เรื่องเด่น สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต แนวคำสอนสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 26 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า115<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แสงสว่างนั้น เราจะได้เห็นอีกครั้งต่อเมื่อเราฝึกสมาธิให้จิตสงบใหม่ ก็จะเห็นแสงสว่างนั้นอีก แสงสว่างจะเกิดดับเป็นเช่นนี้ตลอดไปที่จิตเรายังไม่นิ่งดี จนกว่าเราจะฝึกจิตจนเกิดความชำนาญนิ่งดี สติตั้งมั่นอยู่ในความสงบได้นานแล้ว ก็จะได้เห็นแสงสว่างนั้นคงอยู่เสมอไปด้วยความรู้สึกทุกครั้งที่เราหลับตา
    <o:p></o:p>
    แต่ถ้าท่านฝึกจิตใจสงบแล้ว ไม่พบเห็นแสงสว่าง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปดิ้นรนใฝ่หาแสงสว่างเพราะนิมิตนี้เป็นเพียงสัญญาณอย่างหนึ่งเท่านั้น มีอยู่หลายท่านที่ฝึกจนจิตสงบในระดับนี้ อาจจะไม่มีแสงสว่างเกิดขึ้นก็ได้ จึงไม่ต้องไปวิตกกังวลกับนิมิตนี้<o:p></o:p>
    สมาธิระดับนี้เขาเรียกว่า “ ขณิกสมาธิ ”
    <o:p></o:p>
    คือสมาธิที่ได้จากอารมณ์ของจิตที่ได้ฝึกให้นิ่งสงบลงเพียงระยะเวลาสั้นๆชั่วขณะหนึ่ง คือจิตใจจะมีสติตั้งมั่นสงบดำรงอยู่ได้ชั่วคราว แล้วจิตก็คลายถอนขึ้นมา
    <o:p></o:p>
    ดังนั้น สมาธิระดับนี้ จึงเรียกว่า “ ได้สมาธิขั้นต้น ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    หน้า116
    <o:p></o:p>
    ภาวะขณะนี้จิตใจเริ่มสงบไม่ฟุ้งซ่าน มีธรรมารมย์เป็นเป้าหมายให้กับจิตใจยึดเหนี่ยวเป็นอารมณ์ และเริ่มรู้จักวิธีการหาความเงียบสงบ ท่ามกลางความวุ่นวายของจิตและสังคม
    <o:p></o:p>
    ท่านจะต้องขยันหมั่นเพียร ฝึกจนเกิดความชำนาญเพื่อความเจริญในสมาธิผลให้มั่นคงทนอยู่ เพื่อเป็นบันไดไต่ไปสู่สมาธิระดับสูงต่อไป <o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า117<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สีของแสงคือสัญลักษณ์ของกิเลส<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แสงที่เกิดขึ้นจากการฝึกจิตในขั้นต้นนี้ เกิดได้ด้วยเหตุที่ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกายเราปรับรวมตัวเข้ากันเสมอ จิตนิ่งสงบ แล้วจึงเปล่งแสงออกมาทางจิตใจ ความรู้สึก และแสงนั้นจะมีสีต่างกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สีเหล่านี้ เป็นปรากฏการณ์จากอารมณ์ภายในของจิตใจ ได้แผ่ออกมาเป็นไปตามสัญลักษณ์ตัวแทนของกิเลส 3 กอง คือ โลภ โกรธ หลง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่ฝึกจิตให้สงบในขั้นนี้ใหม่ๆ แสงสีนั้นจะปรากฏเป็นสีขาว อันหมายถึง ความบริสุทธิ์ ของจิตเฉพาะในสภาวะขณะนั้นที่นิ่งสงบสะอาดอยู่ชั่วขณะหนึ่งแล้วก็จะเปล่งสีที่แท้อันเป็นธาตุแท้ของจิตออกมา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า118<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีแยกพิจารณาสีที่ปรากฏในขั้นนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1. โลภจริต (ราคะจริต) <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตระกูลสีเขียวหม่นหมอง คือมีสีเขียวเป็นหลักแต่เป็นสีที่ไม่สดใส คือเป็นสีที่ดูแล้วหม่นหมองขุ่นมัว มีสีแก่อ่อนลดหลั่นลงไปตามลำดับแบบขั้นบันได เช่น สีเขียวใบไม้แก่ใกล้จะร่วง สีเขียวใบไม้เน่า สีเขียวตองอ่อน สีเหลืองขุ่นมัว เป็นต้น เป็นสัญลักษณ์ปรากฏให้รู้ว่า คนประเภทนี้ มีโลภจริตเป็นเจ้าเรือน มีอารมณ์โลภอยากได้ มักติดอกติดใจ มีอารมณ์หนักเบาตามสีแก่อ่อนที่แสดงออกมา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นสีแสดงออกของคนที่มีเลือดบ้าใฝ่ใจถึงกามตัณหา โดยเน้นหนักไปในด้านความกำหนัดเพศสัมผัสกามราคะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีแก้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ต้องหมั่นฝึกจิต ให้สงบเพื่อมองเห็นผลร้ายของกิเลส เจริญปลงอสุภะ พิจารณาถึงความที่ร่างกายคนเรานั้นเป็นสังขารที่ไม่เที่ยงแท้ เปลี่ยนแปลงไปตามภาวะที่ทุกคนต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ว่าคนที่เรารัก<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า119<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หรือตัวเราเองต่างก็ต้องตายเมื่อใดก็ได้ เนื้อหนังผุพัง เน่าเปื่อย ความสวย ความงามที่น่ารักที่เคยมีอยู่ก็จะสลายไปตามกาลเวลา ไม่ยั่งยืนจีรัง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จิตได้ปลงจนสงบระงับลง ปลงจนทุกครั้งที่เรานึกคิดถึงหรือเวลาที่เราได้พบปะเห็นเพศฝ่ายตรงข้ามที่เราเคยสัมพันธ์ หรือความอยากได้ทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยงแท้ เป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ แล้วก็ผุพังเน่าไปโดยไม่มีอะไรให้ยึดมั่นถือมั่น จิตปลงเช่นนี้ทุกครั้งที่จิตเรานึกคิดกามราคะ จิตปลงบ่อยๆเข้า จิตก็จะคลายออกจากกามราคะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    2.