สมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐาน หลวง พ่อเทียน จิตฺตสุโภ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ไข่น้อย, 23 เมษายน 2010.

  1. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    สมถกรรม ฐาน วิปัสสนากรรมฐาน คือว่า ฐานนี้มันเป็นอันเดียวกัน สมถกรรมฐานมันก็ชื่อว่าฐาน วิปัสสนากรรมฐานมันก็เป็นฐานอันเดียวกัน สมถกรรมฐานเป็นอธิบายให้สงบจิต วิปัสสนากรรมฐานเป็นอธิบายให้เกิดปัญญา สมถกรรมฐานไม่ได้มีปัญญา เพียงได้ความสงบอย่างที่เราไปทำ จะเป็นทำพุทโธก็ตาม หลวงพ่อเคยทำมาแล้ว ภาวนาหายใจเข้า พุท หายใจออก โธ ก็ตาม หรือจะเป็นวิธีนับ 1-2-3 หายใจเข้า 1 หายใจออก 2 หายใจเข้า 3 หายใจออก 4 ไปถึง 10 อันนี้ท่านก็ว่าเป็นกรรมฐาน บางคนก็ว่าเป็นวิปัสสนา หรือวิธีพองหนอ-ยุบหนอ ก็เป็นสมถกรรมฐาน ซึ่งมันไม่เกิดปัญญา แต่พูดว่าเป็นวิปัสสนากรรมฐานเป็นการสมมติพูด
    บัดนี้เรามาดูลมหายใจเข้าสั้นออกยาว เข้ายาวออกสั้น ลมหยาบลมละเอียด อันนี้คือวิปัสสนาที่หลวงพ่อเคยทำมากับอาจารย์ ความจริงมันสงบ เมื่อมันสงบแล้วเราไปนั่งหลับตานึกในใจไม่ให้มีเสียง พอนั่งจนได้ความสงบแล้วกมาพิจารณาถึงอสุภะ พิจารณาขี้หู ขี้ตา เป็นอสุภะอย่างนี้นะ ครูบาอาจารย์สอนอย่างนั้นนะ ออกทางตาเรียกว่าขี้ตา ออกทางหูเรียกว่าขี้หู ออกทางศีรษะเขาว่าขี้หัว ออกที่รักแร้เขาว่าขี้เต่า เขาว่าอย่างนั้น คนไม่รับของจริง ออกที่ลิ้นที่ปากที่ฟันอะไรก็ตาม เขาให้พิจารณา อันนี้เขาเรียกว่าปัญญาของวิปัสสนา แต่หลวงพ่อคิดว่าไม่ใช่เป็นปัญญาของวิปัสสนา มันเป็นปัญญาของสมถะ มาคิดเอาเอง เพราะมันไม่มีญาณปัญญา คือมานึก มาคิด มาพิจารณาเอาว่าเป็นวิปัสสนา เห็นความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เหล่านี้เป็นอสุภะ เขาเรียกว่าวิมุติ ตำราครูบาอาจารย์สอนอย่างนั้น
    เมื่อ หลวงพ่อไปทำ มันไม่เป็นอย่างนั้น คือทำมาแล้วหลายปี ทำความสงบนี้มันไม่เกิดปัญญา แต่มันสงบได้ ในขณะที่เราอยู่คนเดียว เมื่อไปเข้าสังคมแล้วมีคนนั้นพูดมา คนนี้พูดมาเราก็เป็นคนรับ รับไม่ไหวเลย รับอารมณ์ของเพื่อนไม่ไหว บางทีก็ดีใจ บางทีก็เสียใจ ดีใจเสียใจเป็นทุกข์ โกรธขึ้นมานี่ เกลียดคนนั้นคนนี้ แล้วบางทีก็นึกว่า เขาจะว่าเราอย่างนั้น นึกว่าเขาจะว่าเราอย่างนี้ มันนึกคิดขึ้นมาเพราะมันไปสงบแล้วกลับมาอยู่ที่มันไม่สงบ นี่คือสมถกรรมฐาน มันไม่ได้เกิดปัญญา ท่านว่าคนจะล่วงทุกข์ไปได้เพราะปัญญา ก็มาพิจารณา อ้อ ! เขาเรียกว่าเป็นปัญญาของวิปัสสนา ตาเห็นเป็นรูป รู้สึกว่ารูปว่านาม อย่าให้มันรู้จักว่าเป็นเสียงหญิงเสียงชาย ให้มันเป็นเพียงสักแต่ว่าเสียง การพิจารณาอย่างนี้เขาก็เรียกว่าเป็นวิปัสสนา แต่ความจริงมันมาพิจารณาเอาเอง ไม่ใช่เป็นปัญญา เป็นปัญญาพิจารณากับตำรา เมื่อมาพิจารณาแล้วมันจะเบื่อหน่าย แต่ตัวหลวงพ่อเบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ได้ เขาว่าวิมุติ คือความหลุดพ้น เขาว่าอย่างนั้น แต่มันไปไม่ได้อย่างนั้น หลวงพ่อเองนี่ ทำกรรมฐานมาแล้วหลายปี ทำมาตั้งแต่เมื่อเป็นเณร สึกออกมาเป็นหนุ่ม หลวงพ่อก็ทำกรรมฐาน หลวงพ่อไม่ได้ไปเที่ยวผู้หญิง เที่ยวกับคนเฒ่าคนแก่ คุยกับคนเฒ่าคนแก่ หลวงพ่อก็ต้องทำกรรมฐานได้มาก สอนคนเฒ่าคนแก่ ทำอย่างนั้นมันสบาย สงบนี่ เพราะตัวเองมีอย่างนั้น ก็ต้องสอนอย่างนั้น แต่ตัวเองนึกว่าเป็นวิปัสสนา คราวนั้นหลวงพ่อยังไม่รู้จักวิปัสสนา ยังไม่จักสมถะ อันใดเป็นสมถะ อันใดเป็นวิปัสสนา หลวงพ่อยังไม่รู้ บัดนี้ตอนที่หลวงพ่อมาบวชเป็นพระ เป็นพระหนุ่มอายุ 20 ปี ก็ทำแล้วนึกว่าตัวเองทำวิปัสสนา เดินธุดงค์บ้าง คือธุดงค์ต้องแบกกลดบาตรไปบิณฑบาตตามบ้านนั้นบ้านนี้ ก็เรียกว่าพระธดงค์นะ ไปนอนป่าช้าบ้าง นอนเรือนร้างคนบ้าง นอนตามไร่ตามนาตามสวน นอนตามหมู่นั้นแหละ นอนก็ภาวนาพุทโธบ้าง ดูลมหายใจบ้าง ลมหยาบลมละเอียด ลมสั้นลมยาวดู มันก็สงบ ออกจากความสงบมาแล้วก็มานั่งพิจารณาคิดเอา แล้วก็นึกว่าเป็นวิปัสสนาเหมือนกันนะ แต่ความจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น ไม่ใช่เป็นวิปัสสนา มันคิดขึ้นมาเอง อันนี้เราสร้างขึ้นมา
    บัดนี้ตอนที่หลวงพ่อจะได้รู้ว่า วิปัสสนากับสมถะต่างกันก็เมื่อทำบุญกฐิน หลวงพ่อเคยพูดให้ฟัง เมียถามเรื่องเงินจะเอาให้ค่าหมอลำเขาเท่าไร พูดเท่านั้นเอง หลวงพ่อก็ ตึ๊ก ! ไม่พอใจในอารมณ์นั้น มันรับไม่ไหวเลย แต่เราไม่รู้ เรามาพิจารณาคิดไปอย่างอื่น แต่เราไม่รู้ ไม่รู้ความคิดนี่เอง หลวงพ่อก็นึก ถ้าเอาชนะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เรียกว่าไม่มีรู้ เราต้องพยายามหาทางเอาชนะตัวนี้ให้ได้ แต่ในเมื่อเราไม่รู้ เราก็ต้องไปแสวงหาอาจารย์ อาจารย์นั้นสอนอย่างนี้อาจารย์นี้สอนอย่างนั้น ไปแล้วมันไม่ได้ผลทั้งหมดเลย หลวงพ่อไปเรียน ตอนที่หลวงพ่อจะได้ผลก็คือ หลวงพ่อต้องไม่ทำเหมือนกับอาจารย์สอน หลวงพ่อทำการเคลื่อนไหว ยกมือยกเท้าให้รู้สึกตัว ก้มเงยให้รู้สึกตัว เอียงซ้ายเอียงขวาให้รู้สึกตัว พริบตาก็รู้ หายใจก็รู้ จิตใจมันนึกมันคิดก็รู้ รู้อันนี้ ความรู้อันนี้มากขึ้นมากขึ้น มันเกิดญาณปัญญา อันนี้เป็นวิปัสสนาตรงนี้ มันไม่ได้รู้เหมือนกับตำราที่รู้ มันก็มารู้รูปรู้นามนี่เอง ว่าอันนี้เป็นรูปอันหนึ่ง อันนี้เป็นนาม รูปกับนามนี้มันติดกันอยู่ อันนี้เป็นวิปัสสนา แต่เป็นวิปัสสนาพื้น ๆ รูปกับนามมันแยกจากกันไม่ได้ แยกจากกันเมื่อไรตายเมื่อนั้น ให้เข้าใจอย่างนี้ แล้วก็เข้าใจรูปธรรมนามธรรม
