เรื่องที่ "นักดูจิต" ไม่ควรพลาด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 3 เมษายน 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. 5th-Lotus

    5th-Lotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +306
    แหม ๆ ถึงกับ อาราดทะนา เชียวหรือ เหอ ๆ


    อ่ะ ตะกี้เพิ่ง ไป ฝอย ประสบการณ์ ร่ำ ๆ จะ เสียหมา
    กับ วิธีเลี้ยงเหี้ย(ของตัวเอง)ให้เชื่อง ที่กาทู้นี้ มาน่ะ

    http://palungjit.org/threads/โทสะครั้งนี้จะดับลงได้อย่างไร.233896/page-3#post3161318


    พูดแบบ ออเดิร์ฟง่ะ
    แต่ถ้าจะเอาแบบพล่ามยาว ๆ น้ำท่วมทุ่ง
    ก็รอควานหาผักบุ้ง ใน โปรเจค "สันดานดิบของอิฉันชื่อ คิตตี้ "
    ที่นู๋บี กำลังจะรจนา ก็แระกันเน๊าะ งิงิ


    ปอลิง

    ช่วงนี้ นู๋บี ม่ะค่อยได้ปฏิบัติเรยอ่ะ เจ้
    ขี้เกียจตัวเป็นขน ตามใจตัวเอง
    จน เริ่มจะ เสียหมา อีกแระ
    อันนี้ หนักกว่า เสีย แมว อีกมั้ง เฮ้ออ :'(



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2010
  2. 5th-Lotus

    5th-Lotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +306

    ถ้ามิอยากรอชาติหน้า
    ก็ต้องใช้อันนี้ คร้าาาา งิงิ :cool:



    [​IMG]
     
  3. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ตามความรู้ที่ผมปฏิบัติมาบ้างแต่ไม่มาก
    ถ้าจะให้สรุปความเห็นส่วนตัว
    ซึ่งอาจจะถูกบ้างผิดบ้าง
    ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณของตนเองนะครับ

    นักดูจิตนี่ เค้าดูจิตจากอารมณ์ปกติ
    ไม่ต้องทำสมาธิก่อน
    เมื่อไม่ได้ทำสมาธิเพื่อให้พ้นจากการครอบงำของกิเลส
    การดูจิต ก็เหมือนกับการดูโดยมีกิเลสครอบงำ

    ดังจะสังเกตุได้จากการแสดงออก
    กิริยาต่าง ๆ จะใช้คำที่ไม่เหมาะสม
    เมื่ออารมณ์รุนแรงคำที่ใช้จะรุนแรงและไม่เหมาะสมไปด้วย

    นี่เป็นความคิดเห็นหนึ่งนะครับ
    ของผู้ที่ได้ศึกษาธรรมะทางด้านปฏิบัติมาบ้าง

    ถึงจะเป็นความเห็นของผู้รู้น้อย
    แต่ก็อยากจะลองนำเสนอบ้างครับ
    ท่านผู้รู้เห็นขัดแย้งยังไง เชิญตำหนิได้นะครับ
    ผมผู้รู้น้อยพร้อมจะรับฟังและนำไปแก้ไข ปรับปรุงตนครับ
     
  4. 5th-Lotus

    5th-Lotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +306
    [​IMG]


    เจ้ขวัญ จ๋า
    นู๋บี ขอนุยาด โยงลิงค์ ในนี้
    เพื่อ โปรโมท เอ๊ย แบ่งปัน ประสบการณ์ เบิ่งจิต ของตัวเอง
    สะสม วิดทะยาทานบารมี
    กับ พวกชอบทำสมาธิ เป็นงานอดิเรก
    หน่อยนะจ๊ะ เจ้ โฮ่ง ๆ ๆ


    [​IMG]



    ขี้ แร้วกลบ คือ แมว
    ขี้ แร้วแจว คือ หมา
    ขี้ แร้ว รักษา คือ สุนัข มี เพทดีกรี ชะเอิงเอย :cool:

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2010
  5. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ก่อนอื่น คุณต้องเข้าใจคนที่ทำกรรมฐานดูจิตนี่ก่อน และจะต้องเป็น
    ประเภทที่นำกรรมฐานไปทำแล้วถูกจริต หรือ ตรงกับอินทรีย์ ทำแล้ว
    เขาได้ผลของเขา

    ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมี สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา และ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
    ทั้งสองกลุ่มบุคคลนี้ มีกิเลสน้อย โทษะ โมหะ โลภะ น้อย ซึ่งจะหมายถึง
    น้อยมาก แต่จะน้อยจะมากก็ยังไม่ใช่สาระ สาระคือ ไม่เดือดร้อนจากการ
    มีโทษะ โมหะ โลภะ คือ กิเลสสามตัวนี้ไม่ทำให้เขาต้องทุกข์มาก อันนี้
    เป็นเพราะวาสนาที่มีมาก จึงเรียกว่า เป็นพวก สุขาปฏิปทา คือ ทำอะไรๆ
    ก็มักมีวาสนาไปทางความสุขมากกว่าได้รับทุกข์

    ทีนี้ความที่วาสนามาก ก็แปลว่า อินทรีย์5 นั้นมีมากด้วย อินทรีย์คือสิ่ง
    ที่มีอยู่ก่อนแล้ว มีติดตัวมาตั้งแต่ปฏิสนธิจิต ดังนั้น คุณอาจจะเห็นว่า
    เขาไม่ทำ พละ5 เพิ่ม ที่เขาไม่ทำเพิ่มเพราะเขายังมีบารมีจากอินทรีย์
    หาเก็บกินเก็บใช้อยู่