โทสจริต (โกรธ) <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตระกูลสีแดง คือสีที่มีส่วนผสมของสีแดงตั้งแต่ สีแก่ลดหลั่นลงไปตามลำดับแบบขั้นบันไดเช่น สีแดงแก่ แดงม่วง แดง ส้มแดง ส้ม เป็นต้น เป็นสัญลักษณ์ปรากฏให้รู้ว่าคนประเภทนี้มี โทสจริต เป็นเจ้าเรือน มีอารมณ์ขี้โมโห โทโส เลือดขึ้นหน้าบ่อยมีอารมณ์หนักเบาตามสีแก่อ่อนที่แสดงออก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า120<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อนึ่ง ถ้ามีสีขุ่นมัวเข้าผสม ที่เรียกว่า ช้ำเลือด ช้ำหนอง สีน้ำล้างเนื้อเข้าผสมในสีแดงที่มีอยู่แล้ว แสดงว่า คนๆนี้ เป็นคนโทสะโกรธง่ายแล้วยังเป็นคนขี้โกรธอย่างไม่มีเหตุผล เอาแต่อารมณ์ของตนเป็นใหญ่ เวลาโกรธขึ้นมาไม่ฟังใครคัดค้านหรือหักห้ามทั้งนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีแก้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ต้องหมั่นอบรมฝึกใจเพ่งเล็งไปยังนิสัยที่ตรงกันข้ามกับความโกรธ ปลูกฝังความโอบอ้อมอารี ความเห็นใจ ความสงสารให้เกิดขึ้นในจิตใจ สร้างพลังแห่งกุศลธรรมด้วยการให้ได้ครองพรหมวิหารธรรม 4 ประการคือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หมั่นเจริญแผ่เมตตาที่ประกอบด้วยเจตนาดีจากส่วนลึกของจิตใจอุทิศกุศลถึง พรหมโลก เทวโลก มนุษย์โลก นรกโลก เจ้ากรรมนายเวร และเผื่อแผ่ไปยังสิ่งมีชีวิตทั้งปวงอย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ด้วยอารมณ์ เมตตา เป็นคนใจดีชอบเผื่อแผ่ช่วยเหลือคนอื่นอย่างไม่เห็นแก่ตัว<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า121<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กรุณา เกิดความสงสารที่เห็นคนอื่นได้รับทุกข์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มุทิตา ยินดีด้วยกับคนอื่นที่ได้รับความสุข<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อุเบกขา การควบคุมจิตใจให้สม่ำเสมอวางเฉยไว้ได้ ไม่ไปยินดียินร้ายและไม่เหยียบย่ำซ้ำเติมกับกรรมวิบากของสัตว์โลกที่เราไม่สามารถช่วยอะไรเขาได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    3.โมหจริต (ความหลง)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตระกูลสีดำ คือสีที่มีส่วนผสมของสีดำตั้งแต่สีเข้มแก่ลดหลั่นลงไปตามลำดับแบบขั้นบันไดเช่น สีดำสนิท สีเทาแก่ เทาอ่อน เป็นต้น เป็นสัญลักษณ์ปรากฏให้รู้ว่า คนประเภทนี้มี โมหจริตเป็นเจ้าเรือน และอกุศลกรรมกำลังวิบาก ดวงกำลังมืด ได้เข้าปิดบังปัญญา ให้เห็นผิดเป็นชอบ จิตใจฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ และบางครั้งมองไม่เห็นภัยอันตรายในภาวะนั้น จึงอาจจะกระทำสิ่งไม่ดีที่คิดไม่ถึง หรือประสบเหตุการณ์อันไม่คาดฝันมาก่อน เช่น บาดเจ็บเล็กน้อยถึงขั้นสาหัสหนักๆอาจจะถึงตายได้ ทั้งนี้หนักเบาตามแต่อกุศลกรรมที่กำลังวิบากแล้วแสดงออกมาเป็นสัญลักษณ์ตามความแก่อ่อนของสี <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า122<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีแก้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประพฤติตนเป็นคนดี หมั่นถือศีล สวดมนต์ ไหว้พระทำสมาธิให้ใจสงบเกิดปัญญาระลึกชอบ พิจารณาจนแจ้งซึ่งเหตุผลอันดีที่ควรประพฤติปฏิบัติต่อไปด้วยการ แผ่เมตตาอุทิศกุศล อย่างสม่ำเสมอทุกขณะจิต ขอให้เจ้ากรรมนายเวรจงอโหสิกรรมและฝึกเป็นคนใจกว้าง พร้อมอภัยให้กับคนอื่นและตนเอง สร้างจิตใจให้มีอภัยทานเป็นสรณะ และช่วยเหลือคนอื่นโดยไม่เห็นแก่ตัว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จิตใจที่มืดมนและอกุศลกรรมที่วิบากก็จะค่อยๆคลายจากหนักเป็นเบาได้จิตก็จะค่อยๆสว่างขึ้น<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า123<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทานยาสมุนไพรช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยเอว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปรกติ ท่านฝึกสมาธิถึงระดับขั้นนี้แล้ว แม้จิตใจเริ่มสงบ สมองไม่คิดฟุ้งซ่าน บางครั้งใจก็เริ่มปล่อยวางไม่รับรู้อาการปวดเมื่อย อาจเกิดอาการปวดเอวตรงบริเวณชายโครงของร่างกาย แม้จะฝึกปฏิบัติสมาธิจิตสงบแล้วทำใจปลงอนิจจังว่า ความทุกข์จากการปวดนี้เกิดได้ตั้งอยู่แล้วก็ต้องทนอยู่ไม่ได้ สุดท้ายต้องดับหายไป ฝึกไปบ่มจนจิตใจรู้แจ้งอาการแห่งอาการทุกข์เวทนาครั้งแล้วครั้งเล่ามานานวันแล้ว ท่านยังไม่หายปวดหรือเบาบางจากโรคแล้ว ขอให้ท่านเข้าใจว่า “ ไต ” ของท่านอาจจะมีอาการบอบช้ำมาก จนพลังจากการนั่งสมาธิไม่สามารถช่วยรักษาซ่อมแซม ขอให้ท่านรับประทานยาสมุนไพรเกี่ยวกับการแก้กษัย ควบคู่กับการเข้าสมาธิอาการของท่านก็จะดีขึ้นตามลำดับ เพราะปกติแล้ว พลังจากการเข้าสมาธิจะช่วย รักษากายเนื้อให้หายเจ็บปวดได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า124<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าสังขารนั้นไม่ร่วงโรยเกินไป ซึ่งท่านคงจะเคยได้ยินเรื่องกำลังภายในซึ่งมีพื้นฐานมาจากการฝึกสมาธิเช่นกันที่สามารถนำพลังภายในกายไปรักษาโรคทั่วๆไปได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระหว่างที่รักษาโรคไตเสื่อมปวดหลังนี้ ไม่ว่าหญิงชาย ห้ามมั่วในกามอย่างเด็ดขาด การรักษาโรคเหล่านี้จะได้ผลต่อเมื่อท่านไม่ทรยศต่อสัจจะ ของตัวท่านเองที่ตั้งไว้ที่จะพยายามฝึกจิตสม่ำเสมอ เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บของตัว ขอให้สังวรว่า “ ใครกินใครอิ่ม ” เวลาเจ็บปวด ไม่มีใครมาเจ็บปวดแทนท่านได้ ยาชุดนี้เป็นตำหรับยาจากหมอจีน ที่ต้องการเผยแพร่เป็นวิทยาทาน โดยมิได้หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ยานี้สั่งซื้อที่ร้านขายยาจีน ให้เขาปั้นเป็นลูกกรอนเท่าเม็ดถั่วเขียว ทานก่อนนอนคืนละ 10 เม็ด ถ้ามี อาการร้อนใน