นิพพาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 18 เมษายน 2010.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width=510 height=67>

    </TD><TD vAlign=bottom align=right width=355 height=67>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ
    ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ......"
    ภิกขุสูตร ที่ ๒ มหา. สํ. (๓๑-๓๒)
    แม้ยังไม่ถึงซึ่งพระนิพพาน แต่เมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องดีงาม ก็จักยังให้บรรลุผลด้วยการปฏิบัติอย่างถูกต้องดีงามในที่สุดนั่นเอง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพาน[/FONT] ตามความหมายของท่านพุทธทาสภิกขุ ในหัวข้อเรื่อง หลักธรรมสําคัญในพุทธศาสนา หน้า๑๘๔ ท่านได้ให้ความหมายที่กระจ่างชัดถูกต้องดีงาม จึงขอกราบอาราธนานำมาแสดงไว้ดังนี้
    "[FONT=Tahoma,MS Sans Serif] นิพพาน[/FONT] หมายถึง เย็นหรือดับลง เย็นเหมือนไฟที่เย็นลง หรือของร้อนๆอะไรก็ตามมันเย็นลง นั่นแหละคืออาการที่นิพพานล่ะ......เพราะฉนั้นคําว่านิพพานนั้นที่เป็นภาษาชาวบ้านแท้ๆ มันหมายถึงของที่ร้อนให้เย็นลงเท่านั้น แต่แล้วเราจะหมายความเพียงเท่านั้นไม่ได้ นั่นมันเป็นเรื่องของวัตถุ ส่วนนิพพานในเรื่องของธรรมะหรือทางศาสนามันหมายถึง เย็นลงแห่งไฟกิเลส ไฟกิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ จนเย็นสนิท จึงจะเรียกว่านิพพาน."
    ดังนั้นก่อนอื่น จึงควรทำความเข้าใจในพระนิพพานอย่างถูกต้องดีงามเสียก่อนว่า เป็นสภาวะที่ดับกิเลสหรือกองทุกข์ หรือกล่าวเน้นลงไปได้ว่า สภาวะที่ปราศจากอุปาทานทุกข์คือความทุกข์ชนิดที่ประกอบด้วยอุปาทานอันทำให้เร่าร้อนเผาลนด้วยเวทนูปาทานขันธ์(เวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน จึงไม่ใช่ทุกขเวทนาโดยธรรมหรือธรรมชาติ แต่เป็นทุกขเวทนาหรือความรู้สึกเป็นทุกข์อย่างเร่าร้อนเผาลนด้วยอุปาทาน) อันเกิดขึ้นเนื่องแต่อาสวะกิเลส,ตัณหา,อุปาทานนั่นเอง, เมื่อดับกิเลสจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความสุข สงบ สงัด อันบริสุทธิ์ยิ่งส่วนผลอื่นๆเป็นเพียงผลข้างเคียงอันอาจพึงบังเกิดขึ้นเท่านั้นเอง
    อนึ่งการจะเข้าใจพระนิพพานธรรมได้อย่างแจ่มแจ้งนั้น ต้องมีความเข้าใจในพระไตรลักษณ์เสียก่อน
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตามกฎพระไตรลักษณ์ มีพุทธพจน์ ที่ตรัสแสดงไว้ว่า[/FONT]
    <TABLE style="MARGIN-TOP: 3mm; MARGIN-BOTTOM: 3mm; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'" width=626 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=left width=215 height=38>สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา</TD><TD align=left width=114 height=38>สังขารทั้งปวง

    </TD><TD align=left width=124 height=38>ไม่เที่ยง

    </TD><TD align=left width=155 height=38>(อนิจจัง - อนิจจตา)

    </TD></TR><TR><TD align=left width=215 height=38>สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา</TD><TD align=left width=114 height=38>สังขารทั้งปวง

    </TD><TD align=left width=124 height=38>คงทนอยู่ไม่ได้

    </TD><TD align=left width=155 height=38>(ทุกขัง- ทุกขตา)

    </TD></TR><TR><TD align=left width=215 height=40>สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา</TD><TD align=left width=114 height=40>ธรรมทั้งปวง

