เรื่องเด่น สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต แนวคำสอนสมเด็จโต

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 26 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า75<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    รักษาอารมณ์ให้ดีก่อนปฏิบัติฝึกสมาธิจิต<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าท่านเป็นคนเจ้าโทสะ โมโหร้าย ด้วยเหตุที่เอาแต่ใจตัวก็ตามหรือภาวะแวดล้อมเป็นเหตุก็ตาม ที่ทำให้ท่านไม่พอใจ
    <o:p></o:p>
    ในขณะที่จิตใจปั่นป่วนนั้น ธาตุภายในร่างกายก็พลอยปั่นป่วนด้วยเป็นเหตุให้การปฏิบัติสมาธิจิตสงบได้ยาก
    <o:p></o:p>
    ท่านควร นิ่งเงียบ หยุดโมโหโทโสสักครู่แล้วพิจารณาว่า โมโหแล้วจะได้มีอะไรดีขึ้นเพราะโมโหแล้วมีแต่ทำให้สุขภาพกายและจิตเสื่อมท่านก็จะหยุด พ้นจากกิเลสเหล่านี้ที่คอยเกาะกุมอยู่เหนือเรา คอยบัญชาเราแล้วท่านก็จะรักษาอารมณ์ให้สงบลงมา มีจิตใจสงบสดชื่น ร่าเริงทุกครั้งก่อนที่จะเข้าปฏิบัติ
    <o:p></o:p>
    ท่านต้องไม่ใช่ฝึกเพราะถูกบีบบังคับ หรือจำใจที่จะต้องฝึก แต่ฝึกเพราะความสมัครใจที่หวังความสงบและหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ด้วยใจที่สมัครเข้าฝึก
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า76
    <o:p></o:p>
    นี้เอง จึงทำให้ท่านไม่เกิดความท้อแท้ เบื่อหน่ายรังเกียจที่จะเข้าฝึกครั้งต่อไป
    <o:p></o:p>
    เริ่มต้นฝึกด้วยความตั้งใจ วางจิตใจ ร่างกายให้อยู่ในอารมณ์สบายๆ ตัดความกังวลทั้งหมดวางไว้นอกกาย เช่นกังวลเรื่องที่อยู่อาศัย งาน การเรียน หมู่คณะครอบครัวและญาติ สำหรับผู้มุ่งหวังโลกุตระแล้วไม่ควรกังวลถึงเรื่องตระกูล ชื่อ เสียง ลาภ เกียรติ ยศ สรรเสริญ ที่ตนเคยมีอยู่และห่วงกลัวว่าจะไม่ได้ในอนาคต ห่วงการเดินทาง ห่วงการเจ็บป่วย ห่วงเรื่องอิทธิฤทธิ์ ควรตัดความกังวลเหล่านี้ออกจากใจชั่วขณะหนึ่งที่ปฏิบัติไม่คิดถึงเรื่องในอดีตแม้ลมหายใจที่ผ่านไปและไม่คิดถึงเรื่องอนาคตแม้ลมหายใจที่ยังมาไม่ถึง แต่ให้คิดถึงภาวะปัจจุบันคือ
    <o:p></o:p>
    “ ภาวะที่กำลังฝึกปฏิบัติสมาธิจิตให้สงบอยู่ ”<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า77<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ฝึกสมาธิควรสนใจฝึกลมปราณ
    <o:p></o:p>
    ท่านที่จะฝึกปฏิบัติสมาธิจิตนั้น ก็ควรจะศึกษาวิธีฝึกลมปราณด้วย เพื่อประโยชน์ในการฝึกต่อไป เพราะฝึกสมาธิกับฝึกลมปราณต่างกันเพียงเล็กน้อย
    <o:p></o:p>
    คือ เริ่มต้นเหมือนกันที่ “ ต้องทำใจให้สงบก่อน ”
    <o:p></o:p>
    แล้วจึงไปแยกทางดังต่อไปนี้ แต่ผลจากการปฏิบัติยังคงมีหลายสิ่งหลายอย่างเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมา
    <o:p></o:p>
    ฝึกปฏิบัติสมาธิจิตนั้น
    <o:p></o:p>
    เน้นหนักในด้านความสงบ
    <o:p></o:p>
    โดยหายใจตามปรกติแล้วไปเน้นการฝึกจิตให้สงบเพื่อเป็นพื้นฐานในการอบรมจิตให้รวมเป็นหนึ่ง สืบเนื่องจนถึงขั้นวิปัสสนา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า78
    <o:p></o:p>
    ฝึกลมปราณเน้นหนักในด้านสร้างกำลังภายใน
    <o:p></o:p>
    โดยเน้นไปบริหารลม หายใจที่เข้าออก ให้หายใจ ลึกๆ ช้าๆ ต่อเนื่องจนจิตสงบเป็นพื้นฐานการสร้างกำลังภายใน เพื่อรักษาร่างกายให้แข็งแรง และรักษาโรคที่เกิดกับร่างกายบางชนิดได้
    <o:p></o:p>
    ฝึกสมาธิและฝึกลมปราณจนถึงจุดหนึ่ง เหมือนกับจะสงบจนคล้ายตกอยู่ในภวังค์ มีตัวตนเหมือนไม่มีความนึกคิดเหมือนไม่มี
    <o:p></o:p>
    ถ้าจะพิจารณาสภาวธรรมคือ วิปัสสนา หรือว่าการใช้อำนาจจิตก็ต้องฝึกให้ได้สมาธิขั้นกลาง ไม่ตกสู่ภวังค์แล้วใช้สติพิจารณาสภาวธรรมนั้นๆส่วนเรื่องการใช้อำนาจจิตก็ใช้ภาวะจิตนี้ ส่งกระแสอำนาจจิตไปตามที่ต้องการ
    <o:p></o:p>
    แต่ถ้าจะเดินลมปราณก็ต้องไม่ให้จิตตกภวังค์เช่นกันแล้วส่งความนึกคิดไปจับที่กองลมหายใจ ให้ไปลงที่จุด “ ตั้งช้าง ” หรือนำพาลมปราณเดินทั่วกายต่อไป<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า79
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน
    <o:p></o:p>
    วิธีการฝึกลมปราณนี้ เป็นวิธีฝึกการหายใจให้เกิดความเคยชิน และสืบเนื่องจนเป็นนิสัยที่ดีของการหายใจ เพื่อใช้นำการหายใจในการฝึกปฏิบัติสมาธิจิตทุกๆครั้ง และหลังจากออกจากสมาธิแล้ว<o:p></o:p>
    อนึ่งเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างฝึก “ลมปราณ ” พร้อมทั้งข้อปฏิบัติระหว่างฝึกนั้นมีส่วนคล้ายคลึงกับเหตุที่จะเกิดขึ้นในระหว่างฝึกปฏิบัติจิตด้วย
    <o:p></o:p>
    ส่วนท่าฝึกใช้ร่วมกันได้<o:p></o:p>
    ด้วยเหตุนี้ จึงได้เขียนรวมไว้ในที่นี้<o:p></o:p>
    ฝึกลมปราณสร้างกำลังภายใน
    <o:p></o:p>
    ก่อนอื่น ใจเย็นๆ นั่งลงหายใจตามปรกติก่อน สัก 1 หรือ 2 นาที ถ้าเหนื่อยมาจากงาน หรือเพิ่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    หน้า80
    <o:p></o:p>
    เดินทางมาถึง นั่งพักสักครู่ก่อน เพื่อให้ใจสงบลงพร้อมที่จะฝึกต่อไป
    <o:p></o:p>
    จากนี้ เลือกท่าฝึกที่เหมาะสมกับสังขารท่านท่าใดท่าหนึ่ง
    <o:p></o:p>
    โดยปกติคนเราจะหายใจช่วงสั้นและตื้น
    <o:p></o:p>
    ไม่ได้ใช้ความสามารถของปอดที่สามารถขยาย และหดอย่างเต็มที่ จึงทำให้ปอดไม่ได้หายใจเอาอากาศดีเข้าและขับอากาศเสียออกจากร่างกายอย่างเต็มที่ ปอดจึงไม่สามารถฟอกโลหิตให้สดใสสมบูรณ์ดีเท่าที่ควรเป็นผลให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ง่าย
    <o:p></o:p>
