สมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐาน หลวง พ่อเทียน จิตฺตสุโภ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไข่น้อย, 23 เมษายน 2010.

  1. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    แหะๆๆๆ
    ลิ๊งค์เจ๊ง แต่แก้แล้วล่ะ
    แล้วทำไมไม่ได้ทำตามเค้าล่ะ ซาแดงว่ามีวิธีส่วนตัว สะดวกกว่าของที่นุ่น
    เหล่าฮูทำตามแนวของที่วัดน่ะ บริดวกมากมาย ทำหลายแนวทางแล้วล่ะ คุ้นเคยแนวทางนี้ที่สุดน่ะ รู้สึกดีจินๆครับ
     
  2. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ใช่ครับเหล่าฮู พวกเดียวกันทั้งนั้น ปะทะคารมกันมั่ง เฮฮาดี

    ว่าแต่ว่าเป็นวันมามากหรือเปล่าเหล่าฮู
    ผมว่าผมถอยดีกว่านะครับ...

    แต่เดี๋ยวนี้คุณขวัญเวลาโพสต์โต้ตอบ
    เธอมีปฏิภาณไหวพริบดีมากเลยนะครับ เหล่าฮู

    เธอตอบนี่ ปั๊บ ๆ เลยนะครับ
    ตรงเผง ๆ เลย...
     
  3. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ก็แหย่กันเล่นน่ะคุณ
    คนกันเองใช่มั้ยครับ เฮฮาดีเหมือนเหล่าฮูว่า

    ผมนิ่งไม่ได้หรอกครับ
    เพราะตอนนี้หัวเราะชอบใจมาก
    กลั้นหัวเราะเอาไว้ไม่อยู่ครับ...
     
  4. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ตอนนี้ผมใฝ่ผันถึงปรมัตถธรรมมากครับ
    คงต้องเร่งปฏิบัติให้มากขึ้นครับ...
     
  5. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    May the peace be with you.
    Mannnn!!!
     
  6. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    จาก



    ................................



    ด้วยความเคารพน่ะครับ


    ขออนุญาต เสนอประเด็น "สมถะ ที่ แสดงคู่กันกับ วิปัสสนา"




    สมถะ ในลักษณะ ศิลาทับหญ้า ....นี้ จะตรงกับ การที่ไปพัวพันยินดีอยู่ในความสงบแล้วไม่นำผลของความสงบมาใช้สนับสนุนการเจริญมรรคด้านปัญญา
    คือ จบเพียงแค่ขั้นของความสงบ

    ดังเช่นที่ปรากฏ ในอุเทสวิภังคสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่๑๔

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุ
    นั้น แล่นไปตามปีติและสุขเกิดแต่วิเวก กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่
    วิเวก ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดวิเวก ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความ
    ยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก

    ...........

    ซึ่ง ความจริงแล้ว การที่มาจบลงเพียงสมถะในลักษณะนี้ พระพุทธองค์ท่านก็ไม่ได้สรรเสริญน่ะครับ


    [นอกจากนี้ ก็ยังมีความหมายของสมถะในระดับพระสูตร ที่ "มากกว่าการจบเพียงแค่ความสงบแล้วไม่เจริญมรรคด้านปัญญา" ดังเช่นที่ ปรากฏใน พระสูตรแสดงอานันตริกสมาธิญาณ ...ซึ่ง ในขณะจิตแห่งการบรรลุอริยมรรคผลนั้น จะมีสมถะ(เอกัคคตา)ปรากฏขึ้น และ วิปัสสนาญาณปรากฏตามมาทันที]




    ในความจริงแล้ว
    ครูบาอาจารย์พระป่าองค์อื่นๆ เช่น หลวงปู่มั่น ท่านเองก็ไม่ได้สอนให้ผู้ภาวนาจบเพียงขั้นความสงบนี้


    หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต
    ท่านได้เคยตักเตือนหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ในคราวที่หลวงตามหาบัวท่านกำลังติดสุขจากสมาธิอยู่. มี เนื้อความดังนี้

    สุขในสมาธิเหมือนเนื้อติดฟัน

    "...ทีแรกไปหาท่านเมื่อไร ท่านถามว่า 'สบายดีเหรอ สงบดีเหรอ'
    'สงบดีอยู่' เราก็ว่าอย่างนี้ ท่านก็ไม่ว่าอะไร

    พอนานเข้า ๆ ก็อย่างว่านั่นแหละ 'เป็นยังไง ท่านมหาสบายดีเหรอใจ'
    สบายดีอยู่ สงบดีอยู่'
    'ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ'
    ฟังซิ ทีนี้ขึ้นละนะพลิกเปลี่ยนไปหมดสีหน้าสีตาอะไร แสดงท่าทางออกหมดแล้วนะนี่ จะเอาเต็มที่ละจะเขกเต็มที่ละ
    'ท่านจะนอนตายอยู่นั้นเหรอ' ท่านว่า
    'ท่าน รู้ไหมสุขในสมาธิเหมือนกับเนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหม สมาธิก็เหมือนกับเนื้อติดฟันนั้นแหละ มันสุขขนาดไหน เนื้อติดฟัน ท่านรู้ไหม ๆ' นี้เราไม่ลืมนะ จากนั้นมา 'ท่านรู้ไหมว่า สมาธิทั้งแท่งนั้นละคือตัวสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหม ' นั่น
    ตรงนี้มันก็ต่อยกับท่านอีก ดูซิ
    'ถ้าหากสมาธิเป็นตัวสมุทัยแล้ว สัมมาสมาธิจะให้เดินที่ไหน' นั่นเอาซิโต้ท่าน
    'มันก็ไม่ใช่สมาธิตายนอนตายอยู่อย่างนี้ซิ
    สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่'
    นั่นเห็นไหมท่านใส่เข้าไป
    'สมาธินอนตายอยู่นี้เหรอเป็นสัมมาสมาธิน่ะ เอ้า ๆ พูดออกมาซิ' มันก็ยอมละซิ"




