เรื่องเด่น สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต แนวคำสอนสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 26 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า283<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมระดับนี้ จึงเพียรพยายามทำแต่ความดี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เว้นจากการทำความชั่วทั้งปวง ที่จะสร้างความทุกข์ พอกพูนกิเลสให้เกิดขึ้นในภพนี้ ที่จะเป็นเหตุสืบเนื่องให้เป็นไปตามผลจากการกระทำ อันเป็นมูลเหตุที่จะเป็นบ่วงสัมพันธ์ต่อเนื่องส่งผลถึงภพหน้า พัวพันดั่งสายโซ่ปฏิกิริยาก่อภพชาติไม่มีที่สิ้นสุด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า284<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อฝึกถึงตอนนี้แล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านต้องปลูกฝัง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พรหมวิหารธรรม 4<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หมายถึงธรรมประจำใจอันเป็นหลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ ปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การอบรมนี้ เป็นการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขตนเองอย่างลึกซึ้ง ให้ปัญญาเจริญขึ้นด้วยความสงบสามารถกำจัดกิเลสที่ลอยอยู่ในจิตใจให้ค่อยๆหมดไป คงเหลือแต่กิเลสที่ติดอยู่ในอนุสัยเดิม เหมือนตะกอนที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้งของสันดาน ที่ต้องชำระล้างขูดเกลาด้วยวิธีการถอดจิตแล้วปลงอสุภะ ครั้งแล้วครั้งเล่าชำระฟอกล้างกิเลสในสันดานให้หมดไปดังที่เรียกว่า <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ พิจารณากายในกาย จิตในจิต วิญญาณในวิญญาณ ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จนเหลือแต่วิญญาณอันบริสุทธิ์ที่ดีเลิศดับจิตที่เป็นอกุศล<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า285<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จิตใจของท่านย่อมอยู่อย่างผู้ปฏิบัติโลกุตรธรรมโดยแท้ เป็นสภาวะที่ตั้งจิตปฏิบัติตนสละพ้นจาก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โลกธรรม 8<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อันเป็นโลกียวิสัยอย่างเด่นชัด อันมี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1.ลาภ - ได้ลาภ มีลาภ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2.อลาภ - สูญเสีย เสื่อมลาภ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. ยศ - ได้ยศ มียศ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4. อยศ - ถอดยศ เสื่อมยศ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5. นินทา - ติเตียน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6. ปสังสา - สรรเสริญ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    7. สุข - ความสุข<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    8. ทุกข์ - ความทุกข์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทั้งนี้ ผู้มุ่งสู่โลกุตรธรรมย่อมมองเห็นสิ่งเหล่านี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    รวมทั้งปัจจัย 4 อันมี เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยาและอุปกรณ์รักษาโรค ล้วนเป็นเพียง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า286<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปัจจัยปรุงแต่งที่แตกดับได้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จึงไม่โลภอยากได้และหลงใหลลุ่มหลงหมกมุ่นมัวเมาเคลิ้มลำพองไปตามบารมีอำนาจวาสนายศถาบรรดาศักดิ์ความมั่งคั่งที่ปรารถนาให้มีอยู่ และ จิตไม่น้อยเนื้อต่ำใจ ไม่โทษฟ้า โทษดิน ไม่ขุ่นมัวหม่นหมองคลุ้มคลั่งไปด้วย เหตุที่ต้องได้พบกับความไม่น่าปรารถนาที่ต้องได้ทุกข์เมื่อเสื่อมสูญเสียสิ่งที่รัก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สรุปก็คือ จิตใจไม่รู้สึกกระทบกระเทือนหวั่นไหวต่ออารมณ์ของความดีใจและความเสียใจ คือ จิตพ้นจากเครื่องเร้าความรู้สึกเวทนา สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมนี้จึงเป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยปัญญาที่ไม่ไปหลงยึดในโลกธรรม 8 ประการ จิตสามารถตั้งสติดำรงมั่นอยู่ในสมาธิ มีจิตที่สงบปราศจากทุกข์ ไม่ปล่อยให้โลกธรรม 8 ที่เป็นของสามัญชนวิสัยเข้าครอบงำย่ำยีจิตใจ เหมือนเป็นม่านแห่งความโง่เขลาปิดบังปัญญาอันแจ้งแก่เหตุ<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า287<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น ผู้หลุดพ้นจากโลกธรรม 8 คือ ผู้มีสติปัญญาอันแหลมที่ได้แผ้วถางทางผ่านป่าทึบแห่งความโง่เขลา ย่อมมองเห็นทางดับทุกข์ ด้วยการปฏิบัติตามอริยสัจ 4 อันได้แก่ความจริง 4 ประการ ที่ทำให้เจริญหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงอย่างเด็ดขาด ข้ามพ้นจากความเศร้าโศกร่ำไร ดับความทุกข์และโทมนัส มีแต่ความกระปรี้กระเปร่า ชื่นบาน สงบกาย สบายใจ ปฏิบัติตามทางสายกลาง ดังต่อไปนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า288<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โดยอาศัยปฏิบัติตาม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โพชฌงค์ 7<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กลุ่มธรรมสามัคคีที่อิงอาศัยเกิดขึ้นด้วยกัน และให้คุณต่อกัน นำไปสู่ปัญญาแห่งการตรัสรู้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1. สติ - ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. ธัมมวิจัย - ความเฟ้นธรรม สอดส่องสืบค้นธรรม><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. วิริยะ - ความเพียร<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4. ปีติ - ความอิ่มใจ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5. ปัสสัทธิ - ความสงบกายสงบใจ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6. สมาธิ - ความมีใจตั้งมั่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    7. อุเบกขา - ความมีใจเป็นกลางที่รู้สึกเฉยๆต่อสภาวะธรรมทั้งปวง เพราะได้เห็นตามความจริงว่าทุกอย่างที่เกิดล้วนแต่เป็นไปตามกรรม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อปฏิบัติตามโพชฌงค์ 7 แล้ว ย่อมเกื้อหนุนให้เจริญอริยสัจ 4 ได้ดี<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า289<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อริยสัจ 4 <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1.