    ธรรมะทีแรกหลวงพ่อเข้าใจว่ามันเป็นแสงเป็นสี หรือว่าลอยเข้ามา นึกเอาพระพุทธเจ้ามาไว้ในใจ เข้าใจอย่างนั้นว่าเป็นธรรมะ เรียกว่าไม่รู้นั่นเอง เพราะความไม่รู้จึงคิดอย่างนั้น เมื่อมาเข้าใจอย่างนี้ โอ้...ธรรมะคือตัวเรานี่เอง คือทุกคนนี่เอง ผู้หญิงก็เป็นธรรมะ ผู้ชายก็เป็นธรรมะ แม้จะถือศาสนาไหนก็เป็นธรรมะ ธรรมะคือตัวคนนั่นเอง หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ อันนี้เป็นปัญญาของวิปัสสนา รู้อันนี้เป็นวิปัสสนา รู้โดยสมถะ หลวงพอไม่รู้ แต่คนอื่นอาจจะรู้ เมื่อรู้จักอย่างนี้ก็เลยรู้ รูปโรค นามโรค โรคนี้หมายถึงความแสบเผ็ด หรือความไม่สบายกายไม่สบายใจ เราพูดกันอย่างนั้น แต่ไม่ใช่อย่างนั้น คือความแสบเผ็ด คือคนอื่นพูดเข้ามาเราไม่สบายใจ นี่...อันนี้เป็นโรคทางจิตวิญญาณ ซึ่งพัฒนาได้ อันโรคเจ็บแข้งเจ็บขานี่พัฒนาไม่ได้ เจ็บหัวปวดท้อง เจ็บแล้วก็เปลี่ยนให้มันเลย อย่าไปทรมาน ครั้นไปทรมานก็ฝืนมันแล้ว ผิดคำพูดคำสอนที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเบียดเบียนตนเองและเบียดเบียนคนอื่น นั้นไม่เป็นธรรม นั้นไม่เป็นวินัย ไม่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ควรศึกษาและไม่ควรปฏิบัติ ท่านพูดไว้ดีแล้ว แต่ก่อนนั้นหลวงพ่อนั่งเจ็บแข้งเจ็บขาก็ต้องทนเอา เวทนาหนอ ๆ ต้องพูดอย่างนั้นให้รู้สึกจนมันหายไปหมด มันไม่ใช่หาย มันมึนมันชาเราก็ลืมไปเท่านั้นเอง มันไม่ได้หาย อันนั้นเป็นสมถะ
    บัดนี้พอดีเรามารู้อันนี้ มันชาแข้งชาขา เราก็เปลี่ยนให้มัน แล้วไปรู้จักทุกข์อันนี้ สภาพที่เปลี่ยนนี้ มันคือทุกข์ ทุกข์แปลว่าทนไม่ไหว มันทนไม่ไหว นั่งนิ่ง ๆ ไม่ได้ มันต้องมีอิริยาบถ มันก็ไปตรงเอากับที่ พระพุทธเจ้าสอนคือ ให้มีสติกำหนดรู้ในอิริยาบถต่าง ๆ ยืนให้มีสติรู้ เดินให้มีสติรู้ นั่งให้มีสติรู้ นอนให้มีสติรู้ แล้วเท่านั้นก็ยังไม่พอ คู้ เหยียด เคลื่อนไหวโดยวิธีใดก็ตามให้มีสติรู้ ตัวรู้นี่มันทำงานของมันเอง มันทำหน้าที่ของมัน บัดนี้เคลื่อนไหวโดยวิธีใดก็รู้ ความรู้อันนี้ก็เลยเกิดเป็นปัญญา เป็นปัญญาของวิปัสสนา อันนี้ไม่ต้องไปพิจารณาอย่างนั้น ก็เลยรู้รูปโรค นามโรค รูปอันนี้เกิดขึ้นมาก็ต้องเป็นโรค โรคอันนี้พัฒนาไม่ได้ มีแต่ไปให้หมอรักษา หมอก็ไปตรวจเช็คร่างกาย เขาก็ให้ยามากิน บางทีก็ดีบางทีก็ไม่ดี บางทีก็ตายนะ โรคนี้ หมอก็ตายเป็นนี่ เข้าใจอย่างนั้น บัดนี้โรคทางจิตใจ ดีใจ เสียใจ คนมาพูดให้เราชอบ เกลียด อันนี้โรคจิตวิญญาณ เป็นโรคเหมือนกัน เขาเรียกว่า รูปโรค นามโรค รูปโรค นามโรค จึงมี 2 อย่าง อันนี้จิตวิญญาณเป็นโรค อันนี้พัฒนาได้ คือพัฒนาไม่ให้มันโกรธได้ ทำได้จริง ๆ อันนี้เป็นวิปัสสนาแล้ว บัดนี้พอได้เห็น โอ้...มันเป็นอนิจจัง มันเป็นทุกขัง มันเป็นอนัตตา มันทุกข์ทนไม่ไหว เราพูดอย่างนั้น
    เมื่อรู้สึกอันนี้แล้วก็รู้จักสมมุติ สมมุติผี สมมุติเทวดา สมมุตินรก สมมุติสวรรค์ สมมุติว่าวัด สมมติว่าโบสถ์ สมมุติว่าพระพุทธรูป อย่างหลวงพ่อก็สมมติ อย่างผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ตำรวจ ทหาร เป็นสมมติทั้งนั้น แต่ตัวสมมุติเองน่ะ มันไม่รู้ คนไปสมมุติให้มันเพื่อจะให้รู้จักหน้าที่เท่านั้นเอง นรกก็ไม่ได้หมายถึงใต้ดิน หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น แต่ก่อนหลวงพ่อรู้จักว่านรกต้องอยใต้ดิน เพราะครูบาอาจารย์สอนอย่างนั้น นรกมีหลายนรกโลกันต์นรก นรกอเวจีก็หนัก เมื่อมาเข้าใจอย่างนั้น นรกก็คือความเดือดร้อนนั่นเอง ร้อนน้อยตกนรกน้อย ร้อนมากตกนรกมาก ร้อนสุดขีดก็ตกอเวจีเลย หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น ตายไปก็ต้องไปตกนรกจริง ๆ ถ้ามันมี ถ้ามันไม่มีก็ทุกข์เดี๋ยวนี้ หลวงพ่อเข้าใจสวรรค์คือ คนใจดี ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง ก็เหมือนสวรรค์ สวรรค์ก็อยู่กับเรานี่เอง บัดนี้เขาให้ชื่อว่า ไปเกิดเป็นเทวดา เทวดานี่ก็สมมติขึ้นมา คนไม่โกรธเขาว่าเป็นเทวดา ก็เลยรู้จัก เทวดาก็ไม่ได้หมายถึง ตายแล้วจึงไปสวรรค์ คือมันสบายเดี๋ยวนี้ แล้วก็ถ้าหากสวรรค์มีจริงก็ต้องไปสวรรค์ เข้าใจอย่างนั้น อันนี้เป็นปัญญาของวิปัสสนา รู้ขึ้นมาเอง ไม่ใช่รู้จากการพิจารณา
    เมื่อ รู้จักอันนี้ ก็รู้จักศาสนาขึ้นมา ศาสนาจึงคือตัวคนทุกคน ผู้หญิงก็เป็นศาสนา ตัวทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา เป็นศาสนาทั้งนั้น ถ้าจะพูดมากเรื่องศาสนานี่ ศาสนาแปลว่าคำสั่งสอนของท่านผู้รู้ ใครรู้เรื่องใดก็นำมาสอน สอนให้ละชั่วทำดี ตัวคนจึงเป็นตัวศาสนา พุทธศาสนาบัดนี้ พุทธะคือตัวเรา เคลื่อนไหวรู้ ลองพลิกมือดูรู้ไหม นั่นแหละ ตัวรู้ ตัวนี้จึงเป็นปัญญาพุทธะ พุทธะจึงแปลว่าผู้รู้ มันรู้มากเข้ามากเข้า ความไม่รู้มันหายไป จึงว่า พุทธะคือผู้รู้ จึงว่าพระพุทธเจ้าคือคนธรรมดา หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น ทุกคนเป็นพุทธะได้ แต่ไม่ใช่เป็นพระพุทธเจ้า แต่เป็นพุทธสาวกหรือสาวกพุทธะ หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น บัดนี้เมื่อรู้สึกอันนี้ก็จบ แล้วก็รู้จักบาป บาปคืออะไร บาปก็คือโง่นั่นเอง คือไม่รู้นั่นเอง เขาบอกอะไรเชื่อไปตะพึดตะพือ ว่าทำอย่างนั้นได้บุญ ทำอย่างนั้นไปเกิดสวรรค์ ทำอย่างนั้นไปอย่างนั้น ทำอย่างนั้นไปตกนรก แต่ไม่ใช่ตัวหลวงพ่อว่า พ่อแม่ครูอาจารย์สอนอย่างนั้นก็ต้องจำมา หลวงพ่อก็เคยพูดให้คนอื่นฟัง บาปคือไม่รู้อันนี้แหละ รู้อันนี้แล้วก็แปลว่าบุญ บุญคือรู้ รู้ทุกอย่างทีเดียว ก็เลยจบภาคต้นของวิปัสสนา
