บุญที่ถูกลืม

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย junoo, 25 มีนาคม 2010.

  1. junoo

    junoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +268
    = = = = บุญที่ถูกลืม = = = =

    โดย พระไพศาล วิสาโล


    จากคอลัมน์บทความพุทธิกา

    <O:p</O:p


    คุณนายแก้วเป็นเจ้าของโรงเรียนที่ชอบทำบุญมากเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าทอดกฐินอยู่เนือง ๆใครมาบอกบุญสร้างโบสถ์วิหารที่ไหนไม่เคยปฏิเสธ
    เธอปลื้มปิติมากที่ถวายเงินนับแสนสร้างหอระฆังถวายวัดข้างโรงเรียน

    แต่เมื่อได้ทราบว่านักเรียนคนหนึ่งไม่มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียน ค้างชำระมาสองเทอมแล้ว
    เธอตัดสินใจไล่นักเรียนคนนั้นออกจากโรงเรียนทันที

    <O:p</O:p
    สายใจพาป้าวัย 70 และเพื่อนซึ่งมีขาพิการ ไปถวายภัตตาหารเช้าที่วัดแห่งหนึ่ง
    ซึ่งมีเจ้าอาวาสเป็นที่ศรัทธานับถือของประชาชนทั่วประเทศเช้าวันนั้นมีคนมาทำบุญคับคั่ง จนลานวัดแน่นขนัดไปด้วยรถ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อได้เวลาพระฉัน ญาติโยมก็พากันกลับสายใจพาหญิงชราและเพื่อนผู้พิการเดินกะย่องกะแย่งฝ่าแดดกล้าไปยังถนนใหญ่ เพื่อขึ้นรถประจำทางกลับบ้าน

    ระหว่างนั้นมีรถเก๋งหลายสิบคันแล่นผ่านไปแต่ตลอดเส้นทางเกือบ 3 กิโลเมตร ไม่มีผู้ใจบุญคนใดรับผู้เฒ่าและคนพิการขึ้นรถเพื่อไปส่งถนนใหญ่เลย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เหตุการณ์ทำนองนี้ มิใช่เป็นเรื่องแปลกประหลาดในสังคมไทยชอบทำบุญแต่ไร้น้ำใจ
    เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่ชาวพุทธทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าคนไทยนับถือพุทธศาสนากันอย่างไรจึงมีพฤติกรรมแบบนี้กันมาก<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เหตุใดการนับถือพุทธศาสนา จึงไม่ช่วยให้คนไทยมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะผู้ที่ทุกข์ยากการทำบุญไม่ช่วยให้คนไทยมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นเลยหรือ ??????

    <O:p</O:p
    หากสังเกตจะพบว่าการทำบุญของคนไทยมักจะกระทำต่อสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน
    เช่น พระภิกษุสงฆ์วัดวาอาราม พระพุทธเจ้า เป็นต้น
    แต่กับสิ่งที่ถือว่าอยู่ต่ำกว่าตน เช่น คนยากจนหรือสัตว์น้อยใหญ่ เรากลับละเลยกันมาก
    แม้แต่เวลาไปทำบุญที่วัด เราก็มักละเลย สามเณรและแม่ชีแต่กุลีกุจอเต็มที่กับพระสงฆ์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อะไรทำให้เราชอบทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน ?????
    ใช่หรือไม่ว่าเป็นเพราะเราเชื่อว่าสิ่งสูงส่งเหล่านั้นสามารถบันดาลความสุขหรือให้สิ่งดี ๆ ที่พึงปรารถนาแก่เราได้
    เช่น ถ้าทำอาหารถวายพระ บริจาคเงินสร้างวัดหรือพระพุทธรูปก็จะได้รับความมั่งมีศรีสุข มีอายุ วรรณะ สุข พละ เป็นต้นหรือช่วยให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ มีความสุขสบายในชาติหน้า