    การฝึก “ ลมปราณ ” ต่อไปนี้จะช่วยป้องกันและรักษาท่านหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้
    <o:p></o:p>
    ฝึกลมปราณก็ต้องอาศัยการฝึกจิตให้สงบก่อน
    <o:p></o:p>
    การฝึกนี้ไม่ต้องใจร้อนรีบเร่ง ไม่ฝืนสังขารและฝืนจิตใจ ทำใจสบายๆ ค่อยๆฝึก และฝึกจนจิตรวมเป็นหนึ่ง จึงจะเป็นพื้นฐานที่ดีของการฝึกลมปราณต่อไป <o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า81
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    1. ทำใจให้สงบแล้วค่อยๆหลับลง หุบปากแล้วใช้ปลายลิ้นคํ้า แตะเพียงเบาๆที่เพดาน
    <o:p></o:p>
    2. หายใจตามปรกติวิสัยจนกว่าจะสงบ รวมจิตเป็นหนึ่งก่อน แล้วจึงหายใจเข้าค่อยๆ ลึกขึ้นด้วย วิธีถอนหายใจลึกเข้าๆจนสุดแรงดูดลม ลมหายใจนั้นจากหยาบให้ค่อยๆปรับให้ละเอียดมากขึ้น จากการหายใจตื้นให้ค่อยๆ ลึกจากการหายใจช่วงสั้นให้ค่อยๆเป็นช่วงยาวขึ้น ค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละขั้นอย่างช้าๆ ตามลำดับ
    <o:p></o:p>
    แล้วค่อยๆผลักดันนำส่งลมหายใจที่ดูดเข้ามานั้นให้ตำลงๆ จนกว่าจะเลยสะดือลงไป 3 นิ้วเป็นตำแหน่งที่ตั้งของจุด “ ตั้งช้าง ”<o:p></o:p>
    การนำล่องลมหายใจให้ตำนี้ ไม่ควรจงใจใช้แรงบีบเกร็งกล้ามเนื้อให้ดันลมหายใจตำลงไป แต่เป็นการทำงานที่เรียกว่าจิตสำนึกว่า ความรู้สึกของจิตใจไปจับที่กองลม จึงสมมุติว่าเห็นกองลมที่หายใจเข้านั้นเป็นกลุ่มลมสีขาวกำลังถูกนำผ่านรูจมูก ผ่านหลอดลม ผ่านปอดแล้วผ่านช่องท้องและลงตํ่าจนถึงท้องน้อย ซึ่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า82
    <o:p></o:p>
    ที่ตั้งของจุด “ ตั้งช้าง ”เมื่อลมหายใจถึงจุด “ ตั้งช้าง ” แล้วค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออก ช่วงที่ลมหายใจเข้าและออก จะต้องฝึกให้ใช้ระยะเวลายาวเท่าๆกัน จิตใจก็จะค่อยๆสงบลงมา
    <o:p></o:p>
    การหายใจเข้าออกตามวิธีนี้ จะต้องเป็นลักษณะธรรมชาติ หายใจไม่มีเสียง ไม่ใจร้อนรีบเร่ง การหายใจเป็นไปอย่างมั่นคง เชื่องช้า ต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ละเอียดนิ่มนวล ลึก ยาว
    <o:p></o:p>
    ลักษณะการฝึกการหายใจที่ถูกต้อง คือหายใจแล้วไม่รู้สึกลำบากและเหนื่อย ประสาทผ่อนคลายความตึงเครียด จิตใจสงบว่างเปล่า จึงเป็นการถูกต้อง
    <o:p></o:p>
    3. เมื่อฝึกลมหายใจแบบนี้ผ่านไประยะหนึ่งจะ รู้สึกว่าลมหายใจเข้านั้น มีกระแสลมพัดจากเบื้องบนลงสู่เบื้องตำจนถึงจุด “ ตั้งช้าง ” เหตุที่รู้สึกว่ามีกระแสลมนั้นก็เพราะว่าเวลาถอนหายใจเข้านั้น กล้ามเนื้อซี่โครงจะหดตัวดึงกระดูกซี่โครงให้ยกขึ้นและบานออก ทรวงอกจะพอกโตขึ้นช้าๆ ท้องน้อยก็จะค่อยๆหดเข้าช่วงนี้ปอดก็จะขยายพองตัวออกดูดอากาศดีเข้าเต็มที่<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า83
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ปอดจึงขยายตัวพองโตตั้งแต่ใต้ขั้วปอดลงมาจนถึงปลายกีบของปอด และที่ใต้ปอดนั้นมี “ กระบังลม ” ที่มีโครงสร้างคล้ายพังผืดกั้นขวางระหว่างทรวงอก กับ ช่องท้อง เมื่อปอดขยายตัว ก็จะผลักดันให้กระบังลมหดตัวขยับลดตำลงมา พอตอนที่ปอดคลายลมหายใจออกนั้น กล้ามเนื้อซี่โครง และกระบังลมจะคลายตัวออกก็จะแฟบลงท้องน้อยก็จะพองคืนสู่สภาพปรกติ
    <o:p></o:p>
    การหายใจเข้าและออกเช่นนี้ จึงเกิดการบีบรัดและผ่อนคลายของอวัยวะภายในทรวงอก และที่ช่องท้องเป็นการเพิ่มการเคลื่อนไหวภายในมากขึ้น จึงรู้สึกว่าเป็นกระแสลมวิ่งตามลมหายใจที่เรียกว่า “ กระแสพัดพาภายในร่างกาย ”นั้น การเคลื่อนไหวเช่นนี้จึงเป็นการบริหารภายในร่างกาย
    <o:p></o:p>
    กำลังภายในเคลื่อนไหวภายในร่างกาย
    <o:p></o:p>
    หลังจากฝึก ลมปราณ หรือ ฝึก สมาธิ ไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ท่านอาจจะรู้สึกว่าท้องน้อยที่เป็นที่ตั้งของจุด " ตั้งช้าง " มีกลุ่มความร้อนเกิดขึ้น
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า84
    <o:p></o:p>
    ระยะเวลาที่ฝึกแล้วจะเกิดกลุ่มความร้อนนี้ใช้เวลาไม่เท่ากันทุกคน ต้องแล้วแต่ความสมบูรณ์ของสังขารและความพร้อมของจิตใจที่ได้ฝึกมาถูกต้อง เข้าหลักได้ดี เพียงใดก็จะเกิดผลเร็วเพียงนั้น บางท่านฝึกไปในทางจิตสงบ หลายท่านตั้งแต่เริ่มฝึกใหม่ๆ จนถึงขั้นจิตสงบอาจจะไม่มีกลุ่มความร้อนนี้เกิดขึ้นก็ได้
    <o:p></o:p>
    กลุ่มความร้อนนี้เราเรียกกันว่า “ กลุ่มกระแสกำลังภายใน ” เป็นพลังงานที่เกิดจากการฝึก ลมปราณ
    <o:p></o:p>
    กลุ่มความร้อนนี้เมื่อเกิดขึ้นใหม่ๆ อาจจะเกิดขึ้นชั่วครู่หนึ่งหรือเกิดความรู้สึกเพียงบางครั้งบางคราวของการฝึก แต่เมื่อใดที่เราจับจุดที่จะเกิดความสำเร็จนี้ได้แล้ว เมื่อคราวใดที่เกิด “ กลุ่มความร้อน ”นี้แล้วใจเย็นๆ อย่าเพิ่งลุกจากที่ ไม่ตื่นเต้นดีใจ ไม่เสียใจ ที่เพิ่งจะสำเร็จ ทำใจสบายๆ วางตัวเป็นกลาง คงฝึกลมปราณธรรมดาต่อไป โดยไม่ต้องเพิ่มแรงบีบรัดกดดันหรือว่า เกร็งบีบประสาท ไม่ช้า กลุ่มความร้อนนั้นก็จะร้อนมากพอสมควรที่เรียกว่า “ ไออุ่น ” (แต่ไม่ใช่รู้สึกว่าความร้อนมากจนกระวนกระวาย)<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า85<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    วิธีนำส่ง “ กลุ่มไออุ่น ” ให้พัดพาโคจรไปทั่วร่างกาย
    <o:p></o:p>
    “ กลุ่มไออุ่น ” นี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาจจะมีโอกาสโคจรไปตามร่างกายเอง โดยเราไม่ต้องนำพาก็ได้ แต่เขียนไว้เป็นลักษณะแผนที่ การเดินทาง ของกลุ่มไออุ่น เพื่อว่าถ้าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นที่ใดและจุดใดแล้ว ควรที่ทำอย่างไรต่อไป จะได้ไม่ต้องตกใจ ถ้าประสบกับเหตุการณ์นั้นๆ
    <o:p></o:p>