    และ หลวงปู่ ชา สุภัทโท
    ท่านกล่าวถึง การภาวนาจนไม่ติดในความสงบไว้ ดังนี้

    "....อะไรจะเป็นตัววิปัสสนา อะไรจะเป็นตัวสมถะ ก็ตัวจิตนี่เอง

    และเมื่อจิตสงบแล้วความสงบเบื้องแรกสงบด้วยสมถะ คือสมาธิธรรมทำให้จิตเป็นสมาธิมันก็สงบ
    ถ้าความสงบหายไปก็เกิดทุกข์ ทำไมอาการนี้จึงให้เกิดทุกข์ เพราะความสงบของสมถะเป็นตัวสมุทัย แน่นอนมันจึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

    เมื่อ มีความสงบแล้วยังไม่จบ พระศาสดามองเห็นแล้วว่าไม่จบ ภพยังไม่สิ้น ชาติยังมีอยู่ พรหมจรรย์ไม่จบ มันไม่จบเพราะอะไร เพราะมันยังมีทุกข์อยู่

    ท่านจึงเอาตัวสมถะตัวสงบนี่พิจารณาต่อไปอีก ค้นหาเหตุผลจนกระทั่งท่านไม่ติดในความสงบ
    ความสงบก็เป็นสังขารอันหนึ่ง ก็เป็นสมมติ เป็นบัญญัติอีก ติดอยู่นี่ก็ติดสมมติ ติดบัญญัติ

    เมื่อติดสมมติติดบัญญัติก็ติดภพติดชาติ

    ภพ ชาติก็คือความดีใจในความสงบนี่แหละ เมื่อหายความฟุ้งซ่านก็ติดความสงบก็เป็นภพอีก เกิดอยู่อย่างนี้ ภพชาติเกิดขึ้นมา ทำไมพระพุทธเจ้าจะไม่รู้...."


    ...........................


    ในทางกลับกัน ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านจะสอนถึงการใช้สมถะมาสนับสนุนการเจริญปัญญา(ไม่ใช่จบเพียงศิลาทับหญ้า) เอาไว้ดังนี้


    โอวาทธรรม ที่ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต
    ท่านแสดงต่อ หลวงปู่ หลุย จันทสาโร

    เกี่ยวกับ การใช้ สมถะ เป็นที่พักของจิตเพื่อเอ้อต่อการเจริญวิปัสสนา มาเสนอ


    "การนอน การสงบเข้าฌาน เป็นอาหารของจิตและร่างกายอย่างหนึ่ง

    **สมถะต้องพักจิตสอบอารมณ์ ส่วนวิปัสสนาจิตเดินไตรลักษณ์ให้รู้อริยสัจ
    เหนื่อยแล้วเข้าพักจิต พักจิตหายเหนื่อยแล้ว จิตตรวจอริยสัจอีก ดังนี้ **

    ฉะนั้น ให้ฉลาดการพักจิตการเดินจิต ทั้งวิปัสสนาและสมถะ พระโยคาวจรเจ้าทิ้งไม่ได้ชำนิชำนาญทั้งสองวิธีจึงเอาตัวพ้นจากกิเลสทั้งหลาย ไปได้ เป็นมหาศีล เป็นมหาสมาธิ เป็นมหาปัญญามีศีลทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด พร้อมทั้งจิต เจตสิก พร้อมทั้งกรรมบถ 10 ไม่กระทำผิดในที่ลับและที่แจ้งสว่างทั้งภายในและภายนอก มีมหาสติรอบคอบหมด วิโมกข์วิมุติ อกุปธรรม จิตบริสุทธิ์ จิตปกติ เป็นจิตพระอรหันต์สว่างแจ้งทั้งภายนอกภายในสว่างโร่”





    และ โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
    เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔


    ๆลๆ

    ที นี้เวลามันสงบลงไป ถอนขึ้นมา หลายครั้งหลายหน มันสร้างฐานแห่งความมั่นคง ภายในตัวของมันขณะที่สงบนั้นเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นจิตที่แน่นหนามั่นคงขึ้นมา

    จากความสงบที่สั่งสม กำลังแห่งความแน่นหนามั่นคงมาเป็นลำดับนั้น ติดต่อกันมาเรื่อยๆ เลยกลายเป็นสมาธิขึ้นมาแน่นหนามั่นคง นี่เรียกว่าจิตเป็นสมาธิแล้ว

    เวลา สงบแล้วถอนขึ้นมาๆ นั้นเรียกว่าจิตสงบ หรือว่าจิตรวม พอถึงขั้นจิตเป็นสมาธิแล้ว จิตจะถอนขึ้นมาไม่ถอนขึ้นมาก็ตาม ฐานของจิตคือความสงบนั้นแน่นปึ๋งๆ ตลอดเวลา นี่ท่านเรียกว่าจิตเป็นสมาธิ เห็นประจักษ์ในหัวใจอย่างนี้ อ๋อ สมาธิกับความสงบนี้ต่างกัน นี่เรียกว่าสมาธิ เพื่อให้ถูกต้อง ดำเนินด้วยความราบรื่น