    </TD><TD align=left width=124 height=40>ไม่เป็นตัวตน

    </TD><TD align=left width=155 height=40>(อนัตตา- อนัตตตา)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สังขาร[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง ในไตรลักษณ์จึงหมายรวมถึงทุกสรรพสิ่ง ทั้งรูปธรรม, นามธรรม, กุศลธรรม, อกุศลธรรม, ทั้งโลกียธรรม และโลกุตรธรรม ขันธ์ ๕ ฯลฯ. อันล้วนแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น ยกเว้นเพียง สภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติหรือ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ธรรมชาติ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] ดังได้กล่าวไว้โดยละเอียดแล้วในพระไตรลักษณ์หรือธรรมนิยาม ดังมี "[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]พระนิพพาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" อันเป็น"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สภาวธรรม[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]"อย่างหนึ่งที่เรียกว่าเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อสังขตธรรม[/FONT] คือสิ่งที่ไม่มีปัจจัยไปปรุงแต่ง, หรือ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สิ่งที่มิได้เกิดแต่เหตุปัจจัยใดๆไปปรุงแต่ง[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นั่นเอง[/FONT]หรือก็คือสภาวธรรมหรือธรรมชาติทั้งหลายนั่นเอง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ธรรม[/FONT] ในพระไตรลักษณ์ หมายถึงสภาวธรรมหรือธรรมชาติอันครอบคลุมทุกๆสรรพสิ่ง อันย่อมหมายรวม[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]พระนิพพาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ด้วย[/FONT] ดังกล่าวข้างต้น
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ขยายความ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]พระไตรลักษณ์[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]โดยย่อ เพื่อความเข้าใจในพระนิพพาน[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๑. [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนิจจตา[/FONT] ความไม่เที่ยง แปรปรวน ผันแปร ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดแล้วต้องเสื่อมหรือแปรปรวนไป
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังนั้นสังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง จึงหมายถึง สังขารสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอันล้วนเกิดแต่[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เหตุปัจจัย[/FONT] จึงล้วนไม่เที่ยง มีการผันแปร ปรวนแปรเป็นอาการธรรมดาไปตาม[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เหตุปัจจัย[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ที่มาประชุมรวมกันนั้น ไม่สามารถควบคุมบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้อย่างแท้จริง[/FONT] การควบคุมบังคับได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่ถือว่าควบคุมบังคับได้อย่างแท้จริง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๒. [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ทุกขตา[/FONT] ความทนอยู่ไม่ได้ เป็นสภาวะที่สุดของการแปรปรวน กล่าวคือ ต้องสลายตัวดับไปเป็นที่สุด, เป็นภาวะที่เกิดจากการถูกบีบคั้นจํายอมจากสภาวะของอนิจจตาที่แปรปรวนเป็นธรรมดาอยู่ตลอดเวลาที่เกิดขึ้น มองไม่ออกให้พิจารณาอะตอมที่มีอิเลคตรอนวิ่งรอบๆอย่างแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา จนดับไปเป็นที่สุด
    อันเนื่องจากเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆหลากหลายมาประชุมกัน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งๆเดียวกันอย่างแท้จริงนั่นเอง จึงมีความไม่สมบูรณ์แอบแฝงอยู่ จึงต้องแปรปวน และจนดับไปเช่นนี้เป็นธรรมดา เป็นสภาวธรรมหรือกฎธรรมชาติหรืออสังขตธรรม อันมีความเที่ยงและคงทนต่อทุกกาล(อย่าสับสนกับสังขาร ที่ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้)
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ความแปรปรวนและการดับไปเหล่านั้น จึงเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทานทุกข์[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]แก่ผู้เข้าไป[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อยากด้วยตัณหา[/FONT] จึงไป[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ยึดด้วยอุปาทาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตามความพึงพอใจ[/FONT]ของตัวของตน
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังนั้น สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ จึงหมายถึง สังขารหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง หรือมีการปรุงแต่งขึ้น อันล้วนเกิดแต่เหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยกัน จึงไม่เที่ยง จึงทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไปในที่สุด ไม่สามารถควบคุมบังคับบัญชาได้อย่างแท้จริง, สังขารทั้งหลายจึงเป็นทุกข์ถ้าไปอยากหรือไปยึดเพราะไม่สามารถควบคุมบังคับบัญชาได้ตามใจปรารถนาอย่างแท้จริง[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๓. [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนัตตตา[/FONT] ธรรม หรือสภาวธรรม หรือสภาวธรรมชาติทั้งหลายล้วนไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นแกนถาวรอย่างแท้จริง และยังครอบคลุมถึงสังขารทั้งหลายทั้งปวงด้วย เพราะในบางขณะนั้นถึงจะมีตัวตนก็จริงอยู่ แต่ตัวตนที่เห็นหรือสัมผัสล้วนเกิดแต่เหตุมาเป็นปัจจัย อันไม่เที่ยงมาประชุมกันชั่วขณะระยะหนึ่งเท่านั้น จึงย่อมต้องแปรปรวนจนคงอยู่ไม่ได้ตลอดไป ดังเพราะว่าเกิดแต่เหตุปัจจัย ดังนั้นจึงต้องแปรปรวนและดับไปตามเหล่าเหตุปัจจัยนั้น [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตัวตนที่ถึงแม้มีอยู่ขณะนั้นก็จริงอยู่จึงต้องดับไปในที่สุด ไม่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริงถาวรตลอดไป[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังนั้นธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตตา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จึงหมายถึง ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงซึ่งหมายครอบคลุมทุกๆสรรพสิ่งโดยไม่มีข้อยกเว้น ว่าโดยตามความจริงขั้นสูงสุดแล้ว([/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ปรมัตถ์[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]) ไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นแท้ๆ [/FONT]ถ้ามีตัวตนที่เห็นได้ หรือผัสสะได้ด้วยอายตนะใดๆก็ตามทีนั้น ล้วนเป็นเพียงมวลรวมหรือ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]มายา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ที่ประกอบขึ้นจากองค์ประกอบของเหล่าเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยหรือประชุมปรุงแต่งกันนั่นเอง[/FONT] จึงล้วนขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุปัจจัย ไม่ขึ้นอยู่กับตัวตน, นิพพานหรือสภาวธรรมชาติทั้งหลายอันเป็นอสังขตธรรม ที่ไม่มีเหตุปัจจัยมาปรุงแต่ง แต่ก็ล้วนเป็นอนัตตาเป็นเพียงสภาวธรรม (อ่านรายละเอียดใน[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนัตตา[/FONT] ที่แจงสภาพทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนเช่นนิพพานไว้โดยละเอียดถึงที่สุด) กล่าวคือเป็นเพียงสภาวะธรรม แต่ยังไม่เกิดปรากฏการณ์เป็นตัวเป็นตนเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้น
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา จึงหมายครอบคลุมถึงทุกสรรพสิ่งใน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนันตจักรวาล[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ล้วนเป็นอนัตตาโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]"พระนิพพาน" เป็นอสังขตธรรมหรือสภาวธรรม จึงไม่เป็นอนิจจตาและไม่เป็นทุกขตา(เพราะท่านหมายเฉพาะสังขาร) แต่เป็นอนัตตา(เพราะเป็นธรรมอย่างหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง), และมีการกล่าวไว้อย่างชัดเจนดังคํากล่าวที่ได้ยินกันเสมอๆว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพานเป็นอนัตตา[/FONT]
    นิพพาน ก็คือ สภาวะนิโรธ ที่แปลว่าการดับทุกข์ คือสภาวะที่ไม่คับแค้น ไม่ข้องขัดใจ หรือสภาพที่ไม่เร่าร้อน เผาลน กระวนกระวาย อันล้วนเนื่องมาจากไฟของ โมหะโลภะโทสะ หรือถ้าพิจารณาในแนวทางปฏิจจสมุปบาท ก็คือ ไม่เร่าร้อนเผาลนด้วยไฟของกิเลส(อาสวะกิเลส) ตัณหา อุปาทาน อันยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ ในชรา อันล้วนเป็นขันธ์ที่ล้วนประกอบคือร่วมด้วยอุปาทาน อันเป็นอุปาทานทุกข์หรือความทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนอย่างแท้จริง และสามารถดับความเร่าร้อนเหล่าใดเหล่านั้นได้ด้วยธรรมของพระองค์ท่านจริงๆ
    จากที่กล่าวว่า นิพพานเป็นธรรมชนิดอสังขตธรรมหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันจริง แท้ แน่นอน จึงมีความเที่ยง และอกาลิโก, ถ้าไม่โยนิโสมนสิการโดยละเอียดและแยบคาย มักจะยังความสงสัยหรือวิจิกิจฉาในที่สุดว่า สภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติอื่นๆ ดังเช่น ฝนตก ฟ้าร้อง พระอาทิตย์ขึ้นและตก แม้แต่ธรรมะ ฯลฯ. ก็ไม่ล้วนวิเศษเป็นดั่งเช่นนิพพานหรือ? คือไม่ขึ้นอยู่กับอนิจจัง และทุกขัง ดังเช่นพระนิพพานหรือ? เพราะต่างก็ล้วนเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติอันจริง แท้ แน่นอนทั้งนั้น! ความจริงแล้วอสังขตธรรมหรือธรรมชาติเหล่านั้นก็ล้วนเป็นอนัตตาเช่นกัน กล่าวคือปรากฏการณ์เหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่เช่นนี้ตลอดกาลนาน ส่วนสังขาร(สิ่งที่ได้ถูกกระทำคือถูกปรุงถูกแต่งขึ้นแล้ว)ของสภาวธรรมหรือธรรมชาติทั้งหลายเหล่านั้น อันเกิดขึ้นล้วนแต่จากการปรุงแต่งของเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกันนั่นเอง จึงถึงยังมีการเกิดๆดับๆคือไม่เที่ยง เกิดแล้วต้องดับไปอยู่ตลอดเวลา ลองพิจารณาพระอาทิตย์ขึ้น ฝนตก ลมพัด แม้แต่ธรรมคําสอนทั้งหลายทั้งปวง กล่าวคือสภาวธรรมทั้งหลายนั้นแม้ยังคงมีความจริง แท้ แน่นอน แต่ก็คงล้วนเป็นอนัตตาไม่มีตัวไม่มีตน ที่หมายถึง ไม่เป็นแก่นแกนแท้จริง เป็นเพียงสภาวธรรมหรือสภาวะแห่งธรรมชาติหรือยังไม่เกิดปรากฏการณ์เป็นตัวเป็นตนเป็นสังขารขึ้นนั่นเอง กล่าวคือยังไม่ได้เกิดการปรุงแต่งกัน ให้เป็นตัวตนเป็นก้อนเป็นมวลหรือสังขารขึ้น แต่เมื่อใดก็ตามที่ปรากฎขึ้นเป็นตัวเป็นตนหรือสังขาร คือการเกิดของสังขารขึ้นของสภาวธรรมที่กล่าวถึงนั้น หมายถึงเมื่อเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่งแล้ว ดังเช่น ฝนที่กำลังตกลงมาเป็นเม็ดฝนให้เห็นหรือสัมผัสได้นั้น หมายถึงสภาวธรรมของฝนนั้นได้เกิดเป็นตัวตนเป็นสังขารขึ้นแล้ว จะเห็นว่าฝนนั้นเกิดขึ้นแต่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยกัน อาทิเช่น นํ้า ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การระเหย ฝุ่นละออง การรวมตัว อุณภูมิที่แตกต่างกัน การกลั่น แรงดึงดูดของโลก ฯลฯ. มีเหตุต่างๆเหล่านั้นมาเป็นปัจจัยกัน อันเมื่อเกิดเป็นปรากฎเป็นตัวตนจึงคือการเกิดของสังขารขึ้น จึงเป็นไปตามพระไตรลักษณ์ที่สังขารย่อมมีการเกิดๆดับๆเป็น อนิจจัง ทุกขัง, ลองโยนิโสมนสิการที่จุดนี้ เพราะยากแก่การเข้าใจ ยากต่อการบรรยายเป็นคำพูดภาษาสมมุติใดๆ พระอนัตตาจึงเป็นปัญหาที่ถกเถียงและเข้าใจได้ยากกันมาโดยตลอด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบท พระไตรลักษณ์ และอนัตตา)