    <O:p</O:p
    ในทางตรงข้ามสิ่งที่อยู่ต่ำกว่าเรานั้นไม่มีอำนาจที่จะบันดาลอะไรให้เราได้ หรือไม่ช่วยให้เราสุขสบายขึ้นเราจึงไม่สนใจที่จะช่วยเหลือเผื่อแผ่ให้แก่สิ่งเหล่านั้น

    <O:p</O:p
    นั่นแสดงว่าที่เราทำบุญกันมากมาย ก็เพราะหวังประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ
    ดังนั้นยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น
    ผลคือจิตใจยิ่งคับแคบ ความเมตตากรุณาต่อผู้ทุกข์ยากมีแต่จะน้อยลง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้ กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง
    แน่นอนว่าประโยชน์ย่อมเกิดแก่ผู้รับอยู่แล้วเช่น หากถวายอาหารอาหารนั้นย่อมทำให้พระสงฆ์มีกำลังในการศึกษาปฏิบัติธรรมได้มากขึ้นแต่อานิสงส์ที่จะเกิดแก่ผู้ถวายนั้น ย่อมไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะเจือด้วยความเห็นแก่ตัว

    <O:p</O:p
    ยิ่งถ้าทำบุญ 100 บาทเพราะหวังจะได้เงินล้าน บุญที่เกิดขึ้นย่อมน้อยลงไปอีก
    เพราะ.....ใช่หรือไม่ว่านี่เป็นการ ค้ากำไรเกินควร”<O:p</O:p
    บุญที่ทำในรูปของการถวายทานนั้นไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเงินก็ตามจุดหมายสูงสุดอยู่ที่การลดความยึดติด ถือมั่น ในตัวกูของกูยิ่งลดได้มากเท่าไรก็ยิ่งเข้าใกล้นิพพานอันเป็นประโยชน์สูงสุดที่เรียกว่า ปรมัตถะซึ่งสูงกว่าสวรรค์ในชาติหน้า (สัมปรายิกัตถะ) หรือความมั่งมีศรีสุขในชาตินี้ (ทิฏฐธัมมิกัตถะ)แต่หากทำบุญเพราะหวังแต่ประโยชน์ส่วนตนอยากได้เข้าตัวมาก ๆ แทนที่จะสละออกไปก็ยิ่งห่างไกลจากนิพพานหรือกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นนิพพานด้วยซ้ำ

    <O:p</O:p
    อันที่จริงอย่าว่าแต่นิพพานเลย แม้แต่ความสุขในปัจจุบันชาติ ก็อาจเกิดขึ้นได้ยาก
    เพราะจิตที่คิดแต่จะเอานั้น เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ในทานมหัปผลสูตร อังคุตตรนิกาย พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรว่า
    ทานที่ไม่มีอานิสงส์มาก ได้แก่ทานที่ให้อย่างมีใจเยื่อใยให้ทานอย่างมีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญรวมถึงทานที่ให้เพราะต้องการเสวยผลในชาติหน้า เป็นต้น

    พิจารณาเช่นนี้ก็จะพบว่าทานที่ชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ทำกันนั้น หาใช่ทานที่พระองค์สรรเสริญไม่
    นอกจากทำด้วยความมุ่งหวังประโยชน์ในชาติหน้าแล้ว ยังมักมีเยื่อใยในทานที่ถวาย