    สมถะไม่ รู้อันนี้ เรียกว่าทำอย่างไรก็ตามมันไม่รู้อย่างนี้ สมถะคือ รู้มาพิจารณาเอาเอง มานึกมาคิดตามตำรา นั่นเป็นวิปัสสนา เขาว่าอย่างนั้น แต่หลวงพ่อว่าอันนั้นเป็นสมถะ แต่ตัววิปัสสนาหลวงพ่อรู้ พูดนี่ ไม่ต้องพิจารณา เพราะว่าสัญญาความหมายรู้จำได้ ตัวสัญญามันจะรู้มันเอง เมื่อรู้อันนี้แล้วก็ทำธุระ เรียกว่าให้มีสติรู้อยู่เสมอนี่แหละ ก็เลยรู้สึกความคิด มันคิดขึ้นมา ก็เห็น ก็รู้ รู้จริงๆนะ อันนั้นรู้แล้วมันไม่เข้าไปในความคิด ถ้าหากรู้แล้วมันเข้าไปในความคิด อันนั้นเป็นวิปัสสนูแล้ว แต่ในขณะเป็นนั้นยังไม่รู้ เมื่อเรา...สมมติเอานะ เมื่อเราคลายไปแล้วจากวิปัสสนู จึงจะรู้จักวิปัสสนู คล้าย ๆ คือเราเกิดมานี่ เมื่อใหญ่เราไม่รู้สึกว่าใหญ่ จนถ้าเราใหญ่เต็มที่แล้วจึงไปเห็นเด็กน้อย โอ้... เด็กน้อยเป็นอย่างนี้เอง แล้วเราก็ได้คิดย้อน โอ้... เมื่อเราเป็นเด็กน้อย เราก็เป็นอย่างนี้ จึงได้คิดย้อนมาเป็นอย่างนี้ เมื่อเรากำลังโตขึ้นไปนี้เราไม่รู้ โตเมื่อไหร่ไม่รู้ คืออันนี้เป็นวิปัสสนา โตเมื่อไหร่ไม่รู้ จนมันถ้วนตัวมันแล้ว โอ... เราเป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นพ่อคนแม่คนแล้ว สมมุติเอานะ ใหญ่แล้วรู้จักหน้าที่ อันนั้นเป็นวิปัสสนา แต่สมถะนี่ไม่รู้อย่างนี้ ที่หลวงพ่อพูดมานี่ หลวงพ่อไม่รู้อารมณ์เหล่านี้ หลวงพ่อไม่รู้ เพราะครั้งนั้นหลวงพ่อทำสมถะ
    อารมณ์ของสมถะก็ตาม วิปัสสนาก็ตาม ครูบาอาจารย์บอกต้องเรียนขันธ์ 5 ขันธ์ 5 คือ โปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ให้เรียนอันนี้ให้รู้จักขันธ์ 5 ครูบาอาจารย์สอนเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาได้ อันนั้นเป็นตำราเพียงพูดมาเท่านั้น แต่ว่าการรู้มันจะไม่รู้แบบนั้น บัดนี้เรียนขันธ์ 5 จบแล้วก็ต้องเรียนอายตนะ 12 อายตนะ 12 ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอายตนะภายใน อายตนะภายนอก ก็รูปตากับรูปกระทบกันก็เป็นรูป แต่ถ้าไม่มีตา จะไม่เห็นเป็นรูป เขาว่าอย่างนั้น ตากับรูป หูกับเสียง จมูกนี่ก็รู้จักเหม็นหอม มันใช้อย่างนั้น บัดนี้ กายนี้ก็รู้สึกสัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ปากเรากินอาหารเข้าไป รู้จักรส หวาน เปรี้ยว ให้เรียนอันนี้แล้วก็รู้จัก ธรรมารมณ์ เกิดกับใจ อันนี้ ตำราเขาบอกว่าต้องเรียนอันนี้ ต้องพิจารณาอย่างนี้จึงเกิดปัญญา แต่ทำวิธีนี้หลวงพ่อไม่รู้ รู้ตามตำราเท่านั้นเอง แต่มันไม่เป็น
    ตอนมาบำเพ็ญทางจิตหลวงพ่อเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นวัตถุทั้งนั้นแต่มันมา อย่างนั้นอย่างที่แยกกันมา มันเลยไม่ได้มาด้วยกันเลย มันไปคนละเรื่องกันเลย ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นวัตถุทั้งนั้น เห็นต้นไม่ก็เป็นวัตถุ แม้พื้นดินก็เป็นวัตถุ เห็นบ้านเห็นเรือนเป็นวัตถุทั้งนั้น วัตถุจึงว่าของจริง ปรมัตถ์ก็ของจริง อาการก็ของจริง ทำไมจึงว่าของจริง ต้นไม้เล็ก ๆ นานเข้ามันก็โตขึ้นมา แล้วก็ตายไป แล้วเป็นดิน ทีนี้ก็เป็นโคลน นาน ๆ ก็เป็นฝุ่นไป มันเป็นอย่างนั้น เป็นวัตถุจริง ๆ ในขณะที่เราเห็นนี่แหละ เป็นปรมัตถ์ สภาพมันเปลี่ยนแปลงตามเรื่องของมันเรียกว่าอาการ โอ้..คนก็เหมือนกัน เกิดมาแล้วก็ต้องเป็นวัตถุ แล้วก็ต้องเป็นปรมัตถ์ เป็นอาการ มันเปลี่ยนแปลงไป ถึงที่สุดคือความตาย ก็ต้องเห็นอันนี้ พอเห็นอันนี้ก็รู้จัก โทสะ โมหะ โลภะ เออ... พอเห็น โทสะ โมหะ โลภะ นี่จางคลายไปทันที
    หลวงพ่อจะเปรียบให้ฟัง ถ้าเราเอาน้ำสีที่เต็มกระป๋อง คุณภาพ 100% ไปย้อมผ้าขาว ผ้ากับน้ำสีจะติดกันทั้งหมดเลย ติดแล้วมันซักไม่หนีไม่จาง นี่เป็นอย่างนั้น เรียกว่าเมื่อเราทำสมถกรรมฐานอยู่ มันเป็นอย่างนั้น ดังนั้นแม่เทียนถามหลวงพ่อมันจึง ตึ๊บ ! มันแก้ไม่ได้ เพราะน้ำสีมันยังดีอยู่นะ มันยังเชื่อมเข้ากันได้ เรียกว่ามันสงบจิตเฉย ๆ แต่มันไม่ได้ใช้ปัญญา
    แต่บัดนี้หลวงพ่อพิจารณาได้แล้วอันนี้ หลวงพ่อมาทำแบบนี้แล้วมันกลายเป็นน้ำย้อมไหมหมดคุณภาพ น้ำย้อมไหมเคยรู้จักไหม น้ำย้อมเต็มกระป๋องเหมือนเดิม แต่คุณภาพไม่มี เอาไปย้อมผ้าขาว ผ้ากับน้ำสีมันจะไม่ติดกันเลย ติดกันได้น้อยที่สุดเรียกว่า เรื่องโทสะ โมหะ โลภะ จางคลายไป มันจางมันเอง ไม่ต้องไปทำอะไรมัน คือมันเป็นเอง เพราะว่าความเร็วของปัญญาหรือความเร็วของสัญญา หรือจะว่าอย่างไรก็ได้ คือสัญญาความหมายรู้จำได้ คือมันรู้สถานที่ ๆ นั้นเอง อันนี่เป็นวิปัสสนาที่หลวงพ่อรู้ รู้อันนี้ แล้วก็รู้ เห็น เข้าใจ กิเลส ตัณหา อุปาทาน บัดนี้ความยึดมั่นถือมั่นก็จางคลายไป เป็นอย่างนั้น สมถะไม่รู้อันนี้ สมถะตามที่หลวงพ่อเรียนก็ว่า ผมหงอก ฟันหัก เนื้อหนังเป็นอสุภะ อย่างนั้นไม่ควรที่จะไปยึดไปถือ ครูบาอาจารย์สอนอันนั้น หนังเรานี้คล้าย ๆ คือ หม้อ เคยรู้จักหม้อไหม หม้อปรุงอาหาร บัดนี้คล้าย ๆ คือ หนังเรานี่เป็นหม้อ แล้วเอาอสุภะข้างในนะอยู่ในหม้อ คล้าย ๆ คือว่าหนังนี้เป็นหม้อ หุ้มอสุภะ ท่านว่าอย่างนั้น จึงให้พิจารณาถึงสิ่งที่มันออกมาให้เห็น ขี้หู ขี้ตา มันมาจากหม้อหนังอันนี้รู้ไว้ ให้พิจารณาให้เห็นความเบื่อหน่าย พิจารณาแล้วมันเบื่อไม่ได้ แต่คนอื่นอาจจะเบื่อได้
    บัดนี้หลวงพ่อไม่ต้องพิจารณาถึงขี้หูขี้ตาอะไร ไม่ต้องพิจารณาแล้วทำไปเลยมันจะจางอันนี้นี่เอง จึงว่าอันนี้เป็นวิปัสสนา แต่อันนั้นก็เป็นวิปัสสนา ถ้าพูดตามครูบาอาจารย์สอน แต่หลวงพ่อว่ามันเป็นสมถะ แต่พรรคพวกว่าเป็นวิปัสสนา เราพูดกับเขาก็ต้องพูดไปอย่างเขา แต่ใจเราไม่พูดอย่างเขา แต่คำพูดพูดอย่างเขาได้ เพราะคำพูดมันเป็นเรื่องสมมติเท่านั้นเอง วิปัสสนาจึงว่าคล้ายๆ คือเอารถแทรกเตอร์ไถถนน รู้จักไถถนนไหม เอารถแทรกเตอร์ดันต้นไม้ ต้นไม้มันจะถอนรากถอนโคน บัดนี้สมถกรรมฐาน เปรียบเอาหินไปทับหญ้าเอาศิลาไปทับหญ้า ในขณะเมื่อหินเมื่อศิลาทับอยู่นั้นมันไม่มีหญ้า พอยกหินยกศิลาออกจากที่ดินตรงนั้นดินมันชุ่มหญ้ามันงอกมางามกว่าเดิม ดังนั้นคนทำสมถะ คนนั้นโกรธเร็ว โกรธแล้วหนีไม่ได้ ต้องบังคับมันไม่ให้โกรธ แต่มันหนักใจ พอดีหนักใจแล้วก็เข้าห้องเลย เข้าห้องอยู่คนเดียวไม่ต้องมองใครแล้ว นี่...มันผิดกันอย่างนั้น
    วิปัสสนาไม่ต้องเข้าห้อง ใครจะพูดอย่างไร ความเร็วของสติมันจะเข้าไป ตัวสัญญาตัวนั้นมันจะเข้ามาเอง จึงว่าสัญญาอันนี้ไม่ใช่สัญญาการเรียน สัญญาเกิดมาจากกฎของธรรมชาติ อันนี้เป็นวิปัสสนา หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ เมื่อเห็นอันนี้เข้าใจอันนี้แล้วไม่ต้องพูด