    พอจิต เป็นสมาธิ มีความสงบ มันอิ่มอารมณ์ ไม่เสียดายในความคิดความปรุงไปทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรสต่างๆ พอใจอยู่กับความสงบใจของตนนั้น เรียกว่าจิตมีสมาธิ จิตอิ่มอารมณ์ คือไม่อยากคิดกับอารมณ์นั้นอารมณ์นี้ อาศัยความสงบเย็นใจ ความแน่นหนามั่นคงของสมาธินั้นเป็นเรือนอยู่ของใจ

    จิต ขั้นนี้ เวลามันสงบมีกำลังมากๆ แล้วมันจะรำคาญในการคิด การปรุงต่างๆ ซึ่งแต่ก่อนมันหิวโหยมาก ไม่ได้คิดได้ปรุงอยู่ไม่ได้ ดีดดิ้นอยากคิดอยากปรุง พอจิตมีความสงบเป็นจิตแน่นหนามั่นคง เรียกว่าเป็นสมาธิเต็มที่แล้วนั้น ไม่อยากคิด ความคิดเป็นการรบกวนตัวเอง จิตที่อยู่แน่วมีแต่ความรู้ที่เด่นอยู่ภายในตัวนั้น ถือว่า เป็นความสะดวกสบาย ไม่มีอะไรมากวนใจ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสมาธิ จึงมักติดในสมาธิ หรือติดในสมาธิ เพราะสมาธินี้ก็เป็นอารมณ์กล่อมใจได้ดี

    เมื่อยังไม่ถึงขั้นปัญญา ที่จะมีผลมากกว่านี้แล้ว จะติดได้



    ทีนี้ พอจิตมีความแน่นหนามั่นคงแล้ว มันอิ่มอารมณ์แล้วที่นี่ เมื่อจิตอิ่มอารมณ์แล้ว พาออกทางด้านปัญญา

    ถ้า จิตไม่อิ่มอารมณ์ ยังหิวอารมณ์อยู่แล้ว ออกทางด้านปัญญา จะเป็นสัญญาไปเรื่อยๆ คาดหมายอย่างนั้นอย่างนี้ กลายเป็นสมุทัยไปหมด เลยไม่เป็นปัญญาให้

    เพราะฉะนั้น ท่านถึงสอนให้อบรมทางสมาธิเสียก่อน
    สมาธิ ปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา คือสมาธิมีความแน่นหนามั่นคงแล้ว สมาธิมีความอิ่มตัวแล้ว ก็หนุนปัญญาได้ พิจารณาทางด้านปัญญาก็คล่องตัวๆ เป็นปัญญาจริงๆ ไม่ได้เป็นสัญญาอารมณ์ เพราะจิตอิ่มอารมณ์แล้ว ออกพิจารณาทางด้านปัญญา ยกเอาเรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก กระทั่งถึงร่างกายทุกสัดทุกส่วน ให้เป็นเหมือนไฟได้เชื้อ เชื้อนั้นคือร่างกายทุกส่วนนี้แล ไฟคือสติปัญญา ตปธรรม หนุนเข้าไปพิจารณาเข้าไป

    ๆลๆ


    นี่การพิจารณาภาวนา เบื้องต้นก็อย่างที่พูดให้ฟังแล้ว ต้องตั้งจิตตั้งใจเอาให้จริงจัง

    ถ้าว่าบริกรรมก็เอาให้จริงแล้วจะเข้าสู่ความสงบ
    จากความสงบแล้วเข้าเป็นสมาธิ
    จากสมาธิแล้ว ออกพิจารณาทางด้านปัญญา เป็นขั้นเป็นตอน เป็นเวล่ำเวลา

    เวลา ที่มันหมุนทางด้านปัญญานี้ มันหมุนจริงๆ นะจนไม่มีวันมีคืน ต้องพัก จิตอันนี้ถึงขั้นมันหมุนติ้วเสียจริงๆ แล้วเจ้าของเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เพราะสังขาร ปัญญาเอาสังขารความปรุงนี้ออกใช้ แต่เป็นความปรุงฝ่ายมรรค ไม่ได้เหมือนความปรุงของกิเลสที่เป็นฝ่ายสมุทัย

    เมื่อทำงานมากๆ มันก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ให้เข้าพักสมาธิเข้าสู่ความสงบ อย่ายุ่งเวลานั้น บังคับเข้าให้ได้ มันเพลินนะ จิตเวลาถึงขั้นปัญญาแล้ว มันจะไม่ยอมเข้าพักสมาธิ มันเห็นสมาธิว่านอนตายอยู่เฉยๆ

    ปัญญาต่างหากฆ่ากิเลส แล้วการฆ่ากิเลสไม่รู้จักประมาณ มันก็เป็นสมุทัยอีกเหมือนกัน ไม่รู้จักประมาณ เพราะฉะนั้นจึงเวลาเข้าพักให้เข้าพัก พักความสงบของจิต ถ้ามันพักไม่ได้จริงๆ ก็อย่างที่ผมเคยพูดให้ฟัง เอาพุทโธบริกรรมเลยก็มี ผมเคยเป็นแล้วนะ มันไม่ยอมจะเข้าพัก มันจะหมุนแต่ทางด้านปัญญา ฆ่ากิเลสถ่ายเดียวๆ ทั้งๆ ที่กำลังวังชาเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าพอแล้ว เราจึงต้องเอาพุทโธบังคับไว้ให้อยู่กับพุทโธ สติตั้งอยู่นั้น ไม่ยอมให้ออกปัญญาหมุนไว้ สักเดี๋ยวก็ลงสู่ความสงบแน่วเลย นั่นเห็นไหมล่ะ พอจิตเข้าสู่ความสงบนี่ โอ๋ย เหมือนถอดเสี้ยนถอดหนามนะ