    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จากคำจำกัดความดังกล่าวมา เรานำมากระทํา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ธัมมวิจยะ[/FONT] โดยการโยนิโสมนสิการ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]พิจารณาโดยละเอียดและแยบคายตามความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ในเมื่อนิพพานไม่เป็นอนิจจังเพราะไม่ใช่สังขาร - จึงแสดงได้ว่านิพพาน(อันเป็นสภาวธรรม)นั้นย่อมเที่ยง หรือก็คือไม่มีความปรวนแปรเป็นธรรมดาเหมือนสังขารที่เป็นไปตามกฎอนิจจังที่ว่า"สังขารหรือสิ่งใดเกิดแต่เหตุปัจจัยสิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง ล้วนมีความปรวนแปรเป็นธรรมดา" ดังนั้นถ้าเรา[/FONT]โยนิโสมนสิการ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ก็จักเกิดญาณหยั่งรู้ว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๑.พระนิพพาน(ธรรม)ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย[/FONT] เพราะสังขารเท่านั้น[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ที่เกิดแต่ปัจจัยปรุงแต่ง[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิดจากการปรุงแต่ง[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๒.พระนิพพาน(ธรรม)จึงไม่เป็นอนิจจังด้วย[/FONT] จึงไม่แปรปรวนเพราะไม่ใช่สังขารที่มีการปรุงแต่ง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด[/FONT] แล้วจะมีการแปรปรวนได้อย่างไร? จึงย่อมไม่มีการแปรปรวน.
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๓.พระนิพพาน(ธรรม) จึงไม่เป็นทุกขัง จึงไม่ดับ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] เพราะไม่ใช่สังขารสิ่งที่เกิดแต่ปัจจัยปรุงแต่งเช่นเดียวกันกับอนิจจัง[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด[/FONT] ไม่มีการแปรปรวน [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]แล้วจะมีการดับได้อย่างไร?[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เมื่อไม่มีเกิดจึงไม่มีการดับ[/FONT]ไปเป็นธรรมดา
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตามกฎทุกขัง(ทุกขตา) "สิ่งใดไม่เที่ยง [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ จึงดับไปในที่สุด จึงเป็นทุกข์[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" ดังนั้นแสดงว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๔.พระนิพพาน(ธรรม)เมื่อไม่มีการดับ จึงไม่เป็นทุกข์ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จึงทนอยู่ได้เพราะเป็นสภาวะธรรมจึงย่อมไม่แปรปรวนเป็นธรรมดาเช่นสังขาร[/FONT] อันแสดงว่าไม่เป็นทุกขตาคือไม่มีความคงทนอยู่ไม่ได้ ดังนั้นเมื่อ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่มีเกิดไม่มีดับจึงไม่เป็นอุปาทานทุกข์จากการไปอยากหรือยึดด้วยตัณหาหรืออุปาทาน[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด[/FONT] ไม่มีการแปรปรวน ไม่มีการดับ [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]แล้วจะเกิดทุกข์เพราะความไปอยากไปยึดในสิ่งใดได้อย่างไร? จึงไม่เป็นทุกข์.[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๕.นิพพาน(ธรรม)เป็นอนัตตา [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]หมายถึงไม่มีตัวตนที่เป็นแก่น เป็นแกนถาวรแท้จริง เพราะ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การนิพพานหรือบุคคลที่บรรลุนิพพาน(ธรรม)นั้นจักบังเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีบุคคลที่เราเรียกกันว่าพระอริยเจ้าอันเป็นผู้รู้ผู้เข้าใจ หรือผู้ที่อยู่ในสภาวะนิพพานนั้นนั่นเอง พระนิพพานจึงครบองค์ประกอบ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพาน([/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สอุปาทิเสสนิพพาน[/FONT] อันหมายถึงองค์อรหันต์ที่ยังมีขันธ์ ๕ ดำเนินชีวิตไปตามปกติคือยังมีชีวิตอยู่) จึงเกิดแต่เหตุปัจจัยดังนี้
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สังขารหรือตัวตนหรือชีวิต(ตัวตนหรือขันธ์ ๕ ของผู้เข้าถึงพระนิพพาน หรือก็คือตัวพระอริยะเจ้า)[/FONT] + [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพาน(ธรรม)[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]หรือ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif] พระอรหันต์ หรือผู้ที่ถึง[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สอุปาทิเสสนิพพาน[/FONT] = ตัวตนหรือชีวิต + นิพพาน(ธรรม)นั่นเอง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังนั้นเมื่อ "ตัวตนผู้เข้าถึงนิพพาน" ถึงกาละคือตาย, พระอรหันต์หรือตัวตนหรือกายหรือชีวิตนั้นก็ต้องดับไป ด้วยเพราะเหตุปัจจัยทั้ง ๒ จึงจักยังให้เกิดนิพพานนั้น อันประกอบด้วยปัจจัย"ตัวตนที่หมายถึงชีวิตของผู้เข้าถึงนิพพาน" ซึ่งเป็นสังขารได้มีการปรวนแปรและดับไป(ตาย) ดังนั้นเมื่อเหตุปัจจัยต่างๆไม่ครบองค์ จึงเหลือแต่นิพพานธรรมอันเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนัตตา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่มีตัวมีตนเป็นก้อนเป็นมวล(ฆนะ)เป็นแก่นแกนแท้จริง เป็นเพียงสภาวธรรมที่ประกอบอยู่กับชีวิต เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติที่มีอยู่จริงแท้แน่นอนแต่ก็เป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อนัตตา[/FONT] จึงเป็นการยืนยันคำสอนที่เปี่ยมด้วยพระปัญญาคุณที่กล่าวไว้ว่า [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]พระนิพพานอันเป็นธรรมหรือสภาวธรรมเป็นอนัตตา[/FONT]แม้แต่องค์พระอรหันต์จึงเป็นเช่นเดียวกัน
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด ไม่มีการแปรปรวน ไม่มีการดับ ไม่เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา[/FONT]

    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จากการ"[/FONT]โยนิโสมนสิการ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" ทําความเข้าใจในธรรมแล้ว ย่อมได้ความเข้าใจได้ดังนี้ว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่เกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่มีการเกิด, เมื่อยังไม่เกิดขึ้นจึงย่อมไม่มีการปรวนแปร, จึงย่อมไม่มีการดับไปด้วยทุกขัง, เป็นอนัตตา[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เมื่อ ไม่มีการเกิด จึงไม่มีการดับ จึงไม่ปรวนแปร ดังกล่าวแล้ว ถ้าเราทําใจเป็นอุเบกขาเป็นกลาง กล่าวคือไม่เอนเอียงไปตามความเชื่อ ความยึดถือ จะตีความได้ ๒ นัย คือ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๑. "[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่มีนิพพาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" เพราะไม่มีการเกิด จึงไม่มีนิพพานจริงๆ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๒. "[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพานนั้นต้องมีอยู่แล้ว[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" เพราะความเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของจิตของผู้ชีวิต อันเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อสังขตธรรม[/FONT] จึงไม่มีการเกิดการดับ มีความเที่ยง ทนต่อกาลเวลา([FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อกาลิโก[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif])[/FONT]

    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตามข้อ๑ ไม่มีนิพพาน ซึ่งไม่ตรงกับหลักพุทธศาสนา ไม่น่าจะถูกต้อง ถ้าไม่มีจริงแสดงว่าพุทธศาสนานั้นไม่ถูกต้อง ต้องสอนหรือบันทึกกันมาอย่างผิดๆ อย่างแน่นอน เพราะ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ถือว่าเป็นหัวใจหรือผลอันสูงสุดของพระพุทธศาสนาทีเดียว เพียงแต่ที่ไม่มีการเกิดนั้นเพราะความเป็นสภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติ อันเป็นจริงอยู่เยี่ยงนี้เองเป็นธรรมดา จึงเหลืออีกกรณีหนึ่งให้พิจารณาคือ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตามข้อ๒ นิพพานนั้นมีอยู่แล้ว ในตัวของตนเพราะเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อย่างหนึ่งของชีวิตชนิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อสังขตธรรม[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นั่นเอง อันทำให้นึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ที่กล่าวไว้ว่าที่[/FONT]
    ธรรมชาติของจิตย่อมผุดผ่อง แต่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสจรมา
    (เอกนิบาต ๒๐/๙)
    หรือ
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]"จิตนั้นประภัสสร แต่หมองหม่นเพราะอุปกิเลสที่จรมา"[/FONT]
    (ธรรมชาติของจิตนั้น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง แต่เศร้าหมองเพราะเหล่ากิเลสที่เกาะกุมนั่นเอง จึงสามารถที่จะกำจัดกิเลสให้ใสสะอาดได้)

