มีปัญญาดี มีจักษุโดยรอบ พระองค์มีความโศกไป<O:p</O:p
    ปราศแล้ว ทรงขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม ขอจงทรงพิจารณา<O:p</O:p
    เห็นหมู่ชนผู้อาเกียรณ์ด้วยความโศก ถูกชาติชราครอบงำอยู่แล้ว ฉันนั้น.<O:p</O:p
    พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยพุทธจักษุอย่างนี้.<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างไร?
    พระสัพพัญญุตญาณเรียกว่าสมันตจักษุ. พระผู้มีพระภาคไปใกล้ไปไกลดีแล้ว เข้าถึง เข้าถึงดีแล้ว เข้าไปถึง เข้าไปถึงดีแล้ว ประกอบแล้วด้วยสัพพัญญุตญาณ.<O:p</O:p
    สมจริงดังประพันธคาถาว่า<O:p</O:p
    สิ่งอะไรๆ ในไตรโลกธาตุนี้ อันพระปัญญาจักษุของพระตถาคตนั้นไม่<O:p</O:p
    เห็น ย่อมไม่มี อนึ่ง ธรรมชาติอะไรๆ ที่ควรรู้ อันพระพุทธญาณไม่<O:p</O:p
    รู้แจ้งย่อมไม่มี ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตทรงทราบ<O:p</O:p
    แล้วซึ่งธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึง<O:p</O:p
    ชื่อ ว่าผู้มีสมันตจักษุ.พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งแม้ด้วยสมันตจักษุอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้งได้ทรงแสดงแล้ว.
     

แชร์หน้านี้

Loading...