    <O:p</O:p
    กล่าวคือทั้ง ๆ ที่ถวายให้พระสงฆ์ไปแล้วก็ยังไม่ยอมสละสิ่งนั้นออกไปจากใจ
    แต่ใจยังมีเยื่อใยในของชิ้นนั้นอยู่เช่นเมื่อถวายอาหารแก่พระสงฆ์แล้ว ก็ยังเฝ้าดูว่าหลวงพ่อจะตักอาหารของฉันหรือไม่หากท่านไม่ฉัน ก็รู้สึกไม่สบายใจ คิดไปต่าง ๆ นานา
    นี้แสดงว่ายังมีเยื่อใยยึดติดผูกพันอาหารนั้นว่า เป็นของฉันอยู่ไม่ได้ถวายให้เป็นของท่านอย่างสิ้นเชิง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เยื่อใยในทานอีกลักษณะหนึ่งที่เห็นได้ทั่วไปก็คือ การมุ่งหวังให้ผู้คนรับรู้ว่าทานนั้น ๆ ฉันเป็นผู้ถวายดังนั้นตามวัดวาอารามต่าง ๆ ทั่วประเทศ ของใช้ต่าง ๆไม่ว่า ถ้วย ชาม แก้วน้ำ หม้อ โต๊ะ เก้าอี้ตลอดจนขอบประตูหน้าต่างในโบสถ์วิหารและศาลาการเปรียญจึงมีชื่อผู้บริจาคอยู่เต็มไปหมดกระทั่งพระพุทธรูปก็ไม่ละเว้นราวกับจะยังแสดงความเป็นเจ้าของอยู่หาไม่ก็หวังให้ผู้คนชื่นชมสรรเสริญตน

    <O:p</O:p
    การทำบุญอย่างนี้จึงไม่ได้ละความยึดติดถือมั่นในตัวตนเลยหากเป็นการประกาศตัวตนอีกแบบหนึ่งนั่นเอง<O:p</O:p
    การทำบุญแบบนี้แม้จะมีข้อดีตรงที่ช่วยอุปถัมภ์วัดวาอารามและพระสงฆ์ให้ดำรงอยู่ได้
    แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ไม่ส่งเสริมให้ผู้คนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันโดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากหรือไร้อำนาจวาสนา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เมืองไทยมีวัดวาอารามใหญ่โตและสวยงามมากมาย
    แต่เวลาเดียวกันก็มีคนยากจนและเด็กถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนมากไม่นับสัตว์อีกนับไม่ถ้วน ที่ถูกละเลยหรือถูกปลิดชีวิตแม้กระทั่งในเขตวัด
    </O:p
    อันที่จริง ถ้ามองให้กว้างกว่าการทำบุญก็จะพบปรากฏการณ์ในทำนองเดียวกัน นั่นคือ
    คนไทยนิยมทำดีกับคนที่ถือว่าอยู่สูงกว่าตนแต่ไม่สนใจที่จะทำดีกับคนที่ถือว่าต่ำกว่าตน
    เช่น ทำดีกับ เจ้านาย คนรวยข้าราชการระดับสูง นักการเมืองทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลเดียวกันคือคนเหล่านั้นให้ประโยชน์แก่เราได้ (หรือแม้เขาจะให้คุณได้ไม่มากแต่ก็สามารถให้โทษได้)<O:p</O:p
    ประโยชน์ในที่นี้ไม่จำต้องเป็นประโยชน์ทางวัตถุ อาจเป็นประโยชน์ทางจิตใจก็ได้ <O:p</O:p
    เช่น คำสรรเสริญ หรือการให้ความยอมรับ

    ประการหลังคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไทยขวนขวายช่วยเหลือฝรั่งที่ตกทุกข์ได้ยากอย่างเต็มที่
    แต่กลับเมินเฉย หากคนที่เดือดร้อนนั้นเป็นพม่า มอญ ลาว เขมร หรือกะเหรี่ยง
    ใช่หรือไม่ว่า คำชื่นชมของพม่าหรือกะเหรี่ยงมีความหมายกับเราน้อยกว่าคำสรรเสริญของฝรั่ง