    แสวงหาที่ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมไม่เห็นแจ้งนิพพานที่อยู่ใกล้(ใน)ตัว
    (ปัคคัยหสูตร ๑๘/๑๔๒)
    หรือ
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังคําของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโลที่กล่าวไว้ว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตคือพุทธะ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ซึ่งหมายความว่า[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตเอง หรือจิตเดิมแท้ๆ ก่อนจะพอกพูนด้วยกิเลส นั่นละที่คือสภาพจิตพุทธะ หรือนิพพาน[/FONT]
    หรือ
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังที่หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้กล่าวไว้[/FONT]​


    จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลสออกหมด
    มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิท จิตฺต


    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ทั้งปวงล้วนมีความหมายเดียวกันทั้งสิ้น หรือนิพพานก็คือ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตที่ไม่มีสิ่งปัจจัยปรุงแต่งของกิเลสอันเกิดแต่อุปาทานอันเกิดแต่ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif], อันเป็นธรรมชาติของจิตหรือจิตเดิมแท้ก่อนถูกกิเลสปรุงแต่ง หรือก็คือ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตที่หยุดคิดนึกปรุงแต่งและหยุดความกระวนกระวายแสวงหาด้วยความทะยานอยากหรือยึด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] อันหมายความว่า นิพพานหรือจิตเดิมแท้นั้นมีอยู่ในจิตหรือตัวตนตลอดเวลา ในขณะที่เรามัวแสวงหา สาระวนปฏิบัติค้นหาจากเหตุปัจจัยภายนอกต่างๆ, โดยการพยายามหา ทําให้เกิด ทําให้มี ทําให้เป็น จากการปฏิบัติต่างๆชนิด ก่อให้เกิด ก่อให้เป็น จากสิ่งปรุงแต่งต่างๆนาๆ หรือปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น การค้นหาและปฏิบัติแต่ทางสมาธิ, ฌาน, วัตถุ, บุคคล หรือการทรมานกายใดๆ, ถือแต่ศีล ทําแต่บุญ ฟังแต่ธรรม อันล้วนแล้วแต่เป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สังขาร[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การพยายามทําให้เกิด ให้มี ให้เป็นทั้งสิ้น [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ล้วนแต่ขาดการนำเอาไปใช้เป็นบาทฐานในการปฏิบัติเพื่อที่จะนําออกหรือละเสียซึ่งกิเลสหรือสิ่งที่บดบังหรือครอบงํานั้นๆออกไป[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif], ดังนั้นจึงพยายามหาหรือพยายามทําให้เกิดเท่าไรก็ไม่ประสบผลสําเร็จ อันอุปมาดั่งไล่จับเงา ที่ย่อมไม่มีวันประสบผลสําเร็จตลอดกาลนาน, เพราะสภาวะนิพพานที่เรามีนั้นเหมือนดั่งเงา เราไม่เข้าใจ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จึงปฏิบัติไม่ถูกต้อง[/FONT] จึงหมอ[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]งหม่นอับแสงเพราะปัจจัยเครื่องปรุงแต่งต่างๆ อันได้แก่[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]กิเลสตัณหาและอุปาทาน[/FONT] อันต่างล้วนเป็นเหตุปัจจัยอันเนื่องให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ อันเป็นความทุกข์ในเบื้องปลายเป็นที่สุด
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังนั้นจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติก็คือการกำจัด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]กิเลสตัณหาอุปาทานอันจรมาจากอาสวะกิเลส[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นั่นเอง มิได้เป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดให้มีขึ้นแต่ประการใด เพราะเขามีของเขาโดยธรรมหรือธรรมชาติอยู่แล้ว[/FONT] เพียงแต่หมองหม่นอับแสงสิ้นดีเนื่องเพราะอวิชชา
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]หรือที่หลวงปู่ดูลย์ได้กล่าวไว้ว่าในเรื่อง[/FONT] จิต คือ พุทธะ "เขาไม่รู้ว่า ถ้าเขาเอง เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา[FONT=Tahoma,MS Sans Serif](ตัณหา)[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียเท่านั้น พุทธะก็ปรากฎตรงหน้าเขา เพราะว่า จิต นี้คือ พุทธะ นั่นเอง และพุทธะ คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง และสิ่งๆนี้ เมื่อปรากฎอยู่ที่สามัญสัตว์ จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฎอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่"[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การหยุดคิดปรุงแต่ง ก็เพื่อเป็นการปฏิบัติไม่ให้เกิดเวทนา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน..อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส(เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง), หมดความกระวนกระวายเพราะความแสวงหา(ตัณหา)[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพานจึงไม่ต้องทําให้เกิดขึ้น หรือสร้างขึ้นแต่อย่างใด เพราะไม่ได้เกิดแต่เหตุปัจจัย [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เพียงแต่เป็นการนําเหตุปัจจัยอันทําให้จิตหม่นหมองนั้นออกไป[/FONT] หมายถึง[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตเดิมแท้ๆนั้นบริสุทธิ์อยู่แล้ว [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การนําออกและละเสียซึ่งกิเลสตัณหาไม่ใช่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดนิพพาน เพราะดังที่กล่าวนิพพานไม่ได้เกิดแต่เหตุปัจจัย [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]แต่เป็นเพียงคําอธิบายแนวทางปฏิบัติให้พบจิตเดิมแท้อันขุ่นมัวเศร้าหมองเพราะเหตุปัจจัยจากภายนอก[/FONT] เช่นการความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นเหตุปัจจัยภายนอก อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา,อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา..อุปาทาน..ภพ..อุปาทานทุกข์..และกิเลสตามลําดับตามวงจรปฏิจจสมุปบาท อันต่างล้วนจริงๆแล้วเป็นเหตุปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบสัมผัสกับจิตเดิมแท้ที่ปภัสสรแล้วเกิดการคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆ
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การปฏิบัติใดๆที่เป็นการก่อ หรือสร้างสมสิ่งหนึ่งสิ่งใดเช่นสมาธิ ฌาน ถือศีล หรือทําบุญ อิทธิฤทธิ์ ทรมานกาย จึงยังไม่ใช่หนทางการพ้นทุกข์อย่างแท้จริง บางข้อเป็นเพียงบาทฐานหรือขุมกําลังหรือเป็นขั้นบันไดในการสนับสนุนการปฏิบัติในขั้นปัญญาเท่านั้น, อันควรจักต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วย อันจักต้องเป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพิทา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เพื่อการนำออกสิ่งที่ทำให้เกิดการขุ่นมัวออกไปเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จักต้องเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การปฏิบัติในขั้นปัญญา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เท่านั้น อันมีบาทฐานของ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ศีล สติ สมาธิ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เป็นเครื่องส่งเสริม เพื่อ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นําออก[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]และ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ละ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียซึ่งความคิดนึกปรุงแต่งอันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]กิเลส ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันล้วนเป็นปัจจัยที่ยังให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif],[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ปัจจัยสิ่งปรุงแต่ง[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ต่อจิตพุทธะหรือจิตเดิมทั้งสิ้น, จึงเป็นหนทางพ้นทุกข์อย่างแท้จริงและถาวร จึงมิใช่การปฏิบัติโดยการเมาบุญหรือฌานสมาธิแต่ฝ่ายเดียว[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังนั้นเมื่อ นําออก และ ละเสีย ซึ่ง กิเลส, ตัณหา และอุปาทาน ซึ่งย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ดับความทุกข์หรืออุปาทานขันธ์๕ ตามมา เมื่อนั้น[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพานอันเป็นสุข ที่ถูกบดบังซ่อนเร้นอยู่ในจิตเดิมหรือธรรมชาติ ก็จักปรากฏขึ้น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]"[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันล้วนเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท[/FONT] ฝ่ายนิโรธวาร
    แสดงวงจรปฏิจจสมุปบาท [​IMG] ฝ่ายนิโรธวาร เป็นลำดับขั้น
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อวิชชาดับ [​IMG]สังขารดับ [​IMG]วิญญาณดับ [​IMG]นาม-รูปดับ [​IMG]สฬายตนะดับ [​IMG]เวทนาดับ [​IMG]ตัณหาดับ [​IMG]อุปาทานดับ [​IMG]ภพดับ [​IMG]ชาติดับ(ความเกิดแห่งทุกข์ในรูปอุปาทานขันธ์๕ก็ดับ) [​IMG]ชรามรณะดับ+อาสวะกิเลสดับ [​IMG]จึงดับวัฏฏะหรือวัฎจักรของการเวียนว่ายตายเกิดในทะเลทุกข์[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]หลักการปฏิบัติเพื่อสู่ "นิพพาน" หรือ "นิโรธ" จากความเข้าใจปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน คือ มีชีวิตดำเนินเป็นปกติตามขันธ์ ๕ อันเป็นกระบวนธรรมปกติธรรมชาติในการดําเนินชีวิต จักไม่เป็นทุกข์ ไม่ให้เกิดอุปาทานขันธ์๕ ([/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สอุปาทิเสสนิพพาน[/FONT] - นิพพานขององค์อรหันต์ผู้ดับกิเลส คือโลภะ,โทสะ,โมหะ ในอุปาทานทุกข์แล้ว แต่ยังมีขันธ์๕ หรือเบญจขันธ์เป็นปกติในการดำเนินชีวิต)