    พวกนี้จึงทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้สมองสร้างเงน สร้างรายได้ สร้างกิจกรรม
    สร้างความพอเพียง และไม่ใช่ต่อตนเอง แต่เป็นต่อสังคมด้วย ทำให้เป็น
    คนชอบการอยู่ในสังคมที่แออัดด้วย และโดยธาตุเหล่านั้น รวมเรียกว่า คนเมือง

    ทีนี้ เมื่อเข้าใจอินทรีย์ พละ และลักศณะการโดนกิเลสครอบงำแล้ว ก็จะ
    พบว่า เขามีกิเลสน้อย ดังนั้น การประพฤติปฏิบัติส่วนใหญ่จะต้องดูที่เขา
    เห็นสภาวะที่ไม่โดนกิเลสครอบงำไปในทางทุกข์ แต่จะต้องมองเห็นเขา
    ปฏิบัติขณะที่เขาโดนกิเลสครอบงำแต่เกิดสุข ดังนั้น เขาปฏิบัติเพื่อแล
    เห็นความสุขที่เขาเสพเป็นของชั่วคราวเป็นหลัก หากเขาถอดถอนตน
    ออกจากการติดสุข นั่นคือความก้าวหน้าของเขา

    และเมื่อเขาคลายจากสุขที่ยึดจับไว้ได้ จิตก็จะเป็นกลาง และค่อยๆเป็น
    อุเบากขาต่อสุข เมื่อชีวิตของเขาที่มีสุขเสียส่วนใหญ่แต่เกิดอุเบกขา
    ร่วมด้วย จิตเขาก็สงบลงมาที่องค์ของฌาณคือ สุข+อุเบกขา ซึ่งก็
    จะทำให้ค่อยเกิดเอกัคคตา ค่อยๆรู้จัก สมาธิจิต จนเกิดศรัทธาในรส
    สมาธิจิต (ตรงนี้ คือ ส่วนที่รู้ได้เร็ว ตามพระสูตร)

    พอศรัทธาก็จะรู้ตนว่า ตนกินบุญเก่า(อินทรีย์)อยู่ ขาดการทำ พละ เพิ่ม

    เมื่อนั้นเขาก็กลับมาทำกุศลในสิ่งที่ยังไม่เกิด เพียรรักษาสิ่งที่เกิดแล้ว
    ก็จะเริ่มเดินเข้าสายโพธิปักขยิธรรม

    http://palungjit.org/threads/เรื่อง...ติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว-ฯลฯ-เป็นอย่างไร.234221/
     
  6. พรานยึ้ม

    พรานยึ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    591
    ค่าพลัง:
    +682
    ปริยัติดี ปฏิบัติก็ต้องดีด้วย ถูกมะ


    แต่ผลที่ได้รับ จากการปฏิบัติ

    จะมากน้อย นี่สิ สำคัญ

    จากพยาบาท อาฆาตมาดร้าย เหลือแค่โกรธมาก โกรธจัดไหม

    จากโกรธจัดโกรธมาก เหลือแค่ ขุ่นข้องไหม จากขุ่นข้อง บรรเทามาอยู่ที่

    รู้สึกขัดใจ หรือกรุ่นในใจ หรือเหลือแค่ปฏิฆะไหม

    จากปฏิฆะ เหลือแค่ เอ้ นึกได้ว่า เฮ้ย ไอนั่น มันไม่ควรพูดแบบนี้กับเราเลย

    โกรธ ขุ่นข้องนะ แต่มันมาช้า มันไม่จี๊ดทันที บางทีผ่านไป สองสามวัน นึกขึ้นได้

    อย่างงี้ การปฏิบัติ เริ่มมีผลแล้ว เริ่มก้าวหน้า

    เอาของจริง ปฏิบัติแล้วไห้เกิดผลจริงๆ วัดได้จริงๆ ว่าเราก้าวหน้า

    ถ้าเป็นเถรใบลานเปล่า ประโยชน์มันน้อยนะ จริงไม่จริง? ถูกไม่ถูก?
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ก็ถูกของคุณหลบทำไม
    ทำแล้วก็ต้องดูลงที่ตัวเองทั้งนั้น
    ถึงจะรู้ผลได้ด้วยตนเอง ว่าได้ผลจริง หรือเป็นเถรใบลาน
    ก็ดูอาการไป สนใจอาการคนอื่นมาก ก็ขาดความก้าวหน้า
    เอาคนอื่นมาเป็นอารมณ์มาก ก็ถดถอย ไม่มีผลดีกับตัวเอง
    มีสติรู้ตัวเอง เรียกว่าทำความเพียร
    มีสติไปรู้คนอื่นเรียกว่าขาดความเพียร มีแต่เพลิดเพลินสนุกสนาน
    มีสติไปขัดขาคนอื่น ถ้าขัดขาคนอื่นแล้วเค้าได้สติได้ปัญญา ก็เรียกว่าสร้างบารมี
    ถ้าไปขัดขาคนอื่นแล้วเค้ายิ่งขาดสติคุ้มคลั่ง ก็เรียกว่าสร้างศัตรู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2010
  8. Hillary