    เวลาออกทาง ด้านปัญญามันเหมือนชุลมุนวุ่นวาย เหมือนนักมวยเข้าวงในกัน ทีนี้เวลาเข้ามาสู่สมาธินี้ มันเหมือนถอดเสี้ยนถอดหนาม เพราะได้พักผ่อนหย่อนจิต ตอนนี้บังคับเอาไว้นะ ไม่อย่างนั้นมันจะออกอีก เพราะกำลังของด้านปัญญามันหนักมากกว่าสมาธิเป็นไหนๆ

    ถ้าว่าเราเผลอ นี้ ผมไม่อยากพูด ถ้าว่ารามือ พอพูดได้ เพราะมันไม่เผลอนี่ พอเราอ่อนทางนี้ รามือสักนิดหนึ่ง มันจะพุ่งออกด้านปัญญา เพราะฉะนั้น จึงต้องบังคับไว้ให้อยู่กับสมาธิแน่วอยู่นั้น จนเห็นว่าเป็นที่พอใจ มีกำลังวังชาทางด้านสมาธิ แล้วค่อยถอนออกมา พอถอนออกมามันจะดีดผึงเลยทางด้านปัญญา

    ให้ทำอย่างนี้ตลอดไปสำหรับ นักปฏิบัติ อย่าเห็นแก่ว่าปัญญาดี ปัญญาฆ่ากิเลส แล้วเตลิดเปิดเปิงทางด้านปัญญา นี้เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง ที่แทรกจิต โดยการพิจารณา ไม่รู้จักประมาณ เลยกลายเป็นเรื่อง หลงสังขารทางด้านปัญญาไป สังขารทางด้านปัญญา กลายเป็นสมุทัยไปได้ เพราะเราไม่รู้จักประมาณ

    เวลา พิจารณาให้พิจารณาเต็มที่ ไม่ต้องบอกพอ ถึงขั้นปัญญาขั้นนี้แล้ว มันจะหมุนของมันเอง แต่เวลาพักให้พักเต็มที่ อย่างนั้นถูก ถึงขั้นปัญญาแล้ว มันจะไม่ยอมพัก มันจะหมุนทางด้านปัญญา เพราะเพลินในการฆ่ากิเลส

    หมุนเข้ามาทางสมาธิ เรียกว่าพักเอากำลัง เหมือนเราพักผ่อนนอนหลับ รับประทานอาหารมีกำลังวังชา

    ถึง จะเสียเวล่ำเวลาในการพักก็ตาม สิ้นเปลืองไปเพราะอาหารการกินก็ตาม แต่สิ้นเปลืองไปเพราะผลอันยิ่งใหญ่ในกาลต่อไปโน้น ประกอบการงานมีกำลังวังชา

    นี่ จิตของเราพักสมาธินี้จะเสียเวล่ำเวลา แต่เป็นกำลังอันยิ่งใหญ่ในสมาธินี้ จะหนุนปัญญาให้ก้าวเดินสะดวก คล่องแคล่ว นั่น ให้เป็นอย่างนั้น พิจารณาอย่างนั้น

    ผู้ปฏิบัติจับไว้ให้ดีนะที่สอนนี้ ผมไม่ได้สอนด้วยความลูบคลำนะ สอนตามหลักความจริงที่ได้ผ่านมาอย่างไร อย่าเหลาะๆ แหละๆ นะการภาวนา เอาให้จริงจัง เรื่องมรรคผลนิพพานไม่ต้องถาม ขอให้ก้าวเดิน นี่คือทางเดินเพื่อมรรคผลนิพพาน ไม่ไปที่ไหน ขอให้ก้าวเดินตามนี้ให้ถูกต้องเถิด จะเข้าถึงมรรคผลนิพพานโดยไม่ต้องสงสัย สำคัญอยู่ที่การดำเนิน ถ้าผู้แนะไม่เข้าใจนี้ทำให้ผิดพลาดได้ นี้เราแนะด้วยความแน่ใจ เพราะเราดำเนินมาแล้วอย่างช่ำชอง ไม่มีอะไรสงสัยแล้ว

    ในการแนะนำสั่งสอนหมู่เพื่อน ไม่ว่าจะสมถะ ไม่ว่าจะสมาธิ ไม่ว่าจะปัญญา ปัญญาขั้นใด ตั้งแต่สติปัญญาอัตโนมัติไปเรื่อย จนกระทั่งมหาสติมหาปัญญา มารวมอยู่ที่หัวใจนี้ทั้งหมด มีความคล่องแคล่วแกล้วกล้า ประจักษ์หัวใจตลอดเวลา แล้วจะไปสงสัยสติปัญญา และสติปัญญาอัตโนมัติ ตลอดมหาสติ มหาปัญญาไปได้ยังไง ก็มันเป็นอยู่กับหัวใจ พากันจำให้ดี ให้ตั้งใจปฏิบัติตัวให้ดี




    ส่วนประเด็น

    .........................






    การที่ โกรธเร็ว หรือไม่นั้น ผมเห็นว่า น่าจะเป็นเพราะขาดสติมากกว่าจะเป็นเพราะการเจริญสมถะ น่ะครับ

    ถ้า การเจริญสมถะเป็นเหตุให้โกรธเร็วจริงๆแล้ว .... คงไม่มีคำสอนที่ว่า การฝึกเจริญเมตตาภาวนา(สมถะเช่นกัน)เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโทสะจริตจากระดับพระสูตรน่ะครับ.
     
