ธัมมัตถสังคหะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 5 เมษายน 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นหลักการใช้สติพิจารณาธรรมอันเป็นสภาวะโดยรวมทั้งรูปธรรมและนามธรรม ทั้งภายนอกและภายใน ในการพิจารณากาหนดรู้สภาวธรรมนั้น ต้องกาหนดรู้ไปตามลาดับตั้งแต่อย่างหยาบไปจนถึงอย่างละเอียดที่สุด ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ลึกซึ้งกว่าการเห็นกาย เวทนา และจิตอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว ถ้าหากพิจารณาในข้อปฏิบัตินี้ให้ตรงจุดอันเป็นการปฏิบัติแบบพิจารณาธรรมคือรู้ความจริงแบบสัจจะ คือ อริยสัจจ์ การปฏิบัติไม่ใช่แค่ให้กาหนดรู้เรื่องสภาวธรรมอันเป็นทุกข์ทั้งปวงเท่านั้น แต่ยังต้องมีการกาหนดรู้ทางแห่งการดับทุกข์รวมไว้ด้วย เริ่มต้นพิจารณาให้รู้โดยเปรียบเทียบว่า เราเหมือนกับถูกย่างอยู่ในเพลิงทุกข์อย่างไร โดยเริ่มพิจารณาจากทุกข์หยาบๆ เช่น ความใคร่ในกาม ความพยาบาท ความหดหู่ ความฟุูงซ่าน และความลังเลสงสัย ต้องศึกษาและปฏิบัติวิธีการเอาตัวออกมาจากไฟเสียก่อน แล้วจึงค่อยคิดกาจัดเชื้อไฟ อาวุธสาคัญของการเจริญธัมมานุปัสสนา คือ ต้องรู้เข้าไปในธรรมทั้งปวงว่ามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรน่ายึดมั่นถือมั่นแม้แต่นิดเดียว ธัมมานุปัสสนา ตอนการพิจารณานิวรณ


    ผู้ปฏิบัติควรนาวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณาโดยมีวิธีการปฏิบัติโดยสรุป คือ
    ๑. ควรนาวิธีข้างต้นนี้มาพิจารณาสภาวธรรมภายในคือนิวรณ์ภายในจิตของตน ให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นสภาวธรรม
    ๒. หรือจะนานิวรณ์ภายในจิตของตนมาพิจารณาเปรียบเทียบกับนิวรณ์ภายนอกคือนิวรณ์ของผู้อื่นให้เห็นว่าแม้นิวรณ์ก็เป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นสภาวธรรมเหมือนกับนิวรณ์ของเรานั่นเอง
    ๓. หรือจะใช้สติพิจารณาทั้งนิวรณ์ภายในและภายนอกให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นสภาวธรรม สลับกันไปก็ได้
    ๔. ใช้สติพิจารณาการเกิดและธรรมเป็นเหตุเกิดแห่งนิวรณ์ หรือใช้สติพิจารณาการดับและธรรมเป็นเหตุดับแห่งสภาวธรรม หรือใช้สติพิจารณาทั้งการเกิด-ดับและธรรมเป็นเหตุเกิด-ดับแห่งสภาวธรรมสลับกันไปก็ได้
    ๕. ต้องมีสติอยู่เสมอว่า สภาวะที่ปรากฏอยู่นี้เป็นแต่เพียงสภาวธรรมเท่านั้น (ไม่ใช่บุคคลอัตตาตัวตนเราเขา) และควรตระหนักด้วยว่าการที่นาเอานิวรณ์มาพิจารณาตามนัยข้างต้นนั้น มีวัตถุประสงค์เพียงต้องการให้ญาณปัญญาแก่กล้ายิ่งๆ ขึ้น และเพียงเพื่อความสมบูรณ์แห่งการเจริญสติเท่านั้น จึงไม่ควรที่จะหลงผิดยึดติดอยู่ในสังขาร (มีนิวรณ์ เป็นต้น) ใดๆ ที่กาลังเกิดดับอยู่
    ตอนว่าด้วยการใช้สติพิจารณาขันธ์ พิจารณาธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ ให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมทั้งหลาย ดังนี้