คือคอแห้ง มีเสมหะเหนียว ก็ลดน้อยลงมาเหลือคืนละ 5 เม็ด (ระหว่างทานยาห้ามกินน้ำแข็งน้ำเย็น)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สตรีมีครรภ์คนมีไข้ตัวร้อนห้ามรับประทาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สรรพคุณ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บำรุงเลือด แก้ปวดหลัง แก้หัวเข่าและขาไม่มีแรง<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า126<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ด้วยจิตที่มุ่งมั่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธาอันแรงกล้า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จึงไม่มีอุปสรรคใดที่จะขวางกั้นจิตเราได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า127<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บทที่3 ฝึกจิตให้สงบมากขึ้นในขั้นกลาง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีการฝึกบทนี้เป็นบทฝึกต่อเนื่องจากบทที่2<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าท่านไม่ได้ฝึกต่อเนื่องมาตลอดก็ควรที่จะฝึกตั้งแต่บทที่1,2,แล้วจึงมาลงฝึกบทที่3 นี้ ซึ่งการฝึกนั้น อาจจะใช้เวลาเพียงเล็กน้อยก็สามารถบรรลุขั้นตอนตามบทที่1,2,แล้วเข้าสู่บทที่3นี้ เป็นการทบทวนความจำเพื่อนำมาเรียนต่อเนื่องบทนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่ฝึกจากบทที่2 แล้ว เห็นแสงสว่างอยู่หรือท่านที่ฝึกจนสงบถึงระดับนี้ แต่ไม่เห็นแสงสว่างนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอให้ฝึกต่อด้วยการภาวนา “ พุท ” “โธ ”โดยคำภาวนาในที่นี้ไม่ได้ให้ใช้กำกับลมหายใจ แต่ใช้เป็นตัวสมมติแทนกองลมหายใจเข้าออก เพราะว่าลมหายใจนั้นหาจับตัวให้เห็นยาก จึงหาวิธีใช้ “ พุท ” “ โธ ” ให้<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า128<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภาวนาต่อเนื่อง เมื่อหายใจเข้าท่องว่า “ พุท ” และเมื่อลมเข้าสุดแล้วจะออกมาก็ท่องต่อด้วย “ โธ ” ออกพร้อมกับลมหายใจออกมาส่งไปที่กึ่งกลางระหว่างคิ้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สำหรับท่านที่ฝึกเห็นแสงสว่าง แล้วก็ส่งไปที่ศูนย์กลางของแสงสว่างนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อภาวนาจนชำนาญแล้วไม่ต้องท่อง “ พุท ” “ โธ ” ก็ได้ แต่เป็นการส่งจิตใจความนึกคิดไปตามกองลมหายใจเข้าแล้วออกไปเสริมเติมใสที่กึ่งกลางระหว่างคิ้วหรือศูนย์กลางของแสงสว่าง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ฝึกอย่างนี้จนจิตใจมุ่งมั่นเป็นสมาธิสงบได้นาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อารมณ์สมาธิจะค่อยๆสงบดีขึ้น แต่อารมณ์สมาธิขณะนี้ยังรวมได้ไม่ สนิทเต็มที่จึงยังไม่นิ่งแน่วแน่สมบูรณ์ดี จิตใจยังยึดเอาอารมณ์แห่งการภาวนา มาเป็นอุปาทานเครื่องยึดมั่นถือมั่นอยู่ ภาวะนั้นจิตกำลังจะรวมเข้ามาเป็นหนึ่ง จิตใจความนึกคิดจะตั้งอยู่เฉพาะที่ศูนย์กลางแสงสว่างหรือกึ่งกลางระหว่างคิ้วนั้น แล้วจะค่อยๆสงบมากขึ้นอีกสู่ความสงบและเสวยอารมณ์นี้อยู่ภายในจิตตนเอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า129<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สมาธิระดับนี้ มีกำลังสามารถผลักดันข่มกิเลสนิวรณ์ 5 อันเป็นกิเลสที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดีเป็นอกุศลที่ทำจิตให้กระวนกระวายใจเศร้าหมองและข่มปัญญาให้อ่อนกำลัง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นิวรณ์ 5 คือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1 ความพอใจรักใคร่ในกาม รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2.ความพยาบาท คิดปองร้าย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3.ความหดหู่ท้อแท้เกียจคร้านง่วงเหงาเคลิบเคลิ้ม <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4.ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5.ความลังเลสงสัย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ด้วยกำลังสมาธิเกือบจะถึงระดับฌานนี้ จึงมีแรงผลักดันข่มให้นิวรณ์ทั้ง 5 ประการ หลุดพ้นไปออกจากจิตใจได้ชั่วขณะหนึ่ง แต่องค์ฌานระดับนี้กำลังของสมาธิยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะสามารถ “ ละ ” วางอารมณ์แห่งการภาวนาได้ และบางครั้งจิตยังรู้ว่ามีอารมณ์จากภายนอกเข้ามากระทบสัมผัสประสาททั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจบ้าง อย่างเช่นเสียงที่เข้ามา<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า130<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    รบกวนทางประสาทหู รูปที่เกิดขึ้นในมโนภาพเป็นแต่จิตใจในขณะนั้น ยังคงรวมเป็นหนึ่งที่ไม่ฟุ้งซ่าน ออกจากสมาธิไปรับรู้อารมณ์ภายนอกที่มากระทบนั้น จิตใจสามารถวางเฉยไม่ปรุงแต่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อฝึกจนเกิดความชำนาญมากขึ้นด้วยการสืบต่อเนื่อง จิตใจก็จะสงบมากยิ่งขึ้นจิตยังคงยึดอยู่กับการบริกรรมภาวนา แต่ก็ค่อยๆปล่อยวางกายเนื้อของตนไม่มีอาการ ปวดเมื่อย ขาชา เหน็บ ไม่รับรู้อารมณ์ภายนอก ครั้งทุกข์เวทนาเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นก็ไม่มีอาการทุกข์เวทนาคอยก่อกวนจิตใจให้ต้องคอยพะวงกับอาการเจ็บปวดเมื่อย จนทำให้สมาธิตก จิตจึงมีสมาธิดี ค่อยๆมั่นคงแน่วแน่ ในภาวะขณะนั้น ที่กึ่งกลางระหว่างคิ้วหรือที่ตรงกลางแสงสว่างนั้น จึงค่อยๆเปล่งแสงสว่างจ้ามากขึ้นแล้วรวมเป็นวงกลมอย่างเรืองรางก่อน เราค่อยๆประคองจับวงกลมนั้น อย่างสุขุมแผ่วเบา แล้วส่งจิตใจความนึกคิดที่รวมเป็นหนึ่งนั้นเข้าไปมากขึ้น ด้วยอารมณ์ที่ไม่สอดส่ายไปในที่อื่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า131<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คราวนี้ ส่งเข้าไปที่ศูนย์กลางวงกลมนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วงกลมที่เป็นเป้าของจิตนั้นก็จะค่อยๆ ชัดขึ้นและเนื้อที่ภายในวงกลมนั้นก็จะเต็ม เกิดเป็น “ ดวงสีขาว ” สว่างที่ผุดขึ้นเฉพาะหน้าจำได้แม่นยำแจ่มชัดติดตา เหมือนดวงวงกลมของจริงที่ขีดเขียนขึ้น นิมิตวงกลมนี้เรียกว่า “ อุคหนิมิต ” คือ นิมิตที่ติดตามองเห็นได้ชัดเจน เป็นนิมิตที่เกิดขึ้นจากการรวมพละกำลังจากสมาธิ ไม่ใช่นิมิตที่นึกขึ้นมาจากมโนภาพ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า132<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความสำเร็จของการฝึกสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ ยิ่งฝึก ยิ่งคล่อง ยิ่งคล่อง ยิ่งชำนาญ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทั้งคล่อง ทั้งชำนาญ ย่อมควบคุมอารมณ์ได้ทุกเมื่อ ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า133<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ยึดอุคหนิมิตเป็นอารมณ์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อุคหนิมิต เมื่อได้ปรากฏเป็นดวงเช่นนี้แล้ว จิตจึงเอานิมิต “ ดวงสีขาว ” นั้นให้สติยึดมั่นเป็นอารมณ์อยู่ได้พักหนึ่ง ก็จะตกสู่ภวังค์เสียอีกพักหนึ่งจิตยังขึ้นๆลงๆไม่แน่วแน่แท้เรียกตามภาษาชาวบ้านว่า “ นิมิตนั้น ยังปรากฏแบบผุดๆโผล่ๆ ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นิมิต “ ดวงสีขาว ” นี้เป็นของแปลกใหม่สำหรับนักปฏิบัติ เมื่อได้พบเห็นนิมิตแล้ว จิตก็ต้องวางใจเป็นกลางคือ อุเบกขาวางเฉยด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่ลิงโลด ดีใจในอารมณ์ตื่นเต้นจนฟุ้งซ่านเสียสมาธิ และไม่ยินร้ายเสียใจที่ได้นิมิตช้าไป ให้ค่อยๆส่งความนึกคิดไปประคองกำหนดระลึกรู้จับอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงสีขาวนั้นต่อ และ ส่งกระแสจิตใจความนึกคิดเข้าเสริมทับถมที่ดวงสีขาวนั้นต่อไปอย่างต่อเนื่อง “ ดวงสีขาว ” นั้นก็จะค่อยๆตั้งมั่นอยู่และจะแจ่มใสชัดเจน ไม่หนีหายไปแต่ถ้านิมิต “ ดวงสีขาว ” นั้นหายไปด้วยเหตุที่สมาธิตกลง<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า134<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะตื่นเต้นจากความดีใจหรือเสียใจจนคิดฟุ้งซ่านเกิดความวิตกกังวล หรือจิตใจหลงใหลในนิมิตมากไปจิตคลายออกจากการมั่นในสมาธิ นิมิตจึงหายไป จิตใจก็ไม่ต้องเสียใจ เศร้าโศก หดหู่ ท้อถอย เชื่องซึม คลายออกจากสมาธิ ละทิ้งการฝึกจิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านตั้ง “ สติ ” ให้ดีทบทวนพิจารณาสังเกตว่า “ ดวงสีขาว ” ที่เคยเกิดนั้น เกิดในภาวะใดของอารมณ์ขณะฝึกจิต ลักษณะไหน นิมิตจึงเกิดขึ้นก็ให้ย้อนกลับไปฝึกเริ่มต้นใหม่ จนจิตสงบแล้วก็จะได้พบดวงสีขาวปรากฏในบริเวณที่เคยปรากฏอีกครั้งหนึ่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อฝึกได้พบเห็นนิมิต “ ดวงสีขาว ” ใหม่อีกครั้ง <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ต้องผูกจิตไว้ให้ยึดมั่นติดในอารมณ์กำหนดจิตจดจำไว้เป็นอย่างดี ด้วยความหวงแหนและเชื่อมั่นว่านิมิตนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องไม่ปล่อยปละละเลยให้เสื่อมไปอีก เพราะนิมิตนี้เป็นจุดนำทางเราไปสู่สมาธิที่สูงขึ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า135<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จิตใจในขณะที่ได้สมาธินี้เกิดความพอใจตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน นิ้วหัวแม่มือที่จรดกันนั้นจะรู้สึกว่ามีอำนาจเหมือนกระแสพลังแม่เหล็กดูดจนติดแน่น ร่างกายจะนั่งอยู่เป็นสุขสบายไม่เคลื่อนไหว และมีความรู้สึกว่ากายเบาเหมือนไม่มีรูปร่างคงอยู่ จึงไม่รู้สึกปวดเมื่อย ศีรษะคล้ายหนักอึงแผ่ดังสุ่มครอบลงมาทั้งร่างกาย หนังตาจะหนักๆและไม่มีอาการกลืนน้ำลายซึ่งเกิดจากจิตสงบนิ่งทำให้ต่อมน้ำลายในปากไม่บีบน้ำลายออกมาขณะเดียวกันจะรู้สึกว่ามีเหงื่อซึมออกมา โดยส่วนมากจะเริ่มที่ตลอดแนวกระดูกสันหลัง และฝ่ามือก่อน และบางครั้งอาจจะมีอาการเหมือนมีความร้อนอุ่นๆเกิดขึ้นภายในร่างกายและวิ่งไปทั่วร่างกายช่วงนี้เหงื่อจะถูกขับออกมาก จนท่วมตัวเป็นการขับโรคภัยไข้เจ็บออกมาด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ที่เป็นเช่นนี้ เพราะจิตใจความนึกคิดขณะนี้จับอยู่ที่ดวงนิมิต ไม่ได้ออกมารับรู้อาการภายนอกนิมิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สมาธิระดับนี้ เขาเรียกว่า “ อุปจารสมาธิ ” คือ สมาธิที่ได้จากอารมณ์ของจิตรวมเข้าเป็นหนึ่งสู่ความสงบมั่นคงจวนเจียนจะแน่วแน่ เฉียดๆ ฌานแล้ว<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า136<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น สมาธิระดับนี้ จึงเรียกว่า “ ได้สมาธิขั้นกลาง ” ภาวะจิตใจที่ได้สมาธิระดับขั้นกลางนี้ การฝึกนี้สามารถรวมอารมณ์แห่งความนึกคิด ให้เป็นหนึ่ง