  7. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697

    ทีแรก ก็คิดว่าจะให้ไปฟังเสียงอ่านธรรม
    ทีไหนได้ ให้ไปฟังเสียงกิ๊บ จริงๆ
    First of May เพราะมั่ก คงถูกใจหลายคน (แก่) ค่ะ

    ไม่ชอบการบริกรรมตลอดเวลา ยกเว้นบางครั้งที่เอาไม่อยู่จริงๆ
    แต่พองยุบนี่ดีค่ะ ทำให้อานาปาฯของเราไปได้เร็ว
    คือใช้ทั้ง การเคลื่อนไหวและการบริกรรมช่วย
    เหมาะกับวันแรกๆ ที่จิตยังไม่มีกำลัง ไม่งั้นจิตจะออกมาหาโลกตลอดเลย

    เราก็ชอบนะสายพองยุบ เหมือนที่คุณกิ๊บชอบ
    แต่ว่าชอบตอนไปกรรมฐานเขาค่ะ จะทำตามเขาทุกประการ
    แบบว่าไปกรรมฐานไหน แนวทางไหน ก็จะชอบทำตามเขาหมด อยากรู้อยากเห็น

    แต่พออยู่บ้านนี่ จะนั่งอานาปาฯ ธรรมดา อยู่บ้านนี่ ขี้เกียจมากมาย

    :':)':)'(
     
  8. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ผมติดตามอ่าน บทความ คุณตรงประเด็นตั้งแต่เว็บธรรมจักรแล้วครับ
    ตรงประเด็นจริง ๆ ครับ...

    ผมชอบมากครับ...
     
  9. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    สาธุสาธุครับ ขอให้เจริญๆในธรรมนะครับ
     
  10. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    สาธุสาธุ อาไข่นุ๊ย
    ว่างๆเอาอานาปานสติฯแบบย่อๆมาขยายความเส่
    อยากเห็นธรรมมะจากพุทธโอษฐ์มาแสดงให้มากๆ
    ยิ่งกว่าของครูอาจารย์ จะได้เห็นต้นทางจริงๆ
     
  11. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ขออนุญาตนำเสนอ สมถะที่มีความหมายไกลไปกว่าศิลาทับหญ้า

    คือสมถะ ในองค์แห่งอริยมรรค

    <O:p

    จากระดับพระไตรปิฎก<O:p</O:p



    จาก พระไตรปิฎกเล่มที่34<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
    <O:p</O:p

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สังเกตุ...

    <O:pจากระดับพระอภิธรรมปิฎก(คนล่ะเล่มกับ พระอภิธัมมัตถะสังคหะ)สัมมาสมาธิในองค์มรรค ก็ นับว่าเป็น สมถะด้วยเช่นกัน.

    <O:pในระดับพระสูตรก็เช่นสมถะในธรรมอันเป็นส่วนภาคแห่งวิชา(วิชาภาคิยะ)คู่กับวิปัสสนา

    <O:p</O:pหรือแสดงสมถะกับวิปัสสนา ในฐานะอริยมรรค<O:p</O:p


    <O:p</O:p
    <O:p<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shape id=_x0000_i1048 style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:href="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" src="file:///C:\DOCUME~1\VIP\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>


    สมถะในอริยมรรคจากระดับพระไตรปิฎกจึงมีความหมายที่กว้าง และ ลึกกว่าคำว่าสมถะแบบศิลาทับหญ้า มาก.<O:p</O:p
    เพราะครอบคลุมความหมายของ สัมมาสมาธิในองค์มรรค ด้วย<O:p</O:p
    <O:p


    อนึ่งสมถะในระดับพระสูตร นั้น ครอบคลุมไปถึงสมาธิที่บังเกิดจากการเจริญวิปัสสนาเสียด้วย<O:p</O:p


    <O:p<O:p</O:p
     
  12. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    อานาปานสติ (–ปานะสะติ) มีอยู่ 16 คู่ คือ

    1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้
    2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ (ลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้นเมื่อใจเป็นสมาธิ)
    3.หายใจเข้า-ออกกำหนดกองลมทั้งปวง (จิตจะกำหนดแต่กองลมในกาย ถ้าบริกรรมคำใดอยู่ เช่น พุทโธ คำบริกรรมจะหายไปเอง)
    4.หายใจเข้า-ออกเห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป)
    5.หายใจเข้า-ออกปีติ เกิดก็รู้
    6.หายใจเข้า-ออก สุขเกิดก็รู้
    7.หายใจเข้า-ออก กำหนดจิตสังขาร (อารมณ์ต่างๆที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต เช่น รัก ราคะ โกรธ หลง) ทั้งปวง /ที่เหลือเพียงอารมณ์อุเบกขา (ถ้ากำหนดมาตามระดับ)
    8.หายใจเข้า-ออก เห็นจิตสังขารสงบก็รู้ (ครูบาอาจรย์บางรูป วินิจฉัยว่า ช่วงนี้จิตจะไม่กำหนดสัญญา) 9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต (พิจารณาสภาวะรู้(วิญญาณขันธ์)/ว่าจิตพิจารณารู้ในอานาปานสติอยู่
    10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิง (มโน-สภาวะที่น้อมพิจารณาเพ่งอยู่/จิตยินดีในองค์ภาวนาคืออานาปานสติ) ก็รู้
    11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (ในอารมณ์ฌานของอานาปานสติ) ก็รู้
    12.หายใจเข้า-ออกจิตเปลื้อง (ในอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตแห่งอานาปานสติ) ก็รู้
    13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง ) ในขันธ์ทั้ง 5 (มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์)
    14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ปรุงแต่ง (การไม่ปรุงแต่งภายนอก หรือวิราคะคือการมีมานะให้ค่าตีราคาสรรพสิ่ง เช่น ต้นไม้ย่อมมีลักษณะเป็นไปตามธรรมชาติ เราตัดสินว่าต้นไม้นี่ลักษณะสวย ต้นไม้นี่ลักษณะไม่สวย)
    15หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติด (การไม่ยึดมั่นภายใน หรือนิโรธ เช่นมีคนนำขวดน้ำมาวางไว้ข้างหน้าเรา ให้เรา ต่อมามีคนคว้ามันไปกิน เราโกรธว่ากินน้ำเรา คือ ความยึดมั่นนั้นเพิ่งเกิด เมื่อเราไปยึดไว้)
    16.หายใจเข้า-ออกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ (ปฏินิสสัคคายะ)