    ๑. นี้คือรูป นี้คือเหตุที่ทาให้รูปเกิด หรือนี้คือความเกิดแห่งรูป นี้คือเหตุที่ทาให้รูปดับ หรือนี้คือความดับแห่งรูป ๒. นี้คือเวทนา นี้คือเหตุที่ทาให้เวทนาเกิด หรือนี้คือความเกิดแห่งเวทนา นี้คือเหตุที่ทาให้เวทนาดับ หรือนี้คือความดับแห่งเวทนา ๓. นี้คือสัญญา นี้คือเหตุที่ทาให้สัญญาเกิด หรือนี้คือความเกิดแห่งสัญญา นี้คือเหตุที่ทาให้สัญญาดับ หรือนี้คือความดับแห่งสัญญา ๔. นี้คือสังขาร นี้คือเหตุที่ทาให้สังขารเกิด หรือนี้คือความเกิดแห่งสังขาร นี้คือเหตุที่ทาให้สังขารดับ หรือนี้คือความดับแห่งสังขาร ๕. นี้คือวิญญาณ นี้คือเหตุที่ทาให้วิญญาณเกิด หรือนี้คือความเกิดแห่งวิญญาณ นี้คือเหตุที่ทาให้วิญญาณดับ หรือนี้คือความดับแห่งวิญญาณ ผู้ปฏิบัติควรนาวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณา มีวิธีการปฏิบัติสรุปเหมือนกับการพิจารณานิวรณ์ เพียงเปลี่ยนจากนิวรณ์เป็นสภาวธรรมของขันธ์ ๕ ตอนว่าด้วยการใช้สติพิจารณาอายตนะ พิจารณาธรรมคืออายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ ให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรม ทั้งหลาย ดังนี้ ๑. นี้คือตา(จักขุประสาท) นี้คือรูป นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว และนี้คือสาเหตุที่ทาให้สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก
    ๒. นี้คือหู(โสตประสาท) นี้คือเสียง นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยหูและเสียงทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่
    เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว และนี้คือสาเหตุที่ทาให้สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก ๓. นี้คือจมูก(ฆานประสาท) นี้คือกลิ่น นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยจมูกและกลิ่นทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว และนี้คือสาเหตุที่ทาให้สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก ๔. นี้คือลิ้น(ชิวหาประสาท) นี้คือรส นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยลิ้นและรสทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว และนี้คือสาเหตุที่ทาให้สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก ๕. นี้คือกาย(กายประสาท) นี้คือโผฏฐัพพารมณ์ นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยกายและโผฏฐัพพารมณ์ทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว และนี้คือสาเหตุที่ทาให้สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก ๖. นี้คือใจ นี้คือธรรมารมณ์ นี้คือสังโยชน์ที่อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้นเกิด นี้คือสาเหตุแห่งการเกิดขึ้นของสังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้น นี้คือสาเหตุแห่งการละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว และนี้คือสาเหตุที่ทาให้สังโยชน์ที่ละได้แล้วไม่สามารถเกิดขึ้นต่อไปอีก
    ผู้ปฏิบัติควรนาวิธีการข้างต้นมาพิจารณา โดยมีวิธีการปฏิบัติเหมือนกันกับการพิจารณาขันธ์ ๕ เพียงเปลี่ยนเป็นสภาวธรรมของอายตนะ

    ตอนว่าด้วยการใช้สติพิจารณาอริยสัจ ๔ พิจารณาธรรมกล่าวคืออริยสัจ ๔ ให้เห็นเป็นเพียงสภาวธรรมทั้งหลาย ดังนี้ รู้ตามความเป็นจริงว่า รูปนามที่กาลังเกิดดับอยู่นี้ เรียกว่าทุกข์ รู้ตามความเป็นจริงว่า ตัณหาความอยากอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นี้ เรียกว่าทุกขสมุทัย รู้ตามความเป็นจริงว่า ธรรม( นิพพาน)อันไม่มีความเกิดดับนี้ เรียกว่าทุกขนิโรธ รู้ตามความเป็นจริงว่า กลุ่มธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติเพื่อการเข้าถึงนิพพานนี้ เรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ๑. ทุกขอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจได้แก่อะไรบ้าง ได้แก่ ชาติทุกข์ (เกิด) ชราทุกข์(แก่) มรณทุกข์ (ตาย) โสกทุกข์(ทุกข์โศก) ปริเทวทุกข์(คร่าครวญ) ทุกขทุกข์ (เจ็บปวดทางกาย) โทมนัสทุกข์ (เสียใจ) อุปายาสทุกข์ (คับแค้นใจ) อัปปิยสัมปโยคทุกข์ (การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก) ปิยวิปโยคทุกข์(ความพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รัก) อลาภทุกข์ (ความสิ้นหวัง,การไม่ประสบผลสาเร็จ,การไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ) ซึ่งเมื่อว่าโดยสรุปแล้ว ทุกขอริยสัจก็คืออุปาทานขันธ์ ๕ นี้เอง