ที่จวนเจียนจะแน่วแน่ ลมหายใจจึงละเอียดสงบเงียบและซาบซึ้งปราณีตกว่าเดิมเกิดอำนาจปราโมช อิ่มเอิบใจเล็กน้อย อุเบกขาความวางเฉยก็ตั้งขึ้น ธาตุย่อมจะเสมอ จิตใจก็จะรู้สึกมีความเยือกเย็นสงบสุขมากขึ้น แม้ออกจากการปฏิบัติฝึกสมาธิ ก็ยังพอจะมีสติปัญญาควบคุมจิตใจไม่ให้ลุ่มหลงกับกิเลสแห่ง โลภ โกรธ หลง เป็นบางขณะได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ด้วยการมุ่งมั่น เอาดีในสมาธิผลที่สูงขึ้นกว่านี้ท่านต้องฝึกตามบทนี้จนเกิดความชำนาญ และต้องไม่หลงยึดติดอยู่กับความสงบสุขเล็กน้อย ต้องมุ่งพัฒนาจิตให้สงบมั่นคงแน่วแน่ต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า137<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระวังจิตกับวิญญาณจะรวมฉับพลัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในการฝึกสมาธิระดับขั้นกลางจนถึงขั้นสูงนั้น อาจจะมีเหตุบังเอิญคือ จิตเกิดรวมฉับพลันกับวิญญาณเป็นลำแสงพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ไม่ต้องตกใจ ทำจิตใจให้มั่นจับไปกับลำแสงนั้นเหมือนพบเสือแล้ว ไม่กลัวเสือ ทำใจดีๆ จับหางเสือวิ่งตามเสือไปจนได้จังหวะโอกาสที่จิตเราหายตื่นตกใจแล้ว ก็สามารถกระโดดขึ้นนั่งหลังเสือใจก็จะค่อยๆสงบลงได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    รายละเอียดบทนี้ ให้ศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทการถอดจิต (ข้อ ก) ในภาคอิทธิฤทธิ์-บุญฤทธิ์<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า138<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คำเตือนการฝึกจิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คนใดเอยที่ประกาศขอฝึกจิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เราขอเตือนระวังภัยกิเลสตน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โดยเฉพาะผู้มุ่งหวังโลกแห่งธรรม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โลกียะคือทางโลกที่คนหลง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลงอยู่ในโลภโกรธหลงภัยมหันต์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กิเลสสัตว์ตัณหาคนกามฉันทะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จิตรุ่มร้อนกายเสื่อมทรามเสียพลัง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กามดึงจิตกามดึงกายดิ่งนรก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไม่มีวันผุดโผล่ขึ้นมุ่งทางธรรม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นอกเสียจากท่านปลงขันธ์ปลงให้แตก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เห็นความจริงอนิจจังไม่เที่ยงหนอ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปลงทุกเมื่อเมื่อจิตผุดกามอารมณ์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปลงเช่นนี้หมุนเวียนไปย่อมได้ผล<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จิตสบายไม่หลงเริงเยี่ยงสัตว์ป่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    และเมื่อนั้นท่านจะหลุดกามฉันทะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า139<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีตั้งอารมณ์ให้จิตยึดจับอยู่ที่กึ่งกลางระหว่างคิ้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่ฝึกจนสงบแล้วไม่มีแสงสว่างเกิดขึ้นนั้น ต้องอาศัยวิธีนี้เป็นพื้นฐานในการฝึกจิตให้เจริญสู่สมาธิที่ดีขึ้น คือ เมื่อหายใจนั้นจิตใจจับตามกองลมหายใจเข้า ทางรูจมูกนั้นท่องว่า “ พุท ” และพอลมหายใจเริ่มออกก็ท่องว่า “ โธ ” พร้อมกับลมหายใจออกมาถึงรูจมูก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระหว่างนั้นสมมติว่า จิตใจเราที่จับติดกับกองลมหายใจพร้อมตัว “ โธ ” นั้นถูกนำสูงขึ้นไปอีก ผ่านเพดานปากและผ่านดั้งจมูก และส่งออกไปทับถมที่กึ่งกลางระหว่างคิ้ว เป็นการรวบรวมจิตใจความนึกคิดทั้งหลายให้ไปรวมเป็นหนึ่งตั้งอยู่ที่กึ่งกลางระหว่างคิ้วนั้น<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า140<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อีกวิธีหนึ่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คือ ลืมตาขึ้น แล้วมองไปที่ปลายนิ้วของท่านซึ่งยกขึ้นชี้มาที่ตา นิ้วตั้งสูงเสมอระดับตามองแล้วจะเกิดความรู้สึกเสียวที่ดั้งจมูกตรงกึ่งกลางระหว่างคิ้วนั้น สถานที่รู้สึกเสียว คือตำแหน่งที่วางจิตใจ เมื่อจับจุดนี้ได้แล้วจึงค่อยๆปิดหนังตาลงมา แต่ตาในยังคงมองไปรวมเป็นจุดเดียวกันที่ตำแหน่งเสียวนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เท่าที่เคยทดลองมา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ยกนิ้วชี้ให้ตาตัวเองเพ่ง ส่วนมากไม่รู้สึกเสียว แต่พอให้คนอื่นชี้ตาเรา จับจ้องเพ่งดูกลับมีความรู้สึกเสียวเร็ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระหว่างการรวมจิตนี้ ท่านอย่าเร่งรีบบีบรัดความนึกคิดให้เครียดนัก เพราะการบีบรัดจะทำให้ท่านปวดขมับ ถ้ามีอาการปวดขมับ ให้ศึกษาวิธีแก้ปวดประสาทสองข้างขมับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    และท่านที่ฝึกมาถึงระดับนี้แล้ว ฝึกต่อไปจิตก็สงบดี แต่ถ้าไม่ได้นิมิตวงกลมนั้น ขอแนะนำให้ฝึกบทเพ่งกสิณตั้งนิมิตให้แข็งแกร่ง