    หลวงพ่อจะพูดขั้นตอนการรู้ต่อไปนะ ตอนนั้นยังไม่เข้าใจว่าสมถะคืออะไรยังไม่เข้าใจ แต่ว่ารู้แล้วแต่ยังไม่ชัด รู้อันนี้ก็เลยรู้จักศีล ศีลเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหยาบ ตำราเขาพูดอย่างนั้น สมาธิเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลาง ปัญญาเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างละเอียด หลวงพ่อก็เลยรู้ว่าไม่ใช่อย่างนั้น
    ศีลคือ ปกตินี่เอง ความปกติอยู่ที่ไหนก็ที่นั่นมีศีล ปกติได้เพราะ โทสะ โมหะ โลภะ จางไปแล้ว ความปกติเข้ามาแทนแล้ว แทนพวกนั้น.แทนพวกโทสะ โมหะ โลภะ คือว่ามันเข้ามาได้น้อย สมมติน้ำเต็มแก้วอย่างนี้ เราจะเททิ้งมากแล้วเหลือน้อยที่สุด แล้วมารินความปกติเข้าไปแทนที่ เข้าใจไหมพูดอย่างนี้ เข้าใจไหม มันแทนที่ได้แล้ว น้ำมันก็ไม่กระเพื่อมแล้ว บัดนี้เป็นปกติก็เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรม นี้จางคลายไป
    กรรมก็เรียกว่าวิบาก ว่าอย่างนั้น วิบากก็คือความทุกข์ คือการกระทำ คำว่าวิบากคือ เสวยอารมณ์ บัดนี้มันจางไปแล้ว ตัวปกติก็เข้าไปแทนอยู่แล้ว บัดนี้ก็เลยรู้จักปกติ รู้จักแล้วบัดนี้ สมถะมันไม่รู้อันนี้ มันมีแต่ความสงบเท่านั้น จึงว่ามันมีอารมณ์มาอย่างนี้ ก็เลยรู้จักสมถะ สมถะจึงว่าไม่รู้ แต่คนอื่นอาจจะรู้ก็ได้ หลวงพ่อไม่รู้ พอรู้จักสมถะแล้ว ก็นึก อ้อ... ศีลเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างหยาบจางคลายแล้ว สมถะเกิด สมาธิกำจัดกิเลสอย่างกลางนั่นเอง ก็คือความไม่รู้ตัว ความสงบนี่เอง ก็ไปนั่งสงบเป็นกิเลส สงบอยู่ด้วยอารมณ์ เขาว่ากามารมณ์ ยินดีในอารมณ์ เขาว่ากามาสวะ อาสวะ คือกาม ภวาสวะ อาสวะคือภพ อวิชชาสวะเพราะไม่รู้ สมถะมันไม่รู้ เป็นวิปัสสนาไหมนี่ ดังนั้นสมถะไม่ต้องพูดถึงแล้ว สมถะมันมาไม่ได้อย่างนี้ มาได้ตามคำพูด
    จึงว่าจำพวกกามาสวะ ยินดีในกาม ยินดีในกามารมณ์ แล้วไปนั่งสงบ ภาวนา ดูลมหายใจ เข้าสั้นออกยาว ก็ตาม พองยุบก็ตาม นาน ๆ มันจะไม่รู้เลย ไม่รู้ว่าลมหายใจเข้าสั้นออกยาว มันจะไม่รู้ พองยุบมันก็จะไม่รู้ พุทโธมันก็จะไม่รู้ มันหายไปเลย มันก็นั่งสงบเท่านั้นเอง จึงว่าติดในอารมณ์นั้น เรียกว่ากามารมณ์ ยินดีในอารมณ์ของกาม คำว่ากาม ก็แปลว่า ยินดี นั่นเอง เรียกว่ากามารมณ์ เรียกว่าอาสวะ คือ กาม กามาสวะตกอยู่ในอำนาจของกาม เทวดาจึงว่ามีกาม เทวดาก็พวกทำดีนั่นเอง จำพวกทำกรรมฐาน เทวดาจึงมีกาม กามาสวะ อาสวะคือกาม
    ถ้าพูด อย่างนั้น อาสวะคือทุกข์ อาสวะคือกิเลส ว่าอย่างไรก็ได้ในเรื่องของคำพูด จึงว่า เทวดาต้องสมมติขึ้นมา จึงว่าเทวะก็เทวดา หมายถึงว่า สมมุติกเทวดา อุปติกเทวดา วิสุทธิเทวดา คือมีเงินมากก็ดีใจ มีคู่อยู่ด้วยกันสวย ๆ ก็ดีใจ มีเกียรติ มียศก็ดีใจ มีพ่อมีแม่ก็ดีใจ ดีใจตอนนี้แหละเขาเรียกว่ากามารมณ์ เรียกว่าอารมณ์นั้นนะเป็นกาม ยินดีในกามารมณ์ เรียกว่าอาสวะ เรียกว่ากามาสวะ กามาสวะคือเทวดา ตกอยู่ในอำนาจของกาม กามาสวะ
    ภวาสวะ คือภพชาติของเทวดา ต้องมี แต่ไม่ต้องไปมองเทวดาอยู่ใต้ดิน คือภพชาติของความทุกข์ คือ ภวาสวะ อวิชชาสวะคือไม่รู้วิธีกัน กันมันไม่ได้ จึงว่าเป็นอวิชชา คือความไม่รู้ ไม่รู้จริง มันจะกันได้อย่างไร คือมันไม่รู้ ความสงบอันนี้จึงว่า ไม่ใช่ไปนั่งสงบ มันสงบจากโทสะ สงบจากโมหะ สงบจากโลภะ สงบจากกิเลส สงบจากตัณหา สงบจากอุปาทาน สงบจากความไม่รู้ สงบจากกามาสวะ สงบจากภวาสวะ สงบจากอวิชชาสวะ เพราะเห็น จึงว่าเป็นวิปัสสนา จึงว่าเห็นแจ้ง รู้จริง ต่างเก่าล่วงภาวะเดิม เห็นจริง ๆ
    สมมุติว่าที่หลวงพ่อพูดนี่ พวกคุณจำได้ไหม เพราะว่าจะไปเขียนหนังสือ หลวงพ่อเคยไปพูดอยู่ที่หาดใหญ่ เขาก็บันทึกเอาได้จึงจำได้ แต่จำได้แบบนั้นมันไม่ใช่สัญญาอย่างที่หลวงพ่อพูด อันนั้นสัญญาความจำมาจากคนอื่น จำมาจากคำพูดคนอื่น ไม่ใช่เป็นของเรา ของเราแล้วมันไม่ต้องจำ คืออย่างคุณมีตาไหมเดี๋ยวนี้ มีไหม อยู่ที่ไหนตา แน่ะ ! จับถูกทันที อันนี้แปลว่าสัญญา มันมาจากธรรมชาติ พอใจมันคิดมันจะรู้เองนะ โทสะจะเข้ามามันก็รู้ โมหะจะหลงมามันก็รู้ โลภะจะเข้ามา เปลี่ยนแปลงมา หน้าตาอย่างไรก็รู้ จึงว่าสัญญาความหมายรู้จำได้
    อย่างที่คุณจำคุณวิรุจนี่ เห็นหน้าก็เข้าใจทันทีใช่ไหม แต่ไม่ต้องเอ่ยถึงคุณวิรุจก็ได้ แต่เห็นออกมาแล้ว นั่นล่ะ...ก็จะรู้ทันที มันเป็นอย่างนั้น สัญญาตัวนี้จึงว่าสัญญาความหมายรู้ สัญญาตัวนี้เป็นสัญญาของวิปัสสนา แต่ไม่ต้องไปพิจารณาถึงอสุภะ เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็ไม่ต้องพิจารณา