    เมื่อเกิด “ กลุ่มไออุ่น ” ที่จุด “ ตั้งช้าง ” แล้วยังคงฝึกลมปราณไปตามปรกติ
    <o:p></o:p>
    ตั้งสมมุติฐานจินตนาการว่า เมื่อฝึกลมปราณจนกระแสกำลังภายในทับถม เสริม เพิ่มเติม ที่กลุ่ม ไออุ่น มากขึ้นๆ กลุ่มไออุ่นก็เพิ่มจำนวนหนาแน่นรวมกลุ่มใหญ่มากขึ้นหนักขึ้น (ทั้งนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้นไม่ใช่แสร้งออกแรงบีบรัดบังคับกล้ามเนื้อ)หลังจากนั้นจึงรวบรวมความสนใจเพื่อใช้เสริมความรู้สึกมากขึ้น จะมีอาการคล้ายๆกับ กำลังถ่ายอุจจาระอยู่ และเมื่อฝึกไปๆอาจจะรู้สึกว่ากำลังถ่ายออกมาจริงๆ ขอให้อั้นกลั้นไว้
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า86
    <o:p></o:p>
    ก่อนฝึกต่ออีกระยะหนึ่ง “ กลุ่มไออุ่น ” ก็จะไหลผ่านจุด “ ฝีเย็บ ” (ตำแหน่งนี้อยู่ระหว่างช่องถ่ายเบากับทวารหนัก) มีข้อสังเกต คือ มีกลุ่มไออุ่นไหลผ่านต่อเนื่องหรือเหมือนกระแสไฟฟ้าไหลกระโดด ข้ามทวารหนัก อยู่ตลอด เวลาไปสู่จุดก้นกบ (ตำแหน่งนี้อยู่ที่ปลายสุดของกระดูกสันหลัง) เมื่อกลุ่มไออุ่น รวมถึงจุดก้นกบแล้ว ก็จินตนาการต่อว่า นำกลุ่มไออุ่น ส่งต่อขึ้นไปกระดูกสันหลัง (การนำส่งช่วงนี้ จะรู้สึกว่า มีอาการหดช่องทวารหนักขึ้นไป) กระแสกลุ่มไออุ่นก็จะผลักดันขึ้นสันหลังเอง (โดยไม่ต้องแสร้งชักนำ)
    <o:p></o:p>
    ระหว่างที่ไออุ่น ยังเคลื่อนไหวโคจรไปสู่ทั่วร่างกายนั้น ก็ยังคงหายใจฝึกลมปราณเสริมทับถมให้กับจุด “ ตั้งช้าง ” ต่อไป เหมือนกับว่า เรากรอกนํ้าเติมใส่ที่กรวยอยู่ตลอดเวลา เป็นการผลักดันนํ้าที่ไหลไปก่อน และนํา(กลุ่มไออุ่น) นั้นก็จะไหลไปตามท่อ คือ ผ่านตามจุดต่างๆของร่างกาย “ กลุ่มไออุ่น ” ก็ไหลขึ้นตามกระดูกสันหลัง ผ่าน “ จุดบั้นเอว ” ผ่านขึ้นไปที่ “ จุดคอพับ ” (จุดนี้อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังช่วงระหว่าง<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า87
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    กระดูกต้นคอต่อกับไหล่พอดี สังเกตได้จากเวลาพับคอ จะมีกระดูกนูนขึ้นมาตรงจุดนั้น ) ขึ้นผ่าน “ จุดท้ายทอย ” (จุดที่กระดูกคอต่อกับหัวกะโหลก) ขึ้นไปสู่จุดกระหม่อม (ตรงกลางของหัวกะโหลกตำแหน่งนี้สังเกตได้จากตอนที่เด็กยังอ่อนๆอยู่ กลางกระหม่อมนั้น จะผุดขึ้นลงตามกระแสผลักดันของเลือดที่หัวใจสูบฉีดขึ้นมา หล่อเลี้ยงจุดนั้น) จากนั้น ก็เคลื่อนผ่านกระหม่อม มายัง “ จุดหน้าผาก ” (กึ่งกลางระหว่างคิ้ว) ลงสู่ “ จุดลิ้นไก่ ” (จุดนี้อยู่รอยต่อระหว่างโคนลิ้นกับลิ้นไก่ที่เพดานปาก )และไหลผ่านลงมา “จุดกึ่งกลางของกระดูกหน้าอก ” (อยู่กึ่งกลางของกระดูกไหปลาร้าหรือเรียกว่าใต้จุดคอหอย)ลงสู่จุดกลางอก (จุดผ่ากลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง) ผ่านสะดือและลงสู่ “ จุดตั้งช้าง ” อีกครั้ง โคจรหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาที่นั่งฝึกอยู่
    <o:p></o:p>
    ยังมีอีกกระแสหนึ่ง เรียกว่า “ กระแสขวาง ”หรือเรียกว่า “ กระแสเข็มขัดรัดเอว” ฝึกลมปราณไปพักหนึ่งแล้ว อาจจะเกิดกระแสขวางนี้ขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ คือเมื่อเริ่มมี “ กลุ่มไออุ่น ” นั้น บางครั้งไม่วิ่งขึ้นสู่ศีรษะ
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า88
    <o:p></o:p>
    แต่กลับจะวิ่งเป็นแนวขวางบั้นเอว ครบรอบเป็นลักษณะ เข็มขัด ซึ่งบางครั้งก็จะวิ่งอ้อมจากซ้ายไปขวา บางครั้ง ก็จะวิ่งจากขวาไปซ้ายอย่างมีระเบียบโดยประมาณวิ่งรอบครั้งละ36 รอบ
    <o:p></o:p>
    และเมื่อฝึกไปอีกระยะหนึ่ง กระแสไออุ่นก็จะกระจายไปทั่วถึงปลายเท้า ปลายมือ
    <o:p></o:p>
    การเคลื่อนโคจรของไออุ่นนี้ อาจจะเคลื่อนโคจรผ่านไปทีละจุด และอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งจึงสามารถผ่านอีกจุดหนึ่งจนถึงขั้นโคจรครบทุกจุดทั่วกายบางท่านฝึกเป็นปีๆ จึงจะสามารถโคจรครบรอบกาย
    <o:p></o:p>
    ในระหว่างที่ “ กลุ่มไออุ่น ” จากลมปราณกำลังโคจรผ่านจุดต่างๆ ของร่างกาย อยู่นั้น เกิดมีความจำเป็นต้องออกจากสมาธิในขณะที่ไออุ่นยังโคจรไม่ครบรอบใดรอบหนึ่ง ก็ค่อยๆ คลายออกสมาธิได้
    <o:p></o:p>
    และเมื่อเสร็จธุระแล้ว ควรหาโอกาสฝึกต่ออีกในระยะเวลาที่ใกล้เคียงได้ยิ่งดีซึ่งก็เท่ากับเริ่มต้นใหม่ เพื่อเดินลมปราณให้คล่องสะดวก <o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า89<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ฝึกลมปราณที่ไหนก็ได้
    <o:p></o:p>
    การฝึกลมปราณนี้ก็คล้ายกับการฝึกสมาธิ ซึ่งฝึกจนคล่องตังแล้ว ชำนาญในการเจริญก็สามารถฝึกได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่งรถเดินทางหรือยามที่ว่าง
    <o:p></o:p>
    ต่างกันเพียงแต่ฝึกสมาธิทั่วไป ไม่ได้เน้นหนักให้หายใจลึก<o:p></o:p>
    แต่ฝึกลมปราณ เน้นหนักให้หายใจลึกๆ ด้วยใจที่เป็นสมาธิ
    <o:p></o:p>
    พอมีจังหวะ 5-10 นาที เราก็สามารถเดินลมปราณ โดยไม่จำเป็นต้องหลับตาเพียงแต่ค่อยๆ ถอนหายใจให้ลึกตามแบบฝึกลมปราณด้วยสมาธิ อันจดจ่อกับลมหายใจเข้าออก
    <o:p></o:p>
    เมื่อฝึกจนคล่องตัวแล้ว เวลาอากาศหนาวๆ เราก็เดินลมปราณสักครู่หนึ่ง ก็จะเพิ่มความอบอุ่นในร่างกายขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เป็นหวัดได้ง่ายด้วย
    <o:p></o:p>
    การฝึกลมปราณอยู่เสมอ ยังเป็นการรักษาโรคปวดเมื่อยตามเอ็นตามข้อ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    หน้า90 <o:p></o:p>
    “ มีดดาบจะคมต้องหมั่นฝน<o:p></o:p>
    คนจะฉลาดต้องหมั่นเรียน<o:p></o:p>