เพื่อนำนิมิตวงกลมมาเป็นอุคหนิมิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า141<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพ่งกสิณตั้งนิมิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ประดิษฐ์กสิณขึ้นด้วยการตัดกระดาษสีขาว ให้เป็นดวงวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ติดไว้ในกึ่งกลางของกระดานดำ หรือกระดาษสีดำที่กว้างอย่างน้อย 50 ตารางเซนติเมตรหรือใหญ่กว่านี้ก็ได้ แล้วนำมาตั้งหรือแขวนไว้ตรงข้างหน้าของเรา อยู่ในระยะที่ไม่ไกลหรือใกล้เกินไป คือ ดูความพอเหมาะสมที่ตั้งหรือแขวนแล้ว ต้องมองเห็นจุดสีขาวได้ชัดเจน และดวงสีขาวนั้นต้องอยู่ในระดับเสมอตาในขณะที่เรานั่งลงแล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เหตุที่ใช้ดวงสีขาว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะว่า เมื่อมองเพ่งจนจำได้แล้ว จะได้นิมิตเหมือนของจริงที่ปรากฏขึ้นตอนที่จิตสงบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ซึ่งนิมิตที่เห็นในความรู้สึกเมื่อฝึกถึงขั้นอุคหนิมิต ดวงนิมิตนั้นจะเป็นดวงวงกลมสีขาวสดใสที่ไม่มีสีอื่นเจือปน<o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า142<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ส่วนที่ใช้กระดานดำหรือกระดาษดำ เพื่อเน้นให้ดวงสีขาวชัดขึ้น สร้างภาวะการรวมสมาธิได้ดี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเตรียมการพร้อมแล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปฏิบัติดังนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีการจับ “ ดวงสีขาว ” นั้นใหม่ๆสำรวมจิตให้มั่น “ มอง ” ไปยังเป้าหมายนั้นด้วยสายตาตามปรกติธรรมดา มองเพียงแค่จำได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะถ้าเพ่งจ้องด้วยการตั้งใจแรง มองอย่างบีบรัดรุนแรงหวังผลเร็วแล้ว ก็จะเกิดอาการเครียดตึงถึงขั้นปวดขมับ ขอให้ท่านมองจนจำดวงสีขาวได้เมื่อใดเมื่อนั้นก็ปิดหนังตาลงมา แต่ตาในไม่ได้หลับ ยังคงส่งความรู้สึกเพ่งเล็งไปยังจุดเดียวคือ “ ดวงสีขาว ” ที่จำติดตาได้นั้น นึกนิมิต “ ดวงสีขาว ” นั้นให้ปรากฏเหมือนของจริงที่ลืมตาดู<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อหลับตาจับ “ ดวงสีขาว ” อยู่เฉพาะหน้าเราได้แล้ว หายใจเข้าภาวนา “ พุท ” แล้วหายใจออกต้องท่องต่อด้วยการภาวนาว่า “ โธ ” พอคำว่า “ โธ ”จะออกพร้อมลมหายใจสลายไปในอากาศนั้น เราสมมุติว่า นำตัว “ โธ ” พร้อมด้วยลมหายใจส่งเข้าที่ศูนย์กลาง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า143<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ของ “ ดวงสีขาว ” นั้น ทับถมไปจนกว่าดวงนั้นจะสว่างและชัดเจน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าท่านฝึกจนชำนาญแล้ว ไม่ต้องภาวนา “ พุท ” “ โธ ” ก็ได้ แต่ใช้ส่งกระแสจิตใจความนึกคิดเข้าไปที่ศูนย์กลาง “ ดวงสีขาว ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อจำดวงสีขาวนั้นได้ดีแล้ว ก็หน่วงไว้อยู่ครู่หนึ่ง ดวงนิมิตนั้น ก็อาจจะเสื่อมคือเลือนรางจนมองไม่ชัด ก็ลืมตามองดูใหม่อยู่พักหนึ่ง จนกว่าจะจำภาพดวงสีขาวนั้นได้แล้วก็หลับตาบริกรรมภาวนาต่อไป ทำสติให้มีความไม่หลงลืมนิมิตหมายอันที่ถือเอาได้แล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บริกรรมภาวนาสลับไปอย่างนี้จนกว่าเมื่อใดหลับตาแล้ว พอนึกหน่วงดู ก็จะเห็น “ ดวงสีขาว ” ทุกครั้งอย่างชัดเจนก็จะเป็น “ อุคหนิมิต ” เพื่อในการฝึกปฏิบัติให้ดีอีกต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การมองจับดวงสีขาวนั้น คนที่เหลือกตาจ้องดู ตาก็จะเมื่อยล้าเร็ว “ ดวงสีขาว ” ที่เพ่งมองนั้น เมื่อหลับตาแล้วมองไปจะปรากฏใหญ่โตเกินกว่าความจริง ทำให้ไม่เกิดนิมิตแท้<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า144<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คนที่หรี่ตาดู จะมองเห็น “ ดวงสีขาว ” ไม่ชัดหลับตาแล้วก็จับ “ดวงสีขาว ” ไม่ติดตา ทำให้จิตใจเกิดการหดหู่ท้อถอย จึงทำให้ไม่เกิดนิมิตแท้อีกเช่นกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อฝึกจนเกิดความชำนาญ ฝึกจนหลับตาเมื่อใด มองไปข้างหน้าทุกครั้ง ในจิตใจความนึกคิดขณะนั้น ก็จะเห็นดวงสีขาวปรากฏขึ้นเหมือนของจริงที่เวลาลืมตาดู<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ก็ให้เอาแผ่นกระดาษหรือกระดานดำที่ติดดวงสีขาวนั้นออกไปให้พ้นจากสายตาแล้วฝึกต่อไป โดยไม่ต้องมีเป้าให้เพ่งมองอีก ฝึกจนหลับตาแล้วยังคงพบเห็นดวงสีขาวติดตาอย่างสนิทอยู่เฉพาะหน้าอีก หลับตานึกภาพดูทุกครั้ง ภาพก็จะเป็นมาทันที ฝึกจนจำได้แม่นยำ เช่นนี้แล้ว “ อุคหนิมิตย่อมเกิดขึ้น ” ที่เรียกว่าได้

    “ สมาธิขั้นกลาง ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า145
    <o:p></o:p>
    วิธีการแก้ปวดประสาทสองข้างขมับ
    <o:p></o:p>
    ขอให้ท่านวางจิตใจให้สบายๆ แล้วรวมจิตใจความนึกคิดให้เป็นหนึ่ง สมมติว่าตั้งไว้ที่ท้ายทอย แล้วค่อยๆส่งจิตใจความนึกคิดนั้นให้ผ่านสองข้างของขมับแล้วมารวมกันที่กึ่งกลางระหว่างคิ้วแล้วจึงค่อยๆผ่อนคลายออกสู่นอกศีรษะ ปฏิบัติเช่นนี้ประมาณ 15 -30 นาที ก็จะหายปวด คืนสู่สภาพปรกติ
    <o:p></o:p>