    บัดนี้ทางวิปัสสนาในตำราครูบาอาจารย์สอน เรียนขันธ์ 5 เรียนอายตนะ 12 ต้องเรียนธาตุ 18 นี่ ธาตุ 18 ก็คือ จักขุ คือตา จักขุธาตุ คือธาตุทางตา จักขุวิญญาณคือวิญญาณธาตุทางตา 3 คูณ 6 ก็ 18 เรียนตัวเดียวก็รู้ทันทีเลยที่หลวงพ่อเคยเรียน บัดนี้โสตะคือหู โสตะแปลว่าหูโสตธาตุคือธาตุหู โสตวิญญาณ ธาตุวิญญาณทางหู เพราะวิญญาณเป็นผู้รับ วิญญาณจึงแปลว่ารู้ ถ้าวิญญาณไม่รับรู้แล้วก็เข้ามาไม่ได้ วิญญาณจึงแปลว่ารู้ รู้กัน หรือรู้เข้าไป ถ้าเป็นวิญญาณรู้มาจากธรรมชาติเป็นรุ้กันรู้แก้ รู้จักเอาชนะ ถ้าเป็นวิญญาณที่รู้มาจากคนอื่นนะ วิญญาณรู้รับมา อวิชชาจึงแปลว่าไม่รู้ ไม่รู้มันจึงรับมา เมื่อไม่รับมาแล้วมันจะมาได้อย่างไร จึงว่า อายตนะภายนอก ภายใน เห็น แต่มันรับกันมา เพราะเราไม่รู้อายตนะนี่ กิเลส ตัณหา ตัณหาจึงเป็นยางเหนียว ยางมันเหนียว หลวงพ่อเคย ถ้าตัดขาดแล้วมันจะไม่ถึงกันเลย มันจะไปคนละเรื่องกันเลย จึงว่าอันนี้มันกันได้ อันนี้มันเป็นอย่างนั้น บัดนี้ เมื่อรู้อันนี้แล้ว พวกกามก็ไม่เกิดขึ้น กามารมณ์ที่เป็นความสงบอย่างนั้นอย่างนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะมันรู้ทันเหตุการณ์ ภวาสวะ ภพชาติ อย่างนั้นก็จะไม่มา ถึงมาก็น้อยที่สุด เพราะเรามีเครื่องกันไว้แล้ว อวิชชาปิดบังไม่ได้แล้ว เพราะแต่เดิมคว่ำหน้าอยู่ แต่บัดนี้เปิดหน้าขึ้นมาแล้ว มันเห็นแล้ว
    บัดนี้ การกระทำทุกอย่างก็ต้องรู้ ถ้าตำราเขาพูด ก็ว่าเป็นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน
    ปฐมฌาน ก็ว่ามีองค์ 5 มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคตา ท่านวางเอาไว้ แต่อันนี้ไม่ต้องพูดอย่างนั้น คือ เพียงเห็น รู้ เข้าใจแล้วจะเป็นฌานก็ได้ ไม่เป็นฌานก็ได้ มันจะแสดงตัวมันเอง เพราะตัวสัญญาตัวนั้นมันจะรู้เอง ตัวสัญญาตัวนั้น ตัวสังขารตัวนั้น ตัววิญญาณตัวนั้นมันจะรู้เอง จึงว่ามันมีศีล เรียกว่าปกติ คือมันเป็นปกติแล้ว มันจะไม่มีการดูดซึม มันเป็นอย่างนั้น มันจะไม่มีการซึมเข้าหากัน ถึงซึมก็น้อย คล้าย ๆ เหมือนเราปิดคลองน้ำ เคยรู้จักการปิดคลองน้ำไหม อย่าน้ำเราปิดท่อมนนี่ มันจะซึมออกมาก็น้อยนะ ถ้าเราปิดดี ๆ แล้ว มันจะไม่ซึมมาเลย มันจะอุดได้จริง ๆ นี่... มันเป็นอย่างนั้น อันนี้เรียกว่ารู้จักการทำบาป เห็น รู้ ทำบาปด้วยกาย ทำบาปด้วยวาจา ทำบาปด้วยใจ ทำบาปด้วยกายอันเดียวนี่ ทำบาปด้วยวาจาอันเดียว ทำบาปด้วยใจอันเดียวแล้วจะเห็น บัดนี้ทำบาปด้วยกาย ทำบาปด้วยวาจา ทำบาปด้วยใจทั้ง 3 อย่างนี้พร้อมกัน เราจะเห็นจะรู้อันนี้ เป็นบาปชนิดไหน มันจะรู้เอง ไม่ต้องถามใครเลยอันนี้ บัดนี้ทำบุญด้วยกาย ทำบุญด้วยวาจา ทำบุญด้วยใจ จะทำทีละชิ้น ทำบุญแต่กาย แต่ว่าใจไม่ได้ทำพร้อมกัน 3 ประเภทนี้เป็นอย่างไร ไปเกิดสวรรค์ บัดนี้ปากก็ทำ กายก็ทำ รู้จักทำเรียกว่าไปอยู่สวรรค์ นิพพาน จะรู้เห็นอย่างนี้ พอดีรู้เห็นอย่างนี้ สภาพความเคลื่อนไหวของร่างกายคล้าย ๆ คือว่า เรามีสัก 5 คน ก็ได้ หรือ 10 คนก็ได้ ไปทำงานด้วยกัน พอถึงเวลาหยุดทำ ก็วางมือได้พร้อมกันพรึ่บ งานก็ไม่มีทำ ถือว่าเราทำงานเสร็จแล้ว ถึงเวลาแล้วก็ต้องหยุดแล้ว พอดีตีระฆังปั๊บ...ก็หยุดงาน เรียกว่าทำไปไม่ได้ หลวงพ่อยังเปรียบเอาไว้ว่า บ้านหลวงพ่อเขาทำหิ้ง 3 ขา อย่างหนึ่ง ไม่ 3 ขา อย่างนี้นะ ไม่ 3 ขามันเป็นอย่างนี้ ถ้ามันมี 3 หลักอย่างนี้นะ มันจะไปทางนั้นทางนี้มันไม่ไป บัดนี้เราเอาขาอันนี้ออก มันต้องไปทางนี้ ไม่ไปทางนั้น ถ้าเอาออกขาเดียวตั้งไม่อยู่เลยนี่ หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ อันนี้จึงว่ามันทำลาย มันตั้งไม่อยู่ ก็แสดงว่ามันไม่ติดแล้วมันหมดทุกอย่างแล้วเท่านั้นเองไม่มีเรื่อง
    อันนี้ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาต้องรู้มาอย่างนี้ เห็นสภาพหรือภาวะเกิดดับอยู่ที่ตรงนี้ ทุกคนต้องประสบอันนี้จริงๆ หลวงพ่อจึงเคยพูดให้คนฟัง ถ้าหากยังไม่พบเดี๋ยวนี้จวนจะหมดลมหายใจต้องมาที่นี่ ไม่มาที่นี่ ไม่มีทางไป เพราะคนมันจะตายอยู่แล้ว มันจะสั้นเข้าสั้นเข้า มันจะไปรวมที่ตรงนั้นเอง เมื่อรวมตัวนี้แล้ว ลมหายใจก็หมดไป หมดไป คนก็หมด ตาย จึงว่าตายแล้ว คนไม่มีการเกิดอีกแล้ว ตายแล้ว จึงว่าคนมีกิเลส จึงเกิดอีกเพราะมันไม่รู้ มันก็เกิดอีก เกิดทุกข์ เกิดสุข เกิดดีใจ เสียใจ คนที่ตายแล้วก็อีกเรื่องหนึ่ง คนที่ตายเมื่อกี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ คำพูดอย่างนี้ อาการเกิดดับอยู่ที่ตรงนี้เอง พอดีเห็นอันนี้มันหมดกัน มันขาดกัน เรียกว่าไร้ญาติขาดมิตร สมมุติเอานะ เคยเห็นคนตายทางนี้ทำอย่างไร หลวงพ่อไม่รู้ อย่างสามีภรรยา ตายแล้ว เขาต้องมีดอกไม้หรือธูปเทียนไปขาด เคยเห็นไหมอย่างนี้ เอาดอกไม้ธูปเทียนให้กัน แล้วก็ ไร้ญาติขาดมิตร ไม่เป็นพี่เป็นน้อง ไม่เป็นสามีภรรยากันแล้ว ขาดกันแล้ว บ้านหลวงพ่อต้องทำอย่างนี้ ผัวตายก็เหมือนกัน ต้องไปขาดกันเลย เมียตายก็เหมือนกัน ต้องไปขาดกันเลย เพราะมันขาดออกจากกันแล้ว ลูกตายก็เหมือนกัน ขาดพ่อขาดแม่กันเลย แต่เพราะว่าทำอันนั้นเป็นสมมติ เป็นบุคลาธิษฐาน แต่ความจริงมันต้องปฏิบัติอันนี้