    เปรียบเทียบเป็นรูปธรรม เพื่อความแจ่มแจ้ง
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นิพพานมีอยู่แล้วแต่ไม่สามารถเห็นหรือสัมผัสได้ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เพราะอุปมาดั่งมีบรรดากองขยะทั้งหลายอันมี[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]กิเลส, ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันเป็นปัจจัยให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันยังให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ ได้ปกปิดบดบัง ไม่ให้มองเห็นนิพพานบนเส้นทางเบื้องหน้า [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]หน้าที่เราอันควรพึงปฏิบัติคือ อย่าเพิ่มขยะ(กิเลส,ตัณหา)ใหม่เข้าไปอีก และมั่นตักหรือทำลายขยะเก่าๆคือกิเลส, ตัณหา, อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นเก่าๆ ออกจากเส้นทาง([/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]หมายถึงจิต[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif])โดยการปฏิบัติทางปัญญา เมื่อนั้นนิพพานก็จักประจักษ์แก่สายตาหรือใจของเรา จึงควรปฏิบัติดังนี้ ๔ประการ เพื่อให้แสงแห่งนิพพานได้ทอแสงขึ้นในดวงจิต[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๑.โดยการไม่เพิ่มขยะคือกิเลส คือ"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่ก่อทุกข์ หรือยึดสุข"[/FONT] อันยังให้เกิด[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อาสวะกิเลสใหม่ๆขึ้นอีก[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นั่นเอง[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๒.โดยการ การ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นำออกและละ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียซึ่ง"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]กิเลส[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]"สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวและเศร้าหมอง อันได้แก่กิเลสหรืออาสวะกิเลส[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด"ตัณหา"ทางอ้อมผ่านทาง สังขาร[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๓.โดยการ การ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นำออกและละ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียซึ่ง "[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" ความรู้สึกทะยานอยาก, ความใคร่, ความให้ได้สมปรารถนา, ความติดเพลิน ในสิ่งใดๆซึ่งพอสรุปได้เป็นความ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อยาก,ไม่อยาก[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อันเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]มูลเหตุปัจจัยโดยตรงให้เกิดอุปาทานตามหลักปฏิจจสมุปบาท [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]โดยต้องมีความ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เข้าใจใน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เวทนา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]โดยถ่องแท้[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เพื่อไม่ให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ต่อเวทนานั้นๆ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif](เพราะความเข้าใจสภาวธรรมหรือขาดความยึดมั่นถือมั่นในเวทนานั้น หรือเวทนานั้นหมดจด)[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]๔.โดยการ การ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นำออกและละ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียซึ่ง"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตัวของตนเป็นหลักใหญ่ อันเป็นปัจจัยให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ดังนั้นในทางปฏิบัติ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตไม่ขุ่นมัวเศร้าหมองโดยนำออกและละเสียซึ่ง"กิเลส" และ "อาสวะกิเลส" หรือขุ่นมัวแล้วก็ต้องพยายามปรับจิตให้สดชื่นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสังขารคิด(ในปฏิจจ.)อันยังให้เกิดเวทนาซึ่งในทางปฏิบัติในช่วงแรก เราไม่อาจนำออกและละเสียได้ทั้งหมด ดังนั้น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ส่วนหนึ่งจะไปเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดเวทนา, [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เพราะสติรู้ทันเวทนา และปัญญา ดังนั้นเวทนาส่วนหนึ่งจักดับที่นี่, ส่วนที่เหลืออันยังให้เกิด"[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตัณหา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" ถ้าเรา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไม่อาจนำออกและละเสียซึ่งตัณหาได้ทั้งหมด[/FONT] อีกส่วนหนึ่งจะไปเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด"[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]" เราต้องนำออกและละเสียให้ได้ มิฉนั้นก็จักเกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ อันเมื่อเกิดแล้วต้องหยุดคิดนึกปรุงแต่งต่อจากนั้น เพราะคิดนึกปรุงแต่งย่อมยังให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เวทนา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ขึ้นอีก และเป็น[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เวทนาชนิดที่ถูกครอบงําหรือประกอบแล้วโดย[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เสียด้วย[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกองทุกข์นั้น[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การนำออกและละเสียโดยใช้สติปัฏฐาน๔ มรรคองค์๘เป็นหลักในการปฏิบัติ ตลอดจน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สัมโพชฌงค์๗[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif] อันเป็นธรรมให้ตรัสรู้ ตลอดจนใช้ความรู้ในหลักธรรมอันยิ่งใหญ่ลึกซึ้ง "ปฏิจจสมุปบาท" อันมีความโดยย่อดั่งนี้[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมองจากจากสัญญาจำในทุกข์หรืออาลัยสุข อันคือ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อาสวะกิเลส[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไปเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันร่วมกับ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อวิชชา[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไปกระตุ้นให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สังขาร[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]คิด หรือกระทำตามที่ได้สั่งสมไว้ ประพฤติปฏิบัติไว้[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จึงเกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]วิญญาณ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]การรับรู้ ไปรับรู้สังขารข้างต้นขึ้น[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไปกระตุ้นให้ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]นาม-รูป[/FONT] ครบองค์ทำงานโดยสมบูรณ์ จึงเกิดตื่นตัวทํางานในเรื่องนั้น
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไปกระตุ้นให้ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สฬายตนะ[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ทำงานตามหน้าที่สื่อสารรับรู้สัมผัสอายตนะต่างๆเช่นใจ[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไปกระตุ้นให้เกิดอวิชชา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ผัสสะ[/FONT] การกระทบประจวบกันของ สังขาร ใจ และวิญญาณ
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไปกระตุ้นให้ เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เวทนา[/FONT] มีอามิส(กิเลส)ในธรรมารมณ์หรือสังขารที่มาผัสสะนั้น เพราะย่อมแฝงซึ่งอาสวะกิเลส
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไปกระตุ้นให้ เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ตัณหา[/FONT] ความอยาก,ความไม่อยาก
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไปกระตุ้นให้ เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT] ยึดในความพึงพอใจในตน ของตน เป็นหลัก หรือตวามเป็นตัวกูของกู
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไปกระตุ้นให้เกิด[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ภพ [/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]บทบาทที่จักแสดง ที่จักยึด[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ไปกระตุ้นให้เกิดการกระทำทาง กาย, วาจา, ใจ คือขันธ์๕ทุกชนิดที่เกิด(ชาติ)ถูกครอบงำโดย[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทาน[/FONT] เกิดเป็น[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]อุปาทานขันธ์๕[/FONT] ทุกชนิดอันเป็นทุกข์ วนเวียนอยู่ใน[FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ชร[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]าอันเแปรปรวนและเป็นทุกข์ด้วยจิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมอง[/FONT][​IMG] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]แล้วดับไป พร้อมเก็บจำเป็นกิเลสที่นอนเนื่องใหม่(อาสวะกิเลส)[/FONT][​IMG] เริ่มต้นวงจรใหม่ [​IMG] [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ฯลฯ...[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เป็นวงจรแห่งทุกข์ไปเรื่อยๆ ไม่รู้จักจบสิ้น ก่อให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดใน[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]สังสารวัฏ[/FONT]
    [​IMG]
    ความรู้เกี่ยวกับ พระนิพพาน
    นิพพาน หมายถึง การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
    นิพพานธาตุ หมายถึง ภาวะแห่งนิพพาน หรือ นิพพานธาตุ ๒ คือ
    ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลือ อุปาทิ ที่หมายความว่า เบญจขันธ์หรือขันธ์ ๕ จึงมีความหมายว่า ดับกิเลส มีเบญจขันธ์เหลือ กล่าวคือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ เป็นนิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ
    ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลือ จึงมีความหมายว่า ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ กล่าวคือ เสด็จปรินิพพาน ดับเบญจขันธ์แล้ว, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือ สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต เป็นนิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ
    และยังมีนิพพานอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่านิพพานเฉพาะกรณี เรียกว่า ตทังคนิพพาน “นิพพานด้วยองค์นั้น” นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่น มองเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์ แล้วหายทุกข์ร้อน ใจสงบสบาย มีความสุขอยู่ตลอดชั่วคราวนั้นๆ จึงเป็นนิพพานเฉพาะกรณี