    <O:p</O:p
    บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นคนใจบุญไม่ใช่เพราะนิยมทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตนเท่านั้น
    หากยังยินดีที่จะทำบุญกับสิ่งที่เสมอกับตน หรืออยู่ต่ำกว่าตนอีกด้วย
    แม้เขาจะไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ตนได้ ก็ช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ทั้งนี้เพราะมิได้หวังผลประโยชน์ใด ๆ นอกจากความปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์
    นี้คือกรุณาที่แท้ในพุทธศาสนา
    การทำดีโดยหวังผลประโยชน์หรือยังมีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติอยู่ ย่อมไม่อาจเรียกว่าทำด้วยเมตตากรุณาอย่างแท้จริงจะว่าไปแล้ว ไม่เพียงความใจบุญหรือความเป็นพุทธเท่านั้น
    แม้กระทั่งความเป็นมนุษย์ก็วัดกันที่ว่าเราปฏิบัติอย่างไรกับคนที่อยู่ต่ำกว่าเราหรือมีอำนาจน้อยกว่าเราหาได้วัดที่การกระทำต่อคนที่อยู่สูงกว่าเราไม่

    <O:p</O:p
    ถ้าเรายังละเลยเด็กเล็ก ผู้หญิง คนชรา คนยากจน คนพิการ คนป่วยรวมทั้งสัตว์เล็กสัตว์น้อยแม้จะเข้าวัดเป็นประจำ บริจาคเงินให้วัดอุปถัมภ์พระสงฆ์มากมายก็ยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นคนใจบุญ เป็นชาวพุทธหรือเป็นมนุษย์ที่แท้

    <O:p</O:p
    ไม่ผิดหากจะกล่าวว่านี้เป็นเครื่องวัดความเป็นศาสนิกที่แท้ในทุกศาสนาด้วย
    แม้จะปฏิบัติตามประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา อย่างเคร่งครัด แต่เมินเฉยความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์หรือยิ่งกว่านั้น คือกดขี่บีฑาผู้คนในนามของพระเจ้าย่อมเรียกไม่ได้ว่าเป็นศาสนิกที่แท้ จะกล่าวไปใยถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในแง่ของชาวพุทธ การช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยากเดือดร้อน ทั้ง ๆที่เขาไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่เราได้เป็นเครื่องฝึกใจให้มีเมตตากรุณาและลดละความเห็นแก่ตัวได้เป็นอย่างดี ยิ่งทำมากเท่าไร จิตใจก็ยิ่งเปิดกว้างอัตตาก็ยิ่งเล็กลงทำให้มีที่ว่างเปิดรับความสุขได้มากขึ้นยิ่งให้ความสุขแก่เขามากเท่าไรเราเองก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น
    สมดังพุทธพจน์ว่าผู้ให้ความสุขย่อมได้รับความสุข

    <O:p</O:p
    เป็นความสุขที่ไม่หวังจะได้รับแต่ยิ่งไม่อยาก ก็ยิ่งได้ ในทางตรงข้ามยิ่งอยาก ก็ยิ่งไม่ได้<O:p</O:p
    เมื่อใจเปิดกว้างด้วยเมตตากรุณา เราจะพบว่าไม่มีใครที่อยู่สูงกว่าเราหรือต่ำกว่าเรา
    ถึงจะเป็นพม่า มอญ ลาว เขมร กะเหรี่ยงลัวะ ขมุ เขาก็มีสถานะเสมอเรา คือเป็นเพื่อนมนุษย์
    และเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่เจ็บ ตาย กับเรา แม้แต่สัตว์ก็เป็นเพื่อนเราเช่นกัน

    <O:p</O:p
    จิตใจเช่นนี้ คือจิตใจของชาวพุทธและเป็นที่สถิตของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
    การทะนุบำรุงพุทธศาสนาที่แท้ก็คือการบำรุงหล่อเลี้ยงจิตใจเช่นนี้ ให้เจริญงอกงามในตัวเรา
    ในลูกหลานของเราและในสังคมของเราหาใช่การทุ่มเงินสร้างโบสถ์วิหารราคาแพง ๆหรือสร้างพระพุทธรูปให้ใหญ่โตที่สุดในโลกไม่

    <O:p</O:p
    ดังนั้นเมื่อใดที่เราเห็นคนทุกข์ยากไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน เชื้อชาติอะไร ต่ำต้อยเพียงใดอย่าได้เบือนหน้าหนีขอให้เปิดใจรับรู้ความทุกข์ของเขา แล้วถามตัวเองว่า เราจะช่วยเขาได้หรือไม่และอย่างไร<O:p</O:p