    จึงว่ามันไร้ญาติขาดมิตรจริง ๆ มันไม่ติดต่อกันแล้ว จึงว่าวิปัสสนาแปลว่าเห็นแจ้งรู้จริง สมถะ หลวงพ่อทำมาตั้งแต่อายุ 10 กว่าปีถึงอายุ 40 กว่าปี หลวงพ่อไม่รู้ แต่ครูบาอาจารย์เขาว่าหลวงพ่อทำวิปัสสนา หลวงพ่อก็เข้าใจว่าหลวงพ่อทำวิปัสสนา แต่มันไม่รู้ พอดีรู้อันนี้แล้วก็อ๋อ.. เข้าใจเลย สมถะมันไม่รู้อันนี้ แต่วิปัสสนารู้อันนี้ จึงว่ามันเดินคนละสายกัน แต่จะพูดให้มันอนุเคราะห์กันได้ หรือส่งเสริมเกื้อกูลกันได้ก็พูดอีกอย่างหนึ่ง ถ้าพูดส่งเสริมกันไม่ได้ ก็ต้องพูดอีกอย่างหนึ่ง พูดเอาใจคนก็ได้ พูดว่าพยายามบำรุงใจคน บำรุงคนกำลังช่วยให้เขารีบกินยา นั่นก็เรียกว่าเกื้อกูลกัน อย่างที่เกื้อกูลกัน ต้อรักษาศีล ต้องทำกรรมฐาน แล้วจึงพิจารณาวิปัสสนา นี่เกื้อกูลกัน เรียกว่าอนุเคราะห์คนป่วย ให้คนป่วยได้มาปฏิบัติเท่านั้นเอง แต่ความจริงแล้วจะรับศีลก็ได้ ไม่รับศีลก็ได้ จะพิจารณากรรมฐานก็ได้ ไม่พิจารณากรรมฐานก็ได้ เรื่องที่หลวงพ่อทำอยู่ แม้คนจะไม่เคยเข้าวัดสักครั้งก็ตาม ก็รู้อย่างที่หลวงพ่อรู้นี่ได้ แต่เขาจะไม่รู้จักชื่อ พอเราพูดปั๊บ เขาจะรู้ทันทีเลย เพราะสัญญาเขามีแล้ว เกิดแล้ว แต่เขาไม่รู้ สมมุตินาย ก. รู้จักคูณวิรุจ แต่ไม่รู้จักชื่อเท่านั้นเอง หน้าตาเป็นอย่างไรรู้จัก แต่ไม่รู้จักชื่อ พอเขารู้จักชื่อก็มี 2 แรงขึ้นมา โอ้.. คุณวิรุจเป็นอย่างนี้นี่เอง พูดอย่างนั้นได้ นี่มันเป็นอย่างนี้ เขารู้เห็นหน้าคุณวิรุจ แต่เขาไม่รู้ชื่อคุณวิรุจ จึงว่าญาณของวิปัสสนามีอยู่เช่นนั้น บัดนี้คุณวิรุจ เอ้า...คุณวิรุจนั่นมันรู้จักไหม รู้จักครับ นี่... มันรู้จักทันทีเลย เขาจะรู้ว่านี่คือทำให้จิตใจเปลี่ยนจากความเป็นปุถุชนเข้ามาสู่ความเป็น อริยบุคคล จะรู้เองว่าเราเป็นพระได้ เราจะรู้เองไม่ต้องไปถามใครเลย ตอนนี้แหละหลวงพ่อรู้ ไม่ต้องถามใครทั้งหมดเลย ใครจะว่าผิดก็เป็นเรื่อของเขา ใครจะว่าถูกต้องก็เป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่อของเรา เราต้องรู้เอง เรียกวาทิฐิของเรา ไม่ใช่จะไปเอาทิฐิคนนั้นคนนี้
    สัมมาทิฐิแปลว่าเห็นชอบ เห็นถูก ก็เห็นตัวเรานี้เอง ไม่ใช่ไปเห็นพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ไปเห็นพระธรรม ไม่ใช่ไปเห็นอะไรทั้งหนด เห็นการกระทำ การพูดการคิด นี่จึงว่าเห็นธรรมแท้ ก็เลยไปตรงเอากับพระพุทธเจ้าพูดกับพระวักกลิว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดไม่เห็นธรรมผู้นั้นไม่เห็นเรา จะจับนิ้วเท้านิ้วมือเราอยู่ ก็ไม่เห็นธรรม เพราะไม่เห็นเรา พระพุทธเจ้าจึงคือคนธรรมดานี่เอง นี่...มันเป็นอย่างนั้น ถ้าจะสอนให้ลัดนิดเดียวอึดใจเดียวก็ได้ บัดนี้เรามาเปรียบเทียบ สมมติเล่นการพนันนะ สามีภริยาก็ได้ หรือพ่อแม่ก็ได้นะ ผัวเมียก็ได้นะ กับลูก 3 คน ไว้ใจกันไม่ได้นะ เมื่ออยู่ด้วยกันก็กินข้าวร่วมกันได้ นอนบ้านเดียวกันได้ ทำอะไรด้วยกัน เงินกระเป๋าเดียวใส่ทันได้ พอดีเข้าวงการพนันแล้วไว้ใจกันไม่ได้เลย นี่...วิปัสสนากับสมถะ จึงว่าเข้ากันไม่ติด มันไว้ใจกันไม่ได้ เพราะสมถะมันมีแต่ข้างจะไม่รู้ ทางนี้ต้องพยายามให้รู้ มันเป็นอย่างนั้น คล้าย ๆ สมถะเป็นการปกปิด จึงว่าคล้าย ๆ คือว่าอยู่ด้วยกันไว้ แต่ไว้ใจกันไม่ได้ จึงว่าไม่ใช่ไปด้วยกันได้ มันต้องแตกกันไปตั้งแต่ต้น เพราะมันไม่รู้ตั้งแต่ต้นจึงว่าถ้าพูดอย่างนี้ก็เรียกว่าเกื้อกูล ถ้าพูดจริง ๆ ก็ว่าคนนั่งหลับตากับคนลืมตาเลยบัดนี้ คนหลับตาจะมองเห็นอะไร คนลืมตาต้องมองเห็น อันนี้ก็แปลว่าไม่เกื้อกูลกัน มันไปคนละทางกันแล้ว ถ้าเกื้อกูลกันก็เรียกว่า สมมติเอาพ่อกับแม่กับลูก อยู่ด้วยกัน แต่ไปเล่นการพนันกัน ไว้ใจกันไม่ได้ เกื้อกูลกันไม่ได้ เพราะอยู่ด้วยกัน อันนี้พอเป็นสังเขป ถ้าพูดแล้ว คนลืมตากับหลับตาไปด้วยกันไม่ได้ คนที่รักกับคนผู้ที่ไม่รักไปด้วยกันไม่ได้ มันเป็นอย่างนั้นนะ เรียกว่ามันผิดกันอย่างนี้ จึงว่ามันต่างกัน ถ้าพูดอีกอย่างหนึ่งนะ ถ้ามันเกื้อกูลกันนะ คนเกิดมาคลานเป็นนะ พวกคุณเคยเห็นเด็กน้อยเกิดมาคลานไหม บัดนี้ คนคลานกับคนเดินนี้เหมือนกันไหม มันไม่เหมือนกันแล้ว คนเดินกับคนคลานใครจะเร็วกว่ากัน บัดนี้คนเดินกับคนขี่ม้าใครจะเร็วกว่ากัน บัดนี้คนขี่ม้ากับคนขี่รถยนต์ใครจะเร็วกว่ากัน บัดนี้คนขี่รถยนต์กับคนขี่เครื่องบินใครจะเร็วกว่ากัน นี่ก็ต้องรู้จักว่ามันไปคนละเรื่องกัน อันนั้นต้องนอนกลิ้งไป สมถะต้องกลิ้งไป เพราะพิจารณาเอาเอง อันนี้ต้องขึ้นเครื่องบินไป ลงปุ๊บ...ทันทีเลย มันเป็นคนละเรื่อง ที่หลวงพ่อพูดนี้คือไม่ต้องไปพิจารณาอะไรทั้งสิ้น แม้ถ้าหากแก้อันนี้ไม่ได้แล้วก็เป็นสมถะทั้งนั้น ถ้าทำอันนี้แล้วมันแก้ตัวมันเอง มันเป็นเอง ความเป็นเองมันมีอยู่แล้ว อย่างที่พวกคุณนั่งคุยกับหลวงพ่ออยู่เดี๋ยวนี้ หลวงพ่อพูดให้ฟัง เป็นอย่างไรบ้างจิตใจ เฉย ๆ ใช่ไหม
    ลักษณะ เฉย ๆ นี่ ธรรมะก็เรียกว่า อุเบกขา วางเฉย อันนี้เขาว่าจิตของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าต้องมีจิตสงบ เขาว่าจิตใจสะอาด จิตใจสว่าง จิตใจสงบ อันนี้จิตใจพระพุทธเจ้า จิตใจบริสุทธิ์ จิตใจว่องไว จิตใจผ่องใสนี่ เมื่อจิตใจว่องไว ผ่องใส ตัดสินปุ๊บถูกเลย ก็เพราะมันไว เรียกว่าความรู้สึกอันนั้นมันไวที่สุด เพราะมันผ่องใส มันว่องไว ตัดสินปุ๊บ นี่ ! วิปัสสนา มันเข้าใจอย่างนี้ไม่มีใครจะมาตัดสินให้เรา จึงว่านี่เป็นสัมมาทิฐิ ที่หลวงพ่อพูดนี้เป็นทิฐิของหลวงพ่อ แต่คนอื่นจะว่าอย่างไรไม่รู้ แต่ทิฐิของหลวงพ่อเป็นอย่างนั้น ทิฐิจึงแปลว่า ความเห็น เห็นจริง ๆ เห็นถูกต้องเห็นตัวเราจริง ๆ เห็นกำลังมันนึกมันคิดจริง ๆ เห็นมันโกรธ มันไม่โกรธ เห็นจริง ๆ
    ที่มา:http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_thien/lp-thien_44.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 เมษายน 2010
  2. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ขอความกรุณาจากท่านๆทั้งหลายด้วยนะฮะ อิอิ
     