    • จัดให้ข้อ1-4เป็นกายานุปัสสนา
    • ข้อ5-8เป็นเวทนานุปัสสนา
    • ข้อ9-12จัดเป็นจิตตานุปัสนา
    • ข้อ13-16จัดเป็นธรรมนุปัสสนา
    อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมกับคนทุกคน และเลือกได้หลากหลาย มีความลึกซึ้งมากดังจะอธิบายต่อไป เนื่องจากอานาปานสติสามารถที่ภาวนาลัดให้มาสู่สัมมสนญาน 1ใน ญาณ16ได้ โดยไม่ต้องเจริญสติและพิจารณาสัญญา 10ไปด้วย เหมือนอย่างอื่นๆ
    เมื่อเจริญอานาปานสติตามข้อ1 สภาวะย่อมเป็นไปโดยลำดับจากข้อ 1 จนถึงข้อ12 จิตจะเป็นปฐมฌาณอันเกิดจากการเจริญสติ (เกิดสัมมสนญาณ) จะพบเห็นขันธ์ทั้งห้าที่หลงเหลืออยู่ในขณะขั้นเกิดดับได้ เมื่อขณะจิตเป็นฌาณ ซึ่งเหลือเพียง10สภาวะ

    • โดยที่ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์
    • ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข)
    • ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์
    • ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์
    • ข้อ11-12เป็นสัญญาขันธ์
    เมื่อเห็นขันธ์ทั้งห้า ตามตั้งแต่ข้อ1-12ย่อมเห็นขันธ์ห้า (อันมีลมหายใจเป็นตัวแทนแห่งรูปขันธ์) เกิดดับตลอดจนเห็นเป็นอนิจจัง ( ข้อ13หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ) โดยสมบูรณ์พิจารณาข้อ13ไปจนบรรลุข้อ14หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ปรุงแต่ง ,15พิจารณาโดยไม่ยึดติด ,16 หายใจเข้า-ออกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ


    ที่มา อานาปานสติ - วิกิพีเดีย
     
  13. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    อาพาธสูตร (คิริมานนทสูตร)

    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก
    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ เถิด พระเจ้าข้า"
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    "ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหา แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานนท์ภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคริริมานันทภิกษุ จะพึงสงบระงับโดยฉับพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการนั้นเป็นฐานที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน ? คือ -
    อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วสิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา ๑ และอานาปานัสสติ ๑
    ดูก่อนอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา
    ดูก่อนอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดีอยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
    ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา
    ดูก่อนอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแลเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ ว่า
    ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อสุภสัญญา
    ดูก่อนอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้นอาพาธต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ -
    โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝีโรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง
    อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
    ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นโทษในภายนี้ ด้วยประการดังนี้
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา
    ดูก่อนอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
    ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า ปหาน สัญญา
    ดูก่อนอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า วิราคสัญญา
    ดูก่อนอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา
    ดูก่อนอานนท์ สัพพโลเก อนภิรตสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละอุบาย (ตัณหาทิฐิ) และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และอนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
    ดูก่อนอานนท์ สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญาเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง แต่สังขารทั้งปวง
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุ อนิษฐสัญญา
    ดูก่อนอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษูในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
    เธอเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า เป็นผู้มีสติ หายใจออก
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นกำหนดรู้กาย (ลมหายใจ) ทั้งปวง หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา) หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้าย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตให้หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท หายใจออก
    ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืน หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสลัดคืน หายใจออก
    ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อานาปานัสสติ
    ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหา แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้ แก่คิริมานนทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุ จะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้"
    ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์
    ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่านพระคิริอานนท์ ได้สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น
    ก็แลอาพาธนั้น เป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ ละได้แล้วด้วยประการนั้น แล ฯ
    ที่มาhttp://www.larnbuddhism.com/grammathan/tripitakapatibat/apat.html
     
  14. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    อานาปานสติภาวนา
    <table bordercolordark="#79052C" bordercolorlight="#804000" style="font-family: 'MS Sans Serif'; line-height: 200%; margin-top: 0pt; margin-bottom: 0pt; margin-left: 0pt;" align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td height="33" width="369"> พุทธพจน์ และ พระสูตร ๗.
    </td> <td align="center" height="33" valign="middle" width="491">
    พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๓
    </td> <td align="right" height="33" valign="bottom" width="369">

    </td> </tr> </tbody></table> [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่.
    ก็ อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มอานิสงส์ใหญ่?
    ดู กรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า.
    เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.
    เมื่อ หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น.
    ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ย่อมสำเหนียก ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจ ออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุข หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต สังขาร หายใจ ออก ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจ ออก ย่อม สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความ เป็นของไม่เที่ยง หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียก ว่า จักพิจารณาธรรมอัน ปราศจากราคะ หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะ หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็น ที่ดับสนิท หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า.
    ย่อม สำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ สละคืน หายใจ ออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า.
    ดู กรราหุล อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
    ดู กรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะปัสสาสะ อันมีในภายหลัง
    อัน บุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.
    พระ ผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
    <center> จบ มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.
    </center>
     