    ภิกษุทั้งหลาย ชาติทุกข์ คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย ชาติทุกข์ คือ การถือกาเนิดเกิดครั้งแรก การอุบัติ การถือปฏิสนธิในครรภ์เป็นต้น การได้อัตภาพเป็นตัวเป็นตน การบังเกิดขึ้นแห่งขันธ์ การบังเกิดขึ้นแห่งอายตนะของเหล่าสัตว์นั้นๆ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า ชาติทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ชราทุกข์ คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย ชราทุกข์ คือ ความแก่เฒ่า ความคร่าคร่า อาการที่มีฟันหลุด มีผมหงอก มีหนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมโทรมแห่งรูป ความหย่อนสมรรถภาพแห่งประสาทอินทรีย์ของเหล่าสัตว์นั้นๆ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า ชราทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย มรณทุกข์ คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย มรณทุกข์ คือ การจุติจากภพหนึ่งไปสู่ภพหนึ่ง การเคลื่อนย้ายจากภพหนึ่งไปสู่ภพหนึ่ง การแตกสลายหายไป ความตาย มฤตยู การถึงแก่กรรม การแตกดับแห่งขันธ์ ๕ การทอดทิ้งร่างกาย การขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า มรณทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย โสกทุกข์ คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย โสกทุกข์ คือ ความเศร้าโศกเสียใจ อาการเศร้าโศกเสียใจ ความรันทดใจ ความทุกข์ระทมใจ ของผู้ประสบความเสื่อมความหายนะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์ย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า โสกทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ปริเทวทุกข์ คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย ปริเทวทุกข์ คือ การร้องไห้ราพึงราพัน การคร่าครวญ การเพ้อพร่าของผู้ประสบความเสื่อมความหายนะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์ย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า ปริเทวทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ทุกขทุกข์ คืออะไร
    ภิกษุทั้งหลาย ทุกขทุกข์ คือ ความทุกข์ทางกาย ความเจ็บปวดทางกาย ความลาบากกาย ความไม่สบายกาย ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า ทุกขทุกข์

    ภิกษุทั้งหลาย โทมนัสทุกข์ คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย โทมนัสทุกข์ คือความทุกข์ทางใจ ความเจ็บปวดทางใจ ความลาบากใจ ความไม่สบายใจ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า โทมนัสทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย อุปายาสทุกข์ คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย อุปายาสทุกข์ คือ ความคับแค้นใจ ความเครียดทางใจ ของผู้ประสบความเสื่อมความหายนะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า โทมนัสทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย อัปปิยสัมปโยคทุกข์ คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย อัปปิยสัมปโยคทุกข์ คือ การที่ได้พบประสบเจอกับอารมณ์เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ที่เราไม่พึงปรารถนาไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจ หรือการที่ได้คบค้าสมาคมการที่ได้อยู่ร่วมคลุกคลีบุคคลผู้ที่ไม่ใช่มิตร ผู้ที่ไม่หวังประโยชน์ไม่หวังความสงบสุขและความเจริญแก่เรา ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อัปปิยสัมปโยคทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ปิยวิปโยคทุกข์ คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย ปิยวิปโยคทุกข์ คือ การพลัดพรากจากอารมณ์เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ที่พึงปรารถนาที่น่ารักใคร่ น่าชอบใจ หรือการพลัดพรากจากบุคคลผู้เป็นที่รัก ผู้เป็นมิตรผู้หวังความเจริญหวังประโยชน์หวังความสงบสุขแก่เรา ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า ปิย-วิปโยคทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย อลาภทุกข์ (ความสิ้นหวัง การไม่ประสบผลสาเร็จ การไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ) คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย อลาภทุกข์ คือ การที่เหล่าสัตว์ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เช่น
    ๑. การที่เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้เกิดในภพใหม่เลย หรือขอความเกิดในภพใหม่อย่าได้มาถึงเราเลย" ซึ่งข้อนี้หากเป็นแต่เพียงความปรารถนา