  3. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    ตามนั้นเลย อาไข่นุ้ย ตามนั้น
    วิธีปฎิบัติของท่านอาจดูไม่เหมือนแนวทางทั่วไป แต่ถ้าเทียบเคียงกับแนวทางของพระพุทธองค์จากพระสูตร ก็จะเป็นการตามรู้(กาย) แต่ภาษาของท่านอาจฟังยากนิดนึงจ้า เหล่าฮูเคยอ่านแล้ว ยากนิดนึง!
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ...วิปัสสนาไม่ต้องเข้าห้อง ใครจะพูดอย่างไร ความเร็วของสติมันจะเข้าไป ตัวสัญญาตัวนั้นมันจะเข้ามาเอง จึงว่าสัญญาอันนี้ไม่ใช่สัญญาการเรียน สัญญาเกิดมาจากกฎของธรรมชาติ อันนี้เป็นวิปัสสนา หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ เมื่อเห็นอันนี้เข้าใจอันนี้แล้วไม่ต้องพูด ...




    ไม่ต้องพูดเลย พี่ไข่น้อย ... :VO
     
  5. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ...
    (ไม่พูด อิอิ)
     
  6. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ลืมบอกเหล่าฮูไป

    หลวงพ่อเทียนไม่ได้เน้นตามรู้กายนะฮะ
    แต่เน้นขยับกายให้รู้สึกตัวต่างหากล่ะ
    พอรู้สึกตัวก็ตามรู้ทั้งกายและใจนั่นแหละฮะ

    ผมเข้าใจเช่นนั้นนะฮะ
    แผล่บๆ
     
  7. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431

    สัญญาจะเป็นผู้รู้ได้ยังไงครับ
    สติเป็นเครื่องระลึกรู้ของจิตครับ
    จิตคือผู้รู้

    แต่นี่บอกสัญญามันจะรู้มันเอง
    สัญญาจะรู้เองได้ยังไงครับ

    สัญญาคือจำได้หมายรู้
    อย่างเช่นเห็นควาย ก็หมายว่าควายใช่มั้ย
    นี่คนไทยหมายว่า ควาย

    แต่ฝรั่งควาย หมายว่า buffalo

    สัญญา ควาย ของไทย ก็คือควาย
    แต่สัญญา ควาย ของฝรั่ง ก็คือ buffalo

    พอฝรั่งพูดถึง buffalo แต่ไปพูดกับคนไม่รู้จัก abc เลยนี่
    เค้าก็รู้ไม่ได้ใช่มั้ยว่าฝรั่งพูดถึงควาย

    สัญญามันจะไปรู้เองได้ยังไง
    จิตไปหมายว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งต่างหาก เรียกว่า สัญญา

    คนไทย หมาย ควาย ว่า ควาย
    ฝรั่ง หมาย ควาย ว่า buffalo
    แล้วคนที่ไม่รู้ภาษากันและกันจะรู้เรื่องกันมั้ย

    แล้วอย่างนี้น่ะเหรอสัญญาจะรู้เอง....

    ทุกขัง....นะ
     
  8. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    จริงดิ !
    อันนี้ก็ไม่รู้นะ เหล่าฮูเคยแต่อ่านเทศนาของท่าน รวมทั้งเคยรู้มาว่าท่านสอนวิปัสสนาในแบบฉบับขยับมือพลิกไปมาเท่านั้น แต่ที่เหล่าฮูรู้จากพระพุทธเจ้า(พระสูตร) ก็เห็นว่าสอดคล้องไม่ขัดแย้งกับแนวทางสติปัฎฐานสูตร(ฟามเห็นส่วนตัวน่ะนะ) ทีนี้ที่ว่าเน้นขยับกายให้รู้สึกตัว ก็เข้ากับหลักการในสัมปชัญญะบรรพ เพราะสติปัฎฐานไม่ใช่สถานที่ ท่าทาง ปริมาณ นั่งนานมากน้อย แต่อยู่ที่การวางใจให้ถูกน่ะ แต่ผู้ปฎิบัติก็ต้องเข้าใจให้ถูกให้ตรงสักหน่อย เดี๋ยวเหมือนอุทาหรณ์ที่เคยเล่าให้ฟัง เลยได้ไปแต่ท่าทางน่ะ

    วิญญาณ ก็รู้(อายตนะทั้งหก)
    เวทนา ก็รู้(สุข ทุกข์ อทุกขมสุข)
    สัญญา ก็รู้ จำได้หมายรู้
    ที่ว่าจิตมันรู้ก็ใช่ แต่พูดแยกคนละsubsetน่ะ จิตคือ universe
    นาม คือ ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์
    ก็จิตนี่แหละที่เสวยอารมณ์ ไม่มีจิตก็ไม่มีเสวยอารมณ์
    แต่นี่พูดถึงการรู้ในรูปแบบต่างๆเท่านั้น

    "เรารู้จักเกลือด้วยอะไร"
    (ลิ้น)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2010
  9. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ยกตัวอย่างนะครับ
    เหมือนผมเคยเห็นคุณเตชไงครับ

    แต่ผมไม่รู้จักชื่อคุณเตซ
    บางคนเรียก ควาย
    บางคนเรียก buffalo

    ผมก็ยังไม่รู้หรอกว่าเค้าเรียกคุณเตช
    มารู้ตอนที่เห็นเค้าเรียกจริงๆว่า
    คุณเตช=ควาย=buffalo
    เลย อ๋ออออออ อย่างนี้นี่เอง
    เข้าใจไม๊ครับ

    เรื่องของสมมุติน่ะฮะ อย่าไปเครียด 555+


    อิอิ

    อยากได้ตัวอย่างเพิ่มบอกได้นะฮะ หุหุหุ
     
  10. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ถามจริง ๆ เถอะ เดี๋ยว ครับ เดี๋ยว ฮะ

    ตกลงเป็นผู้ชาย หรือผู้หญิง
    หรือว่าเป็นตุ๊ด

    เออ...จะเป็นอะไรก็เอาให้แน่
    แม้แต่หมามันยังรู้ว่ามันเป็นตัวผู้ตัวเมีย

    ถ้าแยกไม่ออกนี่อายหมามัน

    ทุกขัง...นะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2010
  11. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=N2H2OlJ9JdE"]How Can You Mend A Broken Heart[/ame]
     
  12. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    รู้จักตัวโกรธไม๊ฮะ
    Do you know the anger?
    에 대한 분노 또는 없습니다.
    ¿Conoces el enojo?
    あなたが怒りを知っていますか?
    Знаете ли вы, гнев?

    ใช้ google แปลฮะ
    ถูกบ้างผิดบ้าง
    ตามสมมติ
    getบ่อ้าย?

    ปล.หมานี่ไม่เคยอายมันเลยฮะ เจอหน้าชอบแหย่มันบ่อยๆ
    หมาโกรธไปหลายตัวละ อิอิ
     
  13. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ถูกต้องเลยฮะเหล่าฮู
    บางหมู่เหล่าได้ไปแต่ท่าทาง
    บางหมู่เหล่าได้ไปแต่คำพูดสมมุติ
    แต่นั่นแล
    กมฺมุนา วัตฺตตี โลโก
     
  14. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ไม่ใช่ภาษา พ่อ ภาษา แม่ ขี้เกียจสนใจ

    ตกลงเป็นตุ๊ด? หรือเปล่า....

    ทุกขัง...นะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2010
  15. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ยาราไนก๊า?
    やらないか?
    Do you want to try?
    Хотите попробовать?