    ฌานจะแก่กล้าต้องหมั่นฝึก ”<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า91<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีแก้ไขอาการที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างฝึกลมปราณและฝึกสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    1. อาการเจ็บท้องน้อย แน่นหน้าอก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านที่ฝึกใหม่ๆนั้น ปฏิบัติแล้วรู้สึกว่าปวดเสียวหน้าอกเกร็งหน้าท้อง แต่พอผ่านพ้นการปฏิบัติ 3 ครั้งแล้วท่านจะรู้สึกว่าปฏิบัติแล้วโล่งอก ร่างกายสดชื่น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขณะเดียวกัน ระหว่างหายใจเข้าออกนั้น จิตใจรีบเร่งใช้แรงบีบประสาทเกร็งกล้ามเนื้อเบ่งอกอย่างแรง เมื่อหายใจเข้ารวมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อท้องน้อยตึงอย่างกับหน้ากลองแล้ว จะเกิดอาการแน่นหน้าอกปวดชายโครงทั้งสองข้าง ศีรษะมึนชา เหน็ดเหนื่อยง่าย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีแก้ไข ขอให้ท่านผ่อนคลายการบีบเกร็งกล้ามเนื้อ หายใจตามปรกติสักครู่หนึ่ง ก็จะหายจากอาการปวด และรอจนกว่าหายจากอาการเครียดทางประสาทก่อนจึงปฏิบัติต่อไป
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า92<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ต้องเข้าใจว่า การฝึกลมปราณนี้ มีพื้นฐานจากการฝึกสมาธิให้ใจสงบ และใช้กระแสความนึกคิดเป็นสื่อชักนำอากาศเข้าออกอย่างมีระเบียบ ไม่ได้ใช้แรง(กำลังคน ) ชักดึงลาก โดยมีสูตรว่า ใช้กระแสจิตแห่งความนึกคิดชักนำลมหายใจ โดยให้กระแสจิตแห่งความนึกคิด ผสม ผสานกลมกลืน ร่วมกับลมหายใจกรอกเติมสู่จุด “ ตั้งช้าง ” <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    2. เหงื่อออก <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระหว่างที่ฝึกสมาธิเริ่มเข้าสู่ความสงบ หรือ ระหว่างฝึกลมปราณ กระแส “ กลุ่มไออุ่น ” โคจรนั้นธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกายได้ปรับจนเริ่มเสมอกันและจะขับเหงื่อออกมา หลายท่านจึงรู้สึกเหงื่อออก เริ่มตั้งแต่กระดูกสันหลังขึ้นไปจนถึงศีรษะ ถ้าฝึกจนครบรอบการโคจรการหมุนเวียนของลมปราณหลายรอบแล้ว จะมีเหงื่อออกท่วมทั่วตัวและในการฝึกจิตให้สงบ ก็อาจจะมีเหงื่อออกเหมือนกัน ร่างกายจะรู้สึกอบอุ่นสบาย มีไออุ่นระเหยออกรอบตัว จนรู้สึกตัวเบาเย็นสบาย นี้ เป็นการปรับธาตุจนสามารถขับโรคออกได้ เมื่อออกจากการฝึก <o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า93<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปฏิบัติจิตแล้ว ต้องเช็ดเหงื่อทั่วตัวให้แห้ง รอจนกว่าอุณหภูมิร่างกายปรับคืนสู่สภาพปรกติ กลมกลืนกับอากาศภายนอกก่อน จึงจะออกไปสัมผัสต้องลมได้ มิฉะนั้นจะเป็นไข้หวัดได้ง่ายๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    3. เกิดอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บางท่านฝึกสมาธิถึงขั้นสงบจุดหนึ่ง จะเหมือนกับการฝึกลมปราณ เมื่อสงบถึงจุดอิ่มตัวจุดหนึ่งที่เรียกว่า “ท่ามกลางความสงบจะเกิดอาการเคลื่อนไหวท่ามกลางการเคลื่อนไหวยังมีจิตสงบที่มีสมาธิ ” เลือดลมจะเดินผ่านจุดต่างๆตามเอ็น ตามข้อ ในร่างกายเกิดอาการเนื้อเต้น เอ็นกระตุก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ ท่านที่ฝึกแนวสมาธิเพื่อจิต” จะเกิดอาการโยกซ้าย โยกขวา หรือ โยกหน้า โยกหลัง การหายใจก็จะแรงขึ้นและหยาบ ขอให้ท่านทำใจสบายๆตามอาการไปเรื่อยๆ แล้วหลังจากเกิดอาการประมาณ 15-30 ครั้ง หรือนานกว่านี้ อาการก็จะหายไปเอง แต่ถ้าท่านเบื่อหน่ายกับอาการเขย่าเช่นนี้ ขอให้ท่านพิจารณาจนรู้ถ่องแท้กับอาการนี้ ว่ามีอาการกระทำ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า94<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อย่างไรแล้วจึงเริ่มสะกดตัวให้อยู่ในท่าปรกติได้ด้วยการใช้สติค่อยๆ ควบคุมลมหายใจให้สงบละเอียดลงมาอาการโยกย้ายของร่างกายก็จะหยุดลงได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ ท่านที่ฝึกแนวลมปราณ ” นั้น จากการที่นำส่งกระแสพลังลมปราณทับถมเติมที่จุด “ ตั้งช้าง ” ตลอดเวลา จึงเป็นการเพิ่มแรงกระตุ้นให้ร่างกายเคลื่อนไหวมากขึ้น บางครั้งสั่นโยกรุนแรงถึงกับกางแขนออกว่าเป็นท่ามวยจีนแบบต่างๆอย่างมีระเบียบ การเคลื่อนไหวจะสัมพันธ์ กับลมหายใจที่เข้าออก ซึ่งการเคลื่อนไหวเองโดยที่เราไม่ได้จงใจหรือแกล้งให้ร่ายรำ การเคลื่อนไหวอย่างนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 36 วัน อาจจะมีเสียงกระดูกลั่นไปทั่วร่างกาย แล้วร่างกายก็จะค่อยๆกลับคืนสู่ความสงบอีกครั้ง เวลานั้น จะรู้สึกว่า ตัวเบา เหมือนนกพร้อมที่จะบิน และเมื่อเดินทางจะก้าวไวคล่องเหมือนวิ่งอย่างไม่เหนื่อย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในระหว่างเกิดการเคลื่อนไหวอยู่นั้น ไม่ต้องตกใจ ยังคงทำใจให้สงบ (สำหรับฝึกแนวจิตสงบ ) และ<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า95<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ยังคงนำส่งพลังลมหายใจเข้าสู่จุด “ ตั้งช้าง ” ต่อไป ที่เรียกว่า ท่ามกลางการเคลื่อนไหวยังมีสมาธิอยู่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อาการเคลื่อนไหวนี้ เกิดขึ้นเมื่อใดหรือว่าจะหยุดเมื่อใด หรือว่าเคลื่อนไหวท่าใดนั้น จะเกิดไม่เหมือนกันทุกคน แต่เขียนไว้เพื่อเตือนสติไม่ให้ตกใจถ้ามีอาการอย่างนี้เกิดขึ้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลังจากเกิดอาการเคลื่อนไหวสั่นโยกแล้ว จิตใจจะไม่ค่อยปรกติ คือ ใจสั่นหายใจแรง ควรที่จะเข้าสมาธิปรับจิตใจสบายแล้ว จึงค่อยคลายออกจากสมาธิจะได้ไม่สะเทือนกายทิพย์ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    