    เท่านั้น ก็จะไม่พึงสาเร็จได้ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อลาภทุกข์ ๒. การที่เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้แก่ หรือขอความแก่อย่าได้มาถึงเราเลย" ซึ่งข้อนี้เป็นแต่เพียงความปรารถนาเท่านั้น ก็จะไม่พึงสาเร็จได้ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อลาภทุกข์ ๓. การที่เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บปุวยเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้เจ็บปุวยเลย หรือขอความเจ็บปุวยอย่าได้มาถึงเราเลย" ซึ่งข้อนี้หากเป็นแต่เพียงความปรารถนาเท่านั้น ก็จะไม่พึงสาเร็จได้ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อลาภทุกข์ ๔. การที่เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้ตายเลย หรือขอความตายอย่าได้มาถึงเราเลย" ซึ่งข้อนี้เป็นแต่เพียงความปรารถนาเท่านั้น ความปรารถนานี้จะไม่พึงสาเร็จได้ ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อลาภทุกข์ ๕. การที่เหล่าสัตว์ผู้มีความโศก ความคร่าครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอเราอย่าได้มีความโศก ความคร่าครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจเลย " ซึ่งข้อนี้เป็นแต่เพียงความปรารถนาเท่านั้น ความปรารถนานี้จะไม่สาเร็จได้อย่างแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อลาภทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธทุกข์ คืออะไร
    ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธทุกข์ คือ รูปูปาทานขันธ์ (รูปขันธ์ที่กิเลสตัณหาเข้าไปยึดมั่น) เวทนูปาทานขันธ์ (เวทนาขันธ์ที่กิเลสตัณหาเข้าไปยึดมั่น) สัญญูปาทานขันธ์ (สัญญาขันธ์ที่กิเลสตัณหาเข้าไปยึดมั่น)สังขารูปาทานขันธ์ (สังขารขันธ์ที่กิเลสตัณหาเข้าไปยึดมั่น) วิญญาณูปาทานขันธ์ (วิญญาณที่กิเลสตัณหาเข้าไปยึดมั่น) ภิกษุทั้งหลาย สภาวะเช่นนี้แล เรียกว่า อุปาทานขันธทุกข์

    ภิกษุทั้งหลาย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้แล เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
    จบ ทุกขสัจ

    ๒. สมุทยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]ทุกขสมุทยอริยสัจ ได้แก่อะไรบ้าง ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ซึ่งเป็นความกาหนัดยินดี ความเพลิดเพลินในอัตภาพและอารมณ์นั้นๆ อันเป็นเหตุให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด [/FONT][/FONT][FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]กามตัณหา [/FONT][/FONT][FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]คือ ความอยาก ความกระหายในกามคุณ คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส [/FONT][/FONT][FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]ภวตัณหา [/FONT][/FONT][FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]คือ ความอยาก ความกระหายในกามภพ รูปภพ อรูปภพของบุคคลผู้มีความเห็นผิดคิดว่าโลกเที่ยง ซึ่งเป็นเหตุทาให้บุคคลนั้นปรารถนาที่จะวนเวียนมาเกิดในภพเหล่านั้นอีก จัดเป็นความอยากที่เจือด้วยสัสสตทิฏฐิ(ความเห็นผิดคิดว่าโลกเที่ยง) ทาให้ไม่อยากที่จะหลุดพ้นจากวัฏฏะ แม้ความยินดีในฌาน ก็จัดเป็นภวตัณหาเช่นกัน [/FONT][/FONT][FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]วิภวตัณหา [/FONT][/FONT][FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]คือ ความอยาก ความกระหายในการตาย เพราะเชื่อว่าหลังจากที่ตายไปแล้วการเวียนว่ายตายเกิดก็เป็นอันจบกัน นั่นก็หมายความว่าความทุกข์ทั้งปวงได้ดับลงแล้วอย่างสิ้นเชิง(อุจเฉททิฏฐิ) เมื่อตัณหาทั้งสามนี้ย่อมเกิดที่สังขารอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี และนอนเนื่องอยู่ในสังขารอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดีนั้นนั่นเอง สังขารอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ได้แก่ จักษุอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่จักษุนี้ โสตะอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่โสตะนี้ ฆานะอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่ฆานะนี้ ชิวหาอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่ชิวหานี้ กายอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่กายนี้ มโนอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่มโนนี้ รูปอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่รูปนี้ [/FONT][/FONT]
    [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New][/FONT][/FONT]
    [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]เสียงอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่เสียงนี้ กลิ่นอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่กลิ่นนี้ รส อันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่รสนี้ โผฏฐัพพะ(สัมผัส)อันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่โผฏฐัพพะนี้ ตลอดจนธรรมารมณ์ อันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี จักขุวิญญาณอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี โสตวิญญาณอันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ฆานวิญญาณ...ชิวหาวิญญาณ...กายวิญญาณ....มโนวิญญาณ...จักขุสัมผัส...โสตสัมผัส..ฆานสัมผัส..ชิวหาสัมผัส...กายสัมผัส..มโนสัมผัส อันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็ตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่นี้ ตลอดจนเวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัส...เวทนาที่เกิดจากโสตสัมผัส...เวทนาที่เกิดจากฆานสัมผัส...เวทนาที่เกิดจากชิวหาสัมผัส...เวทนาที่เกิดจากกายสัมผัส...เวทนาที่เกิดจากมโนสัมผัส อันมีสภาพที่น่ารักน่ายินดี ก็แลตัณหาทั้งสามนี้ ย่อมเกิดและนอนเนื่องที่นี้ จบ สมุทยสัจ