    ลองดูไม๊ครับ เอ๊ย ฮะ
    หุหุหุ
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 เมษายน 2010
  16. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677


    ด้วยความเคารพน่ะครับ


    เทวดา ทำดีในระดับ กามาวจรกุศล จึงบังเกิดในสวรรค์ที่พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณ

    พรหม ทำดีในระดับ รูปาวจร และ อรูปาวจรกุศล (ผลของกรรมฐาน) จึงบังเกิดในพรหมโลกที่ห่างจากเบญจกามคุณ ครับ


    # ตามหลักปริยัติ

    ถ้านั่งภาวนาแล้ว ไปจบเพียงแค่ ความสงบ ไม่ว่าจะจบลงที่ รูปฌาน(เพราะ พัวพันด้วยรูปราคะ) หรือ อรูปฌาน(เพราะพัวพันด้วยอรูปราคะ) จนไม่ใช้ผลของจิตที่สงบมาเจริญวิปัสสนา นั้น ไม่จัดว่าเป็น ยินดีในอารมณ์ของกาม(กามรมณ์) ครับ


    จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์

    กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม, ความใคร่กาม
    (ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๑ ในอนุสัย ๗)

    รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม คือติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต
    (ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐)

    อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม, ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน, ความปรารถนาในอรูปภพ
    (ข้อ ๗ ในสังโยชน์ ๑๐)


    การติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน และ การติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน คือ ติดสุขในสมาธิ ...ท่าน ก็เรียกว่า ราคะ เช่นกัน.... แต่ ไม่ใช่ กามราคะ


    กาม กับ ราคะ ในภาษาพูดของคนไทย จะ มีความหมายเดียวกัน.... แต่ ในรากภาษาบาลี กาม ไม่ใช่คำๆเดียวกับ ราคะ ครับ.



    การติดสุขในสมาธิ ขั้น รูปฌาน เรียกว่า รูปราคะ ...ไม่จัดว่า เป็นกามรมณ์ ครับ

    การติดสุขในสมาธิ ขั้น อรูปฌาน เรียกว่า อรูปราคะ ...ไม่จัดว่า เป็นกามรมณ์ เช่นกัน ครับ


    หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต ท่านก็แยกชัดเจนน่ะครับ ...ระหว่าง กามสุข กับ สุขจากสมาธิ

    พระธรรมเจดีย์ :
    สุขมีประมาณน้อยได้แก่สุขชนิดไหน?

    พระอาจาย์มั่น :
    ได้แก่ สุขซึ่งเกิดแต่ความยินดีในกามที่เรียกว่า อามิสสุข นี่แหละสุขมีประมาณน้อย

    พระธรรมเจดีย์ :
    ก็สุขอันไพบูลย์ได้แก่สุขชนิดไหน?

    พระอาจารย์มั่น :
    ได้แก่ ฌาณ วิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน ที่เรียกว่านิรามิสสุขไม่เจือด้วยกาม นี่แหละสุขอันไพบูลย์


    ท่าน เจ้าคุณๆ พระพรหมคุณาภรณ์ ท่าน สรุปไว้ ดังนี้ น่ะครับ

    ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
    ท่านจำแนกความสุขออกไปทั้งโดยประเภท และโดยระดับเป็นคู่ๆ มากมายหลายคู่ เช่น
    สุขของคฤหัสถ์กับสุขของบรรพชิต
    กามสุข กับ เนกขัมมสุข
    โลกียสุขกับโลกุตรสุข
    สุขของพระอริยะกับสุขของปุถุชน เป็นต้น

    แต่วิธีแบ่งที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน ละเอียด และดูง่ายไม่ซับซ้อน น่าจะได้แก่วิธีแบ่งเป็น 10 ขั้น หรือความสุข 10 ขั้น ซึ่งมีที่มาหลายแห่ง แบ่งดังนี้
    (ม.ม. 13/100/96 ฯลฯ)

    1. กามสุข - สุขเนื่องด้วยกาม ได้แก่ ความสุขโสมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอาศัยกามคุณ 5

    2. ปฐมฌานสุข - สุขเนื่องด้วยปฐมฌาน ซึ่งสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา

    3. ทุติยฌานสุข - สุขเนื่องด้วยทุติยฌาน ซึ่งประกอบด้วย ปีติ สุข และเอกัคคตา

    4. ตติยฌานสุข - สุขเนื่องด้วยตติยฌาน ซึ่งประกอบด้วย สุข และเอกัคคตา

    5. จตุตถฌานสุข - สุขเนื่องด้วยจตุตถฌาน ซึ่งประกอบด้วย อุเบกขา
    และเอกัคคตา

    6. อากาสานัญจายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ซึ่งล่วงพ้นรูปสัญญาได้โดยสิ้นเชิง ปฏิฆสัญญาล่วงลับไปหมด ไม่มนสิการ
    นานัตตสัญญา นึกถึงแต่อวกาศอันอนันต์เป็นอารมณ์

    7. วิญญาณัญจายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึงวิญญาณอันอนันต์เป็นอารมณ์

    8. อากิญจัญญายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึงภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์

    9. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อันถึงภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

    10. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาปัตติสุข- สุขเนื่องด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ อันถึงภาวะที่ดับสัญญาและเวทนาทั้งหมด


    ถ้าจะจัดให้ย่อเข้า สุข 10 ข้อนี้ ก็รวมเข้าได้เป็น 3 ระดับ คือ

    1. กามสุข - สุขเนื่องด้วยกาม

    2. ฌานสุข หรือ (อัฏฐ) สมาปัตติสุข -สุขเนื่องด้วยฌาน หรือ สุขเนื่องด้วยสมาบัติ 8 แยกเป็น 2 ระดับย่อย

    2.1 สุขในรูปฌาน หรือสุขเนื่องด้วยรูปฌาน 4

    2.2 สุขในอรูปฌาน หรือสุขเนื่องด้วยอรูปฌาน 4

    3. นิโรธสมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยนิโรธสมาบัติ


    สุขทั้ง 10 ขั้นนี้ ท่านยอมรับว่าเป็นความสุขทั้งนั้น
    หากแต่เป็นความสุขที่ดีกว่าประณีตลึกซึ้งยิ่งกว่ากัน ขึ้นไปตามลำดับขั้น เพราะความสุขขั้นต้นๆมีส่วนเสียหรือแง่ที่เป็นทุกข์แ ทรกอยู่ด้วยมาก เมื่อเป็นสุขขั้นสูงขึ้นไป ก็ยิ่งประณีตบริสุทธิ์มากขึ้น

    ท่านสอนให้มองความสุขเหล่านั้นตามความเป็นจริง ทั้งด้านที่เป็นสุขและด้านที่มี ทุกข์เข้ามาปน คือมองทั้งส่วนดีและส่วนเสีย หรือทั้งแง่ที่เป็นคุณและแง่ที่เป็นโทษ- (เรียกเป็นศัพท์ว่าทั้ง อัสสาทะ และ อาทีนวะ)

    นอกจากนั้นยังให้รู้จักทางออก ทางรอดพ้นหรือภาวะเป็นอิสระที่ดีกว่าซึ่งไม่ขึ้นต่อส ่วนดี ส่วนเสียนั้นด้วย - (เรียกเป็นศัพท์ว่า นิสสรณะ)

    เมื่อเห็นโทษของสุขที่หยาบ ก็จะหน่ายหายติด และโน้มใจไปหาสุขที่ประณีตยิ่งกว่า
    เมื่อรู้จัก และได้ประสบความสุขที่ประณีตประจักษ์กับตัวแล้ว ก็จะละความสุขที่หยาบกว่าเสียได้ มุ่งบรรลุสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับ

    อย่างน้อยก็จะไม่มัวเมาหมกมุ่นในสุขที่หยาบนั้นจนเกิ นไป

    เมื่อใดจิตหลุดพ้นเด็ดขาดแล้วตัดเยื่อใยได้สิ้น ก็จะไม่วกเวียนกลับมาหาความสุขที่หยาบอีกต่อไป
    คงเสวยแต่สุขที่ประณีตสำหรับจิตที่เป็นอิสระอย่างเดี ยว

    ข้อนี้ก็เป็นลักษณะด้านหนึ่งของความก้าวหน้าในการปฏิ บัติธรรม

    ๆลๆ


     
  17. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    หลวงพ่อเทียนท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบครับ สิ่งที่ท่านสอนคือสติปัฏฐาน4 เป็นสิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติจนเห็นจริงแล้ว จึงนำมาสั่งสอนต่อครับ ภาษาปฏิบัติอาจเข้าใจยากกว่าสิ่งที่เรานึกคิดไปเอง
     
  18. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เคยเห็นพวกหมาเดือน 9 เดือน 12 มั้ย
    เวลามันต้องการเรื่องพรรค์นั้น
    มันชักมันชวนกัน มันไม่สนใจนะ
    ว่าเป็นที่สาธารณะ หรือ ที่ อสาธารณะ
    มันจะเอาให้ได้อย่างใจมันนะ

    ทุกขัง...นะ
     
  19. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    คุณเตช ..เขาพูดด้วยเหตุ ด้วยผลที่ดี...คุณก็ลามปามเขาอีก คุณนี่ไร้จิตสำนึกจริงๆมาเพื่อต่อต้านคนไม่เห็นด้วยหรือมาเพื่อศึกษาธรรม หรือมาอวดตัวนี่ จิตสำนึกคุณไม่บอกรึ..ไข่น้อย ?
     
  20. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    สิ่งที่สอนกันไม่ได้ก็คือ.. 'สามัญสำนึก'
    นะฮะ คุณเกิดฯ
    อิอิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...