4. รักษาอาการช้ำใน <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บางท่านที่เคยพลัดตกหกล้ม หรือถูกตีช้ำในที่ใดที่หนึ่ง เลือดก็จะคั่งค้างเป็นก้อนอยู่ที่จุดนั้น เวลาอากาศเปลี่ยนแปลงจะมีอาการเจ็บปวดมากตรงจุดนั้น (คนหนุ่มสาวอาการอาจจะยังไม่กำเริบส่วนมากจะมาเป็นตอนที่มีอายุมากขึ้น หรือว่าสังขารเสื่อมลง ) แต่เมื่อฝึกลมปราณ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า96<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เดินทั่วผ่านไปยังจุดที่ช้ำในนั้น ก็จะพยายามทำลายเลือดคั่งค้างก้อนนั้น จึงเกิดอาการปวดมากกว่าเก่าอยู่พักหนึ่ง เป็นการพยายามเดินผ่านของลมปราณ และแล้ว เมื่อผ่านไปได้ ก็จะเป็นการรักษาให้ท่านหายขาดจากโรคช้ำใน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    5. เกิดอาการตัวพองโตและเบาอยากจะลอย <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อฝึกสมาธิหรือฝึกลมปราณจนจิตสงบ อาจจะมีความรู้สึกว่า ตัวเองกำลังพองโตๆ มากขึ้น จนตัวโต ยันตึก และกำลังพองจนเกือบจะระเบิดออก หรือบางทีรู้สึกว่า ตัวเองเบาอย่างไร้น้ำหนัก กำลังลอยขึ้นจากที่นั่งจนร่างอยู่ไม่ติดที่ และจะลอยออกไปนอกบ้าน ขอให้ท่านทำใจสบายๆ ไม่ต้องตกใจ เพราะที่จริงแล้วร่างท่านไม่ได้พอง ไม่ได้ลอยเลย เพียงแต่ว่า ภาวะนั้น จิตเริ่มสงบ และธาตุทั้ง 4 เริ่มปรับตัวจนรวมตัวเสมอกัน ลมหายใจก็จะละเอียดเหมือนไม่ปรากฏ จิตของท่านได้ตกภวังค์สติไม่อยู่กับตัว ตามระลึกไม่ทันกับความสงบนั้น สติคลายออกจากสมาธิชั่วแวบหนึ่ง<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า97<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไม่ได้จับอยู่กับตัว จึงเกิดอาการอุปาทานรู้สึกเป็นอาการเหล่านี้ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    6. วิธีปรับถ่ายเทธาตุไฟให้หายปวดหัวตัวร้อนเป็นไข้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บางท่านรู้สึกว่า หัวแม่มือที่จรดชนกันอยู่นั้นร้อนมากจนรู้สึกว่าคล้ายจะลุกเป็นไฟ และ ศีรษะก็ร้อน ประสาทตึงเครียด ปวดขมับ แม้ว่าจะพยายามปลงตกข่มเวทนาว่า กายนี้สักแต่กาย จะเจ็บจะปวดก็เรื่องของกายจิตใจไม่เจ็บปวด ไม่สนใจ ด้วยขันติ ความอดทนอย่างเต็มที่แล้ว อาการธาตุไฟยังคงกำเริบโชติช่วงร้อนไปทั่วสรรพางค์กาย ยังปวดหัวไม่หายแทบจะระเบิดอยู่ให้ปฏิบัติตามวิธีแก้อาการดังนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีแก้ไข<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ค่อยๆ ถอยออกจากสมาธิอย่างช้าๆ และคลายความนึกคิด ที่รวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่ง ที่ตั้งความรู้สึกอยู่ที่ศีรษะนั้นออก เรียกว่า <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ ไม่คิดอะไรอีกที่จะรวมจิต ” แล้วค่อยๆลืมตาขึ้นมองราดต่ำลงที่พื้น หายใจให้สบายๆตามปรกติก่อน แล้วค่อยๆถอนหายใจลึกๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า98<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ช้าๆ และคลายมือที่ซ้อนกันนั้นออกมากุมที่หัวเข่าทั้งสองข้าง พอหายใจเข้า ก็เอาจิตใจไปจับที่กองลมที่ดูดเข้ามาแล้วผลัก แผ่ซ่านคลายออก ไปทั่วทั้งตัวพร้อมกับลมหายใจที่ปล่อยออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นหนักในการคลายออกทางฝ่ามื้อทั้งสองข้าง ก็จะรู้สึกว่า “ มีลมร้อนวิ่งออกทางปลายนิ้ว ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    นี่คือ “ การคลายธาตุไฟออกจากร่างกาย ” <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปฏิบัติอย่างนี้ประมาณ 15-30 นาที ก็หายปวดหัว และตัวไม่ร้อนเป็นไข้อีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    7. อาการคัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระหว่างฝึก เมื่อธาตุปรับตัวหรือปรับจนเริ่มจะเสมอนั้น จะมีอาการคันเหมือนแมลงตอมหรือปลาตอด สร้างความรำคาญรบกวนสมาธิ ท่านไม่ต้องกลัว และไม่สนใจอาการนั้น สักประเดี๋ยวก็จะหายไปเอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    8. เกิดอาการท้องเสีย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บางท่านที่ฝึกลมปราณแล้ว อาจจะมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ให้ย้ายความสนใจจากที่จุด “ ตั้งช้าง ” เคลื่อนย้ายลงไปที่ปลายหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อ<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า99<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดึงความสนใจไปที่หัวแม่เท้าแล้ว อาการท้องเสียก็จะหายได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทั้งนี้ด้วยเหตุว่า การตั้งจุดอยู่ที่จุด “ ตั้งช้าง ” นั้นบางท่านเกิดการบีบรัดทางประสาทรู้สึกว่า เครียดหรือว่าเป็นการบีบรัดลำไส้มากไป เมื่อย้ายความสนใจไปที่จุดอื่นเสีย ก็ทำให้อาการท้องเสียหายได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    9. อาการกลืนน้ำลาย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระหว่างฝึกสมาธิหรือว่าฝึกลมปราณใหม่ๆ ที่จิตยังไม่สงบ อาจจะมีน้ำลายออกมามากพอสมควร ควรที่จะค่อยๆ กลืนเข้าไปอย่างช้าๆ ไม่ต้องบ้วนทิ้ง เพื่อจะได้ช่วยเป็นน้ำย่อยอาหารด้วย และเมื่อจิตสงบแล้วจะรู้สึกว่า น้ำลายนั้นไม่ไหลออกมาอีก จนเราไม่ต้องคอยพะวงกลืนน้ำลาย แต่พอจิตคลายออกจากสมาธิเมื่อใด น้ำลายก็จะเริ่มไหลท่วมทั่วปากอีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เป็นที่น่าสังเกต ดังนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า100<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ข้าขอปฏิญาณกับตัวข้าเองว่า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ ด้วยเจตนาอันแน่วแน่ไม่เสื่อมถอยของข้า<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอให้ข้าสำเร็จลุล่วงสู่ทางสงบเร็ววัน ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คิดดีแล้ว<o:p></o:p>