    Hillary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +338
    ขอสวยน้อยกว่าคุณ 5th-Lotus หน่อยหนึ่งนะค๊ะ โอแล้วต้องรักษาศีล ๕ ด้วย ใช่นะค๊ะ
     
  9. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เมื่อได้อ่านโพสต์ของท่านผู้รู้
    กระผมผู้รู้น้อย แต่เกิดความสงสัยในโพสต์
    และมีความเห็นขัดแย้ง
    เดิมทีพิจารณาว่าจะไม่แสดงความเห็นขัดแย้ง
    แต่นิสัยเป็นคนชอบสอดรู้สอดเห็น
    อดไม่ไหวจึงต้องขออนุญาตท่านผู้รู้
    เพื่อแสดงความเห็นของกระผม
    หากมีผิดพลาดประการใดขอท่านผู้รู้โปรดชี้แนะ
    และหากมีสิ่งใดผิดพลาดล่วงเกินต้องขออภัย
    ตามข้อความที่กระผม quote จาก post ของท่าน
    ตรงจุดนี้จุดหนึ่งเป็นสิ่งที่กระผมเห็นขัดแย้ง

    ท่านแสดงความเห็นว่า ผู้ที่เป็นสุขาปฏิปทา เป็นผู้มีวาสนามาก
    และผู้ที่มีวาสนามาก ก็แปลว่า อินทรีย์ 5 มากด้วย
    ซึ่งไม่ถูกต้อง

    เนื่องจากผู้ที่เป็นสุขาปฏิปทา
    จะต้องมี กิเลสไม่กล้า(ท่านใช้ว่ามากหรือน้อย ถือว่าอนุโลมใช้ในที่นี้)
    เพราะไม่ต้องมีทุกขเวทนาจากกิเลส
    และผู้ที่จะเป็นขิปปาภิญญา หรือ ทันธาภิญญา
    ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ 5

    ดังนั้นการที่ท่านยกเรื่องวาสนามาเชื่อมให้เห็นความสัมพันธ์ว่า
    ผู้ที่เป็นสุขาปฏิปทา มีวาสนา แล้วผู้มีวาสนา จะมี อินทรีย์ 5 มากด้วย
    จึงเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง

    เพราะการจะเป็นสุขาปฏิปทาหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับกิเลสว่ากล้าหรือไม่
    ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของ วาสนา
    และ เรื่องของวาสนา ก็ไม่เกี่ยวกับ อินทรีย์ 5

    การนำคำว่า "วาสนา" มาเชื่อมโยงความเข้าใจทางธรรมของท่าน
    ทำให้เกิดความหลงผิดอย่างใหญ่หลวง

    และที่สำคัญท่านใช้คำว่า"วาสนา" เพื่อเชื่อมโยงว่า
    ผู้มีวาสนา มี อินทรีย์ 5 มาก
    และเมื่อมีอินทรีย์ 5 มาก ก็ต้องเป็นกลุ่มผู้ใช้สมอง
    จึงต้องเป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยในเมือง
    ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจผิดอย่างมาก

    ซึ่งไม่มีข้อบ่งชี้ตรงไหนว่าผู้มีอินทรีย์ 5 มาก
    ต้องเป็นกลุ่มผู้ใช้สมอง
    นอกจากการคิดเดาไปเองของท่าน
    พระไตรปิฎกไม่เคยบัญญัติเช่นนี้

    และจุดสุดท้ายที่ท่านเชื่อมโยงก็คือ

    ผู้ที่เป็นสุขาปฏิปทา เป็นผู้มีวาสนา
    ผู้ที่มีวาสนา ก็ต้อง มี อินทรีย์ 5 มาก
    ผู้ที่มีอินทรีย์ 5 มาก สะสมมาเยอะ เลยเป็นผู้ใช้สมองในการทำงาน

    แล้วท่านสรุปเอาเองเลยว่า
    ผู้ที่ใช้สมองในการทำงาน จึงเป็นผู้ที่มีจริตในทาง สุขาปฏิปทา
    จึงปฏิบัติไม่ต้องลำบาก เพียงแค่ดูจิตก็ได้
    เพราะรู้ได้เร็ว มีกิเลสครอบงำก็เกิดสุขได้
    เมื่อสุขก็อุเบกขาได้ เมื่ออุเบกขาก็เอกคตาได้
    ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจผิดอย่างมาก

    จากที่ผมยกมา จะสุขได้ ต้องสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
    ไม่มีกิเลสครอบงำ จึงจะสุขได้

    แต่ท่านบอกว่ามีกิเลสครอบงำอยู่ก็สุขได้
    ซึ่งไม่ใช่สุขในสมาธิ
    แต่เป็นสุขแบบโลก
    สุขแบบโลกคนไม่รู้เรื่องธรรมก็มีได้
    แต่สุขแบบโลกเป็นเอกคตาไม่ได้
    ต้องสุขแบบสมาธิ ที่ปราศจากกิเลสครอบงำเท่านั้น
    จึงจะเป็นเอกคตาได้

    ธรรมที่ท่านกล่าวจึงผิดทั้งหมด

    สุดท้ายเมื่อท่านวิเคราะเรื่อง กิเลส เรื่องอินทรีย์เสร็จสรรพ
    ท่านจึงเสนอว่าคนในเมือง คือผู้ที่มีจริต ทาง สุขาปฏิปทา
    ต้องปฏิบัติง่าย ๆ แบบกลุ่มดูจิตของท่าน จึงจะเหมาะสม

    กระผมเองถึงจะศึกษาอ่านพระไตรปิฎกมาน้อย
    ความรู้ไม่กว้างขวางแตกฉาน

    แต่เมื่อมองเห็นจุดผิดพลาด
    ก็ต้องกล้าหาญแสดงความคิดเห็น

    ทั้งที่กลัวจนใจสั่น
    เพราะเป็นคนบ้านนอกคอกนา
    ไม่ได้มีความรู้ พอที่จะอวดคนในเมืองได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2010
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วาสนา

    คำภาษาบาลีที่เรานำมาใช้ในภาษาไทยคำหนึ่งซึ่งมีความหมายเพี้ยนไปจากเดิมอยู่บ้างและใช้ไปในทางดี นั่นคือคำว่า "วาสนา" ซึ่งพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ "น. บุญบารมี, กุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ." แต่คำนี้ในความหมายทางบาลีนั้นใช้ได้ทั้งทางดีและไม่ดี หนังสือ "ปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต" ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ได้ให้ความหมายของคำว่า "วาสนา" ไว้ดังนี้ "ธรรมชาติเครื่องอบรม ; ความแต่ง , ความปรุง , ความอบรม." ข้าพเจ้าจำได้ว่าเมื่อเรียนบาลี แปลหนังสืออรรถกถาพระธรรมบท ได้มีกล่าวถึงพระเถระรูปหนึ่งที่ชอบกล่าวคำที่ไม่สุภาพจนติดปาก ภิกษุกลุ่มหนึ่งได้ประสบมาด้วยตนเองจึงไปกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระองค์ได้ตรัสบอกว่าภิกษุรูปนั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่เหตุที่พูดคำไม่สุภาพจนติดปากนั้น เป็นเพราะ "วาสนา" คือสิ่งที่ได้รับการอบรมมาตั้งแต่เป็นคฤหัสถ์ยังละไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่กิเลสละได้หมดแล้วก็ตาม ตามศัพท์คำว่า "วาสนา" จึงแปลว่า "ความอบรม"

    บังเอิญข้าพเจ้าไปซื้อหนังสือแจกงานศพที่หน้า ส.ทร. ได้หนังสือมาเล่มหนึ่ง พิมพ์เป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายเฮอร์เบิร์ต ลิงค์ แห่งห้าง บี.กริมม์ แอนด์ โก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ในหนังสือนี้มีบทพระนิพนธ์ ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อยู่หลายเรื่อง รวมทั้งเรื่อง "วาสนา" ด้วย ข้าพเจ้าเห็นว่ามีประโยชน์มาก จึงขอนำมาเสนอท่านผู้ฟังดังนี้

    "คำว่า "วาสนา ในภาษาไทยนั้นมักจะใช้ในทางดี แต่อันที่จริงนั้นเป็นคำกลาง ๆ แปลว่า อยู่ตัว ก็มีลักษณะเป็นอันเดียวกับ สันดาน และ นิสัย สิ่งที่อยู่ตัวแล้วอย่างนี้แก้ยาก แต่ว่าไม่ใช่แก้ไม่ได้ ถ้าไม่แก้แล้วเอาดีไม่ได้ ทำอย่างไร ๆ ก็เอาดีไม่ได้ จะมาบวชเรียนพรรษา ๒ พรรษา ๒๐ พรรษา ๓๐ ปี หรือตลอด ชีวิต ถ้าไม่แก้แล้วเอาดีไม่ได้ และก็จุดสำคัญของการปฏิบัติพระพุทธศาสนานั้นต้องการแก้สิ่งที่อยู่ตัวอันนี้ให้อยู่ตัวในทางที่ดี แก้ให้เป็นไปในทางดี

    ในการแก้นั้น ก็ไม่ยากเย็นอะไร ก็แก้วิธีเดียวกัน การอยู่ตัวนั้นเกิดจากการทำบ่อย ๆ เหมือนม้วนกระดาษนั้น กระดาษก็ม้วนตัวอยู่ตัวไม่คลี่ออก จับให้คลี่ออก ก็ม้วนเข้าตามเดิม เพราะฉะนั้น ก็ตั้งใจทำดีบ่อย ๆ ซึ่งทีแรกก็เป็นการยาก เป็นความทุกข์ เป็นความเดือดร้อน ติดขัดโน่นติดขัดนี่ เสียโน่นเสียนี่ อะไรต่าง ๆ แต่ก็ต้องตั้งใจทำ อันนี้แหละจึงมาถึงที่ว่าต้องรู้อริยสัจ ต้องรู้ว่าความทุกข์ที่บังเกิดขึ้นนั้น ติดขัดต่าง ๆ นั้น ไม่ได้เกิดจากความดี หรือ สิ่งที่ดี แต่เกิดจากตัณหา การดิ้นรนทะยานอยากของจิต หรือเกิดจากกิเลสโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ที่มาเป็นตัววาสนาคอยดึงใจเราอยู่ เพราะฉะนั้น ก็ต้องสำนึกตัวเองว่า เราอย่ามีตัณหาเป็นวาสนา อย่ามีโลภ โกรธ หลง เป็นวาสนา อย่ามีความชั่วเป็นวาสนา ขอให้เรามีความดีเป็นวาสนา มีธรรมะเป็นวาสนา