    [​IMG]
    ธรรมชาติของจิตและนํ้า
    (พิจารณาเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น)
    จิตนั้นเปรียบประดุจดั่งนํ้า อันไร้รูปร่าง และแปรปรวนไปตามภาชนะ จิตนั้นก็ไร้ตัวตนแปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อม(อายตนะภายนอก)ที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ),
    นํ้าประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆคือ H และ O มาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่ง จิตก็ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันมากหลายมาประชุมกัน ดังเช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แม้กระทั่งกาย ฯลฯ.,
    นํ้ามีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก จิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ฝ่ายที่ตํ่ากว่าคือตามแรงดึงดูดของความเคยชิน(สังขารในปฏิจจสมุปบาท)หรือกิเลสตัณหาแลอุปาทานที่ได้สั่งสมไว้นั่นเอง
    ถ้าเราต้องการนํ้าให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงพยายามฉันใด จิตก็ย่อมต้องการความเพียรพยายามปฏิบัติให้สูงขึ้นฉันนั้น,
    การยกระดับนํ้าโดยใช้ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้องย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด จิตก็ย่อมต้องการการปฏิบัติอันถูกต้องจึงยกระดับจิตให้สูงขึ้นเร็วฉันนั้น,
    ธรรมชาติของนํ้าเดือดพล่านเพราะไฟฉันใด, ธรรมชาติของจิตย่อมเดือดพล่านเพราะไฟของกิเลสตัณหาอุปาทานฉันนั้น
    นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน, จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะ อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คน เพียงแต่ถูกบดบังหรือครอบงําด้วยกิเลสตัณหาอุปาทาน
    [​IMG]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ทุกข์ของขันธ์๕ทางกายและใจ([/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]เวทนา[/FONT][FONT=Tahoma,MS Sans Serif]) นั้นเป็นสภาวธรรมหรือทุกข์ธรรมชาติยังคงมีอยู่ แต่ไม่มี"อุปาทานทุกข์"[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกขณะก็คือ"อุปาทานทุกข์"นี้นั่นเอง แต่ไม่รู้จึงจําแนกไม่ออก[/FONT]
    [​IMG]
    ไม่ทรงติดแม้ในนิพพาน
    ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน. ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจงแล้ว ก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายในนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา", ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน. ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่า นิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตกำหนดรู้ทั่วถึงแล้ว.
    ภิกษุ ท.! แม้ตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน. ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจ้งแล้ว ก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายในนิพพานไม่ทำความมั่นหมายโดยความเป็นนิพพาน ไม่ทำความมั่นหมายว่า "นิพพานเป็นของเรา", ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน. ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า? เรากล่าวว่า เพราะรู้ว่าความเพลิดเพลิน(นันทิ)เป็นมูลแห่งทุกข์ และเพราะมีภพจึงมีชาติ, เมื่อเกิดเป็นสัตว์แล้วต้องมีแก่และตาย. เพราะเหตุนั้นตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะตัณหาทั้งหลายสิ้นไป ปราศไป ดับไป สละไป ไถ่ถอนไป โดยประการทั้งปวงดังนี้.
    [SIZE=-1]บาลี มูลปริยายสูตร มู.ม. ๑๒/๑๐/๘-๙. [/SIZE]
    [SIZE=-1]ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่โคนต้นสาละ ในป่าสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐะ.[/SIZE]
    [​IMG]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]ภาวะทางจิต ของนิพพาน[/FONT]
    [FONT=Tahoma,MS Sans Serif]โดย พระธรรมปิฎก[/FONT]

    ที่มา
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    นิพพาน อันปรากฎแก่ผู้สิ้นตัณหา
    ธัมมัตถาธิบาย
    ต่อไปนี้
    เป็นเนื้อความ ในธัมมัตถาธิบาย ขยายคำในพระพุทธอุทาน ต่อจากอรรถกถาออกไปอีก เพื่อให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ใฝ่ใจทั้งหลาย กล่าวคือ

    ในพระพุทธอุทานนั้นมีเนื้อความว่า สิ่งที่ไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นของที่เห็นได้ยากของจริงไม่ใช่เป็นของที่เห็นได้ง่ายเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้แทงตลอดตัณหาแล้วรู้อยู่เห็นอยู่ดังนี้

    คำเหล่านี้พระอรรถกถาจารย์ได้แก้ทุกคำแล้ว คือ
    คำว่า เห็นได้ยากนั้น พระอรรถกถาจารย์แก้ไขไว้ว่า ผู้ที่ไม่ได้สะสมญาณบารมีไม่อาจเห็นได้ เพราะนิพพานเป็นของลึก ตามสภาพ เป็นของละเอียดสุขุมอย่างยิ่ง ดังนี้

    คำของพระอรรถกถาจารย์นี้ เป็นคำปฏิเสธว่า ไม่เห็นเสียเลย ไม่ใช่ว่าเห็นได้ยาก นัยที่ พระอรรถกถาจารย์แก้ไขไว้ว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการบรรลุนิพพานได้ยาก ด้วยคำว่าเห็นได้ยาก

    โดยอ้างเหตุว่า การอบรมสิ่งที่ไม่มีปัจจัย ไม่ใช่เป็นของที่สัตว์โลกทั้งหลายจะทำได้ง่ายโดยเหตุว่าสัตว์โลกทั้งหลาย ได้อบรมสิ่งที่มีปัจจัยด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น ซึ่งเป็นของทำปัญญาให้ทุผลภาพเสียกำลังดังนี้ ได้ใจความตามนัยที่ นี้ว่า

    ที่ว่าเห็นได้ยากนั้นคือสำเร็จได้ยาก โดยเหตุนี้ขอให้ท่านทั้งหลายจงจำไว้เถิดว่า คำว่าเห็นได้ยากนั้นพระอรรถกถาจารย์ว่าไว้๒นัย

    นัยที่๑ ว่า ผู้ไม่ได้สะสมญาณบารมีไว้ไม่อาจเห็นได้ นัยนี้ชี้ให้เห็นว่า เห็นไม่ได้ทีเดียว นัยที่ ว่าสำเร็จได้ยาก นัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ต่อเมื่อไรได้สำเร็จจึงจะเห็นได้ การสำเร็จนั้นย่อมเป็นการสำเร็จได้ยากฯ
    ขยายคำข้อนี้ออกไปอีกชั้นหนึ่งว่า การจะเห็นพระนิพพานนั้น
    ต้องเห็นได้ด้วยปัญญาจักษุอันเป็นปัญญาที่ประเสริฐ
    ปัญญาจักษุนั้น เป็นของที่ทำให้เกิดขึ้นได้แสนยาก ด้วยเหตุว่า ต้องอบรมบารมี มีทาน ศีล ภาวนาเป็นต้น อยู่จนตลอดกาลนาน จึงอาจทำปัญญาจักษุ คือ ดวงปัญญาอันประเสริฐให้เกิดขึ้นได้ ขอให้ดูแต่พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเป็นตัวอย่างเถิด
    คือพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญบารมี มาตลอด อสงไขยกับอีกแสนมหากัลป์ นับแต่ได้พุทธพยากรณ์มาแล้ว