ทุกข์ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากซึ่งทำให้เกิดสภาวะทุกข์กายทุกข์ใจที่เกิดกับสิ่งมีชีวิตเท่านั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สภาพทุกข์กาย ที่ทนอยู่ในสภาพอย่างเดียวตลอดไม่ได้ ซึ่งติดมากับสังขาร คือ เมื่อมี เกิดแล้วต้องแก่ แล้วต้องตาย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    และสภาพ ทุกข์ใจ ที่เกิดหลังซึ่งเป็น สภาวะที่บีบคั้นให้จิตใจทนได้ยาก จากการที่ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความเศร้าโศกเสียใจ ความคร่ำครวญ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก และความไม่สมปรารถนา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า290<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2.สมุทัย <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    รู้มูลเหตุแห่งการเกิดทุกข์ว่ามาจาก “ ตัณหา ” คือ ความทะยานอยาก เช่น อยากได้นั่นได้นี่ อยากจะเป็นโน่นเป็นนี่ อยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3.นิโรธ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความดับทุกข์ หมายถึง พระนิพพาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความดับทุกข์จะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อได้ดับตัณหา ทั้ง 3 ประการ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4.มรรค<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีปฏิบัติที่เป็นวิถีทางดำเนินถึงการหลุดพ้นจากทุกข์อย่างแท้จริงบรรลุถึงความดับทุกข์คือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ 8<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนี้ คือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ การทำความเพียรชอบ การระลึกชอบ การตั้งใจชอบ<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า291<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มรรค 8 ประการนี้เป็นวิธีการปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์มุ่งสู่นิพพานอันเป็นเป้าหมายปลายทางของชีวิตซึ่งเอื้ออำนวยส่งเสริมสนับสนุนสัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่ เมื่อจัดเข้าในไตรสิกขาแล้ว มี 3 ระดับ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระดับต้นได้แก่ศีล<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คือ ข้อห้ามในการประพฤติชั่ว แนะให้ปฏิบัติตนดำเนินชีพอย่างบริสุทธิ์ ที่ไม่เป็นภัยอันตรายกับใครเป็นการสำรวมกาย วาจา ใจ ระงับซึ่งความคึกคนองทั้งปวง เมื่อปฏิบัติตามแล้ว จะเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะและขยัน ซึ่งรวมเอามรรคข้อที่ 3 การเจรจาชอบ ข้อ 4 การทำงานชอบ ข้อ 5 การเลี้ยงชีพชอบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระดับกลางได้แก่สมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คือ การสำรวมตั้งจิตมั่นแน่วแน่ส่งเสริมให้จิตสามารถจดจ่ออยู่กับการปฏิบัติอย่างแข็งแกร่งมั่นคง ซึ่งรวมเอามรรค ข้อที่ 6 การทำความเพียรชอบ ข้อ 7 การระลึกชอบ ข้อ 8 การตั้งจิตมั่นชอบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า292<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระดับสูง ได้แก่ปัญญา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ซึ่งปัญญานั้นแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1.ปัญญาขั้นต้น <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สุตมยปัญญา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปัญญาเกิด จากการ สดับตรับฟัง จากการบอกเล่าหรือการศึกษาเล่าเรียนตามตำรา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2.ปัญญาขั้นกลาง <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จินตมยปัญญา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อได้ความรู้เกิดปัญญาจากระดับต้นแล้วนำมาพิจารณาไตร่ตรอง คิดทบทวนหาเหตุผล จนเกิดความเข้าใจมากขึ้นก็เกิดปัญญาขั้นกลาง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3.ปัญญาขั้นสูง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภาวนามยปัญญา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อได้เข้าใจมากขึ้นในปัญญาขั้นกลาง แล้วนำมาฝึกอบรมลงมือปฏิบัติจนเกิดปัญญาขั้นสูง เป็นการปฏิบัติจนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงที่แท้ ต่อกิเลสที่มีอยู่ภายในกาย จิตในจิต จนค้นตนให้รู้จักตน อยู่เหนือตน ซึ่งรวมเอามรรค ข้อ 1 ความเห็นชอบด้วยปัญญา ข้อ 2 ความดำริชอบ ความนึกคิดริเริ่มอันดีงามด้วยปัญญา<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า 293<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากนี้ก็ศึกษารายละเอียดในมรรคองค์ 8 ประการดังต่อไปนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1.สัมมาทิฏฐิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความเห็นชอบด้วยปัญญา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขั้นพื้นฐาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คือ ความเห็นซึ่งเป็นความเชื่อ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เห็นชอบตามกฎแห่งกรรม บุญบาปมีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว วิญญาณมีจริง ตายแล้วไม่สูญ โลกหน้ามีจริง ตายแล้วต้องเกิดอีก เป็นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความเห็นชอบในชั้นสูง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คือ เห็นชอบด้วยปัญญา ความรู้แจ้งที่ได้มาจากการพิจารณาหรือกำหนดอารมณ์จนเกิดความเข้าใจอย่างซาบซึ้งมองเห็นตนเองว่า สภาวะสังขารธรรมที่ประกอบด้วยรูปและนามล้วนไม่เที่ยงแท้ เป็นทุกข์ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และต้องสลายไปในที่สุด ไม่เป็นอัตรา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า294<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตัวตนที่จะให้ยึดมั่นถือมั่น เป็นการเห็นชอบตามความเป็นจริงที่ไม่เคลือบแฝงด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จึงทำให้จิตใจผ่องแผ้ว สงบ เป็นสมาธิ เห็นชอบการปฏิบัติตามอริยสัจ 4 เป็นหนทางที่ถูกต้องที่จะพัฒนาตนเองนำไปสู่การหลุดพ้นจากวัฏฏะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2 . สัมมาสังกัปปะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความดำริชอบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หมายถึง ความนึกคิดที่ถูกต้อง 3 อย่าง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2.1 เนกขัมมสังกัปปะ ความนึกคิดมุ่งหมายริเริ่มอันดีงามที่จะสลัดตน คลายออกจากการหมกมุ่นมัวเมาในโลกียวิสัย เป็นความคิดที่จะปลอดจากกาม โดยไม่โลภอยากได้ที่จะปรนปรือความสุขสำราญ ความเพลิดเพลิน สนองความอยากของตน<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า295<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2.2 อพยาปาทสังกัปปะ ความคิดที่ปราศจากการพยาบาท เกลียดชังและดุดันคิดปองร้ายผู้อื่น จิตใจมีแต่ความเมตตา เสียสละ ไม่ขัดเคืองเพ่งมองคนอื่นในแง่ร้าย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2.3 อวิหิงสาสังกัปปะ ความคิดที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณา ไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย อุเบกขา ความวางเฉยได้ที่ไม่ไปซ้ำเติม สมน้ำหน้าบุคคลที่กำลังประสบเคราะห์กรรมเพราะเชื่อในกฏแห่งกรรมว่าใครก่อกรรมอันใดกรรมนั้นย่อมสนอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้บำเพ็ญต้องปลูกฝังความดำริชอบซึ่งเป็นความดีเหล่านี้ให้มีในจิตใจให้เกิดความเคยชินในการตั้งสติสังเกตสืบสวน ค้นคว้าให้แจ้งในจุดหมายแห่งความคิดที่ชักจูงให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ ซึ่งการหมั่นทบทวนพิจารณาจำแนกแยกแยะดังนี้ ย่อมปลูกฝังส่งเสริมให้สติปัญญาเจริญมีกำลังในการเห็นชอบ<o:p></o:p>
    หน้า296<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. สัมมาวาจา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การเจรจาชอบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หมายถึงคำพูดที่ถูกต้องดีงาม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ได้แก่ วจีสุจริต 4 อย่าง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3.1 พูดจริงด้วยความซื่อสัตย์ ไม่กล่าวคำเท็จ หมายถึง บรรดาการพูดไม่ตรงกับความจริงทุกสถาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3.2 พูดแต่คำพูดที่อ่อนหวาน ไม่กล่าวคำหยาบ เช่น ด่ากระเซ้า การสบถสาบาน เป็นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3.3 ไม่พูดจานินทา กล่าวกระแทกแดกดัน ประชดประชัน ส่อเสียด ยุยงให้คนอื่นแตกความสามัคคีซึงจะทำให้เกิดการระหองระแหงผิดใจกันระแวงแก่กัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3.4 ไม่พูดจาเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สาระ รวมทั้งกล่าวยกยอปอปั้นจนหาแก่นสารไม่ได้ ถึงแม้จะเป็นคำพูดที่มีประโยชน์และถ้อยคำที่ไพเราะ ก็ควรจะพูดจาในจังหวะเวลาที่เหมาะสมกับกาลเทศะเท่านั้น<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า297<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4.สัมมากัมมันตะ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความประพฤติที่ถูกต้องดีงาม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ได้แก่กายสุจริต 3 ประการ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อันเป็นการประพฤติดีนำมาซึ่งความสงบ คือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4.1 มีความเมตตากรุณาเอ็นดูสัตว์ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4.2 มีความซื่อตรง ไม่ลักทรัพย์ ไม่คิดคดทรยศ ฉ้อโกงทุกสถาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4.3 ไม่ประพฤติผิดในกาม มีความรักสงบสันโดษ พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ด้วยไม่เป็นชู้กับคู่เมียคู่ผัวเขา และเว้นจากการเสพด้วยเครื่องดื่มมึนเมา และสิ่งเสพติดทั้งปวง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    5.สัมมาอาชีวะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การเลี้ยงชีพชอบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ด้วยการประกอบอาชีพสุจริต และดีงามที่ไม่เบียดเบียนก่อให้คนอื่น สัตว์อื่น เป็นทุกข์ เกิดความเดือดร้อนและอันตราย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า298<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6.สัมมาวายามะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความเพียรพยายามชอบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คือความขยันหมั่นเพียรที่ถูกต้อง 4 สถาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6.1 สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้อกุศล(ความชั่ว)เกิดขึ้น อันเป็นความเพียรอย่างเหนี่ยวแน่นที่จะพยายามระวังควบคุมยับยั้ง และสกัดกั้นความคิดและการกระทำอันไม่ดีที่มุ่งทำลาย อันเป็นความคิดชั่ว(หรือนิวรณ์ 5 ) ที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น คือ ระวังตนมิให้เกิดความชอบใจและความไม่ชอบใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ที่ผ่านมาจาก อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6.2 ปหาปธาน เพียรพยายามตัดทอนละอกุศล (ความชั่ว) หรือ นิวรณ์ 5 ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6.3 ภาวนาปธาน เพียรพยายามส่งเสริมอบรมปลูกฝังกุศลจิต (เจริญสติปัฏฐาน 4 หรือ โพชฌงค์ 7 ) ความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นในสันดาน<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า299<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6.4 อนุรักขนาปธาน เพียรพยายามประคองจิตให้ตั้งมั่นรักษากุศล (ความดี ) ที่เกิดขึ้นซึ่งมีอยู่แล้วให้ตั้งมั่นคงอยู่ตลอดไป และเจริญยิ่งขึ้นจนไพบูลย์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    7. สัมมาสติ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความระลึกชอบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คือ การฝึกอบรมให้มีสติระลึกที่ถูกอยู่ในอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันตามหลักสติปัฏฐาน 4 พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ติดตามการเกิดดับของจิตให้ได้รู้อยู่ทุกขณะ กำหนดสติพิจารณาสังเกตทบทวนอย่างถี่ถ้วนลึกซึ้งไม่ให้หลงไปกับกิเลสแห่งความพอใจ โลภอยากได้ของเขา และความไม่พอใจ ความทุกข์ใจที่ทำให้จิตใจเร่าร้อน จึงต้องกำจัดกิเลสเหล่านี้ให้พินาศหมดสิ้นไป ด้วยความเพียรพยายาม และสติสัมปชัญญะความระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอ เพ่งจนสติความรู้สึกตัวกล้าแข็งขึ้นมาไม่มีอารมณ์อื่นแทรก ก็จะเกิดความรู้ภายในขึ้นเห็นชัดแจ้ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า300<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตามทันกับปรากฏการณ์ ของกิเลสที่เป็นปัจจุบันธรรม ซึ่งเกิดขึ้น และดับไป เป็นการเห็นตามความเป็นจริงว่าในขณะที่กำลังพิจารณาอยู่นั้น มีสภาพอย่างไร เป็นการฝึกจิตเพื่อให้เกิดสมาธิมั่นในทุกสภาวะธรรมปัจจุบัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อฝึกจนเคยชินในการตั้งสติอยู่ในอารมณ์ขณะปัจจุบันด้วยสติปัฏฐาน ก็จะสามารถแบ่งแยกและวิจารณ์ ทำให้จิตใจสว่าง ความไม่รู้ที่เปรียบดังความมืดก็จะจางหายไป ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะส่งเสริมความเห็นชอบด้วยปัญญา เพื่อการบำเพ็ญฌานญาณได้ง่ายขึ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กาย (รูป )<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไม่ว่าท่านจะอยู่ในอิริยาบถใดๆ กำหนดสติให้รู้สึกทันต่ออิริยาบถนั้นว่ากำลังทำอะไรอยู่ เมื่อรู้แล้วให้ตั้งสติพิจารณาว่ากายนี้สักแต่ว่ากาย ซึ่งเป็นปฏิกูลวัตถุธาตุก้อนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เมื่อพิจารณาไป จิตก็จะนิ่งเป็นหนึ่ง ทำให้ไม่หลงยึดมั่นติดในรูปนามว่าเป็นของงาม น่ารักใคร่<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า301<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เวทนา (นาม )<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่ออยู่ในความรู้สึกอย่างไร ให้เอาสติตั้งลงพิจารณากำหนดให้รู้ชัดที่ความรู้สึก ( เวทนา ) ปัจจุบัน ขณะนั้นที่รู้สึกว่า ทุกข์ สุข หรือว่า เฉยๆ แยกสติกับใจออกจากเวทนาแล้วก็จะเกิดความรู้สึกว่า เวทนาที่เกิดนั้นสักแต่ว่าเป็นอาการของความรู้สึกหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ในกายและนอกกายเรา ไม่ใช่บุคคล ตัวตน เราเขาที่น่าจะยึดมั่นถือมั่น ทำให้ไม่หลงยึดมั่นในสุขทั้งปวง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จิต (นาม )<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่ออยู่ในสภาวะใดที่มีสภาพจิตอย่างไร ให้ระลึกถึงจิตใจของตนเองขณะนั้น เช่น ราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ฟุ้งซ่าน เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว ก็ให้เพ่งพิจารณากำหนดสติให้รู้ชัดสภาพอาการของจิต ที่ดิ้นรนกระสับกระส่ายหรือว่าเป็นสมาธิ พิจารณาอยู่ในอารมณ์เดียวจนเห็นจิตขณะนั้นเป็นเพียงจิต ที่เป็นไปในอาการเกิดดับเป็นอนัตตา ไม่มีแก่นสารสาระที่เที่ยงแท้แน่นอน สติก็จะกำหนดรู้อยู่ที่จิตเพียงแห่งเดียว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทำให้ไม่หลงยึดมั่นว่าทุกสิ่งเป็นของเที่ยงแท้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า302<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ธรรม (นามและรูป )<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเผชิญกับสภาวธรรมใดให้ระลึกนึกถึงสิ่งที่เป็นธรรมารมณ์ที่ผ่านเข้าสู่การรับรู้ทางมโนทวาร อันเป็นอารมณ์ของใจที่เกิดในสภาวะนั้นให้ตั้งสติกำหนดตั้งมั่นลง ณ สภาวะปัจจุบันนั้น คือ มีสติพิจารณาจนรู้ชัดการปรากฏการณ์ธรรมทั้งหลาย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1. นิวรณ์ 5 ลักษณะกิเลสที่ครอบงำจิตใจอันเป็นเครื่องขวางกั้นมิให้การปฏิบัติธรรมบรรลุผล คือ 1. กามฉันทะความพอใจในกามสุข 2. พยาบาท ผูกโกรธ 3. ความหดหู่ง่วงเหงาหาวนอน 4. ความฟุ้งซ่าน หวาดหวั่นรำคาญใจ 5. ความเคลือบแคลงลังเลสงสัยใจในธรรม <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. ขันธ์ 5 อุปาทานยึดมั่นถือมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า303<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. อายตนะ 12 คือ อายตนะภายใน 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4. โพชฌงค์ 7 คือ องค์แห่งปัญญาธรรมเครื่องตรัสรู้ 1. สติ 2. ธัมมวิจัย 3. วิริยะ 4. ปิติ 5. ปัสสัทธิ 6. สมาธิ 7. อุเบกขา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5. อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ให้พิจารณาจนรู้ชัดว่า ธรรมเหล่านี้ คืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์และดับไปได้อย่างไร ตามความจริงของธรรมอย่างนั้น เมื่อรู้แล้วก็ให้สละปล่อยว่าง ก็จะเห็นว่าธรรมสักแต่ว่าธรรม ไม่ใช่บุคคลตัวตนเราเขา ทำให้เห็นได้ว่ารูปนามไม่ใช่ตัวตน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า304<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    8.สัมมาสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สมาธิชอบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คือ การตั้งมั่นชอบของจิตใจที่เป็นสมาธิที่รวมอารมณ์อยู่ในอารมณ์เดียวที่ แน่วแน่เป็นเอกัคคตา นำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งทำให้จิตใจเข้มแข็งบริสุทธิ์ผ่องแผ้วเกิดพละกำลัง ส่งเสริมให้จิตเพ่งพิจารณาอารมณ์สติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม อย่างลึกซึ้งได้ดีขึ้น จนจิตเกิดปัญญาเห็นแจ้งในการ เพ่งลักษณะโดยวิปัสสนาพินิจพิจารณาสังขาร ด้วยพระไตรลักษณ์ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โดยมรรควิธี ที่ยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โดยผลที่เพ่งนิพพาน อันเป็นภาวะสัจจะของนิพพานที่ไม่เจือปนด้วยกิเลส มีแต่ความว่างเปล่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การมีสมาธิแน่วแน่ ภาวะจิตใจเหมือนน้ำที่เคยขุ่นมันก็จะตกตะกอน น้ำจะใส สามารถมองเห็นกิเลสอันละเอียดอ่อน คือ โลภ โกรธ หลง แล้วจึงใช้สติพิจารณาหาเหตุหาผลที่เกิดที่ดับของอดีต ปัจจุบัน อนาคต จนรู้แจ้งอยู่เหนือกิเลสเรียกว่า “ ผู้มีปัญญา ”<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า305<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ย่อมยังจิตที่ดำริชอบ ดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์ ค้นคว้าหาอุดมการณ์ที่ถูกต้องเที่ยงแท้ จิตใจก็จะนึกคิดมุ่งหมายไปในส่วนที่ไม่เห็นแก่ตัว สติปัญญายิ่งจะงอกงามขึ้นสามารถควบคุมจิตใจและความรู้สึก ให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาให้พ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้ปฏิบัติตามอริยสัจ 4 แล้วย่อมแจ้งแก่ใจว่า ได้เดินทางสู่การดับทุกข์ที่ถูกต้องแล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้ปฏิบัติจิตมุ่งเดินสู่บนเส้นทางโลกุตระนั้นล้วนมีนิสัย รักสันติ สงบ สันโดษ มักน้อย ขยัน ซื่อสัตย์ อดทน ไม่เห็นแก่ตัว และพึงระวังอยู่เสมอที่จะไม่ยกตนข่มท่านโดยถือว่าตัวเองปฏิบัติดีกว่าคนอื่น แม้ปฏิบัติธรรมฝึกจิตตนให้หลุดพ้น ก็ต้องแบ่งเวลาช่วยเหลืองานส่วนรวมให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เพราะถ้าหมู่คณะส่วนรวมอยู่ไม่ได้ ตัวเราที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า306<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้ปฏิบัติธรรมตั้งจิตมั่นแล้วที่ไม่หลงมัวเมาหมกมุ่นพัวพันกับการเสพกามสุขทั้งหลายและไม่เคร่งเครียดกับการบำเพ็ญจนเป็นการประกอบการทรมานทำตนให้ลำบาก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แต่ปฏิบัติตน ด้วยสัจจะเพื่อตนให้หลุดพ้นตนเดินไปตามทางสายกลางมัชฌิมาปฏิปทาอย่างมั่นใจด้วย อริยมรรค 8 ข้อ ซึ่งทุกข้อ ต่างก็เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เป็นการปฏิบัติตาม พุทธโอวาท 3 ประการ คือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1.ไม่ทำความชั่วทั้งปวง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. ทำความดีให้สมบูรณ์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. ชำระจิตใจของตนให้สะอาด บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การปฏิบัติที่ถูกต้องก่อให้เกิดความบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ ซึ่งเป็นผลจากการปฏิบัติสมาธิจนจิตนิ่งแน่วแน่สร้างอำนาจฌานบังคับจิตใจให้สงบตั้งมั่น แล้วพิจารณาธรรมจนเกิดญาณปัญญาเปรียบดังได้จุดดวง<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า307<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ประทีปเป็นนิมิตอันแจ่มใสส่องสว่างให้จิตสว่างมองเห็นทางในป่าทึบแห่ง ความโง่เขลา เพื่อพิจารณา ธรรมอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นจนเห็นมูลเหตุและความหมายแห่งการกระทำของตนเองที่เจือปนด้วยกิเลสธุลีอัน หนาแน่นที่สลับซับซ้อนอยู่ในสันดาน ก็จะบรรลุถึงการมองเห็นตนเองอย่างแจ่มแจ้งทะลุถึงจิตใจภายใน คอยสำรวจตนเองเสมอจนรู้จักตนเอง สามารถตั้งสติอย่างมั่นคง ดำเนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์กอปรด้วยคุณธรรมอันดีงาม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เลิกเป็นทาสที่ผูกพันกับกิเลส เป็นการปลูกฝังให้เกิดความเคยชินที่ดีให้มีขึ้นในนิสัยสันดานตลอดชีวิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อปฏิบัติได้แล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จิตใจก็จะปราศจากความยึดเหนี่ยวในทุกสิ่งของโลกทั้งรูปและนามปลดเปลื้องละจากการร้อยรัดครอบงำของกิเลสที่เคยยึดสืบเนื่องจากความเคยชิน อันเป็นสภาพพ้นจากกิเลส จิตก็มุ่งพุ่งสู่พระนิพพานอันเป็นอุดมคติจุดหมายปลายทางที่แท้จริง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เป็นการบรรลุถึงความหลุดพ้นจากกองทุกข์แห่งวัฏสงสาร<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขออนุโมทนาสาธุ ฯ มา ณ โอกาสนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า308<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บทส่งท้ายภาคโลกุตระ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สังโยชน์ 