    แต่การที่จะมีความดีมีธรรมะเป็นวาสนานั้น จะต้องหมั่นปฏิบัติความดี ให้ความดีอยู่ตัวเหมือนอย่างกระดาษที่ม้วนอยู่ นำมาจับคลี่ปอย ๆ บางทีก็ต้องบังคับ เอาอะไรทับไว้ ไม่ยอมให้กระดาษม้วนตัวกลับ เพราะถ้าคลี่กระดาษมาตามเดิมแล้วก็จะไม่ม้วนกลับ ฉันใดก็ดี แม้จะมีกิเลสเป็นวาสนา หรือมีความชั่วเป็นวาสนาอยู่ แต่เมื่อทำความดีบ่อย ๆ มีธรรมะเป็นสรณะดังกล่าวมาแล้ว อบรมสติ อบรมปัญญา ตักเตือนตนเองว่า ตนเองทำตนเองเข้า อะไรเหล่านี้เป็นต้น ทำดีบ่อย ๆ แล้วก็จะสร้างวาสนาในทางดี ความดีหรือธรรมะจะมาเป็นวาสนา และเมื่อมีความดีมีธรรมะแล้ว จะกลับไปทำความชั่วอีก ก็จะไม่ยอมทำ ใจไม่ยอมทำ เหมือนอย่างกระดาษที่ม้วนตัวอยู่แล้วกลับคลี่ใหม่ กระดาษก็ไม่ยอมคลี่ ฉันใดก็ดี

    นี้เป็นลักษณะของจิตซึ่งต้องมีความรู้ในอริยสัจมาประกอบให้เป็นตัวปัญญา ให้รู้จักว่าขณะที่ทำความดีจะเดือดร้อนเสียนั่นเสียนี่ต่าง ๆ นั้น นั่นเพราะมีตัณหาเป็นสมุทัย มีกิเลสเป็นสมุทัย ให้รู้จักว่านั่นเป็นตัวทุกข์ นั่นเป็นสมุทัยคือตัณหา และการที่ปฏิบัตินั้นแหละเป็นตัวมรรค แล้วก็จะดับตัณหาได้ ก็เป็นทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ ซึ่งเป็นตัวความสุขอันเป็นผลของการปฏิบัติให้รู้จักเหตุรู้จักผลควบคู่กันไปด้วย ดังนี้เป็นตัวปัญญา ต้องอาศัยตนเองปฏิบัติทั้งนั้น ให้ทำไปแล้วจะกลับตัวได้ ใครที่วาสนาชั่ว ก็จะกลับมีวาสนาดี วาสนาชั่วนั้นไม่สำคัญที่ชาติกำเนิดหรือทรัพย์สมบัติอะไรทั้งหมด แต่สำคัญที่ความดีความชั่วนี้แหละ เมื่อมีความดีเป็นวาสนา วาสนาดี เมื่อมีความชั่วเป็นวาสนา วาสนาชั่ว อันนี้เป็นสิ่งสำคัญให้มีความสำนึกอยู่ ปฏิบัติตนให้มีธรรมะเป็นสรณะ เมื่อมีธรรมะเป็นสรณะก็จะมีวาสนาดี ตนเองก็เป็นที่พึ่งของตนเองได้ อันนี้แหละเป็นจุดสำคัญที่จะต้องมีสรณะ"

    บทพระนิพนธ์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในเรื่อง "วาสนา" ก็มีเพียงเท่านี้ จากบท พระนิพนธ์นี้ก็คงพอทำให้เราเข้าใจความหมายของคำว่า "วาสนา" ที่ถูกต้องเป็นอย่างดี ใครอยากเป็นใหญ่เป็นโต มีเกียรติมีชื่อเสียงก็ต้องพยายามอบรมบ่มนิสัยให้ประกอบอยู่ในบุญกุศลคุณงามความดีอยู่เสมอ เราก็สามารถที่จะเป็นใหญ่เป็นโต หรือได้ดิบได้ดีเช่นกัน ขอให้ทำความดีนั้นติดต่อกันไปนาน ๆ ก็จะทำให้เราเป็นคนมีวาสนาดีเอง.

    จำนงค์ ทองประเสริฐ

    ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๖

    http://www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt124.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2010
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อันคนเรานั้น มีวาสนา นิสัย สันดาน ต่างๆกัน

    6



    จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการคือ
    1. ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสนิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ
    2. โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัวไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว
    3. โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็นแก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้ ไม่ชอบให้
    4. วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก
    5. สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณา
    6. พุทธิจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี
    อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน

    http://www.larnbuddhism.com/grammathan/jarit.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2010
  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    วาสนา คือ อะไร แล้วคนเราตั้งใจว่าอย่างไร ตั้งใจจะเป็นแก้วน้ำธรรมดา จะเป็นตุ่มมังกร หรือจะเป็นโอ่งแดงกันละ คนที่เป็นแก้วธรรมดา พอน้ำเต็มแก้วก็พอกินเพียงคนเดียว คนที่เป็นโอ่งมังกรพอน้ำเต็มก็ใช้ดื่มกินได้หลายคนหน่อย พอเป็นโอ่งแดงก็มากขึ้นไปอีก ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบอีกก็จะเป็น อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาป และมหาสมุทร การที่จะให้น้ำเต็มนั้นอาศัยเวลาต่างกัน อินทรีย์๕ก็ดี อิทธิบาท๔ก็ดี มันต้องมีเป็นของที่ต้องมีให้เต็มตามที่ตั้งใจ เต็มก็ต้องรู้ว่าเต็ม ขาดก็ต้องรู้ว่าขาด จะอ้างเอาสิ่งใดมาบอกว่าที่ขาดเพราะว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เขาเรียกว่า ข้ออ้างของกิเลส เหมือนกับคนเราไม่เคยมีไม่เคยได้ แต่ทำยังไงก็ไม่ได้เพราะไม่เคยแก้ไขสิ่งที่ทำนั้นก็เลยไม่ได้ แล้วบอกกับคนอื่นว่าเราเกิดมาเหมาะกับสิ่งนี้เป็นเพราะมีบางอย่างกำหนดไว้ ฟังแล้วขัดกับหลักธรรมอย่างมาก เพราะผู้ที่กำหนดจริงๆคือตัวเราการกระทำของเราในปัจจุบัน แม้ผลของอดีตจะมีอยู่แต่การกระทำในปัจจุบันนั้นสำคัญที่สุด คล้ายกับโทษว่าสิ่งอื่นพาให้เป็น พาให้เกิด พาให้ได้ไม่เหมือนเขา นี่แหละเขาเรียกว่า กิเลส ที่เป็น อวิชชา ตัวมืดบอด บอดแบบ บอดแล้วบอดอีก
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คนที่มีจริต6 ระดับรุนแรง ก็ถูกกิเลสตัณหาครอบงำง่าย
    ก็ต้องอาศัยสมาธิและสติพละ ที่แก่กล้ามากพอกัน ถึงจะพ้นการครอบงำได้
    ในทางกลับกัน คนที่สะสมมาน้อยกว่า การย่อมอาศัยสมาธิและสติพละ ที่น้อยกว่า
    ก็พอจะรักษาตนให้รอด พ้นการครอบงำของกิเลสได้เนืองๆ ก็เจริญปัญญาได้ว่องไวกว่า

    อยู่ที่มีจริตแบบใดรุนแรงขนาดไหน มีแต่ตนเองที่รู้ตนเอง
    และปรับการภาวนาให้เหมาะสมกับตน เพื่อการเจริญปัญญาอันยิ่งขึ้นๆไป

    ความสุขในทางธรรมนั้น คือความสุขที่พ้นจากการครอบงำของกิเลสเท่านั้น
    ปุถุชนก็พ้นได้ชั่วคราวตามสติปัญญา ถ้าขี้เกียจเลิกทำความเพียร ก็ลืมวิถีได้เช่นกัน

    ส่วนความสุขที่เกิดจากความพอใจในกิเลสให้กิเลสครอบงำเพื่อเสวยสุข
    แม้แต่ความสุขที่ได้จากความว่างครอบงำ ก็ไม่พ้นโลกยังเป็นความสุขทางโลกเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2010
  14. 5th-Lotus

    5th-Lotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +306

    ถ้าอยาก สวยใสน้อยกว่า นู๋บี ให้ ถือศีล 5 แค่นี้ ก็ เนียน พอแร้วเจ้าค่ะ
    ถ้าอยาก สวยเกรียน เหมียน นู๋บี ต้อง แบกศีล 6 และพกเจ้หิฯ ด้วยฮ่ะ งิงิ


    แต่ถ้าอยากสวยเด่นล้ำหน้า ใช้ BSC สิค๊ะ เหอ ๆ


    [​IMG]

    ของงี้ มันอยู่ที่วาสนา.....วาสนา ...บนฝ่ามือ 5555
     
  15. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    การรู้ตัวตนของตนเองว่าเป็นคนเช่นใดโดยไม่ให้กิเลสมาลวงกิเลสมาอ้างนั้นแหละประเสริฐสุด เพราะตำราก็ยังคือตำราใช้เพื่อพินิจพิจารณาเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าพินิจพิจารณาตัวตำรา หลักการของเรื่องจริตนั้นคือฐานของอารมณ์ หาใช่เรื่องอื่นๆแต่อย่างใด คนที่เขาไม่รู้เขาก็พาคนอื่นให้ไม่รู้ตามตามเขา คำว่าไม่รู้นั้นก็เพราะมันมี กิเลส มีอวิชชาครอบงำอยู่ จึงเอามาทำเอามาพูดไป ทั้งๆที่ดูยังไง ก็เกี่ยวกับเรื่องของฐานของอารมณ์ที่ใช้ในกรรมฐานต่างๆ ยุคไหนเขาก็พิจารณากันอย่างนี้ และความแตกต่างของอารมณ์นั้นก็หมายถึง ความสัดส่ายไปของอารมณ์ ซึ่งก็มาจากจิต จึงหมายถึง จิตที่สัดส่ายไปตามอำนาจของกิเลส มันไม่ใช่ตัวบอกว่า เป็นแบบนี้ต้องหรือมีแบบนั้นแบบนี้มาก มันก็เป็นข้ออ้างของกิเลสอีกนั่นแหละ เพราะถ้าเอากันตามจริง ชนิดของอารมณ์ที่มีในจิตที่สัดส่ายนั้นมีมากมายหลายระดับ แต่จำแนกออกมาเป็น ๖ ระดับใหญ่ นึกถึงสายสปริงขดสิ มีตึง กลาง หย่อน และ ตึง กลาง หย่อนนั้น ดึงแรงและปล่อย กับดึงเบาแล้วปล่อย จะเห็นว่าลักษณะการกระเพื่อมของมัน ต่างกันถึงหกระดับ ปัญหาคือ เราเป็นแบบไหน ไม่ใช่ไปอ้างโน้นอ้างนี้ มันไม่ได้อะไร เลยฟังได้ก็ฟังนะอาจจะต่างกับใครอยู่หลายคนบนโลกใบนี้ ในเรื่องการพิจารณาในเรื่องนั้นๆ
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG]