    ถ้าท่านรักษาตัวด้วยวิธีนี้แล้วยังไม่หายปวดและประสาทยังมีความตึงเครียดมึนชา งงไปหมด ไม่ต้องตกใจ คือ ทำใจสบายๆ งดเว้นการฝึกสมาธิในวันนั้นแล้วเดินจงกรมแผ่เมตตา หรือหาทางออกด้วยการไปทำงานที่ต้องออกกำลังให้เพลินกับงาน กลางคืนก็จะได้หลับสบาย พรุ่งนี้ค่อยมาฝึกสมาธิต่อไปใหม่<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า146<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    คบปราชญชาติเชื้อ ชาญธรรม์<o:p></o:p>
    จักสูญไปสวรรค์ สวัสดิ์แท้<o:p></o:p>
    คบพาลประทุษฐ์อัน หินชาติ<o:p></o:p>
    จักได้ทนทุกข์แล้ เพลี่ยงพลั้งเสียตน ฯ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (สำนวนเก่า)<o:p></o:p>
    (จากประชุมโคลงโลกนิติ)

    <o:p></o:p>
    หน้า147<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นิมิตภาพและเสียงจากสมาธิขั้นกลาง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อท่านฝึกจนได้อุคหนิมิตแล้ว รวมจนจิตนิ่งตกสู่ภวังค์จิต จิตใจขณะนั้นจะไม่มีการรับรู้อารมณ์ภายนอกแล้วรวมเป็นหนึ่ง ปล่อยวางความจำและการยึดมั่นในสิ่งต่างๆทั้งอดีตและอนาคต จะมีแต่อารมณ์รู้ปรากฏเฉพาะเวลานั้น คือ นิ่งสงบสบายเคลิ้มอยู่ในอารมณ์คือมีอาการคล้ายครึ่งหลับครึ่งตื่น แต่ยังมีสติควบคุมสังขารอยู่ หรือภาวะที่ถอนจิตจากภวังค์ขึ้นมาเล็กน้อย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภาวะเช่นนี้ อาจจะมีนิมิตภาพหรือนิมิตสัญญาณเกิดขึ้นได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แต่ก็ไม่เกิดกับทุกคนเสมอไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ก.ท่านที่ฝึกจิตให้สงบด้วยวิธีใช้หลักวิปัสสนาไตร่ตรองให้เกิดปัญญา อบรมจิตใจให้เห็นความเกิดดับความไม่เที่ยงแท้ของสังขารที่มีภาวะธรรมทนอยู่ไม่ได้แล้วก็สลายไปในที่สุดเป็นการใช้ปัญญาให้เหตุผล<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า148<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพื่อตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่าน อบรมให้จิตสงบ สมาธิประเภทนี้ส่วนมาก จิตมีปัญญาแฝงกับสมาธิคอยหว่านล้อมจิตให้สงบ เรียกว่าเป็นคนคิดมากด้วยปัญญา แต่เมื่อสงบแล้ว สมาธิจะมั่นคงกว่าประเภทที่ฝึกสมาธิให้จิตสงบจนเกิดปัญญา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้นสมาธิประเภทนี้ ส่วนมากจะไม่ค่อยมีนิมิตภาพหรือสัญญาณที่เกิดขึ้นมา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ข.ท่านที่ฝึกจิตให้สงบด้วยสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สายนี้คนที่ฝึกส่วนมากจะมีศรัทธาแก่กล้า มีนิสัยเชื่อง่ายไม่คอยระวังเฉลียวใจที่จะใช้ปัญญานึกพิจารณาถึงเหตุผล จิตจึงมุ่งพุ่งดิ่งด้วยความเชื่อที่ไม่ลังเลสงสัยเวลาจิตจะเข้าถึงจุดสงบ ระหว่างนั้น จิตจะไม่คิดระวังกังขา จึงเหมือนคนตกบ่อตกเหวรวดเดียวตกถึง “ ความสงบ ” คือที่พักของจิต เป็นการเข้าสู่ภวังค์เหมือนภาวะที่คนกระโดดลงน้ำนั้นจะจมดิ่งลงไป แล้วจึงลอยขึ้นมาใหม่ และเมื่อคนที่มีสติเหมือนคนหัดว่ายน้ำเป็นแล้ว ก็สามารถลอยคอพิจารณาสิ่งแวดล้อมและสามารถว่ายไปตามทิศทางที่ตนต้องการ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า149<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภาวะนั้น จิตจึงค่อยๆ ถอนขึ้นมารับรู้เหตุการณ์ต่างๆ ที่มาปรากฏเป็นนิมิตขึ้นแล้วพิจารณาหาเหตุผลที่เกิดในสภาวะธรรมนั้น เรียกว่า เป็นการฝึกอบรมจิตเป็นสมาธิให้เกิดปัญญา คนประเภทนี้มักปัญญาอ่อนไหวลืมตัว สติเผลอได้ง่าย และมักยึดด้วยอุปาทาน จิตจึงปรุงแต่งขยายเรื่องราวให้เกินขอบเขต หลงจนถอนตัวได้ยาก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นิมิตที่เกิดขึ้นนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ นิมิตในที่เกิดจากตัวเราเอง และนิมิตนอกที่เกิดจากสิ่งภายนอกเข้ามาสัมผัส นิมิตทั้งสองประเภทนี้มีทั้งที่เป็นจริงและไม่จริง<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า149<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นิมิตในที่เกิดขึ้นจากตัวเราเอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นิมิตประเภทนี้ ส่วนมากจะปรากฏเป็นภาพที่สวยบ้าง ไม่สวยบ้าง เช่น เห็นตัวเองนั่งบ้าง นอนบ้าง บางทีท่านที่ฝึกปลงอสุภะ อาจจะเห็นตัวเองเป็นซากศพที่กำลังเน่าเปื่อยมีกลิ่นเหม็น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า150<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บางครั้งอาจจะได้ยินเสียงผู้ที่เรานับถือมากเตือนให้ตนทำดีปฏิบัติธรรมบ้าง หรือเกิดสัญญาณเตือนขึ้นในใจ (ในสมอง) เป็นการเตือนภัยบ้าง เตือนเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นบ้าง เหมือนใครมาคอยกระซิบเตือนเป็นลางสังหรณ์ให้รู้ล่วงหน้า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บางครั้งรู้สึกว่าตัวเบาเหมือนจะลอย ตัวพองโตเหมือนระเบิด หรือ ได้ยินเสียง ดนตรีทิพย์ แสดงนานบ้างหรือสั้นบ้าง เป็นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า150<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นิมิตนอกที่เกิดจากสิ่งภายนอกเข้ามาสัมผัส<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บางท่านนั่งไปจิตสงบ ใจสบาย กระแสจิตอาจจะออกไปสัมผัสพบเห็นตัวเองเดินอยู่ในหมู่แมกไม้สวนดอกที่ร่มรื่นเหมือนดินแดนสวรรค์ มีทางเดินไปไม่สุดสาย บางคนเห็นเป็นทะเลกว้างสุดขอบฟ้า บางคนเห็นเหมือน ตัวเองยืนอยู่ท่ามกลางหมู่เมฆที่ลอยผ่านตัวอย่างนิ่มนวลและเมฆนั้นมีลักษณะรูปร่างต่างๆกัน เรียกว่า สวยจนดูแล้วเพลิดเพลินหลงติดอยู่กับบรรยากาศภาวะนั้น