10<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กิเลสที่ดึงเหนี่ยวร้อยรัดให้ตกอยู่ในวัฏฏะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่ฝึกผ่านหลักวิปัสสนามาแล้ว ก็ยังไม่รู้ว่าจิตใจของตนเองหลุดพ้นจากกิเลสมากน้อยเพียงใด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จึงเสนอบทนี้เพื่อเป็นตารางเปรียบเทียบกับภาวะการปฏิบัติจิตของท่าน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มากแม้นยังมีกิเลสมากอยู่ ก็ขอให้ท่านพยายามฝึกจิตให้ลดละให้ได้ เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสสังโยชน์ 10 อันเป็นกิเลสที่ดึงเหนี่ยวร้อยรัดให้ตกอยู่ในวัฏสงสารที่ต้องมาเกิดอีก เพราะเป็นกิเลสที่ผูกใจสัตว์มัดไว้กับความทุกข์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ คนเราถ้าบาปหนาจิตหยาบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ก็จะมองไม่เห็นความผิดของตนเอง ”<o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า309<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สังโยชน์ 10<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1. สังกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน คือ ยึดขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่สรุปลงเป็นรูป นาม ล้วนมีตัวตนเป็นของเรา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในคุณพระรัตนตรัย ว่าจะนำพาให้พ้นทุกข์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. สีลัพพตปรามาส การถือมั่นศีลพรตอย่างไม่จริงจังเคร่งครัด โดยสักแต่ว่าทำตามกันไปอย่างงมงาย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4. กามฉันทะ ความกำหนัดหมกมุ่นติดอกติดใจในกาม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5. ปฏิฆะ การกระทบกระทั่งแห่งจิตได้แก่ ความหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ ความคับแค้น ความขึ้งเครียด ซึ่งเป็นอารมณ์ผูกโกรธที่จะจองล้างจองผลาญ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า310<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6. รูปราคะ ความติดใจยึดมั่นในรูปฌาน ความปรารถนาในรูปภพ โดยถือว่ารูปภพเหล่านี้เป็นสิ่งวิเศษดีเลิศ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    7. อรูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌานความปรารถนาในอรูปภพว่า เป็นคุณวิเศษที่จะให้พ้นจากวัฏฏะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    8. มานะ การมีอารมณ์สำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่มีชั้นวรรณสูงกว่าคนอื่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    9. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ครุ่นคิดอยู่แต่ในอกุศล<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    10 อวิชชา ความไม่รู้จริงทำให้หลงคิดว่า ทุกสิ่งของโลกเป็นของเที่ยงแท้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สาธุชนผู้เจริญตามวิปัสสนากรรมฐาน พึ่งมุ่งหมายที่จะประหารกิเลสด้วยกำลังสมาธิ กำลังปัญญาจากวิปัสสนาญาณเป็นไปตามขั้นตอนของสังโยชน์ 10 ตั้งแต่<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า311<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ข้อ 1 ลำดับถึงข้อ 10 ผ่านด่านแห่งสังโยชน์มากยิ่งมีโอกาสหลุดพ้นจากวัฏฏะมากขึ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทั้งนี้ คนเราไม่จำเป็นต้องรู้ว่า ผ่านได้กี่ข้อ ก็เป็นการสำเร็จมรรคผลชั้นนั้นชั้นนี้ เพราะว่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อยึดขั้น ยึดชั้น ก็เป็นการยึดตัวตน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เป็นก้าวแรกของความหลง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เป็นเหตุต่อเนื่องปรุงแต่งให้เกิด “ ทุกข์ ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า312<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความดีจงรักษ์ไว้ ให้คง ตนนา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ประหนึ่งเกลือดำรง รสหมั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อันว่าจะถือตรง ภาษิต นี้ฤา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จำจะตั้งจิตนั้น แน่นไว้ในธรรม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พระราชนิพนธ์ภาษิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จาก พระราชนิพนธ์ภาษิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า313<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อย่าเพิ่งงมงาย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขึ้นชื่อว่า “ ฤทธิ์ ” นั้น ไม่ว่าอิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คนที่เชื่อ ก็จะถามอยู่เสมอว่า ท่านฝึกปฏิบัติสมาธิจิตแล้ว เห็นผีสาง เทวดา เห็นนรก สวรรค์ เห็นอะไรต่ออะไรที่เป็นทิพย์หรือยัง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ซึ่งตามความเป็นจริงนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้ก่อตัวขึ้นมาในชั่วพริบตา เด็กไม่ใช่เกิดมาก็พูดได้ เดินได้ วิ่งได้ ความสำเร็จของงานชิ้นหนึ่งก็ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในทำนองเดียวกัน การฝึกจิตจนบรรลุฌานญาณก็ต้องใช้เวลามากพอสมควรจึงสมามรถสัมฤทธิ์ผลที่จะสัมผัสกับเรื่องของทิพย์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คนที่ไม่เชื่อ ก็อย่าเพิ่งดูถูกเหยียดหยามคนที่ศึกษาเรื่องสมาธิ ปฏิบัติจิตจนได้บรรลุผลแห่งอภิญญา (วิชา 8) ซึ่งเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่งให้แจ้งว่า<o:p></o:p>
    หน้า314<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เป็นเรื่องงมงาย ไร้สาระ ไร้เหตุผลที่จะนำมาอ้างอิงให้เป็นที่น่าเชื่อถือได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความจริงของอภิญญา ( หรือ วิชา 8) ก็คือ ความรู้แจ้งอันวิเศษในอิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์ที่เป็นปาฎิหาริย์เป็นเรื่องอัศจรรย์แปลกประหลาดที่ไม่สามารถพิสูจน์ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ด้วยอำนาจพลังจากจิตใจที่ไม่มีตัวตนให้จับต้องได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผลิตผลแห่งพลังจิตก็ไม่มีตัวตนให้จับต้องได้เช่นกัน นอกเสียจากท่านได้ฝึกจิตเข้าสัมผัสด้วยตนเองจึงจะรู้ด้วยตนเอง และเป็นเรื่องยากมากที่จะนำมาบอกกล่าวเป็นภาษาให้คนอื่นรู้แจ้งได้ เพราะภาษาเป็นเพียงคำพูด สมมุติหมายแทนอาการกิริยา หรือคุณสมบัติสิ่งนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อย่างเช่น ท่านบอกอีกคนหนึ่งว่า “ น้ำตาลมีรสหวาน ” คนที่ไม่เคยกินน้ำตาลอธิบายเปรียบเทียบเท่าใดก็ไม่รู้เรื่อง จนกว่าคนนั้นได้กินน้ำตาล จึงรู้ว่าที่ว่า “ หวาน ” มีรสเช่นนี้เอง<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า315<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สรุปก็คือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอให้ท่านวางตัวเป็นกลาง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อย่าเพิ่งงมงาย พิจารณาไปเรื่อยๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ ” <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่เชื่อหรือท่านที่ไม่เชื่อ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอเชิญท่านทดลองปฏิบัติฝึกสมาธิจิตตั้งแต่เริ่มต้นจนบรรลุถึงขั้นถอดจิตได้ ท่านก็จะพบว่า เห็นวิญญาณตนเองถอดออกจากตัวเราเอง ทำให้เชื่อเรื่องวิญญาณมีจริง โลกหน้ามีจริง ตายแล้วไม่สูญ กฎแห่งกรรมมีจริง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทำดีได้ดี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทำชั่วได้ชั่ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มนุษย์เกิดมาล้วนมีกรรมของตนเป็นที่ตั้ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขึ้นชื่อว่าเกิดแล้ว เป็นไปด้วย “ ทุกข์ ” ทั้งสิ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าท่านคิดว่าโลกมนุษย์นี้ไม่น่าอยู่ ล้วนแต่เป็นทุกข์แล้ว ท่านคงไม่อยากจะมาเกิดอีก และอยากจะไปเกิดในภพแห่งที่ดีกว่านี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า316<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านทำบาปก่อกรรมก็ต้องตกนรก และเมื่อขึ้นจากนรก ก็ต้องมาใช้กรรมในโลกมนุษย์อีกครั้ง โดยไม่แน่ว่าอาจจะมาเกิดเป็นไอ้ตูบ อีด่าง นางเหมียว นายจ๋อก็ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แต่ถ้าท่านทำบุญสร้างแต่ความดี ก็จะได้ไปเสวยสุข ณ แดนสวรรค์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คนที่ขึ้นไปสวรรค์ มี 2 แบบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แบบ 1 ทำบุญสร้างกุศลอยู่เนืองนิจ จนสิ้นอายุขัย ประเภทนี้ส่วนมากขึ้นไปอยู่สวรรค์ชั้นที่ไม่สูงนัก ส่วนมากไม่ได้ฝึกสมาธิและวิปัสสนาละลายกิเลส ละลายรูปนาม ทำให้เทวดาประเภทนี้ยังมีการยึดตัวถือตน มีโลภ โกรธ หลง เจือปนอยู่ในนิสัยอยู่บ้าง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แบบ 2 ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ด้วยอำนาจฌานญาณ ประเภทนี้ส่วนมากมีการฝึกสมาธิวิปัสสนาละลายรูป นาม และละลายกิเลส โลภ โกรธ หลง มากกว่าประเภทที่1 ซึ่งท่านฝึกสมาธิได้ปฐมฌาน ท่านก็มีโอกาสขึ้นไปอยู่ที่เทวโลกแล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เทวดาทั้ง 2 ประเภทที่กล่าวมานี้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์แล้วก็ยังมีโอกาสบำเพ็ญยกระดับจิตให้สูงขึ้น<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า317<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ด้วยการค่อยๆลดละกิเลส โลภ โกรธ หลง และฝึกจิตสร้างอำนาจฌานญาณต่อไปให้แข็งแกร่งสูงขึ้นยิ่งๆขึ้น มิฉะนั้นเมื่อท่านหมดสิ้นอายุขัยแห่งการเป็นเทวดาชั้นนั้นๆท่านก็ต้องลงมาเกิดอีกในโลกมนุษย์เพื่อใช้กรรมตามวาระหรือกระทำผิดเพียงเกินเส้นยาแดง ก็ต้องลงมาเกิดในโลกมนุษย์เพื่อใช้กรรมที่ก่อไว้เช่นกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทั้งนี้ การที่วิญญาณได้ขึ้นไปสวรรค์เกิดเป็น พรหม เทพ นั้นยังไม่พ้นที่จะต้องเกิดอีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่หวังหลุดพ้นจากทุกข์โดยสิ้นเชิง ก็ควรที่จะบำเพ็ญวิปัสสนาละลายรูป นามจนเกิดญาณปัญญาอันเลิศแล้วพิจารณากำจัดกิเลสจนจิตบริสุทธิ์ สามารถมุ่งสู่แดนนิพพานซี่งเป็นเป้าหมายอันแท้จริงของผู้หวังฝึกจิตให้ไปสู่ในโลกุตระ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริงในทางแห่งการหลุดพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง จึงขอให้ศึกษาฤทธิ์ต่างๆให้ละเอียดต่อไป และทดลองปฏิบัติ เมื่อฝึกสำเร็จตามขั้นตอนแล้ว ก็จักทำให้ญาณปัญญาเจริญถึงพร้อมได้โดยง่าย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า319<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภาคอิทธิฤทธิ์ - บุญฤทธิ์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การฝึกฝนภาคอิทธิฤทธิ์ - บุญฤทธิ์ นี้เป็นผลพลอยได้มาจากการฝึกสมาธิ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโลกียะ เช่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มโนมยิทธิ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจรวมทั้งการอธิษฐาน คือ นิรมิตกายทิพย์ออกจากกายเนื้อ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก (หรือเรียกว่า ถอดจิต )<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อิทธิวิธี ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทิพยโสต ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้สามารถกำหนดหยั่งรู้วาระจิตคนอื่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปุพเพนิวาสานุสติญาณ เป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติปางก่อนได้ คือ ระลึกชาติ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จุตูปปาตญาณ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ในการกำหนดรู้เรื่องการจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า320<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การฝึกนี้เป็นไปด้วยโลกียฌานที่ยังไม่พ้นกฎแห่ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ไม่จีรังยั่งยืน เกิดขึ้นตั้งอยู่ เสื่อมสลายดับไป ไม่ใช่เป้าหมายปลายทางอย่างแท้จริงของผู้หวังสู่โลกุตรที่มุ่งหมายความหลุดพ้นจากทุกข์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น ผู้มุ่งสู่โลกุตระโดยแท้จึงไม่ต้องตะเกียกตะกายกระหายโลภอยากจะได้ให้มีในตน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แต่ทั้งนี้ ธรรมชาติของผู้บำเพ็ญฝึกสมาธิจนจิตนิ่งตั้งมั่นหรือเจริญวิปัสสนาจนจิตบริสุทธิ์สะอาด ไม่มีความคิดไปตามอำนาจปรารถนา และปราศจากอุปกิเลสเครื่องทำใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว มีจิตใจที่ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหว มีสติระลึกอยู่ทุกขณะ ซึ่งวาระจิตขณะใดขณะหนึ่งในการบำเพ็ญฝึกจิตดังที่กล่าวนี้ อาจจะเกิดผลพลอยได้มีอิทธิฤทธิ์ หรือบุญฤทธิ์เกิดขึ้นเป็นไปตามธรรมดาของการปฏิบัติจิต เมื่อเกิดทิพยอำนาจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ท่านก็ควรจะสนใจศึกษาและฝึกให้เจริญยิ่งขึ้น โดยอาศัยอิทธิบาท 4 คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า321<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การฝึกจิตนี้ เหมือนธรรมชาติของการปลูกต้นไม้ เมื่อปลูกจนต้นไม้นั้นเจริญสมบูรณ์แข็งแรงโตเต็มที่แล้ว ก็จะออกดอก และในขณะที่ดอกเริ่มแรกแย้มท่านก็ควรจะสนใจ เอาใจใส่ต้นไม้ที่ท่านปลูกมากับมือด้วยการใส่ปุ๋ยรดน้ำ ให้ต้นไม้เจริญยิ่งขึ้น ถึงขั้นติดผลยังประโยชน์แก่ตนต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ซึ่งความรู้ความสามารถเหล่านี้ แม้จะอยู่ในส่วนของโลกียะที่ไม่เที่ยงแท้ แต่ถ้าเราศึกษาอย่างถ่องแท้ด้วยการทบทวนหาเหตุผลอยู่ตลอดเวลาวางใจเป็นกลางไม่มีอุปาทานฝักใฝ่ น้อมเอียงไปกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้น เราก็จะมีสติยั้งคิดไม่หลงงมงายจนถอนตัวไม่ขึ้นทำให้เกิดความรู้แจ้งในญาณปัญญาแห่งโลกุตระโดยแท้และเชื่อมั่นในสัจธรรมแห่งพุทธยิ่งขึ้น คลายจากความลังเลสงสัยได้ เช่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การถอดจิต เพื่อปลงอสุภะให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นการพิจารณากายในกาย ก็จะสามารถละลายกิเลสในสันดานได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การระลึกชาติ ทำให้เข้าใจในเรื่องภพชาติ ตายแล้วไม่สูญ ผลแห่งการทำดี ทำชั่วที่ส่งผลมาถึง<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    หน้า322<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปัจจุบันตามกฎแห่งกรรมเพื่อยืนยันให้เชื่อมั่นอย่างมั่นคงในวัฏะจักรแห่งการเวียนว่ายตายเกิด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ญาณแห่งตาทิพย์ สามารถเห็นเรื่องทิพย์ โดยเฉพาะวิญญาณ และยังสามารถมองเห็นที่มาของอุปสรรคที่ขวางกั้นจิตในการเจริญสมาธิ เพื่อจะได้หาทางแก้ไขต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผลพลอยได้จากสมาธิเหล่านี้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะยังการเจริญปัญญาให้ถึงพร้อมได้โดยง่ายตามที่จิตมุ่งหมายสู่ญาณแห่งโลกุตรความรู้แจ้งที่เที่ยงแท้แน่นอนที่มนุษยชาติต้องศึกษาให้ถึงแก่นแท้อย่างจริงจังคือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิปัสสนาญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือ เห็นนาม รูปเป็นไปโดยพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ต่างกันออกไปเป็นชั้นๆต่อเนื่องกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อฝึกต่อไป ก็จะเจริญถึง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสาวะกิเลส เครื่องเศร้าหมองทั้งหลายที่หมักหมนอยู่ในจิตสันดาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า323<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อุปกิเลสเครื่องทำใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อุปกิเลสเครื่องทำใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว ซึ่งจะเป็นกิเลสทำให้จิตใจไม่สงบ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อุปกิเลสมี 16 ประการคือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1.อภิชฌาวิสมโลภะ คิดเพ่งเล็งอยากได้จ้องจะเอาไม่เลือกควรหรือไม่ควร<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. พยาบาท (โทสะ ) มีใจเดือดร้อน ความอาฆาต ผูกใจเจ็บ คิดร้ายแก่ผู้อื่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. โกธะ ความโกรธ อาการกำเริบพลุ่งขึ้นมาในใจจากความไม่ชอบแต่ยังไม่ถึงโทสะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4. อุปนาหะ ความผูกใจโกรธ เพียงแต่ผูกใจไม่ยอมลืม แต่ไม่ถึงกับคิดทำร้ายเขา เพราะกำลังกิเลสยังอ่อนกว่าโกรธ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5. มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน คือใครมีบุญคุณกับเราแล้วไม่นึกถึงคุณท่าน เป็นการลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6.ปลาสะ ความตีตัวเสมอ เอาตัวขึ้นตั้งทานไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...