    ๓. นิโรธสัจ [FONT=Arial Unicode MS,Arial Unicode MS][FONT=Arial Unicode MS,Arial Unicode MS]ดูกรภิกษุทั้งหลาย [/FONT][/FONT][FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]ทุกขนิโรธอริยสัจ ได้แก่อะไรบ้าง ได้แก่ ความดับกิเลสไม่เหลือด้วยวิราคะ ความปล่อยวาง ความสละคืน ความพ้น ความไม่ติด [/FONT][/FONT][FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]ตัณหานี้เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน ? [/FONT][/FONT][FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]รูปที่น่ารักน่ายินดีมีอยู่ในโลก ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปนี้ รูปที่น่ารักน่ายินดี ได้แก่ จักขุเป็นรูปที่น่ารักน่ายินดี ตัณหานี้เมื่อละ ก็ละที่จักขุนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุนี้ เป็นต้น [/FONT][/FONT]๔. มัคคสัจจ [FONT=Arial Unicode MS,Arial Unicode MS][FONT=Arial Unicode MS,Arial Unicode MS]ดูกรภิกษุทั้งหลาย [/FONT][/FONT][FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ได้แก่อะไรบ้าง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดาริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (วาจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) ๗.สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ๑. [/FONT][/FONT]สัมมาทิฏฐิ [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]คือ ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์) ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐ [/FONT][/FONT]
    [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New][/FONT][/FONT]
    [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]๒. [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]สัมมาสังกัปปะ [/FONT][/FONT]คือ ความดาริในการออกจากกาม ความดาริในการไม่พยาบาท ความดาริในการไม่เบียดเบียน ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ๓. [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]สัมมาวาจา [/FONT][/FONT]คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูด ส่อเสียด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคาหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาวาจา ๔. [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]สัมมากัมมันตะ [/FONT][/FONT]คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ๕. [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]สัมมาอาชีวะ [/FONT][/FONT]คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สาเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ๖. [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]สัมมาวายามะ [/FONT][/FONT]คือ ๖.๑ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๖.๒ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๖.๓ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อทากุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ๖.๔ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดารงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๗. [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]สัมมาสติ คือ [/FONT][/FONT]๑. การพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กาจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ เป็นต้น ๓. การพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ เป็นต้น ๔. การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กาจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๘. [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]สัมมาสมาธิ คือ [/FONT][/FONT]๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
    ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่ หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่าธรรมมีอยู่ ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย(ตัณหาและทิฏฐิ)อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร ๆ ในโลก
    [FONT=Browallia New,Browallia New][FONT=Browallia New,Browallia New]ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจ ๔ อยู่ อย่างนี้แล
    จบ หมวดสัจจะ จบ ธัมมานุปัสสนา

    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับคุณแม่และหลาน
    อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
    เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
    รักษาศีล อาราธนาศีล และตั้งใจว่าจะเจริญอาโปกสิน เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
    เวลานาน ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
    ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
    ฟังธรรมศึกษาธรรมทั้งวัน
    และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

    ขอเชิญร่วมพิธีฉลองครบรอบ 94 ปี หลวงปู่ศรีมหาวีโร
    และพิธีมอบตึกสงฆ์อาพาธ ในวันที่ 3 พ.ค. 53
    โทร 0892752059

    ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
    [/FONT][/FONT]


    [/FONT]
    [/FONT]
    [/FONT]
    [/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...