  15. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    อานาปานสติสูตร นี้แบ่งสาระที่แสดงเป็นสำคัญๆ ได้ดังนี้ หลักการเจริญอา นาปานสต
    แสดงการเจริญอา นาปานสติ แล้วย่อมทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์
    แสดงการเจริญในสติ ปัฏฐาน ๔ ย่อมทำให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์
    และแสดงการเจริญใน โพชฌงค์ ๗ ย่อมยังให้ วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์
    การปฏิบัติในอานาปานสติ สูตรนี้ มีข้อสังเกตุประการหนึ่งว่า ล้วนเป็นการปฏิบัติที่ต้องมีสติที่หมายถึงการระลึกรู้กำกับทั้งสิ้น จึงเป็นการเจริญสมถวิปัสสนา จึงมิได้หมายถึงการปฏิบัติในแง่สมถสมาธิที่มีเจตนากำหนดเอาลมหายใจเป็นอารมณ์หรือเครื่องกำหนดของจิตเพื่อ ให้เกิดสมาธิหรือฌานขึ้น เพื่อให้จิต รวมลงสงบหรือสุขแต่อย่างเดียว ดังที่เห็นได้จากการ ปฏิบัติธรรมกันเป็นส่วนใหญ่ทั่วไป, ดังนั้นพึงแยกแยะให้ถูกต้องด้วยว่า ขณะนั้นปฏิบัติอะไร? ต้องการฝึกสติเพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิอันเป็นไปเพื่อการวิปัสสนา หรือฝึกฌานสมาธิล้วนๆอันเป็นเรื่องทั่วไปที่มีมานานแสนนานแม้ในเหล่าอัญญเดียรถี ร์ก็ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลเสียอีก อันจัดเป็นมิจฉาสมาธิ ฌานสมาธิจึงไม่ใช่เรื่องของพระ พุทธศาสนาแต่ฝ่ายเดียว, เพราะมีผู้ เข้าใจสับสนกันเป็นอันมากโดยเข้าใจความนัยๆอย่างผิดๆโดยไม่รู้ตัวไปเสียว่า อานาปานสติ คือการฝึกหรือปฏิบัติฌานสมาธิที่ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดหรืออารมณ์ เพื่อเข้าถึงความสุขสงบเท่านั้น จึงขาดการวิปัสสนาอันเป็นหัวใจของการปฏิบัติในพระศาสนาไปเสีย การปฏิบัติธรรมจึงยังไม่บริบูรณ์แต่ก็พาให้เข้าใจผิดไปว่าได้ปฏิบัติถูกต้อง หรือดีงามบริบูรณ์แล้ว จึงขาดความก้าวหน้า, ทั้งๆที่ตามความจริงแล้วอานาปานสติมิได้มีจุดประสงค์โดยตรงที่ฌานหรือสมาธิ(แต่ก็ทำ ให้เกิดฌานสมาธิขึ้นได้เช่นกัน!) แต่เป็นการฝึกให้มีสติตามชื่อพระสูตรอยู่แล้วพร้อมการวิปัสสนาคือสำเหนียก ที่แปลว่าศึกษานั่น เอง และสังเกตุได้ว่าสิ่งที่เกิดและกล่าวถึงในอานาปานสติสูตรนี้มีเพียงองค์ ฌานปีติ สุขเพียงเท่านั้นที่เด่นชัดขึ้น อันย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเมื่อมีจิตแน่วแน่เท่านั้นเพราะการอยู่กับการ ปฏิบัติหรือการพิจารณาธรรมต่างๆรวมทั้งสังขารกายอันเกิดแต่ลมหายใจ และจัดเป็นเวทนาคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากอานาปานสตินี้ คือสุขเวทนาของปีติและสุขนั่นเอง แต่ไม่ถึงขั้นเลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิระดับประณีตลึกซึ้งแต่อย่างใด จึงยังคง มีสติบริบูรณ์, แต่ถึงอย่างไรก็ตามทั้งสติและสมาธิก็มีความเนื่องสัมพันธ์ หรือเป็นเหตุปัจจัยกัน ดังนั้นในบางครั้งก็่เลื่อนไหลไป สู่ฌานสมาธิระดับลึกประณีตขึ้นก็เป็นไปโดยสภาว ธรรม(ธรรมชาติ)เนื่องจากการพักผ่อนในการพิจารณา เป็นไปโดยอาการธรรมชาติ แต่ล้วนต้องมิได้เกิดแต่เจตนาจากการติดเพลิน(นันทิ)ใน ความสงบ สุข ปีติ ฯ. จากผลของฌานสมาธิ อันเป็นตัณหาชนิดรูปราคะหรืออรูป ราคะอัน ละเอียดอ่อนแต่ประการใด(ซึ่งมักเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติแต่เป็นไปโดยไม่ รู้ตัว ในผู้ที่ขาดการวิปัสสนา) กล่าวคือ โดยมิได้ด้วยเจตนาทำฌานสมาธิ มีแต่เจตนา แรงกล้าในการฝึกสติให้เห็นธรรมในกายสังขารหรือ ธรรมอื่นๆประกอบไปด้วยเป็นสำคัญ
    กล่าวโดยย่อก็ คือ ถ้ามีสติพิจารณาอยู่ก็เป็นการเป็นสมถวิปัสสนาที่ประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนา กล่าวคือ เจริญทั้งสติ, สมาธิ และปัญญา, เพราะสตินั้นเนื่องสัมพันธ์ให้เกิดสมาธิด้วย และการพิจารณาตามดังธรรมบรรยายก็ยังให้เกิดปัญญา จึงเป็นการเจริญสมถวิปัสสนาอย่างครบถ้วนกระบวนความ, แต่ถ้าเพราะต้องการอาศัยลมหายใจ เป็นเครื่องกำหนดเพื่อให้จิตสงบแน่วแน่แต่ฝ่ายเดียวก็เป็นการเจริญแต่สมาธิ แต่ถ้ายึดในอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือลงภวังค์ก็เป็นเจริญฌาน ที่ปฏิบัติกันโดยทั่วๆไปในอัญญเดียรถีร์ด้วย จึง ควรทำให้ถูกต้องตามเจตนาด้วย จึงจักถือว่าถูกต้องดีงาม เพราะลม หายใจนั้นสามารถใช้ เป็นอารมณ์หรือเครื่องกำหนดในการปฏิบัติ วิปัสสนา สติ สมาธิหรือฌาน ก็ได้ ขึ้นอยู่กับนักปฏิบัติเองเป็นสำคัญ อันจะเกิดขึ้นและเป็นไปดังนี้
    กล่าวโดยสรุป ในการปฏิบัติโดยย่อก็คือ จิตที่สงบสบายแต่อานาปานสติแล้ว ดำเนินต่อไปในการเจริญวิปัสสนาต่างๆเสียนั่นเอง
    มิจฉาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีมิจฉาสติ
    สัมมาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีสัมมาสติ
    มิจฺฉาสติสฺส มิจฺฉาสมาธิ ปโหติ
    สมฺมาสติสฺส สมฺมาสมาธิ ปโหติ
    (อวิชชาสูตร ๑๙/๑)
    ที่มา http://www.nkgen.com/37.htm
     