    ชะเอิง..เงิง..เงย... หนอ
     
  17. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ก็เป็นซะยังงั้นกันนั่นแหละ เลยพิจารณากันไม่เป็น
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ป้านู๋บี...มีเรื่องเวอร์ๆ มาเล่า
    ที่บ้านเจ๊ แมงสาบมันชักเยอะ แล้วนายฮาร์ทลูกชายเจ๊ มันกัว...จะฉี่ ก็กัว แมงสาบ
    เจ๊เลยไปซื้อกับดักแมงสาบ แบบเข้าแล้วออกไม่ได้ แต่ไม่ใช้เหยื่อที่เขาให้มานะ
    เอาหมูหยอง มาล่อแทน วันแรก ได้มาตรึม ยั้วเยี้ย เลย พอนายฮาร์ทมันเห็น แมงสาบ
    ในกับดัก ก็ดันกลายเป็นเรื่องสนุก ซะงั้น ต้องคอยไปแวะไปดู ว่าน้องแมงสาบอยู่ดีมีสุข
    รึป่าว... พอคุ้นเคยกันดี แม๊...มันทำหนิดหนม เรียกแมงสาบว่า น้องซะงั้น เด๋วดู...เด๋วดู
    ทำยังกะ ชมสวน พอเจ๊ให้เด็กที่ร้าน เอาไปปล่อยไกลๆ(ที่ไม่มีบ้านคน อะนะ) นายฮาร์ท
    นี่ร้องไห้ ปิ่มว่าจะขาดใจ คิดถึงน้องแมงสาบ... เอากะมันดิ ต้องปลอบใจลูบหัวลูบหาง
    บอกว่า เด๋วน้องแมงสาบก็มา เด๋วเอาบ้านมาให้ใหม่ 5 ขวบเอง โคตรจะ ดราม่าเลย ลูกชั้น
     
  19. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เรื่อง ความหมายของวาสนา บารมี นั้น เคขวัญ เขาก็ยกให้อ่านแล้ว หาก
    จะเทียบปริยัติของพระอาจารย์สงบท่านก็จะพูดคำว่า ข้อเท็จจริงที่มีมากับ
    จิตตั้งแต่ปฏิสนธิจิต หากขยายความก็จะพูดถึง การสะสมบารมีของพระพุทธ
    องค์เป็นตัวอย่าง

    คราวนี้ก็มาดูตรงจุดที่ว่า

    คุณต้องกลับไปอ่านใหม่ แต่ทำความเข้าใจให้ดีๆ ถึงลำดับการอบรมจิต
    ต้องไม่ลืมว่า พวกดูจิต หรือ มีสติทันความคิด นั้น "เป็นพวกมีวิปัสสนาเป็น
    เบิ้องหน้า สมาธิเกิดทีหลัง" ความตรงนี้ตั้งไว้แล้วจึงจะเข้าใจ ถ้าไม่ตั้ง
    ข้อศึกษานี้ไว้ เมื่อพิจารณาตามแล้ว จะเกิดอาการเห็น กลับหัวกลับหาง กับ
    สิ่งที่ท่านเห็นด้วยข้อเท็จจริงของตน จนมองข้ามไม่ได้ แต่ถ้าตั้งโจทย์ไว้
    แล้วนมสิการดู ก็จะพบว่า มันไม่ได้กลับหัวกลับหางแต่อย่างใด มันก็เป็น
    มรรควิธีอย่างหนึ่งที่มีระบุไว้ในพระไตรปิฏก

    แต่ถ้าศึกษาแบบเอาประสบการณ์ส่วนตัวตั้งตะพึด การที่จะนมสิการมรรควิธี
    อื่นๆที่ปรากฏในพระไตรปิฏกก็จะทำไม่ได้ แล้วจะเผลอพูดขึ้นว่า พระไตร
    ปิฏกเป็นเพียงปริยัติ ไม่ใช่ ภาษาปฏิบัติ ซึ่งจะพลาดพลั้งตำหนิพระไตรปิฏก
    จนอาจทำให้อดมีความแตกฉานในธรรมไปอย่างน่าเสียดาย

    เมื่อตั้งไว้แล้วว่า มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มาสมาธิตามหลัง ก็จะเห็นว่า

    กามคุณที่ห้อมล้อมบุคคลผู้มีวาสนา(เฉกเช่น เทวดา ถ้าเทียบ คนธรรมดา
    ก็เพียงแต่ พูดออกมาสองสามคำก็ได้เงินเป็นล้าน) เพราะพวกนี้มีสติที่
    ว่องไวไปในกองกิเลสโดยไม่ติดข้อง(ทุกข์ใจที่เห็น) เมื่อแลไปอย่างไม่
    ติดข้องจึงเฝ้นธรรมจำนวนมากแล้วเลือกมาเพียง กริยาใดกริยาหนึ่ง คำใด
    คำหนึ่ง หรือ นิมิตใดนิมิตหนึ่ง มาสร้างทฤษฏี กฏ เพื่อให้ผู้อื่นทำตามได้
    จำนวนมาก(อันเป็นที่มาของการแสวงหาธาตุ ซึ่งรวมไปถึงโภคทรัพย์ด้วย)