    เพราะนี้คือโอกาสดีที่เราจะได้ทำบุญ ลดละอัตตาตัวตนและบำรุงพระศาสนาอย่างแท้จริง<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    ธรรมสวัสดี<O:p</O:p

    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2010
  2. T.cha

    T.cha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2010
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +641
    ผมว่ามันก็ไม่เสมอไปทุกคนหรอกนะครับ คนไทย น้ำใจงาม ก็ยังมีอีกเยอะ ไปเจอไม่ดีมาสองคน ก็ว่าคนไทยทั้งประเทศซะแล้ว เหอะๆ แล้วมีประเทศใดในโลกหนอ ที่คนมันสมบูรณ์แบบกันทั้งประเทศ
     
  3. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    Charity begin at home !

    ก่อนจะให้ทานกับใครเขา ให้ตัวเรา คนใกล้ตัว คนรอบข้างก่อน
     
  4. no-ne

    no-ne เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    1,199
    ค่าพลัง:
    +3,381
    อนุโมทนาค่ะ กรณีนี้เป็นเฉพาะบางคน ซึ่งต้องให้เขาคิดได้เอง และต้องใช้เวลาในการแก้ไข
     
  5. junoo

    junoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +268
    "กตัญญูกตเวที"... ความรู้คุณที่ท่านทำแล้วแก่ตน และตอบแทนพระคุณนั้น พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่าเป็นธรรมของคนดี คือ คนดีมีธรรมนี้หรือธรรมนี้ทำให้คนเป็นคนดี คือ คนใดมีธรรม คือความกตัญญูกตเวที คนนั้นก็คือคนดีนั่นเอง
     
  6. ฉัตรดา

    ฉัตรดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +510
    เป็นเพียงบางคน ที่ทำบุญทำทานโดยหวังแต่อานิสงค์ของบุญอันยิ่งใหญ่ โดยไม่ได้ทำจากใจอันเลี่ยมใสศรัทธา และจิตอันอารีแท้ อันนี้ก็เป็นกรรมของเขา ย่อมมีผลตอบแทนตามที่กระทำเสมอ กรรมสามารถแยกแยะได้ด้วยตัวของมันเอง
    แต่ไม่ว่าจะทำบุญหวังอะไร ก็ทำบุญกันเยอะ ๆ ดีกว่าไม่เชื่อ ไม่คิด ไม่ทำเลย...
     
  7. โคมหลวง

    โคมหลวง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +6,383
    ชอบมากครับ

    ขอบคุณครับ
     
  8. sirawasa

    sirawasa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2010
    โพสต์:
    337
    ค่าพลัง:
    +1,192
    เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้เหมือนกันค่ะ ไปทอดกฐินที่มุกดาหาร อากาศหนาวจัด คนหนุ่มคนสาวพากันแย่งเข้าไปนอนด้านในตัวบ้าน แล้วให้คนแก่อายุ 70 กว่า สองคน นอนตากอากาศหนาวสั่นอยู่ข้างนอกแบบไม่รู้สึกรู้สาอะไร หัวร่อต่อกระซิกกันอยู่ข้างใน ดิฉันเองไม่ได้แย่งอะไรกับใคร ที่ข้างในเต็มก็อยู่ข้างนอกไป เห็นคนแก่นอนไม่ได้ (เพราะหนาว) อยู่ข้างๆ ก็ช่วยอะไรไม่ได้มากไปกว่าสละผ้าขนหนูกับเสื้อแจ็คเก็ตไปให้ห่ม แค่ก็คงคุ้มกันร่างกายท่านไม่ได้เท่าไหร่นักเพราะหนาวจัดจริงๆ
     
  9. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะ ไม่มีสิ่งใดจะยิ่งใหญ่กว่าการให้เลยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...