    ก่อนแต่ยังไม่ได้พุทธพยากรณ์มานั้น พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญมาแล้วตลอดกาลนานคือ ทรงบำเพ็ญในเวลาที่ตั้งความปรารถนาในใจว่า จะเป็นพระพุทธเจ้านั้นอีก สิ้น อสงไขย จึงได้พุทธพยากรณ์จากสำนักพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๔ พระองค์มี พระทีปังกรเป็นต้น รวมเวลาบำเพ็ญบารมีทั้ง ตอน เข้าด้วยกัน ก็เป็น0 อสงไขยเศษแสนมหากัลป์ จึงจะทำพระปัญญาจักษุอันประเสริฐให้เกิดขึ้นแต่ถึงอย่างนั้น พระองค์ก็ยังทรงทำได้แสนยากต้องทนลำบาก พระองค์บำเพ็ญทุกขกิริยาอยู่ถึง พรรษาเพื่อแสวงหาดวงจักษุ คือ ปัญญาอันประเสริฐจึงได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงเห็นพระนิพพานแจ่มแจ้งด้วยพระองค์เอง โดยไม่เกี่ยวกับทุกขกิริยาที่ทรงกระทำมานั้น ไม่ใช่เป็นหนทางให้พระองคืได้ตรัสรู้ ส่วนหนทางที่ให้พระองค์ตรัสรู้นั้น ได้แก่ อัฏฐังกิมรรค ประการ มีสัมมาทิฐิเป็นต้น มีสัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน ที่พระองค์ทรงทำให้เกิดขึ้นด้วยทรงเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน คือ ทรงตั้งพระหฤทัยกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์เมื่อพระองค์ทรงบ่ม อานาปานสติ การกำหนด ลมหายใจเข้าออกนั้นให้แก่กล้านั้นก็เกิดเป็นสมาธิชั้นที่ ที่๒ ที่๓ ที่๔ ซึ่งเรียกตามบาลีว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมื่อ จตุตฌานเกิดขึ้นแล้ว พระหฤทัยของพระองค์ดำรงมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง อ่อนโยน ละมุนละไม ตั้งอยู่ในฐานะที่จะบังคับได้ดังประสงค์ กำรงมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว พระองค์ก็ทรงน้อมพระหฤทัยไป เพื่อให้เกิด บุพเพนิวาสญาณ ให้ระลึกการหนหลังได้ ในลำดับนั้น พระองค์ก็ทรงระลึกกาลหนหลังได้ ตั้งแต่ ชาติหนึ่งเป็นต้นไป จนกระทั่งถึงปลายกัลป์ หากำหนดมิได้ พร้อมทั้งอาการและอุเทศ คือทรง ระลึกได้ว่า ในชาติโน้น พระองค์มีพระนาม และโครต ผิวพรรณ วรรณะ อาหาร สุขทุกข์ อายุ อย่างนั้นๆ จุติจากชาตินั้นแล้ว ได้มาเกิดในชาติโน้น ทรงระลึกได้อย่างนี้เป็นลำดับมา จนกระทั่งชาติปัจจุบันนั้น บุพเพนิวาสญาณ การระลึกชาติหนหลังนี้ ได้เกิดมีแก่พระองค์ในปฐมยาม ในปฐมยามนั้น พระองค์ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมจนตลอดแล้ว ก็ทรงเปล่งอุทานขึ้น ดังที่แสดงมาแล้วในกัณฑ์ ที่ โน้น
    เมื่อถึง
    มัชฌิมยาม พระองค์น้อมพระหฤทัยไปเพื่อให้รู้การจุติ และอุบัติของสัตว์โลกทั้งหลาย พระองค์ก็ได้ทรงเห็นสัตว์โลกทั้งหลายที่จุติ และเกิดได้ทุกจำพวก คือจำพวกที่เลวและดี ทั้งพวกที่มีผิวพรรณดีและไม่ดี ทั้งจำพวกที่ไปดีและไปไม่ดีด้วยทิพพจักษุญาณ คือพระองค์ทรงทราบว่าพวกที่ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ถือมั่นมิจฉาทิฐิ ทำกาลกิริยาตายแล้ว ก้ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก การที่พระองค์ทรงทราบนั้น คือ ทรงเล็งเห็นด้วย ทิพพจักษุ เหมือนกับบุคคลยืนอยู่บนปราสาทซึ่งเล็งเห็นผู้ที่อยู่รอบปราสาทฉะนั้น เมื่อพระองค์ทรงได้ทิพพจักษุอันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าจตูปปาตญาณแล้ว พระองค์ก็ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาทในฝ่ายปฏิโลม แล้วทรงเปล่งอุททานเป็นครั้งที่ ดังที่แสดงมาแล้ว ในกัณฑ์ ที่ โน้น
    เมื่อพระหฤทัยของพระองค์บริสุทธิ์ดังที่แสดงมาแล้วในกัณฑ์ที่ โน้น ในขณะที่พระองค์ทรงไว้ อาสวักขยญาณอันทำให้สิ้น อาสวะกิเลสนั้น สรรพปรีชาญาณทั้งสิ้น คือ เวสารัชชญาณ ทศพลญาณ 0 และสัพพัญญุตญาณเป็นต้น ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นอันว่าในขณะนั้น พระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก เป็นอันว่าพระปัญญาจักษุ คือ ดวงปัญญาอันวิเศษ ซึ่งเป็นเหตุให้เห็นพระหฤพาน ก็เกิดมีขึ้นแก่พระองค์ พร้อมทั้งพระพุทธจักษุพระสมันตจักษุ ทิพพจักษุทุกประการ เท่าที่สังวัณณนาการแล้วนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า พระนฤพานนั้น เป็นของที่เห็นได้แสนยาก เพราะเหตุว่า เป็นของละเอียดลึกซึ้งไม่มีสิ่งจะเทียมถึง โดยเหตุนี้ ควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จะอุตสาหะบำเพ็ญ บารมีทั้ง 0 ประการ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี อันกล่าวโดยย่อว่า ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ บรรพชา ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐาน เมตตา อุเบกขา ตามกำลังสามารถของตนๆ ตามภูมิชั้นของตน ที่ปรารถนาเป็น สาวก สาวิกา หรือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามโอกาส บริสุทธิ์ มาด้วยบุพเพนิวาสญาณ และ จุตูปปญาณ ในปฐมยาม และมัชฌิมยามดังนี้แล้ว พระหฤทัยของพระองค์ก้ผ่องแผ้วยิ่งขึ้น พระองค์จึงทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อให้เกิดอาสวักขยญาณ ทำให้สิ้น อาสวะจากสันดานของพระองค์

    พระองค์ก็ทรงทราบตามความเป็นจริงว่า
    สิ่งไรเป็นทุกข์ สิ่งไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ สิ่งไรเป็นความดับทุกข์ สิ่งไรเป็นทางหั้บทุกข์ฯ พระองค์ก็ทรงทราบตามความเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอาสวะ เป็นเหตุให้เกิดอาสวะ เป็นความดับอาสวะ เป็นทางให้ดับอาสวะ เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นอย่างนั้น พระหฤทัยของพระองค์ก็หลุดพ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อพระหฤทัยของพระองค์หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้ง อย่างนั้นแล้ว ก็เกิดพระปรีชาญาณขึ้นว่า พระหฤทัยของเราหลุดพ้นแล้ว พระองค์สิ้นความเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในกำเนิด คติ สัตตาวาส อันนับเข้าในสงสารเสร็จแล้ว พระองค์สำเร็จพรหมจรรย์แล้ว ได้ทรงทำสิ่งที่ควรทำ สำเร็จแล้ว ลำดับนั้น พระองค์ก็ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทกลับไปกลับมาทั้งฝ่าย อนุโลมและปฏิโลม แล้วทรงเปล่งอุทานขึ้นเป็นครั้งที่ ดังที่ได้ ที่ควรกระทำ เมื่อผู้ใดพยายามบำเพ็ญบารมีทั้ง 0 มีทานเป็นต้น ตามสมควรแก่เวลาแล้ว ผู้นั้นก็ใกล้ต่อการเห็นนิพพานไปโดยลำดับ ด้วยเหตุว่า จิตใจของผู้นั้น จะผ่องใสไปโดยลำดับ เหมือนกับทองที่ช่างทองได้ไล่ขี้ไปโดยลำดับฉะนั้น ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงสอนไว้ว่า บุคคลผู้มีปัญญา ควรกำจัดมลทินของตนไปทีละน้อยๆ ไปตามขณะสมัย ในเวลาอันสมควร ให้เหมือนกับช่างทองไล่สนิมทองฉะนั้น ดังนี้