  16. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    คุณ ไข่น้อย

    อานาปานสตินี่มีความพิสดารให้เห็นหลากหลาย
    อย่างเช่นละเอียดเข้าไประดับหนึ่ง
    ร่างกาย กับ จิต ก็ต่างกัน
    จิตเราก็อย่าง ร่างกาย ก็อย่าง ต่างอันต่างจริงของตนเอง

    ยิ่งละเอียดเข้าไปอีก
    ลมหายใจก็อย่าง จิตก็อย่าง
    สุดท้าย จิต กับลมหายใจ กับร่างกาย
    กับสิ่งต่าง ๆ ที่กระทบทางอายตนะ 12
    ต่างเป็นคนละส่วนกับจิต
    จิตทรงตัวอยู่อย่างอิสระ
    แยกขาดจากลมหายใจ ร่างกาย
    และสิ่งต่าง ที่กระทบทางอายตนะ
    เปรียบน้ำกับน้ำมัน


    อานาปาสติสามารถประสานกับลมต่าง ๆ ทั่วกายได้
    และสามารถประสานกับลมภายนอกได้
    เมื่อจิตเป็นสมาธิ
    ขณะเดินราวกับเหาะลอยไปได้
    ช่วงผมบวช เดินไปบิณฑบาตร
    ราวกับว่าเหาะลอยไป
    เพราะกายเบา จิตเบา

    ผู้ที่วาโยกสิณัง
    ก็เพ่งลมหายใจได้
    สามารถเพ่งให้เห็นลมหาย
    ที่ออกมาจากทางจมูกได้
     
  17. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    โปรดอ่านความเห็นที่ 75 อีกครั้ง
     
  18. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เอาปริยัติมาพูดไม่สนุกครับ
    ตัวหนังอ่านไปก็ได้แต่ความจำ

    เอาปฏิบัติ ปฎิเวธ ที่คุณปฏิบัติได้มาคุยกันดีกว่าครับ
    ใครรู้ใครเห็นตรงไหนดี ๆ จะได้ส่งเสริมกำลังในการปฏิบัติกันครับ

    ว่ามาเลยครับ...
     
  19. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    ขอบใจมั่กๆนะ อาเต้าเจี้ยว First of mayจินๆเลย

    เหล่าฮูก็ลองหลายแนวทางน่ะ เกิดสงสัย เพราะเจอพวกที่เค้าศึกษาอภิธรรม เค้าว่าบริกรรมเป็นสมมุติ ไม่เป็นวิปัสสนา เลยค้นคว้าเพิ่มจากการปฎิบัติตามๆไป
    ภายหลังการปฎิบัติมันล้าๆ มาได้คำว่า"ทำจริงก็ได้จริง"ของหลวงพ่อนี่แหหละ ทีนี้เลยตั้งใจจริงๆ ทำตามอย่างทิ้งความรู้ต่างๆกองไว้ก่อน ก็ปรากฏว่าอัศจรรย์ใจ เลยหายสงสัย

    ส่วนคำบริกรรมนี้ ก็เป็นดังว่าจินๆ ถ้าเริ่มต้นปฎิบัติ มันเหมือนลอยคออยู่กลางทะเลไม่มีอะไรให้เกาะ เจอขอนไม้ก็เกาะไปเรื่อยๆจนเริ่มเห็นทิศทาง พอเริ่มได้จังหวะดี เห็นชายฝั่ง ก็ทิ้งขอนไม้และเริ่มว่ายไปอย่างมั่นใจ เรื่องการบริกรรมคงเทียบเคียงได้แบบนี้มัง เนาะ

    อยู่บ้านนี่ ขี้เกียจมากมาย ด้วยเหมือนกัน ง่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2010
  20. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    อาไข่นุ๊ยแม่นยำกว่าเหล่าฮูแฮะ 16คู่จินๆด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...