บางทีเห็นเป็นคน สัตว์ เทวดา พอนึกอยากจะเห็นอะไรก็เห็น อยากจะเห็นพระอินทร์ก็เห็น อยากจะเห็นพระพรหมก็เห็น และได้พูดคุยกับเทวดาอินทร์พรหม <o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า151<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บางทีอยู่ ๆ ก็มีเทวดาพาไปเที่ยวนรกภูมิเห็นผีเปรต ปีศาล อสูรกาย ปรากฏเข้ามาในนิมิตนั้น อาจจะทำให้ตื่นตนกตกใจกลัวจนเป็นบ้าได้เหมือนเราได้ ออกไปสัมผัสพูดคุยพบเห็นเหตุการณ์เหล่านั้นจริงๆรู้สึกว่าเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนภาพยนตร์เรื่องยาวบ้างสั้นบ้างปรากฏขึ้น พาให้เพลินหลงยึดอยู่ในนิมิตที่เป็นของแปลกใหม่ เป็นปรากฏการณ์ที่มหัศจรรย์มากของคนที่ฝึกพบเห็นใหม่ๆ จึงคิดเอาเป็นจริงเป็นจัง ทึกทักว่าแน่แล้วเราได้ฌานวิเศษ ภาพนิมิตเหล่านั้นจึงเข้าไปประทับในความทรงจำติดตาตลอดเวลา เกิดการหลงผิดเข้าไปยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นจนลืมตัวเสียสติไปก็ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แต่แท้จริงนิมิต ส่วนมาก เป็นเพียง ความทรงจำในอดีตที่สมองปรุงแต่งขึ้นภายในจิตด้วยอำนาจอุปาทานที่ฝังอยู่ใต้จิตสำนึกเท่านั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า152<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีถอนจิตออกจากนิมิตเพื่อเข้าสู่สมาธิต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไม่ว่าท่านจะได้พบนิมิตใน ที่เกิดจากตัวเราเองหรือนิมิตนอกที่เกิดจากสิ่งภายนอกเข้ามาสัมผัส<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เบื้องต้นนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่ฝึกจิตยังไม่แข็งแกร่ง และไม่เคยประสบพบเห็นเหตุการณ์อย่างนี้มาก่อน คือ ยังไม่มีความเคยชิน ในเหตุการณ์ที่นิมิตภาพหรือเสียงเกิดขึ้น เหมือนคนไม่ชำนาญเส้นทางเดินผ่านป่าที่อาจจะผจญภัยกับสัตว์ร้าย หรือพบความเงียบวังเวงที่น่ากลัว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พึงปฏิบัติดังนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตั้งสติให้มั่นดึงจิตใจความรู้สึกให้อยู่กับตัวกายเนื้อไม่ให้ส่งกระแสจิตออกไปสัมผัส และไม่รีบไปสนใจปรุงแต่งเหตุการณ์นั้น ทำใจให้ดีๆให้รู้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะที่วางเฉยด้วยอุเบกขา ไม่ยินดียินร้ายกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ตื่นตนกตกใจ ไม่สะดุ้งหวาดกลัว ขวัญเสีย ทำใจดีสู้เสือ เมื่อสติมั่นคงอยู่ ปัญญาก็เกิดขึ้น<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า153<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พิจารณาด้วยอารมณ์หนักแน่นรอบคอบ ทำใจให้เข้มแข็ง กล้าหาญ พิจารณาภาพนิมิตที่เคลื่อนไหวหรือไม่นั้นศึกษาให้รู้ชัดว่านิมิตนั้นคืออะไร และเป็นมาอย่างไรแล้วจะเป็นไปอย่างไร เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นจริงแจ้งชัดแล้ว ก็ปล่อยวางเสียด้วยไม่หลงใหลเพลิดเพลินมัวเมาคล้อยตามไปยึดมั่นถือมั่นในนิมิตเหล่านั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ซึ่งนิมิตเป็นเพียงทางผ่าน อย่าไปติดใจยึดมั่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะว่า ถ้าเราไปยึดมั่นแล้ว จะปรุงแต่งเป็นกิเลสปกปิดปัญญาให้อารมณ์สมาธิขณะนั้นขาดสติ จิตใจฟุ้งซ่านซัดส่ายกวัดแกว่งเป็นอุปสรรคแก่การทำใจให้สงบ ทำให้เสียสมาธิ คือ สมาธิจะเสื่อมถอยลงไป <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านพึงตั้งสติโดยเร็ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดึงจิตกลับเข้าที่ คือ “ ให้นึกถึงดวงสีขาว ” ที่เป็นนิมิตให้ปรากฏขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เอาจิตใจความนึกคิดจับจดจ่ออยู่กับนิมิตดวงสีขาวนั้น เริ่มบริกรรมภาวนา “ พุท ” “ โธ ”ใหม่ กำหนดจิตอยู่กับการบริกรรมภาวนา แล้วกำหนดจิตตั้งมั่นรู้ให้ทันเหตุการณ์นั้นว่าภาพที่เกิดขึ้นนี้ ล้วนแต่เป็นอุปาทานจากสัญญาความ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า154<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทรงจำในอดีตที่เก็บค้างอยู่ในสมอง จึงไม่น่ายึดมั่นถือมั่น เพราะไม่มีแก่นสารสาระที่จะเป็นประโยชน์กับการเจริญสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อจิตใจเราตั้งมั่นอยู่ และจับจดจ่ออยู่กับนิมิต “ ดวงสีขาว ”แล้ว ภาพที่เกิดอยู่นั้น ก็จะเลือนรางเสื่อมหายไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าภาพนิมิตเหล่านั้นยังไม่หายไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ให้ตั้งสติให้มั่นอีกครั้ง น้อมเหตุการณ์เหล่านั้นลงไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่า สิ่งที่เกิดนั้น ไม่เที่ยงแท้เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นเพียงรูปสังขารที่อุปาทานปรุงแต่งที่ไม่มีตัวตน มิใช่ตัวตนเราเขา ไม่สามารถจะยึดได้ เป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งเท่านั้น รูปเกิดขึ้นแล้วก็แตกดับสลายไปตามสภาพที่เกิดมาอย่างไรก็สลายเป็นไปอย่างนั้น ไม่ยั่งยืนจีรัง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อพิจารณารูปนั้นไป จิตก็จะแก่กล้าขึ้น รูปนั้นก็ทนอยู่ไม่ได้สลายหายไป โดยไม่มีตัวตนรูปร่างอะไรเหลืออยู่<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...