    แต่ขอเตือนท่านทั้งหลายอีกอย่างหนึ่งว่าท่านทั้งหลายอย่าท้อใจว่ากว่าจะได้เห็นนิพพาน นั้นต้องบำเพ็ญบารมีอยู่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุว่าเมื่อเราทำไป วันเวลาเดือนปี ก็สิ้นไปตามลำดับ เมื่อเราดับจิตแล้วเราก็เกิดชาติใหม่เมื่อเราเกิดชาติใหม่แล้ว เราก็ลืมชาติเก่าเรานึกไม่ได้ว่าเราได้บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว
    เมื่อเราเกิดอยู่ในชาติใดเราก็นึกได้แต่เพียงชาตินั้นอันนี้ไม่เป็นเหตุให้เราเบื่อหน่ายท้อทอยต่อการบำเพ็ญบารมีถ้าเราไม่ลืมชาติหนหลังเหมือนดั่งเราเดินทางแล้วไม่ลืมระยะทางที่เดินมาแล้วในวันก่อนๆนั้นแหละจึงจักทำความหนักใจท้อถอยให้แก่เราอีกประการหนึ่งการเดินทางนั้นย่อมทำให้เกิดความเหนื่อยมากในวันแรกและวันที่ที่เท่านั้นสำหรับวันต่อๆไปความเหนื่อยนั้นก็คลายลงไปทีละน้อยๆด้วยเหตุว่าความคุ้นเคยต่อการเดินทางนั้นย่อมมีขึ้นกับเท้าและแข้งขาของเราการบำเพ็ญบารมีก็ทำให้เรามีความชำนิชำนาญขึ้นทีละน้อยๆ ฉันนั้นเหมือนเราไม่เคยให้ทานรักษาศีลฟังพระสัทธรรมเทศนาเราย่อมรู้สึก ลำบากใจเห็นว่าเป็นของทำได้ยากแต่ว่าเมื่อเราทำได้มากขึ้นแล้วก็จะเห็นว่าเป็นของทำได้ง่ายขึ้นทุกทีฯอีกประการหนึ่งการบำเพ็ญบารมีเพื่อปรารถนาเป็นสาวกสาวิกาปกตินั้นย่อมไม่กินเวลานานเท่าไรนักกินเวลาเพียงแสนมหากัลป์เท่านั้น

    ส่วนปรารถนาเป็นมหาสาวก และอัครสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จึวกินเวลานานมากกว่ากันขึ้นไปเป็นลำดับ

    เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นพระนิพพานอยู่ตราบใดก็ไม่เห็นความสิ้นทุกข์อยู่ตราบนั้น เหมือนกับเรายังไม่เห็นความมั่งมีตราบใดเราก็ไม่เห็นการสิ้นความจนอยู่ตราบนั้น

    ฉะนั้น โดยเหตุนี้ จึงควรที่ทุกคนจะพยายามบำเพ็ญบารมีทั้ง 0 ที่มีทานบารมีเป็นต้น ให้มีขึ้นในตนเสมอไป แก้ไขมาในคำว่า นิพพานเห็นได้ยาก ก้พอเป็นที่เข้าใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายแล้ว จึงจะได้อธิบายคำอื่นต่อไป

    มีคำว่านิพพานไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นต้นคือคำว่านิพพานไม่มีเครื่องน้อมไปนั้นพระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าตัณหาชื่อว่าเป็นเครื่องน้อมไปเพราะน้อมไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นและน้อมไปในภพทั้งหลาย
    มีกามเป็นต้นซึ่งท่านย่นใจความว่านิพพานนั้นไม่มีตัณหา

    คำของพระอรรถกถาจารย์ที่อธิบายดังนี้ เป็นอันได้ความแจ่มแจ้งแล้ว คือ
    พระนิพพานนั้นไม่มีตัณหาที่จะให้น้อมไปในอารมณ์และภพอันใดอันหนึ่งจึงเป็นที่เกษมสุขอย่างยิ่งเพราะเหตุว่าสิ่งที่มีตัณหานั้นเป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์ทั้งนั้นคำว่านิพพานไม่มีเครื่องน้อมไป

    คือตัณหานี้เป็นเครื่องชี้คุณของนิพพานให้เห็นว่าไม่มีเหตุที่จะให้เกิดทุกข์จึงจัดเป็นเอกันตบรมสุขอย่างยิ่งสมกับคำว่านิพพานังปรมังวทันติพุทธาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวว่านิพพานเป็นบรมสุขดังนี้


    คำว่า ของจริงไม่ใช่เห็นได้ง่ายในพระอุทานนั้น พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า นิพพานนั้นชื่อว่าเป็นของจริง เพราะเป็นของไม่วิปริต เป็นของมีอยู่โดยแท้ ใครจะแก้ไขให้เห็นว่า นิพพานไม่มีนั้นเป็นอันไม่ได้ นิพพานนั้นถึงผู้ได้สะสมบุญญาณไว้ได้ตลอดกาลนาน ก็ยังยากที่จะเห็นได้ ดังนี้ คำของพระอรรถกถาจารย์นี้เป็นคำที่แจ่มแจ้งอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องชี้แจงซ้ำอีกให้พิสดารเป็นแต่จับใจความว่า ตามถ้อยคำของพระอรรถกถาจารย์นี้มีมาว่า นิพพานซึ่งเป็นของจริงนั้น ถึงผู้บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว ก็ยากที่จะสำเร็จได้
    คำว่าแทงตลอดตัณหานั้น
    พระอรรถกถาจารย์ว่า ได้แก่ละตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ฯ คำว่าผู้รู้ผู้เห็นนั้น ได้แก่ ผู้รู้เห็นอริยสัจด้วยอริยมรรคปัญญา คำว่าไม่มีความกังวลนั้นได้แก่ไม่มีกิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ คือ ความวนเวียนแห่งกิเลส และกรรมกับทั้งผลแห่งกรรม ดังนี้ ถ้อยคำของพระอรรถกถาจารย์เหล่านี้ ก็มีใจความแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น โดยเหตุนี้ จึงของดธัมมัตถาธิบายในพระพุทธอุทาน ที่ ๗๒ อันมีเนื้อความว่า ธรรมชาติอันใดไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นของเห็นได้ยาก เพราะของจริงไม่ใช่เป้นของเห็นได้ง่าย เครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผุ้แทงตลอดตัณหาแล้วรู้อยู่เห็นอยู่ ดังนี้ ......
    ที่มา กัณฑ์ ที่ ๗๒ คัมภีร์ ขุททกนิกาย พุทธอุทาน ว่าด้วยนิพพานอันปรากฎแก่ผุ้สิ้นตัณหา
     
  3. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    [​IMG]
     
  4. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,689
    ค่าพลัง:
    +9,239

    [​IMG]


    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ
    นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ
    ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อมตภาพ......"

    ภิกขุสูตร ที่ ๒ มหา. สํ. (๓๑-๓๒)

    ขออนุโมทนาค่ะ
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ทาน ศีล ภาวนา
    ศีล สมาธิ ปัญญา
    ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
    ทุกข์ นิโรธ สมุทัย มรรค
    โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
    สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล
    อนาคามีมรรค อนาคามีผล
    อรหัตมรรค อรหัตผล
    นิพพาน เท่ากับ นิพพาน เกินกว่าสมมุติใดจะบัญญัติได้ เป็นที่สุดแห่งเหตุและเป็นที่สุดแห่งผล พ้นจากสมมุติบัญญัติทุกประการ
    อนุโมทนาสาธุด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...