    จะเห็นว่า ความสงัดจากกามคุณมีอยู่โดยทั่ว ด้วยสัมปชัญญะอันยิ่ง ยกตัว
    อย่างเช่น ไอนสไตน์ อาจารย์โฆษิตพิพัฒน์ หมอ นักกฏหมาย นักการ
    บัญชี นักการธนาคาร นักธุรกิจหลักทรพย์ วิศวกร หรือ แม้แต่พวก สักกเทวราช
    พระอินทร์ หมู่เทวดา

    พวกนี้สงัดจากกามคุณอันหยาบ และรวมถึงสงัดจากอกุศลธรรม เป็นส่วนใหญ่
    สติเกิดช้า แต่รู้ได้เร็ว

    คำว่า สติ เกิดช้า ก็เพราะ ต้องระงับสุขแบบภพชาติลง ซึ่งก็ไม่ใช่ง่ายเพราะ
    ความสุขที่ปราณีตเหล่านั้นย่อมเกิดร่วมกับสมาธิ เขาจึงใช้พลังจิตไปทางความ
    คิดได้มาก ไม่เหมือนทุกขปฏิปทาแค่ให้คิดคำนวนเล็กๆน้อยๆ ก็อาจจะหมดแรง
    ถ้อถอยไปเสียแล้ว คนพวกนี้จึงต้องระงับสุขที่เกิดจากกามคุณ และยังต้องระงับ
    สุขอันเกิดจากสมาธิไปด้วย หากอินทรีย์มีมาก ก็จะเป็นพวกระงับสุขทั้งจากกาม
    คุณและสุขจากสมาธิควบไปด้วยกัน(พวกวิปัสสนาควบสมาธิ) ครั้นเมื่อสุขใน
    กาลก่อนๆที่เสพสุขอยู่ด้วยจิตระงับลงเป็นอุเบกขา เมื่อนั้น สมาธิ จึงเกิดภายหลัง

    ทีนี้ หากมาผลิกดูสุขจากกามคุณ ดูอีกทีถามว่า เขาแลเห็นสุขใช่หรือไม่ เราก็
    อย่าไปติดคำศัพท์เพียงเล็กน้อย ต้องเล็งเห็นว่า สุขอันเกิดจากกามคุณ ก็คือ
    ทุกข์ อย่างหนึ่ง ดังนั้น เขาจึงทำกิจละทุกข์ หรือ กำลัง รู้ทุกขสัจจ อยู่ไม่
    ต่างจากทุกขาปฏิปทา

    และคำว่า รู้เร็ว นี้คือ รู้อะไร ก็ต้องหมายลงมาที่ รู้สัมมาสมาธิ เป็นหัวใจ ไม่ใช่
    ไปรู้ลำพังแค่เอกัคคตาจิตซึ่งเป็นกลายเป็นเรื่องลำพังของฌาณ ดังนั้น คนที่ปฏิบัติ
    แบบมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เป็นปัญญาธิกะ เป็นธรรมานุสสารี จึงเข้าสู่การรู้
    สัมมาสมาธิ ไปโดยตรง โดยมีฌาณสมาธิเกิดเพียงชั่วครู่ชั่วยาม เกิดอย่างไม่เกิด
    การตั้งขึ้นของผู้รู้ เพราะเกิดฌาณในลักษณะแบบไม่ยึดด้วยจิต เพราะเป็นลักษณะ
    ของเกิดฌาณญาณสัมปยุต

    * * * *

    ก็จะเห็นว่า จะมีคำศัพท์ ความซับซ้อนเพิ่มขึ้น หากพิจารณาแล้ว อย่างไรเสียก็
    นมสิการตามไม่ได้ ก็ให้ทราบว่า ตนไม่จริตทางปฏิโลม และ อนุโลม ทำได้แค่
    รู้ตามที่ตนทำเป็น ตามที่ตนทำมาเท่านั้น ไม่อาจจะไปรู้หนทางที่คนอื่นที่เดินมรรค
    วิธีตามพระไตรปิฏกที่ต่างไปจากได้

    เมื่อรู้ชัดแล้วว่าเป็นเพียงผู้รู้น้อย การจะออกมาขบคิด พิจารณาปฏิโลมก็จะเป็นเรื่อง
    ฝุ้งซ่านเปล่าๆ หาก "วาสนา" ไม่มีจะไปฝืนก็เสียเวลาอันมีประโยชน์ของคุณไปเสีย

    แต่ถ้าคุณต้องการสนทนาต่อ ก็ให้ ระงับการออกตัวว่า เป็นผู้รู้น้อยไปเสียก่อน ซึ่งก็
    จะต้องอาศัยการสดับมาให้มากกว่านี้ ไม่เช่นนั้นผมก็จะขอเป็นผู้ระงับการสนทนาเสีย
    เอง เพราะทำไปแล้วก็ไม่ก่อประโยชน์ให้เกิดเป็นบารมีแต่อย่างใดเพราะผู้รับไม่ได้ทำ
    วาสนามา(อบรม สดับธรรมมามากพอ)
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จงเป็นผู้รู้ในกิเลส และผู้ตื่นจากกิเลส สุดท้ายก็ไกลจากกิเลส

    ดำรงชีวิตอยู่ในศีลธรรม กตัญญูต่อบิดามารดา ละอายแก่บาป


    http://palungjit.org/threads/ภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดปี2555ต่อปี2556.223319/
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...