    ตั้งใจมั่นคงแล้ว<o:p></o:p>
    เป็นการดำริชอบแล้ว<o:p></o:p>
    ก็เริ่มต้นลงมือปฏิบัติต่อไป<o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า101<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บทที่1 ฝึกกำหนดจิตกักบริเวณตัวเอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สมาธิคือการฝึกจิตใจให้สงบมุ่งมั่น มีสติรวบรวมกำลังใจให้เกิดพลังอันเข้มแข็ง ดำรงตั้งอยู่กับตัวในจุดเดียว อารมณ์เดียว อย่างสม่ำเสมอทุกขณะ ทุกอิริยาบถ จะต้องระลึกรู้สึกตัวคิดได้ก่อนทำ ด้วยอำนาจสมาธิจะระงับความคึกคะนองของจิต ใจอันจะส่งผลถึงการควบคุมกายและวาจาให้สงบระงับด้วย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ปรกติเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ลงมา ส่วนมากจะปฏิบัติจิตได้ผลดีกว่าผู้ใหญ่ เพราะว่าส่วนมากจิตใจยังไม่วุ่นวาย แต่คนที่อายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปนั้น ส่วนมากชอบคิดมากจนเรียกว่า “ จิตฟุ้งซ่าน ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ผู้ฝึกใหม่ควรที่จะหาสถานที่ที่ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่รกรุงรังอยู่ห่างไกลจากเสียงรบกวน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า102<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คนที่ฝึกใหม่อาจจะพบว่า ไม่เข้าฝึกปฏิบัติจิตแล้ว ไม่มีความคิดฟุ้งซ่าน แต่พอเข้าปฏิบัติจิตแล้ว ความคิดฟุ้ง ซ่าน สับสนวุ่นวายร้อยแปดอย่างเรียงแถวเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความจริงก็คือ เวลาปรกตินั้น ความนึกคิด ฟุ้งซ่าน มีอยู่เสมอตามประสาของคนที่ยังมีกิเลสอยู่เพียงแต่ความนึกคิดเหล่านั้นถูกดึงความสนใจให้กระจายไปสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมจึงทำให้จิตใจไม่รู้สึกคิดมาก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เป็นธรรมดาท่านที่เข้าฝึกปฏิบัติจิตใหม่ๆ จะรู้สึกว่า ความนึกคิดนี้ดับไป ความนึกคิดอีกอย่างหนึ่งก็ผุดแทรกขึ้นมาแทนที่ จับไม่ได้ ตามไม่ทัน เกิดดับอยู่ตลอด เป็นการก่อกวนจิตใจให้สงบได้ยาก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านไม่ต้องกังวล<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอให้ท่านหยุดคิดคำนึงอื่นใด ค่อยๆหาจุดยึดเหนี่ยว ฝึกตามวิธีต่อไปนี้นานๆเข้า จิตย่อมสงบเอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เลือกท่าฝึกปฏิบัติจิตที่เหมาะสมกับสังขารของท่านท่าใดท่าหนึ่ง แล้วปฏิบัติดังนี้<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า103<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถอนหายใจลึกๆ ช้าๆ 10 ครั้ง ตามแบบการฝึกลมปราณ (หน้า79 ) ก่อน และหลังออกจากฝึกสมาธิทุกครั้ง เพื่อเป็นการปรับธาตุภายในร่างกายให้ปรกติแล้วค่อยๆปิดหนังตาลงให้สนิท เพื่อไม่ให้ตาสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมเป็นการป้องกันไม่ให้กระแสภายนอกผ่านเข้ามาก่อกวนปรุงแต่งให้จิตใจฟุ้งซ่าน พอปิดหนังตาแล้วต้องจำไว้ว่าต้องไม่ลืมตาขึ้นอีก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลังจากหลับตาแล้ว ให้ภาวนาในใจเมื่อหายใจเข้าว่า “ พุท ” และเมื่อหายใจออกว่า “ โธ ” เป็นการน้อมจิตใจให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า แม้จะสงบหรือไม่สงบก็ยังคงบริกรรมภาวนาไปเรื่อยๆ โดยจิตใจจับอยู่กับคำภาวนาว่า “ พุท ” และ “ โธ ” อยู่เสมอ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้ามีการพลั้งพลาดจากคำภาวนา ในใจแล้วไปคิดเรื่องอื่นก็ค่อยๆตั้งสติขึ้นมา ดึงความนึกคิดนั้นกลับมา ท่อง “ พุท ” “ โธ ” ใหม่อีก สลับอยู่อย่างนี้จนจิตใจเคยชินกับคำภาวนา จิตใจก็จะค่อยๆ จดจ่อลงสู่คำภาวนาจนเกิดความสงบได้ไม่มากก็น้อย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า104<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ท่านจะต้องไม่ลุกจากที่นั่งโดยเด็ดขาดก่อนเวลาที่กำหนดไว้อย่างน้อยครั้งละ 5 - 15 นาที แม้จะเกิดความหงุดหงิดหรือถูกเสียงอะไรรบกวน หรือปวดเมื่อยก็ตาม ขอให้ท่านอดทนรอจนครบเวลากำหนด ( โดยเราใช้นาฬิกาปลุก ให้ไขลานเล็กน้อยก็พอ ป้องกันเสียงนาฬิกาทำให้ตกใจ) ปฏิบัติเช่นนี้ทุกวันอย่างน้อย 7 - 15 วัน หรือนานกว่านี้ จนเกิดความเคยชินกับการกักบริเวณตัวเอง โดยขอให้ปฏิบัติบ่อยๆแต่ใช้เวลาครั้งละน้อยๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ในขั้นนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ จิตมนุษย์เราเปรียบเหมือนกับลิงที่อยู่ไม่เป็นสุข<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เราก็พยายามฝึกลิงคือ “ ใจ ” ให้อยู่เฉยๆสบายๆเป็นสุขได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    และมองเห็นความวุ่นวายไม่หยุดเป็นทุกข์ ” <o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า105<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บทที่หนึ่งนี้ เหมาะกับผู้ไม่เคยฝึกมาก่อน และใช้ฝึกกับเด็กเล็กๆได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แต่ควรจะศึกษาวิธีป้องกันภาวะการตกใจจากการฝึกสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าเป็นเด็กก็ควรให้ผู้ใหญ่อยู่ใกล้ๆ และบอกให้เด็กเข้าใจว่า ถ้าพบเห็นอะไร หรือตกใจเพราะได้ยินเสียงดัง หรือเหตุอื่นที่จะทำให้ตกใจนั้น ไม่ต้องตกใจครูหรือผู้ใหญ่เป็นเพื่อนอยู่ใกล้ตัวเด็กแล้ว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าพบเห็นเด็กตกใจจะลุกจากที่ ก็บอกให้นั่งต่อ ปลอบให้คลายจากอาการตกใจ และฝึกต่ออีกสักครู่จนจิตใจคืนสู่สภาพปรกติแล้ว จึงออกจากสมาธิได้ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า106<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หัวใจของความสำเร็จในการฝึกสมาธิ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความสำเร็จของงานชิ้นหนึ่งไม่ใช่สำเร็จด้วยเวลา 5 หรือ 10 นาที ก็จะลุล่วงด้วยดี จึงขอให้ปฏิบัติเดินไปเรื่อยๆ ไม่ช้าก็จะสำเร็จ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ได้ก็ไม่ดีใจ ไม่ได้ก็ไม่เสียใจ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไม่รีบไม่เร่ง ไม่ทะยานอยากได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เดินไปเรื่อยๆ มุ่งสู่ทางสงบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เหนื่อยก็พัก หิวก็กิน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แม้วันนี้ไม่สงบ พรุ่งนี้ก็ต้องสงบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พรุ่งนี้ไม่สงบ วันหนึ่งข้างหน้าก็ต้องสงบ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า107<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    บทที่2 หาจุดยึดให้จิตสงบขั้นต้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพื่อให้การฝึกปฏิบัติจิตให้สงบ จึงแนะนำให้มีการยึดในบทนี้ การยึดนี้ เป็นการหาหลักให้จิตที่ลอยเคว้งนั้นจับไว้ แล้วค่อยๆ พยุงเข้าสู่เป้าหมายต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ดังนั้น จึงฝึกด้วยวิธีต่อไปนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เลือกท่าฝึกสมาธิที่เหมาะสมกับสังขารของท่านหายใจลึกๆช้าๆยาวๆ 10 ครั้ง ตามแบบการฝึกลมปราณหน้า (79)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เริ่มฝึกด้วยอานาปานสติ คือฝึกจิตใจให้สงบมีสติด้วยการยึดลมหายใจ วิธีฝึกนี้ เป็นกรรมฐานที่ทุกคนสามารถฝึกปฏิบัติให้เกิดความสงบได้ดี ใช้ได้ทั้งในการฝึกสมถกรรมฐาน คือ ฝึกจิตให้สงบได้สมาธิ และใช้ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คือฝึกให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งแห่งการเกิดดับไม่เที่ยงแท้ ตามสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้ไม่นาน ทนอยู่ไม่ได้ ดับไป ไม่ใช่<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า108<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตัวตน เราเขา ไม่เป็นตัวตนที่จะให้ยึดมั่นถือมั่นว่าของเรา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การฝึกตามแนวนี้ เป็นที่นิยมใช้ฝึกกันมากเพราะเมื่อฝึกจนจิตสงบจะเกิดความปีติ และนิมิตลักษณะดีไม่น่าหวาดกลัว เป็นการเพิ่มพูนความพอใจรักใคร่และขยันหมั่นเพียรที่จะประกอบการฝึกปฏิบัติจิตมากขึ้นซึ่งการฝึกวิธีนี้ ลมหายใจเป็นอารมณ์ที่มีอยู่แล้วในร่างกายของเราทุกคน<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เข้าอิริยาบถท่าฝึกแล้ว ค่อยๆหลับตาลง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีหายใจเข้าออกที่ถูกต้อง คือหายใจเข้าออกอย่างละเอียด สม่ำเสมอต่อเนื่อง หายใจเป็นธรรมดาตามธรรมชาติไปเรื่อยๆ โดยไม่หายใจหยาบมีเสียงดังและขาดหายเป็นช่วงๆ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเข้าฝึกใหม่ๆนั้น กายและใจยังกระสับกระส่ายไม่สงบ คิดฟุ้งซ่านกวัดแกว่ง ดิ้นรน กระวนกระวาย สมองต้องทำงานหนัก หัวใจต้องสูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงร่างกายมาก จึงต้องการอากาศดีไปหล่อเลี้ยงร่างกายมาก ทำให้ปอดต้องหายใจแรง หยาบถี่<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า109<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขอให้ทำใจสบายๆค่อยๆฝึกไป ด้วยเมื่อหายใจเข้าท่องว่า “ พุท ” และเมื่อหายใจออกว่า “โธ ” ดังต่อไปนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ หายใจเข้า ”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ระหว่างที่หายใจเข้านั้น ให้ตั้งสติรู้ว่า “ ลมหายใจกำลังเข้า ” และบริกรรมภาวนาในใจว่า “พุท ” สมมุติว่าเห็นตัว ( หนังสือหรือเสียง ) “ พุท ” กำกับจับอยู่กับลมหายใจที่เกิดขึ้นเริ่มกระทบเข้ารูจมูก (สมมุติว่าข้างขวา) และถูกดูดดึงลงไปๆสู่ปอดที่ทรวงอกลงช่องท้องสลายกับเม็ดเลือดแดงวิ่งไปทั่วร่างกาย<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตัว “ พุท ” ที่กำกับจับมากับ “ ลมหายใจเข้า ” ก็ละลายหายไปกับลมหายใจ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    “ ลมหายใจออก ” <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อลมหายใจที่ถูกใช้งานแล้ว ก็จะก่อตัวมารวมกันที่ช่องท้อง ให้ตั้งสติรู้ว่า “ ลมหายใจกำลังจะออก ” และบริกรรมภาวนาในใจว่า “ โธ ” กำกับจับอยู่กับลมหายใจที่ก่อตัวขึ้นที่ช่องท้องนั้น คลายส่งไปยังปอดที่ทรวงอกและสุดท้ายออกสู่รูจมูก (สมมุติว่าข้างซ้าย)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า110<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตัว “ โธ ” ที่กำกับจับมากับลมหายใจออกนั้นก็ละลายหายไปกับลมหายใจที่สลายไปในอากาศ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ภาวนาบริกรรมท่อง “ พุท ” “ โธ ” กำกับหมุนเวียนไปเห็นการเกิดดับของลมหายใจอยู่ตลอดเวลา คือ เกิดแล้วก็ดับสลายไปในที่สุด ทนอยู่ไม่ได้ เพราะไม่เที่ยงแท้ ไม่ยั่งยืนจีรัง ไม่มีตัวตนที่จะให้ยึดมั่นถือมั่นอยู่ได้ ฝึกเช่นนี้ไป ฝึกจนจิตรู้เห็นแจ้งการ “ เกิด ” “ ดับ ” การสลายของลมหายใจ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    วิธีที่ดีที่จิตจะจับตัว “ พุท ” “ โธ ” การจับนี้จับแค่อยู่ ไม่ใช่จับด้วยความยึดมั่นถือมั่นจนประสาทเครียด จิตจับที่ “พุท ” “ โธ ” เบาๆเหมือนเกาะด้วยการใช้มือเเตะเพียงเบาๆไม่ช้านัก จิตใจที่คิดนานาประการนั้นก็จะมารวมอยู่ที่ “ พุท ” “ โธ ”และเมื่อภาวนาต่อไปอีก จิตใจก็จะค่อยๆลดการพยศลงและค่อยๆสงบลงไปตามลำดับ การหายใจก็จะค่อยๆละเอียดลงไปตามลำดับ การหายใจก็ค่อยๆเบาลงตาม คำบริกรรม “ พุท ” “โธ ” ก็จะค่อยๆเลือนหายไป เราไม่ต้องพะวงไขว้คว้าหาตัว “ พุท ” “ โธ ” ก็จะค่อยๆเลือนหายไป เราไม่ต้องพะวงไขว้คว้าหาตัว “ พุท ” “ โธ ”<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า111
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    มายึดเกาะไว้อีก เพราะจุดหมายของเราต้องการไปยึดที่ลมหายใจ คำบริกรรมเป็นเพียงแต่เหมือนเชือกที่สนตะพายวัว(จิต) ที่พยศให้อยู่กับหลักคือกายเพื่อให้สงบลงไป
    <o:p></o:p>
    เมื่อฝึกจิต(วัว) จนหายพยศแล้ว จิต (วัว)นั้นก็จะสงบระงับลงอยู่กับที่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เชือก (คำบริกรรมพุทโธ)
    <o:p></o:p>
    เมื่อจิต “ ละ ” จากการท่องคำภาวนา “ พุท ” “โธ ” แล้ว<o:p></o:p>
    ให้ตั้งสติมั่นอยู่กับใจของท่าน กำหนดระลึกรู้อยู่ตลอดเวลาไปจดจ่อแนบติดลมหายใจเข้าออก รู้ตามทันลมหายใจว่ากำลังเข้าและออก รู้ชัดว่า ลมหายใจเข้าออกนั้นยาวหรือสั้น เมื่อกำหนดจิตใจให้มีสติติดตามจนรู้ชัดไม่คลาดเคลื่อนแล้ว ด้วยการจดจ่อลมหายใจนี้ก็จะดึงเอาสติให้วิ่งแนบอยู่กับอารมณ์ของลมหายใจ จิตใจก็สงบมากขึ้น ลมหายใจก็จะค่อยๆละเอียด สมาธิก็ค่อยๆปรากฏขึ้นตามลำดับ และในที่สุด กำลังความคิดของจิตทั้งหมดก็จะดิ่งไปสู่ลมหายใจแห่งเดียว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หน้า112
    <o:p></o:p>
    เมื่อจิตเพ่งจับที่ลมหายใจนั้นจดจ่อมากขึ้น เพ่งจนเกิดนิมิตภายในใจ มีความรู้สึกว่า ลมหายใจนั้นเป็นกลุ่มไอสีขาวๆใสๆวิ่งเข้าออก แต่ยังไม่แจ่มชัดนิมิตนี้เป็นนิมิตหมายที่ได้จากการบริกรรมที่เรียกว่าเกิด “ บริกรรม นิมิต ”
    <o:p></o:p>
    ระหว่างเข้าสมาธินั้น จะต้องตื่นตัวคอยควบคุมจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียวเสมอ อย่าปล่อยใจให้เตลิดไปนอกลู่นอกทางไปตามความคิดต่างๆ จิตใจเหม่อลอยหรือเคลิบเคลิ้มอยากนอน จนบางครั้งจิตใจอาจจะพลาดคลาดออกจากการจดจ่อแล้วคิดฟุ้งซ่านจนเกิดอาการวิตกกังวลท่านจะต้องพยายามควบคุมจิตเหมือนควบคุมม้าให้วิ่งอยู่แต่ในทางที่เราต้องการเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    ถ้าม้า (จิต) วิ่งออกนอกเส้นทางที่เราต้องการสติเริ่มค่อยๆเลือนหาย ง่วงเหงาหาวนอน
    <o:p></o:p>
    แก้ไขอาการนี้ด้วย การค่อยๆยืดอกขึ้น หายใจลึกๆยาวๆช้าๆหลายๆครั้ง จิตก็จะสดชื่นตื่นจากภวังค์อีกครั้ง และเข้าสู่สมาธิต่อไป เริ่มต้นพิจารณาติดตามลมหายใจเข้าออกใหม่ สลับกันเช่นนี้จิตก็จะมีสติ<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    หน้า113<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แล้วค่อยๆ สงบอีกครั้ง ด้วยปรกตินั้นจิตใจของเรานั้นถูกตามใจไปตามอารมณ์ของตนที่ต้องการ เหมือนม้าป่าที่ไร้การฝึกอบรม เมื่อนำจิต(ม้า) นั้นเข้ารับการฝึกอบรมให้สงบหายพยศเพื่อใช้งานได้นั้น อาจจะต้องใช้เวลามากหรือน้อยต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานนิสัยของจิตที่อบรมมาจากชาติปางก่อนและชาตินี้ ขอเพียงแต่ท่านมีความเพียร อุตสาหะ วิริยะ ไม่ท้อถอย ไม่ช้าจิตก็จะสงบอย่างแน่แท้
    <o:p></o:p>
    เมื่อปฏิบัติฝึกจิตจนสงบเกิดความเคยชิน และคล่องแคล่วแล้วจะรู้จุด รู้วิธี รู้ขั้นตอนที่จะหาความสงบให้กับจิตใจของท่านได้ทุกเวลาที่เข้าสมาธิ
    <o:p></o:p>
    จิตใจสงบเมื่อใดแล้ว ก็จะรู้สึกว่าห้วงแห่งความนึกคิดของตนว่างเรียบสบายจิตก็จะค่อยๆคลายออกจนหยุดการยึดมั่นถือมั่นลมหายใจที่เข้าออก คือ จิตใจขณะนั้นจะไม่ไปตามจับแนบอิงกับลมหายใจที่ “ กำลังเข้าและออก ” แต่ตั้งสติระลึกรู้อยู่ที่ริมฝีปากบน (หรือรูจมูก) ตอนนี้จิตเหมือนนายทวารที่เฝ้าประตู รู้เสมอว่า “ ยังมีลมหายใจเข้าออกอยู่ ” (แต่ไม่ได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p></o:p>
    หน้า114
    <o:p></o:p>
    ตามเข้าไปดูว่าไปไหน) จิตจึงได้รับความอิสระลอยอยู่ท่ามกลางความนิ่งสงบรู้สึกว่า โล่งอก โล่งใจ เกิดความปีติ สงบจิต สบายกาย พอใจ รักใคร่ ในอารมณ์นั้น
    <o:p></o:p>
    ขณะนั้น ห้วงทะเลแห่งความนึกคิดของเรานั้นเข้าสู่ภาวะคลื่นลมสงบเงียบเรียบ เหมือนผิวนํ้าอันไร้คลื่นและ เมื่อฝึกจนเกิดความสงบมากขึ้นตามลำดับแล้วผิวนํ้านั้นก็จะค่อยๆ สว่างเรืองแสงเกิดขึ้นมาตามธรรมชาติของจิตที่ได้มีความสงบ จิตยิ่งสงบเพียงใด ยิ่งเปล่งแสงมากเพียงนั้นแม้นั่งอยู่ในที่มืดหรือเวลากลางคืนก็ตามหลับตาจะมีความรู้สึกเห็นความสว่างอยู่เฉพาะหน้าความสว่างนี้ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยอุปาทาน และการจินตนาการของความนึกคิด ซึ่งท่านปฏิบัติฝึกถึงขั้นระดับนั้นแล้วก็จะสว่างเอง เห็นความสว่างทั่วท้องฟ้า และเมื่อจิตคลายออกจากสมาธิ หรือคิดฟุ้งซ่าน ทำให้จิตเกิดอาการขุ่นมัวด้วยการวิตกกังวลใดๆ แสงสว่างนั้นก็จะหายไป<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...